Tuesday, May 31, 2005

SLEPA PEGA (A+)

--เมื่อวันอาทิตย์ก็เจอปัญหาเล็กน้อยเหมือนกันค่ะ เพราะตอนที่ดู SHADES OF HAPPINESS ดิฉันได้ที่นั่งติดกับคนบ้า เป็นคนไทยผู้ชายพูดบ่นงึมงัมเสียสติอยู่คนเดียวตั้งแต่ช่วงโฆษณา เพราะฉะนั้นพอตอนที่หนังจะเริ่มฉาย ดิฉันเลยตัดสินใจลุกเปลี่ยนที่นั่งเพื่อไปนั่งแถวหน้าสุดที่ไม่มีคน เพราะดิฉันรู้ดีว่าถ้าหากนั่งติดกับคนบ้าคนนี้ต่อไปเรื่อยๆ ดิฉันคงจะดูหนังอย่างไม่มีสมาธิแน่นอน

--น่าเสียดายที่เทศกาลหนังยุโรปปีนี้จัดตารางหนังได้อย่างไม่น่าประทับใจเท่าไหร่ และส่งผลให้ดิฉันไม่สามารถจัดตารางหนังให้ดู AE FOND KISS กับ HEAD-ON ได้ ถึงแม้จะอยากดูหนังสองเรื่องนี้อย่างมากก็ตาม

--BLIND SPOT ฉายสองรอบ แต่รอบหนึ่งชนกับ AE FOND KISS ที่มีฉายเพียงรอบเดียว ส่วนรอบสองชนกับ SQUINT YOUR EYES ที่ฉายรอบเดียวเหมือนกัน เพราะฉะนั้นจึงไม่มีทางเป็นไปได้ที่จะได้ดูหนังทั้ง 3 เรื่องในงานนี้ ต้องเลือกตัดทิ้งไปหนึ่งเรื่อง ก็เลยเลือกตัด AE FOND KISS ทิ้งไป เพราะท่าทาง BLIND SPOT กับ SQUINT YOUR EYES จะหาดูยากกว่า

-- PLEASANT DAYS มีฉายสองรอบ แต่รอบหนึ่งชนกับ SCHULTZE GETS THE BLUES ที่มีฉายเพียงรอบเดียว ส่วนรอบสองชนกับ HEAD-ON ที่มีฉายรอบเดียวเหมือนกัน ก็เลยต้องเลือกตัดหนึ่งในสามเรื่องนี้ทิ้งไป ดิฉันก็เลยเลือกตัด HEAD-ON ทิ้งไปค่ะ เพราะถึงแม้จะอยากดู HEAD-ON เป็นอย่างมาก แต่ก็อยากดู SCHULTZE GETS THE BLUES กับ PLEASANT DAYS มากกว่า

--PLEASANT DAYS กำกับโดย KORNEL MUNDRUCZO ซึ่งเคยกำกับหนังเกย์เรื่อง THIS I WISH AND NOTHING MORE (2000) อ่านข้อมูลเกี่ยวกับหนังเกย์เรื่องนี้ได้ที่
http://www.bioscopemagazine.com/webboard/index-in.php?id=4139

--ตอนที่ดู SHE KEPT CRYING FOR THE MOON ก็ได้ยินเสียงคนทำอะไรกุกกักๆตลอดเวลาเหมือนกันค่ะ น่ารำคาญมาก ถ้าหากเขารู้สึกเบื่อหนังเรื่องนี้ เขาก็ควรจะลุกออกจากโรงไปเลย ไม่ใช่นั่งทำเสียงดังและสร้างความรำคาญให้กับคนอื่นๆในโรงไปเรื่อยๆ แต่ดิฉันก็ไม่ได้ลุกขึ้นมาอาละวาดแต่อย่างใดค่ะ เพราะเสียงของเขายังไม่ดังถึงขั้นที่ดิฉันรู้สึกว่าทนไม่ได้อีกต่อไป

--ชอบที่น้อง merveillesxx ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับฉากต่างๆใน BLIND SPOT มากค่ะ จำได้คลับคล้ายคลับคลาว่ารู้สึกงงๆกับการเคลื่อนกล้องและการตัดต่อในบางฉากเหมือนกัน ซึ่งรวมถึงฉากที่กล้องเคลื่อนจากภาพตัวละครขึ้นไปบนท้องฟ้าด้วย

---ฉากที่ชอบมากใน BLIND SPOT รวมถึง

1.ฉากผ้าม่านลุกพรึ่บเป็นไฟอย่างกะทันหัน

2.ฉากนางเอกปะทะกับคนพิการบ้ากาม

3.การตัดต่อในฉากนึงที่นางเอกนั่งอยู่ข้างถนน แล้วมีรถแล่นผ่านไปผ่านมาจนทำให้ไม่เห็น “นางเอก” เป็นระยะๆ

การตัดต่อในฉากนี้ทำให้นึกถึงฉากนึงใน MALINA (1991, WERNER SCHROETER, A+) ที่มีการใช้ “รถแล่นผ่าน” มาช่วยในการตัดต่อเช่นกัน เพราะในช่วงต้นของ MALINA จะมีฉากที่นางเอก (Isabelle Huppert) ยืนคุยกับ MALINA (MATHIEU CARRIERE) อยู่ข้างถนน แต่พอมีรถแล่นผ่านคนทั้งสอง อยู่ดีๆ MALINA ก็หายสาบสูญไปไหนไม่รู้ เหลือแค่นางเอกยืนทำหน้าแสล่นอยู่ข้างถนนคนเดียว (ถ้าจำไม่ผิด)

4.ฉากที่กล้องเคลื่อนไปเรื่อยๆในห้องขณะที่มีเสียงคนคุยกัน ก็เป็นฉากที่ชอบมากๆค่ะ ฉากนั้นทำให้ดิฉันรู้สึกกลัวๆและพิศวงดี เพราะในตอนแรกดิฉันไม่รู้ว่าเสียงที่ได้ยินในฉากนั้นมีต้นกำเนิดมาจากไหน แต่ในที่สุดพอกล้องเคลื่อนมาจนเห็นต้นกำเนิดเสียง ดิฉันถึงค่อยรู้สึกโล่งใจเป็นอย่างมาก

5.ฉากพระเอกลงแดง แล้วกล้องจับภาพในระยะกระชั้นชิดมาก

6.ฉากเล่านิทานสยดสยองใน BLIND SPOT ก็เป็นฉากที่ให้อารมณ์รุนแรงมากเช่นกัน และทำให้นึกถึงหนังหลายๆเรื่องที่มีการใส่ “นิทาน” หรือ “ตำนาน” เข้ามาในเรื่องแล้วได้อารมณ์อย่างมากๆ ซึ่งรวมถึงเรื่อง

6.1 BU SU (1987, JUN ICHIKAWA, A+)

ชอบเรื่องเล่าในหนังเรื่องนี้มาก เพราะในหนังเรื่องนี้นางเอกได้รับฟังเรื่องราวของหญิงสาวคนนึงที่เผาทำลายเมืองทิ้งไปครึ่งเมือง และต่อมานางเอกก็ตัดสินใจขึ้นแสดงบนเวทีโดยรับบทเป็นหญิงสาวคนนี้

อีกสิ่งหนึ่งที่ชอบมากใน BU SU ก็คือในช่วงแรกของหนัง จะมีฉากที่นางเอกทำร้ายร่างกายผู้ชายโดยหนังไม่ได้บอกสาเหตุที่ชัดเจน และในช่วงท้ายของหนัง นางเอกก็ขึ้นไปแสดงบนเวทีโดยรับบทเป็นผู้หญิงเผาเมืองคนนี้ แล้วกล้องก็จะตัดไปที่ผู้ชม มีนางอิจฉายืนชมการแสดงของนางเอกอย่างตั้งอกตั้งใจมาก แล้วอยู่ดีๆนางอิจฉาก็ทำร้ายร่างกายผู้ชายที่ยืนกวนใจอยู่ข้างๆเธอ ไม่รู้เหมือนกันว่าผู้กำกับต้องการสื่ออะไรในหนังเรื่องนี้ แต่ดูราวกับว่านางอิจฉาได้รับการถ่ายทอดอะไรบางอย่างจากนางเอกเมื่อได้ดูการแสดงของนางเอกในช่วงท้ายของเรื่อง


6.2 ALMOST PEACEFUL (2002, MICHEL DEVILLE, A+)
http://www.imdb.com/title/tt0318780/

ถ้าจำไม่ผิด ในหนังเรื่องนี้จะมีการเล่านิทานเกี่ยวกับ “เด็กที่ถูกเจาะรูที่คอ” หรืออะไรทำนองนี้แทรกเข้ามาในช่วงกลางเรื่อง

6.3 CLASS TRIP (1998, CLAUDE MILLER, A+)
http://www.imdb.com/title/tt0156408/
ในหนังเรื่องนี้มีการเล่านิทานสยองในช่วงกลางเรื่องเช่นกัน


--ชอบการออกแบบตัวอักษรของชื่อหนังเรื่องนี้ เพราะในชื่อหนังเรื่องนี้ ”SLEPA PEGA” ที่ปรากฏอยู่บนจอภาพยนตร์ จะมี “จุดบอด” สีดำกลมๆแทรกอยู่ตรงกลางระหว่างคำว่า SLEPA กับคำว่า PEGA

--ชอบบุคลิกของนักสืบหญิงใน BLIND SPOT มาก น่าเสียดายที่บทเธอน้อย จริงๆแล้วน่าจะสร้างหนังอีกเรื่องนึงให้นักสืบหญิงคนนี้เล่นเป็นตัวเอกไปเลย ชอบใบหน้าของเธออย่างมากๆ

--ขำประวัติของโสเภณีในหนังเรื่องนี้ เพราะประวัติของเธอรุนแรงมากจนเอามาสร้างเป็นละคร 30 ตอนจบได้เลย แต่หนังกลับเล่าประวัติของเธอเสร็จภายในเวลาประมาณ 3 นาทีเท่านั้น ถ้าจำไม่ผิด ประวัติของเธอเริ่มต้นตั้งแต่คุณตาของเธอมีเมียแล้ว แต่ดันไปทำให้สาวเสิร์ฟ (คุณยาย) ตั้งครรภ์ ต่อมาสาวเสิร์ฟคนนั้นก็คลอดลูกออกมาเป็นคุณแม่ของเธอ แล้วหลังจากนั้นสาวเสิร์ฟกับลูกก็อพยพออกจากชนบทไปอยู่ในเมืองใหญ่ ต่อมาเมียของคุณตาก็ตามมาสมทบกับสาวเสิร์ฟ+ลูก แล้วต่อมาสาวเสิร์ฟก็ตาย เมียของคุณตาก็เลยพาลูกของสาวเสิร์ฟกลับไปอยู่ในชนบท แล้วก็เกิดการ denationalization, etc. รู้สึกตลกดีที่โสเภณีคนนี้มีประวัติชีวิตที่รุนแรงมากๆ และประวัติของเธอก็ควบคู่ไปกับประวัติศาสตร์ความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของยูโกสลาเวียด้วย

--อยากให้ HANNA A.W. SLAK ผู้กำกับ BLIND SPOT ลองหันมาสร้างหนังเกี่ยวกับผี เพราะขนาด BLIND SPOT เป็นหนังชีวิตดราม่า หนังยังออกมาดูหลอนและมีบรรยากาศน่าสะพรึงกลัวขนาดนี้ อยากรู้ว่าถ้าหากเธอสร้างหนังผี หนังจะออกมาซูเปอร์หลอนขนาดไหน

--MANCA DORRER เล่นได้ดีมากๆใน BLIND SPOT โดยเฉพาะดวงตาของเธอที่ทรงพลังมากๆ เห็นเธอแล้วนึกถึง RACHEL GRIFFITHS (SIX FEET UNDER) + SHARLEEN SPITERI (นักร้องนำวง TEXAS) แต่ดิฉันไม่ค่อยอินกับตัวละคร LUPA ที่เธอแสดงสักเท่าไหร่ เพราะถ้าดิฉันเป็น LUPA ดิฉันคงไม่ทำแบบเธอในหนังเรื่องนี้

--ตัวละครที่ดิฉันรู้สึกว่าตัดสินใจทำอะไรแต่ละอย่างได้ตรงใจดิฉันมากๆ ก็คือนิโคล (MARIE-LUISE SCHRAMM) ใน GETTING MY BROTHER LAID บางทีการที่ดิฉันรู้สึกอินกับนิคหรือนิโคลคงจะเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้ชอบหนังเรื่องนี้ นิคเป็นคนที่บ้าผู้ชายอย่างรุนแรงมากจนถึงขั้นโรคจิต และ
การตัดสินใจของเธอคือสิ่งที่ทำให้ความรู้สึกชอบหนังเรื่องนี้พุ่งปรี๊ดขึ้นมาอย่างรุนแรง ถ้าหากตัวละครตัวนี้ไม่บ้าแบบนี้ ดิฉันคงไม่มีทางชอบหนังเรื่องนี้สูงกว่า SCHULTZE GETS THE BLUES และ THE SON อย่างแน่นอน

--รู้สึกขำและอิจฉา JULIA JENTSCH เพราะทั้งใน GETTING MY BROTHER LAID และใน THE EDUKATORS เธอรับบทเป็นหญิงสาวที่ตกอยู่ท่ามกลางรักสามเส้าในหนังทั้งสองเรื่อง

--ดูรูปของ ROMAN KNIZKA ใน GETTING MY BROTHER LAID ได้ที่
http://www.cineclub.de/images/2002/mein_b18.jpg
http://www.cineclub.de/filmarchiv/2002/mein_bruder_der_vampir.html

--GETTING MY BROTHER LAID อาจจะเป็นหนึ่งในหนังที่มีตัวละครสมองไม่สมประกอบที่ดิฉันชอบมากที่สุด ส่วนหนังเรื่องอื่นๆที่มีตัวละครแบบนี้รวมถึง TELL ME I’M DREAMING (1998, CLAUDE MOURIERAS, A-) ซึ่งเคยมาฉายที่สมาคมฝรั่งเศส ถ.สาทรใต้ หนังเรื่องนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับครอบครัวเกษตรกรที่มีลูกชายสมองพิการ และลูกชายคนนี้ก็พยายามจูบแฟนสาวของน้องชายด้วย
http://www.imdb.com/title/tt0156478/


--วันนี้ได้ดูอีกสองเรื่อง ซึ่งก็คือ SONG FOR A RAGGY BOY (2003, AISLING WALSH, IRELAND, A-/B+) กับ YOUNG KEES (2003, ANDRE VAN DUREN, NETHERLANDS, B+)

--YOUNG KEES ทำให้ดิฉันรู้สึกเบื่อๆในช่วงแรก แต่ก็เริ่มรู้สึกดีกับหนังในช่วงหลังๆของเรื่อง ฉากที่ดิฉันชอบมากในเรื่องนี้คือฉากที่พระเอกได้เห็นธาตุแท้ของคนบางคนในครอบครัวของตัวเอง

--ดู YOUNG KEES แล้วนึกถึงหนังอีกเรื่องนึงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเด็กชาย+คุณพ่อเหมือนกัน นั่นก็คือเรื่อง ADEUS, PAI (1996, LUIS FILIPE ROCHA, PORTUGAL, A+) หรือ “Good bye, Father” แต่ ADEUS, PAI เป็นหนังที่โดนใจกว่ามากๆ

--SONG FOR A RAGGY BOY เป็นหนังที่ถ่ายภาพออกมาได้สวยถูกใจมาก แต่ตัวละครในเรื่องดูแล้วไม่ค่อยชอบเท่าไหร่ และก็ไม่ค่อยชอบฉากจบด้วย อย่างไรก็ดี ฉากการทำทารุณกรรมเด็กในเรื่องนี้ทำออกมาได้ดีใช้ได้เลยทีเดียว ถ้าหากหนังเรื่องนี้เปลี่ยนฉากจบเสียใหม่ คงจะชอบหนังเรื่องนี้เพิ่มขึ้นมาก
http://www.imdb.com/title/tt0339707/

ดู SONG FOR A RAGGY BOY แล้วนึกถึง

--ชีวิตเด็กไอริชที่สุดแสนรันทดในหนังเรื่อง ANGELA’S ASHES (1999, ALAN PARKER, B+)
http://www.imdb.com/title/tt0145653/

--SONG FOR A RAGGY BOY มีเนื้อหาส่วนนึงเกี่ยวกับสงครามกลางเมืองสเปน ดูแล้วก็เลยนึกถึงหนังเรื่อง HEAD IN THE CLOUDS (2004, JOHN DUIGAN, A) ที่มีเนื้อหาบางส่วนเกี่ยวกับสงครามกลางเมืองสเปนเช่นกัน อย่างไรก็ดี HEAD IN THE CLOUDS มีตอนจบที่น่าประทับใจกว่า SONG FOR A RAGGY BOY เป็นอย่างมาก

--หนังเกี่ยวกับคุณครูผู้แสนดีในโรงเรียนประจำอย่างเช่น DEAD POETS SOCIETY (1989, PETER WEIR, A+)

--หลังจากได้ดู DEAD POETS SOCIETY เมื่อราว 15 ปีที่แล้ว เวลาที่ดิฉันได้ดูหนังเกี่ยวกับคุณครูใจดีเรื่องอื่นๆ ดิฉันก็มักนำหนังเรื่องนั้นไปเปรียบเทียบกับ DEAD POETS SOCIETY ในใจตัวเองอยู่เสมอ จนส่งผลให้ DEAD POETS SOCIETY กลายเป็นเหมือน “มาตรฐาน” หรือ “ไม้บรรทัด” ที่ใช้วัดหนังคุณครูไปโดยปริยาย และส่งผลให้หนังเกี่ยวกับคุณครูเรื่องอื่นๆดูด้อยลงในใจดิฉัน บางที ถ้าหากโลกนี้ไม่เคยมีหนังเรื่อง DEAD POETS SOCIETY ดิฉันอาจจะชอบ SONG FOR A RAGGY BOY มากกว่านี้ และอาจจะชอบ MUSIC OF THE HEART (1999, WES CRAVEN, B+), .MR. HOLLAND’S OPUS (1995, STEPHEN HEREK, A-) และ MONA LISA SMILE (2003, MIKE NEWELL, B+) มากขึ้นเช่นกัน

อย่างไรก็ดี ยังคงมีหนังคุณครูอยู่เรื่องหนึ่งที่แตกต่างออกไปในใจดิฉัน เพราะในขณะที่หนังคุณครูเรื่องอื่นๆดูด้อยลงเมื่อนำมาเทียบกับ DEAD POETS SOCIETY หนังเรื่องนี้กลับทำให้ดิฉันชอบมากขึ้นเมื่อนำมาเทียบกับ DEAD POETS SOCIETY และหนังเรื่องนี้ก็คือ THE EMPEROR’S CLUB (2002, MICHAEL HOFFMAN, A+)

--ความรู้สึกชอบที่ดิฉันมีต่อ THE EMPEROR’S CLUB กับความรู้สึกชอบที่ดิฉันมีต่อ I ALWAYS WANTED TO BE A SAINT (2003, GENEVIEVE MERSCH, A+) มีจุดนึงที่ใกล้เคียงกัน อย่างไรก็ดี ดิฉันคงไม่สามารถเขียนถึงความรู้สึกชอบอย่างสุดๆที่มีต่อหนังสองเรื่องนี้ได้ในที่นี้ เพราะมันคงต้องพูดถึง SPOILERS ของหนังสองเรื่องนี้ด้วย เพราะฉะนั้นดิฉันจึงนำเอาส่วนที่เป็น SPOILERS ของหนังสองเรื่องนี้ไปแปะไว้ที่ http://celinejulie.blogspot.com ค่ะ ถ้าใครอยากอ่าน spoilers ของหนังสองเรื่องนี้ก็อ่านได้ที่บล็อกนั้นค่ะ

--ใน THE EMPERORS’ CLUB ช่วงแรกๆนั้น ดิฉันคิดว่าตัวละครคุณครูที่เควิน ไคลน์แสดง จะเป็นคุณครูผู้แสนดีแบบคุณครูโรบิน วิลเลียมส์ใน DEAD POETS SOCIETY แต่ปรากฏว่ามันไม่ได้เป็นอย่างที่ดิฉันคาด บทคุณครูที่เควิน ไคลน์แสดง เป็นคุณครูที่ลำเอียงและไม่ยุติธรรมเป็นอย่างมาก เขาทำร้ายจิตใจเด็กคนหนึ่งที่น่าสงสารและเป็นผู้บริสุทธิ์ และลูกศิษย์บางคนของเขาก็ออกไปสร้างความเลวร้ายให้กับประเทศชาติบ้านเมือง และเขาก็ไม่สามารถแก้ไขอะไรได้เลย เขาทำในสิ่งที่เรียกได้ว่า “ทุจริต” และลูกศิษย์ของเขาก็ทุจริต แต่การทุจริตของลูกศิษย์ของเขาไม่ได้อยู่แค่ในโรงเรียนเหมือนกับเขาเท่านั้น แต่มันลุกลามออกไปในระดับประเทศ และในที่สุด คุณครูผู้ทุจริตอย่างเควิน ไคลน์ในเรื่องนี้ ก็ทำได้เพียงแต่แค่มองประเทศชาติบ้านเมืองตกอยู่ในอำนาจของลูกศิษย์ผู้ชั่วร้ายเลวทรามของเขาเท่านั้นเอง เขาไม่สามารถยับยั้งความเลวร้ายได้เลย

จุดนี้นี่เองที่ทำให้ THE EMPEROR’S CLUB ดูไม่ด้อยลงเลยแม้แต่นิดเดียวในความเห็นของดิฉันเมื่อเทียบกับ DEAD POETS SOCIETY แต่น่าเสียดายที่ SONG FOR A RAGGY BOY ไม่เป็นเช่นนั้น จริงๆแล้ว SONG FOR A RAGGY BOY ก็มีข้อดีของตัวเองอยู่มากเช่นกัน แต่ฉากบางฉากที่มันดันไปให้อารมณ์คล้ายๆกับ DEAD POETS SOCIETY ทำให้ความรู้สึกชอบที่มีต่อหนังเรื่องนี้ลดลงมาก

--I ALWAYS WANTED TO BE A SAINT ก็ถูกใจดิฉันในแนวทางคล้ายๆกับ THE EMPEROR’S CLUB เพราะในตอนแรกนั้น ดิฉันนึกว่านางเอก I ALWAYS WANTED TO BE A SAINT อยากเป็นอย่าง AMELIE (2001, JEAN-PIERRE JEUNET, A) เพราะเธอพยายามทำความดีและเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับชีวิตของคนอื่นๆ เพื่อพยายามปรับปรุงชีวิตของคนอื่นๆให้ดีขึ้น แต่ไปๆมาๆ นางเอกหนังเรื่องนี้กลับไม่ใช่คนจิตใจดีงามแบบ AMELIE แต่อย่างใด เพราะในเวลาต่อมาหนังก็แสดงให้เห็นว่าเธอมีจิตใจเน่าเฟะ, อันตราย, และไม่น่าเข้าใกล้เป็นอย่างมาก และนี่คือสาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้ดิฉันชอบ I ALWAYS WANTED TO BE A SAINT มากกว่า AMELIE เสียอีก

Monday, May 30, 2005

EUROPE BUT NOT EU

--อย่างไรก็ดี ในเทศกาลหนังอียูนี้ เราจะยังไม่ได้ดูหนังของเซอร์เบีย (หรือยูโกสลาเวีย), บอสเนีย-เฮอร์เซโกวินา, มาเซโดเนีย และโครเอเชีย เพราะประเทศเหล่านี้ยังไม่ได้เข้ามาเป็นสมาชิกของอียู แต่โครเอเชียอาจจะได้เข้ามาเป็นสมาชิกในเร็วๆนี้
--มีบางประเทศในยุโรปที่มีหนังน่าสนใจแต่ไม่ได้เข้ามาเป็นสมาชิกของอียูเหมือนกัน และนั่นก็เลยส่งผลให้เราหาโอกาสดูหนังของประเทศเหล่านี้ยุโรปเหล่านี้ยากยิ่งขึ้น ประเทศเหล่านี้รวมถึง
1.ICELAND ที่มีผู้กำกับที่น่าสนใจอย่าง FRIDRIK THOR FRIDRIKSSON
http://www.imdb.com/name/nm0296144/

2.SWITZERLAND ที่มีผู้กำกับที่น่าสนใจสุดๆอย่าง
2.1 CLAUDE GORETTA
http://www.imdb.com/name/nm0330848/
หนังของเขาที่อยากดูอย่างสุดๆคือเรื่อง THE LACEMAKER (1977) ที่นำแสดงโดย ISABELLE HUPPERT กับ YVES BENEYTON ซึ่งมีหน้าตาหล่อเหลาถูกใจดิฉันอย่างมากๆๆเลยค่ะ
http://www.imdb.com/title/tt0075932/
2.2 ALAIN TANNER
http://www.imdb.com/name/nm0849609/
ผู้กำกับหนังเรื่อง THE SALAMANDER (1971) (คุณสนธยา ทรัพย์เย็นเคยเขียนถึงหนังเรื่องนี้ไว้แล้วในนิตยสาร BIOSCOPE เล่มเก่าๆ ในบทความเอกเขนกแตกขนบที่เกี่ยวกับหนังสารคดี), JONAH WHO WILL BE 25 IN THE YEAR 2000 (1976) และ FOURBI (1996, B+/B)
3.NORWAY ซึ่งมีหนังน่าสนใจอย่าง ELLING และ THE GREATEST THING (2001, THOMAS ROBSAHM, A+++++++++)
4.ROMANIA ซึ่งมีผู้กำกับน่าสนใจอย่าง LUCIAN PINTILIE
http://www.imdb.com/name/nm0684596/


--ระวังอย่าจำชื่อประเทศสโลเวเนีย สลับกับประเทศสโลวาเกีย ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของประเทศเชคโกสโลวาเกีย ดิฉันรู้สึกว่าพอเชคกับสโลวาเกียแยกกันแล้ว หนังของสาธารณรัฐเชคดูเริ่ดกว่าหนังของประเทศสโลวาเกียอย่างมากๆ หวังว่าสโลวาเกียคงจะพัฒนาหนังของตัวเองให้ดีเด่นได้ไม่แพ้เชคในอนาคต

SLOVENIAN FILMS

--ถ้าเข้าใจไม่ผิด LUPA เป็นพี่สาวของ GLADKI ค่ะ สังเกตได้จากภาพย้อนอดีตที่คงเป็นภาพของ LUPA กับ GLADKI ขณะเป็นเด็กและแต่งตัวเป็นซูเปอร์แมนเหาะด้วยกัน

--จำประโยคท้ายเครดิตหนังเรื่อง GETTING MY BROTHER LAID ไม่ค่อยได้ รู้สึกประโยคจะเกี่ยวกับ "สิ่งปลอบใจ" และ "การบินได้" หรืออะไรทำนองนี้ คิดไปคิดมาแล้วประโยคนี้อาจจะนำมาใส่ใน BLIND SPOT ได้เหมือนกัน เพราะตัวละครพี่สาวน้องชายใน BLIND SPOT ก็ปรารถนาจะโผบินเหมือนกัน

--เคยดูหนังสโลเวเนียมา 3 เรื่อง ซึ่งก็คือ BLIND SPOT, ิPETERKA: YEAR OF DECISION และ SPARE PARTS (2003, DAMJAN KOZOLE) ปรากฏว่าชอบในระดับ A+ ์ทั้งสามเรื่อง หนังทั้งสามเรื่องนี้ทำให้รู้สึกว่าสโลเวเนียเป็นประเทศที่น่าสนใจมากทีเดียวในแง่ของภาพยนตร์

อ่านข้อมูลเกี่ยวกับ SPARE PARTS ได้ที่
http://www.bioscopemagazine.com/webboard/index-in.php?id=3165

--ถ้าเข้าใจไม่ผิด สโลเวเนียเคยเป็นส่วนหนึ่งของยูโกสลาเวียมาก่อน แต่พอสหภาพโซเวียตล่มสลาย ยูโกสลาเวียก็แตกออกเป็นเซอร์เบีย, บอสเนีย-เฮอร์เซโกวินา, โครเอเชีย, มาเซโดเนีย และสโลเวเนีย และแต่ละประเทศเกิดใหม่เหล่านี้ต่างก็ผลิตหนังที่น่าสนใจออกมา ไม่ว่าจะเป็น BEFORE THE RAIN ของมาเซโดเนีย, NO MAN'S LAND ของบอสเนีย-เฮอร์เซโกวินา, CABARET BALKAN (1998, GORAN PASKALJEVIC) ของเซอร์เบีย และ WITNESSES (2003, VINKO BRESAN) ของโครเอเชีย

้HANNA A.W. SLAK IS VERY GREAT

อันดับหนังที่ได้ดูในเทศกาลภาพยนตร์ยุโรปขณะนี้ (บางเรื่องได้ดูมาก่อนหน้านี้แล้ว)

.BLIND SPOT (2002, HANNA A.W. SLAK, SLOVENIA, A

หนังเรื่องนี้โดนใจตัวเองในทุกๆฉาก โดยเฉพาะในด้านการถ่ายภาพ,บรรยากาศ และอารมณ์ของตัวละครหญิง แต่รู้สึกเฉยๆกับเนื้อเรื่องและตอนจบของเรื่อง

ในเครดิตท้ายหนังเรื่องนี้ เห็นมีชื่อของ VLADO SKAFAR ปรากฏอยู่ด้วย แต่ไม่รู้ว่าเขาทำหน้าที่อะไรในหนังเรื่องนี้

เคยมีหนังสโลเวเนียที่กำกับโดย VLADO SKAFAR เข้ามาฉายที่โรงอีจีวี เมโทรโพลิสในเดือนต.ค.ปีที่แล้ว ซึ่งก็คือหนังสารคดีเรื่อง PETERKA: YEAR OF DECISION (2003, A+++++++++) ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการสัมภาษณ์นักกระโดดสกีหนุ่ม


2.GETTING MY BROTHER LAID (2001, SVEN TADDICKEN, GERMANY, A+)http://www.imdb.com/title/tt0300186/

หนังเรื่องนี้ได้คะแนนสูงเพราะชอบใบหน้าของดาราชายในเรื่อง

3.SCHULTZE GETS THE BLUES (2003, MICHAEL SCHORR, GERMANY, A+)
ขณะที่ดูหนังตลกเรื่องนี้รู้สึกเหมือนตัวเองกำลังเห็นภาพของสวรรค์และกำลังสัมผัสอารมณ์ของสวรรค์ เพราะชีวิตของตัวละครในหนังเรื่องนี้ดูเหมือนมันช่างห่างไกลจากความทุกข์เสียเหลือเกิน ตัวละครในหนังเรื่องนี้ไม่ใช่คนรวย พวกเขาเป็นคนงานเหมืองอายุมากที่ถูกไล่ออกงาน จริงๆแล้วชีวิตของพวกเขาน่าจะมีความทุกข์อยู่บ้าง แต่อารมณ์ที่สื่อออกมาจากหนังเรื่องนี้มันไม่ได้เน้นที่ความยากลำบากในการยังชีพของพวกเขา (แบบที่พบได้ในหนังอย่าง THE FULL MONTY), ไม่ได้เน้นที่ปัญหาสังคม, ไม่ได้เน้นที่ปัญหาครอบครัว, ไม่ได้เน้นที่ปีศาจร้ายที่อาจจะแฝงซ่อนอยู่ในจิตใจมนุษย์แต่ละคน (อย่างเช่นในหนังจีนเรื่อง BLIND SHAFT) แต่กลับไปเน้นที่บรรยากาศที่ดูโปร่งโล่งสบายใจอย่างมากๆ

SCHULTZE พระเอกของเรื่องนี้เป็นชายชราร่างอ้วนที่ใช้ชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยว เขาอาจจะเหงาอยู่บ้าง แต่เขาก็ดูเหมือนไม่ได้ทุกข์ทรมานอะไรมากมายกับความเหงานั้น หลังจากเขาตกงาน เขาก็นั่งเล่นอยู่กับบ้าน, คุยกับเพื่อน, คุยกับผู้หญิง, ลองหัดเล่นดนตรีแนวใหม่, etc.

สิ่งที่ชอบมากๆในหนังเรื่องนี้รวมถึง

3.1 อารมณ์ที่เป็นสุขอย่างเหลือล้นราวกับได้ขึ้นสวรรค์ขณะจ้องมองพระจันทร์ในเรื่อง

3.2 ตัวละคร SCHULTZE ที่ดูเหมือนจะมีความสุขตามอัตภาพของตัวเอง จริงๆแล้วเขาก็เจอปัญหาจุกจิกกวนใจเข้ามาในหลายๆฉาก แต่ดูเหมือนเขาไม่ได้ไปหมกมุ่นกับความทุกข์หรือหมกมุ่นกับปัญหาจุกจิกกวนใจที่ผลัดกันดาหน้าเข้ามาหาเขาเท่าใดนัก

3.3 อารมณ์ขันในหนังซึ่งถูกโฉลกกับตัวเองเป็นอย่างมาก จริงๆแล้วบางอย่างในหนังเรื่องนี้ทำให้นึกถึงหนังของ JIRI MENZEL อย่างเช่นเรื่อง MY SWEET LITTLE VILLAGE (1985, B) อยู่เหมือนกัน เพราะ JIRI MENZEL เคยทำหนังตลกเกี่ยวกับชีวิตผู้ชายชนชั้นแรงงานในชนบท และเน้นการสร้างมุกตลกจากชีวิตประจำวันเหมือนกัน แต่อารมณ์ขันในหนังของ JIRI MENZEL ไม่ค่อยตรงกับอารมณ์ขันของดิฉันสักเท่าไหร่ อารมณ์ขันในหนังเยอรมันเรื่องนี้เป็นมุกตลกหน้าตายแบบที่พบได้ในหนังของอากิ เคาริสมากิ

3.4 ชอบฉากที่มีการถ่ายภาพกังหันลมเป็นอย่างมาก ทิวทัศน์อันโปร่งโล่งที่ปรากฏในฉากนั้นทำให้ดิฉันคิดถึงสวรรค์ที่อยู่ในจินตนาการของตัวเอง

3.5 ชอบฉากเต้นรำในเรื่องที่ตัวละครหลายคนหันมามองกล้องอย่างหวาดๆเล็กน้อย ฉากนี้ให้ความรู้สึกเหมือนกับว่าคนที่อยู่ในฉากนี้เป็นคนจริงๆที่หันมามองทีมงานถ่ายทำหนังสารคดีอย่างไม่ค่อยไว้วางใจ

3.6 รู้สึกอบอุ่นในใจเป็นอย่างมากในฉากหนึ่งที่มีตัวละครคนนึงห่มผ้าให้ตัวละครอีกคนนึง

อ่านบทวิจารณ์ของโรเจอร์ อีเบิร์ตที่มีต่อหนังเรื่องนี้ได้ที่
http://rogerebert.suntimes.com/apps/pbcs.dll/article?AID=/20050310/REVIEWS/50301008/1023

อ่านบทวิจารณ์ของ TY BURR ที่มีต่อหนังเรื่องนี้ได้ที่
http://www.boston.com/movies/display?display=movie&id=7265

เว็บไซท์ของหนังเรื่องนี้http://www.schultzegetstheblues.de/


4.THE SON (2002, JEAN-PIERRE DARDENNE + LUC DARDENNE, A+)

ชอบการใช้เสียงประกอบในหนังเรื่องนี้เป็นอย่างมาก ปกติแล้วเสียงเลื่อยไม้หรือเสียงตอกตะปูในชีวิตจริงเป็นเสียงที่น่ารำคาญอย่างมากๆ แต่มันกลับฟังดูดีมากๆในหนังเรื่องนี้

การแสดงของ OLIVIER GOURMET ก็ดีมากๆ ตัวละครที่เขาแสดงคงรู้สึกสับสนอยู่ในใจตลอดเวลาว่า “จะทำยังไงกับเด็กชายคนนี้ดี” ซึ่งจุดนี้ทำให้นึกถึงตัวละครพระเอกในหนังเรื่อง THE PROMISE (1996, A+) ของสองพี่น้องดาร์เดนน์อยู่เหมือนกัน เพราะพระเอกในหนังเรื่องนั้นก็รู้สึกสับสนอยู่ในใจเป็นเวลานานเช่นกันว่า “จะทำยังไงกับพ่อของตัวเองดี”


5.A GIRL (2002, DOROTHEE VAN DEN BERGHE, BELGIUM, A+)

ดารานำหญิงทั้งสามคนแสดงได้น่าประทับใจมาก โดยเฉพาะตัวมูเรียล จริงๆแล้วก็ลังเลอยู่เหมือนกันว่าชอบเรื่องไหนมากกว่ากันระหว่าง THE SON กับ A GIRL แต่ที่แน่ๆก็คือ THE SON มีตอนจบที่น่าประทับใจมากกว่า A GIRL เป็นอย่างมาก

สิ่งที่ชอบมากใน A GIRL

5.1 ความรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจของมูเรียลที่พบว่าตัวเองสวยเซ็กซี่สู้ผู้หญิงคนอื่นๆไม่ได้ ไม่ว่าจะในพิพิธภัณฑ์หรือในคลับเต้นรำ

5.2 ความรู้สึกสับสนของมูเรียล

5.3 ชอบตัวละครเด็กสาวทำนองนี้ ดูแล้วนึกไปถึงตัวละครเด็กสาวอย่างเช่น LAUREN AMBROSE ใน SIX FEET UNDER, นางเอก LOVELY RITA หรือนางเอก I ALWAYS WANTED TO BE A SAINT

http://www.imdb.com/title/tt0304389/

6.SOME SECRETS (2002, ALICE NELLIS, CZECH, A+) ดูที่เอ็มโพเรียมเมื่อปีที่แล้วhttp://bioscopemagazine.com/webboard/index-in.php?id=8047

7.THE HUNDRED STEPS (2000, MARCO TULLIO GIORDANA, A+)

ดูหนังเรื่องนี้แล้วนึกถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เพราะแกนนำชาวบ้านในหลายๆพื้นที่ในไทยที่ออกมาเรียกร้องเรื่องพฤติกรรมที่เลวร้ายของนายทุนมักจะลงเอยด้วยการถูกนายทุนส่งมือปืนมาฆ่าตายเป็นประจำ

(มีหนังอีกเรื่องนึงที่เคยดูในปี 2002 แต่รู้สึกว่าเนื้อหาสอดคล้องกับประเทศไทยในขณะนี้ หนังเรื่องนั้นก็คือหนังอินเดียเรื่อง AFTERSHOCKS (RAKESH SHARMA, A+) เพราะหนังสารคดีเรื่องนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังแผ่นดินไหวในอินเดีย เพราะหลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหวเสร็จ ชาวบ้านหลายคนก็ต้องพบกับความซวยซ้ำสองเมื่อถูกแย่งที่ดินไป)

8.ONE HAND CAN’T CLAP (2003, DAVID ONDRICEK, CZECH, A+)หนังฮามากๆ

9.I ALWAYS WANTED TO BE A SAINT (2003, GENEVIEVE MERSCH, LUXEMBOURG, A+)
ชอบตัวละครนางเอกหนังเรื่องนี้มาก และก็ชอบหนุ่มหล่อหลายคนที่อยู่ในชีวิตของนางเอก ไม่ว่าจะเป็นคุณพ่อของนางเอก, นักขับรถแข่ง, เพื่อนร่วมงาน, หรือว่าที่พ่อเลี้ยงของมากาลี

10.SHADES OF HAPPINESS (2005, CLAES OLSSON, FINLAND, A)http://www.imdb.com/title/tt0441673/

11.FRENCH MEN (2003, MARC ESPOSITO, A-) ดูที่สมาคมฝรั่งเศสเมื่อปีที่แล้ว

12.IF I WERE A RICH MAN (2002, MICHEL MUNZ + GERARD BITTON, A-)

13.SHE KEPT CRYING FOR THE MOON (1982, STEFAN UHER, SLOVAKIA, A-)

14.NYNKE (2002, PIETER VERHOEFF, NETHERLANDS, B) ดูที่สยามดิสคัฟเวอรีประมาณปี 2003

15.ON THE OTHER SIDE OF THE BRIDGE (2002, HU MEI, AUSTRIA, B-)

กระทู้เก่าเกี่ยวกับเทศกาลนี้http://www.bioscopemagazine.com/webboard/index-in.php?id=16981

MOST DESIRABLE ACTOR

1.HINNERK SCHONEMANN—GETTING MY BROTHER LAID

2.MATTHIAS SCHOENAERTS—A GIRL
*****ดูวิดีโอบทสัมภาษณ์ MATTHIAS SCHOENAERTS เป็นภาษาอังกฤษได้ที่http://www.cineuropa.org/video_sp.asp?lang=ing&treeID=272&documentID=19932

3.SANTERI KINNUNEN—SHADES OF HAPPINESS

4.NICKE LIGNELL—SHADES OF HAPPINESS
5.ROMAN KNIZKA—GETTING MY BROTHER LAID
6.ALEXANDER SCHEER—GETTING MY BROTHER LAID
http://www.kinoweb.de/film2001/ViktorVogelCommercialMan/pix/prem01.jpg

FAVORITE ACTRESS
1.CHARLOTTE VANDEN EYNDE—A GIRL
2.ELS DOTTERMANS—A GIRL
3.TIINA LYMI—SHADES OF HAPPINESS

FAVORITE SUPPORTING ACTRESS
ISABELLA SOUPART—THE SON
FRIEDA PITTOORS—A GIRL

FAVORITE OPENING
BLIND SPOT
A GIRL

FAVORITE ENDING
SCHULTZE GETS THE BLUES
THE SON

FAVORITE SONG
GETTING MY BROTHER LAID
I WANT TO BE EVIL—EARTHA KITT

Saturday, May 28, 2005

FAVORITE IRANIAN FILMS

หนังอิหร่านที่เกี่ยวกับเด็กและกระจก เดาว่าอาจจะเป็นเรื่อง WILLOW AND WIND (1999, MOHAMMAD ALI-TALEBI, A) ค่ะ หนังเรื่องนี้เขียนบทโดย ABBAS KIAROSTAMI

อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับหนังเรื่องนี้ได้ที่นี่
http://www.imdb.com/title/tt0243218/



หนังอิหร่านที่ชอบมาก รวมถึงเรื่องดังต่อไปนี้ด้วย

1.UNDER THE MOONLIGHT (2001, SEYYED REZA MIR-KARIMI, A+)
http://www.imdb.com/title/tt0278159/

2.OUR TIMES (2002, RAKHSHAN BANI ETEMAD, A+)

3.THE UNFINISHED SONG (2001, MAZIAR MIRI, A+)
http://www.imdb.com/title/tt0277975/

4.THE FIFTH REACTION (2003, TAMINEH MILANI, A)

5.TWO WOWEN (1999, TAMINEH MILANI, A)

6.BAANOO (1999, DARIUSH MEHRJUI, A)

7.THE BEAUTIFUL CITY (2004, ASGHAR FARHADI, A)
http://www.imdb.com/title/tt0424434/

8.SMELL OF CAMPHOR, FRAGRANCE OF JASMINE (2000, BAHMAN FARMANARA, A)
http://www.imdb.com/title/tt0262774/

9.I, TARANEH, AM FIFTEEN (2002, RASUL SADRAMELI, A-)
http://www.imdb.com/title/tt0329347/

10.THE CHILD AND THE SOLDIER (2000, SEYYED REZA MIR-KARIMI, A-)

11.THE PEAR TREE (1998, DARIUSH MEHRJUI, A-/B+)

12.FRIENDLY PERSUASION: IRANIAN CINEMA AFTER THE 1979 REVOLUTION (2000, JAMSHEED AKRAMI, B+)
http://www.imdb.com/title/tt0261699/


ส่วนผู้กำกับหนังอิหร่านที่อยากดูหนังของเขามากที่สุด แต่ยังไม่ได้ดู ก็คือ BAHRAM BEYZAI ค่ะ

ดูรายชื่อผลงานของ BAHRAM BEYZAI ได้ที่
http://www.imdb.com/name/nm0067323/


แต่ถ้าหากพูดถึงผู้กำกับที่เป็นชาวอิหร่าน แต่อพยพไปทำงานต่างประเทศแล้วล่ะก็ มีอยู่มากมายหลายคนที่น่าสนใจค่ะ และหนึ่งในนั้นก็คือผู้กำกับหญิงชื่อ SHIRIN NESHAT ที่เคยกำกับ “หนังที่เปิดโอกาสให้ผู้ชมตัดต่อเอง” เรื่อง TURBULENT (1998)

TURBULENT เปิดฉายตามแกลเลอรี และมีการจัดวางจอที่แปลกประหลาด เพราะจอหนึ่งจะอยู่ที่ผนังห้องด้านหนึ่ง และอีกจอจะอยู่ที่ผนังห้องฝั่งตรงข้าม ภาพที่ปรากฏบนจอทั้งสองฝั่งจะไม่เหมือนกัน ผู้ชมที่อยู่ตรงกลางห้องจะต้องตัดสินใจเองว่าวินาทีไหนพวกเขาจะหันหน้าไปดูจอฝั่งใด ผู้ชมที่อยู่ในห้องนั้นไม่สามารถดูภาพบนจอทั้งสองฝั่งพร้อมๆกันในเวลาเดียวกันได้ พวกเขาต้องตัดสินใจตัดต่อหนังเรื่องนี้เองในทุกๆวินาทีว่าพวกเขาจะเลือกหันหน้าไปรับชมภาพจากฝั่งใด อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับ TURBULENT ได้ที่ http://www.nachdemfilm.de/no2/sal01eng.html

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ SHIRIN NESHAT ได้ที่
http://www.absolutearts.com/artsnews/2003/03/21/30858.html


เว็บไซท์วิจารณ์หนังภาษาอังกฤษที่เข้าไปอ่านบ้างเป็นครั้งคราวก็รวมถึง

http://www.villagevoice.com
http://www.eye.net
http://www.filmref.com/
http://www.rouge.com.au/
http://www.cinema-scope.com/
http://www.filmmakermagazine.com/
http://www.brightlightsfilm.com/
http://www.kinoeye.org

ดูรายชื่อเว็บน่าสนใจได้ที่
http://www.sensesofcinema.com/links.html


--นอกจาก SATYAJIT RAY แล้ว ผู้กำกับหนังอินเดียที่น่าสนใจมากๆก็รวมถึง RITWIK GHATAK ค่ะ อ่านข้อมูลเกี่ยวกับเขาได้ที่
http://www.ejumpcut.org/currentissue/ghatak/index.html

--หนังอินเดียอีกเรื่องที่ชอบสุดๆก็คือเรื่อง THE NAME OF A RIVER (2002, ANUP SINGH, A+) ค่ะ หนังเรื่องนี้มีเนื้อหาพาดพิงถึง RITWIK GHATAK ด้วย
http://www.imdb.com/title/tt0376589/

--พูดถึงภาพยนตร์และอินเดีย แล้วก็นึกถึงข่าวเศร้า 2 ข่าวในสัปดาห์นี้ค่ะ นั่นก็คือข่าวการเสียชีวิตของ ISMAIL MERCHANT และการเสียชีวิตของ SUNIL DUTT ดารา/ผู้กำกับหนังอินเดียที่เคยเข้าชิงรางวัลหมีทองคำในเทศกาลภาพยนตร์เบอร์ลินจาก RESHMA AND SHERA (1971)

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ SUNIL DUTT ได้ที่
http://www.rediff.com/entertai/2002/sep/04dinesh.htm

Monday, May 23, 2005

FILMS ABOUT CHILDREN

--ชอบเฉิ่มในระดับ A+ ค่ะ

--ประทับใจกับพล็อตของ MULHOLLAND DRIVE SUPPORT GROUP มาก แค่เห็นพล็อตก็หัวเราะจนหยุดไม่ได้แล้ว

เมื่อวันเสาร์ทาง bioscope ฉายหนังเรื่อง UNDERTOW (2004, DAVID GORDON GREEN, A) ซึ่งได้รับคำบรรยายว่าเป็นหนังแนว SOUTHERN GOTHIC ก็เลยนึกถึงหนังแนว SOUTHERN GOTHIC (หรือหนังเกี่ยวกับภาคใต้ของสหรัฐที่ให้บรรยากาศหลอนๆ) เรื่องนึงที่อยากดูมากค่ะ นั่นก็คือเรื่อง OTHER VOICES, OTHER ROOMS ที่กำกับโดย DAVID ROCKSAVAGE โดยหนังเรื่องนี้มีความเป็นหนังแนว COMING OF AGE และพูดถึงประเด็นเรื่องครอบครัวเหมือน UNDERTOW ด้วย แต่สิ่งที่แตกต่างออกไปก็คือ OTHER VOICES, OTHER ROOMS ดัดแปลงมาจากนิยายกึ่งโฮโมอีโรติกของ TRUMAN CAPOTE
http://images.amazon.com/images/P/B0000E1WJA.01.LZZZZZZZ.jpg

OTHER VOICES, OTHER ROOMS มีเนื้อหาเกี่ยวกับโจเอล (David Speck) เด็กชายวัย 13 ปีที่มีแนวโน้มจะเป็นเกย์และอาศัยอยู่กับป้าชื่อเอลเลน (Terri Dollar) ที่นิวออร์ลีนส์ แต่อยู่มาวันหนึ่งเขาก็ได้รับจดหมายจากพ่อของเขาที่หายสาบสูญไปนานแล้ว และพ่อของเขาก็ชวนให้เขามาพักที่คฤหาสน์ของพ่อที่ Scully’s Landing ดังนั้นโจเอลจึงเดินทางด้วยรถบัสไปหาพ่อที่เมืองนูน ซิตี้ซึ่งอยู่ในภาคใต้ของสหรัฐ

เมื่อโจเอลมาถึงคฤหาสน์หลังนั้น เขาก็ได้พบกับคนประหลาดๆมากมาย ซึ่งรวมถึงป้าชื่อเอมี่ (Anna Thomson) และลูกพี่ลูกน้องชื่อแรนดอล์ฟ (Lothaire Bluteau ซึ่งเคยเล่นหนังเกย์เรื่อง BENT) ซึ่งเป็นเกย์สาวที่ใช้ชีวิตอยู่อย่างทุกข์ทรมานเนื่องจากเขาไม่อาจลืมความรักในอดีตที่มีต่อนักมวยหนุ่มชาวคิวบาได้ นอกจากนี้ แรนดอล์ฟยังชอบใส่เสื้อคลุมที่มีสีฉูดฉาดบาดตาด้วย

โจเอลได้ผูกมิตรกับคนใช้วัยชราชื่อจีซัส ฟีเวอร์ (Leonard Watkins), กับซู (April Turner) ซึ่งเป็นลูกสาวของจีซัส และกับไอดาเบลล์ (Aubrey Dollar) ซึ่งเป็นลูกสาวของเพื่อนบ้าน และในเวลาต่อมาโจเอลก็ได้พบกับพ่อของเขา (Frank Taylor) ซึ่งป่วยเป็นอัมพาตและเป็นโรคออทิสติกอยู่ในห้องใต้หลังคา และพบว่าคนที่เขียนจดหมายฉบับนั้นคือแรนดอล์ฟ

หนังเรื่องนี้สร้างจากนิยายเรื่องแรกของทรูแมน คาโปท ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ในปี 1948 ขณะที่คาโปทมีอายุ 24 ปีและได้รับคำชมอย่างมาก โดยนิยายเรื่องนี้ดัดแปลงมาจากประวัติชีวิตจริงของตัวคาโปทเองด้วย

ฉากเด่นในหนังเรื่องนี้คือฉากที่แรนดอล์ฟคิดถึงเปเป (Wayne Caparas) ซึ่งเป็นคนรักเก่าของเขา และแรนดอล์ฟก็จินตนาการเห็นภาพของโจเอลอยู่กับเขาสองคนด้วย โดยฉากนี้ได้รับคำวิจารณ์ว่าพิสดารมาก และดูเหมือนหลุดออกมาจากหนังเกย์เรื่อง QUERELLE (A) ที่กำกับโดยไรเนอร์ แวร์เนอร์ ฟาสบินเดอร์ นอกจากนี้ จุดเด่นในหนังเรื่องนี้ยังรวมถึงการถ่ายทอดบรรยากาศทางภาคใต้ของสหรัฐ โดยเฉพาะหนองบึงและโคลนตม

แอนนา ธอมสันได้รับคำวิจารณ์ว่าเล่นได้เหมือน “ผี” มากๆในเรื่องนี้

ดูรูปของ WAYNE CAPARAS ได้ที่
http://www.imdb.com/gallery/hh/0134944/HH/0134944/waynecaparasheadshotbw.jpg?path=pgallery&path_key=Caparas,%20Wayne

ก่อนจะมากำกับหนังเรื่องนี้ DAVID ROCKSAVAGE เคยแสดงหนังฝรั่งเศสเรื่อง FOUR ADVENTURES OF REINETTE AND MIRABELLE (1987, ERIC ROHMER, A+)

นอกจาก OTHER VOICES, OTHER ROOMS แล้ว หนังที่สร้างจากบทประพันธ์ของ TRUMAN CAPOTE (1924-1984) ยังรวมถึง IN COLD BLOOD, THE GRASS HARP, THE INNOCENTS และ BREAKFAST AT TIFFANY’S

ระวังอย่าจำชื่อหนังเรื่องนี้สลับกับ MUSIC FROM ANOTHER ROOM (1998, CHARLIE PETERS) ที่นำแสดงโดย JUDE LAW

นอกจาก UNDERTOW แล้ว หนังที่จำลองบรรยากาศภาคใต้ของสหรัฐออกมาได้อย่างน่าประทับใจมากๆก็รวมถึง

1.MIDNIGHT IN THE GARDEN OF GOOD AND EVIL (1997, CLINT EASTWOOD, B+/B) ซึ่งใช้ฉากหลังเป็นเมืองซาวันนาห์ในรัฐจอร์เจีย

2.ULEE’S GOLD (1997, VICTOR NUNEZ, B+)
http://www.imdb.com/title/tt0120402/


นอกจาก UNDERTOW และ OTHER VOICES, OTHER ROOMS แล้ว ยังมีหนังเกี่ยวกับเด็กอีกหลายเรื่องที่อยากดูแต่ยังไม่ได้ดูค่ะ ซึ่งรวมถึงเรื่อง

1.THE FIRE THAT BURNS (1997, CHRISTOPHE MALAVOY)
http://www.amazon.com/exec/obidos/tg/detail/-/B0002MFG5A/ref=pd_sim_dv_3/104-8356959-9919102?v=glance&s=dvd

http://images.amazon.com/images/P/B0002MFG5A.01.LZZZZZZZ.jpg

สร้างจากบทละครเวทีเรื่อง THE LAND WHOSE KING IS A CHILD ของ HENRY DE MONTHERLANT

หนังเรื่องนี้มีฉากหลังเป็นโรงเรียนของเด็กชายในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สองในกรุงปารีส โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับอังเดร เซฟเรส์ (Nael Marandin) นักศึกษาปรัชญาวัย 15 ปีที่เฉลียวฉลาดและมีหน้าตาหล่อเหลา และความสัมพันธ์ของเขากับซูปลิเยร์ (รับบทโดย CLEMENT VAN DEN BERGH ที่เคยแสดงได้อย่างสุดยอดมากๆใน CLASS TRIP) ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมโรงเรียนที่มีอายุอ่อนกว่าเขา

ความสัมพันธ์ของชายสองคนนี้สร้างความอิจฉาริษยาให้กับAbbot de Pradts (Christophe Malavoy) ซึ่งแอบหลงรักซูปลิเยร์เป็นอย่างมาก ดังนั้น De Pradts ก็เลยวางกับดักเพื่อหาทางทำลาย Sevrais


ผู้ชมหนังเรื่องนี้ชื่นชมความรักระหว่างเด็กหนุ่มสองคนในหนังเรื่องนี้เป็นอย่างมาก โดยความผูกพันที่ทั้งสองมีต่อกันปรากฏชัดตั้งแต่ในฉากแรกเมื่อเซฟเรส์ออกค้นหาซูปลิเยร์ในโรงเรียน และเมื่อเขาหาตัวซูปลิเยร์พบ ใบหน้าของเซฟเรส์ก็แสดงอารมณ์ที่เปี่ยมสุขเต็มตื้นเป็นอย่างมาก และในเวลาต่อมาใบหน้าของเซฟเรส์ก็แสดงอาการเปี่ยมสุขอีกครั้งเมื่อเขามองไปที่ซูปลิเยร์ในโรงยิม

อีกฉากหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความผูกพันของเซฟเรส์อย่างเด่นชัดก็คือในคืนหนึ่ง แทนที่เซฟเรส์จะกลับบ้าน เขากลับยืนอยู่ในความมืดอันหนาวเหน็บใต้หน้าต่างห้องของคณะนักร้องประสานเสียงเพื่อที่เขาจะได้ฟังเสียงของซูปลิเยร์ นอกจากนี้ ฉากที่เซฟเรส์กับซูปลิเยร์สวมกอดกันในถ้ำก็เป็นฉากที่ซาบซึ้งมากๆอีกด้วย


2.ABANDONED (2001, ARPAD SOPSITS)
http://www.amazon.com/exec/obidos/tg/detail/-/B00006LPHE/ref=pd_sim_dv_1/104-8356959-9919102?v=glance&s=dvd

http://images.amazon.com/images/P/B00006LPHE.01.LZZZZZZZ.jpg

หนังฮังการีแนวอัตชีวประวัติเรื่องนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับแอรอน เด็กชายวัย 9 ขวบที่ถูกพ่อนำมาทิ้งไว้ที่สถานเลี้ยงเด็กกำพร้าที่เลวร้ายมาก โดยสถานเลี้ยงเด็กแห่งนี้ใช้กฎระเบียบที่เข้มงวดมาก และแอรอนก็ต้องเผชิญกับการทุบตีทั้งจากเจ้าหน้าที่สถานเลี้ยงเด็กและจากเด็กๆด้วยกันเอง

อย่างไรก็ดี แอรอนได้รับการเยียวยาทางใจเมื่อเขาพัฒนาความสัมพันธ์แบบพิเศษกับอัตติลา ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมชั้นเรียนของเขา และจากการได้รู้จักกับครูคนหนึ่งที่เป็นนักดาราศาสตร์และนักเล่นเชลโล

หนังเรื่องนี้ได้รับการเปรียบเทียบว่ามีส่วนคล้ายกับบทประพันธ์ของชาร์ลส์ ดิคเกนส์ (Oliver Twist)



3.GENESIS CHILDREN (1972, ANTHONY AIKMAN) http://www.amazon.com/exec/obidos/ASIN/B00000FA8O/ref=pd_ecc_rvi_f/104-8356959-9919102

http://images.amazon.com/images/P/B00000FA8O.01.LZZZZZZZ.jpg

หนังเรื่องนี้ได้รับคำวิจารณ์ว่าเป็น LORD OF THE FLIES เวอร์ชันเปลือย เพราะเนื้อหาส่วนใหญ่ในเรื่องเป็นเรื่องของเด็กผู้ชายวิ่งเปลือยกายไปมาบนชายหาด จุดเด่นของหนังเรื่องนี้คือการเล่าเรื่องแบบไม่เรียงลำดับเวลา ซึ่งสร้างความงุนงงสับสนให้กับผู้ชมบางคนเป็นอย่างมาก

GENESIS CHILDREN มีเนื้อหาเกี่ยวกับพระรูปหนึ่งในกรุงโรมที่หลอกล่อเด็กชายแปดคนให้ไปที่ชายหาด และปล่อยให้พวกเขาใช้ชีวิตอยู่ที่นั่นตามลำพังเป็นเวลา 1 สัปดาห์ เพื่อให้พวกเขาได้เรียนรู้ชีวิต



4.YOU ARE NOT ALONE (1978, ERNST JOHANSEN + LASSE NIELSEN, DENMARK)
http://www.amazon.com/exec/obidos/tg/detail/-/B00000F797/ref=pd_bxgy_img_2/104-8356959-9919102?v=glance&s=video

http://images.amazon.com/images/P/B00000F797.01.LZZZZZZZ.jpg

หนังเรื่องนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับการเรียนรู้เรื่องเพศของเด็กหนุ่มสองคนในโรงเรียนประจำ โดยคิม (Peter Bjerg) ซึ่งมีอายุ 12 ปี เรียนอยู่ในโรงเรียนแห่งนี้โดยมีพ่อของเขาเป็นครูใหญ่ และต่อมาเขาก็ได้ผูกสัมพันธ์กับโบ (Anders Agenso) ซึ่งมีอายุ 15 ปี และต่อมาคิมก็แอบลักลอบปีนขึ้นไปบนเตียงของโบในยามดึกและพัฒนาความสัมพันธ์อันอ่อนโยนให้ก้าวขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง

ต่อมาคิมและโบก็ตัดสินใจประกาศให้คนทั้งโรงเรียนและพ่อแม่ของพวกเขารู้ว่าพวกเขาเป็นอะไรกัน และทั้งสองก็กอดจูบกันอย่างดูดดื่มและยาวนาน



5.THE BOYS OF ST.VINCENT (JOHN N. SMITH)
http://www.amazon.com/exec/obidos/tg/detail/-/B0000DIJON/ref=pd_sim_dv_1/104-8356959-9919102?v=glance&s=dvd

http://images.amazon.com/images/P/B0000DIJON.01.LZZZZZZZ.jpg

หนังเรื่องนี้สร้างจากเรื่องจริงที่อื้อฉาวไปทั้งแคนาดา โดยครึ่งแรกของหนังเรื่องนี้เกี่ยวกับเหตุการณ์ในช่วงกลางทศวรรษ 1970 ในสถานเลี้ยงเด็กกำพร้าที่บริหารโดยบราเธอร์ ลาแวง (Henry Czerny) ซึ่งไม่เคยสนใจใยดีในตัวเด็กๆ แต่สนใจที่จะใช้เด็กๆมาตอบสนองความต้องการทางเพศของเขา เขาก็สร้างตราบาปให้กับเด็กชายวัย 10 ขวบไปหลายคน นอกจากนี้ พระคนอื่นๆในสถานเลี้ยงเด็กแห่งนี้ก็ทำร้ายเด็กๆเหมือนกันด้วย

ครึ่งหลังของหนังเรื่องนี้ใช้ฉากหลังเป็นปี 1990 เมื่ออดีตเหยื่อคนหนึ่งที่ตอนนี้โตเป็นผู้ใหญ่แล้วออกมาประกาศความจริงและฟ้องร้องลาแวงในศาล อย่างไรก็ดี ลาแวงได้ลาออกจากการเป็นพระไปแล้ว และตอนนี้เขาก็แต่งงานและมีลูกชายสองคน และทางโบสถ์ก็ยังคงปฏิเสธว่าไม่เคยเกิดเหตุการณ์เลวร้ายนั้น

http://www.imdb.com/title/tt0106473/


JOHN N. SMITH เคยกำกับหนังเรื่อง DANGEROUS MINDS (1995, A-), SUGARTIME, A COOL DRY PLACE, THE MASCULINE MYSTIQUE, THE NEW BOYS


ควรดูหนังเรื่อง THE BOYS OF ST. VINCENT ควบกับ
1.MYSTERIOUS SKIN (A+)
2.CAPTURING THE FRIEDMANS (A+)
3. BAD EDUCATION (A+/A)
4.THE WOODSMAN (A)


6.THIS SPECIAL FRIENDSHIP (1964, JEAN DELANNOY)
http://www.imdb.com/title/tt0057842/

หนังโฮโมอีโรติกเรื่องนี้ใช้ฉากหลังเป็นโรงเรียนประจำของเด็กชายในฝรั่งเศส โดยมี Francis Lacombrade รับบทเป็น Comte Georges de Sarre และมี Didier Haudepin รับบทเป็น Alexandre ซึ่งเป็นเด็กนักเรียนที่มีอายุน้อยกว่าเขา

Georges กับAlexandreมีความสัมพันธ์แบบพิเศษต่อกัน และส่งผลให้ทางโรงเรียนไม่พอใจเป็นอย่างมาก ซึ่งรวมถึงไม่พอใจที่ทั้งสองจูบกันด้วย

ฉากเด่นในเรื่องนี้คือฉากที่เด็กชายสองคนนี้ซ่อนอยู่ในกองฟางและมีความสุขที่ได้อยู่ด้วยกันหนังเรื่องนี้สร้างจากนิยายของ Roger Peyrefitte

Sunday, May 22, 2005

FAVORITE INDIAN FILMS

ชอบ PATHER PANCHALI (1955, A) เหมือนกันค่ะ

หนังของ SATYAJIT RAY ที่เคยดู

1.DAYS AND NIGHTS IN THE FOREST (1970, A+)
2.PATHER PANCHALI (A)
3.CHARULATA (1964, A)
4.APARAJITO (1957, A-)
5.TWO DAUGHTERS (1961, A-)
http://www.imdb.com/title/tt0055508/


หนังเกี่ยวกับอินเดียที่ชอบมาก

1.AFTERSHOCKS (2001, RAKESH SHARMA, A+++++++)

2.ARIMPARA (2003, MURALI NAIR, A+)

3.SUBARNAREKHA (1965, RITWIK GHATAK, A)
http://www.imdb.com/title/tt0056537/

4.A NATION WITHOUT WOMEN (2003, MANISH JHA, A)
http://www.imdb.com/title/tt0379375/

5.THE HOUSEHOLDER (1963, JAMES IVORY, A/A-)
http://www.imdb.com/title/tt0057162/

6.CALCUTTA (1969, LOUIS MALLE, A-)
http://www.imdb.com/title/tt0062773/

7.HARI OM (2004, GANAPATHY BHARAT, A-)
http://www.imdb.com/title/tt0390079/

CAMILLE NATTA ที่แสดงได้เป็นธรรมชาติมากใน HARI OM ได้เล่นเป็นตำรวจหญิงใน THE CRIMSON RIVERS 2: ANGELS OF THE APOCALYPSE (B) ด้วย ดิฉันคิดว่าเธอเป็นนักแสดงที่เก่งมากๆค่ะ เพราะดิฉันจำไม่ได้เลยว่าเธอคือคนๆเดียวกัน ดิฉันดู THE CRIMSON RIVERS 2 จนจบเรื่องโดยไม่ได้เฉลียวใจแม้แต่นิดเดียวว่านางเอกของเรื่องนี้กับนางเอกของ HARI OM คือคนๆเดียวกัน

8.BHAVUM: EMOTIONS OF BEING (2002, SATISH MENON, A-)
http://www.imdb.com/title/tt0373720/

9.THE PLIGHT (2002, R. SARATH, A-)

10.QUEENIE (1987, LARRY PEERCE, A-/B+) มินิซีรีส์เรื่องนี้เคยมาฉายช่อง 3
http://www.imdb.com/title/tt0093808/

11.THE SAND STORM (2000, JAG MUNDHRA, B+)
http://www.imdb.com/title/tt0280465/

ดิฉันชอบ RAHUL KHANNA มากๆเลยค่ะ เขาหล่อดี

NANDITA DAS นางเอกของ THE SAND STORM ได้เป็นกรรมการตัดสินรางวัลในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ปีนี้ด้วย

12.NARMADA DIARY (1995, SIMANTINI DHURU + ANAND PATWARDHAN, B+)

Saturday, May 21, 2005

HOUSE OF WAX (A+)

หนังที่กำกับโดย RIDLEY SCOTT เรียงตามลำดับความชอบ

1.ALIEN (1979, A)
2.THELMA & LOUISE (1991, A)
3.KINGDOM OF HEAVEN (2005, A)
4.GLADIATOR (2000, A-)
5.SOMEONE TO WATCH OVER ME (1987, B+)
6.MATCHSTICK MEN (2003, B+)
7.WHITE SQUALL (1996, B+)
8.BLACK HAWK DOWN (2001, B+/B)
9.THE DUELLISTS (1977, B)
10.HANNIBAL (2001, B)
11.1492: CONQUEST OF PARADISE (1992, B)
12.LEGEND (1985, B/B-)

--ถ้าเข้าใจไม่ผิด ROBERT WISE ผู้กำกับ WEST SIDE STORY ยังคงมีชีวิตอยู่ แต่เขาผลิตผลงานออกมาน้อยมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
http://www.imdb.com/name/nm0936404/



--ใน HOUSE OF WAX (2005, JAUME COLLET-SERRA, A+) มีการอ้างอิงถึง WHAT EVER HAPPENED TO BABY JANE? (1962) ด้วย และเป็นการอ้างอิงที่ทำออกมาได้หลอนมาก

ดูหน้ากากของผู้ร้ายใน HOUSE OF WAX แล้วอยู่ดีๆก็นึกไปถึงหน้ากากของนางเอกใน EYES WITHOUT A FACE (1959, GEORGES FRANJU, A-)

รูปนี้มาจากหนังเรื่อง EYES WITHOUT A FACE ค่ะ
http://www.aint-it-cool-news.com/image/QDVD_019.jpg

เคยดู WHAT EVER HAPPENED TO BABY JANE? (1991, DAVID GREENE, B+) ทางช่อง 3 เมื่อหลายปีก่อน ก็น่าประทับใจดีเหมือนกัน เวอร์ชันที่ได้ดูเป็นเวอร์ชันของ VANESSA REDGRAVE + LYNN REDGRAVE
http://www.imdb.com/title/tt0103242/

--รู้สึกว่าตัวละครนางเอกใน 2 DUO ไม่ค่อยน่าจดจำมากเท่ากับพระเอกเหมือนกันค่ะ ฉากที่ฝังใจดิฉันมากที่สุดในหนังเรื่องนี้ ก็ไม่ใช่ฉากพระเอกปะทะกับนางเอกด้วย แต่กลับเป็นฉากพระเอกปะทะกับเพื่อนผู้หญิงของนางเอกในร้านอาหาร เพราะเขาต้องการจะขอยืมเงินจากเพื่อนผู้หญิงคนนั้น ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไมตัวเองถึงฝังใจกับ “เพื่อนนางเอก” ที่รู้สึกกระอักกระอ่วนและรำคาญพระเอก มากกว่าจะฝังใจกับนางเอกในหนังเรื่องนี้ หรือบางทีตัวละครนางเอกในหนังเรื่องนี้อาจจะเป็นตัวละครที่ไกลตัวเองมากไปหน่อย ในขณะที่บทของเพื่อนนางเอกเป็นบทที่ตัวเองสามารถทำความเข้าใจได้ง่ายกว่า



ส่วนหนังที่คุณแฟรงเกนสไตน์หอบไปดู ลองเรียงตามลำดับความชอบของตัวเอง จะได้ดังนี้ค่ะ (เกรดหนังที่ให้จะเปลี่ยนไปจากก่อนๆหน้านี้ เพราะความรู้สึกของตัวเองที่มีต่อหนังแต่ละเรื่องได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว)

1.Ladies in Lavender A+
2.Million Dollar Baby A+
3.Kungfu Hustle A+
4.Birth A+
5.Sideways A+
6.Vera Drake A+
7.The Aviator A+
8.Hotel Rwanda A
9.Closer A
10.Being Julia A
11.The Woodsman A
12.Clean A
13.หมานคร A-
14.The Phantom of the Opera B
15.Love Me If You Dare B


--CARL NG ก็มีผลอย่างมากต่อความรู้สึกชอบของดิฉันที่มีต่อ YESTERDAY ONCE MORE (A-) ค่ะ ในหนังเรื่องนี้เขารับบทเป็นพระรอง ซึ่งดิฉันคิดว่าถ้าหากบทหนังเรื่องนี้มีการพลิกล็อคให้บทของเขากลายเป็นพระเอกขึ้นมา หนังเรื่องนี้อาจได้ A+ จากดิฉันไปแล้ว แต่ถ้าหากหนังเรื่องนี้ไม่มีบทของเขาอยู่เลยแม้แต่นิดเดียว ดิฉันก็อาจชอบหนังเรื่องนี้น้อยลงจากเดิมมากๆเช่นกัน

ความรู้สึกของดิฉันที่มีต่อ YESTERDAY ONCE MORE กับความรู้สึกของดิฉันที่มีต่อ SOMETHING’S GOTTA GIVE (B-) มีบางจุดที่ตรงกันค่ะ นั่นก็คือในหนังสองเรื่องนี้ดิฉันหลงรักและเอาใจช่วยพระอย่างเต็มที่ ดิฉันเอาใจช่วยให้พระรองในหนังสองเรื่องนี้สมหวังในตอนจบ และลุ้นให้ตัวละครพระเอกเป็นฝ่ายที่ผิดหวังในตอนจบ แต่ปรากฏว่าตอนจบของหนังสองเรื่องนี้ พระรองกลับเป็นฝ่ายที่ผิดหวัง ดิฉันก็เลยผิดหวังกับหนังสองเรื่องนี้ตามไปด้วย

--ไปดูรายชื่อผลงานของ LAM KA TUNG พบว่าเขาเล่นหนังเรื่อง BACK TO 2160 HOURS (2005) ซึ่งมีชื่อนักแสดงไทยรวมอยู่ในหนังเรื่องนั้นด้วย ไม่รู้เหมือนกันว่าหนังเรื่องนี้เกี่ยวกับอะไรยังไง
http://www.imdb.com/title/tt0447853/

ดูรูปและอ่านประวัติของ LAM KA TUNG ได้ที่นี่
http://www.lovehkfilm.com/people/lam_gordon.htm

http://www.lovehkfilm.com/people/bk4376/lam_gordon_5.jpg

LAM KA TUNG ได้ไปร่วมงานเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ปีนี้ด้วย เพราะเขาร่วมแสดงใน ELECTION ที่เข้าชิงปาล์มทองคำ

ADIEU BONAPARTE

พูดถึงรถติด จำได้ว่ามีวันนึงจะไปดูหนังที่ธรรมศาสตร์รอบ 5 โมงเย็นวันพฤหัสบดี ดิฉันออกจากบริเวณเซ็นทรัลปิ่นเกล้าตอน 16.30 น. นึกว่าข้ามสะพานปิ่นเกล้าไปแป๊บเดียวก็ถึงแล้ว ปรากฏว่ารถติดจิตหลุดอยู่บนสะพานปิ่นเกล้าประมาณชั่วโมงนึง กว่าจะมาถึงห้องสมุดธรรมศาสตร์ก็ 17.45 น. รู้งี้เดินมาตั้งแต่แรกยังจะถึงเร็วซะกว่า

มีบางวันอยู่แถวสีลมตอนบ่ายๆ แล้วจะไปดูหนังที่ธรรมศาสตร์ แต่ไม่อยากนั่งรถไปติดบนถนนตอนบ่ายๆ เพราะอากาศจะร้อนมาก ก็เลยใช้วิธีนั่งรถไฟฟ้าจากสีลมไปลงที่ปลายทางสะพานสาทร แล้วนั่งเรือจากสะพานสาทรไปขึ้นที่ท่าช้าง แล้วก็เดินจากท่าช้างมาธรรมศาสตร์ เป็นการเดินทางที่ร่มรื่นเย็นสบายดีมาก


ในความเห็นส่วนตัวของดิฉัน ดิฉันชอบ TROPICAL MALADY (A+) กับ HANA AND ALICE (A) มากๆเลยค่ะ แต่ไม่รู้เหมือนกันว่าคุณจะชอบเหมือนกันหรือเปล่า

ส่วน SUMMER STORM กับ THREE DANCING SLAVES นั้นก็น่าดูมากๆเหมือนกัน คิดว่าหนังทั้งสองเรื่องนี้เป็นหนังที่มีทั้งหนุ่มหล่อ + ประเด็นเรื่องเกย์ + คุณภาพที่ใช้ได้

สำหรับ DREAMSHIP SURPRISE นั้นดิฉันไม่รู้เหมือนกันค่ะว่าดีมั้ย แต่เดาว่าคงเป็นหนังที่ให้ความบันเทิงสูงและเป็นหนังที่ดูง่ายมากๆ


TIL SCHWEIGER ดาราหนุ่มเยอรมันที่ดิฉันหลงใหล ร่วมแสดงใน DREAMSHIP SURPRISE ด้วยค่ะ
http://www.celebrities.pl/til_schweiger/til6.jpg

ดูประวัติการทำงานของ TIL SCHWEIGER ได้ที่
http://www.imdb.com/name/nm0001709/


ประโยคประทับใจจากหนังในจินตนาการ

“Every single Jedi is now an enemy of the Republicans”

“ขณะนี้เจไดทุกคนถือเป็นศัตรูของสมาชิกพรรครีพับลิกัน”—พูดโดยเจ้าหญิงอนัตตา คู่ตบของ อามิดาลา


จากที่ได้ดู STAR WARS มาทั้งหมด 6 ภาค ปรากฏว่าตัวเองชอบ STAR WARS: EPISODE II – ATTACK OF THE CLONES มากที่สุดค่ะ โดยชอบในระดับประมาณ B+

นึกๆไปแล้ว ใน THE LORD OF THE RINGS ดิฉันก็ชอบภาคสองมากที่สุดเหมือนกัน เดาว่าบางทีอาจจะเป็นเพราะว่าในภาคสองของหนังสองเรื่องนี้ ปัญหาในหนังมันทวีความรุนแรงกว่าในภาคอื่นๆ และหนังภาคสองก็จะจบลงด้วยความรู้สึกที่ว่า “ปัญหายังไม่ได้รับการคลี่คลาย” ก็เลยทำให้รู้สึกว่าภาคสองมักจะสนุกมากและฝังใจมาก


--ชอบ KINGDOM OF HEAVEN ในระดับ A ค่ะ รู้สึกว่าหนังซาบซึ้งดี และก็ชอบออร์แลนโด บลูมในเรื่องนี้มากๆ แต่รู้สึกว่ามันดูขัดๆตายังไงไม่รู้ที่เขามีความสัมพันธ์กับอีวา กรีน เพราะรู้สึกว่าเขาน่าจะเล่นรักกับเพื่อนทหารด้วยกันมากกว่า โฮะ โฮะ โฮะ โฮะ โฮะ

--พูดถึงอียิปต์แล้วก็อยากดูหนังเกย์อียิปต์เรื่อง ADIEU BONAPARTE (1985, YOUSSEF CHAHINE) มากๆเลยค่ะ หนังเรื่องนี้ใช้ฉากหลังเป็นช่วงที่นโปเลียน โบนาปาร์ต (รับบทโดยปาตริซ เชโร ผู้กำกับหนังชื่อดัง) บุกเข้ามายึดครองอียิปต์ โดยมี MICHEL PICCOLI รับบทเป็นชายฝรั่งเศสที่ตกหลุมรักหนุ่มอียิปต์สองคนที่เป็นพี่น้องกัน โดยคนหนึ่งเขาตกหลุมรักที่ร่างกาย อีกคนหนึ่งเขาตกหลุมรักที่จิตใจ
http://www.imdb.com/title/tt0088383/
http://www.pardo.ch/1996/festival96/retro/adieu.html

ตอนนี้ได้ดูหนังของ YOUSSEF CHAHINE ไปแค่ 3 เรื่องค่ะ ซึ่งได้แก่

1.ALEXANDRIA…NEW YORK (2004, A)
2.หนังสั้นใน 11’09”01 – SEPTEMBER 11 (2002, B+)
3.SILENCE…WE’RE ROLLING (2001, B+/B)

รู้สึกว่าหนังของ YOUSSEF CHAHINE มีเอกลักษณ์ดีและน่าสนใจมากเลยค่ะ หนังของเขาจะเล่าเรื่องอย่างรวดเร็ว, ตัวละครพูดกันเร็ว และตัวละครจะมีอาการค่อนข้างไฮเปอร์แอคทีฟ สีสันในหนังของเขาก็จัดจ้านมาก เรียกได้ว่าบางอารมณ์ในหนังของเขากระเดียดไปทาง PEDRO ALMODOVAR + หนังอินเดียเลยก็ว่าได้


พูดถึงเพลง SIXTEEN GOING ON SEVENTEEN ก็เลยทำให้นึกถึงหนังอีกสองเรื่องที่มีการนำเพลงนี้มาใช้ประกอบ ซึ่งก็คือเรื่อง

1.BEAUTIFUL THING (A+) หนังเกย์เรื่องนี้เอาเพลงดังกล่าวมาใช้ในจังหวะอารมณ์ที่ลงตัวมากๆ
2.THE PACIFIER (A/A-)

ODYSSEAS PAPASPILIOPOULOS

--ได้อ่านที่คุณ TARENCE เขียนถึงนก ก็เลยนึกถึงเรื่องที่เกิดขึ้นกับตัวเองค่ะ แต่เป็นเรื่องที่เศร้ามากๆ เพราะอยู่ดีๆก็มีนกสองตัวมาทำรังที่ระเบียงห้องดิฉัน ปกติดิฉันไม่ค่อยได้ออกไปที่ระเบียง แต่มีอยู่วันหนึ่งก็พบรังนกขนาดใหญ่อยู่ที่ระเบียง และมีนกสองตัวที่ดิฉันเดาว่าคงเป็นสามีภรรยากันบินมาที่รังนี้บ่อยๆ

แต่ในที่สุดดิฉันก็ตัดสินใจเก็บรังนกนี้ไปทิ้งค่ะ เพราะไม่อยากให้มันมาทำรังที่ระเบียงนี้ ดิฉันไม่แน่ใจว่าสามีภรรยาคู่นี้เป็นนกพิราบหรือเปล่า แต่ได้ยินมาว่าขี้นกพิราบมีเชื้อราฟุ้งกระจายที่ทำให้เป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ดิฉันก็เลยต้องตัดสินใจเก็บรังนกไปทิ้ง เพื่อเป็นการบอกสามีภรรยาคู่นี้ในทางอ้อมว่าได้โปรดไปทำรังที่อื่นเถอะ อย่ามาทำรังที่นี่เลย

รู้สึกแย่เหมือนกันค่ะที่ต้องตัดสินใจทำเช่นนี้ เพราะดิฉันรู้สึกว่าสามีภรรยาคู่นี้รักกันมากๆ ฝ่ายภรรยาคงท้องแก่ใกล้คลอดลูกแล้ว ฝ่ายสามีก็ช่างดีเสียเหลือเกิน (ผิดกับมนุษย์ผู้ชายบางคนที่ไม่ควรได้ชื่อว่าเป็น “มนุษย์”) อุตส่าห์ทยอยเก็บกิ่งไม้มาทำรัง ไม่รู้พวกมันต้องใช้ความพยายามนานกี่วัน ต้องบินกี่กิโลเมตรกว่าจะเก็บกิ่งไม้มาทำรังได้ใหญ่ขนาดนี้ ดิฉันรู้สึกเหมือนตัวเองไปเผาบ้านของสามีภรรยาคู่หนึ่งที่ทำงานเก็บหอมรอมริบกันมานานกว่าจะปลูกบ้านได้สักหลัง พอปลูกเสร็จ จะเข้าไปอยู่ในบ้าน ดิฉันก็ไปเผาบ้านของเขาทิ้งเสีย

ไม่รู้เหมือนกันว่าสามีภรรยาคู่นี้จะทำอย่างไรต่อไป พวกเขาสองตัวนี้คงรักกันมากๆจริงๆ ตอนนี้ได้แต่ภาวนาขอให้พวกเขาได้ที่ทำรังใหม่ที่ดี, ปลอดภัย และทันเวลากำหนดวางไข่ของภรรยา (แต่เดาว่าไม่น่าจะทัน) เฮ้อ ทำไมชีวิตถึงต้องบังคับให้เราทำในสิ่งที่โหดร้ายก็ไม่รู้ ไม่อยากจะทำเลยจริงๆ


--พูดถึงเหวินเซียะเอ๋อ ดิฉันก็นึกถึงดาราหญิงคนหนึ่งในยุคปัจจุบันนี้ที่ดิฉันรู้สึกว่ามีเสน่ห์คล้ายๆกัน นั่นก็คือ KAREN MOK หรือ ม่อเหวินเหว่ย ที่เล่น SO CLOSE (A) กับ FALLEN ANGELS (A+) ดิฉันรู้สึกว่าคาเรน ม็อค ไม่ค่อยสวยเท่าไหร่ แต่ดูน่ารักแบบแก่นแก้ว ก็เลยนึกถึงเหวินเซียะเอ๋อ

--อยากดู BILLY ELLIOT THE MUSICAL มากเลยค่ะ เพราะเหมือนจะได้ยินมาว่าละครเพลงเวอร์ชันนี้จะแตกต่างจากหนัง เพราะละครเพลงเวอร์ชันนี้จะเน้นประเด็นเรื่องการเมืองและด่ามาร์กาเร็ต แธทเชอร์อย่างรุนแรง ในขณะที่ในเวอร์ชันหนัง ประเด็นเรื่องการเมืองกลายเป็นเพียงแบคกราวด์เท่านั้น

--เพิ่งได้ดูแดเนียล วูใน HOUSE OF FURY (2005, STEPHEN FUNG, B) ค่ะ ดิฉันยอมลงทุนถ่อไปถึงเดอะมอลล์ งามวงศ์วานเพื่อดูหนังเรื่องนี้โดยเฉพาะ ซึ่งก็เป็นหนังที่ขายความเป็นกังฟูแอคชันอย่างรุนแรงมาก แต่เนื่องจากดิฉันไม่ใช่แฟนกังฟู ก็เลยไม่ค่อยสะใจกับหนังเรื่องนี้เท่าไหร่ ชอบหนังแอคชันที่ขายความแร่ดๆแบบ NAKED WEAPON (2002, เฉินเสี่ยวตง, A-) มากกว่า

อย่างไรก็ดี สิ่งที่ถูกใจใน HOUSE OF FURY ก็คือหนังมีฉากผู้หญิงบู๊อยู่หลายฉากเหมือนกัน ก็เลยทำให้ชอบหนังเรื่องนี้มากกว่า UNLEASHED (B-) เพราะถึงแม้ UNLEASHED จะเป็นหนังที่จริงจังกว่าและมีประเด็นเรื่องสีผิวที่น่าสนใจดี แต่รู้สึกสนุกกับฉากบู๊ใน HOUSE OF FURY มากกว่า

--เพลงของ ALISON MOYET ที่ชอบมากๆรวมถึงเพลง ONLY YOU, IS THIS LOVE, IT WON’T BE LONG, THIS HOUSE กับ WHISPERING YOUR NAME
http://www.amazon.com/exec/obidos/ASIN/B000002B9A/qid=1116162799/sr=2-2/ref=pd_bbs_b_2_2/104-1379411-8834357

นอกจากนี้ ดิฉันยังชอบนักร้องอีก 2 คนที่ชื่อคล้ายกันด้วยค่ะ นั่นก็คือ ALYSON WILLIAMS กับ ALISON LIMERICK

เพลงของ ALYSON WILLIAMS ที่ชอบมากก็คือ 2 ND X AROUND, I NEED YOUR LOVIN’, SLEEP TALK และ MY LOVE IS SO RAW

เพลงของ ALISON LIMERICK ที่ชอบมากก็คือ WHERE LOVE LIVES, MAKE IT ON MY OWN, HEAR MY CALL, LOVE COME DOWN กับ COME BACK FOR REAL LOVE,

ถ้าหากพูดถึงนักร้องหญิงเสียงดีแล้ว นักร้องคนนึงที่ชอบมากคือ LISA FISCHER ค่ะ เพลงที่ชอบมากของเธอก็คือ HOW CAN I EASE THE PAIN
http://www.amazon.com/exec/obidos/ASIN/B000002H7K/ref=pd_krex_sdu_sims/104-1379411-8834357


--Juliet Stevenson เล่นได้ดีมากๆใน FOOD OF LOVE (A) ค่ะ แต่หนังเรื่องนี้ไม่ค่อยมีอารมณ์ DRAMATIC แบบหนังฮอลลีวู้ดสักเท่าไหร่ รู้สึกว่า FOOD OF LOVE เป็นหนังที่ “เน้นตัวละคร” มากกว่า “เน้นพล็อต” ค่ะ เพราะฉะนั้นก่อนดูหนังเรื่องนี้อาจจะต้องทำใจไว้ก่อนว่าหนังไม่ได้มีลำดับการสร้างอารมณ์ให้พุ่งขึ้นเรื่อยๆจนถึงจุดไคลแมกซ์แบบหนังฮอลลีวู้ด

หนังอีกเรื่องที่เปิดโอกาสให้จูเลียต สตีเวนสันแสดงฝีมือได้อย่างสุดๆ ก็คือ TRULY, MADLY, DEEPLY (1991, ANTHONY MINGHELLA, B) โดยในเรื่องนี้จูเลียตรับบทเป็นผู้หญิงที่ใช้ชีวิตอยู่กับ “ผัวที่กลายเป็นผี” และหลังจากนั้นผัวผีของเธอก็พาเพื่อนๆผีเข้ามาอาศัยอยู่ร่วมกับเธอกันหลายตัว

http://rogerebert.suntimes.com/apps/pbcs.dll/article?AID=/19910524/REVIEWS/105240302/1023


--ชอบคุณแม่ใน THE TRIP ที่ขโมยของจากบ้านคนรวย บทคุณแม่ในหนังเรื่องนี้ ทำให้นึกถึงบทคุณแม่ในหนังฮ่องกงเรื่อง YESTERDAY ONCE MORE (2004, JOHNNY TO, A-) ที่มีนิสัยชอบขโมยเหมือนกัน ใน YESTERDAY ONCE MORE มีฉากที่คุณแม่บุกไปด่าพระเอกกับด่านางเอก แต่ด่าอย่างเดียวยังไม่สะใจ เธอก็เลยขโมยเชิงเทียนกับถ้วยโถโอชามในบ้านพระเอกนางเอกมาด้วย


--ชอบ MY LIFE WITHOUT ME มากๆเลยค่ะ สิ่งที่ชอบในหนังเรื่องนี้รวมถึง

1.ตอนจบของเรื่องที่ตัดช่วงเวลาใกล้ตายทิ้งไปจากเรื่องหมดเลย จุดนี้ทำให้นึกถึง A HOME AT THE END OF THE WORLD (2004, MICHAEL MAYER, A+) ที่มีตัวละครป่วยใกล้ตายเหมือนกัน

2.ชอบดนตรีประกอบ

3.รู้สึกว่านางเอกมีอะไรประหลาดๆน่าสนใจดี ตอนแรกเธอเรียนภาษาจีนเพราะเธอคงคิดว่า “อาจจะมีประโยชน์กับชีวิตในอนาคต” แต่ตอนหลังเธอรู้ว่า “ชีวิตของเธอไม่มีอนาคต” แล้ว เธอก็ยังคงฟังเทปฝึกภาษาจีนต่อไปอีก ไม่รู้เหมือนกันว่าเธอจะฟังไปเพื่ออะไร

4.ชอบตัวละครในเรื่องที่หมกมุ่นกับอะไรต่าง ซึ่งรวมถึง

4.1 LEONOR WATLING ที่หมกมุ่นกับประสบการณ์ทรมานใจเรื่อง “เด็ก”
4.2 MARIA DE MEDEIROS ที่หมกมุ่นกับ MILLI VANILLI
4.3 สาวเสิร์ฟที่หมกมุ่นกับความอยากเป็นแชร์ แล้วตอนหลังมาหมกมุ่นกับบริทนีย์ สเปียร์ส
4.4 DEBORAH HARRY ที่หมกมุ่นกับหนังเรื่อง MILDRED PIERCE (1945)
4.5 AMANDA PLUMMER ที่หมกมุ่นกับความอยากผอม

5.ชอบคนเล่นแก้วที่มักอยู่ข้างถนนและมาปรากฏให้เห็นทางหางตาของตัวละคร

6.ชอบเด็กในหนังเรื่องนี้มาก โดยเฉพาะฉากที่เด็กด่า AMANDA PLUMMER

7.การที่นางเอกอัดเทปทิ้งไว้ให้ลูกในหนังเรื่องนี้ ทำให้นึกถึงนางเอก BE WITH YOU (B+) ที่สั่งเค้กวันเกิดล่วงหน้าให้ลูก

8.อันนี้ไม่ต้องบอกก็คงรู้อยู่แล้ว ชอบผู้ชายในหนังเรื่องนี้ค่ะ


--ไม่ได้ดู SIX FEET UNDER มานานแล้ว พอได้ดูตอนวันอังคารที่ผ่านมา ก็งงมากว่าทำไมดารารับเชิญในละครเรื่องนี้ถึงมีแต่ดาราที่น่าสนใจทั้งนั้น

ดารารับเชิญที่ปรากฏตัวใน SIX FEET UNDER ตอนที่แล้วรวมถึง

1.MENA SUVARI จาก AMERICAN BEAUTY (A+)

2.MICHELLE TRACHTENBERG จาก MYSTERIOUS SKIN (A+)
http://www.imdb.com/name/nm0005502/

3.BOBBY CANNAVALE จาก SHALL WE DANCE (A-)
รู้สึกหนุ่มหล่อคนนี้จะถูกโฉลกกับหนัง/ละครเกย์มากเป็นพิเศษ เพราะว่า

3.1 เขารับบทเป็นเกย์ใน SHALL WE DANCE
3.2 เขารับบทเป็นเกย์ใน SIX FEET UNDER
3.3 เขาแสดงหลายตอนใน WILL & GRACE
3.4 เขาเล่นเรื่อง HAPPY ENDINGS ที่มีเนื้อหาบางส่วนเกี่ยวกับเกย์

4.JOSH STAMBERG จาก A LOT LIKE LOVE (A+)


--ชอบที่คุณอ้วนเขียนเกี่ยวกับ THE COLOUR OF LIES มากๆเลยค่ะ จุดต่างๆเหล่านี้เป็นจุดที่ดิฉันไม่ได้สังเกตมาก่อนเหมือนกัน

Spoilers

จุดที่ดิฉันชอบมากใน THE COLOUR OF LIES ก็คือในขณะที่หนังทริลเลอร์หรือหนังฆาตกรรมเรื่องอื่นๆ มักจะสร้างความรู้สึกตื่นเต้นให้ผู้ชมด้วย “การฆาตกรรมบนจอภาพ” หรือ “การฆาตกรรมในเนื้อเรื้อง” แต่สำหรับ THE COLOUR OF LIES นั้น ดิฉันรู้สึกตื่นเต้นสุดขีดขณะที่ได้ดูหนังเรื่องนี้ เพราะดิฉันจินตนาการอย่างหวาดกลัวไปต่างๆนานาว่าจะเกิดการฆาตกรรมขึ้นในฉากโน้นหรือในฉากนี้ แต่กลับไม่เกิดการฆาตกรรมขึ้นในฉากที่ดิฉันคาดเดาไว้ หนังเรื่องนี้ทำให้ดิฉันรู้สึกตื่นเต้นลุ้นระทึกถึงขีดสุด โดยใช้วิธีกระตุ้นให้ดิฉันจินตนาการถึงการฆาตกรรมขึ้นมาเอง ซึ่งรวมถึงในฉากดังต่อไปนี้

1.ในฉากที่ตัวละครมากินข้าวกัน และเกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าติดๆดับๆ ดิฉันใจหายใจคว่ำแทนตัวละครในฉากนั้นมาก เพราะดิฉันเดาว่าพอไฟฟ้าสว่างขึ้นมา ต้องมีตัวละครหนึ่งคนในนั้นถูกฆ่าตาย แต่ในที่สุด พอไฟสว่างขึ้นมา ก็ไม่ได้มีการฆาตกรรมเกิดขึ้นในฉากนั้นแต่อย่างใด

2.ฉากที่ทำให้ดิฉันรู้สึกหวาดกลัวจนหายใจไม่ทั่วท้อง และต้องเกาะขอบเก้าอี้ไว้แน่นมาก ในใจก็ได้แต่ภาวนาว่า “อย่าฆ่าเธอนะ อย่าฆ่าเธอนะ” ก็คือฉากที่ VALERIA BRUNI TEDESCHI มาสอบปากคำซองดรีน บอนแนร์ขณะที่บอนแนร์รีดผ้า เพราะในฉากนั้นบอนแนร์จะเริ่มเครียดขึ้นเรื่อยๆ เธอเริ่มทนตำรวจหญิงคนนี้ไม่ได้อีกต่อไป และเธอก็รีดผ้าอยู่ ดิฉันกลัวจนฉี่แทบราดในฉากนั้น เพราะดิฉันกลัวว่าบอนแนร์จะทนไม่ไหวและยกเตารีดขึ้นมานาบที่ใบหน้าของ VALERIA BRUNI TEDESCHI เพราะในฉากนั้น “สีหน้า” ของบอนแนร์เป็นสีหน้าที่หนักมาก เธอเป็นตัวละครที่ทำให้ดิฉันรู้สึกว่ามี POTENTIAL สูงมากๆที่จะเป็นฆาตกร แต่ก็ดีที่ความสามารถในการเป็นฆาตกรของตัวละครตัวนี้ “เป็นเพียงพลังงานศักย์” ตลอดทั้งเรื่อง โดยยังไม่ได้ถูกปลดปล่อยออกมาจนกลายเป็น “พลังงานจลน์”

3.ถึงแม้ VALERIA BRUNI TEDESCHI จะรอดชีวิตจากฉากรีดผ้าไปได้ ดิฉันก็ยังคงไม่สบายใจอยู่ดี เพราะดิฉันกลัวมากๆว่าตัวละครตัวนี้จะไปรู้ความจริงบางอย่างเข้า ซึ่งจะส่งผลให้ JACQUES GAMBLIN กับ SANDRINE BONNAIRE ต้องร่วมมือกันฆ่าตำรวจหญิงคนนี้ในภายหลัง ดิฉันชอบตัวละครตำรวจหญิงคนนี้มากค่ะ ก็เลยเอาใจช่วยให้เธอมีชีวิตรอดอยู่จนจบหนังเรื่องนี้ และเธอก็มีชีวิตรอดอยู่จนจบจริงๆ ในขณะที่ JACQUES GAMBLIN กับ SANDRINE BONNAIRE ก็ไม่ได้มีความคิดที่จะร่วมมือกันฆ่าตำรวจหญิงคนนี้อย่างที่ดิฉันหวาดกลัวแต่อย่างใด

สรุปง่ายๆก็คือว่า THE COLOUR OF LIES เป็นหนังเพียงไม่กี่เรื่องที่ดิฉันได้ดู และทำให้ดิฉันรู้สึกลุ้นระทึกตื่นเต้นสุดขีดกับ “การฆาตกรรมที่คาดว่าจะเกิดขึ้น แต่ในที่สุดก็ไม่ได้เกิดขึ้น” ดิฉันรู้สึกว่าหนังเรื่องนี้เต็มไปด้วยตัวละครที่มี “ศักยภาพ” ที่จะเป็นฆาตกรมาฆ่ากันเอง และการที่หนังเรื่องนี้มีองค์ประกอบอย่างนี้ ก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้ดิฉันจินตนาการถึงการฆาตกรรมขึ้นมาในหัวของตัวเองและหวาดกลัวสุดขีดไปกับจินตนาการนั้น โดยที่ไม่จำเป็นว่าการฆาตกรรมนั้นจะต้องเกิดขึ้นจริงในหนังแต่อย่างใด

--พูดถึง THE DEVIL AND MISS PRYM ก็เลยนึกถึงหนังที่มีชื่อเรื่องคล้ายๆกันนี้ค่ะ ซึ่งก็คือหนังสารคดีเรื่อง THE DEVIL AND DANIEL JOHNSTON (2005, JEFF FEUERZEIG) ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับนักดนตรีที่เป็นบ้า
http://www.imdb.com/title/tt0436231/

--ชอบช่วงท้ายของ DOPPELGANGER มากค่ะ ที่เป็นตัวละครขับรถ และเจอเหตุการณ์บ้าๆบอๆดักตบกันไปดักตบกันมา

รู้สึกว่า DOPPELGANGER ช่วงท้าย เป็นช่วงที่ดูแล้วรู้สึก “เบิกบานสำราญใจ สบายใจ” มากๆ ไม่ตกอยู่ภายใต้บรรยากาศอันตึงเครียดหม่นมัวเหมือนหนังของคิโยชิ คุโรซาวะเรื่องอื่นๆ ฉากที่ชอบสุดๆใน DOPPELGANGER คือฉากที่ตัวละครขับรถออกมาจากศูนย์วิจัยในช่วงท้ายเรื่อง แล้วนางเอกที่นั่งอยู่ในรถก็ระบายความรู้สึกเบิกบานสบายใจสะใจปลอดโปร่งโล่งใจออกมาด้วยการเอามือตีๆแผงหน้ารถ

อีกจุดที่ชอบมากก็คือในที่สุดแล้ว ตัวละครผู้ชายสองคนที่โคจิ ยาคุโชแสดง ก็ไม่ได้แตกต่างกันแต่อย่างใด

ชอบไตเติลเปิดเรื่อง DOPPELGANGER มากๆด้วยค่ะ

หนังเกี่ยวกับ DOPPELGANGER อีกเรื่องนึงที่ชอบมากก็คือ SPIRITS OF THE DEAD (1968) ที่ประกอบด้วยเรื่องสั้นสามตอน โดยตอนที่เกี่ยวกับ DOPPELGANGER มีชื่อว่า WILLIAM WILSON (Louis Malle, A-) และนำแสดงโดยอเลน เดอลองในบทของหนุ่มหล่อสองคนที่หน้าตาเหมือนกัน โดยมีบริจิตต์ บาร์โดต์ร่วมแสดงด้วย
http://www.imdb.com/title/tt0063715/fullcredits#directors


--ชอบ I AM DAVID (2003, Paul Feig) ในระดับ A++++++ ค่ะ ซึ้งใจมากกับช่วงท้ายของหนังเรื่องนี้ ดูแล้วร้องไห้ออกมาเลย

BEN TIBBER แสดงได้อย่างสุดยอดมากกับบทพระเอกของเรื่องนี้ ในขณะที่ MARIA BONNEVIE ก็ไม่เคยทำให้ดิฉันผิดหวัง ก่อนหน้านี้เธอเคยทำให้ดิฉันตกตะลึงกับการแสดงของเธอมาแล้วใน FALLING SKY (2002, GUNNAR VIKENE, A-) และ RECONSTRUCTION (2003, CHRISTOFFER BOE, A+) ส่วนในเรื่องนี้ ถึงแม้เธอไม่ได้โชว์ฝีมือทางการแสดงมากนัก แต่บุคลิกของเธอในเรื่องนี้ ก็ดูแตกต่างจากบุคลิกของเธอใน FALLING SKY กับใน RECONSTRUCTION มากเหมือนกัน

ดู I AM DAVID แล้วทำให้นึกถึงหนังสองกลุ่มค่ะ ซึ่งก็คือกลุ่มหนังการเดินทางของเด็ก และกลุ่มหนังที่สะท้อนชีวิตชาวยุโรปตะวันออกภายใต้ระบอบคอมมิวนิสต์

นอกจาก I AM DAVID แล้ว หนังเกี่ยวกับการเดินทางของเด็กที่ดิฉันชอบสุดๆก็รวมถึง

1.A.I.: ARTIFICIAL INTELLIGENCE (STEVEN SPIELBERG, A+)

2.THE FLIGHT OF THE INNOCENT (1993, CARLO CARLEI, A+)
http://www.imdb.com/title/tt0104012/

3.LES DIABLES (2002, CHRISTOPHE RUGGIA, A+)
http://www.imdb.com/title/tt0291131/

หนังกลุ่มข้างต้นเป็นหนังที่เด็กๆมักเดินทางกันโดยไม่มีผู้ใหญ่ไปด้วย ส่วนหนังเกี่ยวกับเด็ก-ผู้ใหญ่ที่เดินทางด้วยกันก็มีอย่างเช่น

1.PAPER MOON (1973, PETER BOGDANOVICH, A+/A)

2.ALICE IN THE CITIES (1974, WIM WENDERS, A-)

3.THE CHILD AND THE SOLDIER (2000, SEYYED REZA MIR-KARIMI, A-)
http://www.imdb.com/title/tt0266705/

4.THE STOLEN CHILDREN (1992, GIANNI AMELIO, A-)
http://www.imdb.com/title/tt0104663/

หนัง 4 เรื่องข้างบนเป็นหนังที่ค่อนข้างให้ความสำคัญกับตัวละครเด็กค่ะ หนังกลุ่มที่ใกล้เคียงกลุ่มนี้ก็คือหนังกลุ่ม “แม่ลูกเดินทางด้วยกัน” แต่หนังกลุ่มนี้มักให้ความสำคัญกับตัวละครแม่มากกว่าตัวละครลูก

ส่วนหนังเกี่ยวกับยุโรปตะวันออกภายใต้ระบอบคอมมิวนิสต์ สามารถอ่านได้ที่กระทู้ในลิงค์นี้ค่ะ
http://www.bioscopemagazine.com/review/index-in.php?id=12364


--ชอบ A TOUCH OF SPICE (2003, TASSOS BOULMETIS) ในระดับ B+ จริงๆแล้วดิฉันชอบบางส่วนของหนังเรื่องนี้ในระดับ A+ อย่างเช่นในจุดที่เกี่ยวกับพ่อแม่ที่ทรมานลูกเพราะนึกว่าลูกเป็นเกย์ แต่ดิฉันรู้สึกไม่ค่อยซึ้งกับตอนจบของเรื่องนี้ ความรู้สึกชอบก็เลยหล่นฮวบลงมา

รู้สึกเช่นนี้กับ “7 ประจัญบาน 2” เหมือนกัน เพราะชอบบางส่วนของหนังมากในระดับ A+ โดยเฉพาะในจุดที่ล้อเลียน “คู่กรรม” แต่รู้สึกไม่ค่อยดีกับตอนจบของเรื่อง ความรู้สึกชอบก็เลยหล่นวูบลงมาอยู่ B-

ดูโครงสร้างของ A TOUCH OF SPICE แล้วรู้สึกว่าถ้าหากหนังเรื่องนี้ได้ GIANNI AMELIO มากำกับ เขาอาจจะทำให้ดิฉันชอบหนังเรื่องนี้มากถึงขั้น A+ ก็เป็นได้ เพราะ A TOUCH OF SPICE เล่าเรื่องราวช่วงชีวิตอันยาวนานของตัวละคร และมีความเป็นเมโลดรามาผสมอยู่ ก็เลยนึกไปถึงหนังเรื่อง THE WAY WE LAUGHED (1998, GIANNI AMELIO, A+) ที่เล่าเรื่องราวชีวิตแบบเมโลดรามาเหมือนกัน แต่ดิฉันรู้สึกว่าจังหวะ, การตัดต่อ และหลายๆอย่างใน THE WAY WE LAUGHED มันลงตัวมากๆจนมันทำให้รู้สึกซึ้งสุดขีดและดูแล้วอยากร้องไห้ แต่ A TOUCH OF SPICE มีความไม่ลงตัวทางอารมณ์ยังไงไม่รู้ ดิฉันไม่รู้ว่าหนังเรื่องนี้ “จงใจไม่ซึ้ง” หรือว่า “หนังพยายามทำซึ้งแต่ทำไม่สำเร็จ” กันแน่


ชอบคำว่า “เคนนี่ เชสนี่ย์ นักร้องคันทรี่หนุ่มที่น่าร่วมรักมากที่สุด” มากเลยค่ะ

นักร้องคันทรี่หนุ่มอีกคนที่น่ารักดีก็คือ BRAD PAISLEY แต่คนนี้ “น่ารัก” มากกว่าจะ “น่าร่วมรัก” แบบเคนนี่ เชสนีย์
http://www.gactv.com/artists/media/paisley.jpg


MOST DESIRABLE ACTOR


1.ODYSSEAS PAPASPILIOPOULOS—A TOUCH OF SPICE

เขาคนนี้แหละค่ะที่ทำให้ดิฉันเข้าใจคำว่า “เทพบุตรกรีก” ดิฉันอยากแต่งงานเป็นภรรยาของเขามากเลยค่ะ คนจะได้เรียกดิฉันว่า “MADAME PAPASPILIOPOULOS” ซึ่งคงจะฟังดูดีกว่าแต่งงานกับฝรั่งบางคน แล้วได้เป็น “Madame Smith” หรือ “Madame Johnson” (แต่ก็กลัวเหมือนกันว่าคนอาจจะเรียกนามสกุลสามีดิฉันผิดจนกลายไปเป็น MADAME POLIO แทน)

ดาราหนุ่มกรีกอีกคนที่ดิฉันขอยกตำแหน่งเทพบุตรกรีกให้ ก็คือ ALEXIS GEORGOULIS ค่ะ
http://www.mrsgiggles.com/hunks/categories.php?cat_id=13

http://storage.msn.com/x1pKFF1-2euTs4hQIgVLfaynvg3Dpt1coVEdsB9Nes52MqZXWO0FsP8IpKl53-WBpS0vQ0ChKaJ6OHWUU-1GZ5lgXEqA4sfAdQwvFzNOhE8RRgaysRlAKzgSbnncB4gaMob1KOFlXha83s5D04GeWILBA


2.CARL NG (คู่หมั้นนางเอก) ใน YESTERDAY ONCE MORE (A-)
http://www.kanbukai.com/blog/hello/119/1925/320/1.jpg
http://www.lovehkfilm.com/people/ng_carl.htm



3.LAM KA TUNG (นักสืบระดับพระกาฬจากบริษัทประกัน) ใน YESTERDAY ONCE MORE
http://www.offoffoff.com/film/2004/images/infernalaffairstwo.jpg

4.TYRONE GIORDANO (พี่ชายพระเอก) ใน A LOT LIKE LOVE (A+)

5.GABRIEL MANN ใน A LOT LIKE LOVE
http://www.imdb.com/name/nm0542759/

เขาเล่นหนังหลายเรื่องที่ดิฉันเคยดู แต่ดิฉันไม่เคยสะดุดตาเขามาก่อนจนกระทั่งเขามาเล่น A LOT LIKE LOVE ดิฉันรู้สึกว่าเขาน่าจะเหมาะรับบทเป็นน้องชายของเจมส์ สเปเดอร์
http://gfx.filmweb.pl/p/4540/po.66523.jpg
http://film.onet.pl/_i/news/duze/g/gabriel_mann_1.jpg

Sunday, May 15, 2005

FILIPPO NIGRO

This summary is not available. Please click here to view the post.

Saturday, May 14, 2005

FRAGMENTS OF ISABELLA

เห็นน้อง ZM พูดถึง THE PIANIST (A+/A) แล้วก็ทำให้นึกถึงหนังเกี่ยวกับ HOLOCAUST สองเรื่องที่อยากดูมากค่ะ นั่นก็คือเรื่อง THE LAST LETTER (2002, Frederick Wiseman) กับ FRAGMENTS OF ISABELLA (1989, RONAN O’LEARY) เพราะหนังสองเรื่องนี้นำเสนอเรื่องราวการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวด้วยวิธีการที่เรียบง่ายที่สุด นั่นก็คือให้นักแสดงหญิงคนหนึ่งเล่าเรื่องราวตลอดทั้งเรื่องตามลำพังบนเวทีละคร

อ่านข้อมูลเกี่ยวกับ THE LAST LETTER ได้ที่
http://www.indiewire.com/people/people_030210wiseman.html
http://www.filmforum.org/archivedfilms/lastletter/lastlettervvoice.html


รูปของ THE LAST LETTER

http://www.filmforum.org/archivedfilms/lastletter/letterslide2.jpg

http://www.filmforum.org/archivedfilms/lastletter/letterslide1.jpg


ส่วน FRAGMENTS OF ISABELLA นั้นดัดแปลงจากหนังสือของ ISABELLA LEITNER ซึ่งเป็นผู้รอดชีวิตจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ โดยตอนที่อิซาเบลลายังเป็นวัยรุ่นนั้น เธออาศัยอยู่ในสลัมชาวยิวในเมือง Kisvarda ในประเทศฮังการี แต่เมื่อนาซีเข้ายึดครองฮังการี อิซาเบลลาก็ถูกส่งตัวไปเข้าค่ายสังหารที่เอาช์วิทซ์ในโปแลนด์ ก่อนจะถูกส่งตัวต่อไปที่ค่ายกักกัน Birnbaumel

อิซาเบลลาและนักโทษคนอื่นๆถูกบังคับให้เดินเท้าเป็นเวลายาวนานไปที่ Bergen-Belsen ในเวลาต่อมา และเธอกับน้องสาวสองคนของเธอก็เลยถือโอกาสนี้หลบหนี

Gabrielle Reidy คือนักแสดงเพียงคนเดียวในหนังเรื่องนี้ เธอเล่าเรื่องราวความโหดร้ายทารุณที่อิซาเบลลาประสบผ่านทางบทพูด monologue ซึ่งรวมถึงเรื่องที่แม่กับน้องสาวสองคนเสียชีวิตในช่วงสงคราม

การแสดงของ Gabrielle Reidy ในหนังเรื่องนี้ได้รับคำชมว่าสุดยอดมาก โดยมีการนำฟุตเตจข่าวมาฉายแทรกระหว่างบทพูดด้วย แต่ไม่มีการนำภาพของความโหดร้ายมาฉายให้ชมเลย เพราะผู้กำกับต้องการให้พลังทั้งหมดของหนังเรื่องนี้มาจากคำพูดเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ส่วนเวทีละครที่ปรากฏในหนังเรื่องนี้ก็แทบไม่ได้มีการตกแต่งประดับประดาแต่อย่างใด

นอกจากนักแสดงแล้ว คนที่ได้รับคำชมในหนังเรื่องนี้ยังรวมถึงผู้กำกับ, Walter Lassally ซึ่งเป็นคนจัดแสง และ Carl Davis ซึ่งเป็นคนทำดนตรีประกอบ

รู้สึกว่าวิดีโอหนังเรื่องนี้จะมีขายในราคาม้วนละ 195 ดอลลาร์ หรือ 7800 บาท
http://www.filmakers.com/indivs/FragmentsIsabella.htm


พูดถึงหนัง/ละครจีนกำลังภายใน ก็เลยนึกถึงหนึ่งในวิชาที่น่าสนใจมากๆค่ะ นั่นก็คือ “ยอดวิชาดูดดาว” ที่พ่อของเยี่ยนอิ๋งอิ๋ง (จำไม่ได้ว่าชื่อนี้หรือเปล่า) ฝีกใน “เดชคัมภีร์เทวดา” หรือ “กระบี่เย้ยยุทธจักร” จำได้ว่าในหนังนั้น วิชานี้จะดูน่ากลัวมากๆ เพราะผู้ฝึกสำเร็จจะสามารถดูดพลังจากคู่ต่อสู้ จนคู่ต่อสู้ถูกสูบพลังจนหมดตัวและตายไปเลย (ฉากที่พ่อของเยี่ยนอิ๋งอิ๋งสู้กับนินจาใน “เดชคัมภีร์เทวดาภาคสอง” เป็นฉากที่สนุกมากๆ)

ถ้าจำไม่ผิด มีคนเคยตั้งข้อสังเกตว่า “ยอดวิชาดูดดาว” นี้มีความใกล้เคียงกับวิชาของ “เต็งชุนชิว” ใน “แปดเทพอสูรมังกรฟ้า” ด้วย

เนื่องจาก “ยอดวิชาดูดดาว” น่าสนใจมาก ทางสตูดิโอ MIRAMATT ก็เลยคิดว่าควรจะสร้างหนังจีนกำลังภายในสักเรื่องหนึ่งที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับจอมยุทธที่สำเร็จวิชาคล้ายๆกันนี้ค่ะ นั่นก็คือ “ยอดวิชาดูดเดือย” โดยผู้สำเร็จวิชานี้จะสามารถดูดพลังจากคู่ต่อสู้ที่เป็นจอมยุทธหนุ่ม จนทำให้จอมยุทธหนุ่มรายนั้นอ่อนเปลี้ยเพลียแรง ไม่สามารถใช้พลังยุทธต่อสู้ได้เป็นเวลานาน

--หนังที่นำเสนอเรื่องราวการลักลอบเข้าประเทศของชาวอเมริกากลางที่น่าสนใจมากๆ รวมถึงเรื่อง

1.EL NORTE (1983, GREGORY NAVA)

โรเจอร์ อีเบิร์ต ให้ดาว EL NORTE ถึง 4 ดาว อ่านบทวิจารณ์ของเขาได้ที่
http://rogerebert.suntimes.com/apps/pbcs.dll/article?AID=/19831215/REVIEWS/312150301/1023

2.FROM THE OTHER SIDE (2002, CHANTAL AKERMAN)
http://www.filmref.com/journal2002.html#otherside

3.BALSEROS (2002, CARLOS BOSCH + JOSE MARIA DOMENECH, A+)
http://www.imdb.com/title/tt0321376/

อ่านความเห็นของดิฉันที่มีต่อ BALSEROS ได้ที่
http://bioscopemagazine.com/webboard/index-in.php?id=8047

ฉากนึงของ TEA LEONI ที่ชอบมากๆใน SPANGLISHคือฉากที่เธอนั่งรถไปกับ THOMAS HADEN CHURCH (SIDEWAYS) และเธอก็บ่นว่าทำไมผมของเธอถึงไม่ปลิวไสวแบบในหนัง

MARTIN SCORSESE

ถ้าเข้าใจไม่ผิด หนังที่ฉายที่มูลนิธิญี่ปุ่นฉายด้วยฟิล์ม 16 มม.ค่ะ ประตูโรงหนังเปิดเวลา 18.00 น. เดินเข้าไปดูได้เลยค่ะ และขอแนะนำว่าถึงแม้หนังจะฉายเวลาประมาณ 18.30 น. แต่ควรจะมาถึงโรงหนังตั้งแต่เวลา 18.00 น. เพื่อจะได้จองที่นั่งด้านหน้าๆได้ เพราะถ้ามาถึงโรงหนังทีหลัง ก็อาจจะได้ที่นั่งที่ไม่เหมาะสม เพราะจะโดนหัวคนข้างหน้าบังจนอ่านซับไตเติลไม่สะดวกค่ะ

แต่ถ้าหากหาที่นั่งที่เหมาะสม (ปลอดหัวคนข้างหน้า) ไม่ได้จริงๆ ก็อาจจะทำแบบที่ดิฉันเคยทำก็ได้ค่ะ นั่นก็คือไปนั่งกับพื้นห้องตรงหน้าที่นั่งแถวหน้าสุดไปเลย จะได้ไม่มีหัวคนมาบัง แต่อาจจะเมื่อยหน่อยเพราะต้องนั่งกับพื้น แต่ปกติแล้วผู้ชมที่มาดูที่นี่จะไม่ค่อยเยอะจนถึงขั้นต้องไปนั่งกับพื้นค่ะ


ส่วนในเดือนมิ.ย.นี้ทางมูลนิธิจะจัดฉายหนังของโยจิ ยามาดะตลอดทั้งเดือนค่ะ โปรแกรมมีดังต่อไปนี้ (หนังฉายเวลา 18.30 น.)


3 JUNE
A CLASS TO REMEMBER (1993)


7 JUNE
A CLASS TO REMEMBER II (1996, B-)
http://www.imdb.com/title/tt0116386/

นำแสดงโดย AYUMI HAMASAKI และเนื้อหาส่วนหนึ่งของเรื่องเกี่ยวกับการไปดูคอนเสิร์ตของ
NAMIE AMURO


10 JUNE
FIFTEEN (2000, B)
อ่านบทวิจารณ์หนังเรื่อง FIFTEEN ของคุณสาวรกโลกได้ที่
http://www.bioscopemagazine.com/review/index-in.php?id=1395

อย่าจำสลับกับหนังสิงคโปร์เรื่อง 15 (2003, ROYSTAN TAN, A)


14 JUNE
MY SONS (1991)

17 JUNE
THE RAINBOW SEEKER (1996, A/A-)

ฉากที่ดิฉันชอบมากในหนังเรื่องนี้ คือฉากที่ KATSUO ประทับใจหนังเรื่อง THE LONG ABSENCE (1961, HENRI COLPI, A) เป็นอย่างมาก จนเขาถึงกับลุกขึ้นมาทำท่าทางเลียนแบบ ALIDA VALLI (นางเอกของ THE LONG ABSENCE) ให้คนอื่นๆดู

หนังเรื่อง THE LONG ABSENCE เคยเข้ามาฉายที่สมาคมฝรั่งเศส ถ.สาทรใต้ และสร้างจากบทประพันธ์ของ MARGUERITE DURAS อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ DURAS ได้ในหนังสือบุ๊คไวรัส 1

THE LONG ABSENCE เคยได้รับรางวัลปาล์มทองในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์และได้รับรางวัลคิเนม่า จุนโปสาขาหนังภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยมด้วย
http://www.imdb.com/title/tt0054426/awards

หนังเรื่อง THE RAINBOW SEEKER เหมาะกับคนที่ชอบ CINEMA PARADISO ค่ะ


24 JUNE
A DISTANT CRY FROM SPRING (1980, C+)


ส่วนในเดือนก.ค.ปีนี้ ทางมูลนิธิญี่ปุ่นนำหนังชุดโทร่า-ซังกลับมาเวียนฉายอีกครั้งค่ะ โปรแกรมมีดังต่อไปนี้

1 JULY
IT’S A HARD LIFE (1969)

5 JULY
HEART AND FLOWERS FOR TORA (1982)

8 JULY
TORA-SAN GOES RELIGIOUS (1983)

15 JULY
TORA-SAN’S FORBIDDEN LOVE (1984)

19 JULY
TORA-SAN MY UNCLE (1990)

29 JULY
TORA-SAN TO THE RESCUE (1995)

ดูข้อมูลของ YOJI YAMADA ได้ที่
http://www.imdb.com/name/nm0945282/


เคยดู TOKIWA: THE MANGA APARTMENT (1996, A-) เมื่อประมาณ 7 ปีก่อน ก็เป็นหนังที่ดูเพลินเรื่องนึงค่ะ จำเนื้อเรื่องไม่ค่อยได้แล้ว แต่ถ้าหากเทียบกับหนังของ JUN ICHIKAWA เรื่องอื่นๆ ดิฉันอาจจะชอบเรื่องนี้น้อยที่สุดค่ะ (แต่ก็ชอบมากถึงขั้น A-) เดาว่าเหตุส่วนนึงอาจจะเป็นเพราะว่าหนังเรื่องนี้สร้างจากเรื่องจริง JUN ICHIKAWA ก็เลยไม่สามารถใส่ “ความรู้สึกหงอยเหงาเศร้าสร้อย โดดเดี่ยวเปล่าเปลี่ยว” ลงไปในหนังเรื่องนี้ได้มากนัก

ดิฉันชอบความรู้สึกเหงาๆในหนังของเขามากที่สุดค่ะ เพราะฉะนั้นการที่ TOKIWA: THE MANGA APARTMENT ไม่ค่อยเหงา (เมื่อเทียบกับเรื่องอื่นๆของเขา) ก็เลยทำให้ดิฉันชอบหนังเรื่องนี้น้อยลงตามไปด้วย แต่ก็ยังจัดว่าเป็นหนังที่น่าพอใจเรื่องนึง

MASAHIRO MOTOKI แห่งวง SHIBUGAKI-TAI รับบทเป็นพระเอกหนังเรื่องนี้ค่ะ ไม่รู้ว่ามีใครในที่นี้เกิดทันวง SHIBUGAKI-TAI บ้างหรือเปล่า

MASAHIRO MOTOKI เคยเล่นหนังเรื่อง

1.SHALL WE DANCE (1996, MASAYUKI SUO, A+)

2.GEMINI (1999, SHINYA TSUKAMOTO, A-)
http://www.imdb.com/title/tt0210302/

3.THE MYSTERY OF RAMPO (1994, RINTARO MAYUZUMI + KAZUYOSHI OKUYAMA, A-)
http://www.imdb.com/title/tt0110943/

4.SUMO DO, SUMO DON’T (1992, MASAYUKI SUO, A-)
http://www.imdb.com/title/tt0105388/

5.FANCY DANCE (1989, MASAYUKI SUO, B+)
http://www.imdb.com/title/tt0097330/

6.THE BIRD PEOPLE IN CHINA (1998, TAKASHI MIIKE, B+/B)
http://www.imdb.com/title/tt0142181/

ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ MASAHIRO MOTOKI ได้ที่
http://www.imdb.com/name/nm0609403/


ข้อมูลหนังจีนกับประวัติศาสตร์จีน
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=drib777&group=1




MARTIN SCORSESE’S FILMS (IN PREFERENTIAL ORDER)

1.THE COLOR OF MONEY (1986, A+)
2.THE AGE OF INNOCENCE (1993, A+)
3.THE KING OF COMEDY (1983, A+)
4.GANGS OF NEW YORK (2002, A+)
5.THE AVIATOR (2004, A+)
6.ALICE DOESN’T LIVE HERE ANYMORE (1974, A+/A)
7.ITALIANAMERICAN (1974, A)
8.THE LAST TEMPTATION OF CHRIST (1988, A)
9.TAXI DRIVER (1976, A)
10.CAPE FEAR (1991, A-)
11.CASINO (1995, A-)
12.A PERSONAL JOURNEY WITH MARTIN SCORSESE THROUGH AMERICAN MOVIES (1995, A-)
13.RAGING BULL (1980, A-)
14.AFTER HOURS (1985, A-)
15.GOODFELLAS (1990, A-)
16.BOXCAR BERTHA (1972, B+/B)
17.“LIFE LESSONS” IN “NEW YORK STORIES” (1989, B/B-)
http://rogerebert.suntimes.com/apps/pbcs.dll/article?AID=/19890303/REVIEWS/903030306/1023



ยังไม่ได้ดู BUS 174 เลยค่ะ แต่จำได้ว่า BIOSCOPE เคยลงข้อมูลเกี่ยวกับหนังเรื่องนี้ไว้แล้ว

http://www.bioscopemagazine.com/webboard/index-in.php?id=4745



เคยดูหนังเกี่ยวกับเหตุการณ์จี้รถบัสเรื่องนึงที่สนุกพอสมควร ซึ่งก็คือเรื่อง SUDDEN TERROR: THE HIJACKING OF SCHOOL BUS#17 (1996, PAUL SCHNEIDER, B+) หนังที่สร้างจากเรื่องจริงเรื่องนี้นำแสดงโดย MARIA CONCHITA ALONSO ในบทของพนักงานขับรถรับส่งนักเรียน แต่อยู่ดีๆวันนึงก็มีผู้ชายโรคจิตบุกขึ้นมาบนรถบัสของเธอและจับเธอกับนักเรียนไว้เป็นตัวประกัน พนักงานขับรถหญิงคนนี้ต้องคุมสติสตังของตัวเองเอาไว้ให้ได้ท่ามกลางสถานการณ์ที่ตึงเครียดอย่างรุนแรงมาก เธอไม่รู้ว่าตัวเองจะถูกฆ่าตายเมื่อไหร่ และนักเรียนบนรถของเธอจะถูกฆ่าตายเมื่อไหร่ แต่เธอต้องพยายามเอาชีวิตตัวเองให้รอดและพยายามช่วยชีวิตนักเรียนบนรถให้รอดให้ได้

ในขณะที่เหตุการณ์บนรถบัสตึงเครียดอย่างรุนแรง หนังก็แสดงให้เห็นว่าบรรดาผู้ปกครองของเด็กๆก็ตกอยู่ในภาวะตึงเครียดมากเช่นกัน

SUDDEN TERROR เคยมาฉายทางช่อง 3 เมื่อไม่กี่ปีก่อน
http://www.imdb.com/title/tt0117776/


DYING AT A HOSPITAL

เวลาที่ดิฉันดูหนังเรื่องนี้ ดิฉันได้แต่พูดกับตัวเองในใจว่า “นี่แหละชีวิต” หนังเรื่องนี้เน้นให้เห็นช่วงของการ “แก่ เจ็บ ตาย” ในชีวิตมนุษย์ โดยมีช่วงเวลาของความรื่นรมย์ในส่วนอื่นๆของชีวิตตัดเข้ามาให้ดูบ้างเป็นระยะๆ

ชอบฉากเปิดของหนังเรื่องนี้มากค่ะ ในฉากเปิดของหนังเรื่องนี้ ดิฉันไม่แน่ใจว่า “ตัวเอก” ของฉากนั้น คือชายชรา-หญิงชรา หรือแสงอาทิตย์ที่ส่องลอดม่านหน้าต่างเข้ามากันแน่ เพราะอารมณ์อันรุนแรงที่ดิฉันได้รับจากฉากนั้น ไม่ได้เกิดจากบทสนทนาของชายชราหญิงชราเพียงอย่างเดียว แต่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของแสงอาทิตย์ที่ส่องลอดม่านหน้าต่างเข้ามาในฉากนั้นด้วย แสงอาทิตย์ที่เริ่มจากมืดมาสว่างและมามืดสลัวอีกครั้งในฉากนั้น เป็นสิ่งที่บาดใจดิฉันอย่างรุนแรงสุดๆ

ชอบที่หนังเรื่องนี้รักษาระยะห่างจากตัวละครไว้ในระดับที่เหมาะสมได้ตลอดทั้งเรื่องค่ะ จริงๆแล้วชีวิตตัวละครในหนังเรื่องนี้อาจไม่ได้แตกต่างไปจากชีวิตตัวละครในหนังอีกเป็นพันๆเรื่อง แต่วิธีการนำเสนอ “ชีวิตตัวละครที่ป่วยใกล้ตาย” ของหนังเรื่องนี้ทำให้ดิฉันรู้สึกอินกับหนังเรื่องนี้มากกว่าเรื่องอื่นๆ

สิ่งที่ชอบมากใน DYING AT A HOSPITAL รวมถึง

1.ฉากที่ผู้ป่วยชายคนนึงกรีดร้องด้วยความเจ็บปวด และผู้ป่วยคนอื่นๆในห้องบอกให้คนนี้เงียบๆ ฉากนี้ทำให้นึกถึงตอนที่ตัวเองนอนห้องรวมในโรงพยาบาล และจำได้ว่ารู้สึกสงสารผู้ป่วยบางคนที่นอนห้องเดียวกันเป็นอย่างมาก เพราะเสียงและสีหน้าของเขาแสดงให้เห็นว่าเขาเจ็บปวดกับอาการป่วยของตัวเองเป็นอย่างมาก

2.ชอบที่ฉากเปิดของหนังเรื่องนี้แทบไม่มีการเคลื่อนกล้องเลย

3.ชอบที่การตัดฉากในหนังเรื่องนี้ หลายครั้งใช้วิธีซ้อนเลือนภาพ โดยที่มุมกล้องยังอยู่เหมือนเดิม และฉากก็เป็นฉากเดิม สิ่งที่เปลี่ยนไปมีแต่เพียงเวลาในฉากนั้น บอกไม่ถูกเหมือนกันว่าวิธีการนี้มันดียังไง แต่รู้สึกว่ามันเหมาะกับหนังเรื่องนี้ บางทีอาจจะเป็นเพราะว่าหนังเรื่องนี้สะท้อนให้เห็นชีวิตที่ทุกอย่างกำลังจะมาถึงจุดหยุดนิ่งและใกล้จะเลือนสลายหายไปจากโลกนี้ โดยมีเพียงเวลาเท่านั้นที่ยังคงเดินหน้าไปเรื่อยๆอย่างไม่หยุดยั้ง

4.รู้สึกสะเทือนใจกับตัวละครชายหนุ่มที่ดีใจที่จะได้ออกจากโรงพยาบาล แต่ต่อมาก็พบว่ามันเป็นเพียงการออกจากโรงพยาบาลเพียงชั่วคราวเท่านั้น

5.เท่าที่จำได้ หนังเรื่องนี้ไม่ได้แสดงให้เห็นฉากตัวละครตัวไหนสิ้นใจขณะที่มีผู้คนมารายล้อมร่ำไห้อยู่รอบเตียง ไม่มีฉากแสดงให้เห็นเส้นกราฟหัวใจหยุดเต้น หนังเรื่องนี้มักจะแสดงให้เห็นฉากตัวละครผู้ป่วยที่ยังมีชีวิตอยู่และนอนอยู่บนเตียง แล้วอยู่ดีๆก็ตัดมาเป็นฉากพยาบาลมาเก็บเตียงโล่งๆ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยคนนั้นตายไปแล้ว วิธีการนำเสนอการตายของตัวละครแบบนี้สะเทือนใจดิฉันมากๆ

6.หนังเรื่องนี้มีตัวละครคนแก่หลายคน แต่ไม่มีฉากแฟลชแบ็คตรงๆให้เห็นเลยว่าชีวิตก่อนหน้านี้ของตัวละครคนแก่เหล่านี้เป็นอย่างไรบ้าง ซึ่งก็เป็นวิธีการที่เหมาะดีเหมือนกัน เพราะมันเปิดโอกาสให้ดิฉันจินตนาการชีวิตคนแก่เหล่านี้ได้ด้วยตัวเอง ดิฉันไม่แน่ใจเหมือนกันว่า “ฉากชีวิตปกติสุข” ที่ตัดเข้ามาเป็นระยะๆในหนังเรื่องนี้ต้องการจะสื่อถึงอะไร แต่ก็คิดว่าตัวละครผู้ป่วยหลายๆคนในหนังเรื่องนี้คงจะเคยผ่านชีวิตที่ปกติสุข, ผ่านการร่วมงานรื่นเริงตามเทศกาลต่างๆ, ผ่านการเห็นดอกไม้บาน, ผ่านการเต้นรำ, ผ่านการเดินในท้องถนนยามเช้า, ผ่านการเดินในท้องถนนที่มีผู้คนคลาคล่ำ เหมือนอย่างภาพที่ปรากฏในหนังเรื่องนี้มาแล้ว เขาจะรู้สึกอย่างไรบ้างนะกับภาพชีวิตปกติธรรมดาเหล่านี้ บางทีขณะที่เขานอนป่วยอยู่บนเตียง เขาอาจจะรำลึกถึงภาพชีวิตปกติเหล่านั้นก็ได้ว่ามันช่างเป็นช่วงชีวิตที่มีความสุขเสียเหลือเกิน บางทีภาพดอกไม้บาน, ภาพเด็กๆกระโดด, ภาพฟองสบู่ลอยละล่อง ฯลฯ ที่ปรากฏในหนังเรื่องนี้ อาจจะเป็นภาพที่ผู้ป่วยเหล่านี้เห็นลอยผ่านในจิตสำนึกของตัวเองก่อนจะตายก็เป็นได้

7.รู้สึกสะเทือนใจกับฉากเพื่อนๆในออฟฟิศมาเยี่ยมชายหนุ่ม เพราะในฉากนั้นเพื่อนๆในออฟฟิศคงมาเยี่ยมด้วยความปรารถนาดี แต่ชายหนุ่มคงรู้สึกสะเทือนใจมากที่ชีวิตเขาไม่อาจเป็นปกติเหมือนอย่างเพื่อนๆในออฟฟิศได้อีกแล้ว

8.รู้สึกดีมากกับตัวละครผู้ชายคนนึงที่ตายไปโดยไม่มีครอบครัวและไม่มีคนมาเยี่ยม เพราะในขณะที่ผู้ป่วยคนอื่นๆถูกรายล้อมไปด้วยสมาชิกในครอบครัวที่ทุกข์ใจและร้องไห้ ผู้ชายคนนี้กลับตายไปโดยที่ทำให้ดิฉันรู้สึกว่าการตายของเขาพัวพันกับ “ความทุกข์” น้อยที่สุด

9.ตัวละครอีกคนนึงที่สะเทือนใจดิฉันก็คือหญิงชรา เธอมีสามีไม่ดี เธอพยายามเลี้ยงลูก 3 คนจนโต เธอพูดในทำนองที่ว่า “ฉันกะว่าพอลูกโตแล้ว ฉันก็คงจะหาความสุขให้กับชีวิตตัวเองได้เสียที แต่ฉันก็ดันมาป่วยเป็นมะเร็งเสียนี่”

10.ตอนจบของหนังเรื่องนี้ก็ซึ้งดี ตัวละครชายหนุ่มคนนึงพูดในทำนองที่ว่า “ความรักทำให้เขามีชีวิตอยู่ต่อไป” แต่เราได้ยินเสียงของชายหนุ่มคนนี้ตอนที่เขาตายไปแล้ว ซึ่งนั่นแสดงให้เห็นว่าไม่ว่าเขาจะรักภรรยากับลูกๆมากแค่ไหน เขาก็ไม่สามารถยื้อยุดชีวิตตัวเองเอาไว้ได้


มีหนังเกี่ยวกับ VOYEURISM เรื่องนึงที่อยากดูอย่างสุดๆค่ะ นั่นก็คือเรื่อง WHITE ROOM (1990, PATRICIA ROZEMA)

อ่านข้อมูลเกี่ยวกับหนังเรื่องนี้ได้ที่
http://www.washingtonpost.com/wp-srv/style/longterm/movies/videos/whiteroomnrkempley_a0a422.htm

Patricia Rozema ผู้กำกับ WHITE ROOM เคยกำกับ

1.MANSFIELD PARK (1999, A)

2.WHEN NIGHT IS FALLING (1995, B+) หนังเลสเบียน

KATE NELLIGAN นางเอกของ WHITE ROOM เคยเข้าชิงรางวัลออสการ์จาก THE PRINCE OF TIDES (1991, BARBRA STREISAND, A-)
http://www.imdb.com/name/nm0625075/

MARGOT KIDDER ซึ่งรับบทเป็นตัวละครชื่อ MADELAINE X ใน WHITE ROOM เคยรับบทนำในหนังเรื่อง SISTERS (1973, BRIAN DE PALMA, A+/A) ที่จะมาฉายที่ BIOSCOPE THEATRE ในเร็วๆนี้
http://www.imdb.com/name/nm0452288/

Thursday, May 05, 2005

KENNY CHESNEY

เอารูปของนักร้องที่ตรงสเปคตัวเองมาให้ดูบ้างค่ะ ซึ่งก็คือ KENNY CHESNEY ที่ร้องเพลงคันทรี

http://www.virtualtahoe.com/playground/Entertainers/KennyChesney.jpg

ฟังเพลงจากอัลบัม NO SHOES, NO SHIRT, NO PROBLEMS ของ KENNY CHESNEY ได้ที่ (แต่ดิฉันไม่ได้ชอบเพลงของเขาค่ะ ชอบแต่ตัว โฮะโฮะโฮะ)
http://www.amazon.com/exec/obidos/ASIN/B000063TDS/ref=pd_krex_sdu_sims/102-7398387-6033759


ส่วนปกอัลบัมที่ชอบมากในตอนนี้คือปกอัลบัมชุด THE FORGOTTEN ARM ของ AIMEE MANN ค่ะ
http://images.amazon.com/images/P/B0007YLLK2.01._SCLZZZZZZZ_.jpg


ลอง SEARCH หารูปของจิตรกรที่ชื่อ MAGRITTE ดู ก็ไปเจอรูปนึงที่ทำให้นึกถึงหนังเรื่อง SECRET WINDOW (2004, DAVID KOEPP, B+) มากค่ะ ไม่รู้ว่าน้องบอสหรือใครที่เคยดูหนังเรื่อง SECRET WINDOW จะรู้สึกเหมือนกันหรือเปล่าว่าภาพนี้ของ MAGRITTE ทำให้นึกถึงฉากนึงในหนัง
http://www.ncf.carleton.ca/~ek867/magritte-repro.jpg


พูดถึงฉากอึ แล้วมักนึกถึงหนังเรื่อง KINGS OF THE ROAD (1976, WIM WENDERS, A) ค่ะ ในหนังเรื่องนั้นมีฉากพระเอกคนนึงอึให้เราดูอย่างเต็มๆตา ดูฉากนั้นแล้วดิฉันก็พยายามลบภาพนั้นออกไปจากความทรงจำ แต่ยิ่งพยายามลบมากเท่าไหร่ กลับยิ่งจำฝังใจมากเท่านั้น

JUN ICHIKAWA

เดือนนี้ทางมูลนิธิญี่ปุ่นจัดฉายหนังของ JUN ICHIKAWA (TOKYO MARIGOLD) หนึ่งในผู้กำกับหนังญี่ปุ่นที่ดิฉันชอบมากที่สุดในชีวิตค่ะ (ชอบเกือบเท่าๆกับ NAGISA OSHIMA) หนังของเขาดูแล้วให้อารมณ์เหงาๆเล็กน้อยในแบบที่ตรงใจดิฉันมากๆ

มูลนิธิญี่ปุ่นตั้งอยู่ที่ชั้น 10 อาคารเสริมมิตร ถ.อโศก หนังฉายทุกวันศุกร์ เวลา 18.30 น.ค่ะ และในบางกรณีจะมีการจัดฉายในวันอังคารเพิ่มขึ้นมาด้วย หนังมีซับไตเติบภาษาไทยและเข้าดูได้ฟรีค่ะ

ดูรายละเอียดเกี่ยวกับมูลนิธิญี่ปุ่นได้ที่
http://www.jfbkk.or.th


ดูรายละเอียดเกี่ยวกับโปรแกรมการฉายในเดือนนี้ได้ที่
http://www.jfbkk.or.th/event/Theater_200505_eg.html

ศุกร์ 6 พ.ค. 18.30 น. ฉายเรื่อง DYING AT A HOSPITAL (1993, A++++++++++++)
หนังเรื่องนี้เป็นหนึ่งในหนังญี่ปุ่นที่ดิฉันชอบมากที่สุดในชีวิตค่ะ

ศุกร์ 13 พ.ค. 18.30 น. ฉายเรื่อง BU SU (1987, A++++++++++++++++++)
หนังเรื่องนี้เป็นหนึ่งในหนังวัยรุ่นที่ดิฉันชอบมากที่สุดในชีวิตค่ะ

อังคาร 17 พ.ค. และศุกร์ 20 พ.ค. ฉายเรื่อง OSAKA STORY (1999, A)

ศุกร์ 27 พ.ค.ฉายเรื่อง TSUGUMI (1990, A-)


BU SU, OSAKA STORY และ TSUGUMI มีเนื้อหาเกี่ยวกับเด็กสาววัยรุ่นที่ได้เรียนรู้ชีวิตขณะจะเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ค่ะ

ส่วน DYING AT A HOSPITAL มีเนื้อหาเกี่ยวกับกลุ่มผู้ป่วยใกล้ตายในโรงพยาบาล เวลาที่ดิฉันได้ดูหนังเรื่องนี้ มันทำให้ดิฉันตระหนักว่า “ชีวิต” เป็นสิ่งที่มีคุณค่ามากๆ และเกือบทุกๆวินาทีขณะที่เรามีชีวิตอยู่ มันคือช่วงเวลาที่งดงามที่สุดและเราน่าจะมีความสุขกับมันให้มากที่สุด ถึงแม้ว่าวินาทีนั้นเราจะไม่ได้ทำอะไรพิเศษหรือเกิดเรื่องพิเศษอะไรเลยก็ตาม ดูหนังเรื่อง DYING AT A HOSPITAL ทีไร มันทำให้ดิฉันรู้สึกว่าเพียงแค่ดิฉันได้นั่งอยู่เฉยๆอยู่ในห้องเย็นๆมองดูลมพัดผ้าม่านปลิวไปมา นั่นก็คือจุดสูงสุดของชีวิตดิฉันและดิฉันแทบจะไม่ต้องการอะไรมากไปกว่านี้อีกแล้ว


TSUGUMI นำแสดงโดย RIHO MAKISE ซึ่งเคยเล่นหนังเรื่อง
http://www.imdb.com/name/nm0538641/

1.HANA (2004, SHINICHI NISHIKAWA)
http://www.imdb.com/title/tt0416797/

2.VIBRATOR (2003, RYUICHI HIROKI)
http://www.imdb.com/title/tt0379576/

3.TURN (2001, HIDEYUKI HIRAYAMA)
http://www.imdb.com/title/tt0283086/

4.FACE (2000, JUNJI SAKAMOTO, A-)
http://www.imdb.com/title/tt0256127/

5.PING PONG BATH STATION (1998, GEN YAMAKAWA, B+)
http://www.imdb.com/title/tt0169126/

6.FARAWAY SUNSET (SEIJIRO KOYAMA, B/B-)
http://www.imdb.com/title/tt0108362/


ส่วนวันเสาร์ที่ 7 พ.ค.นี้ เวลา 17.15 น. สมาคมฝรั่งเศส ถ.สาทรใต้ จัดฉายหนังเรื่อง THE COLOR OF LIES (1999, CLAUDE CHABROL, A+++++) ค่ะ หนังพูดภาษาฝรั่งเศส และมีซับไตเติลภาษาอังกฤษ

THE COLOR OF LIES มีเนื้อหาเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดจากเหตุการณ์ฆาตกรรมเด็กหญิงเล็กๆคนนึงในหมู่บ้าน โดยหนังเรื่องนี้แทบไม่ได้ให้ความสนใจเลยว่า “ใครคือฆาตกร” ที่ฆ่าเด็กหญิงคนนั้น และไม่ได้ให้ความสนใจกับ “แรงจูงใจในการฆาตกรรม” แต่หนังกลับมุ่งความสนใจไปยังผลกระทบจากการฆาตกรรมที่มีต่อบุคคลต่างๆในหมู่บ้าน โดยเฉพาะบุคคล 2-3 คนที่เป็นผู้ต้องสงสัยในคดีนี้ พวกเขาเป็นฆาตกรหรือไม่ เรายังไม่รู้ในช่วงต้นเรื่อง แต่เราก็ได้เรียนรู้เกี่ยวกับบาปผิดอื่นๆของตัวละครเหล่านี้ และได้เห็นความทุกข์, ความคลางแคลงใจ และการหลอกลวงซึ่งกันและกันระหว่างตัวละครผู้ต้องสงสัยเหล่านี้

นอกจากนี้ หนังยังสำรวจประเด็นเรื่องการโกหกในรูปแบบต่างๆด้วย ทั้งการโกหกด้วยความมุ่งร้าย, ด้วยความปรารถนาดี, คิดว่าตัวเองทำถูกที่โกหก, รู้ว่าตัวเองทำผิดที่โกหก, โกหกเพราะเกลียด, โกหกเพราะรัก, รู้สึกผิดมากที่โกหก, รู้สึกผิดน้อยที่โกหก, รู้สึกผิดที่ทำชั่ว, รู้สึกผิดที่คิดชั่ว และประเด็นอื่นๆอีก


หนังเรื่องนี้นำแสดงโดย

1.SANDRINE BONNAIRE จาก LA CEREMONIE (A+), VAGABOND (A+) และ SECRET DEFENSE (A+)


2.VALERIA BRUNI TEDESCHI ในบทของตำรวจหญิงที่โดนใจดิฉันมากๆ เธอเคยเล่นหนังเรื่อง THOSE WHO LOVE ME CAN TAKE THE TRAIN (A+), IT’S EASIER FOR A CAMEL (A+) และ FORGET ME (A+)

อ่านความเห็นของดิฉันที่มีต่อ VALERIA BRUNI TEDESCHI ได้ที่
http://celinejulie.blogspot.com/2005/04/alternative-goddesses.html


3.BULLE OGIER จาก CELINE AND JULIE GO BOATING (A+), THE THIRD
GENERATION (A+) และ AGATHA AND THE UNLIMITED READINGS (A+)

อ่านบทความเกี่ยวกับ BULLE OGIER ได้ในนิตยสาร FILM COMMENT เล่มเดือนมี.ค.-เม.ย. ซึ่งมีวางขายที่ร้านคิโนะคุนิยะ หรืออ่านได้ที่
http://www.sensesofcinema.com/contents/02/23/symposium2.html#ogier


4.JACQUES GAMBLIN จาก HOLY LOLA (A), SAFE CONDUCT (2002, BERTRAND TAVERNIER) และ NICKEL AND DIME (2003, SAM KARMANN, A/A-)

ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโปรแกรมฉายหนังของสมาคมฝรั่งเศสได้ที่
http://www.alliance-francaise.or.th/FR_index_evenement_1.htm

Wednesday, May 04, 2005

PROTEUS

ก่อนหน้านี้เคยมีการนำเรื่องของบาเดอร์-ไมน์ฮอฟมาดัดแปลงสร้างเป็นหนังบ้างแล้ว ซึ่งรวมถึงหนังเยอรมันตะวันตกเรื่อง STAMMHEIM (1986, REINHARD HAUFF)

STAMMHEIM เล่าเรื่องของผู้ก่อการร้าย 5 คนที่ถูกนำตัวขึ้นศาลในข้อหาสังหารทหารสหรัฐ 4 คนด้วยการวางระเบิด อย่างไรก็ดี หนึ่งในจำเลยเสียชีวิตขณะอดอาหารประท้วง ส่วนจำเลยคนที่สองเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย และเหลือจำเลยเพียง 3 คนที่เข้ารับการพิจารณาคดี

Ulrich Tukur ร่วมแสดงใน STAMMHEIM ด้วย โดย Tukur นั้นเคยแสดงในหนังที่น่าสนใจหลายเรื่อง ซึ่งรวมถึง AMEN (2002, COSTA-GAVRAS, A-), SOLARIS (2002, STEVEN SODERBERGH), TAKING SIDES (2001), MY MOTHER’S COURAGE (1995, MICHAEL VERHOEVEN, A+) และ THE WHITE ROSE (1982, MICHAEL VERHOEVEN)

หนังเรื่อง THE INVISIBLE CIRCUS (2001, ADAM BROOKS, C) ที่นำแสดงโดยคริสโตเฟอร์ เอคเคลสตัน, คาเมรอน ดิแอซ และมอริทซ์ ไบลบ์ทรอย (IN JULY) ก็มีเนื้อหาบางส่วนพาดพิงถึงกลุ่มหนุ่มสาวหัวรุนแรงในทศวรรษ 1970 เหมือนกันhttp://movie-reviews.colossus.net/movies/i/invisible_circus.html


นอกจาก WHAT TO DO IN CASE OF FIRE แล้ว หนังเยอรมันอีกเรื่องที่พูดถึงชีวิตของอดีตนักเคลื่อนไหวก็คือ THE STATE I AM IN (CHRISTIAN PETZOLD, A+) ที่เคยเข้ามาฉายในกรุงเทพในช่วงปี 2001 โดยหนังเรื่องนี้เล่าเรื่องของผัวเมียคู่หนึ่งที่เคยเป็นนักประท้วงในเยอรมันตะวันตก ทั้งสองยังคงถูกทางการตามล่าตัวอยู่ในปัจจุบัน และทั้งสองก็มีลูกสาววัยรุ่นคนหนึ่งที่โตแล้ว ทั้งนี้ การที่ผัวเมียคู่นี้ต้องคอยใช้ชีวิตอย่างหลบๆซ่อนๆไปเรื่อยๆ ส่งผลให้ลูกสาวของเขาไม่มีโอกาสได้ใช้ชีวิตเหมือนเด็กหญิงธรรมดาทั่วไป เธอไม่มีโอกาสที่จะได้ทำความสนิทชิดเชื้อกับใคร และทำให้ชีวิตของเธอค่อนข้างว้าเหว่มาก


อ่านข้อมูลเกี่ยวกับหนังเรื่อง THE BASQUE BALL ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ ETA ได้ที่ http://www.bioscopemagazine.com/webboard/index-in.php?id=2187

SUPER 8 1/2 (1993, BRUCE LABRUCE) อ่านข้อมูลของหนังเรื่องนี้ได้ที่ http://www.bioscopemagazine.com/webboard/index-in.php?id=1644

PROTEUS (2004, JOHN GREYSON + JACK LEWIS) หนังเกย์โรแมนติกข้ามสีผิวในแอฟริกาใต้ของผู้กำกับชาวแคนาดา

หนังเรื่องนี้สร้างจากเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในแอฟริกาใต้ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 แต่ยังคงสะท้อนอะไรหลายๆอย่างในยุคปัจจุบันได้ดี โดยผู้กำกับหนังเรื่องนี้จงใจใส่ “ความไม่สมจริงด้านเวลา” เข้ามาในเรื่องเพื่อสะท้อนประเด็นปัญหาสังคมที่คาบเกี่ยวกันระหว่างอดีต-ปัจจุบันด้วย เพราะในหนังเรื่องนี้ผู้ชมจะเห็นวิทยุทรานซิสเตอร์, เห็นคอนกรีตและรั้วลวดหนาม, เห็นผู้สื่อข่าวแบบทศวรรษ 1960 และเห็นยามคุมคุกที่แต่งชุดแบบนาซีโผล่เข้ามาอยู่กับตัวละครในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งองค์ประกอบที่ไม่สมจริงเหล่านี้ไม่ได้ทำให้ผู้ชมรู้สึกเหินห่างจากตัวเนื้อเรื่องแต่อย่างใด แต่กลับยิ่งทำให้ธีมของเรื่องเด่นชัดยิ่งขึ้นและทำให้ผู้ชมเข้าใจความสำคัญของเรื่องนี้ได้มากยิ่งขึ้น

ในปี 1725 ฮอทเทนทอท คลาส แบลงค์ (Rouxnet Brown) ซึ่งมีนิสัยเจ้าเล่ห์กลิ้งกลอกถูกศาลตัดสินจำคุก 10ปีที่เรือนจำในเกาะรอบเบนส์ และเขาก็ถูกยามคุมคุกที่โหดร้ายดูหมิ่นเหยียดหยามว่าเขาเป็นชนพื้นเมืองที่โง่เง่า ถึงแม้ว่าในความเป็นจริงแล้วเขาอ่านและเขียนภาษาได้อย่างน้อย 3 ภาษาก็ตาม

เวอร์จิล นิเวน (Shaun Smyth) ซึ่งเป็นนักพฤกษศาสตร์ชาวสก็อตที่ทำงานอยู่ใกล้เรือนจำแห่งนั้น เห็นแววความฉลาดของคลาส ดังนั้นเขาก็เลยเสนองานให้คลาสมาช่วยเขาคัดแยกพันธุ์พืชท้องถิ่น อย่างไรก็ดี นิเวนนั้นเป็นเกย์แบบแอบจิต เขามีสัมพันธ์รักกับลอเรนส์ (Brett Goldin) ซึ่งเป็นผู้ช่วยของเขาโดยที่ปกปิดไม่ให้ภรรยาของเขารู้

หลังจากเวลาผ่านไปหลายปี คลาสก็ค่อยๆตกหลุมรักจาค็อบส์ (Neil Sandilands) ซึ่งเป็นนักโทษชาวดัทช์ อย่างไรก็ดี ความรักของทั้งสองก็พบกับอุปสรรคครั้งใหญ่เนื่องจากในยุคนั้นความรักระหว่างเพศเดียวกันถูกลงโทษด้วยการประหารชีวิต

ชื่อหนัง Proteus นี้มาจากชื่อพืชในท้องถิ่นที่คลาสช่วยเวอร์จิลในการคัดแยกสายพันธุ์ นอกจากนี้ ชื่อ Proteus นี้ยังเกี่ยวข้องกับตำนานโบราณด้วย

จุดเด่นของหนังเรื่องนี้คือความสัมพันธ์ระหว่างคู่รักสองคู่ ซึ่งได้แก่เวอร์จิลกับลอเรนส์ที่รักกันแบบหลบๆซ่อนๆ และความรักระหว่างคลาสกับจาค็อบส์ที่แสดงออกมากกว่า โดยความรักของพวกเขาก้าวข้ามพรมแดนที่สำคัญหลายอย่าง ทั้งพรมแดนด้านความเชื่อเรื่องเพศ, เชื้อชาติ และชั้นวรรณะ

หนังที่จงใจใส่องค์ประกอบ “ผิดยุคผิดสมัย” แบบ PROTEUS

นอกจาก PROTEUS แล้ว ยังมีหนัง “ย้อนยุค” อีกหลายเรื่องที่จงใจใส่องค์ประกอบของยุคสมัยปัจจุบันเข้าไปในหนัง โดยบางเรื่องก็ใส่เข้าไปเพื่อทำให้ผู้ชมตระหนักว่าจริงๆแล้วหนังย้อนยุคเรื่องนั้นต้องการสะท้อนปัญหาในยุคปัจจุบัน, บางเรื่องก็ใส่ “ความผิดยุคผิดสมัย” เข้าไปเพื่อเพิ่มความเป็นแฟนตาซี, บางเรื่องก็ใส่เข้าไปเพื่อเพิ่มความขบขัน และบางเรื่องก็ใส่เข้าไปเพราะผู้กำกับอาจจะเห็นว่าไม่มีความจำเป็นแต่อย่างใดที่จะต้องสร้างอารมณ์ย้อนยุคหลอกๆให้กับผู้ชม

หนังที่มี “ความผิดยุคผิดสมัย” แบบจงใจอาจจะรวมถึงเรื่อง

1 BARON MUENCHHAUSEN (1943, JOSEF VON BAKY, B) หนังอีพิคเยอรมันเรื่องนี้สร้างขึ้นในยุคฮิตเลอร์ และเป็นหนังทุนสร้างสูงอลังการที่เยอรมนีสร้างขึ้นเพื่อประกาศให้โลกรู้ว่าเยอรมนีก็แข่งกับฮอลลีวู้ดได้ โดยเนื้อหาของเรื่องเกี่ยวกับการผจญภัยของบารอน เฮียโรนีมุส มึนช์เฮาเซน ซึ่งเป็นขุนนางที่ผจญภัยไปหลายประเทศเมื่อหลายร้อยปีก่อน แต่ฉากที่ฮามากในหนังเรื่องนี้คือฉากที่ตัวละครเปิดสวิทช์ไฟในห้อง ทั้งๆที่ยุคนั้นเป็นยุคหลายร้อยปีก่อนที่จะมีไฟฟ้าใช้กัน

Hans Albers, Brigitte Horney และ Leo Slezak ร่วมแสดงในหนังเรื่องนี้ หนังเรื่องนี้เคยมาเปิดฉายที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

บารอน มึนช์เฮาเซนเป็นพระเอกในตำนานพื้นบ้านของเยอรมัน และตัวละครตัวนี้ได้ปรากฏในหนังอีกหลายเรื่อง ซึ่งรวมถึงในหนังเรื่อง BARON MUNCHAUSEN (1961, KAREL ZEMAN) และ THE ADVENTURES OF BARON MUNCHUASEN (1989, TERRY GILLIAM, B+) ที่มีอูม่า เธอร์แมนร่วมแสดง

2 HERCULES UNCHAINED (1960, PIETRO FRANCISCI, B+)

สตีฟ รีฟส์ หนุ่มหล่อกล้ามโตเจ้าของต้นแขนที่น่าเข้าไปอิงแอบที่สุดในโลก รับบทเป็นเฮอร์คิวลิส วีรบุรุษในตำนานกรีกในหนังเรื่องนี้ โดยหนึ่งในฉากที่ฮามากในหนังเรื่องนี้คือฉากที่ตัวละครชายแก่คนหนึ่งบ่นกับตัวละครอื่นๆในทำนองที่ว่า “อย่าวิ่งเร็วนักสิ เพราะยุคโบราณอย่างนี้เขายังไม่มียาแก้โรคไขข้ออักเสบนะ”

ดูรูปของสตีฟ รีฟส์ได้ที่ http://www.bioscopemagazine.com/webboard/index-in.php?id=5081

3 EDWARD II (DEREK JARMAN, A+) หนังเกย์เรื่องนี้เล่าเรื่องของกษัตริย์เอ็ดเวิร์ดที่สองของอังกฤษ แต่ตัวละครบางตัวใส่เครื่องแต่งกายแบบยุคปัจจุบัน และมีแอนนี เลนนิกซ์มาร้องเพลง EV’RY TIME WE SAY GOODBYE ที่ซึ้งมากๆในหนังเรื่องนี้ด้วย

ทิลดา สวินตัน ดาราหญิงคู่บุญของดีเรค จาร์แมน รับบทเป็นพระราชินีอิซาเบลลาผู้ชั่วช้าในหนังเรื่องนี้ แต่ดิฉันไม่ค่อยแน่ใจว่าตัวละครที่เธอแสดงคือตัวละครตัวเดียวกับบทของโซฟี มาร์โซใน BRAVEHEART (C+) หรือเปล่า เพราะหนังทั้งสองเรื่องนี้นำเสนอกษัตริย์เกย์อังกฤษในมุมมองที่ตรงข้ามกันมาก

4 PARSIFAL (HANS-JURGEN SYBERBERG, A+)

หนังเพลงโอเปราเรื่องนี้เล่าเรื่องราวการผจญภัยของอัศวินโต๊ะกลมแห่งกษัตริย์อาร์เธอร์ แต่หนังกลับพูดถึงความเสื่อมสลายของยุโรปในยุคปัจจุบันด้วย โดยมีฉากหนึ่งที่อัศวินเดินทางผ่านธงรูปสวัสดิกะของนาซี และจุดที่เก๋มากก็คืออัศวินในเรื่องนี้อยู่ดีๆก็แปลงเพศจากชายเป็นหญิงโดยไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน

หนังเรื่องนี้เพิ่งมาฉายที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์ในปีที่แล้ว

5 DONKEY SKIN (1970, JACQUES DEMY, A-)

หนังแนวเทพนิยายเรื่องนี้นำแสดงโดยแคเธอรีน เดอเนิฟ โดยมีฌอง มาเรส์ รับบทเป็นกษัตริย์ และ Jacques Perrin (The Chorus) รับบทเป็นเจ้าชาย หนังเรื่องนี้ใช้ฉากเหมือนหนังเทพนิยายทั่วไปที่มีปราสาทราชวังยุคโบราณ (ลองนึกถึงบรรยากาศแบบ THE LORD OF THE RINGS) แต่ฉากที่ฮามากในหนังเรื่องนี้คือฉากที่เดลฟีน ซีริก (India Song, Last Year at Marienbad) ซึ่งเป็นเทพธิดาใช้เฮลิคอปเตอร์เป็นยานพาหนะ (เปรี้ยวมากๆ)

JEAN MARAIS ที่รับบทเป็นกษัตริย์ในเรื่องนี้ เป็นดาราคู่บุญของ JEAN COCTEAU ผู้กำกับหนังชื่อดังของฝรั่งเศสที่เป็นเกย์ โดย MARAIS เคยเล่นหนังเรื่อง BEAUTY AND THE BEAST (1946, A), ORPHEUS (A+) และ THE TESTAMENT OF ORPHEUS (A-) ให้ JEAN COCTEAU

6 OTHON (1970, JEAN MARIE-STRAUB) หรือ EYES DO NOT WANT TO CLOSE AT ALL TIMES, OR PERHAPS ONE DAY ROME WILL PERMIT HERSELF TO CHOOSE IN HER TURN

หนังเรื่องนี้เกี่ยวกับการนำบทละครเวทีเรื่อง OTHON ของ CORNEILLE มาแสดง แต่แทนที่หนังจะเน้นการแสดงเรื่องราวย้อนยุค หนังกลับเน้นองค์ประกอบต่างๆที่รายล้อมการแสดงนั้น

ในหนังเรื่องนี้ ผู้กำกับเริ่มต้นด้วยการให้ผู้ชมได้เห็นแต่เพียงด้านหลังของนักแสดง และให้ผู้ชมมุ่งความสนใจไปที่สถานที่ซึ่งเป็นกรุงโรมในยุคปัจจุบันในช่วงชั่วโมงเร่งด่วน ผู้ชมจะได้เห็นการแสดงเรื่องราวตามบทประพันธ์อันเก่าแก่โบราณเกิดขึ้นท่ามกลางฉากยุคปัจจุบัน

อ่านข้อมูลภาษาอังกฤษเกี่ยวกับ OTHON ได้ที่ http://www.ejumpcut.org/archive/onlinessays/JC04folder/Straub.html

7 ELECTRA, MY LOVE (1968, MIKLOS JANCSO) อ่านข้อมูลของหนังเรื่องนี้ได้ที่ http://www.bioscopemagazine.com/webboard/index-in.php?id=2924

8 TITUS (1999)
.
9 LA COMMUNE (PARIS , 1871)



200 AMERICAN (2004, RICHARD LEMAY) หนังเกย์

หนังอินดี้อเมริกันทุนต่ำเรื่องนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับคอนราด (แมทท์ วอลตัน) ผู้บริหารบริษัทโฆษณาในนิวยอร์คที่รู้สึกโศกเศร้าหลังจากแยกทางกับมาร์ติน (จอห์น-ดีแลน โฮเวิร์ด) แฟนหนุ่มของเขาที่ใช้ชีวิตคู่ด้วยกันมา 3 ปี คอนราดรู้สึกว่าตัวเองยังไม่พร้อมที่จะมีแฟนหนุ่มคนใหม่ ดังนั้นเขาก็เลยจ้างไทเลอร์ (ฌอน เมทิค) ซึ่งเป็นหนุ่มเอสคอร์ทชาวออสเตรเลียให้มานอนเคียงข้างเขา

แต่ไทเลอร์เองนั้นก็มีปัญหาเช่นกัน เขาพยายามหาเงินให้มากพอเพื่อจะได้จ้างผู้หญิงคนหนึ่ง (เกล เฮเรนดีน) ให้มาแต่งงานกับเขาเพื่อที่เขาจะได้วีซ่าอยู่ในสหรัฐ นอกจากนี้ เมื่อผู้กำกับฝ่ายศิลป์ (แอนโธนี เอมส์) ในบริษัทของคอนราดเกิดตกหลุมรักเขา ชีวิตของเขาก็ยิ่งเผชิญกับปัญหาที่หนักหน่วงยิ่งขึ้น

หนังเรื่องนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับการค้นหาความแข็งแกร่งเพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิตของตัวเองและการยอมรับความบกพร่องในตัวผู้อื่น โดยจุดเด่นของหนังเรื่องนี้อยู่ที่ฝีมือทางการแสดงและหน้าตาของนักแสดงนำ โดยนักวิจารณ์บอกว่านักแสดงในหนังเรื่องนี้พูดบทสนทนาได้อย่างเป็นธรรมชาติมาก

ริช ไคลน์ นักวิจารณ์ของเว็บไซท์ www.shadowsonthewall.co.uk ตั้งข้อสังเกตว่าเลอเมย์ ผู้กำกับ/ผู้เขียนบทของหนังเรื่องนี้ควบคุมความเปลี่ยนแปลงของตัวละครคอนราดได้อย่างดีมาก โดยในตอนแรกนั้นคอนราดดูเหมือนกับเป็นพระเอกของเรื่อง แต่เมื่อเนื้อเรื่องดำเนินไปเรื่อยๆและธาตุแท้ของคอนราดเริ่มปรากฏออกมา เขาก็กลายเป็นตัวละครที่ผู้ชมชอบน้อยที่สุดในเรื่อง


BULGARIAN LOVERS (2003, ELOY DE LA IGLESIA) หนังเกย์

หนังรักสามเส้าเรื่องนี้ใช้วิธีการเล่าเรื่องโดยให้ตัวละครที่ชื่อแดเนียล (Fernando Guillen Cuervo ซึ่งร่วมเขียนบทหนังเรื่องนี้) พูดคุยกับกล้องโดยตรง โดยแดเนียลเป็นทนายความที่ตกหลุมรักไคริล (Dritan Biba) ซึ่งเป็นหนุ่มชาวบัลแกเรียทั้งๆที่เขารู้ว่าเขาไม่ควรจะทำเช่นนั้น เพราะชาวยุโรปตะวันออกมีชื่อเสียงในทางเสียๆหายๆว่าเป็นคนที่ไว้วางใจไม่ค่อยได้ นอกจากนี้ วิธีการสื่อสารของชาวบัลแกเรียยังมักสร้างความเข้าใจผิดอีกด้วย เพราะชาวบัลแกเรียจะพยักหน้าเพื่อบอกว่า “ไม่ใช่” และจะส่ายหน้าเพื่อบอกว่า “ใช่”

ปัญหายุ่งยากเกิดขึ้นตามมาเมื่อไคริลพาคาลินา (Anita Sinkovic) ซึ่งเป็นคู่หมั้นของเขามาที่สเปน และทั้งสองก็ย้ายเข้ามาอยู่ในบ้านหลังเดียวกับแดเนียลและในเวลาไม่นานทั้งสองก็ทำตัวเหมือนกับเป็นเจ้าของบ้านเสียเอง ในขณะที่แดเนียลเองนั้นก็เริ่มสงสัยว่าไคริลอาจจะเกี่ยวข้องกับอะไรบางอย่างที่ผิดกฎหมาย

นักวิจารณ์ตั้งข้อสังเกตว่า BULGARIAN LOVERS มีบางอย่างคล้ายหนังเรื่อง BIRTHDAY GIRL (B-) ของนิโคล คิดแมน ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับผู้อพยพจากต่างประเทศที่เข้ามาสร้างความปั่นป่วนวุ่นวายในชีวิตของคนรักเหมือนกัน นอกจากนี้ นักวิจารณ์ยังตั้งข้อสังเกตว่าแดเนียลเป็นตัวละครที่ทำให้ผู้ชมรู้สึกเอาใจช่วยเป็นอย่างมาก เพราะผู้ชมจะรู้สึกลุ้นให้เขาได้พบกับรักแท้ถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องยากก็ตาม

จุดเด่นในหนังเรื่องนี้รวมถึงจิลโด (Pepon Nieto) ซึ่งเป็นเพื่อนของแดเนียลที่เรียกเสียงฮาได้บ่อยครั้ง, ดนตรีประกอบของ Antonio Meliveo, ฉากแฟนตาซี และการเล่าเรื่องแบบตลกหน้าตาย นอกจากนี้ หนังเรื่องนี้ยังเซ็กซี่มากอีกด้วย

สเปนผลิตหนังเกย์ออกมามากมายหลายเรื่องในระยะนี้ โดยนอกจากหนังของ PEDRO ALMODOVAR แล้ว หนังเกย์สเปนที่น่าสนใจยังรวมถึงเรื่อง BEAR CUB (A) และเรื่อง FOOD OF LOVE (VENTURA PONS, A) กับ BELOVED/FRIEND (VENTURA PONS)


JUCHITAN QUEER PARADISE (2004, PATRICIO HENRIQUEZ)

หนังสารคดีเรื่องนี้เล่าเรื่องของเมืองฮูชิตานที่ตั้งอยู่ตอนใต้ของประเทศเม็กซิโก ซึ่งเป็นเมืองที่แตกต่างจากเมืองส่วนใหญ่ในภูมิภาคละตินอเมริกา เพราะเมืองนี้เป็นเมืองที่ผู้หญิงเป็นใหญ่และเป็นเมืองที่ยอมรับความแตกต่างด้านเชื้อชาติ, ศาสนา และเพศสภาพอย่างมาก โดยตำนานของเมืองนี้ระบุว่าพระเจ้าเคยมอบถุงบรรจุโฮโมเซ็กชวลให้แก่นักบุญผู้อุปถัมภ์ภูมิภาคละตินอเมริกา เพื่อให้นักบุญกระจายโฮโมเซ็กชวลในถุงไปทั่วอเมริกาใต้ แต่นักบุญกลับเทโฮโมเซ็กชวลลงใส่ในเมืองนี้เพียงเมืองเดียว

หนังสารคดีเรื่องนี้เน้นถ่ายทอดชีวิตของชาวเมือง 3 คนในเมืองนี้ ซึ่งเป็นเมืองที่มีแนวคิดก้าวหน้าเป็นอย่างมากในเรื่องการยอมรับความแตกต่างและการไม่มีอคติต่อผู้อื่น

บุคคลสำคัญ 3 คนในเรื่องนี้รวมถึงออสการ์ คาโซร์ลา เขาเป็นนักธุรกิจที่จัดงานปาร์ตี้ประจำปีที่ใหญ่ที่สุดในเมือง ซึ่งก็คืองาน Vela of the Authentic Intrepid Danger Seekers ซึ่งเป็นงานการกุศลเพื่อโรคเอดส์ที่กินเวลานานหลายวัน เขามีท่าทางตุ้งติ้งเหมือนผู้หญิง แต่เขามีบุตรชายวัยรุ่นหนึ่งคนและทำตัวเป็นเสาหลักของเมืองนี้

บุคคลสำคัญคนที่สองคือแองเจล ซานติอาโก ซึ่งเป็นผู้ชายที่ใช้ชีวิตแบบผู้หญิง หรือที่เรียกกันในภาษาท้องถิ่นว่า muxe โดยหนังสารคดีเรื่องนี้พาผู้ชมไปรู้จักกับพ่อแม่ของเขาและการทำงานของเขาในร้านเสริมสวย รวมทั้งติดตามความพยายามของเขาในการก้าวไปสู่ตำแหน่งราชินีในงานปาร์ตี้ INTREPID นี้

ส่วนบุคคลสำคัญคนที่สามคืออีไล บาร์โตโล ซึ่งเป็นครูที่มีแนวคิดแปลกๆ อย่างเช่นเขาเชื่อว่าการแต่งงานถือเป็นสิ่งที่ผิดศีลธรรมยิ่งไปกว่าการเป็นโสเภณี อย่างไรก็ดี คนในเมืองนี้เคารพความเห็นของเขาถึงแม้ไม่มีใครเห็นด้วยกับเขา

หนังสารคดีเรื่องนี้เต็มไปด้วยสีสันและบรรยากาศที่สดใส แต่ก็สะท้อนให้เห็นในเวลาเดียวกันว่าวัฒธรรมของฮูชิตานแตกต่างจากวัฒนธรรมของที่อื่นๆที่ตกอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์จอมปลอมที่เขียนโดยมนุษย์เพศชายมากเพียงใด เพราะเมืองฮูชิตานแห่งนี้เต็มไปด้วยคนที่เลื่อมใสในศาสนาแต่ก็ให้การยอมรับผู้หญิง, คนต่างเชื้อชาติ และเพศที่สามเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ดี เมืองนี้ก็ยังไม่ใช่สวรรค์บนดินอยู่ดี เพราะความรังเกียจชิงชังเกย์อย่างรุนแรงยังคงปรากฏอยู่บ้าง แต่เมืองนี้ก็ยังคงเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่เมืองส่วนใหญ่ในโลกนี้