Films seen in the Mini Wathann Film
Festival in Bangkok in 2017
All films are from Myanmar
In roughly preferential order
1.THE MONK (2014, The Maw Naing, 93min, A+30)
--ชอบวิธีการเล่าเรื่องในฉากจบมากๆ
--ดูแล้วรู้สึกว่ามันเป็นด้านกลับของธุดงควัตร WANDERING (2016, Boonsong Nakphoo) ในแง่ที่ว่า THE MONK นำเสนอพระโดยเน้นไปที่ “ประเด็นทางโลกย์ และสังคม” ส่วน WANDERING นำเสนอพระโดยเน้นไปที่ “spiritual satisfaction ในใจตัวละคร” คือหนังสองเรื่องนี้ไม่ได้เป็นขั้วตรงข้ามกันซะทีเดียวนะ แต่เรารู้สึกว่าพอมันนำมาเปรียบเทียบกันแล้ว มันสนุกดี
--ส่วนที่ต่างกันอย่างเห็นได้ชัดระหว่างหนังสองเรื่องนี้ก็มีอย่างเช่น บทบาทของพระผู้เคร่งครัด โดยใน WANDERING นั้น พระผู้เคร่งครัดถูกนำเสนอในฐานะของผู้ที่ควรเคารพนับถือบูชา ส่วนใน THE MONK นั้น พระผู้เคร่งครัดถูกนำเสนอในแบบที่กระตุ้นให้ผู้ชมตั้งคำถามว่า ท่านเคร่งครัดเกินไปหรือเปล่า, ท่านตึงเกินไปหรือเปล่า และสิ่งที่ท่านทำนั้นเข้ากับสังคมและชาวบ้านจริงๆหรือไม่ โดยตัวละครที่ตั้งคำถามต่อพระเจ้าอาวาสในหนังเรื่องนี้ได้อย่างน่าสนใจ ก็คือตัวละครเจ้าของโรงสีข้าว ที่ไม่ยอมบริจาคเงินช่วยเหลือเจ้าอาวาส
แต่ THE MONK ก็ไม่ได้นำเสนอพระเจ้าอาวาสในทางลบนะ หนังเพียงแค่นำเสนอพระเจ้าอาวาสที่เคร่งครัดในฐานะของมนุษย์คนนึงที่มีนิสัยแบบนี้ ส่วนเราจะมองว่าท่านทำถูกหรือทำผิด ผู้ชมแต่ละคนก็ตัดสินใจได้เอง
--พระเอกของ THE MONK กับ WANDERING ก็เป็นคู่เปรียบเทียบที่แตกต่างกันอย่างน่าสนใจดี พระเอกของ THE MONK มีจิตใจฝักใฝ่ในทางโลกย์, อยากฟังเพลง, อยากมีเมีย แต่เขาต้องจำใจต้องเป็นพระต่อไป เพราะดูเหมือนเขาไม่เหลือทางเดินอื่นๆในชีวิตให้เลือกเดินมากนัก ความจำเป็นทางการเงินและชะตาชีวิตที่อับจนเป็นเหตุผลสำคัญให้เขาตัดสินใจเป็นพระต่อไป
ส่วนพระเอกของ WANDERING นั้น ถ้าเราจำไม่ผิด “ความสุขทางใจที่เกิดจากการปฏิบัติธรรม” น่าจะเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้เขาเป็นพระต่อไป
--ชอบความยากลำบากของพระเอกในคืนที่ตระเวนหาผู้บริจาคเลือดมากๆ เขาต้องเดินทางเร่ร่อนอย่างเหน็ดเหนื่อยไปทั่วเมืองในคืนนั้น และเราก็รู้สึกอินกับความลำบากของตัวละครในเหตุการณ์นี้น่ะ มันทำให้นึกถึงตัวเราเองที่รู้สึกว่า การพยายามจะมีชีวิตอยู่ต่อไปมันเป็นสิ่งที่ยากลำบากและเหน็ดเหนื่อยเสียเต็มประดา
หนังอีกเรื่องที่ทำให้เรารู้สึกอินในแบบเดียวกันคือ THE CASTLE (1997, Michael Haneke) ที่ตัวละครพระเอกก็เดินทางแสวงหาปราสาทอย่างเหน็ดเหนื่อยไม่หยุดพักตลอดทั้งคืนเหมือนกัน (ถ้าจำไม่ผิด) ความเหน็ดเหนื่อยของพระเอกใน THE MONK กับ THE CASTLE นี่เป็นสิ่งที่เราอินด้วยมากๆ
2.FOURTEEN DEGREES CELSIUS, A HUNDRED MILES PER HOUR (2015, Nyi Lynn Htet, A+30)
3.MAWTIN JETTY (2015, Ten Men, A+30)
4.SAMANERA (2016, Tay Zar Win Htun, Zaw Win Htwe, documentary, 45min, A+30)
5.READY IN 5 MINUTES (2016, Swam Yaund Ni, documentary, A+30)
6.NOW I’M 13 (2014, Shin Daewe, documentary, A+30)
7.PERIOD@PERIOD (2016, Hnin Ei Hlaing, A+30)
8.UNFINISHED PAINTING (2015, Wai Mar Nyunt, documentary, 70min, A+30)
9.LIKE UMBRELLA, LIKE KING (2015, Moe Satt, A+30)
10.MRAUK OO STORY (2015, Aung Min, Tha Kyaw Htay, A+30)
11.TRANSIT (2014, Saw Min Maw, documentary, A+25)
ผู้กำกับหนังเรื่องนี้น่ารักมาก กรี๊ดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดด
https://www.facebook.com/saw.m.maw
12.MOVE (2015, Khong Soe Moe, documentary, A+25)
13.4 BLOOMING SOUND (2016, Phyu Mon, A+25)
14.THE PLACE (2015, Khin Khin Su, A+25)
15.THE SPECIAL ONE (2016, Lamin Oo, documentary, A+20)
16.THE KITE (2015, L. Minpae Mon, A+15)
17.SPORADIC RAIN (2015, Mg Sun, A+15)
18.SAW KAE (ONCE UPON A TIME) (2016, Zaw Bo Bo Hein, A+15)
19.MOTHER (2016, Shun Wint Aung, A+15)
20.RHYTHM (2015, Pyin Nyar Zeya, A+10)
21.ACROSS THE RIVERWIND (2016, Kriz Chan Nyein, A+5)
22.CHASING ROSES (2015, Kriz Chann Yein, A+)
23.THE RED IN RED (2016, Khin Su Kyi, documentary, A-)
24.SILENCE (2015, Htoo Paing Zaw Oo, A-)
All films are from Myanmar
In roughly preferential order
1.THE MONK (2014, The Maw Naing, 93min, A+30)
--ชอบวิธีการเล่าเรื่องในฉากจบมากๆ
--ดูแล้วรู้สึกว่ามันเป็นด้านกลับของธุดงควัตร WANDERING (2016, Boonsong Nakphoo) ในแง่ที่ว่า THE MONK นำเสนอพระโดยเน้นไปที่ “ประเด็นทางโลกย์ และสังคม” ส่วน WANDERING นำเสนอพระโดยเน้นไปที่ “spiritual satisfaction ในใจตัวละคร” คือหนังสองเรื่องนี้ไม่ได้เป็นขั้วตรงข้ามกันซะทีเดียวนะ แต่เรารู้สึกว่าพอมันนำมาเปรียบเทียบกันแล้ว มันสนุกดี
--ส่วนที่ต่างกันอย่างเห็นได้ชัดระหว่างหนังสองเรื่องนี้ก็มีอย่างเช่น บทบาทของพระผู้เคร่งครัด โดยใน WANDERING นั้น พระผู้เคร่งครัดถูกนำเสนอในฐานะของผู้ที่ควรเคารพนับถือบูชา ส่วนใน THE MONK นั้น พระผู้เคร่งครัดถูกนำเสนอในแบบที่กระตุ้นให้ผู้ชมตั้งคำถามว่า ท่านเคร่งครัดเกินไปหรือเปล่า, ท่านตึงเกินไปหรือเปล่า และสิ่งที่ท่านทำนั้นเข้ากับสังคมและชาวบ้านจริงๆหรือไม่ โดยตัวละครที่ตั้งคำถามต่อพระเจ้าอาวาสในหนังเรื่องนี้ได้อย่างน่าสนใจ ก็คือตัวละครเจ้าของโรงสีข้าว ที่ไม่ยอมบริจาคเงินช่วยเหลือเจ้าอาวาส
แต่ THE MONK ก็ไม่ได้นำเสนอพระเจ้าอาวาสในทางลบนะ หนังเพียงแค่นำเสนอพระเจ้าอาวาสที่เคร่งครัดในฐานะของมนุษย์คนนึงที่มีนิสัยแบบนี้ ส่วนเราจะมองว่าท่านทำถูกหรือทำผิด ผู้ชมแต่ละคนก็ตัดสินใจได้เอง
--พระเอกของ THE MONK กับ WANDERING ก็เป็นคู่เปรียบเทียบที่แตกต่างกันอย่างน่าสนใจดี พระเอกของ THE MONK มีจิตใจฝักใฝ่ในทางโลกย์, อยากฟังเพลง, อยากมีเมีย แต่เขาต้องจำใจต้องเป็นพระต่อไป เพราะดูเหมือนเขาไม่เหลือทางเดินอื่นๆในชีวิตให้เลือกเดินมากนัก ความจำเป็นทางการเงินและชะตาชีวิตที่อับจนเป็นเหตุผลสำคัญให้เขาตัดสินใจเป็นพระต่อไป
ส่วนพระเอกของ WANDERING นั้น ถ้าเราจำไม่ผิด “ความสุขทางใจที่เกิดจากการปฏิบัติธรรม” น่าจะเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้เขาเป็นพระต่อไป
--ชอบความยากลำบากของพระเอกในคืนที่ตระเวนหาผู้บริจาคเลือดมากๆ เขาต้องเดินทางเร่ร่อนอย่างเหน็ดเหนื่อยไปทั่วเมืองในคืนนั้น และเราก็รู้สึกอินกับความลำบากของตัวละครในเหตุการณ์นี้น่ะ มันทำให้นึกถึงตัวเราเองที่รู้สึกว่า การพยายามจะมีชีวิตอยู่ต่อไปมันเป็นสิ่งที่ยากลำบากและเหน็ดเหนื่อยเสียเต็มประดา
หนังอีกเรื่องที่ทำให้เรารู้สึกอินในแบบเดียวกันคือ THE CASTLE (1997, Michael Haneke) ที่ตัวละครพระเอกก็เดินทางแสวงหาปราสาทอย่างเหน็ดเหนื่อยไม่หยุดพักตลอดทั้งคืนเหมือนกัน (ถ้าจำไม่ผิด) ความเหน็ดเหนื่อยของพระเอกใน THE MONK กับ THE CASTLE นี่เป็นสิ่งที่เราอินด้วยมากๆ
2.FOURTEEN DEGREES CELSIUS, A HUNDRED MILES PER HOUR (2015, Nyi Lynn Htet, A+30)
3.MAWTIN JETTY (2015, Ten Men, A+30)
4.SAMANERA (2016, Tay Zar Win Htun, Zaw Win Htwe, documentary, 45min, A+30)
5.READY IN 5 MINUTES (2016, Swam Yaund Ni, documentary, A+30)
6.NOW I’M 13 (2014, Shin Daewe, documentary, A+30)
7.PERIOD@PERIOD (2016, Hnin Ei Hlaing, A+30)
8.UNFINISHED PAINTING (2015, Wai Mar Nyunt, documentary, 70min, A+30)
9.LIKE UMBRELLA, LIKE KING (2015, Moe Satt, A+30)
10.MRAUK OO STORY (2015, Aung Min, Tha Kyaw Htay, A+30)
11.TRANSIT (2014, Saw Min Maw, documentary, A+25)
ผู้กำกับหนังเรื่องนี้น่ารักมาก กรี๊ดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดด
https://www.facebook.com/saw.m.maw
12.MOVE (2015, Khong Soe Moe, documentary, A+25)
13.4 BLOOMING SOUND (2016, Phyu Mon, A+25)
14.THE PLACE (2015, Khin Khin Su, A+25)
15.THE SPECIAL ONE (2016, Lamin Oo, documentary, A+20)
16.THE KITE (2015, L. Minpae Mon, A+15)
17.SPORADIC RAIN (2015, Mg Sun, A+15)
18.SAW KAE (ONCE UPON A TIME) (2016, Zaw Bo Bo Hein, A+15)
19.MOTHER (2016, Shun Wint Aung, A+15)
20.RHYTHM (2015, Pyin Nyar Zeya, A+10)
21.ACROSS THE RIVERWIND (2016, Kriz Chan Nyein, A+5)
22.CHASING ROSES (2015, Kriz Chann Yein, A+)
23.THE RED IN RED (2016, Khin Su Kyi, documentary, A-)
24.SILENCE (2015, Htoo Paing Zaw Oo, A-)
FOURTEEN DEGREES CELSIUS, A HUNDRED
MILES PER HOUR (2015, Nyi Lynn Htet, Myanmar, A+30)
ชอบความบ้าๆบอๆของมัน รู้สึกว่าในแง่นึงมันเหมือนเป็นญาติห่างๆของหนังอย่าง THE PHANTOM OF LIBERTY (1974) และ THE DISCREET CHARM OF THE BOURGEOISIE (1972) ของ Luis Buñuel เพราะตัวละครในหนังพวกนี้มักจะทำอะไรที่ผิดหลักเหตุผลอย่างตั้งใจ เหตุการณ์ประหลาดๆที่เกิดขึ้นอย่างไม่มีคำอธิบายในหนังเรื่องนี้ก็ทำให้นึกถึงหนังของบุนเยลและพวกหนัง magical realism ด้วย
ดูจบแล้วก็ไม่สามารถตีความอะไรในหนังได้เลย แต่รู้สีกดีกับหนังมากๆ
ชอบความบ้าๆบอๆของมัน รู้สึกว่าในแง่นึงมันเหมือนเป็นญาติห่างๆของหนังอย่าง THE PHANTOM OF LIBERTY (1974) และ THE DISCREET CHARM OF THE BOURGEOISIE (1972) ของ Luis Buñuel เพราะตัวละครในหนังพวกนี้มักจะทำอะไรที่ผิดหลักเหตุผลอย่างตั้งใจ เหตุการณ์ประหลาดๆที่เกิดขึ้นอย่างไม่มีคำอธิบายในหนังเรื่องนี้ก็ทำให้นึกถึงหนังของบุนเยลและพวกหนัง magical realism ด้วย
ดูจบแล้วก็ไม่สามารถตีความอะไรในหนังได้เลย แต่รู้สีกดีกับหนังมากๆ
MAWTIN JETTY (2015, Ten Men,
Myanmar, A+30)
ชอบที่หนังเหมือนจับเอา 3 เหตุการณ์เล็กๆที่ไม่ได้มีความสลักสำคัญอะไรมาทำให้เกิดผลกระทบทางอารมณ์อย่างประหลาด เหตุการณ์แรก WOMAN เป็นเรื่องของหญิงชาวบ้านคนนึงที่ตามหาชายหนุ่มคนนึงไปเรื่อยๆ และในที่สุดเธอก็เอาอาหารไปให้ชายหนุ่มคนนั้นกินที่ท่าเรือ แล้วก็นั่งมองเขากินอย่างมีความสุข
ทำไมเราถึงอินกับ WOMAN มากๆก็ไม่รู้ รู้สึกเหมือนเราเข้าใจผู้หญิงในเรื่องเป็นอย่างดี เราเข้าใจว่าเธอคงเอาข้าวกลางวันไปให้ผัวกินน่ะ และเราเดาเอาเองว่าผัวของเธออาจจะเป็นแรงงานรับจ้างที่ไม่ได้มีงานประจำทำ แต่อาจจะเปลี่ยนที่ทำงานไปเรื่อยๆ แล้วแต่ว่าวันไหนจะถูกจ้างไปใช้แรงงานที่ไหน (เธอก็เลยไม่รู้ว่าผัวเธอทำงานที่ไหนในวันนั้น) และการได้นั่งมองผัวหนุ่มกินข้าวที่ตัวเองทำคงเป็นอะไรที่ทำให้เธอมีความสุขสุดๆแล้ว เราว่าหนังถ่ายทอดกิจวัตรที่ดูเหมือนธรรมดาและเรียบง่ายนี้ออกมาได้อย่างงดงามและทรงพลังมากๆสำหรับเรา
ช่วงที่สอง GALLERY นี่เป็นช่วงที่หวาดเสียวมากๆสำหรับเรานะ เพราะเนื้อหาของมันสุ่มเสี่ยงต่อการเป็นหนัง “ซาบซึ้งเกินเหตุ” ได้ง่ายมากๆน่ะ เราเข้าใจว่ามันเล่าเรื่องของคนจนคนนึงที่อยากเข้าไปดู paintings ในแกลเลอรี่ แต่ไม่กล้าเข้าไป เพราะมันเป็นพื้นที่ของชนชั้นกลางและคนรวย แต่ในที่สุดคนดูแลแกลเลอรี่ก็สังเกตเห็นเขา และชวนให้เขาเข้ามาดูภาพวาดในแกลเลอรี่
เราว่าช่วงที่สองหนังคุมโทนอารมณ์ได้ดีมาก เพราะถ้ามันใส่ดนตรีประกอบมากเกินไป หรือพยายามบีบคั้นอารมณ์จากคนดูและตัวละครมากเกินไป มันจะกลายเป็นหนังแย่ในทันที แต่การที่หนังไม่ได้บอกว่าคนดูควรรู้สึกยังไง และตัวละครในหนังก็ไม่ได้ทำเหมือนกับว่านี่เป็นเหตุการณ์แห่งความกรุณาปรานีเห็นอกเห็นใจเพื่อนมนุษย์อย่างยิ่งใหญ่ มันเป็นเพียงเหตุการณ์เล็กๆเหตุการณ์หนึ่งเท่านั้น มันก็เลยทำให้เราชอบช่วงที่สองของหนังมากเช่นกัน
ช่วงที่สามของหนัง WAITING เล่าเรื่องของพระที่ต้องการลงเรือข้ามฟาก แต่ดูเหมือนคนดูแลเรือข้ามฟากไม่สนใจ และไปนั่งหลับ ปล่อยให้พระนั่งรอเงกในเรือไปเรื่อยๆเป็นเวลานาน
ดูแล้วเราก็ไม่แน่ใจว่า WAITING ต้องการสื่ออะไร แต่ก็ชอบมากๆอยู่ดี
เราว่า MAWTIN JETTY เหมือนเป็นญาติห่างๆของหนังของ Tossapol Boonsinsukh นะ เพราะหนังของทศพลบางเรื่องก็มีการจับเอา moments เล็กๆน้อยๆที่น่าประทับใจมาเรียงร้อยเข้าด้วยกันเหมือนกัน แต่แตกต่างกันตรงที่หนังของทศพลจะสะท้อนมุมเล็กๆน้อยๆในชีวิตชนชั้นกลาง ในขณะที่ MAWTIN JETTY ใช้ฉากหลังที่เต็มไปด้วยคนจน
อีกสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันก็คือว่า หนังของ Tossapol Boonsinsukh และ MAWTIN JETTY ไม่ได้บอกว่าคนดูควรรู้สึกยังไง แต่หนังกลุ่มนี้กลับทำให้เรารู้สึกอะไรบางอย่างที่รุนแรง ซึ่งเป็นความรู้สึกที่แปลกๆ หาคำ adjective มาบรรยายไม่ได้ มันไม่ใช่ “สุข”, “เศร้า”, “เหงา” อะไรแบบนี้ซะทีเดียว มันเป็นความรู้สึกที่อยู่นอกเหนือคำในภาษา
ชอบที่หนังเหมือนจับเอา 3 เหตุการณ์เล็กๆที่ไม่ได้มีความสลักสำคัญอะไรมาทำให้เกิดผลกระทบทางอารมณ์อย่างประหลาด เหตุการณ์แรก WOMAN เป็นเรื่องของหญิงชาวบ้านคนนึงที่ตามหาชายหนุ่มคนนึงไปเรื่อยๆ และในที่สุดเธอก็เอาอาหารไปให้ชายหนุ่มคนนั้นกินที่ท่าเรือ แล้วก็นั่งมองเขากินอย่างมีความสุข
ทำไมเราถึงอินกับ WOMAN มากๆก็ไม่รู้ รู้สึกเหมือนเราเข้าใจผู้หญิงในเรื่องเป็นอย่างดี เราเข้าใจว่าเธอคงเอาข้าวกลางวันไปให้ผัวกินน่ะ และเราเดาเอาเองว่าผัวของเธออาจจะเป็นแรงงานรับจ้างที่ไม่ได้มีงานประจำทำ แต่อาจจะเปลี่ยนที่ทำงานไปเรื่อยๆ แล้วแต่ว่าวันไหนจะถูกจ้างไปใช้แรงงานที่ไหน (เธอก็เลยไม่รู้ว่าผัวเธอทำงานที่ไหนในวันนั้น) และการได้นั่งมองผัวหนุ่มกินข้าวที่ตัวเองทำคงเป็นอะไรที่ทำให้เธอมีความสุขสุดๆแล้ว เราว่าหนังถ่ายทอดกิจวัตรที่ดูเหมือนธรรมดาและเรียบง่ายนี้ออกมาได้อย่างงดงามและทรงพลังมากๆสำหรับเรา
ช่วงที่สอง GALLERY นี่เป็นช่วงที่หวาดเสียวมากๆสำหรับเรานะ เพราะเนื้อหาของมันสุ่มเสี่ยงต่อการเป็นหนัง “ซาบซึ้งเกินเหตุ” ได้ง่ายมากๆน่ะ เราเข้าใจว่ามันเล่าเรื่องของคนจนคนนึงที่อยากเข้าไปดู paintings ในแกลเลอรี่ แต่ไม่กล้าเข้าไป เพราะมันเป็นพื้นที่ของชนชั้นกลางและคนรวย แต่ในที่สุดคนดูแลแกลเลอรี่ก็สังเกตเห็นเขา และชวนให้เขาเข้ามาดูภาพวาดในแกลเลอรี่
เราว่าช่วงที่สองหนังคุมโทนอารมณ์ได้ดีมาก เพราะถ้ามันใส่ดนตรีประกอบมากเกินไป หรือพยายามบีบคั้นอารมณ์จากคนดูและตัวละครมากเกินไป มันจะกลายเป็นหนังแย่ในทันที แต่การที่หนังไม่ได้บอกว่าคนดูควรรู้สึกยังไง และตัวละครในหนังก็ไม่ได้ทำเหมือนกับว่านี่เป็นเหตุการณ์แห่งความกรุณาปรานีเห็นอกเห็นใจเพื่อนมนุษย์อย่างยิ่งใหญ่ มันเป็นเพียงเหตุการณ์เล็กๆเหตุการณ์หนึ่งเท่านั้น มันก็เลยทำให้เราชอบช่วงที่สองของหนังมากเช่นกัน
ช่วงที่สามของหนัง WAITING เล่าเรื่องของพระที่ต้องการลงเรือข้ามฟาก แต่ดูเหมือนคนดูแลเรือข้ามฟากไม่สนใจ และไปนั่งหลับ ปล่อยให้พระนั่งรอเงกในเรือไปเรื่อยๆเป็นเวลานาน
ดูแล้วเราก็ไม่แน่ใจว่า WAITING ต้องการสื่ออะไร แต่ก็ชอบมากๆอยู่ดี
เราว่า MAWTIN JETTY เหมือนเป็นญาติห่างๆของหนังของ Tossapol Boonsinsukh นะ เพราะหนังของทศพลบางเรื่องก็มีการจับเอา moments เล็กๆน้อยๆที่น่าประทับใจมาเรียงร้อยเข้าด้วยกันเหมือนกัน แต่แตกต่างกันตรงที่หนังของทศพลจะสะท้อนมุมเล็กๆน้อยๆในชีวิตชนชั้นกลาง ในขณะที่ MAWTIN JETTY ใช้ฉากหลังที่เต็มไปด้วยคนจน
อีกสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันก็คือว่า หนังของ Tossapol Boonsinsukh และ MAWTIN JETTY ไม่ได้บอกว่าคนดูควรรู้สึกยังไง แต่หนังกลุ่มนี้กลับทำให้เรารู้สึกอะไรบางอย่างที่รุนแรง ซึ่งเป็นความรู้สึกที่แปลกๆ หาคำ adjective มาบรรยายไม่ได้ มันไม่ใช่ “สุข”, “เศร้า”, “เหงา” อะไรแบบนี้ซะทีเดียว มันเป็นความรู้สึกที่อยู่นอกเหนือคำในภาษา
SAMANERA (2016, Tay Zar Win Htun,
Zaw Win Htwe, Myanmar, documentary, 45min, A+30)
ชอบการที่หนังจับสังเกต moments เล็กๆน้อยๆของชาวบ้านมาเรียงร้อยเข้าด้วยกันตลอดทั้งเรื่อง ในแง่นึงมันเหมือนกับ RAILWAY SLEEPERS (2016, Sompot Chidgasornpongse) น่ะ คือมันเต็มไปด้วย moments เล็กๆน้อยๆที่งดงามในตัวมันเองมากมาย และ moments เล็กๆน้อยๆเหล่านี้ไม่ได้ส่ง message ที่ชัดเจนใดๆ
เราว่าการตัดต่อหนังแบบนี้ยากมากๆ คือหนังอย่าง SAMANERA จริงๆแล้วมันก็อาจจะมี message และมีธีมหลักของมันน่ะแหละ แต่หลายฉากของมันเหมือนไม่ได้ถูกครอบงำด้วยการส่งสารที่เฉพาะเจาะจงต่อคนดู แต่เป็นเพียงการจับสังเกตอิริยาบถ, อากัปกิริยา, กิจวัตรเล็กๆน้อยๆของมนุษย์ในพื้นที่หนึ่งๆเท่านั้น และพอฉากเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องเชื่อมโยงกันเพื่อส่งสารที่เฉพาะเจาะจง มันก็คงจะเป็นเรื่องที่ยากมากๆในการตัดสินใจว่า จะเลือกฉากใดบ้างเข้ามาไว้ในหนัง และจะเรียงฉากไหนต่อกับฉากไหนดี และแต่ละฉากควรจะยาวสั้นเพียงใด คือพอมันไม่ถูกครอบงำด้วย message แล้ว มันก็เลยมีอิสระมากๆในการเลือกฉาก, การเรียงฉาก และการกำหนดความสั้นยาวของฉาก
มันต้องใช้ sense ที่ดีมากจริงๆในการทำหนังแบบนี้ออกมาได้ และเราว่าทั้ง Sompot Chidgasornpongse และผู้กำกับ SAMANERA ทำสิ่งนี้ได้สำเร็จ
ชอบการที่หนังจับสังเกต moments เล็กๆน้อยๆของชาวบ้านมาเรียงร้อยเข้าด้วยกันตลอดทั้งเรื่อง ในแง่นึงมันเหมือนกับ RAILWAY SLEEPERS (2016, Sompot Chidgasornpongse) น่ะ คือมันเต็มไปด้วย moments เล็กๆน้อยๆที่งดงามในตัวมันเองมากมาย และ moments เล็กๆน้อยๆเหล่านี้ไม่ได้ส่ง message ที่ชัดเจนใดๆ
เราว่าการตัดต่อหนังแบบนี้ยากมากๆ คือหนังอย่าง SAMANERA จริงๆแล้วมันก็อาจจะมี message และมีธีมหลักของมันน่ะแหละ แต่หลายฉากของมันเหมือนไม่ได้ถูกครอบงำด้วยการส่งสารที่เฉพาะเจาะจงต่อคนดู แต่เป็นเพียงการจับสังเกตอิริยาบถ, อากัปกิริยา, กิจวัตรเล็กๆน้อยๆของมนุษย์ในพื้นที่หนึ่งๆเท่านั้น และพอฉากเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องเชื่อมโยงกันเพื่อส่งสารที่เฉพาะเจาะจง มันก็คงจะเป็นเรื่องที่ยากมากๆในการตัดสินใจว่า จะเลือกฉากใดบ้างเข้ามาไว้ในหนัง และจะเรียงฉากไหนต่อกับฉากไหนดี และแต่ละฉากควรจะยาวสั้นเพียงใด คือพอมันไม่ถูกครอบงำด้วย message แล้ว มันก็เลยมีอิสระมากๆในการเลือกฉาก, การเรียงฉาก และการกำหนดความสั้นยาวของฉาก
มันต้องใช้ sense ที่ดีมากจริงๆในการทำหนังแบบนี้ออกมาได้ และเราว่าทั้ง Sompot Chidgasornpongse และผู้กำกับ SAMANERA ทำสิ่งนี้ได้สำเร็จ
No comments:
Post a Comment