ลูกหมีไปดู THE FLOOR PLAN บ้านวิกลคนประหลาด (2024, Junichi Ishikawa, Japan, A+25) แล้วเธอได้แรงบันดาลใจ ลูกหมีก็เลยออกแบบ “บ้านซ่อนผัว” สำหรับ teddy
bears ร่านรักที่อยากซ่อนผัวหลาย ๆ คนไว้ในบ้านหลังเดียวกัน
TAKLEE GENESIS (2024, Chookiat Sakveerakul, A+30)
SPOILERS ALERT
--
--
--
--
--
--
--
--
--
--
1.อาจจะเป็นหนังที่เราดูแล้ว “นับถือ” มากกว่า “ชอบเป็นการส่วนตัว”
นะ เพราะเราชอบความตั้งใจ, ความพยายาม, ไอเดีย, ทัศนคติ อะไรต่าง ๆ ในหนัง
แต่หนังอาจจะไม่ได้ส่งผลกระทบทางอารมณ์ความรู้สึกกับเราเป็นการส่วนตัวในระดับที่รุนแรงสุดขีดอะไรทำนองนั้นน่ะ
2.สิ่งที่ชอบมากสิ่งแรกก็คือ “ความซับซ้อนของบท”
เพราะเรารู้สึกชอบมากที่เวลานางเอกพยายามจะแก้ปัญหาอะไรก็ตาม แล้วมันก็แก้ไม่ได้สักที
มันเหมือนไม่เกิดอะไรที่ win win ทั้งสองฝ่ายในเกือบทุก ๆ
สถานการณ์ อย่างเช่นตอนที่ “บ้านเชียง” ถ้าหากนางเอกจะช่วยพ่อ
คนในบ้านเชียงก็อาจจะโดนซอมบี้กิน, หรือในโลกอนาคต ถ้าหากนางเอกจะช่วยพ่อกับลูกสาว
มันก็อาจจะเป็นการทำลายเกราะกำบังสำหรับกลุ่มขบถแห่งโลกอนาคต และในขณะเดียวกัน
จำนูญ (ภูธฤทธิ์ พรหมบันดาล) และก้อง (วนรัตน์ รัศมีรัตน์) ต่างก็มี agenda
ของตัวเองที่ไม่สอดคล้องกับนางเอก เพราะฉะนั้นแทนที่หนังจะเลือกเส้นทางง่าย
ๆ ด้วยการให้นางเอกเดินทางไปเก็บชิ้นส่วนแหวนวิเศษพร้อมกับช่วยคนอื่น ๆ ไปด้วยได้อย่างง่ายดาย
การเดินทางของนางเอกมันกลับเป็นการไปสร้างความชิบหายให้คนอื่น ๆ แทน
ปัญหาทุกอย่างมันเลยยุ่งเหยิงอีรุงตุงนัง ยิ่งแก้ยิ่งยุ่ง
ยิ่งแก้ยิ่งปวดหัวกันไปหมด เราก็เลยทึ่งมาก ๆ ที่บทภาพยนตร์เรื่องนี้ทวีความซับซ้อน
ความยาก ความยุ่งเหยิงมากขึ้นเรื่อย ๆ ขณะที่เนื้อเรื่องดำเนินไป
แทนที่จะเลือกให้อะไรต่าง ๆ มันคลี่คลายได้ง่าย ๆ คลี่คลายไปทีละเปลาะ
อะไรทำนองนี้
สิ่งหนึ่งที่หนังเรื่องนี้ไม่ได้ตั้งใจ
แต่เราคิดถึงไปเอง ก็คือหนังเรื่องนี้ทำให้เราคิดถึงประโยคที่ว่า “กลัดกระดุมเม็ดแรกผิด”
เพราะเหมือนหนังจะบอกในทางอ้อมว่า วิธีแก้ที่ดีที่สุด ไม่ใช่แค่การรวบรวมชิ้นส่วนแหวนให้ได้
เพื่อจะได้ช่วยลูกสาวและพ่อของนางเอกเท่านั้น แต่วิธีแก้ที่ดีที่สุดอาจจะเป็นการ reset
ทุกอย่างใหม่หมด ซึ่งเหมือนสิ่งนี้ยังไม่ได้เกิดขึ้นในตอนจบของภาคแรก
ถ้าหากเราเข้าใจไม่ผิด
3.ฉากที่อินมากเป็นพิเศษ คือฉากในปี 2024
หรือเปล่า ถ้าหากเราจำไม่ผิด ที่ทราย เจริญปุระกับวาเลนไทน์ ออกจากโรงหนัง แล้วเจอกับ
3.1 ซอมบี้
3.2 ไดโนเสาร์
3.3 ระเบิดนิวเคลียร์
คือเราชอบสุดขีดที่ตัวละครต้องเจอกับอะไรสามอย่างนี้พร้อมกัน
นึกว่าบ้า คือถึงมึงฆ่าซอมบี้ได้ แล้วมึงจะฆ่าไดโนเสาร์ได้ยังไง
แล้วถึงมึงฆ่าไดโนเสาร์ได้ มึงจะปัดระเบิดนิวเคลียร์ให้ไปตกที่อื่นได้ยังไง
ถ้าหากมึงไม่ใช่ “แม่ชีนกยูง” 55555 แล้วหนังเรื่องนี้ทำให้เรานึกถึงตัวเราเองโดยที่หนังไม่ได้ตั้งใจด้วย
เพราะเหมือนเวลาเราดูหนังเรื่องต่าง ๆ ในโรงภาพยนตร์
เราอาจจะลืมปัญหาในโลกแห่งความเป็นจริงชั่วขณะ แต่เมื่อเราออกจากโรงภาพยนตร์
เราก็จะเริ่มกลับคืนสู่โลกแห่งความเป็นจริง และคิดถึงปัญหาต่าง ๆ
ในชีวิตตัวเองในหลาย layers ตั้งแต่ปัญหาส่วนตัวของตัวเราเอง,
ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองในสังคมไทย, ปัญหาโลกร้อน ภัยธรรมชาติ น้ำท่วม
และปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศ ตั้งแต่จีน-ไต้หวัน, รัสเซีย-ยูเครน,
ตะวันออกกลาง ประเทศเหล่านี้มันจะยิงระเบิดนิวเคลียร์ใส่กันเมื่อไหร่, etc.
เพราะฉะนั้นฉากที่ตัวละครเจออุปสรรคใหญ่มาก 3 อย่างในเวลาเดียวกันในตอนนั้น
ในแง่หนึ่งมันก็ทำให้เรานึกถึงตัวเราเองโดยที่หนังไม่ได้ตั้งใจไปด้วย 555
4.ชอบนิสัยอย่างนึงของสเตลล่า (Paula Taylor)
ด้วย นั่นก็คือ เธอเป็นคนที่ชอบพูดตรง ๆ ในทุก ๆ สถานการณ์ ต้องการอะไร
มีจุดประสงค์อะไร ก็พูดออกไปตรง ๆ ทื่อ ๆ ไม่มีอ้อมค้อมอะไรเลย
ชอบที่ตัวละครตัวนี้มีความคงเส้นคงวาแบบนี้ ซึ่งจริง ๆ แล้วเราค่อนข้างชอบคนนิสัยแบบนี้นะ
เพียงแต่ว่าถ้าหากคนที่พูดตรง ๆ แบบนี้ เป็นคนที่สนใจแต่ความต้องการของตัวเอง โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบที่จะมีต่อคนอื่น
ๆ คนคนนั้นก็ควรจะต้องพิจารณาข้อเสียด้านอื่น ๆ ของตนเองด้วยเหมือนกัน
ชอบที่หนังออกแบบตัวละคร “อิษฐ์” (Peter
Corp Dyrendal) ให้มาเป็นคนที่ช่วยแก้จุดอ่อนของสเตลล่าในด้านนี้ด้วย
เหมือนเขาเป็นนักเจรจาต่อรอง
5.ตัวละครอิษฐ์ ก็น่าสนใจดี เราชอบสุดขีดที่เขาเป็นนักเขียนนิตยสารต่วย’ตูนพิเศษ ซึ่งเป็นนิตยสารที่มีอิทธิพลกับเรามากสุดขีดในสมัยมัธยมในทศวรรษ
1980 แต่ตอนแรกเราไม่ไว้ใจตัวละครตัวนี้เลยนะ นึกว่าเขาเป็นผู้ร้าย
โดยเฉพาะฉากที่เขาเหมือนไม่แคร์ความเป็นความตายของชุมชนบ้านเชียงเลย
และการตัดสินใจของเขาในตอนหลังเราก็ไม่ไว้วางใจอยู่ดี
คือถ้าหากหนังเรื่องนี้มีการสร้างภาคสองออกมา เราก็กลัวว่าพอถึงเวลาที่มีการเจรจาต่อรองจริง
ๆ เขาก็อาจจะทรยศหักหลังกลุ่มกบฏ และหันไปจับมือกับฝ่ายรัฐบาลก็ได้ ซึ่งจริง ๆ
แล้วเราอาจจะคิดมากไปเอง เพราะเห็นตัวอย่างจากพรรคการเมืองบางพรรคมาแล้ว 55555
6.ตัวละครพ่อของสเตลล่าก็น่าสนใจมาก
ทำให้เรานึกถึง Jim Thompson ซึ่งเป็นสายลับของรัฐบาลสหรัฐที่หายสาบสูญไป
และเราก็รู้สึกว่าตัวละครตัวนี้กับโครงการ Taklee Genesis ในหนังเรื่องนี้
ทำให้เรานึกไปถึง “ผลพวงของสิ่งที่สหรัฐเคยทำกับไทยในช่วงสงครามเย็น” การที่สหรัฐเข้ามาทำอะไรบางอย่างในไทยเพื่อต่อต้านโลกคอมมิวนิสต์ในยุคนั้น
ซึ่งส่งผลกระทบต่อเนื่องมาจนถึงไทยในยุคปัจจุบันและอาจจะรวมไปถึงไทยในอนาคตด้วย
ซึ่งประเด็นนี้เคยถูกพูดถึงมาแล้วในหนังอย่าง ALL THE THINGS YOU LEAVE
BEHIND (2022, Chanasorn Chaikitiporn) และหนังสือ “ขุนศึก ศักดินา
และพญาอินทรี” ของณัฐพล ใจจริง (แต่เรายังไม่ได้อ่านหนังสือเล่มนี้นะ) เพียงแต่ว่าหนังและหนังสือเหล่านี้อาจจะไม่ใช่
“ความบันเทิงสำหรับผู้ชมในวงกว้าง” เหมือนอย่าง TAKLEE GENESIS เพราะฉะนั้นเราก็เลยชอบมาก ๆ ที่หนังเรื่อง TAKLEE นี้อาจจะพยายามสื่อสารประเด็นเหล่านี้กับคนในวงกว้าง
และพอหนังเรื่องนี้บอกว่า กองทัพสหรัฐตั้งฐานลับแบบนี้ไว้ในจุดอื่น
ๆ ทั่วโลกด้วย เราก็เลยแอบจินตนาการเล่น ๆ ว่า สหรัฐคงจะมีฐานลับแบบนี้อยู่ใน “ชิลี”
และหลายๆ ประเทศในภูมิภาคอเมริกากลางและอเมริกาใต้ด้วยแน่ ๆ เลย
เพราะในยุคสงครามเย็นนั้น สหรัฐก็เข้าไปหนุนรัฐบาลเผด็จการทหารในหลาย ๆ ประเทศในภูมิภาคลาตินอเมริกา
และรัฐบาลเผด็จการของประเทศลิ่วล้อสหรัฐเหล่านี้ก็จับประชาชนจำนวนมากไปเข่นฆ่า
และนำศพคนเหล่านี้ไปโยนลงจากเฮลิคอปเตอร์ลงทะเลเป็นจำนวนมากในยุคทศวรรษ 1970-1980
(ดูเพิ่มเติมได้จากหนังของ Patricio Guzman และหนังการเมืองหลายๆ
เรื่องของอาร์เจนตินา)
7.ส่วนตัวละคร “ดวงพร” (เจนจิรา พงพัศ)
ในหนังเรื่องนี้ ก็ทำให้นึกถึงความระทมของหญิงไทยที่รักกับทหาร/เจ้าหน้าที่สหรัฐในยุคสงครามเย็น
เหมือนอย่างในหนังเรื่อง “ลำนำ, แม่โขงที่รัก” MEKHONG
MON AMOUR (2023, Chittapol Paengwiangjan)
8.ฉากเปิดนี่เราชอบสุดขีดมาก ตอนช่วงแรก ๆ นึกถึง
“ดงรกฟ้า” (2001, Chookiat Sakveerakul, 30min, A+30) ที่นำเสนอความลี้ลับน่าสะพรึงกลัวของป่าไทยเหมือนกัน
และพอฉากนี้มันจบลงด้วยการที่ศพจำนวนมากหล่นมาจากฟ้า
ใน “เดือนพ.ค. 1992” (ถ้าหากเราจำไม่ผิด) เราก็เลยนึกถึงเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ
และเรื่องที่คนจำนวนมากหายสาบสูญไปในเหตุการณ์นั้น หาศพไม่เจอด้วย
ซึ่งประเด็นเหล่านี้เคยถูกพูดถึงมาแล้วในหนังอย่าง VANISHING HORIZON OF
THE SEA (2014, Chulayarnnon Siriphol) และ LOST, AND LIFE
GOES ON เลือน แต่ไม่ลืม (2022, Sumeth Suwanneth,
documentary) เพียงแต่ว่ามันไม่ใช่หนังบันเทิงสำหรับผู้ชมในวงกว้างเหมือนอย่างหนังเรื่องนี้
การเลือก MAY 1992
เป็นจุดหักเหก็น่าสนใจดีด้วย เพราะมันเป็นจุดที่สงครามเย็นจบแล้ว สหภาพโซเวียตล่มสลายแล้ว
สถานะของสหรัฐในสายตาของกลุ่มคลั่งชาติในไทยก็เลยอาจจะเปลี่ยนไป จากการที่สหรัฐกับกลุ่มคลั่งชาติในไทยเคยร่วมมือกันต่อต้านคอมมิวนิสต์มาก่อน
แต่พอหลังจากสงครามเย็นจบลง กลุ่มคลั่งชาติในไทยก็จะค่อย ๆ กลายเป็นศัตรูของสหรัฐเสียเอง
เพราะฉะนั้นการที่ตัวละครพ่อของสเตลล่าหายสาบสูญไปใน MAY 1992 ก็เลยเป็นอะไรที่น่าคิดมาก ๆ
9.ประทับใจสุดขีดที่หนังเรื่องนี้พูดถึง “บ้านเชียง”
เพราะเหมือนนี่เป็นหนังเรื่องแรกในชีวิตที่เราเคยดูที่พูดถึงประเด็นนี้
คือถ้าหากตัด “บ้านเชียง” ทิ้งไป เราอาจจะชอบหนังเรื่องนี้น้อยลงในระดับนึง
เพราะการได้เห็น “บ้านเชียง” ในหนังนี่ถือเป็นสิ่งแปลกใหม่สำหรับเราอย่างแท้จริง
ในขณะที่ตัวเราเองนั้นไม่ใช่ “แฟนหนังไซไฟ” อยู่แล้ว 5555
และการที่หนังเรื่องนี้พูดถึงประเด็นการเมืองไทยตั้งแต่ “สงครามเย็น”, พฤษภาทมิฬ
เรื่อยมาจนถึงการต่อสู้ของเด็ก ๆ ยุคใหม่
มันก็เป็นสิ่งที่อาจจะพบได้ในหนังสั้นไทยหลาย ๆ เรื่องอยู่แล้ว
โดยเฉพาะในหนังสั้นอย่าง NOSTALGIA (2022, Weerapat Sakolvaree) ที่พูดถึงตั้งแต่ม็อบดินแดงในทศวรรษ 2020 แล้วค่อย ๆ ไล่ย้อนกลับไปทีละเหตุการณ์นองเลือดจนถึง
6 ต.ค. 1976 อะไรทำนองนี้เหมือนกัน
คือเรารู้สึกว่า การพูดถึง “บ้านเชียง” ในหนังเรื่องนี้
มันทำให้เราเกิดความรู้สึกบางอย่างที่เราชอบมาก ๆ แต่เราบรรยายไม่ถูกน่ะ
ไม่รู้จะใช้คำคุณศัพท์ไหนบรรยายถึงความรู้สึกนั้นดี คือ “หนังการเมืองไทย”
โดยส่วนใหญ่ มักจะพูดถึงแค่ปัญหาในยุค 100 ปีที่ผ่านมา หรือพูดถึง “ความเป็นไทย” รักผืนแผ่นดินไทย
ตั้งแต่ยุคปลายอยุธยาเป็นต้นมา อะไรทำนองนี้
แต่การย้อนไปถึงบ้านเชียง นี่มันไปไกลกว่ายุคที่มี
“ประเทศไทย” และก่อนที่จะมี “รัฐชาติ” เสียอีกมั้ง มันก็เลยทำให้เราเกิดความรู้สึกรุนแรงมาก
ๆ มันเหมือนเป็นการย้อนไปตระหนักถึง “ความเป็นสิ่งสมมุติ” ของ “รัฐชาติ”
อะไรทำนองนี้ด้วย หรือทำให้เราตระหนักถึง “มนุษยชาติ”
ในแบบที่เก่าแก่และเนิ่นนานกว่า “ความเป็นชาติ” ด้วย
ซึ่งก่อนหน้านี้มีหนังไทยเพียงแค่ไม่กี่เรื่องที่ทำให้เรารู้สึกรุนแรงกับอะไรแบบนี้นะ
ซึ่งหนังไทยที่ทำให้เรารู้สึกคล้าย ๆ กันนี้ก็ได้แก่หนังเรื่อง
9.1 LEVITATING EXHIBITION (2016, Ukrit
Sa-nguanhai, video installation, 23min, A+30) ที่พูดถึงโรงแรมม่านรูดในจังหวัดนครปฐมในยุคปัจจุบัน
แล้วย้อนไปจนถึงแผนที่ปโตเลมีในค.ศ. 100 ที่พูดถึง “ดินแดนสุวรรณภูมิ” คือหนังเรื่องนี้ทำให้เรามองนครปฐมย้อนไปจนถึงเมื่อ
2000 กว่าปีก่อน ก่อนยุคสุโขทัย ย้อนไปจนถึงยุคที่นครปฐมอาจจะมีอาณาจักรรุ่งเรือง
ติดต่อค้าขายกับอียิปต์โบราณน่ะ หนังเรื่องนี้ก็เลยเป็นหนังอีกเรื่องที่ทำให้เรามองดินแดนไทยย้อนไปจนเก่ากว่ารัฐชาติแบบยุคปัจจุบันมาก
ๆ เหมือนกับที่ TAKLEE GENESIS ทำให้เรามอง “ไทย” และ “อุดรธานี”
ย้อนไปจนเก่าแก่กว่าการมีรัฐชาติ
9.2 MAY THE LAND BEAR WITNESS ธรณีนี่นี้เป็นพยาน (2024, Vacharanont Sinvaravatn, video
installation, A+30)
เพราะวิดีโอนี้เล่าเรื่องตั้งแต่ปัญหาการเมืองไทยในยุคปัจจุบัน
(ศพในแม่น้ำโขง) และปัญหาการเมืองไทยในอดีต โดยเฉพาะในยุคคอมมิวนิสต์ในทศวรรษ
1970-1980 แล้วก็ย้อนไปจนถึงยุคที่คนอพยพมาจากเทือกเขาอัลไตเมื่อหลายพันปีก่อน วิดีโอนี้มันก็เลยเป็นการพูดถึงปัญหาการเมืองไทย
และทำให้เราตระหนักถึงอะไรบางอย่างที่เก่าแก่กว่า “รัฐไทย” อย่างมาก ๆ ด้วยเหมือนกัน
ก็เลยสรุปว่า การพูดถึง “บ้านเชียง” นี่แหละ คือหนึ่งในสิ่งที่เราประทับใจที่สุดในหนัง
TAKLEE เรื่องนี้
10. แต่ก็ขนลุกและชอบสุดขีดที่หนังเรื่องนี้นำเสนอเหตุการณ์
6 ต.ค. นะ เพราะถึงแม้ประเด็นนี้มันไม่ใหม่สำหรับเรา และเป็นประเด็นที่เราอาจจะเคยดูมาแล้วในหนังสั้น/หนังนอกกระแสราว
100 เรื่อง แต่มันก็ถือเป็น “บาดแผลที่ยังไม่ได้รับการเยียวยา” “บาดแผลที่ยังไม่ได้รับการชำระล้าง”
น่ะ และก็อย่างที่เราเขียน ๆ ไว้แล้วว่า หนังเรื่องนี้มันเป็น “หนังกระแสหลักสำหรับผู้ชมในวงกว้าง”
เราก็เลยนับถือมาก ๆ ที่หนังเรื่องนี้กล้าที่จะนำเสนอประเด็นนี้ออกมาในแนวทางของตัวเองได้อย่างน่าประทับใจมาก
ๆ
11.ตัวละครในโลกอนาคตในหนังเรื่องนี้ มันก็ทำให้เรานึกถึงม็อบดินแดง,
กลุ่มทะลุแก๊ส, etc. อะไรทำนองนี้มาก ๆ
แต่เรารู้สึกว่าตัวละครกลุ่มนี้มันยังดูขาด “พลัง” อะไรบางอย่าง เราก็บอกไม่ถูกเหมือนกัน
12.แล้วจริง ๆ เราก็ไม่ได้เป็นแฟนหนังซอมบี้ด้วย
ส่วน “ไดโนเสาร์” นี่โดยส่วนตัวเราไม่ชอบเลย 55555 เราไม่ใช่แฟนหนัง JURASSIC
PARK, GODZILLA อะไรพวกนั้นเลย เราก็เลยไม่ได้ “ว้าว” มากกับซอมบี้และสัตว์ประหลาดในหนังเรื่องนี้
แต่เราก็ไม่ได้ต่อต้านอะไร คือเราชอบที่หนังใส่อะไรแบบนี้เข้ามาเพื่อทำให้ตัวละครเจอแต่อุปสรรคขวากหนามลำเค็ญตลอดเวลาไม่ว่าจะอยู่ในยุคไหนสมัยไหนบนผืนแผ่นดินสยาม
แต่เราอาจจะไม่ได้ชอบอะไรแบบนี้เป็นการส่วนตัว
13.อีกจุดที่เราไม่อินเป็นการส่วนตัว คือเรื่อง “ความรัก”
“ความหวัง” อะไรทำนองนี้ เพราะเรามักจะอินกับ “ความเกลียดชัง” และ “ความสิ้นหวัง”
มากกว่า 55555
14.อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เรา “นับถือ” หนังเรื่องนี้มากกว่า
“ชอบเป็นการส่วนตัว” เพราะเราเป็นสายไสยาศาสตร์นี่แหละ 55555 เราก็เลยจะชอบหนังไสยาศาสตร์,
ตรี อภิรุม, LONGLEGS, etc. อะไรแบบนี้มาก ๆ
คือหนังของคุณชูเกียรติที่เราชอบสุดขีดก็คือ “ดงรกฟ้า”
กับ THE EYES DIARY (2014) นะ ซึ่งเป็นหนังแนวไสยาศาสตร์ทั้งสองเรื่อง
และถึงแม้เราจะเป็นแฟนต่วย’ตูนพิเศษ เราก็ไม่ได้เน้นอ่านคอลัมน์ทางวิทยาศาสตร์หรือมนุษย์ต่างดาวน่ะ
เราเน้นไปที่คอลัมน์ “ประสบการณ์ปีศาจ” หรือพวกทวีปแอตแลนติส, ทวีป Lemuria,
ทวีป Hyperboria อะไรพวกนี้มากกว่า
ก็เลยเป็นสาเหตุที่ทำให้เราอาจจะไม่ได้ชอบ
TAKLEE อย่างรุนแรงเป็นการส่วนตัว แต่เรานับถือหนังเรื่องนี้มาก ๆ
เพราะไทยมีการผลิตหนังแนวไสยาศาสตร์ออกมาเยอะมากแล้ว และควรจะมีการผลิตหนังไซไฟออกมาบ้าง
โดยเฉพาะหนังไซไฟที่เล่นท่ายาก, ใส่ทุกอย่างที่อยากจะใส่
และเต็มไปด้วยประเด็นที่น่าสนใจมากมายแบบหนังเรื่องนี้
15.ในแง่นึงเราก็ประทับใจนะ ที่ปีนี้หนังไทยมีทั้ง
OPERATION UNDEAD ช.พ.๑ สมรภูมิคืนชีพ (Kongkiat
Komesiri), URANUS 2324 (Thanadol Nualsuth) และก็ TAKLEE
GENESIS เหมือนหนังทั้งสามเรื่องนี้มีไอเดียที่น่าสนใจ
และพยายามจะทำสิ่งที่แปลกใหม่ให้กับวงการหนังไทยเหมือนกัน
ซึ่งเราก็ชอบไอเดียของหนังทั้งสามเรื่องนี้ และก็ชอบ TAKLEE GENESIS มากที่สุดในสามเรื่องนี้ เพราะเราว่า OPERATION UNDEAD นั้น “ไอเดียดี แต่หนังไม่ค่อยสนุก” ส่วน URANUS 2324 นั้น เราชอบไอเดียของหนังมากพอสมควร โดยเฉพาะช่วงท้ายที่เป็นอีก multiverse
นึงที่ญี่ปุ่นเป็นฝ่ายชนะสงครามโลกครั้งที่สอง แต่หนังก็ยังเหมือนขาดอะไรบางอย่าง
16.สำหรับเราแล้ว “ความชอบ” กับ “ความดีงาม”
ของหนัง เป็นสิ่งที่แทบไม่ได้เกี่ยวข้องกันเลยนะ เพราะฉะนั้นถึงแม้เราจะนับถือ TAKLEE
GENESIS มาก ๆ, ชอบหนังเรื่องนี้มากในระดับนึง โดยเฉพาะไอเดีย,
ประเด็น, ทัศนคติทางการเมือง, etc. และเราก็รู้สึกว่า
ถ้าหากเทียบกับหนังไทยด้วยกันแล้ว หนังเรื่องนี้ก็ถือเป็นหนังที่ดีมาก ๆ เรื่องนึง
แต่ถ้าหากถามว่า เราชอบหนังไซไฟของไทยเรื่องไหนเป็นการส่วนตัวในระดับที่มากสุดขีดแล้วล่ะก็
หนึ่งในนั้นก็ยังคงเป็นหนังเรื่อง FATHER & SON (2015, Sarawut Intaraprom)
ค่ะ 55555555 ซึ่งแน่นอนว่ามันไม่ใช่หนังดี
แต่นี่แหละคือหนังที่กูชอบอย่างสุดขีดคลั่งเป็นการส่วนตัว ไม่ต้องพึ่งซีจีเนียน ๆ,
ทุนสร้างสูง หรือ big idea อะไรทั้งสิ้น แค่หนังนำเสนอ
“ความเงี่ยนผู้ชายอย่างตรงไปตรงมา” และมันสอดคล้องกับ fantasy ทางเพศของเรา เราก็ชอบมันอย่างสุดขีดแล้ว
ก็เลยสรุปว่า ถ้าหากมีใครถามว่า หนังไซไฟของไทยเรื่องไหนเป็นหนังดี
เราก็จะตอบว่า TAKLEE GENESIS แต่ถ้าหากมีใครถามว่า หนังไซไฟของไทยเรื่องไหนเป็นหนังที่เราชอบ
เราก็จะตอบว่า FATHER & SON ค่ะ จบ 55555555555