Friday, April 14, 2017

SONG FROM PHATTALUNG (2017, Boonsong Nakphoo, A+30)

SONG FROM PHATTALUNG (2017, Boonsong Nakphoo, A+30)
มหาลัยวัวชน

1.จริงๆก็ไม่รู้จะเขียนอะไรเกี่ยวกับหนังเรื่องนี้ นอกจากว่าดูเพลินๆดี 555 เพียงแต่ว่าหนังผิดไปจากที่เราคาดเดาไว้เล็กน้อย คือก่อนเข้าไปดู เราได้ยินมาว่ามหาลัยวัวชนมันจะเป็นหนังเมนสตรีม เราก็เลยคาดเดาไว้ก่อนว่ามันจะเป็นหนังแบบ 191 1/2 มือปราบทราบแล้วป่วน (2003, Boonsong Nakphoo) ซึ่งเป็นหนังเมนสตรีมที่เราชอบมากๆ หรืออย่างน้อยก็จะเป็นหนังที่เล่าเรื่องแบบเร้าอารมณ์อย่าง กิเลส ตัณหา ราคะ อุปทาน (LIFE ACTUALLY) (2005, Boonsong Nakphoo, 77min)

คือเราว่าตอนที่คุณบุญส่งกำกับ 191 1/2 มือปราบทราบแล้วป่วน กับ “กิเลส ตัณหา ราคะ อุปทาน” น่ะ มันเป็นอะไรที่เราชอบมากๆ คือมันเป็นหนังที่บันเทิง, ดูสนุก และผ่านการเขียนบทและการคิดมาอย่างดีน่ะ คือถ้าหากเปรียบเทียบง่ายๆก็อาจจะบอกว่า 191 1/2 มือปราบทราบแล้วป่วน ทำให้เรานึกถึงอย่าง DUMB AND DUMBER TO (2014, Bobby Farrelly + Peter Farrelly) ที่ดูภายนอกเหมือนเป็นหนังตลกเสียสติ แต่จริงๆแล้วบทภาพยนตร์มันแน่นมากๆ มันละเอียดมากๆ ส่วน “กิเลส ตัณหา ราคะ อุปทาน” ทำให้เรานึกถึงหนังเมโลดราม่ายุคเก่าของอิตาลี พวกหนังของ Luchino Visconti อะไรแบบนี้ ในแง่ที่ว่ามันดูเร้าอารมณ์แบบหนังน้ำเน่า แต่จริงๆแล้วมันก็ผ่านการคิดหรือผ่านการคัดกรองมาอย่างดีมากเช่นกัน

เพราะฉะนั้นพอคุณบุญส่งหันมาทำหนังอย่าง “คนจนผู้ยิ่งใหญ่” (2010) และสถานีสี่ภาค (2012) เราก็เลยแอบผิดหวังเล็กน้อย เพราะถึงแม้เพื่อนๆเราจะชื่นชมหนังสองเรื่องนี้มากๆ เรากลับรู้สึกไม่ค่อยโดนกับหนังสองเรื่องนี้สักเท่าไหร่ เรารู้สึกเหมือนกับว่ามันเป็นหนังอาร์ตนิ่งช้าที่ไม่ค่อยโดดเด่นเมื่อเทียบกับหนังอาร์ตนิ่งช้าอีกหลายๆเรื่องของไทยในยุคนั้นน่ะ  (เราจะจูนติดกับหนังของ Uruphong Raksasat มากกว่า) คือเหมือนกับเราจัดให้ 191 1/2 มือปราบทราบแล้วป่วน อยู่ในอันดับสูงมากเมื่อเทียบกับหนังตลกเมนสตรีมของไทย แต่เราจัดให้คนจนผู้ยิ่งใหญ่ และสถานีสี่ภาคอยู่ในระดับปานกลางค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับหนังอาร์ตของไทย

แต่พอได้ดู “วังพิกุล” (2014) เราก็กรี๊ดแตกมากๆ จูนติดมากๆ ชอบสุดๆไปเลย และพอได้ดู “ธุดงควัตร” (2016) เราก็ชอบสุดๆเหมือนกัน

เพราะฉะนั้นพอได้ข่าวว่า “มหาลัยวัวชน” จะมีความเมนสตรีม เราก็เลยนึกว่ามันจะกลับไปเป็นแบบ 191 1/2 มือปราบทราบแล้วป่วน หรือ “กิเลส ตัณหา ราคะ อุปทาน” หรืออย่างน้อยก็น่าจะเป็นแบบหนังของ John Carney อย่าง ONCE, BEGIN AGAIN, SING STREET อะไรทำนองนี้

แต่พอได้ดูจริงๆ เราก็พบว่ามันผิดคาดเล็กน้อยนะ เรารู้สึกว่าความเมนสตรีมของมันอยู่ในระดับน้อยกว่าคาดน่ะ คือความเมนสตรีมของมันที่เราเห็นชัดๆก็คือ

1.1 การเคลื่อนกล้องตลอดเวลา แทนที่จะตั้งกล้องนิ่งๆ
1.2 พล็อตเรื่องส่วนที่มีสาวแสนดีและอดทนมาแอบหลงรักพระเอก และหวังว่าพระเอกจะเปลี่ยนใจหันมารักตนเองในอนาคต คือพล็อตส่วนนี้มันทำให้นึกถึงหนัง “นักเรียนไฮสกูล” ยุค 20-30 ปีก่อนมากๆ คือในหนังกลุ่มนี้พระเอกที่เป็น “เด็กระดับกลางๆ ไม่ใช่นักกีฬารูปหล่อ” มักจะหลงรักสาวสวยในโรงเรียน แต่พระเอกมักจะมีเพื่อนเป็น “สาวเนิร์ดใส่แว่น” ที่แอบหลงรักพระเอก และคอยอยู่เคียงข้างพระเอกตลอดเวลา และพอถึงตอนจบ พระเอกก็จะตัดใจจากสาวสวย และหันมาเห็นคุณค่าของ “สาวเนิร์ดใส่แว่น ที่พอถอดแว่นแล้วจะสวยขึ้นมาในทันที” ในที่สุด

คือจริงๆแล้วเราไม่ค่อยชอบองค์ประกอบสองอย่างนี้ในหนังเรื่องนี้นะ ถ้าเราเลือกได้ เราอยากจะให้หนังตั้งกล้องนิ่งๆมากกว่า แต่เราก็เข้าใจแหละว่า ถ้าหากหนังตั้งกล้องนิ่งๆ ผู้ชมกระแสหลักก็จะเบื่อ

ส่วนพล็อตเรื่องสาวแสนดีผู้แอบหลงรักพระเอกนั้น เราว่ามันดู “จงใจ” มากเกินไปเล็กน้อยในบางช่วงนะ มันดูเหมือนกับว่าเนื้อเรื่องส่วนนี้เป็น “พล็อต” ที่ต้องใส่เข้ามาเพื่อให้หนังมีเส้นเรื่องหรือเนื้อเรื่องขึ้นมาบ้างน่ะ ไม่งั้นหนังมันจะเป็นกิจวัตรประจำวัน+บรรยากาศ แบบหนังอาร์ตมากเกินไป

แต่ก็ชอบหนังเรื่องนี้ในระดับ A+30 อยู่ดีน่ะแหละ คือถึงแม้จะไม่ชอบองค์ประกอบสองอย่างนี้ แต่ก็ “ไม่ชอบเล็กน้อย” เท่านั้น

ส่วนองค์ประกอบอื่นๆของหนังนั้น เราว่ามันดูเป็นหนังอินดี้ sundance หรือหนังอินดี้ของยุโรป หรือหนังน่ารักๆของญี่ปุ่นน่ะ แบบหนังอย่าง MY TOWN (2002, Marek Lechki, Poland) ที่เล่าเรื่องของชายหนุ่มในชนบทโปแลนด์ที่เศรษฐกิจตกต่ำ หรือหนังอย่าง NO ONE’S ARK (2003, Nobuhiro Yamashita, Japan) ที่เล่าเรื่องของพระเอกกับแฟนสาวที่พยายามหาเงินในชนบท คือหนังกลุ่มนี้มันไม่ใช่หนังอาร์ตนิ่งช้าที่ดูยาก แต่มันก็ไม่ใช่หนังเมนสตรีมที่ดูสนุก ประเภทที่มีการเร้าอารมณ์ชัดเจนในทุกๆฉาก คือหนังกลุ่มนี้มันดูมีความเรื่อยๆเฉื่อยๆในระดับนึง คือจริงๆแล้วเนื้อเรื่องของหนังมันเดินไปข้างหน้าตลอดเวลานะ แต่หนังกลุ่มนี้มันจะไม่กล้าเร้าอารมณ์มากเกินไปน่ะ เพราะฉะนั้นอารมณ์สนุก หรืออารมณ์รุนแรงมันจะถูกกดไว้ในหนังประเภทนี้ ไม่ค่อยโผล่ออกมาให้เห็นสักเท่าไหร่

2.ตอนดูจะนึกถึงหนึ่งในหนังที่ชอบที่สุดเมื่อสองปีก่อน ซึ่งก็คือเรื่อง WE ARE YOUR FRIENDS (2015, Max Joseph) ที่เล่าเรื่องของชายหนุ่มที่จมปลักในเมืองบ้านเกิดเหมือนกัน, ชอบใช้เวลาขลุกอยู่กับกลุ่มเพื่อนๆผู้ชายเหมือนกัน, หลงรักผู้หญิงที่มีฐานะดีกว่าตัวเองเหมือนกัน และพยายามสร้างผลงานดนตรีในแบบของตัวเองเหมือนกัน เพียงแต่ว่า WE ARE YOUR FRIENDS มันพูดถึงวงการเพลงแดนซ์ ซึ่งเป็นแนวเพลงสุดโปรดของเรา เราก็เลยชอบ WE ARE YOUR FRIENDS มากกว่า และ WE ARE YOUR FRIENDS ก็เร้าอารมณ์ได้สนุกกว่าด้วย

3.สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เราเพลิดเพลินกับมหาลัยวัวชน อาจจะเป็นเพราะว่าเรามองมันแบบ exotic ก็ได้ คือการดูหนังเรื่องนี้ทำให้เราได้สัมผัสกับสิ่งที่เราไม่ได้สัมผัสในชีวิตของเราเองน่ะ ซึ่งก็คือ “สังคมชนบทพัทลุง” และ “สังคมหนุ่มๆ straight” และเราว่าหนังมันมีความ realistic ในระดับนึง การดูหนังเรื่องนี้สำหรับเราก็เลยอาจจะให้ความสุขในแบบที่คล้ายๆกับการดูหนังอย่าง AGRARIAN UTOPIA (2009, Uruphong Raksasad) คือมันพาเราไปสัมผัสกับชีวิตคนอีกกลุ่มหนึ่งที่แตกต่างจากเรา และมันมีมากกว่า” เนื้อเรื่อง” น่ะ หนังกลุ่มนี้มันมีการถ่ายทอดบรรยากาศ และมีการถ่ายทอดรายละเอียดต่างๆในชีวิตประจำวันหรือในสังคมชนบทออกมาได้อย่างดีมากด้วย เพราะฉะนั้นการดูหนังอย่าง SONG FROM PHATTALUNG และ AGRARIAN UTOPIA ในสายตาคนนอกอย่างเรา ก็เลยทำให้เรารู้สึกเพลิดเพลินมากๆ

4.จริงๆแล้วรู้สึกชอบพระเอกและพี่โอ โดยเฉพาะพี่โอนี่เร้าใจดิฉันมากค่ะ 555คือพอพูดถึงตรงนี้แล้วจะรู้สึกว่ามันย้อนแย้งกันดี คือสำหรับเราแล้ว พี่โอในมหาลัยวัวชน กับพระอาจารย์ในธุดงควัตร นี่ถือเป็น objects of desire สำหรับเรามากๆค่ะ ทั้งๆที่เราว่าตัวผู้สร้างหนังคงไม่ได้ตั้งใจจะให้พี่โอกับพระอาจารย์เป็น objects of desire แต่อย่างใด

ในทางตรงกันข้าม เรายอมรับว่าเราเบื่อๆเล็กน้อยกับ การใช้ “เด็กหนุ่มผิวขาว” เป็น objects of desire ในหนังเกย์ของไทยและหนังเมนสตรีมของไทยน่ะ   คือในขณะที่หนังไทยหลายๆเรื่องนำเสนอเด็กหนุ่มผิวขาวในฐานะ objects of desire เรากลับรู้สึกเบื่อๆ และเรากลับถูกดึงดูดด้วยผู้ชายในหนังของบุญส่ง นาคภู่แทน ทั้งๆที่ตัวหนังไม่ได้ตั้งใจนำเสนอตัวละครเหล่านี้ในฐานะ objects of desire 555

แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าเราไม่อยากกินเด็กหนุ่มผิวขาวในหนังไทยเรื่องต่างๆนะ คือกูก็อยากกินอยู่ค่ะ แต่กูต้องการความหลากหลายน่ะค่ะ กูชอบผู้ชายผิวคล้ำๆด้วย กูชอบผู้ชายชนชั้นแรงงาน กูชอบผู้ชายวัย 30-50 ปีด้วย 555

5.ชอบการพูดคุยกันแล้วร้องเพลงแทรกขึ้นมาในหนังมากๆ ดูแล้วนึกถึง SAME OLD SONG (1997, Alain Resnais)

6.ทำไมเราถึงรู้สึกค่อนข้างดีกับตอนจบของหนังก็ไม่รู้ และมันอาจจะเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เราชอบหนังในระดับ A+30

เราไม่แน่ใจเหมือนกันว่าที่เรารู้สึกดีเป็นเพราะเราอินกับความมักน้อยของตัวละครหรือเปล่า เพราะตัวเราเองก็เป็นคนที่ “ไม่มีความทะเยอทะยาน” อะไรเลยอยู่ในตัวเองเหมือนกัน 555 คือเราเรียนได้เกรดดี แต่เราก็ไม่เรียนต่อปริญญาโท (เพราะเรารู้ว่าถึงแม้หัวสมองของเราเรียนได้ แต่สภาพจิตเราไม่ไหว), เราทำงานตำแหน่งเดิมมานาน 22 ปีแล้ว โดยไม่ได้เลื่อนตำแหน่งเลย (คือเงินเดือนปรับขึ้นเรื่อยๆ แต่ตำแหน่งคือตำแหน่งเดิม ไม่มีความก้าวหน้าในอาชีพการงานแต่อย่างใด) และเราก็อาศัยอยู่ในอพาร์ทเมนท์แคบๆมา 22 ปีแล้ว คือพอพิจารณาชีวิตตัวเองแล้ว เราก็เป็น loser คล้ายๆกับตัวละครในหนังเหมือนกัน

เราเกลียดตัวละครที่ทะเยอทะยานแบบในหนังอย่าง WHIPLASH (2014, Damien Chazelle) มากๆเลยด้วย และตัวละครที่เรารักที่สุดคือตัวละครอย่างนางเอกหนังเรื่อง SWANN (1996, Anna Benson Gyles) ที่เป็นกวีที่แต่งกลอนได้ดีมาก แต่เธอก็ไม่เลือกความโด่งดัง เธอพอใจที่จะทำเพียงแค่อ่านบทกวีให้เพื่อนๆฟังในตอนจบเท่านั้น

เราจำได้ว่าเราประทับใจกับความมักน้อยของนางเอก SWANN ในตอนจบอย่างรุนแรงมากๆ และพอถึงตอนจบของมหาลัยวัวชน เราก็รู้สึกดีเหมือนกัน มันเหมือนกับว่า แทนที่หนังเรื่องนี้จะพูดถึง “การฝ่าฟันไปสู่ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่” เหมือนอย่างที่เราคาดไว้ในตอนแรก หนังเรื่องนี้กลับเลือกพูดถึง “ช่วงเวลาช่วงหนึ่งของคนตัวเล็กๆในสังคมบางคน” เท่านั้น คือการที่หนังมันให้ความรู้สึกว่า มันเป็นการพูดถึง “ช่วงเวลาช่วงหนึ่ง” ของ “คนตัวเล็กๆในสังคมบางคน” มันดูมักน้อยดีสำหรับเราน่ะ และเราชอบอะไรแบบนี้

7.อันนี้ไม่ได้เกี่ยวกับเนื้อหาของหนัง แค่อยากบันทึกไว้ว่า ตอนเราไปดู มหาลัยวัวชนที่ HOUSE RCA รอบประมาณทุ่มนึง ปรากฏว่ามีคนดูแค่ 2 คนเท่านั้นน่ะ เราก็เลยเศร้าใจมากๆ คาดไม่ถึงเหมือนกัน คือปีที่แล้วตอนเราไปดูธุดงควัตรนี่ คนดูประมาณ 75% ของโรงเลยนะ

ตอนเราดู SIAM SQUARE (2017, Pairach Khumwan) ที่เอ็มควอเทียร์ คนดูก็น้อยมากๆเหมือนกัน น่าจะไม่ถึงสิบคน ทั้งๆที่หนังมันก็ดูง่ายมากๆ

เราว่าทั้งมหาลัยวัวชน, SIAM SQUARE และ A GAS STATION (2016, Tanwarin Sukkhapisit) ทำให้นึกถึงศัพท์คำว่า “mindie” นะ คือเป็นหนังที่อยู่ตรงกลางระหว่างเมนสตรีมกับอินดี้ คือหนังทั้งสามเรื่องนี้มีความเมนสตรีมอยู่ในตัว แต่ก็มีความอาร์ตอยู่ในตัวสูงกว่าหนังเมนสตรีมทั่วไปเป็นอย่างมากด้วย (ตัวอย่างของหนังกลุ่มนี้ในต่างประเทศ อาจจะเป็น SPRING BREAKERS (2012, Harmony Korine))

น่าเสียดายที่หนัง 3 เรื่องนี้ไม่ทำเงินมากเท่าที่คาด ทั้งๆที่มันเป็นหนังที่เราชอบมากๆ

เราเองก็ไม่รู้เหมือนกันว่าต้องทำหนังอย่างไรถึงจะได้เงิน เพราะถ้าเรารู้ เราก็คงทำเองไปแล้วล่ะ

คือก่อนหน้านี้หนังของ Kongdej Jaturanrasmee และหนังของ Nawapol Thamrongrattanarit ก็อาจจะเรียกได้ว่าเป็นหนัง mindie เหมือนกัน และหนังของสองคนนี้ก็ดูเหมือนจะประสบความสำเร็จทางรายได้ในระดับนึง


ตอนนี้เราก็คงได้แต่เป็นกำลังใจให้ผู้สร้างหนังไทยน่ะแหละ ยังไงก็ขอขอบคุณที่สร้างหนังดีๆออกมาให้เราได้ดูกัน 

No comments: