Sunday, November 28, 2004

KENNY DOPE GONZALEZ AND JUREK BECKER

วันนี้เพิ่งรู้ข่าวที่ทำให้ดีใจและเสียใจในเวลาเดียวกันค่ะ เพราะเพิ่งรู้ว่ารายการวิทยุ HUTCH UNIVERSAL SOUND ทางช่อง 102.5 FM กำลังจะเลิกจัดในช่วงสิ้นปีนี้ ก็เลยรู้สึกเสียใจมากๆ ถึงแม้ระยะหลังไม่ค่อยได้ฟังวิทยุแล้วก็ตาม

แต่ข่าวที่ดีใจก็คือการที่ดีเจในรายการนั้นบอกว่าดีเจ KENNY DOPE GONZALEZ ซึ่งเป็นหนึ่งในคู่ดูโอของ MASTERS AT WORK อาจจะมาเปิดแผ่นในคลับแห่งหนึ่งในกรุงเทพในเร็วๆนี้ค่ะ ดิฉันคงจะไม่ได้ไปดู แต่รู้สึกดีใจแทนคนที่จะได้มีโอกาสไปรับฟังเสียงดนตรีที่ KENNY DOPE GONZALEZ จะคัดสรรมาให้

ดีเจบอกว่า KENNY DOPE GONZALEZ ได้ค่าตัวในการมาเปิดแผ่นประมาณ 1 ล้านบาทต่อ 3 ชม. ดิฉันลองคำนวณคร่าวๆแล้วก็ทำให้สรุปได้ว่า KENNY DOPE GONZALEZ ทำงาน 1 ชั่วโมง ได้เงินมากกว่าดิฉันทำงานตลอดทั้งปีซะอีก

ตอนนี้เพลงที่ชอบมากๆคือเพลง SEVERAL SPECIES OF SMALL FURRY ANIMALS GATHERED TOGETHER IN A CAVE AND GROOVING WITH A PICT ในอัลบัมชุด UMMAGUMMA ของ PINK FLOYD ค่ะ เป็นเพลงที่ฟังแล้วทำให้นึกถึงเพลงของ THE FUTURE SOUND OF LONDON หรือวงอะไรทำนองนี้ที่ออกมาในทศวรรษ 1990 ถ้าไม่บอกชื่อวง ดิฉันคงไม่นึกว่าเป็นเพลงที่ออกมาในปี 1969

เพิ่งได้ดู MON ONCLE (1958, JACQUES TATI, A) ไปเมื่อวานนี้ สรุปว่าตอนนี้ได้ดูหนังของ TATI ไปแล้ว 4 เรื่อง ซึ่งรวมถึงเรื่อง PARADE (1974, A-), TRAFFIC (1971, A) และ MR.HULOT’S HOLIDAY (1954, A)

ส่วนหนังของ JOHNNY TO ที่เคยดูมีดังนี้

1.THE HEROIC TRIO (1993, A+)
2.BREAKING NEWS (2004, A)
3.HELP!!! (2000, A-)
4.THROWDOWN (2004, A-)
5.WU YEN (2001, B+)
6.TURN LEFT TURN RIGHT (2003, B)
7.HEROIC TRIO 2: EXECUTIONERS (1993, B)
8.NEEDING YOU (2000, B) (Raymond Wong Ho Yin น่ารักมาก)
http://www.lovehkfilm.com/people/wong_raymond2.htm
9.LOVE ON A DIET (2001, B)

วันนี้ไปที่สถาบันเกอเธ่ เจอเขานำหนังสือในห้องสมุดมาขาย และมีหนังสือแปลภาษาอังกฤษของนักประพันธ์ชื่อดังหลายคนมาขายในราคาเล่มละประมาณ 10 บาทด้วย ถูกจริงๆ หนังสือที่น่าสนใจที่เขามาขายในงานนี้รวมถึงหนังสือแปลภาษาอังกฤษของ

1.GUNTER GRASS (อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับนักเขียนคนนี้ได้ใน “บุ๊คไวรัส เล่ม1”)

2.BERTOLT BRECHT (อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับนักเขียนคนนี้ได้ใน “บุ๊คไวรัส เล่ม1”)

3.FRIEDRICH NIETZSCHE

4.ARTHUR SCHNITZLER
http://www.imdb.com/name/nm0774217/

5.ROLF HOCHHUTH
http://www.imdb.com/name/nm0387827/

6.GERHART HAUPTMANN
http://nobelprize.org/literature/laureates/1912/hauptmann-autobio.html

7.PETER HANDKE (อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับนักเขียนคนนี้ได้ใน “บุ๊คไวรัส เล่ม1”)

8.MAX FRISCH
http://www.fortunecity.de/lindenpark/goethe/1/frischebio.htm

9.JUREK BECKER
http://www.imdb.com/name/nm0065475/
หนังของเขา 4 เรื่องเพิ่งเข้ามาฉายในไทยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งได้แก่เรื่อง JACOB THE LIAR (1975, FRANK BEYER, A); THE HIDING PLACE (1977, FRANK BEYER, A-); DAVID (1979, PETER LILIENTHAL, A) และ JACOB THE LIAR (1999, PETER KASSOVITZ, B+)

10.STEFAN ZWEIG
http://www.imdb.com/name/nm0959003/

11.KAZUO ISHIGURO (อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับนักเขียนคนนี้ได้ใน “บุ๊คไวรัส เล่ม1”)

12.NICOLAS BORN (1937-1979)
http://www.imdb.com/name/nm0959003/

13.ARNO SCHMIDT
http://www.complete-review.com/authors/schmarn.htm


รายชื่อนักเขียนข้างบนคือรายชื่อของคนที่มีผลงานวางขายในภาษาอังกฤษค่ะ นอกจากนี้ ยังมีหนังสือภาษาเยอรมันอีกหลายเล่มที่วางขายในงานในราคาเล่มละ 10 บาทเช่นกัน ซึ่งรวมถึงผลงานของ INGEBORG BACHMAN (อ่านเรื่องราวของเธอได้ใน Bioscope เล่มเดือนพ.ย.)
บางครั้งดิฉันก็เจอหนังสือเหล่านี้วางขายในห้องสมุดเกอเธ่ในวันธรรมดาด้วย

JEALOUSY IS MY MIDDLE NAME (A+)

ขอบคุณค่ะสำหรับข่าวหนังของ PETE TONG รู้สึกว่าเมื่อราว 10 ปีก่อน ช่อง 95.5 FM เคยเอาเทปรายการของ PETE TONG มาเปิดออกอากาศทุกคืนวันเสาร์หรืออะไรทำนองนี้ เป็นรายการที่ฟังแล้วมีความสุขมากๆ นอกจาก PETE TONG แล้ว ดีเจที่ดิฉันชอบมากยังรวมถึง-- (ดีเจที่ดิฉันชอบมีแต่ดีเจรุ่นโบราณ โบราณ แก่หงำเหงือก เต้นทีฟันปลอมหลุด น้ำหมากกระเด็นค่ะ เพราะดิฉันไม่ได้ติดตามวงการเพลงแดนซ์มาประมาณ 10 ปีแล้ว)

1.FRANKIE KNUCKLES

2..DAVID MORALES (ดิฉันอยากเป็นภรรยาของเขาค่ะ)

3.MASTERS AT WORK

4.ROGER S. หรือ ROGER SANCHEZ

5.DJ TIESTO

6.DANNY TENAGLIA

7.PAUL OAKENFOLD

8.PAUL VAN DYK (หล่อจังเลย หล่อจังเลย) อัลบัมชุด The Politics of Dancing นี้มีเทปลิขสิทธิ์ออกขายในไทยด้วย

9.TIMO MAAS

10.FERRY CORSTEN หรือ SYSTEM F หรือ GOURYELLA


เห็นคุยถึงนักร้องตาบอด ก็เลยนึกถึงนักดนตรีหญิงคนหนึ่งที่ดิฉันเคยได้ยินข่าวว่าเธอหูหนวกค่ะ นั่นก็คือ EVELYN GLENNIE ที่เล่นเพอร์คัสชันมานานแล้ว และเคยมีเทปลิขสิทธิ์ของเธอขายในไทยด้วย ไม่รู้เหมือนกันว่าเธอเล่นดนตรีได้ยังไง แต่รู้สึกว่าตัว Evelyn Glennie เองไม่ต้องการให้คนพูดถึงความหูหนวกของเธอ

อัลบัม Greatest Hits ของ Evelyn Glennie บรรจุเพลง MY SPINE ที่ร่วมงานกับบียอร์คไว้ด้วย

ชอบ THE DAY I BECAME A WOMAN ตอนที่ 2 มากเหมือนกันค่ะ เคยดู THE GIRL IN SNEAKERS (B+) เหมือนกันค่ะ แต่จำรายละเอียดอะไรไม่ค่อยได้แล้ว นอกจากตอนต้นกับตอนจบ ดีมากค่ะที่คุณอ้วนช่วยเตือนความจำเกี่ยวกับหนังเรื่องนี้และทำให้อยากดูหนังเรื่องนี้อีกครั้ง เ

คยดูหนังของ RASUL SADRAMELI อีกเรื่องนึง ซึ่งก็คือ I, TARENEH, AM FIFTEEN (A-) ชอบชื่อหนังเรื่องนี้มากเลยค่ะ ตัวละครผู้หญิงในหนังเรื่องนี้ก็แตกต่างจากในเรื่องอื่นๆเหมือนกัน เพราะในเรื่องนี้นางเอกเป็นเด็กหญิงอายุแค่ 15-16 ปีที่ตั้งครรภ์และมีลูก

หนังเกี่ยวกับผู้หญิงอิหร่านที่ดิฉันชอบสุดๆ รวมถึงเรื่อง THE CIRCLE (A+) กับหนังสารคดีเรื่อง OUR TIMES (2002, RAKHSHAN BANI ETEMAD, A+++++++) ด้วยค่ะ โดยเฉพาะเรื่อง OUR TIMES นี่จบได้โดนใจมากๆ

ส่วนหนังเกี่ยวกับผู้หญิงอิหร่านที่อยากดูสุดๆแต่ยังไม่ได้ดู ก็คือเรื่อง THE EXAM (2002, NASSER REFAIE) ค่ะ เรื่อง DAUGHTERS OF THE SUN (2000, MARYAM SHAHRIAR) ก็อยากดูเหมือนกัน

เคยซื้อเทป MICHAEL BALL ชุดนึงด้วยค่ะ นั่นก็คือชุด MICHAEL BALL ในปี 1992 ชอบเพลง BEAUTIFUL HEARTACHE ในอัลบัมชุดนั้นมากๆ

พูดถึงความหลอกหลอนจากสงคราม ดิฉันเคยรู้จักกับฝรั่งที่เป็นทหารผ่านศึกเวียดนามคนนึงค่ะ เขายังมีอาการกระตุกทุกครั้งเวลาได้ยินเสียงคล้ายๆเสียงปืน มีวันนึงดิฉันอยู่กับเขา เขานอนหลับอยู่ อยู่ดีๆเขาก็ลุกพรวดพราดขึ้นมาด้วยอาการตกใจ เพราะเขาได้ยินเสียงคล้ายๆเสียงปืนจากวัดที่จัดงานศพอยู่ใกล้ๆ ตัวดิฉันเองแทบไม่ได้สำเหนียกถึงเสียงนั้นแม้แต่น้อย แต่เขาซึ่งนอนหลับอยู่กลับมีอาการประสาทไวมากกับเสียงพวกนี้ ก็เลยทำให้ได้รู้ว่าสงครามครั้งนั้นส่งผลกระทบต่อจิตประสาทของเขาอย่างรุนแรงจริงๆ

พูดถึงความหลอกหลอนจากความทุกข์ทรมานในอดีต ดิฉันก็นึกถึงแม่ของเพื่อนคนนึงค่ะ เพื่อนดิฉันเล่าให้ฟังว่าแม่ของเขาอายุ 40-50 ปีแล้ว แต่บางคืนยังฝันร้ายอยู่เลยว่า “ยังทำรายงานไม่เสร็จ” เพราะความทุกข์ทรมานของการเรียนหนักในสมัยมหาลัยยังคงติดตามหลอกหลอนแม่เพื่อนถึงแม้เธอจะจบมหาลัยและมีผัวมีลูกจนลูกโตไปแล้ว

พูดถึงหนังเกี่ยวกับทหารที่กลับจากสงคราม มีอยู่เรื่องนึงน่าดูมากเลยค่ะ เป็นหนังรัสเซียชื่อ MY STEP-BROTHER FRANKENSTEIN ที่ยังไม่มีเข้ามาขายในไทยในตอนนี้ หนังพูดถึงทหารพิการที่กลับจากสงครามเชชเนียและมีอาการทางจิตที่น่าสงสารมาก ส่วนที่ดิฉันได้ดูเอง มีอยู่เรื่องนึงที่ชอบมากค่ะ นั่นก็คือเรื่อง MARIA’S LOVERS (1984, ANDREI KONCHALOVSKY, A-) ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับทหารหนุ่มน่ารัก (John Savage) ที่กลับจากสงคราม แต่ปรากฏว่าเขามีอาการทางจิตที่ทำให้เขาไม่สามารถมีเซ็กส์กับภรรยาตัวเอง (นาตาชา คินสกี้) ซึ่งเป็นสาวสวยได้ แต่เขากลับมีเซ็กส์กับหญิงวัยกลางคนที่เข้ามายั่วยวนเขาได้ จริงๆแล้วดิฉันก็จำไม่ได้เหมือนกันว่าที่พระเอกเป็นเช่นนี้เป็นเพราะสงครามหรือเป็นเพราะอะไรกันแน่

ส่วนเพลงเกี่ยวกับผลกระทบจากสงครามที่มีต่อทหารที่ดิฉันชอบสุดๆเพลงนึงก็คือ CAMBODIA ของ KIM WILDE ค่ะ เพลงนี้มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับทหารคนนึงที่ประจำการในประเทศไทย และถูกส่งไปปฏิบัติภารกิจบางอย่างในกัมพูชา ภารกิจนั้นทำให้ทหารคนนี้มีอาการผิดปกติบางอย่างที่ทำให้ภรรยาเขาสงสัย ภารกิจนั้นอาจเป็นภารกิจชั่วร้ายที่มีผลต่อจิตสำนึกของทหารคนนั้นอย่างรุนแรงมาก

อีกเพลงนึงที่ดิฉันชอบมากๆคือ summer rain ของ BELINDA CARLISLE ค่ะ เพลงนี้เกี่ยวกับหญิงสาวที่สูญเสียแฟนหนุ่มไปในสงคราม ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ชอบเพลงนี้มากเพราะทหารในมิวสิควิดีโอเพลงนี้หล่อมาก เวลาดิฉันฟังเพลงนี้ทีไรดิฉันก็เลยรู้สึกอยากร้องไห้เพราะรู้สึกเหมือนกับว่าตัวเองได้สูญเสียแฟนหนุ่มที่หล่อมากๆไปอย่างไม่มีวันได้คืนมา

สรุปอันดับหนังโรงที่ได้ดูในช่วง 2 วันนี้

1.JEALOUSY IS MY MIDDLE NAME (2002, PARK CHAN-OK, A++++++++++) ดูที่ลิโด

2.VAMPIRE HUNTER D: BLOODLUST (2000, YOSHIAKI KAWAJIRI, A+) ดูที่ HOUSE RCA

3.ALEXANDER (2004, OLIVER STONE, A-)

4.THROWDOWN (2004, JOHNNY TO, A-) ดูที่เดอะมอลล์ งามวงศ์วาน กั๊วะฟู่เฉิงในเรื่องนี้หล่อน่ารักตรงสเปคดิฉันมากๆ เขายังหล่อเหมือนกับเมื่อ 10-15 ปีที่แล้ว แต่กู่เทียนเล่อเรื่องนี้ดูโทรมมาก หนังเรื่องนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับกีฬา JUDO ค่ะ ดูหนังเรื่องนี้แล้วทำให้อยากเล่นกีฬา “จู+โด่” กับกั๊วะฟู่เฉิงมากๆเลยค่ะ

5.IF ONLY (GIL JUNGER, A-)

6.PING PONG BATH STATION (1998, GEN YAMAKAWA, B+) YOSUKE KUBOZUKA พระเอกหนุ่มจากหนังเรื่อง PING PONG (2002, FUMIHIKO SORI, A-) มาร่วมแสดงหนังเรื่องนี้ด้วย นอกจากนี้ หนังเรื่องนี้ยังมีตัวประกอบเป็น TRANSSEXUAL ด้วยค่ะ

FAVORITE ACTOR
PARK HAE-IL—JEALOUSY IS MY MIDDLE NAME

FAVORITE ACTRESS
BAE CHONG-OK—JEALOUSY IS MY MIDDLE NAME

FAVORITE SUPPORTING ACTOR
MUN-SEONG KUN—JEALOUSY IS MY MIDDLE NAME

FAVORITE MUSIC
JEALOUSY IS MY MIDDLE NAME

FAVORITE ENDING
JEALOUSY IS MY MIDDLE NAME

A CHILD IN THE CROWD (GERARD BLAIN, A+)

NIKOLAJ COSTER-WALDAU ค่ะ เกิดวันที่ 27 ก.ค. 1970 เป็นชาวเดนมาร์ค

ผลงานการแสดงของเขาที่พอหาดูได้ในไทย

1.BLACK HAWK DOWN (2001, RIDLEY SCOTT, B+)
เรื่องนี้หนุ่มหล่อๆเยอะดีแต่แทบไม่ได้ขายความหล่อของดาราที่มาเล่นเลย ก็เลยทำให้ดิฉันผิดหวังเล็กน้อย อิอิอิ

2.ENIGMA (2001, MICHAEL APTED, A-)
เรื่องนี้น่าจะหาวีซีดีลิขสิทธิ์ดูได้ไม่ยากนัก ในหนังเรื่องนี้ นอกจากเราจะได้เห็นความหล่อของ NIKOLAJ COSTER-WALDAU แล้ว เรายังได้ชื่นชมความหล่อของ JEREMY NORTHAM และความน่ารักของ DOUGRAY SCOTT ด้วย

3.BENT (1997, SEAN MATHIAS, A+++++++++)
อันนี้เป็นหนังเกย์ที่อาจจะหาซื้อได้ตามร้านบางร้าน ในหนังเรื่องนี้ NIKOLAJ COSTER-WALDAU รับบทเป็นเกย์ค่ะ โดยมี CLIVE OWEN กับ RUPERT GRAVES มาร่วมแสดงเป็นเกย์ในเรื่องนี้ด้วย และมี JUDE LAW กับ PAUL BETTANY มารับบทเล็กๆ

ในเรื่อง WIMBLEDON ดิฉันชอบทั้งพระเอก, เพื่อนพระเอก, น้องชายพระเอก และก็ศัตรูของพระเอกค่ะ แต่ถ้าให้เลือกคนเดียว ดิฉันก็เลือกเพื่อนพระเอกค่ะ

บทน้องชายพระเอกแสดงโดย JAMES MCAVOY (เกิดปี 1979) หลายคนคงคุ้นหน้าคุ้นตาเขาเป็นอย่างดีเพราะเขาเคยเล่นหนังเรื่อง BRIGHT YOUNG THINGS (A+), THE POOL, REGENERATION (1997, GILLIES MACKINNON) รวมทั้งเล่นมินิซีรีส์เรื่อง CHILDREN OF DUNE และ BAND OF BROTHERS (รับบทเป็น Pvt. James Miller) ส่วนบทศัตรูพระเอกแสดงโดย AUSTIN NICHOLS (เกิดปี 1980) ก่อนหน้านี้เขาเคยเล่นหนังเรื่อง THE DAY AFTER TOMORROW (B-) และ HOLIDAYS IN THE SUN (C+)
ได้ลองเข้าไปอ่านข้อมูลเกี่ยวกับหนังเรื่อง SYBIL (1976, DANIEL PETRIE) แล้วน่าสนใจมากๆเลยค่ะ เป็นหนังที่น่าดูมากๆเลย เพราะในเรื่องนี้ SALLY FIELD รับบทเป็นหญิงที่มี 16 บุคลิกภาพ และมีโจแอนน์ วูดเวิร์ดรับบทเป็นจิตแพทย์ (ก่อนหน้านี้โจแอนน์ วูดเวิร์ดเคยรับบทเป็นผู้หญิงที่มี 3 บุคลิกภาพมาแล้วในหนังเรื่อง THE THREE FACES OF EVE (1957, NUNNALLY JOHNSON)) และมีสุดหล่อ BRAD DAVIS มาร่วมเล่นหนังนี้ด้วย


ยังไม่ได้ดูเรื่อง DAS BOOT เลยค่ะ และก็นึกถึงหนังที่ทำให้เห็นใจฝ่ายเยอรมนี, ญี่ปุ่น หรือฝ่ายอักษะไม่ค่อยออกเหมือนกัน แต่รายชื่อหนังข้างล่างนี้อาจจะพอเข้าข่ายได้บ้าง เพราะหนังเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าประชาชนเยอรมันและอิตาลีบางคนก็ตกเป็นเหยื่อรัฐบาลของตัวเองในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองเหมือนกัน ไม่ใช่ประชาชนเยอรมันหรืออิตาลีทุกคนที่เข้าข้างรัฐบาลของตัวเองอย่างเต็มที่ในการก่อสงคราม พวกเขาซวยที่เกิดมาในประเทศที่มีรัฐบาลเลวๆ

1.STALINGRAD (1993, JOSEPH VILSMAIER, A-/B+)

หนังสร้างโดยชาวเยอรมัน และเล่าถึงความลำบากยากแค้นแสนเข็ญที่ทหารเยอรมันต้องประสบขณะไปรบท่ามกลางฤดูหนาวในรัสเซีย หนังเรื่องนี้ไม่ได้เข้าข้างรัฐบาลนาซี แต่แสดงให้เห็นว่าทหารเยอรมันซึ่งไม่ได้เป็นคนออกนโยบายสงคราม ก็ประสบกับความทุกข์เข็ญจากการตัดสินใจของรัฐบาลนาซีเช่นกัน

2.TWIN SISTERS (2002, BEN SOMBOGAART, A-)

หนังเรื่องนี้ทำให้เห็นใจทั้งสองฝ่าย ทั้งฝ่ายประชาชนชาวเยอรมันในช่วงสงคราม และฝ่ายที่ไม่มีวันยอมให้อภัยชาวเยอรมันเพราะชาวเยอรมันฆ่าคนที่ตัวเองรัก

3.HITLER: A FILM FROM GERMANY (1978, HANS-JURGEN SYBERBERG, A+)

หนังความยาว 7 ชั่วโมงเรื่องนี้ไม่ได้ทำให้ดิฉันรู้สึกเห็นใจฮิตเลอร์ แต่จุดหนึ่งที่ตัวละครในหนังเรื่องนี้ย้ำถามหลายครั้งก็คือว่าการที่ฮิตเลอร์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวมันเลวร้ายกว่าการที่ชาวสหรัฐอเมริกาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวอินเดียนแดงในคริสต์ศตวรรษที่ 19 อย่างนั้นหรือ

4.CAPTAIN CORELLI’S MANDOLIN (2002, JOHN MADDEN, B)

หนังเรื่องนี้ไม่น่าพอใจนัก แต่จุดนึงที่น่าสนใจก็คือหนังเรื่องนี้แสดงให้เห็นความน่าสงสารของทหารอิตาลีที่อยู่ในฝ่ายอักษะ เพราะตอนแรกพวกเขาต้องรบกับฝ่ายสัมพันธมิตร แต่พอรัฐบาลอิตาลีเปลี่ยนมาเข้าข้างฝ่ายสัมพันธมิตร ทหารอิตาลีก็ได้รับคำสั่งให้รบกับทหารเยอรมันแทน สรุปว่าทหารอิตาลีซวยทั้งขึ้นทั้งล่อง

5.LIBERATORS TAKE LIBERTIES (1992, HELKE SANDER)
หนังความยาว 3 ชั่วโมงกว่าเรื่องนี้กำกับโดยผู้หญิงชาวเยอรมัน และเป็นหนังสารคดีที่บันทึกเรื่องจริงของผู้หญิงเยอรมันหลายคนที่ถูกทหารฝ่ายสัมพันธมิตรข่มขืนในช่วงสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2

6.GERMANY PALE MOTHER (1980, HELMA SANDERS-BRAHMS)

ในชีวิตจริงนั้น HELMA SANDERS-BRAHMS ผู้กำกับหญิงชาวเยอรมันของหนังเรื่องนี้เคยเห็นแม่ของตัวเองถูกทหารอเมริกันข่มขืนต่อหน้าต่อตาเธอตอนที่เธอยังเป็นเด็ก ดังนั้นเมื่อเธอโตขึ้น เธอก็เลยถ่ายทอดประสบการณ์ชีวิตอันโหดร้ายที่ตัวเองพบในช่วงสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองลงในหนังเรื่องนี้

7.TWIST OF FATE (1989, IAN SHARP, B+)

มินิซีรีส์เรื่องนี้เคยมาฉายทางช่อง 3 เมื่อหลายปีก่อน พระเอกของหนังเรื่องนี้เป็นทหารเยอรมันยศสูงที่ปลอมตัวเป็นชาวยิวในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่สองเพื่อที่ตัวเองจะได้ไม่ต้องตกเป็นฝ่ายพ่ายแพ้สงคราม หนังเรื่องนี้ไม่ได้ทำให้เห็นใจนาซี แต่อาจทำให้เห็นใจพระเอกของเรื่องนี้ซึ่งเป็นทหารนาซีเพราะว่าเขาหล่อ

8.THE TURNING POINT (1983, FRANK BEYER, A+)

พระเอกของหนังเยอรมันตะวันออกเรื่องนี้ก็เป็นทหารหนุ่มหล่อชาวเยอรมันเช่นกันค่ะ เขาไม่ได้ทำความเลวร้ายอะไรมากนักในช่วงสงคราม แต่พอสงครามสิ้นสุด เขากลับถูกเข้าใจผิดว่าเคยก่ออาชญากรรมที่ร้ายแรงในช่วงสงคราม และเขาต้องได้รับโทษทัณฑ์อย่างหนักสำหรับความผิดที่ตัวเองไม่ได้ก่อ ความหนุ่มแน่นของพระเอกหนังเรื่องนี้ทำให้ดิฉันเห็นใจเขามากๆเลยค่ะ

นอกจากนี้ ยังมีหนังบางเรื่องที่นำเสนอมุมมองของคนที่เข้าข้างนาซีในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองด้วยเช่นกัน ซึ่งคนที่เข้าข้างนาซีในหลายๆกรณีก็ไม่ใช่คนที่ชั่วบริสุทธิ์ แต่เป็นเพราะว่านาซีเป็นศัตรูกับ “สตาลิน” ซึ่งเป็นทรราชย์ที่ฆ่าคนในโซเวียตตายไปหลายล้านคน หากเราต้องเลือกระหว่างนาซีกับประชาธิปไตย เราย่อมเลือกได้ง่ายๆว่าเราเลือกประชาธิปไตย แต่ถ้าหากเราไม่มีสิทธิ์เลือกประชาธิปไตย ถ้าหากตัวเลือกของเรามีเพียง “นาซี” หรือ “สตาลิน” (ซึ่งเลวร้ายกว่าเลนินมาก) มันก็ย่อมจะเลือกได้ยากมาก ชีวิตจริงในหลายๆครั้งมันก็เป็นเช่นนี้ เราไม่สามารถเลือกระหว่าง “ชั่ว” หรือ “ดี” แต่เราต้องเลือกระหว่าง “ชั่วร้าย” หรือ “เลวทราม” (ลองนึกถึงการเลือกตั้งในบางประเทศดูสิ) นอกจากนี้ โซเวียตรัสเซียในยุคก่อนและระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองก็ทำร้ายประชาชนผู้บริสุทธิ์ของบางประเทศในยุโรปด้วย โดยเฉพาะประชาชนในฟินแลนด์และโปแลนด์ เพราะฉะนั้นการที่คนบางคนในฟินแลนด์และโปแลนด์จะหันไปเข้าข้างฝ่ายนาซี จึงเป็นสิ่งที่น่าเห็นใจอยู่เหมือนกัน

หนังที่เข้าข่ายนี้ก็อาจรวมถึง

1.ASCENT (1976, LARISA SHEPITKO)
ผู้กำกับหนังเรื่องนี้เป็นผู้หญิงค่ะ และหนังพูดถึงทหารสองคนในรัสเซียที่ถูกพวกที่ฝักใฝ่นาซีจับตัวไป
Larisa Shepitko's last film is one of the most beautiful war films in cinema history.

2.LACOMBE LUCIEN (1974, LOUIS MALLE)
หนังเรื่องนี้เล่าถึงเด็กหนุ่มคนหนึ่งในฝรั่งเศสที่หันไปสวามิภักดิ์กับทหารนาซีในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง และสิ่งที่ทำให้หนังเรื่องนี้อื้อฉาวอย่างสุดๆก็คือการที่หนังไม่ได้ตัดสินให้ตัวละครตัวนี้เป็นผู้ร้าย

3.ENIGMA (MICHAEL APTED, A-)

4.AMBUSH (1999, OLLI SAARELA, A-)
หนังเชิดชูวีรกรรมของทหารหนุ่มๆชาวฟินแลนด์ที่ต่อสู้กับทหารรัสเซียอย่างกล้าหาญในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง คาดว่าคนที่ชอบ BAND OF BROTHERS น่าจะชอบเรื่องนี้ด้วย

5. HIROSHIMA MON AMOUR (1959, ALAIN RESNAIS, A+)
6.A CHILD IN THE CROWD (1976, GERARD BLAIN, A+)
7.MALENA (2000, GIUSEPPE TORNATORE, A-)

หลังจากฝรั่งเศสเป็นอิสระจากนาซีในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่สอง ชาวฝรั่งเศสหลายคนก็จับเพื่อนร่วมชาติที่เคยคบค้ากับนาซีไปกระทำทารุณอย่างโหดเหี้ยมอำมหิต อย่างไรก็ดี เหตุการณ์ดังกล่าวนี้ไม่ค่อยได้รับการนำเสนอในหนังบ่อยนัก

อย่างไรก็ดี ในหนังเรื่อง HIROSHIMA MON AMOUR, A CHILD IN THE CROWD และ MALENA นั้น มีตัวละครผู้หญิงบางตัวในเรื่องที่คงไม่ใช่คนเลวโดยกมลสันดาน เพียงแต่พวกเธอไปหลงรักหรือไปคบค้ากับทหารหนุ่มหล่อชาวเยอรมันที่เข้ามายึดครองประเทศของพวกเธอเท่านั้นเอง (ดิฉันคิดว่าตัวเองพอเข้าใจความรู้สึกของพวกเธอค่ะ) แต่หลังจากเยอรมันพ่ายแพ้สงคราม ผู้หญิงเหล่านี้ก็ถูกประชาชนรุมประชาทัณฑ์อย่างรุนแรง หรือไม่ก็ถูกฆ่าตาย

Thursday, November 25, 2004

HARMFUL INSECT (AKIHIKO SHIOTA, A+)

เมื่อวานนี้ได้ดูหนังสองเรื่องค่ะ ซึ่งก็คือ HARMFUL INSECT (2002, AKIHIKO SHIOTA, A+) กับ BLUE SPRING (2001, TOSHIAKI TOYODA, B)

ชอบเรื่อง WEDDING BANQUET (1993, Ang Lee, A-) มากเหมือนกันค่ะ หนังเรื่องนี้เป็นหนังเกย์เรื่องแรกๆที่ได้ดูในโรงหนัง จำได้ว่าดูที่โรงหนังในห้างสยามเซ็นเตอร์หรือไงนี่แหละ ชอบ Winston Chao พระเอกหนังเรื่อง WEDDING BANQUET ด้วยเหมือนกัน และก็ชอบดาราชายคนนี้มากๆตอนที่เขาไปเล่นหนังเรื่อง RED ROSE WHITE ROSE (1994, STANLEY KWAN, A)

ใช่ ใช่ โจวเทียนไฉ น่ารักมากๆ ปากเขาสวยมากๆ แต่รู้สึกว่าเขาอาจจะเหมาะเล่นบทที่ออกไปในทางเพลย์บอยมากกว่าบทหนุ่มไร้เดียงสา รู้สึกว่าหน้าตาเขามันดูกรุ้มกริ่ม ดวงตาเป็นประกายแวววับ ดูแล้วไม่ค่อยเชื่อเท่าไหร่ว่าเขาไร้เดียงสาจริงๆ

เมื่อประมาณเกือบ 10 ปีที่แล้วเคยเขียนจม.ไปหา STARPICS ค่ะ จำไม่ได้แล้วว่าใช้นามปากกาว่าอะไร แต่เขียนไปถามข้อมูลเกี่ยวกับดาราหนุ่มๆชาวฝรั่งเศส ยุคนั้นยังไม่มีอินเทอร์เน็ต หาข้อมูลเกี่ยวกับดาราหนุ่มๆฝรั่งเศสลำบากมาก ก็ได้ STARPICS นี่แหละที่ช่วยตอบคำถามให้

ใช่แล้ว ตอนนี้หนังสือเกย์ออกมาเยอะมาก ซื้อกันไม่หวาดไม่ไหวเหมือนกัน เคยซื้อหนังสือ “เรื่องรักของบางเรา” ของคุณ โตมร ศุขปรีชามาอ่าน แต่รู้สึกว่ายังอ่านไม่จบ เคยซื้อนิยายเกย์บางเล่มมาอ่าน แต่ก็อ่านไม่จบเหมือนกัน ซึ่งได้แก่เรื่อง อิสระและอานิต้า ของกิจจา บุรานนท์ กับเรื่อง ทางสายที่สาม ของกีรติ ชนา ส่วนนิยายเกย์ที่เคยอ่านจบตอนเด็กๆก็ได้แก่เรื่อง ประตูที่ปิดตาย (A) ของกฤษณา อโศกสิน และเรื่อง ใบไม้ที่ปลิดปลิว (A-) ของทมยันตี ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับคนที่ผ่าตัดแปลงเพศเป็นผู้หญิง และหลงรักอาหนุ่มของตัวเอง โดยเขาแอบไปผ่าตัดแปลงเพศโดยที่พ่อของเขาไม่รู้ ตอนหลังพ่อของเขามาเจอเขาโดยบังเอิญ พ่อของเขาก็เลยพูดจีบหญิงสาวคนนี้โดยหารู้ไม่ว่านั่นคือลูกชายของตัวเอง (ดิฉันไม่ค่อยแน่ใจเนื้อเรื่องนะคะ เพราะอ่านมานานมากๆแล้ว)

พูดถึงหนังเรื่อง Kinsey แล้วก็เลยอยากดูหนังเกี่ยวกับนักจิตวิทยาเซ็กส์อีกเรื่องนึงมากเลยค่ะ นั่นก็คือเรื่อง W.R. –MYSTERIES OF THE ORGANISM (1971, DUSAN MAKAVEJEV) ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับ Wilhelm Reich (มีใครรู้จักเขาบ้างไหมคะ)เพราะเคยดูหนังของ MAKAVEJEV แล้วชอบมากๆ

SOUND AND FURY (JEAN-CLAUDE BRISSEAU, A+)

ตอบไม่ถูกเหมือนกันว่าครูคนไหนทำให้ชีวิตดิฉันเปลี่ยนไปมากหรือน้อยเพียงใด นึกถึงชีวิตสมัยเรียนประถมมัธยม ก็เจอครูดีๆเลวๆมาหลายคนเหมือนกัน ตอนอยู่มัธยมจะมีครูที่ชอบมากหลายคนและเกลียดมากหลายคน ในบรรดาครูที่ชอบก็มีคุณครูสอนคณิตศาสตร์ตอนม.3 ชอบคุณครูคนนี้มากเพราะเธอกล้าคัดค้านนโยบายเสียสติของครูเลวคนอื่นๆ ครูสอนวิทยาศาสตร์ตอนม. 3 ก็ชอบมากเหมือนกัน เพราะคุณครูคนนี้อนุญาตให้นักเรียนกินอาหารได้ตามสบายขณะที่เรียน เพราะฉะนั้นชม.เรียนของคุณครูคนนี้นักเรียนจึงต้มบะหมี่กินไปด้วยเรียนไปด้วยได้

ตอนอยู่ม.ปลายจะชอบครูประจำชั้นคนนึงที่สอนวิทยาศาสตร์มากเลยค่ะ เขาประจำชั้นห้องที่เพื่อนสนิทดิฉันเรียนอยู่ และเขาอนุญาตให้นักเรียนจัดแถวโต๊ะที่นั่งได้ตามใจชอบ เพราะฉะนั้นแถวโต๊ะที่นั่งในห้องนี้จะพิสดารมาก บางโต๊ะก็แยกเดี่ยว บางโต๊ะก็ติดกัน 2 ตัว บางโต๊ะก็ติดกัน 5 ตัว ฯลฯ และแถวที่นั่งจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆตามอารมณ์ของนักเรียนว่าชั่วโมงไหนวันไหนอยากจับกลุ่มนั่งกันยังไง เวลาดิฉันไปเยี่ยมเพื่อนในห้องนี้ทีไร หลายครั้งหาทางออกมาแทบไม่ได้ เพราะโต๊ะมันเรียงกันเหมือนเขาวงกต หรือเหมือนค่ายกลดอกท้อ เดินเข้าไปแล้วงง หาทางออกไม่เจอ นึกถึงครูใจดีๆอย่างนี้แล้วมีความสุขมากเลยค่ะ

หนังเกี่ยวกับโรงเรียนประจำเรื่องนึงที่ดิฉันชอบสุดๆก็คือ PHENOMENA (1985, DARIO ARGENTO, A+++++) ค่ะ แต่อันนี้เป็นโรงเรียนประจำที่มีฆาตกรโรคจิตออกไล่ฆ่าเด็กสาวๆในโรงเรียน นำแสดงโดยเจนนิเฟอร์ คอนเนลลี

ส่วนหนังเกี่ยวกับคุณครูจากนรกที่น่าสนใจเรื่องนึงคือ ALL THINGS FAIR (1995, BO WIDERBERG, A-) ค่ะ หนังมีเนื้อหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ฉันท์ชู้สาวระหว่างคุณครูสาววัย 37 ปีกับหนุ่มวัย 15 ปี

อีกเรื่องนึงคือหนังที่สร้างจากเรื่องจริงชื่อ THE MARY KAY LETOURNEAU STORY: ALL-AMERICAN GIRL (2000, LLOYD KRAMER, B+) ที่เคยมาฉายทางเคเบิลทีวีประเภทช่อง HBO นำแสดงโดยเพเนโลป แอนน์ มิลเลอร์ ในบทของคุณครูที่มีเซ็กส์กับเด็กหนุ่มวัย 13 ปี

หนังเกี่ยวกับครูผู้หญิงดีๆที่ดิฉันชอบมากก็มีหลายเรื่องค่ะ ซึ่งรวมถึงเรื่อง GHETTOKIDS (2002, CHRISTIAN WAGNER, A) ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับคุณครูหญิงที่กลับมาจากกรีซและมาสอนเด็กนักเรียนเหลือขอในเยอรมนี ลูกศิษย์ของเธอเป็นเด็กที่เกเรมากๆ ทั้งค้ายาเสพติด, จี้ปล้น และนักเรียนชายบางคนในชั้นเรียนของเธอที่หน้าตาดีหน่อยก็ไปขายตัวตามสถานีรถไฟ ตอนแรกคุณครูก็รู้สึกเอือมระอามาก (แบบเดียวกับ DANGEROUS MINDS) เธอนึกว่าถ้าย้ายไปอยู่โรงเรียนของพวกชนชั้นกลางแล้วสถานการณ์จะดีขึ้น แต่ปรากฏว่าพวกเด็กๆลูกของชนชั้นกลางกลับเหยียดหยามลูกชายของเธอที่เป็นลูกครึ่งชาวกรีซอย่างรุนแรง พวกเขาดูถูกรังแกทุบตีทำร้ายลูกชายของเธอจนได้รับบาดเจ็บ เพียงเพราะลูกชายของเธอเป็นลูกครึ่งกรีซ ไม่ได้มีเชื้อสายเยอรมันเต็มตัว เหตุการณ์นี้ก็เลยทำให้เธอ (และดิฉันในฐานะคนดูหนังเรื่องนี้) ได้ประจักษ์แก่ใจว่าโรงเรียนไหนกันแน่ที่น่าสยดสยองกว่ากัน (หนังเรื่องนี้สร้างจากเรื่องจริง) IOANNIS TSIALAS แสดงได้เก่งมากใน GHETTOKIDS ในบทของนักเรียนชายที่ขายบริการทางเพศตามสถานีรถไฟ

ส่วนหนังเกี่ยวกับคุณครูหญิงนิสัยดีอีกเรื่องที่ชอบมากก็คือ SOUND AND FURY (1988, JEAN-CLAUDE BRISSEAU, A+++++) ค่ะ มี FABIENNE BABE รับบทเป็นคุณครูใจดีที่ต้องรับมือกับนักเรียนเกเรที่ชอบทำ BLOW JOB กันในห้องเรียน

ส่วนใน LES CHORISTES นั้น ดิฉันชอบ FRANCOIS BERLEAND ดาราที่รับบทเป็นคุณครูตัวร้ายค่ะ จริงๆก็ไม่ได้รู้สึกว่าเขาเล่นเก่งอะไรมากมาย แต่รู้สึกว่าระยะนี้ได้ดูหนังของเขาบ่อยมากจนเขากลายเป็นคนคุ้นหน้าไปแล้ว รู้สึกว่าเขารับบทผู้ร้ายได้ดี และน่าจะปะทะกับ BERNARD GIRAUDEAU (THAT DAY, LA PETITE LILI, A MATTER OF TASTE, WATER DROPS ON BURNING ROCKS) เพราะดาราชายสองคนนี้ดูร้าย, น่ากลัว, วิปริต, โรคจิตไม่แพ้กัน

หนังของ FRANCOIS BERLEAND (เกิดปี 1952) ที่เคยดู เรียงตามลำดับความชอบส่วนตัว

1.THE SCHOOL OF FLESH (1998, BENOIT JACQOUT) A+
2.L’APPAT (1995, BERTRAND TAVERNIER) A+
3.CAMILLE CLAUDEL (1988, BRUNO NUYTTEN) A+
4.FILLES UNIQUES (2003, PIERRE JOLIVET) A
5.PLACE VENDOME (1998, NICOLE GARCIA) A-
6.A SELF-MADE HERO (1996, JACQUES AUDIARD) A-
7.DEEP IN THE WOODS (2000, LIONEL DELPLANQUE) A-
8.MY LITTLE BUSINESS (1999, PIERRE JOLIVET) B+
9.LES CHORISTES (2004, CHRISTOPHE BARRATIER) B
10.MON IDOLE (2002, GUILLAUME CANET) B
11.MARCHE A L’OMBRE (1984, MICHEL BLANC) C+
12.THE TRANSPORTER (2002, LOUIS LETERRIER + COREY YUEN) C

Carla's Song and The Last Bolshevik

ชอบ DEAD POETS SOCIETY (1989, A+) มากเหมือนกันค่ะ ตอนจบของหนังเรื่องนี้ทำออกมาได้ซึ้งมากๆ หนังเรื่องนี้เป็นหนึ่งในหนังเรื่องแรกๆที่ดิฉันได้ยินเสียงคนดูในโรงหลายคนปรบมือให้ในตอนจบ (โดยที่ดิฉันไม่รู้สึกตะขิดตะขวงใจ) ตอนนั้นดูที่โรงแมคเคนนา

หนังเรื่องอื่นๆที่ได้ยินเสียงคนดูในโรงปรบมือแล้วรู้สึกดีใจมากๆก็คือ
1.BRIDGES ON MADISON COUNTY (CLINT EASTWOOD, A+)
2. PRIEST (ANTONIA BIRD, A+, ดูที่ฮอลลีวู้ดสตรีท)
3.CARLA’S SONG (1996, KEN LOACH, A+, ดูที่ศาลาเฉลิมกรุง)
รู้สึกว่า CARLA’S SONG จะเป็นหนังที่ดิฉันปรบมือให้หนักที่สุดในชีวิต ปรบจนเจ็บมือเลย เพราะตอนนั้นอารมณ์มันพาไป และก็มีคนในโรงหลายคนช่วยกันปรบด้วย จริงๆแล้วยังมีหนังอีกหลายเรื่องที่อยากปรบมือให้ดังๆ แต่ไม่มีคนในโรงปรบมือกัน ดิฉันก็เลยไม่กล้าปรบมือแปะแปะอยู่คนเดียว และก็มีหนังอีกหลายเรื่องเหมือนกันที่คนดูปรบมือกันทั้งโรง แต่ดิฉันขี้เกียจร่วมด้วย สรุปว่าการได้ยินเสียงคนดูทั้งโรงปรบมือให้หนังที่เรารัก เป็นประสบการณ์ที่ดีต่อความทรงจำมากๆค่ะ

ลองมองดูหนัง 4 เรื่องนี้แล้ว รู้สึกว่าตอนจบของหนัง 4 เรื่องนี้ให้อารมณ์ที่บรรเจิดมากๆ ผู้สร้างหนังทั้ง 4 เรื่องนี้จัดจังหวะอารมณ์ของตอนจบออกมาได้ถูกใจมากๆ และสิ่งที่อาจคล้ายกันอยู่บ้างก็คือ ตอนจบของหนัง 3ใน 4 เรื่องนี้จบลงด้วยการที่ตัวละครในเรื่องแสดงความเข้าอกเข้าใจหรือเห็นอกเห็นใจอีกฝ่ายหนึ่ง การที่ตัวละครคนหนึ่ง “รู้ซึ้งถึงหัวอก” ของตัวละครอีกตัวหนึ่งในตอนจบ เป็นจุดที่มักทำให้ดิฉันรู้สึก “จี๊ด” อย่างรุนแรงมากๆเลยค่ะ และมักเป็นจุดที่เรียกน้ำตาดิฉันได้จริงๆ ในช่วงท้ายของ DEAD POET’S SOCIETY ความเข้าอกเข้าใจกันระหว่างครูกับนักเรียนเป็นสิ่งที่ซึ้งมากๆ ในขณะที่ตอนจบของ PRIEST นั้นจะว่าไปแล้วก็ให้อารมณ์บางอย่างละม้าย DEAD POET’S SOCIETY เหมือนกัน เพราะตอนจบของ PRIEST จบลงด้วยการที่พระเอกของเรื่องถูกกระทำเหมือนกับเป็นคนนอก ถูกด่าว่าประณามเหยียดหยาม แต่ก็มีคนๆหนึ่งกล้าแสดงออกว่าเขาเห็นอกเห็นใจพระเอก ความเห็นอกเห็นใจที่ตัวละครตัวนั้นแสดงต่อพระเอกของ PRIEST ในตอนจบ การที่ตัวละครตัวนั้นกล้าเดินออกมากลางโบสถ์โดยไม่เกรงกลัวหน้าอินทร์หน้าพรหมหรือสายตาชาวบ้านร้านตลาดใดๆทั้งสิ้น การที่ตัวละครตัวนั้นรู้ดีว่าอะไรกันแน่คือสิ่งที่สำคัญ-- “หลักการ”, “กฎระเบียบ” หรือ “หัวใจ” –ทำให้ดิฉันรู้สึกจี๊ดเท่ากับการได้ฟังประโยค oh captain my captain ใน DEAD POETS SOCIETY เลยค่ะ

ส่วนตอนจบของ CARLA’S SONG นั้น ดิฉันก็ร้องไห้ให้กับประโยคสนทนาของ SCOTT GLENN กับ ROBERT CARLYLE ค่ะ ในช่วงท้ายของหนังสองเรื่องนี้ ตัวละครทั้งสองโต้ตอบกันด้วยประโยคบางประโยคที่ทำให้ดิฉันร้องไห้ออกมา รู้สึกว่า ROBERT CARLYLE จะพูดกับ SCOTT GLENN ว่า “I’M A BUS DRIVER.” ซึ่งถ้ามันออกมาอยู่นอกบริบท มันคงเป็นประโยคที่ไม่มีความหมายอะไรเลยเหมือนกับประโยค “OH CAPTAIN MY CAPTAIN” แต่พอมันไปอยู่ในบริบท พอมันไปอยู่ในฉากนั้น ในเวลานั้น ในจังหวะนั้น ในอารมณ์นั้น ประโยคที่ดูเหมือนธรรมดาๆอย่าง “I’M A BUS DRIVER.” และประโยค “OH CAPTAIN MY CAPTAIN” กลับกลายเป็นประโยคที่ทำให้ทำนบน้ำตาแตกออกมาได้

ประโยคที่ดูเหมือนธรรมดาอีกอันนึงที่ทำให้ดิฉันร้องไห้เป็นวรรคเป็นเวรก็คือประโยคตอนจบของ THE LAST BOLSHEVIK (1992, CHRIS MARKER, A+++++) ในตอนจบของหนังเรื่องนี้ MARKER ถ่ายให้เห็นภาพเด็กๆรุมกันเหยียบย่ำอนุสาวรีย์ที่แตกหักของเลนิน ก่อนจะถ่ายให้เห็นภาพเด็กคนนึงกอดตุ๊กตาไดโนเสาร์และอมยิ้ม และในขณะเดียวกัน MARKER ก็พูดกับดวงวิญญาณของ ALEXANDER MEDVEDKIN ว่า “คุณมันเป็นไดโนเสาร์ แต่ดูสิ่งที่เด็กๆทำกับไดโนเสาร์สิ เด็กๆรักมัน” ประโยคนี้มันเป็นประโยคที่ธรรมดามากๆถ้าหากออกมาอยู่นอกบริบท—“เด็กๆรักไดโนเสาร์”—มันไม่เห็นจะเป็นประโยคที่พิเศษหรือมีคุณค่าอะไรตรงไหนเลย แต่พอมันใส่เข้าไปในจุดที่ถูกต้องลงตัวใน THE LAST BOLSHEVIK มันกลับกลายเป็นอะไรที่ซึ้งมากๆ ดิฉันเดาว่าจริงๆแล้วหัวใจของ CHRIS MARKER คงจะต้องการพูดกับดวงวิญญาณของ ALEXANDER MEDVEDKIN ว่า “ถึงคนจะเหยียบย่ำชิงชังคุณขนาดไหน ถึงคนจะประณามคุณว่าเป็นคนหัวโบราณคร่ำครึ ดูถูกเหยียดหยามคุณ หรือมองคุณในทางลบมากขนาดใดก็ตาม ผมก็ยังคงรักคุณอยู่เสมอ” แต่แทนที่ MARKER จะพูดออกมาตรงๆ เขากลับใช้ประโยคว่า “เด็กๆรักไดโนเสาร์” แทน และมันก็กลายเป็นสิ่งที่ซึ้งมากๆ (จริงๆแล้วประโยค “เด็กๆรักไดโนเสาร์” อาจจะไม่ได้มีความหมายอย่างนี้ หรืออาจจะมีความหมายมากกว่านี้ แต่ดิฉันก็ขอเลือกจดจำความประทับใจจากหนังเรื่องนี้ไว้ในรูปแบบนี้แล้วกันค่ะ)

วกกลับมาถึงโรบิน วิลเลียมส์ ตอนนี้ดิฉันรู้สึกชอบเขามากค่ะ ตอนช่วงทศวรรษ 1990 ดิฉันไม่ค่อยชอบเขามากเท่าไหร่ แต่หลังจากได้ดู INSOMNIA (2002, CHRISTOPHER NOLAN, A-), ONE HOUR PHOTO (2002, MARK ROMANEK, A-) และ THE FINAL CUT (2004, OMAR NAIM, A+) ดิฉันก็รู้สึกชอบหนังของเขามากๆ ดิฉันไม่ได้รู้สึกทึ่งในฝีมือการแสดงของเขา แต่ชอบหนัง 3 เรื่องนี้มากๆ เพราะมันเป็นหนังที่มี “ความวังเวง” อะไรบางอย่างที่โดนใจดี การที่ดิฉันชอบหนัง 3 เรื่องนี้ก็เลยพลอยทำให้รู้สึกดีกับโรบิน วิลเลียมส์ไปด้วย โดยเฉพาะใน THE FINAL CUT นั้น ดิฉันรู้สึกว่าเขาถ่ายทอดอารมณ์ “เหนื่อยหน่ายโลก” ออกมาได้อย่างถูกใจมากๆเลยค่ะ ความซังกะตายและความไร้ชีวิตชีวาของโรบิน วิลเลียมส์ใน THE FINAL CUT เป็นสิ่งที่เข้ากับบรรยากาศของหนังและถูกใจดิฉันมากๆ

DARIUSH MEHRJUI

วันนี้ได้ดูหนังเรื่อง WILD LIFE (1997, SHINJI AOYAMA, A) ค่ะ

เคยดูหนังของ DARIUSH MEHRJUI ไป 2 เรื่องค่ะ ซึ่งก็คือ BAANOO (1999, A-, ดูที่เอ็มโพเรียม) ซึ่งมีบางอย่างที่แปลกตรงที่หนังเรื่องนี้เสนอภาพตัวละครคนรวยในแง่บวกและตัวละครคนจนผู้ยากไร้ในแง่ลบ แต่ก็ทำออกมาได้สมจริง และหนังก็ไม่ได้ตีขลุมแต่อย่างใดว่าคนรวยส่วนใหญ่ดีและคนจนส่วนใหญ่เลว แต่แสดงให้เห็นว่าในบางครั้งเราก็ต้องพยายามไม่ตกเป็นเหยื่อคนเลวที่มาในมาดของคนน่าสงสาร ส่วนอีกเรื่องนึงที่ได้ดูก็คือ THE PEAR TREE (1998, A-, ดูที่ศาลาเฉลิมกรุง) ค่ะ เป็นหนังที่สวยงามมาก หนังอาจดูให้อารมณ์น้ำเน่าหวานซึ้งบ้างในบางครั้ง แต่โดยรวมแล้วก็ใช้ได้

ตอนนี้หนังของผู้กำกับอิหร่านที่อยากดูมากที่สุดในชีวิตก็คือหนังของ SOHRAB SHAHID SALESS ค่ะ เพราะคุณสนธยา ทรัพย์เย็นชอบพูดถึงผู้กำกับคนนี้อยู่เสมอๆ และเคยอ่านคำวิจารณ์หนังของผู้กำกับคนนี้ ก็รู้สึกว่าหนังของเขาต้องเข้าทางตัวเองอย่างรุนแรง ไม่รู้เหมือนกันว่าคุณอ้วนหลงรัก ROBERT BRESSON เหมือนอย่างดิฉันหรือเปล่า แต่ถ้าหากใครหลงรัก ROBERT BRESSON เหมือนอย่างดิฉัน ก็อาจจะชอบหนังของ SOHRAB SHAHID SALESS เหมือนกันก็ได้ค่ะ

ผลงานการกำกับของ SOHRAB SHAHID SALESS ที่ดิฉันอยากดูก็รวมถึงเรื่อง THE LONG VACATION OF LOTTE H. EISNER

NADIA FARES IS THE BEST

วันนี้ได้ดูหนังชุด ID SWISS (1999) ที่สถาบันเกอเธ่ ซ.สาทร 1 มาค่ะ หนังชุดนี้ประกอบด้วยหนังสั้น 7 เรื่องด้วยกัน เรียงตามลำดับความชอบส่วนตัวได้ดังนี้

1.MIXED UP (A+++++)—NADIA FARES
เรื่องของสาวลูกครึ่งอียิปต์-สวิสที่เดินทางไปหาพ่อในอียิปต์หลังพลัดพรากจากกันนาน 15 ปี หากดูจากเนื้อหาเกี่ยวกับการย้อนกลับไปหารากเหง้าของตัวเองในแอฟริกาเหนือแล้ว หนังเรื่องนี้อาจมีบางส่วนที่ทำให้นึกถึง EXILS (2004, TONY GATLIF, A+/A) แต่บทบรรยาย, การถ่ายภาพ, การใช้เสียงดนตรีในหนังเรื่องนี้ กลับทำให้อารมณ์ของหนังออกไปในทาง BEAU TRAVAIL (1999, CLAIRE DENIS, A+++++) มากกกว่า ฉากที่ลืมไม่ลงในหนังเรื่องนี้คือฉากที่คุณยายของเธอ (ถ้าดิฉันเข้าใจไม่ผิด) พูดพร่ำถึงเรื่องการเดินฝ่าห้วงมหาสมุทรอันกว้างใหญ่ไพศาลขึ้นไปทางทิศเหนือเรื่อยๆ เรื่อย ๆ เรื่อยๆ

2.TRAIN FANTOME (A)—THOMAS THUMENA
หลังจากเกิดสงครามกลางเมืองอันโหดร้ายในบอสเนีย ผู้กำกับหนังเรื่องนี้ก็ไปสัมภาษณ์ทหารเกณฑ์หนุ่มแน่นหล่อเหลาชาวสวิสมากมายหลายคนว่าอาจจะเกิดสงครามกลางเมืองในสวิตเซอร์แลนด์ได้หรือไม่ เพราะสวิตเซอร์แลนด์ก็ประกอบไปด้วยคนที่พูดกันหลายภาษาหลายเชื้อชาติเหมือนกับยูโกสลาเวีย และสิ่งที่น่าตกใจก็คือทหารหนุ่มหล่อชาวสวิสหลายคนตอบว่า “เป็นไปได้” และความเป็นไปได้ที่ชาวสวิสจะรบราฆ่าฟันกันเองอย่างนองเลือด สูงกว่าความเป็นไปได้ที่สวิตเซอร์แลนด์จะถูกประเทศอื่นมารุกรานอีกด้วย

3.WAS WIE WANN WOHIN GEHORT (A)—WAGEH GEORGE
เรื่องของชายอียิปต์ที่กำลังจะแต่งงานกับสาวสวิส หนังทำออกมาน่ารักดี

4.RACLETTE CURRY (A-)—KAMAL MUSALE
เรื่องของผู้ชายคนหนึ่งที่มีพ่อเป็นนักกายกรรม/พ่อครัวชาวอินเดีย และแม่เป็นชาวสวิส

5.HOME ALONE (A-)—CHRISTIAN DAVI
เรื่องของบ้านพักคนชราในสวิตเซอร์แลนด์ที่มีพ่อครัวเป็นชาวตุรกี

6.HOPP SCHWYZ (B+)—FULVIO BERNASCONI
ความขัดแย้งระหว่างชาวสวิสที่พูดอิตาลีกับชาวสวิสที่พูดภาษาอื่นๆ หนุ่มๆที่มาเตะฟุตบอลในหนังเรื่องนี้น่ารักดีค่ะ

7.MAKING OF A JEW (B)--STINA WERENFELS
หญิงสาวคนหนึ่งกับความสับสนเกี่ยวกับชาติกำเนิดของตัวเอง, ต้นตระกูลของตัวเอง และศาสนาของตัวเอง

รู้สึกว่านิตยสาร Pulp เล่มเดือนต.ค.จะมีหนังสือแถมที่มีข้อมูลเกี่ยวกับ JEALOUSY IS MY MIDDLE NAME ด้วยค่ะ แต่ดิฉันยังไม่ได้อ่านเลย เรื่องย่อของ JEALOUSY IS MY MIDDLE NAME รู้สึกว่าจะเกี่ยวกับหนุ่มน้อยคนหนึ่งที่เพิ่งเลิกกับแฟนสาว หลังจากนั้นเขาก็ได้ทำงานในนิตยสารชั้นนำ และรู้สึกสนใจในตากล้องหญิงของนิตยสารนั้น ต่อมาเขารู้ว่าบก.ของเขาเป็นคนที่เคยแย่งแฟนเก่าของเขาไป และตอนนี้บก.คนนั้นก็สนใจในตัวตากล้องหญิง เขาต้องการแก้แค้นบก. เพราะฉะนั้นเขาก็เลยพยายามทำตัวเป็นก้างขวางคอไม่ให้บก.จีบตากล้องหญิงคนนั้นได้สำเร็จ

นักวิจารณ์บางคนแสดงความเห็นว่าสิ่งที่น่าสนใจใน JEALOUSY IS MY MIDDLE NAME ก็คือการที่ความสัมพันธ์ระหว่างพระเอกกับบก.ที่ไปๆมาๆกลับเหมือนกับเป็นคู่รักกันซะเอง ถึงแม้ว่าทั้งสองจะไม่ได้มีเซ็กส์กันก็ตาม

อ่านคำวิจารณ์นี้แล้วก็ทำให้นึกไปถึงหนังไอซ์แลนด์เรื่อง A MAN LIKE ME (2002, ROBERT I. DOUGLAS, A-) ที่เข้ามาฉายที่สยามดิสคัฟเวอรีในเดือนต.ค.ปีก่อนค่ะ เพราะก่อนจะเข้าไปดูหนังเรื่องนี้ นึกว่าหนังเรื่องนี้เป็นหนังโรแมนติกเกี่ยวกับหนุ่มอ้วนชาวไอซ์แลนด์กับหญิงสาวชาวจีน แต่ปรากฏว่าผิดคาด และเป็นการผิดคาดในทางที่ดีอย่างมากๆ เพราะพอเนื้อเรื่องผ่านไปได้ราวครึ่งชั่วโมง อยู่ดีๆสาวชาวจีนคนนั้นก็หนีกลับไปเมืองจีน และหนังก็หันมาเล่าเรื่องราวความสัมพันธ์ของหนุ่มอ้วนกับหนุ่มหล่อที่เป็นเพื่อนของเขาแทน ในขณะที่เมียของหนุ่มหล่อจะเกลียดชังหนุ่มอ้วนมากและพยายามกีดกันสามีผู้หล่อเหลาของเธอไม่ให้สนิทกับเพื่อนชายคนนี้ ตัวละครในเรื่องนี้ไม่ได้เป็นโฮโมเซ็กชวลก็จริง แต่คนดูหลายคนคงรู้สึกได้ว่าจริงๆแล้วพระเอกนางเอกของหนังเรื่องนี้คือหนุ่มหล่อกับหนุ่มอ้วน ในขณะที่บรรดาตัวละครผู้หญิงในเรื่องนี้คือนางอิจฉาหรือตัวละครที่ทำให้ชีวิตของผู้ชายยุ่งยากวุ่นวายโดยไม่มีความจำเป็น

ROBERT I. DOUGLAS ผู้กำกับหนังเรื่องนี้เกิดปี 1973 และตอนนี้กำลังกำกับหนังเกี่ยวกับทีมฟุตบอลเกย์อยู่ รู้สึกว่า BIOSCOPE เคยพูดถึงโครงการหนังเกย์ฟุตบอลเรื่องนี้ไปบ้างแล้ว

หนังทีมฟุตบอลเกย์เรื่องนี้นำแสดงโดย BJORN HLYNUR HARALDSSON รู้สึกว่าเขาจะเกิดปี 1974 และสูง 190 ซม.

ส่วนเรื่องปัญหาหลักในการศึกษาดนตรีคลาสสิคที่น้อง Matt เขียนมานั้น พี่ก็รู้สึกอย่างเดียวกันค่ะกับการอ่านนิตยสารเกี่ยวกับดนตรีแดนซ์ที่พี่ชื่นชอบ ไม่ว่าจะเป็น MIXMAG หรือ DJ เพราะอ่านแล้วก็อยากฟังเพลงที่พวกเขาบรรยายถึงอย่างมากๆ แต่จะให้ไปซื้อซีดีมาฟังตามนั้นก็คงไม่มีเงิน และอ่านอย่างเดียวมันก็ไม่ได้รับอรรถรสด้วย เพราะในความเห็นส่วนตัวของพี่ การถ่ายทอดความงดงามของ “เสียงดนตรี” ออกมาเป็น “คำพูดหรือตัวอักษร” มันเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้เลย ในขณะที่หนังสือเกี่ยวกับภาพยนตร์นั้น อ่านแล้วยังได้รับอรรถรสความสนุกเพลิดเพลินอยู่บ้าง ถึงแม้เราจะไม่รู้จักหนังเรื่องนั้นก็ตาม เพราะภาพยนตร์หลายเรื่องยังมี “เนื้อเรื่อง” และมี “ภาพ” ซึ่งพอจะถ่ายทอดออกมาเป็น “ถ้อยคำ” ได้บ้าง แต่ “เสียงดนตรี” นั้น แทบจะแทนที่ด้วยถ้อยคำบรรยายไม่ได้

ดิฉันเพิ่งอ่าน “สิทธารถะ” ฉบับแปลไทย ไปเมื่อไม่กี่ปีก่อน แต่กลับจำคำพูดอะไรในหนังสือไม่ได้เลยค่ะ เคยดูหนังสองเรื่องที่สร้างจากบทประพันธ์ของ HESSE ซึ่งก็คือ SIDDHARTHA (1972, CONRAD ROOKS, B+/B) ที่ตัวหนังดูสวยงามในระดับปานกลาง กับ STEPPENWOLF (1974, FRED HAINES, A) ที่ตัวหนังดูพิสดารพันลึกระทึกมาก ไม่ทราบอีกแล้วว่าเกิดอะไรขึ้นในหนังเรื่องนี้ รู้สึกว่า STEPPENWOLF เป็นหนังที่ดูรอบเดียวคงยากจะเข้าใจอะไรได้ นอกจากว่าจะอ่านตัวนิยายมาก่อน

ยังไม่เคยดู MASTER AND MARGHERITA (1972, ALEKSANDAR PETROVIC) ค่ะ แต่อยากดูหนังเรื่องนี้มาก เพราะอ่านบทความเกี่ยวกับหนังเรื่องนี้ในหนังสือ “บุ๊คไวรัส” เล่ม 1 ของคุณสนธยา ทรัพย์เย็น แล้วรู้สึกว่านี่เป็นหนังที่พลาดไม่ได้อีกเรื่องนึง

เกี่ยวกับเรื่อง INCEST รู้สึกว่าหนังที่พูดถึงประเด็นนี้จะมีอยู่หลายเรื่องเหมือนกัน ส่วนใหญ่จะพูดถึงพ่อกับลูกสาว หรือพ่อเลี้ยงกับลูกเลี้ยง หนังกลุ่มนี้เท่าที่ดิฉันพอนึกออกก็มี

1.PRIEST (ANTONIA BIRD, A+++++)
2.THE FINAL CUT (2004, OMAR NAIM, A+)
3.TWIN PEAKS (TV SERIES) (1990, DAVID LYNCH, A+)
4.NATURAL BORN KILLERS (OLIVER STONE, A)
5.BLISS (1997, LANCE YOUNG, B+)

ส่วนในนิยายเรื่อง BAISE-MOI (A+++++) ของ VIRGINIE DESPENTES นั้น ถ้าจำไม่ผิด มีตัวละครผู้หญิงคนนึงที่เคยมีเซ็กส์กับพ่อตัวเองด้วยค่ะ ผู้หญิงคนนี้มาเจอกับนางเอก 2 คนในเรื่องด้วยบังเอิญ และเล่าประวัติชีวิตของเธอให้นางเอกฟัง MANU ซึ่งเป็นหนึ่งในนางเอกพอรู้เรื่องนี้เข้า ก็ถึงกับอุทานว่า “โอ้ มันช่างเท่อะไรเช่นนี้” (ดิฉันจำไม่ได้ค่ะว่า BAISE-MOI เวอร์ชันภาพยนตร์มีเนื้อหาตรงส่วนนี้ด้วยหรือเปล่า)

UNDER THE PALMS (MIRIAM KRUISHOOP, A+)

เพิ่งดู ALEXANDER (A-) ไปค่ะ รู้สึกดีใจมากที่หนังเรื่องนี้ถ่ายทอดความรักของอเล็กซานเดอร์กับเฮฟาอีสเทียนออกมามากพอสมควร ซึ่งผิดกับหนังฟอร์มใหญ่ของฮอลลีวู้ดโดยทั่วๆไป ก็เลยชอบตรงจุดนี้มาก อย่างไรก็ดี ดิฉันไม่ค่อยชอบดูฉากการสู้รบกันสักเท่าไหร่ค่ะ (เหมือนกับตอนที่ดู "บางระจัน") ชอบฉากที่เน้น "สายตา" ของตัวละครชายใน Alexander มากกว่า

อีกจุดที่ชอบก็คืออเล็กซานเดอร์ในหนังดูไม่ใช่คนดีเท่าไหร่ เขาดูมีทั้งความดีความเลวอยู่ในตัว ตอนก่อนดูกลัวว่าหนังเรื่องนี้จะออกมาในเชิงเชิดชูอเล็กซานเดอร์อย่างเต็มที่ แต่เมื่อดูแล้วพบว่าหนังไม่ได้ยกย่องอเล็กซานเดอร์มากนัก ก็เลยชอบตรงจุดนี้ด้วยค่ะ

อย่างไรก็ดี ถ้าหากตัดประเด็นเรื่องเกย์ใน ALEXANDER ทิ้งไป ดิฉันก็อาจชอบหนังเรื่องนี้แค่ในระดับประมาณ B เท่านั้นค่ะ

"ALEXANDER WAS DEFEATED ONLY ONCE BY THE THIGHS OF HEPHAISTION"

DESIRABLE ACTORS IN ALEXANDER

1.ELLIOT COWAN--YOUNG PTOLEMY

2.GARY STRETCH--CLEITUS

ส่วนอีกเรื่องที่ได้ดูคือ PING PONG BATH STATION (1998, GEN YAMAKAWA, B+)

จตุจักรสัปดาห์นี้ออกดีวีดีหนัง 4 เรื่องที่ดิฉันชอบสุดๆในระดับ A+ ค่ะ ซึ่งได้แก่เรื่อง

1.THE QUINCE TREE SUN (1992, VICTOR ERICE, A++++++++++++)
2.LA LECTRICE (1988, MICHEL DEVILLE, A+)
3.THE YOUNG GIRLS OF ROCHEFORT (1967, JACQUES DEMY, A+)

Jacques Perrin หนึ่งในพระเอกของหนังเรื่องนี้ เป็น uncle ของ CHRISTOPHE BARRATIER ผู้กำกับ LES CHORISTES (B) และตัว PERRIN เองก็มาร่วมแสดงใน LES CHORISTES ด้วย

4.THE UMBRELLAS OF CHERBOURG (1964, JACQUES DEMY, A+)

นอกจากนี้ ยังมีดีวีดีหนังเรื่อง STRAYED (2003, ANDRE TECHINE) ที่ดิฉันอยากดูมากๆ เพราะหนังเรื่องนี้นำแสดงโดย GASPARD ULLIEL หนุ่มหล่อที่เคยทำให้ดิฉันมีอาการ "ฮิสทีเรีย" กำเริบมาแล้วตอนที่ดู SEE HOW THEY RUN (A+) ไม่รู้เหมือนกันว่ามีใครคนอื่นๆอีกหรือเปล่าที่หลงใหลคลั่งไคล้ GASPARD ULLIEL เหมือนดิฉัน

พูดถึงเรื่องเพลงประกอบหนัง หนึ่งในเพลงประกอบหนังที่ดิฉันชอบสุดๆก็คือเพลงประกอบหนัง LILY WAS HERE (1989, BEN VERBONG) ที่รู้สึกว่าจะเป็นผลงานของ CANDY DULFER + DAVE STEWART ค่ะ หนังเรื่องนี้มีให้เช่าในแบบวิดีโอลิขสิทธิ์ในไทยด้วย

ใน LILY WAS HERE นั้น ดิฉันชอบ THOM HOFFMAN ซึ่งเป็นพระเอกของเรื่องมากเลยค่ะ ตกใจมากที่ได้ทราบว่า THOM HOFFMAN เกิดปี 1957 (ไม่รู้ข้อมูลใน IMDB.COM เชื่อถือได้จริงหรือเปล่า) นึกว่าเขาจะอายุน้อยกว่านั้น เพราะใน LILY WAS HERE เขาดูน่ารักมากๆ แต่คิดไปคิดมา LILY WAS HERE มันก็หนังตั้งแต่เมื่อ 15 ปีที่แล้ว เฮ้อ ป่านนี้สังขารเขาจะเปลี่ยนแปลงไปถึงขั้นไหนแล้วก็ไม่รู้

หนังของ THOM HOFFMAN ที่เคยดู
1.UNDER THE PALMS (1999, MIRIAM KRUISHOOP, A+)
2.THE FOURTH MAN (1983, PAUL VERHOEVEN, A+)
3.ELINE VERE (1992, HARRY KUMEL, A-)
4.ORLANDO (1992, SALLY POTTER, A-)

Sunday, November 21, 2004

I'M HUNGRY, I'M COLD (CHANTAL AKERMAN, A)

ชอบ MARIA DE MEDEIROS มากเหมือนกันค่ะ ตาเธอโตดี หน้าตาเธอก็แปลกเด่นสะดุดตาดี และมีบุคลิกที่มีเสน่ห์มากๆ
หนังของ MARIA DE MEDEIROS ที่เคยดู
1.PULP FICTION (1994, QUENTIN TARANTINO, A+)

2.THE SADDEST MUSIC IN THE WORLD (2003, GUY MADDIN, A+)

3.MY LIFE WITHOUT ME (2003, ISABEL COIXET, A+) ถึงแม้ MEDEIROS จะแค่รับบทประกอบในหนังเรื่องนี้ แต่บทของเธอก็เด่นสะดุดตามาก เธอรับบทเป็นช่างทำผมที่หลงใหลใน MILLI VANILLI, เธอมีความสุขมากกับการเต้นรำ และเธอพยายามจะทำให้นางเอก (SARAH POLLEY) ทำผมทรงเดียวกับเธอ

4.LA LECTRICE (1988, MICHEL DEVILLE, A+) ในเรื่องนี้ MEDEIROS รับบทเป็นแค่ตัวประกอบเท่านั้น

5.HENRY & JUNE (1990, A+)

6.I'M HUNGRY, I'M COLD (1984, CHANTAL AKERMAN, A) ในหนังเรื่องนี้ MEDEIROS รับบทเป็นผู้หญิงที่มีแนวโน้มว่าจะเป็นเลสเบียน

7.GOLDEN BALLS (1993, BIGAS LUNA, A)

หลังจากทบทวนหนังของ MEDEIROS ดูแล้ว รู้สึกว่าเธอเลือกเล่นหนังได้ดีมากๆ หนังทั้ง 7 เรื่องของเธอที่เคยดูมา ต่างก็เป็นหนังที่ยอดเยี่ยมทั้งสิ้น

SEPTEMBER CHART

SEPTEMBER 2004

1. KLASSENFAHRT (SCHOOL TRIP) (2002, HENNER WINCKLER) A+
2. ISLE OF THE DEAD (1945, MARK ROBSON) A+
3. BEDLAM (1946, MARK ROBSON) A+
4. WINTER REMAINS (2002) A+
5. TREASURE ISLAND (1999, SCOTT KING) A+
6. 13 GOING ON 30 (2004, GARY WINICK) A+
7. THE BROOD (1979, DAVID CRONENBERG) A+
8. EARLY SPRING (1956, YASUJIRO OZU) A+
9. POSSESSION (1981, ANDRZEJ ZULAWSKI) A+
10. ETERNAL SUNSHINE OF THE SPOTLESS MIND (2004, MICHEL GONDRY) A+
11. DRIFTER (1993) A
12. TRANSFIGURED NIGHT (1993) A
13. MY FIRST FILM (1991) A
14. THE STEPFORD WIVES (2004, FRANK OZ) A
15. KAZA-HANA (2000, SHINJI SOOMAI) A
16. DARKNESS IN THE LIGHT (2000, KEI KUMAI) A-
17. DREHORT BERLIN (1987, HELGA REIDEMEISTER) A-
18. BEAR CUB (2004, LUIS MIGUEL ALBALADEJO) A-
19. LATE AUTUMN (1960, YASUJIRO OZU) A-
20. THE SOUL OF A MAN (2003, WIM WENDERS) A-
21. AN AUTUMN AFTERNOON (1962, YASUJIRO OZU) A-
22. THREE EXTREMES (2004, TAKASHI MIIKE + FRUIT CHAN + PARK CHAN WOOK) A-
23. THE BODY SNATCHER (1945, ROBERT WISE) A-
24. ODE TO COLOGNE: THE BAP FILM (2002, WIM WENDERS) B+
25. SHUTTER (2004) B+
26. ACACIA WALK (2001, JOJI MATSUOKA) B+
27. EVERYBODY’S HOUSE (2001, KOKI MITANI) B+
28. BERLIN IS IN GERMANY (2001, HANNES STOHR) B+
29. WHITE CHICKS (2004, KEENEN IVORY WAYANS) B
30. LAST MISSION (1999, WOJCIECH WOJCIK) B
31. WICKER PARK (2004, PAUL MCGUIGAN) B
32. THE SECT (1991, MICHELE SOAVI) B
33. THE PRINCESS DIARIES 2: ROYAL ENGAGEMENT (2004, GARRY MARSHALL) B
34. CONNIE AND CARLA (2004, MICHAEL LEMBECK) B
35. THUNDERBIRDS (2004, JONATHAN FRAKES) B
36. AZUMI (2003, RYUHEI KITAMURA) B
37. THE TERMINAL (2004, STEVEN SPIELBERG) B-
38. MAN ON FIRE (2004, TONY SCOTT) B-
39. EXORCIST: THE BEGINNING (2004, RENNY HARLIN) C+
40. ELVIS HAS LEFT THE BUILDING (2004, JOEL ZWICK) C+


MOST DESIRABLE ACTOR
RICHARD FRASER--BEDLAM

FAVORITE ACTOR
STEVEN SPERLING—KLASSENFAHRT

FAVORITE ACTRESS
ANNA LEE--BEDLAM

FAVORITE SUPPORTING ACTRESS
JUDY GREER—13 GOING ON 30

FAVORITE SUPPORTING ACTOR
HEINZ BENNENT—POSSESSION (1981)

FAVORITE DOCUMENTARY
DREHORT BERLIN—HELGA REIDEMEISTER

FAVORITE CINEMATOGRAPHY
BRUNO NUYTTEN—POSSESSION (1981)

FAVORITE MUSIC
THE SOUL OF A MAN

FAVORITE SONG
CRAZY FOR YOU—13 GOING ON 30

FAVORITE OPENING
TREASURE ISLAND (1999)

FAVORITE ENDING
13 GOING ON 30

Saturday, November 20, 2004

GHETTOKIDS (CHRISTIAN WAGNER, A)

หนังที่ได้ดูในระยะนี้
1.GHETTOKIDS (2002, CHRISTIAN WAGNER) A ดูที่สถาบันเกอเธ่ ซ.สาทร 1 2.THE MAN WHO KNEW TOO MUCH (1934, ALFRED HITCHCOCK) A 3.AFTER THE SUNSET (2004, BRETT RATNER) B+
4.WIMBLEDON (2004, RICHARD LONCRAINE) B+
5.SIX (2004) B

วันนี้ได้ดูหนัง 4 เรื่องค่ะ เรียงตามลำดับความชอบได้ดังนี้
1.THE FINAL CUT (2004, OMAR NAIM) A+
2.TAXI (2004, TIM STORY) A-
3.LOVE ME IF YOU DARE (2003, YANN SAMUELL) B+
4.LADDER 49 (2004, JAY RUSSELL) B

สำหรับ LOVE ME IF YOU DARE (B+, YANN SAMUELL) นั้น ดิฉันรู้สึกว่าหนังมีสไตล์ที่จัดจ้านและแปลกแหวกแนวดี หนังมีการดำเนินเรื่องที่ตื่นเต้นฉับไว, มีเหตุการณ์สนุกๆเกิดขึ้นตลอดเวลา มีอะไรให้คนดูลุ้นอยู่เรื่อยๆ และเล่นกับความรู้สึกที่ผันผวนของตัวละครได้ดี ตัวละครในเรื่องนี้เป็นประเภทใจอย่างนึง, ปากพูดอย่างนึง, กระทำอีกอย่างนึง ความรู้สึกของตัวละครดูเหมือนจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ และตัวละครก็ดูเหมือนจะสับสนและไม่เข้าใจความรู้สึกของตัวเองด้วย

สิ่งที่ดิฉันติดใจมากที่สุดในหนังเรื่องนี้ก็คือตัวละครพ่อพระเอกค่ะ เขาดูเป็นคนอารมณ์รุนแรงและสร้างความตึงเครียดให้กับเนื้อเรื่องได้ดี แต่การที่ดิฉันชอบหนังเรื่องนี้แค่ในระดับ B+ คงเป็นเพราะว่าในชีวิตจริงดิฉันไม่เคยเจออะไรอย่างในหนังค่ะ ดิฉันก็เลยไม่มีอารมณ์ร่วมกับหนังเรื่องนี้เท่าไหร่ ตัวละครในหนังเรื่องนี้ทำในสิ่งที่แตกต่างจากดิฉันเป็นอย่างมาก ถ้าหากดิฉันเอาตัวเองเข้าไปแทนที่ตัวละครในเรื่อง ดิฉันก็คงจะไม่ทำอย่างตัวละครในเรื่องไม่ว่าจะเป็นตอนเด็กหรือตอนโต ด้วยสาเหตุนี้ดิฉันก็เลยไม่ผูกพันกับตัวละครและไม่ผูกพันกับเหตุการณ์ในเรื่องค่ะ ซึ่งทั้งหมดนี้ไม่ใช่ความผิดของหนังแต่อย่างใด LOVE ME IF YOU DARE อาจจะเป็นหนังดีมากๆเรื่องนึง แต่ตัวละครในหนังเรื่องนี้ห่างไกลจากตัวดิฉันเป็นอย่างมาก พวกเขามักจะตัดสินใจทำหรือพูดในสิ่งที่ตรงข้ามกับดิฉัน ดิฉันก็เลยไม่อินกับเรื่องค่ะ สรุปง่ายๆก็คือถ้าหากเป็นดิฉัน ดิฉันคงจะไม่เล่นเกมนี้ตั้งแต่แรกแล้วล่ะค่ะ เกมในหนังเรื่องนี้ไม่ใช่เกมแบบที่ดิฉันอยากร่วมเล่นด้วยเลย

แต่อย่างนึงที่ชอบในหนังเรื่องนี้ก็คือมีอยู่ฉากนึงในเรื่องที่ทำให้นึกถึงละครโทรทัศน์กำลังภายในของฮ่องกงที่ชอบมากค่ะ เพราะฉากนึงในเรื่องนี้ทำให้นึกถึงฉาก...ใน “ดาบมังกรหยก” ซึ่งฉากนั้นใน “ดาบมังกรหยก” เป็นฉากที่อภิมหาคลาสสิคมากๆในใจของดิฉัน


วันนี้ไปดูหนังญี่ปุ่นสองเรื่องมาค่ะ ซึ่งก็คือ DANGAN RUNNER (1996, SABU, A-) และ 2 DUO (1997, NOBUHIRO SUWA, A+++++) และก็กรี๊ดแตกกับ HIDETOSHI NISHIJIMA พระเอกหนังเรื่อง 2 DUO ที่หล่อมากๆค่ะ ดิฉันเคยดูเขาในหนังมาแล้วรวมกันทั้งหมด 7 เรื่อง และในบรรดาหนัง 7 เรื่องนี้ เขาหล่อที่สุดใน 2 DUO ค่ะ

ความเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับหนังที่ได้ดูในระยะนี้

--GHETTOKIDS (A) นำแสดงโดย IOANNIS TSIALAS ดาราเด็กที่เล่นเก่งมากๆเลยค่ะ ในหนังเรื่อง GHETTOKIDS นี้ IOANNIS TSIALAS รับบทเป็นเด็กชายที่ขายบริการทางเพศให้กับผู้ชายตามสถานีรถไฟใต้ดินค่ะ บทของเขาในหนังเรื่องนี้ทำให้นึกถึงหนังเกย์เรื่อง LOLA AND BILLY THE KID (KUTLUG ATAMAN, A+++++) และหนังเกย์เรื่อง THE WOUNDED MAN (PATRICE CHEREAU, A+++++)


MOST DESIRABLE ACTOR
1.NIKOLAJ COSTER-WALDAU—WIMBLEDON
ดาราหนุ่มคนนี้เคยเล่นหนังเกย์เรื่อง BENT (A+) ค่ะ ส่วนใน WIMBLEDON นั้น ฉากที่ระทึกที่สุดก็คือฉากที่เขากับ PAUL BETTANY เปลือยท่อนบนอยู่ในห้องอบไอน้ำด้วยกัน

2.HIDETOSHI NISHIJIMA—2 DUO (A+++++) + CASSHERN (A) + LAST SCENE (B) + DOLLS (A-) + LOVE/JUICE (A-) + LICENSE TO LIVE (A-) + GHOST PUB (B)

3.JAMES MCAVOY (เกิดปี 1979)—WIMBLEDON
JAMES MCAVOY รับบทเป็นน้องชายพระเอกใน WIMBLEDON หลายคนคงคุ้นหน้าคุ้นตาเขาเป็นอย่างดีเพราะเขาเคยเล่นหนังเรื่อง BRIGHT YOUNG THINGS (A+), THE POOL, REGENERATION (1997, GILLIES MACKINNON) รวมทั้งเล่นมินิซีรีส์เรื่อง CHILDREN OF DUNE และ BAND OF BROTHERS (รับบทเป็น Pvt. James Miller)

4.AUSTIN NICHOLS (เกิดปี 1980)—WIMBLEDON
ก่อนหน้านี้เขาเคยเล่นหนังเรื่อง THE DAY AFTER TOMORROW (B-) และ HOLIDAYS IN THE SUN (C+)

5.BALTHAZAR GETTY—LADDER 49

6.MEHDI MOINZADEH—GHETTOKIDS


FAVORITE ACTRESS
1.ELEANOR BRON—WIMBLEDON (รับบทเป็นแม่พระเอก)

ก่อนหน้านี้เธอเคยเล่นหนังเรื่อง THE HEART OF ME (2002, THADDEUS O’SULLIVAN, A+++++); IRIS (2001, A-); THE HOUSE OF MIRTH; RUTH RENDELL: THE STRAWBERRY TREE และ A MONTH IN THE COUNTRY

2.MIMI KUZYK—THE FINAL CUT
ดาราสาวใหญ่โหนกแก้มสวยที่เคยเล่นหนังเรื่อง THE HUMAN STAIN (A+)


Thursday, November 18, 2004

OCTOBER CHART

ยังไม่ได้ดู CIAO MANHATTAN เลยค่ะ แต่ชอบสไตล์ภาพของ PI มากเหมือนกัน มันเป็นการถ่ายภาพขาวดำที่ทำให้รู้สึกถึงอันตรายยังไงไม่รู้

หนังเรื่อง BEGOTTEN (1991, E.ELIAS MERHIGE) ก็ถ่ายขาวดำเหมือนกัน และมีงานด้านภาพที่วิปริตวิปลาสจริงๆ E.ELIAS MERHIGE รับหน้าที่ถ่ายภาพหนังเรื่องนี้เอง

หนังขาวดำยุคใหม่ที่ถ่ายภาพสวยๆมีอยู่หลายเรื่องเหมือนกัน โดยเฉพาะหนังของ GUY MADDIN ที่ภาพจะให้อารมณ์ฟุ้งฝันเพริศแพร้วเจิดจรัสมาก

หนังอีกเรื่องที่ถ่ายภาพได้โดนใจดิฉันอย่างสุดๆก็คือ INSTITUTE BENJAMENTA OR THIS DREAM PEOPLE CALL HUMAN LIFE (1995, STEPHEN QUAY + TIMOTHY QUAY, A+++++) ที่ให้อารมณ์ฟุ้งฝันเหมือนๆกัน ตากล้องของหนังเรื่องนี้คือ NICHOLAS D. KNOWLAND ซึ่งเคยทำงานเป็นตากล้องให้หนังเรื่อง SIMON MAGUS และมินิซีรีส์เรื่อง THE MURDER OF MARY PHAGAN (1988, WILLIAM HALE, A+++++) แต่ตัวมินิซีรีส์ไม่ค่อยมีการถ่ายภาพที่โดดเด่นเท่าไหร่

คิดว่าถ้าคุณ pc ไปดูตุ๊กแกผี อาจจะหายกลัวตุ๊กแกไปเลยก็ได้ค่ะ หนังเรื่องนี้ไม่น่ากลัวเลย ยกเว้นช่วง 15 นาทีแรกที่ทำออกมาได้มันมาก ช่วงเปิดตัวของหนังเรื่องนี้สนุกมากค่ะ แต่หลังจากนั้นหนังเรื่องนี้ก็น่าเบื่อ

ดิฉันก็เป็นโรคกลัวตุ๊กแกค่ะ เคยเห็นมันตัวใหญ่ๆ รู้สึกว่ามันน่ากลัวมาก ตอนเด็กๆช่อง 7 มีละครเรื่อง “ตุ๊กแก” ด้วย จริงๆแล้วดิฉันก็กลัวสัตว์เลื้อยคลานเกือบหมด ไม่ว่าจะเป็นงู, แมงมุมตัวใหญ่ๆ, ตะขาบ หรือแมงป่อง

ไม่รู้ว่างูเป็นสัตว์ที่มีอาถรรพ์หรือมีวิญญาณเจ้าที่หรืออะไรสิงสู่หรือเปล่า แต่มักจะได้ยินข่าวอาถรรพ์ๆเกี่ยวกับหนังหรือละครเกี่ยวกับงูบ่อยเหมือนกัน เมื่อหลายปีก่อนเคยได้ยินข่าวอาถรรพ์งูที่เกิดกับดาราละครเรื่อง “เกล็ดมรกต” ด้วย นอกจากนี้ ถ้าจำไม่ผิด ตอนที่หนังเรื่อง “งูเก็งกอง” มาฉายที่โรงหนังแถวนนทบุรี คนดูก็ตกใจเพราะอยู่ดีๆก็มีงูเลื้อยเข้าไปดูในโรงหนัง แต่ที่น่าแปลกก็คือเมื่อไม่กี่เดือนก่อน ก็มีข่าวงูเหลือมหรืออะไรทำนองนี้ โผล่เข้าไปในโรงหนังแห่งหนึ่งในสหรัฐที่กำลังฉาย ANACONDAS: THE HUNT FOR THE BLOOD ORCHID ไม่รู้เหมือนกันว่าต้นเหตุที่แท้จริงของปรากฏการณ์เหล่านี้คืออะไร มีคนทำงูหลุดออกมา?, มีคนจงใจสร้างข่าว? หรือว่างูบางตัว (หรืออะไรบางอย่างที่สิงอยู่ในงู) มันอยากดูหนังกันแน่

ยังไม่เคยดู HOLLYWOOD HONG KONG เลยค่ะ แต่ชอบ FRUIT CHAN มาก หนังของเขาที่เคยดูก็มีอีกแค่ 2 เรื่องคือ PUBLIC TOILET (2002, A) ที่พิสดารมาก และ MADE IN HONG KONG (1997, A/A-) ที่ค่อนข้างดิบเถื่อนดี ส่วน DUMPLINGS อาจจะเป็นหนังที่ดูง่ายที่สุดของเขา สิ่งที่ดิฉันชอบในหนังเรื่องนี้ก็คือบุคลิกแร่ดๆของตัวละครหญิง 2 คน

โลกในหนังของฟรุต ชานดูไม่น่าอยู่ มันมีความเลวร้ายเสื่อมทรามสกปรกบางอย่างอยู่ในโลกที่อยู่ในหนังของเขา แต่โลกสกปรกแบบนี้กลับดูมีเสน่ห์ดีเวลาอยู่ในหนังของเขา หนังของเขาทำให้โลกที่สกปรกโสมมดูมีเสน่ห์ดึงดูดกว่าหนังโรแมนติกของผู้กำกับฮ่องกงอีกหลายๆคน ดิฉันรู้สึกว่าโลกที่อยู่ในหนังของฟรุต ชานให้อารมณ์ใกล้เคียงกับโลกที่อยู่ในหนังสิงคโปร์เรื่อง “15” (2003, ROYSTON TAN, A) และ TWELVE STOREYS (1997, ERIC KHOO, A-)

ไปค้นเทปเพลงดิสโกมาฟัง เจอเพลงชื่อ AI NO CORRIDA ของ QUINCY JONES ด้วย ไม่รู้เหมือนกันว่าเพลงนี้เกี่ยวข้องอะไรกับหนังเรื่อง IN THE REALM OF THE SENSES (A+, NAGISA OSHIMA)

เพลงดิสโกที่ชอบมากๆ
1.LET’S ALL CHANT—THE MICHAEL ZAGER BAND
2.BAD GIRLS—DONNA SUMMER
3.A NIGHT TO REMEMBER—SHALAMAR
4.LAST NIGHT A DJ SAVED MY LIFE—INDEEP

เพิ่งรู้ว่า THE LAST DAYS OF DISCO (1998, WHIT STILLMAN) เป็นภาค 3 ในหนังไตรภาคชุด DOOMED BOURGEOIS IN LOVE ค่ะ ส่วนภาค 1 ของหนังไตรภาคชุดนี้ก็คือ METROPOLITAN (1989, WHIT STILLMAN) และภาค 2 ก็คือ BARCELONA (1994, WHIT STILLMAN, A-) ที่เคยเข้ามาฉายในกรุงเทพเมื่อราว 9 ปีที่แล้ว รู้สึกว่า WHIT STILLMAN จะเป็นผู้กำกับอีกคนที่น่าสนใจมากๆ


OCTOBER 2004

1.SEVEN DAYS SEVEN NIGHTS (2003, JOEL CANO) A+
2.THE NIGHT WILL PAY (2003, NESTOR MAZZINI) A+
3.OURS DOESN’T WORK (2003, NICOLAS ALVAREZ + IVAN WOLOVIK) A+
4.OR (2003, KAREN REDAYA) A+
5.PETERKA: YEAR OF DECISION (2003, VLADO SKAFAR) A+
6.LIVE-IN MAID (2004, JORGE GAGGERO) A+
7.LITTLE MEN (2003, NARIMAN TUREBAYEV) A+

8.HUALAMPONG (2004, CHULAYARNNON SIRIPHOL) A+
9.TORREMOLINOS 73 (2003, PABLO BERGER) A+
10.SEAWARD JOURNEY (2003, GUILLERMO CASANOVA) A+
11.PLATFORM (2001, JIA ZHANGKE) A+
12.A TALKING PICTURE (2003, MANOEL DE OLIVEIRA) A+

13.INNOCENCE UNPROTECTED (1968, DUSAN MAKAVEJEV) A+

14.SHARK TALE (2004, VICKY JENSON + BIBO BERGERON + ROB LETTERMAN) A+

15.FISTS IN THE POCKET (1965, MARCO BELLOCCHIO) A+
16.BANGKOK LOCO (พรชัย หงษ์รัตนาภรณ์) A+
17.BURNING DREAMS (2003, WAYNE PENG) A+
18.DAUGHTER FROM DANANG (2002, GAIL DOGIN + VICENTE FRANCO) A+

19.SUITE HABANA (2003, FERNANDO PEREZ) A+
20.HYENAS (1992, DJIBRIL DIOP MAMBETY) A+
21.WHISKY ROMEO ZULU (2003, ENRIQUE PINEYRO) A+
22.THE COLDEST DAY (2003, XIE DONG) A
23.THE FIFTH REACTION (2003, TAHMINEH MILANI) A

24.THE SKYWALK IS GONE (2003, TSAI MING-LIANG) A

25.THE STORY OF THE WEEPING CAMEL (2003, BYAMBASUREN DAVAA + LUIGI FALORNI) A
26.ALEXANDRIE…NEW YORK (2004, YOUSSEF CHAHINE) A

27.TWO WOMEN (1999, TAHMINEH MILANI) A

28.THE SILENCE OF THE PALACE (1994, MOUFIDA TLATLI) A

29.ALI ZAOUA: PRINCE OF THE STREETS (2000, NABIL AYOUCH) A
30.CIRCLIVE (2004) A

31.SAMARITAN GIRL (2004, KIM KI-DUK) A
32.THE EYES, THE MOUTH (1982, MARCO BELLOCCHIO) A

33.NOBODY KNOWS (2004, HIROKAZU KOREEDA) A

34.LOVE AFFAIR OR THE CASE OF THE MISSING SWITCHBOARD OPERATOR (1967, DUSAN MAKAVEJEV) A/A-

35.FAHRENHEIT 9/11 (2004, MICHAEL MOORE) A-

36.SHOWING THEM (1992, SIVAN ARBEL) A-

37.CZECH DREAM (2004, VIT KLUSAK + FILIP REMUNDA) A-

38.DEVIL IN THE FLESH (1986, MARCO BELLOCCHIO) A-

39.WEST BEIRUT (1998, ZIAD DOUEIRI) A-
40.THE PLIGHT (2002, R. SARATH) A-
41.LOST EMBRACE (2004, DANIEL BURMAN) A-

42.WHALE RIDER (2003, NIKI CARO) A-
43.BAD BOYS – A TRUE STORY (2003, ALEKSI MAKELA) A-

44.ANACONDAS: THE HUNT FOR THE BLOOD ORCHID (2004, DWIGHT H. LITTLE) A-

45.EULOGY (2004, MICHAEL CLANCY) A-

46.THE COCA COLA KID (1985, DUSAN MAKAVEJEV) A-
47.THE EDUKATORS (2004, HANS WEINGARTNER) B+

48.ZEE-OUI (2004) B+
49.AVIV (2003, TOMER HEYMANN) B+
50.SKY CAPTAIN AND THE WORLD OF TOMORROW (2004, KERRY CONRAN) B+

51.NEAPOLITAN HEART (2002, PAOLO SANTONI) B+
52.LAST SCENE (2003, HIDEO NAKATA) B+
53.WE SING TO GOD (2002, ZOLTAN SPIRANDELLI) B+
54.SHOUF SHOUF HABIBI! (2003, ALBERT TER HEERDT) B+

55.EXPECTING (2001, SILALIT LIPHSHITZ) B+

56.SLIDING FLORA (2003, TALYA LAVIE) B+
57.COLUMBIA – THE TRAGIC LOSS (2004, NAFTALY GLIKSBERG) B+
58.THE COLOUR OF HAPPINESS (2003, JOZSEF PACSKOVSZKY) B+

59.PRESENCE (2003, JAN TROELL) B

60.RESIDENT EVIL: APOCALYPSE (2004, ALEXANDER WITT) B

61.MY LIFE AS MCDULL (2001, TOE YUEN) B

62.MINUS PLUS (2001, SHAHAR COHEN) B

63.THE PRICE IS RIGHT (1994, DAFNA LEVIN) B

64.METEOR (2004) B-

65.THE GRUDGE (2004, TAKASHI SHIMIZU) B-

66.สายล่อฟ้า B-

67.A CINDERELLA STORY (2004, MARK ROSMAN) B-

68. 18 YEARS LATER (2003, COLINE SERREAU) B-

69.GARFIELD (2004, PETER HEWITT) B-

70.PARTY LINE (1993, OHAV FLANTZ) B-
71.FADO BLUES (2004, LUIS GALVAO TELES) C

72.METHOD (2004, DUNCAN ROY) C

73.CURSE OF THE SUN (2004) C-


MOST DESIRABLE ACTOR
JOHNNY MESSNER—ANACONDAS: THE HUNT FOR THE BLOOD ORCHID

FAVORITE ACTRESS
DANA IVGI—OR

FAVORITE ACTOR
LOU CASTEL—FISTS IN THE POCKET

FAVORITE SUPPORTING ACTRESS
IRENE PAPAS—A TALKING PICTURE

FAVORITE SUPPORTING ACTOR
HIDETOSHI NISHIJIMA—LAST SCENE

FAVORITE ENSEMBLE ACTING
SEVEN DAYS SEVEN NIGHTS

FAVORITE DOCUMENTARY
PETERKA: YEAR OF DECISION

FAVORITE CINEMATOGRAPHY
HO NAN-HONG—BURNING DREAMS

FAVORITE MUSIC
NEAPOLITAN HEART

FAVORITE OPENING
THE NIGHT WILL PAY

FAVORITE ENDING
OR

ตัวละครที่น่าตบที่สุดประจำเดือนต.ค.
1.สุนัขตำรวจที่ดูเหมือนจะเป็นโรคบ้าผู้ชายใน BAD BOYS – A TRUE STORY 2.ลิงที่ชอบคลอเคลียหนุ่มหล่อใน ANACONDAS: THE HUNT FOR THE BLOOD ORCHID

Wednesday, November 17, 2004

I LOVE BASTIAN TROST

สุชาดา อีแอมนั้นเป็นคุณป้าที่เคยรับบทคนใช้ในละครทีวีมาแล้วหลายเรื่องค่ะ แต่เธอไม่ค่อยได้รับบทที่น่าจดจำเท่าไหร่ อย่างไรก็ดี ในหนังเรื่องตุ๊กแกผีมีฉากที่เธอได้เล่นเด่นๆอยู่ฉาก 2 ฉาก ก็เลยดีใจมากที่ดารารุ่นป้าๆได้มีโอกาสเด่นกับเขาบ้าง สัก 5-10 นาทีก็ยังดี จริงๆแล้วถ้าหากมีหนังเรื่องใดสักเรื่องในยุคปัจจุบันที่ให้ “สุชาดา อีแอม” เล่นเป็นนางเอก ก็คงจะดีมากๆ ในความฝันของดิฉัน ดิฉันอยากเห็น “สุชาดา อีแอม” รับบทเป็นนางเอกในหนังทำนองนี้ค่ะ

1.ALI: FEAR EATS THE SOUL (1974, RAINER WERNER FASSBINDER, A) ความรักของสาววัยดึกกับชายหนุ่มผู้อพยพ

2.SECRETS AND LIES (1996, MIKE LEIGH, A+) ความสัมพันธ์แบบกระอึกกระอักพิพักพิพ่วนระหว่างหญิงวัยดึกกับลูกสาว

หนังที่ได้ดูในช่วง 2 วันนี้

1.THE TOOLBOX MURDERS (TOBE HOOPER) A+ ดูที่เดอะมอลล์ งามวงศ์วาน

JULIET LANDAU นางมารร้ายที่ดิฉันชอบมากๆจากละครชุด BUFFY THE VAMPIRE SLAYER มาร่วมเล่นหนังเรื่องนี้ด้วย ดิฉันชอบดาราคนนี้มากๆค่ะ เธอเคยฝากผลงานที่น่าประทับใจไว้ใน ED WOOD (1994, A-) และเคยเล่นหนังห่วยๆอย่าง LIFE AMONG THE CANNIBALS (1996, C) และ THEODORE REX (1995, F) จนดิฉันชักจะเป็นห่วงเธอ รู้สึกดีใจมากที่ได้เห็นเธออีกครั้งในหนังเรื่องนี้

ANGELA BETTIS นางเอกหนังเรื่องนี้เป็นดาราหญิงคนโปรดของดิฉันค่ะ ดิฉันชอบเธอมากๆจาก CARRIE (2002, A)

2.BREAKING NEWS (2004, JOHNNY TO) A+ ดูที่เดอะมอลล์ งามวงศ์วาน RICHIE REN ผู้ร้ายของหนังเรื่องนี้น่ารักจริงๆ ดิฉันอยากถูกเขาจับเป็นตัวประกันมากเลยค่ะ

3.CHOLESTEROL LOVE C- สิ่งที่ชอบที่สุดในหนังเรื่องนี้ก็คือคุณภราดร ศิรโกวิทค่ะ

จริงๆแล้วดิฉันไม่ใช่คนเข้มแข็งหรอกค่ะ ดิฉันคิดว่าตัวเองเป็นคนที่อ่อนแอที่สุดมากกว่า ดิฉันเป็นคนที่มีโทสะจริตรุนแรงมากๆค่ะ เป็นคนที่โกรธและโมโหง่ายมากๆ ดิฉันไม่รู้จะแก้ไขตัวเองในจุดนี้ได้ยังไง ก็เลยใช้วิธีไม่เข้าไปอ่านความเห็นทางการเมืองใน PANTIP เลยค่ะ จะได้ไม่ต้องอารมณ์เสีย ดิฉันคิดว่าสิ่งที่ดีที่สุดที่ดิฉันควรทำก็คือการเอาชนะอารมณ์โกรธของตัวเอง แต่ในเมื่อดิฉันเอาชนะอารมณ์โกรธของตัวเองไม่ได้ ดิฉันก็เลยใช้วิธีหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่จะทำให้ตัวเองเผลอระบายอารมณ์โกรธใส่ผู้อื่น ดิฉันก็เลยงดอ่านความเห็นทางการเมืองใน PANTIP ไปเลยค่ะ

เคยดู KWAIDAN เหมือนกันค่ะ เป็นหนังที่มีงานด้านภาพงดงามมากจริงๆ ฉากช่วงแรกๆของเรื่องที่เป็นฉากหยดสีค่อยๆละลายในน้ำเป็นฉากที่สวยติดตามากๆ

ส่วนในระยะหลังนี้ ดิฉันเริ่มติดใจงานด้านภาพที่สร้างจากคอมพิวเตอร์ค่ะ รู้สึกว่ามันสวยแปลกตาดี ถึงแม้จะเป็นความสวยที่ดูแล้วอึดอัดอยู่สักหน่อย ดิฉันหมายถึงหนังเรื่อง SKY CAPTAIN AND THE WORLD OF TOMORROW กับหนังญี่ปุ่นเรื่อง CASSHERN น่ะค่ะ ภาพฉากหลังในหนังสองเรื่องนี้รู้สึกว่าจะสร้างขึ้นด้วยคอมพิวเตอร์ทั้งหมดเลย และทำออกมาได้อารมณ์สวยงามแบบแฟนตาซีมากๆ ดิฉันชอบ “โลก” ที่อยู่ในหนังสองเรื่องนี้มากเลยค่ะ มันเป็นโลกจินตนาการที่บรรเจิดเพริศแพร้วมากๆใน SKY CAPTAIN AND THE WORLD OF TOMORROW และดูน่าพรั่นพรึงหดหู่ดีใน CASSHERN ดูหนังสองเรื่องนี้แล้วก็ทำให้อยากรู้เหมือนกันว่าเทคนิคการถ่ายทำแบบนี้จะได้รับความนิยมต่อไปหรือไม่ และถ้ามันได้รับความนิยม มันจะพัฒนาต่อไปจนถึงขั้นไหน

แต่ถึงแม้ภาพในหนังสองเรื่องนี้จะสวยมาก แต่มันก็เป็นความสวยที่ไม่ให้อารมณ์โปร่งโล่งเบาสบายเหมือนภาพที่ถ่ายจากวิวทิวทัศน์จริงๆ ถ้าหากพูดถึงการถ่ายภาพที่ทำให้ดิฉันรู้สึกได้ถึงบรรยากาศที่น่ารื่นรมย์ลมรำเพยแผ่วพลิ้วสยิวใบหญ้าจริงๆแล้ว ดิฉันมักจะนึกถึงหนังเรื่อง LA BELLE NOISEUSE (JACQUES RIVETTE, A+) กับหนังหลายๆเรื่องของ ERIC ROHMER ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับยุคปัจจุบันค่ะ หนังกลุ่มนี้ไม่ได้มีการถ่ายภาพที่งดงามสะดุดตา แต่ดูหนังกลุ่มนี้ทีไร รู้สึกเหมือนตัวเองได้ไปอยู่ในชนบทที่ร่มเย็นเป็นสุขใจมากๆ

VENGEANCE IS MINE มีวิดีโอแล้วแต่ยังไม่ได้ดูเลยค่ะ

พูดถึงประเด็นเรื่องทัศนคติของคนในอดีตที่มีต่อโลกอนาคตแล้ว ทำให้นึกถึงหนังย้อนยุคบางเรื่องที่ใช้ฉากหลังเป็นช่วงเปลี่ยนจากคริสต์ศตวรรษที่ 19 เข้าสู่คริสต์ศตวรรษที่ 20 ดิฉันจำไม่ได้แล้วว่าหนังเรื่องนั้นที่ดิฉันได้ดูคือเรื่องอะไร แต่จำได้ว่าหนังเรื่องนั้นสะท้อนให้เห็นความเชื่อของคนในยุคนั้นที่ว่า “คริสต์ศตวรรษที่ 20 จะเป็นศตวรรษที่ไม่มีสงครามอีกต่อไป” เพราะยุคนั้นเป็นยุคที่วิทยาศาสตร์เริ่มรุ่งเรือง และคนในยุคนั้นก็เชื่อกันว่าต่อไปนี้มนุษยชาติจะใช้กันแต่เหตุผล และจะไม่รบราฆ่าฟันกันอีก พอดิฉันได้ดูหนังเรื่องนี้แล้วก็เลยรู้สึกประทับใจกับจุดนี้มากและก็รู้สึกเศร้าใจมากในขณะเดียวกัน ดิฉันไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่าเมื่อ 100 ปีที่แล้ว มนุษย์เราเคยมองโลกในแง่ดีเท่านี้มาก่อน หนังเรื่องนั้นจบลงแบบ HAPPY ENDING ขณะโลกเคลื่อนเข้าสู่ปี 1900 แต่ถึงแม้มันจบลงแบบ HAPPY ENDING อย่างนั้น คนดูคงไม่ HAPPY ไปด้วยอย่างแน่นอน เพราะคนดูย่อมรู้อยู่แก่ใจว่าอีกสิบกว่าปีต่อมา สงครามโลกครั้งที่ 1 ก็จะอุบัติขึ้น ตอนจบของหนังเรื่องนั้นไม่รู้จะเรียกว่าเป็นตอนจบที่ IRONY ได้หรือเปล่า เพราะดูเผินๆแล้วมันเหมือนกับจะ HAPPY แต่จริงๆแล้วมันไม่ใช่เลย

ยังไม่เคยดู THE SWORD OF DOOM กับ SANJURO เลยค่ะ แต่เคยดู WOMAN IN THE DUNES แล้วชอบมากๆเลยค่ะ หนังเรื่องนี้ถ่ายภาพสวยมากจริงๆ และเนื้อเรื่องก็น่าสนใจดีด้วย แต่ดิฉันกับเพื่อนมีความเห็นตรงกันค่ะว่าถ้าหากดิฉันกับเพื่อนตกอยู่ในสถานการณ์เดียวกับพระเอก ก็คงไม่ขอมีชีวิตอยู่ต่อไปค่ะ ดิฉันกับเพื่อนคงฆ่าคนที่มาหลอกลวง แล้วค่อยฆ่าตัวตาย คงไม่ทำแบบพระเอกที่พยายามมีชีวิตอยู่ต่อไปเรื่อยๆ

หนังที่ได้ดูในวันนี้

1.DUMPLINGS (FRUIT CHAN) A หลังจากที่ดิฉันเคยผิดหวังกับไป่หลิงอย่างรุนแรงในหนังเรื่อง PARIS (2003, RAMIN NIAMI, C) หนังเรื่องนี้ก็ทำให้ดิฉันรู้สึกชอบไป่หลิงเพิ่มขึ้นมากค่ะ

2.AFTER LIFE (2002, LUCAS BELVAUX) A-
3.ON THE RUN (2002, LUCAS BELVAUX) A-
4.AN AMAZING COUPLE (2002, LUCAS BELVAUX) A-

LUCAS BELVAUX เคยดูน่ารักมากๆตอนที่เขาเล่นหนังเรื่อง WUTHERING HEIGHTS (1985, JACQUES RIVETTE, A+) แต่สังขารไม่เที่ยงจริงๆ ตอนนี้เขาดูแก่ขึ้นมาก (ก็เวลาผ่านมาตั้ง 20 ปีแล้วนี่นา) แต่ก็ยังดูดีอยู่เล็กน้อย

รู้สึกว่าหนังไตรภาคชุดนี้ของ LUCAS BELVAUX เปิดโอกาสให้นักแสดงนำทั้ง 6 คนได้ใช้ฝีมือทางการแสดงอย่างเต็มที่ ดูแล้วรู้สึกประทับใจกับดารานำทั้ง 6 คนนี้มากเลยค่ะ

เห็น DOMINIQUE BLANC ใน AFTER LIFE แล้วก็เลยนึกไปถึงนิตยสาร “ฟิล์มวิว” เพราะนิตยสารเล่มนั้นเคยนำ DOMINIQUE BLANC มาลงหน้าปกด้วย ตอนที่เธอเล่นหนังเรื่อง QUEEN MARGOT (1994, A+) โดยภาพหน้าปกเล่มนั้นเป็นภาพที่ BLANC ถ่ายคู่กับ ADJANI ไม่รู้เหมือนกันว่าในชีวิตนี้ DOMINIQUE BLANC จะได้ลงหน้าปกนิตยสารไหนในไทยอีกหรือไม่ หรือจะได้ลงหน้าปกเพียงแค่ “ฟิล์มวิว” เล่มเดียว (เพราะนิตยสารอื่นๆอาจจะกลัวประสบชะตากรรมเดียวกับFILMVIEW) อย่างไรก็ดี ภาพของ DOMINIQUE BLANC บนหน้าปกฟิล์มวิวฉบับนั้นเป็นภาพที่ดิฉันชอบมากค่ะ และยังจำได้ไม่ลืมถึงแม้เวลาจะผ่านมาประมาณ 10 ปีแล้วก็ตาม

จุดนึงที่ชอบใน AFTER THE LIFE ก็คือการที่ทำให้ดิฉันเปลี่ยนทัศนคติที่มีต่อตัวละครในสองภาคแรกค่ะ เพราะตัวละครบางตัวที่ดูเหมือนจะได้แสดงแต่แง่มุมร้ายๆในสองภาคแรก กลับกลายมาเป็นตัวละครที่น่าเห็นใจในภาคสาม หนังเรื่องนี้แสดงให้เห็นว่าเราไม่ควรด่วนตัดสินคนจริงๆ หนังอีกเรื่องนึงที่รู้สึกว่าจบอย่างมีความหวังได้ดีมากๆก็คือหนังคาซัคสถานเรื่อง LITTLE MEN (2003, NARIMAN TUREBAYEV, A+) ค่ะ หนังบางเรื่องเวลาจบอย่างมีความหวังมันให้ความรู้สึกที่ “หลอก” มากๆ แต่ LITTLE MEN จบได้สดใสดี ถึงแม้ว่า “ความหวัง” ในฉากจบ จะเป็น “ความหวังลมๆแล้งๆ” ก็ตาม

ดูการแสดงของ DOMINIQUE BLANC ในบทสาวติดยาใน AFTER THE LIFE แล้ว ก็เลยทำให้นึกไปถึงการแสดงที่ยอดเยี่ยมของนาถยา แดงบุหงาในละครทีวีเรื่อง “ทางสายทาส” ที่เคยมาฉายทางช่อง 3 เมื่อหลายปีก่อนด้วยค่ะ ในเรื่องนั้นนาถยารับบทสาวติดยา และแสดงออกมาได้สนุกมากๆ

DOMINIQUE BLANC เป็นดาราที่น่าสนใจคนนึง เธอได้เล่นหนังฟอร์มใหญ่หลายเรื่อง แต่มักได้เล่นเป็นแค่ตัวประกอบ ไม่มีโอกาสได้แสดงฝีมืออย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยในหนังฟอร์มใหญ่ แต่ใน AFTER THE LIFE นี่เธอได้โอกาสแสดงฝีมืออย่างเต็มที่มากๆ

ผลงานการแสดงของ DOMINIQUE BLANC เท่าที่เคยดู
1.THOSE WHO LOVE ME CAN TAKE THE TRAIN (1998, PATRICE CHEREAU, A+)
2.QUEEN MARGOT (1994, PATRICE CHEREAU, A+)
3.INDOCHINE (1992, REGIS WARGNIER, A+/A)
4.STORY OF WOMEN (1988, CLAUDE CHABROL, A)
5.I’M THE KING OF THE CASTLE (1989, REGIS WARGNIER, B+)
6.TOTAL ECLIPSE (1995, แอกนีสกา ฮอลแลนด์, B)
นอกจากนี้ เธอยังเล่นหนังเรื่อง THE BLACK BEACH ด้วย

สรุปรายชื่อดาราหนุ่มๆชาวเยอรมันที่ดิฉันชอบนะคะ
ELEVEN REASONS WHY I LOVE GERMAN SAUSAGE
1.MORITZ BLEIBTREU จาก IN JULY (A-)
2.THOMAS KRETSCHMANN จาก THE PIANIST (A+/A)
3.TIL SCHWEIGER จาก DRIVEN (B-)
4.BAKI DAVRAK จาก LOLA AND BILLY THE KID (A+++++)
5.SYLVESTER GROTH จาก THE TURNING POINT (1983, FRANK BEYER, A+++++)
6.MIRKO LANG จาก THE MIRACLE OF BERN (C+)
7.KOSTJA ULLMANN จากหนังเกย์เรื่อง SUMMER STORM (2004, MARCO KREUZPAINTNER) 8.FLORIAN DAVID FITZ จาก HAWAIIAN GARDENS (2001, PERCY ADLON)
9.BASTIAN TROST จาก CAMPUS (1997, SONKE WORTMANN, A-)
10.FABIAN HINRICHS จาก GUN-SHY (2003, DITO TSINTSADZE)
11.DANIEL BRUEHL

A NIGHT AT THE PLAYBOY MANSION

หนังเรื่อง J'attendrai Le Suivant (A-) ที่กำกับโดย Philippe Orreindy และเข้าชิงรางวัลหนังสั้นยุโรปยอดเยี่ยมปีนี้ เพิ่งมาฉายที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา ในเดือนส.ค.ที่ผ่านมาค่ะ คนที่ได้ดูคงจำได้ หนังเรื่องนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับสาวใจเปลี่ยวที่ถูกหลอกให้ออกไปอยู่นอกขบวนรถไฟ รู้สึกหนังเรื่องนี้จะใช้ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษว่า I'll Wait for the Next One เป็นหนังที่ทำร้ายจิตใจสาวโสดได้อย่างเจ็บแสบมากๆ ฮือ ฮือ ฮือ

รู้สึก THE CHORUS (B) จะได้ชิงรางวัลเยอะมาก แต่ดิฉันไม่ค่อยชอบหนังเรื่องนี้เท่าไหร่

ดีใจที่ OR (A+) ทำให้ KEREN YEDAYA ได้ชิงรางวัลผู้กำกับดาวรุ่งค่ะ แต่ท่าทางหนังเรื่องอื่นๆในสาขานี้ก็น่าสนใจมากๆไม่แพ้กัน อยากดูเรื่อง A COMMON THREAD มากๆ

ตอนนี้หนังญี่ปุ่นที่ดิฉันอยากดูมากๆคือหนังญี่ปุ่นยุคเก่าของ MIKIO NARUSE ค่ะ เพราะได้ยินมาว่าหนังของเขานำเสนอประเด็นเรื่องครอบครัวได้ดีมากๆๆๆ และ SUSAN SONTAG ก็ดูเหมือนจะชอบหนังของเขามากด้วย

ไม่รู้เป็นไง พอพูดถึงปธน.บุช ดิฉันก็มักนึกถึงหนังเรื่อง THE DEAD ZONE (1983, DAVID CRONENBERG, A-/B+) ค่ะ เพราะในหนังเรื่องนั้นมีตัวละครนักการเมืองเลวๆคนนึงที่ต่อมาได้ขึ้นเป็นประธานาธิบดีสหรัฐและเป็นคนก่อสงครามโลกครั้งที่ 3

อ่านที่คุณ pc เขียนถึงยุคดิสโก้แล้วทำให้นึกถึงหนังเรื่อง “ทวารยังหวานอยู่ “ (A+) ที่เพิ่งได้ดูมาเลยค่ะ การแต่งกายและสีสันของหนังเรื่องนี้มันสะใจดีจริงๆ ที่แท้หน้าปกอัลบัมก็เป็นแพม เกรียร์นี่เอง ดิฉันยังไม่ค่อยได้ดูหนังประเภท Blaxploitation เลยค่ะ ทั้งๆที่มีวิดีโอลิขสิทธิ์ของหนังแนวนี้ออกมาในไทยเยอะพอสมควร แต่เพิ่งได้ดูหนังเรื่อง HOW TO GET THE MAN’S FOOT OUTTA YOUR ASS (2003, MARIO VAN PEEBLES, A) ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับต้นกำเนิดของหนังกลุ่มนี้ รู้สึกชอบมากๆ ดนตรีประกอบของหนังกลุ่มนี้ก็เพราะดี แม้แต่ดนตรีประกอบของ SHAFT ก็ติดหูดีมาก

เพิ่งซื้อเทป A NIGHT AT THE PLAYBOY MANSION มาเมื่อไม่กี่สัปดาห์ก่อนนี้เองค่ะไปซื้อที่ร้านโดเรมี เพราะร้านนี้ยังมีเทปดีๆขายอยู่ ยังไม่ได้ฟังอัลบัมชุด SACREBLEU ของ DIMITRI FROM PARIS เลยค่ะ แต่เคยฟังเพลง UNE VERY STYLISH FILLE ในอัลบัมชุดนี้แล้ว ซึ่งเป็นเพลงที่เก๋ไก๋และน่ารักมากๆ ส่วน SALOME DE BAHIA นั้นดิฉันก็ไม่มีข้อมูลอะไรเกี่ยวกับเธอเลย แต่รู้สึกชอบชื่อของเธอ มันฟังเพราะดี ศิลปินแดนซ์อีกรายนึงที่ดิฉันชอบอย่างสุดๆก็คือ IAN POOLEY ค่ะ เพลงของเขาที่ชอบมากก็คือเพลง CORACAO TAMBOR ซึ่งอยู่ในอัลบัมชุด Since Then

ดิฉันไม่ค่อยมีความรู้เรื่องเพลงในยุคดิสโก้เท่าไหร่ค่ะพูดถึงเพลงยุคนั้น ดิฉันมักนึกไปถึงเพลงที่ชอบมากๆอย่างเช่นเพลง HE’S THE GREATEST DANCER ของ SISTER SLEDGE และเพลง GOT TO BE REAL ของ CHERYL LYNN ในอัลบัมซาวด์แทรคประกอบหนัง CARLITO’S WAY (BRIAN DE PALMA, B+)

ยังไม่ได้ดู SUMMER OF SAM และ THE LAST DAYS OF DISCO เลยค่ะ กะจะดูมานานแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้หยิบมาดูสักที

ดิฉันเองก็ไม่ค่อยมีความรู้เกี่ยวกับดนตรีบราซิลเหมือนกันค่ะ แต่มีเพลงแดนซ์เพลงนึงที่ชอบสุดขีด นั่นก็คือเพลง BOY FROM IPANEMA ของ CRYSTAL WATERS ที่บรรจุอยู่ในเทปชุด RED HOT + RIO ดิฉันเคยฟังเพลง GIRL FROM IPANEMA หรือ BOY FROM IPANEMA มาหลายเวอร์ชันแล้ว แต่ก็เฉยๆ จนกระทั่งมาเจอเวอร์ชันของ CRYSTAL WATERS นี่แหละที่รู้สึกว่ามันโดนจริงๆ

Friday, November 12, 2004

SALOME DE BAHIA

เคยดูวิดีโอ WHY HAS BODHI-DHARMA LEFT FOR THE EAST? (A) เหมือนกันค่ะ จำเนื้อเรื่องในหนังไม่ได้แล้ว แต่จำได้ว่าเป็นหนังนิ่งๆ, สวยๆ, งงๆ ดี

เพิ่งนึกถึงหนังเรื่อง WHY HAS BODHI-DHARMA LEFT FOR THE EAST? ขึ้นมาอีกครั้งตอนที่ได้ดูหนังเรื่อง THE HORSE THIEF (A) เพราะหนังทั้งสองเรื่องนี้นำเสนอมนตร์เสน่ห์ของศาสนาแบบเอเชียตะวันออกออกมาได้อย่างขลังดี

TETSUO: THE IRON MAN (A+/A) เป็นหนังที่วิกลวิกาลวิปริตดีค่ะ หนังดูสนุกและรวดเร็วดีด้วย

ดิฉันเคยดูหนังอีกสองเรื่องที่กำกับโดย SHINYA TSUKAMOTO ซึ่งก็คือ BULLET BALLET (1998, A+) ที่ถ่ายเป็นหนังขาวดำ และให้อารมณ์เถื่อน+ดิบ+สวยดีมาก ส่วนอีกเรื่องคือ GEMINI (1999, A-) ที่เป็นหนังสีสันสดใส อารมณ์ของหนังออกไปทางลึกลับประดิดประดอย ไม่ดิบเถื่อนเหมือนอย่าง BULLET BALLET

ส่วนหนังญี่ปุ่นที่ถ่ายภาพสวยติดตาดิฉันมากๆ ก็คือ GATE OF HELL (1953, TEINOSUKE KINUGASA, A/A-) ที่นำแสดงโดย MACHIKO KYO หนังเคยมาฉายที่เอ็มโพเรียมเมื่อไม่กี่ปีก่อน และเป็นหนังสียุคแรกๆที่มีสีสันสวยมาก แต่เนื้อเรื่องค่อนข้างเรียบไปหน่อย ได้ข่าวว่า JEAN COCTEAU ตื่นตะลึงกับหนังเรื่องนี้มากๆ

ดิฉันชอบสีของหนังสีในยุคแรกๆมาก มันดูแต๋นๆฉูดฉาดหลอกตาดี ไม่เหมือนกับหนังสียุคปัจจุบันที่ดูเหมือนจริง บอกไม่ถูกเหมือนกันว่าสีของหนังสียุคแรกกับหนังยุคปัจจุบันมันต่างกันตรงไหนบ้าง แต่รู้สึกว่ามันต่างกัน และก็ไม่รู้เหมือนกันว่าอะไรที่ทำให้มันต่างกัน มันต่างกันที่สารเคมีที่ใช้ทำฟิล์ม, หรือการล้างฟิล์ม หรืออะไรกันแน่

ดิฉันรู้สึกว่าสีม่วงในหนังสียุคแรกๆบางเรื่องดูสวยมากๆ และดูเหมือนดิฉันจะไม่ค่อยเห็นสีม่วงแบบนั้นในหนังยุคปัจจุบัน แต่จะพบสีม่วงแบบนั้นในหนังบางเรื่องในทศวรรษ 1950-1960 เท่านั้น

หนังสีที่ดิฉันชอบ “สี” ในหนังอย่างรุนแรงมากก็รวมถึง

1.UNE VIE (1958, ALEXANDRE ASTRUC, A+) ที่มี CLAUDE RENOIR เป็นตากล้อง

2.JULIET OF THE SPIRITS (1965, FEDERICO FELLINI, A+) ที่มี GIANNI DI VENANZO เป็นตากล้อง

3.BLACK NARCISSUS (1947, MICHAEL POWELL + EMERIC PRESSBURGER, A+)

ตากล้องของหนังเรื่องนี้คือ JACK CARDIFF ซึ่งเกิดปี 1914 และยังคงถ่ายหนังอยู่จนถึงปัจจุบันนี้!!!!!

เทปที่ชอบหยิบมาฟังในตอนนี้ก็คือ RESPECT IS BURNING PRESENTS “A NIGHT AT THE PLAYBOY MANSION” ซึ่งเป็นผลงานการคัดเลือกเพลงของ DIMITRI FROM PARIS ค่ะ

เพลงที่ชอบสุดๆในเทปม้วนนี้ก็คือ

1.WONDERFUL PERSON (MAW VOCAL MIX) ของ BLACK MASSES
2.I’LL BE THERE FOR YOU (JOEY NEGRO VOCAL MIX) – THE SUNBURST BAND
3.OUTRO LUGAR—SALOME DE BAHIA

ส่วนเทปลิขสิทธิ์ม้วนล่าสุดที่เพิ่งซื้อมาก็คือ WORLDWIDE 2 ที่เป็นผลงานการคัดเลือกเพลงของ GILLES PETERSON ค่ะ



HENRY CAVILL IS VERY HANDSOME

ชอบหนังเรื่อง VELVET GOLDMINE (1998, TODD HAYNES, A+) กับ THE DREAMERS (2003, BERNARDO BERTOLUCCI, A+) มากๆเลยค่ะ ใน VELVET GOLDMINE นั้น ดิฉันชอบพระเอก 3 คนในหนังเรื่องนี้มาก เลือกไม่ถูกเลยจริงๆว่าถ้าต้องเลือกระหว่าง
1.EWAN MCGREGOR,
2.JONATHAN RHYS-MEYERS
3.CHRISTIAN BALE
แล้วจะเลือกใครดี แต่ถ้าต้องเลือก ดิฉันก็ขอเลือก JONATHAN RHYS-MEYERS ค่ะ เพราะรู้สึกว่าในเรื่องนี้เขาจะดูดีมากๆ ส่วน EWAN MCGREGOR นั้น ดิฉันชอบเขามากที่สุดจากเรื่อง TRAINSPOTTING ค่ะ เพราะดิฉันชอบเขาตอนหัวโล้นๆ ในขณะที่ CHRISTIAN BALE นั้น ดิฉันต้องการเขามากที่สุดจากหนังเรื่อง REIGN OF FIRE (2002, ROB BOWMAN, B) เพราะในเรื่องนั้นเขาดูเท่ล่ำดี จริงๆแล้วเขาก็โชว์ความล่ำใน AMERICAN PSYCHO (2000, A-) และ EQUILIBRIUM (2002, KURT WIMMER, A-) ด้วยเหมือนกัน แต่ใน REIGN OF FIRE เขาดูเร้าใจมากที่สุด

ส่วน FORMULA 17 นั้น ดิฉันรู้สึกว่าหนังเรื่องนี้มีองค์ประกอบและมีไอเดียอะไรดีๆเยอะมาก แต่ทำไมมันถึงดูแล้วขัดๆยังไงก็ไม่รู้ รู้สึกชื่นชมไอเดียของคนสร้างหนังเรื่องนี้ที่สร้างหนังแนวนี้ออกมา แต่เนื่องจากหนังเรื่องนี้ขาด ”ความเจ็บปวด” ในแบบที่ดิฉันสามารถมีอารมณ์ร่วมด้วยได้ ดิฉันก็เลยไม่ค่อยอินกับหนังสักเท่าไหร่ หนังเรื่องนี้มีตัวละครที่เจ็บปวดกับความรัก แต่ดิฉันกลับไม่รู้สึกได้ถึงความเจ็บปวดของตัวละครเลย ไม่รู้ว่าเป็นเพราะมันจงใจตลกหรือสดใสเกินไปหรือเปล่า พระเอกหนุ่มจากบ้านนอกของหนังเรื่องนี้หน้าตาน่ารักมากๆ แต่ดิฉันไม่ค่อยชอบหน้าตาคนที่เป็นเพลย์บอยในหนังเรื่องนี้เท่าไหร่

ตัวละครที่อยู่ในความสนใจของดิฉันมากที่สุดในหนังเรื่องนี้คือคนที่เป็นเพื่อนของเพลย์บอยค่ะ เขาดูเป็นตัวละครที่ดูเหมือนจะมีอะไรๆดี ในขณะที่ตัวละครคนอื่นๆมันเป็นตัวละครที่ดู “สำเร็จรูป” ยังไงไม่รู้ มันดูเหมือนตัวละครประเภทพระเอก, นางเอก (เพศชาย), เพื่อนนางเอก แต่ตัวละครที่เป็นเพื่อนของเพลย์บอย เขาดูเหมือนจะเป็นนางอิจฉาก็ไม่ใช่ เหมือนเป็นเพื่อนพระเอกเฉยๆก็ไม่เชิง

อย่างไรก็ดี FORMULA 17 ยังมีข้อดีอีกเยอะค่ะ หนังเรื่องนี้น่ารักมากๆ แต่เนื่องจากดิฉันคาดหวังสูงไปหน่อย ก็เลยผิดหวังเล็กน้อย ก่อนเข้าไปดู FORMULA 17 กับ FAHRENHEIT 9/11 ดิฉันนึกว่าดิฉันอาจจะชอบหนังสองเรื่องนี้ในระดับ A+ แต่ปรากฏว่าอารมณ์ของดิฉันไปไม่ถึงขั้นนั้น ต่างกับหนังฮอลลีวู้ดอย่าง ANACONDAS, CELLULAR หรือ DODGEBALL ก่อนดิฉันเข้าไปดูหนังเหล่านี้ ดิฉันเสียวๆว่าหนังจะออกมาประมาณ C- หรือเปล่า แต่ปรากฏว่ามันกลับดูเพลินกว่าที่คาดมากๆ ถึงแม้ในแง่ของ “ความคิดสร้างสรรค์”แล้ว หนังเหล่านี้อาจจะแพ้ FORMULA 17 ก็ตาม

ตอนไปดู FORMULA 17 ก็เพลินกับการดูหนุ่มๆเกย์ที่โรงหนังมากค่ะ ดีใจมากค่ะที่ได้ข่าวว่าหนังเรื่องนี้ทำลายสถิติรายได้ถล่มทลายของโรงหนัง HOUSE ยังไงถ้าใครว่างก็ช่วยกันไปอุดหนุนนะคะ เผื่อเขาจะสั่งหนังเกย์เข้ามาฉายอีก

ปกติดิฉันชอบหุ่นหล่อล่ำหน้าตาดีค่ะ แต่ชอบ “บท” ของเจมส์ แกนโดลฟินีในหนังเรื่อง THE MEXICAN (2001, GORE VERBINSKI, B) มากๆ ในความเห็นของดิฉันนั้น ถ้าหากหนังเรื่องนี้ไม่มีบทเกย์ของเจมส์ แกนโดลฟินี ดิฉันคงชอบหนังเรื่องนี้แค่ในระดับ C+ ค่ะ แต่การที่ดิฉันชอบหนังเรื่องนี้แค่ในระดับ B นั้น เป็นเพราะว่าหนังเรื่องนี้ “ใจร้าย” กับตัวละครเกย์ตัวนี้มากเกินไปค่ะ ถ้าหากหนังเรื่องนี้ใจดีกับตัวละครตัวนี้มากกว่านี้ ดิฉันคงชอบหนังเรื่องนี้เพิ่มขึ้นมากอย่างแน่นอน

ส่วน FRANKIE AND JOHNNY (1991, GARRY MARSHALL, B) นั้น ดิฉันก็ชอบภาพพจน์ของเกย์ในหนังเรื่องนี้มากค่ะ เพราะหนังเรื่องนี้นำเสนอภาพพจน์ของเกย์ที่ดูเป็นผู้เป็นคนมากๆ ไม่ได้ดูเป็นตัวตลกหรือตัวประหลาดเหมือนในหนังทั่วๆไป ส่วนการที่ดิฉันชอบหนังเรื่องนี้แค่ในระดับ B นั้น เป็นเพราะว่าดิฉันแทบจำอะไรในหนังเรื่องนี้ไม่ได้เลยค่ะ จำได้แต่ว่าเป็นหนังที่ดูดีเรื่องหนึ่ง แต่รู้สึกไม่พิศวาสอัล ปาชิโนสักเท่าไหร่ ก็เลยไม่สามารถมีอารมณ์ร่วมกับนางเอกของหนังเรื่องนี้ได้ จุดที่ดิฉันชอบที่สุดในหนังเรื่องนี้ ก็คือคู่เกย์ในหนังนี่แหละ กับฉาก “ดอกไม้” ที่อยู่ในช่วงท้ายๆเรื่อง

ส่วนใหญ่เวลาดูหนัง ดิฉันมักรู้สึกหิว “ไส้กรอกเยอรมัน” ค่ะ ไม่ค่อยหิวช็อกโกแลตสักเท่าไหร่ (ล้อเล่นค่ะ)

เหมือนเคยอ่านจากในหนังสือพิมพ์ มีบางคนวิจารณ์ว่าผู้ชมเพศชายบางคนหรืออาจจะหลายคน รู้สึกไม่มีความสุขเวลามีการโชว์จู๋ผู้ชายในหนังอย่างในเรื่อง THE DREAMERS เพราะผู้ชมกลุ่มนี้รู้สึกว่าการทำอย่างนั้นทำให้ผู้ชายกลายเป็น “วัตถุทางเพศ” หรือเป็น “สินค้าทางเพศ” อย่างหนึ่ง และทำให้พวกเขาไม่มีสถานะเหนือกว่าผู้หญิงอีกต่อไป เพราะโดยปกติแล้ว หนังตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน มักจะขายความวับๆแวมๆของเรือนร่างผู้หญิงเป็นหลัก และคนหลายคนในสังคมก็มองว่าการที่ผู้หญิงถูกทำให้เป็นวัตถุทางเพศในภาพยนตร์ถือเป็นเรื่องปกติที่ไม่ผิดแต่อย่างใดทั้งสิ้น แต่หนังอย่าง THE DREAMERS กลับทำให้ผู้ชายเหล่านั้นสูญเสียความมั่นใจในตัวเองขึ้นมาในทันที

มีหนังที่มีฉากโชว์จู๋เรื่องนึงที่ดิฉันอยากดูแต่ไม่ได้ดูค่ะ นั่นก็คือหนังเรื่อง THE LITTLE GODARD TO THE PRODUCTION BOARD FOR YOUNG GERMAN FILM (1978, HELLMUTH COSTARD) แต่ไม่ได้อยากดูจู๋ในหนังนะคะ เพราะคงไม่น่าดูสักเท่าไหร่ แต่ที่อยากดูมากๆเป็นเพราะว่าเคยดูหนังเรื่อง REALTIME(1983, A+++++) ของ HELLMUTH COSTARD แล้วชอบมากๆ และอีกสาเหตุนึงเป็นเพราะชอบคำวิจารณ์หนังเรื่องนี้ค่ะ เพราะนักวิจารณ์คนนึงที่ดูหนังเรื่อง THE LITTLE GODARD เขาเขียนวิจารณ์ในทำนองที่ว่า “COSTARD เป็นผู้กำกับประเภทไหนกันเนี่ย เพราะอยู่ดีๆเขาก็ใส่ฉากตัวเองตื่นนอนแล้วลุกไปเปิดประตูห้อง โดยที่โชว์จู๋ของตัวเองขณะเดินไปเปิดประตูห้องด้วย”

สำหรับคำคมจากหนัง/ละครที่ชอบมากที่สุดคำคมนึง ก็คือคำคมจากละครโทรทัศน์ฮ่องกงเรื่อง “นางพญากระบี่มาร” ค่ะ ที่นำแสดงโดยฉีเส้าเฉียน, เดวิดเจียง, หมีเซียะกับกงฉือเอิน ละครเรื่องนี้เคยมาฉายทางช่อง 3 เมื่อราว 10 ปีก่อน ในละครเรื่องนั้น กงฉือเอินเป็นเจ้าประมุขพรรคแห่งหนึ่ง และเธอก็ตั้งบทบัญญัติประจำสำนักของเธอไว้ว่า กฎข้อแรกสำหรับศิษย์สำนักนี้ก็คือ

“เราต้องทรยศผู้อื่น ก่อนที่ผู้อื่นจะทรยศเรา”


หนังโรง 4 เรื่องที่ได้ดูในช่วงนี้

1.SAW (2004, JAMES WAN) A+/A
ดูแล้วนึกถึงหนังที่ชอบมากอีกเรื่องนึง นั่นก็คือเรื่อง MY LITTLE EYE (2002, MARC EVANS, A) รู้สึกชอบบรรยากาศของ MY LITTLE EYE มากกว่า แต่ SAW ตื่นเต้นสนุกกว่า

2. I CAPTURE THE CASTLE(2003, TIM FYWELL) A/A-
หนังดูสูตรสำเร็จ + น้ำเน่ายังไงไม่รู้ แต่ดูแล้วมีความสุขดี ดูแล้วนึกถึงหนังอย่าง MANSFIELD PARK (1999, PATRICIA ROZEMA, A) แต่ถ้าเทียบกันแล้ว อาจจะชอบ MANSFIELD PARK มากกว่าหน่อย เพราะ JONNY LEE MILLER ใน MANSFIELD PARK น่ารักมากๆ

สาเหตุสำคัญที่ทำให้ชอบ I CAPTURE THE CASTLE เพราะดูหนังเรื่องนี้แล้วทำให้ชอบ MARC BLUCAS, SINEAD CUSACK, ROMOLA GARAI, TARA FITZGERALD และ ROSE BYRNE มากขึ้นกว่าเดิมเยอะเลย รู้สึกว่าดารา 5 คนนี้ได้บทที่เหมาะกับตัวเองดี และหนังเรื่องนี้เปิดโอกาสให้พวกเขาและเธอได้ใช้เสน่ห์ของตัวเองมากกว่าหนังบางเรื่องที่พวกเขาเคยเล่น

ดิฉันเคยดู MARC BLUCAS ใน WES CRAVEN PRESENTS: THEY (C+) แล้วรู้สึกว่าใน I CAPTURE THE CASTLE เขาน่ารักขึ้นกว่าเดิมประมาณ 10 เท่า

ส่วน SINEAD CUSACK ดิฉันเคยดูเธอใน PASSION OF MIND (2000, C+) ซึ่งเป็นหนังที่ไม่มีอะไรน่าจดจำสักเท่าไหร่

ส่วน ROSE BYRNE นั้น ดิฉันชอบเธอในช่วงต้นๆของหนังเรื่องนี้มากค่ะ น่าเสียดายที่ในช่วงท้ายๆเรื่องบทของเธอดูธรรมดาไปหน่อย ดูบทของเธอแล้วนึกถึงบทของเคท วินสเล็ทใน SENSE AND SENSIBILITY (A-) อย่างไรก็ดี จุดนึงที่ชอบมากก็คือเธอได้แสดงบทที่หลากหลายดี เพราะดูๆไปแล้ว บทของเธอใน I CAPTURE THE CASTLE, TROY (B), CITY OF GHOSTS (B) และ WICKER PARK (B) ไม่ค่อยจะเหมือนกันเลย

ที่สำคัญที่สุดก็คือ ROMOLA GARAI ดิฉันเคยดูเธอใน DIRY DANCING: HAVANA NIGHTS (B-) แล้วรู้สึกว่าดาราสาวคนนี้ไม่มีเสน่ห์โดดเด่นเป็นของตัวเองเลย เธอดูแค่เป็นสาวสวยน่ารักคนนึงเท่านั้นเอง แต่พอได้ดูเธอใน I CAPTURE THE CASTLE ความคิดของดิฉันที่เคยมีต่อ ROMOLA GARAI ก็พลิกจากหลังตีนเป็นหน้ามือในทันที ดิฉันคิดว่าบทของโรโมลา กาไรในหนังเรื่องนี้ น่าจะเป็นบทที่มีความสำคัญต่ออาชีพการแสดงของเธออย่างมากๆ

TARA FITZGERALD ก็ได้บทที่ดีมากๆใน I CAPTURE THE CASTLE ค่ะ ดิฉันเคยดูเธอใน BRASSED OFF (1996, B+) และ SIRENS (1994) แต่จำบทบาทของเธอในหนังสองเรื่องนั้นไม่ได้เลย แต่ใน I CAPTURE THE CASTLE นี่ เธอได้บทที่น่าจดจำมากๆ

และแน่นอนค่ะว่า ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ชอบ I CAPTURE THE CASTLE ก็คือความน่ารักของ HENRY CAVILL ดาราหนุ่มอายุ 21 ปีที่ดิฉันขอประกาศจับจองไว้ ณ ที่นี้อย่างไม่ละอายใจ

อย่างไรก็ดี ดู I CAPTURE THE CASTLE แล้วก็ทำให้นึกถึงหนังอีก 2 เรื่องที่ดิฉันชอบมากกว่าค่ะ เพราะหนังสองเรื่องนี้ใช้ฉากหลังเป็นอังกฤษในยุคก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่สองเหมือนกัน นั่นก็คือหนังเรื่อง BRIGHT YOUNG THINGS (2003, STEPHEN FRY, A+) กับ THE HEART OF ME (2002, THADDEUS O’SULLIVAN, A+++++)

สาเหตุที่ทำให้ชอบ BRIGHT YOUNG THINGS กับ THE HEART OF ME มากกว่า I CAPTURE THE CASTLE อาจจะเป็นเพราะชีวิตของตัวละครในหนังสองเรื่องนี้ “บัดซบ” มากกว่าชีวิตของตัวละครใน I CAPTURE THE CASTLE มากค่ะ และสาเหตุสำคัญอีกอย่างอาจจะเป็นเพราะว่า I CAPTURE THE CASTLE มีความเป็นหนัง COMING OF AGE และตัวละครเอกของเรื่องเป็นผู้หญิงที่ยังไม่โต ยังมีความใสๆอยู่ ในขณะที่ตัวเอกของ BRIGHT YOUNG THINGS และ THE HEART OF ME เป็นผู้หญิงที่กร้านโลกและจัดจ้านมาก

ROMOLA GARAI และ ROSE BYRNE แสดงได้ดีที่สุดเท่าที่บทของเธอจะเอื้ออำนวยแล้วค่ะ แต่บทของเธอสองคนในหนังเรื่องนี้เป็นบทของผู้หญิงที่อ่อนต่อโลกจริงๆ และเป็นบทที่ดูจืดไปเลยหากมาเทียบกับบทของ EMILY MORTIMER กับ FENELLA WOOLGAR ใน BRIGHT YOUNG THINGS และบทของ OLIVIA WILLIAMS กับ HELENA BONHAM CARTER ใน THE HEART OF ME


3.DODGEBALL (2004, RAWSON MARSHALL THURBER) A-
สิ่งหนึ่งที่ชอบมากในหนังเรื่องนี้ก็คือผู้พากย์กีฬา 2 คนค่ะ คนนึง (GARY COLE) ท่าทางตั้งใจทำงานมากๆ ส่วนอีกคนนี่ไม่รู้เขาจ้างให้มาทำอะไรกันแน่ ดูแล้วรู้สึกฮากับตัวละครตัวนี้มากๆเลยค่ะ แต่ละประโยคที่ตัวละครตัวนี้พูด ไม่รู้เขาใช้หัวหรืออะไรในการคิดพูดออกมา

4.ANANSI (2002, FRITZ BAUMANN) B+ ดูที่สถาบันเกอเธ่ ซอยบาบิลอน


FAVORITE ACTRESS
สุชาดา อีแอม—ตุ๊กแกผี

เพลงที่ชอบที่สุดประจำสัปดาห์นี้
อยากมีผัว—เจเน็ท เขียว AND THE GREAT BAND (อยู่ในอัลบัมชุด “สาวดำรำพัน”)

TIRED COMPANIONS (ZORAN SOLOMUN, A+++++)

ดิฉันเองก็ได้ดูหนังจากภูมิภาคนี้แค่ไม่กี่เรื่องค่ะ เท่าที่ได้ดูก็มี (เรียงตามลำดับความชอบส่วนตัว)

1.BEFORE THE RAIN (1994, MILCHO MANCHEVSKI, MACEDONIA) A+

เป็นหนังที่ซึ้งมากๆค่ะ หนังพูดถึงความขัดแย้งระหว่างเชื้อชาติหรือศาสนาได้อย่างดีมาก และแสดงให้เห็นถึงวงจรของการแก้แค้นที่ไม่มีวันจบสิ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่พบได้ในเกือบทุกที่ของโลก และไม่แตกต่างไปจากการตีกันระหว่างนักเรียนต่างโรงเรียนในประเทศไทย หนังมี “โครงสร้าง” ที่ยอดเยี่ยมสุดๆ และได้ดาราหนุ่มหล่ออย่าง GREGOIRE COLIN กับดาราสาวมาดเข้มอย่าง Katrin Cartlidge มาร่วมแสดงด้วย

โครงสร้างของหนังเรื่องนี้เป็นวงกลม ดูแล้วตอบไม่ได้ว่าเหตุการณ์ในฉากไหนเกิดก่อนฉากไหนกันแน่ อย่างไรก็ดี ถ้าหากตัดฉากหนึ่งในหนังเรื่องนี้ออกไป คนดูจะสามารถเรียงเหตุการณ์ในเรื่องได้ทันทีว่าอะไรเกิดก่อนอะไรเกิดหลัง แต่เนื่องจากหนังเรื่องนี้มี “ฉากนั้น” อยู่ในหนัง เหตุการณ์ในเรื่องที่น่าจะนำมาจัดลำดับให้เป็นเส้นตรงได้ ก็เลยกลายเป็นวงกลมไปเลย


2.KISS OF LIFE (2003, EMILY YOUNG, หนังของประเทศอังกฤษแต่เนื้อเรื่องส่วนหนึ่งเกี่ยวข้องกับบอสเนีย) A+

หนังที่หลอกหลอนและให้อารมณ์งดงามมากๆ เนื้อหาเกี่ยวกับหญิงสาวคนหนึ่ง (INGEBORGA DAPKUNAITE) ที่รอคอยสามี (Peter Mullan เจ้าของรางวัลสิงโตทองคำแห่งเวนิซจาก The Magdalene Sisters) กลับมาจากบอสเนีย แต่เธอกลับถูกรถชนและวิญญาณของเธอก็ติดอยู่ในมิติแปลกประหลาด ส่วนสามีของเธอก็เผชิญอุปสรรคต่างๆนานากว่าจะออกจากดินแดนนรกบอสเนียมาได้

INGEBORGA DAPKUNAITE แสดงได้อย่างยอดเยี่ยมสุดๆ และ EMILY YOUNG น่าจะเป็นผู้กำกับคนสำคัญของอังกฤษในอนาคต

ดิฉันได้ดูหนังเรื่องนี้ที่เมเจอร์ซีเนเพล็กซ์ เซ็นทรัลเวิลด์พลาซ่า ช่วงกลางปีนี้ค่ะ


3.ELVIS AND MARILYN (1998, ARMANDO MANNI, หนังอิตาลี แต่ตัวละครเดินทางผ่านแดนสงครามในยูโกสลาเวีย) A+

หนังหดหู่และซาบซึ้งดีค่ะ อารมณ์ของหนังทำได้ถึงมากๆ จัดเป็นหนังแนว “ชีวิตบัดซบ” เรื่องหนึ่ง เนื้อหาเกี่ยวข้องกับการเดินทางของชายหนุ่มและหญิงสาวที่พยายามหนีจากสภาพชีวิตที่แร้นแค้น, เดินทางผ่านดินแดนที่แร้นแค้น และมาเผชิญกับความลำเค็ญในอิตาลี

ดิฉันได้ดูหนังเรื่องนี้ที่ห้างเอ็มโพเรียมเมื่อไม่กี่ปีก่อนค่ะ


4.PETERKA: YEAR OF DECISION (2002, VLADO SKAFAR, SLOVENIA) A+

รู้สึกว่าสโลเวเนียจะได้รับผลกระทบจากสงครามแบ่งแย่งเชื้อชาติในยูโกสลาเวียน้อยมาก โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับโครเอเชีย, บอสเนีย และโคโซโว เพราะฉะนั้น หนังสโลเวเนีย 2 เรื่องที่ดิฉันได้ดูจึงแทบไม่ได้แสดงให้เห็นผลกระทบจากสงครามสักเท่าไหร่ หนังสารคดีเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับนักกระโดดสกีแชมป์โลก และนำเสนอภาพของสโลเวเนียในฐานะของประเทศที่ดูร่มรื่นน่าอยู่ไม่ใช่น้อย

หนังมาฉายที่อีจีวี เมโทรโปลิสในเดือนต.ค.ปีนี้ค่ะ


5.SPARE PARTS (2003, DAMJAN KOZOLE, SLOVENIA) A+

อย่างไรก็ดี สโลเวเนียก็ไม่ได้มีแต่ด้านที่สวยงาม หนังเรื่องนี้แสดงให้เห็นว่าสโลเวเนียมีด้านมืดอยู่ด้วยเช่นกัน หนังเรื่องนี้เหมือนกับเป็น prequel ของ DIRTY PRETTY THINGS (B+) เพราะหนังเรื่องนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับคนที่พยายามเดินทางจากดินแดนที่แร้นแค้น ผ่านเข้ามาในยุโรปตะวันออก เพื่อหวังจะเดินทางเข้าสู่ยุโรปตะวันตกต่อไป อย่างไรก็ดี หนังเรื่องนี้ไม่ได้ประนีประนอมเหมือนอย่าง DIRTY PRETTY THINGS แต่กล้านำเสนอ “มนุษย์” ได้อย่างเจ็บปวด, เศร้า และ “จริง” มากๆ

หนังเรื่องนี้มาฉายที่อีจีวี เมโทรโปลิส ในเดือนม.ค.ปีนี้ค่ะ


6.TIRED COMPANIONS (1997, ZORAN SOLOMUN, หนังเยอรมันแต่เนื้อหาเกี่ยวข้องกับสงครามในอดีตยูโกสลาเวีย) A+ (ผู้กำกับหนังเรื่องนี้เป็นชาวเซอร์เบีย)


หนังเรื่องนี้แบ่งออกเป็นตอนสั้นๆ 5 ตอน ตอนที่ 1 และ 5 ของหนังเรื่องนี้ยอดเยี่ยมสุดๆ ตอนที่ 1 ของหนังเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับหญิงสาวและหญิงวัยกลางคนที่มีลูกในวัยทารกต้องดูแล ทั้งสองอยู่ที่สถานีรถไฟและพยายามจะขึ้นรถไฟ (ไม่รู้ว่าหนีภัยสงครามหรือเปล่า) แต่ปัญหาบางอย่างทำให้ทั้งสองโดยสารรถไฟไม่ได้ ทั้งสองต้องรออยู่ที่สถานีต่อไปเรื่อยๆท่ามกลางความหิวโหยอย่างสุดขีด และในที่สุดเมื่อความหิวโหยทรมานหญิงสาวอย่างรุนแรงถึงขีดสุด หญิงวัยกลางคนจึงตัดสินใจให้หญิงสาวคนนั้นดูดนมจากทรวงอกของตัวเองเพื่อประทังชีวิตต่อไป

ส่วนตอนที่ 5 ของหนังเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับคลับบาร์แห่งหนึ่งในอดีตยูโกสลาเวีย มีผู้ชายคนหนึ่งที่มีอำนาจสั่งให้ทุกคนในคลับบาร์แห่งนี้ “หยุด” ได้ทุกเมื่อที่เขาสั่ง เมื่อเขาสั่งให้หยุด นักร้องก็ต้องหยุดร้องเพลง และทุกคนในบาร์แห่งนั้นก็ต้องหยุดอยู่นิ่งๆ ขยับเขยื้อนร่างกายไม่ได้เลย

หนังเรื่องนี้เคยมาฉายที่สถาบันเกอเธ่ ซ.สาทร 1 เมื่อไม่กี่ปีก่อน


7.INNOCENCE UNPROTECTED (1968, DUSAN MAKAVEJEV, YUGOSLAVIA) A+

หนังมีความเอะอะมะเทิ่งไม่แพ้หนังของเอมีร์ คุสตูริกา จัดเป็นหนังสารคดี + เรื่องแต่ง + หนังซ้อนหนัง + หนังข่าว และบันทึกภาพความรุ่งโรจน์ของยูโกสลาเวียได้ดีตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง, ระหว่างสงครามโลก และหลังสงครามโลก เราได้เห็นใบหน้าของคนบางคนตั้งแต่สาวหรือหนุ่ม, วัยกลางคน จนถึงวัยชรา เห็นความเปลี่ยนแปลงในชีวิตของพวกเขา, เห็นความเปลี่ยนแปลงในวงการภาพยนตร์ เห็นความสุข, สนุก, เศร้าเคล้าน้ำตา หนังเรื่องนี้เหมาะนำมาดูเทียบกับ UNDERGROUND มากๆเลยค่ะ

หนังเรื่องนี้เพิ่งมาฉายที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


8.UNDERGROUND (1995, EMIR KUSTURICA, YUGOSLAVIA) A

ได้ดูหนังเรื่องนี้ไปเพียงรอบเดียวค่ะ ก็เลยทำให้ตามอารมณ์ของหนังไม่ทันเท่าไหร่ แต่จัดเป็นหนังที่เริ่ดมากๆ และคุสตูริกาก็ดูเหมือนจะทำหนังได้อย่างมีเอกลักษณ์เป็นตัวของตัวเองมากๆ


9.LOVE AFFAIR (OR THE CASE OF THE MISSING SWITCHBOARD OPERATOR) (1967, DUSAN MAKAVEJEV, YUGOSLAVIA) A

หนังเรื่องนี้ค่อนข้างช้าและนิ่งมากเมื่อเทียบกับ INNOCENCE UNPROTECTED เพราะหนังเรื่องนี้ต้องการสะท้อนภาพชีวิตประจำวันที่น่าเบื่อหน่ายของตัวละคร จริงๆแล้วพล็อตหนังเรื่องนี้เอามาทำเป็นหนัง THRILLER หรือหนังปริศนาฆาตกรรมได้สบายมาก แต่มาคาเวเจฟกลับไม่ทำเช่นนั้น เพราะเขาเปิดเผยเหตุการณ์ฆาตกรรมตั้งแต่ต้นเรื่องเลย ก่อนจะเล่าย้อนไปว่าตัวละครมีชีวิตที่น่าเบื่อหน่ายอย่างไรบ้างก่อนจะตาย


10.WHEN FATHER WAS AWAY ON BUSINESS (1985, EMIR KUSTURICA, YUGOSLAVIA) A

ได้ดูหนังเรื่องนี้ทางวิดีโอ แต่จำอะไรแทบไม่ได้แล้ว


11.FUSE (2003, PJER ZALICA, BOSNIA) A-

ชอบตอนจบของหนังเรื่องนี้มากค่ะ


12.OFF SEASON (1997, PEPE DANQUART + MIRJAM QUINTE,หนังเยอรมันแต่เนื้อหาเกี่ยวข้องกับสงครามในอดีตยูโกสลาเวีย) B+

หนังสารคดีเกี่ยวกับเมืองมอสตาร์ เมืองที่ชาวโครแอทกับชาวมุสลิมเคยร่วมมือกันเพื่อต่อสู้กับชาวเซอร์บ แต่พอชาวเซอร์บล่าถอยไปแล้ว ชาวโครแอทกับชาวมุสลิมก็หันมาฆ่าฟันกันเองต่อไป

ฉากหนึ่งที่ประทับใจในหนังเรื่องนี้ก็คือฉากที่เขาถ่ายให้เห็นสะพานแห่งหนึ่งที่ถูกทำลายในช่วงสงคราม โดยนายทหารที่บัญชาการให้ทำลายสะพานนี้เคยมีอาชีพเป็นผู้กำกับภาพยนตร์มาก่อน


นอกจากนี้ ยังมีหนังสั้นจากโครเอเชียอีกหลายเรื่องที่เคยมาฉายที่สมาคมฝรั่งเศส ถ.สาทรใต้ ในช่วงปลายปี 2001 ค่ะ หนังสั้นเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าโครเอเชียมีหนังที่น่าสนใจมากมายเกินกว่าที่คิดจริงๆ

หนังสั้นของเยอรมันที่เกี่ยวกับสงครามในอดีตยูโกสลาเวียก็เคยมาฉายให้ดูบ้างเหมือนกันที่สถาบันเกอเธ่ ที่จำได้ติดตาติดใจไม่มีลืมมีอยู่ 2 เรื่อง เรื่องนึงเป็นเรื่องของรถบัสที่บรรทุกผู้คนมากมายที่พยายามอพยพหนีภัยสงคราม แต่รถบัสคันนี้ก็ถูกสกัดโดยกองกำลังของฝ่ายหนึ่ง และนักรบของกองกำลังนั้นก็เลือกว่าจะฆ่าผู้โดยสารคนไหนดีในรถคันนี้

ส่วนอีกเรื่องนึงรู้สึกว่าสร้างจากเรื่องจริง เป็นเรื่องของหญิงสาวกับหญิงวัยกลางคนที่หลบหนีหัวซุกหัวซุนอยู่ในป่าเพื่อหนีให้พ้นจากกำลังทหารของฝ่ายตรงข้าม แต่เกิดเหตุอะไรบางอย่างที่ทำให้หญิงวัยกลางคนคนนั้นกลายเป็นตัวถ่วงในระหว่างการหลบหนี หญิงสาวจึงจำเป็นต้องฆ่าหญิงวัยกลางคนคนนั้นทิ้ง เพื่อที่ตัวเองจะได้หนีเอาชีวิตรอดได้ต่อไป และในที่สุดเรื่องราวการหลบหนีของเธอก็กลายมาเป็นหนังเรื่องนี้

Monday, November 08, 2004

THE HOURS AND TIMES (CHRISTOPHER MUNCH, A+++++)

มีหนังฮอลลีวู้ดหลายเรื่องที่ตอนก่อนเข้าไปดู ดิฉันไม่ได้ตั้งความหวังเลยว่ามันจะออกมาถูกใจดิฉันสักเท่าไหร่ แต่ปรากฏว่า THE BLOOD ORCHID, CELLULAR (A) และ MINDHUNTERS (A+) กลับออกมาถูกใจดิฉันมากๆ ซึ่งหนังทั้ง 3 เรื่องนี้มีองค์ประกอบที่ตรงกันก็คือผู้ชายหล่อ + ผู้หญิงใจเด็ด ชอบบทตัวละครหญิงในหนังฮอลลีวู้ด 3 เรื่องนี้มากค่ะ พวกเธอเด็ดเดี่ยวและเข้มแข็งดีจริงๆ แต่ในขณะเดียวกัน พวกเธอก็ยังดูเหมือนมนุษย์อยู่ ไม่ได้ดูเป็นตุ๊กตาแบบใน RESIDENT EVIL: APOCALYPSE (B) ไปๆมาๆ ดิฉันกลับรู้สึกว่าตัวละครที่ดิฉันชอบมากที่สุดใน RESIDENT EVIL: APOCALYPSE ก็คือนักข่าวสาวค่ะ เธอดูเป็นมนุษย์มากกว่าจะเป็นตุ๊กตาหรือหุ่นยนต์เหมือนนางเอก 2 คนของเรื่อง

ดิฉันชอบ RESIDENT EVIL (A-) ภาคแรกมากกว่าภาคสองค่ะ สาเหตุนึงอาจจะเป็นเพราะว่าในหนังแนวตื่นเต้นนั้น ดิฉันมักจะชอบหนังที่ใช้ฉากเป็นสถานที่ที่แคบๆ หรือสถานที่ที่มีขอบเขตจำกัด ใน RESIDENT EVIL ภาคแรก สถานที่มันแคบดี แต่ในภาคสอง สถานที่ให้หนีมันดูกว้างไปหน่อย ก็เลยไม่รู้สึก “ถูกกดดัน” เหมือนอย่างภาคแรก พอสถานที่มันกว้างขึ้น “ความเข้มข้น” ในการดำเนินเนื้อเรื่องมันก็เลยอาจลดลงไปบ้าง

หนังเกี่ยวกับผู้หญิงในสถานที่แคบๆที่ดิฉันชอบมากอีก 2 เรื่องก็คือ TRAPPED (1989, FRED WALTON, A-) กับ THE ASSAULT (1996, JIM WYNORSKI, A+) ค่ะ ทั้งสองเรื่องนี้ดูทางเคเบิลทีวี

สิ่งหนึ่งที่ดิฉันชอบมากๆใน A CINDERELLA STORY (B-) ก็คือบทของพระเอกค่ะ อันนี้เป็นสิ่งที่เซอร์ไพรส์มาก เพราะหนังโฆษณาของ A CINDERELLA STORY ทำให้นึกว่าหนังเรื่องนี้จะเน้นแต่ “ปัญหาชีวิตของนางเอก” เพียงอย่างเดียว แต่พอเข้าไปดู ก็รู้สึกประทับใจมากที่หนังเรื่องนี้ให้น้ำหนักมากพอสมควรกับ “ปัญหาชีวิตของพระเอก” ด้วย เพื่อนนางเอกที่เป็นเด็กผู้ชายใส่แว่นก็น่ารักดีเหมือนกัน

ถ้าชอบหนังผีที่ผีอาละวาดอย่างมีเหตุผล ดิฉันนึกถึงหนังเกาหลีเรื่อง INTO THE MIRROR (KIM SEONG-HO, A) ค่ะ หนังเรื่องนี้เคยเข้าโรงฉายที่เดอะมอลล์ งามวงศ์วานเมื่อหลายเดือนก่อน ตอนนี้น่าจะมีวีซีดีลิขสิทธิ์ออกมาแล้ว ผีในหนังเรื่องนี้ทำตัวมีเหตุมีผลมากค่ะ และหนังเรื่องนี้ก็ไม่ใช่หนังสยองขวัญเพียงอย่างเดียว แต่เป็นหนังแนว “ปริศนาฆาตกรรม” ด้วย พระเอกเกาหลีของหนังเรื่องนี้ก็น่ารักดีเหมือนกัน

สาเหตุที่ดิฉันชอบ FAHRENHEIT 9/11 แค่ในระดับ A- ก็เป็นเพราะเหตุผลเดียวกับคุณ ZM เหมือนกันค่ะ ดิฉันรู้สึกว่าหนังเรื่องนี้ก็มีข้อดีของมันเอง และคงเหมาะกับผู้ชมบางกลุ่มโดยเฉพาะชาวอเมริกัน แต่หนังเรื่องนี้ไม่เหมาะกับดิฉันซะทีเดียว ซึ่งนั่นก็ไม่ใช่ความผิดของหนังหรือของไมเคิล มัวร์แต่อย่างใดที่ไม่ได้ทำหนังเข้าทางดิฉัน

FAHRENHEIT 9/11 ไม่มีผลกระทบทางอารมณ์กับดิฉันมากเท่าที่ควร ก็เพราะแต่ละประเด็นซึ้งๆในหนังมันมาสั้นมากจนดิฉันไม่มีเวลาได้ซาบซึ้งกับมัน จริงๆแล้วหนังเรื่องนี้สามารถดัดแปลงให้กลายเป็นหนังในแนวทางที่ดิฉันชอบได้เลย ถ้าหากหนังเรื่องนี้เป็นหนังเกี่ยวกับ “คุณแม่ที่สูญเสียลูกชายในสงคราม” และก็พูดถึงแต่ประเด็นนี้ทั้งเรื่อง หรือหนังเกี่ยวกับ “ชีวิตผู้หญิงชาวอิรักในช่วงสงคราม” และก็พูดถึงแต่ประเด็นนี้ทั้งเรื่อง ให้เราได้เห็นชีวิตประจำวันของคนเหล่านี้ โดยไม่ต้องใส่ความคิดเห็นทางการเมืองเข้าไปในทุกๆฉาก หนังสารคดีที่ทำให้ดิฉันเสียน้ำตาส่วนใหญ่มักจะออกมาในทำนองนี้ค่ะ นั่นก็คือหนังสารคดีที่พูดถึงชีวิตคนไม่กี่คน และเป็นหนังสารคดีที่ไม่ได้ตั้งหน้าตั้งตาจะ “ส่งสาร” เพียงอย่างเดียว หนังสารคดีที่ไม่ได้เน้นแต่ว่าคนให้สัมภาษณ์ในหนัง “พูดว่าอะไรบ้าง” แต่กลับให้ความสำคัญกับบรรยากาศ, พื้นดิน, พื้นน้ำ, และ สายลมที่พัดอยู่รอบๆตัวคนที่ให้สัมภาษณ์ในหนังสารคดีด้วย ที่เขียนมานี้ไม่ได้จะตำหนิอะไรไมเคิล มัวร์นะคะ เพียงแต่จะบอกว่ามันไม่ใช่ทางของดิฉันเท่านั้นเอง

ตัวอย่างหนังสารคดีแนวที่ดิฉันชอบ (รู้สึกว่าจะซ้ำๆกับที่เคยเขียนมาแล้ว หวังว่าคงไม่เป็นไรนะคะ)

1.AFTERSHOCKS (2001, RAKESH SHARMA) A+ นี่เป็นหนังสารคดีการเมืองเกี่ยวกับชาวบ้านที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ ฉากที่ติดตาที่สุดในหนังเรื่องนี้คือฉากเด็กผู้หญิงคนนึงกวาดบ้าน ซึ่งเป็นฉากที่ดูเหมือนไม่เกี่ยวอะไรเลยกับสารของหนัง เรื่องนี้ อย่างไรก็ดี หลังจากดูหนังเรื่องนี้จบ ดิฉันก็ขังตัวเองในห้องน้ำของห้างสยามดิสคัฟเวอรีแล้วก็ร้องไห้ครึ่งชั่วโมง

2.A WEDDING IN RAMALLAH (2002, SHERINE SALAMA) A+ หนังเรื่องนี้ติดตามถ่ายทำชีวิตของหญิงชาวปาเลสไตน์คนนึง ฉากที่รู้สึกรุนแรงมากจนลืมไม่ลงในหนังเรื่องนี้ก็คือฉากที่ผู้หญิงคนนี้ทำทีวีเจ๊งแล้วก็กังวลเป็นเวลานานมากว่าสามีจะตำหนิเธอหากรู้เรื่องนี้เข้า เธอรออยู่ในบ้านเป็นเวลาหลายชั่วโมง รอเวลาที่สามีจะกลับเข้าบ้านและทราบความจริงว่าทีวีเจ๊ง มันเป็นการรอคอยที่ทรมานใจอย่างสุดๆ

3.COLD HOMELAND (1995, VOLKE KOEPP) A+ หนังสารคดีเรื่องนี้ถ่ายทอดบรรยากาศของสถานที่ออกมาได้อย่างดีมากๆ และมีฉากที่ทำให้ดิฉันร้องไห้ 2 ฉากในเรื่องนี้ ฉากนึงก็คือฉากที่ชาวบ้านคนนึงเล่าเรื่องที่เขาได้เห็น “ทหารเยอรมันคนนึงยอมถูกประหารชีวิต แต่ไม่ยอมฆ่าผู้บริสุทธิ์” ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และฉากที่คุณยายวัยชราที่เคยมีประสบการณ์ชีวิตหนักหน่วงมากในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ร้องเพลงออกมา คุณยายคนนี้ร้องเพลงภาษาอะไรก็ไม่รู้ เพราะหนังไม่ได้ขึ้นซับไตเติลแปลเนื้อเพลงให้ บางทีเธออาจจะร้องเป็นภาษารัสเซีย แต่เพลงที่ไม่มีคำแปลคำนี้กลับทำให้ดิฉันร้องไห้ออกมา (บางทีถ้ารู้คำแปลดิฉันอาจจะไม่ร้องไห้ก็ได้ บางทีเนื้อเพลงอาจจะเกี่ยวกับว่า “เมื่อไหร่ยาทาเล็บจะแห้งซะที” หรืออะไรทำนองนี้ ใครจะไปรู้)

หนัง 5 เรื่องที่ได้ดูในวันนี้ เรียงตามลำดับความชอบ

1.THE HOURS AND TIMES (1991, CHRISTOPHER MUNCH, A+)

วันนี้พอดู FORMULA 17 จบ ก็นั่งรถเมล์กลับบ้าน นั่งๆอยู่ก็ร้องไห้ออกมา แต่ไม่ได้ร้องไห้ให้กับ FORMULA 17 แต่ร้องไห้ให้กับหนังเรื่อง THE HOURS AND TIMES นี่คือหนังที่ทำให้ดิฉัน”หัวใจสลาย” อย่างรุนแรงที่สุดเรื่องนึงในปีนี้

ถ้าหากเลนนอนกับเอพสไตน์เคยมีเซ็กส์กันจริงเหมือนอย่างที่คุณ kit พูด นั่นก็คงจะเป็นสิ่งที่น่าชื่นใจมากค่ะ ดิฉันเองพอดูหนังเรื่องนี้เสร็จแล้ว ก็ลองเช็คประวัติเอพสไตน์ดู แล้วก็ตกใจมากที่พบว่าเขาเสียชีวิตในปี 1967

อย่างไรก็ดี สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจใน THE HOURS AND TIMES ก็คือการที่หนังเรื่องนี้เกิดขึ้นในโลกจินตนาการ ไม่ได้เกิดขึ้นในโลกแห่งความเป็นจริง เพราะฉะนั้นถึงแม้เอพสไตน์ตัวจริงจะตายในปี 1967 แต่เอพสไตน์ที่อยู่ในโลกจินตนาการในหนังเรื่องนี้ เป็นตัวละครที่ดิฉันอยากให้มีชีวิตอยู่ต่อไปมากๆค่ะ เขาเป็นตัวละครที่ก้าวข้ามเข้ามาอยู่ในโลกจินตนาการของดิฉันด้วย ดู THE HOURS AND TIMES จบแล้ว ดิฉันก็รู้สึกอยากจินตนาการภาคสองของหนังเรื่องนี้ต่อในทันที

THE HOURS AND TIMES พูดถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปี 1963 แต่พอดูเสร็จแล้ว ดิฉันก็สงสัยมากๆเลยว่า 10 ปีหลังจากนั้น ตัวละครในหนังเรื่องนี้จะเป็นอย่างไร ดิฉันเดาว่าในปี 1973 เลนนอนอาจจะลืมเรื่องการเดินทางของเขากับเอพสไตน์ไปแล้ว แต่ถ้าหากเอพสไตน์ยังคงมีชีวิตอยู่ในปี 1973 เขาอาจจะยังไม่ลืมการเดินทางในครั้งนั้น ในปี 1973 เขาอาจจะอมยิ้มกับตัวเองทุกครั้งเมื่อเขานึกถึงเรื่องที่เกิดขึ้นเมื่อ 10 ปีก่อน บางทีเขาอาจจะเดินทางมาสเปนอีกครั้ง แต่ครั้งนี้เขาอาจจะมาคนเดียว และในครั้งนี้ เขาอาจจะไปนั่งที่ม้านั่งตัวนั้นอีกครั้ง และก็รำลึกถึงความหลังเมื่อ 10 ปีก่อน นึกถึงความรู้สึกเมื่อตอนที่เลนนอนนั่งอยู่ข้างๆเขาบนม้านั่งตัวนั้น

สาเหตุที่ทำให้ดิฉันอินกับ THE HOURS AND TIMES มากๆ เป็นเพราะประสบการณ์ชีวิตที่อาจคล้ายคลึงกับตัวละครในเรื่องค่ะ การรักเขาข้างเดียว การที่ต้องคอยเห็นคนที่เรารักมีความสุขอยู่กับคนอื่นๆ ฉากที่เอพสไตน์เปิดประตูให้แมรีแอนน์เข้ามาในห้อง แล้วเขาก็เป็นฝ่ายเสียสละด้วยการออกไปจากห้อง ออกไปจากห้องขณะที่พยายามกลั้นน้ำตาเอาไว้อย่างเต็มที่ ออกไปจากห้องแล้วก็ไปนั่งอยู่คนเดียวในโรงแรม นั่งรออยู่คนเดียวเป็นเวลานานแสนนาน นั่งรออยู่คนเดียวขณะที่ความสุขเพิ่งหลุดลอยหายไปจากชีวิตในชั่วพริบตา มันคงเป็นโมงยามแห่งความทุกข์ทนอย่างเหลือแสน

อย่างไรก็ดี สิ่งที่หนังเรื่องนี้ทำได้ถูกใจดิฉันมากๆก็คือหนังแทบไม่ได้ให้เราเห็นใบหน้าของเอพสไตน์อย่างชัดๆในช่วงเวลาแห่งความตรอมใจนั้นเลย เรารู้ว่าเอพสไตน์น้ำตาเอ่อล้นมาที่ตา เรารู้ว่าเอพสไตน์คงพยายามกลืนก้อนสะอื้นเข้าไปในอก ก็จากคำพูดของแมรีแอนน์เท่านั้น เราไม่ได้เห็นสิ่งเหล่านี้กับตาตัวเองแม้แต่น้อย แต่เพียงแค่นี้ มันก็เจ็บปวดจนแทบทนไม่ไหวแล้ว

ฉากตอนก่อนจบก็บาดใจดิฉันอย่างรุนแรงมากค่ะ ฉากที่เอพสไตน์รู้ดีว่าความสุขที่เขาจะได้รับ คงไม่ใช่ความสุขที่จะได้มาทางกายภาพ ไม่ใช่ความสุขที่จะได้มาจากการได้สัมผัสแตะต้องเนื้อตัวคนที่เรารัก แต่เป็นความสุขที่ได้มาจาก “ความทรงจำ” ถึงโมงยามที่เราเคยใกล้ชิดกันเท่านั้น

ไปดูหน้าเอพสไตน์ตัวจริง แล้วก็รู้สึกว่าตัวจริงหน้าตาดีกว่าในหนังมากเลย อย่างไรก็ดี DAVID ANGUS ซึ่งรับบทเป็นเอพสไตน์ในเรื่องนี้ ถึงแม้จะหน้าตาดีสู้เอพสไตน์ไม่ได้ แต่ฝีมือการแสดงของเขาเยี่ยมมาก

IAN HART (BORN 1964) ที่เล่นเป็นเลนนอนในเรื่องนี้ก็น่ารักมากๆเลยค่ะ

เนื้อเรื่องใน THE HOURS AND TIMES เกี่ยวข้องกับความเหงาและความเปล่าเปลี่ยวของคน 2 คนที่อยู่ในโรงแรมเกือบตลอดเวลา ดังนั้นจึงไม่น่าประหลาดใจแต่อย่างใด ที่ตัวละครในหนังเรื่องนี้จะออกไปดูหนังเรื่อง THE SILENCE (1963, INGMAR BERGMAN, A+) ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับตัวละครในโรงแรมแห่งความโดดเดี่ยวเปลี่ยวเหงาเหมือนๆกัน THE SILENCE เป็นหนังของอิงมาร์ เบิร์กแมนที่ดิฉันชอบที่สุดค่ะ

2. THE HORSE THIEF (1986, TIAN ZHUANGZHUANG) A
3.FASTER, PUSSYCAT! KILL! KILL! (1965, RUSS MEYER) A
4.AFTER THE REHEARSAL (1984, INGMAR BERGMAN) A-
5.FORMULA 17 (DJ CHEN) B+

ดีใจที่ได้ยินว่าวงการเพลงอิเล็กทรอนิกเมืองไทยคึกคักขึ้นมากจนถึงมากที่สุด ส่วนตัวดิฉันเองนั้น ไม่ได้ติดตามวงการเพลงอิเล็กทรอนิกมานานมากแล้วค่ะ ศิลปินที่ดิฉันชอบมากส่วนใหญ่จะเป็นศิลปินที่อยู่ในวงการมาประมาณ 10-15 ปี ซึ่งรวมถึง

1.THE ORB
2.ORBITAL
3.OPUS III
4.JAM & SPOON FEATURING PLAVKA
5.CASSIUS
6.SPOOKY
7.SABRES OF PARADISE
8.THE FUTURE SOUND OF LONDON
9.APHEX TWIN
10.808 STATE

Sunday, November 07, 2004

CELLULAR (DAVID R. ELLIS, A)

ดู “ตุ๊กแกผี” (ฺB-) แล้วรู้สึกว่าเสียงประกอบหนังในบางช่วงหลอนดีจริงๆ อยากเอาเสียงหลอนๆอย่างนี้มาเปิดฟังคนเดียวตอนมืดๆก่อนนอน คงทำให้ขวัญผวาดีไม่หยอก

ชอบช่วงประมาณ 15 นาทีแรกของตุ๊กแกผีมาก ถ้าหากหนังทั้งเรื่องทำออกมาได้มันส์เท่ากับช่วง 15 นาทีแรก ดิฉันคงชอบหนังเรื่องนี้ในระดับไม่ต่ำกว่า A- อย่างแน่นอน

หนังอีกเรื่องที่ได้ดูคือ CELLULAR (DAVID R. ELLIS, A) ซึ่งเป็นหนังที่ “หล่อ” มากๆค่ะ โฮะ โฮะ โฮะ โฮะ โฮะ

สมัยก่อนดิฉันก็ไม่ค่อยได้ออกไปเที่ยวตามงานฮัลโลวีนเท่าไหร่หรอกค่ะ ไม่ค่อยถนัดเรื่องแต่งชุดแฟนซีเท่าไหร่ มีครั้งนึงเคยคิดกันเล่นๆกับเพื่อนเหมือนกันว่าถ้ามีงานแฟนซี ก็ให้เพื่อนดิฉันใส่ชุดสีทอง แล้วดิฉันก็ใส่ชุดสีเงินไปงานแฟนซีด้วยกัน เพราะในงานแฟนซีนี้ เราแต่งตัวเป็น “ตัวเงินตัวทอง” ค่ะ

สมัยก่อนเวลาดิฉันออกไปตอนกลางคืน ดิฉันมักมีความสุขที่จะไปในคืนวันธรรมดามากกว่าคืนวันศุกร์, เสาร์ หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ค่ะ เพราะในคืนเหล่านั้นคนมันจะแน่นเกินไป และคนที่มากันแน่น ก็คือคนไทย (และคนต่างชาติบางคนที่ทำงานในเมืองไทย) ในขณะที่ในคืนวันธรรมดานั้น คนไทยจะน้อยหน่อย แต่จำนวน “นักท่องเที่ยว” ไม่ได้ลดลงมากนักจากคืนวันศุกร์เสาร์ เพราะนักท่องเที่ยวไม่ต้องกังวลกับเรื่องการไปทำงานในวันรุ่งขึ้น เขาก็เลยมาเที่ยวในคืนวันธรรมดาได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้น คืนวันธรรมดาจึงเหมาะกับดิฉันค่ะ คู่แข่งน้อยดี มีที่ว่างเยอะ ไม่ต้องตบตีเบียดเสียดด่าทอกันให้วุ่นวาย ดิฉันมักจะหลีกเลี่ยงการไปเที่ยวในคืนที่มีเทศกาลหรือคืนที่มีคนไทยแน่นๆค่ะ

ยังไม่ได้ดู LAN YU เลยค่ะ แต่อ่านประโยคจากหนังแล้วท่าทางน่าประทับใจดี ประโยคที่ดิฉันชอบมากก็รวมถึงประโยคจากหนังเรื่อง THANK GOD HE MET LIZZIE (1997, CHERIE NOWLAN, B) ที่ออกมาในทำนองที่ว่า

“ข้อเสียของความสุขก็คือ คุณมักจะรู้ตัวว่าช่วงเวลานั้นคือช่วงเวลาที่มีความสุขก็ต่อเมื่อช่วงเวลานั้นผ่านพ้นไปแล้ว”

มีเกย์คนนึงที่ทิ้งคำพูดคมๆเอาไว้มากมาย คนๆนั้นก็คือออสการ์ ไวล์ด นักประพันธ์ชื่อดังเจ้าของบทประพันธ์อย่าง AN IDEAL HUSBAND (ที่นำแสดงโดยรูเพิร์ท เอฟเวอเรทท์ กับ จูลีแอนน์ มัวร์), THE IMPORTANCE OF BEING EARNEST และ A GOOD WOMAN ที่นำแสดงโดยเฮเลน ฮันท์ (As Good As It Gets), สการ์เลทท์ โยฮันสัน (Lost in Translation), ทอม วิลคินสัน (In the Bedroom) และสตีเฟน แคมเบล มัวร์ (พระเอกหนุ่มที่ไม่หล่อแต่ดิฉันชอบมากๆจาก Bright Young Things)

ตัวอย่างคำพูดที่น่าสนใจของออสการ์ ไวล์ด

--"Whenever people agree with me I always feel I must be wrong."

--"The books that the world calls immoral are the books that show the world its own shame."

--Selfishness is not living as one wishes to live, it is asking others to live as one wishes to live.

มีประโยคหลายๆประโยคที่เหมือนได้ยินมาจากหนัง แต่นึกเท่าไรก็นึกไม่ออกสักทีว่าได้ยินมาจากหนังเรื่องไหน ประโยคที่นึกชื่อหนังไม่ออกก็มีเช่น

“ฉันต้องการจะเป็นสมาชิกเฉพาะคลับที่ไม่ต้องการฉันเป็นสมาชิก” (ความหมายออกไปในทำนองที่ว่าคนเรามักไม่พอใจในสิ่งที่ตัวเองมีอยู่ อย่างเช่นพอเรายังจีบเขาไม่สำเร็จ เราก็ยังต้องการเขาอยู่ พอเราจีบเขาสำเร็จแล้ว เราก็ไม่ต้องการเขาอีก และพยายามตามจีบคนอื่นๆที่เรายังจีบไม่ติด)

“ในความรักของคนสองคน จะมีคนนึงที่รักอีกคนนึงในระดับที่มากกว่าที่ฝ่ายนั้นรักตอบ และคนที่รักอีกฝ่ายมากกว่า ก็จะตกเป็นเบี้ยล่างในความสัมพันธ์นั้น”

ส่วนเรื่องการรู้จักใครมากเกินไป (“When two people know each other too well, it just doesn’t work anymore) นี่เอามาใช้ในกรณีของเพื่อนได้ดีเลยค่ะ เพราะในบางครั้งคนเราจะรู้จักเป็นเพื่อนกันเพราะพวกเขามีบางสิ่งที่ชอบตรงกัน แต่พอรู้จักกันมากเข้า ก็จะได้เห็นว่าเราสองคนมีสิ่งที่ชอบตรงกันแค่ 1 % เท่านั้น ส่วนอีก 99 % นี่ไม่ตรงกันเลย ทีนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละฝ่ายจะยอมรับอีก 99 % ที่แตกต่างกันในตัวอีกฝ่ายนึงได้มากแค่ไหน ถ้ายอมรับได้ ก็คงคบเป็นเพื่อนกันได้ต่อไป

อีกสิ่งนึงที่สนับสนุนคำพูดข้างต้น ก็คือบางคนเวลารู้จักกันใหม่ๆ ก็จะแสดงแต่ด้านดีของตัวเองออกมาก่อน แต่พอรู้จักกันนานๆเข้า ความไม่ดีของแต่ละฝ่ายก็จะเริ่มหลุดออกมาเรื่อยๆ ช่วงที่แต่ละฝ่ายเริ่ม “รู้เช่นเห็นชาติ” อีกฝ่ายนึงนี่แหละที่จะเป็นบททดสอบว่าจะคบกันยืดหรือไม่

เห็นมีหลายคนบอกว่าบางทีคนที่เป็นเพื่อนกัน ไม่ควรไปเช่าห้องอยู่ด้วยกัน เพราะพออยู่ด้วยกันมากๆ โอกาสที่จะทะเลาะกันและเสียเพื่อนไปเลยก็มีมาก ซึ่งเรื่องนี้ก็เคยเกิดขึ้นกับเพื่อนๆในกลุ่มดิฉันเอง สมัยเรียนมหาลัยก็ยังเป็นเพื่อนกันดีอยู่ พอเรียนจบ มาเช่าห้องอยู่ด้วยกัน โอ้โห ทะเลาะกันจนแทบจะฆ่ากันตาย

นึกถึงชีวิตเพื่อนบางคนแล้วก็ตลกดี เพื่อนผู้หญิงผู้ชายบางคนเห็นคบเป็นแฟนกันมาเป็น 10 ปีตั้งแต่มัธยม จนจบมหาลัย แล้วก็แต่งงานกัน แต่งกันไปได้ไม่กี่เดือน ก็หย่ากันเลย ก็เลยงงว่าขนาดคบดูใจกันมานานเป็น 10 ปี เราก็ยังไม่สามารถไว้วางใจอะไรอีกฝ่ายนึงได้เลยแม้แต่นิดเดียว (เพื่อนผู้หญิงของดิฉันผิดหวังกับความรักในครั้งนี้มากถึงกับไปบวชชีอยู่พักนึง) การได้รู้จักใครบางคนดีเกินไป คงจะเป็นสิ่งที่น่ากลัวจริงๆ


สรุปว่าชอบประโยคนี้จาก LAN YU มากค่ะ แต่ก็ยังไม่รู้เหมือนกันว่าจะได้ดูหนังเรื่องนี้เมื่อไหร่

เขียนไปเขียนมาแล้วก็เลยนึกไปถึงหนึ่งในเพลงที่มีเนื้อเพลงแทงใจที่สุด นั่นก็คือเพลง LOVE, TRUTH & HONESTY ของ BANANARAMA ค่ะ

หนังเรื่อง THE DEATH OF MARIA MALIBRAN เป็นหนังที่แร่ดมากค่ะ ส่วนแวร์เนอร์ ชโรเตอร์ก็เป็นผู้กำกับที่เคยแร่ดมากๆเช่นกัน แต่ไม่รู้เหมือนกันว่าหนังเรื่องอื่นๆของชโรเตอร์จะแร่ดมากเท่าหนังเรื่องนี้หรือเปล่า และไม่รู้เหมือนกันว่าในปัจจุบันนี้ชโรเตอร์มีบุคลิกยังไงบ้างแล้ว