Monday, September 29, 2014

CHAO-CHAINOI: THE INCOMPLETED VERSION (2004, Wuttin Chansataboot, A+5)


CHAO-CHAINOI: THE INCOMPLETED VERSION (2004, Wuttin Chansataboot, A+5)

เราเคยดูหนังเรื่องนี้ไปแล้วครั้งนึงในปี 2004 แล้วตอนนั้นให้เกรด B- แล้วเราก็ลืมไปแล้วว่าเราเคยดูหนังเรื่องนี้ พอมาดูอีกครั้งหลังจากเวลาผ่านไปสิบปี เราก็พบว่าเราชอบมากขึ้นกว่าแต่ก่อนเยอะเลย แต่ก็ยอมรับว่ามันไม่ใช่หนังในแบบที่เราชอบอยู่ดี คือถ้าเปรียบเทียบง่ายๆก็คือว่า มันเหมือนกับว่าเราชอบเพลง house น่ะ แต่หนังเรื่องนี้ทำออกมาเป็นเพลง rap เพราะฉะนั้นถึงมันจะเป็นเพลง rap ที่ดี แต่เนื่องจากเราไม่ชอบเพลง rap เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เราก็เลยไม่ได้มีความสุขกับหนังเรื่องนี้มากนัก ถึงแม้มันอาจจะเป็นหนังที่ดีก็ตาม

ความรู้สึกที่มีต่อหนังเรื่องนี้

1.สาเหตุที่ชอบมากขึ้น มันเป็นเพราะว่าเราหาทางจูนตัวเองใหม่ในการดูหนังเรื่องนี้น่ะ คือตอนแรกที่เราดูหนังเรื่องนี้ เราดูไม่รู้เรื่องเลย และเราก็พยายามจะดูให้มันรู้เรื่อง มันก็เลยเกิดอาการอารมณ์เสียขึ้น แต่พอมาดูใหม่ในรอบนี้ เราก็ล้มเลิกความพยายามที่จะดูให้รู้เรื่อง หรือความพยายามที่จะปะติดปะต่อเรื่องราวในหนังเรื่องนี้ซะ และหันมา enjoy ไปกับความบ้าๆบอๆของหนังแทน มันก็เลยทำให้ดูอย่างมีความสุขมากขึ้น

2.เราสงสัยว่าการที่เราไม่ได้ enjoy หนังเรื่องนี้มากนัก อาจจะเป็นเพราะความต่างทางวัฒนธรรมด้วยมั้ง คือเราแอบเดาว่า คนที่สามารถจูนตัวเองให้เข้ากับหนังเรื่องนี้ได้ง่ายๆ อาจจะเป็นคนที่เล่นวิดีโอเกม, คนที่ชอบสไตล์ภาพแบบในหนังเรื่องนี้, คนที่ชอบสไตล์ดนตรีแบบในหนังเรื่องนี้ หรือคนที่มีเพื่อนผู้ชายห่ามๆแบบในหนังเรื่องนี้ แต่เราไม่ได้เล่นวิดีโอเกมและไม่ได้มีคุณลักษณะแบบอื่นๆที่ว่ามา มันก็เลยเกิดอาการไม่สามารถจูนตัวเองให้เข้ากับหนังเรื่องนี้ได้อย่างเต็มที่

3.แต่เราก็นับถือความบ้าจนสุดทางของหนังเรื่องนี้นะ มันเหมือนมีความไม่ประนีประนอมมากพอสมควรในหนังเรื่องนี้น่ะ คือดูแล้วก็นึกถึงหนังที่ weird มากๆในปีนี้อย่าง BETAGEN FOREST (2014, Thapanee Loosuwan, A+20) ที่ดูไม่รู้เรื่องอย่างมากๆเหมือนกัน และเราก็รู้สึกว่าเราไม่สามารถจูนตัวเองให้เข้ากับ BETAGEN FOREST ได้อย่างเต็มที่เหมือนกันด้วย แต่เราก็ชอบที่มีการผลิตหนังที่สุดโต่งแบบนี้ออกมา คือการที่เราไม่สามารถจูนตัวเองให้เข้ากับหนังเรื่องเจ้าชายน้อยและ BETAGEN FOREST ได้ มันไม่ใช่ความผิดของหนัง และก็ไม่ใช่ความผิดของเราด้วยน่ะ เราว่ามันเป็นเรื่องธรรมดาที่หนังแต่ละเรื่องจะตอบสนองผู้ชมแต่ละคนได้แตกต่างกันไป หรือมี wavelength ที่ตรงกับผู้ชมคนนึง แต่ไม่ตรงกับผู้ชมอีกคนนึง

4.เราชอบที่มีการเอาองค์ประกอบในภาพวาดของ Salvador Dali มาใช้ในหนังเรื่องนี้ เพราะเราก็ชอบภาพวาดของ Dali มากๆเหมือนกัน เวลาเราดูภาพวาดหลายๆภาพของ Dali แล้ว เรารู้สึกว่าเราอยากเข้าไปผจญภัยในภาพวาดนั้น และหนังเรื่องนี้ก็เหมือนจะทำในสิ่งที่คล้ายๆกับที่เราอยากเห็น

5.มีองค์ประกอบบางอย่างในหนังเรื่องนี้ ที่ทำให้เรานึกถึงผู้กำกับที่ชอบมากๆสองคน ซึ่งก็คือ

5.1 Guy Maddin เพราะหนังมันดูเหมือนจะมีความไฮเปอร์แอคทีฟ หรือมีการตัดต่ออย่างรวดเร็วด้วยเทคนิคทางภาพที่แพรวพราวและหลากหลายน่ะ โดยมีการใช้เทคนิคในการทำภาพให้ดูเหมือนฟิล์มเก่าๆแทรกเข้ามาด้วย มันก็เลยทำให้นึกถึงหนังอย่าง ODILON REDON OR THE EYE LIKE A STRANGE BALLOON MOUNTS TOWARD INFINITY (1995, Guy Maddin, A+30)

5.2 Terry Gilliam โดยเฉพาะหนังอย่าง THE IMAGINARIUM OF DOCTOR PARNASSUSS (2009) ที่มีการสร้างโลกจินตนาการที่ไปได้สุดทางมากๆเหมือนกัน

6.หนังเรื่องนี้ทำให้นึกถึงฉากเมายาใน ACROSS THE UNIVERSE (2007, Julie Taymor) ด้วย ซึ่งมันเป็นฉากที่เราชอบที่สุดในหนังเรื่องนั้น และเราว่าหนังเรื่องนี้ก็อาจจะใช้ตรรกะคล้ายๆกัน คือเรามองว่าสิ่งต่างๆในหนังเรื่องเจ้าชายน้อยนี้ เกิดจากการพี้ยาของตัวละครน่ะ

7.ชอบการที่หนังบันทึกช่วงขณะหนึ่งของสังคมนั้นๆเอาไว้โดยที่หนังอาจจะไม่ได้ตั้งใจด้วย ซึ่งในที่นี้ก็คือ “บริการโทร 3 บาททั่วไทย” ซึ่งเป็นสิ่งที่เราไม่เห็นแล้วในยุคปัจจุบัน คือมันเป็นบริการให้ยืมโทรศัพท์มือถือใช้ในยุคที่โทรศัพท์มือถือยังมีราคาแพงอยู่น่ะ และในช่วงนั้นเราก็ยังไม่มีมือถือ (เราเพิ่งซื้อมือถือเครื่องแรกในปี 2006) เพราะฉะนั้นเราก็เลยต้องใช้บริการอะไรแบบนั้นด้วยในยุคนั้น พอเรามาได้เห็นสิ่งนี้ปรากฏอยู่ในหนังเรื่องนี้ มันก็เลยทำให้เรานึกขึ้นมาได้ว่า เออ ใช่ มันเคยมีอะไรแบบนี้อยู่ในอดีตด้วย แต่มันหายไปแล้ว

สรุปว่าหนังเรื่องนี้มีอะไรน่าสนใจเยอะดี แต่มันไม่เข้าทางเราซะทีเดียว คือหนัง weirdๆ ที่เข้าทางเราที่นำเสนอโลกบ้าๆบวมๆที่ไร้ตรรกะเหตุผลมันจะเป็นหนังประเภทที่กำกับโดย Peter Greenaway, Alejandro Jodorowsky และ Ulrike Ottinger คือเรารู้สึกว่าเราสามารถจูน wavelength ของตัวเองให้เข้ากับผู้กำกับกลุ่มนี้ได้ในทันทีเลย โดยไม่ต้องพยายามปรับ wavelength ของตัวเองแต่อย่างใด แต่เรื่องพวกนี้มันเป็นเรื่องของรสนิยมส่วนตัวน่ะ มันไม่เกี่ยวกับว่าหนังดีไม่ดี

แต่ชอบหนังเรื่องต่อๆมาของคุณวุฒินทร์มากๆนะ ทั้ง TRAILS, 16X9- CAPSULE และ VISUAL ELEMENT (ไฟ-นัยน์-ตา) รู้สึกดีใจที่หนังของเขายุคหลังๆเข้าทางเรามากขึ้น 555

ดู 16x9-CAPSULE ได้ที่นี่

ภาพที่เห็นนี้ไม่ได้มาจากหนังเรื่อง “เจ้าชายน้อย” แต่เป็นภาพวาดของ Salvador Dali จ้ะ


THE RETURN (2014, Surawee Woraphot, A+5)

THE RETURN (2014, Surawee Woraphot, A+5)
หวน (สุระวี วรพจน์)

SPOILERS ALERT
--
--
--
--
--
ความรู้สึกที่มีต่อภาพยนตร์เรื่องนี้

ชอบการพลิก genre ของหนังเรื่องนี้มากๆ คือตอนแรกเรารู้สึกว่า

1. ช่วงต้นของหนังเรื่องนี้เป็นหนังสยองขวัญที่ใช้ได้เลย การได้ยินเสียงก็อกๆแก็กๆในบ้านตนเองนี่เป็นอะไรที่น่ากลัวมากๆ

2. ช่วงกลางของหนังเป็นหนังสยองขวัญที่ lame มาก เพราะผีใส่ชฎาในหนังเรื่องนี้ดู cliche มากๆ และดูไม่น่ากลัวเลย ตอนที่เราดู เราก็เลยแอบเดาล่วงหน้าว่า เดี๋ยวมันคงจะจบแบบหักมุม ด้วยการเฉลยว่าจริงๆแล้วคนที่ตายคือแม่  แล้ววิญญาณแม่กลับมาหาลูก เจอลูกรำใส่ชฎาอยู่ อะไรทำนองนี้

3. แต่ปรากฏว่าหนังจบในแบบที่เราชอบ เพราะมันไม่ได้หักมุมในแบบที่เราคาด แต่มันกลับกลายเป็นหนังที่ให้อารมณ์แบบดราม่าแทน การจบแบบนี้ก็เลยทำให้เราชอบหนังเรื่องนี้ขึ้นมามากๆ และทำให้เราเข้าใจว่าทำไมช่วงกลางเรื่องมันถึงไม่น่ากลัว เพราะหัวใจของหนังเรื่องนี้ไม่ใช่ความสยองขวัญและการหลอกให้คนดูกลัว และผีลูกที่กลับมาก็ไม่ได้ตั้งใจกลับมาหลอกแม่ให้กลัว แต่กลับมาลาแม่ เพราะฉะนั้นการที่ช่วงกลางเรื่องมันดูไม่น่ากลัว มันก็สมเหตุสมผลแล้ว

สรุปว่าเราชอบการผสม genre ในหนังเรื่องนี้น่ะ ทำให้นึกถึงหนังประเภท DARK WATER (2005, Walter Salles, A+30) ที่ตอนแรกนึกว่ามันจะเป็นหนังสยองขวัญ แต่พอดูไปดูมาแล้วก็พบว่า แก่นของหนังจริงๆมันเป็นหนังดราม่าที่ใช้ได้เลย เพียงแต่มันเอาฟอร์มหนังสยองขวัญมาสวมหลอกคนดูไว้


Sunday, September 28, 2014

FAVORITE FILMS SEEN AT JAPAN FOUNDATION IN BANGKOK

FAVORITE FILMS SEEN AT JAPAN FOUNDATION IN BANGKOK

A friend asked me about my favorite films which I saw at the Japan Foundation in Bangkok. So here is my answer:

(in alphabetical order)

1.AND THEN (1985, Yoshimitsu Morita)
2.AUGUST IN THE WATER (1995, Sogo Ishii)
3.DECIDUOUS TREE (1986, Kaneto Shindo)
4.DYING AT A HOSPITAL (1993, Jun Ichikawa)
5.THE FACE OF JIZO (2004, Kazuo Kuroki)
6.GIVE IT ALL (1998, Itsumichi Isomura)
7.GOODBYE FOR TOMORROW (1995, Nobuhiko Obayashi)
8.(HARU) (1996, Yoshimitsu Morita)
9.MOVING (1993, Shinji Somai)
10.MUSASHINO HIGH VOLTAGE TOWERS (1997, Naoki Nagao)
11.A PROMISE (1986, Yoshishige Yoshida)
12.SEN RIKYU (DEATH OF A TEA MASTER) (1989, Kei Kumai)
13.THE STING OF DEATH (1990, Kohei Oguri)
14.THIS WINDOW IS YOURS (1994, Tomoyuki Furumaya)


JAPANESE FILM WISH LIST

1.Retrospective of Yoshiharu Ueoka
2.CASTLE OF SAND (1974, Yoshitaro Nomura)
3.CHILDREN OF HIROSHIMA (1952, Kaneto Shindo)
4.THE CRAZY FAMILY (1984, Sogo Ishii)
5.A FULL LIFE (1962, Susumu Hani)
6.HOW TO BECOME MYSELF (2007, Jun Ichikawa)
7.LATE CHRYSANTHEMUMS (1954, Mikio Naruse)
8.LUMINOUS WOMAN (1987, Shinji Somai)
9.MUSCLE (1988, Hisayasu Sato)
10.NOT FORGOTTEN (2000, Makoto Shinozaki)
11.SUMMER AMONG THE ZOMBIES (1988, Nobuhiko Obayashi)
12.THERE WAS A FATHER (1942, Yasujiro Ozu)
13.ZIPPER AND TITS (2002, Koji Shirakawa + Stephen Tyler)

The photo comes from THE CRAZY FAMILY.



TITLES OF SOME OLD THAI FILMS

หลังงานฉายหนังของเข้ เรากับเพื่อนๆก็คุยกันเล่นๆว่า พอพวกเราเปิดหนังสือ “ภาพยนตรานุกรมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2470-2499” ก็พบว่า ดูเหมือนจะมีหนังไทยหลายเรื่องที่หายสาบสูญ หาดูไม่ได้ไปแล้ว เหลือไว้แต่เพียงชื่อเรื่องเท่านั้น

เรากับเพื่อนก็เลยคุยกันเล่นๆว่า อยากให้ผู้กำกับหนังสั้นไทยยุคปัจจุบัน สร้างหนังใหม่ “โดยได้รับแรงบันดาลใจจากชื่อหนังไทยยุคเก่า” เพื่อความสนุกสนาน และเพื่อเยียวยาจิตใจพวกเราเอง ที่ไม่สามารถหาดูหนังไทยยุคเก่าหลายเรื่องที่หายสาบสูญไปแล้ว

ตัวอย่างชื่อหนังไทยที่น่านำมาดัดแปลงสร้างใหม่ ก็มีเช่นเรื่อง

1.เจ้าจอมหม่อมห้าม (1949)
2.ชะอำอำพราง (1955, สุพรรณ บูรณะพิมพ์)
3.ซนแต่สวย (1955, พ.ต.ต.อรรถ อรรถจินดา)
4.เทพธิดาฮ่อ (1956, ประทีป โกมลภิส)
5.น้ำใจสาวจีน (1955, ส.อาสนจินดา)
6.ฟ้าแลบบนสาปไตย (1954)
7.มาริยานางในเกาะนรก (1952, ไถง สุวรรณทัต + ทศทิศ)
8.มุมลับสาวสังคม (1954)
9.แม่ค้าปลาสด (1952)
10.ศาสนารักของนางโจร (1950)
11.สร้อยฟ้าขายตัว (1955, ดอกดิน กัญญามาลย์)
12.สองเกลอเห่อรัฐธรรมนูญ (1954)
13.หญิงสามผัว (1955, สดศรี บูรพารมณ์)
14.หนีผัว (1953)

15.เหมยฟ้าบางกอก (1955)

Saturday, September 27, 2014

FINSUGOI (2014, Tanwarin Sukkhapisit, A+15)

FINSUGOI (2014, Tanwarin Sukkhapisit, A+15)

รู้สึกว่าหนังมีองค์ประกอบทุกอย่างที่จะทำให้เราชอบหนังเรื่องนี้มากๆ แต่เรากลับไม่ได้ชอบหนังเรื่องนี้สุดๆถึงขั้น A+30 อาจจะเป็นเพราะมันขาด magic touch อะไรบางอย่าง หรือขาดอารมณ์อะไรบางอย่างที่มันจะกระทบเราเป็นการส่วนตัวจริงๆ

คือเรารู้สึกว่าเนื้อเรื่องของหนัง, บุคลิกนางเอก, ทัศนคติที่มีต่อเรื่องเพศบางอย่างในหนังเรื่องนี้ มันค่อนข้างเข้าทางเรามากทีเดียว แต่ในขณะเดียวกัน ลำพังแค่ “เนื้อเรื่อง” และ “ทัศนคติ” ที่เข้าทางเรา ในบางครั้งมันก็ไม่สามารถนำพาอารมณ์ของเราให้ไปถึงจุดสุดยอดได้


สิ่งที่เราคิดว่าเราอยากได้จากหนังเรื่องนี้ แต่มันขาดหายไป คือ moments ที่ละเอียดอ่อนทางอารมณ์ความรู้สึกอะไรบางอย่างที่มันมักจะพบในหนังที่กำกับโดยนักศึกษา โดยเฉพาะหนังของนิสิตม.ศิลปากรรุ่นชลสิทธิ์กับรุ่นบุญฤทธิ์น่ะ คือเราก็อธิบายไม่ถูกเหมือนกันว่าสิ่งที่เราอยากได้คืออะไร แต่มันเป็นสิ่งที่สามารถพบได้ในหนังนักศึกษากลุ่ม “เพื่อนแอบหลงรักเพื่อน” อย่าง FRIENDS SHIFT (2013, Boonyarit Wiangnon), BEFORE SUNSET (2013, Supalerk Silarangsri + Atchareeya Jattuporn, นิเทศจุฬา), DISTANCE (2010, Chonlasit Upanigkit), A MOMENT (2013, Siriporn Chorjiang), I CAN’T TELL YOU WHY (2013, Anan Pakbara) อะไรพวกนี้ คือเราว่าหนังพวกนี้มันสามารถสร้างความร้าวรานใจให้แก่เราได้มากๆ หรือมันสามารถคว้าจับมวลอารมณ์บรรยากาศโรแมนติกปนเศร้าเสียดแทงใจอะไรแบบนี้ได้ดีมาก

คือเราว่า FINSUGOI เล่าเรื่องได้ดีมาก แต่ปัญหาที่เรามีกับหนังเรื่องนี้ทำให้เรานึกไปถึงคำพูดของ Maya Deren ที่ว่า หนัง narrative เหมือนกับการเล่าเรื่องเป็นเส้นตรง เป็นการเคลื่อนที่จากจุด A ไปยังจุด B ในแบบ horizontal แต่หนังทดลองหลายๆเรื่องในความเห็นของเดอเรนไม่ได้เป็นการเล่าเรื่องแบบ horizontal แต่เป็นการนำเสนออารมณ์ในแบบ vertical คือเหมือนเป็นการคว้าจับอารมณ์ ณ ห้วงขณะหนึ่งๆออกมาถ่ายทอด คือแทนที่เนื้อเรื่องจะดำเนินไปข้างหน้า หนังทดลองกลับมุ่งไปที่อารมณ์อันถั่งท้น ณ ห้วงขณะหนึ่งๆแทน

คือเราว่าหนังนักศึกษาที่เรายกมาข้างต้น มันทำได้ทั้งแบบ horizontal และ vertical น่ะ มันเล่าเรื่องได้ และมันนำเสนออารมณ์เศร้าซึ้งเจ็บปวด ณ บางห้วงขณะได้ดีมากๆด้วย แต่ FINSUGOI เหมือนจะทำได้ดีมากแค่ในส่วนของ horizontal แต่การนำเสนออารมณ์แบบ vertical เหมือนยังขาดไป

แต่ยังไงเราก็ยังชอบ FINSUGOI มากๆนะ คือเราเน้นเขียนแค่ว่าเพราะเหตุใดเราถึงไม่ชอบหนังเรื่องนี้ถึงขั้น A+30 น่ะ ส่วนสิ่งที่เราชอบในหนังเรื่องนี้ เราขี้เกียจบรรยาย เพราะมันดีอยู่แล้ว 555

ส่วนฉากที่เราชอบที่สุดในหนังเรื่องนี้ คือฉากที่ตัวประกอบตัวนึงพูดว่า “ไม่ได้มาเพราะเงี่ยน แต่มาเพราะเป็นห่วง” หรืออะไรทำนองนี้ เราว่าฉากนี้เป็นฉากที่ทำให้เรารู้สึกเจ็บปวดได้มากที่สุดในหนังเรื่องนี้

รูปประกอบไม่ได้มาจากหนังเรื่องนี้จ้ะ แต่เป็นรูปของกัสเบล หนึ่งในนักแสดงของหนังเรื่องนี้



Sunday, September 21, 2014

THE RELUCTANT FUNDAMENTALIST (2012, Mira Nair, A+20)

การใช้ธงชาติเพื่อปฏิเสธความเป็นจริงที่ตนเองพยายามจะกดทับไว้

หนึ่งในประเด็นที่ชอบมากในการเสวนาหลังฉายหนัง  THE RELUCTANT FUNDAMENTALIST (2012, Mira Nair, A+20) ที่รีดดิ้งรูมในวันนี้ คือเรื่องการใช้ธงชาติอเมริกันในหนังเรื่องนี้ ซึ่งโยงมาถึงคำพูดของ Lacan ที่ว่า
“WHAT HAS BEEN FORECLOSED FROM THE SYMBOLIC REAPPEARS IN THE REAL” ซึ่งจริงๆแล้วเราไม่มีความรู้เรื่อง Lacan แต่เราชอบสิ่งที่คุณแพรพูดในงานวันนี้มาก โดยเขาพูดในทำนองที่ว่า ในหนังเรื่องนี้นั้น คนอเมริกันเหมือนเป็นคนที่ภูมิใจในตนเองมาก มองว่าตนเองถูกเสมอ คนพวกนี้ชอบดูถูกเหยียดหยาม the other หรือไม่รับรู้การมีอยู่ของ the other คนพวกนี้เหมือนกับปิดกั้น (foreclose) การมีอยู่ของ the other หรือศักยภาพของ the other ออกจากระบบสัญลักษณ์ของตนเอง จิตสำนึกของพวกเขาไม่ยอมรับ the other เพราะฉะนั้น the other ก็เลยไปอยู่ในส่วนของ the real แทน

ดังนั้นพอเกิดเหตุการณ์ 9/11 ขึ้นมา มันก็เหมือน the real สำแดงตัวตนออกมา สิ่งที่คนพวกนี้พยายามจะ foreclose ออกไปจากใจของตนเองมันกลับทะลักทลายออกมา และสำแดงตัวตนออกมาให้เห็น คนพวกนี้เคยมองว่าเหตุการณ์อย่าง 9/11 มันผิดหลักเหตุผล, มัน unthinkable มันไม่มีทางจะเกิดขึ้นได้ แต่จริงๆแล้วมันเกิดขึ้นได้ มันไม่ใช่สิ่งที่ unthinkable แต่อย่างใด คนพวกนี้ต่างๆที่พยายามจะปฏิเสธความเป็นจริงมาตลอด ดูถูกเหยียดหยาม the other มาตลอด หรือไม่เคยเห็นหัวของ the other มาตลอด คนพวกนี้พยายามจะปิดกั้น the other ออกไปจากระบบสัญลักษณ์ของตนเอง แต่ the other เป็นสิ่งที่มีอยู่จริงๆ และมันก็จะสำแดงตัวออกมาในที่สุด

เพราะฉะนั้นในหนังเรื่องนี้ พอเกิดเหตุการณ์ 9/11 คนอเมริกันหลายคนเลยไปหาซื้อธงชาติมาประดับประดารถ มาถือติดไม้ติดมือกันใหญ่ เพราะมันเป็นกลไกทางจิตของตนเอง พวกเขารู้สึกกลัว ก็เลยต้องใช้ธงชาติเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของตนเอง


เพราะฉะนั้นพอเราดูหนังเรื่องนี้ เราก็เลยตั้งคำถามกับตัวเองว่า ในบางครั้งเราต้องการ “เครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ” อย่างเช่นธงชาติบ้างหรือเปล่า และเราต้องการเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจไปทำไม เพราะเราพยายามจะปิดกั้นตัวเองจากการยอมรับความจริงอะไรบางอย่างหรือเปล่า เรา foreclose คนกลุ่มใดบ้างออกไปจากระบบสัญลักษณ์ของเรา หรือระบบความคิดของเรา ทั้งๆที่คนกลุ่มนั้นมีอยู่จริงหรือเปล่า เราปิดกั้น “เหตุการณ์ใด” ออกไปจากระบบความคิดของเราหรือเปล่า โดยบอกกับตัวเองว่าเหตุการณ์นั้นมัน unthinkable มันไม่มีทางเป็นจริงได้ ทั้งๆที่จริงๆแล้วมันเป็นจริงได้

Saturday, September 20, 2014

PACIFICO (2010, Jonathan Andrade, Brazil, A+30


PACIFICO (2010, Jonathan Andrade, Brazil, A+30) เป็นหนึ่งในหนังที่อยากนำมาฉายควบกับ MYTH OF MODERNITY (2014, Chulayarnnon Siriphol, A+30) เพราะมันจัญไรพอๆกัน (คำชม)  PACIFICO เป็นหนึ่งในหนังที่ชอบที่สุดในปีนี้ หนังเรื่องนี้มีบางส่วนที่เหมือนเป็นการล้อเลียนโฆษณาชวนเชื่อของรัฐบาลเผด็จการ โดยโฆษณาชวนเชื่อดังกล่าวจะบอกว่า นักศึกษาที่ดีไม่ควรไปประท้วงตามท้องถนน นักศึกษาที่ดีควรจะเกลียดชังนักการเมือง และควรจะเชื่อฟังครูบาอาจารย์ การประท้วงรัฐบาลตามท้องถนนเป็นสิ่งที่เลวร้ายอย่างสุดๆ และหนังเรื่องนี้ก็แสดงให้เห็นว่าเกิดเหตุแผ่นดินไหวขึ้น แล้วประเทศชิลีก็แยกตัวออกจากทวีปอเมริกาใต้ แล้วลอยออกไปกลายเป็นเกาะอยู่กลางมหาสมุทรแปซิฟิก (เราว่าหนังเรื่องนี้จงใจล้อชื่อมหาสมุทรแปซิฟิกที่สื่อถึงความสงบด้วย)

หนังมีฉากที่เราชอบเยอะมาก ทั้งฉากที่เปรียบเทียบระหว่างภาพการประท้วงตามท้องถนน กับภาพ “บ้านเมืองที่สงบร่มเย็น”, ฉากที่แสดงให้เห็นภาพดวงดาวต่างๆในจักรวาล และฉากที่กล้องค่อยๆเคลื่อนไปตามแผนที่ชิลีอย่างช้าๆ โดยมีเสียงประชาชนเล่าถึงปัญหาน้ำไม่ไหล, ไฟดับหลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหว


Tuesday, September 16, 2014

TEACHER AND STUDENT (2014, Sarawut Intaraprom, A+20)



TEACHER AND STUDENT (2014, Sarawut Intaraprom, A+20)

Marninphun Pinyopiyawis นี่เป็นนักแสดงที่ทั้งเก่งและหล่อจริงๆ เราชอบเขามากๆทั้งในละครเวทีเรื่อง CACOPHONIES (2014, Grisana Punpeng, A+30) และในหนังเรื่อง TEACHER AND STUDENT เราว่าเขาโชคดีด้วยแหละที่ได้แสดงในหนังและละครเวทีสองเรื่องนี้ เพราะหนังและละครเวทีสองเรื่องนี้ใช้ประโยชน์ของเขาอย่างเต็มที่ทั้งจากความหล่อและฝีมือทางการแสดง

เราว่าบทของเขาใน TEACHER AND STUDENT มันเปิดโอกาสให้เขาได้ใช้ความสามารถมากพอสมควร ถึงแม้มันอาจจะยังไปไม่สุดซะทีเดียว เพราะเราว่าบทของเขาในบางช่วงมันดูฝืนๆอยู่ (คือเราไม่ชอบบางฉากในหนังเรื่องนี้ แต่บอกไม่ได้ว่าความผิดเกิดจากตัวนักแสดง, บทภาพยนตร์ หรือการกำกับการแสดง) แต่โดยรวมแล้วบทต้นที่เขาแสดงในหนังเรื่องนี้มันเป็นบทที่เรียกร้องฝีมือทางการแสดงมากพอสมควร

จริงๆแล้วเราอยากให้ TEACHER AND STUDENT ตัดประเด็นการเมืองทิ้งไปให้หมดเลย แล้วลงลึกไปในจิตใจและอารมณ์ตัวละครแบบเต็มที่มากกว่า คือหนังเรื่องนี้มันจะเข้าทางเราอย่างเต็มที่ และมีโอกาสติดอันดับหนังประจำปี 2014 ของเราอย่างแน่นอน ถ้าหาก

1.มันเจาะลึกลงไปในความหมกมุ่นของตัวละครต้น (มานินพันธุ์) อย่างเต็มที่ไปเลย คือในใจนึงเราก็อยากให้หนังเรื่องนี้ออกมาแบบหนังเรื่อง IN MY SKIN (2002, Marina de Van, A+30) น่ะ เพราะ IN MY SKIN มันนำเสนอความหมกมุ่นแบบวิปริตในจิตใจนางเอกออกมาได้อย่างสุดยอดมากๆ และเราว่าเนื้อเรื่องของ TEACHER AND STUDENT มันเอื้อให้ดัดแปลงออกมาเป็นแบบ IN MY SKIN ได้

2.มันนำเสนอความร้าวรานใจของความรัก 3 เส้าแบบให้มันถึงขีดสุดจริงๆ และทำให้เรารู้สึกร้องห่มร้องไห้ไปกับความรักที่ไม่สมหวังของต้นที่มีต่อนักเรียนหนุ่ม หรือร้องห่มร้องไห้ไปกับความรักของแอลที่มีต่อต้น แต่เขาก็ไม่สามารถทนมีชีวิตอยู่กับต้นได้

คือหนังที่เราว่าเหมาะเป็นต้นแบบในแนวทางนี้คือหนังเรื่อง

2.1 TO DIE OF LOVE (2009, Josée Dayan, A+30) ที่เล่าเรื่องความรักของเด็กนักเรียนมัธยมหนุ่มกับครูหญิงอ้วนวัย 40 ปีที่อดีตเคยเป็นนักปฏิวัติในเหตุการณ์ May 1968 มาก่อน โดยหนังทำให้เรารู้สึกเจ็บปวดอย่างสุดจะทานทนไปกับความรักของครูกับนักเรียนคู่นี้

2.2 KUNG-FU MASTER! (1988, Agnès Varda, A+30) ที่เล่าเรื่องราวความรักระหว่างคุณแม่ลูกสอง (Jane Birkin) กับเด็กหนุ่มวัย 14 ปี โดยนักแสดงที่มารับบทเด็กหนุ่มวัย 14 ปีคือ Mathieu Demy ซึ่งเป็นลูกชายของ Varda ผู้กำกับหนังเรื่องนี้ เราว่าหนังเรื่องนี้นำเสนอความร้าวรานใจของตัวนางเอกได้อย่างถึงขีดสุดมากๆ

แต่ถึงแม้ TEACHER AND STUDENT ไม่ได้เป็นหนังแบบที่เราชอบสุดๆอย่าง IN MY SKIN หรือ TO DIE OF LOVE เราก็ enjoy หนังเรื่องนี้มากพอสมควรนะ คือเวลาดูหนังเรื่องนี้เราจะนึกถึงหนังอย่าง DAYBREAK (2008, Adolfo Alix Jr., Philippines) และ THE MASSEUR (2005, Brillante Mendoza, Philippines) น่ะ ที่เป็นหนัง gay softcore ที่ใช้สไตล์หนังอินดี้มาผสมด้วย คือจะเรียกหนังกลุ่มนี้ว่าหนังอาร์ท เราก็ว่ามันไม่ใช่ แต่การที่หนังพวกนี้ใช้องค์ประกอบบางอย่างของหนังอาร์ทมาใช้ในการเล่าเรื่อง มันก็เลยทำให้เราดูหนังกลุ่มนี้ได้อย่างเพลิดเพลินกว่าการดูหนังโป๊น่ะ คือหนังกลุ่มนี้มันมีส่วนผสมของทั้งหนังโป๊เกย์และหนังอาร์ทอยู่ด้วยกัน มันก็เลยกลายเป็นหนังลูกผสมที่น่าสนใจดีสำหรับเรา และเราอยากให้มีการผลิตหนังลูกผสมแบบนี้ออกมาอีกเยอะๆ

คือเราว่าในอดีตมันมีหนังลูกผสมแบบนี้เยอะมากนะ หนังที่ตอบสนองทั้งความต้องการทางเพศของผู้ชม และใช้กลวิธีแบบหนังอาร์ทมาร่วมด้วย อย่างเช่นหนังที่กำกับโดย Jean Rollin, Jesus Franco, Radley Metzger, David Hamilton, Hisayasu Sato อะไรพวกนี้ และผู้กำกับที่เป็นจุดสูงสุดของกลุ่มนี้ในสายตาของเราก็คือ Alain Robbe-Grillet แต่หนังพวกนี้ส่วนใหญ่มันจะขายฉากผู้หญิงโป๊เปลือยน่ะ ไม่ได้ขายฉากผู้ชายล่ำๆ

เพราะฉะนั้นถึงแม้ว่า TEACHER AND STUDENT จะไม่ใช่หนังที่ลงตัวในสายตาของเรา แต่เราก็อยากให้มีการผลิตหนังกลุ่มนี้ออกมาอีกเยอะๆนะ หมายถึงหนังลูกผสมที่มีองค์ประกอบส่วนนึงเหมือนหนังอาร์ทหรือหนังอินดี้ และองค์ประกอบอีกส่วนนึงเป็นหนัง exploitation, หนังเกรดบี, หนังคัลท์ หรือหนัง gay softcore ที่ขายฉากผู้ชายถอดเสื้อ ผู้กำกับที่คิดจะเอาดีในแนวทางนี้คงต้องค่อยๆทดลองเขย่าหาส่วนผสมที่ลงตัวกันต่อไป  คือผู้กำกับหนังเกย์เกรดบีเราก็มีแล้ว อย่างเช่น พจน์ อานนท์, ผู้กำกับหนังเมนสตรีมเกย์ที่ดีๆ เราก็มีแล้ว ซึ่งได้แก่ ธัญญ์วาริน สุขะพิสิฐ, ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล, อนุชิต มวลพรม และผู้กำกับหนังอาร์ทเกย์ เราก็มีแล้ว อย่างเช่น อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล, ไมเคิล เชาวนาศัย, อรรถวุฒิ บุญยวง (SCAR), กร กนกคีขรินทร์ (WHY DO YOU JUMP?) แต่ดูเหมือนเรายังไม่ค่อยมีหนังเงี่ยนๆลูกผสมแบบ TEACHER AND STUDENT มากนัก




Sunday, September 14, 2014

SMING: THE HUNT BEGINS (2014, Pan Visitsak, A+25)

SMING: THE HUNT BEGINS (2014, Pan Visitsak, A+25)

ไม่แปลกใจเลยว่าทำไมเสือสมิงในหนังเรื่องนี้ถึงอยากจะกินนายพรานนัก เพราะคนดูก็อยากจะกินนายพรานเหมือนกัน ฮิฮิฮิ

สาเหตุที่เราชอบหนังเรื่องนี้มากๆเพราะหนังเรื่องนี้มันมีคุณสมบัติเดียวกับสิ่งที่เราชอบมากในนิยายของ “ตรี อภิรุม” น่ะ นั่นก็คือการสร้างโลกเหนือธรรมชาติที่มีตัวละครที่มีอิทธิฤทธิ์สูงหลายตัวอยู่ในนั้น ซึ่งมันเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับโลกผีๆสางๆในนิยายของจินตวีร์ วิวัธน์ คือโลกเหนือธรรมชาติในนิยายของจินตวีร์ วิวัธน์มันเหมือนมีสิ่งเหนือธรรมชาติอยู่กลุ่มเดียว และนางเอกก็ต้องหาทางรับมือกับสิ่งเหนือธรรมชาติกลุ่มนั้น แต่โลกเหนือธรรมชาติในนิยายของตรี อภิรุมมันเต็มไปด้วยตัวประกอบชิบหายๆ และตัวประกอบหลายตัวก็มีอิทธิฤทธิ์สูงมาก หรือมีความเฮี้ยนมากๆ ในแบบของตัวเอง

คือถ้าเปรียบเทียบกันแล้ว โลกเหนือธรรมชาติในนิยายของจินตวีร์ วิวัธน์ มันจะคล้ายกับโลกเหนือธรรมชาติในนิยายเรื่อง “นาคราช” ของแก้วเก้า หรือหนังอย่าง SUPERMAN น่ะ คือมันไม่ค่อยมีตัวประกอบชิบหายๆ ซึ่งโลกแบบนี้มันก็มีเสน่ห์ในแบบของตัวเอง แต่มันไม่สอดคล้องกับโลกจินตนาการของเราสักเท่าไหร่

โลกจินตนาการของเรามันจะสอดคล้องกับโลกในนิยายของตรี อภิรุม หรือหนังอย่าง X-MEN น่ะ เพราะมันจะมีตัวประกอบชิบหายๆเยอะมาก และตัวประกอบแต่ละตัวมันพร้อมจะฉีกตัวออกไปเป็นพระเอกนางเอกในเรื่องราวของตัวเองได้ เราว่าถ้าหากเอานิยายเรื่อง “นาคี” ของตรี อภิรุม มาเปรียบเทียบกับ “นาคราช” ของแก้วเก้า หรือเอา SUPERMAN กับ X-MEN มาเทียบกัน มันจะเห็นได้ชัดเลยว่าเราชอบโลกจินตนาการแบบไหนมากกว่ากัน

สรุปว่าเราชอบ SMING: THE HUNT BEGINS มาก เพราะเราชอบการสร้างตัวประกอบและการให้ความสำคัญกับตัวประกอบในหนังเรื่องนี้ ตัวประกอบหลายตัวในหนังเรื่องนี้ มันกระตุ้นให้เราเอาไปจินตนาการต่อได้ว่า มันสามารถฉีกตัวเองออกไปเป็นพระเอกนางเอกในหนังของตัวเองได้ คือผู้สร้าง SMING: THE HUNT BEGINS คงไม่ได้ตั้งใจหรอก แต่เวลาเราดูหนังเรื่องนี้ เราสามารถจินตนาการต่อเองได้อย่างสนุกสนานเลยว่า หนังเรื่องนี้มันสามารถสร้าง prequels ได้อย่างน้อย 4 เรื่องเลย โดยเรื่องนึงอาจจะเป็นการผจญภัยของพรานบุญก่อนเกิดเหตุการณ์ในสมิง, อีกเรื่องอาจจะเป็นการผจญภัยของพรานดำ, อีกเรื่องอาจจะเป็นการผจญภัยของเมียหมอผีเขมร และอีกเรื่องอาจจะเป็นการผจญภัยของ 5 พี่น้องจากเมืองจีน

แต่สาเหตุที่เราไม่อยากให้ A+30 กับหนังเรื่องนี้ เพราะเราเกลียดการใช้ดนตรีประกอบในหนังเรื่องนี้มาก


สรุปว่า SMING: THE HUNT BEGINS เป็นหนังที่เราชอบมากๆเป็นการส่วนตัว เพราะโลกจินตนาการของเราก็เป็นแบบในหนังเรื่องนี้นั่นแหละ มันเต็มไปด้วยตัวละครประกอบชิบหายๆหลายๆตัว และแต่ละตัวอิทธิฤทธิ์สูงกันหมด

Saturday, September 13, 2014

TEN FAVORITE MAGAZINE ISSUES


I was tagged by a friend to make a list of ten favorite books.  But I decided to make a list of ten favorite magazine issues instead. So here is my list:

TEN FAVORITE MAGAZINE ISSUES

(in alphabetical order)

1.BORN 3

2.DARK 1

3.DARK 4

4.HERO 23

5.HERO 27

6.HEY 11

7.KFM SPECIAL 2

8.KFM SPECIAL 9

9.STAGE, TRAINER ISSUE

10.STEP 55

The photo comes from HEY 11.



Wednesday, September 10, 2014

FAVORITE OLD THAI FILMS


LIST OF MY FAVORITE OLD THAI FILMS

A foreign friend who can speak Thai asked me to make a list of 20-30 good old Thai films made before the 1990s, after he had watched some good films from that period, such as TONGPAN. So I decided to make my list. But first I want to say that I know very very little about old Thai films, and I have seen very very few old Thai films. So my list is “a personal favorite list” based on my very little knowledge of old Thai films. This list is not meant to be “the list of best old Thai films”. For those who are interested in best old Thai films, maybe you can see the list of Highly Recommended 100 Thai Films made by the Thai Film Archive. (Sadly, the list is in Thai.)

Here is the list made by the Thai Film Archive:

Here is the list of MY PERSONAL FAVORITE OLD THAI FILMS:

(in roughly chronological order)

1.THE MAGIC RING (1929, King Rama VII, 30min)
แหวนวิเศษ (พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว)

2.RECEIVING TORPEDO BOATS (1935, Luang Konlakarnchenchit, documentary)

3.BANGKOK FLOOD IN 1942 (1942, Tae Prakartwuttisarn, short documentary)
น้ำท่วมกรุงเทพปี 2485 (แท้ ประกาศวุฒิสาร)

4.CHUA FAR DIN SALAI (1955, Marut)
ชั่วฟ้าดินสลาย (มารุต)

5.THE TRANSVESTITE IS THE CAUSE (1955, Employees of Montol Bank, 10min)
กะเทยเป็นเหตุ (พนักงานธนาคารมณฑล)

6.COUNTRY HOTEL (1957, Ratana Pestonji)
โรงแรมนรก (รัตน์ เปสตันยี)

7.MAE NAK PRAKANONG (1959, Rungsee Tasanapayak)
แม่นาคพระโขนง (รังสี ทัศนพยัคฆ์)

8.WHOSE LAND IS THIS? (1959, Parinya Leelasorn)
แผ่นดินของใคร (ปริญญา ลีละศร)

9.THE DUCKLING (1968, Prince Panupan Yukol)
เป็ดน้อย (พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล)

10.FILM FROM LAMPANG (approximately 1971, anonymous)
This is a very interesting experimental film shown in the Bangkok Experimental Film Festival in 2012.

11.THE SUN IS BROKEN WHEN THE WATERMELON IS KILLED (1972, Dome Sukvong, 4min)
อาทิตย์แตกเมื่อฆ่าแตงโม (โดม สุขวงศ์)

12.THE MAN WHO EATS HIS WIVES (1974, Dokdin Gunyamarn)
คนกินเมีย (ดอกดิน กัญญามาลย์)

13.THE HARA WOMAN WORKERS STRUGGLE (1975, Jon Ungpakorn, documentary)
การต่อสู้ของกรรมกรหญิงโรงงานฮาร่า (จอน อึ๊งภากรณ์)

14.INSANE (1975, Piak Poster)
ประสาท (เปี๊ยก โปสเตอร์)

15.LAST LOVE (1975, Prince Chatrichaloem Yukol)
ความรักครั้งสุดท้าย (ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล)

16.THE GODMOTHER (1976, Prince Tipyachat Chatchai + Chaluay Srirattana)
เจ้าแม่ (ม.จ.ทิพยฉัตร ฉัตรชัย + ฉลวย ศรีรัตนา)

17.OUR LAND (1976, Sor Asanajinda)
แผ่นดินของเรา (ส. อาสนจินดา)

18.COUNTRY TEACHER (1978, Surasee Patham)
ครูบ้านนอก (สุรสีห์ ผาธรรม)

19.SUEB YAD SAI (1978, Jaraspong Suraswadee)
สืบยัดไส้ (จรัสพงษ์ สุรัสวดี)

20.A TOWN IN FOG (1978, Permpol Choei-aroon)
เมืองในหมอก (เพิ่มพล เชยอรุณ)

21.THE GOD OF BANGPOON VILLAGE (1980, Pagorn Promwituck)
เทพเจ้าบ้านบางปูน (ปกรณ์ พรหมวิทักษ์)

22.SEARCHING FOR LOVE (1981, Apichart Popairote)
ถามหาความรัก (อภิชาต โพธิไพโรจน์)

23.SON OF THE NORTHEAST (1983, Vichit Kounavudhi)
ลูกอีสาน (วิจิตร คุณาวุฒิ)

24.DIVORCE BECAUSE OF ADULTERY (1985, Manop Udomdej)
หย่าเพราะมีชู้ (มานพ อุดมเดช)

25.I DON’T GIVE IT A DAMN (1986, M.L. Bhandevanop Devakul)
ช่างมันฉันไม่แคร์ (ม.ล.พันธุ์เทวนพ เทวกุล)

26.NAM SOR SAI (1986, Chalee Intaravijit)
น้ำเซาะทราย (ชาลี อินทรวิจิตร)

27.DON’T TELL ME SHE’S SINFUL (1987, Tanit Jitnukul)
อย่าบอกว่าเธอบาป (ธนิตย์ จิตนุกูล)

28.THE GEM FROM THE DEEP (1987, Cherd Songsri)
พลอยทะเล (เชิด ทรงศรี)

29.PEOPLE UNDER THE SUN (1987, Kid Suwansorn)
คนกลางแดด (คิด สุวรรณศร)

30.RED ROOF (1987, Euthana Mukdasanit)
หลังคาแดง (ยุทธนา มุกดาสนิท)

31.THE SEED (1987, Bundit Rittakol)
ด้วยเกล้า (บัณฑิต ฤทธิ์ถกล)

32.VICTIMS (1987, Chana Kraprayoon)
เหยื่อ (ชนะ คราประยูร)

The photo comes from CHUA FAR DIN SALAI.

Please feel free to add a list of any old Thai films you like.