Friday, April 18, 2025

FAVORITE FILMS WITH SPECIFIC LOCATION IN THE TITLES

ลูกหมี: แม่หมีทำอะไรครับ เห็นจ้องมองถังน้ำอยู่ตั้งนาน

 

แม่หมี: แม่หมีรู้สึกว่า ถังน้ำเปล่า ๆ มันสวยดี แม่หมีก็เลยจ้องมองมัน เป็นการมองหาความสุขอย่างเรียบง่ายจากสิ่งธรรมดาในชีวิตประจำวัน เลียนแบบพระเอกหนังเรื่อง PERFECT DAYS (2023, Wim Wenders, A+30) ไงจ๊ะลูกหมี

 

ลูกหมี: ผมว่าแม่หมีกำลังจะเป็นบ้ามากกว่านะครับ 55555

+++++++++

 

FAVORITE FILMS WITH SPECIFIC LOCATION IN THE TITLES

 

ได้รับแรงบันดาลใจมาจากลิสท์อันงดงามที่สุดของคุณ Thanapat Wongwisit, คุณ Baramee Kumkrongsup และคุณ Warut Pornchaiprasartkul  :-) :-) :-)

 

ลิสท์คุณ Thanapat

https://web.facebook.com/photo/?fbid=9977605458950906&set=a.4590292467682259

 

ลิสท์คุณ Baramee

https://web.facebook.com/gina.sinsisters/posts/pfbid02Axio9hxAfap4vheJKg2URCrh558tJTExazksd5zw1G7TqGTcNSVRmnZeCZ7fXHYol

 

ลิสท์คุณ Warut Pornchaiprasartkul

https://web.facebook.com/warut.pornchaiprasartkul/posts/pfbid02v28y8KELcsz7JYcKmhrxSbpUDcFpSpms83E9UqDCmcjexNGPmgGtpyPEfsFiipERl

 

ต้นกำเนิดของโพสท์นี้

https://web.facebook.com/photo/?fbid=1239280124864387&set=a.482486527210421

 

approximately one film per director, approximately one specific place per film

 

1.ALABAMA: 2000 LIGHT YEARS FROM HOME (1969, Wim Wenders, West Germany)

 

2. ALEXANDRIA...NEW YORK (2004, Youssef Chahine, Egypt)

 

3. ANTÁRTIDA (1995, Manuel Huerga, Spain)

 

4. ARARAT (2002, Atom Egoyan, Canada)

 

5.THE ASCENT OF CHIMBORAZO (1989, Rainer Simon, East Germany)

 

6. AT BERKELEY (2013, Frederick Wiseman, documentary, 244min)

 

7. AUSTRALIA (2008, Baz Luhrmann, 165min)

 

8. BAMAKO (2006, Abderrahmane Sissako, France/Mali)

 

9. BANGKOK NITES (2016, Katsuya Tomita, 183min)

 

10. BEIRUT เบรุตนรกแตก (2018, Brad Anderson, A+20)

 

11. BELFAST (2021, Kenneth Branagh, UK)

 

12. BERLIN CHAMISSOPLATZ (1980, Rudolf Thome, West Germany)

 

13. BOMBAY (1995, Mani Ratnam, India)

 

14. BREMEN FREEDOM (1972, Rainer Werner Fassbinder, West Germany)

 

15. THE BRIDGE ON THE RIVER KWAI (1957, David Lean, UK, 161min)

 

16. BROOKLYN (2015, John Crowley, UK/Canada/Ireland, A+30)

 

17. THE CALIFORNIA (2006, Jacques Fieschi, France)

 

18. CASABLANCA (1942, Michael Curtiz)

 

19. CHANG AN (2023, Xie Junwei, Zou Jing, China, animation, 168min, A+30)

 

20. CHICAGO (1996, Jürgen Reble, Germany)

 

21. CHITTAGONG: THE LAST STOPOVER (1999, Léon Desclozeaux, France, about Bangladesh)

 

22. CHUNGKING EXPRESS (1994, Wong Kar-wai, Hong Kong)

 

23. COCULLO (2000, Nino Pezzella, Italy)

 

24. CONGO (1995, Frank Marshall)

 

25. DALLAS BUYERS CLUB (2013, Jean-Marc Vallée)

 

26. DAUGHTER FROM DANANG (2002, Gail Dogin + Vicente Franco, documentary, about Vietnam)

27. DEATH IN VENICE (1971, Luchino Visconti, Italy, 130min)

 

28. DESTINY: THE TALE OF KAMAKURA (2017, Takashi Yamazaki, Japan)

 

29. DONGPAYAYEN ดงพญาเย็น (2011, Satit Khongsuk, documentary, 27min)

 

30. DONSOL (2006, Adolfo Alix Jr., Philippines)

 

31.DON’T CRY, NANKING (1995, Wu Ziniu, Taiwan/Hong Kong/China)

 

32.EISENSTEIN IN GUANAJUATO (2015, Peter Greenaway, Netherlands/Belgium)

 

33.FLANDRES (2006, Bruno Dumont, France)

 

34. A FLORIDA MELANCHOLY (2019, Eli Hayes, 95min, A+30)

หนังเรื่องนี้มีให้ดูในยูทูบด้วยนะ

 

35. FROM MAYERLING TO SARAJEVO (1940, Max Ophüls, France)

 

37. FROM PAKSE WITH LOVE (2010, Sakchai Deenan, Laos)

 

38. FULL MOON IN NEW YORK (1989, Stanley Kwan, Hong Kong/USA)

 

39. GANGNAM BLUES (2015, Ha Yoo, South Korea)

40. GIBELLINA – THE EARTHQUAKE (2007, Joerg Burger, Austria, about Italy, documentary)

 

41. GHOST OF ASIA (2005, Apichatpong Weerasethakul, Christelle Lheureux)

 

42. GRACELAND (2006, Anocha Suwichakornpong)

 

43. GRAND CANYON (1991, Lawrence Kasdan)

 

44. GREETINGS FROM FUKUSHIMA (2016, Doris Dörrie, Germany)

 

45. HALA AND BALA ฮาลา-บาลา (2010, Tanakit Roumtaku, documentary, 29min) สารคดีเกี่ยวกับป่าฮาลา-บาลาที่จังหวัดนราธิวาส

 

46. HAVANA (1990, Sydney Pollack, 144min)

 

47. HELSINKI, FOREVER (2008, Peter von Bagh, Finland, documentary, A+30)

 

48. HIROSHIMA, MON AMOUR (1959, Alain Resnais, France)

 

49.HOMELAND (IRAQ YEAR ZERO) (2015, Abbas Fahdel, documentary, 5hrs 34mins)

 

50. THE HOTEL NEW HAMPSHIRE (1984, Tony Richardson)

 

51. HOTEL RWANDA (2004, Terry George)

 

52. I AM CUBA (1964, Mikhail Kalatozov, Cuba/Soviet Union)

 

53. IBERIA (2005, Carlos Saura, Spain)

 

54. IF I THINK OF GERMANY AT NIGHT (2017, Romuald Karmakar, Germany, documentary, A+30)

 

55. I’LL TAKE MANHATTAN (1987, Douglas Hickox, Richard Michaels, miniseries, 6hrs 15mins)

 

56. INDIA SONG (1975, Marguerite Duras, France)

 

57. THE JAPANESE SETTLERS TO THE MANCHURIA AND INNER MONGOLIA OF MAINLAND CHINA (2008, Haneda Sumiko, Japan, documentary)

 

58. JAPÓN (2002, Carlos Reygadas, Mexico)

 

59. JEANNE DIELMAN, 23 QUAI DU COMMERCE, 1080 BRUXELLES (1975, Chantal Akerman, Belgium, 202min)

 

60. JESUS OF MONTREAL (1989, Denys Arcand, Canada)

 

61. JOAN OF ARC OF MONGOLIA (1989, Ulrike Ottinger, West Germany, 165min)

 

62. KANSAS CITY (1996, Robert Altman)

 

63. KATYN (2007, Andrzej Wajda, Poland, A+30)

 

64. KRABI, 2562 (2019, Ben Rivers, Anocha Suwichakornpong)

 

65. THE LADY FROM SHANGHAI (1947, Orson Welles)

 

66. LAMERICA (1994, Gianni Amelio, Italy)

 

67. THE LAST BREATH OF SAM YAN (2023, Prempapat Plittapolkranpim, documentary)

 

68. THE LAST KING OF SCOTLAND (2006, Kevin Macdonald)

 

69. LITTLE ODESSA (1994, James Gray)

 

70. LONDON (1994, Patrick Keiller)

 

71. LOS ANGELES PLAYS ITSELF (2003, Thom Andersen, documentary, 169min)

 

72. LOVE AND DEATH ON LONG ISLAND (1997, Richard Kwietniowski, gay film)

 

73. THE MACABRE CASE OF PROMPIRAM คืนบาปพรหมพิราม (2003, Manop Udomdej)

 

74. MANILA IN THE CLAWS OF LIGHT (1975, Lino Brocka, Philippines)

 

75. MARIUPOLIS 2 (2022, Mantas Kvedaravicius, Lithuania/France, about Ukraine, documentary, 112min, A+30)

 

76. MASS FOR THE DAKOTA SIOUX (1963-1964, Bruce Baillie)

 

77. MIAMI VICE (2006, Michael Mann, 132min)

 

78. MONTPARNASSE PONDICHÉRY (1994, Yves Robert, France, A+20)

 

79. A MORNING IN TAIPEI (1964, Pai Ching-jui, Taiwan)

 

80. MOSCOW MISSION (2023, Herman Yau, China/Russia)

 

81. MR GAY SYRIA (2017, Ayse Toprak, Turkey/Germany/Malta, documentary)

 

82. MY OWN PRIVATE IDAHO (1991, Gus Van Sant)

 

83. MY WINNIPEG (2007, Guy Maddin, Canada, documentary)

 

84. NEBRASKA (2013, Alexander Payne)

 

85. NOTRE DAME (2019, Valérie Donzelli, France, A+30)

 

86. NOWHERE IN AFRICA (2001, Caroline Link, Germany)

 

87.OKINAWA WHALE (2023, จารุตม์ วิเศษวงศ์, A+25)

 

88. ONCE UPON A TIME IN ANATOLIA (2011, Nuri Bilge Ceylan, Turkey, 157min)

 

89. AN ORANGE FROM JAFFA (2023, Mohammed Almughanni, 27min, A+30) 

 

90. OSAKA STORY (1999, Jun Ichikawa, Japan)

 

91. PACIFIC HEIGHTS (1990, John Schlesinger)

 

92. PARIS ASLEEP (1925, René Clair, France)

 

93. PATONG GIRL (2014, Susanna Salonen, Thailand/Germany)

 

94. PEKING OPERA BLUES (1986, Tsui Hark, Hong Kong)

 

95. PERU TIME กู่ก้องบอกรักนิรันดร (2008, Chaloemkiat Saeyong, 18min)

 

96. PHILADELPHIA (1993, Jonathan Demme)

 

97. PICCADILLY (1929, Ewald André Dupont, UK)

 

98. THE POWER OF KANGWON PROVINCE (1998, Hong Sang-soo, South Korea)

 

99. PRINCESS OF CLEVES (1961, Jean Delannoy, France)

 

100. RANGOON (2017, Vishal Bhardwaj, India, 170min)

 

101. THE RETURN TO HOMS (2013, Talal Derki, Syria, documentary)

 

102. ROSEWOOD (1997, John Singleton)

 

103. SALMON FISHING IN THE YEMEN (2011, Lasse Hallström)

 

104. THE SALTON SEA (2002, D.J. Caruso)

 

105. SAMPHENG สำเพ็ง (1982, Surapong Pinijkhar, documentary)

 

106. SHINJUKU INCIDENT (2009, Derek Yee, Hong Kong)

 

107. SIAM SQUARE (2017, Pairach Khumwan)

 

108. SIBERIADE (1979, Andrei Konchalovsky, Soviet Union, 190min)

 

109. SLASK/SILESIA (1994, Viola Stephan, Germany, about Poland, documentary, 80min)

 

110. SLEEPLESS IN SEATTLE (1993, Nora Ephron)

 

111. STALINGRAD (1993, Joseph Vilsmaier, Germany)

 

112. STOCKHOLM! (2014, Teerath Whangvisarn)

 

113. STRAIGHT OUTTA COMPTON (2015, F. Gary Gray, 147min)

 

114. THE SWALLOWS OF KABUL (2019, Zabou Breitman, Elea Gobbe-Mevellec, France, animation, A+30)

 

115. TEN GIRLS OF DONG LOC (1997, Trong Ninh Luu, Vietnam)

 

116. THE TEXAS CHAIN SAW MASSACRE (1974, Tobe Hooper)

 

117. THIS YEAR IN CZERNOWITZ (2004, Volker Koepp, documentary, about Ukraine, 134min)

 

118. TORREMOLINOS 73 (2003, Pablo Berger, Spain)

 

119. TRAIN TO BUSAN (2016, Yeon Sang-ho, South Korea)

 

120. TRANS-EUROP-EXPRESS (1966, Alain Robbe-Grillet, France)

 

121. TOKYO OLYMPIAD (1965, Kon Ichikawa, Japan, documentary, A+30)

 

122. TOMORROW TRIPOLI (2014, Florent Marcie, Libya, documentary, 174min, A+30)

 

123. A TREE IN TANJUNG MALIM (2004, Tan Chui Mui, Malaysia)

 

124. WEDDING IN GALILEE (1987, Michel Khleifi, Belgium/Palestine)

 

125. A WEDDING IN RAMALLAH (2002, Sherine Salama, Australia/Palestine, documentary)

 

126. WISCONSIN DEATH TRIP (1999, James Marsh, 76min)

 

ANTÁRTIDA, JAPÓN กับ “ดาวคะนอง” (2016, Anocha Suwichakornpong) นี่ เป็นการตั้งชื่อหนังที่ intriguing มาก ๆ เพราะว่าสถานที่ในชื่อหนังเหล่านี้ดูเหมือนไม่มีความเกี่ยวข้องกับเนื้อเรื่องของหนังโดยตรง

 

จริง ๆ ก็มีหนังอีกหลายเรื่องที่เราชอบมากและมีชื่อสถานที่อยู่ในชื่อหนัง แต่เราขี้เกียจทำต่อแล้ว ก็เลยพอแค่นี้นะ 555555 ใครชอบหนังเรื่องไหนทั้งที่มีอยู่ในลิสท์ของเราหรือไม่มีอยู่ในลิสท์ของเรา ก็มา comment เพิ่มเติมได้นะ


Tuesday, April 15, 2025

RIP DAVID LYNCH

 

หนังเกี่ยวกับวัยรุ่นที่เราได้ดูตอนที่เราเป็นวัยรุ่น และนักแสดงก็เป็นวัยรุ่น พอเราโตขึ้นเรื่อย ๆ เราก็จะรู้สึกเหมือนกับว่า นักแสดงและตัวละครเหล่านั้น grow old together ไปกับเราด้วย

+++

NABBIE’S LOVE (1999, Yuji Nakae) นี่เราชอบสุดขีดมาก ๆ หนังเรื่องนี้เคยมาฉายหลายรอบที่ Japan Foundation ถนนอโศก

+++++++

DAVID LYNCH (1946-2025)

 

David Lynch เสียชีวิตในวันที่ 16 ม.ค. 2025 แต่เรายังไม่ได้เขียนไว้อาลัยเขาเลย ตอนนี้เราพอมีเวลาว่าง ก็เลยเขียนถึงเขาหน่อยดีกว่า

 

หนัง/ละครของ David Lynch ที่เคยดู เรียงตามลำดับความชอบ

 

1.MULHOLLAND DRIVE (2001)

2.TWIN PEAKS (1990-1991, TV Series)

3.LOST HIGHWAY (1997)

4.WILD AT HEART (1990)

5.ERASERHEAD (1977)

6.THE GRANDMOTHER (1970, 34min)                     

7.DUNE (1984)

8.BLUE VELVET (1986)

9.THE ELEPHANT MAN (1980)

10.TWIN PEAKS: FIRE WALK WITH ME (1992)

11.HOTEL ROOM (1993)

 

เพราะฉะนั้นตอนนี้ ภารกิจที่เราอยากทำก่อนตาย ก็คือหาดู TWIN PEAKS SEASON THREE (2017), INLAND EMPIRE (2006, 180min) และ THE STRAIGHT STORY (1999) ค่ะ

 

THE ELEPHANT MAN นี่เราได้ดูตอนมันมาฉายทางช่อง 7 เมื่อราว 40 ปีก่อนนะ คิดว่าถ้าหากเราได้ดูหนังเรื่องนี้อีกรอบในแบบเสียง soundtrack เราน่าจะชอบหนังเรื่องนี้มากยิ่งขึ้น

 

สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เราชอบ HOTEL ROOM น้อยสุดในบรรดาหนังของ David Lynch ที่เราได้ดู เป็นเพราะว่าเราได้ดูหนังเรื่องนี้แบบพูดอังกฤษ โดยไม่มีซับไตเติลด้วยแหละ เราก็เลยฟังบทสนทนาไม่ค่อยออก และดูไม่ค่อยรู้เรื่อง เราได้ดูหนังเรื่องนี้ในปี 2007 ตอนไปดูงานศิลปะ DRIFT ของคุณ Sathit Sattarasart ที่ Rose Hotel ใกล้ ๆ วัดหัวลำโพง โดยงานศิลปะนี้จัดแสดงอยู่ในห้องห้องหนึ่งของโรงแรม และพอเราเข้าไปในห้องนั้น เราก็จะได้ดูงานศิลปะ และสามารถเลือกดูดีวีดีเรื่องใดก็ได้ที่วางอยู่ในห้องนั้นด้วย เราก็เลยเลือกดูดีวีดี HOTEL ROOM ในตอนนั้น

 

และถึงแม้ว่าเราจะไม่ได้ประทับใจกับหนังเรื่อง HOTEL ROOM มากนัก (เพราะเราฟังไม่ค่อยออก) แต่ก็ประทับใจประสบการณ์ครั้งนั้นมาก รู้สึกว่ามันประหลาดดี ที่การเลือกดีวีดีเพื่อดูหนังในห้องห้องหนึ่งของโรงแรม กลายเป็นส่วนหนึ่งของงานศิลปะด้วย

 

ถ้าหากพูดถึง David Lynch โดยรวม ๆ แล้ว เราก็ชอบเขาอย่างสุดขีดนะ รู้สึกว่า wavelength ของเขาตรงกับเรามากพอสมควร มันเหมือนกับว่าโลกจินตนาการของเขานำเสนอ realm ที่ exist อยู่ระหว่าง “หนังสยองขวัญ” กับ “แดนสนธยา twilight zone” น่ะ หรือเหมือนกับว่า โลกในหนังของเขามันมีความเฮี้ยนแบบหนังสยองขวัญกับแดนสนธยาผสมรวมอยู่ด้วย แต่โลกของเขาไม่ได้ถูกกำกับด้วยตรรกะของศาสนาแบบหนังผี และไม่ได้ถูกกำกับด้วยตรรกะของ sci-fi แบบ TWILIGHT ZONE หลาย ๆ ตอน โลกจินตนาการของเขาก็เลยมีทั้งข้อดีของหนังสยองขวัญและ TWILIGHT ZONE ผสมรวมอยู่ด้วย แต่ก็มีอิสระมากกว่าหนังสยองขวัญและ TWILIGHT ZONE ด้วยเช่นกัน มันเหมือนโลกจินตนาการของเขามันมีความสยองขวัญ, ความน่ากลัว, ความบ้าบอ, ความวิปริต, ความบูดเบี้ยว, การมองโลกในแง่ร้าย และมีอิสระแห่งจินตนาการผสมรวมอยู่ด้วยกันในแบบที่เข้าทางเราอย่างรุนแรง

 

เราได้ดู MULHOLLAND DRIVE ทางวิดีโอเทปที่ซื้อมาจากร้านลูกแมวในห้างมาบุญครองในช่วงต้นทศวรรษ 2000 และวิดีโอเทปม้วนนี้ก็เลยกลายเป็นหนึ่งในม้วนที่เราดูซ้ำบ่อยที่สุดในชีวิต แต่เราไม่ได้ดู MULHOLLAND DRIVE ซ้ำทั้งเรื่องนะ เราดูซ้ำไปซ้ำมาแค่ฉากที่ Rebekah del Rio ออกมาร้องเพลง LLORANDO น่ะ  มีอยู่ช่วงนึงของชีวิตที่เราต้องดูวิดีโอฉากร้องเพลงฉากนี้ทุกคืน เพราะมันทำให้จิตใจเราเป็นสุขสุดๆ โดยที่เราก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำไมฉากนี้ถึงส่งผลกระทบต่อเราอย่างรุนแรงสุดๆแบบนี้ หรือว่าฉากนี้มันตอกย้ำว่าหลายสิ่งบนโลกนี้คือ "มายา" เราก็ไม่แน่ใจเหมือนกัน คือพอเราดูฉากร้องเพลงฉากนี้ เราก็จะรู้สึกว่าจิตใจเราสงบ เราสามารถปล่อยวางจากสิ่งต่าง ๆ ได้ แล้วเราก็จะเข้านอนในคืนนั้นอย่างมีความสุข เพราะฉะนั้นเราก็เลยดูฉากร้องเพลงฉากนี้เกือบทุกคืนก่อนเข้านอนในช่วงนึงของชีวิต และเราก็ยอมรับกับตัวเองว่า David Lynch สามารถส่งผลกระทบต่อ “จิตใต้สำนึก” ของเราได้อย่างรุนแรงจริง ๆ และน่าจะรุนแรงกว่าผู้กำกับอีกหลาย ๆ คนด้วย

 

ส่วนละครทีวี TWIN PEAKS ที่เราเคยดูทางช่อง 3 นั้น ก็ถือเป็นหนึ่งในละครทีวีที่เราชื่นชอบมากที่สุดในชีวิตเลย คือเราได้ดูละครทีวีเรื่องนี้ในช่วงต้นทศวรรษ 1990 ซึ่งเป็นช่วงที่เราแทบไม่เคยดู “หนังอาร์ต” และ “หนังเซอร์เรียล” ใด ๆ มาก่อน เพราะฉะนั้นละครทีวีเรื่องนี้ก็เลยทำให้เราเหวอมาก และทำให้เราได้รับรู้ว่า ละครทีวีมันสามารถทำอะไรแบบนี้ได้ด้วย มันสามารถนำเสนอสิ่งที่ไม่ต้องการคำอธิบายอะไรแบบนี้ได้ด้วย คือในช่วงต้นของละครทีวีเรื่องนี้ มันเหมือนกับว่าจะเป็นละครทีวีแนวปริศนาฆาตกรรม ที่มุ่งเน้นไปยังประเด็นที่ว่า “ใครคือฆาตกร” (แบบพวกละครทีวีของไทยที่ดัดแปลงมาจากนิยายของ Agatha Christie อย่างเช่น ทะเลเลือด และ พรสีเลือด) และเน้นไปที่การสร้างอารมณ์ “ตื่นเต้น ลุ้นระทึก” แต่พอเราดูไปเรื่อย ๆ เราก็พบว่า มันไม่ได้เป็นแบบนั้นเลยแม้แต่น้อย ละครทีวีที่มีตัวละครถูกฆาตกรรมอย่างลึกลับ มันก็สามารถเลือกที่จะโฟกัสหรือนำเสนออะไรอื่น ๆ ได้อย่างเป็นอิสระ และเราก็พบว่า สิ่งที่สำคัญสำหรับเรามากที่สุดในละครทีวีเรื่องนี้ ก็คือ “บรรยากาศ” เราตกหลุมรักบรรยากาศของ TWIN PEAKS มาก ๆ ทั้งบรรยากาศของภาพ, ของเพลงประกอบ, ของดนตรีประกอบ, ของเมือง Twin Peaks ทั้งในโลกของคนเป็น และของ “แดนลี้ลับ” ที่อยู่ในหนังเรื่องนี้ด้วย สิ่งที่ทำให้เรามีความสุขที่สุดในละครเรื่องนี้ ไม่ใช่การลุ้นว่าใครคือฆาตกร แต่เป็นการได้ดู “ความมืดที่โอบล้อมสัญญาณไฟจราจร” ในละครทีวีเรื่องนี้ ก่อนหน้านี้ “ความฟิน” ของเราที่ได้รับจากละครทีวีเรื่องอื่นๆ เกิดจาก “เนื้อเรื่อง” แต่พอเราได้ดู TWIN PEAKS เราก็พบว่า ความฟินในการดู มันเกิดจากการดู “ความมืดที่โอบล้อมสัญญาณไฟจราจร” ได้ด้วยเช่นกัน

https://www.youtube.com/watch?v=Bpo7278lCfA

 

อีกสิ่งที่เราชอบมากใน TWIN PEAKS ก็คือ “อะไรต่าง ๆ ที่เราไม่สามารถหาคำอธิบายได้” ทั้งเรื่องของแดนลี้ลับ, ฉากอะไรต่าง ๆ อย่างเช่น ฉากวิญญาณของ Joan Chen ในลูกบิดลิ้นชัก, ทำไมตัวละคร log lady ต้องมาพร้อมกับไฟติด ๆ ดับ ๆ, etc. 

 

เพราะฉะนั้นประสบการณ์การดูละคร TWIN PEAKS ทางช่อง 3 ของเราในช่วงต้นทศวรรษ 1990 ก็เลยเป็นอะไรที่ “เปิดกะโหลก” ของเราอย่างรุนแรงที่สุด คือมันเหมือนกับว่า ละครทีวีเรื่องนี้เป็นละครทีวีเรื่องแรก ๆ ที่เราได้ดูที่ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อเราอย่างรุนแรงผ่านทาง “เนื้อเรื่อง” เป็นหลัก แต่ส่งผลกระทบต่อเราอย่างรุนแรงผ่านทาง “อะไรที่เราอธิบายไม่ได้” เป็นหลัก หรืออาจจะกล่าวได้ว่า มันเป็นละครทีวีเรื่องแรกที่เราได้ดู ที่ส่งผลกระทบต่อ “จิตใต้สำนึก” ของเราเป็นหลัก (ไม่รู้เราใช้คำถูกหรือเปล่านะ 55555)

 

แน่นอนว่าตอนนั้นในปี 1991 เรากับเพื่อน ๆ กะเทยในกลุ่มของเรา ก็มีการ assign บทกันจนครบทุกคนในกลุ่มว่าใครรับบทเป็นใครในละครทีวี TWIN PEAKS ซึ่งตอนนั้นเรารับบทเป็น Donna Hayward (Lara Flynn Boyle) แต่ไป ๆ มา ๆ เรากลับชอบ role play เล่นเป็น Sara Palmer (Grace Zabriskie) แทน เพราะมันมีฉากสำคัญฉากนึงในละครทีวีเรื่องนี้ที่ตัวละคร Sara Palmer “คลานลงบันได” มาด้วยท่วงท่าที่พิสดาร เราก็เลยลอง role play ทำตาม ผลปรากฏว่าเจ็บปวดระบมไปทั้งตัวในความพยายามคลานลงบันไดในครั้งนั้นค่ะ 55555

 

พอเราเริ่มเป็น cinephile ในปี 1995 และได้ดูหนังอาร์ตและหนังยุโรปมากขึ้น เราก็ยังคงชอบ David Lynch อย่างรุนแรงเหมือนเดิมนะ (แต่ก็อาจจะชอบเขาน้อยกว่าผู้กำกับหนังยุโรปหลาย ๆ คน อย่างเช่น Werner Schroeter และ Jacques Rivette) เพราะเรื่องนี้มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่า หนังของใคร “ดี” กว่าหนังของใคร หนังของใคร “พิสดาร” กว่าหนังของใคร หรือหนังของใคร “มีคุณค่าทางศิลปะ” มากกว่าหนังของใครน่ะ แต่มันขึ้นอยู่กับว่า wavelength ของเราตรงกับใคร หรือใกล้เคียงกับใครมากน้อยแค่ไหน และ “โลกจินตนาการ” ของเราเอง ใกล้เคียงกับโลกจินตนาการของผู้กำกับคนไหนมากน้อยแค่ไหน และเราก็รู้สึกว่า โลกจินตนาการในหนังของ David Lynch มันใกล้เคียงกับเรามากพอสมควร หรือโลกจินตนาการในหนังของเขา มันมี “เสน่ห์ดึงดูด” เราอย่างรุนแรงสุดขีด เราอยากเข้าไปผจญภัยในโลกจินตนาการในหนังของเขาอย่างรุนแรงมาก ๆ โดยเฉพาะใน TWIN PEAKS, MULHOLLAND DRIVE และ WILD AT HEART

 

เหมือนเมื่อราว 25 ปีก่อน สิ่งที่เราอยากให้เกิดขึ้นในชีวิตของเรา ก็คือการที่เพื่อนสนิทของเราสักคนนึง โทรศัพท์มาหาเราตอนตีสาม เรียกเราออกไปเจอที่หน้าปากซอย แล้วหลังจากนั้นเรากับกลุ่มเพื่อนสนิทก็เดินทางไปยังคลับแห่งนึง แล้วก็ผจญภัยเข้าสู่โลกลี้ลับแบบใน Club Silencio ในหนัง MULHOLLAND DRIVE หรือโลกแบบหนัง TWIN PEAKS 55555

 

โดยส่วนตัวแล้ว เรารู้สึกว่าโลกจินตนาการในหนังของ David Lynch มันอาจจะเป็น “ประเทศเพื่อนบ้าน” กับ “โลกจินตนาการ” ในหนังของ Maya Deren, Philippe Grandrieux, Nina Menkes, Teeranit Siangsanoh, Scott Barley, Olivier Smolders, Enzo Cillo, Taiki Sakpisit อะไรทำนองนั้นน่ะ มันมี “ความลี้ลับดำมืดที่มีมนตร์เสน่ห์อย่างรุนแรง” เหมือนกัน แต่โลกของ Lynch ยังมีเนื้อเรื่องและผูกติดกับสภาพจิตตัวละครอยู่ เพราะฉะนั้นโลกของเขาก็เลยจะยังคงมีความใกล้เคียงกับโลกของ Maya Deren, Nina Menkes, Ingmar Bergman อะไรทำนองนี้อยู่ แต่ถ้าหากโลกของเขาลด “เนื้อเรื่อง” ลง และหันไปเน้นบรรยากาศมากขึ้น มันก็จะเข้าใกล้โลกของ Teeranit Siangsanoh, Scott Barley, Enzo Cillo, Taiki Sakpisit มากขึ้น และถ้าหากมันดับทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นรูปธรรมทิ้งไปให้หมด ให้เหลือแต่เพียง “ความลี้ลับดำมืด” อันเป็นนามธรรมเพียงอย่างเดียว มันก็จะเป็นโลกของ Takashi Makino

 

อีกปัจจัยหนึ่ง ที่ทำให้เราหลงใหลโลกในหนังของ David Lynch มากเป็นพิเศษ เป็นเพราะว่าเรามักจะไม่อินกับ “ความรัก” ในหนังโรแมนติกโดยทั่วไป และไม่อินกับ “ความรักความผูกพันระหว่างสมาชิกครอบครัว” ในหนังโดยทั่วไป ทั้งหนังเอเชียและหนังฮอลลีวู้ดด้วยแหละ และเรารู้สึกว่า โลกในหนังหลาย ๆ เรื่องของ David Lynch มันไม่ “ขับไสไล่ส่ง” เราด้วย “ความรักความผูกพันระหว่างสมาชิกครอบครัว” โดยเฉพาะโลกในหนังอย่าง THE GRANDMOTHER, ERASERHEAD และ WILD AT HEART ที่ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกครอบครัวในหนังเหล่านี้ เป็นสิ่งที่เข้าทางเราอย่างสุดขีดมาก ๆ (แต่เราอาจจะเปลี่ยนใจเมื่อได้ดู THE STRAIGHT STORY 55555)

 

เราไม่แน่ใจเหมือนกันว่า David Lynch ส่งผลกระทบต่อผู้กำกับหนังไทยมากน้อยแค่ไหน แต่เราคิดว่าหนังของเขาสามารถฉายควบกับ “หนังสั้นไทยกลุ่มมายารัศมี” ได้ โดยเราเคยรวบรวมรายชื่อ “หนังสั้นไทยกลุ่มมายารัศมี” ไว้ที่นี่

https://web.facebook.com/photo/?fbid=10232666977840216&set=a.10201990635270824

 

ส่วนอันนี้เป็นรายชื่อ MY MOST FAVORITE CHARACTERS IN DAVID LYNCH’S UNIVERSE

 

1.Marietta Fortune (Diane Ladd) from WILD AT HEART

 

2.Mystery Man (Robert Blake) from LOST HIGHWAY

 

3. The Log Lady (Catherine E. Coulson) from TWIN PEAKS และ TWIN PEAKS: FIRE WALK WITH ME

ไม่ทราบชีวิต

https://www.youtube.com/watch?v=1A9PT3brNrU

 

4. DEA Agent Dennis (David Duchovny) from TWIN PEAKS

ตัวละครตัวนี้ถือเป็นตัวละคร “ตำรวจกะเทย” ตัวละครแรกในชีวิตเลยมั้งที่เราได้ดู
https://www.youtube.com/watch?v=1A9PT3brNrU

 

5. Laura Palmer (Sheryl Lee) from TWIN PEAKS และ TWIN PEAKS: FIRE WALK WITH ME

รู้สึกว่าตัวละครตัวนี้มีความเฮี้ยนบางอย่างซ่อนอยู่ในตัว อย่างเช่นในฉากนี้

https://www.youtube.com/watch?v=6VPFi-GxqiA

https://www.youtube.com/watch?v=KlIlWsQ2FEk

 

6. Sarah Palmer (Grace Zabriskie) from TWIN PEAKS

ตัวละครที่เราเอามา role play จนเราได้รับบาดเจ็บ

 

7. Lil the Dancer (Kimberly Ann Cole) from TWIN PEAKS: FIRE WALK WITH ME

https://www.youtube.com/watch?v=5Ug-p6vg8vI

 

8. Lady in the Radiator (Laurel Near) from ERASERHEAD

 

9. Mutant Baby ใน ERASERHEAD

 

10. Lady Jessica (Francesca Annis) from DUNE

 

11. Alia (Alicia Witt) from DUNE

 

12. Rebekah Del Rio from MULHOLLAND DRIVE

 

13. Magician (Richard Green) from MULHOLLAND DRIVE

 

14. Grandmother (Dorothy McGinnis) from THE GRANDMOTHER

 

อีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เราชอบหนังของ David Lynch มาก ๆ เป็นเพราะว่า เขาเลือก “นักแสดงชาย” ได้ตรงสเปคของเราอย่างรุนแรงมาก ๆ ค่ะ 55555 เราชอบนักแสดงชายในหนังของเขาเหล่านี้มาก ๆ

 

1. Kyle MacLachlan ใน DUNE, BLUE VELVET, TWIN PEAKS

 

2. James Marshall from TWIN PEAKS

 

3. Chris Isaak ใน TWIN PEAKS: FIRE WALK WITH ME

 

4. Balthazar Getty ใน LOST HIGHWAY

 

5. Bill Pullman ใน LOST HIGHWAY

 

6. Justin Theroux from MULHOLLAND DRIVE

 

อีกจุดที่ทำให้เราชอบหนัง/ละครของ David Lynch มาก ๆ ก็คือ sense ด้านการเลือกดนตรีประกอบและเพลงประกอบของเขานี่แหละ โดยเฉพาะใน BLUE VELVET และ TWIN PEAKS กราบตีน Angelo Badalamenti และ Julee Cruise มาก ๆ

 

++++++++

 

ดูรายชื่อหนังในสาย DIRECTORS’ FORTNIGHT ของ Cannes 2025 ได้ที่นี่
https://www.quinzaine-cineastes.fr/en/news/the-2025-selection

 

กรี๊ด อยากดู KOKUHO (2025, Lee Sang-il) อย่างรุนแรงที่สุด เพราะ Lee Sang-il เคยกำกับ WANDERING (2022, Japan) ที่เป็นหนังที่เราชื่นชอบที่สุดที่ได้ดูในปี 2022

 

และเราก็อยากดู DEATH DOES NOT EXIST (2025, Félix Dufour-Laperrière, animation, 80min) มาก ๆ ด้วย เพราะว่า Félix Dufour-Laperrière เคยกำกับ M: SMALL ARCHITECTURES AND BRIEF NEBULAS (2009) ที่ติดอันดับ 5 ในลิสท์หนังสุดโปรดของเราประจำปี 2009

 

เรื่องย่อของ DEATH DOES NOT EXIST

After a failed armed attack against wealthy landowners, Hélène abandons her companions and flees into the forest, where metamorphoses and major upheavals disrupt the order of things.

 

รูปจาก DEATH DOES NOT EXIST

++++++++++

 

AN OPEN ROSE/WARDA (2019, Ghassan Salhab, Lebanon, about Germany, 72min, A+30)

 

หนังงดงามสุดขีดมาก ๆ กราบตีน Ghassan Salhab ของจริง หนังเรื่องนี้นำเสนอจดหมายที่ Rosa Luxemburg เขียนถึงเพื่อนขณะที่ตัว Rosa ติดคุกอยู่ ตัวจดหมายนี้ไม่ได้พูดถึงการเมืองมากนัก แต่พูดถึงการจ้องมองท้องฟ้าสีเทา, บรรยายถึงความมหัศจรรย์ของสีเทา, พูดถึง Rudyard Kipling, พูดถึงผึ้ง และอะไรอื่น ๆ อีกมากมาย

 

ถือเป็นหนังเรื่องที่สองที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ Rosa Luxemburg ที่เราได้ดู หลังจากที่เราเคยดู THE CAPITAL OF ACCUMULATION (2010, Raqs Media Collective) ซึ่งติดอันดับ 7 ในลิสท์หนังที่เราชื่นชอบที่สุดที่ได้ดูในปี 2018 โดยถึงแม้ว่าหนังทั้งสองเรื่องนี้จะพูดถึง Rosa Luxemburg เหมือนกัน และพยายามเชื่อมโยง Rosa Luxemburg กับ “โลกยุคปัจจุบัน” เหมือนกัน แต่หนังทั้งสองเรื่องนี้แตกต่างจากกันอย่างรุนแรง และโฟกัสกันไปคนละจุด เพราะว่า THE CAPITAL OF ACCUMULATION นั้นเน้นเนื้อหาสาระทางสังคมเศรษฐศาสตร์การเมืองอย่างหนักแน่น เป็นหนังแนวกระตุ้นความคิดคนดูตลอดเวลา ส่วน AN OPEN ROSE/WARDA เป็นหนังที่มีความงดงามทางกวีสูงสุดขีดมาก และเปิดให้เราได้รู้จักกับแง่มุมอื่นๆ ของ Rosa Luxemburg ด้วย โดยที่ก็ไม่ได้ทอดทิ้งบทบาททางการเมืองของเธอ

 

AN OPEN ROSE/WARDA เปิดให้ดูฟรีออนไลน์ในช่วงนี้นะ

https://www.festivalscope.com/film/une-rose-ouverte-warda/

 

TIMELINE OF STORIES IN INDIAN FILMS

 

ช่วงนี้มีนกหลายตัวจ้องจะมาทำรังที่ระเบียงห้องเรา เราต้องคอยออกไปไล่ ไม่รู้เหมือนกันว่ามันเป็นนกพันธุ์อะไรบ้าง

++++++++++

TIMELINE OF STORIES IN INDIAN FILMS OR FILMS ABOUT INDIA THAT I SAW

 

พอเราได้ดูหนังอินเดียไปสักพักหนึ่ง เราก็เริ่มงง ๆ ว่า เหตุการณ์ในหนังอินเดีย (และศรีลังกา) เรื่องไหนเกิดก่อนเรื่องไหน เราก็เลยทำลิสท์นี้ขึ้นมาดีกว่า

 

--MOHENJO DARO (2016, Ashutosh Gowariker, 169min, A+15)

เนื้อเรื่องเกิดขึ้นในปี 2016 ก่อนคริสต์ศักราช หรือเมื่อ 4041 ปีก่อน ตรงกับยุคของฟาโรห์เมนตุโฮเทปที่สองของอียิปต์

 

--AMRAPALI (1966, Lekh Tandon, 119min, A+30)

เกี่ยวกับพระเจ้าอชาตศัตรูแห่งแคว้นมคธ พระโอรสของพระเจ้าพิมพิสาร อชาตศัตรูครองราชย์ในปี 492-460 ก่อนคริสต์ศักราช หรือในปีพ.ศ. 51 ถึงปีพ.ศ. 83

 

--ALEXANDER (2004, Oliver Stone, 175min)

พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชมีชีวิตในปี 356-323 ก่อนคริสต์ศักราช

 

--สิคีริยา (นิยายของโสภาค สุวรรณ)

 

อันนี้เป็นนิยายที่เราชอบสุดขีด พูดถึงราชวงศ์สิงหลของศรีลังกา ในยุคของพระเจ้าดธุเสนา ซึ่งครองราชย์ในปีค.ศ. 455-473, พระเจ้ากัสสปะที่หนึ่ง ซึ่งครองราชย์ในปี 473-495 และพระเจ้าโมคคลานะที่หนึ่ง ซึ่งครองราชย์ในปี 497-515

 

--DAT MO CYUN ปรมาจารย์ ตั๊กม้อ (1986, ละครทีวี)

นำแสดงโดยหลี่เหลี่ยงเหว่ย (Ray Lui)  ปรมาจารย์ ตั๊กม้อ ท่านเกิดเมื่อราวคริสต์ศตวรรษที่ 6 เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 3 ของพระมหากษัตริย์แคว้นคันธาระ ประเทศอินเดีย ใกล้เมืองมัทราสในปัจจุบัน มีนัยน์ตาสีฟ้า ท่านได้จาริกจากอินเดียไปเมืองจีน เมื่อราว ค.ศ. 526 ได้เดินทางไปยังเมืองกวางตุ้งของจีน เข้าเฝ้าจักรพรรดิเหลียงอู่ตี้ (ข้อมูลจาก wikipedia)

 

--XUAN ZANG (2016, Huo Jianqi, China/India)

เล่าเรื่องของ “พระถังซัมจั๋ง” ที่เดินทางจากจีนไปอินเดียในยุคของจักรพรรดิถังไท่จงแห่งราชวงศ์ถัง พระถังซัมจั๋งมีชีวิตอยู่ในปี 602-664 ส่วนจักรพรรดิถังไท่จงครองราชย์ปี 626-649

 

--PADMAAVAT (2018, Sanjay Leela Bhansali, India, 164min, A+25)

เกี่ยวกับราชินีปัทมาวตีในราชาสถาน และสุลต่าน Alauddin Khalji ซึ่งมีชีวิตอยู่ในปี 1266-1316 โดยหนังเรื่องนี้พูดถึงการที่สุลต่านองค์นี้ชนะทัพมองโกลได้ด้วย

 

ไม่แน่ใจว่าสุลต่านองค์นี้รบกับข่านคนใดของมองโกล แต่อาจจะเป็นกุบไลข่านก็ได้ เพราะกุบไลข่านมีชีวิตอยู่ในปี 1215-1294 เพราะฉะนั้นเรื่องราวของ PADMAAVAT ก็น่าจะเกิดขึ้นหลังจากเรื่องราวของ “มังกรหยก” เพราะ “มังกรหยก” พูดถึง “เจงกิสข่าน” ซึ่งมีชีวิตอยู่ในปี 1162-1227

 

และเรื่องราวใน PADMAAVAT ก็น่าจะเกิดขึ้นในช่วงหลังจากเรื่องราวของหนังเรื่อง ALEXANDER NEVSKY (1938, Sergei Eisenstein, Dmitriy Vasilev, Soviet Union) ด้วย เพราะเจ้าชาย Alexander Nevsky มีชีวิตอยู่ในปี 1221-1263

 

--A JOURNEY BEYOND THE THREE SEAS (1957, Vasili Pronin และ Khwaja A. Abbas, India/Soviet Union, 152min)

สร้างจากเรื่องจริงของพ่อค้าชาวรัสเซียชื่อ Afanasy Nikitin ซึ่งเคยเดินทางมาเยือนอินเดียในช่วงราวปี 1471-1474 และได้มาเยือนอาณาจักรวิชัยนคร และอาณาจักร Bahmani ในอินเดียในช่วงนั้น

 

--JODHAA AKBAR (2008, Ashutosh Gowariker, 213min, A+30)

เกี่ยวกับจักรพรรดิ Akbar ซึ่งเป็นจักรพรรดิองค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์โมกุล พระองค์มีชีวิตในปี 1542-1605

 

--MUGHAL-E-AZAM (1960, K. Asif, 197min, A+30)

เกี่ยวกับเจ้าชาย Salim พระโอรสของจักรพรรดิ Akbar เจ้าชายองค์นี้ต่อมาได้ขึ้นมาเป็นจักรพรรดิ Jahangir ซึ่งเป็นจักรพรรดิองค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์โมกุล พระองค์มีชีวิตในปี 1569-1627

 

--SHIRAZ (1928, Franz Osten, India/UK/Germany)

เกี่ยวกับ Shah Jehan จักรพรรดิองค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์โมกุล ซึ่งมีชีวิตอยู่ในปี 1592-1666

 

--CHHAAVA (2025, Laxman Utekar, 161min, A+25)

เกี่ยวกับ Sambhaji Maharaj กษัตริย์องค์ที่สองของอาณาจักร Maratha พระองค์มีชีวิตในปี 1657-1689 ตบกับจักรพรรดิ Aurangzeb ซึ่งเป็นจักรพรรดิองค์ที่ 6 แห่งราชวงศ์โมกุล Aurangzeb มีชีวิตอยู่ในปี 1618-1707

 

--BAJIRAO MASTANI (2015, Sanjay Leela Bhansali, India, A+25)

เกี่ยวกับอัครมหาเสนาบดี Bajirao I ซึ่งเป็นอัครมหาเสนาบดีคนที่ 7 แห่งอาณาจักร Maratha โดย Bajirao I นั้นมีชีวิตอยู่ในปี 1700-1740

 

--VANITY FAIR (2004, Mira Nair, USAUK/India, 141min)

หนังมีเนื้อหาบางส่วนเกี่ยวกับอินเดีย และพูดถึงสงครามนโปเลียน ซึ่งเกิดขึ้นในปี 1803-1815

 

--MANIKARNIKA: THE QUEEN OF JHANSI (2019, Radha Krishna Jagarlamudi, Kangana Ranaut, India, A+25)

เกี่ยวกับ “รานี ลักษมีไบ” ผู้นำชาวอินเดียในการต่อสู้กับอังกฤษในปี 1857 ยุคของเธอตรงกับยุคของราชินีวิคตอเรีย ซึ่งปกครองอังกฤษในปี 1837-1901 และใกล้เคียงกับยุคของสุนทรภู่ (1786-1855)

 

--AROUND THE WORLD IN 80 DAYS (1989, Buzz Kulik, miniseries, 266min)

สร้างจากนิยายของ Jules Verne เนื้อเรื่องเกิดขึ้นในปี 1872

 

--THE HOME AND THE WORLD (1984, Satyajit Ray, 140min, A+30)

เนื้อเรื่องเกิดขึ้นในปี 1907

 

--WHY COLONEL BUNNY WAS KILLED (2010, Miranda Pennell, UK, 27min, A+30)

เนื้อเรื่องบางส่วนมาจากหนังสือ AMONG THE WILD TRIBES OF THE AFGHAN FRONTIER (1908, Theodore Leighton Pennell)

 

--RRR (2022, S. S. Rajamouli, 182min, A+30)

เนื้อเรื่องเกิดในปี 1920

 

--A PASSAGE TO INDIA (1984, David Lean, UK, 164min, A+30)

เนื้อเรื่องเกิดในทศวรรษ 1920

 

--QUEENIE (1987, Larry Pearce, miniseries, 233min, A+30)

เกี่ยวกับ Merle Oberon สาวลูกครึ่งอังกฤษ-อินเดีย ซึ่งมีชีวิตอยู่ในปี 1911-1979

 

--BLACK NARCISSUS (1947, Michael Powell, Emeric Pressburger, UK, 100min, A+30)

เนื้อเรื่องเกิดในช่วงท้ายของยุคที่อังกฤษปกครองอินเดีย

 

--GANDHI (1982, Richard Attenborough, UK/India, A+30)

Gandhi มีชีวิตอยู่ในปี 1869-1948

 

--RANGOON (2017, Vishal Bhardwaj, 170min)

อินเดียและพม่าในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง

 

ส่วน “จุฬาตรีคูณ” กับ BAAHUBALI นั้น พูดถึงกษัตริย์ที่ไม่มีตัวตนจริง เราก็เลยไม่สามารถใส่เข้าไปใน timeline ได้จ้ะ

 

รายชื่อข้างต้นครอบคลุมเฉพาะหนังที่เราเคยดูแล้ว ถ้าหากเพื่อน ๆ คนไหนอยากแนะนำหนังอิงประวัติศาสตร์เรื่องอื่น ๆ ของอินเดีย ก็แนะนำกันมาได้นะจ๊ะ

 

CHINA TIMELINE

https://web.facebook.com/photo?fbid=10227244116752078&set=a.10223045281543822

 

COMMUNISTS TIMELINE

https://www.facebook.com/share/p/sracvJPHdkfSac8K/?mibextid=oFDknk

 

FRANCE TIMELINE

https://www.facebook.com/share/p/Ve3RuK4XTqtbMyLz/?mibextid=oFDknk

 

JAPAN TIMELINE

https://www.facebook.com/share/p/XuFiu9MUkApJhZ8D/?mibextid=oFDknk

 

MIDDLE EAST VIOLENCE TIMELINE

https://www.facebook.com/share/p/4gRcVvhtTLxXXPho/?mibextid=oFDknk 

 

ROMAN EMPIRE TIMELINE
https://www.facebook.com/share/p/FapNYVgaGoNS4Tcm/?mibextid=oFDknk

 

RUSSIA TIMELINE

https://web.facebook.com/photo/?fbid=10233210185100058&set=a.10223045281543822

+++++++

 

เราไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญเรื่องเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ ก็เลยสงสัยว่า A USEFUL GHOST (2025, Ratchapoom Boonbunchachoke) ถือเป็นหนังยาวเรื่องแรกในประวัติศาสตร์ของไทยที่ได้ฉายในสาย CRITICS’ WEEK หรือเปล่า

 

แล้วมีหนังยาวของไทยเรื่องไหนเคยได้ฉายในสาย DIRECTORS’ FORTNIGHT ไหม

 

ส่วนในสาย UN CERTAIN REGARD นั้น เราเข้าใจว่า TEARS OF THE BLACK TIGER (2000, Wisit Sasanatieng) ถือเป็นเรื่องแรกของไทยมั้ง ที่ได้ฉายในสายนี้

 

ส่วนหนังของ Apichatpong Weeresethakul นั้น ก็ได้ฉายในสายประกวดและสาย UN CERTAIN REGARD เป็นประจำ

 

เผื่อใครมีความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับหนังไทยในสายต่าง ๆ ของคานส์ ก็มา comment กันได้นะคะ

 

หนังหลาย ๆ เรื่องที่เคยฉายในสาย CRITICS’ WEEK เป็นหนังที่เราชอบสุดขีด อย่างเช่น

 

1. UNDER THE MOONLIGHT (2001, Reza Mir-Karimi, Iran)

 

2. TOO YOUNG TO DIE (2002, Park Jin-Pyo, South Korea)

 

3. SINCE OTAR LEFT (2003, Julie Bertucelli, France)

 

4. RECONSTRUCTION (2003, Christoffer Boe, Denmark)

 

5. A COMMON THREAD (2004, Éléonore Faucher, France)

 

6. THIRST (2004, Tawfik Abu Wael, Israel/Palestine)

 

7. OR (MY TREASURE) (2004, Karen Yedaya, Israel)

 

8. DUCK SEASON (2004, Fernando Eimbcke, Mexico)

 

9. ME AND YOU AND EVERYONE WE KNOW (2005, Miranda July)

 

10. LITTLE JERUSALEM (2005, Karin Albou, France)

 

11. A STRANGER OF MINE (2005, Kenji Uchida, Japan)

 

12. PINGPONG (2006, Matthias Luthardt, Germany)

 

13. FUNUKE SHOW SOME LOVE, YOU LOSERS! (2007, Daihachi Yoshida, Japan)

 

14. THE MILKY WAY (2007, Lina Chamie, Brazil)

 

15. JELLYFISH (2007, Etgar Keret, Shira Geffen, Israel/France)

 

16. THE ORPHANAGE (2007, Juan Antonio Bayona, Spain)

 

17. BELLE ÉPINE (2010, Rebecca Zlotowski, France)

 

18. TAKE SHELTER (2011, Jeff Nichols)

 

19. THE LUNCHBOX (2013, Ritesh Batra, India)

 

20. THE TRIBE (2014, Myroslav Slaboshpytskyi, Ukraine)

 

Edit เพิ่ม: คุณดรสะรณมาตอบแล้วว่า หนังยาวของไทยที่เคยฉายในสาย DIRECTORS’ FORTNIGHT คือ MONRAK TRANSISTOR (2001, Pen-Ek Ratanaruang) กับ PLOY (2007, Pen-Ek Ratanaruang) ขอบคุณคุณดรสะรณมาก ๆ ครับ

+++++++++

1958 (2009, Ghassan Salhab, Lebanon, documentary, 66min, A+30)

 

เราเพิ่งได้ดูหนังสารคดีเชิงกวีเรื่องนี้ หนังพูดถึงชีวิตของแม่ของผู้กำกับขณะที่เธออาศัยอยู่ในประเทศเซเนกัล และหนังก็พูดถึงประวัติศาสตร์ของเลบานอน, อียิปต์ และอิรักในช่วงปี 1958 ซึ่งเป็นสิ่งที่เราไม่เคยรู้มาก่อน คือเรามักจะได้ยินเรื่องของเลบานอนก็ในช่วงทศวรรษ 1970 ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดสงครามกลางเมืองในเลบานอนอย่างเต็มตัวแล้ว เราไม่เคยรู้มาก่อนว่าเลบานอนมันเผชิญกับความขัดแย้งรุนแรงมาตั้งแต่ทศวรรษ 1950 ด้วย

 

แต่สิ่งที่เราหวีดร้องสุดเสียงก็คือว่า หนังเรื่องนี้พูดถึงการสังหารหมู่กษัตริย์และราชวงศ์อิรักในปี 1958 ด้วย เราไม่เคยรู้เรื่องนี้มาก่อนเลย คือเวลาที่เราพูดถึงความทรงจำเกี่ยวกับประวัติศาสตร์อิรัก เราก็มักจะนึกถึงเรื่อง “สงครามระหว่างอิรักกับอิหร่านในทศวรรษ 1980” เราไม่เคยรู้เรื่องราวอะไรของอิรักในช่วงก่อนที่จะเกิดสงครามนั้นเลย

 

พอดูหนังเรื่อง 1958 จบ เราก็เลยต้องไป google หาอ่านเรื่องการสังหารหมู่กษัตริย์และราชวงศ์อิรักในปี 1958 ด้วย มันรุนแรงมาก ๆ

 

“ในเวลา 8.00 น. หัวหน้ากองทหาร อับดุล ซัททาร์ ซะบาอะ อัล-อิโบซี ได้นำกองทัพปฏิวัติเข้าทำร้ายข้าราชสำนักในพระราชวัง มีคำสั่งกราบทูลพระบรมวงศานุวงศ์ได้แก่ พระเจ้าฟัยศ็อลมกุฎราชกุมารอับดัลอิละฮ์เจ้าหญิงฮิยาม (พระชายาในมกุฎราชกุมารและเป็นพระมาตุจฉาในกษัตริย์)สมเด็จพระราชินีนาฟิสซา บินต์ อัลอิละฮ์ (พระมารดาในสมเด็จพระราชชนนีอะลียะฮ์และมกุฎราชกุมารอับดัลอิละฮ์ และเป็นพระอัยยิกาในกษัตริย์)เจ้าหญิงคะดิยะห์ อับดิยะห์ (พระเชษฐภคินีในสมเด็จพระราชชนนีอะลียะฮ์และมกุฎราชกุมารอับดัลอิละฮ์ และเป็นพระมาตุจฉาในกษัตริย์) และข้าราชบริพารจำนวนหนึ่งให้เสด็จลงมายังลานสนามในพระราชวังพร้อมๆกัน จากนั้นมีคำสั่งให้ทุกพระองค์หันพระองค์เข้ากับกำแพง ที่ซึ่งทุกพระองค์ถูกกราดยิงด้วยปืนกลในทันที ร่างของทั้งห้าพระองค์ร่วงลงพื้นสนามพร้อมกับร่างของข้าราชบริพาร พระเจ้าฟัยศ็อลยังไม่สวรรคตในทันทีหลังการระดมยิงครั้งแรก ทรงถูกนำพระองค์ส่งโรงพยาบาลโดยผู้จงรักภักดีแต่ก็เสด็จสวรรคตระหว่างทาง สิริพระชนมายุ 23 พรรษา เจ้าหญิงฮิยามทรงรอดพระชนม์ชีพจากการปลงพระชนม์หมู่มาได้แต่ก็ทรงพระประชวรอย่างสาหัสจากการระดมยิงและทรงถูกผู้จงรักภักดีพาพระองค์เสด็จออกนอกประเทศ พระศพของมกุฎราชกุมารอับดัลอิละฮ์ถูกลากไปตามถนนและถูกตัดเป็นชิ้นๆ ข่าวการปลงพระชนม์หมู่เกี่ยวกับมกุฎราชกุมารอับดัลอิละฮ์ได้มีการรายงานว่า "ประชาชนนักปฏิวัติโยนพระศพของมกุฎราชกุมารอับดัลอิละฮ์ลงบนถนนดั่งเช่นสุนัขและฉีกพระศพออกเป็นชิ้นๆ จากนั้นพวกเขาก็ทำการเผาพระศพ" ถือเป็นจุดสิ้นสุดระบอบกษัตริย์แห่งราชอาณาจักรฮัชไมต์อิรักและเป็นโศกนาฏกรรมของระบอบกษัตริย์ 37 ปีในอิรัก”

 

ข้อมูลข้างต้นมาจาก wikipedia นะ ส่วนรูปประกอบคือรูปของกษัตริย์ Faisal II ซึ่งเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของอิรัก

 

หนังเรื่อง 1958 เปิดฉายให้ดูฟรีออนไลน์ในช่วงนี้นะ

https://www.festivalscope.com/film/1958/

++++

 

ขอแอบเกาะกระแสความสำเร็จที่ภาพยนตร์เรื่อง A USEFUL GHOST (2025, Ratchapoom Boonbunchachoke) ได้รับเลือกให้ฉายในสาย CRITICS’ WEEK ในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ปีนี้ ด้วยการแปะรายชื่อภาพยนตร์ที่กำกับโดยคุณ Ratchapoom ที่เราเคยดูมาแล้ว

 

PARTIAL FILMOGRAPHY OF RATCHAPOOM BOONBUNCHACHOKE

(เฉพาะหนังที่เราเคยดูนะ)

 

1.MA VIE INCOMPLETE ET INACHEVEEE (2007, Ratchapoom Boonbunchachoke)

ดูหนังเรื่องนี้ได้ที่

https://www.youtube.com/watch?v=-wA1RGj68QE

 

2. CHUTIMA (2007, Ratchapoom Boonbunchachoke)

 

3. UNPRONOUNCABLE IN THE LINGUISTIC IMPERIALISM OF YOURS (2008, Ratchapoom Boonbunchachoke)

 This film shows an interview with a female Thai artist. For the first half of this film, my friend and I believed it was a real documentary. We only came to realize that this film is a mockumentary when the artist starts talking about her masturbation show.

 

4. BODILY FLUID IS SO REVOLUTIONARY ของเหลวที่หลั่งจากกาย (2009, Ratchapoom Boonbunchachoke, queer film, 41min)

เราเคยเขียนถึงหนังเรื่องนี้ใน

 https://celinejulie.blogspot.com/2009/06/transcend-boundaries.html

 

5. MERMAID WEARING PANTS (2009, Ratchapoom Boonbunchachoke, 7min)

 

6. Dites Lui que je ne veux pas etre Sous-titre เสียงออกไม่ได้ในราชอาณาจักรทางภาษาของคุณ (2011, Ratchapoom Boonbunchachoke, 22min)

 

7. LA DOUBLE VIE DE MANIEJAN มะนีจันเปล่งเสียงไม่ได้ในทวิภูมิทางภาษาของคุณ (2013, Ratchapoom Boonbunchachoke, 30min)

https://celinejulie.blogspot.com/2013/07/la-double-vie-de-maniejan-2013.html

 

 8. MADAM ANNA, NIPPLES, MACARON, PONYANGKAM, AND BASIC EDUCATION (2014, Ratchapoom Boonbunchachoke, 41min, A+30)

แหม่มแอนนา หัวนม มาคารอง โพนยางคำ และการศึกษาขั้นพื้นฐาน

 https://web.facebook.com/photo/?fbid=10204962888775304&set=a.10204350827754161

 

9.Ma Vie Incomplete et Inachevee Vol. 1&2 (2007+2014) 9 min

 

10. INSURGENCY BY A TAPIR ความเศร้าของภูตผี (2016, Ratchapoom Boonbunchachoke, Wachara Kanha, Chulayarnnon Siriphol, Chaloemkiat Saeyong, 104min)

 https://web.facebook.com/photo/?fbid=10210779471306232&set=a.10210385200369705

 

11. RED ANINSRI; OR, TIPTOEING ON THE STILL TREMBLING BERLIN WALL อนินทรีย์แดง (2020, Ratchapoom Boonbunchachoke, 30min, A+30)

https://web.facebook.com/photo/?fbid=10224321113838832&set=a.10223742745819993

 

Edit เพิ่ม: 12. เกมโบกรถ THE HITCHHIKING GAME (2007, Ratchapoom Boonbunchachoke)

 

ไปเช็คข้อมูลแล้ว เราเคยดูหนังเรื่องนี้ในวันที่ 4 มิ.ย. 2011 แต่เราจำข้อมูลอะไรในหนังเรื่องนี้ไม่ได้แล้ว 55555

***********

เราเพิ่งพูดถึงหนังของคุณ Ratchapoom ในคลิป “ดูหนังกับมาเหม่ยจำบัง 5”

https://www.youtube.com/watch?v=eBc5xNkYbSM

 

เราเคยเขียนถึงหนังของคุณ Ratchapoom ในปี 2011 ไว้ที่นี่

https://celinejulie.blogspot.com/2011/06/ratchapoom-boonbunchachokes.html

 

เราเคยเขียนถึงหนังของคุณ Ratchapoom ในปี 2012 ไว้ที่นี่

http://www.experimentalconversations.com/article/part-2-of-mysterious-objects-from-thailand/

 

ขอเป็นกำลังใจให้ A USEFUL GHOST ประสบความสำเร็จมาก ๆ นะคะ

***************

Edit เพิ่ม: เผื่อคนเห็นรูปที่เราแปะไว้แล้วงง เราก็เลยจะอธิบายว่า หากเรียงรูปจากซ้ายไปขวา จากแถวบนลงล่าง รูปจะเรียงดังนี้

 

1.รูปโปสเตอร์งานฉายหนัง retrospective ของคุณ Ratchapoom ในวันที่ 4 มิ.ย. 2011

 

2. รูปจากหนังเรื่อง MA VIE INCOMPLETE ET INACHEVEEE

 

3. รูปจากหนังเรื่อง BODILY FLUID IS SO REVOLUTIONARY 

 

4. รูปจากหนังเรื่อง BODILY FLUID IS SO REVOLUTIONARY 

 

5. รูปจาก A USEFUL GHOST

 

6. รูปจากหนังเรื่อง BODILY FLUID IS SO REVOLUTIONARY 

 

7. รูปจาก LA DOUBLE VIE DE MANIEJAN 

 

8. รูปจาก INSURGENCY BY A TAPIR 

 

9. รูปจาก RED ANINSRI; OR, TIPTOEING ON THE STILL TREMBLING BERLIN WALL 

+++++++

ชอบหนังเรื่อง YOU HIDE ME มาก ๆ เหมือนมันเป็น prequel ของ DAHOMEY (2024, Mati Diop, documentary, France/Senegal/Benin)

Sunday, April 13, 2025

MOST FAVORITE FILMS ABOUT EARTHQUAKES

 

SNOW WHITE เวอร์ชั่นแรกที่เราเคยดูในชีวิตก็คืออันนี้ เราน่าจะได้ดูโฆษณานี้ทางโทรทัศน์ในราว ๆ ปี 1977

 

ขอยกให้ “กระจกวิเศษ” (แป้งน้ำ ควินนา) (สรรพสิริ วิริยะสิริ, animation, A+30) เป็น one of my most favorite Thai animations of all time

 

แต่อยากรู้ปีที่แน่นอนของ animation นี้ เพราะคนแปะคลิปนี้ในยูทูบมันบอกว่าปี 1957 แต่เราได้ดู animation นี้ตอนเราเด็กๆ ราว ๆ ปี 1977 เราก็เลยคิดว่าคนแปะคลิปนี้ในยูทูบน่าจะลงปีผิด

 

Comment บอกว่า คนพากย์คือคุณอำรุง เกาไศยนันท์ กับคุณมาลี ผกาพันธ์

 

สรุปว่า ชอบ animation โฆษณานี้อย่างรุนแรงมาก ๆ เพราะ

 

1. มันเป็น animation ยุคโบราณของไทย ซึ่งถือเป็น rare item อย่างหนึ่ง 55555

 

2. ชอบ script โฆษณามาก ๆ ที่มีการใช้คำคล้องจองกัน

 

3. ชอบเสียงพากย์มาก ๆ ด้วย

 

ขอยกให้งานภาพเคลื่อนไหวนี้ ถือเป็น classic Thai animation และ classic Thai advertisement ด้วย

 

https://www.youtube.com/watch?v=Wsvid1c03wg

+++++++

 

BAD TASTE (2024, Pattanapong Khongsak, 6min, A+25)

 

ตอนช่วงแรก ๆ ของหนัง เราจะรู้สึกงง ๆ เพราะว่าเราเป็นคนที่ชอบสีน้ำเงินและสีม่วงอย่างรุนแรง เรามองว่าสองสีนี้สวยดี และเราก็ชอบกิน blueberry อย่างรุนแรงด้วย เราชอบกินอะไรทุกอย่างที่เป็นรส blueberry เพราะฉะนั้นช่วงแรก ๆ ของหนังเราก็จะงง ๆ ว่า ทำไมหนังเรื่องนี้ทำท่าทางรังเกียจอาหารสองสีนี้

 

พอตอนจบหนังขึ้น text บางอย่าง เราก็เลยเพิ่งเข้าใจหนังเรื่องนี้ในตอนจบ

++++

 

พออ่านข่าวเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่าง Samsung กับบริษัทผู้ผลิตสินค้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เราก็เลยนึกถึงหนังเรื่อง NOTES FROM GOG MAGOG (2023, Riar Rizaldi, Indonesia, A+30) ที่เพิ่งเข้ามาฉายในกรุงเทพในปีที่แล้ว และพอข่าวนี้พูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างเกาหลีใต้กับเวียดนาม เราก็เลยนึกถึงหนังเรื่อง THE ROUNDUP (2022, Lee Sang-yong, South Korea, A+30) ด้วย

+++

 

พอดูหนังเรื่อง “เดอะ สโตน พระแท้ คนเก๊” เราก็เลยนึกขึ้นมาได้ว่า ตอนเด็ก ๆ เราเคยได้ยินคนพูดถึง “พระนางพญา” บ่อย ๆ พอ google ดูเราถึงเพิ่งรู้ว่า “พระนางพญา” สร้างโดยพระวิสุทธิกษัตริย์ ซึ่งเป็นแม่ของสมเด็จพระนเรศวร สร้างตั้งแต่ราวค.ศ. 1548 หรือก่อน “เชคสเปียร์” เกิดเสียอีก (เชคสเปียร์เกิดปี 1564) ปัจจุบันนี้พระนางพญาน่าจะมีอายุราว 477 ปีแล้ว

 

 

https://kinyupen.co/2020/01/06/%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B2-%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3/

++++++++++

 

เปรียบเทียบ “พระเครื่องปลอม” กับ “ความรัก”

 

พอเราได้ดู THE STONE เดอะ สโตน พระแท้ คนเก๊ (2025, Arak Amornsupasiri, Vuthipong Sukhanindr, A+30) เราก็รู้สึกดีใจอย่างสุดขีด สาเหตุหนึ่งเป็นเพราะว่าเราชอบหนังเรื่องนี้มาก ๆ และอีกสาเหตุหนึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับความดีงามของหนังเรื่องนี้โดยตรง แต่เป็นเพราะว่า หนังเรื่องนี้แสดงให้เห็นว่า “การทำหนังเกี่ยวกับวงการพระเครื่องปลอม” เป็นสิ่งที่ทำได้แล้วในไทยในยุคปัจจุบัน หนังเกี่ยวกับประเด็นนี้ไม่โดนเซ็นเซอร์อีกต่อไปแล้ว

 

คือเราก็ไม่รู้ว่า ถ้าหากมีคนทำหนังประเด็นเดียวกันนี้ในอดีต มันจะโดนเซ็นเซอร์หรือเปล่านะ แต่อย่างน้อยการที่มีหนังเรื่องนี้ออกมาในปีนี้ มันก็แสดงให้เห็นว่า ประเด็นนี้ไม่ได้เป็น taboo ของหนังไทยอีกต่อไป

 

ดูอย่างการทำขนมอาลัวพระเครื่องเมื่อปี 2021 ก็ยังเจอปัญหาเลย

https://www.prachachat.net/general/news-657747

 

ที่เราอยากให้ประเด็นนี้ไม่เป็น taboo ของหนังไทย เพราะเราอยากให้มีคนนำนวนิยายเรื่อง “สมมุติว่า เขารักฉัน” (1976, กฤษณา อโศกสิน) มาดัดแปลงสร้างเป็นภาพยนตร์น่ะ

 

“สมมุติว่า เขารักฉัน” ถือเป็นหนึ่งในนวนิยายที่เราชื่นชอบมากที่สุดในชีวิต เราอ่านนิยายเรื่องนี้ตอนที่เราเรียนชั้นมัธยม เมื่อราว 35-40 ปีก่อน อ่านแล้วก็ตายไปเลย กราบตีนอย่างถึงที่สุด และเราก็อยากให้มีคนนำนิยายเรื่องนี้มาดัดแปลงสร้างเป็นภาพยนตร์หรือ series มาก ๆ แต่ก็ไม่มีคนนำมาดัดแปลงสร้างสักที ในขณะที่นิยายอย่าง “เมียหลวง” ของกฤษณา อโศกสิน ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์, ละครโทรทัศน์ และละครเวทีไปแล้วจนนับครั้งไม่ถ้วน

 

ซึ่งเราก็เดาเอาเองว่า สาเหตุที่ “สมมุติว่า เขารักฉัน” ไม่ถูกนำมาดัดแปลงสร้างเป็นภาพยนตร์หรือละคร อาจจะเป็นเพราะว่า นิยายเรื่องนี้ พูดถึง “อุตสาหกรรมการปลอมแปลงพระเครื่อง” และมีฉากที่รุนแรงมาก ๆ เกี่ยวกับพระพุทธรูปอยู่ในนิยายเรื่องนี้ เป็นฉากในความฝันของนางเอก (ถ้าจำไม่ผิด)

 

คือเราอ่านนิยายเรื่องนี้เมื่อ 35-40 ปีก่อนนะ เราก็เลยอาจจะจำเนื้อหาผิดพลาดไปบ้าง แต่ถ้าหากเราจำไม่ผิด นิยายเรื่องนี้ พูดถึง ปูมแก้ว หญิงสาวที่ถูกเลี้ยงมาโดยคุณตาที่ทำอาชีพปลอมแปลงพระเครื่อง ในตัวนิยายมีการพูดถึงวิธีการต่าง ๆ ในการปลอมแปลงพระเครื่อง อย่างเช่น พอคุณตาหล่อพระเครื่องเสร็จ ก็จะเอาพระเครื่องไปแช่ในรางน้ำ เพื่อให้พระเครื่องดูมีคราบเก่า ๆ ดูเป็นของโบราณ อะไรทำนองนี้

 

แล้วถ้าหากเราเข้าใจไม่ผิด นิยายเรื่องนี้อาจจะต้องการเปรียบเทียบ “คุณค่าของพระเครื่องปลอม” กับ “ความรัก” น่ะ (แต่เราอาจจะเข้าใจผิดไปเองก็ได้นะ หรืออาจจะคิดเกินเลยจากนิยายมากเกินไปเอง 55555)  คือพระเครื่องปลอม มันอาจจะเป็นสิ่งที่มีอยู่จริง ในฐานะ “ก้อนดิน” ก้อนหนึ่ง แต่มันอาจจะไม่ได้มีคุณค่าในตัวมันเองจริง ๆ แต่มันมี “ราคา” ขึ้นมาได้ เพราะคนต่าง ๆ ไปให้ค่ากับมันเอง ราคาของมัน จึงเกิดจาก “สิ่งสมมุติ” เกิดจาก “ทัศนคติของคนที่มีต่อมัน” เกิดจาก “ความเชื่อของคนที่มีต่อมัน” เกิดจาก “ความศรัทธาของคนที่มีต่อมัน” พระเครื่องปลอมนั้นไม่ได้มีอิทธิฤทธิ์กันกระสุนได้จริง ๆ ราคาของมันล้วนเกิดจาก “สิ่งสมมุติ” เกิดจาก “การที่คนต่าง ๆ ไปเชื่อถือศรัทธา ไปให้ค่า” กับมันเอง

 

คล้าย ๆ กับ “ความรัก” เพราะคุณค่าที่คนต่าง ๆ ไปมอบให้กับ “ความรัก” มันก็เป็นสิ่งสมมุติอย่างหนึ่งหรือเปล่า มันขึ้นอยู่กับคนแต่ละคนเองว่าจะให้ค่ากับความรักนั้น ๆ มากน้อยแค่ไหน ความรักนั้น ๆ ไม่ได้มีคุณค่าหรือราคาที่เสถียรตายตัวในตัวมันเอง แต่ขึ้นอยู่กับว่าคนแต่ละคนไปให้ค่ากับความรักนั้น ๆ มากน้อยเพียงใด

 

ตัวละครปูมแก้วในนิยายเรื่องนี้ หลงรักชายหนุ่มคนหนึ่งอย่างหัวปักหัวปำ และเราเดาเอาเองว่า ความรักของเธอในนิยายเรื่องนี้ ในแง่หนึ่งก็คล้าย ๆ กับ “พระเครื่องปลอม” เพราะว่าปูมแก้วหลงคิดไปเองว่า ชายหนุ่มคนนั้นรักเธอ ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ แล้ว ผู้ชายคนนั้นอาจจะไม่ได้รักเธอจริง “ความรักที่เขามีให้เธอ” ไม่ใช่ของจริง มันเป็น “พระเครื่องปลอม” มันเป็น “สิ่งสมมุติ”

 

และถึงแม้ว่าความรักที่ปูมแก้วมีให้กับชายหนุ่มคนนั้น อาจจะเป็น “ของจริง” แต่คุณค่าของความรักนั้นก็เป็นสิ่งสมมุติในรูปแบบหนึ่งเช่นกัน เพราะความรักที่เขามีให้กับเธอนั้น แท้จริงแล้ว มันไม่ใช่ “สิ่งจำเป็นต่อชีวิต” หรือ “สิ่งที่ล้ำค่าที่สุดในชีวิต”  เพราะถึงแม้ผู้ชายคนนั้นไม่ได้รักเธอ เธอก็ยังคงมีชีวิตอยู่ได้ หาเลี้ยงชีพได้ หาความสุขในแบบของตัวเองได้ “ความรักที่ชายหนุ่มคนนั้นมีให้กับเธอ” มันไม่ใช่ “สิ่งจำเป็นสำหรับชีวิต” ที่พอขาดไปแล้วร่างกายของเธอจะต้องตาย เหมือนขาดอาหาร, น้ำ, อากาศ, ออกซิเจน อะไรทำนองนี้ ถึงแม้ว่าเขาไม่รักเธอ เธอก็ไม่ตาย และเธอก็สามารถมีชีวิตที่ดีและมีความสุขได้ในแบบของตัวเอง โดยที่ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาความรักจากเขาด้วย “ความรักระหว่างเขาและเธอ” แท้จริงแล้ว มันเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อชีวิตหรือมีคุณค่าต่อชีวิตมากน้อยเพียงใดกันแน่ หรือคุณค่าของมันที่จริงแล้ว ก็เป็นเพียง “สิ่งสมมุติ” อย่างหนึ่งที่เราอาจจะเคยหลงตีราคามันจนสูงเกินจริงไปลิบลิ่วในอดีตในช่วงที่เราตกหลุมรักเขา

 

เราก็เลยรู้สึกว่า นิยายเรื่องนี้พูดถึง “พระเครื่องปลอม”, “ความรัก” และ “สิ่งสมมุติ” ได้อย่างน่าสนใจมาก ๆ แต่เราอาจจะตีความนิยายเรื่องนี้ผิด หรือเราอาจจะคิดฟุ้งซ่านมากเกินไปเองตอนที่อ่านนิยายเรื่องนี้ก็ได้นะ 55555 เพราะเราอ่านนิยายเรื่องนี้เมื่อราวปี 1988 หรือเมื่อ 37 ปีก่อน นิยายเรื่องนี้อาจจะไม่ได้ต้องการพูดถึงประเด็นข้างต้นก็ได้ แต่นิยายเรื่องนี้กระตุ้นให้เราคิดถึงประเด็นเหล่านี้โดยที่ตัวนิยายเองอาจจะไม่ได้ตั้งใจ

 

และเราก็เลยรู้สึกว่า ถ้าหากปีนี้มีการสร้างหนังอย่าง “เดอะ สโตน พระแท้ คนเก๊” ออกมาได้ นิยายเรื่อง “สมมุติว่า เขารักฉัน” ก็น่าจะถูกสร้างเป็นภาพยนตร์ได้โดยไม่โดนเซ็นเซอร์ด้วยเช่นกัน

 

และเราคิดว่า อีกปัญหาหนึ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในการดัดแปลงสร้างนิยายเรื่องนี้เป็นภาพยนตร์ อาจจะเป็นเพราะ “ฉาก climax” ฉากหนึ่งในนิยายเรื่องนี้ ซึ่งเป็นฉากความฝันที่รุนแรงมาก ๆ ของนางเอก เป็นฉากที่มีพระพุทธรูปอยู่ในความฝันนั้นด้วย (แต่ไม่รู้ว่าเราจำผิดหรือเปล่านะ)

 

เราจำได้ว่า เซ็นเซอร์ไทยและกบว.ไทยในยุคนั้น sensitive มาก ๆ เกี่ยวกับฉากพระพุทธรูป อย่างเช่นตอนที่ “โปเยโปโลเย ภาคสอง” (1990, Ching Siu-tung) มาฉายทางโทรทัศน์ เราจำได้ว่ามันมีฉากบางฉากถูกตัดออกไป ซึ่งน่าจะเป็นฉากที่ปีศาจจำแลงกายมาในรูปแบบคล้าย ๆ พระพุทธรูป ถ้าหากเราจำไม่ผิด เราก็เลยคิดว่า ในยุคนั้น การนำนิยายเรื่อง “สมมุติว่า เขารักฉัน” มาดัดแปลงสร้างเป็นภาพยนตร์ น่าจะทำไม่ได้ แต่เราคิดว่ายุคนี้น่าจะทำได้แล้ว

 

ความคิดเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับนิยายเรื่อง “สมมุติว่า เขารักฉัน”

 

1. นอกจากการพูดถึง “คุณค่าอันเป็นสิ่งสมมุติ” ของ “พระเครื่องปลอม” และ “ความรัก” แล้ว นิยายเรื่องนี้ยังพูดถึง “คุณค่าอันเป็นสิ่งสมมุติ” ของสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตคนด้วย พวก “ลาภ” “ยศ” “สรรเสริญ” อะไรทำนองนี้ เหมือนนิยายเรื่องนี้บอกว่า “ทัศนคติที่คนอื่น ๆ มองเรา” เป็น “สิ่งสมมุติ” อย่างหนึ่ง มันไม่ใช่สิ่งที่สำคัญจริง ๆ สิ่งที่สำคัญจริง ๆ คือ “ความนับถือตัวเอง” ต่างหาก

 

2. ฉาก climax ในนิยายเรื่องนี้มีหลายฉาก นอกจากฉาก “ความฝันอันรุนแรงมาก ๆ ของนางเอก” แล้ว ก็มีฉาก “นางเอกสติขาดผึง อาละวาดตบคนอย่างรุนแรง” ด้วย

 

คือนางเอกทำงานเป็นประชาสัมพันธ์โรงแรมมั้ง ถ้าเราจำไม่ผิดนะ แล้วเป็นงานที่เครียดมาก ต้องคอยรับแรงกดดันจากคนต่าง ๆ แล้วพอถึงกลางเรื่อง นางเอกก็ทนไม่ไหวอีกต่อไป ลุกขึ้นมาจิกหัวตบคนต่าง ๆ ในที่ทำงานอย่างรุนแรง

 

คือเราอ่านแล้วอินมากกับฉากนี้ และคิดว่า “สาวออฟฟิศ” หลายคน อาจจะอินมาก ๆ กับฉากนี้เหมือนอย่างเราก็ได้ แบบว่า “กูอยากจะลุกขึ้นจิกหัวตบอีนี่กลางออฟฟิศให้มันหนำใจ” สักหน่อยเถอะ แต่กูทำไม่ได้ในชีวิตจริง แต่นางเอกนิยายเรื่องนี้ทำได้ 55555

 

3. คือเราชอบตัวละคร ปูมแก้ว อย่างรุนแรงที่สุดในชีวิต และเราก็ชอบตัวละครประกอบในนิยายเรื่องนี้อย่างรุนแรงที่สุดในชีวิตด้วย มันคือตัวละคร “เด็กสาว” คนหนึ่งที่เป็นเพื่อนนางเอกในโรงพยาบาลบ้า เป็นตัวละครที่นึกว่าสามารถเข้าไปเดินเฉิดฉายในหนังของ Claude Chabrol และ Jessica Hausner ได้อย่างสบายบรื๋อ สะดือโบ๋

 

คือในช่วงครึ่งหลังของนิยายเรื่องนี้ นางเอกได้เข้าไปรักษาตัวในโรงพยาบาลบ้า และได้พบกับ “คุณหมอสาว” ท่านหนึ่ง ที่นิสัยดีมาก และนางเอกก็ได้เพื่อนใหม่ในโรงพยาบาลบ้า เป็น “เด็กสาว” คนหนึ่งที่เข้ามารักษาตัวเช่นกัน

 

แล้ว “เด็กสาว” คนนี้ก็พยายามพูดยุยง พยายามทำอะไรต่าง ๆ ให้นางเอก “เป็นบ้า” ต่อไป หรือเป็นบ้ามากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ เพราะถ้าหากนางเอกยังคงเป็นบ้าต่อไป คุณหมอก็จะรักษานางเอกไม่หาย และเด็กสาวคนนี้ก็ให้เหตุผลว่า “ชีวิตของคุณหมอท่านนี้พบเจอแต่ความสุขมากเกินไป เพราะฉะนั้นถ้าหากนางเอกยังคงเป็นบ้าต่อไป คุณหมอคนนี้ก็จะได้ลิ้มรสด้วยตัวเองเสียทีว่า ความผิดหวังในชีวิตมันเป็นยังไง”

 

คือเหมือนเด็กสาวคนนี้ไม่ได้ประสงค์ร้ายต่อนางเอกโดยตรง แต่เด็กสาวคนนี้ “มีความทุกข์” เมื่อเห็นคุณหมอสาว “มีความสุข” เด็กสาวคนนี้ก็เลยพยายามใช้นางเอกเป็นเครื่องมือ ในการทำให้คุณหมอสาวคนนี้ พบกับความทุกข์ในชีวิตเสียบ้าง

 

เราก็เลยรู้สึกว่า ตัวละคร “เด็กสาว” ในนิยายเรื่อง “สมมุติว่า เขารักฉัน” นี่เป็นหนึ่งในตัวละครประกอบที่รุนแรงที่สุดในชีวิตคนหนึ่งเลย

 

ถ้าหากเราจำอะไรในนิยายเรื่องนี้ผิดไป ก็ comment มาได้นะคะ เพราะเราก็อ่านนิยายเรื่องนี้มานาน 37 ปีแล้ว 55555

++++

 

Favorite Soundtrack: FEELS SO GOOD – Perri

 

From the film DO THE RIGHT THING (1989, Spike Lee, A+30)

 

ไพเราะเพราะพริ้งๆ พอ ๆ กับเพลงของ Anita Baker เลย

https://www.youtube.com/watch?v=Duf9uHSWZ3k

+++++

Film Wish List: WHO KILLED OUR CHILDREN? (2008, Pan Jianlin, China, documentary)

 

หนังสารคดีเกี่ยวกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวในมณฑลเสฉวนของจีนในปี 2008 ซึ่งเป็นแผ่นดินไหวที่มีความรุนแรงระดับ 8.0 และส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต  69,000 คน

 

หนังสารคดีเรื่องนี้นำเสนอความไม่ชอบมาพากลของรัฐบาลจีนเกี่ยวกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวในครั้งนั้น โดย letterboxd บรรยายถึงหนังเรื่องนี้ไว้ว่า

 

The Muyu Middle School in Muyu, Qingchuan County, Sichuan, collapsed in the 512 Wenchuan earthquake, killing 286 students according to official statistics; but the actual death toll is not just that. The director Pan Jianlin, who has been in the area since the sixth day after the earthquake, uses interviews to contrast the different perspectives and statements of the students who escaped the disaster, the teachers who are afraid of taking responsibility, the parents who are desperate, the government officials who are hiding the facts to maintain the government’s image, and the rescue workers who are on the run, creating a ridiculous tragedy that is like a Rashomon.

 

เราเคยดูหนังเรื่อง FEAST OF VILLAINS (2008) ที่กำกับโดย Pan Jianlin เหมือนกัน และเราชอบหนังเรื่องนั้นอย่างสุดขีดมาก ๆ FEAST OF VILLAINS ติดอันดับ 15 ในลิสท์หนังที่เราชื่นชอบที่สุดที่ได้ดูในปี 2008

++++++++++

 

MOST FAVORITE FILMS ABOUT EARTHQUAKES

 

มีเพื่อนคนนึงอยากให้เราทำลิสท์หนังภัยพิบัติในดวงใจ แต่เราคิดว่า “หนังภัยพิบัติ” มันกว้างเกินไป เราทำลิสท์ไม่ไหว เราก็เลยทำลิสท์เฉพาะหนังแผ่นดินไหวในดวงใจของเราก็แล้วกัน ซึ่งรายชื่อหนังในลิสท์นี้ก็ครอบคลุมถึงหนังเกี่ยวกับสึนามิที่เกิดจากแผ่นดินไหว, หนังเกี่ยวกับ trauma ที่ยังคงหลอกหลอนในใจคนเป็นเวลานานหลายปีหลังจากแผ่นดินไหว และหนังเกี่ยวกับเหตุการณ์ “แผ่นดินไหวเพียงเบา ๆ” ที่ยังไม่ถึงขั้นก่อให้เกิดภัยพิบัติด้วย

 

เรียงตามลำดับปีที่ออกฉาย

 

1.THE GREAT LOS ANGELES EARTHQUAKE (1990, Larry Elikann, 180min)

มินิซีรีส์ที่เคยมาฉายทางช่อง 7

 

2.AND LIFE GOES ON (1992, Abbas Kiarostami, Iran)

 

หนังที่ได้รับแรงบันดาลใจจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในปี 1990 ในอิหร่าน ซึ่งมีความรุนแรงระดับ 7.4 และส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 50,000 คน

 

3.TIMECODE (2000, Mike Figgis)

เหตุการณ์แผ่นดินไหวในหนังเรื่องนี้เป็นเพียงแค่เหตุการณ์เบา ๆ

 

4.AFTERSHOCKS: THE ROUGH GUIDE TO DEMOCRACY (2002, Rakesh Sharma, India, documentary)

 

หนึ่งในหนังที่ทำให้เราร้องห่มร้องไห้หนักที่สุดในชีวิต หนังสารคดีเรื่องนี้พูดถึงเหตุการณ์แผ่นดินไหวในเดือนม.ค.ปี 2001 ในรัฐ Gujarat ของอินเดีย โดยแผ่นดินไหวครั้งนี้มีความรุนแรงระดับ 7.6 และส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต  20,023 คน

 

แต่สิ่งที่หนักที่สุดไม่ใช่ “ภัยธรรมชาติ” แต่คือ “ความชั่วร้ายของมนุษย์” เพราะหลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหวครั้งนั้น บริษัทของรัฐบาลรัฐ Gujarat ก็ฉวยโอกาสทำร้ายชาวบ้าน พยายามขับไล่ชาวบ้านออกจากที่อยู่ที่ทำกินเดิม เพื่อที่ทางบริษัท/รัฐบาล จะได้เข้ามาครอบครองที่ดินของชาวบ้านเหล่านี้ เพื่อทำเหมืองแร่ลิกไนต์

 

หนังเรื่อง AFTERSHOCKS: THE ROUGH GUIDE TO DEMOCRACY นี้ เหมาะฉายควบกับหนังสารคดีของไทยเรื่อง WAVES OF SOULS (2005, Pipope Panitchpakdi) ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการที่นายทุนพยายามหาทางไล่ที่ชาวมอแกน หลังจากเกิดเหตุสึนามิในไทยในช่วงปลายปี 2004 (ถ้าหากเราจำเนื้อหาของหนังเรื่องนี้ไม่ผิดนะ)

 

5.NOI ALBINOI (2003, Dagur Kári, Iceland)

 

6.BE QUIET, EXAM IS IN PROGRESS! (2006, Ife Ifansyah, Indonesia)

 

หนังเกี่ยวกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวในยอกยาการ์ตาในอินโดนีเซียในวันที่ 27 พ.ค. 2006 ซึ่งส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 6000 ราย และมีความรุนแรงระดับ 6.4 เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในเวลา 14 วันก่อนการแข่งขันฟุตบอลโลก

 

7.SINKING OF JAPAN (2006, Shinji Higuchi, Japan)

 

8.สิ่งที่เคลื่อนไหว (STILL ALIVE) (2006, สุวรรณ ห่วงศิริสกุล, documentary, 90min)

 

สารคดีเกี่ยวผลกระทบจากสึนามิ ที่มีต่อตัวผู้กำกับและชาวบ้านอีกหลาย ๆ คน โดยตัวผู้กำกับเป็นเจ้าของร้านขายเสื้อผ้าที่ภูเก็ต แล้วร้านของเขาก็พังพินาศเพราะสึนามิในช่วงปลายปี 2004

 

เหตุการณ์แผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดียในครั้งนั้นมีความรุนแรงระดับ 9.3 และส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตราว 227,898 คน

 

9.GIBELLINA – THE EARTHQUAKE (2007, Joerg Burger, Austria/Italy, documentary)

 

หนังสารคดีเกี่ยวกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวในเกาะซิซิลีของอิตาลีในปี 1968 ซี่งมีความรุนแรงระดับ 5.0 และส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 400 คน โดยหนังสารคดีเรื่องนี้โฟกัสไปที่ “ความพยายามในการใช้พลังของศิลปะ” ในการฟื้นฟูเมืองที่ได้รับความเสียหายจากแผ่นดินไหว และหนังสารคดีเรื่องนี้ก็แสดงให้เห็นว่า “พลังของศิลปะ” ในบางครั้งก็ไม่สามารถเยียวยาจิตใจหรือฟื้นคืนเมืองที่ถูกทำลายจากแผ่นดินไหวได้แต่อย่างใด เศร้ามาก ๆ

 

10.POOL (2007, Chris Chong Chan Fui, Canada)

 

หนังเกี่ยวกับเด็ก ๆ ในอาเจะห์ในอินโดนีเซีย ที่เผชิญ trauma หลังจากเกิดเหตุสึนามิในมหาสมุทรอินเดียในช่วงปลายปี 2004

 

11.WONDERFUL TOWN (2007, Aditya Assarat)

 

12.AFTERSHOCK (2010, Feng Xiaogang, China)

 

หนังเกี่ยวกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวในมณฑลเหอเป่ยของจีนในปี 1976 ซึ่งมีความรุนแรงระดับ 7.6 และส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 300,000 คน

 

13.THREE WEEKS LATER (2010, José Luis Torres Leiva, Chile, documentary, 60min)

หนังสารคดีเกี่ยวกับแผ่นดินไหวในชิลีในวันที่ 27 ก.พ. 2010 ซึ่งมีความรุนแรงระดับ 8.8 และส่งผลให้มีประชาชนเสียชีวิต 525 คน

 

14.HIMIZU (2011, Sion Sono, Japan)

หนังเกี่ยวกับตัวละครที่รอดชีวิตจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในปี 2011 ในญี่ปุ่น ซึ่งมีความรุนแรงระดับ 9.1 และส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 19,759 คน

 

15. A STRANGE CATHEDRAL IN THE THICK OF DARKNESS (2011, Charles Najman, Haiti, documentary, A+30)

 

หนังสารคดีเกี่ยวกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวในไฮติในปี 2010 ซึ่งมีความรุนแรงระดับ 7.0 และส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 316,000 คน

 

นอกจากหนังสารคดีเรื่องนี้แล้ว เหตุการณ์แผ่นดินไหวในไฮติ ก็ถูกนำเสนอในหนังเรื่อง THE EXORCIST: BELIEVER (2023, David Gordon Green) ด้วย

 

16.THE IMPOSSIBLE (2012, J.A. Bayona, Spain/Thailand)

 

17.STORYTELLERS (2013, Ryusuke Hamaguchi, Ko Sakai, documentary)

 

18.GREETINGS FROM FUKUSHIMA (2016, Doris Dörrie, Germany)

 

19.DOUBLE LAYERED TOWN/MAKING A SONG TO REPLACE OUR POSITIONS (2019, Haruka Komori, Natsumi Seo, Japan)  

 

20.VOICES IN THE WIND (2020, Nobuhiro Suwa, Japan)

 

21.YARN (2020, Takahisa Zeze, Japan, 130min)

 

22.THE HOUSE OF THE LOST ON THE CAPE (MISAKI NO MAYOIGA) (2021, Shinya Kawatsura, animation)

 

23.IN THE WAKE (2021, Takahisa Zeze, A+30)

 

24.CONCRETE UTOPIA (2023, Eom Tae-hwa, South Korea)

 

25.KYRIE (2023, Shunji Iwai, Japan, 178min)

 

26.HAPPYEND (2024, Neo Sora, Japan)

แผ่นดินไหวในหนังเรื่องนี้เป็นแค่ระดับเบา ๆ

 

นอกจากหนังเกี่ยวกับแผ่นดินไหวแล้ว ถ้าหากพูดถึงหนังเกี่ยวกับ “ภัยพิบัติ” ที่เป็น “ภัยธรรมชาติ” โดยรวม ๆ เราก็ชอบหนังต่อไปนี้ด้วย

 

1.CONDOMINIUM (1980, Sidney Hayers, 4hours)

มินิซีรีส์ที่เคยมาฉายทางช่อง 3 เกี่ยวกับคอนโดมิเนียมที่ถูกพายุเฮอริเคนพัดถล่มในรัฐฟลอริดา

 

2.CITY OF JOY (1992, Roland Joffé)

หนังมีฉากน้ำท่วมในอินเดีย

 

3.LAST NIGHT (1998, Don McKellar, Canada)

 

4.ตะลุมพุก มหาวาตภัยล้างแผ่นดิน” (2002, ปิติ จตุรภัทร์)

 

5.CHILDREN OF MUD (2009, Daniel Rifki, Indonesia, ภูเขาไฟระเบิด)

 

6.HAEUNDAE (2009, JK Youn, South Korea)

 

7.2022 สึนามิ วันโลกสังหาร (2009, Toranong Srichua)

 

8.MELANCHOLIA (2011, Lars von Trier, Denmark)

 

9.FORCE MAJEURE (2014, Ruben Östlund, Sweden)

 

10.POMPEII (2014, Paul W.S. Anderson)

 

11.STORM CHILDREN: BOOK ONE (2014, Lav Diaz, Philippines, documentary)

 

12.TRAP (2015, Brillante Mendoza, Phillippines)

 

13.THE WAVE (2015, Roar Uthaug, Norway)

 

14.YOUR NAME (2016, Makoto Shinkai, animation)

 

15.ASHFALL (2019, Kim Byung-seo, Lee Hae-jun, South Korea, A+30)

 

16.THE BURNING SEA (2021, John Andreas Andersen, Norway)

 

17.SINKHOLE (2021, Kim Ji-hoon, South Korea)

 

18.SURVIVE (2024, Frédéric Jardin, France)

 

++++++++

 

เรื่องนี้จะแล้วมั้ย!? ตอน เมื่อพ่อของเพื่อนสนิทและผมทำสิ่งนี้ด้วยกัน (2024, G Label, documentary, A+30)

 

อะไรคือการที่ยูทูบแนะนำให้เราดูสิ่งนี้ในวันสงกรานต์คะ 55555 ยูทูบนี่รู้ใจดิฉันดีจริง ๆ

 

เราไม่เคยดูยูทูบช่องนี้มาก่อน แต่พอได้ดูตอนนี้แล้วก็ชอบมาก ๆ ผู้ชายคนนี้เล่าถึงประสบการณ์ของตัวเองในช่วงเทศกาลสงกรานต์ตอนม.2 ตอนนั้นเขาไปนอนบ้านญาติ และได้นอนข้าง ๆ พ่อของเพื่อน เขาพบว่าพ่อของเพื่อนรูปร่างดีมาก เขาก็เลยอดใจไม่ไหว เขาพยายามลูบ ๆ คลำ ๆ ร่างกายและอวัยวะต่างๆ ของพ่อของเพื่อนขณะที่พ่อของเพื่อนหลับอยู่ และหลังจากนั้น....

 

ชอบ comments ของเกย์อีกหลายคน ที่มาช่วยแชร์ประสบการณ์ทำนองเดียวกันมาก ๆ  ทั้งเรื่องของ

 

1. “ช่วงนั้นพ่อผมไปบวชเป็นพระอยู่ที่วัดป่าบนภูเขาที่ต่างจังหวัด เพื่อนพ่อเลยมาชวนที่บ้านผมขึ้นไปเยี่ยมพ่อผมที่วัด”

 

2. “เวลาอานอนก็จะใส่ชุดสบายๆ ถอดเสื้อ ใส่กางเกงบอล ไม่ใส่กางเกงใน”

 

3. “อาเขยเป็นคนหล่อมากและรูปร่างดีมากๆ สูง 175-178

 

4. “ส่วนตัวผมก็เคยกับพ่อเพื่อนที่ไม่สนิทเหมือนกัน แกชื่อน้าชม แกเป็นพ่อเลี้ยงเดียว ไม่มีเมีย มีแต่ลูกชายหนึ่งคน”

 

5. “ตอนนั้นเมื่อ 7 ปีที่แล้วผมอายุ 18 ลุงทศเขาอายุ 50 ปีพอดี”

 

คือ CALL ME BY YOUR NAME (2017, Luca Guadagnino) ตายห่าไปเลยของจริง 55555

https://www.youtube.com/watch?v=0Dj3tDWVPOA