Saturday, May 30, 2015

MY PLAN FOR FILM FESTIVALS IN JUNE 2015

ตารางชีวิตฮิสทีเรีย ฉบับสมบูรณ์

SATURDAY 30 MAY
13.00 เฮฮาหมู่เฮาที่รีดดิ้งรูม

SUNDAY 31 MAY
13.00 เฮฮาหมู่เฮาที่รีดดิ้งรูม

MONDAY 1 JUNE
THE NUTCRACKER (2014, Sebastian Masuda)
THE VOICES (2014, Marjane Satrapi)
TANU WEDS MANU RETURNS (2015, Aanand Rai)
HAPPY AUNTIE (2015, พฤกษ์ เอมะรุจิ)

TUESDAY 2 JUNE
2000 THE WONDERFUL BOY (2014, Mario Martone, 137min)
https://www.facebook.com/profile.php?id=1613855718827163

WEDNESDAY 3 JUNE
อยู่เวรเย็น อดดูหนัง

THURSDAY 4 JUNE
2000 LONG LIVE FREEDOM (2013, Roberto Ando, 94min)

FRIDAY 5 JUNE
2000 ME AND YOU (2012, Bernardo Bertolucci, 103min)

Saturday 6 June
1400 SUMMER (2014, Colette Bothof, Netherlands, 89min)

1800 THE GIANT (2012, Julio Vanzeler + Luis da Matta Almeida, Portugal, 11min)
+BEATRIZ’S WAR (2013, Bety Reis + Luigi Acquisto, East Timor, 115min)

Sunday 7 June
1130 NUDE AREA (2014, Urszula Antoniak, Netherlands)
1400 FINDING PHONG (2015, Swann Dubus + Phuong Thao Tran, Vietnam)
1630 EISENSTEIN IN GUANAJUATO (2015, Peter Greenaway, UK)
1900 HOW TO WIN AT CHECKERS EVERY TIME (2015, Josh Kim)

Monday 8 June
1900 MY FAIR WEDDING (2015, Jang Hee-sun, South Korea)

Tuesday 9 June
อยู่เวรเย็น อดดูหนัง

Wednesday 10 June
1900 THE NIGHT (2014, Zhou Hao, China)

Thursday 11 June
1900 SOFT LAD (Leon Lopez, UK)

Friday 12 June
1800 ONCE UPON A TIME (1922, Carl Theodor Dreyer, Denmark) @Lido
2130 FUTURO BEACH (2014, Karim Aïnouz, Brazil) @Esplanade

Saturday 13 June
1130 QUICK CHANGE (2013, Eduardo W. Roy Jr., Philippines)
1400 THE SUN, THE MOON AND THE HURRICANE (2014, Andri Cung, Indonesia)
1630 I LOVE YOU. THANK YOU (2015, Charliebebs Gohetia, Philippines)
1900 THE COMMITMENT (2014, Joselito Altarejos, Philippines)
2130 54: DIRECTOR’S CUT (1998, Mark Christopher)

Sunday 14 June
1230 THE HALF BREED (1916, Allan Dwan) + THE GOOD BAD MAN (1916, Allan Dwan)
1500 STEAMBOAT BILL JR. (1928, Charles Reisner)
1730 BLACKMAIL (1929, Alfred Hitchcock)
2000 SHERLOCK HOLMES (1916, Arthur Berthelet)

Monday 15 June
2000 PARLES FISHERS by Jitti Chompee @Rose Hotel

Tuesday 16 June
2000 PICCADILLY (1929, Ewald André Dupont, 92min)

Wednesday 17 June

2000 THE EPIC OF EVEREST (1924, John Noel)

Thursday, May 28, 2015

FAVORITE FILMS WITH MULTI-PROTAGONISTS OR SOMETHING LIKE THAT

FAVORITE FILMS WITH MULTI-PROTAGONISTS OR SOMETHING LIKE THAT

A friend asked me to make a list of this kind of films. So I made this list for him. This list excludes documentaries, Robert Altman’s films, and films that my friend knows very well already, such as LOVE SYNDROME (2013, Pantham Thongsang), PULP FICTION, RULES OF THE GAME, etc.

(in alphabetical order)

1.     THE AGE OF POSSIBILITY (1995, Pascale Ferran, France)
2.     ALMOST PEACEFUL (2002, Michel Deville, France)
3.     AM I BEAUTIFUL? (1998, Doris Dörrie, Germany)
4.     LE AMICHE (1955, Michelangelo Antonioni, Italy)
5.     THE BARBECUE PEOPLE (2003, Yossi Madmoni + David Ofek, Israel)
6.     BOYS IN THE BAND ฉันผู้ชายนะยะ (1987, M.L. Bhandevanop Devakul)
7.     BRIGHT YOUNG THINGS (2003, Stephen Fry, UK)
8.     BUTTONERS (1997, Petr Zelenka, Czech)
9.     THE CIRCLE (2000, Jafar Panahi, Iran)
10.                        A CONFUCIAN CONFUSION (1994, Edward Yang, Taiwan)
11.                        COWS (1992, Julio Medem, Spain)
12.                        DAYS AND NIGHTS IN THE FOREST (1970, Satyajit Ray, India)
13.                        THE DEAD GIRL (2006, Karen Moncrieff, USA)
14.                        DOG DAYS (2001, Ulrich Seidl, Austria)
15.                        DYING AT A HOSPITAL (1993, Jun Ichikawa, Japan)
16.                        EXOTICA (1994, Atom Egoyan, Canada)
17.                        FREE RADICALS (2003, Barbara Albert, Austria)
18.                        FULL FRONTAL (2002, Steven Soderbergh, USA)
19.                        HEXAGON (2006, Kyi Soe Tun, Myanmar)
20.                        HOW TO MAKE AN AMERICAN QUILT (1995, Jocelyn Moorhouse, USA)
21.                        HUKKLE (2002, György Pálfi, Hungary)
22.                        JONAH WHO WILL BE 25 IN THE YEAR 2000 (1976, Alain Tanner, Switzerland)
23.                        THE JOY LUCK CLUB (1993, Wayne Wang, USA)
24.                        JULIA’S DISAPPEARANCE (2009, Christoph Schaub, Switzerland)
25.                        LANTANA (2001, Ray Lawrence, Australia)
26.                        LAST NIGHT (1998, Don McKellar, Canada)
27.                        THE LAST UNIVERSITY มหาลัยหลังเขา (2013, Worachet Bunpasukprasong)
28.                        LATE AUGUST, EARLY SEPTEMBER (1998, Olivier Assayas, France)
29.                        LONG TIME COMPANION (1989, Norman René, USA)
30.                        THE LOVE MACHINE (2000, Gordon Eriksen, USA)
31.                        MAL (1999, Alberto Seixas Santos, Portugal)
32.                        MY SEX LIFE…OR HOW I GOT INTO AN ARGUMENT (1996, Arnaud Desplechin, France)
33.                        9-9-81 (2012, Suthat Phawilairat, Pitak Ruangrojsin, Adirek Photong, Siriphon Prasatthong, Oliver Wolfson, Seri Lachonnabot, Nuttorn Kungwanklai, Thanyawan Hempanom, Pirun Anusuriya, Rapeepimol Chaisena, Disspong Sampattavanich, Kiattisak Wibunchat)
34.                        OBABA (2005, Montxo Armendariz, Spain)
35.                        OF HORSES AND MEN (2013, Benedikt Erlingsson, Iceland)
36.                        OUR HAPPY LIVES (1999, Jacques Maillot, France)
37.                        PORTRAIT OF THE UNIVERSE (2012, Napat Treepalawisetkun)
38.                        THE PROUD ONES (1980, Claude Chabrol, France)
39.                        QUIET DAYS IN HOLLYWOOD (1997, Josef Rusnak, USA)
40.                        RELATIVITY PLUS QUANTUM (2005, Zart Tancharoen)
41.                        ROSSINI (1997, Helmut Dietl, Germany)
42.                        SALTIMBANK (2003, Jean-Claude Biette, France)
43.                        SOMEONE TO LOVE (1987, Henry Jaglom, USA)
44.                        THE SPANISH APARTMENT (2002, Cédric Klapisch, France)
45.                        STANG สตางค์ (2000, Bundit Rittakol)
46.                        STOCKHOLM STORIES (2013, Karin Fahlén, Sweden)
47.                        THE THIN RED LINE (1998, Terrence Malick, USA)
48.                        TIMECODE (2000, Mike Figgis, USA)
49.                        TO DIE (OR NOT) (2000, Ventura Pons, Spain)
50.                        THE WILD BEES (2001, Bohdan Sláma, Czech)
51.                        THE WITNESSES (2007, André Téchiné, France)
52.                        WOMEN ON THE VERGE OF A NERVOUS BREAKDOWN (1988, Pedro Almodóvar, Spain)
53.                        WORKING GIRLS (1984, Ishmael Bernal, Philippines)
54.                        WRONG MOVE (1975, Wim Wenders, West Germany)

รูปมาจาก “มหาลัยหลังเขา” ที่จะฉายในงาน Filmvirus Wildtype วันเสาร์ที่ 30 พ.ค. 2015




Saturday, May 23, 2015

ADAM LEVINE – LOST STARS (UNOFFICIAL MUSIC VIDEO) (2015, Wissanu Nobnorb, A+15)

ADAM LEVINE – LOST STARS (UNOFFICIAL MUSIC VIDEO) (2015, Wissanu Nobnorb, A+15)

ดูมิวสิควิดีโอนี้ได้ที่

1.ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าในแง่ความเป็น “มิวสิควิดีโอ” นั้น งานชิ้นนี้ถือว่าประสบความสำเร็จมากน้อยแค่ไหน เพราะเราไม่ค่อยได้ดูมิวสิควิดีโอน่ะ เราไม่มีความรู้หรือความเชี่ยวชาญในด้านนี้เลย

ตอนดูรอบแรกเราจะรู้สึกว่ามันขาดความ “เปรี้ยง” แบบมิวสิควิดีโอนะ คือพอพูดถึงมิวสิควิดีโอ เราจะนึกถึงอะไรที่มันมีจุดเด่นของมันเองมากๆน่ะ มีความเป็น spectacle, มีอะไรประหลาดๆ, มีอะไรแรงๆ, มีอะไรเก๋ๆ, มีคอนเซปท์แปลกใหม่น่าสนใจ, มีการถ่ายภาพที่ดูงดงามมากๆ เพื่อดึงดูดผู้ชมรุ่นเด็กและรุ่นหนุ่มสาวให้ติดตาติดใจได้ในทันที และเรารู้สึกว่างานชิ้นนี้มันขาดความ “เปรี้ยง” แบบมิวสิควิดีโอน่ะ

2.แต่สำหรับเราแล้ว เราว่างานชิ้นนี้มันทำให้เราอยากดู “หลายรอบ” นะ ซึ่งนั่นก็เป็นคุณสมบัติข้อนึงที่มิวสิควิดีโอที่ดีควรจะมี และเราก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าทำไมเราถึงอยากดูงานชิ้นนี้หลายรอบ หรือจริงๆแล้วเป็นเพียงเพาะว่าเพลงมันเพราะ 555

เราว่าปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เราอยากดูงานชิ้นนี้หลายรอบ เป็นเพราะว่าเราตามเนื้อเรื่องไม่ทันในการดูรอบแรกน่ะ เราก็เลยต้องดูมันซ้ำหลายรอบเพื่อจะได้ตามเนื้อเรื่องให้ทัน เราก็เลยชอบมิวสิควิดีโอนี้ถึงขั้น A+15

3.เราชอบมากที่ MV นี้เล่า conflict สำคัญของเรื่อง ซึ่งได้แก่ความลังเลใจของนางเอกว่าอยากแต่งงานกับพระเอกหรือเปล่า ผ่านทางการแสดงออกเล็กๆน้อยๆของนางเอกน่ะ และเราว่าตัวคนที่เล่นเป็นนางเอกเล่นได้ดีมาก และหนังก็ใช้ประโยชน์จากตัวนางเอกได้ดีมากด้วย

คือ MV นี้แสดงความลังเลใจของนางเอกผ่านทางสีหน้าท่าทางเพียงเล็กๆน้อยๆ และอากัปกิริยาเพียงเล็กๆน้อยๆน่ะ เราก็เลยตามเนื้อเรื่องไม่ทันในการดูรอบแรก พอมาดูรอบสอง รอบสาม เราถึงสังเกตว่า อ๋อ นางเอกทำสีหน้าแบบนี้ในฉากนี้ แล้วก็ทำสีหน้าแบบนี้ในฉากนี้ อ๋อ จริงๆแล้วฉากนี้มันคือการขอแต่งงานหรอกเหรอ ตอนดูรอบแรกกูนึกว่าแค่กินกาแฟกันธรรมดาๆ และเราว่า MV นี้ทำได้ดีมากๆในแง่นี้ คือมันสามารถเล่าเรื่องด้วยภาพได้ในแบบที่ค่อนข้าง subtle น่ะ มันก็เลยทำให้ MV นี้ดูมีอะไรน่าค้นหา และสามารถดูซ้ำหลายรอบได้ และตัวนางเอกก็แสดงได้เก่งมากๆด้วย โดยเฉพาะการแสดงอารมณ์ผ่านทางดวงตา

4.เราเดาว่าทั้ง MV ถ่ายทำในไทยหรือในกรุงเทพ แต่ตอนแรกที่เราดู MV นี้เรานึกว่ามันเป็น found footage จากหนังฝรั่ง คือเราว่าคนสร้าง MV เก่งมากๆที่สามารถสร้างบรรยากาศอะไรบางอย่างจนเรานึกว่ามันเป็นหนังฝรั่งไปได้

5.ปกติแล้ว MV ทั่วไปจะมีพลังทางจังหวะบางอย่างที่สอดรับกับจังหวะเพลงนะ แต่เราว่า MV นี้ไม่ค่อยมีจุดนี้มากนัก ยกเว้นในช่วงวิ่งขึ้นลงกระได แต่เรื่องนี้ก็ไม่ใช่ข้อบกพร่องร้ายแรงอะไร คือพอพูดถึง MV เรามักจะนึกถึงการส่งเสริมพลังซึ่งกันและกันระหว่าง “จังหวะภาพ” กับ “จังหวะเพลง” น่ะ แต่เราว่า MV นี้ไม่ค่อยมีจุดนี้มากนัก

6.สรุปว่าในแง่ความเป็น MV แล้ว เราว่ามันขาด “ความเปรี้ยง” กับ “การเล่นจังหวะภาพ+เสียง” นะ และก็ขาดความสวยเนี้ยบด้านภาพด้วย แต่ความสวยเนี้ยบที่ขาดไปนี้อาจจะเกิดจาก “ทุนสร้าง” มากกว่า “ฝีมือ” ของทีมงาน เราก็เลยคิดว่าจุดนี้ไม่ใช่ข้อบกพร่องของทีมงานนี้ คือถ้าทีมงานนี้ได้ทุนสร้างเท่ากับ MV จริงๆ ภาพ+ฉาก+art direction มันก็คงจะออกมาสวยเนี้ยบกว่านี้มากๆแหละ

แต่ MV นี้มีจุดนึงที่ MV ดีๆทั่วไปมีกัน นั่นก็คือมันทำให้เราอยากดูซ้ำหลายๆรอบ


และเราค่อนข้างมั่นใจว่าจริงๆแล้วทีมงานนี้มีฝีมือในการทำหนังรักแน่ๆ คือในแง่ MV เราไม่แน่ใจว่าทีมงานนี้เก่งมากๆหรือเปล่า หรือมีความสามารถในการสร้าง visual ที่ติดตาตรึงใจหรือเปล่า แต่เราชอบการถ่ายทอดอารมณ์ละเอียดอ่อนของนางเอกผ่านทางการแสดงสีหน้าท่าทางเล็กๆน้อยๆ และเราว่าการถ่ายภาพใน MV นี้มันสื่ออารมณ์แบบหนังรักได้ดีมากน่ะ (คือเราว่างานด้านภาพใน MV นี้ มันไม่ใช่ spectacle แต่มันเป็นการถ่ายทอดอารมณ์ละเอียดอ่อน)  เราก็เลยคิดว่า MV นี้สะท้อนศักยภาพที่น่าสนใจบางอย่างในตัวทีมงานออกมา ซึ่งอาจจะไม่ใช่ศักยภาพในการทำ MV แต่เป็นศักยภาพในการสร้างภาพยนตร์

Friday, May 22, 2015

OLD SCAR (2014, Teeranit Siangsanoh, A+30)


OLD SCAR (2014, Teeranit Siangsanoh, 13min, A+30, ดูซ้ำ)
แผลเก่า

หนังเรื่องนี้เป็นการนำ “แผลเก่า” (1977, เชิด ทรงศรี) มาดัดแปลงใหม่โดยใช้มันในแบบ found footage โดยเราจะได้เห็นภาพบางภาพจากแผลเก่าเวอร์ชั่นปี 1977 และได้ฟังเสียงที่มาจากหนังเรื่องนั้น สำหรับเราแล้วมันเหมือนเป็นการคั้นเอา “หัวกะทิ” ของแผลเก่าปี 1977 ออกมา โดยผู้กำกับเลือกเอาเพียง 1% ของภาพและ 5% ของเสียงที่ตัวเองชื่นชอบจากหนังเวอร์ชั่นปี 1977 มาประกอบสร้างเป็นหนังเรื่องใหม่

สิ่งที่น่าสนใจก็คือว่า เมื่อเทียบกับหนังประเภท found footage ด้วยกันเองแล้ว สิ่งที่โดดเด่นที่สุดในหนังเรื่องนี้ก็คือหนังให้ความสำคัญกับ “เสียง” มากกว่า “ภาพ” เพราะหนัง found footage โดยทั่วไปมักจะใช้แต่ภาพจากหนังเก่า แต่ไม่เอาเสียงมาด้วย อย่างเช่นใน THE AGE OF ANXIETY (2013, Taiki Sakpisit) ที่มีการสร้างดนตรีใหม่ขึ้นมาใช้ประกอบภาพจากหนังเก่า, THE BRIGHT SUPERNATURAL POWER OF NAE WAT DAO (2013, Yingsiwat Yamolyong) ที่มีการพากย์เสียงตัวละครใหม่เข้าไปเพื่อสร้างความตลกขบขัน,  THE FOURTHLAND OF HEAVEN (2013, Pramote Sangsorn) ที่มีการใช้ voiceover ใหม่ประกอบกับภาพจากหนังเก่า หรือหนังอย่าง MERMAIDS WEARING PANTS (2009, Ratchapoom Boonbunchachoke) ที่ดูเหมือนจะให้ความสำคัญกับภาพจากหนังเก่ามากกว่าเสียงเช่นกัน

การที่ OLD SCAR เวอร์ชั่นของ Teeranit ให้ความสำคัญกับเสียงมากกว่าภาพ จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจมากๆ และมันทำให้เราได้ตระหนักถึงความงดงามของบทสนทนาในหนังของเชิด ทรงศรี และความสามารถในการพูดบทสนทนาของสรพงษ์ ชาตรี ที่สามารถพูดบทสนทนาที่ดูเหมือนจะเป็นภาษาเขียน ออกมาได้อย่างไม่ขัดเขินและทรงพลังมากๆ องค์ประกอบด้านบทสนทนา+วิธีการพูดของตัวละครเหล่านี้เป็นสิ่งที่เราอาจจะเคยมองข้ามในอดีต แต่หนังเรื่องนี้ได้ช่วยขับเน้นมันออกมาให้เห็นเด่นชัด

 คือถ้าหากหนังเรื่องนี้ตัดมาทั้งภาพและเสียงจากหนังเก่า เราก็อาจจะมุ่งความสนใจไปที่ภาพเหมือนเดิมแทน เราอาจจะมุ่งความสนใจไปที่ความสามารถทางการแสดงออกทางร่างกายและใบหน้าของนักแสดง การจัดเฟรมภาพ ความงดงามในการถ่ายทำ ฯลฯ แต่พอ OLD SCAR ของ Teeranit เลือกมาแต่ภาพบางภาพจากหนังเก่า และใช้มันในฐานะของ “ภาพนิ่ง” แทนที่จะเป็นภาพเคลื่อนไหว และปล่อยให้เสียงจากหนังเก่าไหลเคลื่อนไปเรื่อยๆ เราจึงต้องมุ่งความสนใจไปที่ “เสียง” โดยอัตโนมัติ และมันทำให้เราได้ตระหนักถึงความงดงามและความทรงพลังขององค์ประกอบนี้ในหนัง ซึ่งมันเป็นสิ่งที่อาจจะหาได้ยากในหนังของผู้กำกับคนอื่นๆ โดยเฉพาะผู้กำกับหนังกระแสหลักของไทยในยุคปัจจุบัน

น่าสนใจดีที่การทำหนังแบบ found footage นั้นมีหลากหลายวิธีการด้วยกัน มันมีทั้งการเอาหนังเก่าหลายๆเรื่องของผู้กำกับคนเดียวกันมาตัดเข้าด้วยกันเพื่อค้นหา motif ที่พบบ่อยๆในหนังของผู้กำกับคนนั้น (PHOENIX TAPES ของ Matthias Mueller + Christoph Girardet), การเอาหนังหลายๆเรื่องมาตัดเข้าด้วยกันเพื่อหาความเชื่อมโยงอะไรบางอย่าง (LOVE ของ Tracey Moffatt และ WORKERS LEAVING THE FACTORY ของ Harun Farocki), การวิเคราะห์ประเด็นทางการเมืองจากฟุตเตจหนังเก่า (DIAL H-I-S-T-O-R-Y ของ Johan Grimonprez) และการสร้างจังหวะภาพแบบใหม่ให้กับหนังเก่า (หนังของ Martin Arnold) และผลงานหนังเรื่อง “แผลเก่า” กับ “เพื่อน แพง” ของ Teeranit ก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการสร้างหนังแบบ found footage ที่น่าสนใจมากๆ