ดีใจมากค่ะที่คุณอ้วนชอบ The Merchant of Venice (A) ดิฉันก็ชอบหนังเรื่องนี้มากค่ะ สิ่งที่ชอบมากก็คือบทบาทของผู้หญิงในช่วงท้ายหนังเรื่องนี้ ตอนแรกดิฉันนึกว่าผู้หญิงในหนังเรื่องนี้จะมีบทบาทเป็นเพียงแค่สาวสวยให้ชายหนุ่มมาหมายปองเท่านั้น แต่พอผู้หญิงในเรื่องนี้แสดงสติปัญญาอันเฉียบคมออกมา ดิฉันก็เลยรู้สึกชอบหนังเรื่องนี้มากๆ
ชอบการแสดงของ LYNN COLLINS ที่รับบทเป็นนางเอกหนังเรื่องนี้มากๆค่ะ จริงๆก็ไม่รู้ว่าเธอแสดงดีหรือเปล่า แต่ชอบตัวละครที่เธอแสดงมากๆ
http://www.imdb.com/name/nm1211488/
ดูประวัติการแสดงของ LYNN COLLINS แล้วก็น่าสนใจดีค่ะ เพราะดิฉันเคยดูหนังเรื่อง 13 GOING ON 30 (A+) ที่เธอแสดง แต่ก็นึกไม่ออกว่าเธอรับบทเป็นใครในหนังเรื่องนั้น และก็เคยดูเรื่อง DOWN WITH LOVE (A-) ที่เธอแสดง แต่ก็ไม่ค่อยแน่ใจเหมือนกันว่าเธอรับบทเป็นใครในเรื่อง ถ้าหากบทของเธอไม่น้อยมากๆ เธอก็ต้องเล่นเก่งมากๆ หรือ "แปลงโฉม" เก่งมากๆ จนทำให้เธอกลืนไปกับบทของตัวเองในแต่ละเรื่อง
ชอบ KRIS MARSHALL ที่รับบทเป็นเพื่อนพระเอกใน THE MERCHANT OF VENICE อย่างมากๆด้วยค่ะ
พูดถึง DOWN WITH LOVE แล้วก็รู้สึกคนที่ติด UBC อีกแล้วค่ะ เพราะเมื่อไม่กี่เดือนก่อน เห็นมีหนังของ ROCK HUDSON + DORIS DAY มาฉายทางช่อง CINEMAX รู้สึกว่าจะเป็นเรื่อง LOVER COME BACK (1962, DELBERT MANN) ถ้าเข้าใจไม่ผิด หนังเรื่องนี้มีอิทธิพลต่อ DOWN WITH LOVE อย่างมากๆ และดิฉันชอบ ROCK HUDSON มากๆด้วยค่ะ
http://images.amazon.com/images/P/B0001CNRB6.01.LZZZZZZZ.jpg
Thursday, June 30, 2005
Wednesday, June 29, 2005
JEREMY SHEFFIELD IS AWESOME
หนังที่ได้ดูในช่วง 2 วันนี้
1.HOTEL (A+)
2.TURTLES CAN FLY (A+)
3.THE WEDDING DATE (A)
4.PURSUED (B)
วันเสาร์นี้ยังมีฉายหนังสั้นของไทยให้ดูกันฟรีๆที่ TK PARK ชั้น 6 อาคารเซ็นทรัลเวิลด์พลาซ่าด้วยค่ะ เวลา 15.00 น. หนังที่จะฉายคือเรื่อง
1."วันเกิด" (2000, สุวรรณ ห่วงศิริกุล, A) ซึ่งมีความยาว 21 นาที
2. "บ้านสีชมพู" (2000, สุวรรณ ห่วงศิริกุล, A)
3. "ฟ้าอมร" (2002, สุวรรณ ห่วงศิริกุล, A/A-)
ดูโปรแกรมการฉายทั้งหมดของ TK PARK ได้ที่ http://www.thaifilm.com/newsDetail.asp?id=139
หนังที่ได้ดูในวันนี้
WAR OF THE WORLDS (A/A-)
MOST DESIRABLE ACTOR
JEREMY SHEFFIELD -- THE WEDDING DATE
JEREMY SHEFFIELD เคยแสดงในมิวสิควิดีโอ TORN ของ NATALIE IMBRUGLIA
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ JEREMY SHEFFIELD ได้ที่ http://jeremysheffield.tvheaven.com/ เ
ขาเกิดปี 1966 สูง 1.91 เมตร และเป็นนักเต้นบัลเลต์ด้วย
แต่สิ่งที่ทำให้ดิฉันตกใจแทบสิ้นสติ ฉี่แทบราด มือไม้สั่น ทำอะไรไม่ถูกไปพักใหญ่ ก็คือข้อมูลใน http://www.imdb.com/name/nm0790785/ ที่บอกว่า "JEREMY SHEFFIELD เป็นเกย์" และเคยให้สัมภาษณ์เรื่องนี้ลงนิตยสาร ATTITUDE ด้วย
ดูรูปของ JEREMY SHEFFIELD ได้ที่ http://www.nigelspalding.com/portraits/images/portraits/new5/JeremySheffieldP.jpg
1.HOTEL (A+)
2.TURTLES CAN FLY (A+)
3.THE WEDDING DATE (A)
4.PURSUED (B)
วันเสาร์นี้ยังมีฉายหนังสั้นของไทยให้ดูกันฟรีๆที่ TK PARK ชั้น 6 อาคารเซ็นทรัลเวิลด์พลาซ่าด้วยค่ะ เวลา 15.00 น. หนังที่จะฉายคือเรื่อง
1."วันเกิด" (2000, สุวรรณ ห่วงศิริกุล, A) ซึ่งมีความยาว 21 นาที
2. "บ้านสีชมพู" (2000, สุวรรณ ห่วงศิริกุล, A)
3. "ฟ้าอมร" (2002, สุวรรณ ห่วงศิริกุล, A/A-)
ดูโปรแกรมการฉายทั้งหมดของ TK PARK ได้ที่ http://www.thaifilm.com/newsDetail.asp?id=139
หนังที่ได้ดูในวันนี้
WAR OF THE WORLDS (A/A-)
MOST DESIRABLE ACTOR
JEREMY SHEFFIELD -- THE WEDDING DATE
JEREMY SHEFFIELD เคยแสดงในมิวสิควิดีโอ TORN ของ NATALIE IMBRUGLIA
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ JEREMY SHEFFIELD ได้ที่ http://jeremysheffield.tvheaven.com/ เ
ขาเกิดปี 1966 สูง 1.91 เมตร และเป็นนักเต้นบัลเลต์ด้วย
แต่สิ่งที่ทำให้ดิฉันตกใจแทบสิ้นสติ ฉี่แทบราด มือไม้สั่น ทำอะไรไม่ถูกไปพักใหญ่ ก็คือข้อมูลใน http://www.imdb.com/name/nm0790785/ ที่บอกว่า "JEREMY SHEFFIELD เป็นเกย์" และเคยให้สัมภาษณ์เรื่องนี้ลงนิตยสาร ATTITUDE ด้วย
ดูรูปของ JEREMY SHEFFIELD ได้ที่ http://www.nigelspalding.com/portraits/images/portraits/new5/JeremySheffieldP.jpg
Tuesday, June 28, 2005
FRANCOIS BERLEAND
ดูแผนที่ไปศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรได้ที่นี่ค่ะ
http://www.sac.or.th/umn/info/indexinfo1.htm#6
วิธีเดินทางไปศูนย์ (ตามที่เว็บไซท์บอกมา)
1.จากฝั่งพระนคร ข้ามสะพานกรุงธน (ซังฮี้)ลงจากสะพานกรุงธน ตรงมาตามถนนสิรินธร ขึ้นสะพานลอยข้ามแยกถนนจรัลสนิทวงศ์-สิรินธร ผ่านห้างสรรพสินค้าตั้งฮั่วเส็ง ขึ้นสะพานลอยข้ามทางแยกต่างระดับถนนบรมราชชนนี เมื่อลงสะพาน ให้ออกเส้นทางคู่ขนานที่ทางออกแรก (สังเกตป้าย “ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ๕๐๐ เมตร”) ตรงมาตามถนนบรมราชชนนี ศูนย์ฯ จะอยู่ทางซ้ายมือ
2.จากฝั่งพระนคร ข้ามสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯลงจากสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ตรงมาตามถนนบรมราชชนนีระดับดินโดยไม่ขึ้นทางคู่ขนานลอยฟ้า แต่ให้ขึ้นสะพานลอยข้ามแยกถนนจรัลสนิทวงศ์-บรมราชชนนี ผ่านสถานีขนส่งสายใต้ ขึ้นสะพานลอยข้ามทางแยกต่างระดับ (ซึ่งจะเป็นทางบังคับเลี้ยวซ้าย เพื่อไปทางพุทธมณฑล) เมื่อลงสะพาน ให้ออกเส้นทางคู่ขนานที่ทางออกแรก (สังเกตป้าย “ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ๕๐๐ เมตร”) ตรงมาตามถนนบรมราชชนนี ศูนย์ฯ จะอยู่ทางซ้ายมือ
3.การเดินทางโดยรถประจำทาง รถประจำทางที่ผ่านหน้าศูนย์ฯรถปรับอากาศ - ปอ.๑๖ ปอ.๑๗ ปอ.๓๓รถธรรมดา - สาย ๑๙, ๔๐, ๕๗, ๑๒๓, ๑๒๔, ๑๒๕, ๑๒๗, ๑๔๙
ดูรายละเอียดเกี่ยวกับหนังที่ฉายที่ศูนย์ได้ที่
http://www.sac.or.th/
--ได้ดู HANUSSEN แล้ว ชอบในระดับ A
--ได้ดู MY IDOL (2002) ที่กำกับและนำแสดงโดย GUILLAUME CANET แล้ว ชอบในระดับประมาณ B เท่านั้น แต่เพื่อนดิฉันชอบหนังเรื่องนี้มากค่ะ
--DIANE KRUGER (TROY) ซึ่งเป็นภรรยาของ GUILLAUME CANET ร่วมแสดงใน MY IDOL ด้วย
--FRANCOIS BERLEAND ที่รับบทเป็นตัวร้ายใน MY IDOL ดิฉันขอเรียกเขาว่าเป็น "สมชาย ศักดิกุล" แห่งประเทศฝรั่งเศส เพราะหนังที่เขาเล่นเข้ามาฉายโรงในไทยเยอะมากในช่วงที่ผ่านมา และในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เขาเล่นหนังไปแล้วไม่ต่ำกว่า 50 เรื่อง
http://www.imdb.com/name/nm0075710/
หนังของ FRANCOIS BERLEAND ที่ได้มาฉายในโรงภาพยนตร์ในกรุงเทพในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา
1.THE SCHOOL OF FLESH (1998, BENOIT JACQUOT, A+)
2.L'APPAT (1995, BERTRAND TAVERNIER, A+)
3.ONLY GIRLS (2003, A)
4.I'VE BEEN WAITING SO LONG (2004, A)
5.PLACE VENDOME (1998, A)
6.NARCO (2004, A-/B+)
7.MY LITTLE BUSINESS (1999, B+)
8.LES CHORISTES (2004, B)
9.MY IDOL (2002, B)
10.THE TRANSPORTER (2002, C)
11.LA MENTALE (2002, C)
--อยากให้ GUILLAUME CANET เล่นหนังคู่กับ RYAN GOSLING (THE NOTEBOOK) เพราะรู้สึกว่าทั้งสองคนนี้มีความน่ารักคล้ายๆกัน
http://www.sac.or.th/umn/info/indexinfo1.htm#6
วิธีเดินทางไปศูนย์ (ตามที่เว็บไซท์บอกมา)
1.จากฝั่งพระนคร ข้ามสะพานกรุงธน (ซังฮี้)ลงจากสะพานกรุงธน ตรงมาตามถนนสิรินธร ขึ้นสะพานลอยข้ามแยกถนนจรัลสนิทวงศ์-สิรินธร ผ่านห้างสรรพสินค้าตั้งฮั่วเส็ง ขึ้นสะพานลอยข้ามทางแยกต่างระดับถนนบรมราชชนนี เมื่อลงสะพาน ให้ออกเส้นทางคู่ขนานที่ทางออกแรก (สังเกตป้าย “ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ๕๐๐ เมตร”) ตรงมาตามถนนบรมราชชนนี ศูนย์ฯ จะอยู่ทางซ้ายมือ
2.จากฝั่งพระนคร ข้ามสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯลงจากสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ตรงมาตามถนนบรมราชชนนีระดับดินโดยไม่ขึ้นทางคู่ขนานลอยฟ้า แต่ให้ขึ้นสะพานลอยข้ามแยกถนนจรัลสนิทวงศ์-บรมราชชนนี ผ่านสถานีขนส่งสายใต้ ขึ้นสะพานลอยข้ามทางแยกต่างระดับ (ซึ่งจะเป็นทางบังคับเลี้ยวซ้าย เพื่อไปทางพุทธมณฑล) เมื่อลงสะพาน ให้ออกเส้นทางคู่ขนานที่ทางออกแรก (สังเกตป้าย “ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ๕๐๐ เมตร”) ตรงมาตามถนนบรมราชชนนี ศูนย์ฯ จะอยู่ทางซ้ายมือ
3.การเดินทางโดยรถประจำทาง รถประจำทางที่ผ่านหน้าศูนย์ฯรถปรับอากาศ - ปอ.๑๖ ปอ.๑๗ ปอ.๓๓รถธรรมดา - สาย ๑๙, ๔๐, ๕๗, ๑๒๓, ๑๒๔, ๑๒๕, ๑๒๗, ๑๔๙
ดูรายละเอียดเกี่ยวกับหนังที่ฉายที่ศูนย์ได้ที่
http://www.sac.or.th/
--ได้ดู HANUSSEN แล้ว ชอบในระดับ A
--ได้ดู MY IDOL (2002) ที่กำกับและนำแสดงโดย GUILLAUME CANET แล้ว ชอบในระดับประมาณ B เท่านั้น แต่เพื่อนดิฉันชอบหนังเรื่องนี้มากค่ะ
--DIANE KRUGER (TROY) ซึ่งเป็นภรรยาของ GUILLAUME CANET ร่วมแสดงใน MY IDOL ด้วย
--FRANCOIS BERLEAND ที่รับบทเป็นตัวร้ายใน MY IDOL ดิฉันขอเรียกเขาว่าเป็น "สมชาย ศักดิกุล" แห่งประเทศฝรั่งเศส เพราะหนังที่เขาเล่นเข้ามาฉายโรงในไทยเยอะมากในช่วงที่ผ่านมา และในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เขาเล่นหนังไปแล้วไม่ต่ำกว่า 50 เรื่อง
http://www.imdb.com/name/nm0075710/
หนังของ FRANCOIS BERLEAND ที่ได้มาฉายในโรงภาพยนตร์ในกรุงเทพในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา
1.THE SCHOOL OF FLESH (1998, BENOIT JACQUOT, A+)
2.L'APPAT (1995, BERTRAND TAVERNIER, A+)
3.ONLY GIRLS (2003, A)
4.I'VE BEEN WAITING SO LONG (2004, A)
5.PLACE VENDOME (1998, A)
6.NARCO (2004, A-/B+)
7.MY LITTLE BUSINESS (1999, B+)
8.LES CHORISTES (2004, B)
9.MY IDOL (2002, B)
10.THE TRANSPORTER (2002, C)
11.LA MENTALE (2002, C)
--อยากให้ GUILLAUME CANET เล่นหนังคู่กับ RYAN GOSLING (THE NOTEBOOK) เพราะรู้สึกว่าทั้งสองคนนี้มีความน่ารักคล้ายๆกัน
Sunday, June 26, 2005
A CANTERBURY TALE (A+)
ความเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับ A SNAKE OF JUNE (A+) ซึ่งฉายที่ลิโดในขณะนี้
ดีจังเลยค่ะ ขณะที่ดูไม่ทันได้นึกถึงอะไรทำนองนี้เลย แต่ก็ตื่นตาตื่นใจไปกับอารมณ์แร่ดๆในเรื่องนี้มาก
ชอบฉากคลับลึกลับในเรื่องนี้มากค่ะ ดูแล้วนึกไปถึงภาพยนตร์ที่กำกับโดย ALAIN ROBBE-GRILLET และนิยายที่แต่งโดย ALAIN ROBBE-GRILLET เพราะเคยดูหนังเรื่อง EDEN AND AFTER (1970, A+++++) และเคยอ่านนิยายเรื่อง RECOLLECTIONS OF THE GOLDEN TRIANGLE ของเขา และในหนังกับนิยายเรื่องนี้ก็มี “คลับพิสดารซาดิสท์” อยู่ในหนังด้วยเหมือนกัน
*****อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหนังซาดิสท์ของ ALAIN ROBBE-GRILLET ได้ในหนังสือ “ฟิล์มไวรัสเล่ม 1” ซึ่งมีขายที่ร้านคิโนะคุนิยะ เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ค่ะ*****
ดู A SNAKE OF JUNE แล้วทำให้นึกถึงหนังญี่ปุ่นที่ชอบสุดๆเรื่องนึงด้วยค่ะ นั่นก็คือเรื่อง UNFAITHFUL WIFE: SHAMEFUL TORTURE (1992, HISAYASU SATO, A+) เพราะในหนังเรื่องนี้ก็มีคลับซาดิสท์เหมือนกัน และหนังก็มีความอีโรติก, เล่นกับประเด็น VOYEURISM และมีความพิศวงพิสดารไม่แพ้ A SNAKE OF JUNE โดยนักวิจารณ์บางคนยังนำ UNFAITHFUL WIFE: SHAMEFUL TORTURE ไปเปรียบเทียบกับหนังของ ALAIN ROBBE-GRILLET ด้วยเหมือนกัน
ดูข้อมูลเกี่ยวกับ UNFAITHFUL WIFE: SHAMEFUL TORTURE ได้ที่
http://www.imdb.com/title/tt0105392/
ตอนนี้ได้ดูหนังที่กำกับโดยชินยะ สึกาโมโตะไปแค่ 4 เรื่องเองค่ะ ชอบ GEMINI (1999, A-) น้อยที่สุด และชอบ A SNAKE OF JUNE, BULLET BALLET (1998) และ TETSUO (1988) ในระดับ A+ เหมือนกัน
--ดีใจมากค่ะที่ได้อ่านเกี่ยวกับหนังฝรั่งเศสต่ออีก
--พูดถึงหนังที่ดูแล้วร้องไห้ ก็เลยนึกถึงหนัง 2 เรื่องที่ได้ดูมาในช่วงนี้ และทำให้ตัวเองแทบร้องไห้เมื่อใดก็ตามที่นึกถึง นั่นก็คือเรื่อง
1.I AM DAVID (2003, PAUL FEIG, A+) รู้สึกอยากร้องไห้ตอนที่พระเอกพูดประโยคที่ว่า “I AM DAVID.” ประโยคนี้เป็นประโยคที่เรียบง่ายมาก แต่พอมันมาอยู่ในจังหวะที่ถูกต้องเหมาะสมในหนังเรื่องนี้ มันก็ทำให้ทำนบน้ำตาแตกในทันที
2.SOME SECRETS (2002, ALICE NELLIS, A+) รู้สึกอยากร้องไห้ตอนที่แม่พูดว่า “ลูกรู้มั้ย แม่คือคนที่ซื้อแชมพูขวดนั้นเอง”
--อยากไปดู THE ASSASSINATION OF RICHARD NIXON อีกรอบที่โรงหนังสยามเหมือนกัน เพราะก็อปปี้ที่ฉายที่โรงหนังสยาม สีสวยสดใหม่ถูกใจมาก
--ยังไม่เห็นหนังตัวอย่างของ NARNIA แต่ตอนเด็กๆเคยอ่าน “เมืองในตู้เสื้อผ้า” ที่อยู่ในชุด NARNIA แล้วชอบอย่างรุนแรงมาก นิยายทำนองนี้ที่ชอบมากอีกเรื่องนึงคือ “พลอยน้ำเพลิง” สนุกสุดๆ เสียดายที่จำไม่ได้แล้วว่าชื่อภาษาอังกฤษของนิยายสำหรับเด็กเรื่องนี้มีชื่อว่าอะไร
--หัวเราะสุดชีวิตตอนที่อ่านเจอเรื่องของ MULHOLLAND DRIVE SUPPORT GROUP เหมือนกัน
--พูดถึงเรื่องกลุ่มคนที่มาพูดคุยกันเพื่อเยียวยาทางจิตใจ ก็เลยนึกถึงฉากเปิดของ AFTERMATH (2004, PAPRIKA STEEN, A+) และนึกถึงหนังเรื่องนึงที่อยากดูอย่างสุดๆ นั่นก็คือเรื่อง GROUP (2002, MARILYN FREEMAN + ANNE DE MARCKEN) ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับผู้หญิงกลุ่มหนึ่งที่มาพูดคุยกันเพื่อบำบัดจิตใจตัวเอง โดยหนังเรื่องนี้มีการแบ่งหน้าจอออกเป็น 6 รูปแบบด้วยกัน
http://www.villagevoice.com/film/0227,park,36157,20.html
--วันนี้ได้ดูหนัง 3 เรื่องที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ค่ะ ซึ่งก็คือเรื่อง
1.A CANTERBURY TALE (1944, MICHAEL POWELL + EMERIC PRESSBURGER, A+)
อย่าจำหนังเรื่องนี้สลับกับหนังของ PIER PAOLO PASOLINI ที่มีชื่อเรื่องคล้ายๆกัน
ช่วงต้นๆของหนังเรื่องนี้ ดูแล้วนึกไปถึงหนังของ JACQUES RIVETTE เพราะช่วงต้นๆของหนังเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับ “การไขปริศนาลึกลับท่ามกลางบรรยากาศสบายๆ ไม่เคร่งเครียด” ซึ่งเป็นสิ่งที่มักพบอยู่เสมอในหนังของ RIVETTE แต่ช่วงท้ายของหนังเรื่องนี้ ดูแล้วรู้สึกซาบซึ้งใจอย่างรุนแรงมาก
เคยดูหนังของ MICHAEL POWELL อีก 2 เรื่อง ซึ่งก็คือ BLACK NARCISSUS (1947, A+) กับ PEEPING TOM (1960, A+)
http://www.imdb.com/name/nm0003836/
2.ONLY ANGELS HAVE WINGS (1939, HOWARD HAWKS, A+)
หนังเรื่องนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับชีวิตการทำงานของนักบินชายกลุ่มหนึ่ง ดูแล้วรู้สึกสนุกมากและซึ้งมาก หนังเรื่องนี้นำแสดงโดย CARY GRANT โดยมี RITA HAYWORTH มารับบทประกอบด้วย
อิจฉาคนที่ติด UBC มากๆค่ะ เพราะรู้สึกว่าหนังของ RITA HAYWORTH เรื่อง COVER GIRL (1944, CHARLES VIDOR) เพิ่งมาฉายที่ช่อง CINEMAX เมื่อราววันจันทร์ที่แล้วนี้เอง อยากดูหนังเก่าๆทำนองนี้มากค่ะ นอกจากนี้ GENE KELLY ยังเล่นเป็นพระเอกของ COVER GIRL ด้วย
3.ALPINE FIRE (1985, FREDI M. MURER, A+)
หนังสวิตเซอร์แลนด์เรื่องนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับพี่สาวน้องชายที่มีเพศสัมพันธ์กัน
ในหนังเรื่องนี้มีกลุ่มฝูงวัวที่มีกระดิ่งผูกกรุ๋งกริ๋งๆด้วย ดูแล้วก็เลยนึกถึง I ALWAYS WANTED TO BE A SAINT (2003, GENEVIEVE MERSH, A+) เพราะในหนังเรื่องนั้น พอคนดูเห็นฉากฝูงวัวผูกกระดิ่งเดินกันเต็มท้องถนนปุ๊บ คนดูก็รู้ได้ในทันทีว่านางเอกเดินทางมาถึงสวิตเซอร์แลนด์แล้ว
ดีจังเลยค่ะ ขณะที่ดูไม่ทันได้นึกถึงอะไรทำนองนี้เลย แต่ก็ตื่นตาตื่นใจไปกับอารมณ์แร่ดๆในเรื่องนี้มาก
ชอบฉากคลับลึกลับในเรื่องนี้มากค่ะ ดูแล้วนึกไปถึงภาพยนตร์ที่กำกับโดย ALAIN ROBBE-GRILLET และนิยายที่แต่งโดย ALAIN ROBBE-GRILLET เพราะเคยดูหนังเรื่อง EDEN AND AFTER (1970, A+++++) และเคยอ่านนิยายเรื่อง RECOLLECTIONS OF THE GOLDEN TRIANGLE ของเขา และในหนังกับนิยายเรื่องนี้ก็มี “คลับพิสดารซาดิสท์” อยู่ในหนังด้วยเหมือนกัน
*****อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหนังซาดิสท์ของ ALAIN ROBBE-GRILLET ได้ในหนังสือ “ฟิล์มไวรัสเล่ม 1” ซึ่งมีขายที่ร้านคิโนะคุนิยะ เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ค่ะ*****
ดู A SNAKE OF JUNE แล้วทำให้นึกถึงหนังญี่ปุ่นที่ชอบสุดๆเรื่องนึงด้วยค่ะ นั่นก็คือเรื่อง UNFAITHFUL WIFE: SHAMEFUL TORTURE (1992, HISAYASU SATO, A+) เพราะในหนังเรื่องนี้ก็มีคลับซาดิสท์เหมือนกัน และหนังก็มีความอีโรติก, เล่นกับประเด็น VOYEURISM และมีความพิศวงพิสดารไม่แพ้ A SNAKE OF JUNE โดยนักวิจารณ์บางคนยังนำ UNFAITHFUL WIFE: SHAMEFUL TORTURE ไปเปรียบเทียบกับหนังของ ALAIN ROBBE-GRILLET ด้วยเหมือนกัน
ดูข้อมูลเกี่ยวกับ UNFAITHFUL WIFE: SHAMEFUL TORTURE ได้ที่
http://www.imdb.com/title/tt0105392/
ตอนนี้ได้ดูหนังที่กำกับโดยชินยะ สึกาโมโตะไปแค่ 4 เรื่องเองค่ะ ชอบ GEMINI (1999, A-) น้อยที่สุด และชอบ A SNAKE OF JUNE, BULLET BALLET (1998) และ TETSUO (1988) ในระดับ A+ เหมือนกัน
--ดีใจมากค่ะที่ได้อ่านเกี่ยวกับหนังฝรั่งเศสต่ออีก
--พูดถึงหนังที่ดูแล้วร้องไห้ ก็เลยนึกถึงหนัง 2 เรื่องที่ได้ดูมาในช่วงนี้ และทำให้ตัวเองแทบร้องไห้เมื่อใดก็ตามที่นึกถึง นั่นก็คือเรื่อง
1.I AM DAVID (2003, PAUL FEIG, A+) รู้สึกอยากร้องไห้ตอนที่พระเอกพูดประโยคที่ว่า “I AM DAVID.” ประโยคนี้เป็นประโยคที่เรียบง่ายมาก แต่พอมันมาอยู่ในจังหวะที่ถูกต้องเหมาะสมในหนังเรื่องนี้ มันก็ทำให้ทำนบน้ำตาแตกในทันที
2.SOME SECRETS (2002, ALICE NELLIS, A+) รู้สึกอยากร้องไห้ตอนที่แม่พูดว่า “ลูกรู้มั้ย แม่คือคนที่ซื้อแชมพูขวดนั้นเอง”
--อยากไปดู THE ASSASSINATION OF RICHARD NIXON อีกรอบที่โรงหนังสยามเหมือนกัน เพราะก็อปปี้ที่ฉายที่โรงหนังสยาม สีสวยสดใหม่ถูกใจมาก
--ยังไม่เห็นหนังตัวอย่างของ NARNIA แต่ตอนเด็กๆเคยอ่าน “เมืองในตู้เสื้อผ้า” ที่อยู่ในชุด NARNIA แล้วชอบอย่างรุนแรงมาก นิยายทำนองนี้ที่ชอบมากอีกเรื่องนึงคือ “พลอยน้ำเพลิง” สนุกสุดๆ เสียดายที่จำไม่ได้แล้วว่าชื่อภาษาอังกฤษของนิยายสำหรับเด็กเรื่องนี้มีชื่อว่าอะไร
--หัวเราะสุดชีวิตตอนที่อ่านเจอเรื่องของ MULHOLLAND DRIVE SUPPORT GROUP เหมือนกัน
--พูดถึงเรื่องกลุ่มคนที่มาพูดคุยกันเพื่อเยียวยาทางจิตใจ ก็เลยนึกถึงฉากเปิดของ AFTERMATH (2004, PAPRIKA STEEN, A+) และนึกถึงหนังเรื่องนึงที่อยากดูอย่างสุดๆ นั่นก็คือเรื่อง GROUP (2002, MARILYN FREEMAN + ANNE DE MARCKEN) ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับผู้หญิงกลุ่มหนึ่งที่มาพูดคุยกันเพื่อบำบัดจิตใจตัวเอง โดยหนังเรื่องนี้มีการแบ่งหน้าจอออกเป็น 6 รูปแบบด้วยกัน
http://www.villagevoice.com/film/0227,park,36157,20.html
--วันนี้ได้ดูหนัง 3 เรื่องที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ค่ะ ซึ่งก็คือเรื่อง
1.A CANTERBURY TALE (1944, MICHAEL POWELL + EMERIC PRESSBURGER, A+)
อย่าจำหนังเรื่องนี้สลับกับหนังของ PIER PAOLO PASOLINI ที่มีชื่อเรื่องคล้ายๆกัน
ช่วงต้นๆของหนังเรื่องนี้ ดูแล้วนึกไปถึงหนังของ JACQUES RIVETTE เพราะช่วงต้นๆของหนังเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับ “การไขปริศนาลึกลับท่ามกลางบรรยากาศสบายๆ ไม่เคร่งเครียด” ซึ่งเป็นสิ่งที่มักพบอยู่เสมอในหนังของ RIVETTE แต่ช่วงท้ายของหนังเรื่องนี้ ดูแล้วรู้สึกซาบซึ้งใจอย่างรุนแรงมาก
เคยดูหนังของ MICHAEL POWELL อีก 2 เรื่อง ซึ่งก็คือ BLACK NARCISSUS (1947, A+) กับ PEEPING TOM (1960, A+)
http://www.imdb.com/name/nm0003836/
2.ONLY ANGELS HAVE WINGS (1939, HOWARD HAWKS, A+)
หนังเรื่องนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับชีวิตการทำงานของนักบินชายกลุ่มหนึ่ง ดูแล้วรู้สึกสนุกมากและซึ้งมาก หนังเรื่องนี้นำแสดงโดย CARY GRANT โดยมี RITA HAYWORTH มารับบทประกอบด้วย
อิจฉาคนที่ติด UBC มากๆค่ะ เพราะรู้สึกว่าหนังของ RITA HAYWORTH เรื่อง COVER GIRL (1944, CHARLES VIDOR) เพิ่งมาฉายที่ช่อง CINEMAX เมื่อราววันจันทร์ที่แล้วนี้เอง อยากดูหนังเก่าๆทำนองนี้มากค่ะ นอกจากนี้ GENE KELLY ยังเล่นเป็นพระเอกของ COVER GIRL ด้วย
3.ALPINE FIRE (1985, FREDI M. MURER, A+)
หนังสวิตเซอร์แลนด์เรื่องนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับพี่สาวน้องชายที่มีเพศสัมพันธ์กัน
ในหนังเรื่องนี้มีกลุ่มฝูงวัวที่มีกระดิ่งผูกกรุ๋งกริ๋งๆด้วย ดูแล้วก็เลยนึกถึง I ALWAYS WANTED TO BE A SAINT (2003, GENEVIEVE MERSH, A+) เพราะในหนังเรื่องนั้น พอคนดูเห็นฉากฝูงวัวผูกกระดิ่งเดินกันเต็มท้องถนนปุ๊บ คนดูก็รู้ได้ในทันทีว่านางเอกเดินทางมาถึงสวิตเซอร์แลนด์แล้ว
TOM WALLER
--วันนี้ได้ดูหนังฝรั่งเศสอีกสองเรื่อง ซึ่งก็คือ FEAR AND TREMBLING (2003, ALAIN CORNEAU, A-) และ WHO KILLED BAMBI? (2003, GILLES MARCHAND, A+/A) และได้ดูละครเวทีเรื่อง “เส้นด้ายในความมืด” (A+) ที่ศูนย์ศิลปะวัฒนธรรมแสงอรุณ (สีลมซอย 9)
--ความรู้สึกชอบที่มีต่อ “เส้นด้ายในความมืด” มาจากทัศนคติของตัวละครในเรื่อง จริงๆแล้วรู้สึกว่าละครออกจะยืดยาดอยู่บ้าง แต่เนื่องจากชอบตัวละครและความคิดของตัวละคร ก็เลยทำให้ยังคงชอบละครเรื่องนี้ในระดับ A+ อยู่
--GILLES MARCHAND ร่วมเขียนบท RED LIGHTS (2004, A+) ด้วย
--ถ้าจำไม่ผิด ในหนังสือพิมพ์โพสท์ทูเดย์ฉบับวันเสาร์ที่ 18 มิ.ย. ลงบทวิจารณ์หนังเรื่อง HAPPILY EVER AFTER ไว้ด้วย
NARCO (A-/B+)
--เออ ใช่ ลืมนึกถึงชื่อหนัง SCHIZO (2004, GULSHAT OMAROVA, A) ไปเลย ดีมากค่ะที่น้อง merveillesxx พูดถึงชื่อหนังเรื่องนี้ขึ้นมา
--ตอนที่ไปดูหนังเรื่องนี้ พอดีซื้อตั๋วช้า ก็เลยได้ที่นั่งแถวที่สองจากข้างหน้า ตอนแรกนึกว่าตัวเองแย่แล้ว ซวยจริงๆ ที่ได้ที่นั่งใกล้จอขนาดนี้ แต่พอถึงเวลาจริงกลับรู้สึกว่าตัวเองโชคดีอย่างมาก เพราะว่าวันนั้นมีสัมภาษณ์สองหนุ่มผู้กำกับ การได้ที่นั่งแถวหน้าๆก็เลยทำให้ได้เห็นใบหน้าผู้กำกับอย่างถนัดๆตา ชอบผู้กำกับคนที่ชื่อ TRISTAN AUROUET มากค่ะ ชอบที่รูปร่างหน้าตานะคะ รู้สึกว่าเขาน่ารักมาก แต่ไม่รู้เหมือนกันว่านิสัยจริงๆของเขาจะเป็นยังไง
ส่วนผู้กำกับที่ชื่อ GILLES LELLOUCHE ตัวจริงดูไม่ค่อยตรงสเปคเท่าไหร่ แต่ในหนังเขาดูดีมากเวลารับบทเป็นนักฆ่าสเก็ตน้ำแข็ง ซึ่งดิฉันเดาว่าอาจจะเป็นเพราะว่าในหนังเขาไว้ผมทอง ซึ่งอาจจะเหมาะกับตัวเขามากกว่า และหนังมักจะถ่ายใบหน้าเขาจากด้านข้าง หรือเลือกมุมกล้องบางมุมที่ทำให้เขาดูดีขึ้นมาผิดหูผิดตาเมื่อเทียบกับตัวจริง
--ชอบคำพูด VOICE OVER ของพระเอกในตอนจบของ NARCO ค่ะ ถึงแม้หนังอาจจะบอกแนวคิด “ตรงๆ” เกินไปหน่อย แต่ก็รู้สึกว่าเป็นแนวคิดที่ตัวเองเห็นด้วย
--TRISTAN และ GILLES ให้สัมภาษณ์ว่าดาราที่เขาอยากร่วมงานด้วย ได้แก่
1.MARION COTILLARD ซึ่งเคยแสดงหนังเรื่อง
http://www.imdb.com/name/nm0182839/
1.1 A VERY LONG ENGAGEMENT (2004, JEAN-PIERRE JEUNET, A+) ดิฉันประทับใจ COTILLARD จากหนังเรื่องนี้มากๆค่ะ เพราะในเรื่องนี้เธอรับบทเป็นโสเภณีสาวที่ฆ่าคนตายไปหลายคน ตอนแรกดิฉันไม่ค่อยชอบเธอเท่าไหร่ใน LOVE ME IF YOU DARE เพราะดิฉันไม่ค่อยชอบตัวละครที่เธอเล่นในหนังเรื่องนั้น แต่ตัวละครนักฆ่าแบบที่เธอแสดงใน A VERY LONG ENGAGEMENT เป็นตัวละครที่ดิฉันหลงใหลมากๆค่ะ
1.2 BIG FISH (2003, TIM BURTON , A-)
1.3 LOVE ME IF YOU DARE (2003, YANN SAMUELL, B+) เธอเล่นเป็นนางเอกในเรื่องนี้
1.4 TAXI 3 (2003, GERARD KRAWCZYK, C-)
รู้สึกว่า MARION COTILLARD เป็นดาราที่กำลังมาแรงมากค่ะ เพราะดูเหมือนเธอมีผลงานหนังที่กำลังจะออกฉายในอนาคตเยอะมาก ซึ่งรวมถึงหนังเรื่อง LA VIE EN ROSE (2006, OLIVIER DAHAN) ที่เธอรับบทเป็น EDITH PIAF นักร้องหญิงชื่อดังของฝรั่งเศส โดยมี SYLVIA TESTUD ร่วมแสดงด้วย
หนังของ MARION COTILLARD ที่ดิฉันอยากดูอย่างสุดๆก็คือเรื่อง
1.5 INNOCENCE (2004, LUCILE HADZIHALILOVIC)
http://www.imdb.com/title/tt0375233/
หนังเรื่องนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับหญิงสาวคนหนึ่งที่ฟื้นขึ้นมาจากโลงศพและถูกพาไปเข้าโรงเรียนประจำหญิงล้วนแห่งหนึ่ง โดยที่โรงเรียนแห่งนี้มีอะไรบางอย่างที่ไม่ชอบมาพากล, มีกฎเกณฑ์แปลกๆ และอบอวลไปด้วยบรรยากาศแบบหนังของเดวิด ลินช์
LUCILE HADZIHALILOVIC ผู้กำกับหนังเรื่องนี้เคยกำกับหนังเรื่อง GOOD BOYS USE CONDOMS (1998)
2.YVAN ATTAL
ประทับใจฝีมือการกำกับของเขาใน HAPPILY EVER AFTER ค่ะ ส่วนในฐานะของนักแสดงนั้น ก็คิดว่าเขาพอใช้ได้เหมือนกัน ดิฉันอยากให้เขาเล่นหนังคู่กับ HANK AZARIA ค่ะ รู้สึกว่าทั้งสองมีอะไรบางอย่างคล้ายๆกัน และสามารถขโมยซีนได้เก่งเหมือนกันด้วย
YVAN ATTAL เคยเล่นหนังเรื่อง
2.1 IT’S EASIER FOR A CAMEL (2003, VALERIA BRUNI TEDESCHI, A+)
2.2 THE INTERPRETER (2005, SYDNEY POLLACK, A+)
2.3 BON VOYAGE (2003, JEAN-PAUL RAPPENEAU, A)
2.4 A WORLD WITHOUT PITY (1989, ERIC ROCHANT, A-)
2.5 LOVE AFTER LOVE (1992, DIANE KURYS, B+)
3.VINCENT CASSEL
4.ROMAIN DURIS
--ใน NARCO มีดาราที่น่าสนใจมากมายหลายคนค่ะ ซึ่งรวมถึง ZABOU BREITMAN ที่เคยเล่นเป็นนางเอกเรื่อง ALMOST PEACEFUL (2002, MICHEL DEVILLE, A+) ตอนแรกดิฉันประทับใจเธอแค่ในระดับปานกลางเท่านั้นใน ALMOST PEACEFUL เพราะในเรื่องนั้นเธอรับบทเป็นสาวสวยที่ค่อนข้างเรียบร้อย แต่พอมาเห็นเธอใน NARCO ก็เลยรู้สึกชอบเธอมาก เพราะบุคลิกของเธอในหนังสองเรื่องนี้แตกต่างจากกันโดยสิ้นเชิง เธอไม่เหลือคราบของความเรียบร้อยสงบเสงี่ยมแบบใน ALMOST PEACEFUL อีกต่อไป ดูมาดกร้านโลกของเธอใน NARCO แล้วทำให้นึกถึงดาราอย่าง ILLEANA DOUGLAS (TO DIE FOR, GRACE OF MY HEART)
ZABOU BREITMAN เป็นดาราที่เล่นหนังมามากมายหลายเรื่องแล้ว ดิฉันเคยดูเธอในหนังเรื่องอื่นๆด้วยเช่นกัน แต่ไม่เคยรู้สึกสะดุดตาเธอมาก่อน เพิ่งมาสะดุดตาเธอก็จาก ALMOST PEACEFUL และพอได้เห็นเธออีกครั้งใน NARCO ก็รู้สึกชอบเธอมาก ไม่รู้เหมือนกันว่าเธอเพิ่งมาดวงขึ้นเอาตอนแก่หรือเปล่า
ดูรูปของ ZABOU BREITMAN จาก ALMOST PEACEFUL ได้ที่
http://www.gaycitynews.com/gcn_336/nazisgonelife.html
ALMOST PEACEFUL เพิ่งมาฉายในเทศกาลหนังฝรั่งเศสเมื่อปี 2004 นี้เองค่ะ และ MICHEL DEVILLE ก็เป็นผู้กำกับหนังที่ดิฉันชอบสุดๆคนนึง
ดูภาพวาด LE DEJEUNER SUR L’HERBE ของ MANET ซึ่งมีส่วนคล้ายฉากจบของ ALMOST PEACEFUL ได้ที่ (แต่ในหนังไม่มีผู้หญิงเปลือยแบบในภาพนี้นะคะ)
http://www.artlex.com/ArtLex/r/images/Luncheon%20on%20the%20Grass.jpg
--ดาราอีกคนที่ชอบมากใน NARCO คือ BENOIT POELVOORDE ที่รับบทเป็นเพื่อนพระเอกที่บ้าคาราเต้ค่ะ เขาเคยทำงานเป็น
http://www.imdb.com/name/nm0688143/
1.ผู้กำกับและดารานำของหนังล้อเลียนสารคดีเกี่ยวกับฆาตกรโรคจิตเรื่อง MAN BITES DOG (1992, A+) แต่น่าประหลาดตรงที่เขาไม่ได้กำกับหนังอีกเลยหลังจากเรื่องนี้ ทั้งๆที่หนังเรื่องนี้เป็นหนังที่น่าประทับใจมากๆๆๆ เหมาะจะดูควบกับ A CLOCKWORK ORANGE (1971, STANLEY KUBRICK, A+) เป็นอย่างยิ่ง
2.เขาเป็นหนึ่งในกรรมการตัดสินรางวัลปาล์มทองในคานส์ปี 2004 ซึ่งเป็นปีที่ TROPICAL MALADY ได้รับรางวัลจูรีไพรซ์ รู้สึกว่าเขากับเควนติน ทารันติโนจะถูกคอกันมาก เพราะทั้งสองคนนี้เป็นผู้ชายเฮี้ยนๆบ้าๆเหมือนกัน
3.เขาร่วมแสดงในหนังสุดเพี้ยนสุดฮาเรื่อง ATOMIK CIRCUS – LE RETOUR DE JAMES BATAILLE (2004, DIDIER POIRAUD + THIERRY POIRAUD, B+) รู้สึกว่าหนังเรื่องนี้น่าจะหาวีซีดีลิขสิทธิ์ดูได้ในไทย เหมาะกับคนที่ชอบหนังอย่าง “ขุนกระบี่ ผีระบาด” (A-)
http://www.imdb.com/title/tt0362084/
4.เขาร่วมแสดงในหนังเบลเยียมเรื่อง THE CARRIERS ARE WAITING (1999, BENOIT MARIAGE, A+) ที่เคยเข้ามาฉายในเทศกาลภาพยนตร์ยุโรปเมื่อไม่กี่ปีก่อน ดิฉันชอบหนังขาวดำเรื่องนี้มากๆๆๆเลยค่ะ
THE CARRIERS ARE WAITING
The Carriers Are Waiting มีเนื้อหาเกี่ยวกับโรเจอร์ โคลเซท์ (เบนัวท์ พูลวัวด์ จาก Man Bites Dog) นักข่าวที่อาศัยอยู่กับภรรยาและลูกอีก 2 คนในย่านโรงงาน เขาตั้งใจจะให้มิเชล (ฌอง-ฟรังซัวส์ เดวิญ) ซึ่งเป็นลูกชายของเขาทำสถิติโลกด้วยการเข้าแข่งขันเปิดประตูรถยนต์ 40,000 ครั้งภายในเวลา 24 ชม. โดยมีของรางวัลเป็นรถยนต์หนึ่งคัน และเขาได้นำประตูบานหนึ่งไปติดตั้งไว้ในสวนของตัวเองเพื่อให้ลูกชายของเขาฝึกฝนเปิดปิดประตูบานนี้อย่างหนักก่อนลงแข่ง
The Carriers Are Waiting เป็นผลงานการกำกับเรื่องแรกของมาริอาจ โดยนิโคลาส ดอว์สัน นักวิจารณ์ของเว็บไซท์ insideout.co.uk ชื่นชอบภาพยนตร์เรื่องนี้มากและให้เรื่องนี้ได้ถึง 4 จาก 5 ดาว โดยดอว์สันกล่าวว่าภาพยนตร์เรื่องนี้มีลักษณะคล้ายภาพยนตร์ของอากิ เคาริสมากิ ผู้กำกับภาพยนตร์ชื่อดังชาวฟินแลนด์ และมีทั้งอารมณ์เศร้าและอารมณ์ขันผสมผสานกันอย่างเหมาะสม ในขณะที่อเล็กซานเดอร์ วอล์คเกอร์ นักวิจารณ์ของหนังสือพิมพ์อีฟนิง สแตนดาร์ด กล่าวว่าภาพยนตร์เรื่องนี้มีลักษณะคล้ายภาพยนตร์ของฌาคส์ ตาติ (Parade, Traffic) และฌอง วิโก (Zero for Conduct)
ดี.เค. โฮล์ม นักวิจารณ์ของเว็บไซท์ cinemonkey.com ก็ชื่นชอบภาพยนตร์เรื่องนี้อย่างมากเช่นกัน โดยเขากล่าวว่าในช่วงแรกภาพยนตร์เรื่องนี้ทำท่าว่าจะเป็นเพียงภาพยนตร์ยุโรปอีกเรื่องหนึ่งที่เน้นนำเสนอแง่มุมที่อ่อนโยน, บริสุทธิ์ และงดงามของมนุษย์ แต่เนื้อเรื่องในช่วงหลังกลับแสดงให้เห็นถึงด้านมืดของมนุษย์อย่างผิดคาดและหนังเรื่องนี้ยังมีลักษณะเหนือจริงผสมผสานอยู่ด้วย
--ถ้าหากชอบหนังที่นำเสนอด้านอ่อนโยนของมนุษย์ในช่วงแรก และนำเสนอด้านเลวร้ายในช่วงหลัง หนังในกลุ่มนี้ก็รวมถึงเรื่อง
1.THE POINTSMAN (1986, JOS STELLING, A-)
2.A ROOM FOR ROMEO BRASS (1999, SHANE MEADOWS, A-/B+)
http://www.imdb.com/title/tt0202559/
--ดาราอีกคนที่น่าสนใจใน NARCO ก็คือ LEA DRUCKER ที่รับบทเป็นหนึ่งในนักฆ่าสเก็ตน้ำแข็งค่ะ
http://www.imdb.com/name/nm0238475/
LEA DRUCKER เคยเล่นหนังเรื่อง
1.IN MY SKIN (2002, MARINA DE VAN, A+)
2.CHAOS (2001, COLINE SERREAU, A/A-)
http://www.imdb.com/title/tt0265116/
3.PEUT-ETRE (1999, CEDRIC KLAPISCH, A-)
http://www.imdb.com/title/tt0189916/
4.Hypnotized and Hysterical (Hairstylist Wanted) ซึ่งเป็นผลงานการกำกับของคล็อด ดูตี
Hypnotized and Hysterical (Hairstylist Wanted) มีเนื้อหาเกี่ยวกับหญิงสาว 3 คนที่อยู่ในภาวะสับสนและกำลังตามหาบางสิ่งบางอย่างที่สูญหายไป ซึ่งหญิงสาวทั้ง 3 คนนี้ได้แก่เอโลดี, นาตาชา และมาริแอนน์
เอโลดี (โอลิเวีย โบนามี จาก Voyous voyelles และ La Captive) เป็นสาวชนชั้นแรงงานอารมณ์ร้ายที่เพิ่งถูกไล่ออกจากงาน เธอต้องเลี้ยงลูกสาวตามลำพังและต้องพยายามพิสูจน์ให้คนของสำนักงานสังคมสงเคราะห์เชื่อว่าเธอมีความสามารถพอจะเลี้ยงลูกได้ ส่วนนาตาชา (มารินา ฟอยส์) เป็นคนที่มักจะมีอารมณ์ดีอยู่เสมอจนกระทั่งแมวของเธอหายไป ในขณะที่มาริแอนน์ (อามิรา คาซาร์ จาก Le Derriere และ ANATOMY OF HELL) กำลังตกหลุมพรางของอาร์โนด์ (ชาร์ลส์ แบร์แลง จาก Comedy of Innocence และ Sentimental Destinies) ดีลเลอร์ขายผลงานทางศิลปะที่เป็นไบเซ็กชวลและอาจเป็นคนที่วิตถารทางเพศ
หญิงสาวทั้งสามคนได้กลายเป็นเพื่อนกัน และทั้งสามได้พบกับตัวละครที่แปลกประหลาดมากมาย ซึ่งรวมถึงนักมนุษยศาสตร์ที่มีใจกว้าง, นักรบ, เจ้าหญิงอินคา และสัตว์ในจินตนาการ โดยในบางครั้งตัวละครในเรื่องนี้จะใช้การร้องเพลงและเต้นรำในการแสดงความรู้สึกด้วย
--ดิฉันไปแปะข้อมูลเกี่ยวกับดาราหนังฝรั่งเศสบางคนไว้ที่กระทู้เทศกาลหนังฝรั่งเศสด้วยค่ะ
http://www.bioscopemagazine.com/webboard/index-in.php?id=18609
--จุดที่ทำให้ชอบ 2003 อย่างมากๆ ก็คือส่วนที่นักเรียนคนนั้นเล่าเรื่องชีวิตครอบครัวของตัวเองนี่แหละค่ะ
--ชอบ TEARS ในระดับ A+ เหมือนกันค่ะ ดูแล้วแทบร้องไห้
--ถ้าหากพูดถึงคุณพัฒนะ จิรวงศ์ แล้ว ดิฉันไม่ค่อยชอบหนังเรื่อง LOOKING THROUGH THE GLASSES (2001) ของเขาสักเท่าไหร่ค่ะ แต่ชอบเรื่อง “สุทธ์” ของเขาในระดับ A+ เหมือนเรื่อง TEARS
--TEARS พูดถึงผู้บริสุทธิ์ที่ถูกฆ่าตายที่บาหลี ก็เลยทำให้นึกถึงผู้กำกับหนุ่มสุดหล่อลูกครึ่งไทยที่ชื่อ TOM WALLER ค่ะ เพราะ TOM WALLER ก็สูญเสียน้องชายของเขาในเหตุการณ์ระเบิดบาหลีในปี 2002 เหมือนกัน
http://www.imdb.com/name/nm0909084/bio
TOM WALLER เคยเดินทางมาร่วมงานเทศกาลภาพยนตร์ในกรุงเทพอย่างน้อยสองครั้งค่ะ ครั้งนึงเขามาร่วมงานเปิดฉายหนังเรื่อง MONK DAWSON (1998, A-) ที่เขาเป็นคนกำกับเอง ส่วนครั้งที่สอง เขามาร่วมงานเปิดฉายหนังเรื่อง BUTTERFLY MAN (2002, KAPRICE KEA, C+) ที่เขาเป็นคนอำนวยการสร้าง ถ้าเข้าใจไม่ผิด เขากับน้องชายนัดเจอกันที่กรุงเทพในเทศกาลหนังที่จัดขึ้นที่ห้างสยามดิสคัฟเวอรีในช่วงปลายเดือนต.ค.ปี 2002 แต่น้องชายของเขาไปเที่ยวบาหลีก่อนจะมากรุงเทพ และนั่นก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เขาไม่ได้พบกับน้องชายอีกเลยตลอดชีวิต TOM WALLER มาพูดถึงเรื่องการสูญเสียน้องชายของเขาก่อนฉายหนังเรื่อง BUTTERFLY MAN ด้วยค่ะ
--จำได้ว่าพอตอนฉายหนังเรื่อง MONK DAWSON เสร็จ มีสาวๆบางคนรีบเข้าไปรุมพูดคุยกับ TOM WALLER ด้วย ส่วนดิฉันก็ได้แต่แอบชื่นชมความหล่อของผู้กำกับคนนี้อยู่ในระยะไกลๆ
ดูรูปของ TOM WALLER ได้ที่http://www.imdb.com/gallery/hh/0909084/HH/0909084/TomWaller.jpg?path=pgallery&path_key=Waller,%20Tom
--ความรู้สึกชอบที่มีต่อ “เส้นด้ายในความมืด” มาจากทัศนคติของตัวละครในเรื่อง จริงๆแล้วรู้สึกว่าละครออกจะยืดยาดอยู่บ้าง แต่เนื่องจากชอบตัวละครและความคิดของตัวละคร ก็เลยทำให้ยังคงชอบละครเรื่องนี้ในระดับ A+ อยู่
--GILLES MARCHAND ร่วมเขียนบท RED LIGHTS (2004, A+) ด้วย
--ถ้าจำไม่ผิด ในหนังสือพิมพ์โพสท์ทูเดย์ฉบับวันเสาร์ที่ 18 มิ.ย. ลงบทวิจารณ์หนังเรื่อง HAPPILY EVER AFTER ไว้ด้วย
NARCO (A-/B+)
--เออ ใช่ ลืมนึกถึงชื่อหนัง SCHIZO (2004, GULSHAT OMAROVA, A) ไปเลย ดีมากค่ะที่น้อง merveillesxx พูดถึงชื่อหนังเรื่องนี้ขึ้นมา
--ตอนที่ไปดูหนังเรื่องนี้ พอดีซื้อตั๋วช้า ก็เลยได้ที่นั่งแถวที่สองจากข้างหน้า ตอนแรกนึกว่าตัวเองแย่แล้ว ซวยจริงๆ ที่ได้ที่นั่งใกล้จอขนาดนี้ แต่พอถึงเวลาจริงกลับรู้สึกว่าตัวเองโชคดีอย่างมาก เพราะว่าวันนั้นมีสัมภาษณ์สองหนุ่มผู้กำกับ การได้ที่นั่งแถวหน้าๆก็เลยทำให้ได้เห็นใบหน้าผู้กำกับอย่างถนัดๆตา ชอบผู้กำกับคนที่ชื่อ TRISTAN AUROUET มากค่ะ ชอบที่รูปร่างหน้าตานะคะ รู้สึกว่าเขาน่ารักมาก แต่ไม่รู้เหมือนกันว่านิสัยจริงๆของเขาจะเป็นยังไง
ส่วนผู้กำกับที่ชื่อ GILLES LELLOUCHE ตัวจริงดูไม่ค่อยตรงสเปคเท่าไหร่ แต่ในหนังเขาดูดีมากเวลารับบทเป็นนักฆ่าสเก็ตน้ำแข็ง ซึ่งดิฉันเดาว่าอาจจะเป็นเพราะว่าในหนังเขาไว้ผมทอง ซึ่งอาจจะเหมาะกับตัวเขามากกว่า และหนังมักจะถ่ายใบหน้าเขาจากด้านข้าง หรือเลือกมุมกล้องบางมุมที่ทำให้เขาดูดีขึ้นมาผิดหูผิดตาเมื่อเทียบกับตัวจริง
--ชอบคำพูด VOICE OVER ของพระเอกในตอนจบของ NARCO ค่ะ ถึงแม้หนังอาจจะบอกแนวคิด “ตรงๆ” เกินไปหน่อย แต่ก็รู้สึกว่าเป็นแนวคิดที่ตัวเองเห็นด้วย
--TRISTAN และ GILLES ให้สัมภาษณ์ว่าดาราที่เขาอยากร่วมงานด้วย ได้แก่
1.MARION COTILLARD ซึ่งเคยแสดงหนังเรื่อง
http://www.imdb.com/name/nm0182839/
1.1 A VERY LONG ENGAGEMENT (2004, JEAN-PIERRE JEUNET, A+) ดิฉันประทับใจ COTILLARD จากหนังเรื่องนี้มากๆค่ะ เพราะในเรื่องนี้เธอรับบทเป็นโสเภณีสาวที่ฆ่าคนตายไปหลายคน ตอนแรกดิฉันไม่ค่อยชอบเธอเท่าไหร่ใน LOVE ME IF YOU DARE เพราะดิฉันไม่ค่อยชอบตัวละครที่เธอเล่นในหนังเรื่องนั้น แต่ตัวละครนักฆ่าแบบที่เธอแสดงใน A VERY LONG ENGAGEMENT เป็นตัวละครที่ดิฉันหลงใหลมากๆค่ะ
1.2 BIG FISH (2003, TIM BURTON , A-)
1.3 LOVE ME IF YOU DARE (2003, YANN SAMUELL, B+) เธอเล่นเป็นนางเอกในเรื่องนี้
1.4 TAXI 3 (2003, GERARD KRAWCZYK, C-)
รู้สึกว่า MARION COTILLARD เป็นดาราที่กำลังมาแรงมากค่ะ เพราะดูเหมือนเธอมีผลงานหนังที่กำลังจะออกฉายในอนาคตเยอะมาก ซึ่งรวมถึงหนังเรื่อง LA VIE EN ROSE (2006, OLIVIER DAHAN) ที่เธอรับบทเป็น EDITH PIAF นักร้องหญิงชื่อดังของฝรั่งเศส โดยมี SYLVIA TESTUD ร่วมแสดงด้วย
หนังของ MARION COTILLARD ที่ดิฉันอยากดูอย่างสุดๆก็คือเรื่อง
1.5 INNOCENCE (2004, LUCILE HADZIHALILOVIC)
http://www.imdb.com/title/tt0375233/
หนังเรื่องนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับหญิงสาวคนหนึ่งที่ฟื้นขึ้นมาจากโลงศพและถูกพาไปเข้าโรงเรียนประจำหญิงล้วนแห่งหนึ่ง โดยที่โรงเรียนแห่งนี้มีอะไรบางอย่างที่ไม่ชอบมาพากล, มีกฎเกณฑ์แปลกๆ และอบอวลไปด้วยบรรยากาศแบบหนังของเดวิด ลินช์
LUCILE HADZIHALILOVIC ผู้กำกับหนังเรื่องนี้เคยกำกับหนังเรื่อง GOOD BOYS USE CONDOMS (1998)
2.YVAN ATTAL
ประทับใจฝีมือการกำกับของเขาใน HAPPILY EVER AFTER ค่ะ ส่วนในฐานะของนักแสดงนั้น ก็คิดว่าเขาพอใช้ได้เหมือนกัน ดิฉันอยากให้เขาเล่นหนังคู่กับ HANK AZARIA ค่ะ รู้สึกว่าทั้งสองมีอะไรบางอย่างคล้ายๆกัน และสามารถขโมยซีนได้เก่งเหมือนกันด้วย
YVAN ATTAL เคยเล่นหนังเรื่อง
2.1 IT’S EASIER FOR A CAMEL (2003, VALERIA BRUNI TEDESCHI, A+)
2.2 THE INTERPRETER (2005, SYDNEY POLLACK, A+)
2.3 BON VOYAGE (2003, JEAN-PAUL RAPPENEAU, A)
2.4 A WORLD WITHOUT PITY (1989, ERIC ROCHANT, A-)
2.5 LOVE AFTER LOVE (1992, DIANE KURYS, B+)
3.VINCENT CASSEL
4.ROMAIN DURIS
--ใน NARCO มีดาราที่น่าสนใจมากมายหลายคนค่ะ ซึ่งรวมถึง ZABOU BREITMAN ที่เคยเล่นเป็นนางเอกเรื่อง ALMOST PEACEFUL (2002, MICHEL DEVILLE, A+) ตอนแรกดิฉันประทับใจเธอแค่ในระดับปานกลางเท่านั้นใน ALMOST PEACEFUL เพราะในเรื่องนั้นเธอรับบทเป็นสาวสวยที่ค่อนข้างเรียบร้อย แต่พอมาเห็นเธอใน NARCO ก็เลยรู้สึกชอบเธอมาก เพราะบุคลิกของเธอในหนังสองเรื่องนี้แตกต่างจากกันโดยสิ้นเชิง เธอไม่เหลือคราบของความเรียบร้อยสงบเสงี่ยมแบบใน ALMOST PEACEFUL อีกต่อไป ดูมาดกร้านโลกของเธอใน NARCO แล้วทำให้นึกถึงดาราอย่าง ILLEANA DOUGLAS (TO DIE FOR, GRACE OF MY HEART)
ZABOU BREITMAN เป็นดาราที่เล่นหนังมามากมายหลายเรื่องแล้ว ดิฉันเคยดูเธอในหนังเรื่องอื่นๆด้วยเช่นกัน แต่ไม่เคยรู้สึกสะดุดตาเธอมาก่อน เพิ่งมาสะดุดตาเธอก็จาก ALMOST PEACEFUL และพอได้เห็นเธออีกครั้งใน NARCO ก็รู้สึกชอบเธอมาก ไม่รู้เหมือนกันว่าเธอเพิ่งมาดวงขึ้นเอาตอนแก่หรือเปล่า
ดูรูปของ ZABOU BREITMAN จาก ALMOST PEACEFUL ได้ที่
http://www.gaycitynews.com/gcn_336/nazisgonelife.html
ALMOST PEACEFUL เพิ่งมาฉายในเทศกาลหนังฝรั่งเศสเมื่อปี 2004 นี้เองค่ะ และ MICHEL DEVILLE ก็เป็นผู้กำกับหนังที่ดิฉันชอบสุดๆคนนึง
ดูภาพวาด LE DEJEUNER SUR L’HERBE ของ MANET ซึ่งมีส่วนคล้ายฉากจบของ ALMOST PEACEFUL ได้ที่ (แต่ในหนังไม่มีผู้หญิงเปลือยแบบในภาพนี้นะคะ)
http://www.artlex.com/ArtLex/r/images/Luncheon%20on%20the%20Grass.jpg
--ดาราอีกคนที่ชอบมากใน NARCO คือ BENOIT POELVOORDE ที่รับบทเป็นเพื่อนพระเอกที่บ้าคาราเต้ค่ะ เขาเคยทำงานเป็น
http://www.imdb.com/name/nm0688143/
1.ผู้กำกับและดารานำของหนังล้อเลียนสารคดีเกี่ยวกับฆาตกรโรคจิตเรื่อง MAN BITES DOG (1992, A+) แต่น่าประหลาดตรงที่เขาไม่ได้กำกับหนังอีกเลยหลังจากเรื่องนี้ ทั้งๆที่หนังเรื่องนี้เป็นหนังที่น่าประทับใจมากๆๆๆ เหมาะจะดูควบกับ A CLOCKWORK ORANGE (1971, STANLEY KUBRICK, A+) เป็นอย่างยิ่ง
2.เขาเป็นหนึ่งในกรรมการตัดสินรางวัลปาล์มทองในคานส์ปี 2004 ซึ่งเป็นปีที่ TROPICAL MALADY ได้รับรางวัลจูรีไพรซ์ รู้สึกว่าเขากับเควนติน ทารันติโนจะถูกคอกันมาก เพราะทั้งสองคนนี้เป็นผู้ชายเฮี้ยนๆบ้าๆเหมือนกัน
3.เขาร่วมแสดงในหนังสุดเพี้ยนสุดฮาเรื่อง ATOMIK CIRCUS – LE RETOUR DE JAMES BATAILLE (2004, DIDIER POIRAUD + THIERRY POIRAUD, B+) รู้สึกว่าหนังเรื่องนี้น่าจะหาวีซีดีลิขสิทธิ์ดูได้ในไทย เหมาะกับคนที่ชอบหนังอย่าง “ขุนกระบี่ ผีระบาด” (A-)
http://www.imdb.com/title/tt0362084/
4.เขาร่วมแสดงในหนังเบลเยียมเรื่อง THE CARRIERS ARE WAITING (1999, BENOIT MARIAGE, A+) ที่เคยเข้ามาฉายในเทศกาลภาพยนตร์ยุโรปเมื่อไม่กี่ปีก่อน ดิฉันชอบหนังขาวดำเรื่องนี้มากๆๆๆเลยค่ะ
THE CARRIERS ARE WAITING
The Carriers Are Waiting มีเนื้อหาเกี่ยวกับโรเจอร์ โคลเซท์ (เบนัวท์ พูลวัวด์ จาก Man Bites Dog) นักข่าวที่อาศัยอยู่กับภรรยาและลูกอีก 2 คนในย่านโรงงาน เขาตั้งใจจะให้มิเชล (ฌอง-ฟรังซัวส์ เดวิญ) ซึ่งเป็นลูกชายของเขาทำสถิติโลกด้วยการเข้าแข่งขันเปิดประตูรถยนต์ 40,000 ครั้งภายในเวลา 24 ชม. โดยมีของรางวัลเป็นรถยนต์หนึ่งคัน และเขาได้นำประตูบานหนึ่งไปติดตั้งไว้ในสวนของตัวเองเพื่อให้ลูกชายของเขาฝึกฝนเปิดปิดประตูบานนี้อย่างหนักก่อนลงแข่ง
The Carriers Are Waiting เป็นผลงานการกำกับเรื่องแรกของมาริอาจ โดยนิโคลาส ดอว์สัน นักวิจารณ์ของเว็บไซท์ insideout.co.uk ชื่นชอบภาพยนตร์เรื่องนี้มากและให้เรื่องนี้ได้ถึง 4 จาก 5 ดาว โดยดอว์สันกล่าวว่าภาพยนตร์เรื่องนี้มีลักษณะคล้ายภาพยนตร์ของอากิ เคาริสมากิ ผู้กำกับภาพยนตร์ชื่อดังชาวฟินแลนด์ และมีทั้งอารมณ์เศร้าและอารมณ์ขันผสมผสานกันอย่างเหมาะสม ในขณะที่อเล็กซานเดอร์ วอล์คเกอร์ นักวิจารณ์ของหนังสือพิมพ์อีฟนิง สแตนดาร์ด กล่าวว่าภาพยนตร์เรื่องนี้มีลักษณะคล้ายภาพยนตร์ของฌาคส์ ตาติ (Parade, Traffic) และฌอง วิโก (Zero for Conduct)
ดี.เค. โฮล์ม นักวิจารณ์ของเว็บไซท์ cinemonkey.com ก็ชื่นชอบภาพยนตร์เรื่องนี้อย่างมากเช่นกัน โดยเขากล่าวว่าในช่วงแรกภาพยนตร์เรื่องนี้ทำท่าว่าจะเป็นเพียงภาพยนตร์ยุโรปอีกเรื่องหนึ่งที่เน้นนำเสนอแง่มุมที่อ่อนโยน, บริสุทธิ์ และงดงามของมนุษย์ แต่เนื้อเรื่องในช่วงหลังกลับแสดงให้เห็นถึงด้านมืดของมนุษย์อย่างผิดคาดและหนังเรื่องนี้ยังมีลักษณะเหนือจริงผสมผสานอยู่ด้วย
--ถ้าหากชอบหนังที่นำเสนอด้านอ่อนโยนของมนุษย์ในช่วงแรก และนำเสนอด้านเลวร้ายในช่วงหลัง หนังในกลุ่มนี้ก็รวมถึงเรื่อง
1.THE POINTSMAN (1986, JOS STELLING, A-)
2.A ROOM FOR ROMEO BRASS (1999, SHANE MEADOWS, A-/B+)
http://www.imdb.com/title/tt0202559/
--ดาราอีกคนที่น่าสนใจใน NARCO ก็คือ LEA DRUCKER ที่รับบทเป็นหนึ่งในนักฆ่าสเก็ตน้ำแข็งค่ะ
http://www.imdb.com/name/nm0238475/
LEA DRUCKER เคยเล่นหนังเรื่อง
1.IN MY SKIN (2002, MARINA DE VAN, A+)
2.CHAOS (2001, COLINE SERREAU, A/A-)
http://www.imdb.com/title/tt0265116/
3.PEUT-ETRE (1999, CEDRIC KLAPISCH, A-)
http://www.imdb.com/title/tt0189916/
4.Hypnotized and Hysterical (Hairstylist Wanted) ซึ่งเป็นผลงานการกำกับของคล็อด ดูตี
Hypnotized and Hysterical (Hairstylist Wanted) มีเนื้อหาเกี่ยวกับหญิงสาว 3 คนที่อยู่ในภาวะสับสนและกำลังตามหาบางสิ่งบางอย่างที่สูญหายไป ซึ่งหญิงสาวทั้ง 3 คนนี้ได้แก่เอโลดี, นาตาชา และมาริแอนน์
เอโลดี (โอลิเวีย โบนามี จาก Voyous voyelles และ La Captive) เป็นสาวชนชั้นแรงงานอารมณ์ร้ายที่เพิ่งถูกไล่ออกจากงาน เธอต้องเลี้ยงลูกสาวตามลำพังและต้องพยายามพิสูจน์ให้คนของสำนักงานสังคมสงเคราะห์เชื่อว่าเธอมีความสามารถพอจะเลี้ยงลูกได้ ส่วนนาตาชา (มารินา ฟอยส์) เป็นคนที่มักจะมีอารมณ์ดีอยู่เสมอจนกระทั่งแมวของเธอหายไป ในขณะที่มาริแอนน์ (อามิรา คาซาร์ จาก Le Derriere และ ANATOMY OF HELL) กำลังตกหลุมพรางของอาร์โนด์ (ชาร์ลส์ แบร์แลง จาก Comedy of Innocence และ Sentimental Destinies) ดีลเลอร์ขายผลงานทางศิลปะที่เป็นไบเซ็กชวลและอาจเป็นคนที่วิตถารทางเพศ
หญิงสาวทั้งสามคนได้กลายเป็นเพื่อนกัน และทั้งสามได้พบกับตัวละครที่แปลกประหลาดมากมาย ซึ่งรวมถึงนักมนุษยศาสตร์ที่มีใจกว้าง, นักรบ, เจ้าหญิงอินคา และสัตว์ในจินตนาการ โดยในบางครั้งตัวละครในเรื่องนี้จะใช้การร้องเพลงและเต้นรำในการแสดงความรู้สึกด้วย
--ดิฉันไปแปะข้อมูลเกี่ยวกับดาราหนังฝรั่งเศสบางคนไว้ที่กระทู้เทศกาลหนังฝรั่งเศสด้วยค่ะ
http://www.bioscopemagazine.com/webboard/index-in.php?id=18609
--จุดที่ทำให้ชอบ 2003 อย่างมากๆ ก็คือส่วนที่นักเรียนคนนั้นเล่าเรื่องชีวิตครอบครัวของตัวเองนี่แหละค่ะ
--ชอบ TEARS ในระดับ A+ เหมือนกันค่ะ ดูแล้วแทบร้องไห้
--ถ้าหากพูดถึงคุณพัฒนะ จิรวงศ์ แล้ว ดิฉันไม่ค่อยชอบหนังเรื่อง LOOKING THROUGH THE GLASSES (2001) ของเขาสักเท่าไหร่ค่ะ แต่ชอบเรื่อง “สุทธ์” ของเขาในระดับ A+ เหมือนเรื่อง TEARS
--TEARS พูดถึงผู้บริสุทธิ์ที่ถูกฆ่าตายที่บาหลี ก็เลยทำให้นึกถึงผู้กำกับหนุ่มสุดหล่อลูกครึ่งไทยที่ชื่อ TOM WALLER ค่ะ เพราะ TOM WALLER ก็สูญเสียน้องชายของเขาในเหตุการณ์ระเบิดบาหลีในปี 2002 เหมือนกัน
http://www.imdb.com/name/nm0909084/bio
TOM WALLER เคยเดินทางมาร่วมงานเทศกาลภาพยนตร์ในกรุงเทพอย่างน้อยสองครั้งค่ะ ครั้งนึงเขามาร่วมงานเปิดฉายหนังเรื่อง MONK DAWSON (1998, A-) ที่เขาเป็นคนกำกับเอง ส่วนครั้งที่สอง เขามาร่วมงานเปิดฉายหนังเรื่อง BUTTERFLY MAN (2002, KAPRICE KEA, C+) ที่เขาเป็นคนอำนวยการสร้าง ถ้าเข้าใจไม่ผิด เขากับน้องชายนัดเจอกันที่กรุงเทพในเทศกาลหนังที่จัดขึ้นที่ห้างสยามดิสคัฟเวอรีในช่วงปลายเดือนต.ค.ปี 2002 แต่น้องชายของเขาไปเที่ยวบาหลีก่อนจะมากรุงเทพ และนั่นก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เขาไม่ได้พบกับน้องชายอีกเลยตลอดชีวิต TOM WALLER มาพูดถึงเรื่องการสูญเสียน้องชายของเขาก่อนฉายหนังเรื่อง BUTTERFLY MAN ด้วยค่ะ
--จำได้ว่าพอตอนฉายหนังเรื่อง MONK DAWSON เสร็จ มีสาวๆบางคนรีบเข้าไปรุมพูดคุยกับ TOM WALLER ด้วย ส่วนดิฉันก็ได้แต่แอบชื่นชมความหล่อของผู้กำกับคนนี้อยู่ในระยะไกลๆ
ดูรูปของ TOM WALLER ได้ที่http://www.imdb.com/gallery/hh/0909084/HH/0909084/TomWaller.jpg?path=pgallery&path_key=Waller,%20Tom
Saturday, June 25, 2005
NIELS MUELLER IS GREAT
BRIGITTE MIRA เป็นหนึ่งในดาราขาประจำของ FASSBINDER ค่ะ ถ้าหากชอบเธอ หนังที่พลาดไม่ได้อีกเรื่องหนึ่งของเธอก็คือ MOTHER KUSTERS GOES TO HEAVEN (1975, RAINER WERNER FASSBINDER, A) http://www.imdb.com/title/tt0073424/
โดยในเรื่องนี้เธอก็รับบทเป็นนางเอกเหมือนใน ALI: FEAR EATS THE SOUL
BRIGITTE MIRA เพิ่งอำลาโลกนี้ไปเมื่อวันที่ 8 มี.ค.นี้เองค่ะ เธอเกิดปี 1910 และจากโลกนี้ไปขณะอายุกำลังจะครบ 95 ปี
EL HEDI BEN SALEM พระเอกผิวดำของ ALI: FEAR EATS THE SOUL (A) เป็นคนรักคนหนึ่งของ FASSBINDER ในชีวิตจริงค่ะ เขาฆ่าตัวตายขณะติดคุกในปี 1982 ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่ FASSBINDER เสียชีวิต
http://www.imdb.com/name/nm0373289/
ถ้าหากชอบประเด็นความเกลียดชังชาวต่างชาติ หนังอีกเรื่องหนึ่งของ FASSBINDER ที่นำเสนอจุดนี้ได้ดี (และฮา) ก็คือเรื่อง KATZELMACHER (1969, A+)
ชอบ ALL THAT HEAVEN ALLOWS และ FAR FROM HEAVEN ในระดับ A+ ค่ะ
--ได้ดู ELECTRIC SHADOW (A-) แล้วรู้สึกว่าหนังก็ดีใช้ได้ค่ะ โดยส่วนตัวแล้ว สิ่งที่ประทับใจมากที่สุดในหนังเรื่องนี้ไม่ใช่ “อารมณ์ซึ้งๆ” แต่เป็นการที่หนังเรื่องนี้แนะนำให้เราได้รู้จักหนังน่าดูมากมายหลายเรื่องในอดีตที่เราไม่เคยรู้จักมาก่อน โดยเฉพาะหนังจีนยุคเก่าๆ และหนังเก่าของประเทศ “แอลเบเนีย” แต่ถ้าให้เล่าเนื้อเรื่องของ ELECTRIC SHADOW ดิฉันก็จำไม่ค่อยได้แล้วค่ะ เพราะช่วงที่ผ่านมาได้ดูหนังหลายเรื่องจนชักงงๆว่าฉากบางฉากที่ติดอยู่ในหัวตัวเอง มันมาจากหนังเรื่องไหนกันแน่
ดีใจมากค่ะที่มีคนได้ดู LOST IN TIME (A) เหมือนกัน หนังเรื่องนี้ทำให้ดิฉันเปลี่ยนความคิดที่มีต่อจางป๋อจือจากหลังตีนมาเป็นหน้ามือเลยค่ะ เพราะก่อนหน้านี้ดิฉันคิดว่าจางป๋อจือมีแต่ความสวย แต่ LOST IN TIME ทำให้ดิฉันรู้สึกว่าจริงๆแล้วเธอก็เล่นหนังเก่งมาก (ดิฉันยังไม่ได้ดู FAILAN ค่ะ)
สรุปหนังที่ได้ดูตั้งแต่วันเสาร์ที่ 18 มิ.ย. –ศุกร์ 24 มิ.ย.
(ความรู้สึกชอบที่มีต่อหนังบางเรื่องเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ)
1.L’EXPERIENCE PREHISTORIQUE (2003-2005, CHRISTELLE LHEUREUX, A+)
http://christelle.lheureux.free.fr/ANGLAIS/GionAnglais/Gion.html
--รู้สึกว่าคุณปราบดา หยุ่นคิดเนื้อเรื่องออกมาได้ดีมาก ไม่นึกว่าเนื้อเรื่องของเขาจะซีเรียสขนาดนี้ แต่ถึงแม้เนื้อเรื่องของเขาจะซีเรียส ดิฉันก็ยังคงรู้สึกขำกับภาพบางภาพที่ออกมา ขณะที่ดิฉันดูหนังเรื่องนี้ ดิฉันต้องใช้สมาธิในการดูมากกว่าปกติเมื่อเทียบกับหนังเรื่องอื่นๆ เพราะในขณะที่ตาดูภาพ และหูฟังเสียงพากย์ไปด้วยนั้น ใจดิฉันก็มักจะจินตนาการเนื้อเรื่องใหม่ไปด้วย และพอใจดิฉันว่อกแว่ก เผลอไปแต่งเนื้อเรื่องใหม่ให้กับหนัง ก็เลยทำให้ฟังเสียงพากย์ของคุณปราบดาไม่ทัน ขณะที่ดูหนังเรื่องนี้ ดิฉันจึงต้องคอยเพ่งเล็งความคิดของตัวเองอยู่ตลอดเวลา ไม่ให้เผลอคิดว่อกแว่กมากเกินไป
--EXPERIENCE ของดิฉันในการดูหนังเรื่องนี้จึงเป็น EXPERIENCE ที่ประหลาดกว่าหนังเรื่องอื่นๆ เพราะนอกจากหนังเรื่องนี้จะมีภาพ, เสียง และเนื้อเรื่องเหมือนกับหนังทั่วๆไปแล้ว หนังเรื่องนี้ยังมี “เนื้อเรื่องใหม่ในใจคนดู” แทรกเข้ามารบกวนจิตใจอยู่เป็นระยะๆด้วย
--ฉากที่รู้สึกทึ่งกับความคิดของคุณปราบดาคือฉากที่ผู้หญิงคนนึงมองไปที่อะไรบางอย่าง, ภาพชายหนุ่มยืนอยู่ในพงหญ้า และตัดมาเป็นภาพชายหนุ่มทำท่าคล้ายกับว่านั่งยองๆอยู่ในพงหญ้า โผล่ออกมาแต่ใบหน้า ถ้าจำไม่ผิด เนื้อเรื่องในฉากนี้จะเป็นความคิดคำนึงของผู้หญิงคนนึงที่มีต่อผู้ชายคนนึงที่กำลังจะถูกฆ่าตาย การที่ผู้ชายคนนี้โผล่แต่ใบหน้าออกมาจากพงหญ้าจึงเหมือนกับแทนการกำลังจะจากโลกนี้ไป
--อย่างไรก็ดี ถึงแม้เนื้อเรื่องของฉากนี้ออกมาในทำนองนี้ แต่พอดิฉันคิดถึงฉากนี้ทีไร ดิฉันมักจะคิดถึง “เนื้อเรื่องใหม่ในใจตนเอง” ซึ่งออกมาในทำนองที่ว่า ผู้หญิงคนนั้นเกลียดชายหนุ่มคนนั้นมาก เพราะชายหนุ่มคนนั้นแอบมานั่งอุจจาระในสนามหลังบ้านของเธอ
--คุณ kit แห่งเว็บบอร์ด SCREENOUT เคยตั้งข้อสังเกตในทำนองที่ว่าหนังญี่ปุ่นชอบมีตัวละครที่ทำหน้า “ไม่บอกอารมณ์” และพอดิฉันได้ดูหนังเรื่องนี้ ดิฉันก็รู้สึกว่าหนังเรื่องนี้นำเอาจุดเด่นจุดนี้ของคนญี่ปุ่นหรือหนังญี่ปุ่นมาใช้ได้ดีมาก เพราะการที่ตัวละครในหนังเรื่องนี้ “ทำสีหน้าที่ไม่บอกอารมณ์ชัดเจน” เกือบตลอดทั้งเรื่อง ใบหน้าของตัวละครเหล่านี้จึงมีลักษณะคล้ายผืนผ้าใบเปล่าๆ ที่เอื้อให้คนพากย์และผู้ชมแต่ละคนแต่งเนื้อเรื่องระบายสีลงไปในหนังเรื่องนี้ได้ตามใจชอบ แต่ถ้าหากตัวละครในหนังทำสีหน้าที่บอกอารมณ์ชัดเจนแล้ว หนังเรื่องนี้ก็จะไม่เปิดกว้างให้คนพากย์หรือผู้ชมแต่งเนื้อเรื่องใหม่ได้ง่ายนัก
--สีหน้าที่ไม่บอกอารมณ์ชัดเจนใน L’EXPERIENCE PREHISTORIQUE ยังทำให้นึกถึงประเด็นคล้ายๆกันนี้ที่ปรากฏอยู่ในหนังสารคดีเรื่อง FROM THE JOURNALS OF JEAN SEBERG (1995, MARK RAPPAPORT, A+) ถ้าจำไม่ผิด ในหนังสารคดีเรื่องนั้น จะมีการพูดถึง
1.สีหน้าที่ไม่บอกอารมณ์ของ JEAN SEBERG ในบางฉากของหนังอย่าง BONJOUR TRISTESSE (1958, OTTO PREMINGER)
2.สีหน้าที่ไม่บอกอารมณ์ของคลินท์ อีสต์วูดในหนังบางเรื่อง
3.การทดลองของหนังรัสเซียยุคโบราณที่เรียกกันว่า KULESHOV EFFECT
http://www.longpauses.com/blog/2003_06_01_longpauses_archive.html
--ถ้าเข้าใจไม่ผิด KULESHOV EFFECT ในหนังเรื่อง FROM THE JOURNALS OF JEAN SEBERG คือการทดลองตัดต่อภาพใบหน้าที่ไม่บอกอารมณ์ของคนๆหนึ่งมาอยู่ติดกับภาพของสิ่งต่างๆที่แตกต่างกัน และพบว่าการกระทำเช่นนี้ ทำให้คนดูรู้สึกว่าคนๆนั้นแสดงอารมณ์ออกมาแตกต่างกัน ทั้งๆที่จริงๆแล้วคนๆนั้นไม่ได้แสดงอารมณ์อะไรออกมาเลย
http://www.longpauses.com/blog/2002/01/benito-cereno-1855.html
ในเว็บไซท์ข้างบน ได้ยกตัวอย่างของ KULESHOV EFFECT เช่น
1.คนดูเห็นภาพใบหน้าไม่บอกอารมณ์ของ IVAN MOUSJOUKINE และต่อมาคนดูก็เห็นภาพทารกตาย
2.คนดูเห็นภาพใบหน้าไม่บอกอารมณ์ของ IVAN MOUSJOUKINE และต่อมาคนดูก็เห็นภาพถ้วยซุป
3.คนดูรู้สึกว่า IVAN ในข้อ 1 แสดงความรู้สึก “สงสาร” ออกมาทางใบหน้า และคนดูรู้สึกว่า IVAN ในข้อ 2 แสดงความรู้สึก “หิว” ออกมาทางใบหน้า ทั้งๆที่จริงๆแล้วใบหน้าของ IVAN ทั้งในข้อ 1 และข้อ 2 คือภาพๆเดียวกัน
4.คนดูเห็นใบหน้าของเจมส์ สจ็วร์ตมองออกไปนอกหน้าต่าง และต่อด้วยภาพสุนัข
5.คนดูเห็นใบหน้าของเจมส์ สจ็วร์ตมองออกไปนอกหน้าต่าง และต่อด้วยภาพของหญิงสาวแต่งกายวับๆแวมๆ
6.คนดูรู้สึกว่าเจมส์ สจ็วร์ตแสดงอารมณ์ใจดียิ้มแย้มออกมาในข้อ 4 และคนดูรู้สึกว่าเจมส์ สจ็วร์ตแสดงอารมณ์ลามกปนหื่นออกมาทางใบหน้าในข้อ 5 ทั้งที่จริงๆแล้วภาพเจมส์ทั้งในข้อ 4 และข้อ 5 คือภาพๆเดียวกัน
--ที่โยงไปถึง KULESHOV EFFECT ในหนังเรื่อง FROM THE JOURNALS OF JEAN SEBERG ก็เพราะรู้สึกว่าใบหน้าตัวละครใน L’EXPERIENCE PREHISTORIQUE มันก่อให้เกิด “จินตนาการ” คล้ายๆอย่างนี้นี่แหละค่ะ อย่างเช่นใบหน้าของผู้หญิงที่มองออกไปเห็นชายหนุ่มในพงหญ้าในหนังเรื่องนี้ มันเป็นใบหน้าที่ “ไม่บอกอารมณ์ชัดเจน” ว่าในขณะนั้นเธอรู้สึกยังไงกันแน่ คุณปราบดาแต่งเรื่องให้ผู้หญิงคนนั้นกำลัง “คิดถึง” ผู้ชายคนนั้น ซึ่งดิฉันก็รู้สึกว่าเนื้อเรื่องของคุณปราบดามันเข้ากับภาพที่เห็นอย่างมากๆ แต่จินตนาการของดิฉันแต่งเนื้อเรื่องใหม่เป็นว่าผู้หญิงคนนั้นกำลัง “ไม่พอใจ” ที่มีชายหนุ่มมาอุจจาระข้างหลังบ้านเธอ เพราะดิฉันก็รู้สึกว่าใบหน้าของผู้หญิงคนนั้น มันก็อาจจะแสดงอารมณ์ “ไม่พอใจ” ได้เช่นกัน
2.THE ASSASSINATION OF RICHARD NIXON (2004, NIELS MUELLER, A+)
3.2003 (2003, ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล, A+)
4.ONCE UPON A TIME (2000, PANU AREE, A+)
5.BEHIDE THE WALL (2003, อภิวัฒน์ แสงพัทธสีมา, A+)
6.A SNAKE OF JUNE (2002, SHINYA TSUKAMOTO, A+)
7.SWING GIRLS (2004, SHINOBU YAGUCHI, A+/A)
8.ONE MISSED CALL (2003, TAKASHI MIIKE, A+/A)
9.TWISTER (1990, MICHAEL ALMEREYDA, A)
10.GHOSTTRANSMISSIONS (2005, A)
หนัง (หรือวิดีโอ) เกี่ยวกับอาคารร้างๆเรื่องนี้ดูที่ H GALLERY สาทร ซอย 12 แต่ไม่ค่อยแน่ใจว่าใครเป็นคนกำกับวิดีโอเรื่องนี้กันแน่ ขณะที่ดูวิดีโอเรื่องนี้ ไม่ได้รู้สึกชอบมันถึงขั้น A แต่เพิ่งมารู้สึกชอบมันอย่างรุนแรงขณะขึ้นรถไฟฟ้ากลับบ้าน และมองออกไปจากหน้าต่างรถไฟฟ้า เห็นภาพอาคารร้างๆ แล้วก็พบว่าวิดีโอเรื่องนี้ทำให้ความรู้สึกที่เรามีต่อภาพตึกร้างเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมแล้ว
11.THE POINTSMAN (1986, JOS STELLING, A/A-)
12.705 สุขุมวิท 55 (2002, อาทิตย์ อัสสรัตน์, A-)
13.นรก (2005, B-/C+)
โดยในเรื่องนี้เธอก็รับบทเป็นนางเอกเหมือนใน ALI: FEAR EATS THE SOUL
BRIGITTE MIRA เพิ่งอำลาโลกนี้ไปเมื่อวันที่ 8 มี.ค.นี้เองค่ะ เธอเกิดปี 1910 และจากโลกนี้ไปขณะอายุกำลังจะครบ 95 ปี
EL HEDI BEN SALEM พระเอกผิวดำของ ALI: FEAR EATS THE SOUL (A) เป็นคนรักคนหนึ่งของ FASSBINDER ในชีวิตจริงค่ะ เขาฆ่าตัวตายขณะติดคุกในปี 1982 ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่ FASSBINDER เสียชีวิต
http://www.imdb.com/name/nm0373289/
ถ้าหากชอบประเด็นความเกลียดชังชาวต่างชาติ หนังอีกเรื่องหนึ่งของ FASSBINDER ที่นำเสนอจุดนี้ได้ดี (และฮา) ก็คือเรื่อง KATZELMACHER (1969, A+)
ชอบ ALL THAT HEAVEN ALLOWS และ FAR FROM HEAVEN ในระดับ A+ ค่ะ
--ได้ดู ELECTRIC SHADOW (A-) แล้วรู้สึกว่าหนังก็ดีใช้ได้ค่ะ โดยส่วนตัวแล้ว สิ่งที่ประทับใจมากที่สุดในหนังเรื่องนี้ไม่ใช่ “อารมณ์ซึ้งๆ” แต่เป็นการที่หนังเรื่องนี้แนะนำให้เราได้รู้จักหนังน่าดูมากมายหลายเรื่องในอดีตที่เราไม่เคยรู้จักมาก่อน โดยเฉพาะหนังจีนยุคเก่าๆ และหนังเก่าของประเทศ “แอลเบเนีย” แต่ถ้าให้เล่าเนื้อเรื่องของ ELECTRIC SHADOW ดิฉันก็จำไม่ค่อยได้แล้วค่ะ เพราะช่วงที่ผ่านมาได้ดูหนังหลายเรื่องจนชักงงๆว่าฉากบางฉากที่ติดอยู่ในหัวตัวเอง มันมาจากหนังเรื่องไหนกันแน่
ดีใจมากค่ะที่มีคนได้ดู LOST IN TIME (A) เหมือนกัน หนังเรื่องนี้ทำให้ดิฉันเปลี่ยนความคิดที่มีต่อจางป๋อจือจากหลังตีนมาเป็นหน้ามือเลยค่ะ เพราะก่อนหน้านี้ดิฉันคิดว่าจางป๋อจือมีแต่ความสวย แต่ LOST IN TIME ทำให้ดิฉันรู้สึกว่าจริงๆแล้วเธอก็เล่นหนังเก่งมาก (ดิฉันยังไม่ได้ดู FAILAN ค่ะ)
สรุปหนังที่ได้ดูตั้งแต่วันเสาร์ที่ 18 มิ.ย. –ศุกร์ 24 มิ.ย.
(ความรู้สึกชอบที่มีต่อหนังบางเรื่องเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ)
1.L’EXPERIENCE PREHISTORIQUE (2003-2005, CHRISTELLE LHEUREUX, A+)
http://christelle.lheureux.free.fr/ANGLAIS/GionAnglais/Gion.html
--รู้สึกว่าคุณปราบดา หยุ่นคิดเนื้อเรื่องออกมาได้ดีมาก ไม่นึกว่าเนื้อเรื่องของเขาจะซีเรียสขนาดนี้ แต่ถึงแม้เนื้อเรื่องของเขาจะซีเรียส ดิฉันก็ยังคงรู้สึกขำกับภาพบางภาพที่ออกมา ขณะที่ดิฉันดูหนังเรื่องนี้ ดิฉันต้องใช้สมาธิในการดูมากกว่าปกติเมื่อเทียบกับหนังเรื่องอื่นๆ เพราะในขณะที่ตาดูภาพ และหูฟังเสียงพากย์ไปด้วยนั้น ใจดิฉันก็มักจะจินตนาการเนื้อเรื่องใหม่ไปด้วย และพอใจดิฉันว่อกแว่ก เผลอไปแต่งเนื้อเรื่องใหม่ให้กับหนัง ก็เลยทำให้ฟังเสียงพากย์ของคุณปราบดาไม่ทัน ขณะที่ดูหนังเรื่องนี้ ดิฉันจึงต้องคอยเพ่งเล็งความคิดของตัวเองอยู่ตลอดเวลา ไม่ให้เผลอคิดว่อกแว่กมากเกินไป
--EXPERIENCE ของดิฉันในการดูหนังเรื่องนี้จึงเป็น EXPERIENCE ที่ประหลาดกว่าหนังเรื่องอื่นๆ เพราะนอกจากหนังเรื่องนี้จะมีภาพ, เสียง และเนื้อเรื่องเหมือนกับหนังทั่วๆไปแล้ว หนังเรื่องนี้ยังมี “เนื้อเรื่องใหม่ในใจคนดู” แทรกเข้ามารบกวนจิตใจอยู่เป็นระยะๆด้วย
--ฉากที่รู้สึกทึ่งกับความคิดของคุณปราบดาคือฉากที่ผู้หญิงคนนึงมองไปที่อะไรบางอย่าง, ภาพชายหนุ่มยืนอยู่ในพงหญ้า และตัดมาเป็นภาพชายหนุ่มทำท่าคล้ายกับว่านั่งยองๆอยู่ในพงหญ้า โผล่ออกมาแต่ใบหน้า ถ้าจำไม่ผิด เนื้อเรื่องในฉากนี้จะเป็นความคิดคำนึงของผู้หญิงคนนึงที่มีต่อผู้ชายคนนึงที่กำลังจะถูกฆ่าตาย การที่ผู้ชายคนนี้โผล่แต่ใบหน้าออกมาจากพงหญ้าจึงเหมือนกับแทนการกำลังจะจากโลกนี้ไป
--อย่างไรก็ดี ถึงแม้เนื้อเรื่องของฉากนี้ออกมาในทำนองนี้ แต่พอดิฉันคิดถึงฉากนี้ทีไร ดิฉันมักจะคิดถึง “เนื้อเรื่องใหม่ในใจตนเอง” ซึ่งออกมาในทำนองที่ว่า ผู้หญิงคนนั้นเกลียดชายหนุ่มคนนั้นมาก เพราะชายหนุ่มคนนั้นแอบมานั่งอุจจาระในสนามหลังบ้านของเธอ
--คุณ kit แห่งเว็บบอร์ด SCREENOUT เคยตั้งข้อสังเกตในทำนองที่ว่าหนังญี่ปุ่นชอบมีตัวละครที่ทำหน้า “ไม่บอกอารมณ์” และพอดิฉันได้ดูหนังเรื่องนี้ ดิฉันก็รู้สึกว่าหนังเรื่องนี้นำเอาจุดเด่นจุดนี้ของคนญี่ปุ่นหรือหนังญี่ปุ่นมาใช้ได้ดีมาก เพราะการที่ตัวละครในหนังเรื่องนี้ “ทำสีหน้าที่ไม่บอกอารมณ์ชัดเจน” เกือบตลอดทั้งเรื่อง ใบหน้าของตัวละครเหล่านี้จึงมีลักษณะคล้ายผืนผ้าใบเปล่าๆ ที่เอื้อให้คนพากย์และผู้ชมแต่ละคนแต่งเนื้อเรื่องระบายสีลงไปในหนังเรื่องนี้ได้ตามใจชอบ แต่ถ้าหากตัวละครในหนังทำสีหน้าที่บอกอารมณ์ชัดเจนแล้ว หนังเรื่องนี้ก็จะไม่เปิดกว้างให้คนพากย์หรือผู้ชมแต่งเนื้อเรื่องใหม่ได้ง่ายนัก
--สีหน้าที่ไม่บอกอารมณ์ชัดเจนใน L’EXPERIENCE PREHISTORIQUE ยังทำให้นึกถึงประเด็นคล้ายๆกันนี้ที่ปรากฏอยู่ในหนังสารคดีเรื่อง FROM THE JOURNALS OF JEAN SEBERG (1995, MARK RAPPAPORT, A+) ถ้าจำไม่ผิด ในหนังสารคดีเรื่องนั้น จะมีการพูดถึง
1.สีหน้าที่ไม่บอกอารมณ์ของ JEAN SEBERG ในบางฉากของหนังอย่าง BONJOUR TRISTESSE (1958, OTTO PREMINGER)
2.สีหน้าที่ไม่บอกอารมณ์ของคลินท์ อีสต์วูดในหนังบางเรื่อง
3.การทดลองของหนังรัสเซียยุคโบราณที่เรียกกันว่า KULESHOV EFFECT
http://www.longpauses.com/blog/2003_06_01_longpauses_archive.html
--ถ้าเข้าใจไม่ผิด KULESHOV EFFECT ในหนังเรื่อง FROM THE JOURNALS OF JEAN SEBERG คือการทดลองตัดต่อภาพใบหน้าที่ไม่บอกอารมณ์ของคนๆหนึ่งมาอยู่ติดกับภาพของสิ่งต่างๆที่แตกต่างกัน และพบว่าการกระทำเช่นนี้ ทำให้คนดูรู้สึกว่าคนๆนั้นแสดงอารมณ์ออกมาแตกต่างกัน ทั้งๆที่จริงๆแล้วคนๆนั้นไม่ได้แสดงอารมณ์อะไรออกมาเลย
http://www.longpauses.com/blog/2002/01/benito-cereno-1855.html
ในเว็บไซท์ข้างบน ได้ยกตัวอย่างของ KULESHOV EFFECT เช่น
1.คนดูเห็นภาพใบหน้าไม่บอกอารมณ์ของ IVAN MOUSJOUKINE และต่อมาคนดูก็เห็นภาพทารกตาย
2.คนดูเห็นภาพใบหน้าไม่บอกอารมณ์ของ IVAN MOUSJOUKINE และต่อมาคนดูก็เห็นภาพถ้วยซุป
3.คนดูรู้สึกว่า IVAN ในข้อ 1 แสดงความรู้สึก “สงสาร” ออกมาทางใบหน้า และคนดูรู้สึกว่า IVAN ในข้อ 2 แสดงความรู้สึก “หิว” ออกมาทางใบหน้า ทั้งๆที่จริงๆแล้วใบหน้าของ IVAN ทั้งในข้อ 1 และข้อ 2 คือภาพๆเดียวกัน
4.คนดูเห็นใบหน้าของเจมส์ สจ็วร์ตมองออกไปนอกหน้าต่าง และต่อด้วยภาพสุนัข
5.คนดูเห็นใบหน้าของเจมส์ สจ็วร์ตมองออกไปนอกหน้าต่าง และต่อด้วยภาพของหญิงสาวแต่งกายวับๆแวมๆ
6.คนดูรู้สึกว่าเจมส์ สจ็วร์ตแสดงอารมณ์ใจดียิ้มแย้มออกมาในข้อ 4 และคนดูรู้สึกว่าเจมส์ สจ็วร์ตแสดงอารมณ์ลามกปนหื่นออกมาทางใบหน้าในข้อ 5 ทั้งที่จริงๆแล้วภาพเจมส์ทั้งในข้อ 4 และข้อ 5 คือภาพๆเดียวกัน
--ที่โยงไปถึง KULESHOV EFFECT ในหนังเรื่อง FROM THE JOURNALS OF JEAN SEBERG ก็เพราะรู้สึกว่าใบหน้าตัวละครใน L’EXPERIENCE PREHISTORIQUE มันก่อให้เกิด “จินตนาการ” คล้ายๆอย่างนี้นี่แหละค่ะ อย่างเช่นใบหน้าของผู้หญิงที่มองออกไปเห็นชายหนุ่มในพงหญ้าในหนังเรื่องนี้ มันเป็นใบหน้าที่ “ไม่บอกอารมณ์ชัดเจน” ว่าในขณะนั้นเธอรู้สึกยังไงกันแน่ คุณปราบดาแต่งเรื่องให้ผู้หญิงคนนั้นกำลัง “คิดถึง” ผู้ชายคนนั้น ซึ่งดิฉันก็รู้สึกว่าเนื้อเรื่องของคุณปราบดามันเข้ากับภาพที่เห็นอย่างมากๆ แต่จินตนาการของดิฉันแต่งเนื้อเรื่องใหม่เป็นว่าผู้หญิงคนนั้นกำลัง “ไม่พอใจ” ที่มีชายหนุ่มมาอุจจาระข้างหลังบ้านเธอ เพราะดิฉันก็รู้สึกว่าใบหน้าของผู้หญิงคนนั้น มันก็อาจจะแสดงอารมณ์ “ไม่พอใจ” ได้เช่นกัน
2.THE ASSASSINATION OF RICHARD NIXON (2004, NIELS MUELLER, A+)
3.2003 (2003, ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล, A+)
4.ONCE UPON A TIME (2000, PANU AREE, A+)
5.BEHIDE THE WALL (2003, อภิวัฒน์ แสงพัทธสีมา, A+)
6.A SNAKE OF JUNE (2002, SHINYA TSUKAMOTO, A+)
7.SWING GIRLS (2004, SHINOBU YAGUCHI, A+/A)
8.ONE MISSED CALL (2003, TAKASHI MIIKE, A+/A)
9.TWISTER (1990, MICHAEL ALMEREYDA, A)
10.GHOSTTRANSMISSIONS (2005, A)
หนัง (หรือวิดีโอ) เกี่ยวกับอาคารร้างๆเรื่องนี้ดูที่ H GALLERY สาทร ซอย 12 แต่ไม่ค่อยแน่ใจว่าใครเป็นคนกำกับวิดีโอเรื่องนี้กันแน่ ขณะที่ดูวิดีโอเรื่องนี้ ไม่ได้รู้สึกชอบมันถึงขั้น A แต่เพิ่งมารู้สึกชอบมันอย่างรุนแรงขณะขึ้นรถไฟฟ้ากลับบ้าน และมองออกไปจากหน้าต่างรถไฟฟ้า เห็นภาพอาคารร้างๆ แล้วก็พบว่าวิดีโอเรื่องนี้ทำให้ความรู้สึกที่เรามีต่อภาพตึกร้างเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมแล้ว
11.THE POINTSMAN (1986, JOS STELLING, A/A-)
12.705 สุขุมวิท 55 (2002, อาทิตย์ อัสสรัตน์, A-)
13.นรก (2005, B-/C+)
Sunday, June 19, 2005
TWISTER (MICHAEL ALMEREYDA, A)
--วันนี้ได้ดู THE POINTSMAN (1986, JOS STELLING, A-) กับ TWISTER (1990, MICHAEL ALMEREYDA, A) ค่ะ
ความเห็นจิปาถะที่มีต่อหนังทั้งในและนอกเทศกาลฝรั่งเศส
LOOK AT ME
--ฉากนึงที่ชอบมากใน LOOK AT ME คือฉากที่ LOLITA บ่นให้ SYLVIA ฟังว่าหลายๆคนทำดีกับเธอเพียงเพราะต้องการใช้เธอเป็นสะพานก้าวข้ามไปหาพ่อของเธอ ฉากนี้ให้ความรู้สึกเจ็บแสบมาก เพราะ SYLVIA เองพอได้ฟังประโยคนี้ก็คงรู้สึกสะอึกอย่างรุนแรงเหมือนกัน
การที่ตัวละครบางคนใน LOOK AT ME ทำดีกับคนอื่นๆเพียงเพราะต้องการใช้เป็นสะพาน ทำให้นึกถึงหนังเรื่องนึงที่ชอบสุดๆค่ะ นั่นก็คือเรื่อง THE CASTLE (1997, MICHAEL HANEKE, A+) เพราะในหนังเรื่องนี้ K. (แสดงโดย ULRICH MUHE) ซึ่งเป็นพระเอกของเรื่อง ก็ทำดีกับทุกๆคนที่เขานึกว่ามีเส้นสายอยู่ใน “ปราสาท” พอเขารู้ว่าตัวละครคนไหนน่าจะเข้าถึงตัว “ปราสาท” ได้ เขาก็ทำดีกับคนๆนั้นทันที
อย่างไรก็ดี ถึงแม้ K. จะไม่จริงใจ แต่เขาก็ไม่ใช่คนเลวซะทีเดียว เขาเป็นตัวละครที่ “คบคนเพื่อหวังผลประโยชน์” แต่ในขณะเดียวกัน เขาก็เป็นคนที่น่าสงสารมากๆ เพราะการคบคนของเขาไม่ได้ทำให้เขาได้เข้าใกล้ปราสาทซะที มีแต่จะทำให้เขายิ่งเดือดร้อนเหนื่อยยากลำเค็ญมากยิ่งขึ้น
จุดนี้ก็ทำให้นึกถึง LOOK AT ME เหมือนกัน รู้สึกว่าตัวละครแต่ละคนใน LOOK AT ME มีข้อดีและมีจุดบกพร่องอยู่ในตัวที่น่าสนใจมาก เหมือนที่คุณ merveillesxx บอกว่าหนังเรื่องนี้ไม่มีใครดีใครร้ายอย่างชัดเจน
ประเด็นเรื่อง “เวลาที่ตัวละครตัวนึงอยากจะพูด” กับ “เวลาที่ตัวละครตัวนึงอยากจะฟัง” ใน LOOK AT ME ก็ทำให้นึกถึงหนึ่งในฉากที่ทำให้ดิฉันรู้สึกเศร้าที่สุดใน THE CASTLE ค่ะ นั่นก็คือฉากที่ K. ได้พบกับชายอ้วนที่สามารถแก้ไขปัญหาของเขาได้ ชายอ้วนคนนั้นตัดสินใจจะรับฟังปัญหาของ K. เพื่อแก้ปัญหาให้ K. แต่ K. เหน็ดเหนื่อยอ่อนล้าอย่างมากจากการระหกระเหินตบตีกับผู้คนมาตลอดทั้งวันทั้งคืน เขาผล็อยหลับไปวูบหนึ่ง พอเขาตื่นขึ้นมา และได้โอกาสที่จะพูดถึงปัญหาของเขาให้ชายคนนั้นรับฟัง ก็ดันมีคนมาดึงตัว K. ไปที่อื่น และในที่สุดปัญหาของ K. ก็ไม่ได้รับการแก้ไขอีกตามเคย ฉากนี้เป็นฉากที่ฝังใจดิฉันอย่างรุนแรงค่ะ เพราะ “ช่วงเวลาที่ตัวละครตัวนึงพร้อมจะพูด” กับ “ช่วงเวลาที่ตัวละครอีกตัวนึงพร้อมจะรับฟัง” มันคลาดเคลื่อนห่างจากกันเพียงแค่ไม่กี่นาที แต่เวลาที่คลาดเคลื่อนกันเพียงแค่ไม่กี่นาทีนี่แหละ ที่ทำให้ชีวิตของ K. ต้องตกอยู่ในนรกต่อไป (เหมือนกับตัวละครบางคนใน LOOK AT ME ที่อาจจะยังคงไม่เข้าใจกันต่อไป)
ประเด็นเรื่องการพูดกับการฟังยังทำให้นึกถึงหนังที่ชอบสุดๆอีกเรื่องนึงด้วยค่ะ นั่นก็คือ BU SU (1987, JUN ICHIKAWA, A+) จุดนึงที่ดิฉันชอบในหนังเรื่องนี้ ก็คือถึงแม้หนังเรื่องนี้เล่าเรื่องของหญิงสาวในโรงเรียนไฮสกูล แต่ดิฉันรู้สึกว่าเกือบตลอดทั้งเรื่องนี้ แทบไม่มีฉากที่นางเอกได้พูดคุยจริงๆจังๆกับเพื่อนๆเลย นางเอกมักจะอยู่คนเดียว และเฝ้ามองคนอื่นๆอยู่ห่างๆ หรือถึงแม้นางเอกอยู่กับเพื่อน ก็มักจะเป็นการทำกิจกรรมร่วมกัน แต่หนังไม่ได้แสดงให้เห็นว่านางเอกคุยเล่นกับเพื่อนเรื่องอะไรบ้าง
อย่างไรก็ดี ใน BU SU มีอยู่ฉากนึงที่แสดงให้เห็นนางเอกคุยกับเพื่อนผู้หญิงเป็นเวลานานๆ แต่มันเป็นการคุยที่ประทับใจดิฉันมากๆ
จำประโยคที่นางเอกคุยกับเพื่อนใน BU SU ไม่ได้แน่นอน แต่มันออกมาในทำนองคล้ายๆอย่างนี้
นางเอก: ฉันอยากไปเที่ยวทะเล
เพื่อน: คนบางคนได้แต่งงานมีครอบครัว
นางเอก: ที่ชายหาดมีปู
เพื่อน: บางครอบครัวมีลูก แต่บางครอบครัวไม่มีลูก
นางเอก: เราไปขุดหาปูที่ชายหาดกันเถอะ
เพื่อน: ฉันอยากทำงานบริการผู้ชาย เพราะก่อนตายจะได้สัมผัสรสมือผู้ชายบ้าง
นางเอก:ที่ชายหาดมีคนไปเที่ยวกันเป็นครอบครัวเยอะแยะ
.....
นางเอก Bu Su กับเพื่อนคุยกันทำนองนี้ไปเรื่อยๆ แต่จริงๆแล้วพวกเขาไม่ได้ “คุยกัน” เลย พวกเขาเหมือนกับคุยกับตัวเองไปเรื่อยๆ มากกว่า เพียงแต่สลับกัน “พูดกับตัวเอง” คนละครั้งเท่านั้นเอง ดิฉันประทับใจกับฉากนี้มากๆค่ะ เพราะมันฮามากๆๆ และมันทำให้รู้สึกว่าถึงแม้นางเอกจะได้เพื่อนสนิทในโรงเรียนแล้ว และได้กลุ่มเพื่อนของตัวเองแล้ว หนังก็ยังคงแสดงให้เห็นถึงความแปลกแยกและโลกส่วนตัวของตัวละครแต่ละคนต่อไป
ดิฉันขอยกให้ฉากดังกล่าวใน BU SU เป็น “หนึ่งในฉากตัวละครคุยกันที่ประทับใจดิฉันมากที่สุด” ค่ะ
THE LIGHT
http://www.imdb.com/title/tt0388562/
--ฉากนึงที่ชอบมากใน THE LIGHT คือฉากแมวถูก “จับใส่ตะกร้าล้างน้ำ” สงสารแมวจังเลย แต่ถ้ามันไม่ตะกละ มันก็คงไม่พาตัวเองเดินเข้าไปติดกับในอุปกรณ์จับปลาอันนั้น
--ฉากที่แมวโดนลมพัดจนลอยหวือปลิวกระเด็น ก็ชอบมากเหมือนกันค่ะ ฉากนี้ทำให้นึกถึงฉากนึงที่ฮามากใน TWISTER (1996, JAN DE BONT, B) ซึ่งก็คือฉากที่มีวัวโดนพายุทอร์นาโดพัดลอยขึ้นไปในอากาศโดยไม่รู้อีโหน่อีเหน่
--รู้สึกว่า THE LIGHT นำเสนอความหล่อของ GREGORI DERANGERE ออกมาได้ดีมากๆ ในเรื่องนี้เขาดูหล่อกว่าใน BON VOYAGE (2003, JEAN-PAUL RAPPENEAU, A) เสียอีก ประโยคนึงที่ฮามากใน THE LIGHT คือประโยคที่ชาวบ้านคนนึงถามพระเอกในทำนองที่ว่าถูกสาวๆในโรงงาน EATEN ALIVE แล้วยัง
--จริงๆแล้วรู้สึกไม่ค่อยอินกับความรักของ MABE กับ ANTOINE สักเท่าไหร่ แต่ชอบที่คุณ grappa เขียนไว้ในบล็อกของคุณ ITซียูมากๆค่ะ ทำให้เข้าใจความรู้สึกของ MABE มากยิ่งขึ้น
--แต่จุดนึงที่ชอบมากใน THE LIGHT ก็คือการที่หนังไม่ได้เน้นความสัมพันธ์ระหว่าง MABE AND ANTOINE มากเกินไป แต่ใส่ประเด็นอื่นๆเข้ามาในหนังด้วย ในความเห็นส่วนตัวแล้ว คิดว่าถ้าหากหนังเน้นแต่ความสัมพันธ์ระหว่าง MABE AND ANTOINE หนังเรื่องนี้ก็อาจจะเข้าใกล้ THE BRIDGES OF MADISON COUNTY (CLINT EASTWOOD, A+) มากเกินไป และก็คงเป็นการยากที่หนังเรื่องนี้จะสร้างความซาบซึ้งได้เท่า THE BRIDGES OF MADISON COUNTY
--ความแตกต่างระหว่าง THE LIGHT กับ THE BRIDGES OF MADISON COUNTY คือสิ่งที่ทำให้ดิฉันชอบ THE LIGHT มากๆค่ะ และจุดที่แตกต่างกันก็คือ THE LIGHT ให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ระหว่าง YVON กับ ANTOINE มากพอสมควร และจุดที่ทำให้รู้สึก “จี๊ด” ในหนัง ไม่ใช่การตัดสินใจของ MABE ว่าจะทำยังไง แต่เป็นการตัดสินใจของ YVON ว่าจะทำยังไง การที่หนังเลือกที่จะให้ฉากไคลแมกซ์ในเรื่องเกี่ยวข้องกับปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ชายสองคน แทนที่จะเป็นชาย-หญิง ทำให้ดิฉันรู้สึกว่า THE LIGHT เลือกเดินมาถูกทางแล้ว
--นอกจากจะชอบความสัมพันธ์ระหว่าง YVON AND ANTOINE แล้ว จุดที่ชอบมากๆใน THE LIGHT ก็รวมถึงความเป็นคนนอกของ ANTOINE และประเด็นเรื่องแอลจีเรียด้วยค่ะ
ARSENE LUPIN
--ในบรรดาหนังที่ดูในช่วงนี้ หนังที่ทำให้ดิฉันรู้สึกอินกับความรักของตัวละครมากที่สุด ก็คือ ARSENE LUPIN ค่ะ เพราะดิฉันชอบความสัมพันธ์ระหว่าง ARSENE LUPIN กับ JOSEPHINE (KRISTIN SCOTT THOMAS) มาก ไม่รู้ว่าพวกเขารักกันจริงหรือเปล่า แต่ความสัมพันธ์ของทั้งคู่ทำให้ดิฉันรู้สึกอินมากที่สุดเมื่อเทียบกับความสัมพันธ์ของตัวละครชายหญิงคู่อื่นๆที่ได้ดูมาค่ะ
จุดที่ทำให้ความสัมพันธ์ของ LUPIN กับ JOSEPHINE แตกต่างจากความสัมพันธ์ของหญิงชายในหนังเรื่องอื่นๆอาจจะรวมถึง
1.ฝ่ายหญิงมีอายุมาก แต่ฝ่ายชายมีอายุน้อย ดิฉันชอบเรื่องอย่างนี้มากๆค่ะ โฮะ โฮะ โฮะ โฮะ โฮะ
2.ความสัมพันธ์ของทั้งสองเกี่ยวข้องกับ “ความหลงใหลในด้านมืด”
3.ความสัมพันธ์ของทั้งสองนำมาซึ่ง “การทำลายล้าง”
4.ทั้งสองไม่ได้เป็นเพียงแค่คู่รักกัน แต่ยังเป็นทั้งคู่แข่งและคู่อาฆาตซึ่งกันและกัน ในขณะที่ชายหญิงซึ่งรักกันในหนังเรื่องอื่นๆเจอแค่เพียงปัญหาว่า “เราจะนอกใจคนรักดีหรือไม่” แต่ชายหญิงใน ARSENE LUPIN ต้องตั้งคำถามกับตัวเองว่า “เราจะฆ่าคนรักดีหรือไม่”
ดิฉันชอบหนังที่ตัวละครต้องลังเลใจอยู่ตลอดเวลาว่าจะฆ่าคนรักดีหรือไม่ค่ะ และหนังอีกเรื่องนึงที่เข้าข่ายนี้ก็คือ BETRAYED (1988, COSTA-GAVRAS, A+) ในขณะที่ MR. & MRS. SMITH (2005, DOUG LIMAN, B+) ไม่ประทับใจดิฉันในจุดนี้สักเท่าไหร่ เพราะขณะที่ดู ดิฉันรู้สึกว่ายังไงๆ ตัวละครพระเอกนางเอกใน MR. & MRS. SMITH ก็ไม่น่าจะก้าวพ้นกรอบศีลธรรมจนกลายไปเป็นคนชั่วร้ายอย่างรุนแรง การที่ดิฉันรู้สึกว่าตัวละครพระเอกนางเอกไม่มีวันก้าวพ้นกรอบ ก็เลยทำให้ไม่เกิดความรู้สึกลุ้นระทึกในขณะที่ดู MR. & MRS. SMITH สักเท่าไหร่ ไม่เหมือนกับใน BETRAYED และ ARSENE LUPIN ที่ตัวละครฝ่ายใดฝ่ายนึงในคู่รัก ได้กลายเป็นคนเลวชนิดกู่ไม่กลับ ไม่มีวันไถ่บาปได้อีกแล้ว และเมื่อตัวละครกลายเป็นคนเลวสุดๆไปแล้ว “ความรู้สึกลุ้นว่าตัวละครจะตัดสินใจฆ่าคนรักหรือไม่ อะไร ยังไง” จึงเพิ่มสูงยิ่งขึ้น
5.ในหนังบางเรื่อง ตัวละครหญิงร้ายผู้ทรงอำนาจ มักจะเสียท่าเพราะพวกนางมีจุดอ่อน นั่นก็คือดันไปหลงรักพระเอกหรือไปไว้วางใจพระเอกเข้า JOSEPHINE ก็เกือบๆจะเข้าข่ายนี้เหมือนกัน
ตัวละครที่มีจุดอ่อนเพราะดันไปหลงรักพระเอกหรือไว้วางใจพระเอกในหนังเรื่องอื่นๆรวมถึง
5.1 ตงฟานปุ๊ป้ายใน “เดชคัมภีร์เทวดา ภาคสอง” (A+)
5.2 ราชินี อาคาชา (AALIYAH) ใน QUEEN OF THE DAMNED (2002, MICHAEL RYMER, A+)
6.ตอนนี้ JOSEPHINE ติดทำเนียบตัวละครหญิงในดวงใจดิฉันไปแล้วล่ะค่ะ ตัวละครหญิงที่นั่งอยู่ในหัวใจดิฉันเหมือนกับ JOSEPHINE ก็คือราชินีอาคาชา ดิฉันรู้สึกว่าโจเซฟีนกับราชินีอาคาชามีบางส่วนคล้ายกันด้วยค่ะ เพราะพวกเธอดูท่าทางจะมีอายุยืนนานเหมือนๆกัน
อย่างไรก็ดี ดิฉันรู้สึก “ลุ้นเอาใจช่วย” โจเซฟีนมากกว่าเอาใจช่วยราชินีอาคาชาในระหว่างดูหนังสองเรื่องนี้ค่ะ ซึ่งสาเหตุอาจจะเป็นเพราะว่า ราชินีอาคาชามีอิทธิฤทธิ์สูงลิบลิ่วจนยากจะหาผู้ใดมาประฝีมือกับเธอได้ ก็เลยไม่ทำให้รู้สึกว่าเธออาจจะพลาดท่าศัตรูได้ทุกเมื่อเหมือนโจเซฟีน
ความเห็นจิปาถะที่มีต่อหนังทั้งในและนอกเทศกาลฝรั่งเศส
LOOK AT ME
--ฉากนึงที่ชอบมากใน LOOK AT ME คือฉากที่ LOLITA บ่นให้ SYLVIA ฟังว่าหลายๆคนทำดีกับเธอเพียงเพราะต้องการใช้เธอเป็นสะพานก้าวข้ามไปหาพ่อของเธอ ฉากนี้ให้ความรู้สึกเจ็บแสบมาก เพราะ SYLVIA เองพอได้ฟังประโยคนี้ก็คงรู้สึกสะอึกอย่างรุนแรงเหมือนกัน
การที่ตัวละครบางคนใน LOOK AT ME ทำดีกับคนอื่นๆเพียงเพราะต้องการใช้เป็นสะพาน ทำให้นึกถึงหนังเรื่องนึงที่ชอบสุดๆค่ะ นั่นก็คือเรื่อง THE CASTLE (1997, MICHAEL HANEKE, A+) เพราะในหนังเรื่องนี้ K. (แสดงโดย ULRICH MUHE) ซึ่งเป็นพระเอกของเรื่อง ก็ทำดีกับทุกๆคนที่เขานึกว่ามีเส้นสายอยู่ใน “ปราสาท” พอเขารู้ว่าตัวละครคนไหนน่าจะเข้าถึงตัว “ปราสาท” ได้ เขาก็ทำดีกับคนๆนั้นทันที
อย่างไรก็ดี ถึงแม้ K. จะไม่จริงใจ แต่เขาก็ไม่ใช่คนเลวซะทีเดียว เขาเป็นตัวละครที่ “คบคนเพื่อหวังผลประโยชน์” แต่ในขณะเดียวกัน เขาก็เป็นคนที่น่าสงสารมากๆ เพราะการคบคนของเขาไม่ได้ทำให้เขาได้เข้าใกล้ปราสาทซะที มีแต่จะทำให้เขายิ่งเดือดร้อนเหนื่อยยากลำเค็ญมากยิ่งขึ้น
จุดนี้ก็ทำให้นึกถึง LOOK AT ME เหมือนกัน รู้สึกว่าตัวละครแต่ละคนใน LOOK AT ME มีข้อดีและมีจุดบกพร่องอยู่ในตัวที่น่าสนใจมาก เหมือนที่คุณ merveillesxx บอกว่าหนังเรื่องนี้ไม่มีใครดีใครร้ายอย่างชัดเจน
ประเด็นเรื่อง “เวลาที่ตัวละครตัวนึงอยากจะพูด” กับ “เวลาที่ตัวละครตัวนึงอยากจะฟัง” ใน LOOK AT ME ก็ทำให้นึกถึงหนึ่งในฉากที่ทำให้ดิฉันรู้สึกเศร้าที่สุดใน THE CASTLE ค่ะ นั่นก็คือฉากที่ K. ได้พบกับชายอ้วนที่สามารถแก้ไขปัญหาของเขาได้ ชายอ้วนคนนั้นตัดสินใจจะรับฟังปัญหาของ K. เพื่อแก้ปัญหาให้ K. แต่ K. เหน็ดเหนื่อยอ่อนล้าอย่างมากจากการระหกระเหินตบตีกับผู้คนมาตลอดทั้งวันทั้งคืน เขาผล็อยหลับไปวูบหนึ่ง พอเขาตื่นขึ้นมา และได้โอกาสที่จะพูดถึงปัญหาของเขาให้ชายคนนั้นรับฟัง ก็ดันมีคนมาดึงตัว K. ไปที่อื่น และในที่สุดปัญหาของ K. ก็ไม่ได้รับการแก้ไขอีกตามเคย ฉากนี้เป็นฉากที่ฝังใจดิฉันอย่างรุนแรงค่ะ เพราะ “ช่วงเวลาที่ตัวละครตัวนึงพร้อมจะพูด” กับ “ช่วงเวลาที่ตัวละครอีกตัวนึงพร้อมจะรับฟัง” มันคลาดเคลื่อนห่างจากกันเพียงแค่ไม่กี่นาที แต่เวลาที่คลาดเคลื่อนกันเพียงแค่ไม่กี่นาทีนี่แหละ ที่ทำให้ชีวิตของ K. ต้องตกอยู่ในนรกต่อไป (เหมือนกับตัวละครบางคนใน LOOK AT ME ที่อาจจะยังคงไม่เข้าใจกันต่อไป)
ประเด็นเรื่องการพูดกับการฟังยังทำให้นึกถึงหนังที่ชอบสุดๆอีกเรื่องนึงด้วยค่ะ นั่นก็คือ BU SU (1987, JUN ICHIKAWA, A+) จุดนึงที่ดิฉันชอบในหนังเรื่องนี้ ก็คือถึงแม้หนังเรื่องนี้เล่าเรื่องของหญิงสาวในโรงเรียนไฮสกูล แต่ดิฉันรู้สึกว่าเกือบตลอดทั้งเรื่องนี้ แทบไม่มีฉากที่นางเอกได้พูดคุยจริงๆจังๆกับเพื่อนๆเลย นางเอกมักจะอยู่คนเดียว และเฝ้ามองคนอื่นๆอยู่ห่างๆ หรือถึงแม้นางเอกอยู่กับเพื่อน ก็มักจะเป็นการทำกิจกรรมร่วมกัน แต่หนังไม่ได้แสดงให้เห็นว่านางเอกคุยเล่นกับเพื่อนเรื่องอะไรบ้าง
อย่างไรก็ดี ใน BU SU มีอยู่ฉากนึงที่แสดงให้เห็นนางเอกคุยกับเพื่อนผู้หญิงเป็นเวลานานๆ แต่มันเป็นการคุยที่ประทับใจดิฉันมากๆ
จำประโยคที่นางเอกคุยกับเพื่อนใน BU SU ไม่ได้แน่นอน แต่มันออกมาในทำนองคล้ายๆอย่างนี้
นางเอก: ฉันอยากไปเที่ยวทะเล
เพื่อน: คนบางคนได้แต่งงานมีครอบครัว
นางเอก: ที่ชายหาดมีปู
เพื่อน: บางครอบครัวมีลูก แต่บางครอบครัวไม่มีลูก
นางเอก: เราไปขุดหาปูที่ชายหาดกันเถอะ
เพื่อน: ฉันอยากทำงานบริการผู้ชาย เพราะก่อนตายจะได้สัมผัสรสมือผู้ชายบ้าง
นางเอก:ที่ชายหาดมีคนไปเที่ยวกันเป็นครอบครัวเยอะแยะ
.....
นางเอก Bu Su กับเพื่อนคุยกันทำนองนี้ไปเรื่อยๆ แต่จริงๆแล้วพวกเขาไม่ได้ “คุยกัน” เลย พวกเขาเหมือนกับคุยกับตัวเองไปเรื่อยๆ มากกว่า เพียงแต่สลับกัน “พูดกับตัวเอง” คนละครั้งเท่านั้นเอง ดิฉันประทับใจกับฉากนี้มากๆค่ะ เพราะมันฮามากๆๆ และมันทำให้รู้สึกว่าถึงแม้นางเอกจะได้เพื่อนสนิทในโรงเรียนแล้ว และได้กลุ่มเพื่อนของตัวเองแล้ว หนังก็ยังคงแสดงให้เห็นถึงความแปลกแยกและโลกส่วนตัวของตัวละครแต่ละคนต่อไป
ดิฉันขอยกให้ฉากดังกล่าวใน BU SU เป็น “หนึ่งในฉากตัวละครคุยกันที่ประทับใจดิฉันมากที่สุด” ค่ะ
THE LIGHT
http://www.imdb.com/title/tt0388562/
--ฉากนึงที่ชอบมากใน THE LIGHT คือฉากแมวถูก “จับใส่ตะกร้าล้างน้ำ” สงสารแมวจังเลย แต่ถ้ามันไม่ตะกละ มันก็คงไม่พาตัวเองเดินเข้าไปติดกับในอุปกรณ์จับปลาอันนั้น
--ฉากที่แมวโดนลมพัดจนลอยหวือปลิวกระเด็น ก็ชอบมากเหมือนกันค่ะ ฉากนี้ทำให้นึกถึงฉากนึงที่ฮามากใน TWISTER (1996, JAN DE BONT, B) ซึ่งก็คือฉากที่มีวัวโดนพายุทอร์นาโดพัดลอยขึ้นไปในอากาศโดยไม่รู้อีโหน่อีเหน่
--รู้สึกว่า THE LIGHT นำเสนอความหล่อของ GREGORI DERANGERE ออกมาได้ดีมากๆ ในเรื่องนี้เขาดูหล่อกว่าใน BON VOYAGE (2003, JEAN-PAUL RAPPENEAU, A) เสียอีก ประโยคนึงที่ฮามากใน THE LIGHT คือประโยคที่ชาวบ้านคนนึงถามพระเอกในทำนองที่ว่าถูกสาวๆในโรงงาน EATEN ALIVE แล้วยัง
--จริงๆแล้วรู้สึกไม่ค่อยอินกับความรักของ MABE กับ ANTOINE สักเท่าไหร่ แต่ชอบที่คุณ grappa เขียนไว้ในบล็อกของคุณ ITซียูมากๆค่ะ ทำให้เข้าใจความรู้สึกของ MABE มากยิ่งขึ้น
--แต่จุดนึงที่ชอบมากใน THE LIGHT ก็คือการที่หนังไม่ได้เน้นความสัมพันธ์ระหว่าง MABE AND ANTOINE มากเกินไป แต่ใส่ประเด็นอื่นๆเข้ามาในหนังด้วย ในความเห็นส่วนตัวแล้ว คิดว่าถ้าหากหนังเน้นแต่ความสัมพันธ์ระหว่าง MABE AND ANTOINE หนังเรื่องนี้ก็อาจจะเข้าใกล้ THE BRIDGES OF MADISON COUNTY (CLINT EASTWOOD, A+) มากเกินไป และก็คงเป็นการยากที่หนังเรื่องนี้จะสร้างความซาบซึ้งได้เท่า THE BRIDGES OF MADISON COUNTY
--ความแตกต่างระหว่าง THE LIGHT กับ THE BRIDGES OF MADISON COUNTY คือสิ่งที่ทำให้ดิฉันชอบ THE LIGHT มากๆค่ะ และจุดที่แตกต่างกันก็คือ THE LIGHT ให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ระหว่าง YVON กับ ANTOINE มากพอสมควร และจุดที่ทำให้รู้สึก “จี๊ด” ในหนัง ไม่ใช่การตัดสินใจของ MABE ว่าจะทำยังไง แต่เป็นการตัดสินใจของ YVON ว่าจะทำยังไง การที่หนังเลือกที่จะให้ฉากไคลแมกซ์ในเรื่องเกี่ยวข้องกับปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ชายสองคน แทนที่จะเป็นชาย-หญิง ทำให้ดิฉันรู้สึกว่า THE LIGHT เลือกเดินมาถูกทางแล้ว
--นอกจากจะชอบความสัมพันธ์ระหว่าง YVON AND ANTOINE แล้ว จุดที่ชอบมากๆใน THE LIGHT ก็รวมถึงความเป็นคนนอกของ ANTOINE และประเด็นเรื่องแอลจีเรียด้วยค่ะ
ARSENE LUPIN
--ในบรรดาหนังที่ดูในช่วงนี้ หนังที่ทำให้ดิฉันรู้สึกอินกับความรักของตัวละครมากที่สุด ก็คือ ARSENE LUPIN ค่ะ เพราะดิฉันชอบความสัมพันธ์ระหว่าง ARSENE LUPIN กับ JOSEPHINE (KRISTIN SCOTT THOMAS) มาก ไม่รู้ว่าพวกเขารักกันจริงหรือเปล่า แต่ความสัมพันธ์ของทั้งคู่ทำให้ดิฉันรู้สึกอินมากที่สุดเมื่อเทียบกับความสัมพันธ์ของตัวละครชายหญิงคู่อื่นๆที่ได้ดูมาค่ะ
จุดที่ทำให้ความสัมพันธ์ของ LUPIN กับ JOSEPHINE แตกต่างจากความสัมพันธ์ของหญิงชายในหนังเรื่องอื่นๆอาจจะรวมถึง
1.ฝ่ายหญิงมีอายุมาก แต่ฝ่ายชายมีอายุน้อย ดิฉันชอบเรื่องอย่างนี้มากๆค่ะ โฮะ โฮะ โฮะ โฮะ โฮะ
2.ความสัมพันธ์ของทั้งสองเกี่ยวข้องกับ “ความหลงใหลในด้านมืด”
3.ความสัมพันธ์ของทั้งสองนำมาซึ่ง “การทำลายล้าง”
4.ทั้งสองไม่ได้เป็นเพียงแค่คู่รักกัน แต่ยังเป็นทั้งคู่แข่งและคู่อาฆาตซึ่งกันและกัน ในขณะที่ชายหญิงซึ่งรักกันในหนังเรื่องอื่นๆเจอแค่เพียงปัญหาว่า “เราจะนอกใจคนรักดีหรือไม่” แต่ชายหญิงใน ARSENE LUPIN ต้องตั้งคำถามกับตัวเองว่า “เราจะฆ่าคนรักดีหรือไม่”
ดิฉันชอบหนังที่ตัวละครต้องลังเลใจอยู่ตลอดเวลาว่าจะฆ่าคนรักดีหรือไม่ค่ะ และหนังอีกเรื่องนึงที่เข้าข่ายนี้ก็คือ BETRAYED (1988, COSTA-GAVRAS, A+) ในขณะที่ MR. & MRS. SMITH (2005, DOUG LIMAN, B+) ไม่ประทับใจดิฉันในจุดนี้สักเท่าไหร่ เพราะขณะที่ดู ดิฉันรู้สึกว่ายังไงๆ ตัวละครพระเอกนางเอกใน MR. & MRS. SMITH ก็ไม่น่าจะก้าวพ้นกรอบศีลธรรมจนกลายไปเป็นคนชั่วร้ายอย่างรุนแรง การที่ดิฉันรู้สึกว่าตัวละครพระเอกนางเอกไม่มีวันก้าวพ้นกรอบ ก็เลยทำให้ไม่เกิดความรู้สึกลุ้นระทึกในขณะที่ดู MR. & MRS. SMITH สักเท่าไหร่ ไม่เหมือนกับใน BETRAYED และ ARSENE LUPIN ที่ตัวละครฝ่ายใดฝ่ายนึงในคู่รัก ได้กลายเป็นคนเลวชนิดกู่ไม่กลับ ไม่มีวันไถ่บาปได้อีกแล้ว และเมื่อตัวละครกลายเป็นคนเลวสุดๆไปแล้ว “ความรู้สึกลุ้นว่าตัวละครจะตัดสินใจฆ่าคนรักหรือไม่ อะไร ยังไง” จึงเพิ่มสูงยิ่งขึ้น
5.ในหนังบางเรื่อง ตัวละครหญิงร้ายผู้ทรงอำนาจ มักจะเสียท่าเพราะพวกนางมีจุดอ่อน นั่นก็คือดันไปหลงรักพระเอกหรือไปไว้วางใจพระเอกเข้า JOSEPHINE ก็เกือบๆจะเข้าข่ายนี้เหมือนกัน
ตัวละครที่มีจุดอ่อนเพราะดันไปหลงรักพระเอกหรือไว้วางใจพระเอกในหนังเรื่องอื่นๆรวมถึง
5.1 ตงฟานปุ๊ป้ายใน “เดชคัมภีร์เทวดา ภาคสอง” (A+)
5.2 ราชินี อาคาชา (AALIYAH) ใน QUEEN OF THE DAMNED (2002, MICHAEL RYMER, A+)
6.ตอนนี้ JOSEPHINE ติดทำเนียบตัวละครหญิงในดวงใจดิฉันไปแล้วล่ะค่ะ ตัวละครหญิงที่นั่งอยู่ในหัวใจดิฉันเหมือนกับ JOSEPHINE ก็คือราชินีอาคาชา ดิฉันรู้สึกว่าโจเซฟีนกับราชินีอาคาชามีบางส่วนคล้ายกันด้วยค่ะ เพราะพวกเธอดูท่าทางจะมีอายุยืนนานเหมือนๆกัน
อย่างไรก็ดี ดิฉันรู้สึก “ลุ้นเอาใจช่วย” โจเซฟีนมากกว่าเอาใจช่วยราชินีอาคาชาในระหว่างดูหนังสองเรื่องนี้ค่ะ ซึ่งสาเหตุอาจจะเป็นเพราะว่า ราชินีอาคาชามีอิทธิฤทธิ์สูงลิบลิ่วจนยากจะหาผู้ใดมาประฝีมือกับเธอได้ ก็เลยไม่ทำให้รู้สึกว่าเธออาจจะพลาดท่าศัตรูได้ทุกเมื่อเหมือนโจเซฟีน
GREGORY'S TWO GIRLS
ดิฉันก็ยังไม่ได้ดู LETTER TO BREZHNEV เหมือนกันค่ะ หาดูไม่ได้เหมือนกัน ก็เลยไม่ได้บอกว่าตัวเองชอบหนังเรื่องนี้มากน้อยแค่ไหน แต่หนังเรื่องนี้เป็นหนังที่อยากดูมากๆๆๆๆเรื่องนึงค่ะ รู้สึกว่าชื่อหนังเรื่องนี้ฝังใจตัวเองมากเป็นพิเศษ พอเอ่ยถึงหนังอังกฤษที่อยากดูทีไร ชื่อหนังเรื่องนี้ก็มักผุดขึ้นมาในหัวอยู่เสมอ
ดิฉันใส่ชื่อหนังรักโรแมนติกที่ตัวเองยังไม่ได้ดู (แต่อยากดู) เข้าไปในลิสท์รายชื่อข้างบนด้วยค่ะ เผื่อคนอื่นๆอาจจะมีโอกาสหามาดูได้
ไม่รู้เหมือนกันค่ะว่าจะหาดู GREGORY’S GIRL ได้จากไหน เมื่อหลายปีก่อน (ประมาณปลายทศวรรษ 1990) ห้องสมุดบริติชเคาน์ซิลเคยมีวิดีโอหนังเรื่องนี้ให้ยืมดู แต่ปัจจุบันคงไม่มีแล้ว
ได้ดู GREGORY’S TWO GIRLS (1999, BILL FORSYTH, B) ซึ่งเป็นภาคสองของ GREGORY’S GIRL ในเทศกาลหนังอังกฤษเมื่อหลายปีก่อนค่ะ เสียดายที่ตัวเองฟังตัวละครพูดแทบไม่ออกเลย ก็เลยทำให้ไม่เข้าใจมุกตลกหลายๆอย่างในหนังเรื่องนี้ ถ้าได้ดูแบบที่มีซับไตเติล คงจะชอบหนังเรื่องนี้มากขึ้นกว่าเดิมเยอะ
เพิ่มเติมรายชื่อ
FRANCE
JULES AND JIM (1962, FRANCOIS TRUFFAUT, A-)
http://www.imdb.com/title/tt0055032/
UK
THIS YEAR’S LOVE (1999, DAVID KANE)
http://www.imdb.com/title/tt0153032/
ดิฉันใส่ชื่อหนังรักโรแมนติกที่ตัวเองยังไม่ได้ดู (แต่อยากดู) เข้าไปในลิสท์รายชื่อข้างบนด้วยค่ะ เผื่อคนอื่นๆอาจจะมีโอกาสหามาดูได้
ไม่รู้เหมือนกันค่ะว่าจะหาดู GREGORY’S GIRL ได้จากไหน เมื่อหลายปีก่อน (ประมาณปลายทศวรรษ 1990) ห้องสมุดบริติชเคาน์ซิลเคยมีวิดีโอหนังเรื่องนี้ให้ยืมดู แต่ปัจจุบันคงไม่มีแล้ว
ได้ดู GREGORY’S TWO GIRLS (1999, BILL FORSYTH, B) ซึ่งเป็นภาคสองของ GREGORY’S GIRL ในเทศกาลหนังอังกฤษเมื่อหลายปีก่อนค่ะ เสียดายที่ตัวเองฟังตัวละครพูดแทบไม่ออกเลย ก็เลยทำให้ไม่เข้าใจมุกตลกหลายๆอย่างในหนังเรื่องนี้ ถ้าได้ดูแบบที่มีซับไตเติล คงจะชอบหนังเรื่องนี้มากขึ้นกว่าเดิมเยอะ
เพิ่มเติมรายชื่อ
FRANCE
JULES AND JIM (1962, FRANCOIS TRUFFAUT, A-)
http://www.imdb.com/title/tt0055032/
UK
THIS YEAR’S LOVE (1999, DAVID KANE)
http://www.imdb.com/title/tt0153032/
a whiter shade of pale
http://pserve.club.fr/RobertoSucco_Aff.jpg
--เพลงนึงที่ชอบมากๆใน THE HUNDRED STEPS คือเพลง A WHITER SHADE OF PALE ของ PROCOL HARUM ค่ะ พระเอกนำเพลงนี้มาเปิดออกอากาศทางวิทยุในช่วงกลางเรื่อง และตอนหลังก็มีเพลงนี้ดังขึ้นมาอีก
ฟังตัวอย่างเพลง A WHITER SHADE OF PALE ได้ที่
http://www.amazon.com/exec/obidos/ASIN/B000009B6E/qid=1119114533/sr=2-2/ref=pd_bbs_b_2_2/102-4915244-5716948
ANNIE LENNOX ก็เคยนำเพลง WHITER SHADE OF PALE มาร้องไว้ในอัลบัมชุด MEDUSA ค่ะ ฟังตัวอย่างเพลงนี้ได้ที่
http://www.amazon.com/exec/obidos/ASIN/B000002VUC/qid=1119114637/sr=2-3/ref=pd_bbs_b_2_3/102-4915244-5716948
--คุณเจ้าชายน้อยในเว็บไบโอสโคปเขียนวิจารณ์หนังเรื่อง I CAN’T SLEEP ของ CLAIRE DENIS ไว้ค่ะ หนังเรื่องนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับเกย์ด้วย
อ่านความเห็นของคุณเจ้าชายน้อยได้ที่
http://www.bioscopemagazine.com/review/index-in.php?id=18278
นอกจากนี้ คุณเจ้าชายน้อยยังชวนลงชื่อสนับสนุนพรบ.ป่าชุมชนด้วยค่ะ ถ้าใครสนใจก็เข้าไปอ่านรายละเอียดได้ที่
http://www.bioscopemagazine.com/webboard/index-in.php?id=18852
http://www.dvdes.ch/images/pics/b_1000140024.jpg http://www.pinkapple.ch/2004/programm/images/films/4.jpg
อยากฟังเพลงของ LINDA EDER มากๆค่ะ น่าเสียดายที่ร้านอินเทอร์เน็ตที่ดิฉันใช้ประจำ โหลดเพลงจาก yousendit.com ไม่ได้เลยในระยะหลัง
เคยฟัง THE IMPOSSIBLE DREAM เวอร์ชันนึงที่เพราะถูกใจดิฉันสุดๆค่ะ นั่นก็คือเวอร์ชันที่ร้องโดยวง CARTER – THE UNSTOPPABLE SEX MACHINE เวอร์ชันนี้อยู่ในอัลบัมชุด 1992: THE LOVE ALBUM
http://www.amazon.com/exec/obidos/ASIN/B000007XVC/qid=1119116123/sr=2-3/ref=pd_bbs_b_2_3/102-4915244-5716948
--เพลงนึงที่ชอบมากๆใน THE HUNDRED STEPS คือเพลง A WHITER SHADE OF PALE ของ PROCOL HARUM ค่ะ พระเอกนำเพลงนี้มาเปิดออกอากาศทางวิทยุในช่วงกลางเรื่อง และตอนหลังก็มีเพลงนี้ดังขึ้นมาอีก
ฟังตัวอย่างเพลง A WHITER SHADE OF PALE ได้ที่
http://www.amazon.com/exec/obidos/ASIN/B000009B6E/qid=1119114533/sr=2-2/ref=pd_bbs_b_2_2/102-4915244-5716948
ANNIE LENNOX ก็เคยนำเพลง WHITER SHADE OF PALE มาร้องไว้ในอัลบัมชุด MEDUSA ค่ะ ฟังตัวอย่างเพลงนี้ได้ที่
http://www.amazon.com/exec/obidos/ASIN/B000002VUC/qid=1119114637/sr=2-3/ref=pd_bbs_b_2_3/102-4915244-5716948
--คุณเจ้าชายน้อยในเว็บไบโอสโคปเขียนวิจารณ์หนังเรื่อง I CAN’T SLEEP ของ CLAIRE DENIS ไว้ค่ะ หนังเรื่องนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับเกย์ด้วย
อ่านความเห็นของคุณเจ้าชายน้อยได้ที่
http://www.bioscopemagazine.com/review/index-in.php?id=18278
นอกจากนี้ คุณเจ้าชายน้อยยังชวนลงชื่อสนับสนุนพรบ.ป่าชุมชนด้วยค่ะ ถ้าใครสนใจก็เข้าไปอ่านรายละเอียดได้ที่
http://www.bioscopemagazine.com/webboard/index-in.php?id=18852
http://www.dvdes.ch/images/pics/b_1000140024.jpg http://www.pinkapple.ch/2004/programm/images/films/4.jpg
อยากฟังเพลงของ LINDA EDER มากๆค่ะ น่าเสียดายที่ร้านอินเทอร์เน็ตที่ดิฉันใช้ประจำ โหลดเพลงจาก yousendit.com ไม่ได้เลยในระยะหลัง
เคยฟัง THE IMPOSSIBLE DREAM เวอร์ชันนึงที่เพราะถูกใจดิฉันสุดๆค่ะ นั่นก็คือเวอร์ชันที่ร้องโดยวง CARTER – THE UNSTOPPABLE SEX MACHINE เวอร์ชันนี้อยู่ในอัลบัมชุด 1992: THE LOVE ALBUM
http://www.amazon.com/exec/obidos/ASIN/B000007XVC/qid=1119116123/sr=2-3/ref=pd_bbs_b_2_3/102-4915244-5716948
Saturday, June 18, 2005
EUROPEAN ROMANTIC FILMS
http://www.bioscopemagazine.com/webboard/index-in.php?id=18959
หนังฝรั่งเศสที่ดิฉันได้ดูและดิฉันคิดว่าอาจเป็นหนังโรแมนติก หรือ http://www.imdb.com จัดให้อยู่ในกลุ่มหนัง ROMANCE ได้แก่เรื่อง
1.UN HOMME, UN VRAI (2003, ARNAUD LARRIEU + JEAN-MARIE LARRIEU, A+)
http://www.imdb.com/title/tt0329706/
2.AUTUMN TALE (1998, ERIC ROHMER, A+)
http://www.imdb.com/title/tt0137439/
3.A SUMMER’S TALE (1996, ERIC ROHMER, A+)
http://www.imdb.com/title/tt0115940/
4.HIROSHIMA, MON AMOUR (1959, ALAIN RESNAIS, A+)
http://www.imdb.com/title/tt0052893/
5.TWO ENGLISH GIRLS (1971, FRANCOIS TRUFFAUT, A+)
http://www.imdb.com/title/tt0066989/
6.JEANNE AND THE PERFECT GUY (1998, OLIVIER DUCASTEL + JACQUES MARTINEAU, A+)
http://www.imdb.com/title/tt0123923/
7.THE SCHOOL OF FLESH (1997, BENOIT JACQUOT, A+)
http://www.imdb.com/title/tt0157208/
8.A MAN AND A WOMAN (1966, CLAUDE LELOUCH, A+)
http://www.imdb.com/title/tt0061138/
9.BAD BLOOD (1986, LEOS CARAX, A+)
http://www.imdb.com/title/tt0091497/
10.VENUS BEAUTY INSTITUTE (1999, TONIE MARSHALL, A+)
http://www.imdb.com/title/tt0174330/
11.DIARY OF A SEDUCER (1998, DANIELE DUBROUX, A+)
http://www.imdb.com/title/tt0113489/
12.THE APARTMENT (1996, GILLES MIMOUNI, A+)
http://www.imdb.com/title/tt0115561/
13.THE UMBRELLAS OF CHERBOURG (1964, JACQUES DEMY, A+)
http://www.imdb.com/title/tt0058450/
14.DRUGSTORE ROMANCE (1979, PAUL VECCHIALI, A+)
http://www.imdb.com/title/tt0077371/
15.PRINCESS OF CLEVES (1960, JEAN DELANNOY, A+/A)
http://www.imdb.com/title/tt0054208/
16.THE LOVER (1992, JEAN-JACQUES ANNAUD, A+/A)
http://www.imdb.com/title/tt0101316/
17.WUTHERING HEIGHTS (1985, JACQUES RIVETTE, A+/A)
http://www.imdb.com/title/tt0089312/
18.RENDEZVOUS IN PARIS (1995, ERIC ROHMER, A)
http://www.imdb.com/title/tt0114266/
19.THE GIRL AT THE MONCEAU BAKERY (1963, ERIC ROHMER, A)
http://www.imdb.com/title/tt0056884/
20.CLAIRE’S KNEE (1970, ERIC ROHMER, A)
http://www.imdb.com/title/tt0065772/
21.THE COLLECTOR (1967, ERIC ROHMER, A)
http://www.imdb.com/title/tt0061495/
22.CHILDREN OF PARADISE (1945, MARCEL CARNE, A)
http://www.imdb.com/title/tt0037674/
23.ONLY GOD SEES ME (1998, BRUNO PODALYDES, A)
http://www.imdb.com/title/tt0118978/
24.GOLDEN MARIE (1952, JACQUES BECKER, A)
http://www.imdb.com/title/tt0043386/
25.AMELIE (2001, JEAN-PIERRE JEUNET, A)
http://www.imdb.com/title/tt0211915/
26.WHITE WEDDING (1989, JEAN-CLAUDE BRISSEAU, A)
http://www.imdb.com/title/tt0097995/
27.CHANGING TIMES (2004, ANDRE TECHINE, A)
http://www.imdb.com/title/tt0399738/
28.BREATHLESS (1960, JEAN-LUC GODARD, A/A-)
http://www.imdb.com/title/tt0053472/
29.LOVERS (1994, CATHERINE CORSINI, A/A-)
http://www.imdb.com/title/tt0109110/
30.THE GIRL ON THE BRIDGE (1999, PATRICE LECONTE, A-)
http://www.imdb.com/title/tt0144201/
31.THE WOMAN NEXT DOOR (1981, FRANCOIS TRUFFAUT, A-)
http://www.imdb.com/title/tt0082370/
32.PERFECT LOVE (1996, CATHERINE BREILLAT, A-)
http://www.imdb.com/title/tt0117296/
33.AN AMAZING COUPLE (2002, LUCAS BELVAUX, A-)
http://www.imdb.com/title/tt0234940/
34.A WORLD WITHOUT PITY (1989, ERIC ROCHANT, A-/B+)
http://www.imdb.com/title/tt0098552/
35.THE CHILDREN OF THE CENTURY (1995, DIANE KURYS, A-/B+)
http://www.imdb.com/title/tt0177746/
36.A WOMAN IS A WOMAN (1961, JEAN-LUC GODARD, B+)
http://www.imdb.com/title/tt0055572/
37.FANFAN (1993, ALEXANDRE JARDIN, B+)
http://www.imdb.com/title/tt0106866/
38.SILENCE IS GOLDEN (1947, RENE CLAIR, B+/B)
http://www.imdb.com/title/tt0039823/
39.ALL THE MORNINGS OF THE WORLD (1991, ALAIN CORNEAU, B+/B)
http://www.imdb.com/title/tt0103110/
40.CYRANO DE BERGERAC (1990, JEAN-PAUL RAPPENEAU, B+/B)
http://www.imdb.com/title/tt0099334/
41.LOVE AFTER LOVE (1992, DIANE KURYS, B+/B)
http://www.imdb.com/title/tt0103710/
42.MARIUS AND JEANNETTE (1997, ROBERT GUEDIGUIAN, B)
http://www.imdb.com/title/tt0119620/
หนังฝรั่งเศสที่ดิฉันอยากดูแต่ยังไม่ได้ดู และ http://www.imdb.com จัดให้อยู่ในประเภทหนัง ROMANCE ได้แก่เรื่อง
1.FEELINGS (2003, NOEMIE LVOVSKY)
http://www.imdb.com/title/tt0329584/
2.MAITRESSE (1973, BARBET SCHROEDER)
http://www.imdb.com/title/tt0074883/
3.THE HAIRDRESSER’S HUSBAND (1990, PATRICE LECONTE)
http://www.imdb.com/title/tt0100112/
4.THE LOVERS ON THE BRIDGE (1991, LEOS CARAX)
http://www.imdb.com/title/tt0101318/
5.STOLEN KISSES (1968, FRANCOIS TRUFFAUT)
http://www.imdb.com/title/tt0062695/
6.LOVE ON THE RUN (1979, FRANCOIS TRUFFAUT)
http://www.imdb.com/title/tt0078771/
7.NEAREST TO HEAVEN (2002, TONIE MARSHALL)
http://www.imdb.com/title/tt0290435/
8.STRAYED (2003, ANDRE TECHINE)
http://www.imdb.com/title/tt0329111/
9.LOVE, ETC. (1996, MARION VERNOUX)
http://www.imdb.com/title/tt0116932/
10.MALADY OF LOVE (1987, JACQUES DERAY)
http://www.imdb.com/title/tt0093481/
11.JET LAG (2002, DANIELE THOMPSON)
http://www.imdb.com/title/tt0293116/
ส่วนหนังรักโรแมนติกของยุโรปประเทศอื่นๆ เท่าที่พอนึกออกตอนนี้ก็มี
AUSTRIA
ON THE OTHER SIDE OF THE BRIDGE (1992, HU MEI, B-)
http://www.imdb.com/title/tt0342040/
CZECH
1.THE RETURN OF THE IDIOTS (1999, SASA GEDEON, A+)
http://www.imdb.com/title/tt0145929/
2.LEA (1996, IVAN FILA, A)
http://www.imdb.com/title/tt0116844/
DENMARK
1.RECONSTRUCTION (2003, CHRISTOFFER BOE, A+)
http://www.imdb.com/title/tt0366943/
2.MIFUNE (1999, SOREN KRAGH-JACOBSEN, A-)
http://www.imdb.com/name/nm0469273/
FINLAND
SHADOWS IN PARADISE (1986, AKI KAURISMAKI, A-)
http://www.imdb.com/title/tt0092149/
GERMANY
1.ALI: FEAR EATS THE SOUL (1974, RAINER WERNER FASSBINDER, A)
http://www.imdb.com/title/tt0071141/
2.IN JULY (2000, FATIH AKIN, A)
http://www.imdb.com/title/tt0177858/
3.SKY WITHOUT STARS (1955, HELMUT KAUTNER, B+)
http://www.imdb.com/title/tt0048169/
4.TRIAL BY FIRE (1998, JANEK RIEKE, B+)
http://www.imdb.com/title/tt0118653/
5.FORGET AMERICA (2000, VANESSA JOPP, C+)
http://www.imdb.com/title/tt0248601/
6.MOSTLY MARTHA (2001, SANDRA NETTELBECK)
http://www.imdb.com/title/tt0246772/
7.THE PRINCESS AND THE WARRIOR (2000, TOM TYKWER)
http://www.imdb.com/title/tt0203632/
HUNGARY
DREAM CAR (2000, BARNA KABAY, C+)
http://www.imdb.com/title/tt0265317/
ITALY
1.AFTER MIDNIGHT (2004, DAVIDE FERRARIO, A+)
http://www.imdb.com/title/tt0402141/
2.THE HEART IS ELSEWHERE (2003, PUPI AVATI, A+)
http://www.imdb.com/title/tt0319237/
3.DEVIL IN THE FLESH (1986, MARCO BELLOCCHIO, A-)
http://www.imdb.com/title/tt0090944/
4.FACING WINDOW (2003, FERZAN OZPETEK, B)
http://www.imdb.com/title/tt0352343/
5.A JOURNEY CALLED LOVE (2002, MICHELE PLACIDO)
http://www.imdb.com/title/tt0296145/
NETHERLANDS
1.THE POLISH BRIDE (1998, KARIM TRAIDIA, A)
http://www.imdb.com/title/tt0142772/
2.THE CAVE (2001, MARTIN KOOLHOVEN, B-)
http://www.imdb.com/title/tt0239020/
POLAND
A SHORT FILM ABOUT LOVE (1988, KRZYSZTOF KIESLOWSKI, A+)
http://www.imdb.com/title/tt0095467/
PORTUGAL
LOVE AND TINY TOES (1993, LUIS FILIPE ROCHA, B+/B)
นำแสดงโดย JOAQUIM DE ALMEIDA ที่เล่นเป็นผู้ร้ายใน CLEAR AND PRESENT DANGER
http://www.imdb.com/title/tt0101335/
RUSSIA
1.YOU, I LOVE (2004, OLGA STOLPOVSKAJA + DMITRY TROITSKY, A) http://www.imdb.com/title/tt0402595/
2.BEAR’S KISS (2002, SERGEI BODROV, C+)
http://www.imdb.com/title/tt0283915/
SPAIN
1.TIERRA (1996, JULIO MEDEM, A)
http://www.imdb.com/title/tt0117909/
2.LOVERS (1991, VICENTE ARANDA, A)
http://www.imdb.com/title/tt0101317/
3.BELLE EPOQUE (1992, FERNANDO TRUEBA, A-)
http://www.imdb.com/title/tt0103791/
4.ALL MEN ARE THE SAME (1994, MANUEL GOMEZ PEREIRA, C+)
http://www.imdb.com/title/tt0108356/
SWEDEN
1.SHOW ME LOVE (1998, LUKAS MOODYSSON, A/A-)
http://www.imdb.com/title/tt0150662/
2.UNDER THE SUN (1998, COLIN NUTLEY, B+/B)
http://www.imdb.com/title/tt0158302/
SWITZERLAND
THE LACEMAKER (1977, CLAUDE GORETTA)
http://www.imdb.com/title/tt0075932/
UK (ดิฉันขอไม่พูดถึงหนังของฮิวจ์ แกรนท์ นะคะ เพราะคงรู้จักดีอยู่แล้ว)
1.CARLA’S SONG (1996, KEN LOACH, A+)
http://www.imdb.com/title/tt0115832/
2.MY BEAUTIFUL LAUNDRETTE (1985, STEPHEN FREARS, A+)
http://www.imdb.com/title/tt0091578/
3.THE HEART OF ME (2002, THADDEUS O’SULLIVAN, A+)
http://www.imdb.com/title/tt0301390/
4.MY NAME IS JOE (1998, KEN LOACH, A+/A)
http://www.imdb.com/title/tt0151691/
5.WHEN BRENDAN MET TRUDY (2000, KIERON J. WALSH, C+)
http://www.imdb.com/title/tt0220157/
6.LETTER TO BREZHNEV (1985, CHRIS BERNARD)
http://www.imdb.com/title/tt0089477/
หนังฝรั่งเศสที่ดิฉันได้ดูและดิฉันคิดว่าอาจเป็นหนังโรแมนติก หรือ http://www.imdb.com จัดให้อยู่ในกลุ่มหนัง ROMANCE ได้แก่เรื่อง
1.UN HOMME, UN VRAI (2003, ARNAUD LARRIEU + JEAN-MARIE LARRIEU, A+)
http://www.imdb.com/title/tt0329706/
2.AUTUMN TALE (1998, ERIC ROHMER, A+)
http://www.imdb.com/title/tt0137439/
3.A SUMMER’S TALE (1996, ERIC ROHMER, A+)
http://www.imdb.com/title/tt0115940/
4.HIROSHIMA, MON AMOUR (1959, ALAIN RESNAIS, A+)
http://www.imdb.com/title/tt0052893/
5.TWO ENGLISH GIRLS (1971, FRANCOIS TRUFFAUT, A+)
http://www.imdb.com/title/tt0066989/
6.JEANNE AND THE PERFECT GUY (1998, OLIVIER DUCASTEL + JACQUES MARTINEAU, A+)
http://www.imdb.com/title/tt0123923/
7.THE SCHOOL OF FLESH (1997, BENOIT JACQUOT, A+)
http://www.imdb.com/title/tt0157208/
8.A MAN AND A WOMAN (1966, CLAUDE LELOUCH, A+)
http://www.imdb.com/title/tt0061138/
9.BAD BLOOD (1986, LEOS CARAX, A+)
http://www.imdb.com/title/tt0091497/
10.VENUS BEAUTY INSTITUTE (1999, TONIE MARSHALL, A+)
http://www.imdb.com/title/tt0174330/
11.DIARY OF A SEDUCER (1998, DANIELE DUBROUX, A+)
http://www.imdb.com/title/tt0113489/
12.THE APARTMENT (1996, GILLES MIMOUNI, A+)
http://www.imdb.com/title/tt0115561/
13.THE UMBRELLAS OF CHERBOURG (1964, JACQUES DEMY, A+)
http://www.imdb.com/title/tt0058450/
14.DRUGSTORE ROMANCE (1979, PAUL VECCHIALI, A+)
http://www.imdb.com/title/tt0077371/
15.PRINCESS OF CLEVES (1960, JEAN DELANNOY, A+/A)
http://www.imdb.com/title/tt0054208/
16.THE LOVER (1992, JEAN-JACQUES ANNAUD, A+/A)
http://www.imdb.com/title/tt0101316/
17.WUTHERING HEIGHTS (1985, JACQUES RIVETTE, A+/A)
http://www.imdb.com/title/tt0089312/
18.RENDEZVOUS IN PARIS (1995, ERIC ROHMER, A)
http://www.imdb.com/title/tt0114266/
19.THE GIRL AT THE MONCEAU BAKERY (1963, ERIC ROHMER, A)
http://www.imdb.com/title/tt0056884/
20.CLAIRE’S KNEE (1970, ERIC ROHMER, A)
http://www.imdb.com/title/tt0065772/
21.THE COLLECTOR (1967, ERIC ROHMER, A)
http://www.imdb.com/title/tt0061495/
22.CHILDREN OF PARADISE (1945, MARCEL CARNE, A)
http://www.imdb.com/title/tt0037674/
23.ONLY GOD SEES ME (1998, BRUNO PODALYDES, A)
http://www.imdb.com/title/tt0118978/
24.GOLDEN MARIE (1952, JACQUES BECKER, A)
http://www.imdb.com/title/tt0043386/
25.AMELIE (2001, JEAN-PIERRE JEUNET, A)
http://www.imdb.com/title/tt0211915/
26.WHITE WEDDING (1989, JEAN-CLAUDE BRISSEAU, A)
http://www.imdb.com/title/tt0097995/
27.CHANGING TIMES (2004, ANDRE TECHINE, A)
http://www.imdb.com/title/tt0399738/
28.BREATHLESS (1960, JEAN-LUC GODARD, A/A-)
http://www.imdb.com/title/tt0053472/
29.LOVERS (1994, CATHERINE CORSINI, A/A-)
http://www.imdb.com/title/tt0109110/
30.THE GIRL ON THE BRIDGE (1999, PATRICE LECONTE, A-)
http://www.imdb.com/title/tt0144201/
31.THE WOMAN NEXT DOOR (1981, FRANCOIS TRUFFAUT, A-)
http://www.imdb.com/title/tt0082370/
32.PERFECT LOVE (1996, CATHERINE BREILLAT, A-)
http://www.imdb.com/title/tt0117296/
33.AN AMAZING COUPLE (2002, LUCAS BELVAUX, A-)
http://www.imdb.com/title/tt0234940/
34.A WORLD WITHOUT PITY (1989, ERIC ROCHANT, A-/B+)
http://www.imdb.com/title/tt0098552/
35.THE CHILDREN OF THE CENTURY (1995, DIANE KURYS, A-/B+)
http://www.imdb.com/title/tt0177746/
36.A WOMAN IS A WOMAN (1961, JEAN-LUC GODARD, B+)
http://www.imdb.com/title/tt0055572/
37.FANFAN (1993, ALEXANDRE JARDIN, B+)
http://www.imdb.com/title/tt0106866/
38.SILENCE IS GOLDEN (1947, RENE CLAIR, B+/B)
http://www.imdb.com/title/tt0039823/
39.ALL THE MORNINGS OF THE WORLD (1991, ALAIN CORNEAU, B+/B)
http://www.imdb.com/title/tt0103110/
40.CYRANO DE BERGERAC (1990, JEAN-PAUL RAPPENEAU, B+/B)
http://www.imdb.com/title/tt0099334/
41.LOVE AFTER LOVE (1992, DIANE KURYS, B+/B)
http://www.imdb.com/title/tt0103710/
42.MARIUS AND JEANNETTE (1997, ROBERT GUEDIGUIAN, B)
http://www.imdb.com/title/tt0119620/
หนังฝรั่งเศสที่ดิฉันอยากดูแต่ยังไม่ได้ดู และ http://www.imdb.com จัดให้อยู่ในประเภทหนัง ROMANCE ได้แก่เรื่อง
1.FEELINGS (2003, NOEMIE LVOVSKY)
http://www.imdb.com/title/tt0329584/
2.MAITRESSE (1973, BARBET SCHROEDER)
http://www.imdb.com/title/tt0074883/
3.THE HAIRDRESSER’S HUSBAND (1990, PATRICE LECONTE)
http://www.imdb.com/title/tt0100112/
4.THE LOVERS ON THE BRIDGE (1991, LEOS CARAX)
http://www.imdb.com/title/tt0101318/
5.STOLEN KISSES (1968, FRANCOIS TRUFFAUT)
http://www.imdb.com/title/tt0062695/
6.LOVE ON THE RUN (1979, FRANCOIS TRUFFAUT)
http://www.imdb.com/title/tt0078771/
7.NEAREST TO HEAVEN (2002, TONIE MARSHALL)
http://www.imdb.com/title/tt0290435/
8.STRAYED (2003, ANDRE TECHINE)
http://www.imdb.com/title/tt0329111/
9.LOVE, ETC. (1996, MARION VERNOUX)
http://www.imdb.com/title/tt0116932/
10.MALADY OF LOVE (1987, JACQUES DERAY)
http://www.imdb.com/title/tt0093481/
11.JET LAG (2002, DANIELE THOMPSON)
http://www.imdb.com/title/tt0293116/
ส่วนหนังรักโรแมนติกของยุโรปประเทศอื่นๆ เท่าที่พอนึกออกตอนนี้ก็มี
AUSTRIA
ON THE OTHER SIDE OF THE BRIDGE (1992, HU MEI, B-)
http://www.imdb.com/title/tt0342040/
CZECH
1.THE RETURN OF THE IDIOTS (1999, SASA GEDEON, A+)
http://www.imdb.com/title/tt0145929/
2.LEA (1996, IVAN FILA, A)
http://www.imdb.com/title/tt0116844/
DENMARK
1.RECONSTRUCTION (2003, CHRISTOFFER BOE, A+)
http://www.imdb.com/title/tt0366943/
2.MIFUNE (1999, SOREN KRAGH-JACOBSEN, A-)
http://www.imdb.com/name/nm0469273/
FINLAND
SHADOWS IN PARADISE (1986, AKI KAURISMAKI, A-)
http://www.imdb.com/title/tt0092149/
GERMANY
1.ALI: FEAR EATS THE SOUL (1974, RAINER WERNER FASSBINDER, A)
http://www.imdb.com/title/tt0071141/
2.IN JULY (2000, FATIH AKIN, A)
http://www.imdb.com/title/tt0177858/
3.SKY WITHOUT STARS (1955, HELMUT KAUTNER, B+)
http://www.imdb.com/title/tt0048169/
4.TRIAL BY FIRE (1998, JANEK RIEKE, B+)
http://www.imdb.com/title/tt0118653/
5.FORGET AMERICA (2000, VANESSA JOPP, C+)
http://www.imdb.com/title/tt0248601/
6.MOSTLY MARTHA (2001, SANDRA NETTELBECK)
http://www.imdb.com/title/tt0246772/
7.THE PRINCESS AND THE WARRIOR (2000, TOM TYKWER)
http://www.imdb.com/title/tt0203632/
HUNGARY
DREAM CAR (2000, BARNA KABAY, C+)
http://www.imdb.com/title/tt0265317/
ITALY
1.AFTER MIDNIGHT (2004, DAVIDE FERRARIO, A+)
http://www.imdb.com/title/tt0402141/
2.THE HEART IS ELSEWHERE (2003, PUPI AVATI, A+)
http://www.imdb.com/title/tt0319237/
3.DEVIL IN THE FLESH (1986, MARCO BELLOCCHIO, A-)
http://www.imdb.com/title/tt0090944/
4.FACING WINDOW (2003, FERZAN OZPETEK, B)
http://www.imdb.com/title/tt0352343/
5.A JOURNEY CALLED LOVE (2002, MICHELE PLACIDO)
http://www.imdb.com/title/tt0296145/
NETHERLANDS
1.THE POLISH BRIDE (1998, KARIM TRAIDIA, A)
http://www.imdb.com/title/tt0142772/
2.THE CAVE (2001, MARTIN KOOLHOVEN, B-)
http://www.imdb.com/title/tt0239020/
POLAND
A SHORT FILM ABOUT LOVE (1988, KRZYSZTOF KIESLOWSKI, A+)
http://www.imdb.com/title/tt0095467/
PORTUGAL
LOVE AND TINY TOES (1993, LUIS FILIPE ROCHA, B+/B)
นำแสดงโดย JOAQUIM DE ALMEIDA ที่เล่นเป็นผู้ร้ายใน CLEAR AND PRESENT DANGER
http://www.imdb.com/title/tt0101335/
RUSSIA
1.YOU, I LOVE (2004, OLGA STOLPOVSKAJA + DMITRY TROITSKY, A) http://www.imdb.com/title/tt0402595/
2.BEAR’S KISS (2002, SERGEI BODROV, C+)
http://www.imdb.com/title/tt0283915/
SPAIN
1.TIERRA (1996, JULIO MEDEM, A)
http://www.imdb.com/title/tt0117909/
2.LOVERS (1991, VICENTE ARANDA, A)
http://www.imdb.com/title/tt0101317/
3.BELLE EPOQUE (1992, FERNANDO TRUEBA, A-)
http://www.imdb.com/title/tt0103791/
4.ALL MEN ARE THE SAME (1994, MANUEL GOMEZ PEREIRA, C+)
http://www.imdb.com/title/tt0108356/
SWEDEN
1.SHOW ME LOVE (1998, LUKAS MOODYSSON, A/A-)
http://www.imdb.com/title/tt0150662/
2.UNDER THE SUN (1998, COLIN NUTLEY, B+/B)
http://www.imdb.com/title/tt0158302/
SWITZERLAND
THE LACEMAKER (1977, CLAUDE GORETTA)
http://www.imdb.com/title/tt0075932/
UK (ดิฉันขอไม่พูดถึงหนังของฮิวจ์ แกรนท์ นะคะ เพราะคงรู้จักดีอยู่แล้ว)
1.CARLA’S SONG (1996, KEN LOACH, A+)
http://www.imdb.com/title/tt0115832/
2.MY BEAUTIFUL LAUNDRETTE (1985, STEPHEN FREARS, A+)
http://www.imdb.com/title/tt0091578/
3.THE HEART OF ME (2002, THADDEUS O’SULLIVAN, A+)
http://www.imdb.com/title/tt0301390/
4.MY NAME IS JOE (1998, KEN LOACH, A+/A)
http://www.imdb.com/title/tt0151691/
5.WHEN BRENDAN MET TRUDY (2000, KIERON J. WALSH, C+)
http://www.imdb.com/title/tt0220157/
6.LETTER TO BREZHNEV (1985, CHRIS BERNARD)
http://www.imdb.com/title/tt0089477/
MO HAYDER
ไม่ชอบการว๊ากเหมือนกัน
ชอบ EVIL (A+) และ NIGHT AND FOG (A+) มาก
ถ้าชอบหนังสงครามแนว NIGHT AND FOG หนังอีกสองเรื่องที่เหมาะนำมาดูด้วยกันก็คือ
1.COME AND SEE (1985, ELEM KLIMOV, A+)
http://www.imdb.com/title/tt0091251/
หนังมีเนื้อหาเกี่ยวกับความโหดร้ายที่ทหารนาซีกระทำกับชาวบ้านใน BYELORUSSIA แต่ถ่ายทำออกมาได้สวยงามมากๆ
(สำหรับ COME AND SEE นั้น สิ่งที่น่าสลดใจที่สุดไม่ได้อยู่แค่ในหนังเรื่องนี้เท่านั้น แต่อยู่ที่ความเป็นจริงในปัจจุบัน เพราะในหนังเรื่อง COME AND SEE เราจะเห็นว่านาซีเคยทำร้ายคนในแถบโซเวียตอย่างรุนแรงมากในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง แต่ในปัจจุบันนี้นั้น รัสเซียกลับเป็นหนึ่งในประเทศที่มีปัญหา “นีโอนาซี” รุนแรงที่สุด (เข้าใจว่ารุนแรงกว่าในเยอรมนีเสียอีก)โดยพวกนีโอนาซีในรัสเซียเน้นฆ่าคนที่มีหน้าตาเอเชีย, คนผิวดำ, คนที่ไม่ใช่ผิวขาว เพื่อนดิฉันที่ไปเที่ยวที่รัสเซียเมื่อไม่กี่ปีก่อนเห็นข่าวคนถูกนีโอนาซีฆ่าตายลงหนังสือพิมพ์บ่อยมาก แม้แต่ดิฉันเองที่อยู่เมืองไทย ก็ยังได้อ่านข่าวทำนองนี้อยู่เหมือนกัน หนึ่งในข่าวที่ฝังใจดิฉันก็คือข่าวเด็กผู้หญิงชาวอาเซอร์ไบจันอายุเพียงแค่ 9 ขวบ ถูกกลุ่มนีโอนาซีแทงตายในเมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก)
2.DON’T CRY NANKING (1995, WU ZINIU, A+) เกี่ยวกับความโหดร้ายที่ทหารญี่ปุ่นกระทำกับชาวจีน แต่รู้สึกว่าความโหดร้ายในหนังเรื่องนี้คงน้อยกว่าเหตุการณ์จริงหลายร้อยหลายพันเท่า คิดว่าหนังเรื่องนี้คงหาดูได้ในแบบวีซีดีลิขสิทธิ์
http://www.imdb.com/title/tt0113930/
ส่วนนิยายที่อยากอ่านในตอนนี้คือเรื่อง THE DEVIL OF NANKING ของ MO HAYDER ที่มีการเล่าเรื่องตัดสลับกันระหว่างเหตุการณ์ในนานกิงปี 1937 กับเหตุการณ์ในญี่ปุ่นยุคปัจจุบัน
http://www.amazon.com/exec/obidos/ASIN/0802117945/qid=1119078368/sr=2-1/ref=pd_bbs_b_2_1/002-4246467-6252016
ชอบ EVIL (A+) และ NIGHT AND FOG (A+) มาก
ถ้าชอบหนังสงครามแนว NIGHT AND FOG หนังอีกสองเรื่องที่เหมาะนำมาดูด้วยกันก็คือ
1.COME AND SEE (1985, ELEM KLIMOV, A+)
http://www.imdb.com/title/tt0091251/
หนังมีเนื้อหาเกี่ยวกับความโหดร้ายที่ทหารนาซีกระทำกับชาวบ้านใน BYELORUSSIA แต่ถ่ายทำออกมาได้สวยงามมากๆ
(สำหรับ COME AND SEE นั้น สิ่งที่น่าสลดใจที่สุดไม่ได้อยู่แค่ในหนังเรื่องนี้เท่านั้น แต่อยู่ที่ความเป็นจริงในปัจจุบัน เพราะในหนังเรื่อง COME AND SEE เราจะเห็นว่านาซีเคยทำร้ายคนในแถบโซเวียตอย่างรุนแรงมากในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง แต่ในปัจจุบันนี้นั้น รัสเซียกลับเป็นหนึ่งในประเทศที่มีปัญหา “นีโอนาซี” รุนแรงที่สุด (เข้าใจว่ารุนแรงกว่าในเยอรมนีเสียอีก)โดยพวกนีโอนาซีในรัสเซียเน้นฆ่าคนที่มีหน้าตาเอเชีย, คนผิวดำ, คนที่ไม่ใช่ผิวขาว เพื่อนดิฉันที่ไปเที่ยวที่รัสเซียเมื่อไม่กี่ปีก่อนเห็นข่าวคนถูกนีโอนาซีฆ่าตายลงหนังสือพิมพ์บ่อยมาก แม้แต่ดิฉันเองที่อยู่เมืองไทย ก็ยังได้อ่านข่าวทำนองนี้อยู่เหมือนกัน หนึ่งในข่าวที่ฝังใจดิฉันก็คือข่าวเด็กผู้หญิงชาวอาเซอร์ไบจันอายุเพียงแค่ 9 ขวบ ถูกกลุ่มนีโอนาซีแทงตายในเมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก)
2.DON’T CRY NANKING (1995, WU ZINIU, A+) เกี่ยวกับความโหดร้ายที่ทหารญี่ปุ่นกระทำกับชาวจีน แต่รู้สึกว่าความโหดร้ายในหนังเรื่องนี้คงน้อยกว่าเหตุการณ์จริงหลายร้อยหลายพันเท่า คิดว่าหนังเรื่องนี้คงหาดูได้ในแบบวีซีดีลิขสิทธิ์
http://www.imdb.com/title/tt0113930/
ส่วนนิยายที่อยากอ่านในตอนนี้คือเรื่อง THE DEVIL OF NANKING ของ MO HAYDER ที่มีการเล่าเรื่องตัดสลับกันระหว่างเหตุการณ์ในนานกิงปี 1937 กับเหตุการณ์ในญี่ปุ่นยุคปัจจุบัน
http://www.amazon.com/exec/obidos/ASIN/0802117945/qid=1119078368/sr=2-1/ref=pd_bbs_b_2_1/002-4246467-6252016
Thursday, June 16, 2005
ASSUALT ON THE PRECINCT 13 (A+)
ชอบที่คุณ grappa เขียนมากเลยค่ะ ขณะที่ดิฉันดู RED LIGHTS ดิฉันไม่ทันเฉลียวใจเลยว่ามีความเป็นไปได้ที่เหตุการณ์อาจเป็นเพียงจินตนาการได้ด้วย แต่ก็สงสัยอยู่เหมือนกันว่าแล้วตำรวจปล่อยให้ผู้ร้ายหนุ่มหล่อผ่านด่านตรวจไปได้ยังไง พอได้อ่านที่คุณ grappa เขียน ก็เลยเข้าใจมากยิ่งขึ้นค่ะ
สรุปอันดับเทศกาลหนังฝรั่งเศสปีนี้ค่ะ
1.RED LIGHTS (2003, CEDRIC KAHN, A+)
2.ARSENE LUPIN (2004, JEAN-PAUL SALOME, A+)
3.LOOK AT ME (2004, AGNES JAOUI, A+)
4.THE LAST TRAPPER (2004, NICOLAS VANIER, A)
5.I’VE BEEN WAITING SO LONG (2004, THIRRY KLIFA, A)
ความรู้สึกชอบหนังเรื่องนี้เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆเมื่อเวลาผ่านไป และอาจจะไต่ขึ้นไปอีกในอนาคต
6.CHANGING TIMES (2004, ANDRE TECHINE, A )
หนังเรื่องนี้มีเนื้อหาบางส่วนเกี่ยวกับเกย์
7.THE LIGHT (2004, PHILIPPE LIORET, A)
8.HAPPILY EVER AFTER (2004, YVAN ATTAL, A-)
9.NARCO (THE SECRET ADVENTURES OF GUSTAVE KLOPP) (2004, GILLES LELLOUCHE + TRISTAN AUROUET, A-/B+)
ส่วน IZNOGOUD คงไม่ได้ดู เพราะวันอาทิตย์นี้กะว่าจะไปดูหนังที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เรื่อง THE POINTSMAN ตอนบ่ายโมง กับเรื่องTWISTER (1990, MICHAEL ALMEREYDA) ตอนบ่ายสามโมงค่ะ
วันนี้ได้ดูเรื่อง ASSUALT ON THE PRECINCT 13 (2005, JEAN-FRANCOIS RICHET, A+) ด้วยค่ะ
JEAN-FRANCOIS RICHET เคยกำกับหนังเรื่อง ETAT DES LIEUX (1995, A+) ถ้าจำไม่ผิด ในหนังเรื่อง ETAT DES LIEUX มีการพาดพิงถึงประเทศไทยด้วย
ข้อมูลเกี่ยวกับ ETAT DES LIEUX
http://www.imdb.com/title/tt0115079/
ข้อมูลเกี่ยวกับ JEAN-FRANCOIS RICHET
http://www.imdb.com/name/nm0724938/
หนังของ JEAN-FRANCOIS RICHET อีกเรื่องที่น่าดูอย่างสุดๆคือ MA 6-T VA CRACK-ER (1997)
http://www.imdb.com/title/tt0119589/
ขอบคุณคุณ grappa มากค่ะที่แจ้งข่าวเรื่องหนัง L’EXPERIENCE PREHISTORIQUE ของ CHRISTELLE LHEUREUX หนังน่าดูอย่างสุดๆเลยค่ะ
ก่อนหน้านี้เคยมีหนังเรื่อง KUALA ZONE (2002, A) ของ CHRISTELLE LHEUREUX เข้ามาฉายในกรุงเทพ โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับคนที่นั่งรถไปด้วยกัน และมีเสียงผู้ชายคนนึงเล่าเรื่องให้ผู้หญิงคนนึงฟัง ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าเสียงผู้ชายในหนังเรื่องนี้เป็นเสียงของคุณ APICHATPONG WEERASETHAKUL หรือเปล่า
เข้าใจว่า KUALA ZONE ซึ่งมีความยาวประมาณ 4 นาที จะเป็นคนละเรื่องกับ KUALA (2001) ที่กำกับโดย CHRISTELLE LHEUREUX เหมือนกัน แต่ดิฉันยังไม่เคยดู KUALA (2001) ค่ะ
อ่านข้อมูลเกี่ยวกับหนังเรื่อง L’EXPERIENCE PREHISTORIQUE ที่จะมาฉายในวันพุธที่ 22 มิ.ย.ได้ที่http://christelle.lheureux.free.fr/ANGLAIS/GionAnglais/Gion.html
สรุปอันดับเทศกาลหนังฝรั่งเศสปีนี้ค่ะ
1.RED LIGHTS (2003, CEDRIC KAHN, A+)
2.ARSENE LUPIN (2004, JEAN-PAUL SALOME, A+)
3.LOOK AT ME (2004, AGNES JAOUI, A+)
4.THE LAST TRAPPER (2004, NICOLAS VANIER, A)
5.I’VE BEEN WAITING SO LONG (2004, THIRRY KLIFA, A)
ความรู้สึกชอบหนังเรื่องนี้เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆเมื่อเวลาผ่านไป และอาจจะไต่ขึ้นไปอีกในอนาคต
6.CHANGING TIMES (2004, ANDRE TECHINE, A )
หนังเรื่องนี้มีเนื้อหาบางส่วนเกี่ยวกับเกย์
7.THE LIGHT (2004, PHILIPPE LIORET, A)
8.HAPPILY EVER AFTER (2004, YVAN ATTAL, A-)
9.NARCO (THE SECRET ADVENTURES OF GUSTAVE KLOPP) (2004, GILLES LELLOUCHE + TRISTAN AUROUET, A-/B+)
ส่วน IZNOGOUD คงไม่ได้ดู เพราะวันอาทิตย์นี้กะว่าจะไปดูหนังที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เรื่อง THE POINTSMAN ตอนบ่ายโมง กับเรื่องTWISTER (1990, MICHAEL ALMEREYDA) ตอนบ่ายสามโมงค่ะ
วันนี้ได้ดูเรื่อง ASSUALT ON THE PRECINCT 13 (2005, JEAN-FRANCOIS RICHET, A+) ด้วยค่ะ
JEAN-FRANCOIS RICHET เคยกำกับหนังเรื่อง ETAT DES LIEUX (1995, A+) ถ้าจำไม่ผิด ในหนังเรื่อง ETAT DES LIEUX มีการพาดพิงถึงประเทศไทยด้วย
ข้อมูลเกี่ยวกับ ETAT DES LIEUX
http://www.imdb.com/title/tt0115079/
ข้อมูลเกี่ยวกับ JEAN-FRANCOIS RICHET
http://www.imdb.com/name/nm0724938/
หนังของ JEAN-FRANCOIS RICHET อีกเรื่องที่น่าดูอย่างสุดๆคือ MA 6-T VA CRACK-ER (1997)
http://www.imdb.com/title/tt0119589/
ขอบคุณคุณ grappa มากค่ะที่แจ้งข่าวเรื่องหนัง L’EXPERIENCE PREHISTORIQUE ของ CHRISTELLE LHEUREUX หนังน่าดูอย่างสุดๆเลยค่ะ
ก่อนหน้านี้เคยมีหนังเรื่อง KUALA ZONE (2002, A) ของ CHRISTELLE LHEUREUX เข้ามาฉายในกรุงเทพ โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับคนที่นั่งรถไปด้วยกัน และมีเสียงผู้ชายคนนึงเล่าเรื่องให้ผู้หญิงคนนึงฟัง ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าเสียงผู้ชายในหนังเรื่องนี้เป็นเสียงของคุณ APICHATPONG WEERASETHAKUL หรือเปล่า
เข้าใจว่า KUALA ZONE ซึ่งมีความยาวประมาณ 4 นาที จะเป็นคนละเรื่องกับ KUALA (2001) ที่กำกับโดย CHRISTELLE LHEUREUX เหมือนกัน แต่ดิฉันยังไม่เคยดู KUALA (2001) ค่ะ
อ่านข้อมูลเกี่ยวกับหนังเรื่อง L’EXPERIENCE PREHISTORIQUE ที่จะมาฉายในวันพุธที่ 22 มิ.ย.ได้ที่http://christelle.lheureux.free.fr/ANGLAIS/GionAnglais/Gion.html
batman begins (a+)
เนื่องด้วยร้านเน็ทจะปิดแล้ว วันนี้ก็เลยยังไม่มีเวลาเขียนอะไรอีกตามเคย แต่ก็มีความสุขมากๆที่ได้อ่านที่ทุกคนเขียนค่ะ
หนังที่ได้ดูในช่วงวันอังคาร, พุธ
1.BATMAN BEGINS (2005, CHRISTOPHER NOLAN, A+)
2.THE LAST TRAPPER (2004, NICOLAS VANIER, A)
3.โคตรคนสามคม หรือ DIVERGENCE (2005, BENNY CHAN, A)
http://www.imdb.com/title/tt0455195/
4.โคตรเพชฌฆาต หรือ THE BRUTAL RIVER (2005, อนัต ยวงเงิน, A-)
5.NARCO (THE SECRET ADVENTURES OF GUSTAVE KLOPP) (2004, GILLES LELLOUCHE + TRISTAN AUROUET, A-/B+)
วันนี้ไปร้านคิโนะคุนิยะ เอ็มโพเรียม เพื่อซื้อ FILM COMMENT เล่มเดือน MAY/JUNE แล้วก็เลยเห็นหนังสือน่าสนใจ 4 เล่ม แต่ไม่ได้ซื้อมา เพราะไม่รู้ว่าจะมีเวลาอ่านเมื่อไหร่
หนังสือน่าสนใจ 4 เล่มนี้ก็คือ
1.ANDY WARHOL: MOTION PICTURES
http://www.amazon.com/exec/obidos/ASIN/3980426548/qid=1118860048/sr=2-1/ref=pd_bbs_b_2_1/103-3342986-6062251
2.JOHN WATERS: CHANGE OF LIFE
http://www.amazon.com/exec/obidos/ASIN/0810943069/qid=1118859916/sr=2-2/ref=pd_bbs_b_2_2/103-3342986-6062251
3.REVOLUTION: THE EXPLOSION OF WORLD CINEMA IN THE SIXTIES
BY PETER COWIE
http://www.amazon.com/exec/obidos/ASIN/0571209033/qid=1118860139/sr=2-1/ref=pd_bbs_b_2_1/103-3342986-6062251
4.GAY CINEMATHERAPY: THE QUEER GUY’S GUIDE TO FINDING YOUR RAINBOW ONE MOVIE AT A TIME
BY JASON BERGUND + BEVERLY WEST
http://www.amazon.com/exec/obidos/ASIN/0789310546/qid=1118859705/sr=2-1/ref=pd_bbs_b_2_1/103-3342986-6062251
หนังที่ได้ดูในช่วงวันอังคาร, พุธ
1.BATMAN BEGINS (2005, CHRISTOPHER NOLAN, A+)
2.THE LAST TRAPPER (2004, NICOLAS VANIER, A)
3.โคตรคนสามคม หรือ DIVERGENCE (2005, BENNY CHAN, A)
http://www.imdb.com/title/tt0455195/
4.โคตรเพชฌฆาต หรือ THE BRUTAL RIVER (2005, อนัต ยวงเงิน, A-)
5.NARCO (THE SECRET ADVENTURES OF GUSTAVE KLOPP) (2004, GILLES LELLOUCHE + TRISTAN AUROUET, A-/B+)
วันนี้ไปร้านคิโนะคุนิยะ เอ็มโพเรียม เพื่อซื้อ FILM COMMENT เล่มเดือน MAY/JUNE แล้วก็เลยเห็นหนังสือน่าสนใจ 4 เล่ม แต่ไม่ได้ซื้อมา เพราะไม่รู้ว่าจะมีเวลาอ่านเมื่อไหร่
หนังสือน่าสนใจ 4 เล่มนี้ก็คือ
1.ANDY WARHOL: MOTION PICTURES
http://www.amazon.com/exec/obidos/ASIN/3980426548/qid=1118860048/sr=2-1/ref=pd_bbs_b_2_1/103-3342986-6062251
2.JOHN WATERS: CHANGE OF LIFE
http://www.amazon.com/exec/obidos/ASIN/0810943069/qid=1118859916/sr=2-2/ref=pd_bbs_b_2_2/103-3342986-6062251
3.REVOLUTION: THE EXPLOSION OF WORLD CINEMA IN THE SIXTIES
BY PETER COWIE
http://www.amazon.com/exec/obidos/ASIN/0571209033/qid=1118860139/sr=2-1/ref=pd_bbs_b_2_1/103-3342986-6062251
4.GAY CINEMATHERAPY: THE QUEER GUY’S GUIDE TO FINDING YOUR RAINBOW ONE MOVIE AT A TIME
BY JASON BERGUND + BEVERLY WEST
http://www.amazon.com/exec/obidos/ASIN/0789310546/qid=1118859705/sr=2-1/ref=pd_bbs_b_2_1/103-3342986-6062251
Tuesday, June 14, 2005
RED LIGHTS (A+)
ได้ดู THE MIRROR (A), LOOK AT ME (A+) กับ RED LIGHTS (A+) ค่ะ ชอบ RED LIGHTS มากๆ เพราะรู้สึกอินไปกับเรื่องและลุ้นไปกับตัวละครตลอดเวลา ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะว่าตัวเองมีแนวโน้มที่จะรู้สึกอินกับหนังทำนองนี้อยู่แล้ว
ความรู้สึกจากการได้ดู RED LIGHTS
1.ชอบอารมณ์ของพระเอกกับนางเอกในช่วงต้นเรื่องมาก เป็นอารมณ์ขึ้งเคียด เย็นชา มึนตึง เกลียดชัง ไม่เข้าใจซึ่งกันและกัน ขณะที่ดูก็กลัวมากๆว่าพระเอกกับนางเอกจะต้องควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ไหวและลุกขึ้นมาฆ่ากันเองในช่วงต่อมา และจุดนี้ทำให้ดิฉันรู้สึกเครียดและกลัวขณะที่ดูหนังเรื่องนี้มากเป็นพิเศษ และทำให้ความรู้สึกที่มีต่อหนังเรื่องนี้แตกต่างไปจากความรู้สึกขณะที่ดูหนังประเภท “ตัวละครเลี้ยวรถผิดทาง แล้วก็เลยไปเจอกับฆาตกรโรคจิต” เรื่องอื่นๆ เพราะในขณะที่ดูหนังกลุ่มหลังนั้น ดิฉันจะรู้สึกว่า “อันตรายในหนังกลุ่มนี้จะมาจากฆาตกรโรคจิต” เท่านั้น และ “ตัวละครที่เลี้ยวรถผิดทาง หรือตัดสินใจผิดพลาด” มีฐานะเป็นเพียงแค่เหยื่อ แต่ใน RED LIGHTS นั้น ช่วงต้นๆของหนังเรื่องนี้ ทำให้ดิฉันเดาไม่ถูกว่า “ใครจะฆ่าใคร”, “ใครจะกลายเป็นฆาตกร” และ “ใครจะกลายเป็นเหยื่อ” เพราะตัวละครนำทุกตัวในหนังเรื่องนี้ทำให้ดิฉันรู้สึกว่าพวกเขาต่างก็มีศักยภาพที่จะกลายเป็นฆาตกรทั้งสิ้น โทสะและความเกลียดชังที่ซ่อนอยู่ในตัวพระเอกนางเอกทำให้ดิฉันรู้สึกว่า “อันตราย” มันพร้อมจะออกมา”จากข้างใน”ตัวพระเอกนางเอกได้ทุกเมื่อ แทนที่จะอันตรายมันจะมาแต่จาก “ภายนอก” เหมือนในหนังเรื่องอื่นๆ นอกจากนี้ “อันตราย” ที่ดิฉันรู้สึกอย่างรุนแรงในหนังเรื่องนี้ ยังไม่ได้มีแต่เพียง “อันตรายจากการทำร้ายร่างกาย” เท่านั้น แต่ดิฉันยังรู้สึกกลัว “อันตรายจากการทำร้ายจิตใจซึ่งกันและกันอย่างทารุณ” ระหว่างตัวละครด้วย
2.ชอบอารมณ์ของนางเอกตอนตวาดใส่พระเอกในช่วงต้นเรื่องอย่างมากๆ และก็ชอบการตัดสินใจของนางเอกในช่วงกลางเรื่องอย่างมากๆ
3.ฉากโทรศัพท์ในเรื่องนี้เป็นฉากที่ประทับใจดิฉันอย่างรุนแรงมากๆ ในช่วงหลังของเรื่องนี้ ดิฉันจะรู้สึกอินกับ “การรอคอย” ที่จะรู้ความจริงของตัวละครอย่างมากๆ รู้สึกว่าช่วงเวลาเพียงแค่ไม่กี่นาทีในหนังเรื่องนี้ ก่อนที่ตัวละครจะรู้ข้อมูลที่ตัวเองแสวงหา มันเป็นช่วงเวลาที่ทรมานใจ กระวนกระวายใจ และช่างยาวนานอย่างเหลือคณานับ ทั้งๆที่จริงๆแล้วมันกินเวลาแค่ไม่กี่นาทีเท่านั้นเอง
4.ชอบบรรยากาศของเรื่องค่ะ โดยเฉพาะภาพท้องถนนชนบทยามค่ำคืนที่มีเสน่ห์น่าหลงใหลในแบบลี้ลับ
5.ชอบอารมณ์ความรู้สึกของพระเอกค่ะ บอกไม่ถูกเหมือนกันว่าทำไม มันมีทั้งความเกลียด, ความรัก, ความชอบ, ความชิงชัง, ความอยากผูกพัน, ความอยากเป็นอิสระ, ความรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจ, ความอยากเอาชนะ, ความรู้สึกผิดบาป, ความอยากประชดชีวิต, การทำผิดทั้งๆที่รู้ว่าผิด, การพยายามทำในสิ่งที่ถูกแต่ทำไม่สำเร็จ
6.ตัวละครพระเอกในหนังเรื่องนี้ ทำให้นึกถึงตัวละครพระเอกใน RAILWAY BAR หรือ BAR DES RAILS (1991, A+) ที่กำกับโดย CEDRIC KAHN เหมือนกัน ถึงแม้ว่าในความเป็นจริงแล้วพระเอกในหนังสองเรื่องนี้แทบไม่ได้คล้ายกันเลย แต่ดิฉันก็รู้สึกประทับใจกับอารมณ์ “ขึ้งเคียด” ของพระเอกในหนังสองเรื่องนี้อย่างมากๆ ดิฉันรู้สึกว่าพระเอกในหนังสองเรื่องนี้มันช่างเป็นมนุษย์ปุถุชนที่เต็มไปด้วยข้อบกพร่องเสียจริงๆ พวกเขาไม่ใช่คนเลว แต่ดิฉันก็รู้สึกว่าพวกเขามีสภาพจิตใจที่หมิ่นเหม่และพร้อมที่จะร่วงลงสู่ความเป็นคนเลวถ้าหากเจอสถานการณ์ที่บีบคั้นจริงๆ พวกเขาดูเหมือนจะไม่เข้าใจตนเองและคนใกล้ตัว พวกเขาไม่รู้ว่าจะทำยังไงถึงจะสร้างความพึงพอใจให้กับตนเองและคนที่ตนเองชอบได้ อารมณ์ “ไม่พอใจกับชีวิต” ที่คุกรุ่นอยู่ในตัวพระเอกหนังสองเรื่องนี้อยู่ตลอดเวลาคือสิ่งที่โดนใจดิฉันมากๆค่ะ พระเอกของหนังสองเรื่องนี้เป็นผู้ชายที่ดิฉันรู้สึกว่าไม่อยากเข้าใกล้, ไม่น่าพิสมัย และอยากหนีออกห่างถ้าหากเจอในชีวิตจริง แต่ก็รู้สึกว่าพวกเขาเป็นคนธรรมดาที่น่าสงสารเวทนาในขณะเดียวกัน
ฉากที่ฝังใจดิฉันมากที่สุดใน BAR DES RAILS คือฉากที่พระเอกทำร้ายร่างกายเด็กผู้หญิงตัวเล็กๆอย่างไม่มีสาเหตุอันสมควร ฉากนี้ทำให้ดิฉันรู้สึกว่าเขาเป็นคนที่มี “ความเลวที่น่ากลัวบางอย่างซ่อนอยู่ในตัว” แต่ก็ไม่สามารถเรียกเขาว่าเป็นคนเลวได้อย่างถนัดปาก เพราะโดยรวมแล้ว เขาก็ยังดูเหมือนคนธรรมดาที่มีแต่ความทุกข์อยู่ในใจเป็นเนืองนิจมากกว่า และความทุกข์ความคับข้องใจของพระเอกหนังสองเรื่องนี้ อาจจะเป็นสาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้เขาเผลอทำร้าย (จิตใจ) คนใกล้ตัวโดยไม่ได้ตั้งใจ
ดูข้อมูลของ BAR DES RAILS ได้ที่
http://www.imdb.com/title/tt0101407/
7.ชอบหน้าตาของ CEDRIC KAHN ค่ะ (เกี่ยวกับหนังมั้ยเนี่ย)
http://dvdtoile.com/Filmographie.php?id=1457
http://cinema.telerama.fr/edito/cannes01/magazine/kahn/khan.jpg
เกร็ดเกี่ยวกับ RED LIGHTS
1.LAURENCE FERREIRA BARBOSA ซึ่งร่วมเขียนบทหนังเรื่อง RED LIGHTS เป็นผู้กำกับหนังด้วยเช่นกัน ผลงานการกำกับของเธอรวมถึงเรื่อง
http://www.imdb.com/name/nm0274262/
1.1 MODERN LIFE (2000, A+)
http://www.imdb.com/title/tt0217132/
หนังเรื่องนี้เคยมาฉายทางเคเบิลทีวีช่อง TV5 และเล่าเรื่องราวชีวิตของตัวละครสามคนที่แทบไม่เกี่ยวข้องกันเลย แต่ดิฉันรู้สึกว่าอารมณ์ของตัวละครแต่ละตัวในเรื่องมันดูเข้ากันได้ดีอย่างบอกไม่ถูก หนังเรื่องนี้นำแสดงโดย ISABELLE HUPPERT และ LOLITA CHAMMAH ซึ่งเป็นลูกสาวในชีวิตจริงของ HUPPERT
LOLITA CHAMMAH เคยแสดงหนังร่วมกับแม่ในเรื่อง MALINA (1991, WERNER SCHROETER, A+) และ STORY OF WOMEN (1988, CLAUDE CHABROL, A) ด้วย และล่าสุดนี้เธอได้เล่นหนังเรื่อง 18 YEARS AFTER (2003, COLINE SERREAU, B-) และ THE INTRUDER (2004, CLAIRE DENIS)
1.2 THERE’S NOTHING SPECIAL ABOUT NORMAL PEOPLE (1993, A-/B+)
หนังเรื่องนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับสาวบ้า โดยมี VALERIE BRUNI TEDESCHI กับ SANDRINE KIBERLAIN มาบ้าด้วยกันในเรื่องนี้ แต่หนังเรื่องนี้เป็นหนังเบาสมองที่ดูง่ายและให้อารมณ์ค่อนไปทางกุ๊กกิ๊กใสๆ
2.RED LIGHTS สร้างจากนิยายของ GEORGES SIMENON ถ้าสนใจเรื่องราวหนังของ GEORGES SIMENON สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากหนังสือ “ฟิล์มไวรัส เล่ม 1” ซึ่งมีขายที่ร้านคิโนะคุนิยะ เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ค่ะ
หนังของ GEORGES SIMENON ที่ดิฉันเคยดูก็คือเรื่อง THE WIDOW COUDERC (1971, PIERRE GRANIER-DEFERRE, A-/B+)
http://www.imdb.com/title/tt0067943/
THE WIDOW COUDERC มีเนื้อหาเกี่ยวกับแม่ม่ายวัยดึก (SIMONE SIGNORET) ที่จ้างหนุ่มหล่อ (ALAIN DELON) ให้มาทำงานในบ้านของเธอ โฮะ โฮะ โฮะ ดิฉันชอบหนังที่มีตัวละครทำนองนี้ค่ะ แต่นี่ไม่ใช่หนังโรแมนติกเบาสมองหรืออีโรติกแต่อย่างใด แต่เป็นหนังดรามาเกี่ยวกับตัวละครที่เจ็บปวดทุกข์ใจ และอยากจะทำให้ชีวิตตัวเองมีความสุขแต่ก็ดูเหมือนจะไม่สามารถทำได้
ขณะที่ดู RED LIGHTS ในช่วงแรกๆ ดิฉันรู้สึกว่าตัวละครสามีภรรยาที่ชิงชังกันในเรื่องนี้สามารถเข้าไปอยู่ในหนังของ CLAUDE CHABROL ได้อย่างสบายๆ และพอมาดูประวัติผลงานของ GEORGES SIMENON ก็เลยไม่ประหลาดใจที่พบว่าผลงานการประพันธ์ของเขาเคยถูก CHABROL นำไปสร้างเป็นหนังมาแล้ว ซึ่งได้แก่เรื่อง BETTY (1992)
http://www.imdb.com/title/tt0103800/
กับเรื่อง THE HATTER’S GHOST (1982)
http://www.imdb.com/title/tt0083925/
รายชื่อหนังที่สร้างจากบทประพันธ์ของ GEORGES SIMENON
http://www.imdb.com/name/nm0799442/
3.CAROLE BOUQUET นางเอกของ RED LIGHTS เคยเล่นหนังเรื่อง
http://www.imdb.com/name/nm0000962/
3.1 SEE HOW THEY RUN (2002, MICHEL BLANC, A+)
http://www.imdb.com/title/tt0290916/
3.2 BUFFET FROID (1979, BERTRAND BLIER, A+/A)
3.3 THAT OBSCURE OBJECT OF DESIRE (1977, LUIS BUNUEL, A-/B+)
ส่วนหนังของ CAROLE BOUQUET ที่อยากดูมากๆคือเรื่อง DAY OF THE IDIOTS (1982) ที่กำกับโดย WERNER SCHROETER สุดยอดผู้กำกับเกย์เยอรมัน โดยในเรื่องนี้ CAROLE BOUQUET ต้องปะทะกับดาราหญิงแรงๆอย่าง INGRID CAVEN, IDA DI BENEDETTO (เธอเคยทำให้ดิฉันเกือบหัวใจวายตายมาแล้วกับการแสดงที่ทรงพลังสุดๆใน THE SLEEP OF REASON) และ MAGDALENA MONTEZUMA โดยมี ULA STOCKL ผู้กำกับหญิงของ THE SLEEP OF REASON มาร่วมแสดงด้วย
DAY OF THE IDIOTS มีเนื้อหาเกี่ยวกับหญิงสาววัย 20 ปีที่ร่ำรวยแต่กลับไม่มีความสุขกับชีวิต เธอก็เลยหันมาทำลายชีวิตของคนรอบๆข้าง เธอพบว่าแฟนหนุ่มของเธอไม่ค่อยตอบสนองเธอในทางอารมณ์ เธอก็เลยพยายามเรียกร้องความสนใจด้วยการใส่ร้ายเพื่อนบ้านของเธอว่าเป็นผู้ก่อการร้าย!!!!!
ดูรูปและอ่านข้อมูลของ DAY OF THE IDIOTS ได้ที่
http://www.german-cinema.de/archive/film_view.php?film_id=481
http://www.sensesofcinema.com/contents/directors/03/schroeter.html
THE LIGHT (A)
ดูหนังเรื่อง THE LIGHT แล้วทำให้นึกถึงหนังบางเรื่อง ซึ่งรวมถึง
1.MARIE’S COUNTER (1998, SOPHIE TATISCHEFF, B+/B)
หนังเรื่องนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับตัวละครในยุคปัจจุบันที่เข้าไปข้องเกี่ยวกับวัตถุบางอย่างที่ทำให้ตัวละครบางตัวรำลึกถึงอดีต ประเด็นเรื่องการรำลึกถึงความรักความผูกพันในอดีตในหนังเรื่องนี้ทำให้นึกถึง THE LIGHT ค่ะ แต่รู้สึกว่า THE LIGHT ทำออกมาแล้วได้อารมณ์กว่ามาก
ในขณะที่ THE LIGHT มีเนื้อหาเกี่ยวกับหญิงสาวในยุคปัจจุบันที่เดินทางกลับไปที่บ้านเกิดบนเกาะนอกชายฝั่งแคว้นบริตตานีเพื่อขายบ้านเก่าของเธอ และได้เรียนรู้เรื่องราวความรักในอดีต, ชีวิตชาวบ้านในอดีต และประภาคารที่บรรจุเหตุการณ์อันน่าทรงจำไว้มากมาย MARIE’S COUNTER ก็มีเนื้อหาเกี่ยวกับมารี หญิงชราที่นำเคาน์เตอร์บาร์ตัวเก่าออกประมูลขาย และก็มีหญิงสาวคนหนึ่งซื้อเคาน์เตอร์บาร์อันนั้นไป โดยไม่รู้ว่าเคาน์เตอร์บาร์อันนั้นได้เคยเป็นพยานรู้เห็นชีวิตชาวบ้านในแคว้นบริตตานีมาแล้วมากมายหลายคนเป็นเวลานานหลายสิบปี หนังทั้งสองเรื่องนี้นำเสนอชีวิตชาวบ้านในแคว้นบริตตานีในอดีตเหมือนกันค่ะ แต่ THE LIGHT ใช้ประภาคารเป็นสื่อในการระลึกถึงอดีต ส่วน MARIE’S COUNTER ก็ใช้เคาน์เตอร์บาร์เป็นสื่อระลึกถึงอดีต
ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ MARIE’S COUNTER ได้ที่
http://www.unifrance.org/films/detail_film.asp?cfilm=15546&CommonUser=&langue=21002
นอกจาก MARIE’S COUNTER และ THE LIGHT แล้ว หนังเกี่ยวกับแคว้นบริตตานีของฝรั่งเศสยังรวมถึงเรื่อง
2.A SUMMER’S TALE (1996, ERIC ROHMER, A+)
หนังเรื่องนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับหนุ่มหล่อ (MELVIL POUPAUD ที่นำแสดงใน A RAIZ DO CORACAO) ที่ไปเที่ยวชายหาดบริตตานี และมีสาว 3 คนเข้ามาพัวพันในชีวิตเขา
3.WOMEN…OR CHILDREN FIRST (2001, MANUEL POIRIER, B+/B)
นำแสดงโดย SERGI LOPEZ กับ SYLVIE TESTUD และมีเนื้อหาเกี่ยวกับวิกฤติวัยกลางคนของผู้ชายในเมืองเล็กแห่งหนึ่งในบริตตานี
4.WESTERN (1997, MANUEL POIRIER, B+/B)
นำแสดงโดย SERGI LOPEZ อีกเช่นกัน และมีเนื้อหาเกี่ยวกับชายหนุ่มสองคนที่เดินทางไปเรื่อยๆในบริตตานี
http://www.filmfestivals.com/cannes97/cfilmc7.htm
ชอบการแสดงของ PHILIPPE TORRETON ใน THE LIGHT มากค่ะ ดิฉันรู้สึกว่าเขาเป็นนักแสดงที่เล่นเก่งมากๆคนนึง ก่อนหน้านี้เขาเคยฝากผลงานการแสดงระดับสุดยอดไว้แล้วในหนังเรื่อง
1.IT ALL STARTS TODAY (1999, BERTRAND TAVERNIER, A-)
ในเรื่องนี้เขารับบทเป็นคุณครูที่อุทิศตัวให้กับเด็กเล็กๆ อ่านข้อมูลเกี่ยวกับหนังเรื่องนี้ได้ที่
http://www.bioscopemagazine.com/review/index-in.php?id=16731
2.FORGET ME (1994, NOEMIE LVOVSKY, A+)
ในขณะที่บทบาทของ TORRETON ใน THE LIGHT กับใน IT ALL STARTS TODAY อาจจะทำให้รู้สึกว่าเขาช่างดูเป็นพระเอกผู้มีจิตใจดีงาม แต่บทบาทของเขาใน FORGET ME ก็แสดงให้เห็นว่าเขาก็เล่นเป็นผู้ชายธรรมดาที่ไม่ใช่พระเอ๊กพระเอกได้เหมือนกัน
อารมณ์ทางการแสดงของ TORRETON ในบางครั้งทำให้ดิฉันนึกถึง SAM NEILL ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไม
ดูรูปของ TORRETON ได้ที่
http://www.cine-zoom.com/IMG/jpg/PHILIPPE_TORRETON_001.jpg
ดาราอีกคนนึงที่น่าสนใจใน FORGET ME ก็คือชายหนุ่มชื่อ LAURENT GREVILL ดิฉันประทับใจกับการแสดงของเขาใน FORGET ME เป็นอย่างมาก และก็ดีใจมากที่ได้เห็นเขามารับบทดีๆอีกครั้งใน LOOK AT ME โดยใน LOOK AT ME นั้นเขารับบทเป็นแฟนของ AGNES JAOUI
ดูรายชื่อผลงานการแสดงของ LAURENT GREVILL ได้ที่http://www.imdb.com/name/nm0344932/
ความรู้สึกจากการได้ดู RED LIGHTS
1.ชอบอารมณ์ของพระเอกกับนางเอกในช่วงต้นเรื่องมาก เป็นอารมณ์ขึ้งเคียด เย็นชา มึนตึง เกลียดชัง ไม่เข้าใจซึ่งกันและกัน ขณะที่ดูก็กลัวมากๆว่าพระเอกกับนางเอกจะต้องควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ไหวและลุกขึ้นมาฆ่ากันเองในช่วงต่อมา และจุดนี้ทำให้ดิฉันรู้สึกเครียดและกลัวขณะที่ดูหนังเรื่องนี้มากเป็นพิเศษ และทำให้ความรู้สึกที่มีต่อหนังเรื่องนี้แตกต่างไปจากความรู้สึกขณะที่ดูหนังประเภท “ตัวละครเลี้ยวรถผิดทาง แล้วก็เลยไปเจอกับฆาตกรโรคจิต” เรื่องอื่นๆ เพราะในขณะที่ดูหนังกลุ่มหลังนั้น ดิฉันจะรู้สึกว่า “อันตรายในหนังกลุ่มนี้จะมาจากฆาตกรโรคจิต” เท่านั้น และ “ตัวละครที่เลี้ยวรถผิดทาง หรือตัดสินใจผิดพลาด” มีฐานะเป็นเพียงแค่เหยื่อ แต่ใน RED LIGHTS นั้น ช่วงต้นๆของหนังเรื่องนี้ ทำให้ดิฉันเดาไม่ถูกว่า “ใครจะฆ่าใคร”, “ใครจะกลายเป็นฆาตกร” และ “ใครจะกลายเป็นเหยื่อ” เพราะตัวละครนำทุกตัวในหนังเรื่องนี้ทำให้ดิฉันรู้สึกว่าพวกเขาต่างก็มีศักยภาพที่จะกลายเป็นฆาตกรทั้งสิ้น โทสะและความเกลียดชังที่ซ่อนอยู่ในตัวพระเอกนางเอกทำให้ดิฉันรู้สึกว่า “อันตราย” มันพร้อมจะออกมา”จากข้างใน”ตัวพระเอกนางเอกได้ทุกเมื่อ แทนที่จะอันตรายมันจะมาแต่จาก “ภายนอก” เหมือนในหนังเรื่องอื่นๆ นอกจากนี้ “อันตราย” ที่ดิฉันรู้สึกอย่างรุนแรงในหนังเรื่องนี้ ยังไม่ได้มีแต่เพียง “อันตรายจากการทำร้ายร่างกาย” เท่านั้น แต่ดิฉันยังรู้สึกกลัว “อันตรายจากการทำร้ายจิตใจซึ่งกันและกันอย่างทารุณ” ระหว่างตัวละครด้วย
2.ชอบอารมณ์ของนางเอกตอนตวาดใส่พระเอกในช่วงต้นเรื่องอย่างมากๆ และก็ชอบการตัดสินใจของนางเอกในช่วงกลางเรื่องอย่างมากๆ
3.ฉากโทรศัพท์ในเรื่องนี้เป็นฉากที่ประทับใจดิฉันอย่างรุนแรงมากๆ ในช่วงหลังของเรื่องนี้ ดิฉันจะรู้สึกอินกับ “การรอคอย” ที่จะรู้ความจริงของตัวละครอย่างมากๆ รู้สึกว่าช่วงเวลาเพียงแค่ไม่กี่นาทีในหนังเรื่องนี้ ก่อนที่ตัวละครจะรู้ข้อมูลที่ตัวเองแสวงหา มันเป็นช่วงเวลาที่ทรมานใจ กระวนกระวายใจ และช่างยาวนานอย่างเหลือคณานับ ทั้งๆที่จริงๆแล้วมันกินเวลาแค่ไม่กี่นาทีเท่านั้นเอง
4.ชอบบรรยากาศของเรื่องค่ะ โดยเฉพาะภาพท้องถนนชนบทยามค่ำคืนที่มีเสน่ห์น่าหลงใหลในแบบลี้ลับ
5.ชอบอารมณ์ความรู้สึกของพระเอกค่ะ บอกไม่ถูกเหมือนกันว่าทำไม มันมีทั้งความเกลียด, ความรัก, ความชอบ, ความชิงชัง, ความอยากผูกพัน, ความอยากเป็นอิสระ, ความรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจ, ความอยากเอาชนะ, ความรู้สึกผิดบาป, ความอยากประชดชีวิต, การทำผิดทั้งๆที่รู้ว่าผิด, การพยายามทำในสิ่งที่ถูกแต่ทำไม่สำเร็จ
6.ตัวละครพระเอกในหนังเรื่องนี้ ทำให้นึกถึงตัวละครพระเอกใน RAILWAY BAR หรือ BAR DES RAILS (1991, A+) ที่กำกับโดย CEDRIC KAHN เหมือนกัน ถึงแม้ว่าในความเป็นจริงแล้วพระเอกในหนังสองเรื่องนี้แทบไม่ได้คล้ายกันเลย แต่ดิฉันก็รู้สึกประทับใจกับอารมณ์ “ขึ้งเคียด” ของพระเอกในหนังสองเรื่องนี้อย่างมากๆ ดิฉันรู้สึกว่าพระเอกในหนังสองเรื่องนี้มันช่างเป็นมนุษย์ปุถุชนที่เต็มไปด้วยข้อบกพร่องเสียจริงๆ พวกเขาไม่ใช่คนเลว แต่ดิฉันก็รู้สึกว่าพวกเขามีสภาพจิตใจที่หมิ่นเหม่และพร้อมที่จะร่วงลงสู่ความเป็นคนเลวถ้าหากเจอสถานการณ์ที่บีบคั้นจริงๆ พวกเขาดูเหมือนจะไม่เข้าใจตนเองและคนใกล้ตัว พวกเขาไม่รู้ว่าจะทำยังไงถึงจะสร้างความพึงพอใจให้กับตนเองและคนที่ตนเองชอบได้ อารมณ์ “ไม่พอใจกับชีวิต” ที่คุกรุ่นอยู่ในตัวพระเอกหนังสองเรื่องนี้อยู่ตลอดเวลาคือสิ่งที่โดนใจดิฉันมากๆค่ะ พระเอกของหนังสองเรื่องนี้เป็นผู้ชายที่ดิฉันรู้สึกว่าไม่อยากเข้าใกล้, ไม่น่าพิสมัย และอยากหนีออกห่างถ้าหากเจอในชีวิตจริง แต่ก็รู้สึกว่าพวกเขาเป็นคนธรรมดาที่น่าสงสารเวทนาในขณะเดียวกัน
ฉากที่ฝังใจดิฉันมากที่สุดใน BAR DES RAILS คือฉากที่พระเอกทำร้ายร่างกายเด็กผู้หญิงตัวเล็กๆอย่างไม่มีสาเหตุอันสมควร ฉากนี้ทำให้ดิฉันรู้สึกว่าเขาเป็นคนที่มี “ความเลวที่น่ากลัวบางอย่างซ่อนอยู่ในตัว” แต่ก็ไม่สามารถเรียกเขาว่าเป็นคนเลวได้อย่างถนัดปาก เพราะโดยรวมแล้ว เขาก็ยังดูเหมือนคนธรรมดาที่มีแต่ความทุกข์อยู่ในใจเป็นเนืองนิจมากกว่า และความทุกข์ความคับข้องใจของพระเอกหนังสองเรื่องนี้ อาจจะเป็นสาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้เขาเผลอทำร้าย (จิตใจ) คนใกล้ตัวโดยไม่ได้ตั้งใจ
ดูข้อมูลของ BAR DES RAILS ได้ที่
http://www.imdb.com/title/tt0101407/
7.ชอบหน้าตาของ CEDRIC KAHN ค่ะ (เกี่ยวกับหนังมั้ยเนี่ย)
http://dvdtoile.com/Filmographie.php?id=1457
http://cinema.telerama.fr/edito/cannes01/magazine/kahn/khan.jpg
เกร็ดเกี่ยวกับ RED LIGHTS
1.LAURENCE FERREIRA BARBOSA ซึ่งร่วมเขียนบทหนังเรื่อง RED LIGHTS เป็นผู้กำกับหนังด้วยเช่นกัน ผลงานการกำกับของเธอรวมถึงเรื่อง
http://www.imdb.com/name/nm0274262/
1.1 MODERN LIFE (2000, A+)
http://www.imdb.com/title/tt0217132/
หนังเรื่องนี้เคยมาฉายทางเคเบิลทีวีช่อง TV5 และเล่าเรื่องราวชีวิตของตัวละครสามคนที่แทบไม่เกี่ยวข้องกันเลย แต่ดิฉันรู้สึกว่าอารมณ์ของตัวละครแต่ละตัวในเรื่องมันดูเข้ากันได้ดีอย่างบอกไม่ถูก หนังเรื่องนี้นำแสดงโดย ISABELLE HUPPERT และ LOLITA CHAMMAH ซึ่งเป็นลูกสาวในชีวิตจริงของ HUPPERT
LOLITA CHAMMAH เคยแสดงหนังร่วมกับแม่ในเรื่อง MALINA (1991, WERNER SCHROETER, A+) และ STORY OF WOMEN (1988, CLAUDE CHABROL, A) ด้วย และล่าสุดนี้เธอได้เล่นหนังเรื่อง 18 YEARS AFTER (2003, COLINE SERREAU, B-) และ THE INTRUDER (2004, CLAIRE DENIS)
1.2 THERE’S NOTHING SPECIAL ABOUT NORMAL PEOPLE (1993, A-/B+)
หนังเรื่องนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับสาวบ้า โดยมี VALERIE BRUNI TEDESCHI กับ SANDRINE KIBERLAIN มาบ้าด้วยกันในเรื่องนี้ แต่หนังเรื่องนี้เป็นหนังเบาสมองที่ดูง่ายและให้อารมณ์ค่อนไปทางกุ๊กกิ๊กใสๆ
2.RED LIGHTS สร้างจากนิยายของ GEORGES SIMENON ถ้าสนใจเรื่องราวหนังของ GEORGES SIMENON สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากหนังสือ “ฟิล์มไวรัส เล่ม 1” ซึ่งมีขายที่ร้านคิโนะคุนิยะ เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ค่ะ
หนังของ GEORGES SIMENON ที่ดิฉันเคยดูก็คือเรื่อง THE WIDOW COUDERC (1971, PIERRE GRANIER-DEFERRE, A-/B+)
http://www.imdb.com/title/tt0067943/
THE WIDOW COUDERC มีเนื้อหาเกี่ยวกับแม่ม่ายวัยดึก (SIMONE SIGNORET) ที่จ้างหนุ่มหล่อ (ALAIN DELON) ให้มาทำงานในบ้านของเธอ โฮะ โฮะ โฮะ ดิฉันชอบหนังที่มีตัวละครทำนองนี้ค่ะ แต่นี่ไม่ใช่หนังโรแมนติกเบาสมองหรืออีโรติกแต่อย่างใด แต่เป็นหนังดรามาเกี่ยวกับตัวละครที่เจ็บปวดทุกข์ใจ และอยากจะทำให้ชีวิตตัวเองมีความสุขแต่ก็ดูเหมือนจะไม่สามารถทำได้
ขณะที่ดู RED LIGHTS ในช่วงแรกๆ ดิฉันรู้สึกว่าตัวละครสามีภรรยาที่ชิงชังกันในเรื่องนี้สามารถเข้าไปอยู่ในหนังของ CLAUDE CHABROL ได้อย่างสบายๆ และพอมาดูประวัติผลงานของ GEORGES SIMENON ก็เลยไม่ประหลาดใจที่พบว่าผลงานการประพันธ์ของเขาเคยถูก CHABROL นำไปสร้างเป็นหนังมาแล้ว ซึ่งได้แก่เรื่อง BETTY (1992)
http://www.imdb.com/title/tt0103800/
กับเรื่อง THE HATTER’S GHOST (1982)
http://www.imdb.com/title/tt0083925/
รายชื่อหนังที่สร้างจากบทประพันธ์ของ GEORGES SIMENON
http://www.imdb.com/name/nm0799442/
3.CAROLE BOUQUET นางเอกของ RED LIGHTS เคยเล่นหนังเรื่อง
http://www.imdb.com/name/nm0000962/
3.1 SEE HOW THEY RUN (2002, MICHEL BLANC, A+)
http://www.imdb.com/title/tt0290916/
3.2 BUFFET FROID (1979, BERTRAND BLIER, A+/A)
3.3 THAT OBSCURE OBJECT OF DESIRE (1977, LUIS BUNUEL, A-/B+)
ส่วนหนังของ CAROLE BOUQUET ที่อยากดูมากๆคือเรื่อง DAY OF THE IDIOTS (1982) ที่กำกับโดย WERNER SCHROETER สุดยอดผู้กำกับเกย์เยอรมัน โดยในเรื่องนี้ CAROLE BOUQUET ต้องปะทะกับดาราหญิงแรงๆอย่าง INGRID CAVEN, IDA DI BENEDETTO (เธอเคยทำให้ดิฉันเกือบหัวใจวายตายมาแล้วกับการแสดงที่ทรงพลังสุดๆใน THE SLEEP OF REASON) และ MAGDALENA MONTEZUMA โดยมี ULA STOCKL ผู้กำกับหญิงของ THE SLEEP OF REASON มาร่วมแสดงด้วย
DAY OF THE IDIOTS มีเนื้อหาเกี่ยวกับหญิงสาววัย 20 ปีที่ร่ำรวยแต่กลับไม่มีความสุขกับชีวิต เธอก็เลยหันมาทำลายชีวิตของคนรอบๆข้าง เธอพบว่าแฟนหนุ่มของเธอไม่ค่อยตอบสนองเธอในทางอารมณ์ เธอก็เลยพยายามเรียกร้องความสนใจด้วยการใส่ร้ายเพื่อนบ้านของเธอว่าเป็นผู้ก่อการร้าย!!!!!
ดูรูปและอ่านข้อมูลของ DAY OF THE IDIOTS ได้ที่
http://www.german-cinema.de/archive/film_view.php?film_id=481
http://www.sensesofcinema.com/contents/directors/03/schroeter.html
THE LIGHT (A)
ดูหนังเรื่อง THE LIGHT แล้วทำให้นึกถึงหนังบางเรื่อง ซึ่งรวมถึง
1.MARIE’S COUNTER (1998, SOPHIE TATISCHEFF, B+/B)
หนังเรื่องนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับตัวละครในยุคปัจจุบันที่เข้าไปข้องเกี่ยวกับวัตถุบางอย่างที่ทำให้ตัวละครบางตัวรำลึกถึงอดีต ประเด็นเรื่องการรำลึกถึงความรักความผูกพันในอดีตในหนังเรื่องนี้ทำให้นึกถึง THE LIGHT ค่ะ แต่รู้สึกว่า THE LIGHT ทำออกมาแล้วได้อารมณ์กว่ามาก
ในขณะที่ THE LIGHT มีเนื้อหาเกี่ยวกับหญิงสาวในยุคปัจจุบันที่เดินทางกลับไปที่บ้านเกิดบนเกาะนอกชายฝั่งแคว้นบริตตานีเพื่อขายบ้านเก่าของเธอ และได้เรียนรู้เรื่องราวความรักในอดีต, ชีวิตชาวบ้านในอดีต และประภาคารที่บรรจุเหตุการณ์อันน่าทรงจำไว้มากมาย MARIE’S COUNTER ก็มีเนื้อหาเกี่ยวกับมารี หญิงชราที่นำเคาน์เตอร์บาร์ตัวเก่าออกประมูลขาย และก็มีหญิงสาวคนหนึ่งซื้อเคาน์เตอร์บาร์อันนั้นไป โดยไม่รู้ว่าเคาน์เตอร์บาร์อันนั้นได้เคยเป็นพยานรู้เห็นชีวิตชาวบ้านในแคว้นบริตตานีมาแล้วมากมายหลายคนเป็นเวลานานหลายสิบปี หนังทั้งสองเรื่องนี้นำเสนอชีวิตชาวบ้านในแคว้นบริตตานีในอดีตเหมือนกันค่ะ แต่ THE LIGHT ใช้ประภาคารเป็นสื่อในการระลึกถึงอดีต ส่วน MARIE’S COUNTER ก็ใช้เคาน์เตอร์บาร์เป็นสื่อระลึกถึงอดีต
ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ MARIE’S COUNTER ได้ที่
http://www.unifrance.org/films/detail_film.asp?cfilm=15546&CommonUser=&langue=21002
นอกจาก MARIE’S COUNTER และ THE LIGHT แล้ว หนังเกี่ยวกับแคว้นบริตตานีของฝรั่งเศสยังรวมถึงเรื่อง
2.A SUMMER’S TALE (1996, ERIC ROHMER, A+)
หนังเรื่องนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับหนุ่มหล่อ (MELVIL POUPAUD ที่นำแสดงใน A RAIZ DO CORACAO) ที่ไปเที่ยวชายหาดบริตตานี และมีสาว 3 คนเข้ามาพัวพันในชีวิตเขา
3.WOMEN…OR CHILDREN FIRST (2001, MANUEL POIRIER, B+/B)
นำแสดงโดย SERGI LOPEZ กับ SYLVIE TESTUD และมีเนื้อหาเกี่ยวกับวิกฤติวัยกลางคนของผู้ชายในเมืองเล็กแห่งหนึ่งในบริตตานี
4.WESTERN (1997, MANUEL POIRIER, B+/B)
นำแสดงโดย SERGI LOPEZ อีกเช่นกัน และมีเนื้อหาเกี่ยวกับชายหนุ่มสองคนที่เดินทางไปเรื่อยๆในบริตตานี
http://www.filmfestivals.com/cannes97/cfilmc7.htm
ชอบการแสดงของ PHILIPPE TORRETON ใน THE LIGHT มากค่ะ ดิฉันรู้สึกว่าเขาเป็นนักแสดงที่เล่นเก่งมากๆคนนึง ก่อนหน้านี้เขาเคยฝากผลงานการแสดงระดับสุดยอดไว้แล้วในหนังเรื่อง
1.IT ALL STARTS TODAY (1999, BERTRAND TAVERNIER, A-)
ในเรื่องนี้เขารับบทเป็นคุณครูที่อุทิศตัวให้กับเด็กเล็กๆ อ่านข้อมูลเกี่ยวกับหนังเรื่องนี้ได้ที่
http://www.bioscopemagazine.com/review/index-in.php?id=16731
2.FORGET ME (1994, NOEMIE LVOVSKY, A+)
ในขณะที่บทบาทของ TORRETON ใน THE LIGHT กับใน IT ALL STARTS TODAY อาจจะทำให้รู้สึกว่าเขาช่างดูเป็นพระเอกผู้มีจิตใจดีงาม แต่บทบาทของเขาใน FORGET ME ก็แสดงให้เห็นว่าเขาก็เล่นเป็นผู้ชายธรรมดาที่ไม่ใช่พระเอ๊กพระเอกได้เหมือนกัน
อารมณ์ทางการแสดงของ TORRETON ในบางครั้งทำให้ดิฉันนึกถึง SAM NEILL ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไม
ดูรูปของ TORRETON ได้ที่
http://www.cine-zoom.com/IMG/jpg/PHILIPPE_TORRETON_001.jpg
ดาราอีกคนนึงที่น่าสนใจใน FORGET ME ก็คือชายหนุ่มชื่อ LAURENT GREVILL ดิฉันประทับใจกับการแสดงของเขาใน FORGET ME เป็นอย่างมาก และก็ดีใจมากที่ได้เห็นเขามารับบทดีๆอีกครั้งใน LOOK AT ME โดยใน LOOK AT ME นั้นเขารับบทเป็นแฟนของ AGNES JAOUI
ดูรายชื่อผลงานการแสดงของ LAURENT GREVILL ได้ที่http://www.imdb.com/name/nm0344932/
Sunday, June 12, 2005
ARSENE LUPIN (A+)
เสียดายมากเลยค่ะที่สัปดาห์นี้ต้องทำงานวันเสาร์อาทิตย์ ก็เลยทำให้ไม่มีเวลาเขียนถึงหนังที่ได้ดูและทำให้ไม่มีเวลาดูหนังสักเท่าไหร่ จริงๆแล้วรู้สึกว่าตัวเองยังอยากเขียนอะไรถึงหลายๆอย่างเกี่ยวกับเทศกาลหนังยุโรป แต่คงต้องรอให้มีเวลาว่างจริงๆเสียก่อนแล้วอาจได้กลับมาเขียนถึงเทศกาลหนังยุโรปต่อ
หนังที่ได้ดูในช่วงนี้
1.ARSENE LUPIN (2004, JEAN-PAUL SALOME) A+
รู้สึกว่าหนังเรื่องนี้มันห่วยๆเละๆ และมีอะไรไม่เข้าท่าอยู่เยอะมาก แต่ชอบตัวละครตัวนึงในหนังเรื่องนี้อย่างสุดๆ หลงใหลในตัวละครตัวนี้มาก และเอาใจช่วยตัวละครตัวนี้อย่างรุนแรง
การที่ตัวเองชอบหนังเรื่องนี้ในระดับ A+ เป็นเพราะว่าตัวละครที่ตัวเองอยากให้รอดชีวิต ก็รอดชีวิตจริงๆ และตัวละครที่ตัวเองอยากให้ตาย ก็ตายจริงๆ ก็เลยรู้สึกมีความสุขสุดขีดที่หนังเรื่องนี้ปฏิบัติต่อตัวละครที่ดิฉันหลงรักในแบบที่ดิฉันต้องการ
แต่ถ้าหากตอนจบของหนังเรื่องนี้ออกมาในทางตรงกันข้าม ด้วยการทำให้ตัวละครที่ดิฉันชอบเป็นฝ่ายที่ต้องตาย และทำให้ตัวละครที่ดิฉันอยากให้ตายกลายเป็นฝ่ายที่รอดชีวิต ดิฉันอาจจะรู้สึกผิดหวังอย่างรุนแรงและอาจจะชอบหนังเรื่องนี้แค่ในระดับ C+
ถึงแม้ดิฉันจะรู้สึกว่าหนังเรื่องนี้มันห่วยยังไงก็ตาม ดิฉันก็มีความสุขกับหนังเรื่องนี้มากๆค่ะ
อย่างไรก็ดี มีหนังอีกเรื่องนึงที่ตัวละครไม่ได้ลงเอยในแบบที่ดิฉันต้องการ แต่ดิฉันก็ชอบในระดับ A+ เหมือนกันค่ะ นั่นก็คือเรื่อง HOUSE OF WAX (2005, JAUME COLLET-SERRA) เพราะในหนังเรื่องนี้ ตัวละครที่ดิฉันอยากให้รอดชีวิต ดันตาย แต่ตัวละครที่ดิฉันอยากให้ตาย กลับเป็นฝ่ายรอดชีวิต แต่ดิฉันก็มีความสุขมากๆกับส่วนอื่นๆใน HOUSE OF WAX ก็เลยยังคงชอบหนังเรื่องนี้ในระดับ A+ อยู่ (แต่อาจไม่ติด 10 อันดับแรกในใจดิฉันประจำเดือนพ.ค.)
2.THE LIGHT (2004, PHILIPPE LIORET) A
สำหรับคำถามเรื่องมือของพระเอกนั้น ดิฉันก็ไม่แน่ใจเหมือนกันค่ะ แต่เดาเอาว่าเป็นอย่างนี้
(ขอย้ำว่านี่เป็นเพียงการ “เดา” เท่านั้น ถ้าหากเดาผิดก็ขออภัยเป็นอย่างยิ่งด้วย)
ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองนั้นแอลจีเรียยังคงเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส แต่ชาวแอลจีเรียบางคนต้องการเอกราช ก็เลยเริ่มมีการก่อสงครามกับฝรั่งเศส และก็มีกลุ่มต่างๆหลายกลุ่มในช่วงนั้น ทั้งกลุ่มก่อการร้ายเพื่อต้องการให้แอลจีเรียเป็นเอกราช (อย่างเช่นกลุ่ม F.LN.), กลุ่มก่อการร้ายเพื่อต้องการให้แอลจีเรียยังคงเป็นอาณานิคม (อย่างเช่นกลุ่ม O.A.S.) และในประเทศฝรั่งเศสเองนั้น ก็มีทั้งประชาชนที่สนับสนุนและต่อต้านการประกาศเอกราชของแอลจีเรีย
ถ้าเข้าใจไม่ผิด พระเอกของ THE LIGHT ถูกเกณฑ์เป็นทหารไปรบที่แอลจีเรีย และกองทหารของเขาก็คอยตามล่าผู้ก่อการร้ายที่ชอบวางระเบิด แต่นักวางระเบิดเหล่านี้หลบหนีเก่งมาก กองทหารของเขาก็เลยใช้วิธีจับชาวบ้านแก่ๆ ชาวบ้านที่ไม่รู้อีโหน่อีเหน่มาทรมานเพื่อบีบบังคับให้ชาวบ้านเหล่านี้บอกที่ซ่อนของนักวางระเบิดหรือบอกชื่อของนักวางระเบิด
ในการจับชาวบ้านมาทรมานนั้น พระเอกใช้วิธีเอามือของชาวบ้านเหล่านี้สอดเข้าไปในเครื่องโม่หรือเครื่องบดอะไรสักอย่าง เพื่อให้เครื่องมือนั้นบดมือหรืออวัยวะของชาวบ้านซึ่งเป็นชาวอาหรับ พระเอกทำงานทรมานชาวบ้านด้วยวิธีการเหล่านี้เป็นประจำจนส่งผลให้เขาได้รับสมญานามว่า THE ARAB GRINDER
แต่อยู่มาวันหนึ่งพระเอกก็ทนทำงานทรมานชาวบ้านแบบนี้ไม่ได้อีกต่อไป พวกเพื่อนๆทหารของเขาก็เลยไม่พอใจ ก็เลยจับเอามือของพระเอกไปเข้าเครื่องโม่หรือเครื่องบดซะเอง มือของพระเอกก็เลยพิการตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ F.L.N. และสงครามแอลจีเรียได้ที่
http://www.onwar.com/aced/data/alpha/falgeria1954.htm
ดิฉันเพิ่งรู้จักชื่อของ F.L.N. ก็จากหนังเรื่อง LE PETIT SOLDAT (1960, JEAN-LUC GODARD, A+) ค่ะ อ่านสิ่งที่ดิฉันเคยเขียนถึง LE PETIT SOLDAT ได้ที่
http://www.bioscopemagazine.com/webboard/index-in.php?id=9802
หนังที่อาจเหมาะนำมาดูควบกับ THE LIGHT ก็รวมถึง
2.1 MURIEL OR THE TIME OF RETURN (1963, ALAIN RESNAIS, A++++++)
หนังเรื่องนี้มีตัวละครตัวหนึ่งที่เคยไปรบในสงครามแอลจีเรีย และถ้าเข้าใจไม่ผิด ตัวละครตัวนั้นเคยทรมานคนอย่างทารุณในช่วงสงคราม และเขาก็ถูกหลอกหลอนจากความทรงจำนั้นอย่างรุนแรงไปจนตลอดชีวิต
http://www.filmref.com/directors/dirpages/resnais.html
2.2 MY STEP-BROTHER FRANKENSTEIN (2004, VALERI TODOROVSKY, A+)
http://www.imdb.com/title/tt0416040/
พระเอกหนังเรื่องนี้เป็นทหารผ่านศึกเหมือนกับพระเอก THE LIGHT และทั้งสองคนนี้ต่างก็มีส่วนร่วมในการทำร้ายทารุณกรรมประชาชนผู้บริสุทธิ์เหมือนๆกัน และเมื่อทั้งสองกลับจากสงคราม ทั้งสองก็ไม่ค่อยได้รับการยอมรับจากสังคมเหมือนๆกัน ทั้งสองกลายเป็นคนพิการทางร่างกายจากสงคราม (พระเอก THE LIGHT พิการที่มือ ส่วนพระเอก MY STEP-BROTHER FRANKENSTEIN เสียตาไปข้างหนึ่ง ถ้าจำไม่ผิด) ผู้คนในสังคมไม่อยากรับรู้ความจริงที่พวกเขาประสบพบเห็นมาในสงคราม แต่ในกรณีของ MY STEP-BROTHER FRANKENSTEIN นั้นค่อนข้างจะหนักข้อกว่าใน THE LIGHT เพราะพระเอกหนังรัสเซียเรื่องนี้มีบาดแผลทางจิตใจอย่างร้ายแรงจากสงครามด้วย และหน้าตาของเขาก็ทำให้ไม่มีสาวๆคนไหนอยากเข้าใกล้เขาอีกต่อไป
ดูโปสเตอร์ของ MY STEP-BROTHER FRANKENSTEIN ได้ที่นี่
http://www.kinoafisha.ru/pictures/1/2090/poster.jpg
2.3 WILD REEDS (ANDRE TECHINE, A+/A) ที่พูดถึงผลกระทบของสงครามแอลจีเรียเหมือนกัน
2.4 THE BATTLE OF ALGIERS (1965, GILLO PONTECORVO)
http://imagesjournal.com/2004/reviews/battlealgiers/
3.BUNSHINSABA (2004, AHN BYEONG-KI) A
http://www.imdb.com/title/tt0415689/
นี่ก็เป็นหนังอีกเรื่องที่รู้สึกว่ามันห่วยๆซ้ำซาก แต่ดูแล้วรู้สึกมีความสุขมากๆโดยเฉพาะช่วง 30 นาทีแรกของหนังเรื่องนี้ น่าเสียดายที่ช่วงท้ายๆเรื่องไม่ค่อยสนุกเท่าที่ควร
4.HAPPILY EVER AFTER (2004, YVAN ATTAL) A-
5.I’VE BEEN WAITING SO LONG (2004, THIRRY KLIFA) A-
6.ELECTRIC SHADOWS (2004, JIANG XIAO) A-
http://www.imdb.com/title/tt0424273/
7.MR. & MRS. SMITH (2005, DOUG LIMAN) B+
ความเห็นเพิ่มเติม
--พูดถึงเรื่องชาวฝรั่งเศสขวาจัดและแอลจีเรีย ก็เลยนึกถึงเรื่องขององค์การ O.A.S. ใน LE PETIT SOLDAT ค่ะ O.A.S. คือ Organization de l’Armee Secrete (Secret Army Organization) ซึ่งเป็นองค์การของกลุ่มหัวรุนแรงขวาจัดที่ก่อการร้ายในยุโรปและแอลจีเรีย กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ขัดขวางแผนของประธานาธิบดีชาร์ลส์ เดอ โกลของฝรั่งเศสที่จะให้เอกราชแก่แอลจีเรีย และเคยวางแผนลอบสังหารเดอ โกลในปี 1961 ด้วย
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ O.A.S. ได้ที่http://news.bbc.co.uk/onthisday/hi/dates/stories/february/27/newsid_2515000/2515735.stm
--พูดถึง Camus ก็เลยนึกถึงหนังฮังการีเรื่อง PLEASANT DAYS (2002, KORNEL MUNDRUCZO, A+) เพราะหนังเรื่องนี้ได้รับแรงบันดาลใจบางส่วนมาจากบทประพันธ์เรื่อง THE STRANGER ของ ALBERT CAMUS ค่ะ
อ่านบทสัมภาษณ์ KORNEL MUNDRUCZO เกี่ยวกับ PLEASANT DAYS และแรงบันดาลใจจาก ALBERT CAMUS ได้ที่
http://www.filmunio.hu/object.2faab980-2a48-48d5-a954-3f3d4e971f80.ivy
--รู้สึกว่า ISABELLE ADJANI จะมีพ่อเป็นชาวแอลจีเรีย-ตุรกี และมีแม่เป็นชาวเยอรมัน
http://www.nationmaster.com/encyclopedia/Isabelle-Adjani
--เห็นแมวใน THE LIGHT แล้วรู้สึกขำ เพราะรู้สึกว่ามันจะ “บ้าผู้ชายหล่อๆ” เป็นอย่างมาก เห็นผู้ชายหล่อๆเป็นไม่ได้ ต้องรีบเสนอหน้ามาคลอเคลียอี๋อ๋อด้วยในทันที เห็นแมวตัวนี้แล้วก็เลยนึกถึงแมวที่ชื่อ “ลินดา แบลร์” ใน ALWAYS (1989, STEVEN SPIELBERG, A+) เพราะแมวตัวนี้ พอเห็นผู้ชายหล่อๆ (แบรด จอห์นสัน) ปุ๊บ ก็รีบเข้ามาพันแข้งพันขาคลอเคลียด้วยในทันทีเหมือนกัน (ข้อความนี้เขียนเล่นๆ ไม่ได้จริงจังอะไรค่ะ)
หนังที่ได้ดูในช่วงนี้
1.ARSENE LUPIN (2004, JEAN-PAUL SALOME) A+
รู้สึกว่าหนังเรื่องนี้มันห่วยๆเละๆ และมีอะไรไม่เข้าท่าอยู่เยอะมาก แต่ชอบตัวละครตัวนึงในหนังเรื่องนี้อย่างสุดๆ หลงใหลในตัวละครตัวนี้มาก และเอาใจช่วยตัวละครตัวนี้อย่างรุนแรง
การที่ตัวเองชอบหนังเรื่องนี้ในระดับ A+ เป็นเพราะว่าตัวละครที่ตัวเองอยากให้รอดชีวิต ก็รอดชีวิตจริงๆ และตัวละครที่ตัวเองอยากให้ตาย ก็ตายจริงๆ ก็เลยรู้สึกมีความสุขสุดขีดที่หนังเรื่องนี้ปฏิบัติต่อตัวละครที่ดิฉันหลงรักในแบบที่ดิฉันต้องการ
แต่ถ้าหากตอนจบของหนังเรื่องนี้ออกมาในทางตรงกันข้าม ด้วยการทำให้ตัวละครที่ดิฉันชอบเป็นฝ่ายที่ต้องตาย และทำให้ตัวละครที่ดิฉันอยากให้ตายกลายเป็นฝ่ายที่รอดชีวิต ดิฉันอาจจะรู้สึกผิดหวังอย่างรุนแรงและอาจจะชอบหนังเรื่องนี้แค่ในระดับ C+
ถึงแม้ดิฉันจะรู้สึกว่าหนังเรื่องนี้มันห่วยยังไงก็ตาม ดิฉันก็มีความสุขกับหนังเรื่องนี้มากๆค่ะ
อย่างไรก็ดี มีหนังอีกเรื่องนึงที่ตัวละครไม่ได้ลงเอยในแบบที่ดิฉันต้องการ แต่ดิฉันก็ชอบในระดับ A+ เหมือนกันค่ะ นั่นก็คือเรื่อง HOUSE OF WAX (2005, JAUME COLLET-SERRA) เพราะในหนังเรื่องนี้ ตัวละครที่ดิฉันอยากให้รอดชีวิต ดันตาย แต่ตัวละครที่ดิฉันอยากให้ตาย กลับเป็นฝ่ายรอดชีวิต แต่ดิฉันก็มีความสุขมากๆกับส่วนอื่นๆใน HOUSE OF WAX ก็เลยยังคงชอบหนังเรื่องนี้ในระดับ A+ อยู่ (แต่อาจไม่ติด 10 อันดับแรกในใจดิฉันประจำเดือนพ.ค.)
2.THE LIGHT (2004, PHILIPPE LIORET) A
สำหรับคำถามเรื่องมือของพระเอกนั้น ดิฉันก็ไม่แน่ใจเหมือนกันค่ะ แต่เดาเอาว่าเป็นอย่างนี้
(ขอย้ำว่านี่เป็นเพียงการ “เดา” เท่านั้น ถ้าหากเดาผิดก็ขออภัยเป็นอย่างยิ่งด้วย)
ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองนั้นแอลจีเรียยังคงเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส แต่ชาวแอลจีเรียบางคนต้องการเอกราช ก็เลยเริ่มมีการก่อสงครามกับฝรั่งเศส และก็มีกลุ่มต่างๆหลายกลุ่มในช่วงนั้น ทั้งกลุ่มก่อการร้ายเพื่อต้องการให้แอลจีเรียเป็นเอกราช (อย่างเช่นกลุ่ม F.LN.), กลุ่มก่อการร้ายเพื่อต้องการให้แอลจีเรียยังคงเป็นอาณานิคม (อย่างเช่นกลุ่ม O.A.S.) และในประเทศฝรั่งเศสเองนั้น ก็มีทั้งประชาชนที่สนับสนุนและต่อต้านการประกาศเอกราชของแอลจีเรีย
ถ้าเข้าใจไม่ผิด พระเอกของ THE LIGHT ถูกเกณฑ์เป็นทหารไปรบที่แอลจีเรีย และกองทหารของเขาก็คอยตามล่าผู้ก่อการร้ายที่ชอบวางระเบิด แต่นักวางระเบิดเหล่านี้หลบหนีเก่งมาก กองทหารของเขาก็เลยใช้วิธีจับชาวบ้านแก่ๆ ชาวบ้านที่ไม่รู้อีโหน่อีเหน่มาทรมานเพื่อบีบบังคับให้ชาวบ้านเหล่านี้บอกที่ซ่อนของนักวางระเบิดหรือบอกชื่อของนักวางระเบิด
ในการจับชาวบ้านมาทรมานนั้น พระเอกใช้วิธีเอามือของชาวบ้านเหล่านี้สอดเข้าไปในเครื่องโม่หรือเครื่องบดอะไรสักอย่าง เพื่อให้เครื่องมือนั้นบดมือหรืออวัยวะของชาวบ้านซึ่งเป็นชาวอาหรับ พระเอกทำงานทรมานชาวบ้านด้วยวิธีการเหล่านี้เป็นประจำจนส่งผลให้เขาได้รับสมญานามว่า THE ARAB GRINDER
แต่อยู่มาวันหนึ่งพระเอกก็ทนทำงานทรมานชาวบ้านแบบนี้ไม่ได้อีกต่อไป พวกเพื่อนๆทหารของเขาก็เลยไม่พอใจ ก็เลยจับเอามือของพระเอกไปเข้าเครื่องโม่หรือเครื่องบดซะเอง มือของพระเอกก็เลยพิการตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ F.L.N. และสงครามแอลจีเรียได้ที่
http://www.onwar.com/aced/data/alpha/falgeria1954.htm
ดิฉันเพิ่งรู้จักชื่อของ F.L.N. ก็จากหนังเรื่อง LE PETIT SOLDAT (1960, JEAN-LUC GODARD, A+) ค่ะ อ่านสิ่งที่ดิฉันเคยเขียนถึง LE PETIT SOLDAT ได้ที่
http://www.bioscopemagazine.com/webboard/index-in.php?id=9802
หนังที่อาจเหมาะนำมาดูควบกับ THE LIGHT ก็รวมถึง
2.1 MURIEL OR THE TIME OF RETURN (1963, ALAIN RESNAIS, A++++++)
หนังเรื่องนี้มีตัวละครตัวหนึ่งที่เคยไปรบในสงครามแอลจีเรีย และถ้าเข้าใจไม่ผิด ตัวละครตัวนั้นเคยทรมานคนอย่างทารุณในช่วงสงคราม และเขาก็ถูกหลอกหลอนจากความทรงจำนั้นอย่างรุนแรงไปจนตลอดชีวิต
http://www.filmref.com/directors/dirpages/resnais.html
2.2 MY STEP-BROTHER FRANKENSTEIN (2004, VALERI TODOROVSKY, A+)
http://www.imdb.com/title/tt0416040/
พระเอกหนังเรื่องนี้เป็นทหารผ่านศึกเหมือนกับพระเอก THE LIGHT และทั้งสองคนนี้ต่างก็มีส่วนร่วมในการทำร้ายทารุณกรรมประชาชนผู้บริสุทธิ์เหมือนๆกัน และเมื่อทั้งสองกลับจากสงคราม ทั้งสองก็ไม่ค่อยได้รับการยอมรับจากสังคมเหมือนๆกัน ทั้งสองกลายเป็นคนพิการทางร่างกายจากสงคราม (พระเอก THE LIGHT พิการที่มือ ส่วนพระเอก MY STEP-BROTHER FRANKENSTEIN เสียตาไปข้างหนึ่ง ถ้าจำไม่ผิด) ผู้คนในสังคมไม่อยากรับรู้ความจริงที่พวกเขาประสบพบเห็นมาในสงคราม แต่ในกรณีของ MY STEP-BROTHER FRANKENSTEIN นั้นค่อนข้างจะหนักข้อกว่าใน THE LIGHT เพราะพระเอกหนังรัสเซียเรื่องนี้มีบาดแผลทางจิตใจอย่างร้ายแรงจากสงครามด้วย และหน้าตาของเขาก็ทำให้ไม่มีสาวๆคนไหนอยากเข้าใกล้เขาอีกต่อไป
ดูโปสเตอร์ของ MY STEP-BROTHER FRANKENSTEIN ได้ที่นี่
http://www.kinoafisha.ru/pictures/1/2090/poster.jpg
2.3 WILD REEDS (ANDRE TECHINE, A+/A) ที่พูดถึงผลกระทบของสงครามแอลจีเรียเหมือนกัน
2.4 THE BATTLE OF ALGIERS (1965, GILLO PONTECORVO)
http://imagesjournal.com/2004/reviews/battlealgiers/
3.BUNSHINSABA (2004, AHN BYEONG-KI) A
http://www.imdb.com/title/tt0415689/
นี่ก็เป็นหนังอีกเรื่องที่รู้สึกว่ามันห่วยๆซ้ำซาก แต่ดูแล้วรู้สึกมีความสุขมากๆโดยเฉพาะช่วง 30 นาทีแรกของหนังเรื่องนี้ น่าเสียดายที่ช่วงท้ายๆเรื่องไม่ค่อยสนุกเท่าที่ควร
4.HAPPILY EVER AFTER (2004, YVAN ATTAL) A-
5.I’VE BEEN WAITING SO LONG (2004, THIRRY KLIFA) A-
6.ELECTRIC SHADOWS (2004, JIANG XIAO) A-
http://www.imdb.com/title/tt0424273/
7.MR. & MRS. SMITH (2005, DOUG LIMAN) B+
ความเห็นเพิ่มเติม
--พูดถึงเรื่องชาวฝรั่งเศสขวาจัดและแอลจีเรีย ก็เลยนึกถึงเรื่องขององค์การ O.A.S. ใน LE PETIT SOLDAT ค่ะ O.A.S. คือ Organization de l’Armee Secrete (Secret Army Organization) ซึ่งเป็นองค์การของกลุ่มหัวรุนแรงขวาจัดที่ก่อการร้ายในยุโรปและแอลจีเรีย กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ขัดขวางแผนของประธานาธิบดีชาร์ลส์ เดอ โกลของฝรั่งเศสที่จะให้เอกราชแก่แอลจีเรีย และเคยวางแผนลอบสังหารเดอ โกลในปี 1961 ด้วย
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ O.A.S. ได้ที่http://news.bbc.co.uk/onthisday/hi/dates/stories/february/27/newsid_2515000/2515735.stm
--พูดถึง Camus ก็เลยนึกถึงหนังฮังการีเรื่อง PLEASANT DAYS (2002, KORNEL MUNDRUCZO, A+) เพราะหนังเรื่องนี้ได้รับแรงบันดาลใจบางส่วนมาจากบทประพันธ์เรื่อง THE STRANGER ของ ALBERT CAMUS ค่ะ
อ่านบทสัมภาษณ์ KORNEL MUNDRUCZO เกี่ยวกับ PLEASANT DAYS และแรงบันดาลใจจาก ALBERT CAMUS ได้ที่
http://www.filmunio.hu/object.2faab980-2a48-48d5-a954-3f3d4e971f80.ivy
--รู้สึกว่า ISABELLE ADJANI จะมีพ่อเป็นชาวแอลจีเรีย-ตุรกี และมีแม่เป็นชาวเยอรมัน
http://www.nationmaster.com/encyclopedia/Isabelle-Adjani
--เห็นแมวใน THE LIGHT แล้วรู้สึกขำ เพราะรู้สึกว่ามันจะ “บ้าผู้ชายหล่อๆ” เป็นอย่างมาก เห็นผู้ชายหล่อๆเป็นไม่ได้ ต้องรีบเสนอหน้ามาคลอเคลียอี๋อ๋อด้วยในทันที เห็นแมวตัวนี้แล้วก็เลยนึกถึงแมวที่ชื่อ “ลินดา แบลร์” ใน ALWAYS (1989, STEVEN SPIELBERG, A+) เพราะแมวตัวนี้ พอเห็นผู้ชายหล่อๆ (แบรด จอห์นสัน) ปุ๊บ ก็รีบเข้ามาพันแข้งพันขาคลอเคลียด้วยในทันทีเหมือนกัน (ข้อความนี้เขียนเล่นๆ ไม่ได้จริงจังอะไรค่ะ)
Monday, June 06, 2005
SLIM TILL DEAD (A)
วันนี้ได้ดูหนังเรื่อง
1.SLIM TILL DEAD (A) ดูที่เซ็นทรัลปิ่นเกล้า หนังเรื่องนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับฆาตกรโรคจิตที่จับหญิงสาวมาขังไว้ แล้วบังคับให้อดอาหารจนผอมตาย
2.A LOVE SONG FOR BOBBY LONG (A/A-)
MOST DESIRABLE ACTOR
1.RAYMOND WONG --SLIM TILL DEAD
2.GABRIEL MACHT—A LOVE SONG FOR BOBBY LONG
http://eur.yimg.com/i/xp/premier_photo/d/d9845598b9.jpg
วันที่ 9 มิ.ย.นี้จะมีหนังเรื่อง “จอมใจบ้านหมูบิน” หรือ HOUSE OF FLYING PIGGER เข้าฉายในไทยด้วย ใครไปดูมาแล้วช่วยเล่าให้ฟังหน่อยนะคะว่าดีหรือเปล่า
เดือนก.ค.นี้จะมีเทศกาลหนังคน-สงคราม-สันติภาพที่ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรค่ะ เข้าไปดูรายละเอียดได้ที่
http://www.sac.or.th/index.htm
เทศกาลนี้มีหนังที่น่าดูสุดๆอย่าง
1.LA VIE ET RIEN D’AUTRE หรือ LIFE AND NOTHING BUT (BERTRAND TAVERNIER, A+++++++++++++) ฉายเสาร์ 2 ก.ค. 10.15 น.
SABINE AZERMA รับบทเป็นผู้หญิงที่ตามหาสามีที่สูญหายไปในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง การแสดงของเธอในหนังเรื่องนี้คือหนึ่งในการแสดงที่ประทับใจดิฉันมากที่สุดในชีวิต
นี่คือรูปของ SABINE AZEMA หนึ่งในดาราหญิงที่เยี่ยมยอดที่สุดของฝรั่งเศสในความเห็นของดิฉัน
http://www.antennefrance.com/arts/film/actrice/SabineAZEMA.jpg
2. The Rose Garden ฉายเสาร์ 2 ก.ค. เวลา 16.30 น.
ข้อมูล Aaron Reichenbacher หนึ่งในเหยื่อสงครามล้างเผ่าพันธุ์กลับคืนสู่เยอรมนีหลังจากที่สงครามได้สิ้นสุดไปหลายปีเพื่อตามหาน้องสาวของเขา ที่สนามบินเมืองแฟรงค์เฟิร์ตนั้นเอง Aaron ได้พบกับอดีตเจ้าหน้าที่หน่วย เอส เอส ผู้มีส่วนรับผิดชอบการตายของเด็ก 20 คนในโรงเรียนแห่งหนึ่งในฮัมบูร์ก เด็กเหล่านั้นเป็นส่วนหนึ่งของ “หนูทดลอง” ทางการแพทย์
ภาพยนตร์สร้างขึ้นจากเรื่องจริงเกี่ยวกับการสังหารเด็ก 20 คนระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ Bullenhuser Road ในเยอรมนี หลังการทดลองทางการแพทย์ เด็กจะถูกฆ่าตายด้วยการแขวนคอทีละคน ในขณะที่เสียงของเพื่อนยังคงวนเวียนอยู่รอบๆ ตัว
ผู้กำกับ Fons Rademakersปี 1989/1990ประเทศ เยอรมันและเนเธอร์แลนด์ประเภท ฟิล์ม 16 มม.ผู้แสดง Maximalian Schell Liv Ullmann Peter Fonda Kurt Hubner Georg Marischka Jan Niklas Hanns Zischler Gila Almagor
FONS RADEMAKERS เคยกำกับหนังเรื่อง THE ASSAULT (1986) ที่ได้รับรางวัลออสการ์หนังต่างประเทศยอดเยี่ยม และนำแสดงโดย DEREK DE LINT ขวัญใจของดิฉัน
MAXIMILIAN SCHELL เคยได้รับรางวัลออสการ์จาก JUDGMENT AT NUREMBERG (1961) และเขาเป็นน้องชายของ MARIA SCHELL นางเอกภาพยนตร์เรื่อง UNE VIE (1958, ALEXANDRE ASTRUC, A++++) ที่เพิ่งเสียชีวิตไปเมื่อไม่กี่เดือนก่อน
MAXIMILIAN SCHELL
http://www.imdb.com/name/nm0001703/
MARIA SCHELL
http://www.imdb.com/name/nm0770730/
UNE VIE
http://www.imdb.com/title/tt0052339/
HANS ZISCHLER ดารานำอีกคนหนึ่งของ THE ROSE GARDEN เคยเล่นหนังดีๆมาแล้วมากมายนับไม่ถ้วน
http://www.imdb.com/name/nm0957193/
3.ANGRY HARVEST กำกับโดยแอกนีชกา ฮอลแลนด์จาก EUROPA EUROPA (A+/A) หนังเรื่องนี้ฉายวันเสาร์ที่ 9 ก.ค. เวลา 17.30 น.
ถ้าอยากรู้ว่าหนังเรื่องไหนน่าดูในเทศกาลหนังฝรั่งเศส ก็เข้าไปอ่านที่กระทู้ของนิตยสาร BIOSCOPE ได้ที่นี่ค่ะhttp://www.bioscopemagazine.com/webboard/index-in.php?id=18157
1.SLIM TILL DEAD (A) ดูที่เซ็นทรัลปิ่นเกล้า หนังเรื่องนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับฆาตกรโรคจิตที่จับหญิงสาวมาขังไว้ แล้วบังคับให้อดอาหารจนผอมตาย
2.A LOVE SONG FOR BOBBY LONG (A/A-)
MOST DESIRABLE ACTOR
1.RAYMOND WONG --SLIM TILL DEAD
2.GABRIEL MACHT—A LOVE SONG FOR BOBBY LONG
http://eur.yimg.com/i/xp/premier_photo/d/d9845598b9.jpg
วันที่ 9 มิ.ย.นี้จะมีหนังเรื่อง “จอมใจบ้านหมูบิน” หรือ HOUSE OF FLYING PIGGER เข้าฉายในไทยด้วย ใครไปดูมาแล้วช่วยเล่าให้ฟังหน่อยนะคะว่าดีหรือเปล่า
เดือนก.ค.นี้จะมีเทศกาลหนังคน-สงคราม-สันติภาพที่ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรค่ะ เข้าไปดูรายละเอียดได้ที่
http://www.sac.or.th/index.htm
เทศกาลนี้มีหนังที่น่าดูสุดๆอย่าง
1.LA VIE ET RIEN D’AUTRE หรือ LIFE AND NOTHING BUT (BERTRAND TAVERNIER, A+++++++++++++) ฉายเสาร์ 2 ก.ค. 10.15 น.
SABINE AZERMA รับบทเป็นผู้หญิงที่ตามหาสามีที่สูญหายไปในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง การแสดงของเธอในหนังเรื่องนี้คือหนึ่งในการแสดงที่ประทับใจดิฉันมากที่สุดในชีวิต
นี่คือรูปของ SABINE AZEMA หนึ่งในดาราหญิงที่เยี่ยมยอดที่สุดของฝรั่งเศสในความเห็นของดิฉัน
http://www.antennefrance.com/arts/film/actrice/SabineAZEMA.jpg
2. The Rose Garden ฉายเสาร์ 2 ก.ค. เวลา 16.30 น.
ข้อมูล Aaron Reichenbacher หนึ่งในเหยื่อสงครามล้างเผ่าพันธุ์กลับคืนสู่เยอรมนีหลังจากที่สงครามได้สิ้นสุดไปหลายปีเพื่อตามหาน้องสาวของเขา ที่สนามบินเมืองแฟรงค์เฟิร์ตนั้นเอง Aaron ได้พบกับอดีตเจ้าหน้าที่หน่วย เอส เอส ผู้มีส่วนรับผิดชอบการตายของเด็ก 20 คนในโรงเรียนแห่งหนึ่งในฮัมบูร์ก เด็กเหล่านั้นเป็นส่วนหนึ่งของ “หนูทดลอง” ทางการแพทย์
ภาพยนตร์สร้างขึ้นจากเรื่องจริงเกี่ยวกับการสังหารเด็ก 20 คนระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ Bullenhuser Road ในเยอรมนี หลังการทดลองทางการแพทย์ เด็กจะถูกฆ่าตายด้วยการแขวนคอทีละคน ในขณะที่เสียงของเพื่อนยังคงวนเวียนอยู่รอบๆ ตัว
ผู้กำกับ Fons Rademakersปี 1989/1990ประเทศ เยอรมันและเนเธอร์แลนด์ประเภท ฟิล์ม 16 มม.ผู้แสดง Maximalian Schell Liv Ullmann Peter Fonda Kurt Hubner Georg Marischka Jan Niklas Hanns Zischler Gila Almagor
FONS RADEMAKERS เคยกำกับหนังเรื่อง THE ASSAULT (1986) ที่ได้รับรางวัลออสการ์หนังต่างประเทศยอดเยี่ยม และนำแสดงโดย DEREK DE LINT ขวัญใจของดิฉัน
MAXIMILIAN SCHELL เคยได้รับรางวัลออสการ์จาก JUDGMENT AT NUREMBERG (1961) และเขาเป็นน้องชายของ MARIA SCHELL นางเอกภาพยนตร์เรื่อง UNE VIE (1958, ALEXANDRE ASTRUC, A++++) ที่เพิ่งเสียชีวิตไปเมื่อไม่กี่เดือนก่อน
MAXIMILIAN SCHELL
http://www.imdb.com/name/nm0001703/
MARIA SCHELL
http://www.imdb.com/name/nm0770730/
UNE VIE
http://www.imdb.com/title/tt0052339/
HANS ZISCHLER ดารานำอีกคนหนึ่งของ THE ROSE GARDEN เคยเล่นหนังดีๆมาแล้วมากมายนับไม่ถ้วน
http://www.imdb.com/name/nm0957193/
3.ANGRY HARVEST กำกับโดยแอกนีชกา ฮอลแลนด์จาก EUROPA EUROPA (A+/A) หนังเรื่องนี้ฉายวันเสาร์ที่ 9 ก.ค. เวลา 17.30 น.
ถ้าอยากรู้ว่าหนังเรื่องไหนน่าดูในเทศกาลหนังฝรั่งเศส ก็เข้าไปอ่านที่กระทู้ของนิตยสาร BIOSCOPE ได้ที่นี่ค่ะhttp://www.bioscopemagazine.com/webboard/index-in.php?id=18157
Sunday, June 05, 2005
EU FILM LISTS
สรุปอันดับเทศกาลหนังยุโรปปีนี้ค่ะ
1.BLIND SPOT (2002, HANNA A.W. SLAK, SLOVENIA, A+)
2.GETTING MY BROTHER LAID (2001, SVEN TADDICKEN, GERMANY, A+)
3.SCHULTZE GETS THE BLUES (2003, MICHAEL SCHORR, GERMANY, A+)
4.THE SON (2002, JEAN-PIERRE DARDENNE + LUC DARDENNE, BELGIUM, A+)
5.SQUINT YOUR EYES (2002, ANDRZEJ JAKIMOWSKI, POLAND, A+)
6.THE ROOT OF THE HEART (2000, PAULO ROCHA, PORTUGAL, A+)
7.SOME SECRETS (2002, ALICE NELLIS, CZECH, A+)
8.PLEASANT DAYS (2002, KORNEL MUNDRUCZO, HUNGARY, A+)
9.I ALWAYS WANTED TO BE A SAINT (2003, GENEVIEVE MERSCH, LUXEMBOURG, A+)
10.A GIRL (2002, DOROTHEE VAN DEN BERGHE, BELGIUM, A+)
11.TSATSIKI FRIENDS FOREVER (2002, EDDIE THOMAS PETERSEN, SWEDEN, A+)
12.ONE MAN UP (2001, PAOLO SORRENTINO, ITALY, A+)
13.AFTERMATH (2004, PAPRIKA STEEN, DENMARK, A+)
14.THE HUNDRED STEPS (2000, MARCO TULLIO GIORDANA, ITALY, A+)
15.MICHAEL COLLINS (1996, NEIL JORDAN, IRELAND, A+)
16.ONE HAND CAN’T CLAP (2003, DAVID ONDRICEK, CZECH, A+)
17.SHADES OF HAPPINESS (2005, CLAES OLSSON, FINLAND, A)
18.FRENCH MEN (2003, MARC ESPOSITO, FRANCE, A-)
19.SCIENCE FICTION (2002, DANY DEPREZ, BELGIUM, A-)
20.IF I WERE A RICH MAN (2002, MICHEL MUNZ + GERARD BITTON, FRANCE, A-)
21.SHE KEPT CRYING FOR THE MOON (1982, STEFAN UHER, SLOVAKIA, A-)
22.SONG FOR A RAGGY BOY (2003, AISLING WALSH, IRELAND, A-)
23.THE DISCOVERY OF HEAVEN (2001, JEROEN KRABBE, NETHERLANDS, B+)
24.YOUNG KEES (2003, ANDRE VAN DUREN, NETHERLANDS, B+)
25.NYNKE (2002, PIETER VERHOEFF, NETHERLANDS, B)
26.THE HIDDEN CITY (2002, CARLOS BALAGUE, SPAIN, B-)
27.ON THE OTHER SIDE OF THE BRIDGE (2002, HU MEI, AUSTRIA, B-)
28.DREAM CAR (2000, BARNA KABAY, HUNGARY, C+)
29.BEWARE OF GREEKS BEARING GUNS (2000, JOHN TATOULIS, GREECE, C+)
MOST DESIRABLE ACTOR
MIKAEL BIRKKJAER--AFTERMATH
http://www.kgl-teater.dk/dkt2002/skuespil/personale/Smbirkkj.jpg
SOME SECRETS ก็เป็นหนังอีกเรื่องที่มีการพูดถึง “นิทาน” ในหนังเหมือนกัน ซึ่งก็คือนิทานเรื่อง THE LITTLE MERMAID
ถ้าเข้าใจไม่ผิด ในหนังเรื่องนี้ คุณแม่เล่าให้ลูกๆฟังว่าเธอเจอกับคุณพ่อครั้งแรกตอนที่คุณพ่อแสดงเป็นตัวประกอบในหนังเรื่องนึง แล้วคุณแม่ก็มีโอกาสจะได้แสดงเป็นตัวประกอบคู่กับคุณพ่อในหนังเรื่องนั้นด้วย อย่างไรก็ดี ชุดของตัวละครที่คุณแม่ต้องใส่ในหนังคับและรัดติ้วมาก จนคุณแม่แทบใส่ไม่ได้ อย่างไรก็ดี คุณแม่ประทับใจกับสำเนียง “สโลวัก” ของคุณพ่อมาก คุณแม่ก็เลยยอมทนเจ็บปวดทุกข์ทรมาน ใส่ชุดรัดติ้วนั้นเพื่อจะได้มีโอกาสร่วมงานกับคุณพ่อและรู้จักกับคุณพ่อ
พอคุณแม่เล่าเรื่องนี้ให้ลูกๆฟัง ลูกๆก็บอกว่าเหมือน LITTLE MERMAID เลย เพราะนางเงือกก็อยากเต้นรำกับเจ้าชาย แต่ในการเต้นรำกับเจ้าชายนั้นนางเงือกจะรู้สึกเหมือนมีเข็มนับพันเล่มมาทิ่มที่เท้าขณะเต้นรำ นางเงือกต้องทนเจ็บปวดอย่างสุดแสนจะบรรยายเพื่อจะได้เข้าใกล้ผู้ชายที่ตัวเองรัก เหมือนกับคุณแม่ที่ยอมใส่ชุดที่มี CORSETTE รัดติ้วเพื่อจะได้รู้จักกับหนุ่มสำเนียงสโลวักคนนั้น
อย่างไรก็ดี คุณแม่ไม่รู้จักนิทานเรื่อง THE LITTLE MERMAID ทั้งๆที่นิทานเรื่องนั้นเป็นนิทานที่พ่อเล่าให้ลูกสาวสองคนฟังเป็นประจำ
SOME SECRETS กับ SQUINT YOUR EYES เป็นหนังอีกสองเรื่องที่โดนใจจนทำให้อยากร้องไห้ในช่วงท้ายๆเรื่องค่ะ
1.BLIND SPOT (2002, HANNA A.W. SLAK, SLOVENIA, A+)
2.GETTING MY BROTHER LAID (2001, SVEN TADDICKEN, GERMANY, A+)
3.SCHULTZE GETS THE BLUES (2003, MICHAEL SCHORR, GERMANY, A+)
4.THE SON (2002, JEAN-PIERRE DARDENNE + LUC DARDENNE, BELGIUM, A+)
5.SQUINT YOUR EYES (2002, ANDRZEJ JAKIMOWSKI, POLAND, A+)
6.THE ROOT OF THE HEART (2000, PAULO ROCHA, PORTUGAL, A+)
7.SOME SECRETS (2002, ALICE NELLIS, CZECH, A+)
8.PLEASANT DAYS (2002, KORNEL MUNDRUCZO, HUNGARY, A+)
9.I ALWAYS WANTED TO BE A SAINT (2003, GENEVIEVE MERSCH, LUXEMBOURG, A+)
10.A GIRL (2002, DOROTHEE VAN DEN BERGHE, BELGIUM, A+)
11.TSATSIKI FRIENDS FOREVER (2002, EDDIE THOMAS PETERSEN, SWEDEN, A+)
12.ONE MAN UP (2001, PAOLO SORRENTINO, ITALY, A+)
13.AFTERMATH (2004, PAPRIKA STEEN, DENMARK, A+)
14.THE HUNDRED STEPS (2000, MARCO TULLIO GIORDANA, ITALY, A+)
15.MICHAEL COLLINS (1996, NEIL JORDAN, IRELAND, A+)
16.ONE HAND CAN’T CLAP (2003, DAVID ONDRICEK, CZECH, A+)
17.SHADES OF HAPPINESS (2005, CLAES OLSSON, FINLAND, A)
18.FRENCH MEN (2003, MARC ESPOSITO, FRANCE, A-)
19.SCIENCE FICTION (2002, DANY DEPREZ, BELGIUM, A-)
20.IF I WERE A RICH MAN (2002, MICHEL MUNZ + GERARD BITTON, FRANCE, A-)
21.SHE KEPT CRYING FOR THE MOON (1982, STEFAN UHER, SLOVAKIA, A-)
22.SONG FOR A RAGGY BOY (2003, AISLING WALSH, IRELAND, A-)
23.THE DISCOVERY OF HEAVEN (2001, JEROEN KRABBE, NETHERLANDS, B+)
24.YOUNG KEES (2003, ANDRE VAN DUREN, NETHERLANDS, B+)
25.NYNKE (2002, PIETER VERHOEFF, NETHERLANDS, B)
26.THE HIDDEN CITY (2002, CARLOS BALAGUE, SPAIN, B-)
27.ON THE OTHER SIDE OF THE BRIDGE (2002, HU MEI, AUSTRIA, B-)
28.DREAM CAR (2000, BARNA KABAY, HUNGARY, C+)
29.BEWARE OF GREEKS BEARING GUNS (2000, JOHN TATOULIS, GREECE, C+)
MOST DESIRABLE ACTOR
MIKAEL BIRKKJAER--AFTERMATH
http://www.kgl-teater.dk/dkt2002/skuespil/personale/Smbirkkj.jpg
SOME SECRETS ก็เป็นหนังอีกเรื่องที่มีการพูดถึง “นิทาน” ในหนังเหมือนกัน ซึ่งก็คือนิทานเรื่อง THE LITTLE MERMAID
ถ้าเข้าใจไม่ผิด ในหนังเรื่องนี้ คุณแม่เล่าให้ลูกๆฟังว่าเธอเจอกับคุณพ่อครั้งแรกตอนที่คุณพ่อแสดงเป็นตัวประกอบในหนังเรื่องนึง แล้วคุณแม่ก็มีโอกาสจะได้แสดงเป็นตัวประกอบคู่กับคุณพ่อในหนังเรื่องนั้นด้วย อย่างไรก็ดี ชุดของตัวละครที่คุณแม่ต้องใส่ในหนังคับและรัดติ้วมาก จนคุณแม่แทบใส่ไม่ได้ อย่างไรก็ดี คุณแม่ประทับใจกับสำเนียง “สโลวัก” ของคุณพ่อมาก คุณแม่ก็เลยยอมทนเจ็บปวดทุกข์ทรมาน ใส่ชุดรัดติ้วนั้นเพื่อจะได้มีโอกาสร่วมงานกับคุณพ่อและรู้จักกับคุณพ่อ
พอคุณแม่เล่าเรื่องนี้ให้ลูกๆฟัง ลูกๆก็บอกว่าเหมือน LITTLE MERMAID เลย เพราะนางเงือกก็อยากเต้นรำกับเจ้าชาย แต่ในการเต้นรำกับเจ้าชายนั้นนางเงือกจะรู้สึกเหมือนมีเข็มนับพันเล่มมาทิ่มที่เท้าขณะเต้นรำ นางเงือกต้องทนเจ็บปวดอย่างสุดแสนจะบรรยายเพื่อจะได้เข้าใกล้ผู้ชายที่ตัวเองรัก เหมือนกับคุณแม่ที่ยอมใส่ชุดที่มี CORSETTE รัดติ้วเพื่อจะได้รู้จักกับหนุ่มสำเนียงสโลวักคนนั้น
อย่างไรก็ดี คุณแม่ไม่รู้จักนิทานเรื่อง THE LITTLE MERMAID ทั้งๆที่นิทานเรื่องนั้นเป็นนิทานที่พ่อเล่าให้ลูกสาวสองคนฟังเป็นประจำ
SOME SECRETS กับ SQUINT YOUR EYES เป็นหนังอีกสองเรื่องที่โดนใจจนทำให้อยากร้องไห้ในช่วงท้ายๆเรื่องค่ะ
TSATSIKI FRIENDS FOREVER (A+)
วันนี้ได้ดูเรื่อง
1.TSATSIKI FRIENDS FOREVER (2002, EDDIE THOMAS PETERSEN, SWEDEN, A+)
http://www.imdb.com/title/tt0293667/
รู้สึกถูกโฉลกกับหนังเด็กเรื่องนี้มาตั้งแต่ภาคแรกแล้ว (Tsatsiki, Mum, and the Policeman) ไม่รู้เหมือนกันว่าเพราะอะไรตัวเองถึงถูกโฉลกกับหนังเด็กชุดนี้มากเป็นพิเศษ ทั้งๆที่หนังชุด TSATSIKI นี้ดูเหมือนไม่ได้มีอะไรลึกซึ้งแปลกใหม่แต่อย่างใดทั้งสิ้น
เดาว่าปัจจัยบางส่วนที่ทำให้ตัวเองชอบหนังชุด TSATSIKI มาก เป็นเพราะว่า
1.1หนังทั้งสองภาคมีเนื้อหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างเด็กชายตัวน้อยๆกับหนุ่มหล่อที่เป็นพ่อเลี้ยงของเขา ซึ่งถ้าหากเป็นในหนังเรื่องอื่นๆ ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อเลี้ยงกับลูกเลี้ยงมักจะออกมาในทางลบเป็นส่วนใหญ่ แต่ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อเลี้ยงหนุ่มหล่อกับลูกเลี้ยงในหนังชุดนี้ออกมาในทางบวกอย่างรุนแรงมาก
1.2 แม่ของ TSATSIKI ใช้ชีวิตพัวพันอยู่กับหนุ่มหล่อสองคน ซึ่งได้แก่ตำรวจหนุ่มหล่อกับนักดนตรีหนุ่มหล่อ ซึ่งจริงๆแล้วหนังสามารถแต่งเรื่องให้หนุ่มหล่อสองคนหึงหวงแม่พระเอกได้อย่างสบายมากๆ แต่ปรากฏว่าหนุ่มหล่อสองคนนี้กลับแทบไม่หึงแม่พระเอกเลย และดูเหมือนหนุ่มหล่อสองคนนี้จะให้อภัยและเห็นใจซึ่งกันและกันเป็นอย่างดี ก็เลยทำให้ประทับใจกับจุดนี้อย่างมากเช่นกัน
2.MICHAEL COLLINS (1996, NEIL JORDAN, IRELAND, A+)
หนังสนุกตื่นเต้นเร้าใจมาก ฉากที่สะเทือนใจมากคือฉากทหารสังหารหมู่ประชาชนตายทั้งสนามกีฬา
อลัน ริคแมนเล่นได้น่าตบมากๆในหนังเรื่องนี้ ในขณะที่ชาร์ลส์ แดนซ์ก็แผ่รัศมีความน่ากลัวออกมาจากตัวได้ดีเหมือนกัน ดูไปดูมาแล้วรู้สึกว่าน่าจะมีหนังที่จับเอาชาร์ลส์ แดนซ์ กับเจมส์ วูดส์มาเล่นบทปะทะกันบ้าง
3.SCIENCE FICTION (2002, DANY DEPREZ, BELGIUM, A-)
http://www.imdb.com/title/tt0314624/
หนังเรื่องนี้เป็นหนังเกี่ยวกับเด็กที่ชอบมากๆอีกเรื่องนึง หนังถ่ายทอดโลกที่มองผ่านมุมมองของเด็กได้น่าประทับใจมาก
4.THE DISCOVERY OF HEAVEN (2001, JEROEN KRABBE, NETHERLANDS, B+)
ชอบการแบ่งเนื้อเรื่องออกเป็น 4 ส่วนในหนังเรื่องนี้มาก แต่ส่วนที่ 4 ซึ่งควรจะเป็นส่วน CLIMAX กลับไม่ค่อยสนุกตื่นเต้นเร้าใจเท่าไหร่ ไม่รู้เหมือนกันว่าหนังเรื่องนี้มีสัญลักษณ์หรือต้องการจะสอนอะไรคนดูเป็นพิเศษหรือเปล่า แต่ช่วงแรกๆของหนังรู้สึกว่าหนังดูลุ้นน่าติดตามดี และก็นึกว่าหนังจะมีอะไรระทึกใจในช่วงท้าย แต่
ปรากฎว่าไม่ได้เป็นอย่างที่คิด ก็เลยทำให้รู้สึกเบื่อๆช่วงท้ายเล็กน้อย
อย่างไรก็ดี หนังเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับศาสนาที่ดิฉันไม่มีความรู้ คิดว่าผู้ชมที่มีความรู้เกี่ยวข้องกับศาสนาในหนังอาจจะเข้าใจ, รู้สึกอิน หรือรับสารจากหนังได้ดีกว่าดิฉันเป็นอย่างมาก
5.DREAM CAR (2000, BARNA KABAY, HUNGARY, C+)
http://www.imdb.com/title/tt0265317/
MOST DESIRABLE ACTOR
1.ANDRAS STOHL (เกิดปี 1967)—DREAM CAR
http://www.imdb.com/name/nm0831127/
http://www.filmkultura.iif.hu:8080/2000/articles/films/images/rosszfi/rosszfi3.jpg
2.JOAKIM NATTERQUIST (เกิดปี 1974)—TSATSIKI FRIENDS FOREVER
http://www.imdb.com/name/nm0639010/
3.KOEN DE BOUW (เกิดปี 1964)—SCIENCE FICTION
http://www.imdb.com/name/nm0100460/
http://ms.skynet.be/alzheimer/cast/images/koen.jpg
4.ERIC ERICSON (เกิดปี 1974)—TSATSIKI FRIENDS FOREVER
http://www.imdb.com/name/nm0259144/
FAVORITE ACTOR
1.DAVID GECLOWICZ—SCIENCE FICTION
2.SAMUEL HAUS—TSATSIKI FRIENDS FOREVER
http://webbhotell.c3l.com/teamsmart/artist/samuel.jpg
FAVORITE ACTRESS
FRAN MICHIELS—SCIENCE FICTION
FAVORITE SUPPORTING ACTRESS
WENDY VAN DIJK—SCIENCE FICTION
MARION HANSEL—SCIENCE FICTION
FAVORITE SOUNDTRACK
1.LIFE ON MARS ในเครดิตท้ายหนังเรื่อง SCIENCE FICTION
2.BREAKFAST IN VEGAS ของ PRAGA KHAN ในหนังเรื่อง I ALWAYS WANTED TO BE A SAINT ในฉากนางเอกเต้นรำในเธค
เพลง BREAKFAST IN VEGAS นี้บรรจุอยู่ในอัลบัมชุด TWENTY FIRST CENTURY SKIN (1999) ของ PRAGA KHAN ซึ่งเป็นอัลบัมที่สังกัดเรดบีท (ที่ดิฉันรัก) นำมาผลิตขายในไทย
กระทู้ประทับใจเกี่ยวกับ HOUSE OR WAX (A+)
http://www.pantip.com/cafe/chalermthai/topic/A3517530/A3517530.html
ตอบน้อง merveillesxx
--ชอบที่น้อง merveillesxx เขียนว่า “วัยรุ่นเป็นวัยที่มีสถิติการสติแตกบ่อยที่สุด” อ่านประโยคนี้แล้วทำให้นึกถึงนักวิจารณ์บางคนที่เขียนวิจารณ์ละครทีวีชุด BUFFY THE VAMPIRE SLAYER ถ้าจำไม่ผิด นักวิจารณ์เขาตั้งข้อสังเกตว่าในช่วงที่คนเราเป็นวัยรุ่นนั้น เราจะรู้สึกเหมือนกับว่า “โลกกำลังจะแตกทุกสัปดาห์” หรือ “ชีวิตของฉันกำลังจะพังพินาศได้ในทุกๆสัปดาห์” (ซึ่งสาเหตุอาจจะเกิดจากการมีสิวเม็ดโตผุดขึ้นที่หน้า หรือไม่มีเงินซื้อชุดสวยๆใส่) และละครชุด BUFFY นั้นก็ดูเหมือนจะทำให้ “ความหวาดกลัว” ของวัยรุ่นกลายเป็น “รูปธรรม” ขึ้นมาจริงๆ เพราะชีวิตวัยรุ่นในละครเรื่องนี้เผชิญกับเหตุการณ์ที่ทำให้รู้สึกว่าโลกกำลังจะพังทลาย (เพราะปีศาจจะยึดครองโลก) ในทุกๆสัปดาห์
เคยดูละครชุด BUFFY ไม่กี่ตอน แต่ดูแล้วก็ฮาตรงจุดนึง คือจุดที่ว่าในแต่ละตอนนั้นนักเรียนในโรงเรียนไฮสกูลของ BUFFY จะถูกฆ่าตายไปตอนละประมาณ 1-5 คน ซึ่งถ้าเป็นเรื่องจริง โรงเรียนไฮสกูลแห่งนั้นคงจะน่ากลัวมากๆที่มีนักเรียนในโรงเรียนทยอยถูกฆ่าตายไปเรื่อยๆในทุกๆสัปดาห์
*****ข้างล่างนี้มี SPOILERS ของ I ALWAYS WANTED TO BE A SAINT (A+)
--ชอบเรื่องของนักแข่งรถชื่อดังเหมือนกัน ถ้าเข้าใจไม่ผิด นักแข่งรถคนนี้ชอบพูดว่า “เราต้องตั้งมาตรฐานของตัวเองให้สูงอยู่เสมอ” และพูดว่า “ผมต้องเป็นที่หนึ่งเท่านั้น” และเขาก็น่าจะตายเพราะการตั้งมาตรฐานสูงของตัวเองเช่นกัน
นางเอกก็ดูเหมือนจะเจ็บปวดทุกข์ทรมานกับชีวิตเพราะการตั้งมาตรฐานสูงของตัวเองเช่นกัน เธอพยายามจะทำความดีให้ถึงที่สุด พยายามจะทำชีวิตของตัวเองให้ดีสมบูรณ์แบบ และพยายามจะทำชีวิตของคนอื่นๆให้ดีสมบูรณ์แบบตามไปด้วย และเธอก็ต้องเจ็บปวดเพราะมาตรฐานที่เธอตั้งขึ้นมาเอง
--ดิฉันชอบตัวละครหญิงที่ทำพฤติกรรมเลวๆอย่างนางเอกหนังเรื่องนี้มากค่ะ แต่ก็ไม่อยากเจอคนอย่างนี้ในชีวิตจริงเหมือนกัน เพียงแต่ว่ามีความสุขมากๆที่ได้ดูตัวละครนิสัยอย่างนี้ในจอภาพยนตร์ ก็เลยทำให้ชอบหนังเรื่องนี้อย่างรุนแรงมาก
พัฒนาการของตัวละครนางเอกในเรื่องนี้ ทำให้นึกถึงตัวละครที่เส้าเหม่ยฉีแสดงในละครโทรทัศน์ฮ่องกงเรื่อง CONSCIENCE (A++++++) เหมือนกันค่ะ เพราะตัวละครหญิงสองคนนี้มีจุดคล้ายกันที่ว่า
1.ในช่วงเริ่มเรื่อง เธอเป็นตัวละครที่เชื่อว่า “ทำดีแล้วจะได้ดี”
2.แต่หลังจากนั้น เธอก็พบว่าในชีวิตจริง เมื่อใดก็ตามที่เธอทำดี เธอกลับได้ความชั่วร้ายและความซวยมากมายเข้ามาในชีวิต (จริงๆแล้วดิฉันคิดว่าเป็นเพราะพวกเธอทำดีอย่างโง่ๆ หรือทำดีอย่างขาด “ปัญญา” มากกว่า)
3.หลังจากนั้น ตัวละครหญิงสองคนนี้ก็เลิกเชื่อว่า “ทำดีได้ดี” และหันมาเป็นฝ่ายทำชั่วเสียเอง และทั้งสองคนนี้ก็ทำลายชีวิตของคนรอบข้าง ทั้งคนในครอบครัวเดียวกันกับเธอและเพื่อนๆของเธอ และก็ทำชั่วไปอย่างนั้นเรื่อยๆจนจบเรื่อง
อีกจุดที่รู้สึกชอบและรู้สึกฮาใน I ALWAYS WANTED TO BE A SAINT ก็คือว่ามันทำให้นึกถึงหนังจีนกำลังภายใน (โดยที่ตัวผู้กำกับคงไม่ได้ตั้งใจแต่อย่างใด) เพราะในหนังจีนกำลังภายในนั้น ในช่วงกลางเรื่องค่อนไปทางท้ายเรื่อง มักจะมีฉากที่พระเอก “ฝึกวิชา” เพื่อเอาไปใช้ต่อสู้กับมารร้าย โดยการฝึกวิชาหรือวิทยายุทธนั้นอาจรวมถึงการทำงานบ้าน อย่างเช่นการถูพื้น, ทาสีกำแพง, หาบถังน้ำหนักๆ ซึ่งจริงๆแล้วเป็นการช่วยฝึกวิทยายุทธไปด้วยโดยไม่รู้ตัว
ส่วนใน I ALWAYS WANTED TO BE A SAINT นั้น ในช่วงกลางเรื่อง นางเอกเริ่มได้รับบทเรียนแล้วว่า “ทำดีได้ชั่ว” และในขณะที่เธอกำลังจะเปลี่ยนมาเป็นคนชั่วมากขึ้นเรื่อยๆนั้น (หรือในช่วง TRANSITION หรือ TRANSFORMATION PERIOD) หนังก็ใส่ฉาก 3 ฉากนี้เข้ามา
1.นางเอกทำความสะอาดห้องอย่างบ้าคลั่ง
2.นางเอกฝึกไต่เขาโดยไม่กลัวภยันตรายใดๆ
3.นางเอกอาบน้ำ และปรับอุณหภูมิของน้ำในระหว่างการอาบ แต่ดิฉันดูไม่ทันว่าเธอปรับอุณหภูมิจากร้อนไปเย็นหรือปรับอะไรยังไง แต่สังเกตเห็นแค่ว่าเธอปรับอุณหภูมิ และก็เดาเอาว่าเธอคงปรับไปเป็นอาบน้ำที่เย็นจัด เพราะพอเธอปรับอุณหภูมิ เธอก็ทำท่าเหมือนเธอต้องใช้ความอดทนอย่างรุนแรงต่ออุณหภูมิน้ำที่อาบในขณะนั้น แต่เธอก็ทนไปเรื่อยๆ แววตาของเธอกล้าแข็งขึ้นเรื่อยๆเหมือนกับเธอกำลังพูดในใจว่า “ฉันต้องทนให้ได้” และตัวเธอที่เหมือนกับสั่นๆเล็กน้อยในช่วงแรกก็หายสั่น เธอทนอุณหภูมิน้ำได้สำเร็จตามความตั้งใจของเธอ
ฉากนี้ทำให้ดิฉันรู้สึกฮาค่ะ เพราะฉากนี้ทำให้นึกถึงหนังจีนกำลังภายในหลายๆเรื่องที่ชอบมีฉาก “จอมยุทธฝึกวิชากลางน้ำตกซ่านกระเซ็น” หรือ “จอมยุทธนั่งขัดสมาธิกลางน้ำตก” อะไรทำนองนั้น
แต่สิ่งที่แตกต่างกันก็คือใน I ALWAYS WANTED TO BE A SAINT นั้น พอนางเอกฝึกวิทยายุทธด้วยการทำความสะอาดห้อง, ปีนเขา และทนอุณหภูมิน้ำแล้ว เธอกลับไม่ได้ใช้ความกล้าแข็งทางจิตใจของเธอออกไปต่อสู้กับมารร้ายหรือช่วยเหลือประชาราษฎร์แต่อย่างใด แต่เธอกลับออกไป “ทำร้ายทุกๆคนที่อยู่รอบตัวเธอ” หลังจากนั้น
1.TSATSIKI FRIENDS FOREVER (2002, EDDIE THOMAS PETERSEN, SWEDEN, A+)
http://www.imdb.com/title/tt0293667/
รู้สึกถูกโฉลกกับหนังเด็กเรื่องนี้มาตั้งแต่ภาคแรกแล้ว (Tsatsiki, Mum, and the Policeman) ไม่รู้เหมือนกันว่าเพราะอะไรตัวเองถึงถูกโฉลกกับหนังเด็กชุดนี้มากเป็นพิเศษ ทั้งๆที่หนังชุด TSATSIKI นี้ดูเหมือนไม่ได้มีอะไรลึกซึ้งแปลกใหม่แต่อย่างใดทั้งสิ้น
เดาว่าปัจจัยบางส่วนที่ทำให้ตัวเองชอบหนังชุด TSATSIKI มาก เป็นเพราะว่า
1.1หนังทั้งสองภาคมีเนื้อหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างเด็กชายตัวน้อยๆกับหนุ่มหล่อที่เป็นพ่อเลี้ยงของเขา ซึ่งถ้าหากเป็นในหนังเรื่องอื่นๆ ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อเลี้ยงกับลูกเลี้ยงมักจะออกมาในทางลบเป็นส่วนใหญ่ แต่ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อเลี้ยงหนุ่มหล่อกับลูกเลี้ยงในหนังชุดนี้ออกมาในทางบวกอย่างรุนแรงมาก
1.2 แม่ของ TSATSIKI ใช้ชีวิตพัวพันอยู่กับหนุ่มหล่อสองคน ซึ่งได้แก่ตำรวจหนุ่มหล่อกับนักดนตรีหนุ่มหล่อ ซึ่งจริงๆแล้วหนังสามารถแต่งเรื่องให้หนุ่มหล่อสองคนหึงหวงแม่พระเอกได้อย่างสบายมากๆ แต่ปรากฏว่าหนุ่มหล่อสองคนนี้กลับแทบไม่หึงแม่พระเอกเลย และดูเหมือนหนุ่มหล่อสองคนนี้จะให้อภัยและเห็นใจซึ่งกันและกันเป็นอย่างดี ก็เลยทำให้ประทับใจกับจุดนี้อย่างมากเช่นกัน
2.MICHAEL COLLINS (1996, NEIL JORDAN, IRELAND, A+)
หนังสนุกตื่นเต้นเร้าใจมาก ฉากที่สะเทือนใจมากคือฉากทหารสังหารหมู่ประชาชนตายทั้งสนามกีฬา
อลัน ริคแมนเล่นได้น่าตบมากๆในหนังเรื่องนี้ ในขณะที่ชาร์ลส์ แดนซ์ก็แผ่รัศมีความน่ากลัวออกมาจากตัวได้ดีเหมือนกัน ดูไปดูมาแล้วรู้สึกว่าน่าจะมีหนังที่จับเอาชาร์ลส์ แดนซ์ กับเจมส์ วูดส์มาเล่นบทปะทะกันบ้าง
3.SCIENCE FICTION (2002, DANY DEPREZ, BELGIUM, A-)
http://www.imdb.com/title/tt0314624/
หนังเรื่องนี้เป็นหนังเกี่ยวกับเด็กที่ชอบมากๆอีกเรื่องนึง หนังถ่ายทอดโลกที่มองผ่านมุมมองของเด็กได้น่าประทับใจมาก
4.THE DISCOVERY OF HEAVEN (2001, JEROEN KRABBE, NETHERLANDS, B+)
ชอบการแบ่งเนื้อเรื่องออกเป็น 4 ส่วนในหนังเรื่องนี้มาก แต่ส่วนที่ 4 ซึ่งควรจะเป็นส่วน CLIMAX กลับไม่ค่อยสนุกตื่นเต้นเร้าใจเท่าไหร่ ไม่รู้เหมือนกันว่าหนังเรื่องนี้มีสัญลักษณ์หรือต้องการจะสอนอะไรคนดูเป็นพิเศษหรือเปล่า แต่ช่วงแรกๆของหนังรู้สึกว่าหนังดูลุ้นน่าติดตามดี และก็นึกว่าหนังจะมีอะไรระทึกใจในช่วงท้าย แต่
ปรากฎว่าไม่ได้เป็นอย่างที่คิด ก็เลยทำให้รู้สึกเบื่อๆช่วงท้ายเล็กน้อย
อย่างไรก็ดี หนังเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับศาสนาที่ดิฉันไม่มีความรู้ คิดว่าผู้ชมที่มีความรู้เกี่ยวข้องกับศาสนาในหนังอาจจะเข้าใจ, รู้สึกอิน หรือรับสารจากหนังได้ดีกว่าดิฉันเป็นอย่างมาก
5.DREAM CAR (2000, BARNA KABAY, HUNGARY, C+)
http://www.imdb.com/title/tt0265317/
MOST DESIRABLE ACTOR
1.ANDRAS STOHL (เกิดปี 1967)—DREAM CAR
http://www.imdb.com/name/nm0831127/
http://www.filmkultura.iif.hu:8080/2000/articles/films/images/rosszfi/rosszfi3.jpg
2.JOAKIM NATTERQUIST (เกิดปี 1974)—TSATSIKI FRIENDS FOREVER
http://www.imdb.com/name/nm0639010/
3.KOEN DE BOUW (เกิดปี 1964)—SCIENCE FICTION
http://www.imdb.com/name/nm0100460/
http://ms.skynet.be/alzheimer/cast/images/koen.jpg
4.ERIC ERICSON (เกิดปี 1974)—TSATSIKI FRIENDS FOREVER
http://www.imdb.com/name/nm0259144/
FAVORITE ACTOR
1.DAVID GECLOWICZ—SCIENCE FICTION
2.SAMUEL HAUS—TSATSIKI FRIENDS FOREVER
http://webbhotell.c3l.com/teamsmart/artist/samuel.jpg
FAVORITE ACTRESS
FRAN MICHIELS—SCIENCE FICTION
FAVORITE SUPPORTING ACTRESS
WENDY VAN DIJK—SCIENCE FICTION
MARION HANSEL—SCIENCE FICTION
FAVORITE SOUNDTRACK
1.LIFE ON MARS ในเครดิตท้ายหนังเรื่อง SCIENCE FICTION
2.BREAKFAST IN VEGAS ของ PRAGA KHAN ในหนังเรื่อง I ALWAYS WANTED TO BE A SAINT ในฉากนางเอกเต้นรำในเธค
เพลง BREAKFAST IN VEGAS นี้บรรจุอยู่ในอัลบัมชุด TWENTY FIRST CENTURY SKIN (1999) ของ PRAGA KHAN ซึ่งเป็นอัลบัมที่สังกัดเรดบีท (ที่ดิฉันรัก) นำมาผลิตขายในไทย
กระทู้ประทับใจเกี่ยวกับ HOUSE OR WAX (A+)
http://www.pantip.com/cafe/chalermthai/topic/A3517530/A3517530.html
ตอบน้อง merveillesxx
--ชอบที่น้อง merveillesxx เขียนว่า “วัยรุ่นเป็นวัยที่มีสถิติการสติแตกบ่อยที่สุด” อ่านประโยคนี้แล้วทำให้นึกถึงนักวิจารณ์บางคนที่เขียนวิจารณ์ละครทีวีชุด BUFFY THE VAMPIRE SLAYER ถ้าจำไม่ผิด นักวิจารณ์เขาตั้งข้อสังเกตว่าในช่วงที่คนเราเป็นวัยรุ่นนั้น เราจะรู้สึกเหมือนกับว่า “โลกกำลังจะแตกทุกสัปดาห์” หรือ “ชีวิตของฉันกำลังจะพังพินาศได้ในทุกๆสัปดาห์” (ซึ่งสาเหตุอาจจะเกิดจากการมีสิวเม็ดโตผุดขึ้นที่หน้า หรือไม่มีเงินซื้อชุดสวยๆใส่) และละครชุด BUFFY นั้นก็ดูเหมือนจะทำให้ “ความหวาดกลัว” ของวัยรุ่นกลายเป็น “รูปธรรม” ขึ้นมาจริงๆ เพราะชีวิตวัยรุ่นในละครเรื่องนี้เผชิญกับเหตุการณ์ที่ทำให้รู้สึกว่าโลกกำลังจะพังทลาย (เพราะปีศาจจะยึดครองโลก) ในทุกๆสัปดาห์
เคยดูละครชุด BUFFY ไม่กี่ตอน แต่ดูแล้วก็ฮาตรงจุดนึง คือจุดที่ว่าในแต่ละตอนนั้นนักเรียนในโรงเรียนไฮสกูลของ BUFFY จะถูกฆ่าตายไปตอนละประมาณ 1-5 คน ซึ่งถ้าเป็นเรื่องจริง โรงเรียนไฮสกูลแห่งนั้นคงจะน่ากลัวมากๆที่มีนักเรียนในโรงเรียนทยอยถูกฆ่าตายไปเรื่อยๆในทุกๆสัปดาห์
*****ข้างล่างนี้มี SPOILERS ของ I ALWAYS WANTED TO BE A SAINT (A+)
--ชอบเรื่องของนักแข่งรถชื่อดังเหมือนกัน ถ้าเข้าใจไม่ผิด นักแข่งรถคนนี้ชอบพูดว่า “เราต้องตั้งมาตรฐานของตัวเองให้สูงอยู่เสมอ” และพูดว่า “ผมต้องเป็นที่หนึ่งเท่านั้น” และเขาก็น่าจะตายเพราะการตั้งมาตรฐานสูงของตัวเองเช่นกัน
นางเอกก็ดูเหมือนจะเจ็บปวดทุกข์ทรมานกับชีวิตเพราะการตั้งมาตรฐานสูงของตัวเองเช่นกัน เธอพยายามจะทำความดีให้ถึงที่สุด พยายามจะทำชีวิตของตัวเองให้ดีสมบูรณ์แบบ และพยายามจะทำชีวิตของคนอื่นๆให้ดีสมบูรณ์แบบตามไปด้วย และเธอก็ต้องเจ็บปวดเพราะมาตรฐานที่เธอตั้งขึ้นมาเอง
--ดิฉันชอบตัวละครหญิงที่ทำพฤติกรรมเลวๆอย่างนางเอกหนังเรื่องนี้มากค่ะ แต่ก็ไม่อยากเจอคนอย่างนี้ในชีวิตจริงเหมือนกัน เพียงแต่ว่ามีความสุขมากๆที่ได้ดูตัวละครนิสัยอย่างนี้ในจอภาพยนตร์ ก็เลยทำให้ชอบหนังเรื่องนี้อย่างรุนแรงมาก
พัฒนาการของตัวละครนางเอกในเรื่องนี้ ทำให้นึกถึงตัวละครที่เส้าเหม่ยฉีแสดงในละครโทรทัศน์ฮ่องกงเรื่อง CONSCIENCE (A++++++) เหมือนกันค่ะ เพราะตัวละครหญิงสองคนนี้มีจุดคล้ายกันที่ว่า
1.ในช่วงเริ่มเรื่อง เธอเป็นตัวละครที่เชื่อว่า “ทำดีแล้วจะได้ดี”
2.แต่หลังจากนั้น เธอก็พบว่าในชีวิตจริง เมื่อใดก็ตามที่เธอทำดี เธอกลับได้ความชั่วร้ายและความซวยมากมายเข้ามาในชีวิต (จริงๆแล้วดิฉันคิดว่าเป็นเพราะพวกเธอทำดีอย่างโง่ๆ หรือทำดีอย่างขาด “ปัญญา” มากกว่า)
3.หลังจากนั้น ตัวละครหญิงสองคนนี้ก็เลิกเชื่อว่า “ทำดีได้ดี” และหันมาเป็นฝ่ายทำชั่วเสียเอง และทั้งสองคนนี้ก็ทำลายชีวิตของคนรอบข้าง ทั้งคนในครอบครัวเดียวกันกับเธอและเพื่อนๆของเธอ และก็ทำชั่วไปอย่างนั้นเรื่อยๆจนจบเรื่อง
อีกจุดที่รู้สึกชอบและรู้สึกฮาใน I ALWAYS WANTED TO BE A SAINT ก็คือว่ามันทำให้นึกถึงหนังจีนกำลังภายใน (โดยที่ตัวผู้กำกับคงไม่ได้ตั้งใจแต่อย่างใด) เพราะในหนังจีนกำลังภายในนั้น ในช่วงกลางเรื่องค่อนไปทางท้ายเรื่อง มักจะมีฉากที่พระเอก “ฝึกวิชา” เพื่อเอาไปใช้ต่อสู้กับมารร้าย โดยการฝึกวิชาหรือวิทยายุทธนั้นอาจรวมถึงการทำงานบ้าน อย่างเช่นการถูพื้น, ทาสีกำแพง, หาบถังน้ำหนักๆ ซึ่งจริงๆแล้วเป็นการช่วยฝึกวิทยายุทธไปด้วยโดยไม่รู้ตัว
ส่วนใน I ALWAYS WANTED TO BE A SAINT นั้น ในช่วงกลางเรื่อง นางเอกเริ่มได้รับบทเรียนแล้วว่า “ทำดีได้ชั่ว” และในขณะที่เธอกำลังจะเปลี่ยนมาเป็นคนชั่วมากขึ้นเรื่อยๆนั้น (หรือในช่วง TRANSITION หรือ TRANSFORMATION PERIOD) หนังก็ใส่ฉาก 3 ฉากนี้เข้ามา
1.นางเอกทำความสะอาดห้องอย่างบ้าคลั่ง
2.นางเอกฝึกไต่เขาโดยไม่กลัวภยันตรายใดๆ
3.นางเอกอาบน้ำ และปรับอุณหภูมิของน้ำในระหว่างการอาบ แต่ดิฉันดูไม่ทันว่าเธอปรับอุณหภูมิจากร้อนไปเย็นหรือปรับอะไรยังไง แต่สังเกตเห็นแค่ว่าเธอปรับอุณหภูมิ และก็เดาเอาว่าเธอคงปรับไปเป็นอาบน้ำที่เย็นจัด เพราะพอเธอปรับอุณหภูมิ เธอก็ทำท่าเหมือนเธอต้องใช้ความอดทนอย่างรุนแรงต่ออุณหภูมิน้ำที่อาบในขณะนั้น แต่เธอก็ทนไปเรื่อยๆ แววตาของเธอกล้าแข็งขึ้นเรื่อยๆเหมือนกับเธอกำลังพูดในใจว่า “ฉันต้องทนให้ได้” และตัวเธอที่เหมือนกับสั่นๆเล็กน้อยในช่วงแรกก็หายสั่น เธอทนอุณหภูมิน้ำได้สำเร็จตามความตั้งใจของเธอ
ฉากนี้ทำให้ดิฉันรู้สึกฮาค่ะ เพราะฉากนี้ทำให้นึกถึงหนังจีนกำลังภายในหลายๆเรื่องที่ชอบมีฉาก “จอมยุทธฝึกวิชากลางน้ำตกซ่านกระเซ็น” หรือ “จอมยุทธนั่งขัดสมาธิกลางน้ำตก” อะไรทำนองนั้น
แต่สิ่งที่แตกต่างกันก็คือใน I ALWAYS WANTED TO BE A SAINT นั้น พอนางเอกฝึกวิทยายุทธด้วยการทำความสะอาดห้อง, ปีนเขา และทนอุณหภูมิน้ำแล้ว เธอกลับไม่ได้ใช้ความกล้าแข็งทางจิตใจของเธอออกไปต่อสู้กับมารร้ายหรือช่วยเหลือประชาราษฎร์แต่อย่างใด แต่เธอกลับออกไป “ทำร้ายทุกๆคนที่อยู่รอบตัวเธอ” หลังจากนั้น
Subscribe to:
Posts (Atom)