Sunday, January 25, 2015

Myanmar Films seen on Saturday, January 24, 2015

Myanmar Films seen on Saturday, January 24, 2015

1.TENDER ARE THE FEET (1972, Muang Wunna, A+30)

--ชอบฉากช่วงท้ายที่เป็นฉากระลึกความทรงจำของนางเอกมากๆ เพราะการตัดต่อในฉากนั้นมันรุนแรงมาก มันเหมือนเป็นความพยายามจำลอง stream of consciousness ของมนุษย์ เพราะฉะนั้นสิ่งที่ปรากฏออกมาในฉากนั้นก็เลยดูมีลักษณะคล้ายหนังทดลอง มันเป็นการนำห้วงเวลาที่อยู่ในความทรงจำของเรามาเรียงร้อยเข้าด้วยกันอย่างรวดเร็ว

คือหนัง narrative โดยทั่วไป หรือส่วนที่เป็น narrative ในหนังเรื่องนี้ ฉากต่างๆมันจะถูกเรียงร้อยเข้าด้วยกันโดยมีตัวละคร, เส้นเรื่อง, เวลา, ความเป็นเหตุเป็นผลมากำหนดการร้อยเรียงกัน ว่าอะไรต้องมาก่อน ต้องมาหลัง อะไรต้องอยู่ต่อๆกันเป็นลำดับเท่าไร

แต่ในหนังทดลองบางเรื่อง และในฉาก “ระลึกความหลัง” ในหนังเรื่องนี้ สิ่งที่สำคัญไม่ใช่เส้นเรื่อง, ลำดับเวลา, ความเป็นเหตุเป็นผล แต่เป็น “ความประทับใจของตัวละคร” คือตัวละครตัวนั้นประทับใจในห้วงเวลาไหนในชีวิต เราก็จะได้เห็นห้วงเวลานั้น และการเรียงลำดับฉากก็ไม่จำเป็นต้องขึ้นอยู่กับลำดับเวลาว่าเหตุการณ์อะไรเกิดก่อน อะไรเกิดหลัง ฉาก a กับฉาก b ไม่จำเป็นต้องมีความเชื่อมโยงกันโดยตรงก็ได้ ขอเพียงแค่ฉาก a กับฉาก b เป็นสิ่งที่ประทับอยู่ในความทรงจำของตัวละครตัวเดียวกันก็พอ

เราชอบการตัดต่อในฉากแบบนี้และความพยายามจำลอง consciousness ของมนุษย์แบบนี้มากๆ ซึ่งจริงๆแล้วมันแสดงให้เห็นว่าผู้กำกับหนัง narrative หลายๆเรื่อง อาจจะมีความสามารถในการทำหนังทดลองที่ดีก็ได้ แต่เขาคงไม่ทำหนังทดลอง เพราะมันไม่ได้ตังค์ ทำหนัง narrative แบบนี้นี่แหละ ถึงจะได้ตังค์ แต่มันก็เป็นการดีมากที่เหมือนมี part ของหนังทดลองซ่อนอยู่ในหนัง narrative แบบนี้

จุดนี้ทำให้เรานึกถึงหนังเรื่อง VERDUN, VISIONS OF HISTORY (1928, Léon Poirier, France, A+30) ด้วย เพราะหนังเกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเรื่องนี้ เล่าเรื่องเหมือนหนัง narrative โดยทั่วไปประมาณ 75% และมี 20% ที่เป็นเหมือนหนังสารคดี แสดงแผนผังการวางกองกำลังต่างๆของฝรั่งเศสและเยอรมนีในบริเวณสมรภูมิ (ซึ่งส่วนนี้ก็น่าสนใจสุดๆ เพราะเป็นสิ่งที่เราไม่เคยเห็นในหนังเรื่องอื่นๆ) ส่วนอีก 5% ที่เหลือเรามองว่ามันเหมือนหนังทดลอง คือมันมีฉากหนึ่งที่ผู้หญิงคนหนึ่งในเรื่องได้ข่าวว่า เมืองที่เธอเคยอาศัยอยู่ได้ถูกสงครามทำลายจนโลบังพังพินาศไปหมดแล้ว แล้วอยู่ดีๆหนังก็เหมือนถลำลึกเข้าไปใน stream of consciousness ของผู้หญิงคนนั้น เราเห็นภาพกิจวัตรประจำวันต่างๆของผู้คนในเมืองนั้นในช่วงที่เมืองนั้นยังเป็นปกติอยู่ ภาพกิจวัตรประจำวันของผู้คนในเมืองนั้นถูกเรียงร้อยเข้าด้วยกันและถูกตัดต่ออย่างรวดเร็วมาก เหมือนกับฉากความทรงจำของนางเอก TENDER ARE THE FEET และฉากนี้ก็จบลงในแบบที่คล้ายๆกัน คือจบลงด้วยใบหน้าของผู้หญิงคนนั้นที่ต้องยอมรับความจริงที่ว่า “ความสุขในอดีตของเมืองนั้นเป็นสิ่งที่ไม่มีทางหวนคืนมาได้อีก” ส่วนใน TENDER ARE THE FEET นั้น ฉากนี้ก็จบลงด้วยใบหน้าที่เศร้าสร้อยของนางเอกเช่นกัน

--สำหรับเราแล้ว ฉากไคลแมกซ์ของ TENDER ARE THE FEET คือฉาก “ใบไม้ไหว พัดปลิวไปตามสายลม” คือเราว่าฉากใบไม้ปลิวนี่มันอาจจะมีสาเหตุมาจากการเซ็นเซอร์น่ะ คือตามเนื้อเรื่องแล้ว ฉากนั้นตัวละครสองตัวคงจะมีเซ็กส์กัน แต่หนังคงถ่ายทอดออกมาไม่ได้ ก็เลยถ่ายฉากใบไม้ปลิวไป แล้วก็ปลิวมา ปลิวไป แล้วก็ปลิวมาแทน มันก็เลยกลายเป็นฉากที่ unique สุดๆ เราไม่เคยเห็นฉากแบบนี้ถูกใช้ใน function แบบนี้มาก่อน ฉากใบไม้ปลิวก็เลยกลายเป็นฉากที่ก่อให้เกิดอารมณ์รัญจวน+ลุ้นระทึกมากๆว่าตกลงตัวละครมันจะได้มีเซ็กส์กันหรือเปล่า

--ชอบการฝึกร่ายรำในบางฉากมากๆ เห็นแล้วอยากลุกขึ้นมาฝึกร่ายรำตามไปด้วย

--ชอบฉากที่เป็นการบันทึกสภาพบ้านเมืองในช่วงนั้นเอาไว้ด้วย เห็นเขาบอกว่าเป็นอิทธิพลจากหนัง social realism ของอินเดียในทศวรรษนั้น ซึ่งเราดูแล้วก็นึกถึงหนังเรื่อง THE TRIP (1970, Pramod Pati)


--ฉากที่เป็นมิวสิควิดีโอในหนังเรื่องนี้ก็ดีมาก

--ดนตรีในหนังเรื่องนี้ก็ดีมาก เห็นเขาบอกว่ามันมีบางส่วนที่คงได้รับอิทธิพลจากดนตรีตะวันตกในทศวรรษ 1960-1970 ซึ่งเราว่ามันเพราะดี

2.THE CLINIC (2012, Ko Jeu, Aung Min, The Maw Naing, documentary, A+30)
ดูแล้วนึกถึง THE ISTHMUS ที่คลินิกของหมอกลายเป็นจุดศูนย์กลางของชุมชน และนึกถึง LA MALADIE DE SACHS (1999, Michel Deville) ด้วย

3.HOMEWORK (2014, La Min Oo, documentary, A+25)

4.SOCIAL GAME (2012, Seng Mai, documentary, A+30)

5.KINGS N QUEENS (2013, Khun Minn Ohn, documentary,A+25)

6.TAKE ME HOME (2013, Shin Daewe, documentary, A+20)

7.FLOWERLESS GARDEN (2012, Zaw Naing Oo, documentary, A+15)




Saturday, January 24, 2015

MAPS TO THE STARS (2014, David Cronenberg, A+30)

MAPS TO THE STARS (2014, David Cronenberg, A+30)

หนึ่งในตัวละครที่เราชอบที่สุดในชีวิตคือ “เวฬุรีย์” จากละครทีวีเรื่อง “เพลิงพ่าย” (1990) ตอนนี้เราพบว่าเราได้เจอตัวละครที่เข้ามานั่งอยู่ในหัวใจเราได้เหมือนกับเวฬุรีย์แล้ว นั่นก็คือ Agatha Weiss (Mia Wasikowska) ใน MAPS TO THE STARS คือตัวละครตัวนี้ทำให้เรานึกถึงเวฬุรีย์ในแง่ที่ว่า เธอเป็นคนที่มีทั้ง “บาดแผลทางกายและบาดแผลทางใจ”, มีปมอย่างรุนแรงกับครอบครัว และเธอมี “เพลิง” บางอย่างที่แผดเผาอยู่ในใจอย่างร้อนแรงมาก คือ Agatha Weiss นี่เป็นตัวละครที่เหมาะกับคำว่า “เพลิงพ่าย” จริงๆ

แต่แค่ตัวละครดีอย่างเดียวมันไม่พอนะ มันต้องอาศัยฝีมือการกำกับด้วย และเราว่า David Cronenberg เหมาะมากๆกับการถ่ายทอดพลังความเพลิงพ่ายของตัวละครแบบนี้ออกมา ซึ่งตรงกันข้ามกับผู้กำกับอย่าง Susanne Bier ที่มีตัวละครนางเอกที่สุดตีนอย่าง Serena ในหนังเรื่อง SERENA (2014, A+) แต่ Susanne Bier กลับไม่สามารถถ่ายทอดศักยภาพที่แท้จริงของตัวละครนางเอกออกมาได้

นอกจาก Agatha Weiss แล้ว ตัวละครอื่นๆใน MAPS TO THE STARS เราก็ชอบสุดๆเหมือนกัน ทั้งตัวละครที่มีปมทางจิตอย่างตัวละครของ Julianne Moore, Olivia Williams และ Sarah Gadon ไปจนถึงตัวประกอบยิบย่อยที่ทุกตัวทำหน้าตาน่าตบหมด อย่างเช่นเด็กหญิงในโรงพยาบาล และแก๊งนักแสดงวัยรุ่นหญิง

ฉากที่ชอบที่สุดในเรื่องคือฉากที่ Sarah Gadon พูดกับกล้องว่า “ฉันคงเป็นเลสเบียนไม่ได้” หรืออะไรทำนองนี้ มันเป็นฉากที่เฮี้ยนมากสำหรับเรา เพราะตามหลักเหตุผลแล้ว ฉากนี้มันน่าจะเป็นจินตนาการของตัวละคร Julianne Moore แต่มันก็ไม่มีอะไรชี้ชัดว่ามันเป็นจินตนาการของ Julianne Moore ฉากนี้ก็เลยดูมีสถานะพิเศษบางอย่างสำหรับเรา


อีก sequence ที่ชอบสุดๆคือช่วงต้นเรื่อง ที่ตัวละคร Julianne Moore, Benjie กับ Agatha ท่องบทพูดเดียวกัน การตัดต่อฉากนั้นทำได้อย่างทรงพลังมากๆ

Thursday, January 22, 2015

DUMB AND DUMBER TO (2014, Bobby Farrelly + Peter Farrelly, A+20)

DUMB AND DUMBER TO (2014, Bobby Farrelly + Peter Farrelly, A+20)

ตอนดูจบให้ A+15 แต่ตอนนี้ขอขยับขึ้นมาเป็น A+20 เพราะคิดไปคิดมาแล้ว เราชอบ “บทภาพยนตร์” ของหนังเรื่องนี้มากๆ ในแง่ที่ว่า มันคิดบทยังไงให้เกิดสถานการณ์จัญไรได้เกือบทุกซีนแบบนี้ 555 คือเราไม่ได้รู้สึกว่าหนังมัน “ตลก” สุดขีดนะ เพราะฉะนั้นตอนดูจบเราก็เลยให้แค่ A+15 แต่พอเราเอามันไปเทียบกับหนังเรื่องอื่นๆ แล้วเรารู้สึกว่า เราชอบบทภาพยนตร์แบบนี้มากน่ะ มันถูกโฉลกกับเรามากๆ มันมีแต่ความชิบหายที่มาได้ในหลายรูปแบบจริงๆ

คือจริงๆแล้วหนังเรื่องนี้มันก็มี 3 องก์เหมือนหนังทั่วไปหรือเปล่า และมันก็มีเส้นเรื่องหลักของมัน แต่เรารู้สึกว่ามันมีความเป็นอิสระบางอย่างในระหว่างที่เนื้อเรื่องดำเนินไปตามเส้นเรื่องหลักน่ะ บอกไม่ถูกเหมือนกัน คือหนังทั่วไปเวลาที่เนื้อเรื่องมันดำเนินไปตามเส้นเรื่องหลัก เราจะรู้สึกว่าเนื้อเรื่องมันถูกบีบให้อยู่ในกรอบที่มองไม่เห็นบางอย่าง แต่ในหนังเรื่องนี้ ขณะที่เนื้อเรื่องมันดำเนินไปตามเส้นเรื่องหลัก กรอบของ “เหตุการณ์ที่สามารถเกิดขึ้นได้ในหนัง” มันเหมือนถูกขยายกว้างออกไปกว่าหนังปกติ

คือถ้าหนังปกติเป็น A แล้วหนังที่มีความเป็นอิสระมากๆอย่าง THE DISCREET CHARM OF THE BOURGEOISIE เป็น Z  หรืออยู่ที่อีกปลายด้านนึงของเส้นนี้ เราก็รู้สึกว่าหนังอย่าง DUMB AND DUMBER TO มันอยู่ประมาณ G หรืออะไรทำนองนี้

เดาว่าถ้าเวลาผ่านไปเรื่อยๆ เกรดที่เราให้กับ DUMB AND DUMBER TO อาจจะสูงขึ้นเรื่อยๆ 555


หนังตลกอีกเรื่องที่เราว่าไปได้สุดทางในแง่ “เหตุการณ์ที่สามารถเกิดขึ้นได้ในหนัง” คือ THE RENDEZ-VOUS OF DÉJÀ-VU (2013, Antonin Peretjatko, A+30)

Monday, January 19, 2015

ART EXHIBITION WISH LIST

ART EXHIBITION WISH LIST

นิทรรศการที่เราเคยไปแล้วและแนะนำให้ไปดูก็คือ TRANSITION เป็นผลงานภาพถ่ายนิวยอร์คของ Ake Kanluen ซึ่งเป็นเพื่อนเราเอง 555 นิทรรศการนี้จัดแสดงที่ CAFFE 352 ในซอยสุวรรณสวัสดิ์ ถนนพระราม 4 แต่สามารถเข้าทางซอยงามดูพลี หรือซอยสาทร 1 ก็ได้ ถ้าสะดวกก็ขอแนะนำให้ไปวันอาทิตย์ เพราะเราชอบบาริสต้าหนุ่มที่มาประจำร้านกาแฟนี้ในวันอาทิตย์มากๆ บาริสต้าหนุ่มคนนี้เป็นเด็กที่จบสถาปัตย์จุฬา น่าจะอายุประมาณ 24 ปี เขาน่ารักมากค่ะ

ส่วนนิทรรศการที่เราอยากไปดู ก็มี

1.BARRY X BALL: PORTRAITS AND PHOTOS @100 Tonson Gallery

2.DYNAMIC CONVERGENCES: SOCIOLOGY AND ART @Chula Art Centre

3.JOYFUL KHAEN, JOYFUL DANCE @Jim Thompson

4.MAN’S RELIGION by Nipon Intarit @Kathmandu

5.A PART OF YOU,  A PART OF ME 2 @Jam Factory

6.PREDETERMINED by Prasert Yodkaew @Tang Contemporary

7.SOLOS: NEVER ODD OR EVEN PART IV by Tanel Veenre and Märta Mattsson @Atta Gallery

SPRING RHAPSODY (2004, Bill Mousoulis, Australia, 84min, A+25)


SPRING RHAPSODY (2004, Bill Mousoulis, Australia, 84min, A+25)

SPOILERS ALERT
--
--
--
--
--
First of all I have to say that my English listening skill is very bad. There are many conversations in this film which I don’t understand, because the film is in English with no subtitles. So I apologize in advance if I understand anything wrongly.

What I think about this film:

1.What I like the most in this film is the comparison between the angel and the songwriter (Rachel). There are many things which link them together, such as:

1.1 Both of them take a bus, and seem to walk along some same streets. 

1.2 Both of them are interested in human beings. They observe human beings with curious and sympathetic eyes.

1.3 The angel intervenes in two characters’ lives to inspire them to make the right decision. But there is a strange editing in a particular scene. When the angel tries to make Claire decide to keep the baby, the next scene shows Rachel singing a song of hope in a venue, and the next scene shows Richard waking up after listening to some music.

What does this editing mean? Does Rachel really sing in a small concert? I don’t know. Does Richard listen to Rachel’s song? I don’t know. But in this film we see two characters singing in that venue—the angel and Rachel.

I’m not sure what this editing means. But it makes me feel that sometimes songwriters are like angels. Some good songwriters observe other human beings with curious, kind, and sympathetic eyes. They may want to understand how people in different cities live, how people in each profession live. And after they have been inspired by the lives of other human beings, they may write some good songs, and the songs can inspire some listeners to make the right decision in their lives.

The comparison between the angel and the songwriter is the thing which I haven’t found in other films before, so I like this idea very much. If the angel was just an angel in this film, I might have thought of it as just an idea borrowed from WINGS OF DESIRE. But when the angel is compared to the songwriter in this film, I think this is a very original idea.

2. There is a strange scene near the end of the film. It seems to show a female artist having trouble making her own work. So she decides to go outside, taking a bus, and looking at an unknown man in the bus.

What does this scene mean? I don’t know. But it makes me think about “how we should take inspirations from other human beings, especially ordinary people around us.”  If this female artist follows the path of the angel and Rachel, who are both interested in ordinary people around them, she might have some ideas to make her work successful.

Maybe that’s what another character in the film should do, too. There is a male novelist in the film who seems to have trouble finishing his novel after having written it for twelve years. This man seems to be too preoccupied with himself. If he looks around and talk to other people like Rachel, maybe it can help his work a lot.

The look of the female artist is also very interesting. I think she looks like the combination between Rachel and Claire. I’m not sure if this is intended or not. But I think it works. Because I think any songwriters (Rachel), novelists (Claire), or artists should sometimes take inspirations from ordinary people around them, and make good songs, novels or art works which give good inspirations back to their audience/readers.

And I think this is also what Bill Mousoulis does here and in other films of his. His films seem to be inspired by the lives of ordinary people, and give inspirations back to the audience.

The use of a new, unknown character near in the end of the film is also interesting, because it reminds me of the pianist who appears at the end of A NOCTURNE (2007, Bill Mousoulis). The pianist in that film is an unknown character who is not connected to any other characters in the film, too. But her presence at the end of A NOCTURNE seems to sum up some ideas in the film, like the presence of the female artist near the end of SPRING RHAPSODY.

3.One of the main characters here is of course the city of Melbourne. There are many scenes in this film which focus on ordinary people in the streets of Melbourne. The most impressive scene is the one which shows a mad man arguing with a group of anti-war activists.

I think the sound of the city is very much emphasized here in this film. Sometimes the sound of the city is so loud that I can’t hear what the characters are talking about. Hahaha.

I think the focus on the city of Melbourne here is an interesting way to adapt a kind of experimental/documentary films--the city symphony films—to use in a narrative film. I think Mousoulis has made many interesting “city symphony” films, such as CRAZY MOTHERFUCKER (1989), MELBOURNE ’89 (1989), FIT WATERS ’95 (1995), and HOLY LAND (1998). But these films are not traditional narratives. So it is interesting to see how one can employs what seems like a city symphony film in a narrative film like SPRING RHAPSODY.

4.The structure in SPRING RHAPSODY is also interesting, because the characters in this film seem not to relate to one another that much. Apart from the angel who intervenes in the lives of Claire and Richard, other characters seem not to know one another at all. And their lives are not similar. It is difficult for me to find some parallels or similarities between their lives, except the similarities between angel and Rachel, and the fact that all of them live in Melbourne.

So I think the structure of SPRING RHAPSODY seems very loose for me compared to most films.  The lives of the characters in SPRING RHAPSODY seem not to be confined by some obvious themes or plans. Their lives seem to be a little bit free. I mean there are many films which combine different stories like this, but the lives of the characters in most of these films seem to be governed by some obvious themes, such as in CRASH (2004, Paul Haggis), 71 FRAGMENTS OF A CHRONOLOGY OF CHANCE (1994, Michael Haneke), DOG DAYS (2001, Ulrich Seidl), or AM I BEAUTIFUL? (1998, Doris Dörrie). So I think it is interesting to see a film like SPRING RHAPSODY which combines different stories, but lets the lives of the characters to be a little bit free (I mean freer than the group I mentioned above).

This kind of loose structure reminds me of other two films I like very much: FREE RADICALS (2003, Barbara Albert) and LA VIE MODERNE (2000, Laurence Ferreira Barbosa), because I think the lives of the various characters in these two films are a little bit free, too.

5.However, I don’t mean that I prefer this structure more than the other one. I like both of them. I think each of them has its own strengths and weaknesses.

For the loose structure in SPRING RHAPSODY, I think somehow it might be the reason why I think the film is not “extremely powerful” for me. I mean I like the film very much, but it does not overwhelm me as much as BLUE NOTES (2006, Bill Mousoulis, A+30), which combines different stories, too. I’m not sure. I mean I know for sure that I like BLUE NOTES more than SPRING RHAPSODY, but I’m not sure what makes BLUE NOTES greater than SPRING RHAPSODY. But BLUE NOTES was made after SPRING RHAPSODY. So I guess Mousoulis might have learned something from the making of SPRING RHAPSODY, finding a way to improve it, and using that knowledge to make BLUE NOTES having a greater emotional impact than SPRING RHAPSODY.

6.After watching SPRING RHAPSODY, I asked myself if I have ever been inspired by some song lyrics or not? Yes, though not often. This is because I mostly listen to dance music without lyrics. But I think songs which give good inspirations for me include some (silly) pop songs like this. Hahaha

6.1 DAYS LIKE THIS – Sheena Easton

6.2 GREATEST LOVE OF ALL – Whitney Houston

6.3 HOLD ON – Wilson Phillips

6.4 YOU ARE THE UNIVERSE – Brand New Heavies

6.5 YOU LEARN – Alanis Morrissette

But what about other kinds of art? Are there things which act like the angel in SPRING RHAPSODY by influencing my decision in life? Yes, there are. I think these angelic things include:

6.6 The novel LORD OF THE FLIES by William Golding
After reading this novel, I realized that sometimes I did something bad because I saw other friends did it and I thought that it was okay. I changed my behaviour after that.

6.7 The film L’ARGENT (1983, Robert Bresson)
Seeing this film makes me very afraid to do even small bad things. Because, who knows, some small bad things you make can affect other people like a chain reaction, and the bad effects might grow exponentially like in this film.

In conclusion, I like SPRING RHAPSODY very much, because of its loose structure, its focus on ordinary people, and its comparison between the angel and the songwriter, which makes me realize how we should take inspirations from ordinary people around us, and giving good inspirations back to other people, and it also makes me realize how we may be influenced by things around us—songs, novels, artworks, films—sometimes they can be the angel in our lives.

I also saw some short films by Bill Mousoulis, including:

(in chronological order)

1.DREAMS NEVER END (1983, A+30)
2.J.C.: THE JEWELLERY-CASE (1984, A+20)
3.PHYSICAL WORLD (1986, A+30)
4.FAITH (1987, A+25)
5.EMBRACE (1988, A+30)
6.KNOWING ME, KNOWING YOU (1988, A+15)
7.CRAZY MOTHERFUCKER (1989, A)
8.MELBOURNE ’89 (1989, A+15)
9.HOW SOON IS NOW? (1990, A+20)
10.LOVE (1991, A+20)
11.FITS WATER ’95 (1995, A+15)
12.HOLY LAND (1998, A+15)

I wrote about A NOCTURNE (2007) here:

I wrote about WILD AND PRECIOUS (2012) here:

BLUE NOTES (2006) is one of my most favorite films I saw in 2012:



Thursday, January 15, 2015

FAVORITE POLISH FILMS

FAVORITE POLISH FILMS

This list is made for Wiwat Filmsick Lertwiwatwongsa.

(in alphabetical order)

1.BAD BOYS CELL 425 (2009, Janusz Mrozowski, documentary)

2.GEORGE THE HEDGEHOG (2011, Tomasz Lesniak + Jakub Tarkowski + Wojtek Wawszczyk, animation)

3.HI, TERESKA (2001, Robert Glinski)

4.LANDSCAPE AFTER THE BATTLE (1970, Andrzej Wajda)

5.LIFE AS A FATAL SEXUALLY TRANSMITTED DISEASE (2000, Krzysztof Zanussi)

6.THE LOVERS OF MARONA (2005, Izabella Cywinska)

7.PERSONNEL (1975, Krzysztof Kieslowski)

8.THE SARAGOSSA MANUSCRIPT (1965, Wojciech Has)

9.SAVIOUR SQUARE (2006, Joanna Kos + Krzysztof Krauze)

10.SQUINT YOUR EYES (2002, Andrzej Jakimowski)

11.THE THIRD PART OF THE NIGHT (1971, Andrzej Zulawski)


12.WALKOVER (1965, Jerzy Skolimowski)

Monday, January 12, 2015

BEAUTY AND THE BEAST (2014, Christophe Gans, A+15)

BEAUTY AND THE BEAST (2014, Christophe Gans, A+15)

ตอนแรกก็ไม่ได้อยากดูหนังเรื่องนี้มากนัก 555 เพราะเคยดูมาแล้วทั้ง BEAUTY AND THE BEAST (1946, Jean Cocteau, A+30) และ  BEAUTY AND THE BEAST (1991, Gary Trousdale + Kirk Wise) แต่ก็ตัดสินใจไปดู เพราะชอบ Lea Seydoux และอยากอุดหนุนหนังฝรั่งเศส เผื่อถ้าหนังเรื่องนี้ทำเงิน จะได้มีคนสั่งหนังฝรั่งเศสเข้ามาฉายในโรงอีก

พอดูแล้วก็ชอบพอสมควรนะ คือเราชอบ set decoration, art direction กับ costume design ของหนังเรื่องนี้น่ะ มันเหมือนตอบสนองความอยากเป็นเจ้าหญิงในวัยเด็กของเราดี 555 คือมันเป็นโลกเทพนิยายที่สวยมากๆในสายตาของเราน่ะ แต่ไม่ได้สวยขรึมขลังแบบ BEAUTY AND THE BEAST เวอร์ชั่นของ Jean Cocteau นะ เวอร์ชั่น 2014 นี้มันสวยแบบโลกเทพนิยายที่อยู่ในจินตนาการของเราในวัยเด็กน่ะ

ดูแล้วก็เลยอยากให้มีคนนำ CRYSTAL DRAGON ของ Ashibe Yuho มาสร้างเป็นหนังมากๆ คือถ้ามีคนนำ CRYSTAL DRAGON มาสร้างเป็นหนัง เราก็อยากให้ภาพในหนังออกมาสวยๆ + มีมนตร์เสน่ห์แบบ BEAUTY AND THE BEAST เวอร์ชั่นนี้แหละ เราว่ามันตอบสนอง “ความเป็นเด็กหญิง” ในตัวเราได้มากกว่าภาพแบบ LORD OF THE RINGS ของปีเตอร์ แจ็คสันน่ะ คือเราว่า LORD OF THE RINGS มันสร้างโลกแฟนตาซีออกมาได้ดีก็จริง แต่มันไม่มี “ชุดเจ้าหญิงที่เราเห็นแล้วอยากใส่เดินกรุยกรายไปมา” แบบใน BEAUTY AND THE BEAST


ทำไมเห็นบางฉากใน BEAUTY AND THE BEAST เวอร์ชั่นนี้ แล้วนึกถึงปราสาทของกษัตริย์ลุดวิกแห่งบาวาเรียก็ไม่รู้ ไม่รู้ว่าหนังเรื่องนี้ได้รับแรงบันดาลใจอะไรมาจากปราสาทของกษัตริย์ลุดวิกหรือเปล่า

Saturday, January 10, 2015

THE CIRCLE (2014, Stefan Haupt, Switzerland, documentary, A+25)


THE CIRCLE (2014, Stefan Haupt, Switzerland, documentary, A+25)

ความรู้สึกที่มีต่อหนังเรื่องนี้

1.รู้สึกว่ามันเป็นส่วนเติมเต็มของสิ่งที่เราอยากดูใน THE CASE AGAINST 8 (2014, Ben Cotner + Ryan White, A+25) เพราะตอนที่เราดู THE CASE AGAINST 8 นั้น เราอยากให้หนังเจาะลึกชีวิตของคู่รักเกย์-เลสเบียนมากกว่านี้ แทนที่จะนำเสนอชีวิตของพวกเขาอย่างผิวเผิน (แต่นั่นก็ไม่ใช่ความผิดของ THE CASE AGAINST 8 นะ คือเราก็เข้าใจว่า THE CASE AGAINST 8 ต้องมุ่งประเด็นไปที่การต่อสู้กับข้อเสนอทางกฎหมาย ก็เลยไม่ได้ focus ไปที่ชีวิตของคู่รักเกย์ แต่ถึงแม้เราจะเข้าใจว่าเพราะเหตุใด THE CASE AGAINST 8 ถึงไม่ได้เป็นอย่างที่เราต้องการแบบ 100% เต็ม เราก็ยังคงรู้สึกต้องการบางสิ่งที่มันไม่มีอยู่ในหนังอยู่ดี)

เพราะฉะนั้นสิ่งที่ปรากฏอยู่ใน THE CIRCLE ก็เลยตอบสนองความต้องการของเราได้มากพอสมควร เพราะเราอยากรู้เรื่องราวแบบนี้แหละ เรื่องราวของคู่รักเกย์ในชีวิตจริง ว่าพวกเขาพบกันได้อย่างไร ทำความรู้จักกันได้อย่างไร และผ่านพบเหตุการณ์อะไรมาบ้างก่อนจะครองรักกัน และต้องรับมือกับอะไรบ้างขณะที่ครองรักกัน และแต่ละคนมีข้อดีข้อด้อยจุดอ่อนจุดแข็งอย่างไร

2.แต่ที่เราไม่ได้ชอบหนังเรื่อง THE CIRCLE ในระดับ A+30 หรือชอบสุดๆนั้น มันก็ไม่ใช่ความผิดของ THE CIRCLE เช่นกัน แต่มันเป็นด้วยรสนิยมของเราเอง คือในช่วงท้ายของ THE CIRCLE เรารู้สึกว่าหนังมันขาดอะไรบางอย่างที่มันสอดคล้องกับรสนิยมของเรา นั่นก็คือ “sense ของชีวิตประจำวัน”

คือเราชอบหนังที่นำเสนอชีวิตประจำวันของคนธรรมดาน่ะ แต่สิ่งที่ THE CIRCLE ทำกับ subject ของหนังในช่วงท้ายมันค่อนข้างสวนทางกับรสนิยมของเรามากพอสมควร เพราะในช่วงท้ายของหนังเรื่องนี้ หนังก็เล่าเหตุการณ์ของ subject จนกระทั่งมาถึงปี 1968 แล้วหนังก็ตัดมาเป็นทศวรรษ 2000 เมื่อหนึ่งใน subject ประกาศตัวว่าเป็นเกย์ และจดทะเบียนเป็น partner กับคู่รักเลย

ขณะที่ดู เราก็เลยนึกสงสัยว่า แล้วช่วงปี 1970-2000 นี่ มันมีอะไรเกิดขึ้นบ้างในชีวิตของ subject คู่นี้ มันเป็นช่วงของ happily ever after ที่ไม่มีอะไรน่ากล่าวถึงเลยเหรอ ซึ่งมันอาจจะเป็นเช่นนั้นจริงๆก็ได้ แต่เรารู้สึกเหมือนกับว่า หนังปฏิบัติต่อ subject คู่นี้เหมือนกับว่า “ชีวิตคุณสำคัญ ก็ต่อเมื่อชีวิตคุณได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สำคัญเท่านั้น ถ้าหากชีวิตคุณช่วงไหนไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สำคัญ มันก็ไม่ควรถูกนำเสนอออกมา”

ซึ่งลักษณะการมองคน, การมองชีวิต, ลักษณะของ narrative หรือลักษณะของหนังแบบนี้มันสวนทางกับรสนิยมของเราน่ะ แต่หนังเรื่อง THE CIRCLE ก็ไม่ได้ทำอะไรผิดนะ เพราะชื่อหนังก็บอกอยู่แล้วว่ามันเน้นไปที่นิตยสาร THE CIRCLE มากกว่าจะเน้นไปที่ชีวิตของคู่รักเกย์คู่นี้ เพราะฉะนั้นการที่หนังไม่ได้เน้นนำเสนอชีวิตประจำวันของคู่รักเกย์คู่นี้ ก็เป็นสิ่งที่เข้าใจได้

สรุปว่า THE CIRCLE ช่วยเติมเต็มเราในสิ่งที่ขาดหายไปจาก THE CASE AGAINST 8 แต่ในอีกแง่นึง เราก็รู้สึกว่าหนังอย่าง SOMBOON (2014, Krisada Tipchaimeta, A+30) ช่วยเติมเต็มเราในสิ่งที่ขาดหายไปจาก THE CIRCLE เพราะ SOMBOON นำเสนอทั้งเรื่องราวในอดีตและชีวิตประจำวันของคู่รักวัยชราคู่หนึ่ง โดยการที่หนังให้ความสำคัญกับชีวิตประจำวันของคู่รักคู่นี้มากพอสมควร มันเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับรสนิยมของเรามากๆ

สำหรับปัญหาที่เรามีต่อการปฏิบัติต่อ subject ในช่วงท้ายของ THE CIRCLE นั้น มันทำให้เรานึกถึงหนังเยอรมันเรื่องนึงที่เรายังไม่ได้ดู แต่เคยอ่านถึงน่ะ ซึ่งเราก็ไม่แน่ใจว่าเราจำสิ่งที่อ่านมาถูกต้องหรือเปล่านะ คือเราเคยได้ยินมาว่า มันมีหนังเยอรมันเรื่องนึงที่ต่อต้าน narrative และวิธีการเขียนประวัติศาสตร์ที่ให้ความสำคัญกับเหตุการณ์บางประเภทมากเกินไปน่ะ อย่างเช่น “การคลอดลูก” คือในหนังทั่วๆไปนี่ มันจะมีฉากตัวละครคลอดลูกใช่มั้ยล่ะ แต่หนังมันจะไม่ได้ให้ความสำคัญกับตัวละครหญิงตั้งครรภ์คนนั้น “ขณะที่ตั้งครรภ์อยู่หลายเดือน” คือตัวละครหญิงคนนั้นมันจะได้รับความสำคัญก็ต่อเมื่อมัน “คลอดลูก” ออกมาเท่านั้น มันเหมือนกับว่าการคลอดลูกเป็นสิ่งที่ “HIStory” ให้ความสำคัญ และ narrative ให้ความสำคัญ แต่ช่วง moment หลายเดือนก่อนหน้านั้นถูก HIStory และ narrative ทำให้กลายเป็นสิ่งไม่สำคัญ หนังเยอรมันเรื่องนี้ก็เลยพยายามจะต่อต้าน HIStory แบบนี้ด้วย HERstory หรืออะไรทำนองนี้ และก็เลยมีฉากที่ตัวละครหญิงตั้งครรภ์คนหนึ่งประกาศอย่างกึกก้องต่อหน้าคนอื่นๆว่า “เด็กยังไม่เกิด” เพื่อต่อต้านวิธีการที่หนังเรื่องอื่นๆและการเขียนประวัติศาสตร์ให้ความสำคัญเฉพาะ moment ที่ “เด็กเกิดแล้ว” และละเลย moment แบบอื่นๆไป

สรุปว่า ถ้าหาก THE CIRCLE ให้ความสำคัญมากหน่อยกับชีวิตประจำวันของคู่รักวัยชราคู่นี้ หนังมันก็จะเข้าทางเราอย่างสุดๆจ้ะ เพราะเราอยากเห็นชีวิตของสองคนนี้ได้รับความสำคัญบนจอภาพยนตร์ โดยที่ช่วงชีวิตนั้นไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องแต่อย่างใดกับเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์การต่อสู้ของสิทธิเกย์

3.สรุปว่าข้อสองที่เราเขียนไป เป็นเพียงแค่การอธิบายว่าเพราะเหตุใดเราถึงไม่ได้ชอบ THE CIRCLE ในระดับ A+30 นะ แต่เราก็ชอบหนังเรื่องนี้อย่างมากๆๆๆ อยู่ดี และสาเหตุนึงเป็นเพราะว่า มันช่วยเติมเต็มในสิ่งที่เราอยากรู้มานานน่ะว่า คู่รักเกย์ที่อยู่กันมาอย่างยืดยาวนี่ ชีวิตพวกเขาผ่านอะไรมาบ้าง

คือดูหนังเรื่องนี้แล้วมันทำให้เรานึกถึงคู่รักเกย์แก่ๆหลายคู่ที่เราเคยเห็นที่พัทยาน่ะ คือเวลาเราเห็นคู่รักเกย์แก่ๆเหล่านี้ เรามักจะสงสัยว่า ชีวิตในอดีตของพวกเขาเป็นอย่างไรบ้างนะ และหนังเรื่องนี้ก็เหมือนจะตอบสนองความอยากรู้ของเราในจุดนี้

4.เราชอบหลายๆฉากที่สมาชิกของ THE CIRCLE ถกเถียงกันด้วยเรื่องต่างๆ คือเราชอบการที่ตัวละครแต่ละคนเป็นเกย์ที่ต่อสู้เพื่อสิทธิของเกย์เหมือนๆกัน แต่แต่ละคนก็มีจุดยืนที่แตกต่างกันไปในแต่ละประเด็น เราว่าการที่เกย์แต่ละคน debate กันและแสดงความเห็นที่แตกต่างกันไปในหนังเรื่องนี้ เป็นสิ่งที่ดีมากๆ

5.ฉากที่สะเทือนใจเรามากที่สุดคือฉากของบก.นิตยสารตอนที่นิตยสารปิดตัวลง มันเป็นฉากที่น่าเศร้ามากๆ และมันทำให้เรานึกถึงนิตยสารหลายๆเล่มที่เราเคยอ่านตอนเด็กๆ อย่างเช่น “สตรีสาร” ซึ่งเป็นนิตยสารที่เราเติบโตกับมันมานานเป็นสิบปี ก่อนที่มันจะต้องปิดตัวลงตามกาลเวลา

คือการปิดตัวของนิตยสาร THE CIRCLE มันมีสาเหตุส่วนนึงเป็นเพราะว่า “โลกเปลี่ยนไป” ด้วยแหละ และเราก็มักจะสะเทือนใจกับเรื่องราวอะไรแบบนี้ เพราะเราเป็นคนที่ปรับตัวไม่ทันกับความเปลี่ยนแปลงของโลกเหมือนกัน 555 คือเรื่องราวอะไรแบบนี้มันทำให้นึกถึงทั้ง “พนักงานโรงหนัง stand alone ที่ต้องปิดกิจการลง” และเรื่องราวของ “ค่ายเพลงที่ปิดตัวลง เพราะคนไม่ซื้อซีดีกันแล้ว” และ “ร้านวิดีโอ/ดีวีดีที่ปิดกิจการลงด้วย” คือการล่มสลายของธุรกิจเหล่านี้มันไม่ได้เกิดจากทั้งความผิดของผู้ประกอบธุรกิจและลูกค้าของพวกเขาน่ะ มันเป็นการล่มสลายที่เกิดขึ้นเพียงเพราะว่าโลกมันเปลี่ยนไปเท่านั้นเอง แต่เรื่องราวแบบนี้มันก็ทำให้เรารู้สึกเศร้าใจมากๆ โลกมันอนิจจังจริงๆ



Tuesday, January 06, 2015

FAVORITE ROMANTIC FILMS

FAVORITE ROMANTIC FILMS

มีเพื่อนขอให้แนะนำหนังรัก เราก็เลยทำลิสท์นี้ขึ้นมา เป็นลิสท์หนังที่ทำให้เรารู้สึกโรแมนติกมากๆ

(in alphabetical order)

1.AE FOND KISS...(2004, Ken Loach, UK)

2.ALL THAT HEAVEN ALLOWS (1955, Douglas Sirk, USA)

3.ALWAYS (1989, Steven Spielberg, USA)

4.AM I BEAUTIFUL? (1998, Doris Dörrie, Germany)

5.AND THEN (1985, Yoshimitsu Morita, Japan)

6.ANOTHER CHANCE (2001, music video of Roger Sanchez, dir. by Philippe Andre)
http://www.youtube.com/watch?v=k9Xtvj_JVSM

7.BEAUTIFUL THING (1996, Hettie Macdonald, UK)

8.BEFORE SUNSET (2013, Supalerk Silarangsri + Atchareeya Jattuporn)

9.BLUE LOVE ก่อนรักจะกลายเป็นความผูกพัน (2011, It Khaena)

10.BLUE MOON (2002, Andrea Maria Dusl, Austria)

11.THE BRIDGES OF MADISON COUNTY (1995, Clint Eastwood, USA)
Richard LaGravenese wrote the screenplay.

12.CÉSAR AND ROSALIE (1972, Claude Sautet, France)

13.CORRINA, CORRINA (1994, Jessie Nelson, USA)

14.DÉJÀ VU (1997, Henry Jaglom, USA)

15.DISTANCE สิ่ง-ไหน (2010, Chonlasit Upanigkit, 55min)

16.DREILEBEN – BEATS BEING DEAD (2011, Christian Petzold, Germany)

17.ENFIN สุดทางรัก (2012, Sitthipong Wong-ard)

18.ETERNITY ที่รัก (2010, Sivaroj Kongsakul)

19.FORGET ME NOT ผลิรักไม่รู้โรย (2010, Naphat Chaithiangtham)

20.FRIENDS SHIFT (2013, Boonyarit Wiangnon, 37min)

21.GOOD MORNING, LUANG PRABANG (2008, Sakchai Deenan + Anousone Sirisackda, Laos)

22.HATSUKOI (2006, Yukinari Hanawa, Japan)
The heroine of this film turns into a criminal because of her love.

23.THE HEART ELSEWHERE (2003, Pupi Avati, Italy)

24.THE HEART OF ME (2002, Thaddeus O'Sullivan, UK)

25.UN HOMME, UN VRAI (2003, Arnaud Larrieu + Jean-Marie Larrieu, France)

26.I CAN’T TELL YOU WHY (2013, Anan Pakbara, 43min)

27.IN JULY (2000, Fatih Akin, Germany)

28.INNOCENCE (2000, Paul Cox, Australia)

29.IS THIS LOVE รักปะล่ะ (2011, Tharinthorn Chenvanich)

30.KUNG-FU MASTER! (1988, Agnès Varda, France)

31.LOST IN EMOTION (ความรู้สึกที่หายไป) (2007, Soraya Duangtep, Thailand)
The heroine of this film is an office woman who wants a handsome security guard very much.

32.LOVE LETTER (1995, Shunji Iwai, Japan)

33.THE LOVE LETTER (1999, Peter Chan, USA)

34.LOVE SYNDROME รักโง่ๆ (2013, Pantham Thongsang)

35.LOVE THAT BOY (2003, Andrea Dorfman, Canada)

36.A MAN AND A WOMAN (1966, Claude Lelouch, France)

37.A MOMENT ณ ขณะนั้น (2013, Siriporn Chorjiang, 34min)

38.MY BEAUTIFUL LAUNDRETTE (1985, Stephen Frears, UK)

39.NICE TO MEET YOU ยินดีที่ได้รู้จัก (2012, Watcharapol Saisongkroh)

40.PAINTED SKIN (2008, Gordon Chan, Hong Kong)

41.PRIME (2005, Ben Younger, USA)

42.P.S. I LOVE YOU (2007, Richard LaGravenese, USA)

43.RECONSTRUCTION (2003, Christoffer Boe, Denmark)

44.THE SCHOOL OF FLESH (1998, Benoît Jacquot, France)

45.SEALED WITH A KISS (1997, Sung Kee Chiu, Hong Kong)
Louis Koo is very handsome in this film.

46.A SHORT FILM ABOUT LOVE (1988, Krzysztof Kieslowski, Poland, 87min)

47.A SUMMER’S TALE (1996, Eric Rohmer, France)

48.13 GOING ON 30 (2004, Gary Winick, USA)

49.THREE DAYS TWO NIGHTS สามวันสองคืน รัก เลิก เลย (2012, Thitipong Chaisati + Samkan Chotikasawad + Sorathep Vetwongsatip)

50.TO DIE OF LOVE (2009, Josée Dayan, France)

51.TWO ENGLISH GIRLS (1971, Fraçois Truffaut, France)

52.UNDER ONE ROOF (2002, Todd Wilson, USA)

53.YEARNING (1964, Mikio Naruse, Japan)

54.YES OR NO (2010, Sarasawadee Wongsompetch)

55.ZERO (2010, Kriangkrai Watananiyom)

กรณีที่น่าสนใจ:
1.มีหนังบางเรื่องที่โดยตัว genre หลักของมันแล้วไม่ใช่หนังโรแมนติก แต่สิ่งที่น่าประทับใจที่สุดในเรื่องกลับกลายเป็นความรักของตัวละคร และมีหนังบางเรื่องที่โดยตัว genre ของมันแล้วเป็นหนังโรแมนติก แต่สิ่งที่น่าประทับใจที่สุดในเรื่องกลับเป็นประเด็นอื่นๆของหนัง

ตัวอย่างเช่น MY LEFT EYE SEES GHOSTS (2002, Johnnie To + Wai Ka-fai) ซึ่งเป็นหนัง genre “ผี/ตลก” แต่พอดูจบแล้วเราแทบร้องไห้เพราะรู้สึกซึ้งสุดๆกับความรักที่ตัวละครตัวนึงมีให้กับตัวละครอีกตัวนึง

ส่วนตัวอย่างในทางตรงข้ามคือ WE WISH (วันที่ไม่มีเรา) (2014, Surawee Woraphot, A+30) ซึ่งเป็นหนังโรแมนติก และเราก็ชอบความโรแมนติกในหนังเรื่องนี้ในระดับประมาณ A+15 แต่สิ่งที่ทำให้เราชอบหนังเรื่องนี้สุดๆในระดับ A+30 ไม่ใช่ความโรแมนติก แต่เป็นประเด็นเรื่องการนำเสนอภาวะ consciousness ของมนุษย์แต่ละคนผ่านทาง subjective camera + voiceover

2.ลิสท์ข้างบนเราเน้นเฉพาะหนังที่ทำให้เรารู้สึกโรแมนติกนะ ส่วนหนังที่นำเสนอชีวิตรักในแบบอื่นๆเราไม่ได้นำมารวม ทั้งนี้ ถ้าพูดกันตามตรงแล้ว เราคิดว่า Philippe Garrel อาจจะเป็นหนึ่งในผู้กำกับที่ทำหนังเกี่ยวกับชีวิตรักและความสัมพันธ์ได้ดีที่สุดคนหนึ่งในโลก แต่เราไม่ได้นำหนังของ Garrel มารวมไว้ในลิสท์ข้างต้น เพราะเรารู้สึกว่าหนังของ Garrel ไม่ได้ทำให้เรารู้สึกโรแมนติก ไม่ได้ทำให้เราดูแล้วรู้สึกว่า “อยากจะมีผัวแบบในหนังจังเลย” เหมือนอย่างหนังในลิสท์ข้างต้น คือเวลาดูหนังของ Garrel แล้วเรามักจะรู้สึกว่า “กูไม่อยากมีผัวแล้ว กูเหนื่อย” ซะล่ะมากกว่า

แต่ถ้าหากสนใจหนังแนวชีวิตรักลุ่มๆดอนๆ รักจริงเจ็บจริง ผัวเมียละเหี่ยใจอะไรทำนองนี้ เราว่าผู้กำกับกลุ่ม post New Wave รุ่นเดียวกับ Garrel นี่แหละเจ๋งสุด โดยผู้กำกับกลุ่มนี้รวมถึง Claude Sautet, Maurice Pialat, Jacques Doillon, Jean Eustache, Claude Miller จ้ะ