SOMEONE, SOMEWHERE (2019, Cedric Klapisch, France, A+30)
1.รู้สึกเหมือน Cedric Klapisch เป็น GDH ของฝรั่งเศส 55555 เพราะดูหนังของเขามา 8 เรื่องแล้ว รู้สึกว่าหนังของเขา "บันเทิงมาก" เมื่อเทียบกับหนังฝรั่งเศสโดยทั่วไป แต่ก็เป็นความบันเทิงที่มีมาตรฐานดีมากนะ อาจจะอยู่ในระดับดีกว่าหรือเท่ากับหนัง GDH ที่ดี ๆ
เหมือนจุดเด่นของเขาน่าจะเป็น "ความเป็นมนุษย์" ของตัวละคร ที่มีมากกว่า "หนังบันเทิงโดยทั่วไป" มั้ง คือตัวละครของเขาไม่ได้มีความเป็นมนุษย์มากเท่าหนังดราม่าทั่วไปของฝรั่งเศสหรอกนะ แต่ถ้าเอาหนังของเขาไปเทียบกับหนังบันเทิงของฮอลลีวู้ดแล้ว เราจะรู้สึกเหมือนกับว่า ตัวละครของเขาเป็น "มนุษย์ที่หลงมาอยู่ในกรอบของหนังบันเทิง" มากกว่าจะเป็น "ตัวละครที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อความบันเทิง"
2.หนังของ Cedric Klapisch ที่เคยดู
2.1 LITTLE NOTHINGS (1992)
2.2 FAMILY RESEMBLANCE (1996)
2.3 MAYBE (1999)
2.4 SPANISH APARTMENTS (2002)
2.5 NOT FOR, OR AGAINST (QUITE THE CONTRARY) (2003)
2.6 RUSSIAN DOLLS (2005)
2.7 CHINESE PUZZLE (2013)
2.8 SOMEONE, SOMEWHERE
อาจจะชอบ SOMEONE, SOMEWHERE มากที่สุดในบรรดาหนัง 8 เรื่องนี้แล้วมั้ง หรือไม่ก็ชอบพอ ๆ กับ MAYBE
3.แต่ก็ชอบ Cedric Klapisch น้ยกว่า Cedric Kahn นะ 55555 เพราะหนังของ Cedric Kahn มันจะมีอารมณ์เคียดขึ้งบางอย่างที่เข้าทางเรามาก ๆ
ที่เปรียบเทียบสองคนนี้เพราะชื่อ Cedric เหมือนกัน และทั้งสองอยู่รุ่นเดียวกัน แต่จริง ๆ แล้ว Cedric Kahn อาจจะไม่ได้ถือเป็นคู่แข่งของ Cedric Klapisch อยู่แล้วมั้ง เพราะทั้งสองเหมือนทำหนังคนละสไตล์กัน
ถ้าหากนึกภาพคู่แข่งของ Cedric Klapisch เราอาจจะนึกถึงผู้กำกับแบบ Coline Serreau (THREE MEN AND A CRADLE, THE CRISIS, CHAOS, 18 YEARS LATER) อะไรแบบนั้นมากกว่า
THE CURSED LESSON (2020, Juhn Jai-hong, Kim Ji-han, South Korea, A+25)
ผีโยคะ
1. อยากให้สร้างภาคสองเลย ชื่อภาค "ผีโยคะ ปะทะ ผีโยนี"
2.ไม่ชอบการเฉลยของหนัง รู้สึกว่ามันไม่สมเหตุสมผลในหลาย ๆ อย่าง ระดับความชอบก็เลยลดลงจาก A+30 แล้วก็เลยรู้สึกว่า หนังมันมั่ว ๆ ยังไงไม่รู้ 555
3. แต่ก่อนที่หนังจะเฉลย เราชอบมาก ๆ เราชอบสถานการณ์ทำนองนี้ โดยเฉพาะในช่วงต้นเรื่องที่เราชอบสุดๆ เราชอบที่หนังวางสถานการณ์ช่วงแรกให้เป็นเรื่องของผู้หญิงที่ต้องการรักษาใบหน้าให้เยาว์วัยที่สุดเพราะความจำเป็นทางอาชีพการทำงาน แต่เสียดายที่หนังไม่ได้ explore ประเด็นนี้อย่างจริงจัง หรือไม่ได้สำรวจอารมณ์ในส่วนนี้จริง ๆ
คือเราคิดว่าหนังมันจะเข้าทางเรามาก ๆ ถ้าหากมันเลือกที่จะเป็นหนังสยองขวัญที่มีฐานหนักแน่นบน "ปัญหาการครองชีพของชีวิตมนุษย์" แบบ DARK WATER (2005, Walter Salles) น่ะ แต่เสียดายที่มันไม่ไปในทางนั้น
4.ตอนช่วงเปิดตัวละครต่าง ๆ เราก็ชอบมาก เพราะมันมีศักยภาพที่จะเป็นหนังผู้หญิงแรง ๆ มาตบกัน แต่หนังก็ไม่ได้ไปในทางนั้น
5.ช่วงกลางเรื่อง เราก็ชอบความเป็นจินตวีร์ วิวัธน์ ของมันมากๆ เรื่องพวกตำนานโบราณ เทพงูอะไรแบบนี้ ทำให้นึกถึง ภูตพระจันทร์, บ้านศิลาทรายอะไรทำนองนี้มาก ๆ
6.สรุปว่า ส่วนที่ชอบที่สุดในหนัง ก็คือฉากการเข้าคลาสโยคะตอนเที่ยงคืน อยากโดนอะไรแบบนี้มาก ๆ ค่ะ ถ้าการเข้าคลาสตอนเที่ยงคืนจะทำให้ต้องเจออะไรแบบในหนัง ดิฉันจะไปสมัครเรียนทันทีค่ะ 55555
HANDSOME, WILD, CLUMSY AND SWEETHEART (1993, Pitchakorn Podee, A-)
หล่อ ซ่า เซอร์ กับเธอผู้หวานใจ (1993, พิชชากร โพธิ์ดี)
1.ดีใจที่ได้เจอสามีเก่า "เอก โอรี" 5555 เหมือนยุคนั้นเราเคยคลั่งไคล้เขามาก ๆ พอ ๆ กับอั๊ต อัษฎา และพิทยา ณ ระนอง
2.เข้าใจว่าชื่อภาษาอังกฤษแปลผิดนะ เพราะ clumsy น่าจะแปลว่า เซ่อ ไม่ใช่ เซอร์ในความหมายแบบไทย ๆ 555 แต่ก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าควรแปลเซอร์ในที่นี้เป็นภาษาอังกฤษว่าอะไร
3.เหมาะฉายควบกับพันธุ์หมาบ้า (1990, สหรัฐ วิไลเนตร, A+30) เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นว่า หนังที่จริงใจกับตัวละครเป็นยังไง และหนังที่ฝืนตัวละครมาก ๆ เป็นยังไง 55555
คือจริง ๆ แล้วพันธุ์หมาบ้าก็อาจจะไม่ใช่หนังที่ดีมากนะ แต่พอเทียบกับหนังเรื่องนี้ที่นำเสนอตัวละครวัยรุ่นยุคนั้นเหมือนกันแล้ว เห็นชัดเลยว่า หล่อ ซ่าเซอร์ มันฝืนตัวละครมาก ๆ เหมือนตัวละครถูกสร้างขี้นมาเพื่อ function ไปตาม genre หรือเพื่อเร้าอารมณ์ผู้ชมไปเรื่อย ๆ โดยไม่ต้องมีความเป็นมนุษย์เหลืออีกต่อไป ตัวละครเหลือแต่ความเป็น emotional tool หรือ entertainment tool ที่ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ ในขณะที่พันธุ์หมาบ้าปล่อยให้ตัวละครมีความเป็นมนุษย์สูงกว่ามาก ๆ ตัวละครดูได้สูดอากาศหายใจจริง ๆ มากกว่า
4.แต่ช่วงแรกๆ ก็ไม่ได้เกลียดหนังเรื่องนี้มากนักนะ เพราะทำใจไว้แล้วว่ามาดูหนังไทยโง่ ๆ เรื่องนึงในยุคที่หนังไทยตกต่ำที่สุด คือถึงหนังมันไม่ดี แต่พอเวลาผ่านไปนาน มันก็มีคุณค่าในทาง nostalgia สำหรับเรา หรือช่วยบันทึกความง่อยเปลี้ยของยุคสมัยเอาไว้
แต่ระดับความชอบก็ดิ่งลงอย่างรุนแรงในช่วงท้ายของหนัง หลังจากตัวละครตัวนึงโดนยิง คือหลังจากนั้นเป็นต้นมา หนังก็เหี้ยลงเรื่อย ๆ แบบโงหัวไม่ขี้นน่ะ 555 เปรียบเทียบง่าย ๆ ได้ว่า ก่อนหน้านั้นเรารู้สึกว่าหนังเรื่องนี้ คือ junk food ที่เราพอแดกได้ โดยเฉพาะเมื่อมีเอก โอรีเป็นส่วนประกอบของอาหาร แต่ช่วงราว ๆ 30 นาทีสุดท้ายของหนังนี่นึกว่ามันเป็น junk food ที่เน่าเสียแล้ว 555
5.แต่คิดไปคิดมา เราก็พบว่า ถึงทศวรรษ 1990 จะเป็นจุดตกต่ำที่สุดของภาพยนตร์ไทย เราก็ชอบชื่อหนังในยุคนั้นอย่างสุด ๆ นะ เราชอบ "การใช้ภาษาไทย" ในชื่อหนังในยุคนั้นอย่างสุด ๆ ถึงแม้คนอื่น ๆ อาจจะไม่ชอบก็ตาม 555
ตัวอย่างชื่อหนังที่เราประทับใจ
สะแด่วแห้ว (1992, ประสรรค์ เพชรพงษ์)
เช้งกะเด๊ะส์ (1990, ปุญญ์)
มาห์ (1991, เลิศฤทธิ์ จั่นสัญจัย)
หัวใจใส่เกือก (1993?)
รองต๊ะแล่บแปล๊บ (1992, ปรัชญา ปิ่นแก้ว)
โก๊ะจ๋า ป่านะโก๊ะ (1991, บัณฑิต ฤทธิ์ถกล)
กอดคอกันแหวว (1993, ทองก้อน ศรีทับทิม)
ฉันหรือเธอที่เผลอใจ (1993, ชารียา รุ่งเรือง)
ชะแว้บแอบปิ๊ง (1993, ทศพร น้อยรอด)
สยึ๋มกึ๋ย (1991, ธนิตย์ จิตต์นุกูล)
ฝากฝันไว้เดี๋ยว จะเลี้ยวมาเอา (1992, สมเกียรติ วิทุรานิช)
อันนี้ตัวหนังก็ดีมากนะ ชอบทั้งชื่อหนังและตัวหนัง
เพราะฉะนั้น นั่นน่ะซี (1992, อนุกูล จาโรทก)
แชะ แชะ แชะ เจอแจ๋วแหวว (1992)
โตแล้วต้องโต๋ (1992, พีรศิน, สถาพร)
โป้ง โป้ง ชึ่ง (1992, อรนุช ลาดพันนา)
เฉิ่ม เฉิ่ม แล้วก็ฉ่ำ (1992, สมพงษ์ ตรีบุบผา)
ยุ่งดะมะด๊อง (1992, มนู วรรณายก)
หนูเลยโอเค (1992, เรย์)
แดดร้อน ลมแรง ความรักกำลังจะมา (1993, อินทัช)
เธอของเรา ของเขา หรือของใคร (1993, อนิรุทธิ์ นุตไพโรจน์)
เร็วกว่าใจไกลเกินฝัน (1993, บรรจง โกศัลวัฒน์)
ยุกยิกหัวใจหยิกกัน (1997)
18 80 เพื่อนซี้ไม่มีซั้ว (1997, กิตติกร เลียวศิริกุล)