Monday, August 22, 2016

่๋JIT'S WISH LIST

ขอบพระคุณมูลนิธิหนังไทยมากๆที่จัดงานฉายหนังในโปรแกรม JIT’S WISH LIST มันคือ ฝันที่เป็นจริงสำหรับผมมากๆครับที่ได้ดูหนังในโปรแกรมเหล่านี้อีกครั้ง เพราะมันเป็นหนังที่ผมชอบสุดๆเมื่อได้ดูเมื่อ 15-20 ปีก่อน แต่ไม่มีโอกาสได้ดูหนังเหล่านี้อีกเลย และไม่รู้ว่าจะหาดูได้อย่างไรอีกด้วย เพราะผมไม่รู้จักผู้กำกับหนัง 7 เรื่องนี้เป็นการส่วนตัว ยกเว้นคุณมานัสศักดิ์ ดอกไม้ แต่คุณมานัสศักดิ์ก็ไม่มีหนังเรื่อง “มารเกาะกุมนครหลวงเก็บไว้กับตัวเอง (ถ้าผมเข้าใจไม่ผิด) เพราะฉะนั้นหนัง 7 เรื่องนี้ก็เลยเป็นอะไรที่ฝังใจผมมาตลอดในช่วง 15-20 ปีที่ผ่านมา เพราะมันเป็นหนังที่เราอยากดูอีกรอบ แต่ไม่มีโอกาสได้ดู และมันก็เป็นหนังที่แทบไม่มีคนพูดถึงเลยด้วย 

ขอบพระคุณผู้ชมทุกท่านมากๆครับที่มาดูหนังในโปรแกรม JIT’S WISH LIST ในวันอาทิตย์ ถ้าหากท่านเกลียดหนังเรื่องไหน ก็เขียนถึงได้ตามสบายนะครับ เพราะผมไม่ใช่ผู้กำกับหนังเรื่องนั้น 555 และผมคัดเลือกหนังตาม รสนิยมส่วนตัวของตัวเองอยู่แล้ว ซึ่งย่อมไม่ตรงกับคนอื่นๆ อย่างแน่นอน ผมไม่ได้ยึด มาตรฐานสากลใดๆทั้งสิ้นในการคัดเลือกหนังในโปรแกรม เพราะผมไม่ได้ไปดูหนังแต่ละเรื่องเพื่อดูว่า หนังเรื่องนั้นผ่านมาตรฐานสากลทางศิลปะภาพยนตร์หรือไมผมไปดูหนังเพื่อดูว่าหนังเรื่องนั้นจะให้ความสุขแก่ผมได้หรือไม่ เพราะฉะนั้นพอผมต้องเลือกหนังในโปรแกรม ผมก็คัดเลือกตามเกณฑ์นี้ด้วยเช่นกัน นั่นก็คือว่า มันเป็นหนังที่ให้ความสุขสุดๆกับผมเป็นการส่วนตัว ส่วนเรื่องที่ว่ามันจะผ่านมาตรฐานสากลทางศิลปะภาพยนตร์หรือมาตรฐานใดๆหรือไม่นั้น ผมไม่เคยแคร์ เพราะผมไม่ได้มีชีวิตอยู่เพื่อดู หนังที่ผ่านมาตรฐานสากลผมมีชีวิตอยู่เพื่อดู หนังที่ให้ความสุขแก่ผม” 555

พอได้ดูหนังในโปรแกรมนี้ ก็เลยทำให้รู้สึกว่า จริงๆแล้วรสนิยมของตัวเองอาจจะเปลี่ยนแปลงไปน้อยมากในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา แต่ หนังที่ตอบสนองรสนิยมของตัวผมเองมีเพิ่มขึ้นเยอะ เพราะพอดู SIAM SQUARE (1998, Chararai Sutthibutr) แล้วก็พบว่า มันมีความคล้ายคลึงกับหนังของคุณ Teeranit Siangsanoh มากๆ (ถ้าตัดพฤติกรรมของตัวละครในตอนจบของ SIAM SQUARE ออกไป) เพราะฉะนั้นหนังอย่าง SIAM SQUARE ที่เคยเป็นสิ่งที่หายากมากๆในวงการหนังไทยในช่วงปลายทศวรรษ 1990 ก็ไม่ใช่ของที่หายากแล้วในยุคปัจจุบัน ความกระหายอยากหนังประเภทนี้ของผมที่แทบไม่เคยได้รับกาsatisfied เมื่อ 20 ปีก่อน ก็ได้รับการตอบสนองแล้วในยุคปัจจุบันด้วยหนังหลายสิบเรื่องของคุณ Teeranit Siangsanoh และ The Underground Office

ส่วนหนังเรื่อง มหานคร: สังหารหมู่” (2001, Montree Saelo) ก็ทำให้ผมรู้สึกคล้ายๆกัน ผมชอบมากที่หนังเรื่องนี้ถ่ายทอดความสุขของการไปเที่ยวกับเพื่อนๆ ออกมาอย่างซื่อตรง โดยไม่ต้องสร้าง conflict ไม่ต้องสร้างเนื้อเรื่องอะไรให้มันวุ่นวายโดยไม่จำเป็น ซึ่งหนังแบบนี้ก็เคยเป็นสิ่งที่หายากมากๆในวงการหนังไทยเมื่อ 15 ปีก่อนเช่นกัน แต่หลังจากนั้นก็มีคนทำหนังแบบนี้ออกมาบ้างเป็นครั้งคราว อย่างเช่นเรื่อง วังยืนหาบ” (2008, Sompong Soda) ที่บันทึกภาพผู้ชายกลุ่มหนึ่งไปเที่ยวน้ำตก,ลำธารตลอดความยาวราว 30-40 นาทีของหนัง, หนังเรื่อง WALK TO PHUKET (2010, Tanaporn Sae-low) ที่บันทึกภาพชายหนุ่มสองคนไปเที่ยวภูเก็ต (ถ้าจำไม่ผิด), IN TRAIN (2011, Boripat Plaikaew, 83min) ที่บันทึกภาพการเดินทางของเกย์กลุ่มหนึ่ง และ TEN YEARS (2014, Chawagarn Amsomkid) ที่บันทึกภาพการไปเที่ยวต่างจังหวัดกับเพื่อนๆได้น่าเบื่อมาก แต่พอเจอ monologue ที่บ้าคลั่งมากในช่วง 20 นาทีสุดท้ายของหนัง เราก็ให้อภัยหนังเรื่องนี้ได้ในทันที

ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ก็มีผู้กำกับอย่างคุณ Theeraphat Ngathong และเพื่อนๆของเขา ที่ทำหนังแบบนี้ออกมาหลายเรื่องด้วย อย่างเช่นเรื่อง ALL OF US: PART 8 MEDICAL ENTRANCE EXAMS AT RATCHABURI (2014, Theeraphat Ngathong) และ MY PRANBURI CAMP (2012, Thossaporn Khamenkit) ที่บันทึกภาพการไปเที่ยวกับเพื่อนๆ ซึ่งเป็นหนังที่ผมชอบในระดับปานกลาง แต่หนังที่ผมชอบมากที่สุดในกลุ่มนี้ของคุณ Theeraphat คือเรื่อง เมื่อเราลอบผ่านปราการสวรรค์และถูกผู้พิทักษ์ไล่ล่า” (WHEN WE SNEAKED THROUGH THE HEAVEN FORTRESS AND WERE CHASED BY THE GUARDIAN) ที่บันทึกภาพความสุขขณะเล่นที่สระน้ำกับเพื่อนๆ

เพราะฉะนั้น พอผมได้ดู SIAM SQUARE กับ มหานคร:สังหารหมู่ ผมก็เลยตระหนักว่า จริงๆแล้วรสนิยมในการดูหนังของผมอาจจะเปลี่ยนแปลงไปน้อยมากในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปก็คือการที่เมืองไทยมีผู้กำกับหนังอย่าง Teeranit Siangsanoh และ Theeraphat Ngathong ถือกำเนิดขึ้นมา และทำให้หนังไทยกลุ่มที่เคยหายากเมื่อ 15-20 ปีก่อน ไม่ใช่หนังไทยกลุ่มที่หายากอีกต่อไป

ความรู้สึกอื่นๆที่มีต่อหนังในโปรแกรม JIT’S WISH LIST

1.SIAM SQUARE (1998, Chanarai Sutthibutr)

ในขณะที่ สไตล์หนังที่ผมชอบแทบไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปเลยในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา สิ่งที่เปลียนแปลงไปมากก็คือความรู้สึกที่มีต่อตอนจบของหนังเรื่องนี้ คือเมื่อ 18 ปีก่อน ผมไม่ได้รู้สึกตะขิดตะขวงใจอะไรกับตอนจบของหนัง แต่พอดูรอบนี้แล้วรู้สึกเหมือนกับว่ามันมีอะไรบางอย่างไม่ถูกต้องในตอนจบ ท่าทีที่ตัวละครในเรื่องทำกับคนจนในตอนจบ มันเป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้วหรือไม่ ความตะขิดตะขวงใจที่มีต่อตอนจบของหนังในการดูรอบนี้ บางทีมันแสดงให้เห็นว่าทัศนคติทางสังคมของเราเปลี่ยนแปลงไปมากในช่วง 18 ปีที่ผ่านมา

2.TOUGH RULE…COOL KIDS (1999, Sriwattana Wedreungvit)

จำได้ว่าตอนดูรอบแรกในปี 1999 เราฟินมากๆกับการเห็นตัวละครลุกขึ้นมาผัดกับข้าวในห้องสอบ และนั่งสมาธิใต้กลดในห้องสอบ เราก็เลยอยากดูมันอีกรอบมากๆ และพอได้ดูอีกรอบ เราก็รู้สึกฟินอีกครั้ง 

อีกสิ่งที่ดีมากๆในหนังเรื่องนี้ ก็คือการนำเสนอนิตยสาร HEAT MEN คือตอนที่ผมดูหนังเรื่องนี้ในปี 1999 นิตยสารนี้ถือเป็น ของธรรมดาแต่พอมาดูในยุคนี้ ซึ่งเป็นยุคที่นิตยสารนี้หายสาบสูญไปนานมากแล้ว หนังเรื่องนี้ก็เลยมีคุณค่าในการช่วยบันทึกสิ่งที่หายสาบสูญไปแล้วด้วย

สำหรับเราแล้ว หนังเรื่องนี้กับ เป็นเรื่อง 100%” และ HIGHWAY-SATOR ถือเป็นหนัง cult คือมันเป็นหนังบ้าๆบอๆที่อาจไม่มีคุณค่าทางศิลปะอะไร แต่ความบ้าๆบอๆของมันตอบสนองผู้ชมบางคนได้ดีมากๆ หรือทำให้ผู้ชมบางคน (อย่างน้อยก็เราหนึ่งคน) ที่คลั่งไคล้มันมากๆ

3.เป็นเรื่อง 100% (2000, ทวีลาภ แซ่อุ้ย)

ความ cult หรือความประสาทแดกของหนังเรื่องนี้ มีบางจุดที่ทำให้นึกถึงหนัง cult ในยุคนั้นของคุณกุลชาติ จิตขจรวานิช และหนัง cult ของกลุ่มยอดเซียนซักแห้ง แต่เราว่า เป็นเรื่อง 100%” เข้าทางเรามากกว่าหนังของคุณกุลชาติและกลุ่มยอดเซียนซักแห้งในแง่ที่ว่า มันมีตัวละครหญิงที่เข้าทางเรา หรือมันไม่ค่อย macho มากนัก และอารมณ์ขันของ เป็นเรื่อง 100% ตรงกับอารมณ์ขันของเรามากกว่า 

เรื่อง sense of humour นี่มันเป็นเรื่องเฉพาะตัวจริงๆ เพราะแต่ละคนจะหัวเราะกับสิ่งที่ไม่เหมือนกัน ผมเองโดยปกติแล้วก็ไม่ชอบหนังตลก เพราะหนังที่คนอื่นว่าตลกกัน หลายเรื่องมักไม่ทำให้ผมรู้สึกตลก และหนังที่ผมรู้สึกตลกมากๆ ก็อาจจะเป็นหนังที่หลายคนรังเกียจ

สาเหตุหลักที่ทำให้ผมรู้สึกอยากดู TROUBLE 100% อีกรอบอย่างมากๆ เพราะผมฝังใจกับฉาก อาชญากรสาวโดนตบด้วยตีนอย่างมากๆ คือฉาก การตบด้วยตีนนี่เป็นสิ่งที่ผมไม่เคยเห็นมาก่อนในหนังยุคนั้นน่ะ เพราะฉะนั้นพอผมได้ดูฉาก อาชญากรสาวโดนตบด้วยตีนในหนังเรื่องนี้ในปี 2000 มันก็เลยเป็นอะไรที่ฟินมากๆ ฝังใจมากๆ และทำให้อยากดูอีก

อีกจุดที่ทำให้ TROUBLE 100% เข้าทางผมมากๆ เพราะผมมักจะชอบหนังที่มีตัวละครประกอบอิทธิฤทธิ์สูงหลายๆตัว (แบบหนังของ Pedro Almodovar) และหนังเรื่องนี้ก็เข้าทางผมในจุดนี้ ทั้งตัวละคร หนุ่มที่เอากางเกงในมาปิดหน้า”, “ขอทานที่พูดกับกล้องและตีลังกาไปมาและที่สำคัญที่สุดคือตัวละคสาวกระโดดสะพานลอย

คือตัวละครสาวกระโดดสะพานลอยนี่คือตัวละครแบบที่ตรงกับจินตนาการของผมเลยน่ะ คือถ้าหากผมจะสร้างหนังสักเรื่อง ตัวละครแบบนี้นี่แหละที่จะมีชีวิตรอดอยู่ในหนังของผมได 

สิ่งที่ผมประทับใจในตัวละครสาวกระโดดสะพานลอย ก็คือ

3.1 เธอเลือกกระโดดจากสะพานลอย แทนที่จะยอมให้อาชญากรสาวมาขวางทางเธอ

3.2 เธอกระโดดจากสะพานลอย แต่เธอไม่ตาย

3.3 เธอไม่ตาย เพราะเธอกินเมนทอส

3.4 แต่เธอเป็นโรคบ้าผู้ชาย เธอมัวแต่มองชายหนุ่มในถนน จนหัวโขกเสา

3.5 เธอสื่อสารกับเพือนร่วมงาน/เจ้านาย เป็นตัวเลขฐานสอง 10110110111 อะไรประเภทนี้ แทนที่จะพูดเป็นภาษามนุษย์ (ถ้าเราเข้าใจไม่ผิดนะ)

แต่น่าเสียดาย ที่สำหรับเรานั้น TROUBLE 100% มันมาถึงจุดไคลแมกซ์ หรือมันมาพีคเอาช่วงกลางเรื่อง เมื่อตัวละครสาวกระโดดสะพานลอยปรากฏออกมาน่ะ แต่ครึ่งเรื่องหลัง หนังมันพยายามจะทำตัวมีสาระ มีธีม มีประเด็น ความสนุกของหนังก็เลยลดลงไปมาก

สาเหตุที่เราไม่ค่อยชอบครึ่งเรื่องหลังของ TROUBLE 100% มันเป็นเพราะรสนิยมส่วนตัวของเราด้วยแหละ เพราะเรามักจะพบว่า หนังหลายๆเรื่องที่เราดูนั้น เราไม่ชอบ ประเด็น”, “ธีม”, “สาระ”, “เนื้อเรื่องของมัน เรามักจะพบว่า เนื้อเรื่องและ ประเด็นของหนัง ขัดขวางความสุขที่เราควรจะได้รับจากหนังเรื่องนั้น แต่ถ้าหากหนังเรื่องนั้นปลดปล่อยตัวเองออกจาก เนื้อเรื่องและ ประเด็นและนำเสนอความเสียสติของตัวเองไปเรื่อยๆ มันอาจจะเข้าทางเรามากกว่า

แต่อันนี้เป็นเรื่องของรสนิยมส่วนตัวนะ แน่นอนว่าผู้ชมคนอื่นๆอาจจะชอบหนังที่ เนื้อเรื่องและ ประเด็นแต่สำหรับเราแล้ว หนังอย่าง TROUBLE 100% เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ทำให้เรารู้ตัวดีว่า เรามีความสุขกับความประสาทแดกของหนังมากๆ จน สาระหรือ ประเด็นของหนังมาทำลายความสุขนั้นไ

แต่ในอีกแง่หนึ่ง ผู้กำกับที่เราชื่นชอบสุดๆ ก็คือผู้กำกับที่สามารถนำเสนอ ประเด็นได้โดยไม่ไปลดทอนพลังความประสาทแดกของหนังนะ ซึ่งผู้กำกับที่ทำหนังที่ประสาทแดกมากๆ แต่ก็ดูเหมือนจะนำเสนอประเด็นได้ดีมากๆในขณะเดียวกัน ก็มีอย่างเช่น Christoph Schlingensief, Ulrike Ottinger, Pedro Almodovar หรือหนังอย่าง DAISIES (1966) ของ Vera Chytilova

พอเปรียบเทียบกับหนังเรื่องอื่นๆใน JIT’S WISH LIST แล้ว เราว่า TROUBLE 100% เป็นหนังที่ เล่าเรื่องมากที่สุดแล้วนะ แต่เราก็ชอบที่โครงสร้างการเล่าเรื่องของมันเป็นแนว THE PHANTOM OF LIBERTY (1974, Luis Buñuel) + LA RONDE (1950, Max Ophuls) ที่เล่าเรื่องของตัวละครที่ต่อเนื่องกันเป็นทอดๆ แทนที่จะใช้โครงสร้างการเล่าเรื่องแบบหนังทั่วไป

เราว่าตัวละครผู้ร้ายในหนังที่เป็นกะเทย+ทอม มันน่าสนใจดีด้วย ในแง่หนึ่งมัน politically uncorrect แต่ในอีกแง่หนึ่งมันก็ anti-stereotype หรือเปล่า เพราะปกติแล้วตัวละครนักเลงรีดไถเงินแบบนี้ มักจะเป็นชาย straight กุ๊ยๆ

4.WHEN KOSIT WENT TO DEATH (2001, Kosit Juntaratip)

ดีใจสุดๆที่หลายคนชอบหนังเรื่องนี้มากๆ เหมือนทุกฉาก, ทุกซีน, ทุกเฟรมภาพ มันออกแบบมาดีมากน่ะ

ฉากที่ชอบที่สุดในการดูรอบสอง ก็คือฉากที่โฆษิตพูดว่า โฆษิตตายแล้วครับแล้วแม่ก็ตอบว่า ดีแล้วแล้วก็เฉไฉไปคุยเรื่องอื่นๆแทน เรารู้สึกว่ามันเป็นอะไรที่หนักมาก คลาสสิคมาก ที่แม่ตอบแบบนี้

5.มหานคร:สังหารหมู่ (2001, Montree Saelo)

เปิดฉากมาตอนแรกนึกว่าจะเป็นหนังอนุรักษ์ความสะอาด ด่ากรุงเทพ ด่ารถติด ด่าประชากรแออัด ชนบทดีงาม บลา บลา บลา แต่ไปๆมาๆปรากฏว่าผิดคาด ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีแล้ว

เหมือนหนังหาจุดที่สมดุลได้ดี ระหว่าง การพยายามทำให้คนดูรู้จักตัวละครกับ การกีดกันคนดูออกจากตัวละคนะ เพราะเราว่าหนังกลุ่มที่บันทึก ช่วงเวลาอันน่าจดจำระหว่างเพื่อนๆโดยเฉพาะหนังที่กึ่งๆสารคดี กึ่งๆ home video แบบนี้ หลายเรื่องมักประสบปัญหาที่ ตัวละคร/subjects ในหนัง สนิทกันมากๆ คุยกันเรื่องส่วนตัวมากๆซึ่งคนดูหลายๆคนไม่รู้เรื่องส่วนตัวนั้นด้วย และพอตัวละครในหนังคุยกันแต่เรื่องที่เฉพาะกลุ่มมากๆ บางทีคนดูก็เลยรู้สึกเหมือนถูกกีดกันออกจากกลุ่มตัวละครไปเลย 

และเราว่า METROPOLIS: MASSACRE นี้ หาจุดที่สมดุลได้ดี คือหนังมันก็ไม่ได้พยายามทำให้เรารู้จักว่าใครเป็นใครเลยนะ หนังมันพาเรากระโจนเข้าไปอยู่กลางวงเพื่อนนั้นเลย เพื่อนๆแต่ละคนคุยกันอย่างสนิทสนมโดยไม่สนใจคนดูเลยว่าจะเข้าใจอะไรไหม แต่หนังมันนำเสนอการเล่นสนุกในป่าในแบบที่เรามีอารมณ์ร่วมไปด้วยได้ และหนังนำเสนอ ฉากคุยกันเรื่องกล้องซึ่งเป็นบทสนทนาที่ไม่กีดกันคนดูมากเกินไป เราก็เลยมองว่า หนังเรื่องนี้นำเสนอ moment แห่งความสุขระหว่างเพื่อนได้ดีมากๆสำหรับเรา มันเป็น moment ที่แสดงให้เห็นว่าเพื่อนๆกลุ่มนี้สนิทกันจริงๆ และ คนนอกอย่างเราก็เข้าไปสัมผัสกับมันได้ด้วย

6.มารเกาะกุมนครหลวง (2001, Manutsak Dokmai)

อย่าถามเราว่าชื่อหนังเรื่องนี้แปลว่าอะไร

อย่าถามเราว่าหนังเรื่องนี้เกี่ยวกับอะไร

อย่าถามเราว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างในหนังเรื่องนี้

เพราะเราก็ไม่รู้เหมือนกัน เรารู้แต่ว่าเรามีความสุขสุดๆที่ได้ดูอะไรแบบนี้ จบ

7.HIGHWAY-SATOR (2003, Suwit Maprajuab)

ตายแล้ว ทำไมเราจำผิดว่าหนังเรื่องนี้เกี่ยวกับรถตุ๊กๆ แต่ก็เอาเถอะนะ มันเป็นหนังความยาว 5 นาทีที่เราได้ดูเมื่อ 13 ปีก่อน ความทรงจำของเรามันก็คงต้องมีผิดพลาดบ้าง 555

เราเดาว่าสาเหตุที่ทำให้เราชอบหนังเรื่องนี้อย่างสุดๆ อาจจะเป็นเพราะว่า เราชอบหนังกลุ่มที่ ตัวละครทำอะไร nonsense สุดๆไปเรื่อยๆ แล้วก็ตายห่าไปเลยโดยที่หนังไม่ต้องสั่งสอนหรือให้สาระอะไรกับคนดูน่ะ ซึ่งหนังในกลุ่มนี้ก็มีเช่นเรื่อง

7.1 BLOW UP MY TOWN (1968, Chantal Akerman) ที่นางเอกเป็นเด็กสาววัยรุ่นที่ทำอะไรบ้าๆบอๆในห้องครัวไปเรื่อยๆ แล้วก็ฆ่าตัวตาย

7.2 TIME UP (2012, Jiraporn Saelee) ที่นางเอกเป็นเด็กสาววัยรุ่นที่แดกอาหารไปเรื่อยๆ แล้วก็ตายห่าไปเลย

7.3 CRADLE (2013, Tidathip Sanchart) ที่นางเอกเป็นเด็กสาววัยรุ่นที่ไกวเปลให้เพื่อนจนเพื่อนตายไปเลย

เราว่า HIGHWAY-SATOR ทำให้เรารู้สึกฟินคล้ายๆกับหนังกลุ่มข้างต้น ซึ่งก็ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไม แต่เวลาดูหนังกลุ่มนี้มันให้ความรู้สึก liberate อะไรบางอย่าง มันเป็นอารมณ์ขันแบบที่เข้าทางเราด้วยน่ะ 

อีกอย่างที่เราชอบมากๆใน HIGHWAY-SATOR คือ รถบุโรทั่งที่ใช้ในหนัง คือเราไม่รู้ว่ามันทำจากวัสดุอะไร เราสงสัยมากๆ มันดูเหมือนรถกระดาษมากๆ แต่มันก็เหมือนแล่นในถนนจริงๆ เราก็เลยงงๆว่าหนังเรื่องนี้ถ่ายทำยังไง และรถในหนังทำจากกระดาษหรือวัสดุอะไร

เราว่าเราชอบอะไรแบบนี้ด้วยแหละ นั่นก็คือ vehicles ที่ปรากฏในหนัง และทำให้คนดูรู้สึกตัวอยู่ตลอดเวลาว่า กำลังดูหนังเพราะรถบุโรทั่งใน HIGHWAY-SATOR มันเป็นรถที่แล่นไม่ได้ในความเป็นจริงอยู่แล้ว แต่ ภาพยนตร์ทำให้มันแล่นได้ เพราะนี่คือ fictional world ที่เรากำหนดให้อะไรก็เกิดขึ้นได้ และมันทำให้เรานึกถึงหนังอีกสองเรื่องที่เราชอบสุดๆด้วย ซึ่งก็คือ ฝัน-เรียม” (2006, ลัดดาวัลย์ สืบเพ็ง) ที่มีฉากตัวละครพายเรือบนบก คือคนในความเป็นจริงมันพายเรือบนบกไม่ได้อยู่แล้ว แต่พอตัวละครใน ฝัน-เรียมพายเรือบนบกอย่างเอาจริงเอาจัง เราก็พบว่ามันเป็น sense of humour ที่เข้าทางเราอย่างสุดๆ ส่วนหนังอีกเรื่องคือ THE GREAT LOVE (1969, Pierre Étaix) ที่ตัวละครเดินทางบนท้องถนนโดยใช้ เตียงเป็นยานพาหนะ


No comments: