Wednesday, July 31, 2013

REVENGE (Lalida Dechalertpanich, 11.50min, A+)

REVENGE (Lalida Dechalertpanich, 11.50min, A+)
หนังรัก (ลลิดา เดชะเลิศพาณิชย์)
 
สิ่งที่ติดใจที่สุดในหนังเรื่องนี้ก็คือว่า หนังเรื่องนี้ต้องการเป็น “หนังผีตลก” หรือว่าต้องการเป็น “parody ล้อเลียนหนังผีตลก” กันแน่ ความไม่ชัดเจนตรงจุดนี้ทำให้เราชอบหนังเรื่องนี้ในระดับ A+ จ้ะ คือถ้าหากหนังเรื่องนี้ชัดเจนไปเลยว่าต้องการเป็นแค่หนังผีตลกเรื่องนึง เราก็อาจจะชอบหนังเรื่องนี้แค่ในระดับ B+ เพราะเราว่าหลายๆอย่างในหนังเรื่องนี้มัน cliché มากๆ แต่ถ้าหากหนังเรื่องนี้ชัดเจนไปเลยว่าต้องการเป็น “parody ล้อเลียนหนังผีตลก” เราก็อาจจะชอบหนังเรื่องนี้ในระดับ A+15 จ้ะ เพราะเราว่าหนังเรื่องนี้รวม cliché ของหนังผีไว้ได้น่าสนใจดี และเรามองว่าผู้กำกับน่าจะรู้ตัวดีว่าสิ่งที่อยู่ในหนังมันเป็น cliché และไม่ได้นำเสนอมันออกมาด้วยความเชื่อมั่นอย่างผิดๆว่ามันจะทำให้คนดูกลัว แต่นำเสนอมันออกมาด้วยความรู้สึกที่ว่า “นี่แหละ cliché ของหนังผี”
 
ก่อนอื่นเราต้องบอกด้วยว่า เราฟังบทสนทนาทางโทรศัพท์ตอนช่วงท้ายของหนังไม่ค่อยออกด้วย เราก็เลยอาจจะเข้าใจอะไรบางอย่างคลาดเคลื่อนไปบ้างนะจ๊ะ
 
สิ่งที่ชอบมากๆในหนังเรื่องนี้ มีเช่น
 
1.เราไม่แน่ใจว่าตกลงพระเอกถูกผีหลอก หรือพระเอกถูกหลอกหลอนด้วย “บทหนังผีที่เต็มไปด้วย cliché” กันแน่
 
2.ฉากลูกบาสเกตบอลที่กลิ้งเข้ามาหาพระเอกหลายๆที เราชอบฉากนี้มากๆ เราว่ามันตลกในระดับพอดีๆ และมันเป็นเหมือนการ tribute ให้กับหนังผีหลายๆเรื่องที่ชอบมีลูกบอลผีสิงอะไรทำนองนี้ คือฉากลูกบอลผีสิงนี่ คนอาจจะมองว่ามัน cliché ก็ได้ แต่เราว่ามันตลกดีที่ในหนังเรื่องนี้มันเป็นลูกบาสเกตบอล ในขณะที่ต้นตำรับของลูกบอลผีสิงแบบนี้ มันจะเป็นลูกบอลที่มาพร้อมกับดรุณีผีสิง ซึ่งต้นกำเนิดของมันน่าจะมาจากหนังเรื่อง KILL BABY KILL (1966, Mario Bava) และหลังจากนั้นหนังผีหลายๆเรื่องก็ลอกเลียนแบบตามมา คือผู้กำกับหนังเรื่อง “หนังรัก” คงไม่ได้ตั้งใจ tribute ให้ KILL BABY KILL หรอก แต่เราชอบที่เวลาเราดู “หนังรัก” แล้วมันทำให้นึกถึง KILL BABY KILL กับ TOBY DAMMIT (1968 ,Federico Fellini) ที่มีลูกบอลผีสิงเหมือนกัน
 
 
 
3. ฉากที่พระเอกเตะลูกบาสเกตบอลไปโดนสถานที่ไว้อาลัยให้คนตาย แล้วเป็นสาเหตุให้พระเอกถูกผีตามมาหลอก ก็ทำให้เรานึกถึงหนังเรื่อง HOME ALONE (2005, นภดล สุเนต์ตา, 5นาที) ที่มีอะไรแบบนี้คล้ายๆกัน คือการที่มันมีอะไรคล้ายๆกันตรงจุดนี้ไม่ใช่ข้อเสียของ “หนังรัก” นะ แต่มันเป็นสิ่งที่เราชอบ เพราะมันทำให้เรานึกถึงหนังเก่าที่เราชอบ
 
4.ชอบฉากถ่ายทำหนังรักตรงริมแม่น้ำมากๆ ตรงนี้เห็นชัดเลยว่าเป็นการ parody ล้อเลียนหนังโรแมนติก
 
5.ชอบการ replay ภาพเดิมในหนังโรแมนติกซ้ำไปซ้ำมาเพื่อหาผีที่สิงอยู่ในภาพด้วย เราชอบการ replay ภาพแบบนี้ เพราะมันพยายามทำให้เราสังเกตว่ามีอะไรซ่อนอยู่ในภาพ หรือมีอะไรเปลี่ยนไปจากเดิมหรือไม่
 
6.ฉากผีในลิฟท์กับฉากผีผู้หญิงผมยาวคลานในห้อง เป็นอะไรที่ cliché สุดๆ ตรงจุดนี้นี่แหละที่ทำให้เราสงสัยว่า ผู้กำกับอาจจะต้องการล้อเลียนหนังผี มากกว่าจะพยายามสร้างหนังผีแบบตรงไปตรงมา
 
7.สรุปว่า เนื่องจากเราไม่รู้ว่าจุดประสงค์ของผู้กำกับคืออะไรกันแน่ “หนังรัก” ก็เลยทำให้เรานึกถึงหนังอีก 2 เรื่อง ที่กระตุ้นให้เกิดการถกเถียงกันว่า มันเป็น parody หรือไม่ ซึ่งได้แก่
 
7.1 LUNG NEAW VISITS HIS NEIGHBOURS (2011, Rirkrit Tiravanija) ที่นำไปสู่ข้อถกเถียงที่ว่า มันเป็นหนังสะท้อนชนบท หรือเป็น parody ล้อเลียนหนังอาร์ทเกี่ยวกับชนบท
 
7.2 วิถี (วิภาพร คนการ) หนังเรื่องนี้นำไปสู่ข้อถกเถียงที่ว่า มันเป็นหนังสะท้อนความงามของชนบท หรือเป็น parody ล้อเลียนคนกรุงที่หลงใหลชนบท
 
รูปมาจากหนังเรื่อง KILL BABY KILL ที่เป็นต้นกำเนิดของลูกบอลผีสิง
 
 

LITTLE RED RIDING HOOD หนูน้อยหมวกแดง (2012, RedHood Film, 3.40min, A+/A)

LITTLE RED RIDING HOOD หนูน้อยหมวกแดง (2012, RedHood Film, 3.40min, A+/A)
 
 
(ตอบคำถามของน้องเม่น)
 
เราชอบมาก เราว่าหนังเรื่องนี้พิศวงดี แต่มันไม่เปรี้ยงเท่า “คำพิพากษา” (RedHood Film, A+30)
 
สิ่งที่เหมือนกันระหว่างหนังสองเรื่องนี้ก็คือว่า ผู้กำกับสามารถเล่าเรื่องที่ตนเองต้องการได้ในเวลาที่สั้นมาก ช็อตทุกช็อตในหนังสองเรื่องนี้มีความสำคัญ และได้รับการออกแบบมาเป็นอย่างดี เราว่ากลุ่ม RedHood Film ถือเป็นกลุ่มที่น่าสนใจมากๆกลุ่มนึงในปีนี้ หนังเรื่อง “โลกแห่งความสุข” (B+ ) ของกลุ่มนี้อาจจะน่าสนใจน้อยกว่า “คำพิพากษา” กับ “หนูน้อยหมวกแดง” แต่มันก็เป็นหนังที่มีอะไรบางอย่างน่าจดจำ และสะท้อนความ fake ของผู้คนในสังคม Facebook ได้ดี
 
สิ่งที่ชอบมากในหนูน้อยหมวกแดง
 
1.เราไม่แน่ใจว่าผู้กำกับต้องการจะสื่ออะไร แต่ความไม่เข้าใจในหนังเรื่องนี้ถือเป็นข้อดี ไม่ใช่ข้อเสียของหนัง เพราะมันทำให้หนังมีเสน่ห์ และหนังมีลักษณะบางอย่างที่กระตุ้นให้เราเอาไปคิดต่อ, ตีความต่อ หรือจินตนาการต่อด้วยตัวเองได้
 
2.หนังเรื่องนี้มีเนื้อเรื่องที่คาดเดาไม่ได้สำหรับเรา เราไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในฉากต่อไป ตอนแรกเรานึกว่า
 
2.1 จะมีตัวละครหมาป่า แต่ก็ไม่มี
 
2.2 เรานึกว่านางเอกจะพยายามทำให้เพื่อนๆยอมรับในตัวนางเอก แต่นางเอกก็ไม่ทำ
 
2.3 เรานึกว่านางเอกจะแก้แค้นเพื่อนๆ แต่นางเอกก็ไม่ทำ
 
3. เราชอบที่หนังเรื่องนี้ทิ้งคำถามที่ค้างคาใจไว้ให้กับเราหลายอย่าง อย่างเช่น
 
3.1 ใครคือคนที่กอดนางเอกในห้องน้ำ ผู้ชายหรือผู้หญิง ตอนแรกเรานึกว่านางเอกจินตนาการถึงแม่ของตนเอง ซึ่งน่าจะเป็นคนที่ตัดชุดผ้าคลุมแดงให้เธอ แต่บางทีคนที่กอดนางเอกอาจจะเป็นผู้ชายก็ได้
 
3.2 ในตอนจบ นางเอกตัดสินใจสวมฮู้ด แล้วหลังจากนั้นเธอก็เติบโตขึ้นกลายเป็นผู้ใหญ่ในทันที หรือว่ามันเพียงแค่สื่อว่า นางเอกตัดสินใจสวมฮู้ดตั้งแต่เด็กจนโตกันแน่
 
3.3 หนังเรื่องนี้มีสัญลักษณ์อะไรหรือไม่ ชุดผ้าคลุมแดงของนางเอกหมายถึงอะไร การที่นางเอกสวมฮู้ดหมายถึงอะไร
 
สรุปว่าถึงแม้เราจะไม่เข้าใจหนังเรื่องนี้ เราก็รู้สึกว่าหนังเรื่องนี้มันมีเสน่ห์บางอย่างที่ดึงดูดเรา เราชอบที่นางเอกตัดสินใจสวมฮู้ด และเดินออกจากโรงเรียนไปสู่โลกกว้างอย่างมีความสุข โดยไม่ต้องแคร์เพื่อนๆกะเฬวะรากของเธออีกต่อไป
 
ในจินตนาการของเรา เรารู้สึกว่าหนังเรื่องนี้นำเสนอเรื่องของเด็กคนนึงที่โดดเดี่ยว และเลือกได้ว่าจะเป็นตัวของตัวเอง (สวมผ้าคลุมแดง) หรือว่าจะทำตัวกลมกลืนกับคนอื่นๆ (ถอดผ้าคลุมแดงทิ้ง) แต่เธอเลือกที่จะเป็นตัวของตัวเอง และมันทำให้เด็กคนนี้มีความเป็นผู้ใหญ่ในตัวเองด้วย
 
 

Tuesday, July 30, 2013

THE MEDIUM (2013, Fapirom Waiwong, documentary, 25min, A+20)


ชอบ “ร่างทรง” มากๆ ชอบมากๆที่หนังเรื่องนี้เปิดโอกาสให้ร่างทรงได้พูดอย่างเต็มที่ และสำรวจความเชื่อ, พิธีกรรม และการทำงานของร่างทรงอย่างค่อนข้างละเอียด และก็ชอบตอนที่ไปสัมภาษณ์ความเชื่อเรื่องเหนือธรรมชาติของคนในร้านผ้าด้วย

 

สาเหตุสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้เราชอบ “ร่างทรง” มากๆเป็นเพราะว่า เราคงไม่สามารถทำหนังสารคดีอย่างนี้ได้น่ะ เพราะสาเหตุสำคัญสองประการ

 

1.เรากลัวผี เรากลัวพวกหุ่นต่างๆในบ้านของร่างทรงมากๆ ถ้าไม่จำเป็น เราคงไม่เข้าไปใกล้โต๊ะหมู่บูชาที่มีหุ่นต่างๆแบบในหนังเรื่องนี้อย่างแน่นอน

 

2.เราไม่เชื่อว่าร่างทรงบางคนเป็นร่างทรงจริงๆ คือถึงเราจะเชื่อเรื่องผี เราก็เชื่อว่าร่างทรงบางคนเก๊ บางคนจริง เพราะฉะนั้นเวลาเราไปสัมภาษณ์ ความเคลือบแคลงสงสัยที่เรามีต่อร่างทรง มันคงเป็นอุปสรรคขัดขวางไม่ให้เราสัมภาษณ์เขาได้อย่างราบรื่น, ละเอียด และไว้เนื้อเชื่อใจกันแบบในหนังเรื่องนี้ คือเราคงจะต้องพูดจาอะไรบางอย่างเพื่อทดสอบเขา หรือแอบขำเขาจนอดหัวเราะออกมาไม่ได้ อะไรทำนองนี้ เพราะฉะนั้นเราก็เลยชอบมากที่หนังเรื่องนี้ไม่ได้มองร่างทรงอย่าง “ดูถูก” ในแบบที่คนหลายๆคนอาจจะมองกัน แต่นำเสนอร่างทรงในฐานะมนุษย์คนหนึ่งที่ประกอบอาชีพที่น่าสนใจท่ามกลางโลกสมัยใหม่ สรุปว่าเราชอบวิธีการปฏิบัติต่อ subject ของหนังเรื่องนี้อย่างมากๆจ้ะ

Saturday, July 27, 2013

Favorite Actor: Thanapruet Prayoonprom – TONGGWOW (Thanapruet Prayoonprom, A+30)

Favorite Actor: Thanapruet Prayoonprom – TONGGWOW (Thanapruet Prayoonprom, A+30)
 
 

Favorite Actress: The actress who plays Maniejan in LA DOUBLE VIE DE MANIEJAN (2013, Ratchapoom Boonbunchachoke, A+30)


Desirable Actor: Nattapol Nilapoom – FROM NOWHERE นววิมาน (Pawis Saosrion, A+/A)


Films Seen in the Bangkok International Student Film Festival on July 26, 2013

 
Films Seen in the Bangkok International Student Film Festival on July 26, 2013
 
1.HER LIFE (Kanvara Lomthaisong, A+30)
ชีวิตเธอ (กัญญ์วรา ลอมไธสง)
 
2.SIGN OF SIN (Pavinee Mingchue, A+30)
ห้องที่ 17 (ภาวิณี มิ่งเชื้อ)
 
3.MY CASTLE (Amy Adler, A+30)
 
4.ELIE’S OVERCOAT (Erik Howell, A+25)
 
5.BLUEBIRD STREET (Gil Marsden, A+15)
 
6.JOSEPHINE AND THE ROACH (Jonathan Langager, A+15)
 
7.FREEDOM RHYTHM (2011, Natapol Rintaka, second viewing, A+10)
จังหวะอิสระ (ณัฐพล รินทะกะ)
 
8.ON THIS WAY (Peerapol Boonyakiat, A+)
ทางสองเรา (พีระพล บุณยเกียรติ)
 
9.IT’S NOT FEBRUARY (Apizsara Praisin, second viewing, A)
พบ (อภิสสรา ไพรสินธุ์)
 
10.THE GRIT (Kelly Nygaard, A)
 
11.THE WORLD IN FRONT, THE SKY BEHIND (Nawapol Jaroenthamraksa, B- )
โลกข้างหน้า ฟ้าข้างหลัง (นวพล เจริญธรรมรักษา)
 
 

Friday, July 26, 2013

Films seen in the Bangkok International Student Film Festival on July 25, 2013

Films seen in the Bangkok International Student Film Festival on July 25, 2013
 
(in preferential order)
 
1.MIRUNA (Piotr Sulkowski, Poland, 20, A+15)
 
2.MEMORIES – AN ODE TO CHILDHOOD (Parul Punjabi, UK, 7.58, A+5)
 
3.THE WEDDING (2013, Sarun Pankosol, Thailand, 40min, A+)
 
4.MOTHER’S DAY (Sven Kämmerer, Germany, 6.01, A+)
 
5.BODIES (Ricardo Saraiva, UK, 12.50, A+)
 
6.FROG’S PRINCE (Felipe Wolokita, Israel, documentary, 15.25, A+)
 
7.YOLANDA (Cristian Carretero, Puerto Rico, 14, A+)
 
8.A VISIT (Marco Bolla, Italy, 11.11, A)
 
9.THE THEFT (Mohammad Farahani, 5, A-)
 
10.INTANGIBLE (Sho Fujii, USA, 24.59, F)
 
 

Thursday, July 25, 2013

LA DOUBLE VIE DE MANIEJAN (2013, Ratchapoom Boonbunchachoke, 30min, A+30)



LA DOUBLE VIE DE MANIEJAN (2013, Ratchapoom Boonbunchachoke, 30min, A+30)

 

หนึ่งในสิ่งที่ชอบมากๆใน “มะนีจันเปล่งเสียงไม่ได้ในทวิภูมิทางภาษาของคุณ” คือมันทำให้เราคิดถึงเรื่อง “ความไม่น่าเชื่อถือของผู้เขียนประวัติศาสตร์” น่ะ   ซึ่งเราก็ไม่รู้ว่าผู้กำกับตั้งใจหรือเปล่า แต่ในครึ่งแรกของหนังเรื่องนี้ มันทำให้เราเห็นความสัมพันธ์ระหว่าง STORY กับ VOICEOVER/NARRATOR และมันทำให้เราเห็นว่า voiceover หรือ narrator มันไม่น่าเชื่อถือยังไงบ้าง ผ่านทางการตั้งคำถามของตัวละครต่างๆ และไม่ว่าเราจะให้ตัวละครตัวไหนขึ้นมาเป็นผู้บรรยาย ตัวละครตัวนั้นก็ไม่สามารถบรรยายเรื่องราวของตัวละครตัวอื่นๆได้อย่างสมบูรณ์อยู่ดี

 

ทีนี้ถ้าหากเราแทน story ด้วย history เราก็จะพบว่า history writer ทำหน้าที่เหมือน narrator ในช่วงครึ่งแรกของหนัง และในเมื่อ narrator เป็นสิ่งที่ไม่น่าเชื่อถือหรือขาดความสมบูรณ์อย่างมากๆแล้ว history writer ก็เป็นแบบเดียวกัน ครึ่งหลังของเรื่องมันเลยทำให้เราตั้งคำถามว่า ใครเป็นคนเขียนประวัติศาสตร์ไทย ใครเป็นคนเขียนประวัติศาสตร์ลาว คนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงเขียนประวัติศาสตร์ยังไง คนฝั่งขวาของแม่น้ำโขงเขียนประวัติศาสตร์ยังไง “ชนชั้นล่าง” ของสองฝั่งแม่น้ำนี้ได้เขียนประวัติศาสตร์ของตนเองหรือไม่ อะไรคือเสียงที่หายไปใน history อะไรคือเสียงที่ตะกุกตะกักใน history แล้วเราจะทำยังไงกับเสียงที่หายไปใน history แล้วเราจะทำยังไงกับเสียงที่หายไปในปัจจุบัน หนังเรื่อง BOUNDARY ของนนทวัฒน์ นำเบญจพล ช่วยเปล่งเสียงบางอย่างที่หายไปหรือเปล่า




หนังเรื่อง “มะนีจันเปล่งเสียงไม่ได้ในทวิภูมิทางภาษาของคุณ” ทำให้เรานึกถึงประเด็นดังต่อไปนี้ด้วย

 

1.”เชื้อชาติ” ของผู้เขียนประวัติศาสตร์ หรือผู้เขียนเรื่องราวต่างๆ

 

2. “ชนชั้น” ของผู้เขียน history or story

 

3.”ศาสนา” ของผู้เขียน history or story


4.”เพศสภาพ” ของผู้เขียน history or story
 
 


STAR IS ICE (2013, Wachara Kanha, A+30)


STAR IS ICE (2013, Wachara Kanha, A+30) is one of my most favorite films this year, and one of my most favorite Thai found footage films. The film is like a true heir of DON’T FORGET ME (2003, Manussak Dokmai).

Films seen in the Bangkok International Student Film Festival on July 24, 2013

 
Films seen in the Bangkok International Student Film Festival on July 24, 2013
 
1.GOOD NIGHT (UK, Murial d'Ansembourg, 2012, A+30)
 
2.JOHN OF YORK (Germany, Hendrik Röhrs, 2013, A+25 )
 
3.ROBBIE ROCKET (Belgium, Wim Geudens, 2012, A+15)
 
4.NIGHT CALL (LLAMANA NOCTURNA) (Mexico, Mauricio Calderón, 2012, A+15)
 
5.PRESENT PERFECT (2012, Anusorn Soisa-ngim, 29.33min, A+15)
 
6.JOURNEY (Hyeon Suk Go, documentary, 15min, A+/A)
 
7.BLINK (Rujaya Wannaratt, 7min, A)
 
8.BLUE PRINT (Korchakorn Viravaithya, 20min, A)
 
9.SWEET PASSION (Pakaporn Sudasna, 12min, A/A-)
 
10.LOVESICK (Ornvera Assawaterakiat, 16.30min, A-)
 
11.GRANTED (Supakit Boonanegpat, 7.13min, A-)
 
12.LIFE (Apicha Tantivasin, 6.18min, A-)
 
The photo comes from GRANTED.
 
 

Wednesday, July 24, 2013

FROM NOWHERE (2013, Pawis Saosrion, A+/A)


ในความเห็นส่วนตัว เรารู้สึกว่านววิมานเป็นหนังผีที่ตั้งใจทำ เป็นหนังผีที่มีคุณภาพ ไม่ได้สร้างขึ้นอย่างลวกๆ ผู้กำกับพยายามคิดพล็อตมาเป็นอย่างดี และมีการหักมุมในตอนจบในแบบที่ทำให้เราอยากดูหนังเรื่องนี้ใหม่อีกรอบเพื่อจะค้นหาว่า ตกลงใครอยู่หรือใครตายกันแน่ หนังเรื่องนี้สื่ออะไรกันแน่ และนววิมานคืออะไร  แต่ในขณะเดียวกันเราก็รู้สึกว่ามันไม่ได้สนุกมาก, ไม่ได้ตื่นเต้นมาก และก็ไม่ได้มีความสดใหม่อะไรยังไง (ยกเว้นฉากการใช้กรรไกรตัดเล็บเป็นอาวุธ) เราคิดว่า “คุณภาพ” ของหนังเรื่องนี้เกิดจากการทำตามกรอบของหนังส่งอาจารย์มากกว่า มันเป็นหนังที่มี craft แต่มันไม่มีพลังที่พุ่งโดนเรา อย่างไรก็ดี หนังเรื่องนี้อาจจะมี layer บางอันที่เรายังไม่เข้าใจมันก็ได้ บางทีถ้าหากเราได้ดูมันรอบสองเราอาจจะเข้าใจมันมากขึ้น

 

ถ้าเทียบกับหนังผีเรื่องอื่นๆในมาราธอน

 

1.นววิมานคุมโทนหนังได้ดีกว่า ROSE รักครั้งสุดท้าย (จิตตินันท์ ยอดวงศ์สกุล, A-) แต่น่าเสียดายที่ใช้ประโยชน์จากนักแสดงชายได้ไม่เท่า ROSE ฮ่าๆๆ

 

2.นววิมานไม่สนุกเท่า SUBSCRIBE (อธิจิต อารัทธ์เทียรงาม)

 

3.นววิมานไม่สร้างสรรค์เท่า NO ADDRESS (สัตยา จันทร์ชนะ)

 

4.นววิมานไม่น่าจดจำเท่า กูอยู่ข้างหลัง (ตันหยง บุญธูป) คือในแง่ craft นววิมานอาจจะดีกว่า กูอยู่ข้างหลัง แต่เวลาดูกูอยู่ข้างหลัง เรารู้สึกว่าแต่ละช็อต แต่ละซีนในหนังเรื่องนี้มันมี passion ของคนทำอยู่น่ะ คือเรารู้สึกว่าแต่ละช็อต แต่ละซีนในกูอยู่ข้างหลัง มันเกิดจาก “ความต้องการของคนทำ” ในขณะที่ซีนต่างๆในนววิมานมันดูเหมือนจะเกิดจาก “ความต้องการทำหนังดีๆที่ทำให้อาจารย์พอใจ”

 

อย่างไรก็ดี ถ้าหากได้ดูนววิมานรอบสอง เราอาจจะมองหนังเรื่องนี้ในแง่ที่ดีขึ้นก็ได้จ้ะ เพราะเรายังไม่เข้าใจหนังเรื่องนี้ทั้งหมด บางทีถ้าเข้าใจแล้ว อาจจะชอบหนังมากขึ้น