Monday, June 23, 2025

BRIDE HARD VS. HAPPY HOUR

 

TRIPLE BILL FILM WISH LIST

 

หนังสามเรื่องเกี่ยวกับ A BOY AND HIS SICK MOTHER

 

28 YEARS LATER (2025, Danny Boyle, A+25)

+ A MONSTER CALLS (2016, J.A. Bayona, A+30)

+ BEFORE I WAKE (2016, Mike Flanagan, A+30)

 

ในบรรดาหนัง 3 เรื่องนี้ เราชอบ BEFORE I WAKE มากสุดนะ แล้วก็ชอบ A MONSTER CALLS มากเป็นอันดับสอง และ 28 YEARS LATER มากเป็นอันดับสาม

 

จริง ๆ แล้วเราชอบ concept ของ 28 YEARS LATER มาก ๆ ในช่วงครึ่งเรื่องหลัง แต่เราไม่อินกับตัวละครน่ะ 55555 เพราะเหมือนเราเป็นเด็กที่มองว่า “ตัวเราเองคงไม่น่าจะสู้กับซอมบี้ได้” เพราะฉะนั้นถ้าหากเราเป็นเด็กในเรื่อง เราคงปล่อยให้แม่ป่วยตาย ดีกว่าพาแม่ไปเสี่ยงกับการให้ซอมบี้กิน แต่เราก็เข้าใจว่าเด็กในเรื่องไม่ได้มองตัวเองแบบที่เรามองตัวเอง เพราะเด็กในเรื่องมันเก่งกาจกว่าเรามาก ๆ เพียงแต่ว่าจุดนั้นมันก็เลยทำให้เราไม่อินกับตัวละครเด็กในช่วงครึ่งหลังจ้ะ

 

DOUBLE BILL FILM WISH LIST

 

BRIDE HARD (2025, Simon West, A+15)

+ HAPPY HOUR (2015, Ryusuke Hamaguchi, Japan, 5hrs 17mins, A+30)

 

จริง ๆ แล้วหนังสองเรื่องนี้ไม่มีอะไรเหมือนกันเลย แต่เราอยากจัดฉายหนังสองเรื่องนี้ควบกันเพราะว่าเราชอบหนังสองเรื่องนี้ในจุดเดียวกัน นั่นก็คือ เราชอบหรืออินกับประเด็นเรื่อง “กลุ่มเพื่อนสาว และความน้อยอกน้อยใจในกลุ่มเพื่อนสาว” อะไรทำนองนี้น่ะ เหมือนมัน relate กับประสบการณ์เราในชีวิตจริง 555555

 

จุดนึงที่เราชอบสุดขีดใน HAPPY HOUR คือการที่หนังเรื่องนี้เล่าเรื่อง friendship ของกลุ่มเพื่อนหญิง 4 คน แต่ในบรรดา 4 คนนี้ ก็เหมือนมีการแตกออกเป็น 2 กลุ่ม เพราะมี “2 คนที่สนิทกันมาก่อน” แล้วก็มี “อีก 2 คนที่มาทีหลัง” ซึ่งกลุ่ม “อีก 2 คนที่มาทีหลัง” นี่ก็เหมือนรู้สึกว่าตัวเองไม่สามารถก้าวขึ้นไปสนิทกับ “2 คนที่สนิทกันมาก่อน” ได้ในระดับที่เท่าเทียมกัน ถ้าหากเราจำไม่ผิด มันอาจจะไม่ใช่ “ความน้อยใจ” ซะทีเดียว แต่มันเป็นอะไรที่น่าสนใจดีที่ในบรรดากลุ่ม 4 คนนี้ ระดับความสัมพันธ์มันก็ไม่ได้เท่าเทียมกันไปซะทั้งหมด

 

ส่วนใน BRIDE HARD นั้น ประเด็นเรื่อง “ความน้อยใจในบรรดากลุ่มเพื่อนสาว” กลายเป็นประเด็นหลักที่ทำให้เราอินหรือชอบหนังเรื่องนี้ คือสำหรับเราแล้ว “ผู้ร้าย” ในหนังเรื่องนี้จะอยู่หรือตายก็ไม่สำคัญ สิ่งที่สำคัญคือเรื่องความน้อยอกน้อยใจในบรรดากลุ่มเพื่อนนี่แหละ 55555

 

ซึ่งก็เหมือนกับที่เราเคยเขียนไปแล้วหลายครั้งว่า เรามักจะไม่อินกับหนังที่พูดถึง “ความรักหนุ่มสาว” และ “ความรักความผูกพันระหว่างสมาชิกครอบครัว” แต่เรามักจะอินกับหนังที่พูดถึงเรื่อง “ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อน ๆ”

++++++

 

เราก็เพิ่งได้ดูหนังของ Luc Moullet เรื่องนี้เป็นเรื่องแรก กราบจริง ๆ เหมือนเป็นผู้กำกับกลุ่ม French New Wave คนเดียวหรือเปล่านะที่ขึ้นชื่อในการทำ "หนังตลก" (ไม่นับ Pierre Etaix + Jacques Tati ที่เป็น PRE NEW WAVE และ Bertrand Blier ที่เป็น POST NEW WAVE)

Sunday, June 22, 2025

CHULAYARNNON ANYWAYS

 

CHULAYARNNON ANYWAYS (2025, ซาวองท์ ดอเลีย, imaginary film)

 

หนังเรื่องนี้ไม่มีจริงนะคะ เราแค่ล้อเล่น 55555 รูปต่าง ๆ มาจากหนังดังต่อไปนี้

 

1. BEHIND THE PAINTING (2015, Chulayarnnon Siriphol, video installation)

 

2. ANGSUMALIN48/ANG48/ALLIANCE OF NIPPON GIRLS 48 (2022, Chulayarnnon Siriphol, 25min, video installation, A+30)

 

3. I A PIXEL, WE THE PEOPLE EPISODE 5: MY MOTHER AND HER PORTRAITS  (2025, Chulayarnnon Sriphol, video installation, 60min, A+30)

 

4. I A PIXEL, WE THE PEOPLE EPISODE 16: THE ETERNITY OF GOLDEN SNAIL  (2025, Chulayarnnon Sriphol, video installation, 60min, A+30)

 

5. I A PIXEL, WE THE PEOPLE EPISODE 18: VOLUNTARY ARTIST: KIRATI (2025, Chulayarnnon Sriphol, video installation, 60min, A+30)

 

6. I A PIXEL, WE THE PEOPLE EPISODE 19: VOLUNTARY ARTIST: ANGSUMALIN (2025, Chulayarnnon Sriphol, video installation, 60min, A+30)

++++++++++

BRIDE HARD (2025, Simon West, A+15) มีฉาก mid-credits นะ เป็นพวกฉากนักแสดงพูดผิดพูดถูกระหว่างการถ่ายทำ แต่ไม่ได้มีฉากใด ๆ ต่อหลังจาก closing credits จบลงแล้ว

 

Saturday, June 21, 2025

I A PIXEL, WE THE PEOPLE (2025, Chulayarnnon Siriphol, video installation, 24 hours, A+30)

 

ประทับใจนิทรรศการ THIS PAGE IS INTENTIONALLY LEFT_____ . (Curated by Yoonglai Collective) ที่จัดแสดงที่ Bangkok Kunsthalle มาก ๆ ในนิทรรศการนี้มีเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับให้เราใส่ “ศัพท์แสลง” เข้าไปด้วย เพื่อจัดทำเป็น “ปทานุกรมแบบสับ”  เราก็เลยทดลองใส่คำว่า “เส่ยหยั่น” ลงไป (เป็นคำศัพท์ที่เรากับเพื่อน ๆ มัธยมในกลุ่มเดียวกันใช้พูดกันเอง)

 

 แล้วมันก็ถามว่า หมายความว่าอะไร เราก็เลยตอบไปว่า “จองหอง”

 

แล้วมันก็ให้เราแต่งประโยคโดยใช้คำว่า “เส่ยหยั่น” เราก็เลยแต่งประโยคว่า “เธอทำหน้าตาเส่ยหยั่นใส่เบญจมา”

 

แล้วมันก็ถามชื่อของเราด้วย เราก็เลยตอบโดยใช้นามแฝงของเราว่า “เจิดทนี เข่งกระจาย”

 

แล้วมันก็ print ศัพท์แสลงของเราใส่กระดาษออกมาให้ด้วย เราก็เลยประทับใจที่เราสามารถ contribute ศัพท์แสลงของเราเข้าไปในปทานุกรมได้

+++++++++

 

ในที่สุดเราก็ได้ดู I A PIXEL, WE THE PEOPLE (2025, Chulayarnnon Siriphol, video installation, 24 hours, A+30) ครบทุก episodes แต่จริง ๆ แล้วเราได้ดูเพียงแค่ 23 ชั่วโมงจาก 24 ชั่วโมงนะ เพราะว่ามีอยู่ 2 episodes ที่เราได้ดูแค่ครึ่งชั่วโมงหลัง ซึ่งได้แก่

 

EPISODE 16: THE ETERNITY OF GOLDEN SNAIL เราพลาดดูครึ่งชั่วโมงแรกของตอนนี้ เพราะเราหิวข้าวมาก เราเลยแว่บออกไปแดกข้าว 55555

 

EPISODE 18: VOLUNTARY ARTIST: KIRATI อันนี้เราก็พลาดดูครี่งชั่วโมงแรกเหมือนกัน เพราะเรามัวแต่กินข้าวกลางวัน เลยมาดูไม่ทัน

 

แต่ถึงแม้เราได้ดูแค่ 23 ชั่วโมงจาก 24 ชั่วโมง เราก็พอใจแล้ว งดงามมาก ๆ ถือว่าผลงานนี้ของเข้เป็น ONE OF MY MOST FAVORITE THAI FILMS (OR MOVING IMAGES) OF ALL TIME อย่างแน่นอน

 

ชอบมาก ๆ ที่หนังเรื่องนี้ (เราขอใช้คำว่า “หนัง” ก็แล้วกันนะ เพราะมันสั้นดี) ผสมผสานเรื่องส่วนตัวกับเรื่องการเมืองเข้าด้วยกัน เราก็เลยได้เห็นตั้งแต่ชีวิตคุณตาของเข้, คุณแม่ของเข้, เข้ ไปจนถึงลูกของเข้ และเห็นประวัติศาสตร์การเมืองไทยทั้งในยุคร.7, ร.8, ร.9, ร.10 (เรียกได้ว่าหนังเรื่องนี้ถือเป็นการบันทึกชีวิตคนไทยที่ครอบคลุมเวลานานถึง “สี่แผ่นดิน” ได้เหมือนกัน) ได้เห็นทั้งการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นประชาธิปไตย, สงครามมหาเอเชียบูรพา, เหตุการณ์ 6 ต.ค. 1976, เหตุการณ์สังหารหมู่คนเสื้อแดงในปี 2010 เรื่อยมาจนถึงม็อบไล่ประยุทธ์ในปี 2020

 

เราชอบการผสมผสานเรื่องส่วนตัวกับเรื่องการเมืองเข้าด้วยกันในหนังเรื่องนี้มาก ๆ เพราะว่าใน “หนังการเมือง” โดยทั่วไปนั้น หนังมักจะเล่าถึง “บุคคลสำคัญที่มีบทบาททางการเมือง” หรือ “เหยื่อทางการเมือง” หรือ “มวลชนกลุ่มใหญ่” แต่ไม่ได้พูดถึง “ชีวิตประจำวันของคนธรรมดาในช่วงที่ไม่มีเหตุการณ์สำคัญทางการเมือง” ส่วนในหนังชีวิตโดยทั่วไปนั้น เราก็อาจจะไม่เห็นผลกระทบทางการเมืองที่มีต่อชีวิตของตัวละครอย่างเด่นชัด แต่พอหนังเรื่องนี้ของเข้พูดถึงชีวิต “คนไทยธรรมดา ๆ ครอบครัวหนึ่ง” โดยตัดสลับกับเหตุการณ์ทางการเมืองที่น่าสนใจไปเรื่อย ๆ เราก็เลยรู้สึกราวกับว่า มันเป็นการ empower ชีวิตคนธรรมดาอย่างเรา ๆ ได้ดีมาก ๆ โดยที่เข้อาจจะไม่ได้ตั้งใจก็ได้ มันเหมือนกับเราที่เป็นคนธรรมดาตัวเล็ก ๆ ที่มีสิทธิมีเสียงแค่ 1 เสียง ได้ถูก “นับรวม” เข้าไปในความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองด้วย ถึงแม้เสียงเล็ก ๆ ของเราจะส่งผลกระทบเพียงน้อยนิดก็ตาม

 

คือพอชีวิตคนธรรมดา มันถูกบันทึกภาพไว้ แล้วภาพมันถูกฉายขึ้นบนจอใหญ่ ๆ แล้วตัดสลับกับเหตุการณ์สำคัญทางการเมืองที่ถูกฉายขึ้นบนจอใหญ่ ๆ จอเดียวกันไปด้วย เราก็เลยรู้สึกเหมือนกับว่า มัน empower เรามาก ๆ น่ะ

 

จริง ๆ แล้วหนังเรื่องนี้ไม่จำเป็นต้องดูครบทุกตอนก็ได้ แต่เราก็ตั้งใจไปดูให้ครบทุกตอน เพราะเราไม่ใช่คนที่ดูหนังเพราะสนใจ “ประเด็น” หรือ “message” ของหนัง เราสนใจเพียงแค่ “ความสุข” ที่เราได้รับจากการดูหนัง และพอเราได้ดูหนังเรื่องนี้ไปบางตอนแล้ว เราก็พบว่า มัน “เพลิดเพลิน” สำหรับเรามาก ๆ (แน่นอนว่า “ความบันเทิง” และ “ความเพลิดเพลิน” ของคนแต่ละคน มีความแตกต่างจากกัน “ความบันเทิง” สำหรับกู ย่อมไม่ใช่ “ความบันเทิง” สำหรับมึง 55555) และมันให้ “ความเพลิดเพลิน” แก่เรามากกว่าหนังฉายโรงหลาย ๆ เรื่อง เราก็เลยเอาเวลามาดูหนังเรื่องนี้ของเข้ให้ครบทุกตอนดีกว่า เพราะมันดูฟรี ไม่ต้องจ่ายตังค์ และมันก็ให้ความสุขความเพลิดเพลินแก่เรามากกว่าการดูหนังโรงหลาย ๆ เรื่องที่ไม่ได้เข้าทางเรา

 

 และอีกสาเหตุนึงที่เราพยายามมาดูหนังเรื่องนี้ให้ครบทุก episodes ก็เป็นเพราะว่าเราได้รับแรงบันดาลใจส่วนหนึ่งมาจากภาพยนตร์เรื่อง DEVELOP VIRIYAPORN WHO DARED IN 3 WORLDS หรือ “เจริญวิริญาพรมาหาทำใน 3 โลก” (2021, Kanyarat Theerakrittiyakorn, documentary, A+30) ด้วย เพราะหนังเรื่องนั้นตั้งข้อสันนิษฐานว่า หนึ่งในผู้ต้องสงสัยว่าอาจจะเป็น Viriyaporn Boonprasert (ผู้กำกับภาพยนตร์ลึกลับในตำนานของไทย) ก็คือ Chulayarnnon เราก็เลยพยายามตั้งใจมาดู I A PIXEL, WE THE PEOPLE ทุก episodes เพื่อ “จับผิด” ว่า หนังที่มีความยาว 24 ชั่วโมงเรื่องนี้ มีการใช้ฟุตเตจจากหนังของ Viriyaporn Boonprasert ผสมอยู่ด้วยหรือไม่ เพราะว่าถ้าหากมีการใช้ฟุตเตจเดียวกัน มันก็อาจจะใช้เป็นหลักฐานพิสูจน์ได้ว่า Chulayarnnon กับ Viriyaporn เป็นคนคนเดียวกัน แต่ผลปรากฏว่า ใน I A PIXEL, WE THE PEOPLE นี้ ไม่ได้มีการใช้ฟุตเตจเดียวกับหนังของ Viriyaporn Boonprasert แต่อย่างใด เพราะฉะนั้นหนังเรื่อง I A PIXEL, WE THE PEOPLE นี้ จึงไม่อาจใช้เป็นหลักฐานพิสูจน์ได้ว่า Chulayarnnon กับ Viriyaporn คือคนคนเดียวกันแต่อย่างใด 55555

 

เราถ่ายรูปไว้ทุก episodes นะ แต่ไม่รู้ว่าจะมีเวลาว่างลงรูปเมื่อไหร่ 555 

 

OSGOOD PERKINS

 

หนักมาก SITAARE ZAMEEN PAR (2025, R.S. Prasanna, India, 155min) ที่เมเจอร์ เอกมัย เต็มทุกที่นั่งตั้งแต่รอบ 12.00 น. จนถึงรอบ 22.30 น. แต่ว่าที่ไอคอน สยามกับที่เซ็นทรัล พระรามสาม ยังเหลือที่นั่งอยู่เยอะมาก

 

+++

 

แม่หมีแอบจับได้ว่า ลูกหมีแอบชวนชายหนุ่ม 3 คนมาเล่นจ้ำจี้มะเขือเปาะกันที่ห้อง ตอนที่แม่หมีออกไปดูหนัง วันนี้แม่หมีเลยจับลูกหมีใส่ตะกร้าล้างน้ำ

+++

 

ฉันรักเขา Theo James from THE MONKEY (2025, Osgood Perkins, A+30)

 

OSGOOD PERKINS และอะไรต่าง ๆ อีกมากมาย

 

เราได้ดู THE MONKEY (2025, Osgood Perkins, A+30) ในวันที่ 1 มี.ค. หรือเมื่อกว่า 3 เดือนก่อน แต่ยังไม่ได้จดบันทึกความรู้สึกที่มีต่อหนังเรื่องนี้เสียที วันนี้ก็เลยขอถือโอกาสจดบันทึกไว้เสียหน่อย

 

1. เราก็ชอบ THE MONKEY ในระดับ A+30 นะ แต่ถือว่าเป็นหนังที่เราชอบน้อยที่สุดในบรรดาหนัง 3 เรื่องของ Osgood Perkins ที่เราได้ดู (อีกสองเรื่องคือ FEBRUARY กับ LONGLEGS) เพราะว่าโดยปกติแล้วเราไม่ชอบและไม่อินกับหนังแนว “ตลกร้าย” น่ะ ซึ่ง THE MONKEY มันเป็น “ตลกร้าย” อย่างเต็มตัว เราก็เลยไม่ค่อยอินกับมันสักเท่าไหร่

 

2. แต่สาเหตุที่เรายังคงชอบ THE MONKEY ในระดับ A+30 เป็นเพราะว่า หนังเรื่องนี้ยังคงมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งที่คล้ายกับ FEBRUARY และ LONGLEGS และคุณสมบัตินั้นคือหนึ่งในสิ่งที่เราชอบมากที่สุดในหนังของ Osgood Perkins ถึงแม้ว่านั่นอาจจะเป็นสิ่งที่ Osgood Perkins ไม่ได้ตั้งใจก็ตาม

 

สิ่งนั้นก็คือว่า เรารู้สึกว่าหนังทั้ง 3 เรื่องของ Osgood Perkins ที่เราได้ดู มันทำให้เรารู้สึกคล้ายกับว่า เนื้อเรื่องในหนังทั้ง 3 เรื่องของเขา เกิดขึ้นใน “THE WORLD WITHOUT GOD” “THE WORLD IN WHICH GOD IS ABSENT” “THE WORLD IN WHICH GOD DOESN’T EXIST, BUT SATAN/EVIL EXISTS.” อะไรทำนองนี้น่ะ ซึ่งเราก็ไม่รู้ว่า Osgood Perkins ตั้งใจแบบนั้นหรือเปล่า

 

คือเราชอบจุดนี้ในหนังทั้ง 3 เรื่องของเขามาก ๆ เพราะเราว่ามันเป็นสิ่งที่เราไม่เจอในหนัง HORROR หลาย ๆ เรื่อง โดยเฉพาะหนังแนว “ไล่ผี” ของฝรั่ง หรือหนังชุด THE CONJURING เพราะว่าในหนังเหล่านั้น เมื่อตัวละครเผชิญกับ ภูตผีปีศาจ, evil ghosts, devils, etc. ตัวละครก็สามารถขอพึ่งพาอำนาจจาก “พระเจ้า” ในการต่อสู้กับภูตผีปีศาจได้ คือในหนัง HORROR หลาย ๆ เรื่องนั้น GOD EXISTS น่ะ

 

ดังนั้นถึงแม้ THE MONKEY จะเป็น “หนังตลกร้าย” ที่เราไม่ค่อยอิน แต่เราก็ยังคงรู้สึกว่า เนื้อหาในหนังเรื่องนี้ มันเกิดขึ้นใน “โลกที่อยู่ภายใต้การควบคุมของซาตาน/ปีศาจร้าย และไม่รู้ว่าพระเจ้าหายไปไหน” เหมือนกับใน FEBRUARY และ LONGLEGS เราก็เลยยังคงชอบหนังเรื่องนี้ในระดับ A+30 อยู่ดี มันเหมือนกับว่า นอกจากความเป็น “ตลกร้าย” แล้ว หนังเรื่องนี้ยังคงมี “ความมืดที่น่ากลัวจริง ๆ" สำหรับเรา ซ่อนอยู่ในหนังด้วย

 

3. ส่วนอันนี้เป็นความรู้สีกเพิ่มเติมของเราที่มีต่อ Osgood Perkins คือตอนนี้เราตัดสินได้อย่างมั่นใจแล้วว่า เราชอบ FEBRUARY (2015) มากกว่า LONGLEGS (2024) 55555 เพราะฉะนั้นในบรรดาหนังสามเรื่องของเขาที่เราได้ดู เราก็เลยชอบ FEBRUARY เป็นอันดับหนึ่ง, LONGLEGS เป็นอันดับสอง และ THE MONKEY เป็นอันดับสาม สรุปว่า เราชอบหนังเรื่องแรก ๆ ของเขามากกว่าหนังเรื่องหลัง ๆ

 

คือตอนที่เราดู LONGLEGS จบใหม่ ๆ ในปีที่แล้ว เราพบว่าเราชอบ LONGLEGS อย่างรุนแรงสุดขีดคลั่งมาก ๆ จนเราไม่แน่ใจว่า เราชอบหนังเรื่องไหนมากกว่ากัน ระหว่าง LONGLEGS กับ FEBRUARY

 

แต่พอเวลาผ่านมานานราว 1 ปี เราก็มั่นใจได้เลยว่า เราชอบ FEBRUARY มากกว่า LONGLEGS อย่างแน่นอน เพราะเรายังคงคิดถึงตัวละครใน FEBRUARY อยู่บ่อยครั้ง แต่เราไม่ได้คิดถึง LONGLEGS มากเท่า  

 

คือเหมือนเวลาเราดูหนังเรื่องต่าง ๆ เราจะมี benchmark ในใจเราสำหรับวัดว่า “ตัวละครนางเอก” ในหนังเรื่องนั้น ๆ เข้าทางเรามากน้อยแค่ไหนน่ะ ซึ่งหนึ่งใน benchmark ที่เราใช้วัดเป็นประจำในการดูหนังในทศวรรษ 1990 ก็คือตัวละคร “เวฬุรีย์” จากละครโทรทัศน์เรื่อง “เพลิงพ่าย” ส่วนในช่วงทศวรรษ 2000 ก็คือตัวละคร Manu ในหนังเรื่อง BAISE-MOI (2000, Virginie Despentes + Coralie Trinh Thi) คือถ้าหากตัวละครนางเอกในหนังเรื่องไหน ทำตัวคล้าย ๆ และ เวฬุรีย์ และManu มากเท่าไหร่ มันก็บ่งชี้ได้ในทางหนึ่งว่า ตัวละครนางเอกตัวนั้น “เข้าทาง” เรามากเท่านั้น เพราะฉะนั้นตัวละครนางเอกในหนังอย่าง MAPS TO THE STARS (2014, David Cronenberg) ก็เลยกลายเป็นหนึ่งในตัวละครที่เราชอบมากที่สุดตลอดกาลไปเลย เพราะนางเอกของ MAPS TO THE STARS สามารถปะทะกับเวฬุรีย์และ Manu ได้อย่างแน่นอน

 

และพอเราได้ดู FEBRUARY (2015, Osgood Perkins) ในช่วงต้นปี 2016 ตัวละคร “Kat” (Kiernan Shipka) ซึ่งเป็นหนึ่งในตัวละครนางเอกของ FEBRUARY ก็ได้กลายมาเป็นหนึ่งใน benchmark ของเราเหมือนกับตัวละคร  เวฬุรีย์ และ Manu คือถ้าหากตัวละครนางเอก/หญิงสาว/วัยรุ่นของหนังเรื่องไหนเข้าใกล้ความเป็น Kat ได้มากเท่าใด ตัวละครเด็กสาวนางเอกของหนังเรื่องนั้นก็ยิ่งเข้าทางเรามากเท่านั้น

 

ยิ่งโดยเฉพาะเวลาที่เราดูหนังที่มี “เด็กผู้หญิง” โดน bully ในโรงเรียนหรือเด็กผู้หญิงที่เจอกับคนเลว ๆ หัวสมองของเราก็มักจะจินตนาการโดยอัตโนมัติว่า “อย่างมึงต้องเจอกับ Kat จาก FEBRUARY” อะไรทำนองนี้ ซึ่งหนังเรื่องล่าสุดที่กระตุ้นจินตนาการเราทำนองนี้ ก็คือ BRING HER BACK (2025, Danny Phillippou, Michael Phillippou, A+30) เพราะตอนที่เราดู BRING HER BACK ในช่วงครึ่งแรก หัวสมองของเราก็จะจินตนาการโดยอัตโนมัติว่า “อี Sally Hawkins ลองถ้ามึงได้ลูกบุญธรรมแบบ Kat ดูสิ ดูซิว่ามึงจะรอดไปได้สักกี่น้ำ ดูซิว่ามึงจะยังมีชีวิตรอดจนถึงครึ่งหลังของเรื่องมั้ย” 55555 แต่พอในช่วงหลัง ๆ ของหนัง ตัวละครพระเอกของ BRING HER BACK ลุกขึ้นสู้อย่างจริงจัง เราก็เลยไม่ต้องจินตนาการถึง Kat อีก

 

และตอนที่เราดู ATTACK 13 (2025, Taweewat Wantha, A+30) ช่วง 10 นาทีแรกเราก็นึกถึง Kat จาก FEBRUARY ในทันที เพราะพอหนังมันเซ็ตเรื่องเป็น “เด็กสาวตบกันในโรงเรียนมัธยม” เราก็จะจินตนาการถึง Kat ขึ้นมาโดยอัตโนมัติ หัวของเราจะจินตนาการทันทีว่า “อีบุษบา ลองถ้ามึงมาเจอกับ Kat จาก FEBRUARY ดูสิ ดูซิว่ามึงจะมีชีวิตรอดต่อไปได้อีกกี่นาที”

 

แต่ปรากฏว่า ATTACK 13 สร้างตัวละคร “จิน” ออกมาได้เข้าทางเราอย่างสุดขีดมาก ๆ เพราะฉะนั้นพอตัวละคร “จิน” แผลงฤทธิ์ออกมาได้ในแบบที่ตรงใจเราไปเรื่อย ๆ เราก็ไม่ต้องจินตนาการนึกถึง Kat อีกต่อไป และตัวละคร “จิน” ก็เลยกลายเป็นหนึ่งในตัวละครหญิงสุดโปรดของเราไปเลย

 

เราก็เลยพบว่า ถึงแม้เราจะชอบ LONGLEGS อย่างสุดขีด แต่มันก็เป็นการชอบที่บรรยากาศ, ความขลัง, ความเฮี้ยน, ความ cinematic, etc. แต่ตัวละครใน LONGLEGS มันไม่ได้เข้ามา “ครองใจเรา” แบบตัวละครหญิงใน FEBRUARY น่ะ เรายังคงนึกถึงตัวละครหญิงใน FEBRUARY อยู่เสมอ ๆ เวลาที่เราดูหนังเรื่องต่าง ๆ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เพราะตัวละครหญิงใน FEBRUARY มันได้กลายเป็น benchmark สำหรับใช้วัดว่าตัวละครในหนังเรื่องไหนเข้าทางเรามากน้อยแค่ไหนน่ะ เหมือนกับตัวละครนางเอกของ BAISE-MOI และเพลิงพ่าย

 

ซึ่งตัวละครหญิงที่ผ่านเกณฑ์ benchmark ของเรา นอกจากตัวละครนางเอกของ MAPS TO THE STARS และ ATTACK 13 แล้ว ก็มีตัวละครนางเอกของ PEARL (2022, Ti West), MAXXXINE (2024, Ti West) และ STRANGE DARLING (2023, JT Mollner) ที่ผ่านเกณฑ์เช่นกัน คือดูแล้วรู้เลยว่า ถ้าหากตัวละครนางเอกของ ATTACK 13, PEARL, MAXXXINE และ STRANGE DARLING มาเจอกับ Kat จาก FEBRUARY ตัวละครนางเอกเหล่านี้ก็น่าจะยังคง “มีชีวิตรอดได้อีกนาน” ไม่ถูก Kat ฆ่าตายได้ง่าย ๆ 55555

 

ไม่รู้ว่าเพื่อน ๆ มีตัวละครตัวไหนที่ถือเป็น benchmark สำหรับรสนิยมของตัวเองแบบนี้เหมือนกันหรือเปล่า

 

4. เสียดายที่เรายังไม่ได้ดู I AM THE PRETTY THING THAT LIVES IN THE HOUSE (2016, Osgood Perkins) กับ GRETEL & HANSEL (2020, Osgood Perkins)

 

5. เนื่องจาก Osgood Perkins เป็นผู้กำกับที่เราชอบหนังเรื่องแรก ๆ ของเขามากกว่าหนังเรื่องหลัง ๆ เราก็เลยลองนึกดูว่า มีผู้กำกับคนไหนอีกบ้างที่เรารู้สึกแบบนั้น ซึ่งตอนนี้ที่นึกออกก็มีอย่างน้อย 3 คน ซึ่งก็คือ

 

5.1 Apichatpong Weerasethakul

 

คือเราก็ยังคงชอบหนังเรื่องหลัง ๆ ของ Apichatpong อย่างรุนแรงสุดขีดนะ ทั้ง MEMORIA (2021) และ CEMETERY OF SPLENDOUR (2015) นี่เราก็กราบไหว้บูชามาก ๆ เพียงแต่ว่า ถ้าหากถามว่าเราชอบหนังเรื่องไหนของ Apichatpong มากที่สุด มันก็ยังคงเป็น WINDOWS (1999) น่ะ และถ้าหากถามว่าเราชอบหนังยาวเรื่องไหนของ Apichatpong มากที่สุด มันก็ยังคงเป็น MYSTERIOUS OBJECT AT NOON (2000) อยู่ดี ซึ่งสิ่งเหล่านี้เห็นได้ชัดว่า ความชอบของเรากับความดีงามของหนัง มันไม่เกี่ยวข้องกันเลยแม้แต่นิดเดียว แน่นอนว่า WINDOWS ไม่ใช่หนังที่ดีที่สุดของ Apichatpong แต่เป็นหนังที่เข้าทางเรามากที่สุดเท่านั้นเอง

 

5.2 Krzystof Kieslowski

 

เราชอบหนังยุคแรกของเขามากกว่าหนังยุคหลังอย่างเห็นได้ชัด เพราะเราชอบ UNDERGROUND PASSAGE (1974), PERSONNEL (1975), THE CALM (1976) และ A SHORT WORKING DAY (1981) มากกว่าหนังชุด THREE COLORS, THE DOUBLE LIFE OF VERONIQUE (1991), A SHORT FILM ABOUT LOVE (1988)

 

คือเราก็ชอบหนังยุคหลังของ Kieslowski อย่างรุนแรงสุดขีดนะ เห็นได้ชัดเลยว่า หนังยุคหลังของเขามันมีความ spiritual สูงกว่าหนังยุคแรก และอาจจะ “ดีงามกว่า” หนังยุคแรก แต่หนังยุคแรกของเขามันเข้าทางเรามากกว่า ซึ่งก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าเพราะอะไร หรือว่าหนังยุคแรกของเขามันมีพลังของ “โทสะ”, “ความขึ้งเคียด” และ ”ความเกลียดชัง” มากกว่าหนังยุคหลัง ๆ หรือเปล่าก็ไม่รู้ มันก็เลย “เข้าทาง” เรา เพราะอย่างที่เราเคยเขียนไปแล้วหลายครั้งว่า เรามักจะไม่อินกับ “ความรัก” ในหนัง แต่เรามักจะอินกับ “ความโกรธเกลียดเคียดแค้นชิงชัง” ในหนัง 55555

 

บางทีเราก็สงสัยเหมือนกันว่า เราเป็นคนเดียวในโลกหรือเปล่า ที่หลงรักหนังยุคแรก ๆ ของ Kieslowski มากกว่าหนังยุคหลัง ๆ

 

5.3 Rainer Werner Fassbinder

 

อย่างที่เราเคยแปะไปแล้วว่า เราเคยดูหนังของ Fassbinder ไปแล้ว 20 เรื่อง และ 5 อันดับหนังของเขาที่เราชอบมากที่สุด ก็คือ BREMEN FREEDOM (1972) , THE THIRD GENERATION (1979), KATZELMACHER (1969), THE NIKLASHAUSEN JOURNEY (1970) และ THE BITTER TEARS OF PETRA VON KANT (1972) น่ะ ซึ่งจะเห็นได้ว่า 4 ใน 5 เรื่องนี้เป็นหนังยุคแรก ๆ ของเขา

 

แล้วเพื่อน ๆ มีผู้กำกับคนไหนบ้างหรือเปล่า ที่ชอบผลงานยุคแรก ๆ ของเขามากกว่าผลงานยุคหลัง ๆ

 

++++

THE LODGER นี่เคยมาฉายที่โรงภาพยนตร์สกาล่าในกรุงเทพในวันที่ 13 ส.ค. 2014 ด้วยนะ แต่วันนั้นเราไม่ได้ไปดู THE LODGER เพราะวันนั้นเราไปดูหนังเรื่อง A BOTTLE IN THE GAZA SEA (2011, Thierry Binisti, France/Israel, A+10) ที่ Alliance

 

 

Friday, June 20, 2025

LOVE OR LIE

ATTACK 13 (2025, Taweewat Wantha, A+30)

 

1. สิ่งที่ชอบที่สุดในหนังเรื่องนี้ ก็คือตัวละคร “จิน” (อ๊ะอาย-กรณิศ เล้าสุบินประเสริฐ) นี่แหละ ถือเป็นตัวละครหญิงที่เราอินด้วยมาก ๆ ได้ใจเราอย่างสุด ๆ นึกว่า “จิน” = จิตร โพธิ์แก้ว 55555

 

2. ชอบช่วงแรก ๆ ของหนังมากกว่าช่วงหลัง ๆ นะ เพราะพอมันเข้าสู่ความเป็น “หนังผี” เต็มตัว แล้วมันก็จะต้องเผชิญกับคำถามที่ว่า “ผีในหนังเรื่องนี้สามารถทำอะไรได้บ้าง” ซึ่งเรารู้สึกว่า หนังเรื่องนี้เปิดโอกาสให้ผี  “มีอิทธิฤทธิ์ได้มากเกินไป” สำหรับเราหน่อยนึงน่ะ เหมือนผีในหนังเรื่องนี้สามารถฆ่าคนได้ง่ายเกินไปสำหรับเรา เราก็เลยรู้สึกว่า “กฎกติกาสำหรับผี” ในหนังเรื่องนี้ มันไม่ค่อยเข้าทางเราซะทีเดียว ความสนุกของเราในช่วงครึ่งหลังของหนัง ก็เลยลดลงมาหน่อย

 

ซึ่งอันนี้เป็นปัญหาเดียวกับที่เรามีกับช่วงครึ่งหลังของ DEATH WHISPERER 2 (2024)

 

3. ตอนนี้ก็ยังสรุปไม่ได้นะว่า เราชอบหนังเรื่องไหนของ Taweewat Wantha มากที่สุด ระหว่าง ATTACK 13, DEATH WHISPERER (2023), THE SPERM (2007) และ SARS WARS: BANGKOK ZOMBIE CRISIS (2004) เหมือนเราชอบทั้ง 4 เรื่องเท่า ๆ กันในตอนนี้

 

ตอนนี้ก็เลยบอกได้แต่ว่า ตัวละคร “จิน” นี่น่าจะเป็น “หนึ่งในตัวละครหญิงที่เราชื่นชอบมากที่สุดในหนัง mainstream ของไทย”

++++++

 

LOVE OR LIE (2025, Jit Kamnoedrat, A+25)

ฮักสัปปะลี่กับคดีสีชมพู

 

1. สิ่งที่ชอบที่สุดในหนังเรื่องนี้ก็คือ “ความตั้งใจในการเขียนบทภาพยนตร์” นี่แหละ คือจริง ๆ แล้วตัวบทภาพยนตร์ของหนังเรื่องนี้ก็อาจจะมีจุดที่ไม่เข้าทางเราบ้างนะ แต่เรารู้สึกว่าหนังเรื่องนี้มี “ความตั้งใจจริงจังในการเขียนบท” มาก ๆ หรือมากกว่าหนังไทยเมนสตรีมหลาย ๆ เรื่อง เราก็เลยชอบจุดนี้มากที่สุดของหนัง

 

ชอบความพยายามที่จะเล่าเรื่องแบบคล้าย ๆ jigsaw ในหนังเรื่องนี้ คือหนังไม่ได้เล่าเรื่องเป็นเส้นตรง แต่เอาเนื้อเรื่องมาเล่าทีละเสี้ยว ทีละเสี้ยว แล้วคนดูต้องคอยประกอบภาพรวมในหัวเอาเอง ซึ่งวิธีการเล่าแบบนี้ต้องอาศัยความตั้งใจจริงในการเขียนบทสูงมาก และสิ่งนี้อาจจะเป็นสิ่งที่ขาดไปในหนังไทยเมนสตรีมบางเรื่อง โดยเฉพาะหนังตลก

 

ดูหนังเรื่องนี้แล้วก็นึกถึงหนังเรื่องอื่น ๆ ที่มีวิธีการเล่าคล้าย ๆ jigsaw เหมือนกัน อย่างเช่น

 

1.1 STRANGE DARLING (2023, JT Mollner, A+30)

 

1.2 VANTAGE POINT (2008, Pete Travis)

 

1.3 TICK TOCK (2000, Kevin Tenney, A+30)

 

1.4 OUT OF SIGHT (1998, Steven Soderbergh, A+30)

 

2. รู้สึกว่าทั้งพระเอกและผู้ร้าย (แฟรงค์) ของหนังเรื่องนี้น่ารักดี แล้วพอดูจบเราถึงเพิ่งรู้ว่าพระเอกของหนังเรื่องนี้คือ ศตานนท์ ดุรงคเวโรจน์ เราจำเขาแทบไม่ได้เลย อยากแต่งตั้งให้ ศตานนท์ เป็น national treasure สมบัติของชาติของประเทศไทย 55555

 

3. เราไม่เชี่ยวชาญเรื่องหนังฮอลลีวู้ดยุคเก่า เพราะฉะนั้นพอเราดูหนังเรื่องนี้ เราก็เลยสงสัยว่า หนังเรื่องนี้ถือเป็น SCREWBALL COMEDY หรือมีความเป็น SCREWBALL COMEDY ผสมอยู่ในหนังด้วยหรือเปล่า ถ้าใครมีความเห็นอะไรเกี่ยวกับประเด็นนี้ก็บอกมาได้นะคะ เพราะเราไม่เชี่ยวชาญเรื่อง SCREWBALL COMEDY จริง ๆ

 

ตัวอย่างของหนังกลุ่ม SCREWBALL COMEDY ก็มีเช่น TROUBLE IN PARADISE (1932, Ernst Lubitsch), IT HAPPENED ONE NIGHT (1934, Frank Capra), MY MAN GODFREY (1936, Gregory La Cava), EASY LIVING (1937, Mitchell Leisen), THE AWFUL TRUTH (1937, Leo McCarey), BRINGING UP BABY (1938, Howard Hawks), HOLIDAY (1938, George Cukor), THE LADY EVE (1941, Preston Sturges), MR. & MRS. SMITH (1941, Alfred Hitchcock), I MARRIED A WITCH (1942, René Clair)

 

4. ขำที่ตัวละครพระเอกของหนังมีนามสกุลว่า “โพธิ์แก้ว” เหมือนเรา 55555 แต่ก็ไม่ได้ประหลาดใจมากนัก เพราะนามสกุลของเราเป็นนามสกุลโหล มีคนที่มีนามสกุลเดียวกับเราในทุกจังหวัดของไทย แต่คนนามสกุล “โพธิ์แก้ว” ที่กระจายอยู่ทุกจังหวัดในประเทศไทยนี้ ไม่ได้เป็นญาติกันแต่อย่างใด

 

พอพูดถึงนามสกุล “โพธิ์แก้ว” ของเราแล้ว เราก็ขอเล่าเสริมว่า เราเข้าใจว่าต้นตระกูลของเราเป็น “ชาวนาในจังหวัดนครนายก” นะ เหมือนเราเคยได้ยินว่าปู่กับย่าของเราน่าจะเป็นชาวนาในจังหวัดนครนายก แต่ว่าพ่อของเราเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ในปี 1976 ตอนที่เราอายุ 3 ขวบ แล้วหลังจากนั้นเราก็แทบไม่เคยได้ยินเรื่องราวของฝั่งครอบครัวพ่อเราอีกเลย และตอนนี้เราก็ไม่รู้ด้วยซ้ำไปว่า “ปู่” กับ “ย่า” ของเรามีชื่อว่าอะไร หรือว่าพ่อของเรามีพี่น้องกี่คน 55555 สรุปว่าในชีวิตจริงนั้น ถ้าหากเราเจอคนนามสกุล “โพธิ์แก้ว” มันก็อาจจะมีความเป็นไปได้เพียงแค่ราว 1% ที่คนคนนั้นอาจจะเป็นญาติห่าง ๆ ของเรา

 

5. ทำไมดูตัวละครนางเอก “ปั๋น” (ตูน ภัสร์ดารินทร์ ปริญญารักษ์) ในหนังเรื่องนี้ แล้วนึกถึง “อึ้งย้ง” ใน “มังกรหยก” โดยไม่ได้ตั้งใจ 55555 รู้สึกว่า “เสน่ห์” ของตัวละครนางเอกสองคนนี้มีอะไรบางอย่างที่ทำให้นึกถึงกัน อาจจะเป็นที่ความฉลาดและ “มีเล่ห์เหลี่ยมแพรวพราว” อะไรทำนองนี้มั้ง

 

6. ส่วนสาเหตุที่ทำให้เราไม่ได้ชอบหนังเรื่องนี้ถึงขั้น “ชอบสุด ๆ” หรือ A+30 ในตอนนี้ (แต่เราอาจจะชอบหนังเรื่องนี้มากยิ่งขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป) ก็เป็นเพราะว่า โทนของหนังเรื่องนี้มัน “เบา” เกินไปสำหรับเรามั้ง และเรามักไม่อินกับ “ความตลก” ในหนังเรื่องต่าง ๆ น่ะ ซึ่งรวมถึงในหนังต่างประเทศอย่างเช่น HIGH FIVE (2025, Kang Hyoung-chul, South Korea, A+25) ที่เพิ่งดูมาด้วย ซึ่งก็ไม่ใช่ความผิดของหนังเหล่านี้แต่อย่างใดนะ เพราะหนังเหล่านี้อาจจะเป็นหนังที่ดี หรือเป็น “หนังตลกที่ดี” ก็ได้ แต่เราแค่ไม่อินกับหนังตลก หรือ “ความตลกในหนังเรื่องต่าง ๆ” เท่านั้นเองจ้ะ เราก็เลยไม่ได้ชอบหนังเหล่านั้นถึงขั้น A+30 และเราก็มักจะอินกับ “หนังสยองขวัญ” หรือหนังที่ซีเรียสจริงจังมากกว่า

 

ตัวอย่างของ “สิ่งที่เราไม่อินด้วย” ใน LOVE OR LIE ก็มีเช่น

 

6.1 การที่นางเอกขู่พระเอกด้วย “สายฉีดก้น” แล้วพระเอกกลัวจนต้องยอมทำตาม คือสิ่งนี้เป็นสิ่งที่โอเคแหละใน “หนังตลก” แต่เราไม่อินกับอะไรแบบนี้จ้ะ

 

6.2 การที่นางเอกใช้ประโยชน์จาก “กลุ่มอันธพาล 3 คน” ที่ถือปืนไล่ล่าตามฆ่าแฟรงค์

 

คือเรารู้สึกว่ากลุ่มอันธพาล 3 คนที่ถือปืนไล่ล่าตามฆ่าผู้ชายแปลกหน้า ทั้ง ๆ ที่ยังไม่รู้แน่ชัดว่าผู้ชายคนนั้นเป็นคนเลวจริง ๆ หรือเปล่า นี่มันน่ากลัวพอ ๆ กับพวกตัวละครผู้ร้ายใน THE TEXAS CHAINSAW MASSACRE (1974, Tobe Hooper) เลยน่ะ แต่เหมือนหนังไม่ได้มองว่าตัวละครเหล่านี้น่ากลัวสุดขีดแบบที่เรามอง และปั๋นก็ยังไปใช้ประโยชน์จากตัวละครกลุ่มนี้อีก อันนี้ก็เลยถือเป็นอีกจุดนึงในหนังที่ไม่เข้าทางเรา

 

7. หนังเรื่องนี้ถือเป็นหนังที่เราชอบมากที่สุดของคุณ “จิต กำเหนิดรัตน์” เพราะก่อนหน้านี้เราเคยดูหนังของเขาอีก 2 เรื่อง ซึ่งก็ไม่ได้ชอบมากเท่านี้ โดยหนังอีก 2 เรื่องนั้นก็คือ

 

7.1 LOVE ARUMIRAI เลิฟอะรูมิไลค์ รักอะไรไม่รู้ (2015, จิต กำเหนิดรัตน์ + ชนาการ สายทอง, C+ )

 

7.2 CURSE แช่ง (2019, Jit Kamnoedrat, A+)

--วิปลาส (B )

--TATTOO (A+)

--คำแช่ง (A+20)

https://web.facebook.com/photo/?fbid=10219068164998394&set=a.10218747653865816

 

8. ชอบตัวละครพนักงานโรงแรมหน้าบอกบุญไม่รับมาก ๆ

 

 

+++++++++

 

ดู “มนุษย์ 100 คุก” A MAN WHO WAS JAILED 100 TIMES (1979, Thitisarn Suriyong, A+30) แล้วอยากรู้มาก ๆ ว่า นักแสดงท่านไหนรับบทเป็นเด็กวัดชื่อ “ไอ้เป้ง” คะ หล่อมาก ๆ

 

Edit เพิ่ม: ตอนนี้ค้นเจอแล้วค่ะว่า คือคุณ จิระศักดิ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา เป็นน้องชายของคุณอรสา อิศรางกูร และเป็นพี่ชายของคุณจิระวดี อิศรางกูร

https://web.facebook.com/photo/?fbid=1273733732791634&set=a.832973860200959&locale=th_TH

 

+++++++

อันดับหนึ่งของเราในช่วงครึ่งปีแรก น่าจะเป็น INTERVIEWS WITH FORMER THAI COMMUNIST PARTY MEMBERS WHO RETURNED TO THE CITY (1985, produced by Kraisak Choonhavan, documentary, 705 min) ค่ะ

+++++++++++

 

ดีใจที่ตัวดิฉันได้เป็นส่วนหนึ่งของ I A PIXEL, WE THE PEOPLE EPISODE 18: VOLUNTARY ARTIST: KIRATI (2025, Chulayarnnon Siriphol, video installation, 60min, A+30) ค่ะ โดยฟุตเตจดังกล่าวน่าจะเป็นการนำเอาภาพยนตร์เรื่อง FORGET ME NOT (2018, Chulayarnnon Siriphol, 90min, A+30) มา recycle ใหม่

+++++++++

 

อ่านเรื่องภาพของคุณ Butterfly Tong ที่ถูกสั่งปลดจากนิทรรศการ PRIDE ในโรงแรมแห่งหนึ่งแล้ว เราก็เลยนึกถึงนิทรรศการอะไรสักอย่างที่ “หอกลาง จุฬา” ในช่วงต้นทศวรรษ 2000 ที่มีการจัดฉายภาพยนตร์และวิดีโอต่าง ๆ โดยมีภาพยนตร์เรื่อง LIKE THE RELENTLESS FURY OF THE POUNDING WAVES หรือ “แม่ย่านาง” (1996, Apichatpong Weerasethakul, A+30) ร่วมแสดงด้วย และมีการจัดฉายภาพยนตร์สั้นเรื่องหนึ่งของคุณ Michael Shaowanasai ด้วย ซึ่งเราจำไม่ได้ว่าเรื่องอะไร เราจำได้แต่ว่า ตอนที่เราไปดูนิทรรศการดังกล่าว ภาพยนตร์เรื่อง “แม่ย่านาง” ได้รับการจัดฉายตามปกติ แต่ภาพยนตร์ของคุณ Michael ถูกสั่งห้ามฉาย โดยเจ้าหน้าที่เล่าว่า มีอาจารย์ของจุฬาท่านนึงมาดูนิทรรศการนี้ แล้วอีอาจารย์เหี้ยตัวนั้นเกลียดชังหนังของคุณ Michael Shaowanasai อย่างรุนแรงมาก ก็เลยสั่งห้ามฉายหนังเรื่องนี้ เราก็เลยอดดูไปเลย

 

มีใครรู้ข้อมูลเพิ่มเติมอะไรเกี่ยวกับนิทรรศการที่หอกลาง จุฬาในครั้งนั้น ก็มาเล่าได้นะคะ

 

กรี๊ดดดดดดดดดดดด ขอบพระคุณมากครับ ที่แท้คือหนังเรื่อง EASTERN WIND (1996, Michael Shaowanasai) นี่เอง

จำได้ว่าผมชอบงาน BEAUTY FIRST (Montri Toemsombat) ในนิทรรศการนี้มาก ๆ ด้วยครับ

 

++++++++

ขอเพิ่มรายชื่อภาพยนตร์/วิดีโอ 3 เรื่องนี้เข้าไปในรายชื่อ “หนังที่ออกฉายในเวลาไล่เลี่ยกัน แล้วมีอะไรคล้ายคลึงกันโดยบังเอิญ”

 

82. MICKEY 17 (2025, Bong Joon Ho)

+ TO THE MARS AND BACK (2024, Chanya Hetayothin, 9:55 min, animation)

+  THE TRIP TO THE MOON (TARDIGRADE) (2025, Anurak Tanyapalit, video installation, 14min)

 

เพราะว่าหนัง/วิดีโอ ทั้ง 3 เรื่องนี้นำเสนอตัว tardigrade หรือสัตว์ที่คล้าย ๆ ตัว tardigrade ในอวกาศเหมือนกัน

 

วิดีโอ THE TRIP TO THE MOON (TARDIGRADE) เป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการ WHERE ARE WE LANDING ที่จัดแสดงที่ JWD Artspace จนถึงวันที่ 3 ส.ค.นะ

 

ดูรายชื่อ “หนังที่ออกฉายในเวลาไล่เลี่ยกัน แล้วมีอะไรคล้ายคลึงกันโดยบังเอิญ” ได้ที่

https://web.facebook.com/photo/?fbid=10224847974130010&set=a.10221574828503415

 

+++++++++

 

ประทับใจสิ่งที่ Jonas Mekas เขียนอย่างรุนแรงสิ่งขีด จนเราต้องขอ copy เก็บไว้

 

What it comes to is that the new cinema is being kept out; noncommercial cinema is being kept out; the avant-garde is being kept out. There is an open fear of poetry. It is so much easier to laugh yourself away with a cute, empty cartoon. It’s easy to sit through a “serious” realistic or psychological movie (by a “wellknown” director): it doesn’t really move or disturb us; we are able to keep a “safe” distance. Whereas poetry asks for our hearts. Poetry is dangerous to our egos. “Those damn film poets!” cried out Pauline Kael during one of the festival symposiums. For the poets are disturbing Pauline Kael; they don’t leave Pauline Kael in peace, they want her to wake up, to change, they want her heart to melt

 

“Damn those film poets!” cries Pauline Kael, for somewhere deep she realizes that there is no real protection against poetry, that eventually the poet’s arrows will get her. Instead of saying “How ominous we are,” we say, “How ominous is Godard”—that way we can continue our ugly existences in peace. That is the saddest failure of modern criticism.

 

Instead, these critics keep telling us: You can’t do this in cinema; you can’t do that; this belongs to literature; this belongs to painting, or science. Godard is saying: Go to hell. Everything is possible. Or we don’t care about the possible and the impossible. We have things to tell and we’ll tell them and while we tell them we’ll find new ways of telling them, new forms, new poetic figures.

 

Now I know what Pauline Kael lost at the movies: the taste for cinema.

 

On the symposiums, Andrew Sarris found himself in a position of a professional caught among amateurs; a professor dragged into a discussion of higher mathematics with students in the first grade. He could tell them things, teach them—but he couldn’t really discuss anything on a proper level: They wouldn’t understand his language.

 

Quotes เหล่านี้มาจากหนังสือ MOVIE JOURNAL: THE RISE OF A NEW AMERICAN CINEMA 1959-1971 ของ Jonas Mekas นะ เป็นหนังสือที่มีให้อ่านออนไลน์ เราลองคลิกดูผ่าน ๆ แล้วพบว่ามันน่าสนใจมาก เพราะมันพูดถึงผู้กำกับภาพยนตร์หลายคนที่เราไม่เคยดูหนังของเขามาก่อน อย่างเช่น Gregory Markopoulos, Barbara Rubin, Warren Sonbert, Marie Menken, Willard Maas, Joyce Wieland, Lionel Rogosin, Naomi Levine, Storm de Hirsch, The Kuchar Brothers, etc. โลกภาพยนตร์นี่ยังมีอะไรที่น่าดูอย่างสุด ๆ รอเราอยู่จริง ๆ

 

https://monoskop.org/images/3/39/Mekas_Jonas_Movie_Journal_The_Rise_of_a_New_American_Cinema_1959-1971_1972.pdf

 

CINEMANIA (2002, Angela Christlieb, Stephen Kijak, USA/Germany, documentary, 79min, A+30)

 

เราอยากดูหนังเรื่องนี้มานาน 20 กว่าปีแล้ว ในที่สุดก็ได้ดูเสียที หนังสารคดีที่ถ่ายทอดชีวิตของ cinephiles 5 คนในนครนิวยอร์ค ซึ่งทั้ง 5 คนนี้ไม่ใช่ cinephiles ระดับธรรมดา แต่เป็นระดับ “บ้าคลั่ง” บางคนนี่ดูเป็นตัวอันตรายมาก ๆ มีสิทธิถ้าเราได้เจอในชีวิตจริงอาจมีการจิกตบกระชากหนังหัวกันแน่นอน 55555

 

ชอบมาก ๆ ที่ทั้ง 5 คนนี้มีความบ้าคลั่งในภาพยนตร์เหมือนกัน แต่แต่ละคนก็มีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด บางคนคลั่งหนังฝรั่งเศส, บางคนคลั่งหนังเพลง, บางคนจำความยาวของภาพยนตร์ที่เคยดูได้ทุกเรื่อง, บางคนเป็นนักร้องเรียนเรื่อง “ความบกพร่องในระหว่างการฉายหนัง” และบางคนชอบด่าทอและบีบคอพนักงานโรงภาพยนตร์ จนทางโรงภาพยนตร์ต้องแบนผู้หญิงคนนี้ไม่ให้เข้าโรงภาพยนตร์อีกต่อไป แต่ผู้หญิงคนนี้ก็พยายามปลอมตัว แต่งหน้าทาปาก ทาอายแชโดว์มาต่อแถวซื้อตั๋วที่โรงภาพยนตร์ แต่เจ้าหน้าที่ก็จำได้ และห้ามไม่ให้เธอเข้าไปดูหนังในโรง 55555

 

บางจุดนี่เหมือนตัวเรามาก ๆ อย่างเช่น “ความสนุกในการจัดตารางการดูหนัง” เพราะว่าถ้าหากเวลา 19.00 น.ของวันจันทร์ เราเลือกดูหนังเรื่องนี้ เราก็อาจจะพลาดหนังอีก 7 เรื่องที่ฉายในเวลาเดียวกันในวันเดียวกันในโรงภาพยนตร์อื่น ๆ เพราะฉะนั้นเราจะต้องเลือกหนังที่ดูในแต่ละ slot ให้ดี เพื่อที่เราจะได้ดูหนังที่เราอยากดูมากที่สุดเป็นจำนวนมากที่สุดเท่าที่เราจะทำได้

 

บางคนก็จดชื่อหนังที่ตัวเองเคยดูลงสมุดด้วย ซึ่งก็เหมือนกับเรามาก ๆ เช่นกัน

 

ชอบที่หนังเรื่องนี้บันทึกวัฒนธรรมการดูหนังก่อนยุคอินเทอร์เน็ตแพร่หลาย, ก่อนยุคโทรศัพท์มือถือ, ก่อนยุคสตรีมมิง และเป็นช่วงที่วัฒนธรรม multiplex เพิ่งเริ่มต้นด้วย

 

หนังเรื่องนี้เปิดให้ดูฟรีออนไลน์จนถึงราว ๆ เที่ยงวันศุกร์ที่ 20 มิ.ย.นะ

Thursday, June 19, 2025

IMAGINARY SOUNDTRACK FOR QUEER

 

อะไรคือการที่เราได้ดูหนังเรื่อง QUEER (2024, Luca Guadagnino, A+30) แล้วมันส่งผลให้เราชอบเพลงนี้เพิ่มขึ้นมาก ๆ ๆๆๆๆๆ ทั้ง ๆ ที่เพลงนี้ไม่ได้อยู่ในหนังแต่อย่างใด และแน่นอนว่าหนังเรื่อง QUEER ส่งผลให้หัวสมองของเราแปลงเนื้อเพลงนี้โดยอัตโนมัติ 55555

 

“เมื่อเธอ รู้ว่าฉันรัก ก็อย่าทำให้ฉันหลง
บอกกะเทยตามตรง นี่เรื่องจริงหรือฉันเพ้อ
ตอนนี้ยังพอทำใจ ถ้าสิ่งที่ได้เจอ คือฝันคือละเมอและไม่จริง

 

เก่งมาจากไหน ก็แพ้หัวใจอย่างเธอ
เมื่อ ไหร่ที่เผลอ ยังนึกว่าเธออยู่ในฝัน
ยังมีอีกหรือ รักแท้ที่เคยเสาะหามานาน
วันนี้เป็นไงเป็นกันจะรักเธอ

เมื่อเธอ รู้ว่าฉันรัก ก็อย่าทำให้ฉันหลง
บอกกะเทยตามตรง นี่เรื่องจริงหรือฉันเพ้อ
ตอนนี้ยังพอทำใจ ถ้าสิ่งที่ได้เจอ คือฝันคือละเมอและไม่จริง

วันนี้ฉันรักเธอ คือเรื่องจริง”

 

อยากให้มีคนทำ MV เพลง “แพ้ใจ” ของใหม่ เจริญปุระ โดยตัดต่อคลิปจากหนังเรื่อง QUEER ให้เข้ากับเพลงนี้ 55555

Sunday, June 15, 2025

HENAS (2022, Hossein Darabi, Iran, A+30)

 

หนังที่เรานึกถึงอย่างรุนแรงในช่วงนี้คือ HENAS (2022, Hossein Darabi, Iran, A+30) ซึ่งสร้างจากเรื่องจริงของ Dariush Rezainejad นักวิทยาศาสตร์ของอิหร่านที่ถูกสายลับอิสราเอลฆ่าตายในอิหร่านในปี 2011

 

ดูหนังเรื่องนี้แล้วนึกถึงพวกหนังกลุ่ม Conspiracy อย่างเช่น CHINATOWN (1974, Roman Polanski), THREE DAYS OF THE CONDOR (1975, Sydney Pollack), ALL THE PRESIDENT’S MEN (1976, Alan J. Pakula), I…FOR ICARUS (1979, Henri Verneuil), BLOW OUT (1981, Brian De Palma) และรวมไปถึงหนังอย่าง TINKER TAILOR SOLDIER SPY (2011, Tomas Alfredson) ด้วย

 

ถึงแม้ HENAS จะมีความเป็น thriller แต่มันก็ไม่ได้ลุ้นระทึกตื่นเต้นฉี่แทบราดตลอดเวลาแบบหนัง thriller ของฮอลลีวู้ดนะ ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ดีแล้ว และก็เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ เพราะเราว่าจุดประสงค์หลักของ HENAS คือความเป็น “หนังการเมือง” ที่สร้างขึ้นเพื่อประจานความชั่วร้ายของอิสราเอลและสายลับอิสราเอล และเราว่า HENAS ทำจุดนี้ได้ดีสุดขีด ส่วนความเป็น thriller นั้นถือเป็นเพียงแค่น้ำจิ้มของหนัง ไม่ใช่จุดประสงค์หลักของหนัง

 

เราได้ดูหนังเรื่องนี้ที่หอภาพยนตร์ ศาลายา เราชอบสุดขีดที่ทางหอภาพยนตร์นำหนังหลาย ๆ เรื่องจากอิหร่านมาฉาย มันเปิดหูเปิดตาเราอย่างรุนแรงมาก ๆ เพราะหลาย ๆ ประเด็นในหนังอิหร่านเหล่านี้เป็นประเด็นที่เราแทบไม่เคยเจอในภาพยนตร์เรื่องอื่น ๆ ที่เราเคยดูมาก่อน อย่างเช่น HENAS ที่เล่าเรื่องของนักวิทยาศาสตร์อิหร่านที่ถูกสายลับอิสราเอลฆ่าตาย และ THE SURVIVOR (1995, Seifollah Dad, Iran, A+30) ซึ่งถือเป็น ONE OF MY MOST FAVORITE FILMS OF ALL TIME ที่เล่าเรื่องที่อิสราเอลสังหารหมู่ชาวปาเลสไตน์อย่างโหดเหี้ยมในทศวรรษ 1940 คือประเด็นเหล่านี้เราแทบไม่เคยเจอในหนังเรื่องอื่น ๆ น่ะ เพราะหนังเรื่องอื่น ๆ ชอบเล่าแต่เรื่อง Holocaust

+++

 

เพิ่งคุยกับเพื่อน cinephile เมื่อตะกี้ว่า Renny Harlin เคยโด่งดังมาก ๆ ในทศวรรษ 1990 และเราก็ชอบ THE LONG KISS GOODNIGHT (1996) มาก ๆ  แต่หนังของเขาที่เราชอบมากที่สุดคือ MINDHUNTERS (2004)

 

เรายังจำสิ่งที่เพื่อนของเราคนนึงพูดเมื่อราว 28-29 ปีก่อนได้เลย เพราะเพื่อนของเราคนนั้นพูดหลังจากดู THE LONG KISS GOODNIGHT จบว่า “ฉันอยากตั้งครรภ์กับผู้ร้ายในหนังเรื่องนี้” เพราะ Craig Bierko ที่รับบทผู้ร้ายในหนังเรื่องนี้ น่าตั้งครรภ์ด้วยมาก ๆ

 

จริง ๆ แล้วตอนที่เราดู THE ACCOUNTANT 2 (2025, Gavin O’Connor, A+25) เราก็คิดถึง THE LONG KISS GOODNIGHT มาก ๆ เหมือนกัน เพราะหนังสองเรื่องนี้มีอะไรบางอย่าง “ที่เป็นด้านกลับของกันและกัน”

 

+++++++++++

 

เราได้ดู LAURENCE ANYWAYS (2012, Xavier Dolan, Canada, A+30) รอบแรกในวันที่ 21 พ.ย. 2012 ที่โรงภาพยนตร์เอสพลานาด รัชดา และก็ได้ดู LAURENCE ANYWAYS รอบสองที่โรงหนัง HOUSE SAMYAN ในวันศุกร์ที่ 13 มิ.ย.

 

พอดูรอบสองแล้วก็ต้องยอมรับว่า เราชอบฉาก AT THE BALL ในหนังเรื่องนี้จริง ๆ เพราะมัน nostalgic อย่างรุนแรงสุดขีด ดูแล้วนึกถึงมิวสิควิดีโอในทศวรรษ 1980 มาก ๆ

 

ดูแล้วก็แอบสงสัยว่า Xavier Dolan เป็นใครกลับชาติมาเกิด เพราะเขาเกิดปี 1989 เขาไม่น่าจะเติบโตมากับมิวสิควิดีโอของทศวรรษ1980 ทำไมเขาถึงถ่ายทอด “ความเป็นมิวสิควิดีโอของทศวรรษ 1980” ออกมาได้ดีมาก ๆ ในฉากนี้ 55555 หรือบางทีเขาอาจจะแค่ซึมซับแฟชั่นของทศวรรษ 1980 แล้วถ่ายทอดมันออกมาได้ดีมาก ๆ ในฉากนี้ก็ได้

 

คือดูฉากงานปาร์ตี้ใน LAURENCE ANYWAYS แล้วนึกถึงฉากงานปาร์ตี้ใน 3 มิวสิควิดีโอนี้มาก ๆ

 

1. IT’S MY PARTY (1981) – Barbara Gaskin + Dave Stewart

https://www.youtube.com/watch?v=fUlcfF5Dnvc

 

2. I LIKE CHOPIN (1983) – Gazebo

https://www.youtube.com/watch?v=Dtrgwqei7ww

 

3. VIENNA (1981) – Ultravox

Music video directed by Russell Mulcahy
https://www.youtube.com/watch?v=xJeWySiuq1I

 

เราเดาว่ามันต้องมีมิวสิควิดีโอเพลงอื่น ๆ ในทศวรรษ 1980 อีกแน่ ๆ ที่ถ่ายทอดฉากงานปาร์ตี้ออกมาได้สุดเหวี่ยงแบบนี้ ถ้าใครรู้จักมิวสิควิดีโออื่น ๆ อีกที่เป็นแบบนี้ ก็แนะนำมาได้นะ

 

ฉากงานปาร์ตี้ใน LAURENCE ANYWAYS

https://www.youtube.com/watch?v=C0NiPPlx2LY

 

Favorite Character: Andy (Billy Barratt) in BRING HER BACK

 

พอเวลาผ่านมาหลายเดือน ก็พบว่าหนึ่งในฉากที่เราชอบมากที่สุดในปีนี้ คือฉากที่พระเอกไปรับนางเอกที่สถานีรถไฟใน THE BRUTALIST (2024, Brady Corbet, A+30) ไม่รู้ทำไมเราถึงรู้สึกประทับใจกับสีลูกโป่งในฉากนั้นอย่างรุนแรงสุดขีดมากจนหาคำอธิบายอะไรไม่ได้ 55555

 

คือปกติเรามักจะชอบสีแช้ด ๆ แรง ๆ จัด ๆ แบบสีของหนังในทศวรรษ 1950 หรือไม่ก็สีพาสเทลไปเลย แล้วเรารู้สึกว่าสีลูกโป่งใน THE BRUTALIST ถ้าหากมันไปอยู่นอกตัวหนัง มันคงเป็นสีที่ดูไม่สวยในสายตาของเรา แต่พอมันปรากฏมาในหนังเรื่องนี้ ในจังหวะนั้น เรากลับรู้สึกประทับใจกับมันอย่างรุนแรงมาก และมันค้างคาอยู่ในใจเรามานานหลายเดือน โดยที่เราก็ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไมมันถึงคาใจเรา

 

เราเดาว่า สีลูกโป่งในฉากนั้นมันอาจจะทำให้เรารู้สึก nostalgia นึกถึงสีที่เคยเห็นบ่อย ๆ ในวัยเด็กในทศวรรษ 1970 ก็ได้มั้ง แบบพวกสีแฟนต้าอะไรพวกนี้ 55555 แต่เราก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าเป็นสาเหตุนี้หรือเปล่าที่ทำให้ฉากนี้มันติดค้างอยู่ในใจเรามานานหลายเดือน

 

Favorite Character: Andy (Billy Barratt) in BRING HER BACK (2025, Danny Philippou, Michael Philippou, Australia, A+30)

 

ปกติเรามักจะอินกับ “ตัวละครหญิง” ไม่ได้อินกับ “ตัวละครชาย” แต่ตัวละครแอนดี้ใน BRING HER BACK นี่ถือเป็นตัวละครที่เรารู้สึก “ผูกพัน” และ “หลงใหล” อย่างรุนแรงสุดขีด โดยไม่ได้เกิดจากแค่รูปร่างหน้าตาที่หล่อเหลาของตัวละคร แต่เป็นเพราะ “ปมทางจิต” ของตัวละคร คือเราชอบสุดขีดที่ในหนังเรื่องนี้ ตัวละครนำทั้งสี่ตัว “ไม่มีใครปกติ” เลย และเรารู้สึกว่าตัวละครพระเอกของหนังเรื่องนี้มีปมทางจิตที่ทำให้เรารู้สึกผูกพันและหลงใหลเขามาก ๆ

 

คือตัวละครพระเอกในหนังบางเรื่องก็อาจจะมีปมทางจิตนะ อย่างเช่น VERTIGO (1958, Alfred Hitchcock) แต่เหมือนกับว่าปมนั้นไม่ได้ส่งผลอะไรกับความรู้สึกของเราน่ะ ไม่เหมือนตัวละครแอนดี้ใน BRING HER BACK ที่ปมทางจิตมันทำให้เขาดูเปราะบางมาก ๆ และมันทำให้เรารู้สึกผูกพันกับเขาอย่างรุนแรงโดยไม่มีสาเหตุ

 

เราชอบความสัมพันธ์แบบ step brother กับ step sister ด้วย อยากมี step older brother ที่แสนดีแบบนี้บ้าง คือเป็นพี่ชายที่แสนดี แบบในเพลงของอุ้ย รวิวรรณ จินดา แต่พอเป็นพี่ชายไม่แท้ เราก็สามารถเย็ดกับเขาได้ด้วย นึกว่าซื้อหนึ่งแถมหนึ่ง 55555 นึกถึงหนังอีก 2 เรื่องที่พูดถึงความสัมพันธ์ทำนองนี้ ซึ่งก็คือ NADA SO SO (2006, Nobuhiro Doi, Japan) กับ CLUELESS (1995, Amy Heckerling) อย่างไรก็ดี ความสัมพันธ์ของพี่น้องไม่แท้ใน BRING HER BACK ก็อาจจะไม่ได้ก้าวล่วงไปในเชิง romantic เหมือนในหนังเรื่องอื่น ๆ แต่ถ้าหากเราเป็นตัวน้องสาวใน BRING HER BACK แล้วล่ะก็ เราจะต้องพยายามปึ้บพี่ชายคนนี้มาเป็นผัวอย่างแน่นอน

 

นึกถึงหนังสยองขวัญเกี่ยวกับพี่ชายน้องสาวที่เพิ่งดูเมื่อเร็ว ๆ นี้ด้วย ซึ่งก็คือ PRESENCE (2024, Steven Soderbergh, A+30) แต่ตัวละครในหนังเรื่องนี้เป็นพี่น้องแท้ ๆ ซึ่งเอาเข้าจริงแล้ว เราก็ชอบ PRESENCE มากกว่า BRING HER BACK นะ 55555 เพราะเราชอบไอเดียของหนังเรื่องนี้ และเรารู้สึกว่าบางเหตุการณ์ใน PRESENCE มันทำให้เรานึกถึง paranormal activity บางอย่างที่เราเคยเจอในชีวิตจริง แต่เหตุการณ์ใน BRING HER BACK ไม่ค่อย relate กับเราในชีวิตจริง

 

DOUBLE BILL FILM WISH LIST

 

L’AVVENTURA (1960, Michelangelo Antonioni, Italy, A+30)

+ FLAT GIRLS (2025, Jirassaya Wongsutin, A+30)

 

คนที่ดูแล้วคงเดาได้ว่าเพราะอะไรเราถึงอยากฉายคู่กัน

อ๋อ เพราะมีเรือในหนังทั้งสองเรื่องยังไงล่ะ

55555

Saturday, June 14, 2025

LET THE DOVES FLY

 

เนื่องจากเราไม่มีความรู้เรื่องวงการเพลงไทย เราดูแต่ภาพยนตร์อย่างเดียว สิ่งที่ช็อคเราในวันพฤหัสบดีคือเราเพิ่งรู้ว่า ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง LET THE DOVES FLY (2017, Anuroth Ketlekha) ที่เราชอบสุดขีด คือเติร์ด Tilly Birds และสิ่งที่ช็อคเราในวันศุกร์ คือเราเพิ่งรู้ว่า นางเอกของ LET THE DOVES FLY คือ Image Suthita!!!!!

หนังเรื่อง LET THE DOVES FLY เคยติดอันดับ 65 ในลิสท์ภาพยนตร์ที่เราชื่นชอบที่สุดที่ได้ดูในปี 2018 เราได้ดูหนังเรื่องนี้ในเทศกาลหนังสั้นมาราธอนที่จัดฉายที่หอภาพยนตร์ ศาลายา ในวันที่ 22 ส.ค. 2018

 

ใครอยากดูหนังเรื่องนี้ก็ไปกดลิงค์ดูได้ที่เพจของ 3rd Tilly Birds นะ ส่วนภาพแรกที่เห็นอยู่นี้เราใช้วิธีแคปหน้าจอมา เพราะถ้าเราแชร์มาโดยตรงจากเพจนั้นแล้วมันเหมือนไม่ติดข้อความของน้อง 3rd Tilly Birds มาด้วยจ้ะ

 

เราชอบตอนจบของ LET THE DOVES FLY อย่างสุดขีด (แต่ก็ไม่แน่ใจว่าเราเข้าใจตอนจบของหนังถูกหรือเปล่านะ 555) และเราเคยเขียนพาดพิงถึงตอนจบของหนังเรื่องนี้เวลาที่เราเขียนถึงหนังเรื่องต่าง ๆ อย่างเช่น ตอนที่เราเขียนถึงหนังเรื่อง FLAT GIRLS (2025, Jirassaya Wongsutin, A+30),  MENTAL VERSE 2: WE DO CRY (2022, Wattanapume Laisuwanchai, documentary, A+30) และ STENCIL DAUGHTER (2020, Jakkrapan Sriwichai, short film, A+30) แต่เนื่องจากมันเป็นการพาดพิงถึงตอนจบของ LET THE DOVES FLY เพราะฉะนั้นใครที่ยังไม่ได้ดูหนังเรื่องนี้ ก็ควรเข้าไปดู LET THE DOVES FLY ก่อนที่จะอ่านสิ่งที่เราเคยเขียนนะจ๊ะ

 

เพจของน้อง 3rd Tilly Birds
https://web.facebook.com/3rdTillyBirds

 

FLAT GIRLS

https://web.facebook.com/photo/?fbid=10236720562657303&set=a.10236654765052404

 

MENTAL VERSE 2: WE DO CRY

https://web.facebook.com/photo/?fbid=10229250604833026&set=a.10229116411798284

 

STENCIL DAUGHTER

https://web.facebook.com/photo/?fbid=10225323916948283&set=a.10224961569689828

 

อันดับหนังของเราประจำปี 2018

https://web.facebook.com/photo?fbid=10219729617974305&set=a.10208775666732370

 

 

Friday, June 13, 2025

AUDIENCE (1982, Barbara Hammer, USA/UK/Canada, documentary, 32min, A+30)

 

AUDIENCE (1982, Barbara Hammer, USA/UK/Canada, documentary, 32min, A+30)

 

งดงามที่สุด หนังเรื่องนี้เป็นการสัมภาษณ์ผู้คนต่าง ๆ ที่มาดูหนังของ Barbara Hammer ที่ซานฟรานซิสโก, ลอนดอน, โตรอนโต และมอนทรีอัล ซึ่งผู้ชมส่วนใหญ่ก็เป็นเลสเบียน (เราเข้าใจว่าอย่างนั้นนะ) เพราะฉะนั้นในแง่หนึ่งหนังเรื่องนี้ก็เลยกลายเป็นการบันทึกภาพ “เลสเบียนที่เป็นคนธรรมดาในช่วงต้นทศวรรษ 1980” ซึ่งเราว่ามันแตกต่างจาก “นักแสดงหญิงที่รับบทเป็นเลสเบียนในภาพยนตร์” ซึ่งมักจะเป็นคนที่มีรูปร่างหน้าตาดีกว่าคนธรรมดา (ลองนึกถึง CAROL (2015, Todd Haynes) และ THE BITTER TEARS OF PETRA VON KANT (1972, Rainer Werner Fassbinder) ซึ่งต่างก็เป็นหนังเลสเบียนที่เราชอบสุดขีด)

 

 คือพอดูหนังเรื่องนี้แล้วเรารู้สึกว่า เราไม่ค่อยได้เห็นคนกลุ่มนี้ในภาพยนตร์น่ะ เลสเบียนที่เป็นคนธรรมดาจำนวนมาก มีทั้งคนวัยสาว, คนวัยกลางคน และผู้สูงวัยในช่วงทศวรรษ 1980 เราก็เลยรู้สึกว่า หนังเรื่องนี้มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์มาก ๆ ในการที่ได้บันทึกภาพคนกลุ่มนี้ไว้

+++++++++

 

ไปร่วมชมการบันทึกเทปรายการวิทยุ THE ART HOURS ON TOUR IN BANGKOK ของ BBC ผู้ชมมากมายเกินคาด ชอบที่ผู้จัดรายการนี้สามารถพูดถึงประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับประเทศไทยได้หลายประเด็นภายในเวลา 2 ชั่วโมง ทั้งเรื่องมาตรา 112, การสังหารหมู่ในวันที่ 6 ต.ค. 1976, การสังหารหมู่คนเสื้อแดงในเดือนพ.ค. 2010, ซีรีส์วาย, ลักษณะเฉพาะ ๆ ของแฟน ๆ ซีรีส์วาย, ลักษณะนิสัยของคนไทย, ความเคร่งครัดด้านกฎระเบียบในโรงเรียนไทย, สถานะและบทบาทของสิ่งศักดิ์สิทธิ์และภูตผีปีศาจในสังคมไทย ฯลฯ แต่ไม่แน่ใจว่าประเด็นเหล่านี้จะถูกตัดทอนไปมากน้อยแค่ไหนเวลาได้ออกอากาศจริง เพราะเขาใช้เวลา 2 ชั่วโมงในการบันทึกเทป แต่จะตัดทอนเนื้อหาให้เหลือเพียง 1 ชั่วโมงเมื่อออกอากาศทางวิทยุ #AHOTBKK

Wednesday, June 11, 2025

PETER PRZYGODDA

 

เปิดดูวิดีโอเทปม้วนเก่า พบว่าตัวเองเคยอัดบางฉากจากหนังเรื่อง DEAD CALM (1989, Phillip Noyce, Australia, A+30) เก็บไว้ด้วย ตอนมันมาฉายทางรายการ BIG CINEMA ของช่อง 7 โดยเราอัดเก็บไว้เฉพาะบางฉากที่ Billy Zane ถอดเสื้อ 55555

https://web.facebook.com/jit.phokaew/videos/1847459329166744

 

พบว่าเราเคยอัดวิดีโอเทปบางฉากจากหนังเรื่อง FULL MOON IN NEW YORK (1989, Stanley Kwan, Hong Kong, A+30) เก็บไว้ด้วย ตอนที่หนังเรื่องนี้มาฉายทางช่อง 9 อสมท. เมื่อราว 30 กว่าปีก่อน ถือเป็นหนึ่งในหนังฮ่องกงที่เราชอบมากที่สุดตลอดกาล จางม่านอวี้กับจางอ้ายเจียในหนังเรื่องนี้สุดยอดมาก ๆ เสียดายที่ภาพในวิดีโอเทปมันเสื่อมสภาพไปแล้ว

https://web.facebook.com/jit.phokaew/videos/1075488777830924

 

เราเคยดูหนังของ Zeki Demirkubuz แค่เรื่องเดียว ซึ่งก็คือเรื่อง INNOCENCE (1997) ที่เราได้ดูในวันที่ 21 ต.ค. 2005 ในงาน WORLD FILM FESTIVAL OF BANGKOK เราชอบหนังเรื่องนั้นอย่างรุนแรงมาก ๆ

 

เราชอบ A HANDFUL OF RICE (1940, Paul Fejos + Gunnar Skoglund, Sweden, A+30) อย่างสุดขีดมาก ๆ หนังเรื่องนี้เคยติดอันดับ 38 ในลิสท์หนังที่เราชื่นชอบที่สุดที่ได้ดูในปี 2015 ด้วย

++++++++

ฟังเทป “กระโปกคู่บุญ...ผมกับคุณก็เลยคู่กัน” ของ MAN ON FILM จบแล้ว รื่นรมย์มาก ๆ ชอบมากที่พูดถึงการกำกับภาพในหนังของ Apichatpong Weerasethakul ด้วย ที่ต่อต้านความสมบูรณ์แบบ และต้องปรับให้มันเบี้ยวออกไปจากภาพที่สมบูรณ์แบบ เพื่อ “เปิดโอกาสให้ภาพมันหายใจ”

 

ชอบมากที่พูดถึงความยากในการเขียนถึง “ดนตรีในภาพยนตร์” ด้วย เพราะเรารู้สึกว่าอะไรต่าง ๆ ในภาพยนตร์ที่มัน “ยากที่จะถ่ายทอดออกมาเป็นตัวอักษร” นี่แหละ ที่มันน่าสนใจ (ซึ่งตรงข้ามกับ “เนื้อเรื่อง” หรือ “เหตุการณ์ในเรื่อง” หรือ “message ที่ต้องการบอกกับผู้ชม” ที่เขียนเล่าเป็นตัวอักษรได้ง่าย ๆ เพราะฉะนั้น “หนังไม่เล่าเรื่อง” ก็เลยกลายเป็นหนึ่งในแนวหนังที่เราชอบมากที่สุด 55555)

 

พูดถึง “คู่บุญ” แล้ว เรารู้สึกว่าคู่บุญที่เราอยากอ่านบทความเกี่ยวกับเขามากที่สุด ก็คือการทำงานร่วมกันระหว่าง Wim Wenders กับ Peter Przygodda ซึ่งเป็นนักตัดต่อขาประจำของเขา

 

ซึ่งเราก็ไม่ได้รู้สึกว่า การตัดต่อในหนังของ Wim Wenders มีความพิเศษหรืออะไรหรอกนะ 55555 เพียงแต่ว่าชื่อ Peter Przygodda นี่เป็นหนึ่งในชื่อที่เราเห็นบ่อยที่สุดในภาพยนตร์ที่เราเคยดูเลยมั้ง เพราะว่านอกจากเขาจะตัดต่อหนังจำนวนมากให้ Wim Wenders แล้ว เขายังตัดต่อหนังให้ Werner Schroeter, Ula Stockl, Reinhard Hauff, Frank Ripploh, Peter Handke, Romuald Karmakar, Volker Schlöndorff, Hans-Jürgen Syberberg, German Kral และ Hans W. Geissendörfer ด้วย เพราะฉะนั้นพอพูดถึง “มือตัดต่อ” เราก็เลยนึกถึงชื่อ Peter Przygodda เป็นลำดับแรก เพราะการดูหนังที่สถาบันเกอเธ่ ซอยสาทร 1 ทำให้เราได้เห็นชื่อเขาบนจอภาพยนตร์เป็นประจำ 55555

  

Monday, June 09, 2025

A MYSTERIOUS TV SERIES I WATCHED IN THE 1980S

 

แชมพูที่ผมใช้อยู่ตอนนี้ยี่ห้อ ชีววิถี สูตรใบหมี่-อัญชัน แล้วผมก็ซื้อแชมพูยี่ห้อ เขาค้อทะเลภู สูตรอัญชัน มาสำรองไว้ใช้ด้วยครับ

++++++

เพื่อนของแม่หมีเพิ่งกลับจากไปเที่ยว ลูกหมีเลยได้ของฝากเป็นคุ้กกี้กับผ้าเช็ดมือ PADDINGTON IN PERU

+++++++++++

เมื่อวันเสาร์หลังจากเราดูหนัง 3 เรื่องที่หอภาพยนตร์ ศาลายาเสร็จ เราก็เดินไปกินข้าวเย็นที่ร้าน RABBIT CAFÉ SALAYA ที่ตั้งอยู่ใกล้ ๆ กับหอภาพยนตร์ ร้านนี้เปิดวันจันทร์ถึงเสาร์จนถึง 20.00 น. แต่ร้านนี้ปิดวันอาทิตย์นะ

+++++++

เราจดบันทึกไว้ว่า ในช่วงราวปี 1993 เราได้ดูหนังเรื่อง “ผู้หญิงเลือดพล่าน” ซึ่งน่าจะเป็นหนังฮ่องกงที่ตั้งชื่อหนังว่า “ผู้หญิงเลือดพล่าน” โดยเราได้ดูหนังเรื่องนี้ทางวิดีโอหรือไม่ก็ทางทีวี แต่ไม่ได้ดูในจอภาพยนตร์

 

ปัญหาก็คือว่า เราจำไม่ได้เลยว่า หนังเรื่องนั้นมันคือเรื่องอะไร นำแสดงโดยใคร แล้วค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตก็ไม่เจอด้วย เพราะ google บอกว่า ชื่อหนังเรื่อง “ผู้หญิงเลือดพล่าน” มันคือเรื่อง BOUND (1996) ซึ่งแสดงว่ามันคงเป็นชื่อหนังที่ซ้ำกัน เพราะเราได้ดูหนังเรื่อง “ผู้หญิงเลือดพล่าน” ในราวปี 1993 เพราะฉะนั้นมันต้องไม่ใช่เรื่อง BOUND อย่างแน่นอน

 

มีใครรู้ไหมว่า หนังเรื่อง “ผู้หญิงเลือดพล่าน” ที่เราได้ดูในราวปี 1993 มันคือเรื่องอะไร เราจะได้ลงข้อมูลใน letterboxd ได้ถูกต้อง

 

ตอนนี้ผู้ต้องสงสัยอันดับหนึ่งของเราคือหนังเรื่อง FATAL LOVE (1993, Kin Lo, Hong Kong) ที่นำแสดงโดย Michael Wong แต่เราก็จำไม่ได้แล้วว่า เราเคยดูเรื่อง FATAL LOVE แล้วยัง เหมือนจะเคยดูแล้ว แต่มันคือเรื่องเดียวกับ “ผู้หญิงเลือดพล่าน” หรือเปล่า

 

แล้วเราจดไว้ด้วยว่า ในช่วงทศวรรษ 1980 เราเคยดูละครโทรทัศน์เรื่อง “ชีวิต” ซึ่งตอนนี้เราก็จำไม่ได้แล้วว่า ละครโทรทัศน์เรื่องนั้นมันคือเรื่องอะไร ของชาติอะไร 555555 มีใครจำได้มั้ยว่า ในช่วงทศวรรษ 1980 ละครโทรทัศน์เรื่อง “ชีวิต” มันคือเรื่องอะไร

Sunday, June 08, 2025

QUEER FILMS ACCORDING TO MY NAME

 

ดีใจสุดขีดที่วันนี้ได้ดู THE NEIGHBOR’S WIFE AND MINE (1931, Heinosuke Gosho, Japan, 56min, A+30) ซึ่งเป็นหนังเสียงสมบูรณ์แบบเรื่องแรกของญี่ปุ่น และ TIPSY LIFE (1933, Sotoji Kimura, Japan, 77min, A+30) ซึ่งเป็นหนังเพลงเรื่องแรกของญี่ปุ่น

 

ตอนนี้ก็เลยทำให้อยากดู “หนังสีเรื่องแรกของญี่ปุ่น” มาก ๆ ซึ่งก็คือ CARMEN COMES HOME (1951, Keinosuke Kinoshita) ที่นำแสดงโดย Hideko Takamine ดาราคู่บุญของ Mikio Naruse และ Chishu Ryu ดาราคู่บุญของ Yasujiro Ozu

 

จริง ๆ แล้วก็อยากดู “หนังสีเรื่องแรก” ของประเทศต่าง ๆ มาก ๆ แต่เข้าใจว่าหนังสีเรื่องแรกของหลาย ๆ ประเทศน่าจะหายสาบสูญกันไปเกือบหมดแล้ว ยกเว้น CARMEN COMES HOME ที่น่าจะยังคงหาดูได้ และ KARNAVAL CVETOV (1935, Nikolai Ekk, documentary, 47min) หนังสีเรื่องแรกของสหภาพโซเวียต ที่เราเห็นมีให้ดูในยูทูบ แต่มันไม่มีซับไตเติลภาษาอังกฤษ

 

หนังสีเรื่องแรกของประเทศอื่น ๆ ที่เราอยากดู แต่ไม่รู้ว่าฟิล์มหายสาบสูญไปแล้วยัง

 

1. สามปอยหลวง (1940, ร้อยตรี ทองอิน บุณยเสนา) อันนี้คือหนังสีเรื่องแรกของไทยหรือเปล่า เราไม่แน่ใจ

 

2. SAIRANDHRI (1933, V. Shantaram, India) หนังสีเรื่องแรกของอินเดีย

 

3. REMORSE AT DEATH (1948, Fei Mu, China, 60min) หนังสีเรื่องแรกของจีน

+++++++++++

ต้อนรับ PRIDE MONTH ด้วยการเลือกชื่อหนัง queer สุดโปรดตามตัวอักษรในชื่อของเราเอง (เราดัดแปลงเกมนี้มาจากเกมที่เพื่อนคนอื่น ๆ เล่นกัน โดยเราเอาเกมนั้นมาดัดแปลงกฎใหม่ตามใจตัวเราเอง 55555)

 

JIT PHOKAEW

 

J = JEFFREY (1995, Christopher Ashley, USA)

 

I = THE IGNORANT FAIRIES (2001, Ferzan Özpetek, Italy)

 

T = THIRTY YEARS OF ADONIS (2017, Scud, Hong Kong)

 

P = PEPI, LUCI, BOM AND OTHER GIRLS LIKE MOM (1980, Pedro Almodóvar, Spain)

 

H = THE HOURS AND TIMES (1991, Christopher Munch, USA)

 

O = OTTO; OR, UP WITH DEAD PEOPLE (2008, Bruce LaBruce, Germany/Canada)

 

K = KISS OF THE SPIDER WOMAN (1985, Hector Babenco, Brazil)

 

A = THE ADVENTURES OF PRISCILLA, QUEEN OF THE DESERT (1994, Stephan Elliott, Australia)

 

E = EDWARD II (1991, Derek Jarman, UK)

 

W = THE WOUNDED MAN (1983, Patrice Chéreau, France)

Friday, June 06, 2025

WIFE! BE LIKE A ROSE!

 

“หนังที่มีหัวจิตหัวใจ”

 

กราบตีน WIFE! BE LIKE A ROSE! (1935, Mikio Naruse, Japan, A+30) อย่างถึงที่สุด ดูแล้วแทบร้องไห้ งดงามที่สุด ตายห่าคาจอไปเลย เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่มีสิทธิลุ้นอันดับหนึ่งประจำปีนี้

 

ตัวละคร Oyuki (Yuriko Hanabusa) ใน WIFE! BE LIKE A ROSE! นี่นึกว่าต้องปะทะกับตัวละครของ “ศรีไศล สุชาตวุฒิ” ใน “แก้ว” (1980, Piak Poster) ในฐานะ “หนึ่งในตัวละครหญิงที่เราชอบที่สุดตลอดกาล”

 

สรุปว่าในบรรดาผู้กำกับหนังญี่ปุ่นยุคนั้น เราชอบ Mikio Naruse อันดับหนึ่ง, Kenji Mizoguchi อันดับสอง, Akira Kurosawa อันดับสาม และ Yasujiro Ozu อันดับสี่ (เราชอบ “สไตล์” หนังของ Ozu มากกว่าสไตล์หนังของ Kurosawa แต่เราไม่ “อิน” กับตัวละครในหนังของ Ozu) แต่เรายังไม่เคยดูหนังของ Hiroshi Shimizu กับ Sadao Yamanaka นะ

 

สำหรับเราแล้ว หนังเรื่อง WIFE! BE LIKE A ROSE! คือคำนิยามของคำว่า “หนังที่มีหัวจิตหัวใจ” ของจริง ถ้าหากให้เราจัดฉายหนังเรื่องนี้ควบกับหนังเรื่องอื่นๆ เราก็จะจัดฉายมันควบกับ “หนังที่มีหัวจิตหัวใจ” ที่เกี่ยวข้องกับรักสามเส้า หรืออะไรทำนองนั้น ดังต่อไปนี้

 

1. SUNRISE (1927, F. W. Murnau)

 

2.THE THINGS OF LIFE (1970, Claude Sautet, France)

 

3.GAEW แก้ว (1980, Piak Poster)

 

4. AND THEN (1985, Yoshimitsu Morita)

 

5. THE HEART OF ME (2002, Thaddeus O’Sullivan, UK)

 

6. JERICHOW (2008, Christian Petzold, Germany)

Wednesday, June 04, 2025

ETCHED IN MEMORY

 

อยู่ดี ๆ เมื่อคืนเราก็ฝันว่าลูกหมีมาร้องเพลง HANASHI KAKETAKATTA (I WANTED TO TALK TO YOU) (1987, Yoko Minamino) ให้เราฟัง ประหลาดมาก งงว่าความฝันนี้มาได้อย่างไร เพราะเราเองก็ไม่ได้ฟังเพลงนี้มานานแล้ว

https://www.youtube.com/watch?v=wZX5TuC28cM

++++++++++

ปกติหนังเรื่องไหนที่เราเคยดูแล้วในรูปแบบวิดีโอเทป เราจะขี้เกียจไปดูอีกในโรงภาพยนตร์ ยกเว้นเรื่อง THE MIRROR (Andrei Tarkovsky) นี่แหละที่เราเคยดูแล้วในรูปแบบวิดีโอเทปจากร้านแว่น จตุจักรเมื่อราว 20-25 ปีก่อน แต่เราก็ยังคงตั้งความหวังมาจนถึงปัจจุบันนี้ว่า จะมีคนนำหนังเรื่องนี้มาเข้าฉายในโรงภาพยนตร์ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล

+++++++

เวลาเราใช้ Facebook มันชอบขึ้นโฆษณากางเกงในชายเข้ามาในฟีดเรา เราก็รู้สึกว่า “มันยังพอรู้ใจเรา” แต่เวลาเราเข้าไปอ่านเว็บไซต์ข่าวของบางสำนักข่าว แล้วมันชอบขึ้นโฆษณา “บ้าน ราคาเริ่มต้น 125 ล้านบาท” เราก็สงสัยว่า ระบบยิงโฆษณามันใช้อะไรคิดคะ กูจะเอาเงิน 125 ล้านบาทมาจากไหน มึงลดราคาเหลือ 1.25 ล้านบาทก่อนค่ะ แล้วค่อยยิงโฆษณาเข้ามาให้กูดู 55555

++++

 

ETCHED IN MEMORY เธอในความทรงจำ (2025, วรวรรณ ขิมสมุทร, queer film, 29min, A+25)

 

ชอบที่หนังเรื่องนี้เป็นทั้งหนังเกย์ + หนังแวมไพร์ ที่มีการพูดถึง “พุทธทาสภิกขุ” ด้วย 55555 คือการผสมหนังเกย์กับหนังแวมไพร์เข้าด้วยกันอาจจะไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะเราก็เคยดู QUEEN OF THE DAMNED (2002, Michael Rymer, A+30) และ RED WINE IN THE DARK NIGHT (2015, Tanwarin Sukkhapisit, A+25) มาแล้ว เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราประทับใจที่สุดในหนังเกย์แวมไพร์เรื่องนี้ ก็เลยกลายเป็นการที่ตัวละครในหนังพูดคุยกันเรื่อง “พุทธทาสภิกขุ”

+++++

 

เราไปงานฉายหนังของ ICT SILPAKORN ครั้งแรกในวันที่ 6 เม.ย. 2012 หรือเมื่อ 13 ปีที่แล้ว แต่เราก็ไม่ได้ไปดูงานนี้ทุกปีนะ คิดถึงอดีตมาก ๆ

 

BACTERIA (2024, Bundit Thianrat, 18min, A+30)

 

เห็นใน Facebook มีระบบ subscription ด้วย ซึ่งก่อนหน้านี้เราก็ยังไม่เคยจ่ายเงิน subscribe ให้เพจไหนเลย แต่มาวันนี้เราก็เลยตัดสินใจจ่ายเงิน subscribe ให้เพจ “ทหารสายกล้าม” เป็นเพจแรก เราก็เลยอยากรู้ว่า เพื่อน ๆ มีการจ่ายเงิน subscribe ให้ใครใน Facebook กันบ้างคะ มีอะไรน่า subscribe กันอีกบ้าง

+++

 

BACTERIA (2024, Bundit Thianrat, 18min, A+30)

 

1. จริง ๆ แล้วสิ่งที่เราชอบมากที่สุดในหนังเรื่องนี้คือ “process การทำขนมปัง sour dough” (ถ้าเราเข้าใจไม่ผิด) เพราะเหมือนเราไม่เคยเห็นสิ่งนี้ในหนังเรื่องอื่น ๆ มาก่อน เราก็เลยชอบจุดนี้มากที่สุดในหนัง และเราก็เลยแอบเสียดายที่หนังเรื่องนี้ไม่ได้อธิบาย process การทำขนมปัง sour dough อย่างละเอียดกว่านี้ 55555 ส่วนเนื้อหาของหนังที่เป็นเรื่องของ “ความขัดแย้งและการประนีประนอมกันระหว่างคนสองรุ่น” นั้น เราว่ามันก็ดี แต่เราว่ามันดูลอย ๆ ไปหน่อยสำหรับเรา เหมือนหนังมันอมพะนำมากเกินไปหน่อยในจุดนี้ ส่วนเรื่องประเด็นการเมืองในหนังนั้น เราดูแล้วก็ยอมรับว่า เราอาจจะไม่เข้าใจหนังเรื่องนี้ในจุดนี้ เพราะว่าถ้าหากไม่มีการใส่ฉากในช่วง closing credits เข้ามา เราก็คงไม่คิดว่าหนังเรื่องนี้มีประเด็นการเมืองแอบแฝงอยู่ด้วย 55555

 

2. นอกจากส่วนที่เป็น process การทำขนมปังแล้ว เราก็ชอบ “ความประณีต” ในหนังเรื่องนี้นะ เหมือนหนังมันมีความประณีตในการคิดฉากแต่ละฉากและในการเรียงร้อยมันออกมาน่ะ ตัวอย่างของฉากที่ชอบมากก็อย่างเช่นในช่วงนาทีที่ 5 ที่ timer ดังขึ้นมา แล้วตัวละครลุง (ปาโมช แสงศร) เหมือนมีอาการโรคหัวใจ (ไม่รู้ว่าเราเข้าใจถูกหรือเปล่า) เหมือนหนังเรื่องนี้ใช้บางช็อตที่เล่าเหตุการณ์ได้ทั้งในส่วนของโฟร์กราวด์และแบคกราวด์ได้ในฉากเดียวกันน่ะ คือในตอนแรกเราจะเห็นลุงกำลังเตรียมขนมปังในแบคกราวด์ และเห็น space ของพื้นที่บริเวณนั้น ซึ่งดูค่อนข้างแคบ ก่อนที่ภาพจะเปลี่ยนมาโฟกัสที่โฟร์กราวด์เมื่อ timer ดังขึ้น แล้วเราก็เห็นตัวละครหลาน (อวัช รัตนะปิณฑะ) ทำหน้าตาคับข้องใจอยู่ที่โฟร์กราวด์ของฉาก โดยที่มีลุงทำอาการปวดหัวใจอยู่ในแบคกราวด์ของฉาก

 

3. ชอบความคล้องจองกันระหว่างฉากเปิดกับฉากปิดของหนังด้วย เหมือนเป็นการส่งผ่านอะไรบางอย่างจากตัวละครหนึ่งไปสู่ตัวละครหนึ่ง และจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่งได้อย่างงดงาม

 

4.อีกสิ่งที่ชอบสุดขีดในหนัง คือการที่หนังเหมือนรีดเค้นพลังทางการแสดงของปาโมชกับอวัชออกมาอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะในช่วงตั้งแต่นาทีที่ 11 เป็นต้นไป คือเหมือนหนังเรื่องนี้ใช้ดาราดังมาแสดง (เมื่อเทียบกับหนังสั้นไทยโดยทั่วไป) และก็เป็นการใช้อย่างคุ้มค่ามาก ๆ ไม่เสียของ นักแสดงทั้งสองเล่นได้ดีสุดขีดมาก ๆ

 

5. หลังจากที่เราเขียนถึงจุดที่เราชอบสุดขีดในหนังเรื่องนี้ไปแล้ว ต่อไปนี้เราก็จะเขียนถึงจุดที่เรา “ไม่แน่ใจ” ว่าเราชอบหรือไม่ชอบในหนังเรื่องนี้นะ 555 คือหนังเรื่องนี้จริงๆ แล้วทำตามกฎหลักของเราที่ว่า “ตัวละครแต่ละตัวมีชีวิตมาก่อนที่หนังจะเริ่มต้นขึ้น”

 

ซึ่งตัวละครหลักทั้งสองตัวในหนังเรื่องนี้ ดูแล้วก็เชื่อได้อย่างเต็มที่ว่า “มีชีวิตมาก่อนที่หนังจะเริ่มต้นขึ้น” จริง ๆ แต่เราแอบรู้สึกว่า หนังเรื่องนี้ปิดบังข้อมูลของตัวละครมากเกินไปหน่อยหรือเปล่า เราดูแล้วก็เลยงงๆ และอาจจะทำให้เราขาด “อารมณ์ร่วม” ไปกับตัวละครด้วย

 

แต่เราก็ไม่คิดว่าอันนี้เป็น “ข้อเสีย” ของหนังนะ เพราะเราก็ยังคงชอบหนังเรื่องนี้มากในระดับ A+30 อยู่ดี เพียงแต่เราก็ยอมรับว่า เราดูแล้วก็แอบสงสัยในส่วนของเนื้อหาบางส่วนของหนังน่ะ อย่างเช่น

 

5.1 ลุงกับหลานมีเรื่องขัดแย้งอะไรกันมาก่อนหน้านี้ เรื่องวิธีการทำขนมปัง หรือเรื่องทัศนคติทางการเมือง หรือเรื่องอะไร พวกเขาโกรธอะไรกันมาก่อนหน้านี้

 

คือเหมือนพอหนังไม่ได้บอกชัด ๆ เกี่ยวกับจุดนี้ เราดูแล้วก็เลยงง ๆ น่ะ และก็เลยกลายเป็นว่า เราอินกับ “การต่อสู้ของตัวละครเพื่อทำขนมปังให้เสร็จทันเวลา” มากกว่าที่จะอินกับ “การเรียนรู้ซึ่งกันและกันระหว่างลุงกับหลาน” เพราะเราดูแล้วก็ไม่รู้หรือไม่แน่ใจว่า ลุงกับหลานมีเรื่องขัดแย้งอะไรกัน

 

5.2 หลานบาดเจ็บเพราะอะไร แล้วหลาน “โด่งดัง” เพราะอะไร

 

คือถ้าหากไม่มีการใส่ฉากทางการเมืองเข้ามาใน closing credits เราก็คงจะจินตนาการไปแล้วว่า หลานเป็น “นักซิ่งมอเตอร์ไซค์ชื่อดัง” อะไรทำนองนี้ เขาเลยบาดเจ็บที่ขาในช่วงต้นเรื่อง 55555

 

5.3 การใส่ฉากทางการเมืองเข้ามาในช่วง closing  credits ก็เป็นอะไรที่ intriguing ดี คือเหมือนมันช่วยเพิ่มความหมายที่น่าสนใจให้กับหนัง แต่ดูแล้วเราก็ยังงง ๆ อยู่ดี เพราะเราก็ไม่รู้ว่า การที่ตัวละครลุง “เลือกทางนั้น” จนทำให้หลานโกรธ มันคืออะไร ลุงเลือกทำอะไร แล้วมันเกี่ยวข้องอะไรกับการเมืองหรือเปล่า

 

คือจุดเหล่านี้เป็นจุดที่เรา “ไม่แน่ใจ” ว่าเราชอบหรือไม่ชอบในหนังเรื่องนี้นะ คือเราว่าการที่หนังเลือกที่จะ “ไม่บอกอะไรหลาย ๆ อย่าง” มันก็ไม่ใช่ข้อเสียอะไร เพราะมันก็ช่วยสร้างความค้างคาใจให้เราได้ดี และกระตุ้นความคิดของเราได้เป็นอย่างดี แต่บางทีมันก็ส่งผลให้เราไม่มีอารมณ์ร่วมไปกับตัวละคร และไม่มีอารมณ์ร่วมกับหนังตามไปด้วยน่ะ

 

เหมือนหนังบางเรื่องเลือกใช้วิธีการคล้าย ๆ กันนี้ แล้วเราก็ยังคงชอบมากอยู่ดีนะ อย่างเช่น PERFECT DAYS (2023, Wim Wenders) ที่หนังไม่บอกอดีตของตัวละครพระเอก และ THOSE WHO LOVE ME CAN TAKE THE TRAIN (1998, Patrice Chéreau, France) ที่ตัวละครบางตัวในหนังตบตีกันอย่างรุนแรงสุดขีดมาก ๆ เพราะพวกเขาเคยมีเรื่องขัดแย้งกันมาก่อนที่หนังจะเริ่มต้นขึ้น และหนังก็ไม่บอกและไม่เล่าด้วยว่า พวกเขาเคยมีเรื่องขัดแย้งอะไรกันมาก่อน 5555 แต่คือหนังทั้งสองเรื่องนี้เป็นหนังที่ยาวกว่า 2 ชั่วโมงน่ะ เพราะฉะนั้นถึงแม้เราจะกังขาและสงสัยกับอดีตของตัวละครบางตัวในหนังสองเรื่องนี้ หนังสองเรื่องนี้มันก็มีเนื้อหาในส่วนอื่น ๆ ที่เปิดให้เรามีอารมณ์ร่วมหรือสนุกกับมันไปด้วยมาก ๆ ได้ เพราะฉะนั้น “อดีตของตัวละครที่หนังไม่ยอมเล่า” ก็เลยเป็นสิ่งที่ไม่สำคัญไปโดยปริยาย แต่ในส่วนของ BACTERIA นั้น พอหนังมันสั้นมาก และความขัดแย้งระหว่างลุงกับหลาน (ที่หนังไม่ยอมเล่า) มันเหมือนมีความสำคัญต่อหนัง เราก็เลยสงสัยว่า เอ๊ะ จริง ๆ แล้วการเลือกใช้วิธีการแบบนี้มันดีหรือเปล่านะ

 

แต่เราก็แอบเดาว่า หนังเรื่องนี้อาจจะต้องการเน้นการส่ง message เรื่องการปรับตัวเข้าหากันระหว่างคนสองรุ่นก็ได้นะ เพราะฉะนั้นรายละเอียดเรื่องความขัดแย้งก็เลยอาจจะไม่ใช่สิ่งสำคัญ เพราะสิ่งที่สำคัญคือการปรับตัวหรือเรียนรู้ซึ่งกันและกัน คือถ้าหากหนังเล่ารายละเอียดตรงจุดนี้มากเกินไป มันก็เสี่ยงได้เหมือนกันที่คนดูแต่ละคนจะ take side ว่าจะเข้าข้างลุงหรือหลาน แล้ว message ตรงนี้ก็อาจจะถูกลดทอนความสำคัญลง แต่พอหนังเลือกที่จะสร้างความคลุมเครือตรงจุดนี้ message ตรงนี้ก็อาจจะชัดขึ้น

 

สรุปได้ว่า เราเองก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่า การที่หนังเรื่องนี้ไม่ยอมเล่าอะไรหลาย ๆ อย่าง เป็นวิธีการที่ดีแล้วหรือไม่ คือตอนนี้เราก็ชอบหนังเรื่องนี้มาก ๆ น่ะแหละ และดูแล้วมันก็ “ค้างคาใจ” ดีกับสิ่งที่หนังไม่ยอมเล่า แต่เราก็ยอมรับว่า เราก็อาจจะไม่ได้ “รู้สึกมีอารมณ์ร่วม” ไปกับตัวละครด้วยเช่นกัน เพราะเราไม่รู้ว่า พวกเขาโกรธอะไรกัน

++++

LOTTE IN WEIMAR (1975, Egon Günther, East Germany, 119min) เปิดฉายให้ดูฟรีออนไลน์ หนังเรื่องนี้เป็นหนังเรื่องแรกจากเยอรมันตะวันออกที่ได้เข้าชิงรางวัลในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ โดยตัวหนังดัดแปลงมาจากบทประพันธ์ของ Thomas Mann (DEATH IN VENICE)

+++++++

 

สรุปหนังที่ได้ดูในวันที่ 1 – 2 JUNE 2025

 

SUNDAY 1 JUNE

 

1. THE 4 RASCALS (2025, Tran Thanh, Vietnam, 132min, A+30)

 

ดูที่ MAJOR RATCHAYOTHIN รอบ 11.30 น.

 

ดีใจที่มีคนนำหนังเวียดนามมาลงโรงฉายในไทยเป็นระยะ ๆ Tran Quoc Anh พระเอกหนังเรื่องนี้หล่อมาก ฉันตกหลุมรักเขาอย่างรุนแรง ชอบประเด็นนึงในหนังเรื่องนี้ด้วย นั่นก็คือหนังเรื่องนี้เหมือนจะเกลียด “สาวสวยไร้สมอง ที่ใช้ประโยชน์จากความสวยของตัวเองไปวัน ๆ” เพราะฉะนั้นตัวละครนางเอกของหนังเรื่องนี้ ที่ “ทำตัวสวยไปวัน ๆ” ก็เลยต้องได้รับบทเรียนอย่างสาสม

 

2. THE RITUAL (2025, David Midell, horror, 98min, A+30)

 

ดูที่ MAJOR RATCHAYOTHIN รอบ 14.20 น.

 

เกลียดความกล้องสั่นตลอดเวลาในหนังเรื่องนี้ แต่ชอบ “ความจริงจัง” บางอย่างในหนังเรื่องนี้ ดูแล้วนึกถึง THE EXORCIST: BELIEVER (2023, David Gordon Green, A+30) ในแง่ที่ว่า พิธีกรรมไล่ผีในหนังทั้งสองเรื่องนี้ เหมือนไม่ได้ “ดำรงอยู่เพื่อสร้างความสนุกตื่นเต้นระทึกขวัญ” ให้แก่ผู้ชม แต่เหมือนมันดำรงอยู่ด้วยเหตุผลอื่น ๆ

 

3. PHRA RUANG: RISE OF THE EMPIRE (2025, Chartchai Ketnust, A+30)

 

ดูที่ MAJOR RATCHAYOTHIN รอบ 16.50 น.

 

กลายเป็นหนังที่เราชอบมากที่สุดของคุณ Chartchai ไปเลย ชอบมากกว่า FROM BANGKOK TO MANDALAY (2016), THE MOTHER (2019) และ MAN SUANG (2023) ชอบการทำหนังย้อนยุคแบบค่อนข้าง minimal แบบนี้ (ถ้าหากเทียบกับหนังของท่านมุ้ยหรือหนัง epic ของต่างประเทศ), ชอบที่หนังเล่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่เราไม่เคยรู้มาก่อน, ชอบความเป็นหนังทดลองที่พร่าเลือนเส้นแบ่งระหว่างละครเวที, ชีวิตนอกโรงละคร, อดีต และปัจจุบันเข้าด้วยกัน, ชอบความแสดงตัวตลอดเวลาว่า สิ่งที่เห็นเป็นเพียงการแสดง เป็นเพียงจินตนาการจากคนยุคต่าง ๆ ที่มองย้อนเข้าไปในอดีต และเป็นเรื่องที่อาจจะไม่ได้เกิดขึ้นจริงในอดีต และชอบทัศนคติของหนัง

 

ในแง่นึงดูแล้วแอบนึกถึง MEGALOPOLIS (2024, Francis Ford Coppola) ในแง่ที่ว่า เวลาเราดูหนังสองเรื่องนี้ เราจะรู้ตัวตลอดเวลาว่าเรากำลังดูหนังอยู่ เหมือนหนังมันไม่ได้พยายาม “ทำให้สมจริง” แต่พยายาม “ทำให้มันไม่สมจริง” และเราชอบอะไรแบบนี้อย่างสุดขีด

 

4. KRAKEN (2025, Nikolay Lebedev, Russia, 134min, A+30)

 

ดูที่ MAJOR RATCHAYOTHIN รอบ 20.00 น.

 

ในที่สุดก็เจอหนัง mainstream ของรัสเซียที่เราชอบในระดับทัดเทียมกับหนัง mainstream ของฮอลลีวู้ด, เกาหลีใต้, ญี่ปุ่น, อินเดีย, จีน 55555 คือเหมือนหนังอาร์ตของรัสเซียนี่มันยอดเยี่ยมกระเทียมดองอยู่แล้ว แต่หนัง mainstream ของรัสเซียนี่เท่าที่เราดูมา เหมือนยังสู้ของฮอลลีวู้ดกับเกาหลีใต้ไม่ได้ จนกระทั่งมาเจอเรื่องนี้ที่มันเข้าทางเรามาก ๆ

 

ชอบ “ความไม่เร่งร้อน” ของหนังเรื่องนี้ด้วย ดูแล้วนึกถึง THE ABYSS (1989, James Cameron), THE HUNT FOR RED OCTOBER (1990, John McTiernan), CRIMSON TIDE (1995, Tony Scott) อะไรพวกนี้ด้วย รู้สึกว่าหนังมันดูสนุกโดยที่ไม่ต้องกระตุ้นคนดูให้รู้สึกหีแทบแตกตลอดเวลา ซึ่งจะแตกต่างจากหนังยุคนี้อย่าง MISSION: IMPOSSIBLE – THE FINAL RECKONING (2025, Christopher McQuarrie, 169min, A+30) และ MEG 2: THE TRENCH (2023, Ben Wheatley) ที่พยายามกระตุ้นคนดูตลอดเวลา

 

 

หนังที่ได้ดูในวันที่ 2 JUNE

 

1. NINTAMA RANTARO: INVINCIBLE MASTER OF THE DOKUTAKE NINJA (2025, Masaya Fujimori, Japan, animation, A+25)


ดูที่ PARAGON รอบ 14.00

 

2. ABOUT FAMILY (2024, Yang Woo-seok, South Korea, A+30)

 

ดูที่ PARAGON รอบ 16.30

 

ชอบการโยงไปถึงสงครามเกาหลีเหนือกับเกาหลีใต้ในทศวรรษ 1950

 

สรุปว่า ในบรรดา 6 เรื่องนี้ เราเรียงตามลำดับความชอบได้ดังนี้

 

1. PHRA RUANG: RISE OF THE EMPIRE (2025, Chartchai Ketnust, A+30)

 

2. KRAKEN (2025, Nikolay Lebedev, Russia, 134min, A+30)

 

3. ABOUT FAMILY (2024, Yang Woo-seok, South Korea, A+30)

 

4. THE 4 RASCALS (2025, Tran Thanh, Vietnam, 132min, A+30)

 

5. THE RITUAL (2025, David Midell, horror, 98min, A+30)

 

6. NINTAMA RANTARO: INVINCIBLE MASTER OF THE DOKUTAKE NINJA (2025, Masaya Fujimori, Japan, animation, A+25)

 

พอดู PHRA RUANG: RISE OF THE EMPIRE (2025, Chartchai Ketnust, A+30) ที่เราชอบสุดขีดแล้วเราก็เลยจินตนาการเล่น ๆ ว่า ถ้าหากเราต้องฉายหนังเรื่องนี้ควบกับหนังเรื่องอื่น ๆ เราก็คงจะเลือกหนังต่อไปนี้มาฉายควบด้วย

 

1.THE ASHES AND GHOSTS OF TAYUG 1931 (2017, Christopher Gozum, Philippines, A+25)

 

เพราะหนังฟิลิปปินส์เรื่องนี้กับ PHRA RUANG: RISE OF THE EMPIRE ต่างก็เล่าเรื่องของ “วิธีการที่ศิลปินยุคปัจจุบันพยายามจะถ่ายทอดเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์” เหมือนกัน แทนที่จะเล่าถึงเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์อย่างตรงไปตรงมา

 

2. EDWARD II (1991, Derek Jarman, UK)

 

เพราะมันเป็นหนังย้อนยุคประวัติศาสตร์ที่ minimal มาก ๆ, เน้นความไม่สมจริง และมีฉากร้องเพลงเหมือนกัน

 

3. THE FALSE SERVANT (2000, Benoît Jacquot, France)

 

เพราะมันเป็นหนังที่เลือนเส้นแบ่งระหว่างละครเวทีกับนอกละครเวทีเหมือนกัน

 

4. LANCELOT OF THE LAKE (1974, Robert Bresson, France)

 

เพราะมันเป็นหนังย้อนยุคที่ดู minimal เหมือนกัน

 

5. LUDWIG – REQUIEM FOR A VIRGIN KING (1972, Hans-Jürgen Syberberg, West Germany)

 

เพราะมันเป็นหนังย้อนยุคอิงประวัติศาสตร์ที่เน้นความไม่สมจริง และเน้นความกึ่งละครเวทีเหมือนกัน

 

6. MOHENJO DARO (2016, Ashutosh Gowariker, India)

 

นี่คือหนังที่เป็นขั้วตรงข้ามกับ PHRA RUANG: RISE OF THE EMPIRE เพราะมันเป็นหนังที่เลือกวิธีทางการเล่าเรื่องที่ตรงกันข้ามกับ PHRA RUANG เพราะหนังอินเดียเรื่องนี้เลือกที่จะ “เล่าเรื่องราวในประวัติศาสตร์อย่างตรงไปตรงมา” ตามขนบหนังพีเรียดอิงประวัติศาสตร์โดยทั่วไป โดยไม่ได้พูดถึง “วิธีการที่คนในยุคปัจจุบันพยายามจะ deal กับประวัติศาสตร์ หรือพยายามจะ represent ประวัติศาสตร์” และหนังอินเดียเรื่องนี้ก็มีความ maximalist ตามขนบหนังบอลลีวู้ด เน้นความเริ่ด ฉูดฉาดบาดตา สนุกสนาน เร้าอารมณ์ ในขณะที่ PHRA RUANG: RISE OF THE EMPIRE ดู minimal กว่ามาก ๆ

 

อย่างไรก็ดี เราคิดว่าถึงแม้ form และวิธีการของ “หนังอิงประวัติศาสตร์” สองเรื่องนี้จะแตกต่างจากกันอย่างสิ้นเชิง หนังสองเรื่องนี้ก็ฉายควบกันได้ เพราะว่า MOHENJO DARO พูดถึง “ต้นตระกูลของคนในอินเดีย” เมื่อ 4000 กว่าปีก่อน ในขณะที่ PHRA RUANG: RISE OF THE EMPIRE พูดถึงต้นราชวงศ์ในอาณาจักรสุโขทัย และหนังทั้งสองเรื่องนี้พูดถึง “ปัญหาเรื่องเขื่อน” ในอดีตเหมือน ๆ กัน

 

เราก็เลยคิดว่า ถ้าหาก PHRA RUANG: RISE OF THE EMPIRE เลือกใช้วิธีการเล่าเรื่องแบบธรรมดา แทนที่จะทำออกมาคล้ายหนังทดลองแบบที่เป็นอยู่นี้ หนังเรื่องนั้นก็อาจจะออกมาแบบ MOHENJO DARO นี่แหละ

 

7. MOSES AND AARON (1975, Danièle Huillet, Jean-Marie Straub, West Germany)

 

เพราะมันเป็นหนังเพลงย้อนยุคอิงประวัติศาสตร์เหมือนกัน และจงใจให้คนดูรู้ตัวว่าตัวเองไม่ได้กำลังดูเหตุการณ์ในอดีต แต่กำลังดู “ความพยายามของคนยุคปัจจุบันในการสร้างฉาก fiction ของเหตุการณ์ในอดีต”

 

8. SECRET LOVE IN PEACH BLOSSOM LAND (1992, Stan Lai, Taiwan)

 

เพราะมันเป็นหนังที่เลือนเส้นแบ่งระหว่างละครเวทีกับนอกละครเวทีเหมือนกัน

 

9. SHAKESPEARE MUST DIE (2012, Ing K., 172 min)

 

เพราะมันเป็นหนังที่พร่าเลือนเส้นแบ่งระหว่างละครเวทีกับนอกละครเวทีเหมือนกัน

 

10. 3RD WORLD HERO (2000, Mike De Leon, Philippines, A+30)

 

เพราะหนังทั้งสองเรื่องนี้ตั้งคำถามต่อ “ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับวีรบุรุษของชาติ” เหมือนกัน

 

ส่วนอันนี้เป็นความเห็นเพิ่มเติมของเราเกี่ยวกับ PHRA RUANG: RISE OF THE EMPIRE ที่เราเคยแปะไปแล้วก่อนหน้านี้:

 

กลายเป็นหนังที่เราชอบมากที่สุดของคุณ Chartchai ไปเลย ชอบมากกว่า FROM BANGKOK TO MANDALAY (2016), THE MOTHER (2019) และ MAN SUANG (2023) ชอบการทำหนังย้อนยุคแบบค่อนข้าง minimal แบบนี้ (ถ้าหากเทียบกับหนังของท่านมุ้ยหรือหนัง epic ของต่างประเทศ), ชอบที่หนังเล่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่เราไม่เคยรู้มาก่อน, ชอบความเป็นหนังทดลองที่พร่าเลือนเส้นแบ่งระหว่างละครเวที, ชีวิตนอกโรงละคร, อดีต และปัจจุบันเข้าด้วยกัน, ชอบความแสดงตัวตลอดเวลาว่า สิ่งที่เห็นเป็นเพียงการแสดง เป็นเพียงจินตนาการจากคนยุคต่าง ๆ ที่มองย้อนเข้าไปในอดีต และเป็นเรื่องที่อาจจะไม่ได้เกิดขึ้นจริงในอดีต และชอบทัศนคติของหนัง

 

ในแง่นึงดูแล้วแอบนึกถึง MEGALOPOLIS (2024, Francis Ford Coppola) ในแง่ที่ว่า เวลาเราดูหนังสองเรื่องนี้ เราจะรู้ตัวตลอดเวลาว่าเรากำลังดูหนังอยู่ เหมือนหนังมันไม่ได้พยายาม “ทำให้สมจริง” แต่พยายาม “ทำให้มันไม่สมจริง” และเราชอบอะไรแบบนี้อย่างสุดขีด