Sunday, May 31, 2020

THE EXPANDABLE UNIVERSE BASED ON SCIENTIFIC FACTS (2020, Smitti Phaobunjong, Pasit Apichokworapong, animation, A+30)


MY MEMORY เก็บไว้ในความทรงจำ (2020, Chanat Koonsri, short film, A+)

หนังโรแมนติกที่ไม่มีอะไรใหม่ แต่พระเอกนางเอกน่ารักดี

LUA ลั้ว (2020, Benjathat Vijitpaiboonsuk, Charthit Srivirithan, documentary, A+)

สารคดีเกี่ยวกับชาวลั้ว เสียดายที่มันสั้นไปหน่อย

NO MUSIC NO LIFE KNOW MUSIC KNOW LIFE (2020, Joshuachidchanok Padlas, documentary, A+)

สารคดีสัมภาษณ์คน 4 คนในวงการดนตรี แต่ประเด็นในหนังไม่ใช่สิ่งที่เราสนใจสักเท่าไหร่

HOPE OF HILL TRIBES (2020, Kanjanik Chalermboonsk, Piyada Nakanuphap, documentary, A-)

LOEI JOONG BUK (2020, Kanokpan Anantakitudom, animation, A+15)

แอนิเมชั่นโปรโมทการท่องเที่ยวจังหวัดเลย ทำออกมาได้น่ารักดี

I GIVE UP (2020, Kanyapat Pakkalertrangsi, Patinya Kitcharoen, A-)

หนังสั้นรณรงค์ต่อต้านการ bully

BROTHERHOOD (2020, Napat Wongvilaivarin, documentary, A+10)

สารคดีสัมภาษณ์บาทหลวงรูปหนึ่งในไทย

BAAN SOMTUM (2020, Natta Itthiwatana, documentary, A+5)

สารคดีสัมภาษณ์เจ้าของแฟรนไชส์ร้านอาหาร “บ้านส้มตำ” ดูแล้วทำให้อยากลองไปกินที่ร้านมากๆ 555

IS THAT YOURS? (2020, Nunthicha Paenoi, documentary, A+)

สารคดีรณรงค์ต่อต้านการใช้พลาสติก

THE EXPANDABLE UNIVERSE BASED ON SCIENTIFIC FACTS (2020, Smitti Phaobunjong, Pasit Apichokworapong, animation, A+30)

หนึ่งในหนังที่ชอบที่สุดที่ได้ดูในงาน thesis ของ Assumption University ปีนี้ หนังเรื่องนี้เป็นแอนิเมชั่นที่พูดถึงทฤษฎีโลกคู่ขนาน โดยอ้างถึงแนวคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้ของ quantum physicists และนักวิทยาศาสตร์หลายๆคน และพูดถึงการนำเสนอแนวคิดเรื่องโลกคู่ขนานในหนังและละครทีวีของสหรัฐด้วย

LIFE OF TEA (2020, Phusuda Saelee, documentary, A+)

สารคดีเกี่ยวกับการปลูกชาอัสสัมในไทย ชอบบางส่วนของหนังเรื่องนี้ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับชาประเภทต่างๆ



Saturday, May 30, 2020

LOST IN CONNECTION (2020, Nutchanon Tanyasri, documentary, A+30)



PRIMA DE CINÉ (2020, Kay Amphone Xaysombath, documentary, A+30)

หนังสารคดีสัมภาษณ์ Mattie Do เราชอบหนังเรื่องนี้มากๆเพราะมันพูดถึงประเด็นที่เราสนใจ เราเพิ่งรู้จากหนังเรื่องนี้ว่า Mattie ไม่เคยเรียนด้านภาพยนตร์มาก่อน เธอเป็นครูสอนบัลเลต์ แล้วเธอคิดว่าบัลเลต์มันยากกว่าการกำกับภาพยนตร์ เพราะการเต้นบัลเลต์บนเวทีมันพลาดแล้วพลาดเลย แต่การกำกับภาพยนตร์เราสามารถถ่ายเทคใหม่ได้เสมอ

เธอเล่าด้วยว่า CHANTHALY (2012, Mattie Do, A+30) ได้รับแรงบันดาลใจมาจากการเสียชีวิตของแม่ของเธอเอง ส่วน DEAREST SISTER (2016, Mattie Do, A+30) ได้รับแรงบันดาลใจมาจากบัลเลต์เมื่อ 400 ปีก่อน

NCUK (2020, Natthapol Asawarnon, advertisement)

งานฉาย thesis ของ Digital Media students, Comm Arts, Assumption University. มีอะไรที่ไม่ใช่หนังสั้นเยอะมาก อย่างอันนี้เป็นโฆษณาสถาบันที่ให้บริการด้านการช่วยเหลือลูกค้าในการไปเรียนต่อที่อังกฤษ

LOST IN CONNECTION (2020, Nutchanon Tanyasri, documentary, A+30)

1.เหมือนการทำหนังเรื่องนี้เป็นการยิงปืนนัดเดียวได้นก 3 ตัว 555 คือได้ทั้งหนัง thesis, ได้ทั้งตามหาเพื่อนสนิทในวัยเด็ก และได้หาโอกาส reconnect กับพ่อด้วย

2.ชอบหนังตั้งแต่ช่วงแรกๆ เหมือนผู้กำกับเลือกใช้ภาพมาประกอบได้เก่งน่ะ ทั้งการใช้ภาพวิวทิวทัศน์ที่งดงาม, ภาพถ่ายเก่าๆ, ภาพบ้านที่มีฝุ่นจับเขรอะตามสิ่งของต่างๆ เหมือนผู้กำกับทำให้ภาพเหล่านี้มันทรงพลังขึ้นมา และภาพเหล่านี้มันก็ให้พลังกับตัวหนังด้วย

เรารู้สึกว่าการเลือกใช้ภาพเหล่านี้ และการร้อยเรียงภาพเหล่านี้เข้าด้วยกันในช่วงแรกๆของหนังมันไม่ใช่เรื่องง่ายๆน่ะ เพราะมันไม่ใช่การเล่าเรื่องแบบตรงไปตรงมา แต่เป็นการสร้าง “ภาวะ” ของความทรงจำถึงอดีต มันเป็นการสร้างมิติทางอารมณ์ความรู้สึกบางอย่างที่มีเสน่ห์ และเปิดโอกาสให้เราเข้าไปในหนังได้ เราว่าช่วงแรกๆของหนังทำออกมาได้งดงามมากๆ

3.พอผ่านช่วงแรกไปแล้วนิดนึง “พ่อ” ถึงค่อยปรากฏตัวขึ้นมา แล้วพอผ่านไปอีกระยะนึง ตัวผู้กำกับถึงค่อยปรากฏตัวขึ้นมาเป็นภาพต่อหน้ากล้อง และเราก็ชอบการทิ้งระยะการปรากฏตัวของบุคคลเหล่านี้ในหนังน่ะ มันส่งผลกระทบต่อจินตนาการของเรามากๆ

คือในช่วงแรกๆที่ตัวพ่อกับตัวผู้กำกับยังไม่ปรากฏขึ้นมาในหนังน่ะ เรารู้สึกเหมือนกับว่า หนังมันเชื้อเชิญเราเข้าไปใน “ห้องจินตนาการ” ที่เต็มไปด้วยสิ่งของจากอดีตมากมาย ห้องนั้นยังไม่มีคนอื่นๆอยู่ในห้อง และการเข้าไปในห้องจินตนาการนั้น มันก็เลยกระตุ้นจินตนาการของเราอย่างเต็มที่ มันทำให้เรานึกถึงอดีตของตัวเองมากๆ และถึงแม้ตัว “พ่อ” ปรากฏขึ้นมาในหนังแล้ว หนังมันก็ยังคงกระตุ้นให้เรานึกถึงอดีตของตัวเองอยู่ (โดยที่หนังอาจจะไม่ได้ตั้งใจ)  มันทำให้เรานึกถึงเพื่อนในวัยเด็กที่หายสาบสูญไปจากชีวิตของเราแล้วเหมือนกัน ทั้งเพื่อนในโรงเรียนอนุบาลละอออุทิศ ที่พอเราจบจากโรงเรียนอนุบาล เราก็ไม่ได้เจอพวกเขาอีกเลยมานาน 40 ปีแล้ว (แน่นอนว่าเราจำชื่อจริงของพวกเขาไม่ได้เลย), เพื่อนในจังหวัดอุบลฯที่เราเคยไปเล่นด้วยตอนเด็กๆทุกๆปิดเทอม, เพื่อนในโรงเรียนสอนธรรมะวันอาทิตย์ในช่วงต้นทศวรรษ 1980 etc. และแม้แต่เพื่อนมัธยมที่เราสนิทที่สุดตอนม.2-ม.3 ก็หายสาบสูญไปจากชีวิตเราแล้วเหมือนกัน เพราะพวกเขาไม่เล่น facebook และเลือกที่จะไม่ติดต่อกับเพื่อนๆมัธยมอีกเลย ซึ่งเราก็ไม่รู้ว่าเพราะสาเหตุอะไร

ยอมรับว่าช่วงแรกๆของหนังมันกระตุ้นให้เรานึกถึงอดีตของตัวเองมากๆ และเราชอบหนังสุดๆตรงจุดนี้ เพราะหนังเรื่องอื่นๆแทบไม่เคยกระตุ้นให้เรานึกถึงความทรงจำส่วนนี้ของตัวเองมาก่อน

4.เราเริ่มหลุดออกจากจินตนาการของตนเอง และหันมาจดจ่อกับเรื่อองราวของผู้กำกับอย่างเต็มที่ เมื่อหนังไม่ได้ใช้ “ภาพถ่ายเก่าๆ” หรือ “การจับภาพสิ่งของเก่าๆ” มานำเสนอบ่อยๆอีกน่ะ คือเหมือนในช่วงต่อมา ผู้กำกับกับพ่อก็เดินทางไปถามข้อมูลจากชายชราคนนึง และผู้กำกับเริ่มปรากฏตัวต่อหน้ากล้องบ้างแล้ว (ผ่านทางภาพถ่าย) มันก็เลยเหมือนกับว่า “ห้องจินตนาการ” ที่หนังสร้างขึ้นในช่วงต้นเรื่อง มันมีตัวละครสำคัญปรากฏขึ้นมาอยู่ในห้องนั้นแล้ว เราก็เลยหันมาจดจ่อกับสิ่งที่ตัวละครทำ และไม่ได้ฟุ้งไปกับจินตนาการและอดีตของตนเองอีก

5.ดีที่หนังไม่พยายามทำซึ้ง, ฟูมฟาย หรือเร้าอารมณ์เกินไป แต่ปล่อยให้สิ่งต่างๆดำเนินไปตามครรลองของมันเอง

6.แต่พอดูหนังเรื่องนี้แล้วก็เลยแอบคิดว่า บางทีนี่อาจจะเป็นสาเหตุนึงหรือเปล่า ที่ทำให้ผู้กำกับชายหลายๆคนชอบทำหนังเกี่ยวกับสภาพจิตของผู้หญิง เพราะเราว่าพอตัวบุคคลหลักในหนังเรื่องนี้ทั้ง 3 คนเป็น “ผู้ชาย” หมดเลย (ผู้กำกับ, พ่อ, เพื่อนในวัยเด็ก) การแสดงออกทางอารมณ์ความรู้สึกก็เลยแข็งๆกันหมดน่ะ 55555 ซึ่งมันก็คงเป็นธรรมชาติของผู้ชายแหละ แต่พอดูหนังเรื่องนี้แล้วก็เลยแอบคิดว่า ถ้าหากมันเป็นเรื่องของผู้หญิง การแสดงออกของ subjects มันคงจะให้อารมณ์ที่รุนแรงกว่านี้ไปโดยปริยาย

7.อยากให้มีคนเอาพล็อตนี้ไปดัดแปลงเป็น fiction หนังเกย์มากๆ 55555

MELON LEK FIN IM-POR-DEE (2020, Kemiga Krutto, documentary, A+30)

หนึ่งในหนังที่ชอบที่สุดที่ได้ดูในงาน thesis ของ Assumption University วันนี้ จริงๆแล้วหนังเรื่องนี้ไม่ได้มีความน่าสนใจในด้าน aesthetics แต่อย่างใด หนังเรื่องนี้เป็นการสัมภาษณ์เกษตรกรหนุ่มคนนึงที่ปลูก melon ในภาคตะวันตกของไทย แต่เราชอบมากๆที่หนังมันเหมือน “รักและหลงใหลในความรู้” น่ะ และหนังปล่อยให้ตัวเกษตรกรหนุ่มพูดชุดข้อมูลความรู้แบบอัดแน่นสุดๆ ละเอียดสุดๆไปเรื่อยๆ

เราว่าหนังแบบนี้มันไม่ “ดูถูกคนดู” ดีน่ะ คือหนังบางเรื่องมันเหมือนแบบว่า “เราถ่ายภาพสวยๆ แต่อย่าให้สาระอะไรกับคนดูมากเกินไปนะ เดี๋ยวคนดูบางคนจะบ่นปวดหัว” แต่หนังเรื่องนี้ไม่แคร์คนดูแบบนี้เลย คือกูรักสาระ กูรักความรู้ กูก็เลยให้สาระและความรู้ในหนังอย่างเต็มที่ และเรารักหนังแบบนี้มากๆ (แน่นอนว่าเรารักหนังทดลองที่ไม่มีสาระหรือความรู้อะไรเลยด้วย คือเรารักหนังที่ไม่ประนีประนอมกับคนดูในทั้งสองแนวทางน่ะ)

ชอบเรื่องที่เกษตรกรเล่ามากๆเลยด้วย โดยเฉพาะเรื่องการปลูก melon 200 ต้นแรกแล้วตายหมดทั้ง 200 ต้น แต่เขาก็ไม่ย่อท้อ ยังคงหาทางเรียนรู้จากความผิดพลาดของตนเอง และพัฒนาตนเองไปเรื่อยๆ ทดลองการปลูกไปเรื่อยๆ

เรื่องการปลูกถั่วก่อนปลูก melon ก็ถือเป็นการให้ชุดข้อมูลที่ละเอียดยิบมากๆ

ชอบที่หนังบอกละเอียดเลยว่า “เรือนเพาะชำ 1 เรือน ปลูกได้ 426 ต้น” อะไรทำนองนี้

ถ้าเทียบกับหนังเรื่องอื่นๆในงาน thesis เดียวกันแล้ว เราก็ชอบ MELON กับ PRIMA DE CINÉ มากที่สุดแหละ เราเข้าใจว่าหนัง thesis ในงานนี้มันมีการจำกัดความยาวมั้ง ทุกเรื่องเลยออกมาสั้นๆหมด ซึ่งพอหนังแต่ละเรื่องมันต้องสั้นมากๆแล้ว หนังสารคดีที่จะประสบความสำเร็จภายในข้อจำกัดแบบนี้ได้ ก็เลยเป็นหนังที่พูดถึง subject แค่คนเดียวแบบ MELON กับ PRIMA DE CINÉ น่ะ ในขณะที่หนังสารคดีที่พยายามนำเสนอประเด็นใหญ่ๆบางประเด็นในงานนี้ พอเราดูแล้วเรากลับพบว่ามันดู “ผิวเผิน” มากๆ

THE BEACHES OF OROUET (1971, Jacques Rozier, France, 150min, A+30)


THE BEACHES OF OROUET (1971, Jacques Rozier, France, 150min, A+30)

1.Easily one of my most favorite films of all time มีสิทธิติดอันดับสองประจำปีนี้ รองจาก RIDDLES OF THE SPHINX (1977, Laura Mulvey, Peter Wollen, UK)

2.ทำไมหนังมันสร้างความรื่นรมย์ให้กับเราได้มากขนาดนี้ ทำไมมันถึงดูเป็นธรรมชาติสุดๆขนาดนี้ สงสัยว่ามันเขียนบทยังไง ทำไมมันดูเป็นธรรมชาติมากๆ ดูแล้วนึกถึงตอนไปเที่ยวหัวหินกับเพื่อนๆมากๆ อินสุดๆ คือแค่ 15 นาทีแรก พอมีฉากที่สามสาวหัวเราะกันจนหยุดไม่ได้ขณะแบกกระเป๋าขึ้นเนินทราย เราก็รู้แล้วว่าหนังเรื่องนี้น่าจะได้ A+30 จากเราอย่างแน่นอน เหมือนหนังมันเข้าใจ “ความสุขเวลาอยู่กับเพื่อน” ในแบบของเราได้จริงๆน่ะ การหัวเราะจนหยุดไม่ได้กับอะไรบ้าๆบอๆเล็กๆน้อยๆ  การกรี๊ดๆกร๊าดๆไปเรื่อยๆกับเรื่องไม่เป็นเรื่อง

หนังมันคว้าจับโมงยามของความสุขขณะไปเที่ยวพักผ่อนกับเพื่อนๆได้ตรงใจเรามากที่สุดจริงๆ น่าจะมากที่สุดในบรรดาหนังที่เคยดูมาในชีวิตนี้เลยมั้ง

3.เหมือนเราตั้งจิตอธิษฐานมานานหลายสิบปีแล้วว่า อยากดูหนังแบบนี้ หนังที่นำเสนอความสุข ความรื่นรมย์ขณะไปเที่ยวพักผ่อนกับเพื่อนๆ โดยไม่ต้องมีดราม่าอะไร และไม่ต้องพยายามบีบชีวิตตัวละครให้ “ดูน่าตื่นเต้นในสายตาของผู้ชมทั่วไป”  ไม่ต้องพยายามบีบหนังให้เข้าสูตรสำเร็จที่วางไว้ สามสาวในเรื่องไม่ต้องไปเจอผี, เจอเรื่องสยองขวัญ, เจอฆาตกรโรคจิต, เจอเหตุการณ์สำคัญหรือบทเรียนสำคัญที่จะทำให้ตัวละครต้องพูดกับผู้ชมในตอนจบว่า “I never was the same again after that summer.”  และไม่จำเป็นต้องเจอ love of a lifetime ด้วย หนังแค่นำเสนอโมงยามของการไปเที่ยวพักผ่อน คว้าจับความรื่นรมย์ของมันออกมา โดยไม่ต้องบิดมันให้เข้ากับสูตรสำเร็จใดๆ

4.ช่วงราวๆหนึ่งชั่วโมงแรกของหนังก็เป็นอย่างที่เราเคยตั้งจิตอธิษฐานไว้จริงๆ ชอบแต่ละโมเมนต์ในช่วงแรกของหนังมากจนเราอยากร้องไห้ ชอบการหัวเราะอย่างเป็นบ้าเป็นหลังของสามสาวขณะออกเสียง Orouet , ชอบการถ่ายทอดกิจกรรมต่างๆของตัวละคร

5.แต่ตอนหลังหนังก็ใส่ romantic drama เข้ามาบ้าง เมื่อมีตัวละครสองหนุ่มโผล่แทรกเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการท่องเที่ยวพักผ่อนของสามสาว แต่ดีที่หนังถ่ายทอดทุกอย่างออกมาได้เป็นธรรมชาติมากๆ ทั้งการแล่นเรือใบ, การร้องกรี๊ดขณะหนีปลาอะไรสักอย่างในบ้าน, etc. คือถึงมันจะมีความเป็น romantic drama เข้ามาในหนัง แต่มันก็ไม่ทำให้เรารู้สึกว่า ชีวิตตัวละครถูกสร้างขึ้นเพื่อรองรับอารมณ์ romantic drama น่ะ หนังมันยังคงทำให้เราเชื่อได้ว่า ตัวละครเป็นมนุษย์จริงๆอยู่

6.คือถ้าหากหนังมันเน้นความโรแมนติกมากกว่านี้ มันก็จะกลายเป็นหนัง Eric Rohmer ไปน่ะ แต่ดีแล้วที่ Jacques Rozier เลือกไปอีกทางนึง และเน้นโมงยามของความรื่นรมย์แห่งการพักผ่อนแทน โดยไม่ต้องเน้นความโรแมนติก

7.ถ้าหากเทียบกับหนังกลุ่ม “ชายทะเล” ของ Eric Rohmer เราก็ชอบหนังเรื่องนี้น้อยกว่า THE GREEN RAY (1986) นะ เหมือนมันดีกันไปคนละแบบ เพราะ THE BEACHES OF OROUET เน้นโมงยามของความรื่นรมย์ขณะได้อยู่กับเพื่อนๆ ส่วน THE GREEN RAY นั้น นางเอกเหมือนจะมีปัญหาในการทำตัวให้เข้ากับคนอื่นๆ เพราะฉะนั้นหนังก็เลยไปเน้นที่สภาพจิต, อารมณ์, อุปนิสัย, ความนึกคิดของนางเอกแทน และ THE GREEN RAY มันสามารถสร้างอารมณ์สะเทือนใจขั้นสูงสุดได้ เราก็เลยชอบ THE GREEN RAY มากกว่า

แต่เราก็ชอบ THE BEACHES OF OROUET พอๆกับ PAULINE AT THE BEACH (1983) และ A SUMMER’S TALE (1996)  นะ และชอบมากกว่า LA COLECCTIONNEUSE (1967)

8. THE BEACHES OF OROUET ทำให้นึกถึงหนังไทยบางเรื่องเหมือนกัน ซึ่งได้แก่

8.1 เวียนหัว และ เมื่อยก้น IN TRAIN (2011, Boripat Plaikaew, documentary, 84min) ที่เป็นสารคดีบันทึกเรื่องราวของเกย์ 4 คนขณะไปเที่ยวภาคเหนือของไทย

แต่เรารู้สึกเหมือนกับว่าพอมันเป็นหนังสารคดี IN TRAIN ก็เลยเหมือนไม่สามารถจับอารมณ์ของความรื่นรมย์ออกมาได้อย่างเต็มที่น่ะ คือเหมือนเวลาเราไปเที่ยวกับเพื่อนๆ เราก็สามารถปลดปล่อยตัวเองได้อย่างเต็มที่ พูดอะไรหีๆห่าๆ ทำอะไรหีๆห่าๆกับเพื่อนที่ “รู้ใจเรา”, “มีประสบการณ์ชีวิตร่วมกับเรา”, “มีโลกจินตนาการร่วมกับเรา” ได้อย่างเต็มที่ แต่ถ้าหากมันมีกล้องของหนังสารคดีจับภาพเราอยู่ เราก็จะไม่กล้าปลดปล่อยตัวเองอย่างเต็มที่น่ะ

เราก็เลยรู้สึกว่าพอมันเป็นหนัง fiction อย่าง THE BEACHES OF OROUET มันเลยกลายเป็นว่าเราดูแล้วกลับอินมากกว่า ดูแล้วนึกถึงประสบการณ์การไปเที่ยวของเรามากกว่า ในขณะที่หนังสารคดีอย่าง IN TRAIN นั้น เหตุการณ์ในหนังอาจจะเป็น “เรื่องจริง” ก็จริง แต่เรารู้สึกเหมือนกับว่า การมีกล้องคอยถ่ายอยู่ อาจจะเป็นปัจจัยอย่างนึงที่ทำให้ subjects ของหนัง “ระวังตัว” และไม่ปลดปล่อยตัวเองออกมามากเท่าที่ควร

8.2 STILL (2008, Wisarut Deelorm, 52min)

ถ้าเราจำไม่ผิด STILL เล่าเรื่องของเพื่อนสามคน ชายสองหญิงหนึ่ง ที่เดินทางจากกรุงเทพไปชายทะเลด้วยกัน หนังดูจริงมากๆในบางฉาก แบบถ่ายตัวละครนั่งนิ่งๆเป็นเวลานานอะไรทำนองนี้ 555

คือ STILL มันเป็น fiction เหมือน THE BEACHES OF OROUET ก็จริง และมันไม่มีดราม่าหนักหนา ไม่พยายามทำตัวเป็นหนัง popular genre ก็จริง แต่เหมือนมันเน้นคนละอารมณ์กับ THE BEACHES OF OROUET น่ะ STILL เหมือนเน้นอารมณ์แบบหนังอาร์ตนิ่งช้า ซึ่งมันคนละอารมณ์กับสิ่งที่เรารู้สึกขณะไปเที่ยวชายทะเลกับเพื่อนๆ คือเวลาที่เราไปเที่ยวชายทะเลกับเพื่อนๆ เราจะรู้สึกแบบเดียวกับในหนัง THE BEACHES OF OROUET นี่แหละ เราไม่ได้รู้สึกว่าตัวเองอยู่ในหนังอาร์ตนิ่งช้าแบบ STILL 55555

8.3 หนังไทยที่เราชอบในระดับทัดเทียมกับ THE BEACHES OF OROUET ก็คือ WITHIN RELATION ขอบคุณที่อยู่ด้วยกัน (2018, Tinnapat Lertutsahaphan, 22min) น่ะ ซึ่งเป็นหนังที่เราดูแล้วร้องห่มร้องไห้อย่างรุนแรง หนังเล่าเรื่องของเพื่อนๆสามคนที่ไปเที่ยวทะเลด้วยกันก่อนเรียนจบมหาลัย หนังทำออกมาได้เป็นธรรมชาติมากๆ และสามารถสร้างอารมณ์สะเทือนใจอย่างรุนแรงให้กับเราได้

คือสถานการณ์ของ THE BEACHES OF OROUET กับ WITHIN RELATION มันต่างกันน่ะ อารมณ์ของหนังมันก็เลยต่างกัน ถึงแม้มันจะเป็นหนังเกี่ยวกับ vacation ของเพื่อนๆที่ดูเป็นธรรมชาติสุดๆเหมือนกันก็ตาม เพราะ THE BEACHES OF OROUET เหมือนพูดถึง “การพักผ่อนในฤดูร้อนนึงของชีวิตผู้ใหญ่”  และนำเสนอตัวละครที่มีงานมีการทำแล้ว เป็นสาวออฟฟิศที่รู้สึกว่า ช่วงฤดูร้อนเป็นช่วงของการไปเที่ยวกับเพื่อนๆ แล้วก็ต้องกลับมานั่งทำงานออฟฟิศ 11 เดือน แล้วก็ได้ไปเที่ยว 1 เดือน แล้วก็กลับมานั่งทำงานออฟฟิศ 11 เดือน วนเวียนไปเรื่อยๆ อะไรแบบนี้ THE BEACHES OF OROUET ก็เลยเหมือนนำเสนอ “ช่วงเวลาแห่งความสุข 1 เดือนต่อปี ในวัฏจักรชีวิตแบบเดิมๆ”

ส่วน WITHIN RELATION นั้น มันนำเสนอความหอมหวานและความเจ็บปวดของจุดเปลี่ยนผ่านสำคัญจุดนึงของชีวิตน่ะ นั่นก็คือช่วงเวลาที่กำลังจะเรียนจบมหาลัย ช่วงที่เรา “รู้สึกมีความสุขสุดๆขณะได้เที่ยวพักผ่อนกับเพื่อนๆ” แต่ก็เป็นช่วงเวลาของความรู้สึกไม่มั่นใจและความหวาดกลัวต่ออนาคตข้างหน้า และความเจ็บปวดที่รู้ว่า ชีวิตต่อจากนี้จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป เพื่อนแต่ละคนก็จะต้องแยกย้ายกันไปทำงาน, เรียนต่อ, มีชีวิตของตัวเอง WITHIN RELATION ก็เลยเหมือนนำเสนอช่วงเวลาของชีวิตที่ “รู้สึกมีความสุขสุดๆที่ได้อยู่กับเพื่อนๆที่เรารัก” และ “เจ็บปวดและเศร้าสร้อยที่รู้ว่า ชีวิตจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ชีวิตจะต้องเดินหน้าต่อไป และโมงยามแบบนี้อาจจะไม่เกิดขึ้นอีกแล้ว” มันเป็น MOMENT ที่ทั้งสุขสุดๆและเศร้าสุดๆในเวลาเดียวกัน

เราก็เลยชอบทั้ง THE BEACHES OF OROUET และ WITHIN RELATION ในระดับที่มากสุดๆพอๆกัน เหมือนหนังทั้งสองเรื่องนี้มันนำเสนอตัวละครที่อยู่กันคนละจุดในสายธารแห่งชีวิต แต่ก็สามารถนำเสนอออกมาได้อย่างงดงามสุดๆไม่แพ้กัน




Monday, May 25, 2020

Favorite quote from Durgnat


Raymond Durgnat  เคยเขียนไว้ใน Time Out Film Guide ว่า “Dwoskin reinvents the cinema from where Straub left off.”

เราไม่เคยดูหนังของ Stephen Dwoskin มาก่อน จนกระทั่งถึงวันนี้ที่ DYN AMO (1972, Stephen Dwoskin, UK, A+30) มาฉายทาง cinephobe พอดูแล้วก็ตกตะลึงไปเลย ไม่ประหลาดใจทำไม Durgnat ถึงเขียนแบบนั้น คือเราอาจจะ “ไม่เข้าใจ” สิ่งที่ Durgnat เขียน แต่เรา “ไม่ประหลาดใจ” ในสิ่งที่เขาเขียน เห็นด้วยมากๆว่า ทั้ง Dwoskin และ Jean-Marie Straub นี่ reinvent the cinema ในแบบของตัวเองจริงๆ เหมือนทั้งสองต่างก็ทำหนังที่ “สุดขั้ว” กันไปคนละแบบ

DYN AMO มีสิทธิติด top ten ประจำปีนี้ของเรา

FLAT (2020, Lei Yuan Bin, Singapore, 143min, A+30)


FLAT (2020, Lei Yuan Bin, Singapore, 143min, A+30)

1.หนังเรื่องนี้เป็นเหมือนการบันทึกกิจวัตรประจำวันของ artist หญิงคนนึงขณะอยู่บ้าน (เข้าใจว่าเป็นแฟลต 4 ห้อง) ในช่วง Covid-19 ระบาด แต่เราดูหนังเรื่องนี้ด้วยความไม่รู้ว่ามันเป็น documentary หรือ fiction เพราะฉะนั้นขณะที่เรากำลังดูหนังเรื่องนี้ ซึ่งเป็นการฉายทาง youtube แบบครั้งเดียวจบ ไม่มี re-run เราก็เลยสันนิษฐานไว้ก่อนว่ามันอาจจะเป็น fiction ก็ได้ เราก็เลยไม่กล้าเดินไปกินน้ำในช่วง 100 นาทีแรก ถึงแม้เราจะหิวน้ำมากก็ตาม 55555

คือถ้าหากเราเดินไปกินน้ำ เราก็จะต้องละสายตาจากจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 30 วินาทีน่ะ แล้วเรากลัวว่า ใน 30 วินาทีนั้น อยู่ดีๆก็อาจจะมีการฆาตกรรมเกิดขึ้น หรืออาจจะเกิดจุดพลิกผันใหญ่โตอะไรใน 30 วินาทีนั้น ก็ได้ แล้วเราก็จะพลาดฉากสำคัญไป

แต่พอเราดูหนังเรื่องนี้ไปได้ราว 100 นาที เราก็เดาว่ามันคงเป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆตลอดทั้งเรื่องน่ะ คงเป็นการบันทึก+ถ่ายทอดกิจวัตรประจำวันไปเรื่อยๆ เราก็เลยกล้าละสายตาจากหน้าจอ แล้วเดินไปกินน้ำได้ 55555

2.ไม่รู้ทำไมถึงดูแล้วไม่เบื่อเลย ทั้งๆที่หนังไม่มี “เหตุการณ์สำคัญ” หรือเส้นเรื่องแบบหนังเล่าเรื่องทั่วไป คงเป็นเพราะผู้กำกับแม่นยำในการวางเฟรมภาพ และรู้ว่าแต่ละฉากควรยาวเท่าไรมั้ง อย่างในฉากที่นางเอกนอนหลับนี่ เราก็ต้องนั่งดูเธอนอนหลับไปเรื่อยๆ แต่ก็ดูแล้วไม่เบื่อ

3.ช่วงแรกๆดูแล้วจะนึกถึง JEANNE DIELMAN, 23 QUAI DU COMMERCE, 1080 BRUXELLLES (1975, Chantal Akerman) มากๆ เพราะ JEANNE DIELMAN ก็เป็นการจับภาพกิจวัตรประจำวันของผู้หญิงในที่พักเล็กๆของตัวเองเหมือนกัน และเป็นหนังที่ดูแล้วตราตรึงมากๆเหมือนกัน แต่ JEANNE DIELMAN มีเส้นเรื่องบางๆ และมีพัฒนาการของตัวละครด้วย ในขณะที่ FLAT ไม่มีความเปลี่ยนแปลงของตัวละครเกิดขึ้น

4.อีกสิ่งที่แตกต่างกันระหว่าง JEANNE DIELMAN กับ FLAT ก็คงเป็น main activity ของตัวละครมั้ง เพราะเหมือนใน JEANNE DIELMAN ฉากที่ตราตรึงมากๆในหนังคือการทำอาหารของนางเอก แต่ใน FLAT นั้นมีฉากทำอาหารแทรกเข้ามาหลายครั้งก็จริง แต่มันจะสั้นๆ เร็วๆ และเรามักจะเห็นแค่ด้านหลังของนางเอกในฉากทำอาหาร ส่วนใน JEANNE DIELMAN นั้นเราจะเห็นด้านหน้าของนางเอกในขณะทำอาหาร

main activity ของนางเอก FLAT เหมือนจะเป็นการออกกำลังกาย เพราะหนังใส่ฉากออกกำลังกายเข้ามาหลายครั้งมาก

เราว่าผู้กำกับของหนังทั้งสองเรื่องคงรู้แหละว่า กิจกรรมใดดู spectacle มากที่สุดสำหรับนางเอก+สถานการณ์ของนางเอก+พื้นที่ที่ใช้ถ่ายทำน่ะ เพราะการทำอาหารใน JEANNE DIELMAN มันดูงดงามและ spectacle ในแบบของมันเอง  ส่วนการทำอาหารใน FLAT มันดูไม่ spectacle ในขณะที่การออกกำลังกายของนางเอกใน FLAT มันดูเป็นกิจกรรมที่ร่างกายของตัวละครมีการเคลื่อนไหวมากที่สุดแล้ว มันก็เลยคล้ายๆจะเป็นกิจวัตรประจำวันที่น่าจะดูเพลินที่สุดอย่างนึง

5.เราแอบจับเวลาตอนนางเอกของ FLAT ทำท่า plank ด้วย 55555 เพราะเราอยากรู้ว่าคนอื่นๆเขา plank กันได้นานกี่นาที เพราะปกติแล้วเราทำได้แค่ 2 นาทีเท่านั้น และเรารู้ว่าหนังเรื่องนี้คงถ่ายนางเอกทำท่า plank ตั้งแต่ต้นจนจบน่ะ คงไม่มีการตัดภาพไปฉากอื่นๆในกลางคัน

6.ฉากที่สนุกที่สุดในหนัง คงเป็นฉากที่นางเอกคุยกับเพื่อนๆผ่านทางโปรแกรม ZOOM มั้ง เพราะในฉากอื่นๆเราไม่เห็นเธอคุยกับใครเลย มีอยู่ฉากเดียวในหนังนี่แหละที่เธอได้คุยกับเพื่อนๆ

7.ฉากที่ประทับใจที่สุดในหนัง คือฉากที่เราเขียนถึงไปแล้วเมื่อวานนี้ คือฉากที่นางเอกเอาตุ๊กตาโดเรมอนไปซัก แล้วเหมือนเธอจะคุยกับตุ๊กตาไปด้วย มันทำให้เรานึกถึงเวลาที่เราเอาตุ๊กตาหมีไปซักเหมือนกัน

8.อีกฉากที่ประทับใจมาก คือฉากที่หนังบันทึกภาพนางเอกขณะถอดเสื้อหลายตัวออกจากไม้แขวน เพราะมันก็เป็นกิจวัตรที่เราทำทุกสัปดาห์เหมือนกัน แต่เราไม่ค่อยเห็นกิจกรรมนี้ได้รับการถ่ายทอดในหนังน่ะ

คือในหนังหลายๆเรื่อง มันจะมีฉาก “ตากผ้า” น่ะ มีฉากตัวละครเอาผ้าไปแขวนที่ราว แต่มันไม่ค่อยมีหนังที่ตัวละครเอาผ้าที่ตากเสร็จแล้วออกจากไม้แขวน มันเหมือนกับว่าการตากผ้าเป็นอะไรที่ spectacle (ยกตัวอย่างเช่น ในหนังเรื่อง FLIGHT OF THE INNOCENT (1992, Carlo Carlei) ที่มีฉากตากผ้าที่คลาสสิคมาก) และเหมาะจะบันทึกไว้ในภาพยนตร์ แต่การปลดเสื้อที่ตากเสร็จแล้วออกจากไม้แขวนทีละตัว ทีละตัว เป็นอะไรที่ภาพยนตร์ส่วนใหญ่ไม่ใส่ใจจะบันทึกมาก่อน ยกเว้นในหนังเรื่องนี้

9.อีกฉากที่ประทับใจมาก คือฉากที่เหมือนนางเอกนั่งดูทีวีนานหลายนาที แล้วหนังถ่ายโดยใช้วิธีให้นางเอกหันหน้าเข้าหากล้อง แล้วนางเอกก็แสดงปฏิกิริยาต่อรายการที่ดูไปเรื่อยๆ ซึ่งน่าจะเป็นรายการตลก เพราะนางเอกหัวเราะอยู่หลายครั้ง

คือเราว่าฉากนี้มันดูเหมือน “ผู้ชมกำลังส่องกระจกดูตัวเอง” อยู่กลายๆน่ะ เพราะผู้ชมหลายๆคนก็คงนั่งดูหนังเรื่องนี้ในห้องอยู่คนเดียวเหมือนนางเอก ฉากนี้ก็เลยให้ความรู้สึกที่ประหลาดมาก มันเหมือนเรากำลังดูตัวเองอยู่ในจอหนัง/จอคอมพิวเตอร์ไปเรื่อยๆ

คือถ้าหนังถ่ายฉากนี้โดยให้นางเอก “หันข้าง” เข้าหากล้อง มันจะไม่ได้ความรู้สึกแบบนี้น่ะ มันก็จะเป็น “ผู้ชมดูตัวละครที่กำลังดูจอทีวี” แต่พอหนังให้นางเอกหันหน้าเข้าหากล้อง เพราะฉะนั้น “จอทีวี” ที่นางเอกมอง มันก็เลยเหมือนจะทาบทับหรือซ้อนเหลื่อมกับ “จอคอมพิวเตอร์” ที่เรากำลังจ้องมองไปยังนางเอก และพอ “จอทีวีในโลกที่ตัวละครอาศัยอยู่” กับ “จอคอมพิวเตอร์ในโลกแห่งความเป็นจริงที่เราอาศัยอยู่” มันซ้อนเหลื่อมกัน มันก็จะเกิดความรู้สึกเหมือนหน้าจอกลายเป็น mirror ขึ้นมา หรือเป็นสะพานเชื่อมมิติบางอย่างขึ้นมา

10.อีกฉากที่ชอบสุดๆในหนัง คือฉากที่นางเอกจ้องมองออกไปนอกหน้าต่างตอนกลางคืน ขณะฝนตก แล้วนางเอกก็เดินออกไปจากเฟรมภาพ แต่กล้องยังคงจับภาพบรรยากาศฝนตกข้างนอกต่อไปเรื่อยๆอีกนานหลายนาที มันเหมือนกับว่าฉากนี้เป็นหนึ่งในไม่กี่ฉากในหนังเรื่องนี้ ที่ให้ความสำคัญกับบรรยากาศรายรอบ แทนที่จะให้ความสำคัญแต่กับ “สิ่งที่นางเอกทำ”

ฉากข้างต้นเหมือนเป็นการสร้างความคล้องจองกับอีกฉากในช่วงท้ายเรื่องด้วย เพราะในท้ายเรื่อง จะมีฉากที่กล้องมองออกไปนอกหน้าต่างห้องนานหลายนาทีเหมือนกัน แต่เป็นเวลากลางวัน เราเห็นตึกต่างๆ และเห็นเมฆครึ้ม แล้วพอกล้องจับภาพทิวทัศน์ตอนกลางวันไปแล้วนานหลายนาที นางเอกถึงค่อยๆโผล่เข้ามาในเฟรมภาพนี้

11.ดู FLAT แล้วนึกถึงหนังสั้นไทยหลายๆเรื่องในเทศกาลภาพยนตร์ THAILAND COVID FILM FESTIVAL เพราะเหมือนกับว่าหนังสั้นไทยหลายๆเรื่องในเทศกาลนี้ ก็พยายามบันทึกภาพชีวิตผู้คนในช่วงเกิดโรคระบาดเหมือนกัน แต่เราเข้าใจว่า เทศกาลนี้กำหนดความยาวของหนังแต่ละเรื่องให้ไม่เกิน 5 นาทีมั้ง หนังไทยแต่ละเรื่องในเทศกาลนี้ก็เลยนำเสนอภาพชีวิตคนได้อย่างสั้นมากๆ รวบรัดมากๆ ในขณะที่ FLAT สามารถนำเสนอกิจวัตรประจำวันต่างๆได้อย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องคั้นเอาแต่ “สาระสำคัญ” มานำเสนอ

12.ถ้าหากถามว่าดู FLAT แล้วนึกถึงหนังไทยเรื่องไหน เราก็นึกถึง SUNDAY (2010, Siwapond Cheejedreiw, 24min) น่ะ เพราะ SUNDAY ก็เป็นการบันทึกภาพกิจวัตรประจำวันในบ้านของ subjects เหมือนกัน และ subjects ของหนังทั้งสองเรื่องนี้ก็ชอบออกกำลังกายในบ้านเหมือนกัน แต่อาจจะแตกต่างกันตรงที่ใน SUNDAY นั้นตัว subjects เป็นคนหลายคนในครอบครัวเดียวกัน ส่วนใน FLAT นั้น subject มีแค่คนเดียว

Sunday, May 24, 2020

HAVE A SAFE TRIP


WE STILL KILL THE OLD WAY (1967, Elio Petri, Italy, A+30)

หนังปริศนาฆาตกรรมที่สนุกมาก แต่ตอนจบเราจะงงๆเล็กน้อย 55555

Gian Maria Volonte หล่อดี

หนังเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ 3 ของ Elio Petri ที่เราได้ดู ต่อจาก THE 10TH VICTIM (1965) กับ INVESTIGATION OF A CITIZEN ABOVE SUSPICION (1970)

เดินทางโดยสวัสดิภาพ (2020, Arisara Theerajit, 34min, A+30)

1.กราบมากๆ เป็นหนังที่ดูแล้วรู้สึกเจ็บปวดจนสุดจะทานทน ดูแล้วนึกถึงนิยายเรื่อง “การล่มสลายของสถาบันครอบครัวที่ความรักไม่อาจเยียวยา” ของอรุณวดี อรุณมาศ ในแง่การถ่ายทอดความเจ็บปวดของตัวละครลูกสาวออกมาได้อย่างรุนแรงสุดๆเหมือนๆกัน

2.ดูแล้วแอบนึกถึงชีวิตตัวเองในบางจุดด้วย นึกถึงตอนที่ตัวเองเป็นวัยรุ่น แล้วเคยคิดจะฆ่าตัวตายบ่อยครั้งมาก

3.กลวิธีในการนำเสนอทำให้นึกถึง MOTHER (2012, Vorakorn Ruetaivanichkul) ที่มีการให้นักแสดงละครเวทีมาแสดงเป็นแม่ของตัวเอง เพื่อ recreate ฉากที่ไม่สามารถนำเสนอในแบบหนังสารคดีได้

4.ชอบการ balance ระหว่างความสุขกับความทุกข์  เพราะหนังไม่ได้นำเสนอแค่ความไม่เข้าใจกันระหว่างพ่อแม่ลูกเพียงอย่างเดียว แต่เหมือนหนังพยายามจะสอดแทรก moments ของความสุขเข้ามาด้วย ผ่านทางภาพถ่ายเก่าๆ วันวานเก่าๆ

และพอเราได้เห็นว่า ครอบครัวในหนังมันเคยมีความสุขด้วยกันมาในอดีต หรือมีความสุขด้วยกันบ้างในบาง moments เราก็จะยิ่งเข้าใจความทุกข์ของตัวละครลูกสาวได้ดียิ่งขึ้น

5.ดูแล้วนึกถึง “เทวทัณฑ์” THE THING THAT STRUCK ME (2018, Ratchanirat Promprasit) ด้วย เหมือนมันมีความเจ็บปวดบางอย่างในหนังสองเรื่องนี้ที่เรารู้สึกว่ามัน relate กัน แม้กลวิธีการนำเสนอจะแตกต่างกันมาก

6.เป็นหนึ่งในหนังกลุ่ม hybrid autobiography ของไทยที่เราชอบมากๆ คือในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา มีหนังไทยหลายเรื่องที่เหมือนนำเสนอชีวิตของผู้กำกับ แต่แทนที่จะนำเสนออย่างตรงไปตรงมาแบบหนังสารคดี หนังเหล่านี้กลับใส่ part ที่เป็น fiction เข้ามาด้วย, หรือไม่ก็ทำเป็นหนังทดลองไปเลย หรือไม่ก็พูดถึงการพยายามจะ cast นักแสดงเพื่อมารับบทเป็นสมาชิกครอบครัวของตัวเอง และหนังในกลุ่มนี้ก็มีทั้งหนังที่ “รักครอบครัวมากๆ” และหนังที่นำเสนอ  “ปัญหาในครอบครัว” ได้อย่างสะเทือนใจมากๆ

ตัวอย่างหนังไทยในกลุ่มนี้ก็มีเช่น

6.1 001 6643 225 059 (1994, Apichatpong Weerasethakul)
6.2 GHOSTS (2005, Anocha Suwichakornpong, 35min)
6.3 THE GIRL WHO LIKE TO CALL HER HOUSE เด็กผู้หญิงที่โทรเข้าบ้านของตัวเอง (2010, Suparom Ronyut, Theemaporn Thanapala, La-ongsri Kongkachasing, 20min)
6.4 SCAR แผลเป็น (2010, Authawut Boonyuang, 10min)
 ไม่แน่ใจว่าหนัง
เรื่องนี้ต้องการพูดถึงบาดแผลทางใจจากครอบครัวของตัวเองหรือเปล่า
6.5 SURREPTITIOUS ซ่อนเร้น (2010, Thitikan Kanchanapakdee, 13min)
6.6 MOTHER (2012, Vorakorn Ruetaivanichkul)
6.7 วรรณพร ซึ้งหิรัญพฤกษ์ (2012, Methat Suenghiranyapruek, 26min)
6.8 SHE FLEW INTO THE SKY เที่ยวบินของแม่ (2015, Taweewit Kijtanasoonthorn, 15min)
6.9 HAPPINESS (2018, Arpasiri Boonying, 20min)
6.10 NAKORN-SAWAN (2018, Puangsoi Aksornsawang)



Saturday, May 23, 2020

FLAT


ลูกหมีบอกว่า ชอบฉากนางเอกซักตุ๊กตาโดเรมอนใน FLAT (2020, Lei Yuan Bin, Singapore, 143min, A+30) มากๆ เพราะนางเอกเหมือนคุยกับตุ๊กตาไปด้วยขณะเอาตุ๊กตาไปซัก ดูแล้วนึกถึงแม่หมีจิตรเวลาเอาลูกหมีไปซักเหมือนกัน

Thursday, May 21, 2020

YOUR ARRIVAL BRINGS JOY, YOUR DEPARTURE BRINGS MEMORY (2020, Harid Musaidh, 4min, A+15)


YOUR ARRIVAL BRINGS JOY, YOUR DEPARTURE BRINGS MEMORY (2020, Harid Musaidh, 4min, A+15)
เธอมาเราดีใจ เธอจากไปเราคิดถึง (2020, ฮาริ๊ด มูซาอิ๊ดห์)

นึกว่าเป็นภาคสองของหนังเรื่อง “คิดถึงนะ เป็นประโยคบอกเล่า ไม่ต้องการคำตอบ แต่ต้องการคนได้ยิน” (2015, Watcharapol Saisongkroh) 55555

Monday, May 18, 2020

RIP Michel Piccoli


RIP Michel Piccoli (อายุ 94 ปี) เขาเป็นหนึ่งในนักแสดงที่เราได้ดูหนังของเขามากที่สุด เหมือนเขาเล่นหนังดีๆเยอะมากๆๆๆๆ

ผลงานการแสดงของเขาที่เราชอบมาก ก็มีเช่น

1.CONTEMPT (1963, Jean-Luc Godard)
2.THE DIARY OF A CHAMBERMAID (1964, Luis Buñuel)
3.LES CREATURES (1966, Agnès Varda)
4.BELLE DE JOUR (1967, Luis Buñuel)
5.DILLINGER IS DEAD (1969, Marco Ferreri)
6.THE THINGS OF LIFE (1969, Claude Sautet)
7.MILOU IN MAY (1989, Louis Malle)
8.LA BELLE NOISEUSE (1991, Jacques Rivette)
9.EVERYTHING’S FINE, WE’RE LEAVING (2000, Claude Mouriéras)
10.I’M GOING HOME (2001, Manoel de Oliveira)
11. BELLE TOUJOURS (2006, Manoel de Olivereira)



HOMELAND

HOMELAND (IRAQ YEAR ZERO) (2015, Abbas Fahdel, Iraq, documentary, 5 hours 34mins, A+30)

 1.รู้สึกว่ามันเป็นหนังที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มากๆ เพราะมันบันทึกชีวิตประจำวันของชาวอิรักช่วงก่อนสงครามปี 2003 ซึ่งชีวิตประจำวันเหล่านี้ เป็นสิ่งที่เราไม่เคยรับรู้หรือสัมผัสมาก่อน ก่อนหน้านี้เราแทบไม่เคยดูหนังเกี่ยวกับชีวิตชาวอิรักมาก่อนเลย เราเคยดูแค่ DREAMS (2005, Mohamed Al Daradji), MY COUNTRY, MY COUNTRY (2006, Laura Poitras) กับ MY SWEET PEPPER LAND (2013 , Hiner Saleem) ที่พูดถึงอิรัก แต่ DREAMS ก็เป็น fiction ที่เน้นภาพสงคราม, MY COUNTRY, MY COUNTRY ก็พูดถึงช่วงหลังสงคราม ส่วน MY SWEET PEPPPER LAND ก็เน้นแต่ชาวเคิร์ด เพราะฉะนั้นชีวิตประจำวันของชาวอิรักช่วงก่อนสงคราม จึงเป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนือการรับรู้ของเรามาโดยตลอด

อันนี้ไม่ต้องพูดถึงหนังฮอลลีวู้ด ที่ส่วนใหญ่เน้นแต่บทบาทของทหารอเมริกันในอิรักเท่านั้น โดยมีทั้งหนังที่สนับสนุนและต่อต้านบทบาทของทหารอเมริกัน

2.ดูแล้วรู้สึกว่ามันหนักมาก หนังเหมือนแบ่งเป็นสอง part ใหญ่ๆ คือ part ก่อนกับหลังการบุกของทหารอเมริกัน โดยใน part หลังนั้น ชาวบ้านอิรักหลายคนเริ่มกล้าพูดถึงความเลวร้ายของ Saddam ที่เคยฆ่าคนบริสุทธิ์ตายไปเยอะมาก แต่ในขณะเดียวกัน พวกเขาก็ต้องเผชิญกับความเลวร้ายของทหารสหรัฐ มันเป็นสถานการณ์ที่ dilemma มากๆ เหมือนมีแต่ความเลวร้ายรออยู่ ไม่ว่าจะอยู่ภายใต้ Saddam หรือสหรัฐก็ตาม

3.ภาวะ lawless ในช่วงหลังสงครามนี่น่ากลัวมากๆ โดยเฉพาะการลักพาตัวหญิงสาว และการฆ่าเพื่อชิงรถยนต์

4.สะเทือนใจกับการเสียชีวิตของ Haidar เด็กชายในเรื่องมากๆ เขาเป็นเด็กที่น่ารักสุดๆ ช่างคิด ฉลาดเฉลียว ดูแล้วหัวใจสลายมากๆ

5.เรื่องของชาวยิวในอิรักที่ต้องเปลี่ยนศาสนาก็น่าสนใจมากๆ

6.รู้สึกว่าภาวะสงครามเป็นอะไรที่น่ากลัวกว่าที่คิด เพราะถ้าเราไม่มีน้ำประปาใช้ แล้วเราจะหาน้ำดื่มจากไหน ซึ่งน้ำดื่มนี่เป็นอะไรที่สำคัญสุดๆ แต่เราไม่เคยประสบภาวะขาดแคลนน้ำดื่มและน้ำประปามาก่อน เราก็เลยไม่เคยคิดถึงปัญหานี้

7.ชอบการสัมภาษณ์คนในวงการละครเวทีของอิรัก และคนขายหนังสือข้างถนนในอิรัก

8.เห็นฉากฟิล์มหนังเก่าๆของอิรักในซากปรักหักพังแล้วทำให้สงสัยว่า ตอนนี้มีใครเอาฟิล์มหนังเก่าๆของอิรักมาบูรณะบ้างแล้วยัง กลัวว่าหนังเหล่านี้จะหายสาบสูญไปตลอดกาล มันคงต้องให้ต่างชาติมาบูรณะน่ะ เพราะรัฐบาลอิรักเองคงต้องเอาเงินงบประมาณไปทำอะไรอย่างอื่นก่อน

9.ฉากที่ชาวบ้านออกมายิงปืนฉลองตอนลูกชาย Saddam ตาย ก็เป็นฉากที่น่าประทับใจมาก

10.หนึ่งในฉากที่สะเทือนใจมาก คือฉากที่สัมภาษณ์แม่ที่ลูกชายถูกทหารสหรัฐฆ่าตายโดยไม่มีสาเหตุ

THE SHINING (1980, Stanley Kubrick, second viewing, A+30)

ดีใจที่ได้ดูหนังเรื่องนี้ที่โรง Scala ในเดือนมี.ค.

หน้าของ Shelley Duvall หนักมาก

BLOODSHOT (2020, Dave Wilson, A+)

ได้ดูหนังเรื่องนี้ที่ Scala ในวันอาทิตย์ที่ 15 มี.ค.

ช่วงครึ่งชั่วโมงแรกรู้สึกว่าหนังแย่มาก แต่พอมันมีการหักมุมแล้วหนังค่อยดีขึ้นมานิดนึง

OSAMU TEZUKA'S METROPOLIS (2001, Rintaro, Japan, animation, A+30)

ได้ดูหนังเรื่องนี้ที่ Bangkok Screening Room  ในวันอาทิตย์ที่ 15 มี.ค.

FREAK ORLANDO (1981, Ulrike Ottinger, West Germany, second viewing, A+30)

1.ดีใจที่ได้ดูแบบมีซับไตเติลภาษาอังกฤษ คลาสสิกทุกฉากทุกตอนจริงๆ

2.พอดูแบบมีซับไตเติลแล้วรู้สึกว่าหนังมันโหดร้ายกว่าที่คาด เหมือนหนังแบ่งเป็น 5 องก์ โดยที่ 3 องก์แรก ตัวละครที่ถูกสังคมมองว่าเป็นคนประหลาด แตกต่างจากที่สังคมต้องการ หรือคิดต่างจากสังคม จะถูกประชาทัณฑ์ หรือถูกประหารชีวิต

3.ช่วงสององก์หลัง "คนประหลาด" เริ่มมีชีวิตแบบปกติได้ โดยเฉพาะในองก์สุดท้าย ที่ความ freak ได้รับการ celebrate และความวิปริตกลายเป็นระบบทุนนิยมหรืออะไรทำนองนี้แทน

4.ฉากสาวมีหนวด (Else Nabu) ร้องเพลงขณะถูกตรึงกางเขน ถือเป็น one of my most favorite scenes of all time จริงๆ

5.สนใจนักแสดงคนนึงในเรื่องมากๆ ที่เป็นผู้หญิงวัยกลางคน ไม่มีแขน ไม่มีขา มีแต่ลำตัวท่อนบน เข้าใจว่าหนังน่าจะใช้คนพิการจริงๆมาแสดง ไม่ได้ใช้ special effect อยากรู้มากๆว่า ชีวิตจริงๆของนักแสดงคนนี้เป็นอย่างไร