Thursday, June 29, 2023

SUNSET, SUNRISE OVERTURE

 

ALL FOR ONE: ประชาชนเป็นเพียงเศษเสี้ยวหนึ่งของรัฐ (2023, Thanapat Termsintawee, video installation, A+30)

 

งานวิดีโอแนวการเมือง ชอบสุดขีด

 

ดูได้ในนิทรรศการ ฮึบ
https://web.facebook.com/groups/364732941248436/posts/954214818966909/

 

SUNSET, SUNRISE OVERTURE (2023, Miti Ruangkritya, video installation, 12.50mins, A+30)

 

ตอนแรกเราพยายามหันดูสลับกันไปมาระหว่างสองจอ แต่พอทำไปสักพักก็รู้สึกไม่ happy ก็เลยเน้นดูแค่จอ SUNSET จอเดียวเป็นหลัก เพราะเราชอบดูพระอาทิตย์ตกดินอยู่แล้ว เราไม่ชอบดูพระอาทิตย์ขึ้น 555

 

เหมือนคุณมิติชอบทำอะไรที่เกี่ยวกับ sunset ด้วยนะ อย่างเช่นงาน A CONVENIENT SUNSET/A CONVENIENT HOLDUP (2019) ที่มีการถ่ายภาพร้าน 7-ELEVEN หลาย ๆ ร้านขณะพระอาทิตย์ตกดิน และงานวิดีโอ SATHORN SUNSET NO. 1 (2018) ซึ่งเราก็ชอบทั้งสองงานนี้มาก ๆ เหมือนกัน

 

ในส่วนของ SUNSET, SUNRISE OVERTURE นั้น เราชอบมาก ๆ ตอนที่ “แสงอาทิตย์ใกล้หายไป” ในจอ SUNSET และตอนที่แสงอาทิตย์ยังไม่เผยให้เห็น “ลานหญ้า” ในจอ SUNRISE เพราะตอนที่แสงอาทิตย์มันน้อย ๆ ไม่เผยให้เห็นลานหญ้านั้น มันให้ความรู้สึกเหมือนดูความเคลื่อนไหวของพระอาทิตย์ท่ามกลาง “ธรรมชาติ” จริง ๆ 555 นึกถึงหนังแบบ SLEEP HAS HER HOUSE (2017, Scott Barley) อะไรทำนองนี้ เหมือนเราได้สัมผัส “ความงามตามธรรมชาติ”

 

แต่ใน moments ที่เราเห็น ลานหญ้าที่เรียบเนียนสะอาดในทั้งสองวิดีโอนั้น เราก็ตระหนักว่า ทิวทัศน์นั้นมันเป็น man-made beauty ไม่ใช่ natural beauty ซึ่งมันก็จะสร้างความรู้สึกแปลก ๆ ที่น่าสนใจดี เพราะลานหญ้าที่เรียบเนียนแบบนั้นอาจจะทำให้นึกถึงพวกสนามกอล์ฟหรือสถานที่ของคนรวย ๆ และเราก็จะไปนึกถึง economic violence หรือ environmental violence ที่อาจจะพ่วงมากับสถานที่แบบนั้น ซึ่ง economic violence นี้ก็เป็นสิ่งที่งานชิ้นก่อน ๆ ของคุณมิติเคยทำให้เรานึกถึงเหมือนกัน

Tuesday, June 27, 2023

MY SELF-IDENTIFICATION WITH CHARACTERS IN FILMS

 

หนังที่เราดูแล้วอินง่ายที่สุด ก็คือหนังชีวิตผู้หญิงหรือหนังที่นำเสนอตัวละครหญิงที่เรารู้สึก identify ด้วยได้ อย่างเช่น

 

1.ANOTHER WOMAN (1988, Woody Allen)

 

2.AWAKENING (2006, Junji Sakamoto, Japan)

 

3.BANGKOK TRADITION (2021, Thamuya ฐามุยา ทัศนานุกูลกิจ)

 

4.BU SU (1987, Jun Ichikawa, Japan)

 

5.THE GREEN RAY (1986, Eric Rohmer, France)

 

6.LOVELY RITA (2001, Jessica Hausner, Austria)

 

7.MAPS TO THE STARS (2014, David Cronenberg)

 

8.MISS FIRECRACKER (1989, Thomas Schlamme)

 

9.PARTY GIRL (2014, Marie Amachoukeli-Barsacq, Samuel Theis, Claire Burger, France)

 

10.SHIRLEY VALENTINE (1989, Lewis Gilbert, UK)

 

11.SWANN (1996, Anna Benson Gyles, Canada/UK)

 

12.VALERIE FLAKE (1999, John Putch)

---------

อาลัยอาวรณ์โรงหนังในโฆษณาเหล่านี้มาก ๆ เวลาผ่านมานาน 31 ปีแล้ว และเราก็เข้าใจว่า ภาพยนตร์เรื่อง BASIC INSTINCT คงไม่ใช่สิ่งที่หาดูได้ยากในปัจจุบัน แต่ "โรงภาพยนตร์" เกือบทั้งหมดที่อยู่ในโฆษณานี้ คงเป็นสิ่งที่หาดูไม่ได้อีกต่อไปในปัจจุบัน โดยเฉพาะโรงภาพยนตร์ "ฮอลลีวู้ด 2" ซึ่งเป็นโรงภาพยนตร์ที่เราไปดูหนังเรื่องนี้กับเพื่อน ๆ เราจำได้ว่าเราไปดูหนังที่โรงภาพยนตร์ฮอลลีวู้ด 1 กับ 2 บ่อยสุด ๆ ในทศวรรษ 1990 เพราะมันเป็นโรงที่ฉายหนังดีๆ อย่าง BEFORE SUNRISE, BARAKA (1992, Ron Fricke), BARCELONA (1994, Whit Stillman), THE RUN OF THE COUNTRY (1995, Peter Yates), "สตรีที่โลกแกล้งให้แพงน้ำตา" (1991, Stanley Kwan, Hong Kong), INCIDENT AT OGLALA (1992, Michael Apted, documentary), etc. คิดถึงโรงหนังฮอลลีวู้ด 1 กับ 2 อย่างรุนแรงที่สุด เพื่อนเราให้คำนิยามโรงหนังสองโรงนี้ว่าเป็น "โรงหนังที่ตั้งอยู่ใจกลางกรุงเทพ แต่อยู่นอกเขตมนุษย์" เพราะห้างฮอลลีวู้ดเป็นห้างที่ "เปลี่ยว" มาก ๆ ทั้ง ๆ ที่ตั้งอยู่ใกล้กับสยามสแควร์แค่นิดเดียว (ห้างนี้ตั้งอยู่ตรงข้ามกับโรงแรมเอเชีย อยู่แถว ๆ สถานีรถไฟฟ้าราชเทวีในปัจจุบัน)

Sunday, June 25, 2023

TO AND FRO (2023, Rungruang Sittirerk, video installation, A+30)

TO AND FRO (2023, Rungruang Sittirerk, video installation, A+30)

 

ชอบที่พูดถึงประวัติศาสตร์ 1000 ปีที่ผ่านมาของเมืองฝางในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราไม่เคยรู้มาก่อน และก็ชอบที่พูดถึงเส้นทางที่ใช้ในการยกทัพของพระยาเม็งราย เรื่อยมาจนถึงการตัดถนนตั้งแต่ในยุคคณะราษฎร, การตัดถนนเพื่อใช้ในการต่อต้านคอมมิวนิสต์ และกลายมาเป็นถนนที่ผู้คนใช้ในการย้ายถิ่นเข้ามาทำงานในตัวเมืองเชียงใหม่หรือในกรุงเทพในเวลาต่อมา

 

เหมือนเป็นงานที่มี dialogue กับนิทรรศการ THE BOUNDARY OF SOLITUDE (2023, Vacharanont Sinvaravatn) โดยไม่ได้ตั้งใจ เพราะมันพูดถึงกระบวนการสร้างชาติของรัฐไทยและการตัดถนนในยุคต่อต้านคอมมิวนิสต์เหมือนกัน ถ้าเข้าใจไม่ผิด เพียงแต่ TO AND FRO เน้นไปที่เมืองฝาง ส่วน THE BOUNDARY OF SOLITUDE เน้นไปที่ภาคอีสาน


RIP Frederic Forrest (1936-2023)

 

เราได้ดู TROPICAL MALADY รอบแรกในวันที่ 24 มิ.ย. 2004 หรือเมื่อ 19 ปีที่แล้วพอดี ซึ่งเป็นช่วงที่ "โปรแกรมการฉายภาพยนตร์ในกรุงเทพ" เดือดสุดขีด เพราะในเดือนมิ.ย.ปี 2004 มีทั้ง

 

1.งาน Retrospective ของ Hans-Jurgen Syberberg ที่ Goethe + ห้องสมุดธรรมศาสตร์ เราได้ดู THEODOR HIERNEIS OR HOW TO BECOME A FORMER COURT CHEF (1972) เป็นรอบที่ 4 ก็ในงานนี้นี่แหละ

 

2.เทศกาลภาพยนตร์เม็กซิโก ที่ลิโด ซึ่งมีฉายหนังที่เราชื่นชอบสุด ๆ อย่างเช่น DIVINE (1998, Arturo Ripstein) และ THE RUINATION OF MEN (2000, Arturo Ripstein)

 

3.เทศกาลภาพยนตร์ฝรั่งเศสที่ Central World ซึ่งในงานนี้มีการฉายหนังเรื่อง THE DEVILS (2002, Christophe Ruggia) ในงานด้วย และมีการเชิญ Adele Haenel ซึ่งเป็นดารานำ กับ Christophe Ruggia มาทักทายพูดคุยตอบคำถามผู้ชมชาวไทยในงาน เราจำได้ว่า หน้าตาของ Adele Haenel ดูไม่รื่นเริงเท่าไหร่ ซึ่งในตอนนั้นเราก็นึกว่าคงเป็นเรื่องปกติของนักแสดงฝรั่งเศส ที่ไม่ได้คิดว่าตัวเองต้องเป็น entertainer ที่ต้องคอยเอาใจผู้ชม แต่พอมาอีกหลายปีให้หลัง เราถึงได้รู้ข่าวว่า Christophe Ruggia เคย sexual harassment Adele Haenel เราก็เลยสงสัยว่า นั่นคือสาเหตุที่แท้จริงหรือเปล่าที่ทำให้ Adele Haenel มีท่าทางอย่างนั้นตอนมาทักทายผู้ชมชาวไทย

 

เวลาผ่านมานาน 19 ปีแล้ว และ TROPICAL MALADY ก็กลับมาฉายอีกครั้ง แต่งาน retrospective ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวเยอรมันหายไปแล้ว, เทศกาลภาพยนตร์เม็กซิโกหายสาบสูญไปแล้ว และเทศกาลภาพยนตร์ฝรั่งเศสก็หายสาบสูญไปแล้ว ฮือ ๆ ๆ อยากย้อนกลับไปปี 2004 มาก ๆ

 

RIP Frederic Forrest (1936-2023)

 

เราได้ดูผลงานการแสดงของเขาแค่ไม่กี่เรื่อง ซึ่งรวมถึงเรื่อง

 

1.APOCALYPSE NOW (1979, Francis Ford Coppola)

 

2. LONESOME DOVE (1989, Simon Wincer, 6hours 24mins, miniseries)

ถ้าจำไม่ผิด เขารับบทเป็นตัวร้ายที่น่ากลัวที่สุดในเรื่องนี้

 

3.I KNOW MY FIRST NAME IS STEVEN (1989, Larry Elikann, 3hours) เป็นมินิซีรีส์ที่เคยมาฉายช่อง 3 เขารับบทนำในเรื่องนี้ สร้างจากเรื่องจริงของผู้ชายที่ลักพาตัวเด็กผู้ชายไปล่วงละเมิดทางเพศเป็นเวลานานหลายปี

 

4.MUSIC BOX (1989, Costa-Gavras) เข้าใจว่าเขารับบทเป็นอัยการในหนังเรื่องนี้

 

5.FALLING DOWN (1993, Joel Schumacher)

 

6.THE END OF VIOLENCE (1997, Wim Wenders)

 

เขาเคยเข้าชิงรางวัลออสการ์จาก THE ROSE (1979, Mark Rydell) ด้วย แต่เรายังไม่ได้ดูหนังเรื่องนี้

 

ประวัติของเขาน่าสงสารมาก ๆ เหมือนเขาเคยได้รับบทนำใน ONE FROM THE HEART (1981, Francis Ford Coppola) และ HAMMETT (1982, Wim Wenders) แต่บทพระเอกในหนังทั้งสองเรื่องนี้ก็ไม่สามารถดันให้เขากลายเป็นดาราดังได้ 

 

รูปของเขาจาก MUSIC BOX (คนซ้าย)

Thursday, June 22, 2023

IF I CAN MAKE ONE WISH… (2023, Saroot Supasuthivech, video installation, A+30)

 

IF I CAN MAKE ONE WISH… (2023, Saroot Supasuthivech, video installation, A+30)

 

งานวิดีโอ 4 จอ ที่พอไปดูแล้วก็พบว่ามันมีส่วนที่ทับซ้อนกับหนังสั้นที่เราได้ดูในงานมาราธอนปีที่แล้ว 555 แต่การได้มาดูมันในฐานะ video installation แบบนี้ก็ได้พลังในแบบที่แตกต่างจากการดูทางจอคอมพิวเตอร์เล็ก ๆ ที่บ้านอยู่เหมือนกัน

 

ดูแล้วก็นึกถึงหนัง 3 เรื่องของคุณ Saroot ที่เราได้ดูมาก่อนหน้านี้ ตั้งแต่ GHOST’S ALL MASS (2014), SECURITY GUARD (2017) และ PHO (2021) เหมือนหนังทั้ง 4 เรื่องนี้มีจุดเด่นที่ความหลอกหลอนแบบพิเศษ เหมือนกึ่ง ๆ ผี, กึ่ง ๆ จิตวิทยา, กึ่ง ๆ เซอร์เรียล, มีการพูดถึงสถานที่, ประวัติของสถานที่ และเหมือนอดีต, ความทรงจำ หรือเหตุการณ์เลวร้ายที่เคยเกิดขึ้นในสถานที่นั้นมันยังคง reverberate มาจนถึงปัจจุบัน ในแบบที่อาจจะคล้ายๆ กับผีร้าย

 

ลักษณะ “ความหลอน” ที่เป็นเอกลักษณ์ของคุณ Saroot คือการนำเสนอภาพของสถานที่นั้นใน form ของแบบจำลองทาง graphic computer แล้วทำให้ภาพแบบจำลองของสถานที่นั้นมีบางส่วนที่แตกหักเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย เราชอบอะไรแบบนี้มาก ๆ มันเหมือนภาพจำลองแบบนี้กระตุ้นให้เรามอง “สถานที่ต่าง ๆ” ในชีวิตจริงด้วยการรับรู้ทั้งปัจจุบันของมัน และจินตนาการถึงอดีตของมันไปด้วยในเวลาเดียวกัน

 

สิ่งที่ทำให้ IF I CAN MAKE ONE WISH…ดูโดดเด่นหรือแตกต่างจากหนังเรื่องอื่นๆ ของคุณ Saroot ก็คือว่า ในขณะที่ SECURITY GUARD และ PHO อาจจะพูดถึงประวัติศาสตร์ที่ถูกหลงลืมของสถานที่หนึ่ง IF I CAN MAKE ONE WISH พูดถึงสะพานข้ามแม่น้ำแควและประวัติศาสตร์แรงงานเชลยในสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ถูกหลงลืม และไม่ใช่สิ่งที่ได้รับการปกปิด แต่เป็นสิ่งที่หลายคนรู้กันดีอยู่แล้ว โดยเฉพาะจากภาพยนตร์อย่าง THE BRIDGE ON THE RIVER KWAI (1957, David Lean) และ THE RAILWAY MAN (2013, Jonathan Teplitzky, Switzerland)

 

เราก็เลยชอบมากที่งานวิดีโอนี้ทำในสิ่งที่แตกต่างจากหนังเรื่องอื่น ๆ ที่พูดถึงเหตุการณ์เดียวกัน และทำในสิ่งที่แตกต่างจากงานวิดีโออื่น ๆ ของคุณ Saroot เองด้วย ด้วยการให้จอหนึ่งของวิดีโอนี้ focus ไปที่ “กลุ่มผู้ชม” การแสดงในเทศกาลสะพานข้ามแม่น้ำแคว คือแทนที่ “เหตุการณ์ในช่วง WWII” จะเป็นประเด็นหลักเพียงประเด็นเดียว (แบบที่พบได้ในหนังเรื่องอื่น ๆ) “การชมการแสดงเหตุการณ์ในช่วง WWII กลับกลายเป็นประเด็นหลักของงานวิดีโอนี้ด้วย ซึ่งเราก็ไม่แน่ใจว่ามันหมายความว่าอะไร แต่มันเป็นมุมมองที่น่าสนใจและพิศวงมาก ๆ สำหรับเรา 555

--------------

เว็บไซท์นี้รวบรวมคะแนนที่นักวิจารณ์แต่ละคนใน Cahiers du Cinema ให้แก่หนังเรื่องต่าง ๆ ในปี 1955-1968 งดงามที่สุด เป็นลิสท์ที่มีคุณค่าสุด ๆ สำหรับเรา สิ่งสำคัญสำหรับเราไม่ใช่คะแนนในนี้ เพราะว่านักวิจารณ์แต่ละคนชอบหนังไม่ตรงกับเราอยู่แล้ว 555 แต่สิ่งที่เราชอบคือการได้ดูรายชื่อหนังเรื่องต่าง ๆ ในอดีต ทั้งหนังที่เราเคยดูแล้ว และหนังจำนวนมากที่เรายังไม่ได้ดู

 

เราตัดสินใจได้ในทันทีว่าเราจะไม่แคร์คะแนนในนี้มากนัก (หมายถึงว่าเราอาจจะสนใจหนังที่ได้คะแนนสูงในนี้ แต่เรามองว่าหนังที่ได้คะแนนต่ำมากในนี้ก็อาจจะเป็นหนังที่เข้าทางเราอย่างสุด ๆ ได้เช่นกัน) หลังจากพบว่า LADY CHATTERLEY’S LOVER (1955, Marc Allegret, A+30) ซึ่งเป็นหนังเรื่องโปรดของเรา ได้คะแนนเพียงแค่ 0.2 เต็ม 3 เพราะว่านักวิจารณ์เพศชาย 6 คนให้คะแนนหนังเรื่องนี้ 0/3 แต่มีนักวิจารณ์เพศหญิงคนหนึ่งให้คะแนนหนังเรื่องนี้ 2/3 แล้วอย่างนี้ดิฉันจะสนคะแนนของนักวิจารณ์เพศชายเหล่านี้ทำไม 55555 (ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติธรรมดาค่ะ ไม่มีใครผิดหรือถูกอะไรที่ชอบหนังไม่ตรงกับเรา 555)

https://rateyourmusic.com/list/byg_actuel/cahiers-du-cinema-all-the-movies-rated-from-n-52-november-1955-to-202-june_july-1968/1/

 

Wednesday, June 21, 2023

FROLICKED IN THE AUTUMN MIST

 Films seen in the 13th week of the year 2023 (26 March -- 1  April)


1.FROLICKED IN THE AUTUMN MIST (2023, Hathaitat Kraiklang, short film, A+30)

2.MOONSAULT (2023, นัฐชนัย รัตน์สูงเนิน, short film, A+30)


3.DESTROY MEMORIES AND TIMES (2023,  นฬก + เสือลาตาย, A+30)

4.SURNAME VIET GIVEN NAME NAM (1989, Trinh T. Minh-ha, Vietnam/USA, documentary, A+30)

5.HEMIMETA (2022, Pannaporn Wattanapong,  36min, A+30)

6.TOUCHEES (EN GARDE) (2022, Alexandra Lamy, France, A+30)

7.THE TUNNEL TO SUMMER, THE EXIT OF GOODBYES (2022, Tomohisa Taguchi, Japan, animation, A+30)

8.TALES FROM SET: STUNT DEPARTMENT (2023, ภานุ วรรณีเวชศิลป์ Panu Wanneewechsilp, documentary, A+30)

9.MADLY IN LIFE (2020, Raphael Balboni, Ann Sirot, Belgium, A+30)

10.แต้มบุญ (2023, ธนรัตน์ ฉัตรธงไชย Thanarat Chatthongchai, short film,  A+30)

11.LAST MESSAGE (2023, อัศจรรย์ แจ้งใจ, short film, A+30)

12.UTA NO PRINCE SAMA MAJI LOVE STARISH TOURS (2022, Jouji Furuta, Japan, animation, A+30)

13.AMBER DIARY (2023, Lingyi Liang, documentary, A+30)

14.ONCE THE EYES SERENE  หลับสองต๋า (2023 , Nichakan Kapheak, short documentary, A+30)

15.SOLITUDE OF THE MUSICIAN (2023 Kuntapa Ratchakijja, short documentary, A+30)

16.THE EDGE OF INSANITY เรื่องวุ่น ๆ ของวัยรุ่นนักเขียน บ้านสยอง คนสยิว คิดเช่นฮู้อยากรู้เธอคิดเช่นใย นรกครัว 6 เมตร (2023 , Phum Boon-num, short film, A+25)

17.KICK TWIST (2023, Benyatip Thaitonchuak, Owin Pantiaoontorn, Natthaphon Phimka, short film, A+25)

18.LENTICULAR (2023, พลเทพ เปลี่ยศิริชัย,  short film, A+25)

19.FAMILIES (2023, Apiwat Tiensongrusamee, short film A+)

20.CATERPILLAR (2023, Jakkapong Techawatthanawanna, Chanapol Thawong, A+)

21.CAPTAIN กัปตัน (2023, Natchapol Kuaingoen, 32min A+)

22.VENARI (2023, Adtapol Chadtakan, 37min, A-)

23.เงิน I ข้าม I คืน (2023, อภิชาติ แสนสี, short film, C+)

24.ชีวิตวันสุดท้ายขอใช้มันกับยมทูตสาว (2023, ปฏิพัทธ์ ยันตะระประกรณ์, short film, C+ )

สรุปว่าใน 13 สัปดาห์แรกของปี เราดูหนังไปแล้ว 209 + 24 = 233 เรื่อง แต่เป็นหนังสั้นหลายเรื่อง

LADIES IN LAVENDER (2004, Charles Dance, UK) ความรักข้างเดียวที่ Ursula (Judi Dench) มีให้แก่ Andrea (Daniel Bruhl) ชายหนุ่มที่มีอายุอ่อนกว่าเธอราว 40 ปี เป็นหนังที่สะท้อนความเงี่ยนของสาวแก่ (อย่างดิฉัน) ที่มีต่อผู้ชายที่อายุน้อยกว่าได้อย่างดีงามและเจ็บปวดที่สุดค่ะ

NEON GHOST (2023, Kay Walkowiak, video installation, A+30)

From the exhibition ELEVATED MARBLESQUE by Akira Ishiguro ชอบมาก ๆ ที่ภาพมันนูนออกมา

ช่วงนี้เห็นพนักงานโรงหนังแต่งตัวเป็นทั้ง SPIDER-MAN, BATMAN  THE FLASH เพื่อโปรโมทหนัง เราก็เลยหวังว่าจะมีคนเอา HE-MAN มาสร้างเป็นหนังอีก หรือเอา MASTERS OF THE UNIVERSE (1987, Gary Goddard) มาฉายใหม่ เพื่อที่ทางโรงหนังจะได้ให้พนักงานหนุ่ม ๆ แต่งตัวเป็น HE-MAN กันบ้าง รับรองว่าดิฉันจะเข้าโรงหนังเป็นประจำในช่วงนั้นค่ะ

SPIN-OFF WISH LIST

1. หนังเกี่ยวกับ The Beggar Woman ใน INDIA SONG (1975, Marguerite Duras) ถ้าจำไม่ผิด เธอเดินเท้าจากสุวรรณเขตมาอินเดีย แล้วลูกของเธอตายไป 12 คนในระหว่างการเดินทาง

2.  หนังเกี่ยวกับ "หญิงผู้ไร้ยางอาย" ใน ABOUT ENDLESSNESS (2019, Roy Andersson, Sweden)
----
สุดฤทธิ์ ถ้าหากนิทรรศการ ANATOMY OF SILENCE: NA BUA ของ Pachara  Piyasongsoot ส่งผลกระทบต่อเราในแบบที่ทำให้นึกถึงภาพยนตร์ของ Apichatpong Weerasethakul นิทรรศการ  THE BOUNDARY OF SOLITUDE by Vacharanont Sinvaravatn ก็ส่งผลกระทบต่อเราในแบบที่ทำให้นึกถึงภาพยนตร์ของ Chantal Akerman (SOUTH, FROM THE EAST, NEWS FROM HOME) และ James Benning

----

SWEETNESS AND POWERS (2022-2023, Niwat Manatpiyalert, film installation, A+30)

งาน film installation ที่ใช้เอทานอลเป็นพลังงานในการขับเคลื่อนเครื่องฉายฟิล์ม
---
ชอบ Peggy Lu ในบท Mrs. Chen ใน VENOM (2018) กับ VENOM: LET THERE BE CARNAGE (2021) มาก ๆ ดีใจที่เธอโผล่มาใน SPIDER-MAN: ACROSS THE SPIDER-VERSE  ด้วย
---
ฉันรักเขา Vicky Kaushal from  ZARA HATKE ZARA BACHKE (2023, Laxman Utekar, India, A+30), HUSBAND MATERIAL (2018, Anurag Kashyap, A+30), RAMAN RAGHAV 2.0 (2016, Anurag Kashyap, A+30), BOMBAY VELVET (2015, Anurag Kashyap, A+30)
---
เห็นข้อมูลเรื่องความเสียหายอย่างรุนแรงทางระบบนิเวศที่อาจเกิดจากการทำบุญปล่อยปลาดุกแล้ว ก็เลยจำได้ว่าตอนเราเด็ก ๆ ประมาณช่วงต้นทศวรรษ 1980 ซึ่งน่าจะเป็นช่วงหลังจากที่หนังเรื่อง PIRANHA PART TWO: THE SPAWNING (1981, James Cameron) เข้าฉายในไทย ก็มีข่าวลงหน้าหนึ่งไทยรัฐว่า มีคนพบปลาที่อาจจะเป็นปลาปิรันย่าในแม่น้ำเจ้าพระยา คาดว่าน่าจะเกิดจากการที่มีเศรษฐีลักลอบนำปลาปิรันย่ามาเลี้ยง แล้วพอเบื่อก็ปล่อยลงแม่น้ำเจ้าพระยาไป แทนที่จะฆ่าทิ้ง แล้วพอข่าวนี้ออกมา คนก็เลยกลัวกันมาก เพราะภูมิอากาศของไทยมันเป็น tropical ร้อนชื้นเหมือนป่าอะเมซอน ปลาปิรันย่าก็เลยอาจแพร่ระบาดในแม่น้ำเจ้าพระยาได้เหมือนในอะเมซอน

พอนึกถึงข่าวนั้นก็เลยนึกถึง "ผักตบชวา" ด้วย ที่เป็น alien species ที่ถูกนำมาแพร่ระบาดในแม่น้ำเจ้าพระยาเหมือนกัน

ไม่รู้ว่ามีใครจำข่าวปลาปิรันย่าในแม่น้ำเจ้าพระยาได้หรือเปล่า เราพยายาม google หาว่ามีใคร post ข่าวหน้าหนึ่งไทยรัฐอันนั้นเอาไว้บ้างมั้ย แต่ดูเหมือนไม่มีใคร post ไว้ เพราะมันก็นาน 40 ปีมาแล้ว
---
ฉันรักเขา ณฐวัฒน์ ธนทวีประเสริฐ from HOONPAYON (2023, Phontharis Chotkijsadarsopon, +15)

ฉันรักเขา Pannawich Pattanasiri from HOONPAYON (2023, Phontharis Chotkijsadarsopon, +15)

ฉันรักเขา Jaturawich Chiaoprasit from HOONPAYON (2023, Phontharis Chotkijsadarsopon, A+15)

ฉันรักเขา  Kunathip Pinpradub from HOONPAYON (2023, Phontharis Chotkijsadarsopon, A+15)

MOST FAVORITE UNRESOLVED ENDINGS

1. HEREMIAS (2006, Lav Diaz, Philippines, 9 hours)

2.THORNS IN THE CHEST หนามยอกอก (1979, Kornsawasdi)

3.FREVEL (1983, Peter Fleischmann, West Germany)

4. LIKE SOMEONE IN LOVE (2012, Abbas Kiarostami)

5. BEAUTIFUL CITY (2004, Asghar Farhadi, Iran)

ฉันรักเขา Yang Bo Xiao from DELICIOUS ROMANCE (2023, Leste Chen, Hsu Chao-jen, China, A+15)

ฉันรักเขา Zhang Fan from DELICIOUS ROMANCE (2023, Leste Chen, Hsu Chao-jen, China, A+15)

ชอบ SHIN GODZILLA (2016), SHIN ULTRAMAN (2022) และ SHIN KAMEN RIDER (2023)  อย่างรุนแรงมาก จนอยากให้ Hideaki Anno มากำกับ SHIN SUKEBAN DEKA

ฉันรักเขา Yutaka Takenouchi from SHIN KAMEN RIDER (2023, Hideaki Anno, Japan, A+30)  -----
ONE OF MY MOST FAVORITE TRACKING SHOTS OF ALL TIME อยู่ในไตเติลละครทีวีฮ่องกงเรื่อง จอมใจจอมยุทธ THE LEGEND OF THE BOOK AND THE SWORD เวอร์ชั่นปี 1987 คือมันเป็นช็อตที่เราดูมานาน 35 ปีแล้ว แต่ก็ยังคงไม่ลืม ฝังใจเรามานาน 35 ปี

จอมใจจอมยุทธ เล่าเรื่องของ “พรรคดอกไม้แดง” ที่ต่อต้านฮ่องเต้ราชวงศ์ชิง (เยิ่นต๊ะหัว) โดยในพรรคดอกไม้แดงมีหัวหน้าหน่วย 14 คน และมีหัวหน้าใหญ่คือ เฉินเจียลั่ว (เผิงเหว่ยเจียน) โดยใน tracking shot นี้ ถ้าเราเข้าใจไม่ผิด กล้องจะเคลื่อนไปตามใบหน้าแบบหันข้างของหัวหน้าหน่วยพรรคดอกไม้แดงทั้ง 14 คน โดยเริ่มด้วยใบหน้าของอู๋ฉี่หัว บวกกับนางเอก 2 คน ซึ่งได้แก่องค์หญิงเซียงเซียง (เหลียงเพ่ยหลิน) กับฮั่วชิงถง (หลอฮุ่ยเจียน) และจบลงด้วยใบหน้าของเฉินเจียลั่ว ที่มาประจันหน้ากับฮ่องเต้ราชวงศ์ชิง tracking shot นี้ก็เลยประทับใจเราอย่างสุดๆ ที่มันนำตัวละครฝ่ายพระเอกนางเอกราว 17 คน มายืนประจันหน้ากับฮ่องเต้

ดูไตเติลแบบเต็ม ๆ ได้ที่
https://www.youtube.com/watch?v=PJXyrRnhG3Y
---

Thursday, June 15, 2023

BITTER SWEET (2023, Niwat Manatpiyalert, video installation, A+30)

 

BITTER SWEET (2023, Niwat Manatpiyalert, video installation, A+30)

 

1.ชอบอย่างสุดขีดคลั่งมาก ๆ แต่ไม่รู้ตัววิดีโอจริง ๆ ยาวกี่นาที เพราะเรานั่งดูมานานราว 50 นาทีแล้วก็ยังไม่จบ 555

 

2.ชอบตัว format ที่เป็นวิดีโอเทปมาก ๆ ดีใจที่ได้เห็นเครื่องเล่นวิดีโอที่ยังใช้งานได้อยู่

 

3. ชอบการทำเหมือนกับว่า วิดีโอนี้เป็นการอัดทับหนังเรื่อง TITANIC แล้วจะมีฉากจากหนังเรื่อง TITANIC โผล่มาเป็นระยะ ๆ เราชอบจุดนี้เพราะเราก็เติบโตมากับการอัดทับวิดีโอเทปไปเรื่อย ๆ เหมือนกัน

 

4.ส่วนที่เป็นการถ่ายภาพการทำงานของชาวไร่อ้อยก็ชอบมาก ดูแล้วนึกถึงหนังอย่าง DOUBLE TIDE (2009, Sharon Lockhart) หรือหนังอย่าง HARVEST SEASON (2009, Pisut Srimhok) ที่จับภาพการทำงานของเกษตรกรไปเรื่อย ๆ ซึ่งเราดูหนังแบบนี้ได้ไม่เบื่อ ไม่รู้เป็นเพราะอะไร และระหว่างที่ดูเราก็จะสลับระหว่างการนั่งคิดถึงประเด็นต่าง ๆ ไปเองเรื่อย ๆ และการจินตนาการถึงชีวิตและความรู้สึกของเกษตรกร

 

5.ไม่แน่ใจเหมือนกันว่า การใช้ TITANIC ในวิดีโอนี้มีจุดประสงค์อะไร แต่ดูแล้วเราก็คิดถึงเรื่องที่ว่า ประชากรโลกในปัจจุบันนี้ก็เหมือนอยู่ในเรือไตตานิกที่กำลังจะจม เพราะภาวะโลกร้อน, มลพิษอะไรต่าง ๆ จะสร้างความเดือดร้อนต่อมนุษยชาติมากขึ้นเรื่อย ๆ

 

6.จริง ๆ แล้วเราไม่ได้เป็นแฟนหนังเรื่อง TITANIC ซึ่งอาจจะเป็นเพราะว่าเราไม่ได้อินอะไรกับตัวละครในหนังเรื่องนี้มากนัก แต่พอมีการเอา TITANIC มาใช้ในวิดีโอนี้ เราก็เลยชอบ TITANIC เพิ่มขึ้นอย่างรุนแรงมาก ๆ เพราะวิดีโอนี้มันช่วย “เพิ่มมิติ” บางอย่างให้กับหนังเรื่อง TITANIC คือแทนที่ TITANIC จะเป็นเพียงแค่หนังเกี่ยวกับตัวละครกลุ่มนั้นหรือสถานการณ์นั้น วิดีโอนี้กลับทำให้ TITANIC กลายเป็นสัญลักษณ์หรือภาพสะท้อนอะไรบางอย่างขึ้นมา

 

7.ชอบ “ที่นั่งชมวิดีโอ” มาก ๆ ด้วย ที่เป็นเหมือนกับกระสอบใส่น้ำตาล

Monday, June 12, 2023

YEAST (2008, Mary Bronstein, A+30)

 

YEAST (2008, Mary Bronstein, A+30)

 

หนักที่สุด นึกว่าต้องตั้งชื่อเรื่องภาษาไทยว่า “ประสาท” หรือไม่ก็ “สามสาวประสาทแดก” สามารถปะทะกับหนังอย่าง TRASH (1970, Paul Morrissey) และ TANGERINE (2015, Sean Baker) ได้เลยในแง่ความ emotional nakedness, emotional rawness

 

ดูแล้วนึกถึงเพื่อนผู้หญิงกลุ่มหนึ่งในชีวิตจริงมาก ๆ คือพอนึกหน้าตัวละครเป็นเพื่อนผู้หญิง 3 คนนี้แล้วมันรู้สึกฮามาก ๆ 5555

 

ดูออนไลน์ได้ฟรีจนถึงราว ๆ เที่ยงวันศุกร์ที่ 16 มิ.ย.นะ มีให้กดดูซับไตเติลได้ด้วย (แต่เป็นซับไตเติลแบบอัตโนมัตินะ มันจะมีบางจุดที่ไม่ตรงกับที่ตัวละครพูดบ้างเหมือนกัน)

https://www.lecinemaclub.com/now-showing/yeast/

JFK REVISITED: THROUGH THE LOOKING GLASS

 

JFK REVISITED: THROUGH THE LOOKING GLASS (2021, Oliver Stone, documentary, A+30)

 

สิ่งหนึ่งที่หนังเรื่องนี้ไม่ได้ตั้งใจ ก็คือว่า พอเราดูเสร็จแล้ว เราก็มาจินตนาการต่ออย่างสนุกสนานว่า ใน multiverse ที่ JFK ไม่ได้ถูกลอบสังหารนั้น โลกใน multiverse นั้นมันจะแตกต่างจากโลกนี้อย่างไรบ้าง

 

คือหนังเรื่องนี้แสดงให้เห็นว่า ถ้าหาก JFK ยังมีชีวิตอยู่ต่อไป เขาก็จะควบคุม CIA ไม่ให้สาระแนเข้าไปเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศต่าง ๆ ในยุคสงครามเย็น และเขาจะให้ทหารอเมริกันถอนกองกำลังออกจากเวียดนามตั้งแต่ช่วงกลางทศวรรษ 1960 น่ะ เพราะฉะนั้นเราก็เลยจินตนาการต่อว่า ใน multiverse ที่ JFK ไม่ได้โดนลอบสังหารนั้น

 

1.ก็จะไม่เกิดการล้มล้างรัฐบาลประชาธิปไตยในชิลีในทศวรรษ 1970 (ดูผลกระทบได้จากหนังหลาย ๆ เรื่องของ Patricio Guzman)

 

2.ไม่มีการล้มล้างรัฐบาลประชาธิปไตยในอาร์เจนตินาในทศวรรษ 1970 (ดูผลกระทบได้จากหนังเรื่อง GARAGE OLIMPO (1999, Marco Bechis)

 

3.สงครามกลางเมืองใน Nicaragua ในทศวรรษ 1980 ก็คงไม่เหมือนเดิม (ดูผลกระทบได้จากหนังเรื่อง CARLA’S SONG (1996, Ken Loach)

 

4.สงครามกลางเมืองใน El Salvador ในทศวรรษ 1980 ก็คงไม่เหมือนเดิม (ดูผลกระทบได้จากหนังเรื่อง CHOICES OF THE HEART (1983, Joseph Sargent)

 

5.สถานการณ์ในหลาย ๆ ประเทศในทวีปแอฟริกาก็คงไม่เหมือนเดิม

 

6.สถานการณ์ในหลาย ๆ ประเทศในภูมิภาคตะวันออกกลาง ก็คงไม่เหมือนเดิม

 

7.ถ้าหากอเมริกาไม่เน้นทำสงครามเย็น อเมริกาก็อาจจะไม่ต้องให้ความสำคัญกับฐานทัพในฟิลิปปินส์ และไม่ต้องแคร์ Marcos ในทศวรรษ 1970-1980 มาร์กอสก็อาจจะไม่เหิมเกริมแบบที่ผ่านมา และ Lav Diaz ก็อาจจะไม่ต้องทำหนังที่สะท้อนความชั่วช้าของมาร์กอสแบบที่ผ่านมา

 

8.ถ้าหากทหารอเมริกันถอนตัวออกจากเวียดนามตั้งแต่ปี 1964-1965 ก็อาจจะไม่เกิด “ถนนพัฒน์พงศ์” และพัทยาก็อาจจะไม่เป็นแบบนี้หรือเปล่า เราไม่แน่ใจเหมือนกัน และคงไม่มีนิยาย/หนัง/ละครทีวีเรื่อง “ผู้หญิงคนนั้นชื่อบุญรอด”

 

แต่จริง ๆ แล้วเราไม่มีความรู้เรื่องการเมืองใด ๆ ทั้งสิ้น 555 เรารู้เรื่องราวพวกนี้ก็จากการดูหนังนี่แหละ เพราะฉะนั้นก็เลยอยากรู้ความเห็นของเพื่อน ๆ เหมือนกันว่า ใน multiverse ที่ JFK ไม่ได้ถูกลอบสังหารนั้น โลกมันจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง 555

 

ส่วนรูปนี้เป็นรูปของคุณหมอ Malcolm Perry ที่มีบทบาทสำคัญในหนังเรื่อง JFK REVISITED

Sunday, June 11, 2023

BOOKLET

 

ชอบมาก ๆ ที่ในงานฉายหนังเรื่อง COME WITH ME TO THE CINEMA – THE GREGORS (2023, Alice Agneskirchner, documentary, A+30) ที่หอภาพยนตร์ ศาลายาในวันเสาร์ที่ 10 มิ.ย. มีการแจก booklet ประกอบการฉายหนังด้วย เป็นสิ่งที่มีประโยชน์กับเราอย่างมาก ๆ

 

อยากดูหนังหลายเรื่องที่ถูกอ้างอิงถึงใน COME WITH ME TO THE CINEMA มาก ๆ โดยเฉพาะ

 

1.TRIUMPH OVER VIOLENCE (1965, Mikhail Romm, USSR)

หนังสารคดีที่เป็นการสำรวจและวิเคราะห์ Nazi

 

2.RED SUN (1970, Rudolf Thome, West Germany)

เราชอบหนังของ Rudolf Thome เรื่อง BERLIN CHAMISSOPLATZ (1980) กับ TAROT (1986) อย่างสุด ๆ อยากให้มีคนจัดงาน retrospective ของ Rudolf Thome มาก ๆ

 

3.STORIES OF A DUMPSTER KID (1969-1971, Edgar Reitz + Ula Stöck, West Germany)

อยากให้มีคนจัดงาน retrospective ของ Ula Stöckl ในกรุงเทพอีกรอบมาก ๆ (เราเข้าใจว่าเคยมีการจัดงานนี้ไปแล้วในกรุงเทพในทศวรรษ 1980 หรือเปล่า)  เพราะหนังเรื่อง THE SLEEP OF REASON (1984, Ula Stöckl) นี่ถือเป็น one of my most favorite films of all time แต่เรายังไม่เคยได้ดูหนังเรื่องอื่น ๆ ของเธอเลย

 

4.THE CHILDREN OF GOLZOW (1961-2007, Barbara Junge + Winfried Junge, documentary, East Germany)

เราเพิ่งรู้ว่ามีหนังสารคดีชุดนี้อยู่บนโลกใบนี้ด้วย หนังที่ตามติดชีวิตจริงของคน 18 คนในเยอรมันตะวันออกเป็นเวลานาน 46 ปี เราคิดว่ามันคงเป็นหนังที่สำคัญพอ ๆ กับหนังชุด 7 UP ของ Michael Apted ที่ตามติดชีวิตคนกลุ่มหนึ่งในอังกฤษเป็นเวลานาน 54 ปี , หนังชุด WITTSTOCK ของ Volker Koepp ที่ตามติดชีวิตสาวโรงงานในเยอรมันตะวันออกเป็นเวลานานหลายสิบปี และหนังชุด ROMANS D’ADOS 2002-2008 (2010, Béatrice Bakhti, A+30) ที่ตามติดชีวิตเด็กวัยรุ่นกลุ่มหนึ่งในสวิตเซอร์แลนด์เป็นเวลานาน 6 ปี

 

5.TOM, TOM, THE PIPER’S SON (1969, Ken Jacobs, 115min)

Saturday, June 10, 2023

ARE YOU THERE GOD? IT’S ME, MARGARET.

 

ดีใจสุดขีดที่วันนี้ได้ดู COME WITH ME TO THE CINEMA – THE GREGORS (2022, Alice Agneskirchner, Germany, documentary, A+30) จะบอกว่า ถ้าหากเราเข้าใจไม่ผิด เราเคยดูหนังเรื่อง RAULIENS REVIER (1995, Alice Agneskirchner) ที่เป็นผลงานการกำกับเรื่องแรกของคุณ Alice ด้วย เพราะเราเคยจดบันทึกไว้ว่า เราเคยดูหนังเรื่อง RAULIENS REVIER ในราว ๆ เดือนธ.ค.ปี 1995 ซึ่งน่าจะได้ดูที่สถาบันเกอเธ่ ซ.สาทร 1 แต่เราจำไม่ได้แล้วว่า หนังเรื่องนี้มันเกี่ยวกับอะไร แต่ใน imdb.com บอกว่า หนังที่มีชื่อเรื่องว่า RAULIENS REVIER มีแค่เรื่องนี้เรื่องเดียวเท่านั้น เราก็เลยเดาว่า มันน่าจะเป็นหนังของคุณ Alice นี่แหละ ที่เข้ามาฉายในกรุงเทพในราว ๆ เดือนธ.ค.ปี 1995

 

ก็รู้สึกแย่มาก ๆ นะ ที่เราจำอะไรเกี่ยวกับหนังเรื่อง RAULIENS REVIER ไม่ได้เลย หลังจากเวลาผ่านมานาน 27 ปีแล้ว มีใครได้ดูหนังเรื่องนี้บ้างไหมคะ แต่เราก็บอกตัวเองว่า สาเหตุนึงที่อาจจะทำให้เราจำอะไรเกี่ยวกับหนังเรื่องนี้ไม่ได้ อาจจะเป็นเพราะว่า เราได้ดูหนังเรื่องนี้ ในสัปดาห์เดียวกับที่เราได้ดู THE BRIDGES OF MADISON COUNTY (1995, Clint Eastwood) ในโรงภาพยนตร์ 2 รอบ และดู FALLEN ANGELS นักฆ่าตาชั้นเดียว (1995, Wong Kar-wai) ในโรงภาพยนตร์ 3 รอบก็ได้ ซึ่งหนังทั้งสองเรื่องนี้ต่างก็เป็น one of my most favorite films of all time หัวสมองของเราในสัปดาห์นั้นของเดือนธ.ค.ปี 1995 ก็เลยมัวแต่ไปจดจำอะไรเกี่ยวกับหนังสองเรื่องนี้ และก็ไม่มีเพื่อนๆ คนไหนมาชวนเราพูดคุยเกี่ยวกับหนังเรื่อง RAULIENS REVIER ในเวลาต่อมาอีกด้วย ความทรงจำของเราที่มีต่อหนังเยอรมันเรื่องนั้นก็เลยค่อย ๆ เลือนหายไปตามกาลเวลา ฮือ ๆ ๆ

 

แต่จนบัดนี้ เรายังจำได้เลยนะว่า เราดู FALLEN ANGELS รอบแรกที่โรงหนังในห้างเซ็นทรัล ปิ่นเกล้า และดู FALLEN ANGELS รอบสองกับรอบสามที่โรงภาพยนตร์ในห้าง WORLD TRADE CENTER และก็จำได้ด้วยว่า หลังจากดู FALLEN ANGELS เสร็จ เราก็บอกตัวเองว่า “ชั้นคือ หลี่เจียซิน” และพยายามทำท่าทำทางเลียนแบบหลี่เจียซินอยู่พักนึงในช่วงนั้นในปี 1995  55555

 

ARE YOU THERE GOD? IT’S ME, MARGARET. (2023, Kelly Fremon Craig, A+30)

 

1.จำได้ว่าเราเคยอ่านนิยายเรื่องนี้ของ Judy Blume ตอนเด็ก ๆ แล้วตอนนั้นเรารู้สึกว่ามัน “เกรดบี” มาก ๆ 5555555 (ประมาณว่า ถ้าหากนิยายของ Jane Austen ถือเป็นนิยายเกรดเอ นิยายของ Barbara Cartland ก็ถือเป็นนิยายเกรดบี อะไรทำนองนี้) แต่ทำไมเรารู้สึกว่าหนังเรื่องนี้มันดูดีกว่าตอนเป็นนิยายมาก ๆ  เราก็เลยสงสัยว่า มันเป็นเพราะสาเหตุอะไรกันแน่ ระหว่าง

 

1.1 เราประเมินนิยายเรื่องนี้ต่ำเกินไปในตอนนั้น เพราะนิยายเรื่องนี้มันดีและมีคุณค่าในตัวเองอยู่แล้ว และสาเหตุที่เราประเมินนิยายเรื่องนี้ต่ำเกินไปในตอนนั้น อาจจะเป็นเพราะเราไม่ใช่ผู้หญิง เราก็เลยไม่เข้าใจความดีงามของนิยายเล่มนี้ได้อย่างเต็มที่ และอาจจะเป็นเพราะเราได้อ่านนิยายเรื่องนี้ในตอนที่เราเด็กเกินไป เราก็เลยไม่เข้าใจข้อดีหลาย ๆ อย่างในนิยายเรื่องนี้

 

1.2 ผู้สร้างหนังเรื่องนี้ “ดัดแปลง” นิยายเรื่องนี้ได้อย่างเก่งกาจมาก ๆ รู้ว่าการดัดแปลงนิยายแบบนี้ให้ออกมาเป็นสื่อภาพยนตร์ควรทำอย่างไร ตัวหนังก็เลยออกมาดูดี

 

ซึ่งเรื่องนี้เราก็ไม่มีคำตอบ เพราะเราจำรายละเอียดในนิยายเรื่องนี้ไม่ได้แล้ว เราอ่านมันมานานเกิน 30 ปีแล้ว ก็เลยคิดว่าต้องให้คนอื่น ๆ มาเป็นคนตอบดีกว่าว่า ตัวนิยายกับตัวภาพยนตร์นั้น มันแตกต่างจากกันอย่างไรบ้าง

 

2.ประเด็นนึงที่คุยกันกับเพื่อนหลังดูหนังเรื่องนี้จบ ก็คือว่า ถึงแม้ว่าหนังเรื่องนี้จะไม่ได้กำกับโดย James L. Brooks แต่มันก็อำนวยการสร้างโดย James L. Brooks และเราก็รู้สึกว่า มันดูไปกันได้ดีกับหนังที่กำกับโดย James L. Brooks อย่างเช่น TERMS OF ENDEARMENT (1983), AS GOOD AS IT GETS (1997) และ SPANGLISH (2004) มาก ๆ

 

3.นึกว่าหนังเรื่องนี้เป็น PREQUEL ของ LA BOUM (1980, Claude Pinoteau)  และกลุ่มหนังเด็กสาววัยรุ่นที่นำแสดงโดย Mary-Kate Olsen กับ Ashley Olsen อย่างเช่น OUR LIPS ARE SEALED (2000), WINNING LONDON (2001) และ HOLIDAY IN THE SUN (2001)

 

Thursday, June 08, 2023

PORTRAIT OF JASON (1967, Shirley Clarke, documentary, A+30)

 

PORTRAIT OF JASON (1967, Shirley Clarke, documentary, A+30)

 

https://www.lecinemaclub.com/now-showing/portrait-of-jason/

 

กราบตีน ถือเป็นหนึ่งในหนังที่สำคัญสุด ๆ สำหรับเราทั้งในแง่ประวัติศาสตร์หนังสารคดี, หนัง queer, หนังเกี่ยวกับโสเภณีชาย และหนังเกี่ยวกับชีวิตคนดำ

 

ดูแล้วนึกถึงเพื่อนคนนึงที่เสียชีวิตไปแล้วมาก ๆ เพราะเราเองก็อยากให้มีคนสัมภาษณ์เขาแบบนี้อย่างสุด ๆ เพราะเขาเป็นคนที่มีประวัติชีวิตที่น่าสนใจมาก ๆ สำหรับเรา เขาเป็นเกย์ที่เคยได้กับผู้ชายมาแล้วไม่รู้กี่ร้อยคน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกรรมกรก่อสร้างและชนชั้นแรงงาน แต่เสียดายที่เขาเสียชีวิตไปแล้ว เพราะฉะนั้นตอนที่เราดูหนังเรื่องนี้ เราก็เลยรู้สึกเสียดายที่ไม่มีคนบันทึกชีวิตเขาเก็บไว้ และเราก็รู้สึกดีใจไปด้วยในเวลาเดียวกันที่มีคนทำหนังแบบนี้ออกมา ซึ่งเป็นหนังที่ให้ subject พูดถึงชีวิตตัวเองไปเรื่อย ๆ ตั้งแต่ต้นจนจบเรื่อง แต่แค่นี้มันก็ออกมาทรงพลังสุด ๆ และเปี่ยมล้นไปด้วยน้ำเนื้อของ “ชีวิต” อย่างสุด ๆ สำหรับเราแล้ว

 

 

A FAIRY TALE FOR LITTLE CHILDREN (MAYBE NOT)

 

Once upon a time, there was a teddy bear named Jit Phokaew. He/She/It had a very pure and kind heart. Many handsome men fell in love with him/her/it. Jit also fell in love with them. Since Jit’s heart was so kind, Jit didn’t want to break their hearts by choosing only one man to love and rejecting the love of all the other. So Jit decided to have 30 husbands all at the same time. Jit and his/her/its thirty husbands lived together very happily ever after.

 

FAVORITE FILMS ABOUT TIME TRAVEL OR SOMETHING LIKE IT

 

IN ALPHABETICAL ORDER

 

1. THE BUTTERFLY EFFECT (2004, Eric Brest, J. Mackye Gruber)

 

2. CELINE AND JULIE GO BOATING (1974, Jacques Rivette, France)

 

3.CHAN KEO (2017, Sonepasith Phonphila, Laos)
https://vimeo.com/210500270

 

4.FATHER & SON (2015, Sarawut Intaraprom)

 

5.PEGGY SUE GOT MARRIED รักนั้น...หากเลือกได้ (1986, Francis Ford Coppola)

 

6.PREDESTINATION (2014, Michael Spierig, Peter Spierig, Australia)

 

7.SECRET AMONG WINGS ความลับในฝูงนก (2022, Warat Bureephakdee)

 

8.SOMEWHERE IN TIME รักเอยไม่เคยเลยลับ (1980, Jeannot Szwarc)

 

9.VOYAGERS! (1982-1983, TV series)

 

10.แล้วก็หนังสั้นตอนนึงในรายการทีวีแนว ๆ TWILIGHT ZONE หรือ MYSTERY SCIENCE THEATER 3000 ที่เล่าเรื่องของชายหนุ่มคนหนึ่งที่หล่อมาก ๆ มากจนเขาอยากจะร่วมรักกับตัวเขาเอง เขาก็เลยแปลงเพศเป็นผู้หญิงสาวสวย แล้วเดินทางย้อนเวลากลับไปในอดีตเพื่อร่วมรักกับตัวเองตอนที่เขายังเป็นหนุ่มหล่ออยู่ เสียดายที่เรานึกไม่ออกว่ารายการทีวีนั้นคือรายการอะไร มีใครนึกออกบ้าง

 

แต่ถ้าหากพูดถึงนิยาย เราก็นึกถึงนิยายของ “ตรี อภิรุม” เรื่องนึงที่เราเคยอ่านตอนเด็ก ๆ แต่เรานึกชื่อเรื่องไม่ออก ที่เป็นเรื่องของนางเอกได้หนังสือวิเศษมาเล่มนึง ที่พอนางเอกเอานิ้วจิ้มไปในแต่ละหน้า แล้วก็จะเดินทางย้อนอดีตไปในยุคหลายร้อยหลายพันปีก่อนได้ เหมือนมีช่วงนึงที่นางเอกย้อนไปในยุคของพระกัสสปพุทธเจ้าด้วย (พระพุทธเจ้ายุคก่อนหน้าเรา ส่วนยุคของเราคือยุคของพระโคตมพุทธเจ้า)  ถ้าหากเราจำไม่ผิด แล้ว setting ตอนนั้นคือสุดขีดมาก เพราะมันเป็นช่วง “กลียุค” ในตอนปลายของยุคพระกัสสปพุทธเจ้า คือนึกว่าสามารถเอา setting ตอนนั้นมาทำเป็นอะไรแบบ MAD MAX: FURY ROAD ได้เลย

 

ใครนึกชื่อออกบ้างว่ามันคือนิยายเรื่องอะไร เราว่ามันเหมาะเอามาดัดแปลงทำเป็นหนัง/ละครมาก ๆ เพราะมันสนุกสุดขีด

 

Film Wish List: ANNA KARENINA (1935, Clarence Brown)

 

อยากดูเวอร์ชั่นนี้มาก ๆ เพราะเราชอบ quote จากหนังเรื่องนี้มาก ๆ ที่นางเอกมีความสุข แล้วเธอก็รู้สึกว่า “ชีวิตจะลงโทษเธอ เพราะเธอมีความสุข”

 

เราเคยดู ANNA KARENINA (1997, Bernard Rose) นะ แต่จำไม่ได้ว่ามีบทสนทนานี้ในหนังเวอร์ชั่นนั้นหรือเปล่า