UN + UNE (2015, Claude Lelouch,
France, A+20) ดูแล้วอยากให้มีคนเขียนบทความเปรียบเทียบ
วิธีประกอบสร้างความโรแมนติก ในหนังของ Claude Lelouch, Wong Kar-wai และม.จ.ทิพยฉัตร ฉัตรชัย ว่ามันแตกต่างกันอย่างไรบ้าง
เราชอบบทสนทนากับฉากหลัง end credit ในหนังเรื่องนี้มาก
แต่ไม่อินกับความโรแมนติกของหนัง บางทีอาจเป็นเพราะตัวละครในหนังมันเป็นมนุษย์ท่มีข้อบกพร่องมากเกินไป จนเราไม่อยากได้เป็นสามี
MIDNIGHT UNIVERSITY (2016, Kritsada
Kaniwichaporn, Piyabutr Apisuk, Kanin Kulsumitrawong, A+15) เสียดายสุดๆที่มันทำเป็นหนังตลกเพื่อเอาใจตลาด
เพราะเราว่าองค์ประกอบในหนังมันเอื้อให้ทำเป็นหนังชีวิตดราม่าที่สามาถเข้าทางเรามากๆได้ ทั้งตัวละคร losers ต่างๆที่ต้องมารวมตัวกัน
และตัวละครนางเอกที่ดูเหมือนกลวงสุดๆในช่วงแรก แต่หนังก็ค่อยๆทำให้ตัวละครตัวนี้กลายเป็นมนุษย์มากขึ้นเรื่อยๆได้
ชอบความสัมพันธ์ระหว่างพระเอกกีบนางเอกในหนังเรื่องนี้อย่างสุดๆ
สรุปว่าถ้าหากตัดความตลกทิ้งไปจากหนังเรื่องนี้บ้าง
แล้วให้ความสำคัญกับความเป็นมนุษย์ของตัวละครมากขึ้น
รวมทั้งเน้นย้ำประเด็นเรื่องความเครียดของการเรียนในมหาลัยให้มากขึ้น
หนังเรื่องนี้ก็อาจกลายเป็นหนังที่เข้าทางเราสุดๆแบบหนังผีเรื่องต่างๆที่กำกับโดย monthon
Arayangkoon ไปแล้ว
I AM A HERO
(2015, Shinsuke Sato, Japan, A+25) สนุกดี
เพียงแต่รู้สึกว่ามันเป็นแฟนตาซีของ straight male ซึงไม่ใช่ความผิดของหนัง
เพียงแต่ว่ามันไม่มีตัวละครที่เราสามารถเข้าไป identify ด้วยได้อย่างเต็มที่
SAYONARA ITSUKA
(2010, John H. Lee, South Korea/Japan, A+15) ชอบครึ่งแรกของหนังมากในระดับ
A+30 รู้สึกว่าหนังนำเสนอความเงี่ยนของพระเอกกับนางเอกในช่วงครึ่งแรกได้ดีมาก
และฉากการพลัดพรากและพบพาที่สนามบินดอนเมืองก็ทำออกมาได้คลาสสิคมากๆ
แต่ช่วงครึ่งหลัง เมื่อหนังพยายามจะนำเสนอ "ความรัก" ของตัวละคร
เราว่าหนังยังถ่ายทอดออกมาได้ไม่ดีพอน่ะ เกรดของหนังเลยหล่นฮวบลงไปเรื่อยๆในช่วงครึ่งหลัง
SING STREET (2016, John Carney,
Ireland, A+30) หนังของ John Carney มักจะเป็นหนังที่เราชอบสุดๆในระดับA+30 แต่ไม่ติดอันดับประจำปีของเรา เพราะเราไม่ได้อินกับมันอย่างรุนแรงjเป็นการส่วนตัว
ไม่รู้เหมือนกันว่าเพราะอะไร ซึ่งแตกต่างจากหนังอย่าง GOD HELP THE GIRL (2014,
Stuart Murdoch) ที่เราอินอย่างรุนแรงสุดๆ ซึ่ง SING STREET นี่ก็เข้าข่ายเดียวกัน แต่ก็มีองค์ประกอบมากมายในหนังเรื่องนี้ที่เราชอบสุดๆ
โดยเฉพาะการพูดถึงวง Duran
Duran และ Spandau Ballet, ตัวละครนางเอกก็ใช้ได้,
การรำลึกถึงมิวสิควิดีโอยุคเก่าก็ดีมาก , ฉากคุณแม่นั่งรอแสงอาทิตย์ยามเย็นก็เจ็บปวดมาก
ชอบการถ่ายทะเลในช่วงท้ายด้วย ดูแล้วทำให้อยากกลับไปดูหนังแนววงดนตรีในยุคเก่าอีกครั้ง
โดยเฉพาะ LIGHT OF DAY (1987, Paul Schrader) ที่นำแสดงโดย Joan
Jett กับ Micharl J. Fox และTHE
COMMITMENTS (1991, Alan Parker)
DISHOOM (2016, Rohit Dhawan, India,
A+25) สนุกดี เป็นหนังสูตรสำเร็จ โง่ๆ ไร้สาระ และมีอะไรที่ cliche
และเดาง่ายเยอะมาก แต่ก็เหมือนกับหนังอินเดีย mainstream หลายๆเรื่อง ที่ถึงแม้มันจะสูตรสำเร็จมากๆ แต่เราก็ยังเพลิดเพลินกับมันมากๆอยู่ดี
No comments:
Post a Comment