Friday, April 14, 2017

SANADA TEN BRAVES + THE TOP SECRET: MURDER IN MIND

SANADA TEN BRAVES (2016, Yukihiko Tsutsumi, Japan, A+30)

1.ปกติเราไม่ชอบหนังตลก แต่ปรากฏว่าช่วงนี้เราได้ดูหนังตลกที่ชอบสุดๆ 3 เรื่องด้วยกัน ซึ่งได้แก่ SANADA TEN BRAVES, DR. STRANGELOVE OR HOW I LEARNED TO STOP WORRYING AND LOVE THE BOMB (1964, Stanley Kubrick) และ THE MOHICAN COMES HOME (2016, Shuichi Okita) และเราก็คิดว่าอารมณ์ตลกในหนังทั้ง 3 เรื่องนี้มันมี function บางอย่างที่เข้าทางเรา มันไม่ได้ถูกใส่เข้ามาเพียงเพื่อทำให้ผู้ชมหัวเราะเพียงอย่างเดียว แต่มันมีหน้าที่อย่างอื่นๆนอกเหนือไปจากการสร้างเสียงหัวเราะด้วย

โดยในกรณีของ SANADA TEN BRAVES นั้น ตัวหนังมันทำให้เราลองจินตนาการต่อไปเล่นๆว่า มันจะเป็นอย่างไรถ้าหากมีการสร้างหนังเกี่ยวกับ สมเด็จพระนเรศวรหรือ ชาวบ้านบางระจันแต่ทำเป็นหนังตลกน่ะ และมันไม่ได้ทำเป็นหนังตลกเพียงเพื่อเรียกเสียงหัวเราะจากผู้ชม แต่มันเป็นการทำให้ตัวละครพระนเรศวรกับชาวบ้านบางระจันดู ตลกเพื่อกระตุ้นให้ผู้ชมตั้งคำถามว่า ข้อมูลที่เราได้รับรู้จากแบบเรียนทางประวัติศาสตร์นั้นเป็นความจริงมากน้อยแค่ไหน หรือจริงๆแล้วมันมีความเป็น fiction ผสมอยู่ด้วยเป็นอย่างมาก ย่าโมหรือบุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์คนอื่นๆมีตัวตนจริงหรือไม่ และถ้าบุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์เหล่านั้นมีตัวตนจริง พวกเขาประกอบวีรกรรมอย่างหาญกล้าเหมือนกับที่เราถูกบอกสอนมาหรือไม่ หรือว่าวีรกรรมต่างๆที่เราถูกบอกสอนมาเป็นเพียง fiction ที่คนในอดีตร่วมกันสร้างขึ้นมาเพื่อหลอกคนรุ่นหลังเพื่อจุดประสงค์บางอย่างเท่านั้น

ในแง่หนึ่ง SANADA TEN BRAVES มันก็เลยทำให้เราคิดถึง SNAKESKIN (2014, Daniel Hui) น่ะ เพราะหนังทั้งสองเรื่องนี้ตั้งคำถามต่อประวัติศาสตร์เหมือนกัน แต่ทำออกมาคนละแนว โดย SNAKESKIN ทำออกมาในแบบที่จริงจังกว่า ในขณะที่ SANADA TEN BRAVES ทำออกมาในแบบหนังตลกโปกฮา แต่ภายใต้ความตลกโปกฮานั้น มันแอบทำลาย myth และมันช่วยตอกย้ำความเป็น fiction ของประวัติศาสตร์ด้วย

2.เราชอบมากๆด้วยที่ SANADA TEN BRAVES ไม่ได้มีแค่อารมณ์ตลกอย่างเดียว แต่มันมีความซีเรียสจริงจังในฉากสู้รบอยู่ด้วย คือถ้ามันมีอารมณ์ตลกอย่างเดียว เราอาจจะไม่ชอบมากเท่านี้ก็ได้ เพราะเรามักจะจูนตัวเองให้เข้ากับอารมณ์ตลกได้ยาก

คือในฉากซีเรียสนั้น หนังเรื่องนี้ก็ทำได้จริงจังแบบเดียวกับ RED CLIFF (2008, John Woo) เลยนะ เพียงแต่ว่ามันจะไม่สนุกตึงเครียดเข้มข้นมากเท่ากับ RED CLIFF เพราะอารมณ์ตลกใน SANADA TEN BRAVES มันทำให้เราไม่มองตัวละครเป็นมนุษย์ที่มีเลือดเนื้อเจ็บปวดจริงมากนัก 

3.ขำที่ตัวละครหลักของ SANADA TEN BRAVES มีทั้ง นักรบหนุ่มบุคลิกขี้เล่นและ นักรบหนุ่มมาดซีเรียสเคร่งขรึมมันทำให้นึกถึงพวกละครทีวีฮ่องกงแนวกำลังภายในน่ะ เพราะในละครทีวีหรือนิยายประเภทนี้ หลายๆเรื่องมันจะมีพระเอกมาดเคร่งขรึม และมีตัวละครพระรองเป็นจอมยุทธ์หนุ่มขี้เล่น นิสัยกวนตีน ที่จริงๆแล้วมีจิตใจดีงามและมีวรยุทธ์เก่งกาจมาก มันเหมือนกับเป็น stereotypical characters ประเภทหนึ่ง และการนำเสนอสองหนุ่มสองบุคลิกแบบนี้มันช่วยตอบสนองแฟนตาซีของผู้ชมที่ want หรือ identify ตัวเองกับหนุ่มที่มีบุคลิกแตกต่างกันไป

4.ช่วง ending credits ของหนังเรื่องนี้ดีงามมาก มันลากยาวไปถึงการสู้รบในอินโดนีเซียเลยทีเดียว


THE TOP SECRET: MURDER IN MIND (2016, Keishi Ohtomo, Japan, 148min, A+30)

1.ชอบสุดๆ มันคือหนังแนวฆาตกรโรคจิตที่สนุกมากสำหรับเรา ในแง่นึงการที่เราชอบดูหนังกลุ่มนี้มันเป็นเพราะว่า เราเป็นคนที่หวาดกลัวฆาตกรโรคจิตเป็นอย่างมากน่ะ มันคือหนึ่งในสิ่งที่เรากลัวที่สุดในชีวิต เวลาอ่านข่าวเกี่ยวกับฆาตกรโรคจิต เรามักจะจิตตกเป็นอย่างมาก เพราะฉะนั้นการได้ดูหนังกลุ่มนี้มันก็เลยเหมือนกับการเที่ยวบ้านผีสิง หรือการเล่นเครื่องเล่นแบบรถไฟเหาะตีลังกา มันคือการเผชิญหน้ากับหนึ่งในสิ่งที่เรากลัวที่สุดในชีวิต โดยที่เรารู้ว่าตัวเราเองจะ ปลอดภัยถึงแม้เราต้องเผชิญหน้ากับสิ่งนั้น

เราว่าหนังเรื่องนี้อาจจะไม่ใช่หนังที่มีความน่าสนใจอะไรเลยในแง่สุนทรียศาสตร์ แต่มันเป็นหนัง mainstream ที่ตรงกับรสนิยมของเราพอดีน่ะ มันมีองค์ประกอบที่เราชอบมากๆ อย่างเช่น ฆาตกรต่อเนื่องที่เป็นผู้หญิง

หนังเรื่องนี้เป็นการผสมกันขององค์ประกอบสำคัญบางอย่าง อย่างเช่น 

1.1 การเน้นความสนุกลุ้นระทึกแบบหนังสืบสวนสอบสวน mainstream มีการคลายปมปริศนาทีละเปลาะ ทีละเปลาะ
1.2 การเจาะเข้าไปในจิตใจของฆาตกรโรคจิต
1.3 การพูดถึงเทคโนโลยีในการเข้าไปดูสิ่งที่อยู่ในหัวของคนอื่น

2. เราจะไม่พูดถึง 1.1 นะ เพราะมันไม่ได้มีอะไรน่าสนใจ เราว่าองค์ประกอบด้าน การสืบสวนสอบสวนในหนังเรื่องนี้นั้น มันทำได้ดีในระดับที่เท่าๆกับหนัง mainstream โดยทั่วๆไป

ในส่วนของข้อ 1.2 นั้น มันเป็นปัจจัยที่ทำให้เราชอบหนังเรื่องนี้มากในระดับนึง แต่เราก็ยอมรับว่า มันเป็นหนังที่เจาะลึกจิตใจของฆาตกรแค่ในระดับ ปานกลางเมื่อเทียบกับหนังในกลุ่มเดียวกันนะ คือมันดูเหมือนเจาะลึกจิตใจฆาตกรมากกว่าหนังประเภท SAW, THE HILLS HAVE EYES, FRIDAY THE 13TH, HALLOWEEN อะไรพวกนั้นน่ะ 

แต่มันก็ไม่ใช่หนังที่เจาะลึกจิตใจของฆาตกรหญิงแบบหนังอย่าง BREMEN FREEDOM (1972, Rainer Werner Fassbinder), MONSTER (2003, Patty Jenkins), BAISE-MOI, LA CEREMONIE (1995, Claude Chabrol) หรือ FEBRUARY (2015, Oz Perkins) นะ เพราะมันไม่ได้เป็นหนังแบบ character study ซะทีเดียว 

เราว่าระดับการเจาะลึกจิตใฆาตกรบางคนในหนังเรื่องนี้ อาจจะอยู่ในระดับใกล้เคียงกับหนังอย่าง BASIC INSTINCT และ HORSEMEN (2009, Jonas Akerlund) น่ะ คือลึกปานกลาง แต่ไม่ได้ลึกมากนัก

3. ส่วนองค์ประกอบด้าน เทคโนโลยีในหนังเรื่องนี้ ก็ทำให้นึกถึงหนังอย่าง THE CELL (2000, Tarsem Singh), MINORITY REPORT (2002, Steven Spielberg), THE FINAL CUT (2004, Omar Naim) และ SOURCE CODE (2011, Duncan Jones) น่ะ มันเป็นองค์ประกอบที่น่าสนใจดี และก็เป็นส่วนนึงที่ทำให้เราชอบหนังเรื่องนี้ด้วย 

4.สรุปว่าชอบหนังเรื่องนี้มากๆ เพราะมันเป็นการผสมกันขององค์ประกอบข้อ 1.2 และ 1.3 และมันเข้าทางเราพอดี ถึงแม้เราจะยอมรับว่า มันไม่ใช่หนังที่ ดีในแง่สุนทรียศาสตร์แบบหนังฆาตกรโรคจิตอย่าง THE VANISHING (1988, George Sluizer) , PRISONERS (2013, Denis Villeneuve) หรือ LAST SCREENING (2011, Laurent Achard) ก็ตาม ในแง่นึง หนังเรื่องนี้เหมือนกับเป็นการเอาตัวละครฆาตกรโรคจิตในหนัง ดีแบบ PRISONERS มาใส่ในหนังสืบสวนสอบสวนแบบmainstream น่ะ และมันก็ผสมผสานองค์ประกอบของหนัง mainstream กับหนังกลุ่ม เจาะลึกจิตใจฆาตกรออกมาได้น่าพอใจสำหรับเรา

No comments: