Sunday, June 30, 2024

THE KINDNESS OF STRANGERS

วันนี้เรานั่งรถเมล์สาย 515 กลับจาก “งานเขาชนไก่ทางภาพยนตร์” (ชื่อเล่นที่เราแอบตั้งให้งานฟลาเฮอร์ตี) แล้วเจอเหตุการณ์เล็ก ๆ ที่น่าประทับใจ ก็เลยขอจดบันทึกไว้สักหน่อย

 

เหตุการณ์นั้นก็คือว่า มีชายหนุ่มหน้าตาเอเชียขึ้นมาบนรถเมล์ หน้าตาเหมือนเป็นชาวเกาหลี แล้วเขาจะสแกนจ่ายเงิน แต่กระเป๋ารถเมล์ไม่รับการสแกนจ่าย หนุ่มเกาหลีก็เลยไม่รู้จะทำยังไง เราก็เลยคิดในใจว่า “เดี๋ยวดิฉันจะช่วยออกตังค์ให้คุณเองค่ะ” แต่ปรากฏว่าในขณะที่เรากำลังคิดในใจอยู่นี้ ก็ปรากฏว่ามีสองสาวชาวอินเดียบนรถเมล์ ชิงจ่ายเงินให้หนุ่มเกาหลีไปก่อนแล้ว แล้วหลังจากนั้นสองสาวชาวอินเดียกับหนุ่มเกาหลีก็คุยทำความรู้จักกันเป็นภาษาอังกฤษบนรถเมล์ ก่อนที่ทั้งสามจะลงรถเมล์ไปที่ป้ายเดียวกันในเวลาต่อมา

 

ก็เลยประทับใจเหตุการณ์ “ความเอื้ออารีที่คนแปลกหน้ามีให้แก่กัน” ในครั้งนี้ค่ะ โดยเฉพาะความเอื้ออารีที่เกิดจากคนต่างเชื้อชาติมีให้แก่กันด้วย


Tuesday, June 25, 2024

NOSFERATU

 

เราชอบเวอร์ชั่นรีเมคมากกว่าเวอร์ชั่นต้นฉบับ 555 คือเราชอบ NOSFERATU THE VAMPYRE (1979, Werner Herzog) มากกว่า NOSFERATU (1922, F. W. Murnau) แต่จริง ๆ แล้วเราชอบ F. W. Murnau อย่างสุดขีดนะ เขาเป็น “หนึ่งในสุดยอดผู้กำกับภาพยนตร์ที่เป็นเกย์” ในความเห็นของเรา เพียงแต่ว่าในบรรดาหนังของ Murnau ที่เราเคยดูมา 8 เรื่องนั้น เราอาจจะชอบ NOSFERATU น้อยสุดใน 8 เรื่องนี้ 55555 และชอบ SUNRISE (1927) มากสุด

 

พูดถึง NOSFERATU แล้วก็นึกถึงหนังเรื่อง SHADOW OF THE VAMPIRE (2000, E. Elias Merhige) มาก ๆ งงมาก ๆ ว่า E. Elias Merhige หายสาบสูญไปไหน เหมือนเขาไม่ได้ทำหนังยาวมานาน 20 ปีแล้ว เกิดอะไรขึ้น ทำไมผลงานเขาน้อยจัง เพราะเราเคยตื่นเต้นอย่างสุดขีดจาก BEGOTTEN (1989, E. Elias Merhige) แต่ทำไมเขากลายเป็น one-hit wonder ไปซะได้

Sunday, June 23, 2024

BIRTH OF THE SEANEMA IN 2024

 

เราเพิ่งจองตั๋วดู BIRTH OF THE SEANEMA (2004, Sasithorn Ariyavicha) ไปเมื่อราว ๆ 00.52 น.ของวันอาทิตย์ที่ 23 มิ.ย. ซึ่งก่อนจะจองตั๋ว เราก็เลย cap หน้าจอแผนผังที่นั่งของหอภาพยนตร์ ศาลายาเอาไว้หน่อย เพราะเราอยากบันทึกว่า มีคนจองตั๋วดู BIRTH OF THE SEANEMA ไปแล้วกี่คน

 

ซึ่งแผนผังที่นั่งนี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นราว 12 ชั่วโมงก่อนการฉายจริงในเวลา 13.00 น.ของวันที่ 23 มิ.ย. เราก็เลยไม่รู้หรอกว่า พอถึงเวลาฉายจริง ๆ แล้ว คนดูเพิ่มขึ้นมากกว่าที่เห็นในรูปนี้มากน้อยแค่ไหน

 

แต่แค่เท่าที่เห็นในรูปนี้ เราก็ดีใจมาก ๆ แล้วล่ะในฐานะสาวกของหนังเรื่องนี้

Saturday, June 22, 2024

FETISH FILMS

 

วันนี้ได้ดู PUP สุนัข และเจ้านาย (2024, Sarawut Intaraprom, queer film, 95min, A+25) แล้วนึกถึงหนังในรูปนี้มาก ๆ ซึ่งก็คือหนังเรื่อง “เราล้วนเว้าแหว่งในตำแหน่งที่แตกต่างกัน” (2018, Kiattisak Kingkaew, queer film, 23min, A+30) เพราะเราว่าหนังสองเรื่องนี้มันฉายควบกันได้ และเราว่าชื่อหนัง “เราล้วนเว้าแหว่งในตำแหน่งที่แตกต่างกัน” มันก็เป็นชื่อหนังที่เหมาะกับ PUP มาก ๆ เหมือนกัน

 

รูปมาจาก “เราล้วนเว้าแหว่งในตำแหน่งที่แตกต่างกัน” นะ

Thursday, June 20, 2024

MY FOUR VIEWINGS OF "BIRTH OF THE SEANEMA"

 

จดบันทึกไว้ดีกว่าว่า เราเคยดู BIRTH OF THE SEANEMA (2004, Sasithorn Ariyavicha) มาแล้วในวันไหนบ้าง

 

1.รอบแรกที่เราได้ดู คือวันที่ 14 ส.ค. 2004 ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา ในเทศกาลหนังสั้นของมูลนิธิหนังไทย โดยในวันนั้นเราได้ดูหนังเรื่อง THE ADVENTURE OF IRON PUSSY (2003, Apichatpong Weerasethakul + Michael Shaowanasai) และหนังสั้นอีกหลายเรื่องด้วย ซึ่งรวมถึงเรื่อง RUSH HOUR (2001, Antonin Peretjatko, France) ซึ่งต่อมา Antonin Peretjatko ก็กลายเป็นหนึ่งในผู้กำกับภาพยนตร์ที่เราชอบสุดขีดเช่นกัน

 

2.รอบที่สองที่เราได้ดู คือวันที่ 18 ก.ย. 2004 ที่ห้องฉายหนังในห้องสมุดธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โดยในวันนั้นเราได้ดูหนังสั้นของคุณ Sasithorn อีก 4 เรื่องด้วย ซึ่งได้แก่เรื่อง MY FIRST FILM (1991), TRANSFIGURED NIGHT (1993), DRIFTER (1993, second viewing) และ WINTER REMAINS (2002)

 

3.รอบที่สามที่เราได้ดู คือในวันที่ 16 ก.พ. 2008 ที่โรงละครภัทราวดี เธียเตอร์ โดยในวันนั้นเราได้ดูหนังยาวเรื่อง TULI (2006, Auraeu Solito, Philippines) ที่เราชอบมาก ๆ ด้วย และได้ดูหนังสั้นของมาเลเซียอีก 4 เรื่อง ซึ่งรวมถึงหนังสยองขวัญเรื่อง WESTBOUND (2007, Kubhaer T. Jethwani) ที่เราชอบสุดขีด และหนังเรื่อง POD ของ Chris Chong Chan Fui ซึ่งต่อมาเขาได้กำกับหนังที่เราชอบสุดขีดสองเรื่อง ซึ่งได้แก่ BLOCK B (2008) และ KARAOKE (2009)

 

ว่าแต่ว่า ตอนนี้ Chris Chong Chan Fui หายสาบสูญไปไหนแล้ว ทำไมไม่ทำหนังใหม่ ๆ ออกมาอีกเลย

 

4. รอบที่ 4 ที่เราได้ดู คือในวันอาทิตย์ที่ 23 ก.พ. 2014 ที่ห้องฉายหนังในห้องสมุดมหาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ซึ่งเราเป็นคนจัดฉายเอง 555 โดยในวันนั้นเราได้ดูและฉายหนังเรื่อง HSP: THERE IS NO ESCAPE FROM THE TERRORS OF THE MIND (2013, Rouzbeh Rashidi, Ireland) ด้วย

 

BIRTH OF THE SEANEMA จะกลับมาฉายอีกครั้งในวันอาทิตย์ที่ 23 มิ.ย. 2024 เวลา 13.00 น. ที่หอภาพยนตร์ ศาลายานะ

Wednesday, June 19, 2024

WILL YOU LOOK AT ME (2022, Shuli Huang, China, queer film, 20min, A+30)

 

WILL YOU LOOK AT ME (2022, Shuli Huang, China, queer film, 20min, A+30)

 

ดูหนังเรื่องนี้ได้ที่ลิงค์นี้จนถึงราว ๆ เที่ยงวันศุกร์ที่ 21 มิ.ย.นี้

https://www.lecinemaclub.com/now-showing/will-you-look-at-me/

 

ดูแล้วอินสุดขีด อาจจะติดอันดับหนึ่งประจำปีนี้

 

นึกว่าต้องฉายควบกับหนังไทยเรื่อง “ซ่อนเร้น” SERREPTITIOUS (2010, Thitikan Kanchanapakdee, 13min, A+30) ที่ร้าวรานสุดขีดมาก ๆ เหมือนกัน และฉายควบกับ ONE TRUE THING (2007, Vichart Somkaew, documentary, A+30) ได้ด้วย

Tuesday, June 18, 2024

GEESADERD LEGEND

 

ช่วง แม่หมีสอนลูกหมี เรื่อง “ตำนานเจ้าแม่กีสะเดิด”

 

เมื่อวันก่อนลูกหมีเห็นคลิป “พิธีกรรมบูชาเจ้าแม่กีสะเดิด ที่เกาะวามปี” ใน Facebook ของแม่หมี ลูกหมีก็เลยถามแม่หมีว่า

 

“เจ้าแม่กีสะเดิดเป็นใครเหรอครับ หนูเคยอ่านหนังสือ MYTHOLOGY ของ Edith Hamilton แล้ว ไม่เห็นหนังสือเล่มนี้เคยเอ่ยถึงเจ้าแม่กีสะเดิดเลยครับ หนูเคยอ่านนิตยสาร ต่วยตูน พิเศษ ตั้งหลายฉบับ ก็ไม่เคยเห็นนิตยสารเล่มนี้ เอ่ยถึงเจ้าแม่กีสะเดิด เหมือนกัน”

 

แม่หมีก็เลยเล่าเรื่องตำนาน “เจ้าแม่กีสะเดิด” ให้ลูกหมีฟังคร่าว ๆ ดังนี้

 

“คือเจ้าแม่กีสะเดิด เป็นเจ้าแม่ที่ชาวเกาะวามปีนับถือบูชากันมาก ๆ จ้ะ แต่คนในพื้นที่อื่น ๆ เขาไม่ค่อยรู้จักเจ้าแม่องค์นี้กัน แต่ชาวเกาะนี้และนักท่องเที่ยวจากหลาย ๆ ประเทศเขาเชื่อกันว่า เจ้าแม่องค์นี้ศักดิ์สิทธิ์มาก ๆ จ้ะ”

 

“ตำนานที่จารึกไว้ในสุสานโบราณที่ค้นพบในเกาะแห่งนี้ เล่าว่า เจ้าแม่องค์นี้เป็นที่มาของปรากฏการณ์ธรรมชาติหลาย ๆ อย่างบนโลกนี้จ้ะ อย่างเช่น

 

1. เจ้าแม่องค์นี้มีผัวอยู่ในหลาย ๆ ทวีปบนโลก และเธอชอบเอาลิ้นลอดใต้มหาสมุทรไปเลียผัวตามทวีปต่าง ๆ เพราะฉะนั้นคนโบราณก็เลยเชื่อกันว่า การที่เธอเอาลิ้นลอดใต้มหาสมุทรไปเลียผัวแบบนี้ มันเลยเป็นต้นเหตุทำให้ “ทะเลมีคลื่น” จ้ะ

 

2. เจ้าแม่องค์นี้ชอบเอา “น้ำของผัว” ไปต้มในหม้อต้มใหญ่ให้สุกจนเดือดพล่านเพื่อเอามาใช้เป็นน้ำยาศักดิ์สิทธิ์ประจำตัวเจ้าแม่ และคนโบราณก็เลยเชื่อกันว่า การที่เจ้าแม่กีสะเดิดทำแบบนี้ ก็เลยเป็นที่มาของปรากฏการณ์ ภูเขาไฟระเบิดจ้ะ เพราะจริง ๆ แล้ว ภูเขาไฟก็คือหม้อต้มของเจ้าแม่ และลาวาก็คือ น้ำของผัวเจ้าแม่ที่เดือดพล่านทะลักออกมาจากหม้อต้ม จ้ะ

 

3. ผัวของเจ้าแม่มีจำนวนมากมายมหาศาลยิ่งนัก และมีอยู่ในดาวหลาย ๆ ดวงด้วย วันหนึ่งเจ้าแม่ก็เลยอยากจัดงานแข่งขันกีฬาให้กับบรรดาผัว ๆ ของเจ้าแม่ แต่พบว่า ไม่มีสนามกีฬาและอัฒจันทร์แห่งใดบนโลกนี้ที่สามารถบรรจุผัวของเจ้าแม่ได้หมดเลย

 

เจ้าแม่ก็เลยต้องเอาผัว ๆ ของเจ้าแม่ไปแข่งขันกีฬาสีกันที่ดาวพฤหัสบดีจ้ะ เพราะดาวพฤหัสบดีเป็นดาวที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยจักรวาล แล้วก็เกิดปัญหาว่า แล้วจะมีอัฒจันทร์ที่ไหนที่ใหญ่พอล่ะ เจ้าแม่ก็เลยสร้าง “วงแหวนดาวพฤหัสบดี” ขึ้นมาเพื่อใช้เป็นอัฒจันทร์ในการชมกีฬาสีของผัว ๆ ของเจ้าแม่จ้ะ คนโบราณเขาเชื่อกันว่า ที่ดาวพฤหัสบดีมีวงแหวนก็เพราะสาเหตุแบบนี้แหละจ้ะ คือเพื่อใช้เป็นอัฒจันทร์ในการชมกีฬาสีของผัว ๆ ของเจ้าแม่กีสะเดิด”

 

แล้วลูกหมีก็ถามแม่หมีว่า “ที่บอกว่าเจ้าแม่กีสะเดิดมีผัวจำนวนมากนี่ เจ้าแม่มีผัวกี่คนเหรอครับ”

 

แม่หมีก็เลยตอบว่า “ตำนานโบราณได้ให้คำตอบของเรื่องนี้ไว้ด้วยจ้ะ เพราะมีอยู่ครั้งหนึ่งที่เจ้าแม่กีสะเดิดกับ “เทพธิดามาเหม่ย” ซึ่งเป็นคู่อริของเจ้าแม่ ต่อสู้ปะทะกันอย่างรุนแรง แล้วเจ้าแม่กีสะเดิดพลาดท่าเสียที จะถูกเทพธิดามาเหม่ยทำร้าย แต่ผัว ๆ ของเจ้าแม่ได้ช่วยกันมาปกป้องเจ้าแม่ไว้ อย่างไรก็ดี ผัวๆ ของเจ้าแม่โดนพลังรุนแรงของเทพธิดามาเหม่ยทำร้าย จนร่างกายของผัวแต่ละคนถูกแปลงเป็นเม็ดทราย 1 เม็ดจ้ะ

 

เพราะฉะนั้น จำนวนผัวของเจ้าแม่กีสะเดิด จึงเท่ากับจำนวนเม็ดทรายที่มีอยู่บนโลกนี้จ้ะ

 

ตอนนี้ชาวบ้านบนเกาะวามปี ก็ยังคงนับถือบูชาเจ้าแม่กีสะเดิดอยู่จนถึงปัจจุบันนี้จ้ะ และมีความเชื่อกันว่า ถ้าหากชายหนุ่มคนไหนนับถือบูชาเจ้าแม่เป็นอย่างดี เขาก็จะโชคดีได้เจอปาฏิหาริย์ และเขาก็จะได้เห็นเจ้าแม่กีสะเดิดยืนอยู่ริมทะเล เพื่อเอาลิ้นลอดใต้มหาสมุทรไปเลียผัวตามทวีปต่าง ๆ จ้ะ และเพราะเหตุนี้แหละ ทะเลจึงมีคลื่น”

 

“โอ เจ้าแม่กีสะเดิดนี่น่านับถือบูชาจริง ๆ นะครับ” ลูกหมีกล่าวหลังจากฟังตำนานจบ

------

จริง ๆ แล้วเรื่องข้างบนเราไม่ได้แต่งเองนะ มันดัดแปลงมาจาก “คำด่า” ที่เพื่อนคนนึงสมมุติว่าชื่อ A ใช้ด่าเพื่อนที่ชื่อ B ตอนเราอยู่ม.3 ในปี 1987 หรือเมื่อราว 37 ปีก่อน คือตอนนั้น A ชอบด่า B โดยใช้คอนเซปท์ว่า “ปรากฏการณ์ธรรมชาติต่าง ๆ บนโลกใบนี้ มีที่มาจากกิจกรรมที่ B ทำกับผัว”

 

เราชอบคำด่าชุดนั้นมาก ๆ เราก็เลยดัดแปลงเอาคำด่าเหล่านั้นมาบันทึกไว้ในนี้ แต่จริง ๆ แล้วไอเดียพวกนี้เราไม่ได้คิดเองเลย เพื่อนเราเป็นคนคิด 55555

Sunday, June 16, 2024

LUMA AI

 

พิธีกรรมบูชาเจ้าแม่ “กีสะเดิด” ที่เกาะวามปี

 

(ทดลองให้ AI สร้างภาพเคลื่อนไหว)

 

พยายามให้ AI สร้างภาพ trailer หนังในจินตนาการ แต่มันออกมาแตกต่างจากสิ่งที่อยู่ในหัวของเรามาก ๆ แต่ก็ขอบันทึกความล้มเหลวนี้ไว้เพื่อความฮา ๆ 555

 

หนังในจินตนาการของเราคือเรื่อง “สามสาวดาวมฤตยู” เป็นเรื่องของ teddy bear สาว 3 ตัวผู้ผดุงความยุติธรรม โดย teddy bear ทั้งสามมีสมญานามว่า

 

1.รา he อมจู๋

2.ราหูอมจันทร์

3.ฉันมากับหมอย

 

แต่ดูสิ่งที่ AI สร้างออกมาแล้วมันไม่สอดคล้องกับสิ่งที่เราต้องการเลย 55555

 

 

Saturday, June 15, 2024

RUAM DAO SAO SAYONG

 

ชอบ LATE NIGHT WITH THE DEVIL (2023, Cameron Cairnes, Colin Cairnes, Australia, A+30) อย่างรุนแรงที่สุด ดูแล้วอยากให้มีการดัดแปลงเป็นหนังไทยมาก ๆ โดยในเวอร์ชั่นหนังไทยนั้น ตัวรูปแบบรายการอาจจะคล้าย ๆ ตีสิบ + ประตูดวง + นาทีทอง แต่ตัวพิธีกรในรายการจะมาจากรายการ “รวมดาวสาวสยาม” ซึ่งได้แก่ วิญญู จันทร์เจ้า, โฉมฉาย ฉัตรวิไล และอรสา อิศรางกูร ณ อยุธยา ส่วนแขกรับเชิญในรายการก็จะเป็นตัวละครที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก ครูพะนอ, ตัวร้ายใน “บ้านเช่าบูชายัญ”, ตัวร้ายใน “ร่างทรง”,  หมอปลายพรายกระซิบ, แม่ชีทศพร, เจน ญาณทิพย์, อ.อุบล ช่วยด้วย, น้องไนซ์ เชื่อมจิต, เทพนม เมืองแมน และแม่ชีนกยูง ปัดระเบิดปรมาณู ส่วนชื่อหนังอาจจะตั้งไว้ชั่วคราวว่า “รวมดาวสาวสยาม ตอน รวมดาวสาวสยอง โดยวิญญู จันทร์เจ้า”

Tuesday, June 11, 2024

HITS IN THAILAND

 

TIDE-BOUND (2024, Prach Pimarnman, video installation, 15.30min)

 

เราดูไปแค่ 5 นาทีนะ เพราะเราต้องนั่งคุกเข่าดูกับพื้น 55555 ดูแล้วรู้สึกเมาคลื่นเมาเรือมากๆ แอบสงสัยว่าศิลปินต้องการให้ผู้ชมนั่งอย่างไม่สบายขณะดูวิดีโอชิ้นนี้หรือเปล่า เพื่อที่ผู้ชมจะได้เข้าใจความรู้สึกของคนกลุ่มนั้นในอดีตมากยิ่งขึ้น

 

ดูที่ SAC GALLERY ในสัปดาห์ที่แล้ว

 

เห็นคุณเต้ ไกรวุฒิเขียนถึง “เพลงต่างชาติที่ฮิตระเบิดในไทย แต่เมืองนอกดับสนิท” เราก็นึกถึงเพลง HAVE YOU EVER SEEN THE RAIN? (1990) ของ Joan Jett ขึ้นมาเลย 55555 เพราะเราจำได้ว่า ในยุคนั้นเราได้ยินเพลงนี้บ่อยมาก ๆ ในไทย คือถ้าหากยุคนั้นมีการเก็บค่าลิขสิทธิ์จากการเปิดเพลงนี้ในไทย Joan Jett ก็คงรวยมาก ๆ ไปแล้ว 5555

 

แต่เราไม่แน่ใจว่าเพลงนี้ดังในเมืองนอกหรือเปล่า เราก็เลยไปเช็คใน Wikipedia แล้วก็พบว่า เพลงนี้ดับสนิท ตายอนาถของจริงค่า 55555 คือเพลงนี้ถูกตัดเป็นซิงเกิลในปี 1990 แต่ไม่ติดชาร์ทของประเทศไหนบนโลกนี้ทั้งสิ้น แต่ข้อมูลนี้ใน Wikipedia ไม่ได้รวมชาร์ทอันดับเพลงที่เปิดทางวิทยุในไทยเอาไว้ด้วย ไม่รู้เหมือนกันว่า Joan Jett เคยติดอันดับอะไรในไทยบ้างหรือเปล่า

 

ส่วนอีกเพลงของ Joan Jett ที่โด่งดังมาก ๆ ในไทย ก็คือ I HATE MYSELF FOR LOVING YOU ซึ่งเพลงนี้เคยติดอันดับ 8 ในสหรัฐ

 

ต่อเนื่องจากโพสท์ก่อนหน้านี้ ถ้าหากพูดถึง “เพลงต่างชาติที่โด่งดังในไทย แต่ไม่ดังในเมืองนอก” ที่เราชอบมากที่สุดแล้ว MY MOST FAVORITE SONG ในกลุ่มนี้ก็คงรวมถึงเพลงนี้ด้วยอย่างแน่นอน YOU ARE MY MAN (1988) ของ Viktor Lazlo ที่ดูเหมือนไม่ติดอันดับชาร์ทเพลงในต่างประเทศเลย แต่เป็นเพลงที่ดังมาก ๆ ในไทย และเป็นเพลงที่เรายังคงเปิดฟังอยู่บ่อย ๆ เกือบทุกเดือนจนถึงปัจจุบันนี้ แม้เวลาจะผ่านมานานกว่า 30 ปีแล้วก็ตาม (แน่นอนว่าเป็นเพราะฟังเพลงนี้ทีไรแล้วเราก็ต้องนึกถึงกลุ่มเพื่อนสนิทสมัยมัธยมทุกครั้ง)

 

Viktor Lazlo เป็นนักร้องสาวลูกครึ่งชาวเกรนาดากับชาวมาร์ตินิก แต่เธอไปเกิดในฝรั่งเศส และไปเติบโตที่เบลเยียม ชื่อศิลปินของเธอได้รับแรงบันดาลใจมาจากชื่อตัวละครในภาพยนตร์เรื่อง CASABLANCA (1942, Michael Curtiz, A+30)

 

ดู MV เพลงนี้ได้ที่

https://www.youtube.com/watch?v=QU1mEOTVDPw

 

จำได้ว่ายุค 1990 นี่เป็นยุคที่นักร้องหญิงเอเชียพยายามบุกตลาดเมืองนอกจริง ๆ ทั้ง Lea Salonga, Seiko Matsuda, นัดดา วิยะกาญจน์ และมณีนุช เสมรสุต ถ้าจำไม่ผิด ตอนนั้นมณีนุชออกซิงเกิลเพลงแดนซ์ภาษาอังกฤษ แล้วบอกว่าเพลงของเธอติดอันดับเพลงในประเทศเบอร์มิวดาด้วย



DREAM PROJECT

 แดก LASAGNA เพื่อเป็นพลีแด่หนังเรื่อง THE GARFIELD MOVIE (2024, Mark Dindal, animation, A+10)

---
ลูกหมีไปซื้อนิยาย "บิงโก เกมฆาตกร: เกมโอเวอร์" ของปราปต์มาแล้ว
---
63110.  (2024, Paruehas Maneekarn, video installation, A+30)

จริง ๆ ตัววิดีโอไม่มีอะไรมากนัก แต่สิ่งที่สำคัญคือเพลงแร็ปในงานชิ้นนี้

STORY OF MY MOTHER เรื่องเล่าของแม่ (2024, Chanikarn Pasomsub, video installation, animation, A+30)

นึกว่าต้องปะทะกับ CREMATION DAY (2017, Napasin Samkaewcham) และ DID YOU SEE THE HOLE THAT MOM DIG? หอมสุวรรณ (2023, Pobwarat Maprasob) เพราะหนังทั้งสามเรื่องนี้เอาประสบการณ์ชีวิตที่เจ็บปวดของแม่หรือยาย มาสร้างเป็นหนังเหมือนกัน

ถ้าใครอยากดูตัววิดีโอ ก็สแกน qr code ในรูปดูได้นะ


REBUILDING LIVES (2024, Myanmar, documentary, video installation, 15min, A+30)

หนังสารคดีสัมภาษณ์ชาวบ้าน 2 คนที่ได้รับผลกระทบจากการทิ้งระเบิดของรัฐบาลทหาร Myanmar จนต้องอพยพไปอยู่อินเดีย

ดูในนิทรรศการ WHEN WE SEE THE PLANES
---

ไม่ได้มาดู FERRARI เพราะเป็นแฟนคลับ Michael Mann แต่มาดูเพราะ " I AM INDEPENDENT ทรงพลังดั่ง FERRARI ที่ไม่เคยคิดเบรค"
---
เดี๋ยวนี้เวลามาดูหนังที่ DOC CLUB & PUB เราชอบแวะแดกขนมที่ร้าน CHATERAISE ใน SILOM COMPLEX 555
---
FROM THE SKY, TO THE GRAVE (2024, Young Artist & Khang Thak, Myanmar, video installation, 8min, A+30)

ทรงพลังมาก ๆ เศร้ามาก ๆ

ดูในนิทรรศการ WHEN WE SEE THE PLANES
---
RUMBLE MUMBLE (2024, Setthasiri Chanjaradpong, video installation, 5min, A+30)

ดูในนิทรรศการ WHEN WE SEE THE PLANES
---
An animation in WHEN WE SEE THE PLANES exhibition
---
จำได้ว่าตอนเรียนในห้องม.5/2 ในปี 1989 เราเอารูปถ่าย HIROSHI ABE ใส่กล่องดินสอ วางไว้บนโต๊ะเรียน แล้วก็จ้องรูปเขาตลอดเวลาตอนเรียนหนังสือ จนอาจารย์ที่สอนอยู่หน้าห้องสังเกตเห็น เธอก็เลยพูดสอนไปเรื่อย ๆ ขณะที่เธอค่อย ๆ เดินเข้ามาใกล้โต๊ะเรา เพื่อดูว่าอีจิตรจ้องอะไรตลอดเวลาตอนเรียนหนังสือ ปรากฏว่าอีจิตรจ้องรูปผู้ชายหนุ่มหล่อ เธอก็เลยขำ แต่เธอไม่ว่าอะไร เราเดาว่าเป็นเพราะการจ้องรูปผู้ชายหนุ่มหล่อตอนเรียนหนังสือไม่ได้เป็นการรบกวนใคร และไม่เป็นอุปสรรคต่อการตั้งใจฟังอาจารย์สอนแต่อย่างใด
---
LEVEL FIVE (1996, Chris Marker, 105min, A+30) จะมาฉายที่ Alliance ถนนวิทยุ ในวันพุธที่ 29 พ.ค.นี้ เวลา 19.00 น. นะ เราชอบหนังเรื่องนี้อย่างสุดขีดมาก ๆ นึกว่าต้องฉายควบกับ THE BIRTH OF KITARO: MYSTERY OF GEGEGE (2023, Go Koga, animation), THE EMPEROR’S NAKED ARMY MARCHES ON (1987, Kazuo Hara, documentary) และ THE JAPANESE SETTLERS TO THE MANCHURIA AND INNER MONGOLIA OF MAINLAND CHINA (2008, Haneda Sumiko, Japan, 120min)  เพราะว่าหนังทั้ง 4 เรื่องนี้พูดถึงความโหดร้ายของญี่ปุ่นต่อคนญี่ปุ่นด้วยกันเองในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองได้อย่างสุดขีดมาก ๆ เหมือนกัน

อยากให้มีคนนำหนังเรื่อง BORN IN GUNSAN AND AFTER SEVEN YEARS, I WAS REPATRIATED TO JAPAN (2024, Zonpilone, 239 min) มาฉายด้วย เพราะหนังเรื่องนี้พูดถึงญี่ปุ่นกับสงครามโลกครั้งที่สองเหมือนกัน
---
เราเพิ่งรู้จัก THE PHRYGIAN CAP ก็เมื่อปี  2024 ตอนเราอายุ 51 ปีนี่แหละ รู้สึกว่าเขาเลือก MASCOT ได้ดีมาก กระตุ้นให้เราต้องหาอ่านข้อมูลปวศ.ตามไปด้วย
---
CONFESSION FOR A FLY by Phacharapol Panyanontakarn

VOID by Anisa Hemmala

O SITE by Apirujee Torat

CUBE by Varit Wattanavongsaroj

WHY MUST WE BELIEVE? (2024, Thanadon Srisa-ard, video installation, A+30)

SPACE IN BETWEEN พื้นที่ระหว่าง (2024, Pimmada Supaluk, video installation)
---
ผ้าทอโบราณของชาว Mru ใน Myanmar ซึ่งชาวบ้านได้ถักทอลวดลายรูป "เครื่องบิน" เข้าไปในผ้าด้วย  ซึ่งเป็นเครื่องบินที่ชาว Mru เคยเห็นตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง

จากนิทรรศการ WHEN WE SEE THE PLANES  ที่ STUDIO FLUFF BANGKOK
---
DREAM PROJECT

Director: Jirassaya Wongsutin
Writer: Jirassaya Wongsutin
Lead Actor: Hidetoshi Nishijima
Lead Actress: Jessica Chastain
Supporting Actor: Do Kyung-soo
Supporting Actress: Sandrine Kiberlain
Genre: SLICE OF LIFE
---
ลองดื่ม "น้ำดอกชบา" พบว่ารสชาติแทบไม่มีอะไรเลย แต่น้ำมีกลิ่นหอมแปลก ๆ

ซื้อได้ที่ food court ร้านอาหารเกาหลีในสามย่านมิตรทาวน์ชั้น 4

---
HOME VIDEO (Oat Montien, video installation)

LAMENT I EMBRACE (โอบอุ้ม I อาดูร) (2024, Oat Montien, video installation, 6.33min, A+30)

ชอบมาก ๆ นึกว่ากำลังดูเงาคนจริง ๆ

THE EXQUISITE FALL อัสดง (2024, Oat Montien, video installation, 13.30 min, A+30)

DESERT LASSO บ่วงบาศก์ทะเลทราย or OASIS (2023, Oat Montien, video installation, A+30)

รุนแรงมาก 

Sunday, June 09, 2024

DARK WAS THE NIGHT

 

DARK WAS THE NIGHT ผีพุ่งไต้ (2024, Taiki Sakpisit, video installation, A+30)

 

1.ทรงพลังอย่างสุดขีดมาก ทั้งภาพ, การร้อยเรียงภาพ และเสียง ซึ่งเสียงน่าจะเป็นสิ่งที่ทรงพลังมากที่สุดสำหรับเราในงานวิดีโอชิ้นนี้

 

2.หนัง (เราขอใช้คำนี้แทน “ภาพเคลื่อนไหวทุกประเภท” ก็แล้วกัน เพราะคำนี้มันสั้นดี 55555) ของคุณไทกิถือเป็นหนึ่งในหนังประเภทที่เราชอบที่สุด แต่ “เขียน” ถึงได้ยากที่สุด เพราะเรารู้สึกว่านี่แหละคือพลังที่แท้จริงอย่างหนึ่งของหนัง นั่นก็คือมันต่อต้านการถูกถ่ายทอดออกมาเป็น “คำ” มันไม่สามารถแทนที่ด้วย “คำ” ได้ง่าย ๆ ซึ่งพลังของหนังหลาย ๆ เรื่องของคุณไทกิ และของหนังทดลองของผู้กำกับท่านอื่น ๆ บางเรื่อง อย่างเช่น WINDOWS (1999, Apichatpong Weerasethakul) หนังของ Bruce Baillie, Marguerite Duras, Peter Tscherkassky, etc. อะไรพวกนี้ คือหนังที่ทำให้เรารู้สึกว่ามันทรงพลังอย่างเต็มเปี่ยมขณะที่เราดู มันกระแทกกระทั้น, โอบล้อมเรา, พาเราเดินทางเข้าสู่มิติประหลาด, ก่อให้เกิดความรู้สึกที่ยากจะบรรยายในใจเรา และเราก็ไม่สามารถถ่ายทอดความรู้สึกที่เราได้รับจากหนังเหล่านี้ออกมาเป็น “คำ” ได้ ซึ่ง DARK WAS THE NIGHT ก็ถือเป็นตัวอย่างหนึ่งของหนังกลุ่มนี้ เราบอกได้แค่ว่ามันทรงพลังสุดขีดสำหรับเรา

 

3.ชอบ texture ของภาพในวิดีโอชิ้นนี้มาก ๆ เราว่ามันสวยงามมลังเมลือง ราวกับเป็นภาพที่อยู่ใน “ภวังค์ทางจิต” บางอย่าง มันเหมือนสวยกว่า “ภาพฝัน” ในหนังทั่ว ๆ ไป และ “ความมลังเมลือง” ของมันก็ถูกออกแบบมาให้สวยแบบเหมาะเจาะ เพราะมันไม่ได้ “ฉ่ำวาว” แบบภาพในหนังโรแมนซ์ทางช่อง Hallmark หรือหนังอย่าง MAY DECEMBER (2023, Todd Haynes) ด้วย

 

แล้วพอ texture ของภาพมันสวยสุดขีดในแบบที่พอเหมาะพอเจาะแบบนี้ เราก็เลยรู้สึกราวกับว่า บาง moments ในหนังเรื่องนี้นี่แทบจะกลายเป็น “งานจิตรกรรม” ไปเลย โดยเฉพาะในฉากที่หญิงสูงวัยอยู่นิ่ง ๆ นานหลายนาที

 

ก็เลยรู้สึกชอบวิดีโอชิ้นนี้ตรงจุดนี้ด้วย ตรงที่มันเหมือนทำให้งาน “ภาพเคลื่อนไหว” แผ่พลังออกมาในบางขณะในแบบที่ทำให้นึกถึงงานจิตรกรรม

 

4.ส่วนเรื่องการร้อยเรียงซีนต่าง ๆ เข้าด้วยกันนั้น เราชอบอย่างสุดขีดมาก เราแอบคิดในใจเล่น ๆ ตอนที่ดูว่า นี่อาจจะเป็นหนึ่งในหนังไทยไม่กี่เรื่องที่ทำให้เรานึกถึง TAKE THE 5:10 TO DREAMLAND (1976, Bruce Conner) ขณะที่เราได้ดู เพราะ TAKE THE 5:10 TO DREAMLAND เป็นหนึ่งในหนังที่เราชอบที่สุดในชีวิต และมันเหมือนประกอบด้วยซีนต่าง ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกันมาร้อยเรียงเข้าด้วยกัน แล้วก่อให้เกิดความรู้สึกที่รุนแรงสุดขีดสำหรับเรา โดยไม่ทราบชีวิตหรือความหมายใด ๆ อะไรอีกต่อไป

 

คือเราดูหนังเรื่องนี้หลังจากอ่านคำบรรยายนิทรรศการ แต่เราได้ดูหนังเรื่องนี้ก่อนที่เราจะได้อ่านบทสัมภาษณ์คุณไทกิน่ะ เพราะฉะนั้นตอนที่เราดูหนังเรื่องนี้ เราก็เลยรู้แค่ว่ามันอาจจะเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สังหารหมู่ 6 ต.ค. 2519 แต่เราไม่รู้เลยว่าหนังเรื่องนี้มันนำแสดงโดยคุณดุษฎี พนมยงค์ และเกี่ยวข้องกับสุริยุปราคา เราเพิ่งมารู้สองประเด็นนี้หลังจากได้ดูหนังไปแล้ว

 

เพราะฉะนั้นตอนที่เราดูหนัง (หรือวิดีโอ) เรื่องนี้ เราก็เลยรู้สึกพิศวงอย่างรุนแรงมากคล้าย ๆ กับตอนที่ดู TAKE THE 5:10 TO DREAMLAND เพราะเราไม่รู้แล้วว่ามันเกิดอะไรขึ้นในแต่ละฉาก แล้วแต่ละฉากมันเกี่ยวข้องกันยังไง รู้แต่ว่าบางฉากถ่ายที่ม.ธรรมศาสตร์แค่นั้นเอง

 

เราก็เลยชอบความรู้สึกพิศวง จับต้นชนปลายอะไรไม่ถูกแบบนี้อย่างรุนแรงมาก เหมือนภาพในแต่ละฉากมันงามมาก แล้วเสียงในแต่ละช่วงขณะก็รุนแรงมาก แต่เราไม่รู้ความหมายของแต่ละฉาก ไม่รู้เนื้อเรื่อง ไม่รู้ตรรกะที่ใช้เชื่อมโยงแต่ละฉากเข้าด้วยกัน มันก็เลยเกิดความพิศวงคล้าย ๆ กับตอนที่ดูหนังของ Bruce Bailler, Bruce Conner และหนังทดลองอีกหลาย ๆ เรื่อง อย่างเช่น THE GARDEN (1990, Derek Jarman, UK)

 

เหมือนความรู้สึกของเราพีคถึงขีดสุดช่วงที่มีภาพคล้าย ๆ จิตรกรรมฝาผนัง หรือภาพวาดไทยโบราณ แทรกเข้ามาในจอที่ฉายภาพม.ธรรมศาสตร์เป็นระยะ ๆ น่ะ เพราะเราไม่รู้ว่าภาพวาดไทยโบราณแต่ละภาพนั้นสื่อถึงอะไร มันสื่อถึงแผนภูมิจักรวาลแบบไทยโบราณ หรือสุริยุปราคา หรืออะไร แล้วมันเกี่ยวข้องกับฉากอื่น ๆ ยังไง คือเราตอบคำถามเหล่านี้ไม่ได้หรอก เรารู้แค่ว่าการตัดต่อฉากภาพวาดไทยโบราณเหล่านี้เข้ามามันทำให้ความรู้สึกของเราถะถั่งหลั่งล้นถึงขีดสุดมาก

 

5.คือระหว่างที่เราดูหนังเรื่องนี้ เรานึกถึงความสุขที่ได้รับจากการดู TAKE THE 5:10 TO DREAMLAND นะ ความสุขจากการดูฉากที่เหมือนไม่เกี่ยวข้องกันมาถูกร้อยเรียงเข้าด้วยกัน แล้วมันก่อให้เกิดพลังที่รุนแรงมากขึ้นมา แต่พอเราดูหนังเรื่องนี้จบแล้ว แล้วมาอ่านบทสัมภาษณ์ของคุณไทกิ เราก็เลยรู้สึกว่าหนังเรื่องนี้ทำให้เรานึกถึง THE GARDEN ของ Derek Jarman ด้วยนะ เพราะ THE GARDEN มันเต็มไปด้วยฉากที่พิศวงต่าง ๆ มาถูกร้อยเรียงเข้าด้วยกันเหมือนกัน แต่แต่ละฉากจริง ๆ แล้วมันมี “ความหมาย” อยู่ด้วยน่ะ ซึ่งคนดูไม่จำเป็นต้องเข้าใจความหมายดังกล่าวก็ enjoy กับหนังอย่างสุดขีดได้อยู่ดี แต่คนดูบางคนดูแล้วก็อาจจะตีความได้ว่า แต่ละฉากใน THE GARDEN มันอ้างอิงถึงเนื้อหาส่วนใดใน “คัมภีร์ไบเบิล” หรือพาดพิงถึงปัญหาเรื่องสิทธิเกย์อย่างไรบ้าง คือมันมีความหมายทางการเมืองและศาสนาซ่อนอยู่ในหลาย ๆ ฉากใน THE GARDEN น่ะ

 

ซึ่งเราเดาว่าจริง ๆ แล้วแต่ละฉากใน DARK WAS THE NIGHT ก็คงมีความหมายทางการเมืองซ่อนอยู่ เพราะฉะนั้นแต่ละฉากในหนังเรื่องนี้เลยอาจจะไม่ได้เป็นฉากที่ “พิศวงในแบบที่ไม่รู้ความหมายใด ๆ อีกต่อไป” เหมือนกับแต่ละฉากใน TAKE THE 5:10 TO DREAMLAND แต่เป็นฉากที่ “พิศวงแต่มีความหมายซ่อนอยู่” คล้าย ๆ กับ THE GARDEN มากกว่า

 

6. ยอมรับว่าตอนดูหนังเรื่องนี้ เราไม่รู้ว่ามันมีสุริยุปราคาอยู่ในหนัง 55555 เราแค่งง ๆ ว่า ทำไมบางฉากเดี๋ยวมืดเดี๋ยวสว่างในฉากเดียวกัน พอเรามาอ่านบทสัมภาษณ์ทีหลัง เราถึงเพิ่งรู้ว่า มีสุริยุปราคาอยู่ด้วย ซึ่งก็เลยทำให้เรานึกถึง “พญาโศกพิโยคค่ำ” THE EDGE OF DAYBREAK (2021, Taiki Sakpisit) มาก ๆ เพราะหนังเรื่องนั้นก็เน้นสุริยุปราคาเหมือนกัน, พูดถึงการเมืองไทยเหมือนกัน แล้วชื่อหนังก็พูดถึงช่วงเวลาต่าง ๆ ของวันเหมือนกัน

 

7.ตอนดูหนังเรื่องนี้ เรานึกไปถึงหนังไทยเรื่องอื่น ๆ ของผู้กำกับรุ่นใกล้เคียงกับคุณไทกิ โดยที่หนังเรื่องนี้ไม่ได้ตั้งใจด้วย 55555 อย่างเช่น

 

7.1 พอหนังเรื่องนี้เน้นฉาก “หญิงสูงวัย” เราก็เลยนึกถึง ANATOMY OF TIME (2021, Jakkrawal Nilthamrong)

 

7.2 พอหนังเรื่องนี้พูดถึงเหตุการณ์สังหารหมู่ 6 ต.ค. 2519 เราก็เลยนึกถึง BY THE TIME IT GETS DARK (2016, Anocha Suwichakornpong) ที่นำเสนอประเด็นนี้ในแบบหนังซ้อนหนัง และ SILENCE (2021, Kick the Machine Documentary Collective, video installation) ที่นำเสนอประเด็นนี้ในแบบหนังไซไฟ dystopia

 

เราก็เลยประทับใจมาก ๆ ที่ถึงแม้ DARK WAS THE NIGHT อาจจะพูดถึง 6 ต.ค. 2519 แต่ทำออกมาในแบบที่ไม่เหมือนกับหนังเรื่องอื่น ๆ เลย และทำออกมาในแบบที่ abstract เป็นนามธรรมที่สุดด้วย

 

ซึ่งถ้าหากเราไม่ได้อ่านบทบรรยายนิทรรศการมาก่อน เราก็คงไม่แน่ใจหรอกว่าหนังเรื่องนี้พูดถึงประเด็นนี้ เราอาจจะแค่รู้สึก “สงสัย” อยู่ในใจ เวลาเห็นฉากม.ธรรมศาสตร์ในหนังเรื่องนี้ แต่ไม่อาจฟันธงลงไปได้

 

7.3 แต่สิ่งที่ทรงพลังสุดขีดในงานวิดีโอชิ้นนี้ ก็คือ “เสียง” ของมันที่หนักข้อรุนแรงมาก และเป็นสิ่งที่เกินความสามารถของเราที่จะ “บรรยาย” ถึงเสียงของมันได้ ซึ่งความยากที่จะบรรยายถึงเสียงประหลาดที่เคยได้ยินมานี่แหละ ก็เลยทำให้เรานึกถึงนางเอกของ MEMORIA (2021, Apichatpong Weerasethakul) 55555

 

8.สรุปว่าชอบวิดีโอชิ้นนี้มาก ๆ สำหรับเราแล้ว มันเหมือนกับว่างาน video installation นี้พาเราเข้าสู่การเดินทางทางจิตหรือการผจญภัยทางจิตอะไรบางอย่าง ราวกับว่าเรานั่งสมาธิจนถึงขั้นอัปปนาสมาธิ ดวงจิตล่วงเข้าสู่มิติประหลาด เห็นภาพนิมิตและได้ยินเสียงนิมิตจากนอกโลกกายหยาบ ก่อนที่จะออกจากสมาธิเมื่อวิดีโอสิ้นสุดลง

 

IN MEMORIAM (2023, Siwakorn Bunsrang, 59min, A+30)

 

1.เหมือนเป็นหนังที่ “เล่นท่ายาก” แต่ทำออกมาได้สำเร็จงดงามมาก ๆ ซึ่งการเล่นท่ายากนั้นก็คือการไม่เล่าเรื่องแบบตรงไปตรงมา ไม่เป็น linear narrative แต่เล่าออกมาแบบไม่ปะติดปะต่อ ราวกับเป็นกึ่ง ๆ กระแสสำนึก บอกไม่ได้อีกต่อไปว่าอันไหนอดีต ปัจจุบัน ใครเป็นใคร ฉากไหนจริง หรือฝัน หรือจินตนาการ หรืออะไร

 

ซึ่งเราคิดว่าคนที่จะทำหนังแบบนี้ได้สำเร็จจะต้องมีความสามารถ “เชิงกวี” สูงมาก ๆ เหมือนสามารถสร้างความงามขึ้นจากการนำเสนอฉากต่าง ๆ และร้อยเรียงฉากต่าง ๆ เข้าด้วยกันโดยไม่เน้นไปที่ “การเล่าเรื่อง” แต่ก่อให้เกิดพลังอย่างเอกอุทางภาพยนตร์ด้วยองค์ประกอบอื่น ๆ นอกเหนือไปจากเนื้อเรื่องด้วย

 

ซึ่งเรารู้สึกว่าคุณศิวกรมีความสามารถเชิงกวีสูงจริง ๆ เพราะสิ่งที่เราประทับใจที่สุดในหนังเรื่องนี้ อาจจะไม่ใช่ตัวเนื้อเรื่อง หรือสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวละคร เพราะเราดูไปแล้วก็งงว่าจริง ๆ มันเกิดอะไรขึ้นบ้างในชีวิตของตัวละครกันแน่ แต่สิ่งที่เราประทับใจที่สุดในหนังคือการตัดสลับ “เวลา”, การร้อยเรียงสถานที่ (อย่างเช่นฉากที่ตาแก่เดินในระเบียงโรงเรียน และฉากที่เด็กเดินในระเบียงโรงเรียน การใส่สองฉากนี้เข้ามาในหนังในเวลาที่ต่างกัน ก่อให้เกิดพลังของความคล้องจองในเชิงกวีอย่างมาก ๆ สำหรับเรา) , การสลับสับเปลี่ยนตัวละคร อะไรแบบนี้มากกว่า

 

2.ในแง่หนึ่งก็เลยรู้สึกว่า IN MEMORIAM นี่แหละ คือหนังที่อาจฉายควบกับ MIRROR (1975, Andrei Tarkovsky), PHANTOM LOVE (2007, Nina Menkes), หนังของ Alain Resnais, หนังของ Terence Davies, etc. อะไรทำนองนี้ได้ เพราะหนังเหล่านี้สามารถ “ปั้นแต่งเวลา” ได้อย่างยอดเยี่ยมและทรงพลังเหมือน ๆ กัน และเปล่งพลังเชิงกวีอย่างสูงสุดเหมือนกัน

 

3.สรุปว่าตอนนี้เราเคยดูหนังของคุณ Siwakorn Bunsrang มาแล้วราว 8 เรื่องมั้ง ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าจดชื่อหนังมาครบหรือเปล่า แต่ทั้ง 8 เรื่องนี้ทำให้เรามั่นใจได้ว่า คุณ Siwakorn ทำหนังเข้าทางเรามาก ๆ และเป็นหนึ่งในผู้กำกับที่น่าจับตามองมากที่สุดในรุ่นนี้

 

หนัง 8 เรื่องของคุณศิวกรที่เราเคยดู เรียงตามลำดับความชอบส่วนตัว

 

3.1 IN MEMORIAM

 

3.2 DISAPPEARED เลือนรางและจางหาย (2022, ศิวกร บุญสร้าง, 24.35 นาที, DOCUMENTARY, A+30)

 

3.3 WHEN THE WIND BLOWS ยามเมื่อสายลมพัดผ่าน (2022, ศิวกร บุญสร้าง,12.30 นาที DOCUMENTARY, A+30)

 

3.4 THE ANGEL FROM BELOW อัจฉราคืนเวหา (2021, ศิวกร บุญสร้าง, 15min, A+30)

 

3.5 ห้องสมุด โรงเรียน แห่งอนาคต (2022, ศิวกร บุญสร้าง, 13min, A+30)

 

3.6 THE WAY TO ESCAPE FROM ETERNITY (2023, ศิวกร บุญสร้าง, 4.25 นาที, A+30)

 

3.7 THE MIDDLE WAY มัชฌิมาปฏิปทา ( 2023, ศิวกร บุญสร้าง, 14.38 นาที, A+30)

 

3.8 THE FUTURE อนาคต (2022, ศิวกร บุญสร้าง, 5.54 นาที A+)

 

 

HAUNTED UNIVERSITIES 3 (2024, A+30)

เทอม 3

 

SPOILERS ALERT

--

--

--

--

--

--

--

--

--

--

 

1.THE PROCESSION ขบวนแห่ (2024, Aussada Likitboonma, Sorawit Meungkeaw, A+)

 

เป็นตอนที่เราชอบน้อยสุด ซึ่งก็น่าเสียดายมาก ๆ เพราะจริง ๆ แล้วเราชอบช่วงแรก ๆ ของหนังมาก ๆ เราว่าตัวละครพระเอกนางเอกในตอนนี้ดูมีความเป็นธรรมชาติมากในระดับนึง นักแสดงเล่นได้เก่งและน่ารักดี

 

แต่ช่วงท้าย ๆ ของหนังไม่เข้าทางเราอย่างรุนแรง เพราะว่า

 

1.1 ผีเจ้านางมี “อำนาจ” มากเกินไปน่ะ มันก็เลยเหมือนหนังมันไม่มี boundary หรือมีกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนว่า ผีในหนังมีอำนาจมากน้อยแค่ไหน ทำอะไรได้บ้าง และเรามักจะไม่อินกับหนังที่ผี/ปีศาจมีอำนาจมากเกินไป นึกอยากจะโผล่มาฆ่าใครเมื่อไหร่ก็ฆ่าได้ตามสบายด้วย ซึ่งจริง ๆ แล้วแม้แต่หนังต่างประเทศอย่าง METAMORPHOSIS (2019, Kim Hong Sun, South Korea) เราก็มีปัญหาทำนองนี้เหมือนกัน คือถ้าผี/ปีศาจมันนึกอยากจะโผล่มาฆ่าใครก็ฆ่าได้ตามสบายแล้ว เราก็หมดสนุกกับมัน

 

แต่เราไม่มีปัญหากับหนังชุด JU-ON (2002, Takashi Shimizu) นะ เพราะอันนั้นมันยังมีกฎชัดเจนว่า ผีมันจะฆ่าเฉพาะคนที่ก้าวเข้าไปในบ้านหลังนั้นเท่านั้น

 

1.2 เพราะฉะนั้นเราก็เลยมีปัญหามาก ๆ กับการที่ผีเจ้านางมาฆ่านักศึกษาคนอื่น ๆ ในมหาลัยที่ไม่เกี่ยวข้องกับพระเอกนางเอกด้วย เพราะเหมือนหนังมันทำให้เราเข้าใจในตอนแรกว่า ผีขบวนแห่นี้จะมาฆ่าเฉพาะคนที่ไปบนบานศาลกล่าวโดยไม่ได้เป็นคู่รักกันเท่านั้น เพราะฉะนั้นเราก็เลยงงว่า ทำไมอยู่ดี ๆ อีผีขบวนแห่มีอิทธิฤทธิ์อำนาจอะไร หรือมี “สิทธิ” อะไร ถึงสามารถมาเข้าสิงนักศึกษาหนุ่มสองคนแล้วให้ทั้งสองเชือดคอตัวเองตาย

 

1.3 แล้วเราก็งงมาก ๆ กับฉากที่เหมือนมีผีหัวขาดมาฟันนักศึกษาคนอื่น ๆ ตายด้วย คือถ้าหากมีแค่พระเอกนางเอกที่เห็นกลุ่มผีหัวขาด แต่คนอื่น ๆ ไม่เห็น อันนั้นมันน่าจะเป็นไปได้สำหรับเรามากกว่า แต่การที่อยู่ดี ๆ มีผีหัวขาดมาไล่ฟันกลุ่มนักศึกษากลางมหาลัยกลางวันแสก ๆ นี่ มันดูเลอะเทอะสำหรับเรามาก ๆ คือถ้าหากมันเกิดเหตุการณ์กลุ่มผีหัวขาดอาละวาดแบบนั้นได้จริง ก็น่าจะต้องมีอาจารย์สาวสักคนตรงระเบียงชั้นสองถ่ายคลิปเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วนำคลิปไปให้สัมภาษณ์ออกอากาศทางช่อง CNN ไปแล้วไหม คือมันเป็นข่าวใหญ่ระดับโลกได้แล้วล่ะถ้ามีกลุ่มผีหัวขาดอาละวาดกลางมหาลัยกลางวันแสก ๆ แบบนี้ 55555

 

1.4 ระดับความชอบของเราที่มีต่อ THE PROCESSION ก็เลยหล่นฮวบจาก A+30 ลงเหลือแค่ A+ เพราะช่วงท้ายของตอนนี้ เพราะเราไม่ชอบหนังที่ให้ผี/ปีศาจมีอำนาจมากเกินไปแบบนี้ และเราไม่ชอบหนังที่ไม่มีกฎเกณฑ์ที่เราเข้าใจได้ว่า ตกลงแล้วผี/ปีศาจในหนังสามารถทำอะไรได้บ้าง

 

ซึ่งสิ่งที่ตรงข้ามกับหนังตอนนี้ ก็มีอย่างเช่น ละครทีวีชุด FREDDY’S NIGHTMARES (1988-1990) หรือละครทีวีชุด “นิ้วเขมือบ” น่ะ คือในละครทีวีชุดนี้ มันมีตอนนึง ที่นางเอกเป็นสาวนักวิ่งเร็ว แล้วเธอก็วิ่งเข้าเส้นชัยเป็นคนแรก ชนะคู่แข่ง แต่เส้นชัยที่มันควรจะเป็นผ้า กลับตัดคอเธอขาดกระเด็นน่ะ ร่างของเธอก็เลยวิ่งเข้าเส้นชัยไป แต่เป็นร่างคอขาด เพราะคอเธอถูกเส้นชัยตัดขาดกระเด็นไปแล้ว

 

แต่ต่อมาละครก็แสดงให้เห็นว่า “ในโลกแห่งความเป็นจริง” นั้น คือเธอวิ่งเข้าเส้นชัยไป แล้วก็ขาดใจตายอยู่ในสนามน่ะ คือคอเธอไม่ได้ถูกเส้นชัยตัดขาดแต่อย่างใด เพราะถ้าหากเหตุการณ์แบบนั้นเกิดขึ้นจริง มันก็คงโด่งดังไปทั้งโลกแล้ว

 

เราก็เลยรู้สึกชอบอะไรแบบนี้มาก ๆ เพราะมันเหมือนเป็นโลกสยองขวัญที่มันรักษากฎเกณฑ์ของมันเองไว้ได้ดีน่ะ ตัวปีศาจนิ้วเขมือบมีอำนาจแค่ในโลกแห่งความฝันเท่านั้น เพราะฉะนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นในโลกแห่งความเป็นจริงก็คือว่า นางเอกของตอนนั้นวิ่งเข้าเส้นชัยแล้ว “หลับ” ไป แล้วในโลกแห่งความฝัน เธอก็ถูกเส้นชัยตัดคอขาดกระเด็น แต่ในโลกแห่งความเป็นจริงนั้น คอเธอไม่ได้ขาด เธอแค่ขาดใจตายขณะที่วิ่งเข้าเส้นชัย

 

คือถ้าหาก THE PROCESSION มันแสดงให้เห็นว่าตัวละครพระเอกนางเอกหลอนไปเองจนตายหรืออะไร มันก็จะเข้าทางเรามาก ๆ นะ แต่พอมันลงเอยด้วยการที่ผี/ปีศาจมันมีอิทธิฤทธิ์จะทำอะไรก็ได้ จะฆ่านักศึกษาคนอื่น ๆ ที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่อะไรก็ได้แบบนี้ มันก็เลยมีปัญหากับเรามาก ๆ เหมือนมันไร้กฎเกณฑ์เกินไปสำหรับเรา เราชอบอะไรแบบ FREDDY’S NIGHTMARES มากกว่าที่มันมีกฎเกณฑ์ชัดเจนว่าปีศาจทำอะไรได้บ้างไม่ได้บ้าง

 

2. THE CARETAKER พี่เทค (2024, Nontawat Numbenchapol, A+30)

 

2.1 ความวาย ความ homoerotic ของหนังตอนนี้นี่ดีงามที่สุด

 

2.2 ชอบการออกแบบตัวละครจั๊มพ์ให้ดูมีความ dilemma ดีด้วย เพราะเหมือนหลายคนรู้อยู่แล้วว่าโซตัสมันเลว รุ่นพี่บ้าอำนาจมันเลว หนังเรื่องนี้ก็เลยผลักไปอีกทางหนึ่งด้วยการสร้างตัวละครจั๊มพ์ให้กลายเป็นคนที่สุดขั้วไปอีกทาง ซึ่งก็ก่อให้เกิดปัญหาใหม่ ๆ ที่น่าสนใจตามมา เพราะใจนึงเราก็รู้สึกว่า จั๊มพ์ควรดูแลน้อง แต่อีกใจหนึ่งเราก็รู้สึกว่า ถ้าเขาไม่อยากดูแล เขาก็ไม่ควรจะต้องไปดูแล เราว่าอะไรแบบนี้มันเป็น dilemma ที่น่าสนใจดีสำหรับเรา

 

3. THE INVISIBLE SHRINE ศาลล่องหน (2024, Aroonakorn Pick, A+30)

 

3.1 งดงามที่สุด เหมือนเป็นหนัง “ผีการเมืองไทย” ที่เราชอบมากที่สุดเรื่องหนึ่งในชีวิตเลย ปะทะกับหนังผีการเมืองไทยที่เราชอบมากที่สุดอย่างเช่นเรื่อง THIS HOUSE HAVE GHOST (2011, Eakarach Monwat) ได้เลย เหมือนหนังมันผสมความเป็นการเมืองเข้ากับหนังผีออกมาได้ดีงามมาก ๆ

 

ส่วนขั้วตรงข้ามของหนังเรื่องนี้ หรือหนัง “ผีการเมืองไทย” ที่ออกมาไม่ลงตัวอย่างรุนแรงสำหรับเรา ก็มีอย่างเช่นหนังเรื่อง “ผู้เช่า” THE TENANT 55555

 

3.2 การผสมความตลกกับความเป็นหนังผีเข้าด้วยกันก็ออกมาดีงามมาก ๆ เช่นกัน เราว่ามันตลกในระดับพอดี ๆ โดยไม่ไปลดทอนความน่ากลัวของผีน่ะ คือผีในหนังไม่ได้ทำตลกตามไปด้วยน่ะ ผีในหนังไม่มีอารมณ์ขัน ผีในหนังมีปัญหาจริง ๆ ความตลกของหนังเรื่องนี้ก็เลยอยู่ในระดับที่ลงตัวสำหรับเรา มันเหมือนกับว่าความตลกมันไม่ได้ไปลดทอน “ความจริงจังของปัญหาที่ตัวละครต้องเผชิญ” ลงไป

 

 

3.3 ชอบการออกแบบตัวละครของมาร์ค ศิวัช จำลองกุลด้วย คือเหมือนเขาเป็นหนุ่มแหกคอก ไม่ทำตามประเพณีในสังคม แต่จริง ๆ แล้วเขาเป็นคนที่มีความรู้สูงและจริงจังในระดับนึง

 

3.4 ชอบมาก ๆ ด้วยที่ผีในหนังเรื่องนี้มันตบกันเอง แย่งชิงอำนาจกันเอง เราชอบอะไรแบบนี้อย่างสุด ๆ