Friday, February 28, 2014

Desirable Actor: Teerapat Lohanun – MY BROMANCE (2014, Nitchapoom Chaianun, A+/A)

Desirable Actor: Teerapat Lohanun – MY BROMANCE (2014, Nitchapoom Chaianun, A+/A)
 
SPOILERS ALERT
 
 
 
 
 
I gave A- to the first act or the first part of MY BROMANCE, because it is unintentionally funny. I couldn’t stop laughing. I think the direction of the film is a little bit awkward in the first part of the film.
 
I gave A+30 to the second act or the middle part of the film. It is a real guilty pleasure for me. It may be full of flaws or many things I don’t like. But it totally fulfills my sexual fantasy. The film knows very well my sexual desires. The film knows very well what I used to dream of when I was a child. Despite all its flaws, the second act of MY BROMANCE seems to achieve the main purpose of the film—fulfilling the sexual fantasy of a specific group of viewers, like what some good genre films or some good exploitation films do. Yes, the film may be bad, but it understands me and my sexual fantasy very well, so I gave A+30 to this second act.
 
I gave F to the third act or the last part of the film. I don’t like this part at all. It is a total disaster in my point of view.
 
Anyway, I have my own imagination to rely on. So after watching MY BROMANCE, I started imagining another film adapted from MY BROMANCE. In my own version of MY BROMANCE, the second act would be lengthened. The third act would be totally changed. The story in the third act would be adapted from the lyrics of the song I’M STILL WAITING by Diana Ross and the film A WINTER’S TALE (1991, Eric Rohmer, A+30). It will be about the little brother who still keeps loving his big brother though many years have passed.
 
MY BROMANCE is not a good film, but the fact is that after watching this film, when I lay down on my bed at night, sometimes I think about myself 30 years ago. Sometimes I think about my own version of MY BROMANCE. And if you have seen A WINTER’S TALE, you will understand my imagination and how my imaginary film ends. :-)
 
The song I’M STILL WAITING:
http://www.youtube.com/watch?v=uNLZcOpThpM
 
I remember when
I was five and you were ten, boy
You knew that I was shy
So you teased and made me cry
But I loved you

Then one day you came
You told me you were leaving
You gave your folks the blame
And made me cry again
When you said

Little girl
Please don't wait for me
Wait patiently for love
Someday will surely come
Ooh, little girl
Please don't wait for me
Wait patiently for love
Someday will surely come
And I'm still waiting

I'm waiting
Ooh, still waiting
I'm just a fool
Ooh, I'm a fool
To keep waiting

Then someone finally came
He told me that he loved me
I put him off with lies
He could see I had no eyes
So he left me once again alone
Like a child without her playmate
I had to face the truth
I was still in love with you
But you said:

Little girl
Please don't wait for me
Wait patiently for love
Someday will surely come
Ooh, little girl
Please don't wait for me
Wait patiently for love
Someday will surely come
And I'm still waiting

Love has never shown his face
Since the day you walked out that door
You filled my life with empty space
Come back
Can't you see it's you I'm waiting for

Don't you know I'm waiting
I'm waiting for love
For you, I miss you
I'm waiting
Come on back, boy
I need you
I want you
That's what my friends says
 
 
 

SEPARATION (1968, Jack Bond, UK, A+30)


SEPARATION (1968, Jack Bond, UK, A+30)

 

SEPARATION (1968, Jack Bond) will be screened at Thammasat University Library, Ta Prachan Campus, on Sunday, March 2, 2014, at 1230hrs. The film is selected by Graiwoot Chulphongsathorn. The details of the program in Thai can be found here:


 

As for me, I think the film reminds me of the energy of many New Wave filmmakers of that period. Some parts of SEPARATION remind me of Jean-Luc Godard of the French New Wave, and some parts remind me of the Czech New Wave. Seeing SEPARATION makes me think it would be interesting to compare and contrast this film with other films of that period, such as WALKOVER (1965, Jerzy Skolimowski) from the Polish New Wave, LOVE IS COLDER THAN DEATH (1969, Rainer Werner Fassbinder) from the German New Wave, or CHARLES, DEAD OR ALIVE (1969, Alain Tanner) from the Swiss New Wave. These films are very different from each other, but comparing them together might yield something interesting.

 

Some photos from this film:

Wednesday, February 26, 2014

HBD P’JIT (2014, Wachara Kanha)


HBD P’JIT (2014, Wachara Kanha)

 


 

Thanks a lot to Wachara for making this video for me. :-)

FAVORITE SCIENCE FICTION FILMS

 
 
 
FAVORITE SCIENCE FICTION FILMS
 
A friend asked me to suggest him some science fiction films. So I made this list, excluding famous films such as SOLARIS, STALKER, and the ones directed by David Cronenberg.
 
1.AUGUST IN THE WATER (1995, Sogo Ishii, Japan)
 
2.BURDEN OF THE BEAST (สัตว์วิบากหนักโลก) (2004, Phaisit Phanphruksachat)
 
3.DARK STAR (1974, John Carpenter)
 
4.DREAMTRIPS (1999, Kal Ng, Hong Kong)
 
5.EPSILON (1997, Rolf de Heer, Australia)
 
6.MOEBIUS (1996, Gustavo Mosquera R., Argentina)
 
7.NABI (THE BUTTERFLY) (2001, Moon Seung-wook, South Korea)
 
8.SCIENCE FICTION (2003, Franz Mueller, Germany)
 
9.THE STICKY FINGERS OF TIME (1996, Hilary Brougher)
 
10.TWILIGHT ZONE: A MATTER OF MINUTES (1986, Sheldon Larry)
 
11.TWILIGHT ZONE: NIGHTCRAWLERS (1985, William Friedkin)
 
12.UNTIL THE END OF THE WORLD (1991, Wim Wenders)
 
 
 

Monday, February 24, 2014

NON-TOUCH'S REVIEW ON "THERE IS NO ESCAPE FROM THE TERRORS OF THE MIND"


This is what Non-Touch Rafael Ram’Jazz wrote in his Facebook:

 


HSP: There Is No Escape From The Terrors Of The Mind (Rouzbeh Rashidi, Ireland/UK/Iran/Oman, 2013)

 

เราสนใจภาพซ้อนกับภาพติดตาในเรื่องนี้มาก ภาพซ้อนก็คือเอาภาพสองภาพมาซ้อนกัน ภาพติดตาในที่นี้คือ Persistence of Vision มันเป็นหนึ่งในกลไกสร้างภาพเคลื่อนไหวให้ตามนุษย์สัมผัสได้ว่ามันเคลื่อนไหว อธิบายให้เข้าใจง่ายๆ คือ ตาเราสามารถมองเห็นภาพค้างอยู่ในระยะเวลา 1/25 วินาที ซึ่งพอภาพ 1/25 วินาทีแต่ละภาพที่เราเห็นนี้มาประกอบเรียงต่อกัน เราจะเห็นภาพเคลื่อนไหว ตัวอย่างภาพติดตาเช่น flipbook, ภาพยนตร์, เล่นแกว่งให้ปากกางอ หรืออย่างการมองภาพหนึ่งแช่นานๆ แล้วหันไปมองฉากขาวหรือหลับตาทันที จะเห็นภาพนั้นค้างอยู่

 

 กระบวนการภาพซ้อนในเรื่องคืออะไรที่น่าสนใจ คือเราเห็นภาพสองภาพซ้อนกัน ในเวลาและสถานที่ที่แตกต่างกัน บางครั้งก็เป็นสถานที่เดียวกัน เวลาเดียวกัน หรือภาพชุดเดียว แต่มืดสว่างไม่เท่ากัน มันเลยเกิดภาพภาวะภาพซ้อน ที่เกิดจากภาพติดตาสองภาพในเวลาเดียวกันเข้าสู่ชุดการรับรู้ไปในสมองของเรา เรื่องนี้เป็นหนังทดลอง Avant-Garde ที่มีเนื้อเรื่องอยู่ แต่เนื้อเรื่องมันเป็นเรื่องบางๆ ของชายคนหนึ่ง (ผู้กำกับ) ที่จากแผ่นดินแม่อิหร่านมาอยู่ไอร์แลนด์ โดยหนังไม่ค่อยเน้นเล่าเรื่อง แต่เน้นเทคนิคการถ่ายภาพ และการตัดต่อที่แปลกใหม่ ด้วยการมีภาพซ้อนมากมาย ซึ่งมีความหมายในแง่ความทรงจำจากอิหร่านสู่ไอร์แลนด์ซึ่งไม่ค่อยจะสู้ดีเท่าไหร่ เพราะภาพและเสียงมีความเจ็บปวดรวดร้าวสุดจะพรรณนาได้

 

 ภาพซ้อนในเรื่องมาด้วยหลายกลวิธี เท่าที่สังเกตได้จะมี

 

1. ภาพซ้อนด้วยกระบวนการหลังถ่าย คือทำตอนตัดต่อนั่นแหละ ด้วยการซ้อนภาพสองเลเยอร์ แล้วลดความเข้มของภาพให้มันใสขึ้น เพื่อที่จะได้มองทะลุไปเห็นยังภาพอีกภาพได้ โดยปกติ ถ้ามีสองภาพ ภาพที่เข้มกว่าจะเป็นภาพพื้น หรือภาพหลัก แต่ด้วยเรื่องนี้ความจางของภาพต่างพอๆ กัน เราไม่รู้เลยว่าภาพไหนหลัก ภาพไหนรอง บางครั้งจะมีภาพใดภาพหนึ่งที่ตกไปในจุดที่มืดสนิท แต่ยังไม่เฟดหายไป ทำให้ภาพอีกภาพชัดขึ้น มันเป็นกลไกที่ประหลาดมาก เมื่อยิ่งมืด เราจะยิ่งเห็นชัด ขัดกับกลไกสายตาที่ต้องการแสงสว่างเพื่อการมองเห็น คล้ายๆ กับว่า บางครั้งที่เราหลับตา เรากลับเห็นอะไรชัดขึ้น

 

 และยังมีภาพซ้อนอีกแบบหนึ่งที่เห็นชัดมากว่า ภาพใดเป็นหลัก ภาพใดเป็นรอง คือภาพที่ซ้อนสองภาพนั้น มีภาพหนึ่งมี aspect ratio หรืออัตราส่วนจอภาพที่เล็กว่า หนังเรื่องนี้ใช้อัตราส่วน 1.85:1 แต่ภาพที่ซ้อนนั้นใช้อัตราส่วน 1.33:1 ทำให้ภาพที่เห็นนั้นเหมือนกำลังมองการฉายโปรเจคเตอร์ซ้อนทับลงไปในหนังอีกที เหมือนภาพอีกภาพนั้น เป็นหนังอีกเรื่องหนึ่งที่แยกเป็นเอกเทศจากภาพหลัก

 

2. ภาพซ้อนด้วยกระบวนการระหว่างถ่าย เท่าที่สังเกตเห็นคือ การใช้เลนส์สองชั้น ที่มีลักษณะคล้ายกับหนังเรื่อง Post Tenebras Lux (Carlos Reygadas, 2012) คือภาพนั้นเป็นภาพที่ถ่ายในระยะเวลาเดียวกัน สถานที่เดียวกับ แต่ต่างระยะกัน เลนส์ที่แปะอยู่ตรงกลางจะมีระยะที่กว้างกว่าเลนส์รอบนอก รู้สึกแปลกประหลาดดีทุกครั้งที่เห็นเทคนิคนี้ ตั้งแต่ Post Tenebras Lux แล้ว (เรื่องนี้ได้ดูในโรง ฟินโบ้ม) เราเห็นภาพๆ เดียวกัน แต่ซ้อนกันไม่สนิท เคลื่อนไหวไปด้วยกัน แถมบางครั้งดูเหมือนจะไม่ใช่การถ่ายแบบเลนส์ประกบ แต่ดูเหมือนเลนส์แตก เลยทำให้ภาพนี้ดูคอมโพสิชั่นไม่สมบูรณ์เท่าที่ควรจะเป็น ซึ่งเราชอบเทคนิคนี้มาก ช็อตประทับใจสุดคือ ช็อตหนุ่มเปอร์เซียคนหนึ่งยืนอยู่ริมผาทะเลทราย แต่ภาพที่ได้ เหลื่อมกันตัดผ่ากลางชายผู้นี้ตามแนวยาว และหัวของผู้ชายคนนี้ก็ถูกกลืนกินเข้าไปในระหว่างรอยแยกของระยะทางที่เลนส์จะรับได้

 

3. ภาพกระพริบ การกระพริบเกิดขึ้นจาก แสงสว่างที่กระทบตาเรานั้น มีระยะเวลาไม่ต่อเนื่องพอที่ภาพ persistence of vision จะคงรูปอยู่ได้ ก่อนที่จะถูกกลืนหายไปในความมืด เราจึงเห็นเป็นภาพความมืดภาพความมืดสลับกันไปอยู่อย่างนี้ การใช้เทคนิคภาพกระพริบนี้ เราถือเป็นภาพซ้อนชนิดนึง เพราะระหว่างที่สีดำได้ครอบคลุมพื้นที่หน้าจอทั้งหมด เราเห็นภาพก่อนหน้านั้นค้างแว้บอยู่ในตากับจอสีดำนั้น ภาพที่ค้างอยู่ในจอสีดำ เป็นภาพมลังเมลือง แต่มัวๆ ไม่ชัดเท่ากับภาพที่ปรากฏก่อนหน้านั้น กลายเป็นว่าสีดำทำให้เราเห็นภาพไม่ชัด ภาพจากอดีตที่ตกค้างอยู่ในตาเรา ต่างจากเทคนิคภาพซ้อนด้วยกระบวนการหลังถ่ายที่เคยบอกไว้ในข้อแรก ในเทคนิคนั้น ภาพอีกภาพยังคงอยู่ในห้วงเวลาเดียวกัน พอภาพอีกภาพดับไป เราเลยเห็นภาพอีกภาพหนึ่งชัดขึ้น แต่ด้วยเทคนิคนี้ ภาพที่กระพริบนั้นคือภาพๆ เดียวที่มีห้วงเวลาไม่ต่อเนื่อง ด้วยการถูกเบียดบังด้วยจอสีดำคั่นระหว่างทาง ภาพที่ปรากฏบนจอสีดำเลยเป็นแค่ภาพติดตาที่ตกค้างจาก 1/25 วินาทีก่อนอยู่รางๆ เท่านั้น

 

 ด้วยการซ้อนภาพด้วยเทคนิคสามอย่างหลักๆ นี้ ก็มีการผสมกันระหว่างเทคนิคแต่ละอย่างนี้อีก เช่นฉากซีร็อกซ์หน้ากาก ในครั้งแรกจะมีจังหวะที่ทั้งจอดำสนิท เราเห็นภาพหน้ากากเลือนๆ แล้วพอผ่านไปซักพักก็มีภาพของผู้กำกับซ้อนเข้ามา ในช่วงที่หน้ากากขาวสว่างอยู่ เราอาจไม่ค่อยเห็นหน้าผู้กำกับ แต่เมื่อจอดำสนิท ภาพของผู้กำกับก็เห็นได้ชัด

 

 อีกอย่างหนึ่งที่น่าสนใจคือการใช้เสียง เสียงในเรื่องเรียกได้ว่าหนังสยองขวัญเรียกพ่อ การบรรเลงเพลงด้วยเสียงโทนต่ำ ทำให้ไม่ง่วงเลยตลอดทั้งเรื่อง อีกทั้งเวลาพูดยังทำเสียงเอคโค่ สะท้อนก้องไปมาในหูเรา ราวกับว่าภาพและเสียงเหล่านี้ได้เดินทางเข้ามาในการรับรู้ของเรา และสั่นสะเทือนความทรงจำของเราอย่างไม่จบไม่สิ้น

A VIEWER'S THOUGHTS ON "THERE IS NO ESCAPE FROM THE TERRORS OF THE MIND"

 
Favorite quote from อยากติดเกาะ จุงงเบยยย:
 
“The body which is a physical thing
When we gaze at it long enough, it becomes naked and abstract
And when we try to focus at it to see it more clearly, it fades away and becomes an abstract thing, too.
This is what I get from seeing an experimental film today called
THERE IS NO ESCAPE FROM THE TERRORS OF THE MIND”
 
“กายที่เป็นรูปธรรม
 เมื่อพินิจนานๆ ไป กลับเปลือยเปล่ากลายเป็นนามธรรม
 และเมื่อพยายามโฟกัสให้ชัดขึ้น ก็เลือนหายไปเป็นนามธรรมเช่นกัน
 นี้คือสิ่งที่ได้ไปชมหนังทดลองในวันนี้
THERE IS NO ESCAPE FROM THE TERRORS OF THE MIND”
 
 
 

THE GIRL AT THE MEKONG RIVERSIDE (2014, Tani Thitiprawat, A+25)


THE GIRL AT THE MEKONG RIVERSIDE (2014, Tani Thitiprawat, A+25)

 

This music video is partly inspired by ONLY GOD FORGIVES (2013, Nicolas Winding Refn).

Sunday, February 23, 2014

Warit Buranapattama's comments on Rashidi's film and Ariyavicha's film


อันนี้เป็นสิ่งที่คุณ Warit Buranapattama เขียนถึงหนังสองเรื่องที่ฉายในวันนี้ครับ

 


*

 

ตัวหนังสือที่ปรากฏขึ้น

 หลังจากดูหนังทดลองสองเรื่องนี้

 

HSP: THERE IS NO ESCAPE FROM THE TERRORS OF THE MIND

 (2013, Rouzbeh Rashidi, Ireland, 120 min)

 

เหมือนการนั่งดูความทรงจำของหน้ากาก

 

 เต็มไปด้วยภาพที่ปรากฏในหัวใครบางคน

 เหมือนยกภาพในหัวออกมาให้เราดู

 สะเปะสะปะผสมผสานมั่วซั่ว

 ไร้เรื่องราว

 

 ตั้งใจจะมาดูภาพที่น่าสนใจ

 และก็ได้พบหลายภาพที่น่าสนใจ

 ยิ่งฉากตอนต้น แสงสวยของช่องขายตั๋วหนัง ?

ตัดไปที่พัดลมเพดาน หมุน หมุน หมุน

 การซ้อนทับกันของภาพสองภาพนี้

 ชวนให้เรานึกว่ามันคือการมองเพดานในห้อง

 และนอนคิดถึงภาพในความทรงจำเพียงลำพัง

 

 ชายคนนั้นนั่งเงียบในช่องทางซ้าย

 ชายคนนั้นพร่ำพูดในช่องทางขวา

 แรกนั้นเรารู้สึกเหมือนทางซ้ายคือสิ่งที่เกิดขึ้นจริง

 เขานั่งเงียบเงียบ หยิบหน้ากากขึ้นมาสวมใส่

 ขณะที่เขาในช่องทางขวาพร่ำพูดเสียงที่ดังในใจออกมา

 แต่มันอาจจะกลับกันก็ได้ เขากำลังนั่งพูดพร่ำ ขณะที่คิดถึงตนเองนั่งเงียบๆและหยิบหน้ากากมาสวม

 หรือมันอาจเกิดขึ้นจริงทั้งคู่ก็ได้ แค่เราเห็นมันพร้อมกัน

 หรือไม่มีอะไรจริงเลย

 

 มันเต็มไปด้วยภาพปรากฏ

 คนเดินผ่านสุสาน

 หญิงสาวเดินไปเดินมา

 ชายหนุ่มนั่งบนก้อนหิน

 เรื่องราวที่เหมือนไม่มีเรื่องราว

 ของผู้คนที่ไม่น่าจะได้รับการกล่าวถึงในเรื่องเล่าทุกเรื่อง

 พวกเขาอาจเป็นแค่วิญญาณที่อยู่ในอีกมิติหนึ่งบนโลกใบเดียวกันกับเรานี้

 หรือเหล่าดวงวิญญาณหลงทางในความฝัน ใช่มันเหมือนภาพฝัน

 เดินเชื่องช้า นั่งนิ่ง คิดทบทวน มองกล้องพูดคนเดียว

 การมองในความเงียบที่เหมือนระลึกนึกถึงอะไรบางอย่างในใจ

 เหมือนการทบทวนความทรงจำก่อนที่จะลาจากไปสู่การเริ่มต้นใหม่

 อยู่ระหว่างโลกนี้กับโลกหน้า

 ก่อนจะเกิดใหม่ได้เจ้าจะต้องวางทุกความทรงจำเอาไว้

 ทุกคนคิดทบทวน และยังคงเป็นวิญญาณเร่ร่อนอยู่บนโลกที่ไม่รู้จักใครและไม่มีใครรู้จัก

 เราเริ่มใส่เรื่องเล่าของเราเองลงไปซะแล้ว

 ไอ้หนุ่มแว่นพร่ำพูดถึงความเหงากับหน้ากล้อง

 ภาพซ้อนทับสิ่งอื่นดำเนินไป

 ชอบการทับซ้อนของภาพที่เกิดขึ้น

 กับการออกไปจากการตั้งใจจะเล่าเรื่อง

 แต่เราได้พบการเล่าแบบคร่าวๆ มันคือเรื่องเล่าที่ไม่ได้เล่าเรื่อง

 

 ในฐานะวัตถุดิบ เหมือนได้พบส่วนประกอบมากมาย ที่สามารถนำมาประกอบเป็นเรื่องเล่า

 เหมือนไปตลาด และซื้อของกลับมา ในหนังเต็มไปด้วยของมากมาย

 ผู้กำกับทำอาหารที่ไม่มีในเมนูไหนให้พวกเราได้ดู และต่างจินตนาการรสกันไป

 เค้าให้เราดูแต่วัตถุดิบ และการปรุง เพลงที่เปิดขณะทำอาหาร ภาพความคิดขณะที่ทำอาหาร

 เหมือนจะเป็นเช่นนั้น

 ภาพเคลื่อนไหวในความทรงจำของเรื่องราวที่เหมือนไม่มีความทรงจำจะนำไปเล่าต่อให้ใครฟัง

 เหมือนจะมีความงามอยู่ แต่รับรู้ได้แต่ผู้ที่ได้ดู และไม่อาจถ่ายทอดด้วยการกล่าวถึงได้

 มันส่งต่อกันในแบบที่มิอาจกล่าวถึงด้วยเรื่องเล่า

 เหมือนมีแต่การดูมันเท่านั้น สภาวะการรับชมกลายเป็นความหมายที่มีความสำคัญสูงสุด

 ไม่มีเรื่องให้เล่าสปอยด์

 เต็มไปด้วยส่วนที่คล้ายจะเป็นเรื่องเล่า แต่เราต่างต้องเชื่อมโยง หรือมโนกันไปเอง

 

 เหมือนมีความหมาย

 ของสิ่งที่คุณพยายามจะอธิบาย

 ด้วยคำอธิบาย

 แต่ความหมายทั้งหมดนั้น

 อยู่นอกเหนือไปจากคำอธิบายของคุณ

 

0.

 

เราไม่มีวันรับรู้

 ความคิดของก้อนหินได้

 ด้วยการบอกว่ามันคิดอะไรอยู่

 

1.

 

เก้าอี้

 ที่คุณเคยนั่ง

 กำลังคิดถึงคุณอยู่

 

2.

 

คนที่คุณเคยรัก

 กำลังคิดถึง

 ความรักของคุณ

 

 ภาพชายหนุ่มที่เดินลำพัง กับ หญิงสาวที่เดินลำพัง

 มาพบกันร่วมสถานที่ และเดินไปด้วยกัน ไม่มีการจับมือกันเดินไป แต่เดินไปข้างๆกัน

 คล้ายจะมีเรื่องราว

 แต่แล้วเขาก็เดินนำหน้าเธอแบบหันหน้าเข้าหาเธอ

 และเดินถอยหลังพร้อมทั้งสวมหน้ากากซะนี่

 มันเหมือนกับพวกเขาต่างคนต่างเดินไป

 แบบแปลกประหลาด

 

BIRTH OF THE SEANEMA

 (2004, Sasithorn Ariyavicha, Thailand, 70min, silent, black and white)

 

ภาพงาม บางภาพดูหยั่งกะไม่ได้ถ่ายในไทย ขณะที่บางภาพก็ไทยมากๆ

 อักขระแปลกงาม

 

 ได้พบกับความเงียบของทะเล

 และเสียงที่เราต้องอ่านในใจ

 ความงามของผู้คนที่นั่งเงียบเงียบ

 อ่านตัวหนังสือปรากฏให้ดังในใจเงียบเงียบ

 ภาพขาวดำที่เคลื่อนไป

 

 จากตัวหนังสือบรรยายที่มีทั้งภาษาอังกฤษและอักขระแปลกงาม

 แต่ละฉาก เป็นเหมือนเศษชิ้นส่วน ของความทรงจำ ไม่ปะติดปะต่อ

 

.

 

ชอบ

 

 การเกลื่อนกลืนกลายกันของภาพซ้อนรวม จากภาพหนึ่ง ไปสู่ อีกภาพหนึ่ง

 การไม่ยัดเรื่องใส่เข้าไปในภาพที่อยากจะให้ปรากฏเช่นนี้

 เทคนิคแสงกะพริบสวยดี

 

 ถ้าจะให้จำกัดความหนังว่า หนังทดลอง

 เรารู้สึกเหมือนได้พบกับอาณาเขตของคำว่า อื่นๆ ในแบบสอบถาม

 สำหรับทั้งสองเรื่อง