Monday, August 15, 2016

SOME THAI SHORT FILMS I SAW

ดูเทศกาลหนังสั้นมาราธอนแล้วนึกถึงสิ่งที่ Wiwat Filmsick Lertwiwatwongsa เคยพูดไว้มากๆ ที่บอกว่า หนังในเทศกาลนี้มันช่วยจดบันทึกสิ่งที่เป็นกระแสนิยมในแต่ละปึ อย่างเช่นหนังปี 2000 สะท้อนความคลั่งไคล้ Wong Kar-wai (อย่างเช่นเรื่อง บรรจุกระป๋อง ของจันทิรา สมบุญเกิด), หนังปี 2010 สะท้อนความคลั่งไคล้บีบี, หนังปี 2015 ประมาณ 50 เรื่องได้รับอิทธิพลจาก MARY IS HAPPY, MARY IS HAPPY (2013, Nawapol Thamrongrattanarit) ส่วนหนังสั้นปีนี้ มีหลายเรื่องที่ได้รับอิทธิพลจาก CEMETERY OF SPLENDOUR (2015, Apichatpong Weerasethakul) ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าสนใจมาก

ชอบมากที่หนังของสำนักงานใต้ดิน ไม่ได้คว้าจับแต่บรรยากาศ, แสงไฟนีออน, แสงเงา, ความมืด หรือมนุษย์ในระยะไกลอีกต่อไป แต่สามารถคว้าจับปฎิสัมพันธ์เล็กๆน้อยๆของมนุษย์ในระยะใกล้ในหนังชุด "โรงเรียนแสนซน"ได้ด้วย ในแง่หนึ่ง "โรงเรียนแสนซน" เหมือนเป็น"คู่หู" ของหนังเรื่อง ฝันสามบาท (2016, Sompong Soda, A+30) เพราะหนังสองเรื่องนี้เน้นแสดงความน่ารักของกลุ่มเด็กสาววัยกำดัดเหมือนกัน แต่แตกต่างกันตรงที่ ฝันสามบาท นำเสนอกลุ่มเด็กสาวที่โพสท่าอย่างรุนแรง ภายใต้เนื้อหาแบบหนังสยองขวัญ ส่วนหนังชุดโรงเรียนแสนซนนั้น นำเสนอภาพของกลุ่มเด็กสาวที่ "เป็นอิสระจากเนื้อเรื่อง" ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่เรามักพบในหนังของสำนักงานใต้ดิน และขณะที่เราดูหนังเรื่องนี้ เราก็มีความสุขมากๆ กับการจินตนาการเนื้อเรื่องจากภาพต่างๆที่ได้เห็น บางครั้งเราก็จินตนาการให้มีการตบกันแบบ MEAN GIRLS (2004, Mark S Waters), ให้มีการฆ่ากันแบบ BATTLE ROYALE (2000, Kinji Fukasaku) หรือให้มีการร่ำลากันอย่างซาบซึ้งก่อนที่ชีวิตแต่ละคนจะแตกกระสานซ่านเซ็นกันไปแบบในละครทีวีญี่ปุ่นชุด "อดีตฝันวันวาน" HAKUSEN NAGASHI (1996)

TIME ACTUALLY PASSES SLOWER IN DREAM (2016, Alwa Ritsila , A+30) นึกว่ากำกับโดย Philippe Garrel หนึ่งในหนังที่งดงามที่สุดที่ได้ดูในปีนี้ รู้สึกเหมือนหัวใจจะสลาย รู้สึกอยากร้องไห้ในหลายๆฉากโดยไม่มีสาเหตุ หรือสาเหตุอาจเป็นเพียงเพราะภาพ, เสียง และการตัดต่อในหนังมัน touch เราอย่างรุนแรงแค่นั้นเอง

ชอบตัวละครคุณแม่ใน "ท้องฟ้าจำลอง" มากๆ สามารถปะทะกับตัวละครคุณแม่ใน BE A PAST (2016, Weerasu Worrapot) และ DON'T WORRY, BE HAPPY (2015, Anuwat Amnajkasem) ได้สบายๆ...อยากฉาย MICHIN ควบกับ THE DOCUMENTARY OF COSPLAYER (2012, กฤตพร เพ็ชรน้ำเขียว) เพราะหนังสองเรื่องนี้นำเสนpassion ของ subculture ได้รุนแรงมาก

SUBCONSCIOUSNESS (2016, Tani Thitiprawat, A+30) ชอบการผสมหลายอย่างเข้าด้วยกัน ทั้งโฆษณา, หนังตัวอย่างของ imaginary films, ฟุตเตจหนังเก่าของคนอื่น, ฟุตเตจหนังเก่าของตัวเอง, เบื้องหลังการถ่ายทำหนังของตัวเอง, คลิปข่าวการเมืองไทย, คลิปภัยพิบัติต่างชาติ, home video ที่มาพร้อมเสียงพระสวดมนต์เป็นเวลายาวนาน, งานคอนเสิร์ต, การพูดคุยถึงหนังที่อยากสร้างแต่ยังไม่ได้สร้าง, การพูดคุยถึงหนังที่อยากสร้างแต่คงไม่มีทางสร้างได้, หนังจบลงด้วยการทำตัวเป็นหนังไซไฟ เมื่อคนในอีก 180 ปีข้างหน้า ได้ดูคลิปหมิว ลลิตา เต้นสุดเหวี่ยงพร้อมกับร้องเพลง ประวัติศาสตร์ ของ Christina Aguilar และฉากจบนี้มันก็ทำให้เราร้องไห้ เพราะเนื้อเพลงจากปี 1989-1990 ที่ร้องว่า "ประวัติศาสตร์จะไม่ซ้ำ ประวัติศาสตร์จะต้องเปลี่ยน เปลี่ยนไปเป็นฉันและเธอเท่าเทียมกัน" มันให้ความรู้สึกที่รุนแรงมากในวันนี้ และมันทำให้นึกถึงความฝันในยุคปี 1990 ยุคที่เพลง ประวัติศาสตร์ เพิ่งออกมา ยุคที่เราเคยนึกว่าโลกและประเทศชาติจะพัฒนาไปข้างหน้า ก่อนที่จะได้รู้ว่าสิ่งที่ฝันไว้ มันอาจจะไม่กลายเป็นความจริ

GOODNIGHT DADDY (2016, Thanissorn Taopayung, A+5) เป็นหนังซอมบี้ที่น่ารักดี ดูแล้วรู้สึกว่ามันเหมาะฉายควบกับหนังซอมบี้ของ Joe Dante อย่าง HOMECOMING (2005) และ BURYING THE EX (2014) จริงๆแล้วรู้สึกว่าปีนี้เป็นปีทองของหนังซอมบี้ไทย เพราะมีหนังซอมบี้ไทยที่เราชอบ 4 เรื่อง และแต่ละเรื่องไม่ซ้ำแนวกันเลย ซึ่งได้แก่เรื่อง BEYOND (Thanig Jaturapaktrarak, A+25) ที่เป็นแนว romantic comedy, LAST ZOMBIE (Bowornlak Somroob, A+30) ที่เน้นบรรยากาศเหงาๆ , SILENCE OF THE DUSK (Nipan Jaojaroenporn, A+30) ที่สนุกตื่นเต้นลุ้นระทึกมากๆ และ GOODNIGHT DADDY ที่เป็นแนวตลก

พอเห็นนางเอกสาวมัธยมใน TREE-IN-BLOOD (Punyama Uchanarasmee, A+25) และใน MANGO THROUGH MY EYES หิมพานต์ที่รัก(Thanaporn Petjaras, A+30) ประสบปัญหาเดียวกัน นั่นก็คือ want ผู้ชาย แต่ไม่กล้าแสดงออก เราก็เลยจินตนาการว่า อยากให้นางเอกสาวมัธยมใน THE LAST NIGHT เหตุเกิดเพราะคืนนั้น (2016, Dollarit Pongthong, A+30) มาสั่งสอนนางเอกในหนังเรื่องอื่นๆ ว่าถ้าอยากได้เขามาเป๋นผัว เราต้องทำตัวยังไง จริงๆแล้วนางเอกในหนังสองแบบนี้เหมือนเติมเต็มซึ่งกันและกัน นางเอกใน MANGO THROUGH MY EYES เหมือนกระจกที่ส่องสะท้อนความไม่กล้าของตัวเราตามความเป็นจริงในวัยมัธยม มันคือ what really happened in my life in the past ส่วนนางเอกของ THE LAST NIGHT มันคือ what could have been มันคือแฟนตาซีของเราว่า ถ้าหากเราย้อนกลับไปใข้ชีวิตมัธยมได้ใหม่อีกครั้ง เราจะล่าผู้ชายอย่างไร

รู้สึกว่า WHAT'S ON YOUR MIND (2016, Parnwad Charoenyos, A+25) ถ้าเอามาดัดแปลงเป็นหนังยาวดีๆ มันจะได้หนังเฮี้ยนๆเกี่ยวกับสาวโรคประสาทเหมือนหนังที่กำกับหรือนำแสดงโดย Valeria Bruni- Tedeschi


No comments: