Wednesday, April 26, 2017

GARÇON! (WAITER!) (1983, Claude Sautet, France, A+30)

GARÇON! (WAITER!) (1983, Claude Sautet, France, A+30)

1.เรารัก Claude Sautet จริงๆ อันนี้เป็นหนังเรื่องที่ 5 ของเขาที่เราได้ดู ต่อจาก THE THINGS OF LIFE (1970), MAX AND THE JUNKMEN (1971), CÉSAR AND ROSALIE (1972) และ VINCENT, FRANÇOIS, PAUL AND THE OTHERS (1974) และเรารักหนังของเขาทุกเรื่องมากๆ นอกจาก MAX AND THE JUNKMEN ที่เราเฉยๆ ซึ่งอาจจะเป็นเพราะว่าเราดู MAX AND THE JUNKMEN เมื่อ 20 ปีก่อน ซึ่งอาจจะเป็นเวลาที่เร็วเกินไปสำหรับเราในการที่จะเข้าใจถึงคุณค่าที่แท้จริงของหนังเรื่องนั้น

คือพอดู THE THINGS OF LIFE, CÉSAR AND ROSALIE, VINCENT FRANÇOIS PAUL AND THE OTHERS กับ WAITER! แล้ว เราก็รู้สึกว่า หนังของเขาทุกเรื่องมันไม่มีอะไรใหม่ในเชิงเนื้อหาเลยนะ หนังทั้ง 4 เรื่องนี้มันเป็นเรื่องของการคบชู้สู่ชาย, พบรัก, แหนงหน่าย, ไม่เข้าใจ, จะเลือกใครดี, เลิกรัก, พบรักใหม่ วนๆเวียนๆกันไป มันเป็นชีวิตรักของ คนธรรมดาในแง่นึงน่ะ คือในเชิง เนื้อหาแล้ว มันอาจจะเรียกได้ว่าไม่มีความคิดสร้างสรรค์อะไรเลย แต่สิ่งที่มันสุดยอดมากๆก็คือว่า Claude Sautet สามารถถ่ายทอดชีวิตรักของคนธรรมดาเหล่านี้ออกมาได้ในแบบที่ซาบซึ้งกินใจเราสุดๆในทุกๆเรื่อง แต่ไม่ใช่ซาบซึ้งกินใจในแง่ทีว่า โอ้ ความรักช่างเป็นอะไรที่ทรงพลัง ช่างเป็นอะไรที่ยิ่งใหญ่ ช่างเป็นอะไรที่งดงามนะ แต่มันซาบซึ้งกินใจในแง่ที่ว่า ความรักมันช่างงดงาม แต่อย่าไปยึดติดกับมันมากเกินไปน่ะ 

คือเราไม่แน่ใจว่าทัศนคติขอClaude Sautet จริงๆแล้วมันเป็นยังไงนะ แต่พอดูหนังของเขาแล้ว เรารู้สึกเหมือนกับว่าทัศนคติของหนังหรือทัศนคติของเขามันอาจจะเข้าทางเราน่ะ เพราะตัวละครทั้งชายหญิงในหนังของเขา มีชู้กันเป็นเรื่องธรรมดา ความหลายใจเป็นเรื่องธรรมดา เพราะไม่มีใครเป็นเจ้าของใครอย่างแท้จริง คือถ้าเปรียบเทียบง่ายๆก็เหมือนกับว่า ตัวละครผู้ชาย A มีเมียชื่อ B และมีเมียน้อยชื่อ C แต่หญิง B ก็มีชู้กับผู้ชาย D และหญิง C ก็มีชู้กับผู้ชาย E ด้วย และมันเป็นเรื่องปกติ ผู้ชายแต่ละคนในหนังมีผู้หญิงมากกว่าหนึ่งคนให้เลือกหรือทำให้รู้สึกไขว้เขว และผู้หญิงแต่ละคนในหนังก็มีตัวเลือกผู้ชายให้เลือกหลายคนเช่นเดียวกัน 

คือเราชอบ ความไม่ยึดติดกับคู่รักมากเกินไปในหนังของเขาน่ะ คือแทนที่ตัวละครในหนังของเขาจะหึงหวงและผูกมัดคนรักไว้กับตัวเองเพียงคนเดียวไปจนวันตาย เหมือนกับว่าคู่รักเป็นสมบัติของเราเพียงคนเดียว ตัวละครในหนังของเขากลับพบว่า ความสุขที่แท้จริงคือการยอมรับความจริงที่ว่า คู่รักของเราไม่ใช่สมบัติของเรา เขาผ่านเข้ามา ร่วมสุขกับเราเพียงชั่วคราวเท่านั้น แล้วสักวันเขาก็อาจจะจากเราไป แล้วเราก็หาผัวใหม่สิ หรือไม่เราก็มีผัวสำรองอีกสัก 2 คนไปด้วยในเวลาเดียวกัน เพราะพอผัวเราทิ้งเราไปหาหญิงใหม่ เราก็มีผัวสำรองหรือคนรักสำรองอยู่แล้ว

คือเราว่าทัศนคติอะไรแบบนี้มันเข้าทางเรามากๆ และมันทำให้เราอินสุดๆกับหนังรักโรแมนติกของ Claude Sautet ในขณะที่เราจะไม่อินกับนางเอกของหนังอย่าง 45 YEARS (2015, Andrew Haigh) และ I AM NOT MADAME BOVARY (2016, Feng Xiaogang, A+30) เพราะเรารู้สึกว่า ถ้าหากเราเป็นนางเอกของ 45 YEARS เราจะไม่ค่อยแคร์อะไรกับการที่ผัวเราชอบหญิงอื่นมากกว่าเรา และถ้าหากเราเป็นนางเอกของ I AM NOT MADAME BOVARY เราก็คงจะหาผัวใหม่ในทันทีตั้งแต่แรก เพราะเรารู้สึกว่า ถึงผัวเก่าเขาจะหลอกเรา แต่ถ้าหากเขาไม่ได้รักเราแล้ว เราก็จะไปยึดติดกับเขาทำไม เขามีเมียใหม่ เราก็หาผัวใหม่ จบ แต่อันนี้เราไม่ได้ว่าหนังสองเรื่องนี้ไม่ดีนะ อันนี้คือแค่จะบอกว่า เราไม่อินกับตัวละครนางเอกของหนังสองเรื่องนี้ แต่เราจะอินกับตัวละครในหนังของ Claude Sautet มากๆ เพราะมันนำเสนอทั้ง ความงดงาม หอมหวาน สดชื่น รื่นรมย์ของความรัก”, “ความชั่วคราว ประเดี๋ยวประด๋าวของความรักและ ความปล่อยวางจากความรักได้อย่างทรงพลังสุดๆ ซึ่งมันเข้าทางเราหรือสอดคล้องกับทัศนคติของเรามากกว่า

2.อีกจุดที่ชอบมากใน WAITER! และในหนังบางเรื่องของ Claude Sautet ก็คือว่า มันคือจุดสุดยอดของแนวคิดที่ว่า ตัวละครมีชีวิตมาก่อนหนังเริ่มจริงๆน่ะ ซึ่งส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะว่า Claude Sautet มักจะทำหนังรักเกี่ยวกับ ตัวละครวัยกลางคนเพราะฉะนั้นพอหนังเริ่มเรื่องปุ๊บ ช่วงแรกๆเราจะรู้สึกเหมือนกับว่า เอ๊ะ นี่มันเป็นภาคสองของหนังเรื่องอื่นหรือเปล่าคือตัวละครทั้งพระเอก, นางเอก, ตัวประกอบยิบย่อยแต่ละตัว นี่มันมีชีวิตที่ซับซ้อนและผ่านอะไรมาเยอะมากก่อนที่วินาทีแรกของหนังจะเริ่มต้นขึ้นทั้งนั้นเลย คือพอหนังเล่าเรื่องไปเรื่อยๆ เราจะค่อยๆได้รับรู้อดีตของตัวละครแต่ละตัวผ่านทางบทสนทนาของตัวละคร แล้วเราจะรู้สึกว่าทุกตัวแม่งมีอดีตที่ซับซ้อนมาก ทั้งความรัก, หน้าที่การงาน, นิสัยส่วนตัว คือทุกตัวประกอบที่โผล่มาประมาณ 5-10 นาทีในหนังเรื่องนี้นี่มันสามารถ spin off แยกไปสร้างหนัง prequel เกี่ยวกับชีวิตตัวเองได้หมดเลย 

3.ฉากที่ชอบที่สุดในหนังเรื่องนี้คือฉากที่ Nicole Garcia ยืนมองพระเอกโดยมีทะเลเป็นแบคกราวด์น่ะ คือบอกไม่ถูกว่าทำไมฉากนี้ถึงงดงามสุดๆ ทรงพลังสุดๆสำหรับเรา มันเหมือนกับว่าฉากนี้มันบรรจุ โมงยามที่งดงามที่สุดของความรักเอาไว้ และวิธีการถ่ายทอดฉากนั้น+ดนตรีประกอบ มันเหมือนกับทำให้เรารู้สึกว่า ชีวิตมนุษย์มันก็แค่นี้แหละ บางทีเราก็จะได้เจอคนที่เรารัก ได้ใช้เวลาแห่งความสุขสุดยอดกับคนที่เรารัก แต่ทุกอย่างไม่จีรังยั่งยืน นี่คือช่วงนาทีที่งดงามสุดๆ แต่ในที่สุดมันก็จะผ่านไป คนรักอาจจะทิ้งเราไปในวันใดวันหนึ่ง แต่มันเป็นเรื่องธรรมดามากๆของชีวิต and life goes on”

I AM NOT MADAME BOVARY (2016, Feng Xiaogang, China, A+30)

I AM NOT MADAME BOVARY (2016, Feng Xiaogang, China, A+30)

กูเกลืยดตัวละครนางเอกหนังเรื่องนี้มากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก 5555 เพราะฉะนั้นเราไม่ขอเขียนถึงองค์ประกอบอื่นๆที่ดีงามในหนังเรื่องนี้นะ เพราะหลายคนเขียนถึงไปแล้ว ทั้งเฟรมภาพที่แปลกตา, การจัดองค์ประกอบภาพที่งดงามสุดๆ, ดนตรีประกอบที่ unique, การสร้างระยะห่างระหว่างตัวละครกับผู้ชม และเนื้อเรื่องที่นำระบบราชการมานำเสนอได้อย่างสนุกสนาน คือคนอื่นๆเขียนถึงอะไรพวกนี้ได้ดีกว่าเรามาก และก็เขียนถึงไปกันหมดแล้ว เพราะฉะนั้นเราขอเขียนระบายความเกลียดชังที่เรามีต่อตัวละครนางเอกหนังเรื่องนี้ก็แล้วกัน เพราะเราสงสัยว่ามีเราคนเดียวหรือเปล่าที่เกลียดชังตัวละครนางเอกหนังเรื่องนี้อย่างรุนแรง บางทีอาจจะมีเราคนเดียวก็ได้ที่เป็น “นางมารร้าย” ที่เกลียดชังน้ำหน้าอีนางเอกประเภทนี้

1.คือจุดที่ทำให้เราชอบหนังเรื่องนี้มากๆ เพราะเรารู้สึกว่าตัวละครมันเทาทั้งสองฝ่ายน่ะ ทั้งนางเอกและข้าราชการในระดับต่างๆ และมันก็เลยแตกต่างจากหนังแนว Kafkaesque โดยทั่วๆไป เพราะหนังแนว Kafkaesque โดยทั่วๆไปนั้น เราเข้าใจว่าตัวละครเอกมักจะค่อนข้างมีสถานะเป็น “ผู้บริสุทธิ์” นะ คือเป็นคนที่ต้องพบกับความยุ่งยากของระบบราชการโดยไม่จำเป็น คือตัวละครเอกจะ “ขาว” และตัวละครในระบบราชการ จะ “ดำ”  แต่ในหนังเรื่องนี้นั้น เรารู้สึกเกลียดนางเอกตั้งแต่ฉากแรกๆ และตัวละครข้าราชการหลายๆคนก็เทาๆด้วย มันก็เลยเทาๆทั้งสองฝ่าย พูดไปแล้วก็นึกถึงหนังประเภท DON’T BREATHE (2016, Fede Alvarez) และ FROM A HOUSE ON WILLOW STREET (2016, Alastair Orr, A-) ที่ตัวละครมันเทาทั้งสองฝ่ายเหมือนกัน และคนดูไม่รู้จะเข้าข้างฝ่ายไหนดี เพียงแต่ว่าสถานการณ์ใน I AM NOT MADAME BOVARY มันน่าสนใจกว่า เพราะตัวละครที่ดูเหมือนเป็นเหยื่อผู้ไม่ได้รับความยุติธรรมในหนังเรื่องนี้ จริงๆแล้วเรารู้สึกว่าเป็นตัวละครที่สมควรโดนตบไม่แพ้ตัวละครตัวอื่นๆ

2.หลายๆคนเปรียบเทียบหนังเรื่องนี้กับ THE STORY OF QIU JU (1992, Zhang Yimou, A+30) ซึ่งมันก็น่าเปรียบเทียบจริงๆ เพราะเราชอบความแตกต่างกันระหว่างหนังสองเรื่องนี้ คือเราดู THE STORY OF QIU JU ทางช่อง 7 เมื่อ 20 กว่าปีก่อน เราลืมรายละเอียดไปหมดแล้ว แต่จำได้ว่าตอนดูเราจะอินกับตัว Qiu Ju มากกว่า Li Xuelian ซึ่งเป็นนางเอกของ I AM NOT MADAME BOVARY หลายเท่าน่ะ คือเหมือนกับเราเข้าใจความโกรธแค้นในใจ Qiu Ju และเราสามารถ sympathize กับ Qiu Ju ได้ในระดับนึง ซึ่งตรงข้ามกับตัวละคร Li Xuelian ที่เรารู้สึกเป็นปฏิปักษ์ด้วยมากๆ

เราว่าสไตล์การถ่ายทำก็มีส่วนด้วยนะ คือ THE STORY OF QIU JU มันถ่ายทำคล้ายสารคดี คนดูก็เลยยิ่งอินได้ง่ายกว่า ส่วน I AM NOT MADAME BOVARY นี่ แค่เฟรมภาพมันก็เป็นการเตือนผู้ชมตลอดเวลาแล้วว่า เรากำลังดู fiction อยู่ เราก็เลยไม่แน่ใจว่าการที่เราเกลียด Li Xuelian นี่ เป็นเพราะเราเลวเอง หรือเป็นเพราะตัวผู้กำกับก็ตั้งใจให้คนดูวิพากษ์ตัวละครนางเอกอยู่แล้ว

แต่ความแตกต่างกันระหว่างหนังสองเรื่องนี้มันดี เพราะมันแสดงให้เห็นว่า I AM NOT MADAME BOVARY ไม่ได้ทำซ้ำในสิ่งที่คนเคยทำมาแล้ว และถึงแม้เราจะเกลียด Li Xuelian มากๆ แต่มันก็ถือว่าดีในแง่ภาพยนตร์ เพราะการสร้างภาพยนตร์ที่ตัว protagonist เทาๆปะทะกับตัวละครผู้ร้ายเทาๆ มันยากกว่าการสร้างภาพยนตร์ที่ตัวละครขาวๆปะทะกับตัวละครดำๆน่ะ

3.แล้วทำไมเราถึงเกลียด Li Xuelian (Fan Bingbing) มากๆ คือเรารู้สึกว่าเธอไปสร้างความชิบหายให้แก่ผู้พิพากษาคนแรกกับหัวหน้าผู้พิพากษาโดยไม่จำเป็นน่ะ คืออันนี้เราก็ไม่แน่ใจเหมือนกันนะว่าเราเข้าใจอะไรผิดหรือเปล่า แต่ถ้าเราเข้าใจอะไรผิด ก็บอกเรามาได้นะ เพราะเราเองก็ไม่มีความรู้เรื่องกฎหมายอะไรเลย

คือเราเข้าใจว่า ผู้พิพากษาคนแรก ตัดสินถูกต้องแล้วที่ให้การหย่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องตามกฎหมายน่ะ ก็นางเอกเซ็นใบหย่านั้นเอง ไม่มีใครปลอมลายเซ็นเธอ ไม่มีใครเอาปืนจ่อหัวเธอให้เธอเซ็น และเธอก็ไม่มี “หลักฐานทางกฎหมาย” ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเธอถูกสามีหลอก เธอมีเพียงแค่คำพูดของตนเองเท่านั้น แล้วผู้พิพากษาจะตัดสินเข้าข้างเธอได้ยังไง ผู้พิพากษาจะรู้ได้ยังไงว่าอีนี่พูดจริงหรือตอแหลอะไรขึ้นมาสดๆ เพราะฉะนั้นไม่ว่าเรื่องจริงจะเป็นยังไง แต่ถ้าดูตามหลักฐานทางกฎหมายแล้ว เราก็รู้สึกว่าผู้พิพากษาตัดสินถูกต้องแล้ว อีนางเอกเองนี่แหละที่เซ็นใบหย่าเองด้วย “เจตนาที่ไม่บริสุทธิ์” คือมึงน่ะแหละ “หลอกรัฐ” เอง ด้วยการเซ็นใบหย่านั้น แล้วรัฐหรือข้าราชการของรัฐจะต้องมามีหน้าที่ตัดสินเข้าข้างมึงทำไม ในเมื่อมึงเองนั่นแหละที่เป็นฝ่ายหลอกรัฐตั้งแต่แรก

คือเรามองเหมือนกับว่า นางเอกเซ็นใบหย่าเพราะสามีบอกปากเปล่าโดยไม่ได้ทำสัญญาใดๆเป็นลายลักษณ์อักษรว่า ถ้าคุณเซ็น ผมจะให้วัตถุ A กับคุณ แล้วนางเอกก็โง่ เซ็นเอง ถูกหลอกเอง แล้วพอสามีไม่ให้วัตถุ A ตามที่สัญญาไว้ นางเอกจะต้องไปลากรัฐเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยทำไม ในเมื่อมึงโง่เอง มันเป็นเรื่องระหว่างมึงกับสามีมึงเอง ทำไมมึงต้องไปทำให้คนอื่นๆเดือดร้อนเพราะความโง่ของมึงเองด้วย ทำไมมึงต้องไปบังคับให้คนอื่นๆมาตัดสินเข้าข้างมึงด้วย ไหนล่ะหลักฐานทางกฎหมายที่จะยืนยันได้ว่ามึงไม่ได้ตอแหล แต่สามีเป็นฝ่ายตอแหล ถ้ามึงไม่มีหลักฐาน มึงก็ไม่ต้องไปลากกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้อง มึงก็ไปแก้แค้นอะไรกับสามีมึงเองสิ

แล้วพอเรามองว่าผู้พิพากษาคนแรกตัดสินถูกต้องตามความเห็นของเราแล้ว เราก็เลยมองว่าหัวหน้าผู้พิพากษาก็ไม่ได้ทำอะไรผิดด้วย ที่เขาบอกให้นางเอกยื่นเรื่องอุทธรณ์ตามกฎหมาย ก็ผู้พิพากษาคนแรกไม่ได้ตัดสินอะไรผิดนี่ ไม่มีหลักฐานอะไรทั้งสิ้นว่าเขารับสินบน หรือลำเอียง เขาก็ตัดสินไปตามใบหย่าที่นางเอกเซ็นเองด้วยความเต็มใจ แต่เป็นการเซ็นด้วยเจตนาที่ไม่บริสุทธิ์ ซึ่งการเซ็นด้วยเจตนาที่ไม่บริสุทธิ์นี่มันก็ไม่ใช่สิ่งที่จะพิสูจน์ยืนยันได้ และมันก็ไม่น่าจะเป็นสาเหตุให้ใบหย่าเป็นโมฆะได้

เพราะฉะนั้นพอนางเอกพยายามจะแก้แค้นผู้พิพากษาคนแรกกับหัวหน้าผู้พิพากษา เราก็เลยรู้สึกเกลียดชังนางเอกอย่างรุนแรงในทันที เพราะเรารู้สึกว่า ถ้าหากเราตกอยู่ในสถานะเดียวกับผู้พิพากษาคนแรกหรือหัวหน้าผู้พิพากษา เราก็คงจะทำแบบเดียวกัน คือกูจะไปตัดสินเข้าข้างอีนางเอกได้ยังไง มันมี legal basis หรือหลักฐานทางกฎหมายอะไรยังไงเหรอที่จะทำให้กูไปตัดสินเข้าข้างมึงได้

แต่หลังจากนั้นตัวละครข้าราชการคนอื่นๆก็จะออกมาเทาๆนะ อย่างนายอำเภอที่หลอกนางเอกว่าตัวเองไม่ใช่นายอำเภอ, นายกเทศมนตรีที่บอกให้เอานางเอกไปให้พ้นหูพ้นตา และข้าราชการคนอื่นๆที่พยายามสกัดกั้นนางเอกจากการยื่นเรื่องร้องเรียน คือตัวละครข้าราชการเหล่านี้ก็ทำไม่ถูกต้องน่ะแหละ แต่เราก็สงสัยว่า ถึงพวกเขาจะเป็นข้าราชการที่มีจิตใจดีงาม แล้วพวกเขาจะช่วยนางเอกได้ยังไง มันมี legal basis อะไรที่สามารถช่วยนางเอกได้

แม้แต่ตัว big boss ก็เทาๆสำหรับเราเหมือนกัน คือเราเข้าใจว่าคำสั่งของเขาทำให้ผู้พิพากษาคนแรกกับหัวหน้าผู้พิพากษาต้องเด้งจากตำแหน่งน่ะ (ถ้าหากเราเข้าใจไม่ผิดนะ) แต่สองคนนี้ไม่ได้ทำอะไรผิดในความเห็นของเรา เพราะฉะนั้นคำสั่งของ big boss จึงไม่ชอบธรรมในความเห็นของเรา

แล้วถึงแม้นางเอกจะอ้างเหตุผลเรื่องนโยบาย...ในช่วงท้ายเรื่อง ว่าเป็นสาเหตุที่แท้จริง การกระทำของนางเอกมันก็ไม่ชอบธรรมอยู่ดี คือถ้ามึงมีปัญหากับนโยบายนี้ มึงก็ไม่ควรไปสร้างความเดือดร้อนให้ข้าราชการหรือผู้พิพากษาที่ไม่ได้เป็นคนออกนโยบายนี้สิ ถ้ามึงต่อต้านนโยบายนี้ มึงก็ต่อต้านนโยบายนี้ไปสิ หรือแก้แค้นกับสามีมึงสิ ไม่ใช่มาสร้างความเดือดร้อนให้คนที่ไม่ได้ออกนโยบายนี้

4.อีกสาเหตุที่ทำให้เราเกลียด Li Xuelian คือภาพลักษณ์ของตัวละครนี้น่ะ คือมึงทำภาพลักษณ์เป็น “เหยื่อผู้น่าเวทนา” เป็น “หญิงสาวที่ไม่ได้รับความยุติธรรม” คือภาพลักษณ์เป็นนางเอกผู้น่าเห็นใจน่ะ แต่สิ่งที่มึงทำนี่กูรับไม่ได้จริงๆ คือมึงน่ะเป็นฝ่าย “หลอกรัฐ” เอง แล้วรัฐจะมาช่วยมึงด้วยหลักกฎหมายอะไร


สรุปว่า ถ้าใครเกลียด Li Xuelian ก็บอกเราด้วยนะคะ เราจะได้รู้ว่า เราไม่ได้เป็นนางมารร้ายอยู่คนเดียว 555 

Sunday, April 23, 2017

GAHOLMAHORATUEG (2014, Prapt, novel, A+30)

กาหลมหรทึก (2014, ปราปต์, นิยาย, A+30)
♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥
♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥
♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥

1.สนุกมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ลุ้นระทึก ตื่นเต้นดีจริงๆ (คล้ายๆกับการดูหนัง thriller/murder mystery) นี่เมื่อคืนเรากะจะเข้านอนตอนเที่ยงคืน แต่พอดีอ่านมาถึง 3 ใน 4 ของเล่มแล้ว และมันกำลังลุ้นมากๆ เราก็เลยต้องอ่านต่อให้จบไปเลย ก็เลยเข้านอนตอน 01.30 น.แทน 

แต่เราไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญนิยายแนวนี้นะ หรือจริงๆแล้วเราไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านวรรณกรรมอะไรด้วย ก็เลยไม่สามารถเปรียบเทียบอะไรได้ แต่เราว่ามัน สนุกกว่าการอ่านนิยายของอกาธา คริสตี้ กับนิยายชุด Sherlock Holmes น่ะ ไม่ใช่ว่ามัน ดีกว่านะ แต่เหมือนนิยายเรื่องนี้มี การเร้าอารมณ์ลุ้นในแบบที่คล้ายๆกับหนัง thriller ยุคปัจจุบันน่ะ และการเร้าอารมณ์ลุ้นนี้มันก็เลยทำให้เราสนุกกับมันในแบบที่อยากอ่านต่อไปเรื่อยๆให้จบไปเลย ในขณะที่นิยายของอกาธา คริสตี้กับ Sherlock Holmes มันจะมี pacing อีกแบบนึง ซึ่งเราก็ไม่แน่ใจในส่วนนี้เหมือนกัน เพราะเราก็ไม่ได้อ่านนิยายของสองคนนี้มานานราว 20 ปีแล้ว แต่เหมือน pacing ของอกาธา คริสตี้มันจะไม่ลุ้นระทึกมากเท่านี้ มันจะ สุขุมกว่า ถ้าหากเราจำไม่ผิด

2.เราว่าการสร้างความลุ้นระทึกในนิยายเรื่องนี้มันทำให้นึกถึง การตัดต่อหรือ การตัดสลับฉากในหนังยุคปัจจุบันนะ คือเราว่าผู้นำนิยายเรื่องนี้ไปดัดแปลงสร้างเป็นหนังหรือละครทีวีจะดัดแปลงได้ง่ายในส่วนนึง เพราะนิยายมันมีการตัดต่อฉากแบบหนังไว้ให้แล้วในหลายๆจุด 

คือการตัดสลับฉากในนิยายเรื่องนี้ในหลายครั้งมันช่วยสร้างความลุ้นระทึกได้ดีมากน่ะ คือการตัดฉากแต่ละครั้งบางทีมันเป็นการตัดสลับระหว่างเหตุการณ์ของตัวละครในต่างสถานที่กัน หรือเป็นการตัดต่อจากช่วงเวลานึงไปยังอีกช่วงนึงของวัน แต่มันมักจะตัดต่อในจังหวะที่สร้างความลุ้นมากๆ คือพอเนื้อเรื่องในฉากกำลังดำเนินไปถึงจุดที่ตึงเครียดนิยายก็จะหันไปเล่าเรื่องของตัวละครอีกกลุ่มในอีกต่างสถานที่แทน ยกตัวอย่างง่ายๆก็คือว่า พอตัวละคร A เผชิญกับปัญหา B ที่ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆจนถึงจุดนึง นิยายก็จะตัดไปเล่าเรื่องของตัวละคร C ในอีกสถานที่นึง เราคนอ่านก็เลยเหมือนถูกกระตุ้นให้ต้องรีบอ่านเรื่องขอB ต่อไปเรื่อยๆให้จบฉากนั้นโดยเร็ว เพื่อที่จะได้รู้ว่าชะตากรรมของ A เป็นอย่างไร เมื่อนิยายกลับมาเล่าเรื่องของ A อีกครั้งในฉากต่อๆมา

เราว่าการตัดต่อฉากแบบนี้เป็นอะไรที่นิยายเรื่องนี้ทำได้ดีสุดๆ คือคนเขียนต้องรู้วิธี build สถานการณ์ในแต่ละฉากให้ตึงเครียดขึ้นเรื่อยๆ และต้องรู้ว่าต้องตัดจบฉากนั้นตรงไหน ถึงจะทำให้ผู้อ่านรู้สึกลุ้นมากๆ และอยากอ่านต่อไปจนหยุดไม่ได้ และผู้เขียนต้องรู้วิธีแยกสถานการณ์ของแต่ละตัวละครให้ดำเนินเคียงคู่กันไปด้วย คือมันต้องมีสถานการณ์ตึงเครียด 2-3 สถานการณ์ดำเนินเคียงคู่กันไป ผู้เขียนถึงสามารถตัดสลับฉากระหว่างสถานการณ์เหล่านี้ได้ และต้องรู้วิธีสร้าง ความคล้องจองระหว่างอารมณ์ตึงเครียดของแต่ละสถานการณ์ parallel เหล่านี้ด้วย อารมณ์ที่เกิดขึ้นเวลาตัดสลับฉากต่างๆมันจะได้สอดประสานกันได้อย่างงดงาม 

การตัดต่อระหว่างสถานการณ์ตึงเครียดแบบนี้ทำให้นึกถึงโครงสร้างของละครทีวีซีรีส์ของฝรั่งด้วยนะ คือในละครทีวีซีรีส์ของฝรั่งประเภทสืบสวนสอบสวนนั้น ในแต่ละตอนตัวละครที่มักจะเป็นตำรวจมักจะเผชิญกับคดีสองคดีในเวลาเดียวกัน และละครตอนนั้นก็จะตัดสลับไปมาระหว่างการสืบสวนสองคดีนั้น แต่มันแตกต่างกันตรงที่ว่าเวลาดูละครซีรีส์มันจะไม่ลุ้นมากเท่ากับตอนอ่านนิยายเรื่องนี้น่ะ เพราะละครซีรีส์ประเภทสืบสองคดีให้จบในหนึ่งชั่วโมงมันไม่มีเวลาสร้างสถานการณ์ลุ้นระทึกต่อเนื่องได้อย่างสุดขีดแบบในนิยายเรื่องนี้ คือมันต้องเสียเวลาปูพื้น, สร้างผู้ต้องสงสัยหลายๆคน, เหยาะเบาะแส, ใส่ชีวิตส่วนตัวของตำรวจเข้ามานิดนึง และค่อยทวีความตึงเครียดของสถานการณ์ขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเวลาหนึ่งชั่วโมงในซีรีส์แต่ละตอนมันไม่เอื้อให้ทำอะไรได้มากนัก เหมือนสร้างความตึงเครียดไปได้ 10 หน่วย ละครก็ต้องรีบคลี่คลายสถานการณ์ให้จบภายในหนึ่งชั่วโมงแล้ว แต่พอเป็นนิยายมันก็เลยมีโอกาสทำอะไรได้มากกว่าเยอะ มันสะสมปม, เบาะแส, เงื่อนงำ, ผู้ต้องสงสัย, เหยื่อฆาตกรรมไปได้เรื่อยๆ เหมือนมันทำให้สถานการณ์ทวีความตึงเครียดไปได้ 169 หน่วยแล้วถึงค่อยคลี่คลาย แทนที่จะตึงเครียดแค่ 10 หน่วยแล้วก็ต้องรีบคลี่คลายแบบในทีวีซีรีส์

SPOILERS ALERT
--
--
--
--
--
3.นิยายเรื่องนี้มันตอบสนอง fantasy ของเราอย่างมากๆ คือเราคิดมานานหลายปีแล้วว่

3.1 อยากให้มีคนแต่งนิยายแบบ Dan Brown, หรือแบบนิยายเรื่อง FLICKER (1991, Theodore Roszak) หรืออย่างละครทีวีเรื่อง THE AVIGNON PROPHECY (2007, David Delrieux) ที่เน้นการสืบปริศนาฆาตกรรมที่เกี่ยวพันกับอะไรโบราณๆ เพียงแต่เปลี่ยนฉากหลังมาเป็นไทย โดยเฉพาะวัดวาอาราม โบราณวัตถุของไทย

3.2 อยากให้มีความจิ้นวายในนิยายที่ไม่ใช่แนวโรแมนติก/อีโรติก ซึ่งตัวละครตำรวจหนุ่มสองคน กบี่กับแชนในเรื่องนี้ ทำหน้าที่นี้ได้ดีมากๆ 

3.3 ตัวละครฆาตกรในเรื่องนี้ ก็เป็นตัวละครที่เข้าทางเรามากในระดับนึง

4.ชอบการใช้กลบท, โคลงกลอน และลักษณะบางอย่างของภาษาไทยในนิยายเรื่องนี้มากๆ คือมันเป็นการใช้กลบทและโคลงกลอน ไม่ใช่เพื่อการเชิดชูความเป็นไทยโดยตรง แต่เพื่อนำมันมาใช้ตีความปริศนาฆาตกรรมน่ะ และเราว่ามันเป็นอะไรที่เข้าท่าสำหรับเรามากๆ คือโคลงกลอนโดยทั่วๆไปมันเป็นสิ่งที่ต้องควบคู่กับการตีความอยู่แล้ว แต่ส่วนใหญ่จะเป็นเพียงแค่การตีความว่า กวีต้องการจะสื่อถึงอะไร เพราะฉะนั้นพอนิยายเรื่องนี้นำโคลงกลอนมารวมเข้ากับปริศนาฆาตกรรม มันก็เลยเป็นการตีความที่สนุกมาก 

เราเองก็เป็นคนที่ชื่นชม กลบทมากๆด้วย เราว่ามันเป็นอะไรที่แต่งยากสุดๆ และเป็นการผสมผสานระหว่าง ความสามารถทางภาษากับ การเล่นเกมเข้าด้วยกัน ในแง่นึง เราว่าความพยายามจะอ่านกลบทแบบซ่อนรูปคำประพันธ์ หรือ กลแบบนั้น มันคล้ายกับการทำแบบทดสอบไอคิวเลย คือกูไม่รู้จะเชื่อมโยงมันยังไง หรืออ่านมันยังไง เวลาเราเจอกับ กลแบบแล้วเราหาวิธีเชื่อมโยงคำในกลแบบเข้าด้วยกันไม่ได้ มันคล้ายๆกับความรู้สึกตอนทำแบบทดสอบไอคิวจนถึงหน้าที่เราเริ่มตอบไม่ได้อีกต่อไป 555

ในแง่นึง เรารู้สึกว่าเราอยากให้นิยายเรื่องนี้กลายเป็น หนังสืออ่านนอกเวลาสำหรับเด็กม.3 เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เด็กหลายๆคนรู้สึกอยากเรียนภาษาไทยมากขึ้นเมื่อถึงเวลาต้องเลือกวิชาเรียนเองในชั้นมัธยมปลาย 555

สรุปว่า การใช้ กลบทในนิยายเรื่องนี้ถือเป็นหนึ่งในสิ่งที่เราชอบมากที่สุดในนิยายเรื่องนี้จ้ะและถือเป็นสิ่งที่เราไม่เคยพบเคยเจอมาก่อนเลยด้วย

5.เรายอมรับว่า เราเดาฆาตกรไม่ถูกนะ อ่านแล้วนึกถึง THE MURDER OF ROGER ACKROYD (1926, Agatha Christie) ที่ทำให้เราอ้าปากค้างตอนเฉลยตัวฆาตกรเหมือนกัน

6.เราว่านิยายเรื่องนี้ ไม่ตายตอนจบด้วย คือนิยายแนวปริศนาฆาตกรรมส่วนใหญ่ พอเฉลยตัวฆาตกรแล้ว เนื้อเรื่องคลี่คลายแล้ว มันจะไม่เหลืออะไรค้างคาใจอีกต่อไปน่ะ มันเหมือนน้ำอัดลมที่ถูกเขย่าอย่างแรง แล้วพอเปิดขวด มันก็มีฟองฟู่ๆออกมาเยอะมาก ก่อนจะหายไปจนหมด ความรู้สึกเวลาที่เราดูหนังแนวปริศนาฆาตกรรมหรืออ่านนิยายแนวปริศนาฆาตกรรมบางเรื่อง โดยเฉพาะนิยายของ Mary Higgins Clark มันจะออกมาแบบนั้น ความสนุกของมันเหมือนฟองฟู่ๆของน้ำอัดลมที่จะสลายไปเมื่อเนื้อเรื่องจบลง

แต่ช่วงลงเอยของนิยายเรื่องนี้ ทิ้ง ความค้างคาใจ ไม่ happy ending” ไว้ได้ดีมากน่ะ คือถ้านิยายของ Mary Higgins Clark และ Dan Brown เป็นน้ำอัดลม นิยายเรื่องนี้ก็เป็น น้ำกรดน่ะ มันกัดเซาะและทิ้งร่องรอยบาดแผลไว้มากกว่านิยายปริศนาฆาตกรรมหลายเรื่อง

7.ดีใจที่นิยายเรื่องนี้จะได้รับการนำมาสร้างเป็นละครทีวีในเร็วๆนี้ แต่ในฐานะที่เราเป็น cinephile นั้น เราขอจินตนาการต่อไปเองเล่นๆว่า 

ถ้าหากนิยายเรื่องนี้จะนำมาสร้างเป็นหนัง มันสามารถดัดแปลงออกมาได้ในหลายรูปแบบ ตัวอย่างเช่น

7.1 การดัดแปลงอย่างตรงไปตรงมา โดยสร้างเป็นหนังแบบ thriller หรือ murder mystery ที่เน้นการสร้างความลุ้นระทึก และให้ความสำคัญกับประเด็นที่ว่า ใครคือฆาตกรโดยหนังที่เป็น reference ใกล้เคียงก็มีเช่น

7.1.1 THE BIG SLEEP (1946, Howard Hawks)

7.1.2 หนังที่สร้างจากนิยายของ Fred Vargas โดยเฉพาะเรื่อง THE CHALK CIRCLE MAN (2007, Josée Dayan) ที่นำแสดงโดย Charlotte Rampling และมีเนื้อหาเกี่ยวกับคดีฆาตกรรมในกรุงปารีส เมื่อมีคนทยอยวาดวงกลมสีน้ำเงินตามจุดต่างๆในกรุงปารีส โดยตรงกลางวงกลมจะมีวัตถุบางอย่างวางอยู่ และในเวลาต่อมา ก็มีศพวางอยู่ตรงกลางวงกลมลึกลับเหล่านั้น

7.1.3 หนังของ Brian de Palma อย่างเช่น THE BLACK DAHLIA (2006)

7.2 การดัดแปลงนิยายให้ต่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง โดยไม่เน้นอีกต่อไปว่า ใครเป็นฆาตกรแต่หนังจะบอกตั้งแต่ต้นเลยว่า ใครเป็นฆาตกรและหันมาเน้นความรู้สึกขัดแย้งกันเองภายในใจของฆาตกร ว่าจะแก้แค้นดีหรือไม่ หรือว่าจะให้ความสำคัญกับความรักมากกว่าการแก้แค้นดี และหันมาเน้นปมทางจิตต่างๆในใจฆาตกรแทน

หนังที่เป็น reference ก็มีเช่น

7.2.1 BADLAPUR (2015, Sriram Raghavan, India)

7.2.2 หนังของ Claude Chabrol โดยเฉพาะเรื่อง LE BOUCHER (1970, Claude Chabrol) ที่สำรวจรักแท้ของฆาตกรโรคจิต

7.3 การดัดแปลงนิยายมาสร้างเป็นหนังโดยแทบไม่เหลือเค้าเดิมเลย โดยใช้นิยายเรื่องนี้เป็นแค่แรงบันดาลใจตั้งต้นเท่านั้น คือพอเราอ่านนิยายเรื่องนี้จบลง เราก็นึกถึงหนังของ Peter Greenaway ที่ชอบทำหนังเกี่ยวกับ แผนที่และ บทประพันธ์โบราณน่ะ โดยเฉพาะเรื่อง PROSPERO’S BOOKS (1991) 

คือในจินตนาการของเราเองนั้น ถ้าเราเอา กาหลมหรทึกมาสร้างเป็นหนัง เราก็คงทำแบบ Peter Greenaway น่ะแหละ 555 คือหนังของเราจะยาว 3 ชั่วโมง และแบ่งออกเป็น 92 ช่วง (Peter Greenaway ผูกพันกับตัวเลข 92) โดยแต่ละช่วงจะเริ่มต้นด้วยกลบทและโคลงกลอนไม่ซ้ำกัน 555 คือหนังจะเปิดฉากแต่ละช่วงโดยโคลง, กลอน หรือกลบทหนึ่งบท และค่อยเล่าเรื่อง โดยบางช่วงจะเป็น narrative ต่อกันไป และคั่นด้วยกลบทหรือโคลงฉันท์กาพย์กลอนอะไรสักอย่าง แต่บางช่วงอาจจะขึ้นต้นด้วยกลบท แล้วตามมาด้วยฉากนักศึกษาอักษรศาสตร์สองคนวิเคราะห์กลบทนั้น หรือบางช่วงอาจจะขึ้นต้นด้วยกลแบบ และตามมาด้วยตัวละครที่พยายามอ่านกลแบบนั้นด้วยวิธีต่างๆกันไป หรือบางช่วงจะขึ้นต้นด้วยกลบท และมีครูสอนภาษาไทยมาพูดอะไรสักอย่างในช่วงนั้น และบางช่วงอาจจะเป็นการสัมภาษณ์ลูกหลานของนักโทษที่เกาะตะรุเตา คือประเด็นที่ว่าใครคือฆาตกรไม่มีความสำคัญอีกต่อไป เพราะหนังเรื่องนี้จะเน้นการเล่นสนุกกับองค์ประกอบบางอย่างในตัวนิยายต้นฉบับ และเน้นกระตุ้นให้ผู้ชมได้รู้จักและทึ่งกับกลบทและโคลงฉันท์กาพย์กลอนต่างๆในวรรณคดีไทยแทน คือกว่าผู้ชมจะดูชมหนังจบ ผู้ชมก็ได้เจอร้อยกรองไทยไปแล้วอย่างน้อย 92 บท

หนังในจินตนาการเรื่องนี้ของเราอาจจะคล้ายๆกับ ARABIAN NIGHTS (2015, Miguel Gomes) ด้วยแหละ คือมันเป็นการนำเอาบทประพันธ์ อาหรับราตรีมาใช้เป็นแรงบันดาลใจเท่านั้น และก่อให้เกิดหนังที่มีความ free form มากๆ และแทบไม่เกี่ยวกับบทประพันธ์เดิมเลย

สรุปว่าที่เขียนมานี้บางส่วนอาจจะไม่ได้เกี่ยวตัวนิยายโดยตรง แต่เราไม่ใช่นักอ่านนิยายน่ะ เราเป็น cinephile เพราะฉะนั้นพอเราอ่านนิยายเรื่องนี้จบลง เราก็เลยอยากบันทึกไว้ว่ามันทำให้เราเกิดจินตนาการอะไรต่อไปบ้าง โดยเฉพาะมันทำให้เรานึกถึงหนังเรื่องไหนบ้าง

สรุปว่าชอบนิยายเรื่องนี้มากๆ และขอปวารณาตัวเป็นสาวกอีกคนของคุณปราปต์จ้ะ


WHAT’S FOR DINNER, MOM? (2016, Mitsuhito Shiraha, Japan, A+30)

WHAT’S FOR DINNER, MOM? (2016, Mitsuhito Shiraha, Japan, A+30)

ดูแล้วรู้สึกเหมือนกิน แกงจืดที่อร่อยมากๆ เพราะเรารู้สึกว่าชีวิตในหนังเรื่องนี้ดู “ธรรมดามาก แต่หนังก็สามารถนำเสนอชีวิตคนธรรมดาออกมาได้อย่างรื่นรมย์มากๆในเวลาเดียวกัน ซึ่งมันเป็นเรื่องที่ยากมากๆน่ะ คือจุดที่เราชอบที่สุดในหนังเรื่องนี้ไม่ใช่ “เนื้อเรื่องน่ะ เพราะเนื้อเรื่องมันดูธรรมดามากๆเลย เปรียบเหมือนกับแกงจืด แต่เราชอบสไตล์การกำกับ มันดูเหมือนมีพลังของความนิ่งสงบทางใจอะไรบางอย่างในหนังเรื่องนี้ และสไตล์การกำกับที่เข้าทางเรานี่แหละคือสิ่งที่ทำให้เราดูหนังเรื่องนี้อย่างมีความสุข 

จริงๆแล้วชีวิตตัวละครในหนังเรื่องนี้ก็ไม่ธรรมดานะ เพราะพวกเธอเป็นลูกครึ่งญี่ปุ่น-ไต้หวัน แต่ดูเหมือนหนังไม่ได้ เร้าอารมณ์ตรงจุดนี้น่ะ หนังนำเสนอประเด็นเรื่องญี่ปุ่น-ไต้หวันด้วยอารมณ์ที่ค่อนข้างเรียบๆ 

การป่วยเป็นมะเร็งของแม่นี่จะว่าเป็นเรื่องไม่ธรรมดาก็ได้ แต่จะว่าเป็นเรื่องธรรมดาก็ได้ เพราะตัวละครในหนังญี่ปุ่นที่ป่วยเป็นมะเร็งนี่มันเยอะมากๆ แต่สิ่งที่แตกต่างกันก็คือว่า หนังก็แทบไม่ได้ เร้าอารมณ์ตรงจุดนี้มากนักเช่นกัน

ตอนช่วงต้นกับช่วงท้ายของเรื่องนี้นี่นึกถึง THE BRIDGES OF MADISON COUNTY (1995, Clint Eastwood) ด้วย เพราะใน THE BRIDGES ก็เปิดเรื่องด้วยการที่ลูกสองคนเจอบันทึกเรื่องราวในอดีตของแม่เหมือนกัน โดยที่แม่ก็เคยปิดบังไม่ให้ลูกรู้เรื่องการออกไปพบปะผู้ชายเหมือนกัน

พอดูหนังเรื่องนี้ เราก็เลยนึกถึงที่เพื่อนบางคนเคยพูดว่า การทำอาหารรสจัดให้อร่อยบางทีมันอาจจะง่ายกว่าการทำแกงจืดให้อร่อย เพราะการทำแกงจืดให้อร่อยบางทีมันต้องอาศัยความกลมกล่อมลงตัวจริงๆ ไม่ใช่สักแต่ว่าตะบันใส่พริกลงไป อะไรทำนองนี้ หนังเรื่องนี้ก็คล้ายๆอย่างนั้น การทำหนังดราม่าหนักๆให้ดูสนุกเพลิดเพลินบางทีอาจจะง่ายกว่าการทำหนังอารมณ์เรียบๆให้ดูสนุกเพลิดเพลิน แต่หนังเรื่องนี้ที่ชีวิตตัวละครดูธรรมดามากๆ และหนังก็จงใจลดทอนความดราม่าในชีวิตตัวละครลงด้วย กลับดูเพลิดเพลินมากๆสำหรับเรา

เพิ่งรู้ว่าหนังเรื่องนี้สร้างจากชีวิตของ Yo Hitoto ที่นำแสดงใน CAFÉ LUMIERE (2003, Hou Hsiao-hsien)

Film Wish List: FROM A YEAR OF NON-EVENTS

Film Wish List: FROM A YEAR OF NON-EVENTS จากหนึ่งปีที่ไม่มีเหตุการณ์อันใด (2017, Ann Carolin Renninger + René Frölke, Germany, documentary, 83min) 

หนังสารคดีเรื่องนี้ถ่ายทอดชีวิตประจำวันของวิลลี ชายวัย 90 ปีที่ใช้ชีวิตตามลำพังในฟาร์มแห่งหนึ่งทางตอนเหนือของเยอรมนี เขาชอบพูดคุยกับแมว, เขาเลี้ยงไก่ และเขาต้องใช้เครื่องช่วยเดินในการเดินไปเดินมา ตอนนี้สวนของเขามีหญ้าขึ้นจนรกไปหมดแล้ว และบ้านของเขาก็เต็มไปด้วยสิ่งของต่างๆที่เขาเก็บสะสมไว้ในช่วง 90 ปีของชีวิตเขา โดยเฉพาะสิ่งของที่ทำให้รำลึกถึงอดีต

บางครั้งก็จะมีคนมาเยี่ยมเขา แต่นอกจากนี้ก็แทบไม่มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นเลย วันเดือนเคลื่อนคล้อยไปเรื่อยๆ และหนังเรื่องนี้ก็ทำหน้าที่เหมือนเป็นเรียงความที่พูดถึงวัฏจักรของชีวิต กล้องของหนังคอยจับสังเกตธรรมชาติ, ดอกไม้ที่บานสะพรั่ง, ผลไม้, ขนแมว, ลวดลายบนเค้ก และในบางครั้งกล้องก็จับภาพลูกแอปเปิลหรือเก้าอี้พลาสติกราวกับว่ามันเป็นภาพวาดแบstill life 

ภาพในหนังเรื่องนี้อยู่นอกเหนือจากการบรรยายเป็นคำพูดได้

ข้อมูลจาก
https://www.berlinale.de/en/programm/berlinale_programm/datenblatt.php?film_id=201710615#tab=filmStills

เราอยากดูหนังเรื่องนี้มากๆ เพราะจากที่อ่านมาทำให้นึกถึงหนังสารคดีเรื่อง THE QUINCE TREE SUN (1992, Victor Erice, Spain, 133min) ที่เราชอบมากๆ และทำให้นึกถึงหนังที่เราอยากดูอย่างสุดๆอีกเรื่องนึงด้วย ซึ่งก็คือเรื่อง FARREBIQUE (1946, Georges Rouquier, documentary, 90 min) ที่นำเสนอชีวิตชาวบ้านในชนบทฝรั่งเศสในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งเป็นช่วงที่ไฟฟ้าเพิ่งเข้ามาถึงชนบท

Thursday, April 20, 2017

HER LOVE BOILS BATHWATER (2016, Ryota Nakano, Japan, A+30)

HER LOVE BOILS BATHWATER (2016, Ryota Nakano, Japan, A+30)

เราได้ดูหนังเรื่องนี้ตั้งแต่วันที่ 12 ก.พ. ตอนนี้ผ่านมาแล้ว 2 เดือน เราลืมรายละเอียดหนังเรื่องนี้ไปหมดแล้ว 555 แต่ขอบันทึกไว้กันลืมสักเล็กน้อยก็แล้วกัน คือเราแพ้ทางหนังแบบนี้อย่างรุนแรง สาเหตุที่เราชอบหนังเรื่องนี้อย่างสุดๆ คือสาเหตุเดียวกับที่ทำให้เราชอบ LAW OF DESIRE (1987, Pedro Almodóvar, Spain), ถามหาความรัก (1984, Apichart Phopairoj),  MATILDA (1996, Danny DeVito) และ AN (2015, Naomi Kawase) น่ะ นั่นก็คือ

SPOILERS ALERT ยังไม่ดูห้ามอ่านเป็นอันขาด
--
--
--
--
--
--
--
--
--
--
--
เราแพ้ทางหนังที่พูดถึงความรักความผูกพันแบบแม่ลูกของคนที่ไม่ใช่สายเลือดเดียวกันน่ะ

คือถ้าหาก HER LOVE BOILS BATHWATER พลิกนิดเดียว มันจะกลายเป็นหนังที่เราเฉยๆในทันที คือถ้าตัวละครแม่ๆลูกๆในหนังเรื่องนี้ เป็นคนสายเลือดเดียวกัน เราอาจจะเฉยกับมันไปเลยก็ได้ แต่พอมันเป็นคนต่างสายเลือดกัน เราก็เลยชอบมันอย่างสุดๆ

คือหนังเรื่องนี้มันมีจุดที่เข้าทางเรามากๆ อย่างเช่น

1. Futaba (Rie Miyazawa) ซึ่งเป็นนางเอกของเรื่อง ถูกแม่ทอดทิ้งไปตั้งแต่เด็ก Futaba ไม่ได้รับความรักจากแม่จริงๆ และถึงแม้แม่จริงๆของ Futaba จะแก่แล้ว อีแม่นี่ก็ยังไม่ยอมรับ Futaba เป็นลูกอยู่นั่นเอง

เราแพ้ทางหนังที่พูดถึง “ความเกลียดชังระหว่างแม่-ลูก” ที่มีสายเลือดเดียวกันน่ะ 555 คือเราชอบหนังที่ “biological mom+children” เกลียดชังกัน แต่เราชอบหนังที่พูดถึงความรักความผูกพันระหว่าง “แม่เลี้ยง-ลูกเลี้ยง”, “แม่บุญธรรม-ลูกบุญธรรม” และ “แม่ผัว-ลูกสะใภ้” น่ะ คือเราจะมีปัญหากับนิทานแบบซินเดอเรลล่า หรือ “ปลาบู่ทอง” ที่แม่เลี้ยงเกลียดชังลูกเลี้ยงอย่างรุนแรง คือมันก็เป็นความจริงของโลกน่ะแหละ แต่ไม่รู้ทำไม พอเราเจอหนังที่ “แม่เลี้ยง-ลูกเลี้ยง” รักกัน เรามักจะรู้สึกซาบซึ้งกับมันอย่างรุนแรงมากๆ แต่เรามักจะเฉยๆกับหนังที่ “แม่แท้ๆ” กับ “ลูกแท้ๆ” รักกัน มันเหมือนกับว่าความรักระหว่างแม่แท้ๆกับลูกแท้ๆมันเป็นธรรมดาของโลก ในขณะที่ความเกลียดชังระหว่างแม่แท้ๆกับลูกแท้ๆมันเป็น “เรื่องไม่ธรรมดา” และการที่แม่เลี้ยงกับลูกเลี้ยง หรือการที่แม่ผัวกับลูกสะใภ้จะรักใคร่กลมเกลียวกันอย่างมากๆ ก็ดูเหมือนเป็น “เรื่องไม่ธรรมดา” ในแบบที่เราชอบหรือซาบซึ้งกับมันอย่างมากๆ

2.Futaba รักใคร่และดูแล Azumi (Hana Sugisaki) เป็นอย่างดี ทั้งๆที่ไม่ใช่ลูกของเธอเอง คือแทนที่ Futaba จะทำกับ Azumi แบบที่แม่เลี้ยงในซินเดอเรลล่าหรือปลาบู่ทองทำ เธอกลับทำในสิ่งตรงกันข้าม

3.Futaba รักใคร่และดูแล Ayuko เด็กหญิงวัย 9 ขวบเป็นอย่างดี ทั้งๆที่ไม่ใช่ลูกของตนเองเช่นกัน

คือเราชอบความสัมพันธ์แบบแม่ลูกของ Futaba กับ Azumi และ Futaba กับ Ayuko มากๆ คือ Futaba ไม่จำเป็นต้องรักเด็กสองคนนี้ก็ได้ เพราะมันเป็นแค่อีนังลูกเลี้ยงสองตัว แต่ Futaba “เลือก” ที่จะรักเด็กสองคนนี้แบบลูกแท้ๆน่ะ คือความรักระหว่าง “แม่เลี้ยง” กับ “ลูกเลี้ยง” เราว่ามันเป็นสิ่งที่แม่เลี้ยงต้อง “เลือก” เองน่ะ มันไม่ใช่ “สิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ” และไม่ใช่ “สิ่งที่เป็นธรรมดาของสังคม”  เราก็เลยชอบความรักที่เจ้าตัว “เลือก” เองแบบนี้มากๆ

4.แม่จริงๆของ Ayuko ไม่ต้องการ Ayuko

5.ชอบการที่หนุ่มนักโบกรถกลายเป็น “สมาชิก” ในครอบครัวไปด้วย ทั้งๆที่เขาไม่ใช่คนสายเลือดเดียวกันเช่นกัน

คือแน่นอนว่า “สไตล์” ของ HER LOVE BOILS BATHWATER มันฟูมฟายเกินไปมากๆๆๆๆๆสำหรับเรานะ แต่เราแพ้เนื้อเรื่องแบบนี้จริงๆ เราก็เลยชอบหนังเรื่องนี้อย่างสุดๆ เหมือนกับที่ชอบ LAW OF DESIRE ของ Pedro Almodovar เพราะในเรื่องนั้น Carmen Maura รับบทเป็นผู้ชายที่แปลงเพศเป็นผู้หญิง แต่พอแปลงเพศเป็นผู้หญิงแล้ว เธอกลับกลายเป็นเลสเบี้ยน และรักกับผู้หญิงอีกคนนึง แต่ผู้หญิงคนนั้นมีลูกสาวตัวเล็กๆอยู่แล้ว และต่อมาผู้หญิงคนนั้นก็ทิ้ง Carmen Maura ไป Carmen Maura ก็เลยตัดสินใจเลี้ยงดูเด็กหญิงคนนั้นและรักเธอแบบลูกจริงๆ คือใน LAW OF DESIRE ความสัมพันธ์ของ Carmen Maura กับเด็กหญิงคนนั้นก็คล้ายๆแม่เลี้ยง-ลูกเลี้ยงเหมือนกัน เพราะทั้งสองไม่ใช่สายเลือดเดียวกัน แต่ทั้งสองก็รักกันแบบแม่ลูกจริงๆ นอกจากนี้ “ครอบครัว” ของทั้งสองยังมีสมาชิกสำคัญอีกคน นั่นก็คือพี่ชายของ Carmen Maura ที่เป็นเกย์ ดังนั้น “ครอบครัว” ใน LAW OF DESIRE จึงมีความอะไรบางอย่างที่เข้าทางเรามากๆ มันเป็นความรักความผูกพันระหว่างคนต่างสายเลือดเหมือนใน HER LOVE BOILS BATHWATER

ส่วนใน “ถามหาความรัก” นั้น นางเอกมีปัญหากับแม่บุญธรรม เธอก็เลยออกเดินทางไปตามหาแม่จริงๆ ก่อนจะพบว่าแม่จริงๆไม่ต้องการเธอเลย แม่บุญธรรมนี่แหละที่รักลูกบุญธรรมอย่างเธอจริงๆ จุดนี้ก็คือจุดที่คล้ายๆกับที่ทำให้เราชอบ HER LOVE BOILS BATHWATER

ส่วนใน MATILDA ซึ่งเป็นหนึ่งในหนังที่เราชอบที่สุดตลอดกาลนั้น นางเอกก็มีปัญหากับ “พ่อแม่” ที่แท้จริงของตัวเองอย่างรุนแรงมากๆ และในที่สุดนางเอกก็ตัดสินใจที่จะใช้ชีวิตอยู่กับแม่บุญธรรม แทนที่จะเลือกอยู่กับพ่อแม่ที่แท้จริงของตัวเอง

ส่วน AN นั้น ความสัมพันธ์ของตัวละครหลัก 3 คนในเรื่อง ก็เป็นความสัมพันธ์แบบครอบครัวของคนที่ไม่ใช่สายเลือดเดียวกันเหมือนกัน


สรุปว่า เราไม่ชอบสไตล์ของ HER LOVE BOILS BATHWATER มันฟูมฟายมากๆ และถ้าหากตัวละครหลักในเรื่องนี้เป็น “แม่ลูกที่มีสายเลือดเดียวกัน” ระดับความชอบของเราก็จะลดลงในทันที แต่หนังเรื่องนี้เต็มไปด้วยตัวละคร “แม่ที่ไม่ต้องการจะเลี้ยงดูลูกแท้ๆของตัวเอง”, “แม่เลี้ยงที่รักลูกเลี้ยงอย่างจริงใจ” และ “ครอบครัว ที่ไม่ได้มีสายเลือดเดียวกัน” เราก็เลยให้อภัยหนังเรื่องนี้ได้อย่างง่ายดายจ้ะ เพราะเราแพ้ทางอะไรแบบนี้

Monday, April 17, 2017

BRAIN ON FIRE + CONFIDENTIAL ASSIGNMENT

BRAIN ON FIRE (2016, Gerard Barrett, A+30)

--เหมือนหนังไม่มี aesthetics ที่น่าสนใจ เป็นหนังที่เล่าเรื่องอย่างตรงไปตรงมา แต่เรื่องที่มันเล่ามันเหมาะสมกับเรามากๆ เพราะเราเป็นคนที่เข้าโรงพยาบาลไปแล้วประมาณ 40 ครั้งในช่วงปีสองปีที่ผ่านมา ด้วยโรคเหี้ยห่าและสารพัดสัตว์ต่างๆนานา เพราะฉะนั้นหนังเกี่ยวกับโรคที่หาสาเหตุไม่ได้แบบนี้เลยทำให้เราดูด้วยความรู้สึกหวาดกลัวมากๆ โดยเฉพาะเมื่อคำนึงถึงความจริงที่ว่า อยู่ดีๆเราก็มีอาการไฟช็อตที่ขา โดยไม่มีสาเหตุเมื่อต้นปีก่อน และมีอาการเวียนหัว โดยไม่มีสาเหตุเมื่อต้นปีนี้

--สำหรับเรา นี่เป็นหนังที่ทำให้เรารู้สึก สยองขวัญยิ่งกว่าการดูหนังสยองขวัญอย่าง THE TEXAS CHAINSAW MASSACRE (1974, Tobe Hooper) อีก 555 เพราะตอนเราดู หนังสยองขวัญเรามักจะกลัวสุดขีดเฉพาะตอนดูหนัง แต่พอดูจบแล้วเรามักจะไม่กลัว เพราะเรารู้สึกว่ามันมีโอกาสน้อยมากที่เราจะเจอกับผีใจโหดหรือฆาตกรโรคจิตแบบในหนัง แต่การที่อยู่ดีๆเราจะป่วยด้วยโรค ที่หาสาเหตุไม่ได้นี่ กูรู้สึกว่ามันเป็นเรื่องใกล้ตัวกูอย่างสุดๆเลยค่ะ และหนังแบบ BRAIN ON FIRE นี่ทำให้กูกลัวสุดขีดทั้งขณะที่ดู และพอดูจบแล้วเราก็ยังกลัวสุดขีดอยู่ คือพอเรารู้สึกเจ็บแปล๊บแบบไม่มีสาเหตุขึ้นมาที่จุดใดก็ตามในร่างกาย กูก็จะนึกถึงหนังเรื่องนี้ขึ้นมาในทันที

--พอดูหนังเสร็จแล้ว เราก็เลยสงสัยว่า ในอดีตนั้น คนที่เคยถูกสังคมมองว่า ผีเข้าในไทย จริงๆแล้วป่วยด้วยโรคเดียวกับนางเอกหรือเปล่า เพราะนางเอกอาการเหมือนผีเข้าในบางครั้ง และเราเดาว่าถ้าหากนางเอกเป็นคนไทยในเมืองไทย นางเอกอาจจะถูกพาเข้าวัดรดน้ำมนต์หรือเข้ารับการรักษาทางไสยาศาสตร์อะไรไปแล้วก็ได้

--เราเข้าใจว่าตัวละครตัวนึงที่ไม่ระบุชื่อตรงๆในหนังเรื่องนี้คือ Anthony Weiner ซึ่งเป็นพระเอกของหนังสารคดีเรื่อง WEINER (2016, Josh Krigman, Elyse Steinberg) เราก็เลยชอบตรงจุดนี้มากๆ เพราะในหนังสารคดีเรื่อง WEINER นั้น ตัวละครประเภทนักข่าวสาวผมบลอนด์มีสถานะเป็นเหมือนตัวประกอบธรรมดา และหนังก็เน้นเล่าแต่ปัญหาของวีเนอร์, ภรรยา และกลุ่มทีมงานของวีเนอร์ แต่ใครเลยจะรู้ว่า ตัวประกอบที่แทบไม่มีบทบาทอะไรในหนังเรื่องนึง อยางเช่นนักข่าวสาวในหนังเรื่อง WEINER จริงๆแล้วมีชีวิตที่หนักหนาสาหัสยิ่งกว่าตัววีเนอร์เองเสียอีก เราชอบอะไรแบบนี้มากๆ เราชอบการที่คนแต่ละคนจริงๆแล้วไม่มีใครเป็นตัวประกอบหรือพระเอกนางเอกที่แท้จริง ตัวละครแต่ละตัวจริงๆแล้วมีชีวิตของตัวเอง และหลายคนที่ดูเหมือนคนธรรมดาจริงๆแล้วมีชีวิตที่น่าสนใจมากๆในแบบของตัวเอง

CONFIDENTIAL ASSIGNMENT (2017, Kim Seong-hoon, South Korea, A+10) องค์ประกอบทุกอย่างในหนังอยู่ในระดับปานกลาง ยกเว้นความน่ากินของพระเอกที่อยู่ในระดับ 10 10 10


Film Wish List: BEGUM JAAN (2017, Srijit Mukherjee, India, 119min) หนังเรื่องนี้เล่าเรื่องของกะหรี่สาว 11 นางที่ไม่ยอมออกจากซ่อง ถึงแม้ซ่องของพวกเธอกำลังจะถูกไล่ที่ เพราะตอนนั้นกำลังจะมีการแบ่งแยกประเทศระหว่างอินเดียกับปากีสถาน และเส้นแบ่งประเทศพาดผ่านซ่องของพวกเธอพอดี กะหรี่สาว 11 คนนี้จึงลุกขึ้นสู้กับเส้นแบ่งประเทศเพื่อปกป้องซ่องของตนเอง หนังเรื่องนี้สร้างจากเรื่องจริง

Sunday, April 16, 2017

SONGS OF REVOLUTION (2017, Bill Mousoulis, Greece, A+30)

SONGS OF REVOLUTION (2017, Bill Mousoulis, Greece, A+30)

1.This film is really an ear-opening for me, and I guess most viewers outside Greece may feel the same way, too. The film tackles a subject which I have never heard of—revolutionary songs in Greece, which come in various styles—punk, rock, hip hop, blues, experimental, old styles, etc. So the first thing I like about this film is because of its subject matter. It talks about things I have no knowledge about, or things I have never seen portrayed in films before. Actually I have never seen a film which deals mainly with revolutionary songs in any countries, and I also have never seen a film about music in Greece.

As for the films I have seen until now, I think the subject of “revolutionary songs” is talked about only as a small detail in some documentaries. For example, the film 40 YEARS OF SILENCE: AN INDONESIAN TRAGEDY (2009, Robert Lemelson) talks a little bit about the song GENJER GENJER, which was associated with communists in Indonesia before the massacre in 1965. The documentary ABSENT WITHOUT LEAVE (2016, Lau Kek-huat, Malaysia) also portrays some Malaysian communists singing songs from the past.

So I like it very much that Bill Mousoulis chooses this subject for his film. It is great that the lyrics of these Greek songs are translated into English in this film, so that people all over the world can understand the power of these lyrics, and may be inspired by them, too.

2.Apart from the subject matter, I also like the form or the style of the film very much. I think it is part-documentary, part-neorealist musical. I use the word “neorealist”, because most of the musical scenes in this film portray an actor or an actress walking down some streets. The locations or the situtations in Greece are portrayed as they really are. There is no attempt to make the locations more colorful, vibrant, or beautiful than what they are. The songs in this film also talk about some subject matters which correspond to neorealist films, especially the economic problems.

I think the form of this film is unique, or something I have never seen before. Combining documentary parts with musical parts in the same film is something rare already, but this film also combines neorealist style with the musical parts, too.

3.Because the form of this film is unique, I can’t find any films that I can compare with this film easily. This film is like a rare combination of various elements from many films I have seen. For example:

3.1 The dance/music films of Carlos Saura, such as FLAMENCO (1995), IBERIA (2005), and FADOS (2007), because in some parts of SONGS OF REVOLUTION, especially the parts portraying Thodoris Arianoutsos and Marianthi Koliaki, we see some musical scenes continuously, without knowing any information about the artists who made the songs. We only enjoy the songs in these scenes. We are fully immersed in the feelings of the songs. It’s like we are floating in some fictional worlds created by the songs, and not weighed down by the information about the artists, or not pulled back to the world of reality by the documentary parts. (It’s hard to describe the feelings in these scenes. These scenes in SONGS OF REVOLUTION are tied to “reality” via the real locations, but not via information.) This kind of feelings—fully immersed in the world of music—is like the feelings I have when I saw those three films of Carlos Saura.

3.2 However, there are also some documentary parts in this film. And I think these documentary parts remind me of such films as NEAPOLITAN HEART (2002, Paolo Santoni), SOUND OF BRAZIL (2002, Mika Kaurismaki), and Y/OUR MUSIC (2014, Waraluck Hiransrettawat Every, David Reeve). These are the kind of films which give us information about music from some specific places, too. These documentaries are interesting because of their subject matters. We learn a lot about the music in Naples, Thailand, and Brazil from these films. But these documentaries somehow lack the “interesting styles” or lack “the floating feelings”, which are found in SONGS OF REVOLUTION and Carlos Saura’s films.

So in conclusion, I think SONGS OF REVOLUTION combine the best parts of these two groups of films together. SONGS OF REVOLUTION has both the floating feelings in musical parts, and the interesting information in the documentary parts.

4.I also like the use of news footage and old photographs in this film. It gives this film the political dimension, without weiging the film down too much. I mean if this film chooses to be “an ordinary documentary”, the film would have given us directly specific information about the political contexts and the history of Greece. But if the film chooses to be that way, the viewers will be flooded with information, and somehow “the floating feelings” from music will be greatly diminished or destroyed. So I think the use of old photographs, news footage, and real locations in this film is the appropriate way to give the film “political dimension”, without weighing the film down too much.

5.I like the use of real locations in this film very much. At first I wondered why the film doesn’t give us a few full-blown music videos, instead of neorealist musical scenes.  I wondered why the film doesn’t give us colorful scenes such as in Carlos Saura’s films. But when I paid attention to the lyrics, then I found that this neorealist style is really appropriate for this kind of lyrics.

In a way, seeing characters walking up and down the real streets in this film is a little bit like watching people in real streets in FROM THE EAST (1993, Chantal Akerman). It’s hard to describe the feelings watching these two films. It’s like half-floating half-down to earth, half-surreal half-real, half-body half-soul, half-physical half-spiritual—to see people in the real streets in SONGS OF REVOLUTION and FROM THE EAST.

6.As for the musical parts, the scene that I like the most is the scene for the song  I WAS BORN AT ONE MOMENT. I think the actor in this scene can convey the sadness via his eyes very powerfully. Just look at the sadness in his eyes, you can imagine easily how hard his life would have been, how much he have struggled in his life, how many times he has been defeated and disappointed.

7.As for the documentary parts, the scene that I like the most is the scene in which some people talk about how revolutionary songs influenced their lives. I mean the scene in which a woman talked about the song HONORABLE MAN, MR. PANTELIS, and a man talked about the band REBELS. This scene made me think about how some songs influenced my life, too.

I also like the scene in which Antouan Parinis and friends sang ALL THOSE THAT HAVE A LOT OF MONEY for a garbageman. This scene is a curious blend between documentary and musical.

8.I also like how the film portrays some “preaching” scenes without making me feeling bad about being forced to listen to it. I mean the scene about the Underground Manifesto, and the short scenes in which some interviewers talk about their beliefs or their mottos. If these scenes were presented badly, they would come out like the “final speech” scenes in Hollywood films, in which the protagonists talk about what they would like the audience to believe, or preach indirectly to the audience. The latest example of this kind of scenes can be found in MISS SLOANE (2016, John Madden).

It’s hard to say why I feel positive for the Underground Manifesto scene.  I think the film finds the right “tone” to convey its messages.

9.  I feel sad and envy at the same time while watching this film. First, I feel sad because of the lyrics. The lyrics of the songs in this film talk about the problems in Greece, including economic problems, social problems like bad cops killing people, and political problems like the song SMASH THE FASCISTS by Oust! Some musical scenes also show the refugees from Syria.

But at the same time I feel envy for the people in Greece, because at least they still have “freedom of speech”, which cannot be found in Thailand now. Greece may be in crisis now, but at least they can “talk about the crisis” openly. They can sing about the problems openly. Thailand is also in crisis now-- the human right crisis, but we cannot talk about it. There is a Thai musical band who made some songs opposing the military dictatorship, but the members of the band were persecuted by the authority, and all of them fled the country and are in exile now. I guess musical artists in Thailand now only have two choices--stay silent for your own safety, or praise the military dictatorship.

As for Thailand in the past, there was once a big market for a genre called  “songs for life”, which talk about the problem of the poor, especially in the 1980s. But I think this kind of market have become much smaller nowadays. No one has made a Thai feature documentary about this subject yet, though there’s a biographical film called YOUNG BAO THE MOVIE (2013, Yuthakorn Sukmukdapa), which is about the origin of a Thai musical band who made “songs for life”. There are also some Thai short films about political protesters and songs, such as COLLECTION OF POPULAR SONGS (2015, Anuwat Amnajkasem, Chantana Tiprachart, 11min). And there are a few fan-made music videos for some Thai “songs-for-life”.

While I was watching SONGS OF REVOLUTION, I couldn’t help imagining what would happen if someone made a film about revoltionary songs in Thailand, too. But if someone makes a film about this subject in Thailand, the film would be in an ironic tone, not in a positive tone like SONGS OF REVOLUTION (I mean SONGS OF REVOLUTION portrays the artists in the film in a positive way), because what is interesting in Thailand is that some left-wing songs in the 1970s have been appropriated by right-wing groups (or groups which support the military dictatorship) in this decade, and some Thai bands who used to make music for the poor a few decades ago have turned to side with the military dictatorship now. The military dictatorship in Thailand use “anti-capitalism sentiment” as their weapon, so songs which are anti-capiltalism can be used by the Thai right wing, too.

10. Let me end this note with a list of my most favorite eight songs in the film. They are:
(in no particular order)
10.1 NORMAL KIDS – Trypes
10.2 DUST, ROCKS, MUD – Dmitris Poulikakos
10.3 I WAS BORN AT ONE MOMENT – Nikos Xylouris
10.4 THE FACTORY – Sotiria Bellou
10.5 I WILL SEND A LETTER TO GOD – Sotiria Bellou
10.6 THE JUMPERS – Antouan Parinis
10.7 LAUGH – Lost Bodies
10.8 NOTHING REAL – Lost Bodies

I hope SONGS OF REVOLUTION will be shown all over the world, and the film might inspire other filmmakers to make some films about revolutionary songs or political songs in their own countries. The world seems to be falling apart every day now, so at least what we can do is to try to give each other inspiration, hope, and positive energy as much as we can, may be by broadcasting or listening to great songs from far away land, from people who have suffered a great deal like us.