Wednesday, January 31, 2024

MICHEL AUDER

 

หนึ่งใน moment ที่ประทับใจมาก ๆ ในระหว่างการนั่งชมวิดีโอเรื่อง DOMAINE DE LA NATURE (2023, Michel Auder, video installation, 51min, A+30) at Bangkok Kunsthalle ก็คือการที่เราพบว่า อยู่ดี ๆ ก็มีจิ้งจกตัวเล็ก ๆ ตัวนึง วิ่งออกมานั่งชมวิดีโออย่างสนอกสนใจเป็นเวลานานด้วย

 

DAUGHTERS (2023, Michel Auder, video installation, 8min, A+25) at Bangkok Kunsthalle

 

TALKING HEAD (1981, Michel Auder, video installation, 3min, A+30) at Bangkok Kunsthalle

 

วิดีโอที่พ่อบันทึกภาพลูกสาวตัวน้อยขณะพูดคนเดียวไปเรื่อย ๆ นึกว่าต้องปะทะกับ “ลูกใครหว่า” (2022, Saichon Prasonchoom, documentary, 40min, A+30)

 

GEMÄLDE 2 (2011, Michel Auder, video installation, 21min, A+30) at Bangkok Kunsthalle

 

ชอบสุดขีด เป็นวิดีโอที่บันทึกภาพประติมากรรมและจิตรกรรมต่าง ๆ โดยเหมือนจับสังเกตจุดที่น่าสนใจของงานแต่ละชิ้นแล้วเอามาเรียงร้อยเข้าด้วยกัน อย่างเช่น เอาภาพจิตรกรรมที่คล้าย ๆ กับ “คนกำลังนินทา” มาเรียงร้อยเข้าด้วยกัน

 

หนึ่งในสิ่งที่หนังเรื่องนี้อาจจะไม่ได้ตั้งใจ แต่เราชอบมาก ๆ ก็คือมันกระตุ้นให้เราจินตนาการถึง “เสียงสนทนา” ระหว่างบุคคลในงานจิตรกรรมชิ้นต่าง ๆ กับบุคคลในงานประติมากรรมต่าง ๆ ด้วย คือพอมันเอาภาพคนในงานจิตรกรรมมาเรียงร้อยต่อ ๆ กันโดยเหมือน eyeline ของคนในแต่ละภาพมัน match กัน มันก็เลยเหมือนกับว่า คนในแต่ละภาพมันกำลังคุยกันอยู่ และเราซึ่งเป็นผู้ชมก็จินตนาการถึงเสียงสนทนาเหล่านี้ในหัวของเราไปด้วย

 

เราเพิ่งเคยเห็นภาพ THE BLINDING OF SAMSON (1636, Rembrandt) ในวิดีโอนี้ ถือเป็นงานจิตรกรรมที่ทรงพลังสุดขีดมาก

 

VAN GOGH (2011, Michel Auder, video installation, 4min, A+25) at Bangkok Kunsthalle

 

หนังแบบนี้ก็มีด้วย หนังทั้งเรื่องเป็นการพลิกหน้ากระดาษในหนังสือรวมภาพผลงานจิตรกรรมของ Van Gogh ไปเรื่อย ๆ ดูแล้วนึกถึง “เจริญพรมหาธรรมใน 3 โลก (รักชาติด้วยความรวดเร็ว) (2012, Viriyaporn Boonprasert, 6min) แต่อันนี้เป็น “รัก Van Gogh ด้วยความรวดเร็ว” 55555

 

ดูแล้วนึกถึง THE BASIS OF MAKE-UP I (1983, Heinz Emigholz, West Germany, 20min, A+30) ด้วย ที่เป็นการพลิกหน้าหนังสือไปเรื่อย ๆ เหมือนกัน แต่เราว่า VAN GOGH ดูง่ายกว่าเยอะนะ 555

 

BANGKOK CITY (2023, Michel Auder, video installation, 8min, A+25) at Bangkok Kunsthalle

 

เหมือนจุดเด่นของวิดีโอนี้ คือการถ่ายทอดให้เห็นรถมอเตอร์ไซค์ที่วิ่งกันขวักไขว่ตามท้องถนนในกรุงเทพ ซึ่งมันใช่จริง ๆ สำหรับเรา เพราะเราก็ต้องพึ่งวินมอเตอร์ไซค์เป็นประจำเวลาที่เราไปไหนมาไหนที่อยู่นอกเส้นทางรถไฟฟ้า 555

 

เหมือนศิลปินต่างชาติคนอื่น ๆ เวลาทำหนังเกี่ยวกับกรุงเทพ ชอบพูดถึงรถเมล์นะ อย่างเช่นหนังเรื่อง NIGHT/SHIFT (2017, Schone Vormen, documentary, 28min, A+25) และ BANGKOK BY BUS/BERLIN (2019, Alfred Banze, video installation, around 30 minutes, A+30) แต่เหมือน Michel Auder จะสนใจการเดินทางด้วยรถมอเตอร์ไซค์มากกว่า

 

https://web.facebook.com/photo/?fbid=10215229601996718&set=a.10214495441043153

https://web.facebook.com/photo/?fbid=10221449708055482&set=a.10219540481446010

 

วันนี้เราไปดูงานวิดีโอของ Michel Auder ที่ Bangkok Kunsthalle ตรงแถววงเวียน 22 กรกฎา พอไปถึงบริเวณนั้นก็ตกใจมาก เพราะมันเต็มไปด้วยป้ายตัวอักษรภาษาอะไรก็ไม่รู้ จะว่าภาษาพม่าก็ไม่ใช่ ภาษาเขมรก็ไม่เชิง แล้วร้านรวงบางร้านก็ใช้ป้ายภาษาแปลก ๆ อันนั้นด้วย

 

พอตอนหลังเราก็เลยเดาว่า เขาคงกำลังจะถ่ายทำหนังสักเรื่องแถวนั้นใช่ไหม แล้วคงใช้ฉากตรงวงเวียน 22 กรกฎา เป็นประเทศสมมุติอะไรสักอย่างในเอเชียที่ไม่มีอยู่จริง 55555

 

ประทับใจงานของ Michel Auder มากพอสมควร ในนิทรรศการนี้มีวิดีโออยู่ 15 ชิ้น แต่เราเพิ่งได้ดูไปแค่ 10 ชิ้น ยังเหลืออยู่อีก 5 ชิ้น ซึ่ง 4 ใน 5 ชิ้นที่เหลืออยู่นี้เป็นชิ้นที่มีความยาวเรื่องละประมาณ 1 ชั่วโมง เท่ากับว่าเราต้องการเวลาว่างอีก 4 ชั่วโมงกว่า ๆ ในการกลับไปดูงานวิดีโอที่เหลือนี้ ซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะมีเวลาว่างพอไหม เพราะเทศกาลหนังต่างๆ  กำลังจะเริ่มต้นขึ้นแล้ว กรี๊ดดดด

 

ขอแนะนำว่า ถ้าใครจะไปดู ก็ฉีดยากันยุงไปด้วยนะ เพราะเราไปดูตอนเย็น ๆ แล้วโดนยุงกัด เราก็กลัวโรคไข้เลือดออกมาก แต่พอไปถามเจ้าหน้าที่ที่ดูแลนิทรรศการ เจ้าหน้าที่เขาก็มียากันยุงมาให้เราฉีดนะ ต้องขอขอบพระคุณทางเจ้าหน้าที่มาก ๆ แต่ถ้าหากใครไม่อยากรบกวนเจ้าหน้าที่ ก็ฉีดยากันยุงใส่ตัวเองไปก่อนเลยดีกว่า

 


Tuesday, January 30, 2024

HOSTAGE: THE BACHAR TAPES

 Favorite Music Video: BRAINS – Lower Dens (2012, Tristan Patterson, A+30) เจอ MV เพลงนี้โดยบังเอิญ เห็น “อารมณ์หน้า” ของนักร้องแล้วนึกถึง เอม ภูมิภัทร ถาวรศิริมาก ๆ 55555 สิ่งแรกที่ทำหลังจากดู MV จบคือ search ว่า นักร้องเป็นเพศอะไร เพราะเราดูไม่ออกว่าเป็นผู้ชายหรือผู้หญิง ฟังจากเสียงร้องก็แยกไม่ออก ปรากฏว่า Jana Hunter มีเพศกำเนิดเป็นหญิง แต่ต้องการให้ใช้สรรพนามว่า he และบอกว่าตัวเองเป็น non-binary และ transmasculine

 

เสียดายที่ Lower Dens ยุบวงไปแล้วในปี 2021 เพราะว่าทางวงไม่สามารถทน music industry ได้อีกต่อไป ซึ่งก็ไม่ประหลาดใจ คือดูจากอารมณ์หน้าของนักร้องใน MV เพลงนี้แล้วก็สัมผัสได้ในทันทีว่า เขาคงไม่ใช่คนประเภทที่จะยอมทำทุกอย่างเพื่อให้ตัวเองได้เป็น superstar หรืออะไรทำนองนี้

https://www.youtube.com/watch?v=OyxzjF8IjE8

 

OUR GRIEF IS NOT A CRY FOR WAR (2003, Barbara Hammer, documentary, 4min, A+30)

 

HOSTAGE: THE BACHAR TAPES (2001, Walid Raad, Souheil Bachar, Lebanon, documentary, 16min, A+30)

 

หนักที่สุด หนังสารคดีที่สัมภาษณ์ Souheil Bachar ชายหนุ่มชาวอาหรับที่เคยถูกจับเป็นตัวประกันในเลบานอนในทศวรรษ 1980 และเขาเคยถูกขังรวมกับชายชาวอเมริกัน 5 คนในห้องขังเดียวกันเป็นเวลานาน 3 เดือน และเขาก็เปิดเผยถึงประสบการณ์ทางเพศขณะตกเป็นตัวประกันร่วมกับชาย 5 คนนั้นในเลบานอน

https://vimeo.com/showcase/10849108/video/892744165

 

Walid Raad เคยกำกับ THE DEAD WEIGHT OF A QUARREL HANGS (1999, Walid Ra’ad, Lebanon) ที่ดีงามมาก ๆ

 

DYKETACTICS (1974, Barbara Hammer, 4min, A+30)

 

เข้าใจแล้วว่าทำไม Barbara Hammer ถึงเป็นหนึ่งในผู้กำกับหนังเลสเบียนมือวางอันดับหนึ่งของโลก (น่าจะเทียบเท่ากับ Ulrike Ottinger, Monika Treut และ Céline Sciamma)

https://vimeo.com/showcase/10849301/video/524277305

 

WIND (1968, Joan Jonas, silent, 6min, A+30)

 

ดูแล้วนึกถึงภาพยนตร์ที่กำกับโดยคุณ Teerawat Mulvilai (BLUE TERRITORY, THE BORDER TOWN) และภาพยนตร์ที่กำกับโดยคุณ Nontawat Machai (BORDERLAND TALE) มาก ๆ ในแง่ของการนำ performance art มาถ่ายทอดผ่านทางสื่อภาพยนตร์

 

ประทับใจมาก ๆ ด้วยที่พบว่าหนังทดลองเรื่องนี้ได้รับการอนุรักษ์ไว้ด้วยเงินจาก George Lucas Family Foundation เพราะก่อนหน้านี้เรามองแค่ว่า George Lucas คือ “ผู้สร้างหนังเพื่อความบันเทิง” 5555 ไม่นึกว่านักสร้างภาพยนตร์เพื่อความบันเทิงนี่แหละ คือคนที่เอาเงินมาช่วยอุปถัมภ์ค้ำชูวงการหนังทดลอง (ถ้าหากเราเข้าใจไม่ผิด)

https://vimeo.com/showcase/10849165/video/893074045

 

HANNAH WILKE THROUGH THE LARGE GLASS (1976, Hannah Wilke, 10min, A+30)

 

ทำไมดูแล้วนึกถึงเพื่อนกะเทยสมัยมัธยมมาก ๆ 555 หนังเรื่องนี้ให้ศิลปินสาวมาโพสท่าเป็นนางแบบอยู่หลังงานศิลปะของ Marcel Duchamp ก่อนจะถอดเสื้อผ้าออก

 

เพิ่งรู้ว่า THE BRIDE STRIPPED BARE BY HER BACHELORS, EVEN เป็นชื่อผลงานศิลปะของ Marcel Duchamp ก็เลยนึกถึงหนังเรื่อง VIRGIN STRIPPED BARE BY HER BACHELORS (2000, Hong Sang-soo) ที่เรายังไม่ได้ดู แต่เดาว่าชื่อหนังของ Hong Sang-soo นี่น่าจะได้รับแรงบันดาลใจมาจาก Marcel Duchamp ใช่ไหม

https://vimeo.com/showcase/10849301/video/893160946

 

REFUSES (2006, Cheryl Donegan, silent, 5min, A+30)

 

นึกว่า “หนังหมอย” เป็นหนังสั้นที่ดูแล้วไม่ทราบชีวิตอะไรอีกต่อไป ที่มาของหนังเรื่องนี้เริ่มต้นจาก

 

1.Carolee Schneemann สร้างหนังเรื่อง FUSES (1964-1967, A+30)

 

2.Carolyn Bergdahl แต่งบทกวีชื่อ FUSES (AFTER CAROLEE SCHNEEMANN) เพื่อสนทนากับภาพยนตร์ของคาโรลี ชะนีมั่น

 

3.Cheryl Donegan สร้างภาพยนตร์เรื่อง REFUSES เพื่อตอบรับโดยตรงต่อบทกวีของ Carolyn Bergdahl

 

แต่เนื่องจากเราไม่เคยอ่านตัวบทกวีของ Carolyn เราก็เลยจะงง ๆ ไม่รู้ว่าภาพแต่ละภาพใน REFUSES โดยเฉพาะภาพหมอย หมอย หมอย หมอย หมอย มันเป็นการตอบรับต่อตัวบทกวีอะไรยังไง 55555 แต่ดูแล้วเพลิดเพลินมาก และหนังเรื่อง REFUSES นี้ก็ยังคงเหมือนสานต่อการแสดงออกทางเพศอะไรบางอย่างต่อมาจากหนังเรื่อง FUSES

 

ดูหนังเรื่อง REFUSES ในวันนี้เป็นวันสุดท้ายได้ที่
https://vimeo.com/showcase/10849301/video/287328453

 

จริง ๆ แล้วเราชอบการเล่นเกม “พรายกระซิบ” ทางศิลปะแบบนี้มาก ๆ ที่เหมือนอะไรอย่างนึงสร้างแรงบันดาลใจต่ออะไรอีกอย่างนึง แล้วมันก็ส่งผลกระทบต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ไปเรื่อย ๆ พร้อมกับแปรสภาพบิดผันไปเรื่อย ๆ คล้าย ๆ กับหนังเรื่อง MYSTERIOUS OBJECT AT NOON (2000, Apichatpong Weerasethakul) ที่ให้คนแต่งเรื่องต่อกันไปเรื่อย ๆ หรือโครงการศิลปะ SHE IS READING NEWSPAPER (2008-2009) ที่มีอยู่ 7 ขั้นตอนด้วยกัน

 

จำได้ว่าเราประทับใจโครงการนั้นของทศพล บุญสินสุขมาก ๆ ก็เลยขอเล่าถึงโครงการนี้คร่าว ๆ อีกครั้งดังต่อไปนี้

 

1.ขั้นตอนแรกคือทศพลสร้างหนังสั้นเรื่อง SHE IS READING NEWSPAPER (2005, Tossapol Boonsinsukh, short film, A+30) ที่เกียวกับผู้คนที่ส่งต่อความรู้สึกให้แก่กันและกันโดยไม่ได้ตั้งใจ ทั้ง ๆ ที่ไม่รู้จักกัน เพียงแต่นั่งอยู่ในร้านอาหารเดียวกัน


2.Pichit Trairutsakul (Tim, the drummer) และ Pinyo Limpongsathorn (Yo, the guitarist) สร้างดนตรีเสียงกลองและกีตาร์ โดยตัวดนตรีดังกล่าวได้รับแรงบันดาลใจมาจากหนังสั้นในข้อหนึ่ง

3.Tanapol Virulhakul สร้างงาน performance art ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากดนตรีในข้อสอง


4.Patavee Viranuvat และ Tip-apa Songsettakit สร้างผลงานดนตรีเสียงเปียโนที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก performance art ในข้อสาม


(Patavee is also a short film director. He directed TAKESHI (2005) 
)

5.Theepisit Mahaneeranon  เขียนบทกวีที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากเสียงดนตรีในข้อ

(Theepisit directed some short films, including CLOUD (2008) and CENSORSHIT! FATHER AND SON (2007).)

6.Wanweaw Hongwiwat เขียนการ์ตูนที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากบทกวีของ Theepisit

(Wanweaw is also a film director. Her films include APPLICATION (2007))

7.Muttana Cheuweerachon (Neung) อ่านการ์ตูนของวรรณแวว แล้วก็ทำอาหารให้ทศพลกิน

 

ก็เลยถือเป็นโครงการศิลปะ 7 ขั้นตอนที่เราประทับใจมาก ๆ ซึ่งในตอนแรกนั้น ทุก ๆขั้นตอนมีให้เราดูทาง youtube และในบล็อกของคุณทศพล แต่ตอนนี้มันเหมือนถูกลบไปหมดแล้ว เสียดายมาก ๆ

 

อันนี้เป็น blog ของเราที่เคยลงเรื่องนี้ไว้ในปี 2009

https://celinejulie.blogspot.com/2009/05/art-inspired-by-art.html


สรุปว่าพอเราดูหนังเรื่อง REFUSES เราก็เลยนึกถึงโครงการศิลปะของคุณทศพลในปี 2009 ขึ้นมา ไม่รู้เหมือนกันว่าในช่วงที่ผ่านมามีโครงการศิลปะอะไรแบบนี้อีกบ้างไหม

Monday, January 29, 2024

Films seen in the fourth week of 2024

 

Films seen in the fourth week of 2024

22-28 JAN 2024

 

In roughly preferential order

 

1.BAZMANDE (THE SURVIVOR) (1995, Seifollah Dad, Iran, A+30)

 

2.THE HOLY INNOCENTS (1984, Mario Camus, Spain, A+30)

 

3.WILDERNESS THERAPY (2022, Edouard Deluc, France, A+30)

 

4.EMPTY STATION สถานีว่าง (2023, Saharat Ungkitphaiboon, 30min, A+30)

 

จริง ๆ แล้วเราว่า wavelength ของเราไม่ตรงกับหนังเรื่องนี้เท่าไหร่นะ แต่ก็ชอบหนังเรื่องนี้มาก ๆ อยู่ดี เพราะเราชอบความแปลกประหลาด เป็นตัวของตัวเองมาก ๆ ของหนังน่ะ

 

คือพอพูดถึง “สถานที่โล่ง ๆ” กับหนังทดลองแล้ว ส่วนใหญ่เราก็จะนึกถึง “หนังบรรยากาศ” โดยเฉพาะหนังของ Chaloemkiat Saeyong โดยเฉพาะหนังเรื่อง HISTORY ON THE AIR (2009, 62min, A+30) ที่มีส่วนหนึ่งของหนังเป็นการถ่ายภาพมุมร้าง ๆ ต่าง ๆ ของท่าอากาศยานดอนเมือง คือหนังทดลองส่วนใหญ่ที่เราได้ดูจะ react ต่อสถานที่โล่ง ๆ ด้วยการคว้าจับบรรยากาศของมันเอาไว้ โดยไม่ได้ไป intervene ในสถานที่นั้นน่ะ ซึ่งอาจจะรวมถึงหนังของ Chantal Akerman อย่างเช่น HOTEL MONTEREY (1973) ด้วย

 

หรือถ้าหากพูดถึงหนังเกี่ยวกับสถานีรถไฟของไทยแล้ว เราก็จะนึกถึงหนังอย่าง HUALAMPONG (2004, Chulayarnnon Siriphol,12min) ที่โฟกัสไปที่กิจวัตรของชายคนหนึ่งในหัวลำโพง, หนังที่แสดงให้เห็นถึงชีวิตคนต่างจังหวัดที่เข้ามาผจญชีวิตในกรุงเทพ อย่างเช่น “สถานีกรุงเทพ” (1997, บิน กิจขจรพงษ์), เด็กชายจากต่างแดน (2007, Tosaporn Mongkol) , etc. หรือหนังที่สร้างสถานการณ์ให้ตัวละครคุยกันในสถานีรถไฟ อย่างเช่น SAME SUN, DIFFERENT MOON (2022, Nichkamon Kumprasit)

 

เราก็เลยรู้สึกว่า EMPTY STATION มันเหมือนใช้ประโยชน์จากสถานีว่าง (มันคือสถานีรถไฟใช่ไหม) ได้อย่างพิสดารแปลกประหลาดไม่ซ้ำแบบหนังเรื่องอื่น ๆ ได้ดีมาก เพราะหนังเรื่องนี้ให้ตัวละครนางเอกคุยกับเสียงลึกลับในสถานีไปเรื่อย ๆ ซึ่งพอดูจบแล้ว เราก็ไม่ได้ข้อสรุปอะไรเลยแม้แต่น้อย คือนางเอกก็ไม่ใช่คนบ้า, เสียงลึกลับเราก็ไม่แน่ใจว่ามาจากไหน และเราก็ไม่รู้ด้วยว่าจุดประสงค์ของหนังเรื่องนี้คืออะไร หนังเรื่องนี้ต้องการบอกอะไรกับผู้ชม หนังเรื่องนี้มีสาระแก่นสารอะไรหรือไม่ 555555

 

คือเหมือนตอนแรกเรานึกว่า พอเราได้ฟังเสียงลึกลับคุยกับนางเอกไปเรื่อย ๆ เราก็จะได้ข้อสรุปเกี่ยวกับที่มาที่ไปของเสียงลึกลับ หรือได้ข้อสรุปเกี่ยวกับชีวิตของนางเอก หรือได้คติสอนใจแบบ “นิทานเวตาล” “นิทานอีสป” “นิทานอีสัตว์”, etc. หรือได้การสะท้อนสังคม, การเมือง etc.

 

ซึ่งถึงแม้เราไม่ได้ข้อสรุปอะไรแบบนี้เลยจากหนังเรื่องนี้ เราก็ชอบหนังเรื่องนี้อย่างสุด ๆ อยู่ดีนะ เพราะเรารู้สึกว่าอะไรแบบนี้มันให้ความรู้สึกที่เป็น “อิสระ” ดีน่ะ เหมือนหนังเรื่องนี้มันแตกต่าง เป็นตัวของตัวเองดี ไม่ซ้ำแบบใคร และเหมือนมันก็ไม่ได้ทำตามแนวทางที่หนังเรื่องอื่น ๆ เคยทำไว้แล้ว ไม่ว่าจะเป็นแนวทางของหนังสารคดี, หนัง narrative fiction และหนังทดลองแนวบรรยากาศ เหมือนหนังเรื่องนี้มันอยากจะทำอะไรก็ทำ และก็ไม่ได้ให้ message หรืออะไรไปครอบหนังไว้จนขาดความเป็นอิสระไปด้วย (จริง ๆ แล้วหนังมันอาจจะมี message ก็ได้นะ แต่เราแค่ไม่เข้าใจมันเอง 555)

 

อีกอย่างที่ชอบมากในหนังเรื่องนี้ ก็คือดนตรีประกอบของหนัง เหมือนคุณ Saharat น่าจะเชี่ยวชาญด้านดนตรีคลาสสิคมาก ๆ และเขาก็ใช้ประโยชน์จากมันอย่างเต็มที่ในหนังเรื่องนี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี

 

5.THE FORBIDDEN PLAY (2023, Hideo Nakata, Japan, A+30)

 

6.BODY HOME (2023, Orawan Arunrak, video installation, A+30)

 

7.HOME BODY (2023, Orawan Arunrak, video installation, A+30)

 

8.THE END WE START FROM (2023, Mahalia Belo, UK, A+30)

 

9.KYRIE NO UTA (2023, Shinji Iwai, Japan, A+30)

 

10.MILLER’S GIRL (2024, Jade Halley Bartlett, A+30)

 

11.IF IT’S TOO BAD TO BE TRUE, IT COULD BE DISINFORMATION (1985, Martha Rosler, 17min, A+30)

 

12.THE THREE MUSKETEERS: MILADY (2023, Martin Bourboulon, France, A+25)

 

13. เหมรฺย MEI (2024, Ekkachai Srivicha, A+25)

 

14.FIGHTER (2024, Siddharth Anand, India, 160min, A+25)

 

สรุปว่า ใน 4 สัปดาห์แรกของปี 2024 เราดูหนังไปแล้ว 48+14 = 62 เรื่อง

Sunday, January 28, 2024

FILMS THAT INSPIRE ME TO LIVE

 

อันนี้ขออนุญาต “ตอบไม่ตรงคำถาม” 555555 เพราะถ้าหนังที่ “เติมไฟ” หมายถึงหนังที่กระตุ้นให้เราลุกขึ้นมาสร้างอะไรที่ “ยิ่งใหญ่” หรือกระตุ้นให้เรา “ไขว่คว้าหาความสำเร็จในชีวิต” นี่ไม่มีนะ 555 ไม่มีหนังที่ส่งผลกระทบต่อเราในแบบนั้น แต่ถ้าหนังที่ “เติมไฟ” หมายถึงหนังที่ทำให้เรา “ตัดสินใจว่าวันนี้เราจะยังไม่ฆ่าตัวตาย ยังอยากลองมีชีวิตอยู่ต่อไปอีกสักวันหนึ่ง” นี่ก็อาจจะรวมถึงหนัง 3 เรื่องนี้

 

1.BLEED FOR THIS (2016, Ben Younger)

 

เพราะเราเป็นคนที่มักจะมีปัญหาเรื่องสุขภาพ หนังเรื่องนี้ก็เลยให้กำลังใจเราได้ดีมาก ๆ

 

2.SWANN (1996, Anna Benson Gyles, Canada)

 

ชอบความ “ไม่แคร์ชื่อเสียง” ของตัวละครนางเอกมาก ๆ เหมือนนางเอก “แค่พอใจในความสามารถในการแต่งบทกวีของตัวเอง” เธอก็มีความสุขแล้ว และไม่เห็นจะต้องแคร์เลยว่า คนอื่น ๆ จะมองเห็นความสามารถของตัวเราหรือไม่ เหมือนนางเอกมองว่า “ความสุขของกูไม่ขึ้นอยู่กับสายตาของพวกมึง” แต่ขึ้นอยู่กับสายตาของเราที่มองตัวเราเอง

 

3.DYING AT A HOSPITAL (1993, Jun Ichikawa, Japan)

 

ซึ่งจริง ๆ แล้วหนังอย่าง IT’S A WONDERFUL LIFE (1946, Frank Capra) และ FALLEN LEAVES (2023, Aki Kaurismaki) ก็เป็นหนังที่ “ช่วยให้กำลังใจในการมีชีวิตอยู่ต่อไป” สำหรับเราได้อย่างดีมาก ๆ เลยนะ แต่มันยังเป็นรองหนังอย่าง DYING AT A HOSPITAL อยู่ในระดับนึง

 

คือหนังแนวเชิดชูคุณค่าของชีวิตมนุษย์ โดยเฉพาะพวกหนังคริสต์มาสของฝรั่ง มันยังติดกับดัก “เชิดชูสถาบันครอบครัว” น่ะ เหมือนหนังกลุ่มนี้ชอบสอนว่า “อย่าไปแสวงหาความร่ำรวยมากเกินไป แค่มีฐานะปานกลาง แล้วเลี้ยงดูลูกเมีย ให้เวลาลูกเมียอย่างอบอุ่น อย่าบ้างานมากเกินไป” อะไรทำนองนี้ ซึ่งเราก็จะไม่อินกับหนังกลุ่มนี้ เพราะถึงแม้เราจะเห็นด้วยกับความ anti-capitalism ของหนังกลุ่มนี้ แต่เราก็จะไม่อินกับความ “เชิดชูสถาบันครอบครัว” ของหนังกลุ่มนี้

 

ส่วนหนังอย่าง IT’S A WONDERFUL LIFE ก็เป็นหนังที่วิเศษมาก ๆ สำหรับเรา แต่เหมือนตัวละครพระเอกในหนังอาจจะเคยทำดีกับคนอื่น ๆ ไว้มากพอสมควรน่ะ เราก็เลยจะเอ๊ะ ๆ นิดนึงว่า เราจะสามารถอินกับพระเอกของหนังเรื่องนี้ได้มากนักหรือไม่นะ

 

เราก็เลยรู้สึกว่า FALLEN LEAVES เป็นหนังที่ชุบชูชีวิตจิตใจเราได้อย่างดีงามมาก ๆ เพราะเหมือนหนังมันก็ไม่ได้เชิดชูสถาบันครอบครัว ตัวละครนางเอกก็ไม่ได้ดูเคยเป็นคนที่ยิ่งใหญ่หรือสำคัญหรือเคยช่วยเหลือคนอื่น ๆ ไว้มากมายแบบพระเอกของ IT’S A WONDERFUL LIFE เหมือนนางเอกแค่ต้องการ “งานทำ” เพื่อที่จะได้มีเงินพอเลี้ยงชีพ และต้องการผัวสักคน ก็พอแล้ว เธอไม่ได้ต้องการชื่อเสียง, ไม่ได้ต้องการเป็นที่ยอมรับของคนหมู่มาก, ไม่ได้ต้องการสร้าง legacy อะไรทิ้งไว้ให้โลกจดจำรำลึกแต่อย่างใดทั้งสิ้น มุมมองของนางเอกที่มีต่อ “ความสุขของชีวิต” ก็เลยเข้ากับเราอย่างสุด ๆ เราก็เลยรักหนังเรื่อง FALLEN LEAVES อย่างสุด ๆ

 

แต่ แต่ แต่ นางเอกของ FALLEN LEAVES ก็เหมือนยังต้องการ “ความรัก”, “คนรัก” หรือ “ผัว” อยู่ดี

 

เราก็เลยรู้สึกว่า DYING AT A HOSPITAL ของ Jun Ichikawa นี่แหละคือหนังที่ถือว่า “สุดขีด” ที่สุดจริง ๆ ในขั้นนี้ เพราะดูหนังเรื่องนี้แล้วเรารู้สึกได้เลยว่า กูไม่มีผัว ไม่มีคนรัก ไม่มีชื่อเสียง ไม่ได้ร่ำรวยมากนัก ไม่มีคนจดจำกู ไม่มีคนคิดถึงกู  กูก็มีความสุขได้แล้ว เพราะตอนนี้ กูแค่ยังมี “ลมหายใจ” ก็พอแล้ว

 

IF IT’S TOO BAD TO BE TRUE, IT COULD BE DISINFORMATION (1985, Martha Rosler, 17min, A+30)

 

FAVORITE FOOD PORN FILMS

 

LITTLE FOREST: SUMMER/AUTUMN (2014, Junichi Mori, Japan), LITTLE FOREST: WINTER/SPRING (2015, Junichi Mori), TAMPOPO (1985, Juzo Itami, Japan), BABETTE’S FEAST (1987, Gabriel Axel, Denmark), ARUNA AND HER PALATE (2018, Edwin, Indonesia), NAMETS (2008, Jay Abello, Philippines)

 +++

IF IT’S TOO BAD TO BE TRUE, IT COULD BE DISINFORMATION (1985, Martha Rosler, 17min, A+30)

 

ดูแล้วนึกถึง REPEATING DRAMATIC (2008, Arpapun Plungsirisoontorn), 100 TIMES REPRODUCTION OF A COCK KILLS A CHILD BY PECKING ON THE MOUTH OF AN EARTHEN JAR (2017, Chulayarnnon Siriphol), 1/4/C REGENERACIONES DE VHS A VHS (1999-2000, Antoni Pinent, Spain) ที่เล่นกับ “ภาพเสีย” เหมือนกัน โดยเป็นภาพที่เสียแบบคลื่นสัญญาณทางทีวีเสีย และดูแล้วก็นึกถึงภาพยนตร์บางเรื่องของคุณ Warat Bureephakdee ด้วย ที่เอา “คลิปข่าวการเมือง” มาใช้ในหนังทดลอง

https://vimeo.com/showcase/10849108/video/893048742

 

MATT DAMON

 

เราเคยดู MYSTIC PIZZA (1988, Donald Petrie) ทางโทรทัศน์เมื่อ 30 กว่าปีก่อน พอวันนี้เรา add รายชื่อนี้ลงใน letterboxd แล้วก็เลยเพิ่งรู้ว่า Matt Damon เล่นหนังเรื่องนี้ด้วย หนักมาก ๆ นี่เราดูการแสดงของ Matt Damon มานาน 30 กว่าปีแล้วหรือเนี่ย

Saturday, January 27, 2024

FILMS OF HATRED

 

พอเห็นชื่อคุณ Panitarn Boontarig ก็เลยนึกขึ้นมาได้ว่า ถ้าจำไม่ผิด ครั้งสุดท้ายที่เราได้ดูภาพยนตร์ที่กำกับโดยคุณ Panitarn Boontarig คือในปี 2010 โดยในตอนนั้นเราได้ดูภาพยนตร์ 3 เรื่องที่กำกับโดยคุณ Panitarn ซึ่งได้แก่เรื่อง GOOD MAN อยู่ในใจ, EMOTION CHANGE เพราะอารมณ์เปลี่ยนแปลงบ่อย และ LOVE HIDDEN รักนี้ที่ซ่อนไว้

++++

ฉันรักเขา Karan Singh Grover from FIGHTER (2024, Siddharth Anand, India, 160min, A+25)

 

ภาพยนตร์แห่งความเกลียดชัง, ภาพยนตร์ในฐานะ “อาวุธสงคราม” และ “โรงภาพยนตร์” ในฐานะ “สมรภูมิรบ”

 

FIGHTER (2024, Siddharth Anand, India, 160min, A+25)

+ BAZMANDE (THE SURVIVOR) (1995, Seifollah Dad, Iran, A+30)

+ THE BLOOD OF SUPAN เลือดสุพรรณ (1979, Cherd Songsri, A+30)

 

1.จริง ๆ แล้วเราชอบ “ฝีมือการกำกับ” ของ Siddharth Anand ใน FIGHTER ในระดับ A+30 เลยนะ รู้สึกว่าเขาทำให้หนังเรื่องนี้ออกมาดู “มี taste” มากกว่าหนังบู๊แอคชั่นตลาดแตกของอินเดียโดยทั่วไป แต่เราไม่สามารถทำใจให้ A+30 กับ FIGHTER ได้ เพราะเหมือนหนังมันถูกห่มคลุมไปด้วย “ความเกลียดชัง PAKISTAN” อย่างรุนแรงสุดขั้วมาก ๆ

 

2.ซึ่งจะว่าเราลำเอียงก็ใช่น่ะแหละ คือเราแทบไม่เคยรู้เรื่องราวความเลวร้ายที่ปากีสถานทำกับอินเดียในโลกแห่งความเป็นจริงมากนัก เรามักจะได้ดูแต่หนังแอคชั่นอินเดียที่อุดมไปด้วยความเกลียดชังปากีสถาน เพราะฉะนั้นพอ “สิ่งที่เรารับรู้ในโลกแห่งความเป็นจริง” กับ “ความเกลียดชังในหนัง” มันไม่สมดุลกัน เราก็เลยเหมือนรู้สึกว่าความเกลียดชังปากีสถานในหนังอินเดียเหล่านี้ ซึ่งรวมถึงในหนังเรื่อง FIGHTER มันดูมากเกินไปสำหรับเรา

 

3.ในขณะเดียวกัน เราก็เพิ่งดูหนังอิหร่านเรื่อง BAZMANDE (THE SURVIVOR) ที่เต็มไปด้วย “ความเกลียดชัง ISRAEL” อย่างรุนแรงสุดขั้วมาก ๆ ซึ่งเอาจริงแล้วเราก็ไม่ได้ประทับใจฝีมือการกำกับของ Seifollah Dad ในระดับ A+30 นะ แต่ตัว “เนื้อเรื่อง” มันเข้าทางเราอย่างสุด ๆ โดยเฉพาะการที่นางเอกเป็น “หญิงชรา” ที่ต้องเผชิญกับทางเลือกที่ตัดสินใจได้ยากตลอดทั้งเรื่อง

 

ซึ่งถึงแม้ BAZMANDE จะเต็มไปด้วย “ความเกลียดชัง ISRAEL อย่างรุนแรงสุดขั้ว” แต่เรากลับรู้สึกว่าเรายอมรับมันได้มากกว่า FIGHTER และหนังแอคชั่นอินเดียที่เต็มไปด้วยความเกลียดชัง PAKISTAN ซึ่งนั่นก็คงเป็นเพราะความลำเอียงของเราเอง ซึ่งความลำเอียงของเราก็เป็นเพราะเราได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับความเลวร้ายต่าง ๆ ที่อิสราเอลทำกับชาวปาเลสไตน์ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา เพราะฉะนั้นพอเรารู้สึกว่า “ความเกลียดชังในหนัง” กับ “ข้อมูลข่าวสารในโลกแห่งความเป็นจริง” มันไม่ได้ขัดแย้งกันอย่างรุนแรงมากนัก เราก็เลยเหมือนทำใจยอมร้บ “ความเกลียดชัง ISRAEL” ที่ถูกบรรจุไว้อย่างล้นปรี่ในหนังเรื่อง BAZMANDE ได้ในระดับนึง

 

4. ส่วน “เลือดสุพรรณ” นั้น เราไม่ถือว่าเป็น “ภาพยนตร์แห่งความเกลียดชัง” แต่อย่างใด แต่พอดีเราได้ดูหนังเรื่องนี้ในช่วงนี้พอดี และรู้สึกว่ามันเหมาะเทียบเคียงกับ “ภาพยนตร์แห่งความเกลียดชัง” อีกสองเรื่อง

 

คือจริง ๆ แล้วในองก์สุดท้ายของ “เลือดสุพรรณ” นั้น ตัวละครเหมือนจะเกลียดชังกองทัพพม่าอย่างรุนแรงมาก ๆ แต่เรารู้สึกว่า หนังมันไม่ได้ปลุกเร้าให้เรารู้สึกเกลียดชังพม่าในปัจจุบันน่ะ มันแตกต่างอย่างมาก ๆ จาก BAZMANDE และ FIGHTER ที่ดูเหมือนจะกระตุ้นให้เกิดความรู้สึก “ความเกลียดชังต่อคนชาติศัตรูในยุคปัจจุบัน”

 

ซึ่งสาเหตุที่ “เลือดสุพรรณ” พ้นผิดจากจุดด่างพร้อยนี้ในสายตาของเรา เป็นเพราะว่าช่วงสององก์แรกของหนัง มันพยายามอย่างยิ่งที่จะให้คนดูไม่มองคนพม่าแบบเหมารวมน่ะ เหมือนหนังพยายามนำเสนอตัวละครทหารพม่าที่ดูเป็นมนุษย์มนามากกว่าในหนังไทยแนวรักชาติโดยทั่วไป เพราะฉะนั้นตอนที่เราดูหนังเรื่องนี้ เราก็เลยไม่รู้สึกว่า หนังมันพยายามปลุกเร้าให้เราเกลียดชังคนพม่า (ซึ่งจะแตกต่างจาก BAZMANDE และ FIGHTER มาก ๆ) และพอเราดูจบแล้ว เราก็รู้สึกว่า จุดประสงค์หลักของหนังจริง ๆ แล้วคงไม่ใช่ต้องการด่าพม่า แต่หนังคงต้องการ “ปลุกเร้าความรักชาติ ความสามัคคีของคนในชาติ ในยุคสงครามเย็น” มากกว่า คือถึงแม้หนังมันจะไม่ได้พูดถึงคอมมิวนิสต์เลย แต่พอเราคิดถึงยุคสมัยของหนัง และคิดถึงสุนทรพจน์ของตัวละครบางตัวในหนัง เราก็เดาเอาว่า บางทีจุดประสงค์หลักของหนังน่าจะเป็นการปลุกเร้าคนดูชาวไทยให้สามัคคีกันต้านภัยคอมมิวนิสต์หรือเปล่า

 

ซึ่งจริง ๆ แล้วเราก็มีปัญหากับ “ความรักชาติอย่างล้นปรี่” ในองก์สุดท้ายของ “เลือดสุพรรณ” นะ แต่พอคิดถึงยุคสมัยที่หนังเรื่องนี้สร้างออกมาแล้ว เราก็พอทำใจยอมรับมันได้ในระดับนึง

 

แต่ยอมรับว่า พอเราดูหนังเหล่านี้แล้ว เราก็รู้สึกว่า “โรงภาพยนตร์” จริง ๆ แล้วมันก็ถือเป็น “สมรภูมิรบ” ในบางครั้งนะ เพราะเรารู้สึกว่าหนังอย่าง “สิงห์สำออย” (1977, Dokdin Gunyamal) มันก็เหมือนเป็น “อาวุธสงคราม” ที่ใช้ต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ในยุคนั้น หนังอย่าง BAZMANDE มันก็คือ “อาวุธสงคราม” ที่ใช้ต่อสู้กับอิสราเอล หนังอย่าง AMERICAN SNIPER (2014, Clint Eastwood) ก็เหมือนเป็นอาวุธสงครามของฝ่ายขวาในสหรัฐ  และหนังอย่าง FIGHTER ก็เหมือนเป็นอาวุธสงครามที่ใช้สู้กับปากีสถาน

 

ซึ่งโดยปกติแล้ว หนังที่เรารู้สีกว่ามันเป็น “อาวุธสงคราม” เหล่านี้ มันก็ไม่จำเป็นว่าจะต้อง “อุดมไปด้วยความเกลียดชังศัตรูอย่างล้นปรี่” นะ เพราะ “หนังที่อุดมไปด้วยความรักความเมตตา” อย่างเช่น ORDINARY HERO (2022, Tony Chan, China, A+15) นั้น เราก็รู้สึกว่า มันก็เหมือนเป็น “อาวุธสงคราม” ที่ใช้ต่อสู้กับกลุ่มกบฏแบ่งแยกดินแดนซินเกียงด้วยเหมือนกัน 55555 แต่พอหนังมันไม่ได้เน้นกระตุ้นความเกลียดชังในผู้ชม เราก็เลยไม่ได้รู้สึกต่อต้านมันมากนัก แต่รู้สึกฮากับความ propaganda ของมันมากกว่า

 

ก็เลยรู้สึกว่า สถานะของภาพยนตร์ในฐานะ political propaganda หรือ “อาวุธสงคราม” นี้ มันน่าสนใจดี และเราจะเห็นมันชัดมาก ๆ ใน “หนังแอคชั่นของอินเดีย” ในยุคปัจจุบัน ส่วนในอดีตนั้น เราก็ไม่รู้ว่ามันเริ่มต้นมาตั้งแต่เมื่อไหร่ มันเริ่มมาตั้งแต่ THE BIRTH OF A NATION (1915, D.W. Griffith) เลยหรือเปล่า เราก็ไม่แน่ใจ เพราะเรายังไม่ได้ดู THE BIRTH OF A NATION 55555 และแม้แต่ TRIUMPH OF THE WILL (1935, Leni Riefenstahl) เราก็ยังไม่ได้ดูเหมือนกัน

Thursday, January 25, 2024

WHEN I THINK OF JONAS MEKAS, I THINK OF 94 THAI FILM DIRECTORS

 

เห็นคุณ Warut Pornchaiprasartkul แปลบทความของ Jonas Mekas แล้วรู้สึกว่ามันดีงามมาก ๆ เลยขอเอามาแปะเก็บไว้ในนี้เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต

 

ถ้อยแถลงต่อต้านร้อยปีภาพยนตร์

 

โดย Jonas Mekas, 11 กุมภาพันธ์ 1996, อเมริกัน เซนเตอร์, ปารีส

 

อย่างที่คุณทราบดีว่าเป็นพระเจ้าซึ่งสร้างโลกใบนี้ และทุกอย่างบนโลก พระเจ้าคิดว่าทุกอย่างช่างยอดเยี่ยม จิตรกรทุกคน กวี นักดนตรี ต่างร่ำร้องเฉลิมฉลองให้กับการสร้างสรรค์ และทุกอย่างนั้นใช้ได้ทีเดียว แต่มันไม่ได้เป็นเช่นนั้นจริงๆ มีบางสิ่งที่ขาดหาย ดังนั้นเมื่อหนึ่งร้อยปีก่อน พระเจ้าจึงตัดสินใจสร้างกล้องถ่ายหนังขึ้น และสร้างคนทำหนัง พระเจ้าตรัสว่า “บัดนี้ นี่คืออุปกรณ์ที่เรียกว่ากล้องถ่ายหนัง พวกเจ้าจงไป ไปถ่าย เฉลิมฉลองความงามของการสร้างสรรค์และความฝันของจิตวิญญาณมนุษย์ และจงสนุกสนานกับมัน”

 

แต่ปีศาจเห็นแล้วไม่ชอบใจแม้แต่น้อย ปีศาจเลยวางถุงเงินไว้ตรงหน้ากล้อง และบอกกับคนทำหนังว่า “พวกเจ้าจะอยากเอากล้องไปเฉลิมฉลองความงามของโลกและจิตวิญญาณไปทำไม ทั้งๆที่พวกเจ้าหาเงินจากมันได้?” เชื่อหรือไม่ คนทำหนังทุกคนวิ่งตามถุงเงินนั้น พระเจ้าค่อยตระหนักว่าตัวเองทำพลาดอย่างแรง ดังนั้นอีก 25 ปีต่อมา เพื่อเป็นการแก้ไข พระเจ้าจึงสร้างเหล่าคนทำหนังอวองการ์ด คนทำหนังอิสระ และพูดว่า “นี่คือกล้องถ่ายหนัง จงรับมันไปสู่โลก เอาไปร้องรำทำเพลงให้กับความงามของทุกการสร้างสรรค์ และสนุกสนานกับมัน แต่พวกเจ้าจะต้องพบเจอกับช่วงเวลาที่ยากลำบากที่จะทำเช่นนั้นนะ และจะไม่มีทางได้เงินสักแดงเดียว”

 

พระเจ้ากล่าวกับ Viking Eggeling, Germaine Dulac, Jean Epstein, Fernand Leger, Dmitri Kirsanoff, Marcel Duchamp, Hans Richter, Luis Bunuel, Man Ray, Cavalcanti, Jean Cocteau, และ Maya Deren, และ Sidney Peterson, และ Kenneth Anger, Gregory Markopoulos, Stan Brakhage, Marie Menken, Bruce Baillie, Francis Lee, Harry Smith และ Jack Smith และ Ken Jacobs, Ernie Gehr, Ron Rice, Michael Snow, Joseph Cornell, Peter Kubelka, Hollis Frampton และ Barbara Rubin, Paul Sharits, Robert Beavers, Christopher McLain, และ Kurt Kren, Robert Breer, Dore O, Isidore Isou, Antonio De Bernardi, Maurice Lemaitre, และ Bruce Conner, และ Klaus Wyborny, Boris Lehman, Bruce Elder, Taka Iimura, Abigail Child, Andrew Noren และคนอื่นๆอีกมากมาย คนอื่นๆอีกมากมายทั่วโลก พวกเขาคว้ากล้องโบเล็กซ์ไป กล้องแปดมิลตัวเล็ก กล้องซูเปอร์ 8 แล้วเริ่มบันทึกความงามของโลก และการผจญภัยอันซับซ้อนของจิตวิญญาณมนุษย์ พวกเขามีช่วงเวลาที่สนุกสนานที่ได้ทำสิ่งนี้ และภาพยนตร์ของพวกเขาไม่เคยได้ตังค์ และไม่เคยทำในสิ่งที่ถูกเรียกว่าเป็นประโยชน์

 

ขณะพิพิธภัณฑ์ทั่วโลกกำลังเฉลิมฉลองหนึ่งร้อยปีชาตกาลภาพยนตร์ เป็นมูลค่ากว่าล้านๆดอลลาร์ที่ภาพยนตร์หามาได้ ฮอลลีวู้ดของพวกเขาได้รับการเห่อเหิมทั่วสารทิศ แต่ไม่มีเลย ไม่มีเลยจริงๆที่หนังอวองการ์ด ภาพยนตร์อิสระ ภาพยนตร์ของพวกเราจะถูกเอ่ยถึง

 

ฉันเห็นโบรชัวร์ โปรแกรมของพิพิธภัณฑ์ คลังอนุรักษ์ และหอภาพยนตร์ต่างๆทั่วโลก แต่ที่เหล่านี้พูดว่า “พวกเราไม่สนใจภาพยนตร์ของคุณ” ในช่วงเวลาแห่งความใหญ่โต ตื่นตาตื่นใจ โปรดักชั่นระดับร้อยล้าน ฉันต้องการส่งเสียงให้กับสิ่งเล็กสิ่งน้อย การกระทำที่ไม่อาจมองเห็นของจิตวิญญาณมนุษย์ สิ่งที่แสนละเอียดอ่อน บางกระจ้อย และตายจากเมื่อถูกนำออกมาเปิดกางอยู่ใต้แสงโร่ ฉันต้องการเฉลิมฉลองให้กับภาพยนตร์ในรูปแบบเล็กๆทั้งหลาย ภาพยนตร์ที่เป็นเหมือนโคลงกวี ที่เป็นสีน้ำ เพลงสั้นๆ ภาพร่าง ภาพเหมือนบุคคล ลายอะราเบสก์ และ บากาเทล และท่วงทำนองของกล้องแปดมิลตัวเล็กๆ ในช่วงเวลาที่ทุกคนต้องการความสำเร็จและการขาย ฉันต้องการเฉลิมฉลองให้กับผู้คนที่โอบกอดสังคมและมือเล็กๆในแต่ละวันที่ไขว่คว้าสิ่งซึ่งมองไม่เห็น สิ่งอันเป็นส่วนตัวที่จะไม่ทำให้คุณมีกิน และจะไม่เป็นประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ประวัติศาสตร์ศิลปะ หรือประวัติศาสตร์อื่นใด ฉันแค่ยืนอยู่ตรงนี้เพื่อศิลปะ สิ่งที่พวกเราทำเพื่อกันและกัน ในฐานะเพื่อน

 

ฉันกำลังยืนอยู่กลางทางหลวงของข้อมูลข่าวสาร และกำลังหัวร่อ เพราะผีเสื้อตัวหนึ่งบนดอกไม้น่ารักๆสักแห่งในประเทศจีนเพิ่งจะกระพือปีกของมัน และฉันรู้ว่าประวัติศาสตร์ทั้งมวล วัฒนธรรมจะเปลี่ยนแปลงอย่างยิ่งด้วยการกระพือน้อยๆนั้น กล้องซูเปอร์ 8 เพิ่งส่งเสียงเฉวียนฉวัดเบาๆที่ไหนสักแห่ง ที่ไหนสักแห่งละแวกโลเวอร์อีสต์ไซด์ของนิวยอร์ก และโลกจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป

 

ประวัติศาสตร์ที่แท้จริงของภาพยนตร์คือประวัติศาสตร์ที่ไม่ถูกมองเห็น ประวัติศาสตร์ของเพื่อนๆที่มารวมตัวกัน ทำในสิ่งที่พวกเขารัก ภาพยนตร์กำลังเริ่มต้นด้วยทุกการเคลื่อนไหวใหม่ๆของเครื่องฉาย ด้วยทุกการเคลื่อนไหวใหม่ๆของกล้องของพวกเรา หัวใจของพวกเราโดดไปข้างหน้าเพื่อนเอ๋ย

 

 

ส่วนอันนี้เป็นต้นฉบับภาษาอังกฤษของบทความของ Jonas Mekas จ้ะ

https://web.facebook.com/photo?fbid=10218922749643101&set=a.10209176152904274



พอ Jonas Mekas กล่าวชื่นชมผู้กำกับภาพยนตร์อิสระและผู้กำกับภาพยนตร์แนวอวองท์การ์ดที่ filming the beauty of this world, and the complex adventures of the human spirit, and they're having great fun doing it. And the films bring no money and do not do what's called useful. แล้ว เราก็เลยคิดว่าเราอยากจะถือโอกาสนี้ทำลิสท์รายชื่อผู้กำกับภาพยนตร์กลุ่มนี้ของไทยที่สร้างความสุขอย่างล้นปรี่ให้กับเราในช่วง 20-30 ปีที่ผ่านมาด้วยก็แล้วกัน คือจริง ๆ แล้วเราก็รู้สึกว่ามีผู้กำกับภาพยนตร์ไทยจำนวนมาก โดยเฉพาะในวงการหนังสั้น ที่ทำหนังอิสระหรือทำหนังทดลองที่งดงามในแบบที่คล้าย ๆ กับผู้กำกับในรายชื่อของ Jonas Mekas เราก็เลยอยากจะถือโอกาสนี้ลิสท์รายชื่อพวกเขาบ้าง แต่เราไม่ได้คาดหวังให้หนังของพวกเขา “ไม่ทำเงิน” นะ 555555 เราหวังว่าหนังของพวกเขาจะทำเงินสูง ๆ หรือหวังว่าพวกเขาจะมีฐานะร่ำรวยมาก ๆ จากการประกอบอาชีพอื่น ๆ เราเพียงแค่อยากจะจดบันทึกความทรงจำเอาไว้ว่า เรารักผลงานภาพยนตร์ของพวกเขามาก ๆ ในอดีตที่ผ่านมา ส่วนในอนาคตนั้น ถ้าหากพวกเขาจะหันไปเน้นสร้างหนังที่ “ทำเงิน” มันก็เป็นเรื่องที่ปกติที่สุดของชีวิตมนุษย์จ้ะ เพราะถ้าหากเป็นเรา เราก็อาจจะหันไปเน้นสร้างหนังที่ “ทำเงิน” เช่นกัน เพื่อที่เราจะได้มีเงินซื้อข้าวกิน และเผื่อจะได้มีเวลา, กำลังกาย และกำลังทุนทรัพย์เอาไว้ใช้สำหรับการสร้างหนังที่ใจอยากทำจริง ๆ ในภายหลัง

ซึ่งผู้กำกับของไทยที่เราคิดถึงเมื่อได้เห็นรายชื่อผู้กำกับในลิสท์ของ Jonas Mekas นั้น ก็รวมถึงผู้กำกับหนังทดลองของไทย 44 รายในบทความ MYSTERIOUS OBJECTS FROM THAILAND ที่เรากับเพื่อน ๆ เคยเขียนถึงในปี 2012 หรือเมื่อ 12 ปีก่อน โดยผู้กำกับ 44คนนั้น มีดังต่อไปนี้ (ตัวบทความนั้นไม่รวมผู้กำกับหนังไทยที่โด่งดังในต่างประเทศอยู่แล้วในตอนนั้น อย่างเช่น Apichatpong Weerasethakul)

http://www.experimentalconversations.com/article/mysterious-objects-from-thailand/

http://www.experimentalconversations.com/article/part-2-of-mysterious-objects-from-thailand/

http://www.experimentalconversations.com/article/part-3-of-mysterious-objects-from-thailand/

http://www.experimentalconversations.com/article/postscript-to-mysterious-objects-from-thailand/

 

1.Aditya Assarat (HI-SO)

 

2.Anocha Suwichakornpong (BY THE TIME IT GETS DARK)

 

3.Araya Rasdjarmrearnsook (THE NINE-DAY PREGNANCY OF A SINGLE MIDDLE-AGED ASSOCIATE PROFESSOR)

 

4.Arthawut Boonyuang (TIME TO BE…)

 

5.Chaloemkiat Saeyong (POLITICALLY LAWYER AND NARRATIVE CINEMA)

 

6.Chonlasit Upanigkit (W)

 

7.Chulayarnnon Siriphol (A BRIEF HISTORY OF MEMORY)

 

8.Ing K. (MY TEACHER EATS BISCUITS)

 

9.Jakrawal Nilthamrong (VANISHING POINT)

 

10.Korn Kanogkekarin (WHY DO YOU JUMP?)

 

11.Manussak Dokmai (WAY OF THINKING 1: LAOTIAN SOLDIERS WOULD LIKE TO CHANGE THAI PEOPLE’S IDEAS)

 

12. Michael Shaowanasai (KKK)

 

13. Napat Treepalavisetkun (A SERIES OF SALINEE EVENT)

 

14. Nawapol Thamrongrattanarit (MARY IS HAPPY, MARY IS HAPPY)

 

15.Nontawat Numbenchapol (WEIRDROSOPHER WORLD)

 

16. Panu Aree (MAGIC WATER)

 

17. Phaisit Phanphruksachat (THE CRUELTY AND THE SOY-SAUCE MAN)

 

18.Phutthiphong Aroonpheng (STRANGER FROM THE SOUTH)

 

19. Pimpaka Towira (MAE NAK)

 

20. Pramote Sangsorn (THE ISLAND OF UTOPIAS)

 

21. Prap Boonpan (THE BANGKOK BOURGEOIS PARTY)

 

22. Ratchapoom Boonbunchachoke (BODILY FLUID IS SO REVOLUTIONARY)

 

23. Sasithorn Ariyavicha (BIRTH OF THE SEANÉMA)

 

24. Sompot Chidgasornpongse (RAILWAY SLEEPERS)

 

25. Suchart Sawasdsri (DON’T EVEN THINK ABOUT IT)

 

26. Taiki Sakpisit (THE EDGE OF DAYBREAK)

 

27. Tanatchai Bandasak (ENDLESS RHYME)

 

28. Teerath Whangvisarn (DAMNED LIFE OF YOI)

 

29. Thunska Punsittivorakul (VOODOO GIRLS)

 

30. Tossapol Boonsinsukh (AFTERNOON TIMES)

 

31. Tulapop Saenjaroen (SAD SCENERY)

 

32. Uruphong Raksasad (MARCH OF TIME)

 

33. Vichaya Mukdamanee (RE-CONFIGURATION OF WOOD SHELVES)

 

34. Visra Vichit-Vadakan (RISE)

 

35. Wachara Kanha (AWARENESS ภาษาที่เธอไม่เข้าใจ)

 

36. Wasunan Hutawach (LET’S EAT)

 

37. Weerapong Wimuktalop (COLOURS ON THE STREETS)

 

38. Weerasak Suyala (THE PEN)

 

39. Zart Tancharoen (ONE NIGHT)

 

40. Teeranit Siangsanoh (THE BURNT-OUT STAR)

 

41. Ukrit Sa-nguanhai (CELESTIAL SPACE)

 

42. Viriyaporn Boonprasert (I’M GONNA BE A NAÏVE)

 

43. Vorakorn Ruetaivanichkul (MOTHER)

 

44. Wichanon Somumjarn (IN APRIL THE FOLLOWING YEAR, THERE WAS A FIRE)

 

แต่ลิสท์ผู้กำกับ 44 รายนี้เป็นลิสท์ผู้กำกับที่เรากับเพื่อน ๆ ทำขึ้นในปี 2012-2013 หรือเมื่อ 12 ปีก่อน ส่วนในช่วง 12 ปีต่อมานั้น ก็มีผู้กำกับภาพยนตร์แนวอวองท์การ์ดและผู้กำกับภาพยนตร์อิสระของไทยอีกหลายคนที่เรานึกถึงเมื่อได้เห็นรายชื่อผู้กำกับในลิสท์ของ Jonas Mekas ด้วยเช่นกัน แต่เราคงไม่สามารถจะลิสท์รายชื่อผู้กำกับชาวไทยที่ควรกล่าวถึงให้ครบหมดทุกคนได้ เพราะฉะนั้นเราขอลิสท์เพียงแค่ไม่กี่คนก็แล้วกันนะ ส่วนใครที่เราไม่ได้ใส่ไว้ในรายชื่อนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าเราไม่ได้รักผลงานภาพยนตร์ของพวกท่านนะ :-)

 

45. Abhichon Rattanabhayon (SAWANKHALAI)

 

46. Achitaphon Piansukprasert (BLOOD RAIN)

 

47. Aekaphong Saransate (THE SEA RECALLS)

 

48.Anant Kasetsinsombut (THE BRAVE CHICKEN AND THE WILD DOG)

 

49.Arnont Nongyao (GHOST RABBIT & THE CASKET SALES)

 

50.Boonsong Nakphoo (VILLAGE OF HOPE วังพิกุล)

 

51.Chanasorn Chaikittiporn (HOMATAGIA)

 

52.Chantana Tiprachart (HOW FAR A BETTER LIFE)

 

53.Chaweng Chaiyawan (THE LAST MISSION)

 

54. Eakalak Maleetipawan (BOYS ARE BACK IN TOWN)

 

55.Jakkrapan Sriwichai (10 AUDIENCES)

 

56.Jatupol Kiawsaeng (A GIRL WHO WALKS ALONE AT DAY)

 

57.Jessada Chan-yaem (THE SOUND OF DEVOURING DUST)

 

58.Jirassaya Wongsutin (MENSTRUAL SYNCHRONY)


59.Karan Wongprakarnsanti (KORO)

 

60.Kong Pahurak (IN THE FLESH)

 

61.Korakrit Arunanondchai (PAINTING WITH HISTORY IN A ROOM FILLED WITH PEOPLE WITH FUNNY NAMES 3)

 

62.Koraphat Cheeradit (TOMORROW I FUCKING WITH YESTERDAY NOW!)

 

63.Navin Rawanchaikul (HONG RUB KHAEK ห้องรับแขก)

 

64.Nipan Oranniwesna (A PERFECT PLACE 01072015 (KONO TABI))

 

65. Nutcha Tantivitayapitak (MR. ZERO)

 

66.Padcha Ithijarukul (MOM YONG BENJAWAN)

 

67.Patana Chirawong (TEARS)

 

68.Pathompon Tesprateep (THERE IS NO CENTER OF THE UNIVERSE)

 

69.Patiparn Boontarig (TORTURE ROOM)

 

70.Phasitpol Kerdpool (A PERSONAL ODYSSEY)

 

71.Possathorn Watcharapanit (SENSORY MEMORY)

 

72.Prapat Jiwarangsan (THE ASYLUM)

 

73.Premwong Rattanadilok Na Phuket (L’ESSENTIEL)

 

74.Puangsoi Aksornsawang (NAKORN-SAWAN)

 

75.Saroot Supasuthivech (GHOST’S ALL MASS)

 

76.Sivaroj Kongsakul (ETERNITY)

 

77.Siwakorn Bunsrang (WHEN THE WIND BLOWS)

 

78.Somghad Meyen (MEMORY OF LOVE BOONGOM บันทึกรักของบุญกึ่ม)

 

79.Sompong Soda (WANG YUEN HAB วังยื่นหาบ)

 

80.Sorayos Prapapan (NEW ABNORMAL)

 

81.Supamok Silarak (VIOLET BASIL)

 

82.Tanakit Kitsanayunyong (TODAY THE AIR IS BETTER. OXYGEN STARTS COMING IN. วันนี้อากาศเริ่มดีขึ้นแล้ว ออกซิเจนเริ่มเข้ามาแล้ว)

 

83.Taweechok Pasom (TGUgcXVhdG9yemUganVpbGxldA)

 

84.Teeraphan Ngowjeenanan (WAY OF DUST หากเข้านัยน์ตาเราก็คงจะทำให้เสียน้ำตา)

 

85.Tewprai Bualoi (FRIENDSHIP ENDED WITH MUDASIR NOW SALMAN IS MY BEST FRIEND)

 

86.Thanit Yantrakovit (HAPPY ENDING)

 

87.Thapanee Loosuwan (BLUE AGAIN)

 

88.Theerapat Wongpaisarnkit (HUU)

 

89.Theeraphat Ngathong (HOLIDAY HOMEWORK)

https://www.youtube.com/watch?v=BIo6r26IhT4

 

90.Vichart Somkaew (ONE TRUE THING)

 

91.Warat Bureephakdee (E KWAI STANDING STILL)

 

92.Wattanapume Laisuwanchai (GOLDEN MOUNTAIN)

 

96.Weera Rukbankerd (MESSAGES ARE NOT TRUE STORY)

 

94.Weerapat Sakolvaree (THE ETERNAL LABYRINTH)

 

ก็ขอจดบันทึกความทรงจำเอาไว้ว่า พอเราได้เห็นรายชื่อผู้กำกับในลิสท์ของ Jonas Mekas เราก็นึกถึงผู้กำกับภาพยนตร์ไทยทั้ง 94 รายนี้ รวมทั้งคนอื่น ๆ ด้วยที่เราไม่มีเวลาจดบันทึกจ้ะ ถ้าเราสามารถขอพรได้ เราก็ขอตั้งความปรารถนาให้ MAY THE SPIRITS OF INDEPENDENT CINEMA ALWAYS BE WITH ALL OF THEM นะ และขอตั้งความปรารถนาให้ MAY ENOUGH FINANCIAL RESOURCES ALWAYS BE WITH ALL OF THEM ด้วย

 

รูปจาก CONTENT ทางกลับแฟลต ( 2023, บุศรา สอนเจริญทรัพย์, อนันต์ เกษตรสินสมบัติ / 17.30 นาที), ASLEEP  (2022, Premwong Rattanadilok Na Phuket), BLOOD RAIN ฝนเลือด (2023, Achitaphon Piansukpraset, 73min), THE SOUND OF DEVOURING DUST นครฝุ่น (2022, Jessada Chan-yaem, 34min), AS I WAS MOVING AHEAD OCCASIONALLY I SAW BRIEF GLIMPSES OF BEAUTY (2000, Jonas Mekas, 4hrs 48mins), TOMORROW I FUCKING WITH YESTERDAY NOW! (2023,  กรภัทร์ จีระดิษฐ์ / 15.17 นาที), E KWAI STANDING STILL ขอสดุดี แด่วีรชน ผู้กล้า และควายเผือกพิเศษ (2023, Warat Bureephakdee, 30min), A PERFECT PLACE 09022021 (HUMP) (2022, Nipan Oranniwesna, 29min), HOW FAR A BETTER LIFE เรื่องเล่าจากดอนโจด (2017, Chantana Tiprachart)