Wednesday, August 31, 2016

THE NEON DEMON (2016, Nicolas Winding Refn, A+30)

THE NEON DEMON (2016, Nicolas Winding Refn, A+30)

1.พล็อตเรื่องของมันจริงๆแล้วก็ไม่มีอะไรใหม่ ดูแล้วก็นึกถึงหนังอย่าง SHOWGIRLS (1995, Paul Verhoeven) หรือละครทีวีเรื่อง MODELS INC (1994-1995) แต่มันเป็นพล็อตแนวที่เราชอบมากอยู่แล้ว เพราะมันเป็นพล็อตแนวผู้หญิงตบตีกัน

2.ถึงพล็อตมันจะไม่ใหม่ แต่เราก็ดูหนังเรื่องนี้ด้วยความเพลิดเพลินเป็นอย่างมาก เพราะมันเป็นหนังแนว “THE STYLE IS THE SUBSTANCE” น่ะ คือเนื้อเรื่องของหนังไม่สำคัญเท่าสไตล์ของหนัง และถ้าสไตล์ของหนังเรื่องนั้นมันคลิกกับเรา หรือมันถูกต้องตรงตามรสนิยมของเรา เราก็จะเพลิดเพลินกับมัน 

และเราก็รู้สึกว่าสไตล์ของหนังเรื่องนี้มันจูนติดกับเราอย่างมากๆ เราว่ามันเป็นสไตล์ที่ทำให้นึกถึงบรรยากาศหลอนๆในหนังอย่าง LOST RIVER (2014, Ryan Gosling), IT FOLLOWS (2014, David Robert Mitchell) และ ENEMY (2013, Denis Villeneuve) น่ะ ซึ่งก็ดูเหมือนเป็นลูกหลานที่สืบเชื้อสายมาจาก David Lynch อีกทอดนึง ไม่รู้เหมือนกันว่ามันมีศัพท์เฉพาะเรียกหนังกลุ่มนี้หรือเปล่า แต่มันเป็นหนังกลุ่มที่เราชอบมากๆ

3.นอกจากนี้ หนังเรื่องนี้ก็ได้รับอิทธิพลจากหนังกลุ่ม giallo และหนังสยองขวัญของอิตาลีในทศวรรษ 1970 ด้วย ซึ่งเป็นหนังกลุ่มที่เราชอบมากพอสมควร ถึงแม้เราได้ดูหนัง giallo ไม่เยอะมากนัก โดยในบรรดาหนังสยองขวัญยุคเก่าของอิตาลีที่เราเคยดูนั้น นอกจากหนังของ Dario Argento แล้ว เรื่องที่เราชอบมากๆก็รวมถึTHE RED QUEEN KILLS SEVEN TIMES (1972, Emilio Miraglia) กับ BLACK BELLY OF THE TARANTULA (1971, Paolo Cavara) แต่เรายังไม่ได้ดูหนังกลุ่มนี้ที่กำกับโดย Lucio Fulci, Mario Bava, Pupi Avati, Sergio Martno, Antonio Margheriti, Umberto Lenzi, etc. เลย 

ถ้าเทียบกับหนังระทึกขวัญอิตาลียุคนั้นแล้ว เราก็พึงพอใจกับ THE NEON DEMON มากนะ เพราะหนังระทึกขวัญอิตาลียุคนั้นมันเหมือนให้ความสำคัญกับ style และ substance ในระดับครึ่งต่อครึ่งน่ะ คือมันมี style ที่น่าจดจำในระดับนึง แต่มันก็ให้ความสำคัญกับเนื้อเรื่องด้วย มันพยายามเล่าเรื่องให้สนุก สร้างความลุ้นระทึกว่าใครกันแน่ที่จะเป็นฆาตกรตัวจริง (เหมือนหนังชุด SCREAM ของ Wes Craven) และลุ้นว่านางเอกจะรอดพ้นเงื้อมมือฆาตกรได้หรือไม่

แต่การที่หนังระทึกขวัญอิตาลีให้ความสำคัญกับ เนื้อเรื่องมากแบบนั้น มันก็เป็นข้อด้อยในตัวมันเองเหมือนกัน คือหนังระทึกขวัญพวกนี้ มันจะ ลุ้นระทึกสุดขีดตอนที่ดูน่ะ แต่พอมันเฉลยตัวฆาตกรแล้ว ความสนุกของหนังมันมักจะหายไปภายในเวลาอันรวดเร็ว เหมือนฟองน้ำอัดลมที่ฟู่ขึ้นมาอย่างรุนแรงแล้วก็ปลาสนาการไป ยกเว้นแต่หนังที่มันผูกเรื่องได้สนุกสุดขีดจริงๆ หรือมีไอเดียพล็อตเรื่องที่น่าจดจำจริงๆ อย่าง DEEP RED (1975, Dario Argento) และ PHENOMENA (1985, Dario Argento) มันถึงจะตราตรึงในความทรงจำของเรา

ซึ่งสิ่งนี้จะแตกต่างจาก THE NEON DEMON เพราะหนังเรื่องนี้เหมือนให้ความสำคัญกับ substance แค่ 20% และให้ความสำคัญกับ style ถึง 80% เพราะฉะนั้นขณะที่ดู เราก็ไม่ต้องลุ้นว่าใครจะเป็นฆาตกรหรืออะไรทำนองนั้น เราเพลิดเพลินอย่างเต็มที่ไปกับภาพอันเจิดจรัสเพริศแพร้วที่เห็นต่อหน้า และเพลิดเพลินกับบรรยากาศที่อึมครึมอัดแน่นไปด้วยความหลอน และเราว่าสิ่งนี้มันค่อนข้างเข้าทางเรามากๆน่ะ เพราะเราเองมักจะพบว่า เนื้อเรื่องของหนังหลายๆเรื่องมันขัดขวางความสุขของเรา หรือมันขัดขวาง การปลดปล่อยจิตใต้สำนึกของผู้กำกับออกมาอย่างเต็มที่และเรารู้สึกเหมือนกับว่า ถ้าหากผู้กำกับบางคนปลดปล่อยจิตใต้สำนึกของตนเองออกมาอย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องพยายาม เล่าเรื่องมันอาจจะได้หนังที่เข้าทางเรามากกว่า อย่างเช่นหนังของ Teeranit Siangsanoh 

และเราว่า THE NEON DEMON มันก็อาจจะเป็นแบบนี้นะ มันเหมือนกับว่าผู้กำกับไม่ค่อยสนใจเนื้อเรื่องแล้ว และเน้นงานด้านภาพที่สะใจตัวเองไปเลย และมันก็เลยได้ความสะใจสำหรับเราด้วย เพราะเราก็ชอบภาพแบบนี้เหมือนกัน

แต่เรื่องแบบนี้มันก็ขึ้นอยู่กับความถนัดของผู้กำกับแต่ละคนนะ เราว่าผู้กำกับอย่าง Kiyoshi Kurosawa ก็เป็นอีกแบบหนึ่ง เพราะหนังของเขาได้ทั้งความหลอนเต็มที่ด้วย แต่ก็อัดแน่นไปด้วย substance อย่างมากๆด้วยในขณะเดียวกันคือผู้กำกับแต่ละคนมันก็มีสิ่งที่เหมาะสมกับตนเองแตกต่างกันไปน่ะ ผู้กำกับคนไหนที่ถนัดทำหนังมีสาระ ก็ทำหนังมีสาระไป, ผู้กำกับคนไหนที่ถนัดทำทั้งหนังมีสาระและสไตล์ ก็ทำหนังแบบนั้นไป (อย่างเช่น Peter Greenaway ที่หนังของเขาสไตล์หนักมาก แต่ก็ intellectual มากๆ) แต่ผู้กำกับคนไหนที่ถนัดทำหนังเน้นสไตล์อย่างเดียว เราก็ขอสนับสนุนให้เขาทำหนังที่เน้นสไตล์อย่างเดียวไปเลย โดยไม่ต้องเอา สาระหรือ เนื้อเรื่องมาถ่วงหนังของตนเอง

4.การที่ THE NEON DEMON เน้นสไตล์เป็นหลัก จริงๆแล้วมันก็เข้ากับเนื้อเรื่องของหนังด้วย เพราะมันเป็นเรื่องของวงการแฟชั่นที่เน้น ผิวเปลือกและ สไตล์มากกว่าสิ่งที่อยู่ข้างในเหมือนกัน

5.ความสุขที่เราได้จาก THE NEON DEMON มันทำให้นึกถึงความสุขที่ได้จากหนังกลุ่ม THE STYLE IS THE SUBSTANCE เรื่องอื่นๆนะ อย่างเช่น

5.1 THE MOON IN THE GUTTER (1983, Jean-Jacques Beineix)

5.2 THE FLIGHT OF THE INNOCENT (1992, Carlo Carlei) จริงๆแล้วหนังเรื่องนี้ก็มี substance ที่ดีมากๆนะ แต่สิ่งที่ตราตรึงในความทรงจำจริงๆกลับเป็น งานด้านภาพมากกว่า

5.3 TEARS OF THE BLACK TIGER (2000, Wisit Sasanatieng)

5.4 FEMME FATALE (2002, Brian de Palma)

5.5 ONE DAY A DAY (2009, Kirati Nakintanont) ที่มีฉากนางเอกอุจจาระออกมาเป็นดอกกุหลาบ ถ้าจำไม่ผิด

และมันทำให้นึกถึงหนังนักศึกษาไทยกลุ่มนึงด้วย คือถ้าเราเข้าใจไม่ผิด นักศึกษาไทยในบางมหาลัยต้องทำหนังในวิชา “production design” หรืออะไรทำนองนี้น่ะ เพราะฉะนั้นหนังที่ทำส่งวิชานี้ หลายๆเรื่องมันจะเน้นโปรดักชั่นฉูดฉาดอย่างเดียว ไม่เน้นเนื้อเรื่อง 

6.แน่นอนว่าทุกอย่างมีข้อดีข้อด้อยในตัวมันเอง การที่ THE NEON DEMON เน้นสไตล์เป็นหลักอย่างรุนแรง ในแง่นึง มันทำให้เราชอบหนังเรื่องนี้มากกว่าหนังระทึกขวัญของอิตาลีในทศวรรษ 1970 เพราะความสุขที่เราได้รับอย่างรุนแรงจากงานด้านภาพใน THE NEON DEMON ไม่ถูกทำลายลงด้วย การคลี่คลายของพล็อตเรื่องหรือ การเฉลยว่าใครเป็นฆาตกรแบบที่เป็นปัญหาในหนังระทึกขวัญของอิตาลีหรือของชาติอื่นๆ

แต่ในอีกแง่นึง การที่ THE NEON DEMON เน้นสไตล์อย่างรุนแรง มันก็ทำให้เราชอบหนังเรื่องนี้น้อยกว่าหนังกลุ่มสาวผู้มาล่าฝันในแอลเออย่าง MULHOLLAND DRIVE (2001, David Lynch) และ MAPS TO THE STARS (2014, David Cronenberg) นะ เพราะมันเหมือนกับว่า THE NEON DEMON ใช้ ผิวเปลือกในการกระตุ้นอารมณ์ความรู้สึกของเราอย่างรุนแรง ในขณะที่ MULHOLLAND DRIVE มันเหมือนลงลึกไปในดินแดนลึกลับในจิตใต้สำนึกของตัวละครและผู้ชมได้ด้วย และมันเป็นอะไรที่สะเทือนเรารุนแรงกว่า THE NEON DEMON ส่วน MAPS TO THE STARS นั้น มันเจาะลึกจิตวิญญาณของตัวละครแต่ละตัวออกมาได้อย่างรุนแรงมากๆ และเราว่าอะไรแบบนี้คือสิ่งที่เราชอบมากที่สุด 

คือจริงๆแล้วเราว่าตัวละครใTHE NEON DEMON กับตัวละครใน MAPS TO THE STARS นั้น มันดูเหมือนเป็นเพื่อนบ้านกันนะ มันมีความวิปริตเวิ้งว้างในจิตใจเหมือนๆกัน

แต่ THE NEON DEMON นำเสนอให้เราเห็นผิวหนังอันมลังเมลืองของตัวละคร

MULHOLLAND DRIVE ให้เราเห็นจิตใต้สำนึกของตัวละคร
MAPS TO THE STARS ให้เราเห็นจิตวิญญาณอันวิปริตบิดเบี้ยวของตัวละครแต่ละตัว

และเราก็ชอบหนังทั้งสามเรื่องนี้อย่างสุดๆ แต่เราอาจจะชอบแบบ MAPS TO THE STARS มากที่สุดในสามเรื่องนี้

7.ฉากที่ชอบที่สุดใน THE NEON DEMON คือฉากช่วงต้นเรื่องที่นางเอกดูการแสดงในคลับน่ะ เราว่าฉากนั้นหนังดีไซน์ภาพเสียงออกมาได้อย่างเข้าทางเราสุดๆ คือฉากนั้นมันคือสไตล์จริงๆ เพราะมันไม่มีเนื้อเรื่องอะไรเลยในฉากนั้น เราแค่เห็นใบหน้าของตัวละคร, การชำเลืองตาของตัวละคร, การกะพริบของแสงไฟ, เงาสะท้อนไฟอะไรสักอย่างบนหน้าจอ, จังหวะการตัดต่อ, จังหวะของเสียงเพลง คือมันดูเป็นฉากที่ไม่มีเนื้อเรื่องอะไร แต่พลังจากฉากนั้นมันสุดๆมากด้วยความสามารถด้าน visual design, sound, การตัดต่อ

อีกสาเหตุนึงที่ทำให้เราชอบฉากนี้มากที่สุด เพราะตอนนั้นเรายังไม่รู้จักตัวละครดีด้วยแหละ ตัวละครทั้ง 4 ตัวในฉากนี้ยังคงเป็นความลับสำหรับเรา เรายังไม่รู้ว่าตัวละครทั้ง 4 ตัวนี้มี ศักยภาพอะไรบ้าง เป็นมนุษย์ธรรมดา หรือว่าเป็นฆาตกรโรคจิต หรือว่าเป็นมนุษย์อภินิหาร หรืออะไรกันแน่ ฉากนี้มันก็เลยสร้างความตื่นเต้นให้กับเราอย่างมากๆ แต่พอเนื้อเรื่องดำเนินไป และเราพบว่าตัวละครบางตัวมันไม่ได้มีอิทธิฤทธิ์สูงอย่างที่เราคาดไว้ ฉากช่วงหลังๆของเรื่องก็เลยไม่ได้กระทบอารมณ์เรามากเท่าฉากต้นเรื่อง

จริงๆแล้วฉากนี้ใน THE NEON DEMON มัน สั่นสะเทือนเราด้วยพลังด้านภาพและเสียงได้เท่ากับหนังของ Philippe Grandrieux เลยนะ คือหนังของ Philippe Grandrieux อย่าง SOMBRE (1998) มันก็ทำให้เรารู้สึก ecstatic อย่างเต็มที่ได้ด้วยงานด้านภาพและเสียงเหมือนฉากต้นเรื่องใน THE NEON DEMON เหมือนกัน แต่มันแตกต่างกันตรงที่ SOMBRE ทำให้เรารู้สึกแบบนั้นได้ตลอดทั้งเรื่อง แต่ THE NEON DEMON ทำให้เรารู้สึกแบบนั้นได้เพียงแค่ไม่กี่ฉากเท่านั้น

สรุปว่าเราชอบ THE NEON DEMON อย่างสุดๆ แต่ในขณะเดียวกัน เราว่า พลังความมืดในหนังเรื่องนี้ มันไม่ทรงพลังมากเท่ากับ พลังความมืดในหนังของ David Lynch, David Cronenberg และ Philippe Grandrieux น่ะ คือมันมีความใกล้เคียงกันในระดับนึง แต่พอเปรียบเทียบกันแล้ว เราว่า Philippe Grandrieux ยังคงชนะขาดแบบไม่เห็นฝุ่นในแง่พลังด้านภาพและเสียงที่จูนติดกับเรามากที่สุด

MY MOST FAVOURITE THAI FILMS IN THE 20TH THAI SHORT FILM FESTIVAL

MY MOST FAVOURITE THAI FILMS IN THE 20TH THAI SHORT FILM FESTIVAL

1.MR.ZERO (2016, Nutcha Tantivitayapitak + Chanwanrat Rungsangcharoenthip, documentary)

2.There’s Nothing in the Beginning (พัฒนพล สุธาพร, 2016)

3.ในพื้นที่นั้น (BLOCK) (2016, รัตนาวรรณ งามวงษ์, 17นาที)

4.ซึ่งแม้ A.R.E.A.L.D.R.E.A.M. (2016, ชินวร นงค์เยาว์, 30 นาที)

5.ANATOMY OF HER (2016, วรัญยา ภูน้ำทรัพย์)

6.TIME ACTUALLY PASSES SLOWER IN DREAM (2016, Alwa Ritsila, 41min)

7.BERMUDA (2016, ภาวิณี ศตวรรษสกุล, 40นาที)

8.ฝันสามบาท (2016, Sompong Soda)

9.วัฏจักรวาล (2016, Patawee Emtanom)

10.BECAUSE NEOTENY IS A REAL DEAL เลเยอร์อันทับซ้อนหลากเลื่อนของความน่ารักและอุณหภูมิของความสวย (2016, Theeraphat Ngathong)

11.BLACKBIRD (2016, Nattawoot Nimitchaikosol)

12. PUSSY’S THRONE อรไทไอศูรย์ (2016, สุกฤษฎิ์ วงศ์ศรีแก้ว, 36min)

13.Anonymous in Bangkok (สินีนาฏ คะมะคต, 2016, documentary)

14.เพียงรัก (EVERYTHING IS FAMILY) (2016, วิศรุตา รักวงษ์วาน, documentary, 39นาที)

15.เพราะความคิดถึงสัมผัสไม่ได้ BECAUSE IT CAN’T TOUCH NOSTALGIA (2016, อริศรา สุระสังข์, 15min)

16.My Vagina Comes from Text (ศศิภา ส่งเสริมสกุลดี, 2016)

17.FIND MY IPHONE (2016, กิตติยา สมบูรณ์)

18.Same & Different (อรุณกร พิค, 2015)

19.ฝนเม็ดน้อย (CAMOUFLAGED SHADES OF FALLING RAIN) (Boonyarit Wiangnon)

20.SUBCONSCIOUSNESS ไร้กาล (2016, Tani Thitiprawat, 60min)

FERRIS WHEEL (2016, Phuttiphong Aroonpheng, A+30)

FERRIS WHEEL (2016, Phuttiphong Aroonpheng, A+30)

1.ชอบช่วงท้ายของหนังมากนะ คือช่วงแรกๆของหนังมันดีงามตามสไตล์หนังทำนองนี้อยู่แล้ว แต่ช่วงท้ายของหนังเราว่ามันสำคัญมากๆสำหรับเราในแง่การสร้าง “ความเป็นตัวของตัวเอง” ให้กับหนังเรื่องนี้ ซึ่งจะทำให้เราจดจำหนังเรื่องนี้ได้ง่ายขึ้นเมื่อเวลาผ่านไปอีกหลายปี

คือช่วงแรกๆของหนังมันทรงพลังมากอยู่แล้ว ในแง่การสะท้อนความลำบากยากแค้นแสนเข็ญของแรงงานพม่าที่ลอบเข้าประเทศไทยอย่างผิดกฎหมาย ทั้งจากปัญหาในการข้ามพรมแดน, การขาดที่พึ่งพิง, การไม่เป็นที่ต้อนรับ, การถูกมองอย่างเหยียดหยาม, การถูกประณามทั้งที่ไม่ได้ทำผิด, การต้องหลบเจ้าหน้าที่ ฯลฯ หนังสามารถสะท้อนปัญหาหลายอย่างของแรงงานข้ามชาติได้ด้วยสถานการณ์ที่สั้น, กระชับ และทรงพลังมากๆ

คือถ้าหนังมันคงสไตล์ดราม่าแบบนี้ไปตลอด เราก็ชอบหนังสุดๆในระดับ A+30 อยู่ดีนะ แต่เราอาจจะจำมันไม่ได้ในอีกหลายปีข้างหน้า เพราะสาเหตุสำคัญก็คือว่า มันมีหนังสั้นไทยดีๆทำนองนี้ออกมาเยอะมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะหนังในกลุ่มของคุณ Supamok Silarak ที่เกือบทุกเรื่องเล่าเรื่องได้ดีมาก, สะท้อนปัญหาของแรงงานต่างชาติได้ทรงพลังมากๆ คือหนังไทยหลายเรื่องที่จับประเด็นแรงงานต่างชาติมัน powerful, realistic, heartbreaking กันเกือบทุกเรื่องน่ะ เพราะผู้สร้างหนังมี skill ที่ดี, รู้ว่าไม่ควรฟูมฟายเกินไป และประเด็นที่หนังมันเล่ามันเอื้อต่อการทำเป็นหนังที่ทรงพลังอยู่แล้ว เพราะมันเป็นปัญหาสังคม/การเมืองที่ร้ายแรงและไม่ได้รับการแก้ไขสักที และมันมี “เหยื่อผู้น่าสงสาร” และ “ผู้ร้าย” (กฎหมาย/อำนาจรัฐ/คนไทยใจแคบ) ที่ชัดเจน (แบบ LES MISERABLES ของ Victor Hugo) และพอเรามีตัวละครเหยื่อและผู้ร้ายที่ชัดเจนแบบนี้แล้ว มันก็ง่ายขึ้นต่อการสร้างหนังที่ทรงพลังออกมา

2.คือช่วงแรกๆของ FERRIS WHEEL มันทำให้เรานึกถึงหนังในกลุ่มของคุณ Supamok Silarak + หนังไทยเรื่องอื่นๆที่พูดถึงแรงงานข้ามชาติ + หนังสะท้อนปัญหาสังคมที่ทรงพลังในแบบ dramatic/realistic อย่างเช่นหนังของ The Dardennes Brothers และ Ken Loach น่ะ หรือพูดง่ายๆก็คือว่า เราชอบช่วงแรกๆของ FERRIS WHEEL แบบสุดๆน่ะแหละ แต่มันอาจจะไม่ “โดดเด่น” ในความทรงจำของเรา เพราะเราจะจดจำมันรวมกับหนังไทยอีก 50 เรื่องที่ดีสุดๆ,พูดถึงประเด็นคล้ายๆกัน และออกมาในโทนเดียวกัน

เพราะฉะนั้นเราก็เลยชอบช่วงท้ายของ FERRIS WHEEL มากๆที่มัน shift tone ไปเป็นเหนือจริง เพราะเรามองว่ามันเป็น personal touch ของคุณ Phuttiphong, มันช่วยสร้างความแตกต่างให้กับหนังเรื่องนี้ และมันก็ทรงพลังสุดๆในตัวมันเองด้วย

3.คือจริงๆแล้วเราก็ไม่รู้ว่าช่วงท้ายของหนังเรื่องนี้หมายความว่าอะไรนะ เราเป็นคนที่ไม่ถนัดในการตีความ และเราก็ตีความช่วงท้ายของหนังเรื่องนี้ไม่ออกเลยด้วย แต่ในแง่อารมณ์ความรู้สึกแล้ว เราว่ามันใช่มากน่ะ เรารู้สึกว่ามันทรงพลังมากๆทั้งๆที่เราไม่รู้ว่ามันหมายความว่าอะไร และมันทำให้เรารู้สึก “เศร้าโหวงอยู่ข้างใน” อย่างรุนแรง คือมันไม่ใช่ความเศร้าแบบที่ทำให้เราร้องไห้อย่างรุนแรงนะ แต่มันเป็นความเศร้าแบบแปลกๆ เหมือนอยู่ดีๆก็มีโพรงแห่งความเศร้าและความว่างเปล่าอยู่ข้างในตัวเรา ขณะที่เราดูฉากท้ายๆของหนังเรื่องนี้

4.ที่เราบอกว่าช่วงท้ายของหนังเรื่องนี้ มันดูเหมือนเป็น personal touch ของคุณ Phuttiphong เพราะมันทำให้เรานึกถึง “ความเหวอ” ในหนังของคุณ Phuttiphong เรื่อง A STRANGER FROM THE SOUTH (2007) และ A SUSPENDED MOMENT (2010) น่ะ เพราะหนังสองเรื่องนี้ดูแล้วเหวอมาก เราตีความอะไรไม่ได้เลย  โดยในกรณีของ A SUSPENDED MOMENT นั้น เราว่ามันเหวอเกินไป มันลอยเกินไป เรายึดโยงอารมณ์ความรู้สึกอะไรกับมันได้ยากมาก ส่วน A STRANGER FROM THE SOUTH นั้น เราว่ามันคล้ายกับช่วงท้ายของ FERRIS WHEEL ในแง่ที่ว่า ตัวหนังมันน่าจะสะท้อนปัญหาสังคม/การเมือง แต่ไม่สะท้อนแบบตรงไปตรงมา แต่สะท้อนออกมาในเชิงสัญลักษณ์ ซึ่งดูจบแล้วก็ตีความไม่ออก ไม่รู้อะไรเป็นสัญลักษณ์ของอะไร รู้แต่ว่ามันทรงพลังมากๆ

โดยส่วนตัวแล้ว เราว่า FERRIS WHEEL เป็นการผสมความ realistic กับความเหวอได้อย่างลงตัวมากๆนะ เพราะถ้าหากมัน realistic อย่างเดียว มันก็จะ “ไม่โดดเด่น” แต่ถ้ามันเหวอทั้งเรื่องแบบ A STRANGER FROM THE SOUTH หรือเหวอจนหลุดลอยไปเลยแบบ A SUSPENDED MOMENT มันก็จะสะท้อนปัญหาสังคมไม่ได้มากนัก

5.ถึงแม้เราไม่รู้ว่าช่วงท้ายของ FERRIS WHEEL สือถึงอะไร แต่โดยส่วนตัวแล้ว นอกจากช่วงท้ายของหนังมันทำให้เรารู้สึกเศร้าโหวงข้างในอย่างรุนแรงแล้ว มันยังทำให้เรานึกถึงหนังไทยอีกหลายๆเรื่องด้วย

คือช่วงท้ายของ FERRIS WHEEL มันฉายให้เห็นหน้าคนหลายคน ที่น่าจะอยู่ในสภาพเดียวกับนางเอก คือเป็นแรงงานพม่าที่ลอบเข้าประเทศอย่างผิดกฎหมาย และต้องใช้ชีวิตอยู่ในไทยอย่างยากลำบากต่อไป แต่หนังไม่ได้เล่าชีวิตของคนเหล่านี้ เราได้เห็นใบหน้าของคนราวสิบคน แต่เราไม่รู้เรื่องราวของเขา เราต้องจินตนาการชีวิตของพวกเขาเอง

คือการได้เห็นใบหน้าของคนเหล่านี้ มันทำให้เราจินตนาการว่า ชีวิตของพวกเขาอาจจะเหมือนกับชีวิตของตัวละครในหนังไทยหลายๆเรื่องที่เราเคยดูมาก็ได้น่ะ พวกเขาอาจจะ

5.1 ถูกข่มขืนแบบในหนังเรื่อง OVERSEAS (2012, Anocha Suwichakornpong + Wichanon Somumjarn)

5.2 มีปัญหาเวลาเข้าโรงพยาบาลแบบในหนังเรื่อง ADMIT (2007, Natthapon Timmuang)

5.3 เจอปัญหามากมายแบบในหนังเรื่อง COLORS OF OUR HEARTS (2009, Supamok Silarak)

5.4 เจอนายจ้างที่ดูเหมือนใจบุญ แต่จริงๆแล้วใจโหดเหี้ยมผิดมนุษย์มนา แบบในหนังเรื่อง AIM (2016, Aroonakorn Pick)

5.5 ถูกคนไทยหลอก แบบในหนังเรื่อง หม่า เอ๊ (2015, Natthapat Kraitrujpol)

 5.6 ถูกคนไทยรังเกียจ แบบในหนังเรื่อง OKAY? (2015, Jidapa Ratanasopinswat)

5.7 ทำงานหนักมาก แบบในหนังเรื่อง มะยอลิเจี๊ยะ/ความหวัง (2010, Kulpreeya Kokmanee)

5.8 ขาดอากาศหายใจ ตายในรถตู้คอนเทนเนอร์ แบบที่เราเคยได้ยินในข่าว ซึ่งเป็นประเด็นที่คุณ Teerawat Mulvilai เคยนำมาดัดแปลงเป็นละครเวที

หรือถ้าหากพวกเขาโชคดีจริงๆ พวกเขาอาจจะพอหาความสุขได้บ้างเล็กน้อยในประเทศไทยก็ได้ อย่างเช่นในหนังเรื่อง BLISSFULLY YOURS (2002, Apichatpong Weerasethakul), GOLDEN SAND HOUSE (2005, Chulayarnnon Siriphol), NEIGHBORLY LABOR (2012, Vorakorn Ruetaivanichkul), MYANMAR IN LOVE IN BANGKOK (2014, Nichaya Boonsiripan), BRIDGE OF VOICES (2014, Phil America, video installation) ,เปียว (SMILE) (2016, Natthanon Tapanya) และนางส่วย (อรรคพล สาตุ้ม)

6.ที่เราลิสท์รายชื่อหนังเหล่านี้มาหลายเรื่องในข้อข้างต้น นอกจากจะบอกว่า ช่วงท้ายของ FERRIS WHEEL มันทำให้เราจินตนาการชีวิตของคนต่างๆตามหนังข้างต้นแล้ว เรายังต้องการจะแสดงให้เห็นอีกด้วยว่า มันมีหนังไทยดีๆมากมายหลายเรื่องที่พูดถึงแรงงานข้ามชาติ เพราะฉะนั้นมันก็เลยเป็นเรื่องที่ยากมากสำหรับผู้ที่สร้างหนังเกียวกับประเด็นนี้ที่จะ

6.1 เล่าเรื่องที่ไม่ซ้ำกับหนังเรื่องอื่นๆ

6.2 สร้างความโดดเด่นให้กับหนังของตนเอง เพราะมันมีหนังที่ “ดีสุดๆ” มากมายหลายเรื่องแล้วที่พูดถึงคนกลุ่มนี้

และเราว่า FERRIS WHEEL ทำได้ดีมากในการสร้างความโดดเด่นให้กับหนังของตนเอง เราก็เลยชอบหนังเรื่องนี้มากๆจ้ะ


Sunday, August 28, 2016

PEAKS OF LIFE

เทศกาลหนังสั้นครั้งที่ 20 จบลงไปแล้ว ขอกราบขอบพระคุณทางเทศกาลอย่างมากๆอีกครั้งที่ในปีนี้เปิดโอกาสให้เราได้เลือกหนังในโปรแกรม JIT'S WISH LIST ด้วย หลังจากทีเมื่อสิบปีก่อนทางเทศกาลเคยชวนให้เราเลือกหนังฉาย 1 เรื่องในปี 2006 เนื่องในโอกาสครบรอบ 10 ปีของเทศกาลไปแล้ว โดยในตอนนั้นเราเลือกหนังเรื่อง ROUGH NIGHT (2006, Samart Imkham)

ขอบพระคุณทางเทศกาลมากๆที่จัดฉายหนังทุกเรื่องในงานมาราธอนมาอย่างต่อเนื่องในทุกๆปี จนถึงตอนนี้เรายังเสียดายไม่หายที่ไม่ได้ไปดูหนังในรอบมาราธอนเลยในปี 2002 (ปีนั้นเราได้ดูแต่หนังในรอบสองที่ผ่านการคัดเลือกแล้ว) และก็เลยพลาดหนังอย่าง MARIANNE QUARTET: AN EXPERIMENTAL FILM (2001, Graiwoot Chulphongsathorn, 26min) ไป ส่วนปี 2003 กับปี 2004 เราก็ดูหนังในงานมาราธอนน้อยมาก และก็พลาดโอกาสได้ดูหนังอย่าง วลีสวรรค์ (2003, Pathompol Tesprateep, 25min) และ “เรื่องจริง” (2003, Tulapop Saenjaroen, 7min) ไป แต่พอมาปี 2005 เราก็ตื่นตะลึงเป็นอย่างมากกับหนังสิบกว่าเรื่องของ Tossapol Boonsinsukh ที่ฉายในงานมาราธอน และเราก็พบว่าจริงๆแล้วมันมี “หนังไทยหลายเรื่องที่เข้าทางเราอย่างสุดๆ” อยู่บนโลกนี้ ซึ่งมันอาจจะไม่เข้าทางคนอื่นๆ และไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานสากลในสายตาของคนอื่นๆ เพราะฉะนั้นพอเรารู้เช่นนี้แล้ว เราก็เลยพยายามตามดูหนังในรอบมาราธอนเรื่อยมา มันเหมือนกับว่าการที่เราได้ปะทะกับหนังหลายๆเรื่องของ Tossapol Boonsinsukh ในเทศกาลหนังมาราธอนปี 2005 มันจุดประกายให้เราได้รับรู้ว่า เทศกาลนี้แหละคือแหล่งขุมทรัพย์อันมหาศาลของเรา มันมีหนังที่เหมาะสมกับเรารอให้เราค้นพบในเทศกาลนี้ในรอบมาราธอน

ไม่รู้เหมือนกันว่าเราจะยังมีชีวิตอยู่จนถึงเทศกาลหนังสั้นครั้งที่ 21 หรือเปล่า เพราะชีวิตคนเราทุกคนมันไม่มีอะไรแน่นอน แต่การที่เราได้จัดโปรแกรมหนัง JIT’S WISH LIST และได้รับการตอบรับจากผู้ชมเป็นอย่างดีเช่นนี้ มันทำให้เรารู้สึกว่า เรานอนตายตาหลับได้แล้วจริงๆ มันคือความสุขสุดยอดอย่างหนึ่งของการเป็น cinephile และมันคือครั้งที่สามของชีวิตเราที่เรารู้สึกว่าเรานอนตายตาหลับ

ครั้งแรกที่เรารู้สึกว่า เรานอนตายตาหลับคือตอนที่บทความ MYSTERIOUS OBJECTS FROM THAILAND ได้ลงในเว็บไซต์ EXPERIMENTAL CONVERSATIONS ในปี 2012 และครั้งที่สองที่เรารู้สึกว่าเรานอนตายตาหลับ คือตอนที่เราได้นำภาพยนตร์เรื่อง BIRTH OF THE SEANEMA (2004, Sasithorn Ariyavicha) ซึ่งเป็นหนึ่งในหนังที่เราชอบมากที่สุดในชีวิต ไปฉายที่ห้องสมุดมหาลัยธรรมศาสตร์ในวันที่ 23 ก.พ. 2014 ซึ่งพอคิดทบทวนดูแล้ว ความรู้สึกนอนตายตาหลับ หรือความรู้สึกที่ว่า “ตนเองได้มาถึงจุดสุดยอดของชีวิตแล้ว” สองครั้งแรก มันก็เป็นอานิสงส์จากการมาดูหนังในเทศกาลหนังสั้นทั้งนั้นเลย เพราะเราก็ได้ดู BIRTH OF THE SEANEMA ครั้งแรกในเทศกาลหนังสั้นปี 2004 ส่วนเนื้อหาในบทความ MYSTERIOUS OBJECTS FROM THAILAND นั้น ก็พูดถึงหนังในเทศกาลหนังสั้นรอบมาราธอนเป็นส่วนใหญ่


ไม่รู้เหมือนกันว่าหลังจากนี้ชีวิตเราจะเผชิญกับจุดสูงสุดต่ำสุดอะไรอีกบ้าง แต่อย่างน้อยช่วงเดือนก.ค.-ส.ค.ที่ผ่านมา เทศกาลนี้ก็ช่วยให้เราได้มีความสุขสุดๆจริงๆ

Favourite Films about Thai-Chinese people

Favourite Films about Thai-Chinese people

(in alphabetical order)

1.83 SOI SOONVIJAI 14 (2016, Tthawat Taifayongvichit, 22min)

2.AMA SAW SNAKE (2014, Napat Vattanakuljalas, documentary, 26min)

3.DINING TABLE (2011, Wararak Thienkunakorn) ไม่แน่ใจว่าครอบครัวในหนังเรื่องนี้เป็นครอบครัวเชื้อสายจีนหรือเปล่า

4.FAMILY THAT DINES TOGETHER (2013, Namfon Udomlertlak)

5.HUAI MO VILLAGE (2012, Hsu Chia Wei, documentary, 8min)
หนังเกี่ยวกับลูกหลานของชาวจีนก๊กมินตั๋งที่พ่ายแพ้ในสงครามกลางเมืองในจีน และอพยพมาตั้งรกรากในจังหวัดเชียงราย

6.JUST BURIED, BE HAPPY (2016, Jirayus Russmisaengthong, 20min)

7.PAPER COMMUNITY ชุมชนกระดาษ (2012, Theerayut Weerakham, documentary, 22min)

8.QING ชิง (2011, Boonyanuch Kraithong, 30min)

9.THE LOVE (2007, Supakit Seksuwan, 8min)

10.ONCE IN A YEAR ในหนึ่งปีมีหนึ่งวัน (2014, Teeraphan Ngowjeenanan, documentary, 29min)

11.PAE IN แปะอิ่น (2016, Primrin Puarat, documentary, 19min)

12.THIS IS MY MOTHER นี่แหละแม่ฉัน (2015, Aticha Kanjanawat, 30min)


13.UNKNOWN (2016,Supanee Limrojnugool, 19min)

Thursday, August 25, 2016

Favorite films about southern Thailand

Favorite films about southern Thailand

A friend asked me about films about southern Thailand. So I made this list, but the list excludes some well-known films that my friend knows already, such as THE ISLAND FUNERAL (2015, Pimpaka Towira), CITIZEN JULING, and films by Panu Aree.

Some films in this list are not “political”, but I like them very much, because they represent the interesting lifestyles and culture of peoeple in the south.

(in alphabetical order)

1.ASALAMUALAYKUM (2015, Weenita Julaphiwat, 28min)

2.BEHIND THE CURTAIN: THE DAILY LIFE OF WOMEN IN THAILAND’S SOUTHERN BORDER PROVINCES (2013, Rahanee Daoh, documentary, 30min)

3.CYCLE UNIVERSE (วัฏจักรวาล) (2016, Pinmanee Emtanom, 29min)

4.FOG IN THE CITY (หมอกในเมือง) (2015, Wachara Kanha, documentary, 30min)

5.HELLO AGAIN (2016, Noorahaya Lahtee, 23min)

6.95110 POSTAL DREAM (2011, Taweewit Kijtanasoonthorn, documentary, 83min)

7.ONE DAY, ONE SONG (2012, Nitiwat Chonwanichsiri, 9min)

8.PATTANIRAMA (2016, Suporn Shoosongdej, documentary, 37min)

9.PEACE IS ONLY A PICTURE (2015, Gooyee I-tae, 9min)

10.PONDOK (ปอเนาะ) (2006, Haris Maschai, documentary, 12min)


But I haven’t seen many films about the southernmost part of Thailand, such as MY COMMUNITY (2005, Pisut Srimhok, 59min, documentary). So I’m sure there are many great films about this topic which are not in this list.

Wednesday, August 24, 2016

Thai Films I saw on Saturday, July 23, 2016

Thai Films I saw on Saturday, July 23, 2016

1.There’s Nothing in the Beginning (พัฒนพล สุธาพร, 2016, A+30)

ติดอันดับประจำปีนี้แน่นอน เผลอๆติดอันดับหนึ่งหนังสั้fiction ที่ชอบที่สุดในปีนี่ ดูแล้วรู้สึกว่ามันงดงามสุดๆ และรู้สึกว่ามันมีความเป็นกวีในแบบที่จูนติดกับเราพอดี

เราว่าหนังเรื่องนี้มันทำให้เรารู้สึกถึงความว่างโหวงในจิตวิญญาณของตัวละครในแบบที่คล้ายกับหนังอย่าง LA NOTTE (1961) และ THE ECLIPSE (1962) ของ Michelangelo Antonioni คือพระเอกหนังเรื่องนี้เป็นหนุ่มหล่อ, รวย, แวดล้อมด้วยเพื่อนรวยๆเก๋ๆ และได้มีอะไรกับสาวที่ตัวเองชอบ แต่มันก็ดูเหมือนมีความว่างโหวงบางอย่างในจิตวิญญาณของเขา ซึ่งจริงๆแล้วเราอาจจะจินตนาการไปเอง มันอาจจะไม่ได้เป็นความตั้งใจของผู้กำกับก็ได้

คือจริงๆแล้วเราว่าหนังเรื่องนี้, หนังหลายๆเรื่องของ Natchanon Vana, หนังเรื่อง AMSTERDAM (2016, Dith Tanasetvilai + Muangthai Jirawongnirandon), BANGKOK TAXI (2016, Pisuth Penkul), 606 (2016, Peerapat Uepunrungsri) และ BUA (2016, Nattapol Pawangthut, A+30) มันมีจุดร่วมบางอย่างที่เราชอบมากนะ นั่นก็คือการถ่ายทอดความรู้สึกข้างในตัวละครออกมาได้อย่างรุนแรงผ่านทางบรรยากาศสวยเศร้าหลอนน่ะ และเรารู้สึกว่ามันมีความเป็น poetic อยู่ในหนังกลุ่มนี้ด้วย คือในขณะที่ผู้กำกับหนังส่วนใหญ่จะเน้น เนื้อเรื่องเราว่าผู้กำกับกลุ่มนี้ให้ความสำคัญกับ บรรยากาศมากๆ และสร้างบรรยากาศในหนังของตัวเองได้อย่างทรงพลังสุดๆ และบรรยากาศของหนังก็สะท้อนจิตวิญญาณ, อารมณ์ความรู้สึกของตัวละครได้อย่างรุนแรงเช่นกัน

เราว่าผู้กำกับหนังกลุ่มนี้น่าสนใจมากๆทีเดียว เราขอปวารณาตัวเป็นแฟนผลงานของผู้กำกับกลุ่มนี้ค่ะ และหวังว่าพวกเขาจะสร้างหนังใหม่ๆออกมาอีก

2.The Dream (ชลธี สวนรักษา, 2016, A+30)

เป็นหนังย้อนเวลาที่คิดพล็อตออกมาได้ดีมากๆ

3.Time Out of Mind (สิทธิวัชร์ ทิพย์ธนโอฬาร, 2016, A+30)

เป็นหนังย้อนเวลาที่คิดพล็อตออกมาได้ดีมากๆ เช่นเดียวกัน

4.The Emerald Ignites (รัชชัย เขียวงามดี, 2016, A+30)

อยากให้มันพัฒนาไปกลายเป็นละครทีวีแบบ SUKEBAN DEKA หรือ สิงห์สาวนักสืบที่ตัวเอกต้องไปสืบคดีพิศวงในโรงเรียนมัธยมต่างๆ และต้องรับมือกับผู้ร้ายที่มีอิทธิฤทธิ์แตกต่างกันไปในแต่ละตอน

5.THE MYTH OF LIBERTY (2016, Theeraphat Ngathong, A+30)

6.The Rebirth (ธีรยุทธ์ วีระคำ, 2015, documentary, A+30)

7.The River (กฤตธี สังข์ฉาย, 2016, documentary, A+25 )
เราไม่เคยรู้ประเด็นขัดแย้งเรื่องนี้มาก่อนเลย เราก็เลยชอบมากที่หนังเรื่องนี้พูดถึงปัญหาสังคมที่เราไม่เคยรู้มาก่อน

8.The Room (การันตร์ วงศ์ปราการสันติ, 2015, A+25)

ชอบมากที่หนังเรื่องนี้หยิบเอาปัญหาเล็กๆขึ้นมาและทำให้มันเป็นเรื่องที่รุนแรงได้ คือปัญหามันเริ่มต้นจากเรื่องที่ดูเหมือนขี้ปะติ๋วมากๆ คือเรื่องจะวางทีวีไว้ตรงไหนในห้องนอน แต่มันก็ลุกลามไปกลายเป็นอะไรที่รุนแรงในที่สุด

มันทำให้เรานึกถึงธรรมชาติของอารมณ์โกรธ โทสะ ความขุ่นแค้น ขัดเคืองไม่พอใจของมนุษย์น่ะ ซึ่งหลายๆครั้งมันเป็นแบบนี้ มันเริ่มจากอะไรเล็กๆน้อยๆ แต่ถ้าหากเราไม่รีบดับอารมณ์โกรธในใจเรา มันก็จะไปสะกิดเอาความขุ่นหมองบางอย่างในใจที่หมักหมมไว้นานแล้ว และกลายเป็นระเบิดทางอารมณ์ขึ้นมาได้

9.The Cycle of Pim (บวรลักษณ์ สมรูป, 2016, A+20)

ชอบที่หนังสะท้อน อคติต่างๆในใจคนออกมาได้ดี

10.คำหวาน | Turn around Day (อภิสิทธิ์ ว่องไวตระการ, 2015, A+20)

11.Time เวลาที่หายไป (อนวรรษ พรมแจ้, 2015, A+15)

12.ก้อนหินหลังบ้าน | The Richness Stone (สุกฤษฎิ์ วัฒนาพงษากุล, 2016, A+15)

13.The Hustle Filmmaker (กันตพล ดวงดี, 2015, A+15)

14.The Radio (ณัฏฐ์ธร กังวาลไกล, 2016, A+15)

15.The World May Never Know (โตคิณ ทีฆานันท์, 2015, A+10)

16.The Forward Letters จดหมายลูกโซ่ (ณิชากร พิพัฒน์ผดุงศิลป์, 2015, A+10)

17.They Gave Me the Fish Eyes (ณัฐพล เนตรณรงค์, 2016, A+5)

18.Truth…ที่จริงกว่า (ณัฐพล กลิ่นอุบล, 2016, A+)

19.The Leader ช้างหนี ชะนีล้ม (Kanyawee Onsalung, 2015, A)
จริงๆแล้วมันอาจจะเป็นหนังที่ดีมากก็ได้นะ แต่เราดูแล้วตีความมันไม่ออกน่ะ ก็เลยงงๆ

20.The Way ทางเลือก (สิรภพ ขันธศักดิ์, 2016, A)

21.Throw (กิตติธัช แซ่อุ่ย, 2016, A)

22.Trash จิต(กึ่ง)สำนึก (กุลธิดา ประจำที่, 2016, A)

23.The Orbit..เพราะเธอคือคนที่ใช่ (พาทิศ หริจันทนะวงศ์, 2016, A)

24.The Illusion (ทัศน์พล เดชวัฒนสิริกุล, 2015, A-)

25.The Hope (รพีศิลป์ รัตนบ้านกรวย, 2016, A-)

Tuesday, August 23, 2016

INSURGENCY BY A TAPIR (2016, Wachara Kanha, Ratchapoom Boonbunchachoke, Chaloemkiat Saeyong, Chulayarnnon Siriphol, A+30)

INSURGENCY BY A TAPIR (2016, Wachara Kanha, Ratchapoom Boonbunchachoke, Chaloemkiat Saeyong, Chulayarnnon Siriphol, A+30)
ความเศร้าของภูตผี

1.จริงๆแล้วก็ชอบหนังเรื่องนี้มากนะ แต่ปรากฏว่าชอบน้อยกว่าหนังเดี่ยวๆของผู้กำกับแต่ละคนน่ะ และอาจจะน้อยกว่าหนังไทยบางเรื่องของ Viriyaporn Boonprasert เหมือนเราคาดหวังกับหนังไว้ผิดแนวทางด้วยแหละ คือก่อนหน้านี้เรานึกว่า เมื่อผู้กำกับเฮี้ยนๆ 4 คนมารวมตัวกัน เราจะได้หนังที่เฮี้ยนยกกำลัง 4 แต่ปรากฏว่ามันกลับไม่เฮี้ยนเท่ากับที่เราคาดไว้ มันเหมือนกับว่าผู้กำกับแต่ละคนต้องลดทอนความสุดโต่งของตนเองลงมา เพื่อจะได้ประสานเข้าด้วยกันกับคนอื่นๆได้อย่างลงตัว ซึ่งอาจจะเป็นวิธีการที่ถูกต้องแล้ว เพราะมันก็ทำให้ได้หนังที่น่าพอใจมากๆออกมาเรื่องหนึ่ง เพียงแต่ว่ามันผิดไปจากที่เราคาดหวังไว้เท่านั้นเอง

คือก่อนหน้านี้เราคาดหวังว่า เราจะได้เห็นหนังที่เฮี้ยนเท่ากับ DANGER (DIRECTOR CUT) (2007, Chulayarnnon Siriphol) คูณกับ BODILY FLUID IS SO REVOLUTIONARY (2009, Ratchapoom Boonbunchachoke) คูณกับ POLITICALLY LAWYER AND NARRATIVE CINEMA (2009, Chaloemkiat Saeyong) คูณกับ FUENG (2010, Wachara Kanha + Teeranit Siangsanoh + Tani Thitiprawat) และผลลัพธ์ที่ออกมา น่าจะได้หนังที่เฮี้ยนในระดับที่มากกว่าหรือเท่ากับหนังไทยอย่าง HUNGARY MAN BOO (2012, Viriyaporn Boonprasert) แต่ปรากฏว่าพอได้ดูแล้ว เราชอบ HUNGARY MAN BOO มากกว่า INSURGENCY BY A TAPIR มันเหมือนกับว่า HUNGARY MAN BOO มันเข้าทางเรามากกว่าน่ะ หรือมันเฮี้ยนกว่า

แต่การที่ INSURGENCY BY A TAPIR ไม่เฮี้ยนมากเท่ากับที่เราคาดหวังไว้ มันก็เป็นสิ่งที่เข้าใจได้ และไม่ใช่ความผิดแต่อย่างใดนะ เรารู้สึกเหมือนกับว่า มันเหมือนการทำลิสท์ที่รวมคะแนนจากนักวิจารณ์หนังหลายๆคนน่ะ ซึ่งมันจะไม่น่าตื่นเต้นมากเท่ากับลิสท์ของนักวิจารณ์หนังแบบแยกแต่ละคนไป อย่างเช่น ลิสท์หนังประจำปีของนิตยสารFilm Comment ที่รวมคะแนนจากนักวิจารณ์ 100 คน มันจะไม่น่าสนใจเท่ากับลิสท์หนังประจำปีของ Olaf Moller หรือ Nicole Brenez แบบแยกเดี่ยวๆ เพราะพอรวมคะแนนของหลายๆคนเข้ามาไว้ด้วยกัน หนังที่สุดขั้วจริงๆ หรือกู่ไม่กลับจริงๆ มันอาจจะหลุดออกไปจากลิสท์แบบรวมหลายคน

INSURGENCY BY A TAPIR ก็ทำให้เรารู้สึกคล้ายๆกัน มันเหมือนกับหนังที่ตัดทอนความสุดโต่งของผู้กำกับบางคนทิ้งไปแล้ว คือเราก็ชอบหนังเรื่องนี้สุดๆน่ะแหละ แต่เราแอบรู้สึกไปเองว่า ในหนังเรื่องนี้นั้น Ratchapoom ได้ใช้ศักยภาพของตนเอง 100%, Wachara ได้ปลดปล่อยความเฮี้ยนของตนเองออกมาราว 80%, Chulayarnnon ปลดปล่อยความเฮี้ยนของตนเองออกมาเพียง 25 % และ Chaloemkiat ปลดปล่อยความเฮี้ยนของตนเองออกมาเพียง 25 % เท่านั้น

แต่ก็ขอย้ำอีกครั้งว่า การที่หนังเรื่องนี้ ผิดไปจากที่เราคาดหวังไว้ก่อนได้ดูไม่ใช่ความผิดหรือข้อเสีย ข้อด้อยของหนังนะ มันแค่ผิดไปจากที่เราคาดหวังไว้ และการที่มันผิดไปจากที่เราคาดหวังไว้ มันอาจจะเป็นสิ่งที่ดีและถูกต้องแล้วก็ได้

คือเหมือนกับว่า เราคาดหวังไว้ก่อนได้ดูว่า ผู้กำกับทั้ง 4 คนนี้จะปลดปล่อยพลังความเฮี้ยนของตนเองออกมา 100% เต็มทุกคน แต่ถ้าหากผู้กำกับทั้ง 4 คนนี้ทำแบบนั้นจริงๆ มันอาจจะกลายเป็นออกมาแย่ก็ได้ มันอาจจะเหมือนกับการนำสารเคมี 4 สารมาผสมเข้าด้วยกันในสัดส่วนเท่าๆกัน สารละ 100 กรัมเท่าๆกัน เพราะคาดหวังว่าเราจะได้ น้ำอมฤตแต่พอผสมเข้าด้วยกันจริงๆ สิ่งที่ได้ออกมาอาจจะกลายเป็น น้ำยาล้างตีนอะไรทำนองนี้ แต่ถ้าหากเราปรับสัดส่วนสารเคมี 4 สารนี้ใหม่ บางสารมาก บางสารน้อย บางสาร 25 กรัม บางสาร 80 กรัม แล้วผสมเข้าด้วยกัน ผลลัพธ์ที่ได้มันอาจจะเป็น ยาพิษไส้ขาดซึ่งก็เป็นสิ่งที่น่าพอใจมากๆแล้ว

2.ปรากฏว่าส่วนที่เราชอบที่สุดในหนังเรื่องนี้ หรือกระทบอารมณ์เรามากที่สุดในหนังเรื่องนี้ กลับเป็นส่วนของ Chaloemkiat ที่ใส่ภาพ insert วิวทิวทัศน์ต่างๆเข้ามา แล้วมี text ขึ้นมาว่า มันเป็นยูเครน, โรมาเนีย, จันทบุรี, บัวโนสไอเรส ฯลฯ ทั้งที่จริงๆแล้ว มันอาจจะถ่ายที่ปู่เจ้าสมิงพรายก็ได้

คือเราชอบอะไรแบบนี้มากที่สุดน่ะ เราชอบการมองภาพหญ้าคาที่ปู่เจ้าสมิงพราย แต่มี text ขึ้นมาว่า นี่คือบัวโนสไอเรส มันเหมือนกับหนังกระตุ้นให้เราใช้จินตนาการของตัวเองด้วยอย่างสนุกสนานในขณะที่ดู และเราก็ get pleasure อย่างรุนแรงจากอะไรแบบนี้ นี่คืออะไรที่ สนุกสุดขีดสำหรับเรา

ซึ่งรสชาติความสนุกสุดขีดแบบนี่ มันเป็นสิ่งที่เราเคยได้มาแล้วจากหนังอย่าง THE LIVING WORLD (2003, Eugène Green) ที่ตัวละครชี้ไปที่หมา แล้วบอกว่านี่คือสิงโต และหลังจากนั้นทุกคนก็ทำเหมือนกับว่าหมาตัวนั้นเป็นสิงโต และเราคนดูก็มองภาพหมา แต่แปรค่ามันเป็นสิงโตในหัวสมองของเราตามไปด้วย และมันก็เป็นรสชาติที่เราเคยได้มาแล้วจากหนังเรื่อง POLITICALLY LAWYER AND NARRATIVE CINEMA ของ Chaloemkiat ที่ถ่ายภาพห้องเรียน แต่มี text ขึ้นมาว่า จงจินตนาการว่านี่คือสนามบิน

บางที การที่รสนิยมของเรา มันจูนติดกับส่วนของเฉลิมเกียรติมากที่สุด อาจจะเป็นสาเหตุสำคัญเลยแหละที่ทำให้เรารู้สึกว่า INSURGENCY BY A TAPIR มันผิดไปจากที่เราคาดหวังไว้ก่อนได้ดู เพราะก่อนที่เราจะได้ดูหนังเรื่องนี้ เราโหยหาอะไรแบบ POLITICALLY LAWYER AND NARRATIVE CINEMA อย่างรุนแรงมากๆ แต่พอได้ดูหนังเรื่องนี้เข้าจริงๆ เรากลับพบว่า มันมีความเป็นเฉลิมเกียรติน้อยกว่าที่เราคาดหวังไว้

3.จริงๆแล้วก็ชอบโครงสร้างการเล่าเรื่องของหนังเรื่องนี้นะ ที่มันเหมือนมีเรื่องราวย่อยๆอยู่ในเรื่องราวใหญ่ๆ เราชอบหนังที่เล่าหลายเรื่องในเรื่องเดียวกันน่ะ ซึ่งตัวอย่างของหนังกลุ่มนี้ที่ดีที่สุดก็คือ ARABIAN NIGHTS (2015, Miguel Gomes)

เรามองว่าหนังเรื่องนี้มันเหมือนมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่กองเซ็นเซอร์ โดยกองเซ็นเซอร์ได้ดูหนังสองเรื่อง หนึ่งคือหนังเรื่องสาวความจำเสื่อม หรือสาวสมองผิดปกติอะไรสักอย่าง (Nualpanod) แต่พอกองเซ็นเซอร์แบนหนังเรื่องสาวความจำเสื่อม ชีวิตของผู้กำกับหนังเรื่องนั้น (วชร กัณหา) ก็เลยชิบหาย และต้องเดินทางร่อนเร่ไปเรื่อยๆ ส่วนหนังเรื่องที่สองที่กองเซ็นเซอร์ใจหมาได้ดู คือหนังโรแมนติกคอมเมดี้ที่ต่ำตมมากๆ แต่กองเซ็นเซอร์ชื่นชมมากๆ และต่อมาปรากฏว่าตัวละครในหนัง romantic comedy เรื่องนั้น ได้ก้าวเข้ามาซ้อนทับกับชีวิตจริงของหนึ่งในสมาชิกกองเซ็นเซอร์ในเวลาต่อมา

เราชอบการมีเรื่องราวยิบย่อยอะไรแบบนี้ภายในหนังเรื่องเดียวกันมากๆ และถึงแม้ว่า INSURGENCY BY A TAPIR ยังไม่ได้ผลักโครงสร้างการเล่าเรื่องแบบนี้ไปจนสุดทาง เหมือนอย่าง ARABIAN NIGHTS และ THE BURIED FOREST (2005, Kohei Oguri) แต่มันก็น่าพอใจมากแล้ว โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาจากความจริงที่ว่า แทบไม่มีหนังยาวของไทยเรื่องไหนที่ใช้โครงสร้างการเล่าเรื่องแบบนี้

การเล่าเรื่องที่มีการซ้อนเหลื่อมกัน ทับกันไปมาแบบนี้ ทำให้เรารู้สึกว่า หนังเรื่องนี้สามารถปะทะกับหนังของ John Torres ที่มีโครงสร้างที่พิศวงในระดับที่เท่าเทียมกับหนังเรื่องนี้ได้ด้วย

4.การตัดต่อในส่วนของ Ratchapoom เป็นอะไรที่หนักมาก เราว่าสิ่งที่น่าสนใจในหนังของอุ้ยก็คือมันมีอะไรที่เกินจริง แต่คนดูยังดูรู้เรื่อง ตามเรื่องได้ อย่างเช่นการที่ตัวละครในกองเซ็นเซอร์เปลี่ยนทรงผมและการแต่งหน้าไปเรื่อยๆในทุกคัทที่ตัดภาพไปนั้น มันเป็นอะไรที่เกินจริง, มันเป็นการใช้ประโยชน์จากความเป็นหนัง และ fictional world ได้อย่างเต็มที่ แต่ในขณะเดียวกัน มันก็เป็นมิตรต่อผู้ชมส่วนใหญ่ด้วย มันสร้างความสนุกสนานให้ผู้ชมส่วนใหญ่ และผู้ชมส่วนใหญ่ยังตามเนื้อเรื่องได้ทันในระดับนึง

แต่เราไม่ได้จะบอกว่า คนที่ทำแตกต่างไปจากนี้คือทำผิดนะ เราแค่จะบอกว่า นี่เป็นเสน่ห์เฉพาะตัวในหนังของ Ratchapoom ที่มีความแปลกประหลาดพิสดาร แต่ยังคงเป็นมิตรกับผู้ชมจำนวนมาก คือมันเป็นเสน่ห์ที่อาจจะพบได้ในหนังของ Ulrike Ottinger แต่พบไม่ได้ในหนังของ Jean-Luc Godard น่ะ คือ Ottinger ทำหนังที่พิสดารมาก แต่ก็ตลกขบขันมากๆในขณะเดียวกัน ในขณะที่ Godard ทำหนังที่พิสดารมาก แต่ดูแล้วงง ตามเรื่องไม่ทัน และมันไม่ใช่ว่า Ottinger ถูก แต่ Godard ผิด เราแค่จะบอกว่า ความพิสดารในหนังของ Ratchapoom มันมีเสน่ห์เฉพาะตัวแบบนี้เท่านั้นเอง

5.ดีใจที่หนังเรื่องนี้ใช้ประโยชน์จากนักแสดงละครเวทีมีฝีมือได้ดีมากด้วย เพราะจริงๆแล้วเมืองไทยมีนักแสดงที่มีฝีมือมากๆอยู่หลายคน แต่พวกเขาอยู่ในวงการละครเวที ไม่ได้อยู่ในวงการภาพยนตร์ หรือพอนักแสดงละครเวทีไปเล่นหนัง หนังหลายเรื่องก็แทบไม่ได้ใช้ประโยชน์จากศักยภาพของนักแสดงละครเวทีมากเท่าที่ควร เราก็เลยดีใจที่ได้เห็นนักแสดงละครเวทีในหนังเรื่องนี้

การได้เห็น Farida Jiraphan กับปริยา วงษ์ระเบียบปะทะกันในหนังเรื่องนี้ ก็เป็นอะไรที่ nostalgia ดีด้วยสำหรับเรา เพราะถ้าเราจำไม่ผิด ฟารีดากับปริยาเคยปะทะกันมาแล้วในหนังเรื่อง จิ๋ม” (2005, ทศพร มงคล) ซึ่งเป็นหนังสั้นไทยที่เราชอบมากที่สุดในปี 2005 และหลังจากนั้นทั้งสองคนนี้ก็ไม่เคยได้เล่นหนังเรื่องเดียวกันอีกเลย (ถ้าเราเข้าใจไม่ผิด) จนกระทั่งเวลาผ่านไป 11 ปี สองคนนี้ถึงได้โคจรกลับมาเจอกันบนจอภาพยนตร์อีกครั้ง

ชอบบทของคุณทรายมากๆเลยด้วย ดูแล้วนึกว่าเธอคือนางพญา เธอต้องใช้ ออร่าอย่างมากๆในบทนี้ และบทแบบนี้มันทำให้นึกถึง Delphine Seyrig ในหนังยุโรปบางเรื่องน่ะ คือเราชอบ Delphine Seyrig มากๆ และเราว่าเสน่ห์ของ Delphine ไม่ใช่ว่า เธอแสดงได้อย่างสมจริง เป็นมนุษย์ เป็นเมอรีล สตรีพอะไรแบบนั้น เราว่าเสน่ห์ของ Delphine คือการที่เธอสามารถ เปล่งรัศมีของความ surreal ออกมาจากตัวซึ่งมันเป็นอะไรที่อธิบายไม่ได้ว่าจริงๆแล้วมันคืออะไรกันแน่ หรือมันทำได้ยังไง แต่ Delphine ทำแบบนั้นได้ และ Tilda Swinton ก็ทำแบบนั้นได้ และพอมาเห็นบทของคุณทรายในหนังเรื่องนี้ เราก็เลยชอบมาก เพราะมันไม่ใช่บทที่ต้องอาศัยการแสดงแบบสมจริง แต่มันเป็นบทที่ต้องอาศัย การเปล่งรัศมีของความ surreal ออกมาจากตัวแบบที่เรามักพบในหนังของ Delphine Seyrig

6.ส่วนของวชรเราก็ชอบมากเช่นกัน เราชอบที่ในส่วนนี้เราแทบไม่เห็นตัวละครปริปากพูดอะไรเลย เสียงพูดมาจาก voiceover เป็นหลัก เราว่าเทคนิคนี้มันทำให้นึกถึง INDIA SONG (1975, Marguerite Duras) ซึ่งเป็นเทคนิคที่เราชอบมาก แต่แทบไม่เคยเห็นหนังไทยนำเทคนิคนี้มาใช้

เราว่าเทคนิคนี้มันช่วยเรื่องการถ่ายทำได้ดีมากด้วย เพราะนักแสดงไม่ต้องกังวลเรื่องการพูดผิดพูดถูกขณะแสดง และไม่ต้องกังวลเรื่องการบันทึกเสียง และมันเข้ากับหนังเรื่องนี้มากๆด้วย เพราะเสียง voiceover นี้มันทำให้ผู้ชมสงสัยใน authority ของเสียง voiceover ตลอดเวลาว่า สิ่งที่เราได้ยินคืออะไร มันเป็นความจริงไหม มันเป็นเสียงหมอหรือเสียงคนไข้ มันมาจากมิติไหน มึงพูดกับใคร ฯลฯ การใช้เสียง voiceover นี้มันช่วยเพิ่ม layer ของมิติพิศวงให้กับหนังได้ดีมากๆ

7.ชอบดนตรีประกอบในหนังมากๆ พอได้ฟังดนตรีประกอบในหนังเรื่องนี้แล้ว มันทำให้นึกถึงสิ่งที่คุณ Graiwoot Chulphongsathorn เคยพูดไว้หลังดูหนังเรื่อง HOW TO DISAPPEAR COMPLETELY (2013, Raya Martin) ว่า ดนตรีประกอบเป็นสิ่งที่สำคัญมากในหนังทดลองแบบนี้ เพราะหนังทดลองแบบนี้มันไม่เล่าเรื่องเป็นเส้นตรง linear, chronologically อะไรทำนองนี้ หนังทดลองหลายเรื่องมันเล่าเรื่องที่กระจัดกระจาย หรือปะติดปะต่อเรื่องได้ยาก และดนตรีประกอบ+sound effect นี่แหละที่จะช่วยหลอมรวม fragments ต่างๆในหนังทดลองเรื่องนั้นเข้าด้วยกันได้

และเราก็รู้สึกว่าดนตรีประกอบมันช่วยทำหน้าที่นี้ได้ดีมากใน INSURGENCY BY A TAPIR ด้วยเช่นกัน เพราะหนังเรื่องนี้มันมีความกระจัดกระจายสูง แต่เสียงประกอบมันช่วยเชื่อมอารมณ์ระหว่างซีนต่างๆเข้าด้วยกันได้ในระดับนึง

8.ชอบการเลือกช่วงท้ายของหนังมากๆ ที่กลับไปเล่าเรื่องของผู้กำกับที่ระเหเร่ร่อน

คือตอนที่เราดูมาถึงฉาก พระไตรปิฎกน่ะ เราเสียวมากๆว่าหนังจะจบยังไง เพราะถ้าหากหนังเลือกจบไม่ดี เราจะรู้สึกว่าหนังเรื่องนี้มันจะค้างคาทางอารมณ์มากๆ มันจะทำให้เรารู้สึกว่าตัวหนังขาดพร่องมากๆ

คือตอนที่เราดูมาถึงฉากพระไตรปิฎก เรารู้สึกได้ว่า หนังมันใกล้จบแล้ว แต่อารมณ์เรายังไม่ fulfill อย่างที่คาดหวังไว้เลย เพราะเราได้เห็นเพียงแค่วชรกับ Ratchapoom ปลดปล่อยศักยภาพของตัวเองออกมาอย่างเต็มที่ แต่ยังไม่เห็น Chulayarnnon กับ Chaloemkiat ปลดปล่อยศักยภาพของตนเองออกมาอย่างเต็มที่

คือในตอนนั้น เราแอบจินตนาการว่า จริงๆแล้วเราอยากให้กองเซ็นเซอร์ในหนังเรื่องนี้ดูหนัง 4 เรื่องไปเลยน่ะ คือหลังจากกองเซ็นเซอร์ดูหนังเรื่องสาวประสาทเสื่อม กับหนังโรแมนติกคอมเมดี้ต่ำตมไปแล้ว กองเซ็นเซอร์ในหนังเรื่องนี้ก็ควรได้ดูหนังเฮี้ยนๆอีกสองเรื่องที่กำกับโดย Chulayarnnon กับ Chaloemkiat ด้วย มันถึงจะทำให้หนังเรื่องนี้ fulfill ทางอารมณ์สำหรับเรา

เพราะฉะนั้นพอมาถึงฉากพระไตรปิฎก เราก็เลยสงสัยมากๆว่า หนังเรื่องนี้จะหาทางลงทางอารมณ์ได้ยังไง เพราะเรารู้สึกว่า อารมณ์มันยังค้างเติ่งอยู่เลย เรารู้สึก fulfill ไปแค่ครึ่งเดียวของที่คาดหวังไว้เท่านั้น

แต่ปรากฏว่า พอหนังกลับมาเล่าเรื่องของผู้กำกับที่ระเหเร่ร่อนอีกครั้ง เราว่าอะไรบางอย่างในช่วงท้ายๆของหนังเรื่องนี้ มันหาทางลงทางอารมณ์ได้ในระดับที่น่าพอใจสำหรับเราน่ะ เราก็เลยรู้สึกว่า มันเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องมากๆที่หนังกลับมาปิดท้ายด้วยอะไรแบบนี้ อารมณ์ที่ค้างๆคาๆ รู้สึกไม่เสร็จสมอารมณ์หมาย ก็ได้รับการคลี่คลายไปในทางที่น่าพอใจได้ในที่สุด

Films I saw on Tuesday, 23 August, 2016

Films I saw on Tuesday, 23 August, 2016

Thai films
RED WISH (2016, Nath Kayanngan, A+20)
ดูแล้วนึกถึง SCARLET DESIRE (2001, Anucha Boonyawatana) และหนังยุคแรกๆของ Napat Treepalavisetkul ในแง่การนำเสนอตัวละครกะเทยฆาตกรได้อย่างฮิสทีเรียมากๆเหมือนกัน จริงๆแล้วชอบช่วงแรกของหนังในระดับ A+30 นะ เพราะเราชอบการจับเด็กวัดมาเป็นผัว และพฤติกรรมการเอากับผู้ชายในห้องน้ำ เพราะเราว่ามันเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเราดี แต่พอหนังเปลี่ยนโทนมาเป็นเรื่องของฆาตกรโรคจิต เราก็เริ่มถอยห่างจากหนัง แต่ยังดีที่หนังถ่ายทำส่วนนี้ได้อย่างตั้งอกตั้งใจ คือช่วงครึ่งหลังของเรื่อง เราประทับใจกับการถ่ายทำ มากกว่าตัวเนื้อเรื่องน่ะ ระดับความชอบของเราก็เลยลดลงไปบ้าง

Portuguese films
1.I’D RATHER NOT SAY (2015, Pedro Augusto Almeida, A+30)
ชอบสุดๆ ติดอันดับประจำปีแน่นอน

2.THAT’S HOW IT WAS (2015, Patricia Rodrigues, Joana Nogueira, animation, A+30)

3.ISA (2014, Patricia Vidal Delgado, A+30)

4.THE CARNATIONS AND THE ROCK (2015, Luísa Sequeira, documentary, A+25)

5.#LINGO (2015, Vicento Nirö, animation, A+25)

6.FERAL (2012, Daniel Sousa, animation, A+15)

7.LAW OF GRAVITY (2014, Tiago Rosa-Rosso, A+15)

8.THE ROBBERY (2015, João Tempera, A+15)

9.MY RIVER (2016, Ricardo Teixeira, A+10)

10.GOD WILL PROVIDE (2015, Luis Porto, A+10)


อันนี้เป็นรูปของ Vicento Nirö ผู้กำกับหนังเรื่อง #LINGO

Monday, August 22, 2016

่๋JIT'S WISH LIST

ขอบพระคุณมูลนิธิหนังไทยมากๆที่จัดงานฉายหนังในโปรแกรม JIT’S WISH LIST มันคือ ฝันที่เป็นจริงสำหรับผมมากๆครับที่ได้ดูหนังในโปรแกรมเหล่านี้อีกครั้ง เพราะมันเป็นหนังที่ผมชอบสุดๆเมื่อได้ดูเมื่อ 15-20 ปีก่อน แต่ไม่มีโอกาสได้ดูหนังเหล่านี้อีกเลย และไม่รู้ว่าจะหาดูได้อย่างไรอีกด้วย เพราะผมไม่รู้จักผู้กำกับหนัง 7 เรื่องนี้เป็นการส่วนตัว ยกเว้นคุณมานัสศักดิ์ ดอกไม้ แต่คุณมานัสศักดิ์ก็ไม่มีหนังเรื่อง “มารเกาะกุมนครหลวงเก็บไว้กับตัวเอง (ถ้าผมเข้าใจไม่ผิด) เพราะฉะนั้นหนัง 7 เรื่องนี้ก็เลยเป็นอะไรที่ฝังใจผมมาตลอดในช่วง 15-20 ปีที่ผ่านมา เพราะมันเป็นหนังที่เราอยากดูอีกรอบ แต่ไม่มีโอกาสได้ดู และมันก็เป็นหนังที่แทบไม่มีคนพูดถึงเลยด้วย 

ขอบพระคุณผู้ชมทุกท่านมากๆครับที่มาดูหนังในโปรแกรม JIT’S WISH LIST ในวันอาทิตย์ ถ้าหากท่านเกลียดหนังเรื่องไหน ก็เขียนถึงได้ตามสบายนะครับ เพราะผมไม่ใช่ผู้กำกับหนังเรื่องนั้น 555 และผมคัดเลือกหนังตาม รสนิยมส่วนตัวของตัวเองอยู่แล้ว ซึ่งย่อมไม่ตรงกับคนอื่นๆ อย่างแน่นอน ผมไม่ได้ยึด มาตรฐานสากลใดๆทั้งสิ้นในการคัดเลือกหนังในโปรแกรม เพราะผมไม่ได้ไปดูหนังแต่ละเรื่องเพื่อดูว่า หนังเรื่องนั้นผ่านมาตรฐานสากลทางศิลปะภาพยนตร์หรือไมผมไปดูหนังเพื่อดูว่าหนังเรื่องนั้นจะให้ความสุขแก่ผมได้หรือไม่ เพราะฉะนั้นพอผมต้องเลือกหนังในโปรแกรม ผมก็คัดเลือกตามเกณฑ์นี้ด้วยเช่นกัน นั่นก็คือว่า มันเป็นหนังที่ให้ความสุขสุดๆกับผมเป็นการส่วนตัว ส่วนเรื่องที่ว่ามันจะผ่านมาตรฐานสากลทางศิลปะภาพยนตร์หรือมาตรฐานใดๆหรือไม่นั้น ผมไม่เคยแคร์ เพราะผมไม่ได้มีชีวิตอยู่เพื่อดู หนังที่ผ่านมาตรฐานสากลผมมีชีวิตอยู่เพื่อดู หนังที่ให้ความสุขแก่ผม” 555

พอได้ดูหนังในโปรแกรมนี้ ก็เลยทำให้รู้สึกว่า จริงๆแล้วรสนิยมของตัวเองอาจจะเปลี่ยนแปลงไปน้อยมากในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา แต่ หนังที่ตอบสนองรสนิยมของตัวผมเองมีเพิ่มขึ้นเยอะ เพราะพอดู SIAM SQUARE (1998, Chararai Sutthibutr) แล้วก็พบว่า มันมีความคล้ายคลึงกับหนังของคุณ Teeranit Siangsanoh มากๆ (ถ้าตัดพฤติกรรมของตัวละครในตอนจบของ SIAM SQUARE ออกไป) เพราะฉะนั้นหนังอย่าง SIAM SQUARE ที่เคยเป็นสิ่งที่หายากมากๆในวงการหนังไทยในช่วงปลายทศวรรษ 1990 ก็ไม่ใช่ของที่หายากแล้วในยุคปัจจุบัน ความกระหายอยากหนังประเภทนี้ของผมที่แทบไม่เคยได้รับกาsatisfied เมื่อ 20 ปีก่อน ก็ได้รับการตอบสนองแล้วในยุคปัจจุบันด้วยหนังหลายสิบเรื่องของคุณ Teeranit Siangsanoh และ The Underground Office

ส่วนหนังเรื่อง มหานคร: สังหารหมู่” (2001, Montree Saelo) ก็ทำให้ผมรู้สึกคล้ายๆกัน ผมชอบมากที่หนังเรื่องนี้ถ่ายทอดความสุขของการไปเที่ยวกับเพื่อนๆ ออกมาอย่างซื่อตรง โดยไม่ต้องสร้าง conflict ไม่ต้องสร้างเนื้อเรื่องอะไรให้มันวุ่นวายโดยไม่จำเป็น ซึ่งหนังแบบนี้ก็เคยเป็นสิ่งที่หายากมากๆในวงการหนังไทยเมื่อ 15 ปีก่อนเช่นกัน แต่หลังจากนั้นก็มีคนทำหนังแบบนี้ออกมาบ้างเป็นครั้งคราว อย่างเช่นเรื่อง วังยืนหาบ” (2008, Sompong Soda) ที่บันทึกภาพผู้ชายกลุ่มหนึ่งไปเที่ยวน้ำตก,ลำธารตลอดความยาวราว 30-40 นาทีของหนัง, หนังเรื่อง WALK TO PHUKET (2010, Tanaporn Sae-low) ที่บันทึกภาพชายหนุ่มสองคนไปเที่ยวภูเก็ต (ถ้าจำไม่ผิด), IN TRAIN (2011, Boripat Plaikaew, 83min) ที่บันทึกภาพการเดินทางของเกย์กลุ่มหนึ่ง และ TEN YEARS (2014, Chawagarn Amsomkid) ที่บันทึกภาพการไปเที่ยวต่างจังหวัดกับเพื่อนๆได้น่าเบื่อมาก แต่พอเจอ monologue ที่บ้าคลั่งมากในช่วง 20 นาทีสุดท้ายของหนัง เราก็ให้อภัยหนังเรื่องนี้ได้ในทันที

ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ก็มีผู้กำกับอย่างคุณ Theeraphat Ngathong และเพื่อนๆของเขา ที่ทำหนังแบบนี้ออกมาหลายเรื่องด้วย อย่างเช่นเรื่อง ALL OF US: PART 8 MEDICAL ENTRANCE EXAMS AT RATCHABURI (2014, Theeraphat Ngathong) และ MY PRANBURI CAMP (2012, Thossaporn Khamenkit) ที่บันทึกภาพการไปเที่ยวกับเพื่อนๆ ซึ่งเป็นหนังที่ผมชอบในระดับปานกลาง แต่หนังที่ผมชอบมากที่สุดในกลุ่มนี้ของคุณ Theeraphat คือเรื่อง เมื่อเราลอบผ่านปราการสวรรค์และถูกผู้พิทักษ์ไล่ล่า” (WHEN WE SNEAKED THROUGH THE HEAVEN FORTRESS AND WERE CHASED BY THE GUARDIAN) ที่บันทึกภาพความสุขขณะเล่นที่สระน้ำกับเพื่อนๆ

เพราะฉะนั้น พอผมได้ดู SIAM SQUARE กับ มหานคร:สังหารหมู่ ผมก็เลยตระหนักว่า จริงๆแล้วรสนิยมในการดูหนังของผมอาจจะเปลี่ยนแปลงไปน้อยมากในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปก็คือการที่เมืองไทยมีผู้กำกับหนังอย่าง Teeranit Siangsanoh และ Theeraphat Ngathong ถือกำเนิดขึ้นมา และทำให้หนังไทยกลุ่มที่เคยหายากเมื่อ 15-20 ปีก่อน ไม่ใช่หนังไทยกลุ่มที่หายากอีกต่อไป

ความรู้สึกอื่นๆที่มีต่อหนังในโปรแกรม JIT’S WISH LIST

1.SIAM SQUARE (1998, Chanarai Sutthibutr)

ในขณะที่ สไตล์หนังที่ผมชอบแทบไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปเลยในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา สิ่งที่เปลียนแปลงไปมากก็คือความรู้สึกที่มีต่อตอนจบของหนังเรื่องนี้ คือเมื่อ 18 ปีก่อน ผมไม่ได้รู้สึกตะขิดตะขวงใจอะไรกับตอนจบของหนัง แต่พอดูรอบนี้แล้วรู้สึกเหมือนกับว่ามันมีอะไรบางอย่างไม่ถูกต้องในตอนจบ ท่าทีที่ตัวละครในเรื่องทำกับคนจนในตอนจบ มันเป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้วหรือไม่ ความตะขิดตะขวงใจที่มีต่อตอนจบของหนังในการดูรอบนี้ บางทีมันแสดงให้เห็นว่าทัศนคติทางสังคมของเราเปลี่ยนแปลงไปมากในช่วง 18 ปีที่ผ่านมา

2.TOUGH RULE…COOL KIDS (1999, Sriwattana Wedreungvit)

จำได้ว่าตอนดูรอบแรกในปี 1999 เราฟินมากๆกับการเห็นตัวละครลุกขึ้นมาผัดกับข้าวในห้องสอบ และนั่งสมาธิใต้กลดในห้องสอบ เราก็เลยอยากดูมันอีกรอบมากๆ และพอได้ดูอีกรอบ เราก็รู้สึกฟินอีกครั้ง 

อีกสิ่งที่ดีมากๆในหนังเรื่องนี้ ก็คือการนำเสนอนิตยสาร HEAT MEN คือตอนที่ผมดูหนังเรื่องนี้ในปี 1999 นิตยสารนี้ถือเป็น ของธรรมดาแต่พอมาดูในยุคนี้ ซึ่งเป็นยุคที่นิตยสารนี้หายสาบสูญไปนานมากแล้ว หนังเรื่องนี้ก็เลยมีคุณค่าในการช่วยบันทึกสิ่งที่หายสาบสูญไปแล้วด้วย

สำหรับเราแล้ว หนังเรื่องนี้กับ เป็นเรื่อง 100%” และ HIGHWAY-SATOR ถือเป็นหนัง cult คือมันเป็นหนังบ้าๆบอๆที่อาจไม่มีคุณค่าทางศิลปะอะไร แต่ความบ้าๆบอๆของมันตอบสนองผู้ชมบางคนได้ดีมากๆ หรือทำให้ผู้ชมบางคน (อย่างน้อยก็เราหนึ่งคน) ที่คลั่งไคล้มันมากๆ

3.เป็นเรื่อง 100% (2000, ทวีลาภ แซ่อุ้ย)

ความ cult หรือความประสาทแดกของหนังเรื่องนี้ มีบางจุดที่ทำให้นึกถึงหนัง cult ในยุคนั้นของคุณกุลชาติ จิตขจรวานิช และหนัง cult ของกลุ่มยอดเซียนซักแห้ง แต่เราว่า เป็นเรื่อง 100%” เข้าทางเรามากกว่าหนังของคุณกุลชาติและกลุ่มยอดเซียนซักแห้งในแง่ที่ว่า มันมีตัวละครหญิงที่เข้าทางเรา หรือมันไม่ค่อย macho มากนัก และอารมณ์ขันของ เป็นเรื่อง 100% ตรงกับอารมณ์ขันของเรามากกว่า 

เรื่อง sense of humour นี่มันเป็นเรื่องเฉพาะตัวจริงๆ เพราะแต่ละคนจะหัวเราะกับสิ่งที่ไม่เหมือนกัน ผมเองโดยปกติแล้วก็ไม่ชอบหนังตลก เพราะหนังที่คนอื่นว่าตลกกัน หลายเรื่องมักไม่ทำให้ผมรู้สึกตลก และหนังที่ผมรู้สึกตลกมากๆ ก็อาจจะเป็นหนังที่หลายคนรังเกียจ

สาเหตุหลักที่ทำให้ผมรู้สึกอยากดู TROUBLE 100% อีกรอบอย่างมากๆ เพราะผมฝังใจกับฉาก อาชญากรสาวโดนตบด้วยตีนอย่างมากๆ คือฉาก การตบด้วยตีนนี่เป็นสิ่งที่ผมไม่เคยเห็นมาก่อนในหนังยุคนั้นน่ะ เพราะฉะนั้นพอผมได้ดูฉาก อาชญากรสาวโดนตบด้วยตีนในหนังเรื่องนี้ในปี 2000 มันก็เลยเป็นอะไรที่ฟินมากๆ ฝังใจมากๆ และทำให้อยากดูอีก

อีกจุดที่ทำให้ TROUBLE 100% เข้าทางผมมากๆ เพราะผมมักจะชอบหนังที่มีตัวละครประกอบอิทธิฤทธิ์สูงหลายๆตัว (แบบหนังของ Pedro Almodovar) และหนังเรื่องนี้ก็เข้าทางผมในจุดนี้ ทั้งตัวละคร หนุ่มที่เอากางเกงในมาปิดหน้า”, “ขอทานที่พูดกับกล้องและตีลังกาไปมาและที่สำคัญที่สุดคือตัวละคสาวกระโดดสะพานลอย

คือตัวละครสาวกระโดดสะพานลอยนี่คือตัวละครแบบที่ตรงกับจินตนาการของผมเลยน่ะ คือถ้าหากผมจะสร้างหนังสักเรื่อง ตัวละครแบบนี้นี่แหละที่จะมีชีวิตรอดอยู่ในหนังของผมได 

สิ่งที่ผมประทับใจในตัวละครสาวกระโดดสะพานลอย ก็คือ

3.1 เธอเลือกกระโดดจากสะพานลอย แทนที่จะยอมให้อาชญากรสาวมาขวางทางเธอ

3.2 เธอกระโดดจากสะพานลอย แต่เธอไม่ตาย

3.3 เธอไม่ตาย เพราะเธอกินเมนทอส

3.4 แต่เธอเป็นโรคบ้าผู้ชาย เธอมัวแต่มองชายหนุ่มในถนน จนหัวโขกเสา

3.5 เธอสื่อสารกับเพือนร่วมงาน/เจ้านาย เป็นตัวเลขฐานสอง 10110110111 อะไรประเภทนี้ แทนที่จะพูดเป็นภาษามนุษย์ (ถ้าเราเข้าใจไม่ผิดนะ)

แต่น่าเสียดาย ที่สำหรับเรานั้น TROUBLE 100% มันมาถึงจุดไคลแมกซ์ หรือมันมาพีคเอาช่วงกลางเรื่อง เมื่อตัวละครสาวกระโดดสะพานลอยปรากฏออกมาน่ะ แต่ครึ่งเรื่องหลัง หนังมันพยายามจะทำตัวมีสาระ มีธีม มีประเด็น ความสนุกของหนังก็เลยลดลงไปมาก

สาเหตุที่เราไม่ค่อยชอบครึ่งเรื่องหลังของ TROUBLE 100% มันเป็นเพราะรสนิยมส่วนตัวของเราด้วยแหละ เพราะเรามักจะพบว่า หนังหลายๆเรื่องที่เราดูนั้น เราไม่ชอบ ประเด็น”, “ธีม”, “สาระ”, “เนื้อเรื่องของมัน เรามักจะพบว่า เนื้อเรื่องและ ประเด็นของหนัง ขัดขวางความสุขที่เราควรจะได้รับจากหนังเรื่องนั้น แต่ถ้าหากหนังเรื่องนั้นปลดปล่อยตัวเองออกจาก เนื้อเรื่องและ ประเด็นและนำเสนอความเสียสติของตัวเองไปเรื่อยๆ มันอาจจะเข้าทางเรามากกว่า

แต่อันนี้เป็นเรื่องของรสนิยมส่วนตัวนะ แน่นอนว่าผู้ชมคนอื่นๆอาจจะชอบหนังที่ เนื้อเรื่องและ ประเด็นแต่สำหรับเราแล้ว หนังอย่าง TROUBLE 100% เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ทำให้เรารู้ตัวดีว่า เรามีความสุขกับความประสาทแดกของหนังมากๆ จน สาระหรือ ประเด็นของหนังมาทำลายความสุขนั้นไ

แต่ในอีกแง่หนึ่ง ผู้กำกับที่เราชื่นชอบสุดๆ ก็คือผู้กำกับที่สามารถนำเสนอ ประเด็นได้โดยไม่ไปลดทอนพลังความประสาทแดกของหนังนะ ซึ่งผู้กำกับที่ทำหนังที่ประสาทแดกมากๆ แต่ก็ดูเหมือนจะนำเสนอประเด็นได้ดีมากๆในขณะเดียวกัน ก็มีอย่างเช่น Christoph Schlingensief, Ulrike Ottinger, Pedro Almodovar หรือหนังอย่าง DAISIES (1966) ของ Vera Chytilova

พอเปรียบเทียบกับหนังเรื่องอื่นๆใน JIT’S WISH LIST แล้ว เราว่า TROUBLE 100% เป็นหนังที่ เล่าเรื่องมากที่สุดแล้วนะ แต่เราก็ชอบที่โครงสร้างการเล่าเรื่องของมันเป็นแนว THE PHANTOM OF LIBERTY (1974, Luis Buñuel) + LA RONDE (1950, Max Ophuls) ที่เล่าเรื่องของตัวละครที่ต่อเนื่องกันเป็นทอดๆ แทนที่จะใช้โครงสร้างการเล่าเรื่องแบบหนังทั่วไป

เราว่าตัวละครผู้ร้ายในหนังที่เป็นกะเทย+ทอม มันน่าสนใจดีด้วย ในแง่หนึ่งมัน politically uncorrect แต่ในอีกแง่หนึ่งมันก็ anti-stereotype หรือเปล่า เพราะปกติแล้วตัวละครนักเลงรีดไถเงินแบบนี้ มักจะเป็นชาย straight กุ๊ยๆ

4.WHEN KOSIT WENT TO DEATH (2001, Kosit Juntaratip)

ดีใจสุดๆที่หลายคนชอบหนังเรื่องนี้มากๆ เหมือนทุกฉาก, ทุกซีน, ทุกเฟรมภาพ มันออกแบบมาดีมากน่ะ

ฉากที่ชอบที่สุดในการดูรอบสอง ก็คือฉากที่โฆษิตพูดว่า โฆษิตตายแล้วครับแล้วแม่ก็ตอบว่า ดีแล้วแล้วก็เฉไฉไปคุยเรื่องอื่นๆแทน เรารู้สึกว่ามันเป็นอะไรที่หนักมาก คลาสสิคมาก ที่แม่ตอบแบบนี้

5.มหานคร:สังหารหมู่ (2001, Montree Saelo)

เปิดฉากมาตอนแรกนึกว่าจะเป็นหนังอนุรักษ์ความสะอาด ด่ากรุงเทพ ด่ารถติด ด่าประชากรแออัด ชนบทดีงาม บลา บลา บลา แต่ไปๆมาๆปรากฏว่าผิดคาด ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีแล้ว

เหมือนหนังหาจุดที่สมดุลได้ดี ระหว่าง การพยายามทำให้คนดูรู้จักตัวละครกับ การกีดกันคนดูออกจากตัวละคนะ เพราะเราว่าหนังกลุ่มที่บันทึก ช่วงเวลาอันน่าจดจำระหว่างเพื่อนๆโดยเฉพาะหนังที่กึ่งๆสารคดี กึ่งๆ home video แบบนี้ หลายเรื่องมักประสบปัญหาที่ ตัวละคร/subjects ในหนัง สนิทกันมากๆ คุยกันเรื่องส่วนตัวมากๆซึ่งคนดูหลายๆคนไม่รู้เรื่องส่วนตัวนั้นด้วย และพอตัวละครในหนังคุยกันแต่เรื่องที่เฉพาะกลุ่มมากๆ บางทีคนดูก็เลยรู้สึกเหมือนถูกกีดกันออกจากกลุ่มตัวละครไปเลย 

และเราว่า METROPOLIS: MASSACRE นี้ หาจุดที่สมดุลได้ดี คือหนังมันก็ไม่ได้พยายามทำให้เรารู้จักว่าใครเป็นใครเลยนะ หนังมันพาเรากระโจนเข้าไปอยู่กลางวงเพื่อนนั้นเลย เพื่อนๆแต่ละคนคุยกันอย่างสนิทสนมโดยไม่สนใจคนดูเลยว่าจะเข้าใจอะไรไหม แต่หนังมันนำเสนอการเล่นสนุกในป่าในแบบที่เรามีอารมณ์ร่วมไปด้วยได้ และหนังนำเสนอ ฉากคุยกันเรื่องกล้องซึ่งเป็นบทสนทนาที่ไม่กีดกันคนดูมากเกินไป เราก็เลยมองว่า หนังเรื่องนี้นำเสนอ moment แห่งความสุขระหว่างเพื่อนได้ดีมากๆสำหรับเรา มันเป็น moment ที่แสดงให้เห็นว่าเพื่อนๆกลุ่มนี้สนิทกันจริงๆ และ คนนอกอย่างเราก็เข้าไปสัมผัสกับมันได้ด้วย

6.มารเกาะกุมนครหลวง (2001, Manutsak Dokmai)

อย่าถามเราว่าชื่อหนังเรื่องนี้แปลว่าอะไร

อย่าถามเราว่าหนังเรื่องนี้เกี่ยวกับอะไร

อย่าถามเราว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างในหนังเรื่องนี้

เพราะเราก็ไม่รู้เหมือนกัน เรารู้แต่ว่าเรามีความสุขสุดๆที่ได้ดูอะไรแบบนี้ จบ

7.HIGHWAY-SATOR (2003, Suwit Maprajuab)

ตายแล้ว ทำไมเราจำผิดว่าหนังเรื่องนี้เกี่ยวกับรถตุ๊กๆ แต่ก็เอาเถอะนะ มันเป็นหนังความยาว 5 นาทีที่เราได้ดูเมื่อ 13 ปีก่อน ความทรงจำของเรามันก็คงต้องมีผิดพลาดบ้าง 555

เราเดาว่าสาเหตุที่ทำให้เราชอบหนังเรื่องนี้อย่างสุดๆ อาจจะเป็นเพราะว่า เราชอบหนังกลุ่มที่ ตัวละครทำอะไร nonsense สุดๆไปเรื่อยๆ แล้วก็ตายห่าไปเลยโดยที่หนังไม่ต้องสั่งสอนหรือให้สาระอะไรกับคนดูน่ะ ซึ่งหนังในกลุ่มนี้ก็มีเช่นเรื่อง

7.1 BLOW UP MY TOWN (1968, Chantal Akerman) ที่นางเอกเป็นเด็กสาววัยรุ่นที่ทำอะไรบ้าๆบอๆในห้องครัวไปเรื่อยๆ แล้วก็ฆ่าตัวตาย

7.2 TIME UP (2012, Jiraporn Saelee) ที่นางเอกเป็นเด็กสาววัยรุ่นที่แดกอาหารไปเรื่อยๆ แล้วก็ตายห่าไปเลย

7.3 CRADLE (2013, Tidathip Sanchart) ที่นางเอกเป็นเด็กสาววัยรุ่นที่ไกวเปลให้เพื่อนจนเพื่อนตายไปเลย

เราว่า HIGHWAY-SATOR ทำให้เรารู้สึกฟินคล้ายๆกับหนังกลุ่มข้างต้น ซึ่งก็ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไม แต่เวลาดูหนังกลุ่มนี้มันให้ความรู้สึก liberate อะไรบางอย่าง มันเป็นอารมณ์ขันแบบที่เข้าทางเราด้วยน่ะ 

อีกอย่างที่เราชอบมากๆใน HIGHWAY-SATOR คือ รถบุโรทั่งที่ใช้ในหนัง คือเราไม่รู้ว่ามันทำจากวัสดุอะไร เราสงสัยมากๆ มันดูเหมือนรถกระดาษมากๆ แต่มันก็เหมือนแล่นในถนนจริงๆ เราก็เลยงงๆว่าหนังเรื่องนี้ถ่ายทำยังไง และรถในหนังทำจากกระดาษหรือวัสดุอะไร

เราว่าเราชอบอะไรแบบนี้ด้วยแหละ นั่นก็คือ vehicles ที่ปรากฏในหนัง และทำให้คนดูรู้สึกตัวอยู่ตลอดเวลาว่า กำลังดูหนังเพราะรถบุโรทั่งใน HIGHWAY-SATOR มันเป็นรถที่แล่นไม่ได้ในความเป็นจริงอยู่แล้ว แต่ ภาพยนตร์ทำให้มันแล่นได้ เพราะนี่คือ fictional world ที่เรากำหนดให้อะไรก็เกิดขึ้นได้ และมันทำให้เรานึกถึงหนังอีกสองเรื่องที่เราชอบสุดๆด้วย ซึ่งก็คือ ฝัน-เรียม” (2006, ลัดดาวัลย์ สืบเพ็ง) ที่มีฉากตัวละครพายเรือบนบก คือคนในความเป็นจริงมันพายเรือบนบกไม่ได้อยู่แล้ว แต่พอตัวละครใน ฝัน-เรียมพายเรือบนบกอย่างเอาจริงเอาจัง เราก็พบว่ามันเป็น sense of humour ที่เข้าทางเราอย่างสุดๆ ส่วนหนังอีกเรื่องคือ THE GREAT LOVE (1969, Pierre Étaix) ที่ตัวละครเดินทางบนท้องถนนโดยใช้ เตียงเป็นยานพาหนะ