Thursday, November 30, 2017

WORD IS OUT

WORD IS OUT (1977, Nancy Adair, Andrew Brown, Rob Epstein, documentary, 135min,  A+30)

คลาสสิคจริงๆ หนังสารคดีเรื่องนี้นำเสนอบทสัมภาษณ์เกย์และเลสเบียน 26 คนในสหรัฐอเมริกาในช่วงทศวรรษ 1970 ตัดสินไม่ได้จริงๆว่าเรื่องของใครหนักที่สุดหรือน่าประทับใจที่สุด เพราะเรื่องราวของแต่ละคนก็น่าสนใจมากๆ

เราว่าหนังเรื่องนี้ยิ่งมีคุณค่ามากขึ้นเรื่อยๆเมื่อเวลาผ่านไป เพราะมันได้จดบันทึกไว้ว่าเกย์และเลสเบียนในอดีตเคยมีชีวิตที่ทุกข์ทรมาน, ขมขื่น หรือเผชิญกับการกดขี่ข่มเหงมากเพียงใด เพราะชีวิตของหลายคนในหนังเรื่องนี้มันแตกต่างจากในยุคปัจจุบันมาก บางคนในหนังเรื่องนี้ถูกจับส่งเข้าโรงพยาบาลบ้าเพียงเพราะเขาเป็นเกย์และเลสเบียน และหลายคนต้องใช้ชีวิตอย่างโดดเดี่ยวมากๆ เพราะพวกเขาไม่รู้จักเกย์หรือเลสเบียนคนอื่นๆในชุมชนของตนเองเลย ซึ่งเราเข้าใจว่าเป็นเพราะยุคนั้นหลายคนใช้ชีวิตแบบปกปิดความจริง และยุคนั้นมันยังไม่มี internet ซึ่งจะช่วยให้เกย์ที่ใช้ชีวิตอย่างโดดเดี่ยวหลายคนมีช่องทางในการติดต่อพูดคุยกับเกย์คนอื่นๆได้

มันน่าดีใจมากๆที่โลกเราในปัจจุบันนี้พัฒนาไปมากแล้ว ทั้งในเรื่องสิทธิเกย์, สิทธิคนดำ และสิทธิสตรีเมื่อเทียบกับ 50 ปีก่อน (ยกเว้นเสรีภาพในการแสดงออกในไทยที่ยังไม่ได้พัฒนาไปไหน) เพราะในปัจจุบันนี้หลายประเทศก็มีกฎหมายให้เกย์แต่งงานกันได้ และรับลูกบุญธรรมมาเลี้ยงได้แล้ว นายกรัฐมนตรีของประเทศในยุโรปบางประเทศก็เป็นเกย์และเลสเบียนอย่างเปิดเผย คือยุคปัจจุบันนี้ชีวิตเกย์มันดีกว่าเมื่อ 50 ปีก่อนมาก หนังสารคดีเรื่องนี้ก็เลยมีคุณค่ามากๆในการทำให้เราไม่ลืมว่า กว่าที่เราจะลืมตาอ้าปากได้แบบในปัจจุบันนี้ คนรุ่นก่อนหน้าเราเคยเจอกับการกดขี่ข่มเหงอย่างไรบ้างจากสังคม

เรื่องที่เราชอบมากๆในหนังเรื่องนี้ก็มีเช่น

1.เรื่องของเลสเบียนที่ถูกพ่อแม่จับเข้าโรงพยาบาลบ้า

2.เรื่องของเกย์หนุ่มหล่อคนนึง ที่แต่งงานมีเมีย แต่เขาแอบรักกับโจที่แต่งงานและมีเมียเช่นกัน จนวันนึงเมียของเขาทนไม่ไหว ก็เลยโทรศัพท์ไปหาเมียของโจ แล้วบอกว่า “ถ้าโจต้องการผัวกู ก็มาเอาไปได้เลย” อะไรทำนองนี้

3.เรื่องของเกย์ที่เล่าว่า ตอนเขาอายุ 14 ปี เขาออกล่าผู้ชายอายุราว 30 ปีเป็นประจำ และเขารู้สึกขำมากกับกฎหมายที่ทำเหมือนกับว่า เด็กอายุ 14-15 ปีเป็น “เหยื่อ” เพราะจริงๆแล้วตัวเขาตอนอายุ 14-15 ปีนั้น มีสถานะเป็น “ผู้ล่า” ต่างหาก

4.Nathaniel Dorsky ผู้กำกับหนังทดลองชื่อดัง ก็ให้สัมภาษณ์ด้วย เราชอบมากที่เขาบอกว่า การได้แสดงออกอย่างเสรีถึงรสนิยมทางเพศของตัวเอง ทำให้เขาเป็น “human” เพราะถ้าเขามัวแต่ต้องปกปิดความจริงเรื่องที่ว่าเขาเป็นเกย์ เขาก็จะกลายเป็น “object of hysteria” แทนที่จะเป็น Human

5.เลสเบียนช่างประปาที่รักกับเลสเบียนช่างไฟฟ้า คือสองคนนี้ไม่ได้มีอาชีพเป็นช่างประปากับช่างไฟฟ้านะ แต่เหมือนสองคนนี้แบ่งงานกันทำ และพัฒนาทักษะต่างๆจนสามารถพึ่งพาตัวเองได้หมดในการสร้างบ้านที่ไหนก็ได้ อะไรทำนองนี้

6.เรื่องของเลสเบียนทหารหญิงในกองทัพ คือเธอเล่าว่ามีเลสเบียนในกองทัพเยอะมาก แต่อยู่ดีๆในช่วงราวทศวรรษ 1950 กองทัพสหรัฐก็กวาดล้างเลสเบียน และไล่เลสเบียนออกจากกองทัพหมดเลย แถมยังมีการไต่สวน ให้แต่ละคนป้ายความผิดซึ่งกันและกันด้วย

7.เรื่องของผู้หญิงที่ทำงานเป็น babysitter แล้วก็เลยได้แม่ของเด็กเป็นแฟน โดยทั้งสองต่างก็เคยมีสามีและหย่ากับสามีมาแล้ว

8.เรื่องของหนุ่มเอเชีย ที่เคยดูหนังในโรง แล้วมีชายหนุ่มมานั่งข้างๆ แล้วเอาขามาสีกัน ถูไถกันจนเกิดอารมณ์

9.เรื่องของเกย์วัยชราที่เล่าว่าเขาเบื่อทศวรรษ 1930 มาก เพราะในยุคนั้นผู้ชายต้องสร้างภาพลักษณ์ตัวเองให้เหมือน Gary Cooper และ Clark Gable ซึ่งมันเป็นเรื่องน่าเบื่อมากๆสำหรับเกย์

10.เรื่องของเลสเบียนวัยชราที่เกิดในปี 1898 เธอเล่าว่าเวลาเธออยู่คนเดียวท่ามกลางธรรมชาติ เธอไม่รู้สึกโดดเดี่ยว แต่เวลาที่เธออยู่ท่ามกลางฝูงชนหลายๆคน เธอถึงจะรู้สึกโดดเดี่ยว

เราชอบมากๆที่เธอตั้งคำถามว่า ผู้กำกับหนังสารคดีเรื่องนี้พยายามจะเอาคนที่ถูกสัมภาษณ์ไป fit ใน frame หรือใน structure อะไรหรือเปล่า ซึ่งเรารู้สึกว่ามันเป็นคำถามที่สำคัญ เพราะถ้าหากผู้กำกับหนังสารคดีเรื่องนี้มุ่งมั่นแต่จะนำเสนอประเด็นเรื่อง “สิทธิเกย์” เขาก็จะละเลยแง่มุมความเป็นมนุษย์อื่นๆของตัวผู้ถูกสัมภาษณ์ไป แต่ถ้าหากผู้กำกับหนังเรื่องนี้ไม่พยายามจะบีบอัดผู้ถูกสัมภาษณ์ให้เข้ากับ frame หรือ structure ที่ตัวเองวางไว้ ผู้ถูกสัมภาษณ์ก็จะได้รับอนุญาตให้เป็นมนุษย์จริงๆ แทนที่จะเป็นเพียงแค่ สิ่งที่มารองรับ “ประเด็น” เท่านั้น

เราก็เลยชอบมากที่หนังเรื่องนี้มีฉากเลสเบียนตัดต้นไม้อะไรทำนองนี้ด้วย มันช่วยให้หนังเรื่องนี้บรรจุมนุษย์จริงๆเอาไว้ด้วย แทนที่จะพยายามลดทอนผู้ถูกสัมภาษณ์ให้เป็นเพียงเครื่องมือในการนำเสนอประเด็นของผู้กำกับหนัง
                                    
HAPPY DEATH DAY (2017, Christopher Landon, A+30)

อยากเอาหนังเรื่องนี้มารีเมคใหม่เป็นหนังเกย์ พระเอกไม่รู้ชื่อฆาตกร, ไม่รู้หน้าฆาตกร แต่เขาเห็นจู๋ฆาตกรก่อนที่เขาจะถูกฆ่าตาย เขาจำความยาวของจู๋และลักษณะทุกอย่างของจู๋ฆาตกรได้ เพราะฉะนั้นทุกครั้งที่พระเอกตื่นขึ้นมาใหม่ เขาจะต้องค้นหาให้ได้ว่า หนุ่มคนไหนกันแน่ในมหาลัยที่เป็นเจ้าของจู๋อันนั้น ส่วนคำโปรยบนโปสเตอร์หนังเรื่องนี้ก็คือ “I don’t know your name. I don’t know your face. But I definitely remember your dick.”



Monday, November 27, 2017

AJIN: DEMI-HUMAN (2017, Katsuyuki Motohiro, Japan, A+10)

AJIN: DEMI-HUMAN (2017, Katsuyuki Motohiro, Japan, A+10)

เหมือนมันเน้นบู๊มากกว่าหนังแฟนตาซีญี่ปุ่นเรื่องอื่นๆที่ออกมาในแนวทางใกล้เคียงกัน แต่เราไม่ใช่แฟนหนังบู๊ เราก็เลยไม่ได้อินอะไรกับเรื่องนี้มากนัก ถ้าเทียบกันแล้ว เราชอบ JOJO’S BIZARRE ADVENTURE – DIAMOND IS UNBREAKABLE CHAPTER 1 (2017, Takashi Miike) และ TOKYO GHOUL (2017, Kentaro Hagiwara) มากกว่า AJIN เราว่า JOJO’S BIZARRE ADVENTURE มันดู cult กว่า ส่วน TOKYO GHOUL มันก็มีความวิลิศมาหราของ “ร่างแปลง” มากกว่า อย่างไรก็ดี AJIN ก็สนุกกว่า ASURA GIRL: BLOOD  C (2017, Shutaro Oku)


จริงๆแล้วทางญี่ปุ่นควรจะหาทางสู้กับ DC UNIVERSE และ MARVEL UNIVERSE ด้วยการให้ตัวละครพวกนี้มา cross จักรวาลในหนังเรื่องเดียวกันบ้างนะ ทั้ง AJIN, JOJO, TOKYO GHOUL, ASURA GIRL, เหล่าตัวละครใน SAKURADA RESET, สิงห์สาวนักสืบ, AKKO-CHAN และ SAILORS ทั้ง 9 นางจาก SAILOR MOON ด้วย เอามาสู้กับ THE AVENGERS เลย 555 (มีสิทธิ AKKO-CHAN ตายใน 5 นาทีแรก)

Thursday, November 23, 2017

ORDINARY PEOPLE (2016, Eduardo W. Roy Jr., Philippines, A+30)

ORDINARY PEOPLE (2016, Eduardo W. Roy Jr., Philippines, A+30)

ช่วงท้ายนี่ thriller มากๆสำหรับเรา คือหนังมันไม่ได้จงใจเป็นหนัง thriller นะ แต่เรารู้สึกลุ้นระทึกไปกับตัวละครมากๆ เพราะ

1.หนังมันทำให้ตัวละครดูน่าเชื่อถือว่ามันเหมือนมนุษย์จริงๆ คือช่วงท้ายนี่เราลุ้นไปกับตัวละครจนเราต้องเตือนตัวเองว่า “เรากำลังดูหนังอยู่นะ” เราไม่ได้กำลังดูชะตากรรมของคนจริงๆที่กำลังเกิดขึ้นตรงหน้าเรา ตัวละครจะอยู่หรือตาย จะติดคุก หรือจะรอดคุก มันก็เป็น “หนัง” เราไม่ได้กำลังลุ้นกับชีวิตคนจริงๆอยู่

2.เราเดาทางหนังไม่ได้ด้วยแหละ คือมันไม่ได้ feel bad แบบหนัง Michael Haneke จนเราเดาได้ว่ามันต้องจบไม่ดี คือเราว่าหนังมันดูค่อนข้างเห็นอกเห็นใจตัวละครมากกว่าหนังของ Brillante Mendoza และหนังของสองพี่น้อง Dardennes น่ะ คือการที่หนังมันดูเห็นอกเห็นใจตัวละคร มันก็เหมือนจะทำให้เรามีความหวังว่า ตัวละครมันน่าจะจบดี แต่ในขณะเดียวกัน ตัวละครหลักของหนังมันก็เป็น “คนไม่ดี” เพราะฉะนั้น เราก็เลยไม่แน่ใจว่า หนังมันอาจจะลงโทษตัวละครในตอนจบด้วยการทำให้ตายหรือติดคุกหรือเจออะไรเหี้ยห่าก็ได้ คือการที่โทนของหนังมันไม่ได้ feel bad หรือ feel good อย่างชัดเจน มันทำให้เราเดาชะตากรรมของตัวละครไม่ถูก เพราะฉะนั้นมันก็เลยทำให้เรารู้สึกลุ้นระทึกกับช่วงท้ายของหนังมากๆ

3.ดูแล้วจะนึกถึง THE CHILD (2005, Luc Dardenne + Jean-Pierre Dardenne) มากๆ แต่นี่คือเวอร์ชั่นเมโลดราม่าของ THE CHILD และดูแล้วนึกถึงหนังสารคดีเรื่อง LITTLE SONS (2016, Sai Whira Linn Khant, Yu Par Mo Mo, Nay Chi Myat Noe Wint, Myanmar) ด้วย

4.เคยดูหนังของผู้กำกับคนนี้เรื่อง QUICK CHANGE (2013) ซึ่งเราชอบสุดๆเหมือนกัน แต่เราว่าผู้กำกับคนนี้เขาดูเหมือนขาดสไตล์ที่ไม่ซ้ำใครน่ะ คือหนังสองเรื่องของเขาเป็นหนัง narrative ที่เราชอบสุดๆ แต่มันไม่มีความน่าสนใจด้าน form หรือ style เพราะฉะนั้นหนังของเขาก็เลยอาจจะไม่เปรี้ยงแบบหนังของผู้กำกับฟิลิปปินส์ร่วมสมัยคนอื่นๆอย่าง Lav Diaz, John Torres, Jon Lazam, Jet Leyco, Dodo Dayao, Raya Martin, Khavn de la Cruz ที่มันเล่นกับ form หรือ style ด้วย

Tuesday, November 07, 2017

INGMAR BERGMAN’S FILMS IN MY PREFERENTIAL ORDER

INGMAR BERGMAN’S FILMS IN MY PREFERENTIAL ORDER

1.THE SILENCE (1963)

2.PERSONA (1966)

3.CRIES AND WHISPERS (1972)

4.THE SEVENTH SEAL (1957)

5.THE VIRGIN SPRING (1960)

6.SUMMER WITH MONIKA (1952)

7.WINTER LIGHT (1962)

8.AUTUMN SONATA (1978

9.THROUGH A GLASS DARKLY (1961

10.SMILES OF A SUMMER NIGHT (1955)

11.THE MAGICIAN (1958)

12..FROM THE LIFE OF THE MARIONNETTES (1980)

13.AFTER THE REHEARSAL (1984)

14.THE MAGIC FLUTE (1974)


15.THE SERPENT’S EGG (1977)