RIP SHAJI N. KARUN (1952-2025)
เราเคยดูหนังที่เขากำกับแค่เรื่องเดียว
ซึ่งก็คือ VANAPRASTHAM (1999) ซี่งเราก็ชอบมากพอสมควร
เราได้ดูหนังเรื่องนี้เมื่อราว 20 กว่าปีก่อน ตอนนั้นเราได้ดูในรูปแบบวิดีโอเทปจากร้านอ๊อดที่จตุจักร
ถ้าหากเราจำไม่ผิด
YOU CAN CONTACT ME AT THE FACEBOOK OF "JIT PHOKAEW". MOST OF MY WRITING HERE SINCE 2010 IS JUST A COLLECTION OF WHAT I WROTE IN MY FACEBOOK. MOST OF MY WRITING HERE BEFORE 2010 IS JUST A COLLECTION OF WHAT I WROTE IN VARIOUS WEBBOARDS.
RIP SHAJI N. KARUN (1952-2025)
เราเคยดูหนังที่เขากำกับแค่เรื่องเดียว
ซึ่งก็คือ VANAPRASTHAM (1999) ซี่งเราก็ชอบมากพอสมควร
เราได้ดูหนังเรื่องนี้เมื่อราว 20 กว่าปีก่อน ตอนนั้นเราได้ดูในรูปแบบวิดีโอเทปจากร้านอ๊อดที่จตุจักร
ถ้าหากเราจำไม่ผิด
เห็นข่าวดราม่าแล้วก็นึกถึงหนังสารคดีที่เราชอบมาก
ๆ เรื่อง “เก๊าไม้เอสเตท 1955” KAOMAI ESTATE 1955 (2021,
Navarutt Roongaroon, documentary, 8min, A+30) ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับโรงบ่มใบยาสูบเก่าแก่
เสียดายที่ตอนนี้ตัวหนังสารคดีจริง ๆ ที่ยาว 8 นาทีเรากดเข้าไปดูไม่ได้แล้ว
เหลือแต่คลิป trailer ที่ยาวเพียงแค่ 39 วินาที
https://web.facebook.com/ASAArchitectExposition/videos/1259247571208373
++++++++++++
ถ้าหากใครติดใจดนตรีบลูส์ใน SINNERS
(2025, Ryan Coogler, A+30) เราก็ขอแนะนำหนังเรื่องนี้นะคะ THE
SOUL OF A MAN (2003, Wim Wenders, documentary, 103min) หนังเรื่องนี้พูดถึงนักดนตรีบลูส์ 3 คน
ซึ่งได้แก่ Skip James, Blind Willie Johnson และ J. B.
Lenoir แล้วก็นำเสนอการแสดงของศิลปินดนตรียุคปัจจุบันอีกหลายคน
อย่างเช่น Nick Cave and
the Bad Seeds, Beck, Jon Spencer Blues Explosion, James 'Blood' Ulmer, T-Bone
Burnett, Eagle Eye Cherry, Shemekia
Copeland, Garland Jeffreys, Alvin Youngblood Hart, Los Lobos, Bonnie
Raitt, Lou Reed, Marc Ribot, Lucinda
Williams และ Cassandra
Wilson.
ตัวเราเองไม่ใช่แฟนดนตรีบลูส์ แต่เราจำได้ว่า
เราเคยฟังเพลงบลูส์ครั้งแรกก็จากตอนที่ดูหนังเรื่อง THE COLOR OF MONEY
(1986, Martin Scorsese, A+30) ตอนที่หนังเรื่องนี้เข้ามาฉายในไทยในช่วงต้นปี
1987 แล้วเราก็ซื้ออัลบัม soundtrack หนังเรื่องนี้มาฟังด้วย
อัลบัมชุดนี้มีเพลงของ Willie Dixon ซึ่งเป็นนักดนตรีบลูส์
ตอนนั้นเรายังเป็นนักเรียนมัธยมต้น พอฟังเพลงในอัลบัมชุดนี้แล้วก็รู้สึกว่า
มันไม่ใช่ทางของเรา แต่ก็ทำให้จดจำได้ว่า ดนตรี blues มันเป็นแบบนี้หรอกเหรอ
และเราก็เข้าใจว่า Martin Scorsese น่าจะชอบดนตรี blues มาก ๆ เพราะนอกจากเขาจะนำเพลง blues
มาใช้ประกอบหนังเรื่อง THE COLOR OF MONEY แล้ว
เขายังอำนวยการสร้างภาพยนตร์ชุด THE BLUES (2003) ด้วย
ซึ่งหนังสารคดีเรื่อง THE SOUL OF A MAN ก็เป็นส่วนหนึ่งของหนังชุด
THE BLUES นี้
ส่วนหนังเรื่องอื่น ๆ ในหนังชุด THE
BLUES ก็มีเช่น
1. FEEL LIKE GOING HOME (2003, Martin
Scorsese) พูดถึงดนตรีแนว Delta blues
2. THE ROAD TO MEMPHIS (2003, Richard Pearce) พูดถึง
Memphis blues
3. WARMING BY THE DEVIL’S FIRE (2003, Charles Burnett) น่าดูสุดขีด
4. GODFATHERS AND SONS (2003, Marc
Levin) พูดถึง Chicago blues
5. RED, WHITE & BLUES (2003, Mike Figgis) พูดถึงดนตรี
blues ในสหราชอาณาจักรอังกฤษ
6. PIANO BLUES (2003, Clint Eastwood) มีสัมภาษณ์ Ray Charles ด้วย
ในหนังชุด THE BLUES นี้
เราเคยดูแค่ THE SOUL OF A MAN นะ ส่วนหนังอีก 6 เรื่องที่เหลือเรายังไม่ได้ดู
+++++++++
ปีนี้เป็นปีของ “หนังยาวมาก” ของไทยจริง ๆ เพราะปีนี้มีการจัดฉาย
1.ภาพยนตร์เรื่อง
“สัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์ไทยที่กลับออกจากป่า” หรือ INTERVIEWS
WITH FORMER THAI COMMUNIST PARTY MEMBERS WHO RETURNED TO THE CITY (1985,
produced by Kraisak Choonhavan, documentary, 705 min) ที่หอภาพยนตร์
ศาลายา ซึ่งตอนนี้เราได้ดูหนังเรื่องนี้ไปเพียง 654 นาที ( หรือ 10 ชม. 54 นาที) ยังเหลืออยู่อีก
51 นาทีที่เรายังไม่ได้ดู
แต่ช่วงหลัง ๆ ฟุตเตจของหนังเรื่องนี้มันซ้ำกับช่วงต้นเรื่องนะ
เพียงแต่ว่า “เสียง” มันชัดขึ้น เราก็เลยไม่แน่ใจว่า มันจะเป็นฟุตเตจซ้ำแบบนี้ต่อไปในช่วง
51 นาทีที่เหลือหรือเปล่า
2. I A PIXEL, WE THE PEOPLE (2025,
Chulayarnnon Siriphol, video installation, 1440 mins)
ในขณะที่เราหลงระเริงดีใจ
คิดว่าเหลืออีกเพียงแค่ 51 นาที เราก็จะได้ดูหนังเรื่อง INTERVIEWS WITH
FORMER THAI COMMUNIST PARTY MEMBERS WHO RETURNED TO THE CITY
จบแล้ว หลังจากเราทยอยดูหนังไทยที่เราชอบสุดขีดเรื่องนี้วันละนิดวันละหน่อยในช่วง
2-3 เดือนที่ผ่านมา เข้ก็เปิดตัวผลงานวิดีโอเรื่องใหม่ของเขาที่มีความยาวเพียงแค่
24 ชั่วโมงในวันนี้ โดยเราเข้าใจว่า งานวิดีโอนี้ประกอบด้วย 24 episodes และแต่ละ episode มีความยาว 1 ชั่วโมง
(เราไม่ได้รับสูจิบัตรงานนี้นะ แต่เราแอบส่องดูสูจิบัตรจาก facebook ของเพื่อน)
วันนี้เราลองไปดูงานวิดีโอนี้ของเข้
และเราก็ดูไปได้เพียงแค่ 2 ชั่วโมงเท่านั้นค่ะ นั่นก็คือ EPISODE 6 GOLDEN SPIRAL กับ EPISODE 7 CYBER SCOUT เราได้ดูในเวลาราว 18.00-20.00 น.
ตอนแรกเรากะจะนั่งดูถึง 23.00 น. แต่ปรากฏว่า
มันต้องนั่งดูกับพื้นค่ะ เราก็เลยนั่งขัดสมาธิดู แล้วก็พบว่า เราคงนั่งขัดสมาธิดูติดต่อกัน
5 ชั่วโมงไม่ได้แน่ ๆ มันทรมานขาเรามากพอสมควร สังขารเรานั่งนาน ๆ แบบนี้ไม่ไหว เราก็เลยดูหนังเรื่องนี้เพียงแค่
2 ชั่วโมงพอในวันนี้ แล้วถ้าวันอื่น ๆ เรามีเวลาว่าง เราค่อยมาดูอีก 22
ชั่วโมงที่เหลือ
แต่เราก็ไม่ mind เรื่องการนั่งขัดสมาธิดูหนังเรื่องนี้นะ
เพราะเราแอบเดาเอาเองว่า งาน video installation นี้อาจจะต้องการสร้างบรรยากาศอะไรบางอย่างที่ทำให้นึกถึง
“การเข้าร่วมม็อบชุมนุมประท้วง” น่ะ ซึ่งผู้เข้าร่วมม็อบก็น่าจะต้องนั่งกับพื้นอย่างลำบาก
ๆ เป็นเวลานาน ๆ แบบนี้นี่แหละ จะให้นั่งบนเก้าอี้หลุยส์นุ่ม ๆ ดูวิดีโอนี้ติดต่อกันหลายชั่วโมง
มันก็อาจจะไม่เข้ากับจุดประสงค์ของงาน video installation ชิ้นนี้ก็ได้มั้ง
ซึ่งเข้อาจจะไม่ได้ตั้งใจสร้างบรรยากาศแบบการเข้าร่วมม็อบชุมนุมประท้วงก็ได้นะ
เพราะทั้งหมดนี้คือการที่เรารู้สึกเอาเอง เดาเอาเอง คือพอเราเห็นสิ่งต่าง ๆ ในนิทรรศการนี้
อย่างเช่น
1. กระโจมต่าง ๆ
2. ถุงกระดาษมากมาย ซึ่งเราก็ไม่รู้ว่าสื่อถึงอะไร
มันอาจจะสื่อถึงสิ่งที่ครอบครัวเข้ชอบเก็บสะสม, การตั้งคำถามว่าอะไรเป็นศิลปะหรือไม่
หรืออาจจะสื่อถึง “สามัญชน” ก็ได้
3. กองเสื้อผ้าของคนธรรมดาเป็นภูเขาเลากา
เราก็เลยรู้สึกราวกับว่า การเข้าไปอยู่ในนิทรรศการนี้
มันให้ความรู้สึกคล้ายกับการเข้าร่วมม็อบชุมนุมประท้วงน่ะ ม็อบที่ประกอบไปด้วย “คนธรรมดา”
จำนวนมากมายมารวมตัวกัน และคนธรรมดาเหล่านี้ พอรวม ๆ ตัวกันมาก ๆ เข้า มันก็กลายเป็น
“ภูเขาใหญ่” และกลายเป็นอะไรที่ monumental ทลายได้ยาก
(นึกถึงสิ่งที่พวก Creepers ทำในช่วงท้ายของหนังเรื่อง MICKEY
17 สิ)
และความ monumental ของงานนี้ก็มาในรูปแบบทั้ง
“จำนวน” เสื้อผ้า, “ความใหญ่โต” ของกระโจม และ “ระยะเวลา” ของงานวิดีโอด้วย 55555
ในส่วนของตัววิดีโอที่เราได้ดูนั้น เราชอบทั้ง episode
6 และ 7 นะ โดย episode 6 นั้นเป็นเหมือน home
video ถ่าย Chulayarnnon ตอนที่ยังเป็นเด็กชั้นประถมมั้ง
โดยเฉพาะตอนที่เขาขึ้นไปแสดงบนเวที, นำเสนอผลงานการวาดรูปของเขา
และตอนที่เขาไปเที่ยวแดนเนรมิตในช่วงราว ๆ ปี 1996 และก็มีคลิปเด็กอีกคนใน supermarket
ในยุคปัจจุบันด้วย ซึ่งเราไม่แน่ใจว่านั่นคือลูกของ Chulayarnnon
หรือเปล่า
แล้วก็มีฉากแพทย์บรรยายเรื่องการตัดรังไข่ด้วย
ซึ่งเนื้อหาทั้งหมดเท่าที่เราดูใน EPISODE
6 นั้น เหมือนเป็นสิ่งที่ไม่เคยผ่านตาเรามาก่อนเลย ถึงแม้เราเคยดูหนังของเข้มาแล้วมากมายหลายเรื่องนับตั้งแต่เราได้ดูภาพยนตร์เรื่อง
HUA-LAM-PONG (2004, Chulayarnnon Siriphol) เป็นต้นมา เราก็เลยชอบส่วนนี้มาก
ๆ
ส่วน EPISODE 7 นั้น
ช่วงต้น ๆ เรากรีดร้องหนักมาก เพราะมันเป็นการสัมภาษณ์อดีตลูกเสือชาวบ้านในปีพ.ศ.
2519 รุนแรงที่สุด
แต่ช่วงต่อมาของ episode 7 เหมือนเป็นการผสมหนังเก่าของ Chulayarnnon สองเรื่องเข้าด้วยกัน
ซึ่งก็คือ 10 YEARS THAILAND: PLANETARIUM (2018) กับ THAI
CONTEMPORARY POLITICS QUIZ (2010, Scene22, A+30) เพราะฉะนั้นเนื้อหาช่วงนี้ก็เลยไม่น่าตื่นเต้นสำหรับเรามากนัก
แต่เราก็ดูได้ เหมือนเป็นการทบทวนบทเรียนเก่า ๆ โดยเฉพาะ PLANETARIUM ที่เราเคยดูไปเพียงแค่ครั้งเดียวเมื่อหลายปีก่อน
สรุปว่า เหลืออีก 51 นาที เราก็จะดู INTERVIEWS WITH FORMER THAI COMMUNIST PARTY MEMBERS WHO RETURNED TO THE CITY จบ และเหลืออีก 22 ชั่วโมง เราก็จะดู I A PIXEL, WE THE PEOPLE จบค่ะ
โปรแกรมหนังที่หอภาพยนตร์เดือนพ.ค.-มิ.ย.ออกแล้วนะคะ
มีหนังของ Heinosuke Gosho, Mikio Naruse และ Yasujiro
Ozu ที่เรายังไม่เคยดู ฉายในเดือนมิ.ย.ด้วย ดีใจมาก ๆ ค่ะ
++++++
พอดู SINNERS (2025, Ryan Coogler, A+30)
ต่อจาก DETECTIVE CHINATOWN 1900 (2025, Dai Mo, Chen
Sicheng, A+) แล้วก็จะแอบนึกว่า
เนื้อหาของหนังสองเรื่องนี้มันเชื่อมโยงกันโดยไม่ได้ตั้งใจ เพราะ
1.เรื่องนึงพูดถึงการกดขี่คนจีนในอเมริกาในทศวรรษ 1900 อีกเรื่องพูดถึงการกดขี่คนดำในอเมริกาในทศวรรษ 1930
2.ทั้งสองเรื่อง ให้ ตัวละครที่เป็น native american อยู่ฝ่ายธรรมะ และตัวละครกลุ่มนี้จะมีความสามารถพิเศษที่คนขาวไม่มี
3. ทั้งสองเรื่อง ให้ตัวละครที่เป็น Irish อยู่ฝ่าย
อธรรม
Edit เพิ่ม 4. ใน DETECTIVE CHINATOWN
1900 มีตัวละครประกอบเป็น “สาวใช้ผิวดำ”
(ถ้าหากเราดูไม่ผิดนะ) ที่อยู่ฝ่ายธรรมะ ส่วนใน SINNERS มีตัวละครประกอบเป็น
“สาวชาวจีน” ที่อยู่ฝ่ายธรรมะ
5. หนังทั้งสองเรื่องให้ความสำคัญกับ
"ความสัมพันธ์ระหว่างตัวละครนำชายหนุ่มสองคน" มากกว่าความรักชายหญิง
SERIOUS SPOILERS ALERT
--
--
--
--
--
--
--
--
--
--
6. ความฉิบหายวายป่วงที่ตัวละครฝ่ายดีใน DETECTIVE CHINATOWN
1900 ประสบ มีสาเหตุสำคัญมาจาก “สาวผิวขาว” นิสัยดีที่หลงรัก
“ชายหนุ่มชาวจีน”
ความฉิบหายวายป่วงที่ตัวละครฝ่ายดีใน SINNERS ประสบ
มีสาเหตุสำคัญส่วนหนึ่งมาจาก “สาวผิวขาว” (หรือมีเชื้อผิวขาว 75%) นิสัยดีที่หลงรัก “ชายหนุ่มผิวดำ”
7. ตัวละครที่รอดชีวิตในตอนจบของหนังทั้งสองเรื่องนี้
ต่างก็มีความคล้ายคลึงกันอย่างน่าสนใจ เพราะตัวละครทั้งสองต่างก็มีความสำคัญต่อ legacy
ของชนชาติตนเอง และต้องตบกับฝ่าย traditionalists ของคนชนชาติตนเองเช่นกัน
โดยใน DETECTIVE CHINATOWN 1900 นั้น
หนึ่งในตัวละครที่รอดชีวิตในตอนจบ คือ
“หนุ่มที่จะช่วยเหลือดร.ซุนยัดเซ็นในการปฏิวัติประเทศจีนในเวลาต่อมา”
และเขาต้องตบกับคนจีนฝ่าย traditionalists ซึ่งก็คือ
“กลุ่มลูกสมุนของซูสีไทเฮา”
ส่วนใน SINNERS นั้น
ตัวละครที่รอดชีวิตในตอนจบ คือ
“หนุ่มที่จะกลายเป็นนักดนตรีบลูส์ชื่อดังในเวลาต่อมา” และเขาต้องตบกับคนดำฝ่าย traditionalists
ซี่งก็คือฝ่ายเคร่งศาสนา
+++++++
รู้สึกว่าพิธีกรรม hoodoo ในหนังเรื่อง SINNERS มีอะไรบางอย่างที่ทำให้นึกถึง DAUGHTERS OF THE DUST (1991, Julie Dash, A+30) พอ search ดูแล้วก็เลยรู้ว่า hoodoo มาจากชาติพันธุ์ Bakongo ในแอฟริกากลาง ส่วนตัวละครใน DAUGHTERS OF THE DUST เป็นชาว Gullah ที่ได้รับอิทธิพลจากชาติพันธุ์ Bakongo ในแอฟริกากลางเหมือนกัน
1. The message of the film A NOS AMOURS (1983, Maurice Pialat, A+30) may be "HAPPINESS IS AS RARE AS A SUNNY DAY, AND SORROW IS FOREVER." according to TIME OUT FILM GUIDE
Film Wish List: DIVINE HORSEMEN: THE LIVING GODS OF HAITI
(1993, Maya Deren, Teiji Ito, Cherel Ito, documentary, 52min)
เพิ่งรู้ว่ามีหนังเรื่องนี้ของมายา เดอเรน
อยู่บนโลกใบนี้ด้วย เห็นเพื่อนหลายคนได้ดูหนังเรื่องนี้ไปแล้วใน MUBI แต่เรายังไม่ได้ดู 5555 และหนังก็หลุดออกจาก mubi ไปแล้ว
เห็นใน imdb บอกว่า มายา เดอเรนเคยเดินทางไปไฮติ
และถ่ายพิธีกรรมวูดูต่าง ๆ ไว้มากมาย รวมทั้งมีส่วนร่วมในลัทธิวูดูอย่างรุนแรงด้วย
และในปี 1951 มายา เดอเรน ก็ได้ผัวคนใหม่เป็นชายหนุ่มที่มีอายุน้อยกว่าเธอ 18 ปี
เขาเป็นนักดนตรีชื่อ Teiji Ito ตอนนั้นเดอเรนมีอายุ 43 ปี
และเขามีอายุ 25 ปี
โดยอิโตะก็ได้ร่วมเดินทางไปไฮติกับเดอเรนด้วย
เดอเรนถ่ายหนังที่ไฮติเป็นความยาวกว่า 18,000 ฟุต โดยถ่ายเสร็จในช่วงทศวรรษ 1950 แต่เธอเสียชีวิตในปี 1961 ตอนที่ยังตัดต่อหนังเรื่องนี้ไม่เสร็จ และในเวลาต่อมา เทอิจิ
อิโตะกับเชอเรล ซึ่งเป็นภรรยาคนใหม่ของเทอิจิ
ก็ได้ร่วมกันตัดต่อหนังเรื่องนี้จนเสร็จ
บันทึกความทรงจำไว้ว่า
นับตั้งแต่ต้นปีนี้เป็นต้นมา เราได้ดูหนังยาว (และหนังขนาดกลาง) 10 เรื่องไปแล้ว
เรื่องละ 2 รอบ
1. SMALL HOURS OF THE NIGHT (2024, Daniel Hui, Singapore,
103min)
ชอบหนังเรื่องนี้อย่างสุดขีด เราได้ดูหนังเรื่องนี้ใน BANGKOK
EXPERIMENTAL FILM FESTIVAL ในวันที่ 26 ม.ค.
และในวันที่ 31 ม.ค.
2. THE MOURNING FOREST (2007, Naomi Kawase, Japan, 97min)
ชอบหนังเรื่องนี้มาก ๆ เราได้ดูหนังเรื่องนี้ที่ HOUSE ในวันที่ 9 ก.พ. และในวันที่ 15 ก.พ. แต่จริง ๆ แล้วเป็นการดูเพียง 1 รอบครึ่ง
เพราะในวันที่ 15 ก.พ.เราได้ดูเพียงแค่ 60 นาทีแรก แล้วเราต้องรีบวิ่งมาดู BLACK BUTTERFLIES (2024, David
Baute, Spain/Panama, animation, A+30) ที่ Alliance รอบ 18.00 น.
เราเลือกที่นั่งริมสุดนะ เราจะได้ออกจากโรงได้สะดวก
3. THE BOY ON THE LIGHTHOUSE เด็กชายบนประภาคาร (2025,
Pichet Wongjoi, 90min, A+30)
ชอบหนังเรื่องนี้อย่างรุนแรง เราได้ดูหนังเรื่องนี้ที่ CINEMA
OASIS ในวันที่ 23 ก.พ. และในวันที่ 27
ก.พ.
4.THE BRUTALIST (2024, Brady Corbet,
214min, A+30)
ชอบสุดขีด ก็เลยดูสองรอบเลย
รอบแรกดูที่ PARAGON ในวันจันทร์ที่
3 มี.ค. รอบ 1440
รอบสองดูที่ SF TERMINAL 21 ในวันอังคารที่ 4 มี.ค. รอบ 1145
5.MAGIC MIRROR (2013, Sarah Pucill, UK,
75min, A+30)
เราดูทางดีวีดีไปแล้วสองรอบ
เพราะว่าชอบหนังอย่างสุดขีด
6. HAPPYEND (2024, Neo Sora, Japan,
113min, A+30)
ชอบหนังเรื่องนี้อย่างสุดขีด การดูรอบแรกเกิดขึ้นในวันที่
8 ก.พ. รอบ 16.15 น.
ส่วนการดูรอบสองเกิดขึ้นในวันที่ 11 มี.ค. รอบ 18.35 น
7. GRAND TOUR (2024, Miguel Gomes,
Portugal, 128min, A+30)
ชอบหนังเรื่องนี้อย่างสุดขีด
เราดูรอบแรกที่ HOUSE SAMYAN ในวันที่ 21 มี.ค. รอบ 17.20 น.
เราดูรอบสองที่ HOUSE SAMYAN ในวันที่ 23 มี.ค. รอบ 10.15 น.
8. A WORKING MAN (2025, David Ayer,
116min, A+15)
เราดูรอบแรกที่ Paragon ในวันศุกร์ที่
28 มี.ค.รอบ 11.30 น. ซึ่งหนังเริ่มฉายจริงตอนราว ๆ 12.00 น. แต่เราดูไม่จบ
เพราะเกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรงช่วง 13.20-13.30 น. เราก็เลยรีบเผ่นออกจากโรงหนังด้วยความรวดเร็ว
เราดูรอบสองที่ SF MBK ในวันที่
9 เม.ย. รอบ 14.10 น. คราวนี้เราได้ดูจนจบ
9. COLORFUL STAGE! THE MOVIE: A MIKU
WHO CAN’T SING (2025, Hiroyuki Hata, Japan, animation, A+30)
ชอบหนังเรื่องนี้อย่างสุดขีด อินกับหนังเรื่องนี้เป็นการส่วนตัว
เราดูรอบแรกที่ MAJOR EKKAMAI ในวันที่ 11 เม.ย.รอบ 14.00 น.
เราดูรอบสองที่ SF MBK ในวันที่
16 เม.ย. รอบ 13.10 น.
10. CHINESE INK (2016, Ghassan Salhab,
Lebanon, 55min, A+30)
อันนี้อาจจะเป็น “หนังขนาดกลาง” มากกว่า “หนังยาว”
แต่เราถือโอกาสมารวมไว้ด้วยกัน 5555
เราดูหนังเรื่องนี้ทางเว็บไซต์ FESTIVAL
SCOPE ในวันที่ 21 เม.ย. พอดูรอบแรกแล้วชอบมาก
ก็เลยกินข้าว เสร็จแล้วก็ดูซ้ำรอบสองในทันทีก่อนที่หนังจะหมดอายุ
บันทึกการดูหนังซ้ำสองรอบครั้งก่อน ๆ ที่เราเคยโพสท์ไว้ก่อนหน้านี้
https://web.facebook.com/photo/?fbid=10236918715250994&set=a.10236654765052404
https://web.facebook.com/photo/?fbid=10236982245079200&set=a.10236654765052404
https://web.facebook.com/photo/?fbid=10237078328441224&set=a.10236654765052404
+++++++++
ความสุขอย่างหนึ่งที่เราได้รับจากการดูหนังก็คือว่า
เวลาที่เราดูหนังเรื่อง A มันมักจะทำให้เรานึกถึงหนังเรื่อง B
โดยที่ผู้สร้างหนังเรื่อง A ไม่ได้ตั้งใจ
มันเหมือนกับว่า เนื้อเรื่องของหนังแต่ละเรื่อง มันอยู่คนละจักรวาลกัน
แต่พอเราดูหนังเหล่านั้น หนังเหล่านั้นก็เข้ามาอยู่ในหัวของเรา และหัวของเราก็มีจักรวาลจินตนาการเป็นของตัวเอง
และเปิดโอกาสให้เนื้อเรื่องและตัวละครของหนังแต่ละเรื่องมาประสบพบเจอ
ผสมพันธุ์ข้ามเรื่องกันได้ ภายในจักรวาลที่อยู่ในจินตนาการของเราเอง
หรือของผู้ชมแต่ละคน
ตอนที่เราดู HAPPYEND (2024, Neo Sora,
A+30) มันก็มีบางจุดของหนังที่ทำให้เรานึกถึง KISS OF THE
SPIDER WOMAN (1985, Hector Babenco, A+30) โดยไม่ได้ตั้งใจ อย่างที่เราเคยเขียนถึงไปแล้วอย่างละเอียด
และปรากฏว่า ตอนที่เราดู SNOW WHITE (2025, Marc Webb, A+) มันก็มีจุดหนึ่งที่ทำให้เราแว่บนึกไปถึง
HAPPYEND โดยไม่ได้ตั้งใจด้วย 55555 เพราะสิ่งที่เราชอบที่สุดใน SNOW
WHITE 2025 ก็คือตัวละคร Dopey มันดูเหมือนเป็นเด็กหนุ่มที่น่ารักมาก
ๆ ชอบมาก ๆ ที่ตัวละครเด็กหนุ่มคนนี้กลายเป็นเหมือนยุวชนหัวขบถ ลุกขึ้นต่อต้านผู้ปกครองประเทศและเจ้าหน้าที่บ้านเมืองในช่วงท้ายของ
SNOW WHITE
เพราะฉะนั้นพอเราเห็น Dopey ทำแบบนั้นในช่วงท้ายของ SNOW WHITE เราก็เลยเผลอจินตนาการไปว่า
ถ้าหาก Dopey เป็นคนจริง ๆ ก็คงจะดีนะ ถ้าเขาเป็นมนุษย์จริง
ๆ เขาอาจจะเป็นเด็กหนุ่มที่น่ารักแบบ Kou (Yukito Hidaka) ใน
HAPPYEND ก็ได้ เพราะ Kou ก็เริ่มต้นจากการเป็นเด็กหนุ่มที่ไม่ค่อยแสดงออกทางการเมือง
และกลายมาเป็นเด็กหนุ่มที่สนใจการเมืองอย่างรุนแรง และลุกขึ้นต่อต้านผู้มีอำนาจอย่างจริงจัง
และถ้าหาก Dopey เท่ากับ Kou
ตัวละคร Snow White (Rachel Zegler) ก็จะเท่ากับ
Fumi (Kilala Inori) ใน HAPPYEND ในฐานะ
“หญิงสาวผู้นำกลุ่มกบฏ” ที่ชักจูงให้เด็กหนุ่มบางคนตามมาเป็นยุวชนหัวขบถเหมือนเธอด้วย
55555
อันนี้คือที่เราเขียนถึง HAPPYEND + KISS OF THE SPIDER WOMAN
https://web.facebook.com/photo?fbid=10236701641224279&set=a.10236654765052404
+++++++
งดงามที่สุด พอได้อ่านสิ่งที่คุณมโนธรรมเขียนแล้วก็เห็นด้วยมาก
ๆ เรารู้สึกว่าตอนที่หนังเรื่อง GRAND TOUR ถ่าย “ทัศนียภาพของเอเชียในยุคปัจจุบัน”
นั้น มันคล้าย ๆ กับหนังเงียบเมื่อ 100 ปีก่อน โดยเฉพาะหนังหลาย ๆ เรื่องที่กำกับโดย
Gabriel Veyre ที่เคยมาถ่ายอินโดจีนและอีกหลายประเทศทั่วโลกในปี
1896-1900 และหนังเรื่อง MELODY OF THE WORLD (1929, Walter Ruttman, Germany,
A+30) ที่มาบันทึกภาพชาวบ้านในประเทศสยามหรือประเทศไทยในทศวรรษ 1920
เพื่อนำไปให้ชาวโลกได้ดูกัน
+++++++++++
พอได้อ่านที่คุณมโนธรรมเขียนถึง GRAND
TOUR (2024, Miguel Gomes, Portugal, A+30) ก็เลยนึกถึงหนังของ Gabriel
Veyre อย่างเช่นหนังเรื่องนี้
ANNAMITE CHILDREN PICKING UP CASH IN FRONT OF THE LADIES’
PAGODA (1899-1900, Gabriel Veyre, shot in Vietnam) ซึ่งเป็นหนังที่อาจจะถ่ายทอดสิ่งที่เกิดขึ้นในปี
1900 ในเวียดนามอย่างตรงไปตรงมา แต่พอมาดูในยุคปัจจุบันแล้วก็พบว่า หนังเรื่องนี้มันเก็บบันทึกอะไรบางอย่างของผู้คนในยุค
COLONIAL เอาไว้ได้ดีมาก ๆ เชื่อว่าเพื่อน ๆ หลายคนดูแล้วอาจจะนึกถึง
“สลิ่ม” 55555
ข้อมูลเกี่ยวกับหนังเรื่องนี้ที่มีคนแปะไว้
The footage shows two French women throwing coins to
Vietnamese children, who then scramble to collect them. This film was shot
between 1899 and 1900 in what was then French Indochina (now Vietnam) by
director Gabriel Veyre. The women in the video are identified as the wife of
Paul Doumer (the Governor-General of French Indochina at that time. Doumer
later became the President of France in 1931), Blanche Doumer née Richel and
among their daughters, Hélène Blanche Doumer is the one during the filming depicted
in the footage.
https://www.youtube.com/watch?v=tr8B9GBDxrM
GOLD (1983) – Spandau Ballet เพลงที่เข้ากับยุคสมัยนี้
55555 ตัวมิวสิควิดีโอเพลงนี้มีการพาดพิงถึงหนังเรื่อง GOLDFINGER (1964,
Guy Hamilton) ด้วย และเราสงสัยด้วยว่า มิวสิควิดีโอเพลงนี้
ได้รับแรงบันดาลใจบางส่วนมาจากหนังเรื่อง EDEN AND AFTER (1970, Alain
Robbe-Grillet, A+30) ด้วยหรือเปล่า
https://www.youtube.com/watch?v=ntG50eXbBtc
งาน Flaherty ปีนี้เปิดรับสมัครแล้ว
จำกัดเพียง 60 ที่นั่งเท่านั้น ค่าสมัคร 32.56
ดอลลาร์สหรัฐสำหรับบุคคลทั่วไปที่ไม่ใช่นักศึกษา ช่วงนี้บาทแข็ง ดอลลาร์อ่อน
บาท/ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นมาแล้ว 9.87% ในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา
เพราะฉะนั้นรีบจ่ายเงินค่าสมัครตอนที่เงินบาทแข็งค่าแบบนี้เลยค่ะ
++++++++++
THE BLUE PLANET (1982, Franco Piavoli, Italy, 79min, A+30)
ดูได้ที่ Le Cinema Club จนถึงราว
ๆ เช้าวันศุกร์ที่ 25 เม.ย.
https://www.lecinemaclub.com/now-showing/the-blue-planet/
Franco Piavoli ปัจจุบันนี้มีอายุเกือบ 92
ปีแล้ว และกำกับหนังอิตาลีมาตั้งแต่ทศวรรษ 1950
แต่เราเพิ่งได้ดูหนังของเขาเป็นครั้งแรกในชีวิตก็ตอนที่ Le Cinema Club นำมาฉายเนี่ยแหละ กราบ
หนังงดงามมาก ๆ เป็นเหมือนบทกวีที่เรียงร้อยภาพธรรมชาติกับชีวิตชาวบ้านเข้าด้วยกัน
เราชอบ gaze ของเขามาก ๆ โดยเฉพาะเวลาที่เขาถ่ายสิ่งต่าง ๆ
ตามธรรมชาติ จะว่ามันมีความเป็นหนังอนุรักษ์ธรรมชาติ + หนัง National Geographic
ผสมอยู่ด้วยก็ได้ แต่พอมันไม่มีเสียงบรรยายหรือท่าทีสั่งสอนอะไร
มันก็เลยให้ความรู้สึกเป็นบทกวี มากกว่าที่จะเป็นหนังสารคดีที่เน้นเนื้อหาสาระ
Andrei Tarkovsky เคยกรีดร้องอย่างรุนแรงให้กับหนังเรื่องนี้ด้วย
After watching The Blue Planet at Venice Film Festival
in 1982, Tarkovksy described the film as “a poem, concert, journey into the
universe, nature, life… truly a different vision.”
ซึ่งตอนที่เราดูหนังเรื่องนี้ เราก็นึกถึง Tarkovsky
เหมือนกัน โดยเฉพาะตอนที่หนังถ่ายพงหญ้าริมน้ำ ที่ทำให้เรานึกถึงช่วงท้าย
ๆ ของ SOLARIS (1972, Andrei Tarkovsky)
พอ THE BLUE PLANET เริ่มเน้นไปที่
“มนุษย์ในชนบท” ในช่วงครึ่งหลังของเรื่อง เราก็รู้สึกว่า ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติในหนังเรื่องนี้
มี sense บางอย่างที่ทำให้เรานึกถึงหนังของ Hayao Miyazaki
โดยไม่ได้ตั้งใจ เหมือนหนังของทั้งสองคนนี้แสดงให้เห็นถึง “ความมหัศจรรย์ของธรรมชาติที่รายล้อมรอบตัวชาวบ้านในชนบท”
เหมือนกัน เพียงแต่ว่าหนังของ Franco Piavoli เน้น “ธรรมชาติ”
โดยปราศจากเนื้อเรื่อง ส่วนหนังของ Hayao Miyazaki เป็นหนังเล่าเรื่องที่เน้น
“เรื่องเหนือธรรมชาติ”
พอดู THE BLUE PLANET แล้วก็เลยทำให้นึกถึงหนังอิตาลีอีก
3 เรื่องที่ถ่ายทอดธรรมชาติออกมาได้อย่างงดงามสุด ๆ ด้วย
ซึ่งก็คือ THE AGE OF SWORDFISH (1954, Vittorio De Seta), THE
HOLE (2021, Michelangelo Frammartino) และ VERMIGLIO (2024, Maura Delpero)
เสียดายที่เรายังไม่เคยดู KOYAANISQATSI (1982,
Godfrey Reggio) ที่ออกฉายในปีเดียวกับ THE BLUE PLANET เพราะเรารู้สึกว่าหนังสองเรื่องนี้น่าจะเป็น “แฝดคนละฝากัน”
และน่าจะเข้าข่าย “หนังที่ออกฉายไล่เลี่ยกันแล้วมีความคล้ายคลึงกันโดยไม่ได้ตั้งใจ”
55555
https://web.facebook.com/photo/?fbid=10224847974130010&set=a.10221574828503415
เรารู้สึกว่า จริง ๆ แล้วหนังอย่าง MAN
WITH A MOVIE CAMERA (1929, Dziga Vertov, Soviet Union), THE BLUE PLANET, BARAKA
(1992, Ron Fricke), NAQOYQATSI (2002, Godfrey Reggio), DOGORA (2004, Patrice
Leconte, France) อะไรพวกนี้ น่าจะมีศัพท์เรียก “หนังกลุ่มนี้” โดยเฉพาะนะ
แต่เราไม่รู้ว่ามันมีศัพท์เฉพาะนั้นหรือยัง
เพราะเรารู้สึกว่าหนังเหล่านี้มันอยู่ในกลุ่มเดียวกัน แต่จะเรียกว่ากลุ่ม non-narrative
documentary หรือกลุ่มหนัง avant-garde มันก็กว้างไป
หรือจะเรียกว่ากลุ่ม visual montage เหรอ
หนังไทยที่น่าจะอยู่ในกลุ่มนี้ได้ ก็มีเรื่อง FOURTH
WORLD พื้นที่ในสำนึก (2007, Chayanis Wongthongdee,
Techanan Jirachotrawee, 13min) มั้ง
อยากไปร้าน MR. BEAR COTTON CHEESE CAKE ที่นิวยอร์ค
++++++++
ฉันหลงรัก Hiroshi Abe มานาน
38 ปีแล้ว กรี๊ดดดดดดด นี่ชีวิตสมรสของดิฉันกับเขายืนยาวมานานถึง 38
ปีแล้วหรือเนี่ย ดีใจที่สามียังมีละครทีวีดี ๆ ให้เล่นอยู่
เราหลงรักเขาครั้งแรกตอนที่เห็นเขาในนิตยสาร “ทีวีรีวิว”
ตอนนั้นเขาโด่งดังจากหนังเรื่อง HAIKARA-SAN GA TORU (1987, Masamichi
Sato) ที่นำแสดงโดย Yoko Minamino และสร้างมาจากหนังสือการ์ตูนของ
Yamato Waki ที่เราชอบสุดขีด แต่เรายังไม่เคยได้ดูหนังเรื่องนี้เลยนะ
+++++
RAINER WERNER FASSBINDER’S FILMS IN MY PREFERENTIAL ORDER
เราเคยดูหนังที่กำกับโดย Rainer Werner
Fassbinder ไปเพียงแค่ 20 เรื่อง ยังขาดอีกหลายเรื่องที่เรายังไม่ได้ดู
ซึ่งถ้าหากเรียงตามลำดับความชอบของตัวเองในบรรดา 20 เรื่องที่ได้ดู ก็จะเป็นดังนี้
1.BREMEN FREEDOM (1972)
เราเคยเขียนถึงหนังเรื่องนี้ไว้ใน IMDB ในวันที่ 4 พ.ย.ปี 2000
https://www.imdb.com/review/rw0121408/?ref_=ur_urv
2. THE THIRD GENERATION (1979)
3. KATZELMACHER (1969)
4. THE NIKLASHAUSEN JOURNEY (1970)
5. THE BITTER TEARS OF PETRA VON KANT
(1972)
6. ALI: FEAR EATS THE SOUL (1974)
7. VERONIKA VOSS (1982)
8. MOTHER KUSTERS GOES TO HEAVEN (1975)
9. FOX AND HIS FRIENDS (1975)
10. IN A YEAR WITH 13 MOONS (1978)
11. BERLIN ALEXANDERPLATZ (1980, 15hrs 31mins)
12. THE MARRIAGE OF MARIA BRAUN (1979)
13. QUERELLE (1982)
14. NORA HELMER (1974)
15. I ONLY WANT YOU TO LOVE ME (1976)
16. LOVE IS COLDER THAN DEATH (1969)
17. THE MERCHANT OF FOUR SEASONS (1972)
18. LILI MARLEEN (1981)
19. THE STATIONMASTER’S WIFE (1977)
20. DESPAIR (1978)
หนังส่วนใหญ่ของ Fassbinder ที่เราได้ดู เราได้ดูในรูปแบบฟิล์ม 16 ม.ม.ที่สถาบันเกอเธ่ ซอยสาทร 1
โดยเฉพาะในตอนที่มีการจัดงาน Rainer Werner Fassbinder’s Retrospective ที่สถาบันเกอเธ่ในปี 1998
ส่วน BERLIN ALEXANDERPLATZ นั้น เราได้ดูภาพยนตร์/ละครโทรทัศน์เรื่องนี้ตอนที่มันเข้ามาฉายในกรุงเทพในช่วงเดือนส.ค.-ก.ย.
2005 โดยคุณกัลปพฤกษ์ เป็นผู้จัดงานฉายหนังเรื่องนี้ในกรุงเทพในครั้งนั้น
ในความเห็นส่วนตัวของดิฉันเองนั้น ดิฉันชอบ Rainer
Werner Fassbinder มากเป็นอันดับ 8 ในบรรดาผู้กำกับภาพยนตร์กลุ่ม NEW
GERMAN CINEMA ค่ะ โดยชอบเขาในลำดับรองจาก Werner Schroeter,
Ulrike Ottinger, Herbert Achternbusch, Alexander Kluge, Harun Farocki, Klaus
Wyborny, Helke Sander
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเห็นของดิฉันได้ที่
https://web.facebook.com/photo?fbid=10237605801547722&set=a.10223045281543822
+++++++
ขอจดบันทึกความทรงจำของตัวเองว่า
ตอนที่ดิฉันดูหนังเรื่อง THE BAYOU มฤตยูงาบ (2025, Taneli
Mustonen, Brad Watson, UK, A+25) ดิฉันนึกถึง “ดาบมังกรหยก”
โดยไม่ได้ตั้งใจค่ะ 5555555555555
SPOILERS ALERT
--
--
--
--
--
THE BAYOU อาจจะเป็นหนังห่วยแตกในสายตาของหลาย ๆ
คน แต่ดิฉันชอบมากค่ะ เพราะดิฉัน “อิน” กับหนังเรื่องนี้อย่างรุนแรง 555 โดยปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ดิฉันชอบหนังเรื่องนี้มาก
ๆ ก็คือหนังเรื่องนี้สร้าง “ตัวละครหญิง 4 ตัว” ที่มีบุคลิกแตกต่างกันไป
และตัวละครหญิง 4 ตัวนี้ทำให้ดิฉันนึกถึง “ดาบมังกรหยก” โดยไม่ได้ตั้งใจด้วย 55555
คือใน “ดาบมังกรหยก” นั้น ฉากไคลแม็กซ์ฉากหนึ่งในละครเรื่องนี้
คือตอนที่เตียบ่อกี้ (เหลียงเฉาเหว่ย) ติดอยู่ในเกาะกับตัวละครกลุ่มหนึ่ง
ซึ่งรวมถึงหญิงสาว 4 คนที่หลงรักเขา ซึ่งได้แก่
1. ฮึงลี้ (เฉินอันอิ๋ง) ที่มีนิสัยดุร้าย โหดเหี้ยม
แต่ก็ร้ายแบบเปิดเผย
2. เสี่ยวเจียว (เส้าเหม่ยฉี) สาวเรียบร้อย
ที่ยอมเสียสละตัวเองเพื่อช่วยเหลือทุกคนบนเกาะ เธอยอมรับตำแหน่งประมุขพรรคเม้งก่า
เปอร์เชีย เพื่อช่วยเหลือคนอื่น ๆ บนเกาะให้รอดพ้นจากเงื้อมมือของทูตเมฆลิ่วล่อง,
ทูตลมศักดิ์สิทธิ์ และทูตจันทร์รำไพ
3.องค์หญิงเตี๋ยเมี่ยง (หลีเหม่ยเสียน) ที่ฉลาดเฉลียว
และนิสัยดี
4. จิวจี้เยียก (เติ้งชุ่ยเหวิน) ที่ต่อมาได้เป็นประมุขพรรคง้อไบ๊
ภายนอกเธอดูเป็นคนเรียบร้อย นิสัยดี แต่ธาตุแท้เป็นคนร้ายลึก ชั่วร้ายสุด ๆ
โหดเหี้ยมมาก ๆ
และพอเราดู THE BAYOU
เราก็เลยนึกถึง “ดาบมังกรหยก” โดยไม่ได้ตั้งใจ เพราะหนังจระเข้อาละวาดเรื่องนี้มีตัวละครหญิงที่สำคัญ
4 คน ซึ่งได้แก่
1. Malika (Elisha Applebaum) ซึ่งเป็นคนที่เหี้ยมาก แต่เหี้ยและชั่วแบบเปิดเผย ไม่มีลับลมคมนัย
เราก็เลยนึกถึง ฮึงลี้
2. Zoe (Isabelle Bonfrer) สาวนิสัยดี ที่เสียสละตัวเองให้จระเข้กิน เพื่อจะได้ช่วยเหลือคนอื่น ๆ
ในกลุ่มให้รอด เราก็เลยนึกถึง เสี่ยวเจียว
3. Kyle (Athena Strates) สาวนิสัยดีและฉลาด
เราก็เลยนึกถึง องค์หญิงเตี๋ยเมี่ยง
4. Alice (Maradena Aragão) สาวสวยน่ารัก ภายนอกเธอเป็นคนน่าสงสาร ดูเป็นคนดี แต่จริง ๆ
แล้วเธอชั่วร้ายสุดขีด สนใจแต่หนทางรวยของตัวเอง โดยไม่สนใจชีวิตของเพื่อน ๆ เราก็เลยนึกถึง
จิวจี้เยียก
เหมือนเราชอบการสร้างบุคลิกตัวละครหญิง ใน “ดาบมังกรหยก”
อย่างรุนแรงสุดขีดน่ะ และพอเรามาเจอหนังที่มีการสร้างบุคลิกตัวละครหญิงในแบบคล้าย
ๆ กันโดยไม่ได้ตั้งใจใน THE BAYOU มันก็เลยเป็นสาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้เราชอบหนังเรื่องนี้ตามไปด้วย
55555
ใน “ดาบมังกรหยก” นั้น เราอินกับ “ฮึงลี้”
มากที่สุดนะ “ฮึงลี้” นื่ถือเป็น ONE OF MY MOST FAVORITE CHARACTERS OF
ALL TIME เลย
แต่ใน THE BAYOU นั้น
เราอินกับ Zoe มากที่สุดนะ เพราะเรารู้เลยว่าเราจะตัดสินใจแบบเดียวกับเธอถ้าหากอยู่ในสถานการณ์เดียวกัน
คือกูว่ายน้ำไปให้จระเข้กินไปเลย จบ ๆ กันไป จะหนีไปทำไมให้เหนื่อย กูเหน็ดเหนื่อยกับการมีชีวิตอยู่มากพอแล้ว
ดู “ดาบมังกรหยก” ตอนที่เตียบ่อกี้ติดเกาะกับหญิงสาวที่หลงรักเขา
4 คนได้ที่
https://www.youtube.com/watch?v=7mp9HiV1lpA
รูปของดาราฮ่องกงเรา copy มาจากเพจ
“เก้ากระบี่เดียวดาย” นะ
++++
พอพูดถึง POPE FRANCIS (1936-2025) เราก็จะนึกถึงหนังสารคดีเรื่อง IN VIAGGIO: THE TRAVELS OF POPE
FRANCIS (2022, Gianfranco Rosi, 80min) ที่เราได้ดูตอนที่หนังเรื่องนี้มาฉายในงาน
World Film Festival of Bangkok ที่ SF Central World
ในปี 2022 จำได้ว่าเราชอบหนังเรื่องนี้มากพอสมควร
ส่วนหนังอีกเรื่องเกี่ยวกับ Pope Francis
ที่เราอยากดูมาก ก็คือเรื่อง POPE FRANCIS: A MAN OF HIS
WORD (2018, Wim Wenders, documentary, 96min)
ซึ่งจริง ๆ แล้วเราก็แทบไม่มีความรู้เรื่อง
Pope แต่อย่างใด แต่เรารู้สึกว่า การที่ผู้กำกับอย่าง Wim Wenders
และ Gianfranco Rosi เลือกที่จะมาทำหนังสารคดีเกี่ยวกับ
Pope องค์นี้ ถือเป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก ๆ
เพจ Filmvirus Program เคยพูดถึงหนังเรื่อง
POPE FRANCIS: A MAN OF HIS WORD ด้วย
https://web.facebook.com/photo?fbid=577706835920672&set=a.354671201557571
https://web.facebook.com/photo/?fbid=670483103309711&set=a.354671201557571
+++++++
เราชอบ FRANCES (1982, Graeme Clifford) อย่างรุนแรงสุดขีด กราบตีน Jessica Lange ในเรื่องนี้ของจริง
เราชอบเพลง FRANCES ของวง The
Painted Word ในอัลบัมชุด LOVELIFE (1989) ด้วย
เพลงนั้นก็พูดถึง Frances Farmer เหมือนกับหนังเรื่อง FRANCES
ออสการ์นำหญิงปีนั้นดุเดือดสุดขีด นอกจาก
SOPHIE’S CHOICE กับ MISSING แล้ว ผู้เข้าชิงอีกสองคนก็คือ
Debra Winger จาก AN OFFICER AND A GENTLEMAN (1982, Taylor
Hackford) กับ Julie Andrews จาก VICTOR/VICTORIA
(1982, Blake Edwards) เรียกได้ว่าตัดสินยากมาก ๆ
นึกถึงตอนเราอยู่มัธยมในทศวรรษ 1980 ตอนนั้นเพื่อนสนิทคนหนึ่งในกลุ่มของเราจองเป็น
Meryl Streep ในหนังเกือบทุกเรื่อง ส่วนเราจองเป็น Debra
Winger ในหนังทุกเรื่อง 55555
++++++
CHINESE INK (2016, Ghassan Salhab, Lebanon, 53min, A+30)
ดูหนังเรื่องนี้ได้ที่เว็บไซต์นี้จนถึงตี 5
ของวันอังคารที่ 22 เม.ย.
https://www.festivalscope.com/film/lencre-de-chine/
หนังเชิงกวีที่งดงามสุดขีด
ชอบการเรียงร้อยสิ่งต่าง ๆ เข้าด้วยกัน โดยเฉพาะการเรียงร้อย “วิวอันธรรมดาสามัญในชีวิตประจำวัน”
อย่างเช่น รถขนขยะกำลังเก็บขยะ, แสงอาทิตย์บนกำแพง, etc. เข้ากับช็อตอื่น
ๆ อย่างเช่น คลิปหนังเก่า, ฉากวิวจากรถไฟท่ามกลางหิมะตกหนัก, หน้ากระดาษหนังสือ, คลิปทหารกำลังปฏิบัติการ
อีกองค์ประกอบสำคัญในหนัง ก็คือเสียง voiceover
จากหลากหลายแหล่ง
ถ้าหากไม่นับเสียง voiceover หรือถ้าหากเราดูแค่การใช้ภาพและการร้อยเรียงภาพในหนังเรื่องนี้ มันก็จะทำให้เรานึกถึงหนังของ
Wachara Kanha และ Teeranit Siangsanoh มาก ๆ เพราะหนังสองคนนี้ก็ชอบร้อยเรียง “ภาพจากชีวิตประจำวัน” เข้าด้วยกันได้อย่างงดงามราวบทกวีเช่นเดียวกัน
เพียงแต่ว่าหนังของสองคนนี้จะไม่มีเสียง voiceover แนวปรัชญาเหมือนหนังเรื่องนี้
แต่พอหนังเรื่องนี้มีเสียง voiceover แนวปรัชญา และเสียง voiceover เชิงกวีเข้ามาประกอบด้วย
จุดนี้ของหนังก็เลยทำให้นึกถึงหนังของ Marguerite Duras ด้วยนิดนึง
ชอบเสียง voiceover ในหนังมาก
ๆ โดยเฉพาะตอนที่พูดว่า “การยกกล้องขึ้นถ่ายความจริงตรงหน้าเพียงช็อตเดียว
อาจจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงโลกได้ และถ้าหากเราต้องการจะเปลี่ยนแปลงโลก เราก็ต้องเรียงร้อยภาพต่าง
ๆ เข้าด้วยกัน และตัดต่อฉากเหล่านั้น แต่การเรียงร้อยและตัดต่อดังกล่าวก็จะเท่ากับเป็นการให้ความหมายต่อสิ่งต่าง
ๆ ตามอำเภอใจของเราเอง และเท่ากับเป็นการทำร้ายความเป็นจริง และทำให้ความเป็นจริงกลายเป็นสิ่งที่พิกลพิการไป
จริง ๆ แล้วนี่เป็นกระบวนการของการบิดเบือนความจริง การสร้างของเทียม เพื่อจะได้บ่งชี้ถึงการมีชีวิตอยู่
ในขณะที่ในความเป็นจริงนั้น
สิ่งเดียวที่ดำรงอยู่คือความตาย” (ไม่รู้เราแปลถูกหรือเปล่านะ 55555)
“In order to change, one must link the
images together, edit them; but in this manner, one would be giving meaning to
things arbitrarily, thus wounding reality, amputating it. It is in fact a
process of rigging reality, artificially, in order to suggest that there is
life, when in fact there is only death.”
สรุปว่าเราได้ดูหนังของ Ghassan Salhab 3 เรื่องแล้ว โดยอีกสองเรื่องที่ดูก่อนหน้านี้ก็คือ AN OPEN
ROSE/WARDA (2019) ที่พูดถึง Rosa Luxemburg และหนังเรื่อง
1958 (2009) ที่พูดถึงชีวิตของแม่ของผู้กำกับ ควบคู่ไปกับประวัติศาสตร์ของตะวันออกกลาง
เราเคยเขียนถึงหนังสองเรื่องนี้ไปแล้ว
https://web.facebook.com/photo/?fbid=10237554164696833&set=a.10236654765052404
https://web.facebook.com/photo?fbid=10237539173682067&set=a.10236654765052404
คิดว่า Ghassan Salhab นี่น่าจะเป็นหนึ่งในยอดฝีมือของเลบานอนที่ยังมีชีวิตอยู่ได้เลยนะ
รู้สึกว่าเลบานอนนี่มีผู้กำกับที่น่าสนใจเยอะมาก ๆ ซึ่งรวมถึง Marwa
Arsanios (I’VE HEARD 3 STORIES), Joana Hadjithomas (I WANT TO SEE), Khalil
Joreige (I WANT TO SEE), Nadine Labaki (CAPERNAUM), Walid
Raad (HOSTAGE: THE BACHAR TAPES), Myriam El Hajj (DIARIES FROM LEBANON), Rania
Stephan (THE THREE DISAPPERANCES OF SOAD HOSNI), Ziad Doueiri (WEST
BEIRUT), Selim Mourad (THIS LITTLE FATHER OBSESSION), Farah Shaer (I OFFERED
YOU PLEASURE), Randa Chahal Sabag (ผู้กำกับ THE KITE ที่เสียชีวิตไปแล้วในปี 2008), Maroun Bagdadi (ผู้กำกับ
OUT OF LIFE ที่เสียชีวิตไปแล้วในปี 1993) ซึ่งทุกคนในกลุ่มนี้ก็ทำหนังได้ดีวิเศษมาก
โดยเฉพาะ Marwa Arsanios กับ Walid Raad แต่เราได้ดูหนังของผู้กำกับในกลุ่มนี้เพียงแค่คนละไม่กี่เรื่อง ก็เลยบอกไม่ได้ว่าหนังของใครเข้าทางเรามากที่สุด
แต่เราได้ดูหนังของ Ghassan Salhab เป็นจำนวน 3 เรื่องแล้ว
ก็เลยยกให้เขาเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ชาวเลบานอนที่ยังมีชีวิตอยู่ที่เราชื่นชอบมากที่สุดเป็นการส่วนตัวในตอนนี้ก็แล้วกัน
แต่ถ้าหากรวมผู้กำกับที่เสียชีวิตไปแล้ว เราก็อาจจะชอบ Jocelyn Saab มากที่สุด
ในช่วงปี 2005 ตอนนั้น Wiwat
Lertwiwatwongsa คลั่งไคล้ Rainer Werner Fassbinder อย่างรุนแรงมาก แล้วตอนนั้นเขาก็เลย copy บทความภาษาอังกฤษเกี่ยวกับ
Fassbinder ของคุณ Joe Ruffell จากเว็บไซต์
SENSES OF CINEMA มาแปะลงใน blog ของเขา
https://www.sensesofcinema.com/2002/great-directors/fassbinder/
แล้วหลังจากนั้นก็มีคนช่วยแปลบทความนี้เป็นภาษาไทย
ซึ่งคนที่แปลบทความนี้คือตัวคุณ Wiwat, หรือตัวดิฉันเอง
หรือใครคนอื่น ๆ ดิฉันก็จำไม่ได้เสียแล้ว 55555 อย่างไรก็ดี ตัวบทความแปลเป็นภาษาไทยนั้นได้รับการแปะไว้ใน
blog ของคุณ Wiwat และดิฉันก็ได้ copy
ตัวบทความแปลนั้นไปแปะที่เว็บบอร์ดเกย์ และก็ copy มาแปะไว้ใน blog ของตัวดิฉันเองในปี 2005 ด้วย
ก็เลยถือโอกาสนี้ นำบทความแปลภาษาไทยอันนั้นมาแปะไว้ใน
Facebook ด้วยเลยแล้วกัน โดยตัวผู้เขียนบทความนี้คือ Joe
Ruffell แต่ผู้แปลบทความนี้ (น่าจะเป็นตัวดิฉันเองมั้ง)
ได้สอดแทรกความเห็นของตัวเองเข้าไปด้วยเป็นระยะ ๆ 55555
SPOILERS: บทความแปลนี้มีการเปิดเผยตอนจบในหนังหลาย
ๆ เรื่องของ Fassbinder นะคะ
Blog ของเราในปี 2005 ที่เคยลงบทความแปลนี้
https://celinejulie.blogspot.com/2005/11/fassbinder.html
แนะนำผู้กำกับภาพยนตร์ที่เป็นเกย์—ไรเนอร์
แวร์เนอร์ ฟาสบินเดอร์
พอดี BLOG ของคุณเจ้าชายน้อย
มีการแปลบทความเกี่ยวกับไรเนอร์ ฟาสบินเดอร์ ผู้กำกับภาพยนตร์ที่เป็นไบเซ็กชวลค่ะ
ก็เลยก็อปปี้ข้อมูลบางส่วนมาลงใน T BOARD ด้วย
ไรเนอร์ แวร์เนอร์ ฟาสบินเดอร์ (1945-1982) เป็นหนึ่งในผู้กำกับภาพยนตร์ที่ดังที่สุดในเยอรมันตะวันตก
ถึงแม้เขาจะอายุสั้น เขาก็กำกับหนังเอาไว้มากมายหลายสิบเรื่องด้วยกันก่อนตาย
และหนังหลายสิบเรื่องของเขาก็สามารถหาดูได้ในรูปแบบดีวีดีในกรุงเทพ
ฟาสบินเดอร์เชี่ยวชาญทั้งในเรื่องการกำกับภาพยนตร์และละครเวที
เขาเป็นไบเซ็กชวลที่โน้มเอียงไปในทางชอบผู้ชาย
เขาเคยมีคนรักหลายคนเป็นดาราชายที่เล่นหนังให้กับเขา
แต่เขาก็แต่งงานกับผู้หญิงด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ดี ในงานสมรสครั้งหนึ่งของเขา
เจ้าสาวของเขาก็ตกใจมากเมื่อเธอพบว่าเธอเข้าประตูห้องนอนไม่ได้
เพราะฟาสบินเดอร์กับเพื่อนเจ้าบ่าวกำลังร่วมรักกันอยู่ในห้องวิวาห์นั้น
อย่างไรก็ดี หลังจากคืนนั้น ฟาสบินเดอร์, เจ้าสาว
และเพื่อนเจ้าบ่าวก็ไปเที่ยวฮันนีมูนด้วยกัน 3 คนอย่างมีความสุขดี
ฟาสบินเดอร์เป็นหนึ่งในผู้กำกับกลุ่ม NEW GERMAN CINEMA ซึ่งเป็นกลุ่มผู้กำกับภาพยนตร์ในเยอรมันตะวันตกที่เริ่มโด่งดังขึ้นมาในทศวรรษ
1970 พวกเขาเน้นสร้างภาพยนตร์ที่มีคุณค่าทางศิลปะมากกว่าจะเอาใจตลาด
ผู้กำกับภาพยนตร์ในกลุ่มนี้รวมถึง WERNER HERZOG, WIM WENDERS, VOLKER
SCHLONDORFF, HANS-JURGEN SYBERBERG, MARGARETHE VON TROTTA, ULRIKE OTTINGER,
JEAN-MARIE STRAUB, DANIELE HUILLET, HERBERT ACHTERNBUSCH และ WERNER
SCHROETER
ผลงานภาพยนตร์ส่วนใหญ่ของฟาสบินเดอร์ไม่ใช่หนัง FEEL-GOOD แต่เป็นการนำแนวทางหนังน้ำเน่าของฮอลลีวู้ดมาดัดแปลงใหม่เพื่อใช้สะท้อนนิสัยใจคอของมนุษย์ในสังคม
ฟาสบินเดอร์เคยสร้างหนังเกี่ยวกับเกย์ด้วยเช่นกัน ซึ่งได้แก่เรื่อง WHITY,
FOX AND HIS FRIENDS , IN A YEAR WITH 13 MOONS และ QUERELLE
และเคยสร้างหนังเกี่ยวกับเลสเบียนเรื่อง THE BITTER TEARS OF
PETRA VON KANT
บทละครเวทีเรื่อง THE BITTER TEARS OF PETRA VON KANT ของฟาสบินเดอร์
เพิ่งได้รับการดัดแปลงสร้างเป็นละครเวทีในกรุงเทพเมื่อไม่กี่ปีก่อน
(หมายถึงในช่วงใกล้ ๆ ปี 2005) ส่วนบทละครเรื่อง BREMEN FREEDOM (A+++++) ของเขา ก็เคยได้รับการดัดแปลงสร้างเป็นละครเวทีโดยคณะอักษรศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในช่วงราวทศวรรษ 1980 นอกจากนี้ บทละครเวทีเรื่อง WATER
DROPS ON BURNING ROCKS ของเขา
ก็ได้รับการดัดแปลงสร้างเป็นภาพยนตร์เกย์ฝรั่งเศสด้วยฝีมือการกำกับของ FRANCOIS
OZON ด้วย
งานเยี่ยมสองชิ้นจากยุคแรกๆของฟาสบินเดอร์คือภาพยนตร์เรื่อง BEWARE
OF A HOLY WHORE และ THE AMERICAN SOLDIER (ทั้งสองเรื่องออกฉายในปี
1970) โดย BEWARE OF A HOLY WHORE มีเนื้อหาเกี่ยวกับความยากลำบากในการถ่ายทำภาพยนตร์และความสับสนงุ่นง่านใจทางเพศ
ส่วน THE AMERICAN SOLDIER อาจจะเรียกได้ว่าเป็นหนังแนวแก๊งมาเฟียที่ยอดเยี่ยมที่สุดของเขา
BEWARE OF A HOLY WHORE ดัดแปลงมาจากประสบการณ์ส่วนตัวของฟาสบินเดอร์เหมือนกับหนังอีกหลายๆเรื่องของเขา
โดยในกรณีของเรื่องนี้นั้น เขาดัดแปลงมาจากประสบการณ์ขณะถ่ายทำหนังเรื่อง Whity
(1970) และเล่าเรื่องของกองถ่ายภาพยนตร์กองหนึ่งที่เจอกับปัญหามากมายในการถ่ายทำ
พวกเขากำลังรอคอยให้ผู้กำกับหนังกับดารานำมาที่กองถ่าย และในเวลาเดียวกัน
พวกเขาก็ค่อยๆทำลายสมาชิกในกองถ่ายกันเอง
หนังเรื่องนี้นำเสนอประเด็นหลายประเด็นที่มักพบบ่อยในหนังของฟาสบินเดอร์ ซึ่งรวมถึงประเด็นเรื่องการแสดงความเป็นตัวเอง
(และการไม่แสดง), ความเป็นมาโซคิสท์, ความโหดร้าย,
ความรักที่ไม่ได้รับการตอบสนอง และความรักแบบลุ่มหลง
และหนังเรื่องนี้ก็จบลงด้วย irony ที่โหดร้ายตามสไตล์ของฟาสบินเดอร์
(ซึ่งชอบนำเสนอสิ่งที่รุนแรงอยู่แล้ว)
โดยฉากจบของเรื่องนี้ก็คือฉากที่คนในกองถ่ายภาพยนตร์
(ซึ่งกำลังสร้างหนังเกี่ยวกับความรุนแรงที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล)
ร่วมกันยำผู้กำกับ
The American Soldier (1970) เป็นเหมือนกับการนำหนังเรื่อง GODS
OF THE PLAGUE (1969) ของฟาสบินเดอร์เองมารีเมคใหม่อีกครั้ง
หลังจากที่ GODS OF THE PLAGUE สร้างไม่สำเร็จสมตามความตั้งใจของฟาสบินเดอร์ในบางส่วน
โดย THE AMERICAN SOLDIER เป็นหนังที่มีพล็อตเรื่องน้อยมากและไม่เน้นความสมจริงแต่อย่างใด
และแทบไม่มีการเล่นสไตล์เก๋ไก๋ในหนัง
แต่ปัจจัยเหล่านี้กลับยิ่งช่วยส่งเสริมให้หนังสามารถถ่ายทอดบรรยากาศอันน่าหดหู่ของชีวิตผู้คนในเมืองใหญ่ได้เป็นอย่างดี
โดยมือสังหารที่มีสมญานามว่า “The American Soldier” เหมือนชื่อหนังเรื่องนี้
(มือสังหารคนนี้เป็นชาวเยอรมัน และรับบทโดย KARL SCHEYDT) พยายามกวาดล้างอาชญากรครึ่งหนึ่งในนครมิวนิคให้กับตำรวจที่ฉ้อฉล
หนังเรื่องนี้เป็นหนังแนวแก๊งสเตอร์ที่เน้นอารมณ์ของตัวละครมากกว่าพล็อตเรื่อง
และแสดงให้เห็นถึงความมั่นใจในตัวเองของผู้กำกับ นอกจากนั้น
หนังเรื่องนี้ยังบันทึกอารมณ์ที่เก็บกดของตัวละครได้อย่างดีมาก
(จุดนี้ทำให้หนังเรื่องนี้เหมือนกับเป็นต้นแบบให้กับหนังของ AKI
KAURISMAKI) หนังเรื่องนี้เต็มไปด้วยตัวละครที่ยอดเยี่ยมและบทสนทนาที่กระเทียมดองเหมือนกับหนังเรื่องอื่นๆของฟาสบินเดอร์
และมีตอนจบที่สุดยอดมากๆอีกด้วย
ในปี 1971 ฟาสบินเดอร์ช่วยจัดงานฉายภาพยนตร์เก่าๆของดักลาส
เซิร์ค
และได้มีโอกาสพบกับผู้กำกับภาพยนตร์ผู้ยิ่งใหญ่คนนี้ที่เดินทางกลับมาเยอรมนีอีกครั้ง
เหตุการณ์นี้คงจะเป็นการจุดประกายให้กับฟาสบินเดอร์ในการสร้างภาพยนตร์ยุคที่สองของเขา
ซึ่งก็คือการสร้างภาพยนตร์ “ฮอลลีวู้ดแบบเยอรมนี”
หลังจากฟาสบินเดอร์สร้าง “The Merchant of Four Seasons”
(1971) เขาก็กำกับ “The Bitter Tears of Petra Von Kant”
(1972) ซึ่งดัดแปลงมาจากบทละครเวทีของฟาสบินเดอร์เหมือนกับหนังเรื่อง
“Katzelmacher”
หนังเรื่อง THE BITTER TEARS OF PETRA VON KANT นี้เป็นหนังเมโลดรามาเกี่ยวกับตัวละครที่ปะทะกันในสถานที่แคบๆ
โดยใช้ฉากหลังเป็นอพาร์ทเมนท์ของเปตรา ฟอน แคนท์ ซึ่งเป็นนักออกแบบเสื้อผ้า
หนังเรื่องนี้เป็นทั้งการแสดงความเห็นเชิงยั่วยุต่อวิธีการนำเสนอ “ความรัก”
ในหนังเศร้าเคล้าน้ำตาของฮอลลีวู้ดที่สร้างขึ้นเพื่อเน้นจับตลาดคนดูกลุ่มผู้หญิง
(หนังแนวนี้มีออกมามากในทศวรรษ 1940-1950 โดยมีดักลาส เซิร์ค
เป็นผู้กำกับคนหนึ่งที่ถนัดสร้างหนังแนวนี้ อย่างเช่นเรื่อง IMITATION OF
LIFE และ ALL THAT HEAVEN ALLOWS) และเป็นทั้งการคารวะต่อหนังแนวเศร้าเคล้าน้ำตาที่จงใจบีบคั้นอารมณ์คนดูอย่างซึ่งๆหน้า
ในยุคนั้น THE BITTER TEARS OF PETRA VON KANT คงต้องเป็นหนังที่ประกาศให้โลกได้รับรู้ว่าศิลปินคนสำคัญคนใหม่—ไรเนอร์
แวร์เนอร์ ฟาสบินเดอร์--ได้ถือกำเนิดขึ้นแล้วในโลกภาพยนตร์ ในหนังเรื่องนี้ เปตรา
(Margit Carstensen) จ่อมจมอยู่ในความโศกเศร้าเพราะเธอไม่สมหวังในความรักที่มีต่อหญิงสาวผู้หนึ่งที่แต่งงานแล้ว
แต่ในขณะเดียวกัน เปตราก็ปฏิบัติต่อมาร์ลีน (IRM HERMANN) อย่างเลวร้าย
ทั้งๆที่มาร์ลีนเป็นผู้ช่วยที่จงรักภักดีและยอมทำตามที่เปตราสั่งราวกับทาส
THE BITTER TEARS OF PETRA VON KANT เป็นหนังที่ดีมากในส่วนของการตีแผ่
“การหลอกลวง”ที่เป็นรากฐานของความสัมพันธ์หลายประเภท ทั้งความสัมพันธ์ระหว่าง
“พ่อแม่กับลูก”, “นายกับบ่าว”, “คนรักกับคนรัก”
และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการโกหกหลอกลวงที่เป็นรากฐานของความสัมพันธ์ในอุดมคติแบบที่เรามักพบในภาพยนตร์
ซึ่งเป็นแบบที่เรามักหลงนึกไปว่ามันคล้ายกับความจริง นอกจากนี้
หนังเรื่องนี้ยังบอกเราหลายอย่างเกี่ยวกับวิธีการที่เราปล่อยให้ตัวเราเองถูกคนอื่นๆเอารัดเอาเปรียบเพียงเพราะเราหวังว่าจะได้รับความรักเป็นผลตอบแทน
หรือเพราะเรากลัวที่จะอยู่ตามลำพัง อย่างไรก็ดี
หนังเรื่องนี้มีข้อเสียอยู่เล็กน้อย นั่นก็คือตอนจบของเรื่องที่ “ชัดเจน” เกินไป
(มาร์ลีนเดินจากเปตราไปเมื่อเปตราให้สัญญากับมาร์ลีนว่าจะปฏิบัติต่อมาร์ลีนอย่างดีขึ้น)
และข้อเสียอีกอย่างคือการเคลื่อนกล้องที่ไม่ค่อยแม่นยำในบางครั้งของ MICHAEL
BALLHAUS (ซึ่งอาจจะเป็นเพราะว่าฟาสบินเดอร์ต้องการจะถ่ายหนังเรื่องนี้ในเวลา
10 วัน ซึ่งเป็นเวลาการถ่ายหนังตามปกติของฟาสบินเดอร์)
(ดิฉันซึ่งเป็นคนแปลไม่ค่อยเห็นด้วยกับผู้เขียนบทความนี้ค่ะ เพราะดิฉันชอบตอนจบของ
THE BITTER TEARS OF PETRA VON KANT อย่างมากๆ)
หลังจากฟาสบินเดอร์กำกับหนังเรื่อง MARTHA (1973) ซึ่งเป็นหนังสไตล์ดักลาส
เซิร์คที่เน้นสะท้อนความโหดร้ายของชีวิตสมรสชนชั้นกลาง
และหลังจากเขากำกับหนังเรื่อง FEAR EATS THE SOUL (1973) ซึ่งเป็นหนังดราม่าอันโด่งดังเกี่ยวกับผู้อพยพ
(โดยเนื้อหาในหนังเรื่องนี้เหมือนกับเป็นส่วนขยายของเรื่องย่อยเรื่องหนึ่งในหนังเรื่อง
THE AMERICAN SOLDIER) ฟาสบินเดอร์ก็ได้กำกับหนังเรื่อง FOX
AND HIS FRIENDS (1974) ซึ่งเป็นเรื่องเดียวที่เขาได้กำกับตัวเองในฐานะพระเอก
โดยในเรื่องนี้เขารับบทเป็นฟ็อกซ์
อดีตคนงานในสวนสนุกที่ตอนนี้กลายเป็นคนตกงาน
หนังเรื่องนี้วางตัวเองอยู่ในกรอบของหนังน้ำเน่าฮอลลีวู้ด
(ถึงแม้ว่าเนื้อหาส่วนหนึ่งของเรื่องนี้ดัดแปลงมาจากชีวิตอันทุกข์ยากของ ARMIN
MEIER ซึ่งเป็นคนรักของฟาสบินเดอร์ในตอนนั้น
และหนังเรื่องนี้ก็อุทิศให้กับ ARMIN MEIER ด้วย)
และให้ฟ็อกซ์เผชิญกับเหตุการณ์ที่ยากจะเกิดขึ้นได้ในชีวิตจริง
นั่นก็คือการให้เขาถูกล็อตเตอรี่
แต่เหตุการณ์นั้นกลับนำมาซึ่งความตกต่ำของชีวิตของเขา
เพราะการถูกล็อตเตอรี่ทำให้เขาได้รับการยอมรับเข้าสู่สังคมของโฮโมเซ็กชวลชนชั้นกลาง
โดยสมาชิกบางคนในสังคมนั้นที่กำลังประสบปัญหาทางการเงินให้การต้อนรับเขาเป็นอย่างดี
และก็หลอกใช้เขาอย่างต่อเนื่อง
FOX AND HIS FRIENDS นำเสนอความสัมพันธ์ของเกย์ในแบบที่ไม่แตกต่างไปจากความสัมพันธ์ของชายหญิง
ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นประเด็นที่สร้างความคิดเห็นขัดแย้งในยุคนั้น
แต่ก็ช่วยเปิดเผยความเป็นจริงหากดูหนังเรื่องนี้ในยุคสมัยนี้ นอกจากนี้
ฟาสบินเดอร์ยังแสดงเป็นฟ็อกซ์ ชายหนุ่มดวงซวยได้อย่างน่าเชื่อถือมากๆอีกด้วย
อย่างไรก็ดี ฟาสบินเดอร์เองรู้ดีว่าเขากำลังทำงานย่ำอยู่กับที่ และ FOX AND
HIS FRIENDS เป็นหนึ่งในหนังที่ชัดเจนที่สุดในบรรดากลุ่มหนังเกี่ยวกับ
“เหยื่อ” ของเขา
ดังนั้นหลังจากนั้นฟาสบินเดอร์ก็เลยแทบไม่แตะต้องประเด็นเรื่องผู้บริสุทธิ์ที่ตกเป็นเหยื่ออีก
และไม่เคยนำเสนอประเด็นนี้อย่างเรียบง่ายและเป็นธรรมชาติเช่นนี้อีก
ฟาสบินเดอร์พูดมานานหลายปีแล้วว่าเขาจะพยายามเลิกแทรกแซงชีวิตของคนอื่น
และบางทีนี่อาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้กลุ่มนักแสดงประจำของฟาสบินเดอร์สลายตัวไปคนละทิศคนละทางในช่วงที่เขากำกับหนังเรื่อง
SATAN’S BREW และ CHINESE ROULETTE (1976) โดยหนังทั้งสองเรื่องนี้ต่างก็สำรวจพฤติกรรมของกลุ่มคนและวิพากษ์วิจารณ์ตัวละครอย่างรุนแรงสุดๆ
โดย SATAN’S BREW เป็นหนังเมโลดราม่าเพี้ยนๆที่ดัดแปลงมาจากชีวิตจริงของฟาสบินเดอร์เอง
และเป็นการนำสูตรหนังเกี่ยวกับเหยื่อมาพลิกตลบใหม่ เพราะในหนังเรื่องนี้นั้น
พระเอกของเรื่อง (KURT RAAB) ซึ่งเป็นคนที่หมกมุ่นกับตัวเองและเป็นนักลอกเลียนงานเขียนของคนอื่น
มีความสุขกับการที่ตัวเองถูกทรมาน ส่วน CHINESE ROULETTE เป็นหนังแนวเสียดสีที่จงใจทำให้ดูไม่สมจริง
โดยหนังเรื่องนี้ชำแหละชีวิตสมรสออกมาอย่างเจ็บปวด อย่างไรก็ดี
มีเพียงช่วงท้ายของเรื่อง ซึ่งเป็นช่วงที่ตัวละครเล่นเกมคาดเดาที่เรียกกันว่าเกม “Chinese
roulette” เท่านั้น ที่หนังเรื่องนี้สามารถนำเสนอความโหดร้าย,
irony และความสัตย์จริงของชีวิตออกมาได้อย่างเหมาะสม
อีกสิ่งหนึ่งที่ควรกล่าวถึงก็คือว่า
ในช่วงนั้นฟาสบินเดอร์เริ่มใช้ยาเสพติดมากขึ้นเรื่อยๆ และส่งผลให้เขาดื่มเหล้า,
กินยานอนหลับ และสูดโคเคนในปริมาณที่สูงมากในแต่ละวัน อย่างไรก็ดี
ไม่ได้มีเพียงแค่การใช้ยาเสพติดเท่านั้นที่ส่งผลให้หนังในยุคหลังๆของเขาไม่ค่อยลงตัว
เพราะปัจจัยที่ส่งผลต่อหนังยุคหลังของเขายังรวมถึงนิสัยของเขาเองที่ขาดความอดทนและชอบทะเลาะเบาะแว้งด้วย
(หนังยุคแรกๆของเขาก็ได้รับผลกระทบจากปัจจัยนี้ด้วยเช่นกัน โดย HANNA
SCHYGULLA นางเอกคู่บุญของฟาสบินเดอร์บอกว่าในยุคแรกๆนั้นฟาสบินเดอร์รู้สึกเบื่อหน่ายการใช้ยาเสพติด)
หลังจากฟาสบินเดอร์กำกับหนังเรื่อง NORA HELMER ให้สถานีโทรทัศน์ในปี 1973 เขาก็กลับมากำกับหนังให้สถานีโทรทัศน์อีกครั้งด้วยเรื่อง
I ONLY WANT YOU TO LOVE ME (1976) ซึ่งถือเป็นหนังที่สำคัญในแง่ที่ว่าเนื้อหาของเรื่องเกี่ยวข้องกับวัยเด็กอันเปล่าเปลี่ยวของฟาสบินเดอร์เอง
(ในวัยเด็กนั้น ฟาสบินเดอร์โหยหาความรักจากแม่ของเขาเป็นอย่างมาก เขามีเพื่อนน้อย
และการขาดคนที่จะมาทำหน้าที่พ่อให้กับเขาก็ส่งผลกระทบต่อเขาตลอดทั้งชีวิต) เพเทอร์
(VITUS ZEPLICHAL) ซึ่งเป็นพระเอกของ I ONLY WANT YOU
TO LOVE ME ต้องการซื้อความรัก
แต่การทำเช่นนั้นส่งผลให้เขาตกเป็นจำเลยในข้อหาลักขโมยและทำให้แม่ของเขาประณามเขาว่าเนรคุณ
นอกจากนี้ แม่ยังกล่าวหาเพเทอร์ว่าเป็นต้นเหตุของความทุกข์ทรมานในชีวิตของเธอ
เพเทอร์กลายเป็นฆาตกรในเวลาต่อมา (ซึ่งส่งผลให้หนังเรื่องนี้มีส่วนคล้ายคลึงกับ L’ARGENT
(1983, A++++++++++) ที่กำกับโดย ROBERT BRESSON) แต่ในฉากอันน่าเจ็บปวดที่เพเทอร์พยายามแสวงหาความรักจากคนอื่นๆโดยใช้เงินนั้น
ดูเหมือนว่าฉากดังกล่าวจะดัดแปลงมาจากชีวิตจริงของฟาสบินเดอร์เอง
ฟาสบินเดอร์ใช้เงินอย่างฟุ่มเฟือยเพื่อปรนเปรอเพื่อนๆและครอบครัวของเขาซึ่งมีสมาชิกเพียงไม่กี่คน
(GUNTHER KAUFMANN ซึ่งเป็นคนรักของฟาสบินเดอร์ เคยขับรถ LAMBORGHINI
ไปชนจนพังยับถึง 4 คันใน 1 ปี) และสิ่งนี้มักปรากฏเป็นธีมในหนังของเขาอยู่เสมอๆ
จนกระทั่งได้รับการนำเสนอในแบบที่น่าเศร้าที่สุดในหนังเรื่อง IN A YEAR
WITH 13 MOONS หนังเรื่องนี้สามารถผสมผสาน irony เข้ากับอารมณ์สะเทือนใจอย่างรุนแรง โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับเอลวิรา (VOLKER
SPENGLER) เกย์ที่แต่งตัวเป็นผู้หญิงที่ตัดสินใจยอมทำตามอารมณ์ชั่ววูบของคนรักด้วยการไปผ่าตัดแปลงเพศที่คาซาบลังกา
อย่างไรก็ดี เมื่อคนรักของเธอทอดทิ้งเธอไปในเวลาต่อมา
เธอก็ยอมรับว่าเธอเองนั่นแหละคือคนที่ทำลายชีวิตของตัวเอง
เอลวิรายอมไปผ่าตัดแปลงเพศเพราะเธอหวังว่าเธอจะได้รับความรักจาก AARON
SEILTZ (GOTTFRIED JOHN) ซึ่งเป็น “ทุนนิยมผู้กระหายเลือด”
และเป็นเศรษฐีใหม่ อย่างไรก็ดี ในช่วงครึ่งแรกของเรื่องนี้
ตัวละครแอรอนไม่ปรากฏโฉมในหนังเลย
ซึ่งนั่นก็ยิ่งทำให้การปรากฏกายของตัวละครตัวนี้ทรงพลังมากยิ่งขึ้น
เมื่อตัวละครตัวนี้ปรากฏตัวครั้งแรกโดยใส่กางเกงเทนนิสขาสั้นและใส่เสื้อเชิ้ตเหมือน
JERRY LEWIS ขณะออกรายการโทรทัศน์
การจัดแสงแบบแปลกประหลาดและการจัดองค์ประกอบภาพแบบแบ่งออกเป็นหลายส่วนท่ามกลางความมืด
ส่งผลให้ IN A YEAR WITH 13 MOONS จัดเป็นหนึ่งในหนังที่มีความเป็นหนังทดลองมากที่สุดของฟาสบินเดอร์
และหนังเรื่องนี้ยังถือเป็นหนึ่งในหนังที่สำรวจชีวิตชนกลุ่มน้อยในเมืองใหญ่ได้อย่างเจ็บปวดและจริงใจที่สุดด้วย
หนังเรื่องนี้มีความเป็นส่วนตัวเป็นอย่างมาก
เพราะหนังเรื่องนี้คือปฏิกิริยาที่ฟาสบินเดอร์มีต่อการฆ่าตัวตายของ ARMIN
MEIER โดยฟาสบินเดอร์เขียนบท, กำกับ, ถ่ายภาพ, ออกแบบฉาก
และตัดต่อหนังเรื่องนี้ด้วยตัวเอง
IN A YEAR WITH 13 MOONS เหมือนกับหนังยุคก่อนหน้านั้นของเขาในแง่ที่ว่า
หนังยุคก่อนๆหน้านั้นของเขามักมีฉากที่ให้ตัวละครพูดคนเดียวและให้ตัวละคร
(ซึ่งรวมถึงตัวละครประกอบๆเล็กๆน้อยๆ) เล่าเรื่องราวอันยืดยาว
โดยในหนังเรื่องนี้นั้น ฉากท้ายๆของเรื่องเป็นฉากที่เอลวิราให้สัมภาษณ์บันทึกเทปอย่างซื่อตรงจนน่าเจ็บปวด
และเสียงให้สัมภาษณ์กับภาพที่ผู้ชมได้เห็นในฉากนี้ส่งผลให้ฉากนี้เป็นหนึ่งในฉากที่น่าสะเทือนใจที่สุดในหนึ่งในหนังที่ยอดเยี่ยมที่สุดของเขาเรื่องนี้
ก่อนที่ฟาสบินเดอร์จะกำกับ IN A YEAR WITH 13 MOONS เขาเพิ่งกำกับหนังภาคแรกในหนังไตรภาคชุด
“ประวัติศาสตร์ทั้งหมดของเยอรมันตะวันตก”
(ซึ่งชื่อนี้เหมาะจะใช้เรียกผลงานทั้งหมดของฟาสบินเดอร์ด้วยเช่นกัน)
และหนังเรื่องดังกล่าวก็คือ THE MARRIAGE OF MARIA BRAUN (1978) ซึ่งเป็นหนังที่ประสบความสำเร็จในตลาดต่างประเทศมากที่สุดของเขา
บางทีอาจจะเป็นการดีที่สุดถ้าหากพิจารณาหนังเรื่องนี้ร่วมกับอีกสองภาคที่เหลือ
ซึ่งก็คือ LOLA (1981) และ VERONIKA VOSS (1982) เนื่องจากหนังทั้งสามเรื่องนี้ต่างก็เล่าเรื่องของผู้หญิงในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองและช่วงหลังจากนั้น
โดย THE MARRIAGE OF MARIA BRAUN เล่าเรื่องของผู้หญิงที่พยายามตามหาสามีที่หายสาบสูญ,
LOLA เล่าเรื่องของนักแสดงคาบาเร่ต์ที่ต้องเลือกระหว่างชายผู้ทรงอำนาจสองคน,
VERONIKA VOSS เล่าเรื่องของดาราภาพยนตร์ที่เคยโด่งดังในยุคนาซีแต่ปัจจุบันนี้รู้สึกเหนื่อยล้ากับชีวิต
หนังไตรภาคชุดนี้วิเคราะห์องค์ประกอบของสังคมในยุคนั้นอย่างแหลมคม
โดยนำเสนอมุมมองที่ค้านแย้งกับทางการ
และสะท้อนให้เห็นว่าเยอรมนีมีลักษณะเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่เปลี่ยนแปลงไปในแง่ใดบ้าง
บางทีความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของฟาสบินเดอร์อาจจะเป็นความสามารถของเขาในการนำชีวิตประจำวันของมนุษย์มาถ่ายทอดลงบนแผ่นฟิล์มได้ในรูปแบบของเรื่องเล่าเชิงเปรียบเทียบที่สั้นๆและได้ใจความ
ส่วนในแง่ของสไตล์นั้น หนังไตรภาคชุดนี้สะท้อนให้เห็นถึงความมั่นใจที่เพิ่มสูงขึ้นกว่าหนังยุคก่อนๆ
(โดยสาเหตุส่วนหนึ่งเป็นเพราะหนังไตรภาคชุดนี้ใช้ทุนสร้างสูงขึ้น)
โดยเห็นได้ชัดจากฝีมือการถ่ายภาพระดับบรมครูของ XAVER SCHWARZENBERGER และการออกแบบงานสร้างของ ROLF ZEHETBAUER ในหนังเรื่อง
VERONIKA VOSS
ความคิดเห็นทางการเมืองแบบเลือดร้อนของฟาสบินเดอร์เป็นสิ่งที่พบได้บ่อยๆในหนังทุกเรื่องของเขา
และเขาก็ชิงชังการยอมประนีประนอมของฝ่ายเสรีนิยมด้วย
ซึ่งสิ่งนี้ทำให้เขาคล้ายคลึงกับ LUIS BUNUEL แต่ทำให้เขาแตกต่างจากผู้กำกับภาพยนตร์การเมืองคนอื่นๆอีกหลายคน
หนังเรื่อง MOTHER KUSTERS’ TRIP TO HEAVEN (1975) ของเขาเป็นการโจมตีฝ่ายซ้ายในเรื่องการหลอกใช้ประโยชน์จากคนอื่น
ในขณะที่หนังเรื่อง THE THIRD GENERATION เป็นปฏิกิริยาของเขาที่มีต่อการเสียชีวิตของผู้นำกลุ่มบาเดอร์-ไมน์ฮอฟ
(กลุ่มก่อการร้ายชื่อดังในเยอรมนีในทศวรรษ 1970) โดยหนังเรื่องนี้นำเสนอภาพในด้านลบของทั้งฝ่ายซ้ายและฝ่ายขวา
และพูดถึงแนวคิดที่ว่า
รัฐบาลอาจเป็นฝ่ายที่วางแผนลับในการสร้างผู้ก่อการร้ายฝ่ายซ้ายขึ้นมาเอง
เพื่อจะได้ปกปิดความเป็นเผด็จการที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆของทางรัฐบาล นอกจากนี้
หนังเรื่องนี้ยังมีการถ่ายภาพที่แปลกประหลาดพิสดารเหมือนกับเรื่อง SATAN’S
BREW ทั้งนี้ บทภาพยนตร์ที่กระตุ้นความคิดของผู้ชมได้อย่างชาญฉลาด,
รูปแบบการนำเสนอที่อัดแน่น (เหมือนกับ IN A YEAR WITH 13
MOONS) และการแสดงที่ยอดเยี่ยมส่งผลให้ THE THIRD GENERATION
เป็นผลงานชิ้นสำคัญชิ้นหนึ่ง
หนึ่งในการแสดงความคิดเห็นที่ส่วนตัวที่สุดของฟาสบินเดอร์ก็คือภาพยนตร์สั้นที่ทำเขาทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของภาพยนตร์ชุด
GERMANY IN AUTUMN (1978) โดยภาพยนตร์ชุดนี้เป็นผลงานของผู้กำกับภาพยนตร์ในกลุ่ม
NEW GERMAN CINEMA และมีเนื้อหาเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ด้านการก่อการร้ายในเยอรมนี
โดยในภาพยนตร์สั้นของฟาสบินเดอร์นั้น เขาแสดงเป็นผู้ชายที่ทะเลาะกับแม่ของเขาเอง
และเขาก็พูดชี้นำให้แม่ของเขากล่าวถ้อยคำที่แสดงความเป็นคนหัวเก่าออกมา นอกจากนี้
เขายังปฏิบัติต่อ ARMIN อย่างเลวร้ายในเรื่องนี้ด้วย ก่อนที่
ARMIN จะเสียชีวิตในเวลาไม่นานหลังการแสดงภาพยนตร์เรื่องนี้
ทั้งนี้
ภาพยนตร์สั้นเรื่องนี้ถือเป็นหนึ่งในภาพยนตร์ที่มีความเป็นส่วนตัวที่สุดและเปิดเผยชีวิตจริงของตนเองมากที่สุดของฟาสบินเดอร์
และด้วยเหตุนี้ ภาพยนตร์สั้นเรื่องนี้จึงถือเป็นหนึ่งในคำสารภาพที่ตีแผ่ความเป็นจริงเกี่ยวกับตัวเองมากที่สุดเท่าที่ผู้กำกับภาพยนตร์คนใดในโลกนี้เคยทำมา
ถึงแม้หนังเรื่อง DESPAIR (1977) และ LILI
MARLEEN (1980) ของเขาเป็นหนังที่โฉ่งฉ่างและฉูดฉาดมากกว่าแต่ก่อน
ฟาสบินเดอร์ก็ยังคงผลิตผลงานระดับมาสเตอร์พีซออกมาในช่วงนั้น
ซึ่งก็คือมินิซีรีส์เรื่อง BERLIN ALEXANDERPLATZ ที่ดัดแปลงมาจากนิยายของ
ALFRED DOBLIN ได้อย่างเป็นธรรมชาติ
นักแสดงทุกคนในเรื่องนี้แสดงได้อย่างยอดเยี่ยม
ในณะที่การถ่ายภาพและการกำกับก็ยอดเยี่ยมเช่นกัน
โดยมินิซีรีส์เรื่องนี้เล่าเรื่องของผู้ชายคนหนึ่งที่ไม่สามารถแสวงหาความสุขให้กับตัวเองได้อย่างเพียงพอ
เพราะเขาเป็นคนที่มีข้อบกพร่องในตัวเอง และเพราะเขาใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางสังคมที่ปราศจากความเมตตา
ผู้ชมบางคนอาจจะคิดว่าเป็นเรื่องง่ายที่จะนำเสนอประเด็นอย่างนี้
แต่ถ้าหากพิจารณาจากความยาวของเรื่อง (931 นาที )
และจากความเข้าใจอย่างลึกซึ้งที่ผู้กำกับมีต่อธีมเรื่องแล้ว
(นิยายเล่มนี้เป็นแรงบันดาลใจให้กับฟาสบินเดอร์ตลอดทั้งชีวิตของเขา
และส่วนท้ายของมินิซีรีส์นี้เป็นการให้ฟาสบินเดอร์แสดงความคิดเห็นส่วนตัวเกี่ยวกับความรู้สึกของเขาที่มีต่อตัวละครเอกในเรื่อง)
มินิซีรีส์เรื่องนี้ก็คงเป็นอย่างที่โทนี่ เรย์นส์ว่าเอาไว้ว่า
“เป็นผลงานของปรมาจารย์ที่แท้จริงที่ไม่กลัวที่จะสูญเสียสิ่งใดและไม่คิดที่จะปกปิดสิ่งใดเอาไว้อีกต่อไป”
หนังเรื่องสุดท้ายที่ฟาสบินเดอร์กำกับเป็นหนังที่ดัดแปลงมาจากผลงานวรรณกรรมที่ได้รับการยกย่องอย่างสูงเช่นกัน
อย่างไรก็ดี
ในขณะที่หนังเรื่องก่อนๆหน้านี้ของเขาดัดแปลงมาจากนิยาย/บทละครเวทีของนักเขียนที่เขียนงานในแบบคลาสสิคและเล่าเรื่องในแบบเข้าใจง่าย
(ตัวอย่างเช่น NORA HELMER ที่ดัดแปลงมาจากบทประพันธ์ของ HENRIK
IBSEN, BOLWIESER หรือ THE STATIONMASTER’S WIFE ที่ดัดแปลงมาจากนิยายของ OSKAR MARIA GRAF และ DESPAIR
ที่ดัดแปลงมาจากบทประพันธ์ของ VLADIMIR NABOKOV) หนังเรื่องสุดท้ายของเขา ซึ่งก็คือเรื่อง QUERELLE กลับดัดแปลงมาจากนิยายเรื่อง
QUERELLE DE BREST ของ JEAN GENET ซึ่งมักแต่งนิยายที่อ่านยากและมีเนื้อหาไม่ปะติดปะต่อกัน
ถึงแม้ว่า DIETER SCHIDOR มาติดต่อฟาสบินเดอร์ให้สร้าง
QUERELLE เขาก็ขัดเกลาบทหนังเรื่องนี้ใหม่กับ BURKHARD
DRIEST (ซึ่งแสดงเป็นมาริโอในหนังด้วย) และก็ให้ ROLF
ZEHETBAUER ซึ่งเป็นคนที่ร่วมงานกับเขาเป็นประจำให้มาออกแบบโปรดักชันในเรื่อง
ทั้งนี้ ผลงานการออกแบบของ ZEHETBAUER ใน QUERELLE เป็นสิ่งที่น่าทึ่งตะลึงลานมาก โดยเฉพาะฉากในสตูดิโอที่เป็นท่าเรือเมือง BREST
ที่ถูกอาบไล้ด้วยแสงสีส้มผ่องราวกับว่าเมืองทั้งเมืองกำลังร้อนเร่าไปด้วยไฟตัณหา
(แถมยังมีสถาปัตยกรรมที่มีรูปร่างเหมือนอวัยวะเพศชาย, กลาสีเรือกักขฬะ
และบาร์กับซ่องวิตถารอยู่ในเมืองด้วย) ทั้งนี้
ถึงแม้ฟาสบินเดอร์ไม่สามารถนำเสนอปรัชญานอกรีตที่อยู่ในนิยายของ GENET ออกมาได้อย่างสมบูรณ์
ฟาสบินเดอร์ก็สามารถถ่ายทอดอารมณ์ที่อยู่ในงานเขียนของ GENET ออกมาได้อย่างยอดเยี่ยมโดยผ่านทางสไตล์แจ๋นแจ๋ในหนังของเขา
ถึงแม้ฉากที่เยี่ยมยอดหลายฉากในนิยายถูกตัดออกไปจากตัวภาพยนตร์อย่างมีเหตุผลสมควร
หนังเรื่อง QUERELLE ก็ยังมีสิ่งดีๆอยู่หลายอย่าง
ซึ่งรวมถึงสำเนียงอเมริกันของผู้บรรยายเรื่องที่สามารถถ่ายทอดถึงอารมณ์ที่เก็บกดและความต้องการทางเพศที่เก็บกดของตัวละคร
ในขณะที่วิธีการ “ทำให้ภาพบนจอเลือนหายไปเป็นสีขาว”
ในหนังเรื่องนี้ก็สามารถนำเสนออารมณ์กึ่งฝันได้อย่างมีประสิทธิภาพ QUERELLE
อาจจะไม่ใช่หนึ่งในหนังที่ยอดเยี่ยมที่สุดของฟาสบินเดอร์ก็จริง
แต่ถ้าหากนักวิจารณ์คนใดบอกว่าหนังเรื่องนี้น่าหัวเราะเยาะและน่าเบื่อแล้วล่ะก็
นักวิจารณ์คนนั้นก็ควรจะอ่านงานเขียนของ GENET เสียก่อน
เพราะว่าหนังเรื่องนี้ถ่ายทอดโลกเพี้ยนที่เต็มไปด้วยหลักศีลธรรมที่น่าเคลือบแคลงของ
GENET ออกมาได้อย่างทรงพลัง
EDMUND WHITE ซึ่งเป็นนักประพันธ์ที่ได้รับการยกย่องและเป็นผู้เขียนหนังสือชีวประวัติ
GENET เคยเขียนเอาไว้ว่า
ภาพยนตร์เป็นสื่อที่มักประสบความยากลำบากอยู่เสมอในการถ่ายทอดงานเขียนของนักประพันธ์อย่างเช่น
GENET “นอกเสียจากว่าผู้กำกับภาพยนตร์คนนั้นจะแสดงออกตั้งแต่
ช็อตแรกในหนังเลยว่า ทุกอย่างในหนังเรื่องนั้น
ตั้งแต่การจัดแสงไปจนถึงฉากและการแสดง จะถูกนำเสนอผ่านสไตล์ที่ปรุงแต่งมาแล้ว
และนั่นก็คือสิ่งที่ฟาสบินเดอร์ได้ทำในการดัดแปลงนิยายออกมาเป็นหนังเรื่อง QUERELLE
ได้อย่างสง่างาม”
หลังจากเขาสร้าง QUERELLE เสร็จ
ก็มีผู้พบฟาสบินเดอร์สิ้นใจอยู่ในอพาร์ทเมนท์ของเขาในมิวนิค เขาไม่ได้ฆ่าตัวตาย
แต่การใช้ชีวิตแบบไม่แคร์ความตายของเขาทำให้เขาตายในที่สุด
โคเคนและเหล้าทำให้หัวใจของเขาล้มเหลวขณะที่เขาอายุเพียง 37 ปี
อย่างไรก็ดี เขาแตกต่างจาก JEAN VIGO (ผู้กำกับหนังชื่อดังชาวฝรั่งเศส
ที่กำกับ L’ATALANTE และ ZERO FOR CONDUCT) ในแง่ที่ว่า
เป็นเรื่องยากที่จะเรียกการเสียชีวิตของฟาสบินเดอร์ในวัยหนุ่มว่าเป็นโศกนาฏกรรม
เพราะว่าฟาสบินเดอร์ได้กำกับภาพยนตร์ขนาดยาวไว้แล้วกว่า 30 เรื่องก่อนตาย
อย่างไรก็ดี เป็นเรื่องที่น่าสนใจที่จะตั้งข้อสงสัยว่า
ฟาสบินเดอร์จะทำอย่างไรบ้างในทศวรรษ 1980 และ 1990 เป็นเรื่องยากที่จะจินตนาการว่าเขาจะยอมไปกำกับหนังกระแสหลักหรือกำกับหนังอาร์ทยุโรปแบบคลาสสิค
โดยก่อนที่เขาจะตายนั้น เขาวางแผนไว้ว่าเขาจะกำกับหนังเรื่อง I’M THE
HAPPINESS OF THIS EARTH เป็นโครงการถัดไป
โดยหนังเรื่องนี้เป็นหนังดรามาเกี่ยวกับนักสืบที่ล้มเหลวสามคน
โดยใช้ฉากหลังเป็นดิสโกเธค และก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจเช่นกันที่จะตั้งคำถามว่า
สไตล์อันแปลกประหลาดที่ฟาสบินเดอร์ใช้กับ QUERELLE จะได้รับการขยายต่อเนื่องออกไปในหนังเรื่องหลังๆหรือไม่เพื่อถ่ายทอดบางสิ่งบางอย่างเกี่ยวกับโลกร่วมสมัยที่ศีลธรรมเสื่อมทราม
ฟาสบินเดอร์สร้างหนังเอาไว้เยอะมากแต่หนังบางเรื่องของเขาก็หามาดูได้ยากมากเช่นกัน
โดยตัวผู้เขียนบทความชิ้นนี้เองนั้นรู้สึกอยากดูหนังเรื่อง EIGHT HOURS ARE
NOT A DAY (1972) และ WORLD ON A WIRE (1973) ของฟาสบินเดอร์มากๆแต่ก็ยังหามาดูไม่ได้
นอกจากนี้ ผู้เขียนก็ยังไม่ได้กล่าวถึงหนังเรื่องอื่นๆของฟาสบินเดอร์อย่าง EFFI
BRIEST (1974) หรือ BOLWIESER (1977) ในเรียงความชิ้นนี้ด้วย
ถึงแม้ว่าในที่สุดแล้วฟาสบินเดอร์อาจจะไม่ใช่ผู้กำกับที่มีคนรักมากที่สุด
เขาก็ยังคงเป็นผู้กำกับที่โดดเด่นอยู่ดีในแง่ที่เขามุ่งมั่นอย่างไม่ลดละที่จะสร้างภาพยนตร์สะท้อนสังคม
และความสามารถอันหาได้ยากของเขาในการนำรูปลักษณ์ภายนอก, รูปแบบ
และเนื้อหาในภาพยนตร์ฮอลลีวู้ดมาประยุกต์ใช้ในการสร้างภาพยนตร์ที่นำเสนอความคิดเห็นทางการเมืองและศิลปะได้อย่างทรงพลัง
ไม่มีผู้กำกับคนอื่นอีกแล้วที่ผลงานของเขาสามารถถ่ายทอดประวัติศาสตร์ของประเทศๆหนึ่ง
(ซึ่งในกรณีของฟาสบินเดอร์ก็คือประเทศเยอรมันตะวันตกที่ได้ล่มสลายไปแล้ว
และกลายมาเป็นเยอรมนีในปัจจุบัน)
ผ่านทางชีวิตประจำวันของตัวละครได้อย่างยอดเยี่ยมเช่นนี้
ฟาสบินเดอร์นำเสนอธีมเรื่องเสรีภาพ (และการขาดเสรีภาพ), อิสรภาพ
และความเป็นตัวของตัวเองหลายครั้งในแบบต่างๆกัน
และเขาก็สามารถใช้ธีมนี้ในการสำรวจความน่าผิดหวังและความโหดร้ายของชีวิตในเมืองใหญ่
ผลงานของเขาแสดงให้เห็นว่า
ชีวิตการทำงานและชีวิตครอบครัวจริงๆนั้นดูเหมือนเครื่องจักรและว่างเปล่าจนน่าสะพรึงกลัวมากขนาดไหนถ้าหากสังคมปล่อยให้วัตถุนิยมเข้ามามีความสำคัญเหนือมนุษย์
หนังของเขาให้บทเรียนแก่พวกเราทุกคน
และไม่ได้เป็นเพียงแค่หนังสะท้อนเยอรมนีในทศวรรษ 1970 เท่านั้น
ฟาสบินเดอร์คือสิ่งที่หาได้ยากในโลกนี้ เขาคือผู้กำกับภาพยนตร์อันตรายตัวจริง
ลูกหมีซื้อนิยาย “ศพหกเหียน” กับ “ฝนล้านฤดู”
ของปราปต์มาพร้อมกัน เพราะลูกหมีบอกว่า มันมีคำว่า “หก” กับ “ล้าน” อยู่ด้วยกัน แม่หมีจะได้ถูกหวย
6 ล้านบาท 55555
Film Wish List: SOME STRINGS (2024, many directors, nearly 6
hours)
โครงการหนังนี้มีหนังสั้นของ Apichatpong
Weerasethakul และ Lav Diaz อยู่ในนั้นด้วย
เราเข้าใจว่าเป็นโครงการหนัง omnibus รวบรวมผู้กำกับหลาย ๆ
คน และเป็นโครงการหนังที่น่าสนใจมาก ๆ โดยตัวโครงการหนังนั้นได้รับแรงบันดาลใจมาจากการสังหารหมู่ชาวปาเลสไตน์ในกาซ่า
และบทกวี IF I MUST DIE ของ Refaat Alareer ที่เสียชีวิตในการสังหารหมู่
หนังเรื่องนี้ประกอบด้วยหนังสั้นหลาย ๆ
เรื่องจากผู้กำกับกว่า 100 คน และมีความยาวเกือบ 6 ชั่วโมง โดยหนังเรื่องนี้ได้ออกฉายไปแล้วตามงานต่างๆ
ทั่วโลก ซึ่งรวมถึงได้ฉายที่ร้านหนังสือ Limestone Books ในเนเธอร์แลนด์,
ในเทศกาล TOKYO FILMEX, ในเทศกาล DMZ
DOCS, ได้ฉายใน “แคมป์ของกลุ่มผู้สนับสนุนชาวปาเลสไตน์” ในนครมอนทรีอัล
ซึ่งต่อมาแคมป์นี้ได้ถูกทางการเข้ารื้อถอนทำลาย และเกือบได้ฉายใน “เทศกาลภาพยนตร์
3 ทวีป” ที่เมือง Nantes ในฝรั่งเศส แต่ทางผู้จัดงานจำเป็นต้องยกเลิกการฉาย
ผู้กำกับที่ทำหนังสั้นเข้าร่วมโครงการนี้รวมถึงผู้กำกับหลายคนที่พวกเรารู้จักกันดี
อย่างเช่น Apichatpong Weerasethakul, Philippe Parreno, Alain Gomis, Basma
al-sharif, Ben Rivers, Ben Russell, Douglas Gordon, Eric Baudelaire, Eyal Sivan,
Francis Alÿs, Ghassan Salhab,
Jayce Salloum, Kamal Aljafari, Laura Huertas Millán, Lav Diaz, Leos Carax,
Marwa Arsanios, Maryam Tafakory, Onyeka Igwe, Philippe Creton, Sepideh Farsi,
Sharon Lockhart, Tariq Teguia (INLAND ที่เคยมาฉายในกรุงเทพในปี
2009), Wendelien van Oldenborgh (TWO STONES ที่เคยมาฉายในกรุงเทพในปี
2020) , Yann Gonzales (HIDEOUS)
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่:
“Filmmakers and artists from around the
world have formed Some strings, an ensemble of unreleased filmic gestures
that is rooted in Palestine, where poet and teacher Refaat Alareer was targeted
by Israeli strikes along with seven members of his family. In his last
poem, If I Must Die, published five weeks before his murder,
Refaat Alareer calls those who should live to create a kite - a long-standing
object of resistance- with bits of string and Some Strings, just like each of
his readers, receives it as a legacy.
The kites here are a diversity of views that share a space against the
silences, international indifference and continued approval of states, which
are already fabricating memorial confusions about the greatest civilian
massacre of the 21st century.
The systematic extermination of the Palestinian people on Palestinian soil is
taking place before our very eyes, and international diplomacy is failing to
prevent war crimes, crimes against humanity and genocidal actions.”
+++++++
THE THIRD MEMORY (1999, Pierre Huyghe, 10mins, A+30)
ดูหนังเรื่องนี้ได้ที่
https://www.e-flux.com/film/662959/the-third-memory/
หนังเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับ John
Wojtowicz เกย์นักปล้นธนาคารที่ก่อคดีดังในปี 1972
และต่อมาคดีดังกล่าวได้ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์เรื่อง DOG DAY AFTERNOON
(1975, Sidney Lumet, A+30) ที่นำแสดงโดย Al Pacino
ในหนังเรื่อง THE THIRD MEMORY นี้ Wojtowicz ตัวจริงได้มา reenact เหตุการณ์การปล้นธนาคารในครั้งนั้นด้วยตัวเอง โดยเขาได้เล่าด้วยว่า
ก่อนการปล้นธนาคาร เขากับเพื่อนได้ไปดูหนังเรื่อง THE GODFATHER (1972, Francis
Ford Coppola, 175min) ที่นำแสดงโดย Al Pacino
ในระหว่างที่มีการปล้นธนาคารนั้น ตำรวจได้ด่า Wojtowicz
ว่า “You are a lousy cocksucker.” และ Wojtowicz
ก็ได้ตอบโต้กลับไปในทันทีว่า “I’m a good cocksucker.”
อันนี้เป็นหนังเรื่องที่สองของ Pierre
Huyghe ที่เราได้ดู หลังจากที่เราเคยดูเรื่อง L’ELLIPSE
(1998, Pierre Huyghe, A+30) ไปแล้ว โดย L’ELLIPSE นั้นเป็นการนำหนังเรื่อง THE AMERICAN FRIEND (1977, Wim Wenders,
A+30) มาต่อเติมใหม่
อ่านที่เราเขียนถึง L’ELLIPSE ได้ที่
https://web.facebook.com/photo?fbid=10227351870645858&set=a.10225784745948720