RED ANINSRI; OR, TIPTOEING ON THE STILL TREMBLING BERLIN WALL
(2020, Ratchapoom Boonbunchachoke, 30min, A+30)
spoilers alert
--
--
--
--
--
--
--
--
--
--
--
1. ดูอนินทรีย์แดงแล้ว ก็ชอบมากนะ แต่อาจจะชอบแหม่มแอนนามากกว่า
เพราะแหม่มแอนนาดูเฮี้ยนกว่า และในหนังเรื่องแหม่มแอนนานั้น มันดูเหมือนว่า
“ฝ่ายที่ถูกกดขี่” สามารถลุกขึ้นมาตอบโต้ ตบตีฝ่ายปกครองได้มากกว่า มันก็เลยดู
“สะใจ” กว่า ในขณะที่อนินทรีย์แดงนั้น มันดูเหมือนว่า
ฝ่ายกดขี่เป็นฝ่ายที่ชนะโดยสมบูรณ์ ส่วนผู้ถูกกดขี่ก็ดูเหมือนจะพ่ายแพ้ไปเกือบหมดในตอนจบ
มันก็เลยขาดความสะใจตรงนี้ไป
คืออนินทรีย์แดงมันก็คงจะสะท้อนความเป็นจริงตรงนี้แหละ
ที่ฝ่ายกดขี่ดูเหมือนจะเป็นฝ่ายชนะ แต่เวลาที่เราดูหนัง fiction บางทีเราก็อาจจะอยากหลีกหนีจากความเป็นจริงที่โหดร้ายบ้าง
555 เพราะฉะนั้นหนังแบบ US (2019, Jordan Peele), CAPTIVE STATE (2019,
Rupert Wyatt), FREAKS (2018, Zach Lipovsky, Adam B. Stein, Canada) ก็เลยเติมเต็มเราได้ในส่วนนี้
ที่ฝ่ายที่ถูกกดขี่ลุกขึ้นมาตอบโต้ได้อย่างสะใจจริงๆ
2.ดูแล้วนึกถึง LUST, CAUTION (2007, Ang Lee) มากๆ
เพียงแต่สลับกันระหว่างฝ่ายคนดี คนร้าย เพราะในอนินทรีย์แดงนั้น
ฝ่ายสายลับคือฝ่ายผู้ร้าย
3.ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างหนังเรื่องนี้กับหนังเรื่องก่อนๆของอุ้ย
อาจจะเป็น “ความรัก” ระหว่างตัวละครในเรื่องมั้ง เพราะหนังดูจะสะท้อนความรัก
ความผูกพัน ความห่วงใยระหว่างตัวละครจิตกับอินออกมาได้มากพอสมควร เหมือนอารมณ์ความรักแบบนี้เป็นสิ่งที่ไม่ค่อยเห็นในหนังของอุ้ยเรื่องก่อนๆ
4.ชอบดนตรีประกอบในหนังมากๆ มันช่วยสร้างอารมณ์ในหนังได้ดีมากๆ
5.การจัดแสงสีช่วงครึ่งแรกของเรื่องก็สวยงามดีมาก
6.เราอาจจะแบ่งหนังออกได้เป็นสองส่วนมั้ง ส่วนแรกคือส่วนหนังพากย์
ที่มีการจัดแสงสีสวยงาม และเน้นทำให้นึกถึงหนังยุคสงครามเย็น แบบหนัง Hitchcock, อินทรีย์แดง
และส่วนที่สองคือช่วง workshop ที่แสงสีดูจืดลง
และเน้นการถ่าย handheld เหมือนหนังร่วมสมัยยุคปัจจุบัน ตัวละครพูดโดยใช้เสียงจริง
คิดว่า ref ของส่วนที่สองอาจจะมาจากฉาก workshop ใน HAPPY HOUR (2015, Ryusuke Hamaguchi) ด้วย 555
ชอบที่หนังเรื่องนี้มีการเล่นกับสไตล์หนังที่แตกต่างกันระหว่างยุคอดีต-ปัจจุบันแบบนี้
ดูแล้วนึกถึง WONDERSTRUCK (2017, Todd Haynes) ด้วย
ในแง่หนังที่เล่นกับสไตล์หนังยุคอดีต-ปัจจุบันเหมือนกัน
สิ่งที่ประหลาดดีก็คือว่า ในขณะที่หนังยุค Hitchcock นั้น
เป็นการพูดถึงภัยคอมมิวนิสต์ และฝ่ายรัฐบาลคือฝ่ายประชาธิปไตย
แต่ในหนังเรื่องนี้นั้น ฝ่ายรัฐบาลคือฝ่ายเผด็จการที่สนับสนุนจีนคอมมิวนิสต์
ส่วนฝ่ายต่อต้านคือฝ่ายประชาธิปไตย
7.ชอบการใช้อุปมาอุปไมยเรื่องเสียงพากย์-เสียงจริง
กับสิทธิเสรีภาพในการแสดงความเห็นของประชาชน
ชอบที่แสดงให้เห็นว่า ถึงแม้ในยุคปัจจุบันมีการใช้เสียงจริงกันแล้ว
แต่เสียงบางเสียงก็ยังถูกผลักให้เป็นชายขอบอยู่ อย่างเช่นเสียงเล่าเรื่องหื่นๆ และในยุคปัจจุบันมีการโน้มน้าวให้เสียงจริงของแต่ละคน
ถูกนำมาใช้ในการเชิดชูสถาบันครอบครัวอะไรกันต่อไป
8.การพูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับพระจักรพรรดิในญี่ปุ่นก็ดีมากๆ
9.ชอบการ refer ถึง CHUNGKING EXPRESS ผ่านทางตัวละครนักฆ่าในวิกผมทอง
ซึ่งจริงๆแล้วประเด็นใน CHUNGKING EXPRESS ก็ใกล้เคียงกับในหนังเรื่องนี้ด้วย
เพราะใน CHUNGKING EXPRESS นั้น ตัวละครของหลินชิงเสีย ก็
“ไม่ได้เป็นตัวของตัวเองที่แท้จริง” ในช่วงแรก เพราะเธอเลือกจะใส่วิกผมทอง
เนื่องจากเธอตกหลุมรักฝรั่งหนุ่มคนนึงที่ชอบมี sex กับสาวเอเชียที่ใส่วิกผมทอง
แต่พอเธอหมดรักฝรั่งคนนั้นแล้ว เธอก็เลยโยนวิกผมทองทิ้ง
ประเด็นเรื่อง “การไม่เป็นตัวของตัวเองอย่างแท้จริง” ใน CHUNGKING EXPRESS ก็เลยมีความใกล้เคียงกับอนินทรีย์แดงด้วยเหมือนกัน
เพียงแต่ใน CHUNGKING EXPRESS นั้นพูดถึง “ความรัก”
ที่ทำให้คนเราไม่เป็นตัวของตัวเองอย่างแท้จริง แต่ในอนินทรีย์แดงนั้น
“การกดขี่จากรัฐบาล” คือสาเหตุที่ทำให้คนเราไม่เป็นตัวของตัวเอง
10.ชอบการถ่ายทอดบรรยากาศ บ้านเรือน ท้องถนนในช่วงครึ่งแรกของหนังด้วย
11.คิดว่าผู้ชมต่างชาติอาจจะไม่เข้าใจการ refer ถึงจิตร ภูมิศักดิ์ นะ ส่วนเราดูตัวละครจิตแล้วก็นึกถึงเนติวิทย์ด้วย 555
ซึ่งผู้ชมต่างชาติก็อาจจะไม่ get เช่นกัน
แต่เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องสำคัญอะไร
การเล่นกับผลไม้ ก็คงเป็นการ refer ถึงหนังเรื่องเก่าๆของอุ้ย
ซึ่งก็เป็นอะไรที่น่ารักดี
12.จริงๆแล้วคิดว่าหนังมันจะน่าสนใจมากขึ้น ถ้าหากมัน package
ฉายรวมกับแหม่มแอนนาและมะนีจัน พร้อมกับ statement เรื่อง French,
British, American colonial เพราะถ้าดูแบบแยกๆกันอย่างนี้
ผู้ชมคงไม่เข้าใจถึงภาพรวมของหนังชุดนี้ แต่เราว่า “ภาพรวม” ของหนังชุดนี้ ที่เป็น
COLONIAL TRILOGY มันดูน่าสนใจดี
13.จุดที่เรามีปัญหากับหนัง
คือเราแยกเสียงไม่ออกระหว่างจิตกับอินในช่วงท้ายของเรื่อง 555
ที่เป็นฉากตัวละครเต้น แล้วมีเสียง voiceover ของตัวละครสองตัวนี้คุยกัน
แล้วเราแยกไม่ออกว่าอันไหนเป็นเสียงของจิต อันไหนเป็นเสียงของอิน เราเลยต้องดูรอบสอง
เพื่อจะแยกเสียงให้ออก เหมือนเสียงของอินจะ “หนา” กว่า แล้วเสียงของจิตจะ “บาง”
กว่า พอดูรอบสองแล้วเลยแยกเสียงออกจากกันได้
14.โดยส่วนตัวแล้ว เรารู้สึกว่า หนังมัน “จริง” เกินไป
(เมื่อเทียบกับความต้องการของเรา) ในแง่ที่ว่า ในท้ายที่สุดแล้ว
ตัวละครก็ต้องอยู่กันอย่างแกนๆภายใต้ระบอบกึ่งเสรีกึ่งเผด็จการกันต่อไป
ในขณะที่ฝ่ายผู้กดขี่ก็อยู่กันอย่างสบายๆต่อไป
คือถ้าหากเราเป็นอิน เราก็คงจะกลายเป็นฝ่ายต่อต้านรัฐบาลไปเลยน่ะ
อาจจะเป็นเจ้าแม่ขบวนการมือระเบิดพลีชีพไปเลยในตอนจบ 555
DIGITAL FUNERAL: BETA VERSION (2020, Sorayos Prapapan, documentary,
6MIN, A+30)
1.หนังเรื่องนี้คืออะไร 55555
2. ชอบที่ภาพในหนังมันเหมือนไม่เล่าเรื่องแบบหนังทั่วไป
เพราะในหนังทั่วไปนั้น ภาพในหนังจะแสดงให้เห็น “ตัวละครทำกิจกรรมสำคัญอะไรสักอย่าง”
เพื่อเล่าเรื่อง แต่หนังเรื่องนี้มีสองฉาก ฉากแรกเป็น subject ถ่ายรูป แล้วเดินหายไปจากเฟรมภาพ แล้วกล้องก็ล้มลง
ส่วนฉากที่สองเป็นกล้องหมุนไปแบบ 360 องศาในห้องของ subject ขณะที่
subject เหมือนนั่งทำอะไรสักอย่างอยู่บนเตียง
กล้องเผยให้เราเห็นสิ่งของต่างๆในห้องของ subject ซึ่งดูเหมือนไม่ได้มีอะไรที่สำคัญหรือพิสดาร
ยกเว้นจอทีวีที่ฉาย “ฉาก subject เดินไปมา”
เรารู้สึกว่าสองฉากนี้มันแปลกประหลาดในความธรรมดาของมันน่ะ ในทั้งสองฉาก
subject ดูเหมือนไม่ได้ทำอะไรที่สำคัญ
และทั้งสองฉากนี้ก็นำเสนอดาดฟ้าธรรมดา กับห้องธรรมดาด้วย สองฉากนี้มันก็เลยดูเป็นอะไรที่แตกต่างจากหนังทั่วไปดี
เพราะในหนังทั่วไป subject ต้องทำอะไรสักอย่างที่สำคัญในฉาก
“การเล่าเรื่อง” เท่าที่พอจับได้ในหนัง ก็มีเพียงแค่เสียง voiceover ที่บอกคล้ายๆกับว่า
subject อยากจัดงานศพของตัวเองให้ออกมาแบบนิทรรศการศิลปะ ที่ผู้มางานศพสามารถเลือกดูหนังของ
subject จากโฟลเดอร์ได้
สรุปว่า เราชอบความ “ไม่รู้ว่าเราควรดูอะไรหรือควรรู้สึกอะไรกับแต่ละฉาก”
ในหนังเรื่องนี้
3.หนังเรื่องนี้ทำให้เราแอบคิดถึงความฝันของตัวเอง เพราะเราก็เคยวาดฝันเกี่ยวกับงานศพของตัวเองไว้เช่นกัน
เหมือนถ้าหากพูดถึง “งานศพของเรา” เราก็คิดไว้สองแบบ คือแบบ realistic กับแบบ fantasy
55555
3.1 ในแบบ realistic ก็คือว่า เราก็อยากตายแบบเงียบๆนะ คือถ้าหากเราตายไปด้วยสาเหตุอะไรก็แล้วแต่
ก็จัดงานศพแบบธรรมดาน่ะแหละ แบบในกลอน ODE ON SOLITUDE ของ Alexander
Pope ที่ลงท้ายว่า
https://www.poetryfoundation.org/poems/46561/ode-on-solitude
Thus let me live, unseen, unknown;
Thus unlamented let me
die;
Steal from the world, and not a stone
Tell where I lie.
ให้ฉันได้มีชีวิตอยู่ โดยไม่ต้องมีคนพบเห็น ไม่ต้องมีคนรู้จัก
ให้ฉันได้ตายไปโดยไม่ต้องมีใครมาเศร้าโศกเสียใจ
จากโลกนี้ไปอย่างเงียบๆ และไม่ต้องมีแม้แต่หิน
มาปักบนหลุมศพของฉัน
ก็คือตอนที่เรามีชีวิตอยู่ เราก็ไม่อยากเจอคนเยอะๆ เราไม่อยากมีชื่อเสียงโด่งดัง
เราอยากใช้ชีวิตอย่างเงียบๆพอเราตายแล้ว ก็จบกัน ไม่ต้องมีใครมาเศร้าโศกเสียใจอะไรทั้งสิ้น
ให้เราได้ตายไป เหมือนกับว่าไม่เคยมีเราอยู่บนโลกนี้เลยก็ได้
อันนี้คือความใฝ่ฝันถึงงานศพของเราในแบบ realistic
3.2 ส่วนงานศพของเราแบบ fantasy มันคือสิ่งที่เราเคยฝันไว้เมื่อราว
15-20 ปีก่อน คือถ้าหากเรารวยล้นฟ้า (ซึ่งไม่มีวันเป็นจริงได้) เราก็อยากให้งานศพของเรามีการจัดฉายหนัง 100
เรื่องที่เราชื่นชอบสุดๆ แบบหนังในลิสท์นี้ 55555
http://beyondthecanon.blogspot.com/2009/09/jit-phokaew.html
เราเดาว่าศิลปินบางคน ก็อาจจะอยากให้ผู้คนจดจำผลงานศิลปะของเขาหลังจากเขาตายไปแล้ว
ผู้กำกับภาพยนตร์บางคน ก็อาจจะอยากให้มีคนจัด retrospective หนังของเขา
หลังจากเขาตายไปแล้ว ส่วน cinephile บางคน
ก็อาจจะอยากให้มีคนดูหนังในลิสท์หนังสุดโปรดของเขา หลังจากเขาตายไปแล้ว 55555