Tuesday, September 29, 2020

THE TREE HOUSE

 THE TREE HOUSE (2019, Truong Minh Quy, Vietnam, documentary, A+30)


 หนังแนว ethnographic ที่มีความ poetic อยู่ด้วย หนังงดงามมากๆ ตัว subject หลักคือชนเผ่าที่เคยอาศัยอยู่ในถ้ำ กับคนที่เคยอาศัยอยู่ในบ้านบนต้นไม้สูง

ดูแล้วทำให้นึกได้ว่า ในปาปัวนิวกินี (ถ้าจำไม่ผิด) ก็มีชนเผ่าที่อาศัยอยู่ในต้นไม้สูงเหมือนกัน ส่วนในฟิลิปปินส์ก็มีชนเผ่าแบบนี้ ซึ่งจะเห็นได้จากหนังเรื่อง WAILING IN THE FOREST (2016, Bagane Fiola, A+30) แต่ของไทยเหมือนจะไม่มีชนเผ่าแบบนี้ ถ้าเราเข้าใจไม่ผิด

คิดว่าหนังเรื่อง THE TREE HOUSE นี้ช่วยบันทึกข้อมูลที่มีความสำคัญมากๆทางมานุษยวิทยาเอาไว้ และช่วยขยายการรับรู้ของเราด้วย เพราะปกติแล้ว  ถ้าพูดถึงบ้านแบบเก่าในเวียดนาม เรามักจะนึกถึง "บ้านกลางน้ำ" แบบในหนังเรื่อง THE WILD FIELD (1979, Nguyen Hong Sen) และ BRIDE OF SILENCE (2005, Minh Phuong Doan + Thanh Nghia Doan)

Sunday, September 27, 2020

TOMORROW (2015, Cyril Dion, Mélanie Laurent, France, documentary, A+25)

 

TOMORROW (2015, Cyril Dion, Mélanie Laurent, France, documentary, A+25)

 

1.ทำไมดูแล้วรู้สึกเหมือนเป็น “ภาคแรก” ของหนังเรื่อง WHAT ARE WE WAITING FOR? (2016, Marie-Monique Robin, France, documentary)  555

 

เราจำรายละเอียดใน WHAT ARE WE WAITING FOR? ไม่ได้แล้ว แต่ถ้าจำไม่ผิด เมืองใน WHAT ARE WE WAITING FOR? มีการใช้ธนบัตรที่ผลิตขึ้นเองภายในเมืองด้วยหรือเปล่า และถ้าจำไม่ผิด โครงการอนุรักษ์ธรรมชาติต่างๆในเมืองนี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจากการดูหนังเรื่อง TOMORROW

 

2.TOMORROW เป็นหนังที่มีระบบระเบียบการคิดที่ดีมากๆ ชอบที่หนังค่อยๆไล่เรียงความสัมพันธ์กันของปัญหาต่างๆในสังคม ทั้งปัญหาสิ่งแวดล้อม, พลังงาน, เศรษฐกิจ, การเมือง และการศึกษา เพื่อแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงกันของปัญหาต่างๆ และเพื่อพยายามหาวิธีแก้ไขปัญหาต่างๆ โดยเน้นไปที่การหารากเหง้า ต้นตอของปัญหา คือเหมือนถ้าให้การศึกษาที่ดีแก่ประชาชนตั้งแต่ในวัยเด็กได้ การเมืองก็จะดีตามไปด้วย แล้วพอการเมืองดี เราก็จะคุมเศรษฐกิจไม่ให้ไปทำร้ายสิ่งแวดล้อมได้ คุมพฤติกรรมของประชาชนไม่ให้ไปทำร้ายสิ่งแวดล้อมได้ และเราจะลดการใช้พลังงานแบบทำร้ายสิ่งแวดล้อมลงได้ด้วย

 

3.แต่พอหนังติดท่าทีแบบ NGO, activists เราก็เลยเหมือนจะลดความอินกับหนังลงไปหน่อยนึง

WALTZ IN FLAME (2019, Borit Pongwatchr)

 

เต้นรำในวอดวาย (2019, บริษฎ์ พงศ์วัชร์)

 

1.การอ่านหนังสือเล่มนี้รู้สึกเหมือนได้เปิดหูเปิดตาตนเอง เพราะเราได้อ่านงาน fiction น้อยมากในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา และเราเหมือนไม่เคยอ่านงานแนวนี้มาก่อนเลย ซึ่งก็คือหนังสือรวมเรื่องสั้นที่แต่ละเรื่องมันสั้นมากๆ และแต่ละเรื่องเหมือนเป็นการบันทึกความรู้สึกห้วงสั้นๆของตัวละครแต่ละตัว คือจริงๆแล้วมันอาจจะมีหนังสือแบบนี้เยอะมากก็ได้ แต่พอดีเราไม่เคยอ่านงานแบบนี้มาก่อน เพราะก่อนหน้านี้เรามักจะอ่านแต่ “นิยาย” หรือไม่งั้นก็เป็นบทกวีสั้นๆ ส่วนหนังสือรวมเรื่องสั้นส่วนใหญ่ที่เราเคยอ่าน เรื่องสั้นแต่ละเรื่องมันก็จะมีเนื้อหาที่เป็นรูปธรรมมากกว่านี้ คือเหมือนเรื่องสั้นแต่ละเรื่องที่เราเคยอ่านมันจะดูมีความสมบูรณ์ในตัวเอง อ่านแล้วรู้ว่าใครทำอะไรเกิด conflict ยังไง คลี่คลายยังไง (นึกถึงเรื่องสั้นแบบ Roald Dahl 55555) แต่เรื่องสั้นหลายเรื่องในหนังสือเล่มนี้เหมือนเป็นการบันทึกความรู้สึกที่เป็นนามธรรมในห้วงสั้นๆ มันก็เลยให้ความรู้สึกคล้ายๆการอ่านบทกวี+การดู music video ซึ่งตรงข้ามกับเรื่องสั้นเรื่องอื่นๆที่เราเคยอ่านมาที่มันคล้ายการดูหนังสั้นแบบ narrative ที่มีความยาว 30 นาที

 

ตอนอ่านหนังสือเล่มนี้ จะนึกถึงหนังแบบ ABOUT ENDLESSNESS (2019, Roy Andersson) ด้วยความที่แต่ละเรื่องมันสั้นมากๆ 555

 

2.ตอนอ่านช่วงแรกๆก็เลยงงๆอยู่บ้าง ว่าเรื่องสั้นแต่ละเรื่องมันจบแล้วเหรอ ก่อนจะค่อยๆชินว่ามันเป็นแบบนี้แหละ ส่วนอีกอย่างที่ทำให้เรา “ปรับตัว” ขณะอ่าน ก็คือสำนวนภาษา เพราะเหมือนกับว่าหลายๆครั้งมีการใช้คำคุณศัพท์แทนคำนาม อย่างเช่น “เราเปลือยเปล่า ณ ใจกลางเศร้าสร้อย” คือเหมือนหลายๆครั้งแทนที่เขาจะเขียน “ความ+คำคุณศัพท์” เพื่อทำให้เป็นคำนาม เขาจะตัดคำว่า “ความ” ทิ้งไป เราก็เลยอ่านแล้วสะดุดในช่วงแรกๆ เพราะอย่างที่บอกว่าเราอ่านหนังสือน้อยมากในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา เราก็เลยไม่เคยเจอสำนวนภาษาแบบนี้มาก่อน แต่พอจับสไตล์ได้แล้วว่าเขามักจะตัดคำว่า “ความ” ทิ้งไป ก็เลยทำให้อ่านได้อย่างไหลลื่น

 

3.หนังสือแบ่งเป็น 3 ช่วง คือ เต้นรำ, วอดวาย และเถ้าถ่าน ซึ่งเราชอบช่วงวอดวายมากสุด ชอบช่วงเถ้าถ่านมากเป็นอันดับ 2 และชอบช่วงเต้นรำมากเป็นอันดับ 3

 

ช่วงวอดวายเป็นช่วงที่เน้นเล่าเรื่องเด็กที่มี “พ่อใจร้าย” และเราพบว่าเราอินกับช่วงนี้ได้มากสุด เพราะอย่างที่เราเคยเขียนไว้ในที่อื่นๆแล้วว่า เรามักจะอินกับภาพยนตร์ที่เน้นอารมณ์ “โกรธเกลียดเคียดแค้นชิงชัง” น่ะ แต่เรามักจะไม่อินกับภาพยนตร์ที่เน้นอารมณ์ “รักโรแมนติก” เราก็เลยอินกับ “วอดวาย” เพราะมันเน้นอารมณ์โกรธเกลียดเคียดแค้นชิงชัง ในขณะที่ช่วง “เต้นรำ” มันเน้นอารมณ์รักโรแมนติก เราก็เลยอินน้อยสุดไปโดยปริยาย

 

4.ถ้าหากเปรียบเทียบกับหนังแล้ว ช่วง “เต้นรำ” ทำให้เรานึกถึงหนังของพวก Post New Wave ของฝรั่งเศสน่ะ พวกหนังที่กำกับโดย Claude Sautet, Philippe Garrel, Maurice Pialat, Jacques Doillon, Jean Eustache ที่เน้นเล่าเรื่องความสัมพันธ์รักแบบลุ่มๆดอนๆ คือมันไม่ใช่รักแบบหนุ่มเจอสาวแล้วรักกันตลอดไป แต่มันเป็นความรักแบบหนุ่มเจอสาว, เอากัน, ไม่แน่ใจว่ารักกันไหม, คบกันไปก่อน, แล้วแต่ละฝ่ายก็คบกับคนอื่นๆไปด้วย, แต่ละฝ่ายได้รู้จักนิสัยยิบย่อยของอีกฝ่ายหนึ่ง, ทะเลาะกัน, เลิกกัน, กลับมาคืนดีกันใหม่, อยู่ด้วยกันก็เจ็บ, เลิกกันก็เจ็บ ทุกอย่างคาราคาซัง, มีทั้งทุกข์และสุข และไม่มีทางหาคำตอบได้เลยว่า ตัวละครควรจะอยู่กันยังไงทุกอย่างถึงจะลงเอยอย่างมีความสุข

 

การที่ “เต้นรำ” ทำให้เรานึกถึงหนังฝรั่งเศส ก็เป็นเพราะว่า ตัวละครหญิงสาวในแต่ละตอนของช่วงเต้นรำ มันดูเป็นสาวที่พร้อมจะมีความสัมพันธ์กับชายแปลกหน้า, รักการมี sex แต่ไม่ต้องการจะแต่งงานกับชายใดง่ายๆ ด้วยแหละ ซึ่งมันจะคล้ายกับเหล่าบรรดาตัวละครหญิงสาวในหนัง post New Wave ของฝรั่งเศส ที่มันเต็มไปด้วยความซับซ้อนยุ่งเหยิงของความรัก, ความสัมพันธ์ และ sex และไม่ได้เรียบง่ายแบบหนังโรแมนติกของชาติอื่นๆ

 

5.ส่วนช่วง “วอดวาย” นั้น รุนแรงมาก เดือดมาก ชอบสุดๆ ทำให้นึกถึงหนังอย่าง CRY IN SILENCE (2006, Gabriel Biggs, France), MY SON (2006, Martial Fougeron, France), THE HOUSE OF LOVE (2015, Tossaphon Riantong, documentary), A CREMATION DAY (2017, Napasin Samkaewcham, documentary) หรือมิวสิควิดีโอ FIRE ON BABYLON ของ Sinead O’Connor ที่นำเสนอภาพ “บ้านคือนรก” หรืออะไรทำนองนี้

https://www.youtube.com/watch?v=R29W_PvTT7M

 

6.ส่วนช่วง “เถ้าถ่าน” ก็ชอบมาก มันเหมือนเป็นช่วงที่มีทั้งอารมณ์รักโรแมนติก และมีความ “โรคจิตสิงสู่ผสมอยู่ด้วยกัน อ่านแล้วนึกถึงหนังอย่าง MAP TO THE STARS (2014, David Cronenberg) ที่นำเสนอตัวละครโรคจิตหลายตัว โดยที่ความโรคจิตของตัวละครเหล่านั้นมีที่มาจากปมในวัยเด็ก

 

7.ตอนที่อ่านก็พยายามหาทางเชื่อมโยงเรื่องสั้นแต่ละเรื่องเข้าด้วยกันนะ 555 เราจะรู้สึกว่า

 

7.1 หลายเรื่องเป็นเรื่องของชายหนุ่มที่เหมือนรักหญิงสาวคนนึง แต่หญิงสาวคนนั้นไม่อยาก “ผูกมัด” กับเขา โดยเฉพาะในช่วงของ “เต้นรำ”

 

7.2 เรื่อง “ขบวนรถไฟ” กับ “ฝัน” เป็นเรื่องของการคบชู้เหมือนกัน จนเรารู้สึกเหมือนมันต่อกัน

 

7.3 เหมือนเรื่องสุดท้าย (เสมอ) คือส่วนที่มาก่อนเรื่องแรก (ผมเตือนคุณแล้ว) เหมือนผู้ชายในเรื่องสุดท้ายไม่สมหวังในรัก เขาเลยกลายเป็นผู้ชายที่พร้อมจะมี sex ไปเรื่อยๆ แต่ไม่คิดที่จะรักใครอย่างจริงจัง เหมือนผู้ชายในเรื่องแรก

 

7.4 เหมือนภาพที่ติดตาเราจากหนังสือเล่มนี้ คือภาพของชายหนุ่มนอนอยู่บนเตียง และมองหญิงสาวที่เขารักเดินออกจากห้องนอนและปิดประตู อย่างเช่นในวลี

 

7.4.1 “หลังเสียงปิดประตูโครมของเธอ” ในเรื่อง “ระหว่างเรา”

 

7.4.2  “ระหว่างแผ่นหลังของคุณที่ลับหายไปหลังบานประตูซึ่งแง้มปิดแผ่วเบา” ในเรื่อง “เสมอ”

 

8.พออ่านโดยรวมๆแล้ว เราก็เลยรู้สึกเหมือนกับว่า ถ้าหากเป็นชีวิตคน ส่วน “วอดวาย” คือชีวิตในวัยเด็ก เด็กที่ถูกพ่อกระทำอย่างโหดร้ายทารุณ แล้วพอเด็กคนนั้นโตขึ้นเป็นหนุ่ม เขาเลยมีความโรคจิตสิงสู่อยู่ในตัว มี “ปีศาจและผีสาง” ซุกซ่อนอยู่ในใจ คล้ายๆกับตัวละครบางตัวในส่วนของ “เถ้าถ่าน” และต่อมา เขาก็อาจจะรักหญิงสาวบางคน แต่หญิงสาวคนนั้นก็ไม่พร้อมจะผูกมัดกับเขา เหมือนตัวละครในส่วนของ “เต้นรำ”

 

9.ชอบความ emotional turbulence ของตัวละครหลายๆตัวในหนังสือเล่มนี้ ซึ่งอาจจะเป็นเพราะมันเป็นเรื่องสั้นแบบกระแสสำนึกด้วยมั้ง มันเลยเจาะลึกความ emotional turbulence ออกมาได้อย่างเต็มที่

 

10.เนื่องจากเราชอบดูหนัง เวลาอ่านเรื่องพวกนี้เราก็เลยเกิด “หนังในจินตนาการ” ขึ้นมาในหัว และเราว่าช่วง “เถ้าถ่าน” เหมาะสร้างเป็นหนังมากที่สุด

 

คือจริงๆมันก็ดีทั้ง 3 ช่วงนั่นแหละ แต่ช่วง “เต้นรำ” มันอาจจะให้อารมณ์คล้ายๆหนังสั้นไทยหลายเรื่องที่สร้างกันออกมาแล้ว เพราะหนังสั้นไทยหลายเรื่องพูดถึงความรักโรแมนติกของหนุ่มสาว แต่อาจจะแตกต่างกันตรงที่ ตัวหญิงสาวใน “เต้นรำ” ดูเปรี้ยวกว่า มั่นใจกว่านางเอกหนังสั้นไทยโดยทั่วไป และเนื้อหาใน “เต้นรำ” มันอีโรติกกว่าในหนังสั้นไทยโดยทั่วไป

 

ส่วนช่วง “วอดวาย” นั้นเดือดมาก แต่อาจจะมีเสน่ห์น้อยกว่าช่วง “เถ้าถ่าน” เพราะช่วงวอดวายนั้น มันเห็นชัดว่าเหยื่อคือ “เด็ก” และผู้ร้ายคือ “พ่อ” น่ะ มันเป็นช่วงที่ขาวจัดดำจัด และอาจจะขาด dilemma หรือขาดความซับซ้อนของมนุษย์เมื่อเทียบกับช่วงเถ้าถ่าน

 

ส่วนช่วง “เถ้าถ่าน” นั้น มันเหมือนรวมทั้งส่วนดีของช่วงเต้นรำกับวอดวายเข้าด้วยกัน มันมีทั้ง “ปมทางจิตทื่สืบทอดมาจากวัยเด็ก” และ “ความโรแมนติกอีโรติก” ของหนุ่มสาว คือถ้าหากนำตัวละครในช่วงเถ้าถ่านมาสร้างเป็นหนัง มันจะมีอะไรให้ explore ได้เยอะมากๆ เพราะตัวละครในช่วงของเถ้าถ่าน มันมีความซับซ้อนทางจิตที่น่าสนใจมาก ทั้งสาวสวยที่มีลูกชายโรคจิตและได้ผัวเป็นเด็กหนุ่มที่แก่กว่าลูกชายของเธอแค่ 5 ปี, ชายหนุ่มที่โดนผีหลอกทางทีวีขณะเอากับแฟน, หญิงสาวที่วางยานอนหลับสามี, แม่เลี้ยงที่เอากับลูกเลี้ยง, ชายหนุ่มที่แกล้งเป็นคนบ้าแบบ multiple personalities, ชายหนุ่มที่หมกมุ่นกับความทรงจำที่มีต่อคนรักเก่าที่อาจถูกพ่อฆ่าตาย, เด็กหญิงสิบขวบที่พ่อตาย แม่หายสาบสูญ และเราเดาว่าแม่ของเธอเคยแอบหลงรักลุงของตัวเอง (เราเดาเอาเองนะ) และชายหนุ่มที่ผิดหวังในรักจนกลายเป็นคนใหม่ที่ใจดำกว่าเดิม

THE SPY LIBRARIAN

 

หนึ่งในสิ่งที่ประทับใจมากๆจากงานเสวนาภาพยนตร์เรื่อง “คำสั่งคำสาป” (1951, Burnet Lamont, A+30) ที่ Thai Film Archive เมื่อวานนี้ คือความจริงที่ว่า CIA เคยให้เงินทุนในการจัดตั้งห้องสมุดในประเทศต่างๆด้วย โดยที่ห้องสมุดนั้นจะมีทั้งหนังสือฝ่ายขวาและฝ่ายซ้าย แล้ว CIA จะคอยเช็คดูว่า ใครที่ชอบยืมหนังสือฝ่ายซ้ายออกไปอ่าน CIA จะได้หมายหัวคนนั้นไว้ว่าเป็นภัยคอมมิวนิสต์

 

นึกไม่ถึงมาก่อนว่า CIA จะทำแบบนี้ ซึ่งก็เป็นวิธีการที่น่ากลัวมาก แต่เราก็สงสัยว่ามันอาจจะเป็นวิธีการที่โง่มากก็ได้ 555 เพราะถ้า CIA ไม่มาตั้งห้องสมุด ชาวบ้านในประเทศยากจนต่างๆก็อาจจะเข้าไม่ถึงหนังสือฝ่ายซ้าย และชาวบ้านเหล่านั้นก็อาจจะไม่กลายเป็นคอมมิวนิสต์ แต่พอ CIA เข้ามาตั้งห้องสมุดโดยมีจุดประสงค์เพื่อสอดส่องคอมมิวนิสต์ มันก็อาจจะกลายเป็นการสร้างคอมมิวนิสต์ขึ้นมาซะเองโดยไม่ได้ตั้งใจ เพราะมึงเอาหนังสือฝ่ายซ้ายไปประเคนให้ชาวบ้านซะเอง คือเหมือนสหรัฐอเมริกากลัวคอมมิวนิสต์มากซะจนความกลัวดังกล่าวนั่นแหละที่ก่อให้เกิดคอมมิวนิสต์ขึ้นมาซะเอง 555 อันนี้เป็นการคาดเดาเอาเองของเรานะ

 

แต่ชอบไอเดียเรื่องห้องสมุดลวงของ CIA มากๆ อยากให้มีคนสร้างหนังเกี่ยวกับอะไรแบบนี้มากๆ โดยในหนังเรื่องนี้ตัวละครสำคัญคือ “บรรณารักษ์สาวใส่แว่นที่ดูภายนอกเรียบร้อย หงิมๆ แต่จริงๆแล้วเธอเป็น CIA” ส่วนพระเอกคือหนุ่มชาวนาแบบสรพงษ์ ชาตรีใน “ไผ่แดง” RED BAMBOO (1979, Permpol Choei-aroon) ซึ่งเป็นชายหนุ่มที่อยากอ่านหนังสือคอมมิวนิสต์ในห้องสมุดนี้มากๆ แต่เขาแอบสงสัยว่าบรรณารักษ์สาวในห้องสมุดนี้อาจจะเป็น CIA เขาเลยส่งแฟนสาวของเขาเข้าไปอ่านหนังสือในห้องสมุดนี้โดยไม่ยืมออกมา เพราะแฟนสาวของเขามีความสามารถแบบ “แม่ของอึ้งย้ง” ในมังกรหยก ที่สามารถพลิกอ่านคัมภีร์เก้าอิมแล้วจดจำได้ทั้งเล่ม แฟนสาวของเขาก็เลยเข้าไปอ่านหนังสือคอมมิวนิสต์ในห้องสมุดนี้เป็นประจำ , จดจำข้อความในหนังสือเอาไว้ แล้วเอาข้อความในหนังสือคอมมิวนิสต์มาถ่ายทอดให้เขาฟังก่อนเย็ดกันในแต่ละคืน  

 

แต่แน่นอนว่าในหนังเรื่องนี้ต้องมีฉากบู๊กันอย่างรุนแรงระหว่างบรรณารักษ์สาวกับแฟนพระเอกในห้องสมุดในฉาก climax 555

DEAD MAN'S VOICE

 


ขอบันทึกกันลืมไว้ก่อนว่า คำสั่งคำสาป DEAD MAN'S VOICE (1951, Burnet Lamont, A+30) เวอร์ชั่น 138 นาที มีฉากอะไรเพิ่มเข้ามาบ้างเมื่อเทียบกับ shorter version

1. ฉากนางเอกไปหาพระเอกที่สำนักงาน

2. ฉากโมเดลจำลองของกลุ่มอาคารในบ้านนางเอก เห็นบ้าน, อาคารอนุสาวรีย์ และอาคารโรงกลั่น

3. ฉากลูกน้องดร.ทองคำตาย เพราะการสลับ potassium bromide กับ potassium cyanide

4. ฉากพระเอกหว่านล้อมเจ้าของบาร์

5. ฉากขุดศพพิสูจน์

6.ฉากรถเข็นผักซ่อนปืนซ่อนผู้ชาย

7.ฉากตีความ 1 2 3 เป็น "ช" และเป็น 2 4 6

8.ฉากหมอทำงกๆเงิ่นๆขณะเดินออกจากอุโมงค์

9. ฉากเดินวนเวียนในอุโมงค์ เพราะหาแม่ผันไม่เจอ

10. ฉากตอนท้ายเป็นภาพดร.ทองคำด่า communists ไปเรื่อยๆ แทนที่จะเป็นภาพจากสงครามเกาหลี+กรุงเทพในทศวรรษ 2490
--------
เรื่องพระบรมรูปทรงม้าของร.5 ผมก็ไม่แน่ใจเหมือนกันครับ

ส่วนเรื่องฟุตเตจสงครามเกาหลีนั้น ผมเดาเล่นๆว่า อาจเป็นเพราะสงครามเกาหลีมันเกิดขึ้นในปี 1950-1953 ครับ เพราะฉะนั้นหนังเวอร์ชั่นปี 1951 (2494) อาจจะยังหาฟุตเตจสงครามเกาหลีมาประกอบได้ยาก เพราะยังรบกันดุเดือดอยู่ แต่พอทำ version ปี 1954 (2497)  ตอนนั้นน่าจะหาฟุตเตจสงครามเกาหลีมาประกอบในหนังได้ง่ายแล้ว 555

Saturday, September 26, 2020

ARAB BLUES

 

"The past is never dead. It's not even past." --Williiam Faulkner อ้าว ผิดเรื่อง 555

ชอบการบรรยายเกี่ยวกับ "คำสั่งคำสาป" (1951,  A+30) มากๆ ได้ความรู้มากๆ ทั้งเรื่องกัวเตมาลา, อาจารย์ของจิตร ภูมิศักดิ์, เตียง ศิริขันธ์, สมัคร บุราวาศ, ประหยัด ศ. นาคะนาท, สยามรัฐ, การเน้นแค่ชาติในยุคของจอมพลป., กลุ่มหนังของ USIS, ทำไมหนังไทยใช้ฟิล์ม 16มม., ปรีดีถูกทำให้เป็นปีศาจเหมือนทักษิณ, etc.

ทำไมดูหนังเรื่องนี้ แล้วคิดถึงทฤษฎีสมคบคิดเรื่อง อุโมงค์ลับใต้ธรรมศาสตร์ 55555

-----
IN THE MI(D)ST OF PALE BREATHE (2020, Viriya Chotpanyavisut, video installation, approximately 10-15 minutes)

งดงามสุดๆ

ARAB BLUES (2019, Manele Labidi, Tunisia/France, A+30)

 ชอบที่หนังนำเสนอสิ่งละอันพันละน้อยในสังคม Tunisia อย่างเช่น

1.คนรุ่นเก่าที่ยังคงผูกพันกับระบอบเผด็จการ

2.การใช้อำนาจของตำรวจ

3.ความ Kafkaesque ของระบบราชการ ที่อาจจะหนักในระดับมากกว่าหรือเท่ากับระบบราชการไทย

4.เกย์ในตูนิเซีย

5.การคลุมถุงชน

A 796 KM HEAR/SAY: CHIANG MAI -- BANGKOK DIALOGUE (2020, Rattanakan Kanchanaphanbun, video installation)

เหมือนตัวงานวิดีโอไม่ได้เด่นมาก แต่ตัวประติมากรรม + installation โดดเด่นมาก คนมาถ่ายรูปกันเต็มไปหมด
-------
ยอมรับเลยว่า หนังบางเรื่องทำให้เราเกิดพฤติกรรมเลียนแบบ โดยเฉพาะหนังที่เราชอบสุดๆ เพราะฉะนั้นตอนนี้เวลาอยู่ว่างๆเราก็มักฝึก "ก้าวขายาวๆ" แบบนางเอก  ANTEBELLUM (2020, A+30) คือไม่รู้ว่าเราทำไปทำไม แต่พอจินตนาการว่าตัวเองเป็นนางเอก ANTEBELLUM แล้วต้องฝีกก้าวขายาวๆ แล้วรู้สึกมีความสุขมากๆ 555

ส่วนพฤติกรรมเลียนแบบที่เรามีความสุขที่สุดที่เคยทำ คือการเลียนแบบตัวละครของ Grace Zabriskie ในละครทีวีเรื่อง TWIN PEAKS (1990-1991) จำได้ว่าฉากตัวละครตัวนี้ (แม่ของ Laura Palmer) คลานลงกระได มันดูทรงพลังมากๆ แต่พอกูลองคลานลงกระไดด้วยการเอาตัวเถือกไถลไปกับขั้นบันไดตามอย่างบ้าง กูกลับเจ็บระบมไปทั้งตัว 555 แต่ก็ถือเป็น moment ที่พอนึกย้อนกลับไปแล้วก็มีความสุขดี


เพิ่มเติมเกี่ยวกับ TESLA (2020, Michael Almereyda, A+30)

1.สไตล์ภาพในฉากนึงของ TESLA ทำให้นึกถึง MOTHER AND SON (1997, Alexander Sokurov) ไม่รู้เราคิดไปเองคนเดียวหรือเปล่า 555 เพราะเราก็ยังไม่เคยดู MOTHER AND SON นะ แต่เคยเห็นบางฉากแบบผ่านๆตา

2.ตัวละคร Tesla นึกว่าหลุดมาจากหนังของ Maurice Pialat

3.พอหนังมันเน้นความเหงา ความเข้ากับใครไม่ค่อยได้ของ Tesla เราก็แอบรู้สึกว่า หนังมัน "หว่องโดยไม่ได้ตั้งใจ" 555 นึกว่าการดู TESLA เป็นการอุ่นเครื่องก่อนงาน retrospective ของ Wong Kar-wai แต่ถ้า wong คือ "เดียวดายแบบโรแมนติก" TESLA ก็คือ "เดียวดายแบบ anti-romantic"

4.อยากให้มีคนรวบรวม quote คำพูดของนางเอกตลอดทั้งหนังเรื่องนี้ ตั้งแต่ "การเปรียบเทียบจักรวาลกับแมว" ในฉากเปิดเรื่อง , การตั้งคำถามเรื่อง idealism vs. Capitalism, etc.

TESLA (2020, Michael Almereyda, A+30)

 

TESLA (2020, Michael Almereyda, A+30)

 

กรี๊ดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดด

 

1.ติดอันดับประจำปีแน่นอน กราบขอบพระคุณใครก็ตามที่นำหนังเรื่องนี้เข้ามาฉาย หนังถูกจริตเรามากๆ ชอบสไตล์ของหนังอย่างสุดๆ นึกว่าหนัง essay film + Derek Jarman + Hans-Jürgen Syberberg และปรากฏว่าพอดูจบแล้วเรากลับร้องห่มร้องไห้อย่างรุนแรงด้วย คือชอบทั้งสไตล์และผลกระทบทางอารมณ์ที่มีต่อตัวเราอย่างรุนแรง

 

2.เหมือนเป็นภาคต่อของ THE CURRENT WAR (2017, Alfonso Gomez-Rejon, A+30) แต่หนังออกมาคนละสไตล์กันเลย ซึ่งเราก็ชอบ THE CURRENT WAR มากๆ แต่ชอบ TESLA มากกว่า

 

ความชอบที่แตกต่างกันของเราที่มีต่อหนังสองเรื่องนี้ มันคล้ายๆกับความชอบของเราที่แตกต่างกันที่มีต่อ REIGN OF ASSASSINS (2010, Su Chao-Bin) และ THE ASSASSIN (2015, Hou Hsiao-hsien)  น่ะ คือเรารู้สึกกับ THE CURRENT WAR คล้ายๆกับที่รู้สึกกับ REIGN OF ASSASSINS นั่นก็คือมัน “สนุกสุดขีด” แต่หนังสองเรื่องนี้มันก็เล่าเรื่องแบบหนัง narrative ทั่วไป ในขณะที่เรารู้สึกกับ TESLA คล้ายๆกับที่รู้สึกกับ THE ASSASSIN นั่นก็คือ หนังสองเรื่องนี้มันเลือกที่จะ “ไม่เร้าอารมณ์ตื่นเต้น” แบบหนังทั่วไป แต่มันมีการแหกขนบการเล่าเรื่องในแบบของมันเอง และมันเหมือนเน้นจับ “โทนอารมณ์” บางอย่างที่ตัวผู้กำกับชื่นชอบเป็นหลัก ซึ่งโชคดีที่โทนอารมณ์ใน THE ASSASSIN และ TESLA มันมี wavelength ที่ตรงกับเราพอดีมากๆๆ

 

3.ชอบความ “ไม่ต้องปลอมตัวเป็นหนังพีเรียดอีกต่อไป” ของหนังเรื่องนี้มากๆ โดยผ่านทางการใส่ข้อมูลจากกูเกิลโดยตรง ซึ่งมันทำให้หนังเรื่องนี้มีลักษณะคล้าย essay film, การให้เอดิสันใช้โทรศัพท์มือถือในฉากนึง, การใส่ดนตรีที่ผิดยุคผิดสมัย และการใช้ฉากหลังที่เน้นความไม่สมจริง คือเราชอบหนังที่ไม่ต้องแคร์กับ “ความสมจริง” อะไรแบบนี้น่ะ มันถูกจริตกับเรามากกว่า

 

4.ชอบการใช้ฉากหลังแบบไม่สมจริงอย่างสุดๆ ดูแล้วนึกถึงหนังหลายๆเรื่องของ Hans-Jürgen Syberberg โดยเฉพาะ HITLER: A FILM FROM GERMANY (1977, 7hours 22min)

 

เราก็บอกไม่ถูกเหมือนกันว่าทำไม แต่เหมือนพอเราดูหนังแบบหนังของ Syberberg, หนังเรื่อง BREMEN FREEDOM (1972, Rainer Werner Fassbinder) และหนังเรื่องนี้ ที่เน้นการใช้ฉากหลังแบบไม่สมจริงเหมือนกัน (ซึ่งรวมถึง PERSONA (1966, Ingmar Bergman) ในบางฉาก) มันเหมือน trigger อะไรบางอย่างในหัวเราหรือในความรู้สึกของเราได้อย่างรุนแรงกว่าหนังทั่วๆไปที่ใช้ฉากหลังแบบสมจริงน่ะ มันเหมือนกับว่าการดูหนังแบบทั่วๆไปที่ใช้ฉากหลังแบบสมจริง มันทำให้เราเพริดไปกับเนื้อเรื่องและตัวละคร แต่มัน trigger อะไรบางอย่างในหัวเราไม่ได้ ในขณะที่หนังที่เน้นความไม่สมจริงอย่างจงใจแบบหนังของ Syberberg มัน trigger อะไรบางอย่างในหัวเราได้

 

5.ชอบความ minimal และการใช้เพลงแบบผิดยุคผิดสมัยด้วย ดูแล้วนึกถึงหนังหลายๆเรื่องของ Derek Jarman ทั้ง THE TEMPEST (1979), EDWARD II (1991) และ WITTGENSTEIN (1993)

 

6.ชอบ “ความไม่สมจริงทางบทสนทนา” ด้วย เพราะนางเอกพูดอะไรที่เป็นปรัชญาชีวิตตลอดเวลา และหนังก็ไม่แคร์อะไรอีกต่อไปในจุดนี้

 

7.เหนือสิ่งอื่นใด ก็คือชอบความหม่นเศร้าของหนังเรื่องนี้ คือเหมือนแทนที่หนังเรื่องนี้จะเน้นความสนุกตื่นเต้น หนังกลับไปเน้นความหม่นเศร้าของชีวิตตัวละครแทน และเราก็รู้สึกว่าเกือบทุกตัวละครเต็มไปด้วยความเจ็บปวดและผิดหวัง ทั้งเอดิสันและเทสลา และผู้หญิงสองคนที่เข้าใกล้เทสลา ซึ่งก็คือ Anne Morgan และ Sarah Bernhardt ต่างก็ได้รับแต่ความเจ็บปวดและผิดหวังจากเทสลาไป

 

8.ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าทำไมดูแล้วร้องห่มร้องไห้อย่างรุนแรง มันเหมือนหนังเรื่องนี้ทำให้เรารู้สึกเศร้ากับโลกและชีวิตมนุษย์มั้ง คือเรารู้สึกว่าเทสลาในหนังเป็นคนไม่ค่อยน่าคบ แต่เขาก็ไม่ได้เป็นคนเลว คือเหมือนเขาเกิดมาเป็นคนแบบนี้เอง เกิดมาเพื่อหมกมุ่นกับการคิดประดิษฐ์สิ่งต่างๆเหล่านี้ จนทำให้ไม่มีใจที่จะรักคนอื่นๆ หรืออุทิศตัวให้กับความรักหญิงใด เพราะเขารักการประดิษฐ์คิดค้นมากกว่า และ “การประดิษฐ์คิดค้น” ก็คงไม่ยอมเป็น “เมียน้อย” ให้แก่หญิงใดในใจเขาแน่ๆ

 

และเราก็เศร้ากับชีวิตมนุษย์ที่มันเต็มไปด้วยความไม่สมบูรณ์แบบ มันเหมือนกับว่า “ความสามารถในการประดิษฐ์คิดค้น” สิ่งต่างๆของเทสลา เป็นทั้ง “พรสวรรค์” และ “คำสาป” ในเวลาเดียวกันน่ะ เทสลาสามารถคิดประดิษฐ์สิ่งต่างๆที่เป็นประโยชน์แก่ชาวโลกได้มากมาย แต่เหมือนความสามารถนี้ทำให้เขาหมกมุ่นกับมันมากเกินไป และมันก็เลยกลายเป็นเหมือนคำสาปที่ทำลายชีวิตเขาในที่สุด

 

คือเรารู้สึกว่าอะไรแบบนี้จริงๆแล้วเราสามารถเห็นได้ทั้งในตัวเองและคนอื่นๆนะ มันเหมือนกับว่าคนแต่ละคนจะมีความรักความหลงใหลในอะไรบางอย่าง ซึ่งมันให้ทั้งประโยชน์และโทษกับชีวิตเราได้ โดยมันมักจะให้โทษกับเรา เมื่อความหลงใหลนั้นกระตุ้นให้เราพยายามทำอะไรที่ใหญ่จนเกินตัว

 

ยกตัวอย่างง่ายๆก็อย่างเช่นตัวเราเองที่เคยหลงใหล “หนังทดลอง” มากๆ ซึ่งไอ้ความหลงใหลนี้มันก็ไม่เคยให้โทษอะไรกับเรา มันให้แต่ความสุขกับเรา จนกระทั่งในปี 2012 เราก็คิดที่จะเขียนบทความภาษาอังกฤษ MYSTERIOUS OBJECTS FROM THAILAND เพื่อพูดถึงหนังทดลองยุคนั้นในไทย โดยชวนเพื่อนคนอื่นๆมาเขียนด้วย ปรากฏว่าเขียนไปเขียนมาแล้วกูเครียดมาก จนอยากฆ่าตัวตาย เราก็เลยได้รับบทเรียนว่า เออ นี่แหละ ไอ้การทำอะไรแบบนี้มันเกิดความสามารถของเรา เราก็จะได้ไม่ทำอีก ไม่เขียนอะไรแบบนี้อีก เราก็เลยไม่ต้องฆ่าตัวตาย และมีชีวิตอยู่รอดมาได้จนถึงทุกวันนี้ 555

 

9.และเราก็เศร้ากับ “ความเป็นไปของโลก” ด้วย ที่คนแบบ Tesla, Van Gogh, Georges Méliès อะไรแบบนี้ ต้องใช้ชีวิตอย่างยากจนเข็ญใจ

 

คือก่อนหน้านี้เรามักคุ้นเคยแต่กับวลี “ศิลปินไส้แห้ง”นะ แต่จริงๆแล้ว “นักวิทยาศาสตร์บางคนก็ไส้แห้ง” เหมือนกัน โดยเฉพาะนักวิทยาศาสตร์อย่างเทสลา โลกมันไม่ยุติธรรมจริงๆ

 

10.ฉากเทสลาที่สนามเทนนิส แล้วต่อด้วยฉากเทสลาร้องเพลง นี่มันเป็นอะไรที่หนักสุดๆสำหรับเรา คือเราร้องไห้ในช่วงสองฉากนี้แหละ

 

11.พอดูหนังเรื่องนี้แล้วทำให้อยากกลับไปดู THE PRESTIGE (2006, Christopher Nolan) อีกรอบ เพราะ Tesla เป็นตัวละครใน THE PRESTIGE

 

12.เสียดายที่เราเพิ่งได้ดูหนังเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ 3 ของ Almereyda ก่อนหน้านี้เราเคยดูแค่ TWISTER (1989) ที่เคยมาฉายที่ห้องสมุดธรรมศาสตร์ กับ HAMLET (2000) รู้สึกว่าหนังของเขาน่าสนใจมากๆ

 

อยากให้มีคนจัด retrospective หนังของ Michael Almereyda มากๆ เหมือนนักวิจารณ์บอกว่าหนังบางเรื่องของเขาจงใจเน้นความไม่ต่อเนื่อง โดยเฉพาะความไม่ต่อเนื่องด้านบทสนทนา, ความไม่ต่อเนื่องด้านสไตล์ภาพ และความไม่ต่อเนื่องด้านการเล่าเรื่อง เหมือนเขารัก “ความไม่ต่อเนื่อง” มากเป็นพิเศษ ซึ่งเราว่ามันเป็นอะไรที่น่าสนใจสุดๆ

Thursday, September 24, 2020

TENET (2020, Christopher Nolan, A+30)

 

TENET (2020, Christopher Nolan, A+30)

 

1. โดยปกติแล้ว เราชอบหนังเกี่ยวกับการย้อนเวลามากๆ โดยเฉพาะหนังที่มีลักษณะคล้ายการเล่นเกม อย่างเช่น CELINE AND JULIE GO BOATING (1974, Jacques Rivette), RUN LOLA RUN (1998, Tom Tykwer) และ FATHER & SON (2015, Sarawut Intaraprom) โดยในหนังกลุ่มนี้ ตัวละครมักจะแก้ปัญหาด้วยการย้อนเวลา แล้วก็แก้ปัญหาไม่สำเร็จ แต่ก็ได้เรียนรู้ข้อผิดพลาด หรือได้รู้ข้อมูลมากขึ้น แล้วก็ย้อนเวลากลับไปแก้ไขอดีตใหม่อีกหลายๆครั้ง ลองผิดลองถูก จน FIX อดีตได้สำเร็จในที่สุด ตัวละครในหนังแบบนี้ก็เลยทำในสิ่งที่เหมือนการเล่นเกม ที่ถ้าเล่นหลายๆครั้ง เราจะแก้เกมได้

 

เราก็เลยชอบ TENET มากๆ เพราะเรารู้สึกเหมือนมัน invent เกมใหม่ขึ้นมาน่ะ การย้อนเวลาของมันไม่ง่ายเหมือนหนังเรื่องอื่นๆ มันก็เลยเหมือนเป็นเกมใหม่ที่ยากขึ้น advanced ขึ้น มีกฎ กติกาใหม่ เงื่อนไขใหม่ๆที่ซับซ้อนมากขึ้น

 

ถ้าเปรียบเทียบง่ายๆก็เหมือนกับว่า การย้อนเวลาในหนังเรื่องอื่นๆ อย่างเช่น EDGE OF TOMORROW (2014, Doug Liman) ทำให้เรารู้สึกคล้ายๆกับการต่อภาพ jigsaw หรือเล่นเกมที่เป็นสองมิติน่ะ แต่ TENET เหมือนการเล่นลูก RUBIK ที่เป็นสามมิติ ทำให้เราปวดหัวมากขึ้น

 

หรือเปรียบเทียบได้ว่า การดูหนังแบบ HAPPY DEATH DAY (2017, Christopher Landon) ทำให้เรารู้สึกคล้ายๆการเล่น หมากฮอส แต่การดู TENET เหมือนการดูคนเล่นหมากรุกกัน แต่กูไม่รู้หรอกว่า กฎของหมากรุกมีรายละเอียดยังไงบ้าง 555

 

2.หวังว่าจะมีการ release TENET เวอร์ชั่น 3 ชม.ครึ่ง ออกมาในอนาคต โดยใน version นี้จะมีการแจกแจงเรื่องการถอยหน้าถอยหลังของตัวละครอย่างละเอียด 555

 

3. คิดไปคิดมา แล้วก็พบว่า เราชอบ TENET, MEMENTO, INCEPTION และ INTERSTELLAR มากๆ แต่ด้วยเหตุผลที่ไม่เหมือนกับการชอบหนังโดยทั่วไป

 

เพราะในการดูหนังโดยทั่วไปนั้น เรามักจะชอบที่ "ผลกระทบต่ออารมณ์ความรู้สึก" หรือ "ความสะเทือนใจ" เป็นหลักน่ะ ซึ่งหนังกลุ่มนี้ของ Nolan ไม่ได้กระทบเราที่จุดนี้

 

แต่เราก็ชอบหนังกลุ่มนี้ของ Nolan มากๆอยู่ดี เพราะเรารู้สึกสนุกและทึ่งไปกับกฎเกณฑ์เฉพาะตัวที่ Nolan คิดประดิษฐ์ขึ้นมาในหนังแต่ละเรื่องในกลุ่มนี้ของเขาน่ะ ทั้งการเล่าเรื่องถอยหลัง, การฝันซ้อนกันเป็นชั้นๆ โดยที่เวลาในแต่ละชั้นไม่เท่ากัน, การที่ดวงดาวแต่ละดวงใช้เวลาที่ไม่เท่ากันถ้าหากเทียบกับเวลาบนโลก และการย้อนเวลาแบบกลับ entropy

 

เพราะฉะนั้นเวลาที่เราดูหนังกลุ่มนี้ของ Nolan เราก็เลยรู้สึกสนุกเหมือนกับการได้เล่นเกมใหม่ๆ กติกาใหม่ๆที่เราไม่รู้จักมาก่อน หรือรู้สึกสนุกเหมือนกับการได้แก้โจทย์คณิตศาสตร์น่ะ คือสำหรับเราการดูหนัง Nolan แล้วพยายามทำความเข้าใจกับมัน แล้วเข้าใจได้ มันรู้สึกสนุกเหมือนกับการหารากที่สองของตัวเลขอะไรสักตัว โดยคิดในใจ ไม่ต้องพึ่งเครื่องคิดเลข หรือเหมือนแก้โจทย์ sin, cos, tan ได้อะไรทำนองนี้ ซึ่งไม่เหมือนความรู้สึกที่เราได้รับจากหนังโดยทั่วไป โดยเฉพาะหนังอาร์ท ที่เราต้องพยายามทำความเข้าใจ “ความซับซ้อนของมนุษย์” คือเหมือนความสนุกที่เราได้รับจากหนังกลุ่มนี้ของ Nolan เป็นการใช้สมองคนละส่วนกับการดูหนังเรื่องอื่นๆ

 

หรือถ้าเปรียบเทียบง่ายๆก็เหมือนกับว่า หนังกลุ่มนี้ของ Nolan มันมีจุดเด่นกับการเล่นกับ “เวลา” ในขณะที่หนังหลายๆเรื่องของ Alain Resnais ก็เล่นกับ “เวลา” และ memory เหมือนๆกัน แต่ความสุขที่เราได้รับจากการดูหนังของ Alain Resnais นั้น มันคือความสะเทือนใจอย่างรุนแรง แบบการอ่านบทกวี อย่างเช่นบทกวีของ Emily Dickinson ที่อาจจะไม่ต้องเน้นฉันทลักษณ์เคร่งครัด แต่ความหมายและความรู้สึกที่ได้จากการอ่านบทกวี มันรุนแรงมากๆ

 

ในขณะที่ความสุขที่เราได้จากการดูหนังกลุ่มนี้ของ Nolan มันเหมือนความรู้สึกที่ได้จากการอ่าน “กลบท” น่ะ คือเราทึ่งกับกลบทที่มันมีฉันทลักษณ์เคร่งครัด, มีฉันทลักษณ์แตกต่างกันไป, แต่งยากมากๆๆๆ, อ่านให้รู้เรื่องก็ยากมากๆ บางทีก็งงว่าต้องอ่านยังไง ต้องอ่านจากบนลงล่าง แล้ววนตามเข็มนาฬิกา หรือต้องอ่านทแยงมุม ไขว้ไปไขว้มายังไง แต่เอาเข้าจริงๆ ความหมายที่ได้จากตัว “กลบท” มันไม่ได้สั่นสะเทือนเข้าไปถึงจิตวิญญาณแบบการอ่านบทกวีของ Emily Dickinson มันเหมือนกับว่าความสุขที่ได้จากการอ่านกลบทไม่ได้อยู่ที่ตัวความหมาย แต่อยู่ที่การต้องหาวิธีอ่านมันให้ออก หรือทึ่งกับ “ความคิดสร้างสรรค์” และ “ความเก่งกาจ” ของคนที่แต่งกลบทขึ้นมาได้

 

4.ก็สรุปว่าชอบ TENET มากๆน่ะแหละ ยอมรับว่าเป็นหนังเรื่องแรกของ Nolan ที่ดูไม่รู้เรื่อง ตามเรื่องไม่ทัน คือถ้าหนังของ Nolan เป็น “กลบท” TENET ก็ถือเป็นเรื่องแรกที่เราอ่านเองไม่ออก ดูหนังเรื่องนี้จบแล้วต้องไปหา “คำเฉลยวิธีอ่านกลบท” จากเพจหนังหลายๆที่ 555

 

5.แต่ถ้าหากเทียบกับหนัง “ย้อนเวลาไปแก้ไขเหตุการณ์ในอดีต” เรื่องอื่นๆแล้ว เราก็ยังคงชอบ CELINE AND JULIE GO BOATING มากที่สุดนะ เพราะในขณะที่ TENET มันทำให้เรารู้สึกสนุกไปกับ “กฎเกณฑ์ใหม่ๆ กติกาใหม่ๆ” ที่หนังคิดค้นประดิษฐ์ขึ้นมา แต่เราก็รู้สึกกับมันเพียงแค่เป็น “เกมใหม่ๆที่เล่นแล้วสนุกดี” น่ะ ในขณะที่เรารู้สึกกับ CELINE AND JULIE GO BOATING ว่าเป็น “โลกที่เหมือนไร้กฎเกณฑ์ แต่เป็นโลกที่เป็นมิตรกับเรามากที่สุด และเป็นโลกที่เราอยากเข้าไปใช้ชีวิตอยู่ในนั้นมากที่สุด”

Wednesday, September 23, 2020

ANTEBELLUM (2020, Gerard Bush, Christopher Renz, A+30)

 

ANTEBELLUM (2020, Gerard Bush, Christopher Renz, A+30)

 

SERIOUS SPOILER ALERT (ยังไม่ได้ดูห้ามอ่าน)

--

--

--

--

--

--

--

--

--

--

1.ก็ชอบน้อยกว่า GET OUT (2017, Jordan Peele) และ US (2019, Jordan Peele) นะ แต่ก็ถือว่าชอบสุดๆอยู่ดี เหมือนหนังเรื่องนี้เป็นเพียงแค่หนัง blaxploitation หรือหนังสยองขวัญเกรดบีเมื่อเทียบกับ GET OUT และ US น่ะ แต่เราชอบหนังสยองขวัญเกรดบีอยู่แล้ว คือเรารู้สึกว่าหนังเรื่องนี้มันไม่ได้ “มีสาระหรือประเด็นน่าสนใจ” มากเท่า GET OUT และ US แต่หนังเรื่องนี้มันก็มีประเด็นน่าสนใจมากกว่าหนังสยองขวัญเกรดบีโดยทั่วไป 555

 

2.หนึ่งในสิ่งที่ชอบมากๆก็คือสิ่งที่หลายคนได้เขียนถึงไปแล้ว นั่นก็คือความพานพ้องกับสังคมไทยในบางแง่มุม โดยเฉพาะคนไทยบางกลุ่มที่หวนหาอาลัย “ยุคสมัยก่อนประชาธิปไตย” และพยายามจะผลักดันสังคมไทยให้ย้อนกลับไปยังยุคนั้น

 

ดูแล้วนึกถึงหนังเรื่อง PAST PERFECT (2019, Jorge Jacome, Portugal) ด้วย เพราะ PAST PERFECT บอกเราว่า “nostalgia is a political tool” ซึ่งเป็นสิ่งที่ตรงกับสังคมไทยและหนังเรื่องนี้จริงๆ

https://www.facebook.com/jit.phokaew/posts/10224227348334753

 

3.อีกสิ่งหนึ่งที่ชอบสุดๆในหนังเรื่องนี้คือสิ่งที่คุณ Pongson Arunsintaweeporn ได้เขียนถึงไปแล้ว ซึ่งก็คือความสยองขวัญในองก์สองของหนัง ซึ่งเป็นช่วงที่แทบไม่มีเหตุการณ์รุนแรงอะไรเกิดขึ้น ยกเว้นในช่วงท้าย แต่ความสยองมันคือ “รายละเอียดเล็กๆน้อยๆในชีวิตประจำวัน” เมื่อนางเอกถูกเลือกปฏิบัติจากคนขาวด้วยความเย็นชา คือคนขาวไม่ได้มาจิกหัวด่าเธอโดยตรง แต่มันเป็นการเหยียดผ่านการแสดงออกเล็กๆน้อยๆ และถึงแม้นางเอกจะพยายามแสดงออกว่า “กูรวย” แต่มันก็ไม่ช่วยอะไร สีผิวของเธอทำให้เธอถูกเหยียดอยู่ดี

https://www.facebook.com/pongson/posts/10157222332261174

 

เราชอบสิ่งนี้อย่างสุดๆ เพราะความสยองขวัญในองก์สองมัน “ใกล้ตัว” มากกว่าองก์หนึ่งและองก์สาม  และมันถูกตอกย้ำด้วยคำพูดของตัวละครผู้ร้ายในช่วงท้ายขององก์สามในทำนองที่ว่า “We are nowhere, but we are everywhere.” (เราจำคำพูดไม่ได้เด๊ะๆนะ แต่มันออกมาทำนองนี้)

 

คำพูดนี้คือคำพูดที่หลอนเรามานานราว 30 ปีแล้วน่ะ คือมันหลอนเรามาตั้งแต่เราดูหนังเรื่อง BETRAYED (1988, Costa-Gavras) ที่มาบุญครองในปี 1988 และเราได้อ่านบทความเกี่ยวกับ Klu Klux Klan ในอเมริกาในช่วงนั้นพอดี

 

คือตอนที่เราดูหนังเรื่อง BETRAYED ในปี 1988 นั้น เราช็อคสุดๆ เพราะก่อนหน้านั้นเรานึกว่าปัญหาการเหยียดผิวมันหมดไปนานแล้ว แต่ BETRAYED มันนำเสนอภาพคนขาวในยุคปัจจุบันในสหรัฐที่ทำตัวเหมือนชาวบ้านปกติ แต่จริงๆแล้วคนกลุ่มนี้จับคนดำมาเล่นเกมล่าสังหาร พวกเขาปล่อยให้คนดำวิ่งหนีไปในทุ่ง แล้วพวกเขาก็คว้าปืนไรเฟิลหรือปืนยาวออกไล่ล่าคนดำคนนั้นในทุ่ง ก่อนจะยิงคนดำคนนั้นตาย

 

หลังจากเราได้ดูหนังเรื่อง BETRAYED เราก็ได้อ่านบทความที่ไปสัมภาษณ์พวก KKK ในสหรัฐ แล้วมันก็น่ากลัวมาก เพราะคนกลุ่มนี้ถือคติว่า We are nowhere, but we are everywhere (เราเข้าใจว่ามันหมายถึงอะไรในทำนองที่ว่า “พวกเราจะซ่อนตัว แต่พวกเราจะแทรกซึมอยู่ในทุกๆแห่ง ทุกๆองค์กร ทุกๆสถาบัน) คือคนกลุ่มนี้จะไม่แปะป้ายประกาศต่อสาธารณชนหรอกว่าตัวเองเป็น KKK แต่พวกเขาก็แอบก่อตั้งกลุ่มลับๆของตัวเอง ทำกิจกรรมลับๆของตัวเอง ทำเครือข่ายลับๆของตัวเอง คือถ้าหากเจ้าหน้าที่รัฐบาลเดินเข้าไปในเมืองนั้น เจ้าหน้าที่รัฐบาลก็จะไม่พบหรอกว่า มีชาวบ้านคนไหนประกาศว่าตัวเองเป็น KKK ซึ่งก็คือ “We are nowhere” แต่จริงๆแล้วทั้งในสถาบันผู้พิพากษา, ตำรวจ, ทหาร, บริษัทเอกชน, etc. ต่างก็มีสมาชิก KKK แทรกซึมอยู่ในนั้นหมดแล้ว เพียงแต่พวกเขาไม่ประกาศตัวออกมาเท่านั้นเอง และสิ่งนี้ก็คือ “We are everywhere.”

 

เพราะฉะนั้นความสยองขวัญในช่วงที่ 2 มันเลยหนักหนาสาหัสมากๆสำหรับเรา เพราะมันคือการที่เราเหมือน “อยู่ในที่แจ้ง” แต่ศัตรูของเราอยู่ในทีลับหมดเลยน่ะ คือศัตรูของเรามองว่าเราเป็นศัตรู เพราะเราผิวดำ เราเป็นชนกลุ่มน้อย คือพอศัตรูเห็นเรา ศัตรูก็รู้ได้ทันทีว่าเราคือฝ่ายตรงข้าม เพราะสีผิวของเรามันฟ้อง แต่เราไม่มีทางรู้ได้เลยว่า คนขาวคนไหนเป็นมิตรหรือศัตรูของเรา เราไม่สามารถบอกได้ว่าพนักงานร้านอาหารคนนั้นเป็น KKK หรือเปล่า เราไม่สามารถบอกได้ว่าพนักงานโรงแรมคนนั้นเป็น KKK หรือเปล่า เพราะการที่เขาเป็นคนขาว มันบอกไม่ได้หรอกว่าเขาเป็นมิตรหรือศัตรู

 

มันก็เลยเหมือนการใช้ชีวิตอยู่ในสนามรบ โดยที่เราเป็นฝ่ายเสียเปรียบตลอดเวลา เพราะศัตรูแยกแยะเราได้ในทันทีว่าเราคือฝ่ายตรงข้าม เพราะสีผิวของเรามันฟ้อง แต่เราไม่สามารถแยกแยะได้เลยว่าคนไหนเป็นมิตรหรือศัตรูของเราโดยมองจากแค่สีผิวของเขา ศัตรูของเรามัน everywhere และ nowhere ในเวลาเดียวกัน

 

4.การใช้ชีวิตอยู่ภายใต้แรงกดดันจากศัตรูที่ทั้ง everywhere และ nowhere นี้ ทำให้เรานึกถึงชีวิตตัวเองเหมือนกัน ซึ่งมันไม่เกี่ยวกับหนังโดยตรง แต่มันคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้เราชอบหนังเรื่องนี้อย่างสุดๆ เพราะความหวาดระแวงที่ว่า เราอาจจะถูกศัตรู “เหยียดหยาม” หรือ “ทำร้าย” นี่ มันคือสิ่งที่จำกัดควบคุมการแสดงออกของเรามานาน 30 กว่าปีแล้ว

 

คือดูหนังเรื่องนี้แล้วเรานึกถึงความกลัวของเราตั้งแต่เด็กที่ว่า เราจะถูกกลั่นแกล้งรังแกถ้าหากเราแสดงอาการตุ้งติ้งมากเกินไป และความกลัวของเราที่ว่า เราอาจจะถูกทำร้าย ถ้าหากเราแสดงความเห็นทางการเมืองของเราอย่างตรงไปตรงมาน่ะ

 

คือเราก็รู้ว่าตัวเองเป็นกะเทยตั้งแต่อยู่ประถมน่ะแหละ และเราก็มีอาการตุ้งติ้ง วี้ดว้ายกระตู้วู้ตั้งแต่เด็ก แต่พอขึ้นชั้นมัธยม เราก็โดน bully จากเพือนบางคนในชั้นเดียวกัน และจากรุ่นพี่ในโรงเรียนด้วย และที่สำคัญก็คือการโดน bullyจากพวกผู้ชายในซอย ที่เหมือนพวกมันมองเราแค่ปราดเดียว พวกมันก็รู้ว่าเราเป็นกะเทย และพูดด่าเราออกมา เราก็เลยเริ่มเรียนรู้ที่จะ “เก็บอาการ” ของตัวเอง โดยเฉพาะเวลาที่เราเดินไปในสถานที่ที่เราไม่คุ้นเคย เพราะเราไม่รู้หรอกว่าเวลาเราเดินไปในซอยต่างๆ พวกนักเลงในซอยนั้นมันจะหมั่นไส้เราเพราะเราเป็นกะเทยหรือเปล่า มันเหมือนกับว่า พอเราเดินเข้าไปในสถานที่นึง เราบอกไม่ได้หรอกว่า คนต่างๆในสถานที่นั้น คนไหนเป็นศัตรูของเรา (พวกเหยียดกะเทย) หรือคนไหนไม่ได้เป็นศัตรูของเรา (คนที่ไม่ได้เหยียดกะเทย) เพราะฉะนั้นเพื่อความอยู่รอดของเรา เราก็ควรเก็บอาการซะ ศัตรูของเราก็จะได้มองไม่ออกเช่นกันว่าเราเป็นศัตรูของเขาหรือเปล่า

 

แต่ก็โชคดีที่ตอนเรียนมหาลัยเราได้เรียนคณะอักษร เราก็เลยไม่ต้องเก็บอาการแต่อย่างใดเวลาอยู่ในมหาลัยของตัวเอง 555 และก็โชคดีที่ “เสียงด่ากะเทยลอยๆจากพวกผู้ชายข้างถนน” มันดูเหมือนจะลดลงเรื่อยๆเมื่อเราเติบโตขึ้น สิ่งนี้ก็ถือว่าเป็นพัฒนาการที่ดีของสังคมไทยนะคะ 555

 

ส่วนเรื่องการงดแสดงความเห็นทางการเมืองนั้น มันคือสิ่งทีเราทำทุกครั้งเวลาที่เราขึ้นรถ taxi 555 เพราะเวลาที่เราก้าวขึ้นไปในรถ taxi แต่ละคัน เราไม่รู้หรอกว่าคนขับ taxi คนไหนมีความเห็นทางการเมืองสอดคล้องกับเราหรือไม่ และถ้าหากเขาไม่เห็นด้วยกับเรา เขาจะอะไรยังไงกับเราหรือเปล่า เราก็เลยงดแสดงความเห็นทางการเมืองแทบทุกครั้งเพื่อความปลอดภัยของตัวเอง ยกเว้นแต่ในกรณีที่เจอ taxi driver ที่ประกาศตัวว่าเป็นเสื้อแดง 555

 

เราก็เลยชอบองก์สองของหนังมากๆ และชอบ “การปิดปากเงียบ การควบคุการแสดงออกของตนเอง” เพื่อความอยู่รอดของชีวิตของนางเอกในองก์ 1 และองก์ 3 ด้วย เพราะมันทำให้เรานึกถึงตัวเองในบางแง่มุม นึกถึงความเครียดในการใช้ชีวิตตั้งแต่เด็ก เพราะเราไม่รู้ว่าใครเป็นมิตรหรือศัตรู (คนที่เกลียดเกย์, คนที่ต้องการทำร้ายคนที่เห็นต่างทางการเมือง)

 

5.เราว่าองก์สามของหนังมันทำให้องก์สองของหนังสยองขึ้นมากๆด้วยแหละ เพราะองก์สามของหนังมันแสดงให้เห็นเลยว่า คนหลายคนที่รายล้อมรอบตัวเรา จริงๆแล้วคือคนที่ต้องการจับเราไปทรมาน ทั้งเด็กในลิฟท์, คนขับรถ grab, คนที่ทำเหมือนสนใจผลงานของเรา, พนักงานโรงแรม และแม้แต่ผู้ชายที่มาจีบเพื่อนของเรา องก์สามของหนังมันก็เลยช่วยตอกย้ำความน่าสะพรึงกลัวของการใช้ชีวิตอยู่ภายใต้สถานการณ์ที่ว่า “ศัตรูของเราแฝงอยู่ในทุกๆแห่ง แต่พวกเขาไม่ประกาศตัวออกมา”

 

6.ชอบการบอกใบ้ของหนังในองก์แรกด้วย เพราะในองก์แรกนั้น ถ้าหากเราจำไม่ผิด มันมีฉากที่เห็นคนงาน “เผาฝ้ายจำนวนมาก” ซึ่งเราก็สงสัยตั้งแต่ฉากนั้นแล้วว่า พวกมึงตั้งใจปลูกฝ้ายกันเป็นวรรคเป็นเวรไปทำไม ถ้าหากไม่ได้เอาฝ้ายไปขาย เหมือนพอเราเห็นฉากเผาฝ้าย เราก็เริ่มตะหงิดๆแล้วว่า ไร่นี้มีอะไรผิดปกติ แต่พอเข้าองก์สอง เราก็นึกแค่ว่า องก์แรกคือฝันร้ายของนางเอก

 

7.อันนี้ไม่รู้ว่าหนังตั้งใจหรือเปล่า แต่เราดูหนังเรื่องนี้แล้วนึกถึงการสังหารหมู่ชาวยิวและอินเดียนแดงด้วย เพราะ “ห้องเผาศพ” ในหนังเรื่องนี้ มันทำให้เรานึกถึงห้องรมแก๊สชาวยิวในสงครามโลกครั้งที่สองน่ะ และ “การโพสท่า” และ “การทำหน้าทำตาของนางเอกขณะขี่ม้า” ในช่วงท้ายขององก์สาม มันก็ทำให้นึกถึง “อินเดียนแดง” ซึ่งแน่นอนว่าทั้งคนดำ, ชาวยิว และอินเดียนแดง ต่างก็มี “ศัตรูร่วมกัน” ซึ่งก็คือ KKK และคนขาวที่เหยียดผิว

 

8.ประโยคเปิดของหนังก็ดีงามมาก เพราะมันเข้ากับประเด็น black lives matter ในปีนี้ และมันทำให้นึกถึงข่าวเรื่อง vandalism โบสถ์ของชาวยิวในสหรัฐหลายแห่งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาด้วย คือมาจนถึงปัจจุบันนี้แล้ว ทั้งชาวยิวและคนดำในสหรัฐก็ยังคงถูกทำร้ายเพราะชาติพันธุ์ของตนเองอยู่ดี

 

9.ชอบตัวละคร Dawn ของ Gabourey Sidibe มากๆ เพราะเธอเหมือนหลุดมาจากหนังเรื่อง MAGIC MIKE XXL (2015, Gregory Jacobs) เธอเป็นสาวผิวดำที่มีความมั่นใจและมีความ horny อย่างเต็มที่ และเธอช่วยสร้างสมดุลให้หนังดูไม่ส่งเสริมกุลสตรีมากเกินไป 555 เพราะเรารู้สึกว่านางเอกของหนังเรื่องนี้ดูรักลูกรักผัวมากๆ นางเอกดูมีความเป็นกุลสตรีหรือดูมีความเป็นผู้ดีบางอย่าง (เหมือนหลุดมาจาก WAITING TO EXHALE) การใส่ตัวละคร Dawn เข้ามาก็เลยช่วยให้เราไม่รู้สึกว่า หนังต้องการจะบอกว่า  “เธอต้องเป็นผู้หญิง “ดีๆ” นะ เธอถึงจะรอดชีวิตได้ในตอนจบ”