ฉันรักเขา Han Dongjun จาก THE BATTLE AT LAKE CHANGJIN (2021) และ THE BATTLE AT LAKE CHANGJIN 2 (2022)
R.I.P. Bert I. Gordon (1922-2023) อยากดูหนังของเขามาก ๆ
Film Wish List: THE HAPPIEST DAYS OF YOUR LIFE (1950, Frank Launder, UK)
Film Wish List: BLESS THEIR LITTLE HEARTS (1983, Billy Woodberry)
Film Wish List: BELLY (1998, Hype Williams, USA)
THE GATE IMMERSIVE THEATER: VORTEX (video installation)
SilentdreamDREAM (2022, Chitti Kasemkitvatana, video installation)
THE GATE IMMERSIVE THEATER: THE FUTURE IS FUNGI (video installation)
BOAT EMPTYING, STREAM ENTERING 2 (2001, Marina Abramovic, video installation, 59min, A+30)
อันนี้เรายืนดูแค่ราว 5-10 นาทีนะ 555
THE CURRENT (2017, Marina Abramovic, video installation)
AAA-AAA (1978, Ulay + Marina Abramovic, video installation, 15min, A+30)
8 LESSONS ON EMPTINESS (DANGEROUS GAMES) (2018, Marina Abramovic, video installation, 5min, A+30)
THE KITCHEN V, CARRYING THE MILK (2009, Marina Abramovic, video installation, 13min, A+30)
SEA PUNISHING (2005, Marina Abramovic, video installation)
DRAGON HEADS (2018, Marina Abramovic, video installation, 60min, A+30)
MAP OF MEMORIES (2019) by Qiu Zhijie
THE WEB OF TIME (2022, Wantanee Siripattananuntakul, video installation, 27min)
‐---
มาเอสพลานาด งามวงศ์วาน-แคราย เป็นครั้งแรกในชีวิตการแสดง ปรากฏว่า เจอ cinephile ขาประจำที่ Alliance ถ่อมาดู "บังเอิญรัก ข้อยฮักเจ้า" ที่นี่เหมือนกัน 555 สรุปว่าการเดินทางไป alliance หรือแครายนี่ก็สะดวกพอ ๆ กันด้วย mrt
สรุปหนังที่ได้ดูในวันนี้
1. LOSER LOVER บังเอิญรัก ข้อยฮักเจ้า (2023, Witthawin Lertrasameemala, A-)
รู้สึกว่าหนังไม่เลวร้าย แต่ไม่มีอะไรน่าสนใจสำหรับเรา เหมือนฉากเดียวที่เรารู้สึกว่าตัวละครดูเป็นมนุษย์คือฉากที่สนธยา ชิตมณีคุยกับพระเอกที่ขั้นบันไดตอนกลางเรื่อง
ฝรั่งในหนังเรื่องนี้เล่นได้น่ารัก ขโมยซีนมาก ๆ ตัว "นางอิจฉา" ในเรื่องก็เล่นได้น่าพอใจสำหรับเราเหมือนกัน
เคยดูหนังอีก 2 เรื่องของคุณ Witthawin ซึ่งก็คือ "กรอบ" (CONVENTION) (2010, A-) กับ THE COLOR WAY (2010, A+)
2. BAD SOCIAL เกม ล่า ตาย (2023, Nipan Chawcharernpon, A)
ชอบไอเดียบางอย่าง ชอบบรรยากาศ ชอบ"จริงจัง วัศพล กอระกัน" ที่รับบทเป็นไปรท์มาก ๆ น่ารักมาก ๆ แต่เหมือนบทหนังมันไม่เคลียร์มาก ๆ คือถ้าหากมันเป็นหนัง surreal แบบ "RESEMBLANCE ปรากฏการณ์" เราจะไม่ว่าอะไร แต่พอมันเป็นหนังที่มีความเป็น mystery thriller แบบนี้ แล้วมันไม่เคลียร์ เราจะรู้สึกว่ามันโกงคนดูหน่อย ๆ 555
3. DUNGEONS & DRAGONS: HONOR AMONG THIEVES (2023, John Francis Daley + Jonathan Goldstein, A+30)
ชอบสุดขีด ไม่แน่ใจว่าเป็นเพราะมันแทบไม่มีตัวละคร "สาวสวยอ่อนแอ" อยู่ในหนังเลยหรือเปล่า 555 รู้สึกสนุกเหมือนดู "ไซอิ๋ว" ภาคที่ดีๆ หรือหนังอะนิเมชั่นญี่ปุ่นที่เราชอบ อย่างเช่น ONE PIECE และ THE TIME I GOT REINCARNATED AS A SLIME THE MOVIE: SCARLET BONDS (Yasuhito Kikuchi)
พอดูหนังลิเกแฟนตาซีแบบนี้แล้วก็คิดว่าจริง ๆ แล้ว วรรณคดีไทย+อินเดีย และละครจักร ๆ วงศ์ ๆ ก็มีอะไรให้เล่นเยอะเหมือนกัน เหมือนเป็น fertile ground ให้นำมาพัฒนาต่อยอดเป็นสื่อบันเทิงแบบนี้ได้ หนังอย่าง THE LEGEND OF MUAY THAI THE MOVIE: 9 SATRA (2018) ก็เหมือนพยายามจะไปให้ถึงจุดนั้นอยู่เหมือนกัน ก็ได้แต่หวังว่า จะมีคนไทยนำมันไปพัฒนาต่อไปได้อีก
แต่สิ่งหนึ่งที่ชอบใน BAD SOCIAL มากกว่าใน DUNGEONS & DRAGONS ก็คือว่า พระเอกของหนังทั้งสองเรื่อง ดำรงชีวิตอยู่ หรือต่อสู้เพื่อ "เด็กหญิงตัวเล็ก ๆ" เหมือนกัน แต่ BAD SOCIAL ผลักดันตัวละครไปในด้านมืด ส่วน DUNGEONS นั้นผลักดันตัวละครไปในทางที่สร้างความสบายใจให้แก่คนดู
แต่ DUNGEONS บทมันแน่นกว่ามาก ๆ มันก็เลยสนุก ส่วน BAD SOCIAL นั้น ถึงแม้หนังมันจะผลักดันไปในทิศทางที่เข้าทางเรา แต่บทมันมีปัญหาจริง ๆ
พอดู "รักได้แรงอก" (2023, Varodom Sirisuk, A) ก็อยากกิน "ขนมโค" มาก ๆ แต่ไม่แน่ใจว่าจะไปหากินได้จากไหนในใจกลางกรุงเทพ 555
บันทึกความทรงจำถึง ALICE, DARLING ส่วนที่ 2
อยากจดไว้ว่า ชอบฉากเหล่านี้ใน ALICE, DARLING อย่างสุดขีด เป็นฉากที่ทำให้เรารู้สึก งดงามมาก ๆ ทั้ง ๆ ที่มันไม่ได้เป็นฉากที่ "ถ่ายสวย" แต่อย่างใด
1.ฉากขับรถไปต่างจังหวัด
2. ฉากเล่น scrabble
3. ฉากผ่าฟืน
4.ฉากเดินเข้าบ้านร้าง แล้วตกใจกับอะไรสักอย่าง
5.ฉากนั่งเรือ
6.ฉากทำ cinnamon roll แล้วใส่น้ำตาลเยอะ ๆ
7.และฉากที่งดงามที่สุดสำหรับเรา คือฉากที่ร้องเพลง STAY ของ Lisa Loeb ครั้งที่สองกลางถนน แล้วตามมาด้วยการร้องเพลงแบบจำเนื้อร้องไม่ได้ในบางท่อน รู้สึกว่ามันงดงามสุดขีดที่ตัวละครจำเนื้อร้องได้แค่บางท่อน แต่ก็ร้องไปเรื่อย ๆ เฉพาะท่อนที่จำได้
8.ฉากการตัดสินใจครั้งสำคัญของนางเอก ชอบสุดขีดที่เธอไม่พูดอะไรเลย ไม่ต้องมี speech อะไรทั้งนั้น
9.ฉากจบ
ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไมเราถึงรู้สึกว่า ฉากเหล่านี้มันทำให้เรารู้สึกว่ามันงดงามสุดขีดจนบรรยายเป็นคำพูดไม่ได้ คงเป็นเพราะ wavelength ของเราตรงกับหนัง หรือทัศนคติของเราที่มีต่อชีวิต หรือต่อ "moments ที่งดงามในชีวิต" ของเรากับของผู้สร้างหนังตรงกัน
พอคนพูดถึง Jamie Lee Curtis กันในช่วงนี้ ก็เลยนึกขึ้นมาได้ว่า เคยชอบเธออย่างสุด ๆ ใน BLUE STEEL (1989, Kathryn Bigelow) คิดว่าเป็นหนึ่งในบท "ตำรวจหญิงแนวดราม่า" ที่ชอบที่สุดเลย (ไม่รวมแนวบู๊)
นอกจากบทของ Jamie ใน BLUE STEEL แล้ว บทตำรวจหญิงแนวดราม่าที่เราชอบสุด ๆ ก็รวมถึง
1.บทของ Nathalie Baye ใน LE PETIT LIEUTENANT (2005, Xavier Beauvois, France)
2.บทของ Karin Viard ใน POLISSE (2011, Maiwenn, France)
3.บทของ Jeanette Hain ใน DREILEBEN: DON'T FOLLOW ME AROUND (2011, Dominik Graf, Germany)
แต่อันนี้ยังไม่รวมพวกบท FBI หญิง อย่างใน THE SILENCE OF THE LAMBS นะ ถ้ารวมบท FBI ด้วย บท FBI หญิงที่เราชอบสุด ๆ ก็คือบทของ Lindsay Crouse ใน DESPERATE HOURS (1990, Michael Cimino)
แต่ถ้าหากพูดถึงบทตำรวจหญิงบู๊แล้ว บทที่เราชอบที่สุด ก็คือบท Saki Asamiya ที่ Yoko Minamino แสดงในละครทีวี SUKEBAN DEKA SEASON 2 นี่แหละ และก็บทของ ม่อเหวินเหว่ย ใน SO CLOSE (2002, Corey Yuen)
FAVORITE FILMS ABOUT BAD THINGS ABOUT DAMS
เห็นวันที่ 14 มี.ค.เป็นวันต่อต้านเขื่อนสากล INTERNATIONAL DAY OF STRUGGLE AGAINST DAMS เราก็เลยถิอโอกาสนี้รวบรวมหนังที่เราชื่นชอบที่พูดถึงประเด็นนี้มาไว้แล้วกัน
(แน่นอนว่า เขื่อนบางอันก็อาจจะมีประโยชน์มากกว่ามีโทษนะ แต่เขื่อนบางอันก็อาจจะส่งผลเสียมาก ๆ ได้ เราเองก็ไม่ได้มีความรู้เรื่องนี้ คิดว่าคงต้องพิจารณาแยกเป็นแต่ละกรณีไปว่า เขื่อนอันไหนดีไม่ดี)
(In alphabetical order)
1.BEFORE THE FLOOD (2005, Li Yifan, Yu Yan, China, documentary, 150min)
2.BING AI (2007, Yan Feng, China, doumentary, 114min)
3.DEAR KHRAI, FROM NOWHERE ไคร้เจ้าอยู่ไส (2023, Kittikhun Seniwong Na Ayutthaya, documentary, A+30)
หนังสารคดีเกี่ยวกับชาวบ้านไทยริมโขงที่ได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงจากเขื่อนในจีน โดยหนังเน้นไปที่การพูดถึงต้นไคร้ ซึ่งเป็นพืชเฉพาะถิ่นที่เคยขึ้นหนาแน่นในบริเวณนั้นในอดีต ชอบหนังเรื่องนี้อย่างรุนแรงมาก
4.MEKONG 2030 (2020, Anocha Suwichakornpong, Sai Naw Kham, Anysay Keola, Kulikar Sotho, Pham Ngoc Lan)
5.MUN'S LIFE โตเลสาป (2022, Kroekchai Lueammahachai, Warawut Nadee, short film) หนังพูดถึงเขื่อนปากมูล
6.A NARMADA DIARY (1995, Anand Patwardhan, Simantini Dhuru, India, documentary)
THE SCREAM (2013/2015, Marina Abramovic, Norway, 69min, video installation, A+30)
--ไม่พูดถึง video แต่พูดถึงชีวิตตัวเองเป็นหลัก 555
1.แน่นอนว่าเราไม่รู้หรอกว่า จุดประสงค์ของ Marina ในการสร้างงานวิดีโอที่ refer ถึงภาพวาดดังของ Edvard Munch คืออะไร เพราะฉะนั้นขณะที่เราดู video นี้ เราก็เลยปล่อยความคิดของเราให้ไหลไปเรื่อย ๆ
2. ตอนแรกเรา focus ไปที่ความแตกต่างของคนแต่ละคน เหมือนบางคนแค่ scream เฉย ๆ, บางคน scream แบบ "รักษามาด" และกลุ่มคนที่เราชอบมาก ก็คือกลุ่มคนที่ scream เหมือนกับว่า พวกเขาได้ระบายความทุกข์โศก, ความอัดอั้นตันใจ, ความเก็บกดบางอย่างในชีวิตออกมาด้วย เพราะเรา relate กับคนกลุ่มนี้
3. และพอเราได้เห็นพวกเขากรีดร้องโหยหวนออกมา เราก็จะจินตนาการตามไปด้วยว่า พวกเขาเจอความทุกข์อะไรมาบ้างในชีวิต ก่อนที่จะมาถึงจุดนี้ได้ โดยเฉพาะการที่พวกเขาเป็นชาว Norway ซึ่งน่าจะเป็นสังคมที่ดีกว่าไทยเป็นอย่างมาก พวกเขาน่าจะมีปัญหาการเมือง, ปัญหาความอยุติธรรม และปัญหาความยากจนน้อยกว่าไทยเป็นอย่างมาก แต่แน่นอนว่า ขึ้นชื่อว่าเป็นมนุษย์แล้ว มันก็ยากจะหลีกเลี่ยงจากความทุกข์ในชีวิตไปได้
4.แต่พอดู video นี้ไปเรื่อย ๆ เราก็ย้อนนึกไปถึงอดีตของเราเอง โดยเฉพาะในช่วงที่เราอายุ 11-20 ปี ช่วงที่เราคิดที่จะฆ่าตัวตายเป็นประจำ ช่วงที่เราอยากจะกรีดร้องกรี๊ด กรี๊ด กรี๊ด กรี๊ด กรี๊ด ออกมาให้สุดเสียง กรีดร้องออกมาจนกว่าจะหมดแรง จนกว่าจะเสียงหาย เพื่อระบายสิ่งที่มันเก็บกดไว้ข้างในออกมาได้บ้าง แต่เราไม่มี "โอกาส" หรือ "สถานที่" ที่จะกรีดร้องแบบนั้นออกมาได้ คือถ้าหากเราได้มีโอกาสเข้าร่วมในโครงการ video แบบนี้ เราคงจะเข้าร่วมอย่างแน่นอน เพื่อที่เราจะได้กรีดร้องอย่างเต็มที่ เพื่อที่เราจะได้ปลดปล่อยความทุกข์ในใจออกมา
คือในตอนนั้น เราไม่มี "สถานที่" ที่จะกรีดร้องได้น่ะ เพราะถึงแม้เราจะมีช่วงเวลาที่ได้อยู่บ้านตามลำพัง แต่ถ้าหากเรากรีดร้องออกมา เพื่อนบ้านก็จะต้องได้ยินอยู่ดี แล้วก็คงเรียกตำรวจมาดู
แล้วถ้าหากเรากรีดร้องต่อหน้าคนในบ้าน ก็มีสิทธิว่ามันคงจะตามมาด้วยการทะเลาะอย่างรุนแรงตามมา แล้วเรารู้ว่า เราเป็นคนที่ควบคุมตัวเองไม่ได้ และเมื่อใดก็ตามที่เราควบคุมตัวเองไม่ได้ ทุกอย่างก็อาจจะจบสิ้นลงได้
แล้วยุคนั้นมันก็คือทศวรรษ 1980 ด้วย มันไม่มีอินเทอร์เน็ต ไม่มีรถไฟฟ้า เราคงไม่ทดลองนั่งรถเมล์ไปเรื่อย ๆ ในกรุงเทพ เพื่อหาสถานที่รกร้างว่างเปล่าที่กว้างใหญ่มากพอที่เราจะกรีดร้องได้โดยไม่มีคนได้ยิน แล้วการที่เด็กวัยรุ่นอย่างเรา จะไปหาสถานที่เปลี่ยว ๆ แบบนั้น มันก็อันตรายเกินไปด้วย
เราก็เลยชอบไอเดีย "ห้องเก็บเสียงสำหรับร้องกรี๊ด" ในหนังเรื่อง "หลังคาแดง" THE RED ROOF (1987, Euthana Mukdasanit) มาก ๆ อยากให้มีห้องแบบนั้นจริง ๆ มาก ๆ เราจะได้เข้าไปร้องกรี๊ดได้อย่างสุดเสียง
ไป ๆ มา ๆ แล้ว ในตอนนั้น สถานที่ที่เราได้ปลดปล่อยเสียงกรี๊ดออกมาได้มากที่สุด ก็เลยเป็น สวนสนุกชั้น 8 มาบุญครอง โดยเฉพาะตอนเราเล่นเครื่องเล่นที่มีรูปร่างคล้ายตัวหนอน ตอนนั้นเราร้องกรี๊ดหนักมาก ๆ ๆ ๆ ๆ จนโฆษกของเครื่องเล่นนั้น เขาประกาศออกไมค์ให้ผู้คนในสวนสนุกได้ยินทั่วกันเลยว่า "มาดูเด็กผู้ชายร้องกรี๊ดกันครับ มาดูเด็กผู้ชายร้องกรี๊ดกัน" ซึ่งเหตุการณ์นี้ผ่านมานาน 36-37 ปีแล้ว แต่เราก็ยังคงภูมิใจกับมันอยู่ 555 และเราก็รู้ดีว่า การร้องกรี๊ดของเราในตอนนั้น มันไม่ได้เกิดจาก "ความกลัว" และ "ความสนุกตื่นเต้น" ที่เราได้รับจากเครื่องเล่นเพียงอย่างเดียว แต่มันเป็นสถานที่และโอกาสสำหรับเรา ในการปลดปล่อยความเป็นกะเทย และในการได้กรีดร้องให้สะใจในแบบที่เราไม่มีโอกาสทำได้ในสถานที่อื่น ๆ ด้วย
เรียงลำดับความชอบ แบบเน้นฮา 555555
1.SCREAM
2. SCREAM 3
3.THE SCREAM (2013/2015, Marina Abramovich, Norway, 69min, video installation)
4.SCREAM 5
5.SCREAM 2
6.SCREAM 4
7.SCREAM 6
ตอนช่วง ASEAN FILM FESTIVAL ในเดือนม.ค. มีฝรั่งโรคจิตคนหนึ่ง แย่งที่นั่งคนอื่น ๆ พอพนักงานมาบอกให้เขานั่งตามที่นั่งในตั๋ว เขาก็ด่าทอพนักงานอย่างรุนแรงหนักมาก ทั้ง ๆ ที่เขาเป็นฝ่ายผิด
วันนี้มีเพื่อนมาเล่าให้ฟังว่า เกิดเหตุการณ์แบบเดียวกันนี้ที่โรงหนังอีกแห่งในวันนี้ แต่เราไม่รู้ว่าเป็นฝรั่งคนเดียวกันกับที่มาอาละวาดใน ASEAN FILM FESTIVAL หรือเปล่า บางทีอาจจะเป็นคนละคนกัน
อย่างไรก็ดี สรุปได้ว่ามีฝรั่งโรคจิตกำลังตระเวนสร้างความเดือดร้อนตามโรงหนังในกรุงเทพช่วงนี้ เพราะฉะนั้นทางโรงหนังควรเตรียมรปภ.ให้พร้อมรับมือกับคนโรคจิตไว้ค่ะ