INSURGENCY BY A TAPIR (2016, Wachara
Kanha, Ratchapoom Boonbunchachoke, Chaloemkiat Saeyong, Chulayarnnon Siriphol,
A+30)
ความเศร้าของภูตผี
1.จริงๆแล้วก็ชอบหนังเรื่องนี้มากนะ แต่ปรากฏว่าชอบน้อยกว่าหนังเดี่ยวๆของผู้กำกับแต่ละคนน่ะ และอาจจะน้อยกว่าหนังไทยบางเรื่องของ Viriyaporn Boonprasert เหมือนเราคาดหวังกับหนังไว้ผิดแนวทางด้วยแหละ คือก่อนหน้านี้เรานึกว่า เมื่อผู้กำกับเฮี้ยนๆ 4 คนมารวมตัวกัน เราจะได้หนังที่เฮี้ยนยกกำลัง 4 แต่ปรากฏว่ามันกลับไม่เฮี้ยนเท่ากับที่เราคาดไว้ มันเหมือนกับว่าผู้กำกับแต่ละคนต้องลดทอนความสุดโต่งของตนเองลงมา เพื่อจะได้ประสานเข้าด้วยกันกับคนอื่นๆได้อย่างลงตัว ซึ่งอาจจะเป็นวิธีการที่ถูกต้องแล้ว เพราะมันก็ทำให้ได้หนังที่น่าพอใจมากๆออกมาเรื่องหนึ่ง เพียงแต่ว่ามันผิดไปจากที่เราคาดหวังไว้เท่านั้นเอง
คือก่อนหน้านี้เราคาดหวังว่า เราจะได้เห็นหนังที่เฮี้ยนเท่ากับ DANGER (DIRECTOR CUT) (2007, Chulayarnnon Siriphol) คูณกับ BODILY FLUID IS SO REVOLUTIONARY (2009, Ratchapoom Boonbunchachoke) คูณกับ POLITICALLY LAWYER AND NARRATIVE CINEMA (2009, Chaloemkiat Saeyong) คูณกับ FUENG (2010, Wachara Kanha + Teeranit Siangsanoh + Tani Thitiprawat) และผลลัพธ์ที่ออกมา น่าจะได้หนังที่เฮี้ยนในระดับที่มากกว่าหรือเท่ากับหนังไทยอย่าง HUNGARY MAN BOO (2012, Viriyaporn Boonprasert) แต่ปรากฏว่าพอได้ดูแล้ว เราชอบ HUNGARY MAN BOO มากกว่า INSURGENCY BY A TAPIR มันเหมือนกับว่า HUNGARY MAN BOO มันเข้าทางเรามากกว่าน่ะ หรือมันเฮี้ยนกว่า
แต่การที่ INSURGENCY BY A TAPIR ไม่เฮี้ยนมากเท่ากับที่เราคาดหวังไว้ มันก็เป็นสิ่งที่เข้าใจได้ และไม่ใช่ความผิดแต่อย่างใดนะ เรารู้สึกเหมือนกับว่า มันเหมือนการทำลิสท์ที่รวมคะแนนจากนักวิจารณ์หนังหลายๆคนน่ะ ซึ่งมันจะไม่น่าตื่นเต้นมากเท่ากับลิสท์ของนักวิจารณ์หนังแบบแยกแต่ละคนไป อย่างเช่น ลิสท์หนังประจำปีของนิตยสารFilm Comment ที่รวมคะแนนจากนักวิจารณ์ 100 คน มันจะไม่น่าสนใจเท่ากับลิสท์หนังประจำปีของ Olaf Moller หรือ Nicole Brenez แบบแยกเดี่ยวๆ เพราะพอรวมคะแนนของหลายๆคนเข้ามาไว้ด้วยกัน หนังที่สุดขั้วจริงๆ หรือกู่ไม่กลับจริงๆ มันอาจจะหลุดออกไปจากลิสท์แบบรวมหลายคน
INSURGENCY BY A TAPIR ก็ทำให้เรารู้สึกคล้ายๆกัน มันเหมือนกับหนังที่ตัดทอนความสุดโต่งของผู้กำกับบางคนทิ้งไปแล้ว คือเราก็ชอบหนังเรื่องนี้สุดๆน่ะแหละ แต่เราแอบรู้สึกไปเองว่า ในหนังเรื่องนี้นั้น Ratchapoom ได้ใช้ศักยภาพของตนเอง 100%, Wachara ได้ปลดปล่อยความเฮี้ยนของตนเองออกมาราว 80%, Chulayarnnon ปลดปล่อยความเฮี้ยนของตนเองออกมาเพียง 25 % และ Chaloemkiat ปลดปล่อยความเฮี้ยนของตนเองออกมาเพียง 25 % เท่านั้น
แต่ก็ขอย้ำอีกครั้งว่า การที่หนังเรื่องนี้ “ผิดไปจากที่เราคาดหวังไว้ก่อนได้ดู” ไม่ใช่ความผิดหรือข้อเสีย ข้อด้อยของหนังนะ มันแค่ผิดไปจากที่เราคาดหวังไว้ และการที่มันผิดไปจากที่เราคาดหวังไว้ มันอาจจะเป็นสิ่งที่ดีและถูกต้องแล้วก็ได้
คือเหมือนกับว่า เราคาดหวังไว้ก่อนได้ดูว่า ผู้กำกับทั้ง 4 คนนี้จะปลดปล่อยพลังความเฮี้ยนของตนเองออกมา 100% เต็มทุกคน แต่ถ้าหากผู้กำกับทั้ง 4 คนนี้ทำแบบนั้นจริงๆ มันอาจจะกลายเป็นออกมาแย่ก็ได้ มันอาจจะเหมือนกับการนำสารเคมี 4 สารมาผสมเข้าด้วยกันในสัดส่วนเท่าๆกัน สารละ 100 กรัมเท่าๆกัน เพราะคาดหวังว่าเราจะได้ “น้ำอมฤต” แต่พอผสมเข้าด้วยกันจริงๆ สิ่งที่ได้ออกมาอาจจะกลายเป็น “น้ำยาล้างตีน” อะไรทำนองนี้ แต่ถ้าหากเราปรับสัดส่วนสารเคมี 4 สารนี้ใหม่ บางสารมาก บางสารน้อย บางสาร 25 กรัม บางสาร 80 กรัม แล้วผสมเข้าด้วยกัน ผลลัพธ์ที่ได้มันอาจจะเป็น “ยาพิษไส้ขาด” ซึ่งก็เป็นสิ่งที่น่าพอใจมากๆแล้ว
2.ปรากฏว่าส่วนที่เราชอบที่สุดในหนังเรื่องนี้ หรือกระทบอารมณ์เรามากที่สุดในหนังเรื่องนี้ กลับเป็นส่วนของ Chaloemkiat ที่ใส่ภาพ insert วิวทิวทัศน์ต่างๆเข้ามา แล้วมี text ขึ้นมาว่า มันเป็นยูเครน, โรมาเนีย, จันทบุรี, บัวโนสไอเรส ฯลฯ ทั้งที่จริงๆแล้ว มันอาจจะถ่ายที่ปู่เจ้าสมิงพรายก็ได้
คือเราชอบอะไรแบบนี้มากที่สุดน่ะ เราชอบการมองภาพหญ้าคาที่ปู่เจ้าสมิงพราย แต่มี text ขึ้นมาว่า นี่คือบัวโนสไอเรส มันเหมือนกับหนังกระตุ้นให้เราใช้จินตนาการของตัวเองด้วยอย่างสนุกสนานในขณะที่ดู และเราก็ get pleasure อย่างรุนแรงจากอะไรแบบนี้ นี่คืออะไรที่ “สนุกสุดขีด” สำหรับเรา
ซึ่งรสชาติความสนุกสุดขีดแบบนี่ มันเป็นสิ่งที่เราเคยได้มาแล้วจากหนังอย่าง THE LIVING WORLD (2003, Eugène Green) ที่ตัวละครชี้ไปที่หมา แล้วบอกว่านี่คือสิงโต และหลังจากนั้นทุกคนก็ทำเหมือนกับว่าหมาตัวนั้นเป็นสิงโต และเราคนดูก็มองภาพหมา แต่แปรค่ามันเป็นสิงโตในหัวสมองของเราตามไปด้วย และมันก็เป็นรสชาติที่เราเคยได้มาแล้วจากหนังเรื่อง POLITICALLY LAWYER AND NARRATIVE CINEMA ของ Chaloemkiat ที่ถ่ายภาพห้องเรียน แต่มี text ขึ้นมาว่า “จงจินตนาการว่านี่คือสนามบิน”
บางที การที่รสนิยมของเรา มันจูนติดกับส่วนของเฉลิมเกียรติมากที่สุด อาจจะเป็นสาเหตุสำคัญเลยแหละที่ทำให้เรารู้สึกว่า INSURGENCY BY A TAPIR มันผิดไปจากที่เราคาดหวังไว้ก่อนได้ดู เพราะก่อนที่เราจะได้ดูหนังเรื่องนี้ เราโหยหาอะไรแบบ POLITICALLY LAWYER AND NARRATIVE CINEMA อย่างรุนแรงมากๆ แต่พอได้ดูหนังเรื่องนี้เข้าจริงๆ เรากลับพบว่า มันมีความเป็นเฉลิมเกียรติน้อยกว่าที่เราคาดหวังไว้
3.จริงๆแล้วก็ชอบโครงสร้างการเล่าเรื่องของหนังเรื่องนี้นะ ที่มันเหมือนมีเรื่องราวย่อยๆอยู่ในเรื่องราวใหญ่ๆ เราชอบหนังที่เล่าหลายเรื่องในเรื่องเดียวกันน่ะ ซึ่งตัวอย่างของหนังกลุ่มนี้ที่ดีที่สุดก็คือ ARABIAN NIGHTS (2015, Miguel Gomes)
เรามองว่าหนังเรื่องนี้มันเหมือนมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่กองเซ็นเซอร์ โดยกองเซ็นเซอร์ได้ดูหนังสองเรื่อง หนึ่งคือหนังเรื่องสาวความจำเสื่อม หรือสาวสมองผิดปกติอะไรสักอย่าง (Nualpanod) แต่พอกองเซ็นเซอร์แบนหนังเรื่องสาวความจำเสื่อม ชีวิตของผู้กำกับหนังเรื่องนั้น (วชร กัณหา) ก็เลยชิบหาย และต้องเดินทางร่อนเร่ไปเรื่อยๆ ส่วนหนังเรื่องที่สองที่กองเซ็นเซอร์ใจหมาได้ดู คือหนังโรแมนติกคอมเมดี้ที่ต่ำตมมากๆ แต่กองเซ็นเซอร์ชื่นชมมากๆ และต่อมาปรากฏว่าตัวละครในหนัง romantic comedy เรื่องนั้น ได้ก้าวเข้ามาซ้อนทับกับชีวิตจริงของหนึ่งในสมาชิกกองเซ็นเซอร์ในเวลาต่อมา
เราชอบการมีเรื่องราวยิบย่อยอะไรแบบนี้ภายในหนังเรื่องเดียวกันมากๆ และถึงแม้ว่า INSURGENCY BY A TAPIR ยังไม่ได้ผลักโครงสร้างการเล่าเรื่องแบบนี้ไปจนสุดทาง เหมือนอย่าง ARABIAN NIGHTS และ THE BURIED FOREST (2005, Kohei Oguri) แต่มันก็น่าพอใจมากแล้ว โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาจากความจริงที่ว่า แทบไม่มีหนังยาวของไทยเรื่องไหนที่ใช้โครงสร้างการเล่าเรื่องแบบนี้
การเล่าเรื่องที่มีการซ้อนเหลื่อมกัน ทับกันไปมาแบบนี้ ทำให้เรารู้สึกว่า หนังเรื่องนี้สามารถปะทะกับหนังของ John Torres ที่มีโครงสร้างที่พิศวงในระดับที่เท่าเทียมกับหนังเรื่องนี้ได้ด้วย
4.การตัดต่อในส่วนของ Ratchapoom เป็นอะไรที่หนักมาก เราว่าสิ่งที่น่าสนใจในหนังของอุ้ยก็คือมันมีอะไรที่เกินจริง แต่คนดูยังดูรู้เรื่อง ตามเรื่องได้ อย่างเช่นการที่ตัวละครในกองเซ็นเซอร์เปลี่ยนทรงผมและการแต่งหน้าไปเรื่อยๆในทุกคัทที่ตัดภาพไปนั้น มันเป็นอะไรที่เกินจริง, มันเป็นการใช้ประโยชน์จากความเป็นหนัง และ fictional world ได้อย่างเต็มที่ แต่ในขณะเดียวกัน มันก็เป็นมิตรต่อผู้ชมส่วนใหญ่ด้วย มันสร้างความสนุกสนานให้ผู้ชมส่วนใหญ่ และผู้ชมส่วนใหญ่ยังตามเนื้อเรื่องได้ทันในระดับนึง
แต่เราไม่ได้จะบอกว่า คนที่ทำแตกต่างไปจากนี้คือทำผิดนะ เราแค่จะบอกว่า นี่เป็นเสน่ห์เฉพาะตัวในหนังของ Ratchapoom ที่มีความแปลกประหลาดพิสดาร แต่ยังคงเป็นมิตรกับผู้ชมจำนวนมาก คือมันเป็นเสน่ห์ที่อาจจะพบได้ในหนังของ Ulrike Ottinger แต่พบไม่ได้ในหนังของ Jean-Luc Godard น่ะ คือ Ottinger ทำหนังที่พิสดารมาก แต่ก็ตลกขบขันมากๆในขณะเดียวกัน ในขณะที่ Godard ทำหนังที่พิสดารมาก แต่ดูแล้วงง ตามเรื่องไม่ทัน และมันไม่ใช่ว่า Ottinger ถูก แต่ Godard ผิด เราแค่จะบอกว่า ความพิสดารในหนังของ Ratchapoom มันมีเสน่ห์เฉพาะตัวแบบนี้เท่านั้นเอง
5.ดีใจที่หนังเรื่องนี้ใช้ประโยชน์จากนักแสดงละครเวทีมีฝีมือได้ดีมากด้วย เพราะจริงๆแล้วเมืองไทยมีนักแสดงที่มีฝีมือมากๆอยู่หลายคน แต่พวกเขาอยู่ในวงการละครเวที ไม่ได้อยู่ในวงการภาพยนตร์ หรือพอนักแสดงละครเวทีไปเล่นหนัง หนังหลายเรื่องก็แทบไม่ได้ใช้ประโยชน์จากศักยภาพของนักแสดงละครเวทีมากเท่าที่ควร เราก็เลยดีใจที่ได้เห็นนักแสดงละครเวทีในหนังเรื่องนี้
การได้เห็น Farida Jiraphan กับปริยา วงษ์ระเบียบปะทะกันในหนังเรื่องนี้ ก็เป็นอะไรที่ nostalgia ดีด้วยสำหรับเรา เพราะถ้าเราจำไม่ผิด ฟารีดากับปริยาเคยปะทะกันมาแล้วในหนังเรื่อง “จิ๋ม” (2005, ทศพร มงคล) ซึ่งเป็นหนังสั้นไทยที่เราชอบมากที่สุดในปี 2005 และหลังจากนั้นทั้งสองคนนี้ก็ไม่เคยได้เล่นหนังเรื่องเดียวกันอีกเลย (ถ้าเราเข้าใจไม่ผิด) จนกระทั่งเวลาผ่านไป 11 ปี สองคนนี้ถึงได้โคจรกลับมาเจอกันบนจอภาพยนตร์อีกครั้ง
ชอบบทของคุณทรายมากๆเลยด้วย ดูแล้วนึกว่าเธอคือนางพญา เธอต้องใช้ “ออร่า” อย่างมากๆในบทนี้ และบทแบบนี้มันทำให้นึกถึง Delphine Seyrig ในหนังยุโรปบางเรื่องน่ะ คือเราชอบ Delphine Seyrig มากๆ และเราว่าเสน่ห์ของ Delphine ไม่ใช่ว่า เธอแสดงได้อย่างสมจริง เป็นมนุษย์ เป็นเมอรีล สตรีพอะไรแบบนั้น เราว่าเสน่ห์ของ Delphine คือการที่เธอสามารถ “เปล่งรัศมีของความ surreal ออกมาจากตัว” ซึ่งมันเป็นอะไรที่อธิบายไม่ได้ว่าจริงๆแล้วมันคืออะไรกันแน่ หรือมันทำได้ยังไง แต่ Delphine ทำแบบนั้นได้ และ Tilda Swinton ก็ทำแบบนั้นได้ และพอมาเห็นบทของคุณทรายในหนังเรื่องนี้ เราก็เลยชอบมาก เพราะมันไม่ใช่บทที่ต้องอาศัยการแสดงแบบสมจริง แต่มันเป็นบทที่ต้องอาศัย “การเปล่งรัศมีของความ surreal ออกมาจากตัว” แบบที่เรามักพบในหนังของ Delphine Seyrig
6.ส่วนของวชรเราก็ชอบมากเช่นกัน เราชอบที่ในส่วนนี้เราแทบไม่เห็นตัวละครปริปากพูดอะไรเลย เสียงพูดมาจาก voiceover เป็นหลัก เราว่าเทคนิคนี้มันทำให้นึกถึง INDIA SONG (1975, Marguerite Duras) ซึ่งเป็นเทคนิคที่เราชอบมาก แต่แทบไม่เคยเห็นหนังไทยนำเทคนิคนี้มาใช้
เราว่าเทคนิคนี้มันช่วยเรื่องการถ่ายทำได้ดีมากด้วย เพราะนักแสดงไม่ต้องกังวลเรื่องการพูดผิดพูดถูกขณะแสดง และไม่ต้องกังวลเรื่องการบันทึกเสียง และมันเข้ากับหนังเรื่องนี้มากๆด้วย เพราะเสียง voiceover นี้มันทำให้ผู้ชมสงสัยใน authority ของเสียง voiceover ตลอดเวลาว่า สิ่งที่เราได้ยินคืออะไร มันเป็นความจริงไหม มันเป็นเสียงหมอหรือเสียงคนไข้ มันมาจากมิติไหน มึงพูดกับใคร ฯลฯ การใช้เสียง voiceover นี้มันช่วยเพิ่ม layer ของมิติพิศวงให้กับหนังได้ดีมากๆ
7.ชอบดนตรีประกอบในหนังมากๆ พอได้ฟังดนตรีประกอบในหนังเรื่องนี้แล้ว มันทำให้นึกถึงสิ่งที่คุณ Graiwoot Chulphongsathorn เคยพูดไว้หลังดูหนังเรื่อง HOW TO DISAPPEAR COMPLETELY (2013, Raya Martin) ว่า ดนตรีประกอบเป็นสิ่งที่สำคัญมากในหนังทดลองแบบนี้ เพราะหนังทดลองแบบนี้มันไม่เล่าเรื่องเป็นเส้นตรง linear, chronologically อะไรทำนองนี้ หนังทดลองหลายเรื่องมันเล่าเรื่องที่กระจัดกระจาย หรือปะติดปะต่อเรื่องได้ยาก และดนตรีประกอบ+sound effect นี่แหละที่จะช่วยหลอมรวม fragments ต่างๆในหนังทดลองเรื่องนั้นเข้าด้วยกันได้
และเราก็รู้สึกว่าดนตรีประกอบมันช่วยทำหน้าที่นี้ได้ดีมากใน INSURGENCY BY A TAPIR ด้วยเช่นกัน เพราะหนังเรื่องนี้มันมีความกระจัดกระจายสูง แต่เสียงประกอบมันช่วยเชื่อมอารมณ์ระหว่างซีนต่างๆเข้าด้วยกันได้ในระดับนึง
8.ชอบการเลือกช่วงท้ายของหนังมากๆ ที่กลับไปเล่าเรื่องของผู้กำกับที่ระเหเร่ร่อน
คือตอนที่เราดูมาถึงฉาก “พระไตรปิฎก” น่ะ เราเสียวมากๆว่าหนังจะจบยังไง เพราะถ้าหากหนังเลือกจบไม่ดี เราจะรู้สึกว่าหนังเรื่องนี้มันจะค้างคาทางอารมณ์มากๆ มันจะทำให้เรารู้สึกว่าตัวหนังขาดพร่องมากๆ
คือตอนที่เราดูมาถึงฉากพระไตรปิฎก เรารู้สึกได้ว่า หนังมันใกล้จบแล้ว แต่อารมณ์เรายังไม่ fulfill อย่างที่คาดหวังไว้เลย เพราะเราได้เห็นเพียงแค่วชรกับ Ratchapoom ปลดปล่อยศักยภาพของตัวเองออกมาอย่างเต็มที่ แต่ยังไม่เห็น Chulayarnnon กับ Chaloemkiat ปลดปล่อยศักยภาพของตนเองออกมาอย่างเต็มที่
คือในตอนนั้น เราแอบจินตนาการว่า จริงๆแล้วเราอยากให้กองเซ็นเซอร์ในหนังเรื่องนี้ดูหนัง 4 เรื่องไปเลยน่ะ คือหลังจากกองเซ็นเซอร์ดูหนังเรื่องสาวประสาทเสื่อม กับหนังโรแมนติกคอมเมดี้ต่ำตมไปแล้ว กองเซ็นเซอร์ในหนังเรื่องนี้ก็ควรได้ดูหนังเฮี้ยนๆอีกสองเรื่องที่กำกับโดย Chulayarnnon กับ Chaloemkiat ด้วย มันถึงจะทำให้หนังเรื่องนี้ fulfill ทางอารมณ์สำหรับเรา
เพราะฉะนั้นพอมาถึงฉากพระไตรปิฎก เราก็เลยสงสัยมากๆว่า หนังเรื่องนี้จะหาทางลงทางอารมณ์ได้ยังไง เพราะเรารู้สึกว่า อารมณ์มันยังค้างเติ่งอยู่เลย เรารู้สึก fulfill ไปแค่ครึ่งเดียวของที่คาดหวังไว้เท่านั้น
แต่ปรากฏว่า พอหนังกลับมาเล่าเรื่องของผู้กำกับที่ระเหเร่ร่อนอีกครั้ง เราว่าอะไรบางอย่างในช่วงท้ายๆของหนังเรื่องนี้ มันหาทางลงทางอารมณ์ได้ในระดับที่น่าพอใจสำหรับเราน่ะ เราก็เลยรู้สึกว่า มันเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องมากๆที่หนังกลับมาปิดท้ายด้วยอะไรแบบนี้ อารมณ์ที่ค้างๆคาๆ รู้สึกไม่เสร็จสมอารมณ์หมาย ก็ได้รับการคลี่คลายไปในทางที่น่าพอใจได้ในที่สุด
ความเศร้าของภูตผี
1.จริงๆแล้วก็ชอบหนังเรื่องนี้มากนะ แต่ปรากฏว่าชอบน้อยกว่าหนังเดี่ยวๆของผู้กำกับแต่ละคนน่ะ และอาจจะน้อยกว่าหนังไทยบางเรื่องของ Viriyaporn Boonprasert เหมือนเราคาดหวังกับหนังไว้ผิดแนวทางด้วยแหละ คือก่อนหน้านี้เรานึกว่า เมื่อผู้กำกับเฮี้ยนๆ 4 คนมารวมตัวกัน เราจะได้หนังที่เฮี้ยนยกกำลัง 4 แต่ปรากฏว่ามันกลับไม่เฮี้ยนเท่ากับที่เราคาดไว้ มันเหมือนกับว่าผู้กำกับแต่ละคนต้องลดทอนความสุดโต่งของตนเองลงมา เพื่อจะได้ประสานเข้าด้วยกันกับคนอื่นๆได้อย่างลงตัว ซึ่งอาจจะเป็นวิธีการที่ถูกต้องแล้ว เพราะมันก็ทำให้ได้หนังที่น่าพอใจมากๆออกมาเรื่องหนึ่ง เพียงแต่ว่ามันผิดไปจากที่เราคาดหวังไว้เท่านั้นเอง
คือก่อนหน้านี้เราคาดหวังว่า เราจะได้เห็นหนังที่เฮี้ยนเท่ากับ DANGER (DIRECTOR CUT) (2007, Chulayarnnon Siriphol) คูณกับ BODILY FLUID IS SO REVOLUTIONARY (2009, Ratchapoom Boonbunchachoke) คูณกับ POLITICALLY LAWYER AND NARRATIVE CINEMA (2009, Chaloemkiat Saeyong) คูณกับ FUENG (2010, Wachara Kanha + Teeranit Siangsanoh + Tani Thitiprawat) และผลลัพธ์ที่ออกมา น่าจะได้หนังที่เฮี้ยนในระดับที่มากกว่าหรือเท่ากับหนังไทยอย่าง HUNGARY MAN BOO (2012, Viriyaporn Boonprasert) แต่ปรากฏว่าพอได้ดูแล้ว เราชอบ HUNGARY MAN BOO มากกว่า INSURGENCY BY A TAPIR มันเหมือนกับว่า HUNGARY MAN BOO มันเข้าทางเรามากกว่าน่ะ หรือมันเฮี้ยนกว่า
แต่การที่ INSURGENCY BY A TAPIR ไม่เฮี้ยนมากเท่ากับที่เราคาดหวังไว้ มันก็เป็นสิ่งที่เข้าใจได้ และไม่ใช่ความผิดแต่อย่างใดนะ เรารู้สึกเหมือนกับว่า มันเหมือนการทำลิสท์ที่รวมคะแนนจากนักวิจารณ์หนังหลายๆคนน่ะ ซึ่งมันจะไม่น่าตื่นเต้นมากเท่ากับลิสท์ของนักวิจารณ์หนังแบบแยกแต่ละคนไป อย่างเช่น ลิสท์หนังประจำปีของนิตยสารFilm Comment ที่รวมคะแนนจากนักวิจารณ์ 100 คน มันจะไม่น่าสนใจเท่ากับลิสท์หนังประจำปีของ Olaf Moller หรือ Nicole Brenez แบบแยกเดี่ยวๆ เพราะพอรวมคะแนนของหลายๆคนเข้ามาไว้ด้วยกัน หนังที่สุดขั้วจริงๆ หรือกู่ไม่กลับจริงๆ มันอาจจะหลุดออกไปจากลิสท์แบบรวมหลายคน
INSURGENCY BY A TAPIR ก็ทำให้เรารู้สึกคล้ายๆกัน มันเหมือนกับหนังที่ตัดทอนความสุดโต่งของผู้กำกับบางคนทิ้งไปแล้ว คือเราก็ชอบหนังเรื่องนี้สุดๆน่ะแหละ แต่เราแอบรู้สึกไปเองว่า ในหนังเรื่องนี้นั้น Ratchapoom ได้ใช้ศักยภาพของตนเอง 100%, Wachara ได้ปลดปล่อยความเฮี้ยนของตนเองออกมาราว 80%, Chulayarnnon ปลดปล่อยความเฮี้ยนของตนเองออกมาเพียง 25 % และ Chaloemkiat ปลดปล่อยความเฮี้ยนของตนเองออกมาเพียง 25 % เท่านั้น
แต่ก็ขอย้ำอีกครั้งว่า การที่หนังเรื่องนี้ “ผิดไปจากที่เราคาดหวังไว้ก่อนได้ดู” ไม่ใช่ความผิดหรือข้อเสีย ข้อด้อยของหนังนะ มันแค่ผิดไปจากที่เราคาดหวังไว้ และการที่มันผิดไปจากที่เราคาดหวังไว้ มันอาจจะเป็นสิ่งที่ดีและถูกต้องแล้วก็ได้
คือเหมือนกับว่า เราคาดหวังไว้ก่อนได้ดูว่า ผู้กำกับทั้ง 4 คนนี้จะปลดปล่อยพลังความเฮี้ยนของตนเองออกมา 100% เต็มทุกคน แต่ถ้าหากผู้กำกับทั้ง 4 คนนี้ทำแบบนั้นจริงๆ มันอาจจะกลายเป็นออกมาแย่ก็ได้ มันอาจจะเหมือนกับการนำสารเคมี 4 สารมาผสมเข้าด้วยกันในสัดส่วนเท่าๆกัน สารละ 100 กรัมเท่าๆกัน เพราะคาดหวังว่าเราจะได้ “น้ำอมฤต” แต่พอผสมเข้าด้วยกันจริงๆ สิ่งที่ได้ออกมาอาจจะกลายเป็น “น้ำยาล้างตีน” อะไรทำนองนี้ แต่ถ้าหากเราปรับสัดส่วนสารเคมี 4 สารนี้ใหม่ บางสารมาก บางสารน้อย บางสาร 25 กรัม บางสาร 80 กรัม แล้วผสมเข้าด้วยกัน ผลลัพธ์ที่ได้มันอาจจะเป็น “ยาพิษไส้ขาด” ซึ่งก็เป็นสิ่งที่น่าพอใจมากๆแล้ว
2.ปรากฏว่าส่วนที่เราชอบที่สุดในหนังเรื่องนี้ หรือกระทบอารมณ์เรามากที่สุดในหนังเรื่องนี้ กลับเป็นส่วนของ Chaloemkiat ที่ใส่ภาพ insert วิวทิวทัศน์ต่างๆเข้ามา แล้วมี text ขึ้นมาว่า มันเป็นยูเครน, โรมาเนีย, จันทบุรี, บัวโนสไอเรส ฯลฯ ทั้งที่จริงๆแล้ว มันอาจจะถ่ายที่ปู่เจ้าสมิงพรายก็ได้
คือเราชอบอะไรแบบนี้มากที่สุดน่ะ เราชอบการมองภาพหญ้าคาที่ปู่เจ้าสมิงพราย แต่มี text ขึ้นมาว่า นี่คือบัวโนสไอเรส มันเหมือนกับหนังกระตุ้นให้เราใช้จินตนาการของตัวเองด้วยอย่างสนุกสนานในขณะที่ดู และเราก็ get pleasure อย่างรุนแรงจากอะไรแบบนี้ นี่คืออะไรที่ “สนุกสุดขีด” สำหรับเรา
ซึ่งรสชาติความสนุกสุดขีดแบบนี่ มันเป็นสิ่งที่เราเคยได้มาแล้วจากหนังอย่าง THE LIVING WORLD (2003, Eugène Green) ที่ตัวละครชี้ไปที่หมา แล้วบอกว่านี่คือสิงโต และหลังจากนั้นทุกคนก็ทำเหมือนกับว่าหมาตัวนั้นเป็นสิงโต และเราคนดูก็มองภาพหมา แต่แปรค่ามันเป็นสิงโตในหัวสมองของเราตามไปด้วย และมันก็เป็นรสชาติที่เราเคยได้มาแล้วจากหนังเรื่อง POLITICALLY LAWYER AND NARRATIVE CINEMA ของ Chaloemkiat ที่ถ่ายภาพห้องเรียน แต่มี text ขึ้นมาว่า “จงจินตนาการว่านี่คือสนามบิน”
บางที การที่รสนิยมของเรา มันจูนติดกับส่วนของเฉลิมเกียรติมากที่สุด อาจจะเป็นสาเหตุสำคัญเลยแหละที่ทำให้เรารู้สึกว่า INSURGENCY BY A TAPIR มันผิดไปจากที่เราคาดหวังไว้ก่อนได้ดู เพราะก่อนที่เราจะได้ดูหนังเรื่องนี้ เราโหยหาอะไรแบบ POLITICALLY LAWYER AND NARRATIVE CINEMA อย่างรุนแรงมากๆ แต่พอได้ดูหนังเรื่องนี้เข้าจริงๆ เรากลับพบว่า มันมีความเป็นเฉลิมเกียรติน้อยกว่าที่เราคาดหวังไว้
3.จริงๆแล้วก็ชอบโครงสร้างการเล่าเรื่องของหนังเรื่องนี้นะ ที่มันเหมือนมีเรื่องราวย่อยๆอยู่ในเรื่องราวใหญ่ๆ เราชอบหนังที่เล่าหลายเรื่องในเรื่องเดียวกันน่ะ ซึ่งตัวอย่างของหนังกลุ่มนี้ที่ดีที่สุดก็คือ ARABIAN NIGHTS (2015, Miguel Gomes)
เรามองว่าหนังเรื่องนี้มันเหมือนมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่กองเซ็นเซอร์ โดยกองเซ็นเซอร์ได้ดูหนังสองเรื่อง หนึ่งคือหนังเรื่องสาวความจำเสื่อม หรือสาวสมองผิดปกติอะไรสักอย่าง (Nualpanod) แต่พอกองเซ็นเซอร์แบนหนังเรื่องสาวความจำเสื่อม ชีวิตของผู้กำกับหนังเรื่องนั้น (วชร กัณหา) ก็เลยชิบหาย และต้องเดินทางร่อนเร่ไปเรื่อยๆ ส่วนหนังเรื่องที่สองที่กองเซ็นเซอร์ใจหมาได้ดู คือหนังโรแมนติกคอมเมดี้ที่ต่ำตมมากๆ แต่กองเซ็นเซอร์ชื่นชมมากๆ และต่อมาปรากฏว่าตัวละครในหนัง romantic comedy เรื่องนั้น ได้ก้าวเข้ามาซ้อนทับกับชีวิตจริงของหนึ่งในสมาชิกกองเซ็นเซอร์ในเวลาต่อมา
เราชอบการมีเรื่องราวยิบย่อยอะไรแบบนี้ภายในหนังเรื่องเดียวกันมากๆ และถึงแม้ว่า INSURGENCY BY A TAPIR ยังไม่ได้ผลักโครงสร้างการเล่าเรื่องแบบนี้ไปจนสุดทาง เหมือนอย่าง ARABIAN NIGHTS และ THE BURIED FOREST (2005, Kohei Oguri) แต่มันก็น่าพอใจมากแล้ว โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาจากความจริงที่ว่า แทบไม่มีหนังยาวของไทยเรื่องไหนที่ใช้โครงสร้างการเล่าเรื่องแบบนี้
การเล่าเรื่องที่มีการซ้อนเหลื่อมกัน ทับกันไปมาแบบนี้ ทำให้เรารู้สึกว่า หนังเรื่องนี้สามารถปะทะกับหนังของ John Torres ที่มีโครงสร้างที่พิศวงในระดับที่เท่าเทียมกับหนังเรื่องนี้ได้ด้วย
4.การตัดต่อในส่วนของ Ratchapoom เป็นอะไรที่หนักมาก เราว่าสิ่งที่น่าสนใจในหนังของอุ้ยก็คือมันมีอะไรที่เกินจริง แต่คนดูยังดูรู้เรื่อง ตามเรื่องได้ อย่างเช่นการที่ตัวละครในกองเซ็นเซอร์เปลี่ยนทรงผมและการแต่งหน้าไปเรื่อยๆในทุกคัทที่ตัดภาพไปนั้น มันเป็นอะไรที่เกินจริง, มันเป็นการใช้ประโยชน์จากความเป็นหนัง และ fictional world ได้อย่างเต็มที่ แต่ในขณะเดียวกัน มันก็เป็นมิตรต่อผู้ชมส่วนใหญ่ด้วย มันสร้างความสนุกสนานให้ผู้ชมส่วนใหญ่ และผู้ชมส่วนใหญ่ยังตามเนื้อเรื่องได้ทันในระดับนึง
แต่เราไม่ได้จะบอกว่า คนที่ทำแตกต่างไปจากนี้คือทำผิดนะ เราแค่จะบอกว่า นี่เป็นเสน่ห์เฉพาะตัวในหนังของ Ratchapoom ที่มีความแปลกประหลาดพิสดาร แต่ยังคงเป็นมิตรกับผู้ชมจำนวนมาก คือมันเป็นเสน่ห์ที่อาจจะพบได้ในหนังของ Ulrike Ottinger แต่พบไม่ได้ในหนังของ Jean-Luc Godard น่ะ คือ Ottinger ทำหนังที่พิสดารมาก แต่ก็ตลกขบขันมากๆในขณะเดียวกัน ในขณะที่ Godard ทำหนังที่พิสดารมาก แต่ดูแล้วงง ตามเรื่องไม่ทัน และมันไม่ใช่ว่า Ottinger ถูก แต่ Godard ผิด เราแค่จะบอกว่า ความพิสดารในหนังของ Ratchapoom มันมีเสน่ห์เฉพาะตัวแบบนี้เท่านั้นเอง
5.ดีใจที่หนังเรื่องนี้ใช้ประโยชน์จากนักแสดงละครเวทีมีฝีมือได้ดีมากด้วย เพราะจริงๆแล้วเมืองไทยมีนักแสดงที่มีฝีมือมากๆอยู่หลายคน แต่พวกเขาอยู่ในวงการละครเวที ไม่ได้อยู่ในวงการภาพยนตร์ หรือพอนักแสดงละครเวทีไปเล่นหนัง หนังหลายเรื่องก็แทบไม่ได้ใช้ประโยชน์จากศักยภาพของนักแสดงละครเวทีมากเท่าที่ควร เราก็เลยดีใจที่ได้เห็นนักแสดงละครเวทีในหนังเรื่องนี้
การได้เห็น Farida Jiraphan กับปริยา วงษ์ระเบียบปะทะกันในหนังเรื่องนี้ ก็เป็นอะไรที่ nostalgia ดีด้วยสำหรับเรา เพราะถ้าเราจำไม่ผิด ฟารีดากับปริยาเคยปะทะกันมาแล้วในหนังเรื่อง “จิ๋ม” (2005, ทศพร มงคล) ซึ่งเป็นหนังสั้นไทยที่เราชอบมากที่สุดในปี 2005 และหลังจากนั้นทั้งสองคนนี้ก็ไม่เคยได้เล่นหนังเรื่องเดียวกันอีกเลย (ถ้าเราเข้าใจไม่ผิด) จนกระทั่งเวลาผ่านไป 11 ปี สองคนนี้ถึงได้โคจรกลับมาเจอกันบนจอภาพยนตร์อีกครั้ง
ชอบบทของคุณทรายมากๆเลยด้วย ดูแล้วนึกว่าเธอคือนางพญา เธอต้องใช้ “ออร่า” อย่างมากๆในบทนี้ และบทแบบนี้มันทำให้นึกถึง Delphine Seyrig ในหนังยุโรปบางเรื่องน่ะ คือเราชอบ Delphine Seyrig มากๆ และเราว่าเสน่ห์ของ Delphine ไม่ใช่ว่า เธอแสดงได้อย่างสมจริง เป็นมนุษย์ เป็นเมอรีล สตรีพอะไรแบบนั้น เราว่าเสน่ห์ของ Delphine คือการที่เธอสามารถ “เปล่งรัศมีของความ surreal ออกมาจากตัว” ซึ่งมันเป็นอะไรที่อธิบายไม่ได้ว่าจริงๆแล้วมันคืออะไรกันแน่ หรือมันทำได้ยังไง แต่ Delphine ทำแบบนั้นได้ และ Tilda Swinton ก็ทำแบบนั้นได้ และพอมาเห็นบทของคุณทรายในหนังเรื่องนี้ เราก็เลยชอบมาก เพราะมันไม่ใช่บทที่ต้องอาศัยการแสดงแบบสมจริง แต่มันเป็นบทที่ต้องอาศัย “การเปล่งรัศมีของความ surreal ออกมาจากตัว” แบบที่เรามักพบในหนังของ Delphine Seyrig
6.ส่วนของวชรเราก็ชอบมากเช่นกัน เราชอบที่ในส่วนนี้เราแทบไม่เห็นตัวละครปริปากพูดอะไรเลย เสียงพูดมาจาก voiceover เป็นหลัก เราว่าเทคนิคนี้มันทำให้นึกถึง INDIA SONG (1975, Marguerite Duras) ซึ่งเป็นเทคนิคที่เราชอบมาก แต่แทบไม่เคยเห็นหนังไทยนำเทคนิคนี้มาใช้
เราว่าเทคนิคนี้มันช่วยเรื่องการถ่ายทำได้ดีมากด้วย เพราะนักแสดงไม่ต้องกังวลเรื่องการพูดผิดพูดถูกขณะแสดง และไม่ต้องกังวลเรื่องการบันทึกเสียง และมันเข้ากับหนังเรื่องนี้มากๆด้วย เพราะเสียง voiceover นี้มันทำให้ผู้ชมสงสัยใน authority ของเสียง voiceover ตลอดเวลาว่า สิ่งที่เราได้ยินคืออะไร มันเป็นความจริงไหม มันเป็นเสียงหมอหรือเสียงคนไข้ มันมาจากมิติไหน มึงพูดกับใคร ฯลฯ การใช้เสียง voiceover นี้มันช่วยเพิ่ม layer ของมิติพิศวงให้กับหนังได้ดีมากๆ
7.ชอบดนตรีประกอบในหนังมากๆ พอได้ฟังดนตรีประกอบในหนังเรื่องนี้แล้ว มันทำให้นึกถึงสิ่งที่คุณ Graiwoot Chulphongsathorn เคยพูดไว้หลังดูหนังเรื่อง HOW TO DISAPPEAR COMPLETELY (2013, Raya Martin) ว่า ดนตรีประกอบเป็นสิ่งที่สำคัญมากในหนังทดลองแบบนี้ เพราะหนังทดลองแบบนี้มันไม่เล่าเรื่องเป็นเส้นตรง linear, chronologically อะไรทำนองนี้ หนังทดลองหลายเรื่องมันเล่าเรื่องที่กระจัดกระจาย หรือปะติดปะต่อเรื่องได้ยาก และดนตรีประกอบ+sound effect นี่แหละที่จะช่วยหลอมรวม fragments ต่างๆในหนังทดลองเรื่องนั้นเข้าด้วยกันได้
และเราก็รู้สึกว่าดนตรีประกอบมันช่วยทำหน้าที่นี้ได้ดีมากใน INSURGENCY BY A TAPIR ด้วยเช่นกัน เพราะหนังเรื่องนี้มันมีความกระจัดกระจายสูง แต่เสียงประกอบมันช่วยเชื่อมอารมณ์ระหว่างซีนต่างๆเข้าด้วยกันได้ในระดับนึง
8.ชอบการเลือกช่วงท้ายของหนังมากๆ ที่กลับไปเล่าเรื่องของผู้กำกับที่ระเหเร่ร่อน
คือตอนที่เราดูมาถึงฉาก “พระไตรปิฎก” น่ะ เราเสียวมากๆว่าหนังจะจบยังไง เพราะถ้าหากหนังเลือกจบไม่ดี เราจะรู้สึกว่าหนังเรื่องนี้มันจะค้างคาทางอารมณ์มากๆ มันจะทำให้เรารู้สึกว่าตัวหนังขาดพร่องมากๆ
คือตอนที่เราดูมาถึงฉากพระไตรปิฎก เรารู้สึกได้ว่า หนังมันใกล้จบแล้ว แต่อารมณ์เรายังไม่ fulfill อย่างที่คาดหวังไว้เลย เพราะเราได้เห็นเพียงแค่วชรกับ Ratchapoom ปลดปล่อยศักยภาพของตัวเองออกมาอย่างเต็มที่ แต่ยังไม่เห็น Chulayarnnon กับ Chaloemkiat ปลดปล่อยศักยภาพของตนเองออกมาอย่างเต็มที่
คือในตอนนั้น เราแอบจินตนาการว่า จริงๆแล้วเราอยากให้กองเซ็นเซอร์ในหนังเรื่องนี้ดูหนัง 4 เรื่องไปเลยน่ะ คือหลังจากกองเซ็นเซอร์ดูหนังเรื่องสาวประสาทเสื่อม กับหนังโรแมนติกคอมเมดี้ต่ำตมไปแล้ว กองเซ็นเซอร์ในหนังเรื่องนี้ก็ควรได้ดูหนังเฮี้ยนๆอีกสองเรื่องที่กำกับโดย Chulayarnnon กับ Chaloemkiat ด้วย มันถึงจะทำให้หนังเรื่องนี้ fulfill ทางอารมณ์สำหรับเรา
เพราะฉะนั้นพอมาถึงฉากพระไตรปิฎก เราก็เลยสงสัยมากๆว่า หนังเรื่องนี้จะหาทางลงทางอารมณ์ได้ยังไง เพราะเรารู้สึกว่า อารมณ์มันยังค้างเติ่งอยู่เลย เรารู้สึก fulfill ไปแค่ครึ่งเดียวของที่คาดหวังไว้เท่านั้น
แต่ปรากฏว่า พอหนังกลับมาเล่าเรื่องของผู้กำกับที่ระเหเร่ร่อนอีกครั้ง เราว่าอะไรบางอย่างในช่วงท้ายๆของหนังเรื่องนี้ มันหาทางลงทางอารมณ์ได้ในระดับที่น่าพอใจสำหรับเราน่ะ เราก็เลยรู้สึกว่า มันเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องมากๆที่หนังกลับมาปิดท้ายด้วยอะไรแบบนี้ อารมณ์ที่ค้างๆคาๆ รู้สึกไม่เสร็จสมอารมณ์หมาย ก็ได้รับการคลี่คลายไปในทางที่น่าพอใจได้ในที่สุด
No comments:
Post a Comment