Tuesday, March 26, 2019

26 MARCH – 1 APRIL 1989


อันดับเพลงเมื่อ 30 ปีก่อน
WEEK 13
26  MARCH – 1 APRIL 1989

1. ANATA O AISHITAI – Yoko Minamino              

2. LIKE A PRAYER – Madonna

3. KATARI TSUGU AI NI – Hiroko Yakushimaru 

4. LOST IN YOUR EYES – Debbie Gibson 

5. NAMIDA TOMARE – Shinobu Nakayama

6. NAMIDA WA DOKO E ITTA NO – Yoko Minamino      

7. ETERNAL FLAME – Bangles

8. FOUR LETTER WORD – Kim Wilde

9. ANNIVERSARY – Shohjo-tai

10. YUYAKE NO UTA – Masahiko Kondo


Monday, March 25, 2019

MEMORIES OF SOME THAI SHORT FILMS 3


MEMORIES OF SOME THAI SHORT FILMS ตอน 3

แล้วก็มาถึงเทศกาลภาพยนตร์ที่ทำให้ชีวิตเราเปลี่ยนแปลงไปตลอดกาล ซึ่งก็คือ “การประกวดภาพยนตร์สั้น ครั้งที่ 1” ซึ่งจัดขึ้นที่หอประชุมสถาบันปรีดี พนมยงค์ในวันที่ 16-17 ส.ค. 1997 โดยมูลนิธิหนังไทย

หนังที่เราจำได้ว่าเคยดูในเทศกาลนี้ ก็รวมถึงเรื่อง

1.หมดทางหนี THE IMPOSSIBLE ESCAPE (1996, เมธา นาเจริญกุล, Michel A. Reynolds)
2.โลกขยะ RUBBISH (1997, มนต์ชัย น้อยคำสิน)
3.เพื่อนร่วมทาง (1996, ศุภจิต สิงหพงษ์)
4.ไอ้จุก (1997, อธิปัตย์ กมลเพ็ชร, animation)
5.กระเทยเป็นเหตุ (1947, กลุ่ม Ledger ธนาคารมณฑล)

จำได้ว่าชอบ “ไอ้จุก” มากๆ

ส่วนหนังที่อยากดูอีกรอบมากๆในเทศกาลนี้ ก็คือเรื่อง “กลางดึก” (AFTER MIDNIGHT) (1996, บุญส่ง นาคภู่, 37min) คือเราจำไม่ได้ว่าเคยดู “กลางดึก” หรือเปล่า แต่ “กลางดึก” มันฉายรอบเดียวกับ “ไอ้จุก” เพราะฉะนั้นถ้าหากเราได้ดู ไอ้จุก ในเทศกาลนี้ เราก็น่าจะเคยดู “กลางดึก” ด้วย แต่เราก็ไม่แน่ใจเหมือนกัน

ตอนที่เราไปงานเทศกาลหนังสั้นปีแรก เราก็ชอบหนังส่วนใหญ่ในเทศกาลในระดับราว A+15 มั้ง (ถ้าวัดตามเกรดในปัจจุบัน) คือไม่ได้ชอบมากในระดับสุดๆ แต่ก็ชอบมากในระดับนึง เหมือนหนังส่วนใหญ่ที่เราได้ดูในเทศกาลหนังสั้นปีแรก มันไม่ค่อยมี “หนังทดลอง”, “หนังบ้านๆ” หรือ “หนังบ้าๆบอๆ” สักเท่าไหร่น่ะ เพราะในยุคนั้น มันยังไม่มีเทคโนโลยี digital การทำหนังก็เลยน่าจะยังเป็นเรื่องยากอยู่สำหรับคนทั่วไป หนังส่วนใหญ่ในเทศกาลนี้ก็เลยเป็นหนังที่นักศึกษาน่าจะทำส่งอาจารย์ มีการเล่าเรื่อง มีประเด็นชัดเจน และถ้าไม่เป็นหนังสะท้อนประเด็นสังคมชัดเจนไปเลย ก็จะเป็นหนังรักวัยรุ่นโรแมนติก ซึ่งเราไม่อิน 555

จำได้ว่า “เพื่อนร่วมทาง” เป็นหนังสยองขวัญ มันก็เลยโดดเด่นจากหนังเรื่องอื่นๆในเทศกาล แต่เราก็ไม่ได้ชอบหนังมากนัก เพราะมันเป็นเรื่องของฆาตกรฆ่าข่มขืนที่โดนผีเหยื่อตามมาล้างแค้น แล้วพอตัวเอกมันเป็นฆาตกรฆ่าข่มขืน ถึงหนังมันจะทำบรรยากาศออกมาได้น่ากลัว เราดูแล้วก็ไม่กลัวน่ะ เพราะมันไม่ใช่ “ผีที่จะมาหลอกคนทั่วๆไป” เราก็เลยไม่รู้สึกว่า “ผู้ชมเองก็สามารถเจอกับสถานการณ์แบบนี้ หรือเจอผีหลอกแบบนี้ได้” เราก็เลยไม่ได้ชอบ “เพื่อนร่วมทาง” ในระดับแบบสุดๆ

จริงๆแล้วมันก็มีหนังบ้านๆฉายในงานนี้นะ ซึ่งก็คือเรื่อง “ศีล 4” (1997, กุลชาติ จิตขจรวานิช, ลือชัย โพธิกุล) แต่เราจำไม่ได้ว่าเราได้ดู ศีล 4 ในเทศกาลนี้ หรือดูตอนที่มันมาฉายในงาน retrospective ของกุลชาติ จิตขจรวานิช

เหมือนตอนที่ไปดูเทศกาลหนังสั้นไทยในปี 1997 เราก็ไม่นึกไม่ฝันเลยนะ ว่ามันจะกลายเป็นเทศกาลภาพยนตร์ที่อยู่กับเรามานาน 20 กว่าปีจนถึงตอนนี้ และกลายเป็นเทศกาลที่มีความสำคัญกับชีวิตการดูหนังของเรามากๆในเวลาต่อมา

MEMORIES OF SOME THAI SHORT FILMS 2


MEMORIES OF SOME THAI SHORT FILMS ตอน 2

ต่อจาก BANGKOK INTERNATIONAL ART FILM FESTIVAL 1997 แล้ว เราก็ได้ดูหนังสั้นไทยอีกหลายเรื่องจากเทศกาล “หนังนักเรียน นักเรียนหนัง 1997” ซึ่งจัดที่ ABOUT CAFE โดยเป็นการฉายหนังของนักศึกษา 5 สถาบันด้วยกัน ซึ่งได้แก่ นิเทศศาสตร์ จุฬา, วารสาร ธรรมศาสตร์, สถาปัตย์ ลาดกระบัง, เทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพ และนิเทศศาสตร์ รังสิต

จำได้ว่า หนังที่ชอบสุดๆในเทศกาลนี้คือ “ช่วยด้วย...กระเป๋า” หรือ DON’T YOU EVER TOUCH MY BAG! (1997, Surachai Pattanakitpaibul + Manorom, 5 min) จากนิเทศ จุฬา จำได้ว่ามันเป็นหนังที่ใช้เพลง dance ประกอบหนังตลอดทั้ง 5 นาที โดยเหมือนเริ่มเรื่องด้วยการที่มีโจรมาวิ่งราวกระเป๋าถือของผู้หญิงคนนึงไป แล้วหนังก็เล่าเรื่องด้วยภาพที่ตัดต่อให้เข้ากับจังหวะเพลง dance techno ตลอดทั้งเรื่อง แล้วมันออกมาลงตัว เริ่ดมากๆ และถ้าจำไม่ผิด มันจบลงด้วยความจริงที่ว่า ในกระเป๋าถือใบนั้นไม่ได้มีเงินหรือทรัพย์สมบัติมีค่า แต่มี “มือคน” ที่ถูกตัดไว้อยู่ข้างในกระเป๋าถือ คือเหมือนผู้หญิงที่ถูกวิ่งราวกระเป๋าในช่วงต้นเรื่องดูเผินๆเหมือนเป็น “เหยื่อ” หรือผู้หญิงธรรมดา แต่จริงๆแล้วเธออาจจะเป็นฆาตกรโรคจิตก็ได้ หรืออะไรทำนองนี้

แน่นอนว่าเราอาจจะจำเนื้อเรื่องผิดไปจากความเป็นจริงก็ได้นะ เพราะมันเป็นหนังยาว 5 นาทีที่เราได้ดูแค่รอบเดียวมั้งเมื่อ 22 ปีก่อน แต่มันก็เป็นหนึ่งในหนังสั้นไทยที่เราชอบที่สุดในชีวิตอย่างแน่นอน

น่าเสียดายที่เราไม่ได้จดไว้อย่างแน่นอนว่า เราได้ดูหนังเรื่องอะไรบ้างในเทศกาลนี้ เพราะมันมีหนังหลายเรื่องที่ฉายในเทศกาลนี้และฉายในเทศกาลหนังสั้นไทยครั้งแรกในเวลาต่อมาด้วย และเราก็จำไม่ได้แน่นอนว่าเราได้ดูหนังสั้นเรื่องไหนจากเทศกาลไหนกันแน่

อย่างไรก็ดี หนังสั้นไทยที่เราจำได้ว่าเคยดูในปี 1997 ก็รวมถึงเรื่อง

1.4.20 (1996, Nithiwat Tharatorn)
2.ร้านนายวัฒนา (1997, Vithaya Thongyuyong)
3.THE LITTLE GIRL (1997, Nicole Greenwood + Pantipa Tanchookiat) จากนิเทศ จุฬา ชอบหนังเรื่องนี้อย่างสุดๆ เหมือนหนังมันยาว 3 นาที แล้วถ่ายเด็กผู้หญิงสองคนเล่นในสวนมั้ง แต่มันมีอะไรบางอย่างหลอนๆในหนัง ถ้าจำไม่ผิด
4.AT THE BANGKOK STATION (1997, Bin Kitkajornpong)
5.00.00 (1996, Komkrit Treewimon)

จริงๆแล้วเราคงได้ดูเยอะกว่านี้มากๆ แต่ตอนนั้นเราไม่ได้จดชื่อหนังสั้นที่ได้ดูเก็บไว้ เราก็เลยลืมไปหมดแล้วว่าได้ดูหนังเรื่องไหนบ้างหรือเปล่า

พอลองเปิดสูจิบัตรเทศกาล หนังนักเรียน นักเรียนหนังปีนั้น ก็เห็นมีหนังเรื่อง VIOLENT OF ILLUSION (15 min) ที่กำกับโดย “คงเดช” ด้วย ก็เลยสงสัยว่าคงเดชที่กำกับหนังสั้นเรื่องนั้นคือคงเดช จาตุรันต์รัศมีหรือเปล่า 555


MEMORIES OF SOME THAI SHORT FILMS


MEMORIES OF SOME THAI SHORT FILMS

เนื่องจากเรายังไม่เคยจดบันทึกชื่อหนังที่เราเคยดูในยุคแรกๆเลย ก็เลยถือโอกาสนี้จดบันทึกไว้บ้างดีกว่า เผื่อจะง่ายในการค้นข้อมูลในภายหลัง

ถ้าหากพูดถึงหนังสั้นไทยแล้ว เราไม่ได้จดบันทึกไว้หรอกว่า หนังสั้นไทยเรื่องแรกๆที่ได้ดูคือเรื่องอะไร แต่คิดว่าส่วนหนึ่งของหนังสั้นไทยเรื่องแรกๆที่เราได้ดู ก็คงจะเป็นหนังสั้นในงาน BANGKOK INTERNATIONAL ART FILM FESTIVAL 1997 หรือเทศกาลภาพยนตร์ทดลองกรุงเทพครั้งแรก โดยหนังสั้นไทยที่เราได้ดูในเทศกาลนี้ในช่วงปลายเดือนมี.ค.-ต้นเดือนเม.ย. 1997 ก็มีเรื่อง

1.TRIUMPH IN HIS FACE (1997, Chai Bulakul)
2.8:00 O’CLOCK (1996, Kajitkwan Kitwisala)
3.STILLNESS IN TIME (1996, Jibby Yunibandhu)
4.THE BUGS (1995, Navajul Boonpucknawig)
5.MY LADY BLUE (1995, Chatchaval Somprasertsuk)
6.001 6643 225 059 (1994, Apichatpong Weerasethakul)
7.DRIFTER (1993, Sasithorn Ariyavicha)
8.LAND OF LAUGH (1991, Manit Sriwanichpoom)

จำได้ว่าชอบ DRIFTER, 001 6643 225 059 และ TRIUMPH IN HIS FACE มากๆ เหมือนตอนที่เราดู DRIFTER นั้น เราแทบไม่เคยเจอหนังอะไรแบบนี้มาก่อนเลย เหมือน DRIFTER เป็นหนึ่งในหนัง “บรรยากาศ” เรื่องแรกๆที่เราได้ดู คือก่อนหน้านั้นเรามักจะได้ดูแต่หนัง narrative เป็นส่วนใหญ่น่ะ หรือไม่ก็หนังทดลองของ Peter Greenaway และ Derek Jarman ซึ่งถึงแม้มันจะเป็นหนังทดลอง แต่มันก็มีเนื้อเรื่อง มีประเด็น มีสัญลักษณ์ให้ตีความ อะไรทำนองนี้อยู่

แต่ DRIFTER นี่เหมือนมันไม่มีเนื้อเรื่อง ไม่มีประเด็น ไม่มีสัญลักษณ์ให้ตีความน่ะ และมันไม่บอกว่าเราควรรู้สึกอะไรยังไงกับภาพและเสียงในหนังด้วย เราก็เลยตกตะลึงกับมันมากพอสมควร แบบว่าหนังแบบนี้ก็มีบนโลกนี้ด้วย

ส่วนหนังของพี่เจ้ยนั้น เราก็ “งงๆ” เหมือนกันว่าหนังเรื่องนี้มันต้องการจะสื่ออะไร และมันต้องการให้เรารู้สึกยังไง คือตอนแรกที่ดู เราจะรู้สึกว่ามันมีอะไรบางอย่างคล้ายหนังสยองขวัญมากๆ มันมีความหลอกหลอนอะไรบางอย่าง แต่ เอ๊ะ ผู้กำกับมีจุดประสงค์เดียวกับหนังสยองขวัญจริงๆเหรอ เขาต้องการให้เรากลัวอะไรเหรอ มันก็แค่เสียงแม่ของเขา กับภาพต่างๆที่ตัดสลับกันไปมา แล้วเขาต้องการให้เรารู้สึกซึ้งกับแม่ของเขาเหรอ มันก็ไม่ใช่นี่นา มันเหมือนกับว่า หนังเรื่องนี้ก็เป็นหนังที่ท้าทายเรามากๆเช่นกันในตอนนั้น เพราะมันมีอะไรบางอย่างคล้ายหนังสยองขวัญ แต่มันก็ไม่ใช่ มันเป็นอะไรที่เราไม่สามารถ pinpoint มันได้

ส่วน TRIUMPH IN HIS FACE นั้น ดูเหมือนจะเป็นหนังเล่าเรื่อง แต่เราดูจบแล้วก็ไม่รู้เรื่องอะไรอยู่ดี จำได้แต่ว่าหนังมันเล่ากิจกรรมประหลาดๆของคนกลุ่มนึงในห้องๆนึง มีความเวียร์ดๆคัลท์ๆบางอย่าง ที่อาจจะทำให้นึกถึงหนังของ Derek Jarman และ Kenneth Anger มั้ง ถ้าจำไม่ผิด

น่าเสียดายที่คุณ Chai Bulakul ผู้กำกับหนังเรื่องนี้ เหมือนจะไม่ได้กำกับหนังทดลองอะไรอีกเลยมั้ง เหมือนเขาหายจากวงการหนังสั้นไปเลย

ส่วน THE BUGS นั้น เป็นหนังที่ memorable มาก และหลายคนคงเคยดูหนังเรื่องนี้ไปแล้ว เพราะมันชนะรางวัลในเทศกาลหนังสั้นในเวลาต่อมา แต่เราดูแล้วเฉยๆ

น่าเสียดายที่เราจำอะไรใน 8:00 O’CLOCK, STILLNESS IN TIME กับ MY LADY BLUE ไม่ได้แล้ว



Saturday, March 23, 2019

DOUBTING THOMAS (2018, Will McFadden, A+30)


DOUBTING THOMAS (2018, Will McFadden, A+30)

1.รักหนังเรื่องนี้อย่างสุดๆ ดูแล้วนึกถึง SHADOWS (1958, John Cassavetes) กับ SECRETS AND LIES (1996, Mike Leigh) นึกว่าหนังเรื่องนี้เป็นภาคสามใน unintentional trilogy เกี่ยวกับ interracial relationship ชุดนี้ เพียงแต่ว่า DOUBTING THOMAS อาจจะไม่มีความคมคายทางศิลปะภาพยนตร์มากเท่ากับอีกสองเรื่องก่อนหน้า แต่ในแง่ความซาบซึ้งตรึงใจของเราแล้วมันพอเทียบกันได้ และรู้สึกว่าตัวละครในหนัง 3 เรื่องนี้ จริงๆแล้วมันมีความเชื่อมโยงกันโดยไม่ได้ตั้งใจ

2. รู้สึกว่าตัวละครพระเอกคนขาวใน DOUBTING THOMAS มีความน่าสนใจสำหรับเรามากกว่าพระเอก/ตัวละครนำชายผิวขาวผู้ก้าวข้ามการเหยียดสีผิว "ได้อย่างง่ายดาย" ในหนังอย่าง GUESS WHO (2005, Kevin Rodney Sullivan),  GREEN BOOK (2018, Peter Farrelly และ BLINDSPOTTING (2018, Carlos López Estrada) เสียอีก และน่าสนใจกว่าตัวละครพระเอกคนขาวที่ก้าวข้ามการเหยียดสีผิวได้อย่างยากลำบากใน AMERICAN HISTORY X (1998, Tony Kaye) ด้วย แต่คำว่า "น่าสนใจ"ในที่นี้ ไม่ได้หมายความว่า พระเอกของ DOUBTING THOMAS เป็น "คนดี" ที่สุดในกลุ่มนี้นะ เพราะคนที่ดีที่สุด หรือน่าเอาเป็นผัวมากที่สุดในกลุ่มนี้ ก็คือพระเอก GUESS WHO นั่นแหละ

ความน่าสนใจของพระเอก DOUBTING THOMAS ก็คือ "ความเทา" หรือความก้ำกึ่งของเขาน่ะ ใจเขาไม่ได้ใสแบบพระเอก GUESS WHO และ GREEN BOOK และใจเขาก็ไม่ได้มืดแบบพระเอก AMERICAN HISTORY X แต่เขามีความเป็นปุถุชนมากในแบบที่เราอินด้วย เพราะเขาคิดว่าตัวเองเป็น “คนดี” และ “พยายามทำดี” แต่พอเขาเจอ “บททดสอบของชีวิต” เขาถึงพบว่าตัวเองมีความเปราะบาง มีข้อบกพร่อง, มี “ปีศาจร้าย” ซ่อนอยู่ในใจ หรืออาจถูกอำนาจฝ่ายต่ำเข้าครอบงำได้ในบางขณะ

3.คือจริงๆแล้วสาเหตุที่ชอบ DOUBTING THOMAS อย่างรุนแรงมากๆ เป็นเพราะดูแล้วนึกถึงลักษณะนิสัยของตัวเอง และประสบการณ์ชีวิตของตัวเองน่ะแหละ และนึกถึงหนังอีกสองเรื่องที่ชอบสุดๆด้วย ซึ่งก็คือ
ANAIS (2013, Julie Benegmos, France) และ DEVIL (2018, Kshitij Sharma, India) เพราะนางเอกของ ANAIS และ DEVIL นั้น ก็เริ่มต้นด้วยการเป็น “คนดี” “พยายามทำดี” และ “มีความเป็นแม่พระ” อยู่ในตัว แต่บางที “การพยายามทำดี” ของคนบางคน มันก็ฝืนตนเองมากเกินไป และพอพวกเขาเจอบททดสอบของชีวิตเข้าจริงๆ พวกเขาก็พบว่า ที่พวกเขาอาจจะเคยคิดว่าตนเองเป็น “แม่พระ” , “พ่อพระ” หรือพยายามจะเป็นพ่อพระหรือแม่พระนั้น มันกลับทำให้พวกเขาได้พบว่า จริงๆแล้วพวกเขามีปีศาจร้ายซ่อนอยู่ในจิตใจตนเองต่างหาก

คือในช่วงแรกของ DOUBTING THOMAS นั้น พอพระเอกกับนางเอกซึ่งเป็นคนขาว คลอดลูกออกมาเป็นคนดำ นางเอกก็ถามพระเอกว่า จะทดสอบ DNA ไหม พระเอกก็ตอบว่า ไม่ เพราะเขาเชื่อใจภรรยาของเขาเอง

ตอนแรกนั้น เราก็รู้สึกว่า ถ้าหากเราเป็นพระเอก เราก็คงจะทดสอบ DNA ไปเลย เพราะเราเกลียด “ความลังเลสงสัย” มาก คือเราเป็นคนที่ในบางสัปดาห์เราไปโรงพยาบาลถึง 4 ครั้งต่อสัปดาห์น่ะ เพราะถ้าหากเรากังวลนิดๆหน่อยๆว่าเราจะเป็นโรคอะไร เราต้องรีบเข้าโรงพยาบาลไปตรวจให้รู้ผลโดยเร็วที่สุดเลย เพราะเราพบว่า ถ้าหากเราไม่รีบตรวจให้รู้ผล ใจเรามันจะกังวลตลอดเวลาว่า กูเป็นโรคนู้นโรคนี้หรือเปล่า และในเมื่อ “เหตุแห่งทุกข์” คือ “ความลังเลสงสัย ความกังวลใจ” เราก็ต้องรีบดับเหตุแห่งทุกข์ด้วยการขจัดความลังเลสงสัยโดยเร็วที่สุด

เพราะฉะนั้นพอพระเอกตัดสินใจไม่ตรวจ DNA ในช่วงต้นเรื่อง เราก็เลยรู้สึกว่าพระเอกโง่มาก แต่พอเราดูหนังจนจบเรื่อง เรากลับพบว่าพระเอกหนังเรื่องนี้ทำให้เรานึกถึงประสบการณ์ชีวิตตนเองในอดีตมากๆ เพราะเรารู้สึกว่า การที่พระเอกไม่ยอมตรวจ DNA ในช่วงต้นเรื่องนั้น มันเหมือนกับการที่เขารู้สึกว่า “ผู้ชายที่ดีควรเชื่อมั่นและไว้วางใจในภรรยาและเพื่อนของตนเองอย่างเต็มเปี่ยม” น่ะ คือเขาอยากจะเป็น “คนดีตามความเชื่อของเขา” น่ะ เขามองว่า “คนที่เขาควรเป็น” “สามีแบบที่เขาควรจะเป็น” มันควรจะต้องเป็นคนที่คิดแบบนี้และทำแบบนี้ ต้องไว้วางใจภรรยาแบบนี้ ต้องเลี้ยงลูกผิวดำโดยไม่สงสัย ต้องปฏิบัติต่อคนผิวดำทุกคนอย่างดีงาม ฯลฯ และเขาก็เลยพยายามจะเป็น “คนที่ดีตามความเชื่อของเขา” ไปเรื่อยๆน่ะ โดยไม่ได้มองว่ามันฝืนตนเองเกินไปหรือเปล่า มึงไม่ต้องพยายามทำตัวเป็นพ่อพระผู้ใสสว่างกระจ่างใจมล หรือตั้งเกณฑ์ให้สูงเกินไปสำหรับตนเองก็ได้ คือเรารู้สึกว่าเขาฝืนพยายามจะทำตัวเป็น “สามีผู้แสนดี” ผู้ไว้เนื้อเชื่อใจภรรยาของตนเองมากเกินไปในช่วงต้นเรื่องน่ะ และการทำแบบนั้นมันเลยทำให้เกิดการดีดกลับที่รุนแรงมากตามมา เพราะเขาไม่สามารถทำใจตัวเองให้ใสสว่างปราศจากความกังขาได้ แบบที่เขาตั้งใจไว้ในตอนแรกๆ

คือในอดีตเมื่อ 20-30 ปีก่อน เราก็เคยมีประสบการณ์ทำนองนี้น่ะ เหมือนเราพยายามจะทำตัวเป็น “นางเอก” หรือพยายามจะทำตัวเป็นคนดีตามความเชื่อของเราเอง ฉันต้องรักเพื่อน ฉันต้องให้อภัยเพื่อน ฉันต้องไม่คิดมาก ฯลฯ แต่ไอ้การพยายามจะทำตัวเป็น “นางเอกตามความเชื่อของตนเอง” นี่แหละ ที่มันทำให้เกิดการดีดกลับที่รุนแรงมากตามมา และทำให้ชีวิตชิบหายในที่สุด เหมือนการที่เราพยายามพร่ำบอกตนเองว่า “ฉันต้องไม่คิดมาก” อะไรทำนองนี้ ไปๆมาๆมันเหมือนเป็นการเก็บกดความลังเลสงสัย และความเกลียดชังให้ฝังลึกเข้าไปในใจตนเองเรื่อยๆโดยที่เราไม่รู้ตัว และในวันนึงไอ้ความลังเลสงสัยและความเกลียดชังที่เราเก็บกดเอาไว้มันจะปะทุเป็นภูเขาไฟระเบิดออกมาได้

จุดนี้ก็เลยทำให้รักหนังเรื่อง DOUBTING THOMAS อย่างสุดๆ เพราะกูก็เป็นคนประเภทเดียวกับพระเอกนี่แหละ และทำให้นึกถึงนางเอก ANAIS กับ DEVIL ด้วย โดยนางเอก ANAIS นั้นเป็นสาวชนชั้นกลางที่วันนึงก็ตัดสินใจไปช่วย “หญิงไร้บ้าน” ผู้ทุกข์ยาก แต่ไปๆมาๆนางเอกกลับพบว่า ตนเองรู้สึก “ไม่ไว้วางใจ” และ “รังเกียจ” หญิงไร้บ้านคนนั้น แต่นางเอกก็พยายามแสดงออกทางภายนอกทุกอย่างอย่างดีที่สุด อย่าง politically correct ที่สุด และพยายามเก็บความไม่ไว้วางใจและความรังเกียจคนจนไว้ภายในใจ

คือมันเหมือนกับว่า นางเอก ANAIS คิดว่าตนเองเป็น “แม่พระ” หรืออยากจะเป็น “แม่พระ” หรือ “อยากจะทำตัวเป็นคนดีตามมาตรฐานของตนเองและมาตรฐานของสังคม” น่ะ แต่จริงๆแล้วมันฝืนตัวเธอเองมากเกินไป เธอรู้แหละว่า ตัวเธอควรคิด, พูด และทำอย่างไร และเธอก็พยายามพูดและทำไปตามสิ่งที่เธอคิดว่าควรทำ แต่  “มโนกรรม” ในใจเธอนั้น เธอคุมมันไม่ได้อย่างที่เธอคิด มันมีปีศาจร้าย มีความรังเกียจคนจนแฝงซ่อนในใจเธออยู่ และมันก็ผุดออกมาเมื่อเธอเจอกับบททดสอบ เธอพยายามจะเป็นแม่พระ และเธอก็พบว่าจริงๆแล้วมีปีศาจร้ายอยู่ในใจเธอ

นางเอกของ DEVIL (MAUPASSANT’S LE DIABLE) ก็เหมือนกัน คือเธอเริ่มต้นเรื่องมาด้วยความเป็นคนเข้มแข็ง จิตใจดีงาม ไม่ยอมสยบต่อใครง่ายๆ แต่พอเธอเจอบททดสอบของชีวิตเข้าจริงๆ เธอก็พบว่าตัวเธอเองไม่ได้เป็นแม่พระ แต่เธอนี่แหละคือปีศาจ ซึ่งตัวเธอเองก็คงไม่นึกไม่ฝันมาก่อนเหมือนกัน ว่ามันมีปีศาจร้ายซ่อนอยู่ในใจเธอ

เราก็เลยรักหนังเรื่อง DOUBTING THOMAS, ANAIS และ DEVIL (MAUPASSANT’S LE DIABLE)  อย่างสุดๆ เพราะเราว่านี่แหละคือ “มนุษย์ปุถุชน” ที่เราสนใจ และที่เรา identify ด้วยได้มากกว่าตัวละครพระเอกนางเอกที่ดีงามในหนังเรื่องอื่นๆ มันคือตัวละครที่คิดว่าตัวเองเป็นคนดี มันคือคนที่พยายามจะทำดี แต่ในที่สุดก็ได้เรียนรู้ว่า มนุษย์เรามันเปราะบาง มันมีข้อบกพร่องอยู่ในตัว มันมีขีดจำกัดที่แตกต่างกันไปในแต่ละคน และเราไม่ต้องฝืนทำดีมากเกินไปจนเลยพ้นขีดจำกัดหรือฐานจิตของตนเองก็ได้ เพราะถ้าเราพยายามฝืนทำดีมากเกินกว่าที่ฐานจิตของตนเองจะรับไหว ในที่สุดเราก็จะถูกปีศาจร้ายเข้าครอบงำใจเรา

4.ร้องไห้ให้กับการแสดงของ Melora Walters ในหนังเรื่องนี้ เธอแสดงได้ยอดเยี่ยมมากๆ

5.ถึงแม้เราจะเข้าข้างตัวละครพระเอกของ DOUBTING THOMAS แต่เราก็เข้าใจนางเอกและเพื่อนผิวดำของพระเอกนะ คือถ้าเราเป็นนางเอกหรือเป็นเพื่อนของพระเอก เราก็คงตัดสินใจไม่เหมือนกับตัวละครสองตัวนี้เช่นกัน แต่เราก็เข้าใจว่าทำไมตัวละครสองตัวนี้ถึงตัดสินใจแตกต่างจากเรา  เพราะตัวละครสองตัวนี้ไม่ใช่เรา เขาก็ย่อมมีความเจ็บปวด, มีประสบการณ์ชีวิต, มีการตั้ง “เกณฑ์มาตรฐาน” ว่าสามีที่ดีและเพื่อนที่ดีควรเป็นอย่างไร ในแบบที่แตกต่างจากเรา








Friday, March 22, 2019

LANDFILL HARMONIC (2015, Brad Allgood, Graham Townsley, Juliana Peñaranda-Loftus, Paraguay, documentary, A+30)


LANDFILL HARMONIC (2015, Brad Allgood, Graham Townsley, Juliana Peñaranda-Loftus, Paraguay, documentary, A+30)

1.นับถือ subjects ในหนังเรื่องนี้มากๆ ทั้งคนเก็บขยะที่เอาขยะมาทำเป็นเครื่องดนตรี, ครูสอนดนตรีคลาสสิคให้เด็กยากจน และเด็กๆในชุมชนเก็บขยะ เรารู้สึกเหมือนกับว่าคนทำเครื่องดนตรีกับคุณครูในหนังเรื่องนี้เป็นคนที่มีพลังความสว่างอยู่ในตัวน่ะ และพลังความสว่างในตัวของเขาก็เลยช่วยให้เด็กๆในชุมชนของเขามีชีวิตที่ดีขึ้นตามไปด้วย คือดูแล้วเราก็จะนับถือคนแบบนี้มากๆ

2.ดูแล้วทำให้มองวงดนตรีแนว heavy metal เปลี่ยนไปเลย เพราะเราเกลียดเพลง heavy metal และก็ไม่ชอบบุคลิกของนักดนตรีแนวนี้ แต่ปรากฏว่าหนังเรื่องนี้ได้แสดงให้เห็นว่า สมาชิกวง Megadeth นั้นจริงๆแล้วจิตใจดีงามเพียงใด

3.รู้สึกว่าโครงสร้างการเล่าเรื่องของหนังเรื่องนี้น่าสนใจดี เพราะตอนที่เราดูหนังเรื่องนี้ในช่วงแรกๆ เราจะเดาว่า หนังมันน่าจะเล่าถึงความยากลำบากของเด็กๆในชุมชนเก็บขยะ ซึ่งเป็นนักดนตรีในวงดนตรีนี้ไปเรื่อยๆ และจบลงด้วย “ความสำเร็จ” ของวงดนตรีนี้

แต่ปรากฏว่า พอเข้าสู่องก์สองของหนัง หรือพอหนังเล่าเรื่องไปได้แค่ 30 นาที หนังก็เล่าถึงช่วงที่วงดนตรีนี้โด่งดังขึ้นมาเลย เราก็เลยสงสัยว่า เอ๊ะ แล้วเวลา 1 ชั่วโมงที่เหลือ หนังจะเล่าอะไร หนังจะเล่าถึงความสำเร็จของวงนี้ไปเรื่อยๆตลอด 1 ชั่วโมงที่เหลือเหรอ ทำไมวงดนตรีจากกองขยะวงนี้ถึงประสบความสำเร็จเร็วจัง แล้วมันจะเล่าอะไรได้อีกเหรอ

คือพอเราเข้าสู่องก์สองของหนัง เราก็จะเริ่มหวั่นใจแล้วว่า ในเมื่อ “ความสำเร็จของ subjects” มันมาเยือนในองก์สองแบบนี้ เพราะฉะนั้นมันต้องมีอะไรเหี้ยๆชิบหายๆ ดักรอทำร้าย subjects อยู่ในองก์สามแน่ๆ

แล้วก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ คือพอหนังเล่าถึงความสำเร็จของวงนี้ที่ได้ออกทัวร์ไปรอบโลกแล้ว หนังก็เล่าถึงอุทกภัยครั้งใหญ่ในปารากวัย ที่ทำให้ชีวิต subjects หลายคนในเรื่องต้องเผชิญกับความยากลำบากครั้งใหญ่

มันเหมือนกับว่า พอเป็นหนังสารคดีแล้ว “พระเจ้า” หรือ “ชะตากรรม” มันเป็นคนเขียนบทจริงๆน่ะ คือถ้าหากเป็นหนัง fiction ผู้สร้างหนังหลายๆคนก็คงจะเลือกสร้างหนัง fiction ที่เล่าเรื่องตามสูตรสำเร็จ ตัวละครยากจน ต่อสู้ฟันฝ่าไปเรื่อยๆ จนในที่สุดก็ประสบความสำเร็จ ได้ออกทัวร์คอนเสิร์ตรอบโลก จบ

แต่พอเป็นหนังสารคดี กราฟชีวิตของ subjects มันเลยไม่ยอมทำตาม “สูตรสำเร็จของการเล่าเรื่อง” เพราะในหนังเรื่องนี้ ตัวละครยากจน ต่อสู้ฟันฝ่าจนประสบความสำเร็จ โด่งดังไปทั่วโลก แล้วชีวิตตัวละครก็ชิบหายเพราะภัยธรรมชาติ จบ

ชีวิตมนุษย์มันโหดร้ายจริงๆ

4. ดูแล้วนึกถึงหนังสารคดีเกี่ยวกับ “การเปล่งประกายของชีวิตคนจน” อย่าง WASTE LAND (2010, Lucy Walker, Brazil)  ที่เล่าถึงชีวิตคนเก็บขยะในบราซิล และการที่ “ศิลปะ” เข้าไปในชีวิตของคนกลุ่มนี้ กับหนังเรื่อง GUIDO MODELS (2015, Julieta Sans, Argentina/Bolivia) ที่เล่าถึงชีวิตชาวสลัมในอาร์เจนตินา ที่ใฝ่ฝันอยากเป็นนางแบบ

แต่หนังสารคดีเกี่ยวกับชีวิตชาวสลัมในอเมริกาใต้ที่สะเทือนใจเราที่สุด น่าจะเป็น BECAUSE WE WERE BORN (2008, Jean-Pierre Duret, Andrea Santana, Brazil/France) ที่เล่าถึงชีวิตเด็กสลัมในบราซิล เพราะใน BECAUSE WE WERE BORN นั้น มันเหมือนไม่มี “แสงสว่าง” จากพ่อพระ, แม่พระ และศิลปินรายใดๆฉายส่องเข้าไปในชีวิตของ subjects ในหนังเรื่องนี้น่ะ (ถ้าจำไม่ผิด) ชีวิตของ subjects ใน BECAUSE WE WERE BORN ก็เลยโหดสุด, รันทดสุด เมื่อเทียบกับหนังที่ใกล้เคียงกัน

คือถึงแม้ชีวิตชาวสลัม/ชุมชนเก็บขยะใน WASTE LAND, GUIDO MODELS และ LANDFILL HARMONIC จะโหดร้าย หนัง 3 เรื่องนี้ก็ focus ไปยังศิลปิน, ครูสอนดนตรี และเจ้าของเอเจนซี่นางแบบ ที่หยิบยื่นโอกาสและแสงสว่างให้กับบรรดาชาวสลัมในหนังน่ะ มันก็เลยเหมือนได้เห็น “แสงเทียน” ท่ามกลางความมืดมนของชีวิตอยู่บ้าง

แต่ใน BECAUSE WE WERE BORN นั้น มันเหมือนไม่มีแสงเทียนใดๆเหลืออยู่อีกแล้วน่ะ มันก็เลยกลายเป็นหนังที่หดหู่ที่สุดในกลุ่มนี้


Thursday, March 21, 2019

KRASUE: INHUMAN KISS (2019, Sittisiri Mongkolsiri, A+30)


KRASUE: INHUMAN KISS (2019, Sittisiri Mongkolsiri, A+30)
แสงกระสือ

SPOILERS ALERT
--
--
--
--
--
1.รู้สึกเหมือนตอนดู ROMA ในแง่ที่ว่า ดูแล้วชื่นชม แสงกระสือ มากๆ และตามทฤษฎีแล้วมันน่าจะเป็นหนังที่เข้าทางเรามากๆ เพราะหนังมันตั้งใจทำมาก และหนัง treat ตัวละครดีมากๆ ตัวละครถูก treat เป็นมนุษย์ที่เจ็บปวด มีหัวจิตหัวใจ องค์ประกอบทุกอย่างงดงาม แต่ดูแล้วเราไม่ได้รู้สึก " อิน " หรือ "สะเทือนใจ" เป็นการส่วนตัว ซึ่งเป็นสิ่งเดียวกับที่เรารู้สึกกับ ROMA แต่ก็ไม่ใช่ความผิดของหนังสองเรื่องนี้แต่อย่างใด

2. เดาว่า สาเหตุหลักที่ไม่อิน อาจจะเป็นเพราะบุคลิกนางเอกมั้ง 555 เพราะนางเอก แสงกระสือ มันดูมีความน่ารัก อ่อนหวาน เป็นแฟนตาซีในฝันของผู้ชาย ซึ่งเราจะไม่ค่อย identify ตัวเองกับตัวละครประเภทนี้ ในขณะที่เราจะอินอย่างรุนแรงกับ "หนังรักระหว่างอมนุษย์สาวกับมนุษย์หนุ่ม" อย่าง PAINTED SKIN (2008, Gordon Chan) มากกว่า เหมือนตัวละครนางเอกอมนุษย์ใน PAINTED SKIN มันดูมีอะไรบางอย่างที่ทำให้เราอินได้ ไม่แน่ใจว่าเป็นเพราะเธอมีจิตใจอำมหิตหรือเปล่า 555

พอคิดถึงกรณีของ ROMA แล้วก็คล้ายๆกัน เพราะหนังชีวิตสาวใช้ที่เราอินสุดๆคือ LA CEREMONIE (Claude Chabrol) ที่นางเอกเป็นสาวใช้ที่มีจิตใจแตกต่างจากนางเอก ROMA มากๆ

แต่เราก็ไม่ได้อินกับนางเอกใจโหดแบบนี้เสมอไปนะ เพราะจริงๆแล้วตอนที่ดู แสงกระสือ เราจะนึกถึง TROUBLE EVERY DAY (Claire Denis) มากๆ ในแง่ที่ว่า หนังสองเรื่องนี้นำเสนอนางเอกที่ "กระหายเลือด" ทั้งๆที่ไม่ได้อยากจะเป็นแบบนั้นเหมือนกัน อย่างไรก็ดีนางเอก TROUBLE EVERY DAY ดูอำมหิตแบบ LA CEREMONIE และ PAINTED SKIN แต่เราก็ไม่ได้อินกับเธอ กลายเป็นว่าในแง่นึงเราก็ชอบ "แสงกระสือ" ในแบบที่ชอบ TROUBLE EVERY DAY คือรู้สึกว่าหนังสองเรื่องนี้มันดีสุดๆ แต่ก็จะรู้สึกห่างๆจากหนังทั้งสองเรื่องในระดับนึง

3.ชอบที่เพื่อนๆหลายๆคน ตีความแสงกระสือมากๆ เพราะเราไม่ได้คิดถึงประเด็นสังคม/การเมืองเลยตอนที่ดูหนังเรื่องนี้ 555 ชอบที่หนังมันดูได้ดีทั้งสอง LAYERS คือจะดูแบบบันเทิงก็ได้ หรือจะดูแบบตีความก็ได้

ตอนดูแสงกระสือ เราจะนึกถึง THE WOMAN IN UNIT 23B (2016, Prime Cruz, Philippines) ด้วย เพราะ THE WOMAN IN UNIT 23B เล่าเรื่องของกระสือสาวชาวฟิลิปปินส์ ที่พบรักกับชายหนุ่ม โดยหนังมีทั้งความสยองขวัญและความโรแมนติกปนอยู่ด้วยกัน และหนังก็ค่อนข้างเทิดทูนความรักของพระเอกกับนางเอกในหนังมากๆเหมือนกัน อย่างไรก็ดี THE WOMAN IN UNIT 23B มันจะสื่อชัดๆตรงๆเลยว่า หนังมันต้องการพูดถึง “สงครามต่อต้านยาเสพติด” ของประธานาธิบดีดูเตอร์เต เราก็เลยดูด้วยอาการตระหนักรู้ตลอดเวลาว่า นี่ไม่ใช่หนังสยองขวัญชั้นเดียวนะ มันเป็นหนังการเมืองด้วย  แต่ตอนที่เราดูแสงกระสือนั้น เราไม่ได้ดูด้วยอาการตระหนักรู้แบบนั้น 555

พอได้อ่านที่เพื่อนๆเขียนถึงแสงกระสือ เราก็เลยนึกถึง “บ้านผีปอบ (2010, Ukrit Sanguanhai) ขึ้นมา เพราะเหมือนประเด็นของหนังสองเรื่องนี้มันน่านำมาเปรียบเทียบกัน และมันน่าสนใจดีที่เรื่องนึงใช้ “ปอบ” ส่วนอีกเรื่องนึงใช้ “กระสือ”

4.สิ่งที่ชอบที่สุดในหนังก็คือการมอบหัวจิตหัวใจให้ตัวละครนำทั้งสามตัวน่ะ ซึ่งถึงแม้เราจะไม่อินกับทั้งสามตัว แต่ก็ยอมรับว่าหนังเรื่องนี้ treat ตัวละครนำทั้งสามตัวได้ดีเกินคาดมากๆ โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับหนังไทยเมนสตรีมด้วยกัน

ชอบ “ทางเลือก” ของน้อยกับเจิดมากๆ เหมือนน้อยต้องเลือกว่าจะทำอย่างไรตอนที่รู้ว่าสายเป็นกระสือ แล้วเขาก็เลือกที่จะหาทางช่วยสาย และยอมเจ็บปวดร่างกายด้วยการจูบสาย ส่วนเจิดนั้นกลายเป็นตัวละครที่ classic ไปพร้อมกับหนังเรื่องนี้เลย เพราะเขาดูเหมือนยินดีที่จะตายแทนสายทั้งที่สายไม่รักเขา

ตอนดู “เจิด” เราจะนึกถึงหนึ่งในตัวละครที่เรารักที่สุดในชีวิต นั่นก็คือตัวละคร “นางรอง” ใน VERONIKA VOSS (1982, Rainer Werner Fassbinder, West Germany) คือ VERONIKA VOSS เล่าเรื่องของดาราสาว Veronika Voss ที่เข้าไปพัวพันกับคลินิกนรกแห่งหนึ่ง และตัว Veronika เองนั้นก็ได้ผูกสัมพันธ์กับพระเอกที่เป็นนักข่าว และพระเอกก็เลยพยายามจะช่วย Veronika ให้รอดพ้นจากเงื้อมมือของแก๊งคลินิกนรก แต่ปรากฏว่าไปๆมาๆ ตัวละครที่ได้ใจเราไปจากหนังเรื่องนี้ กลับกลายเป็นตัวละคร “แฟนสาวของพระเอก” คือแทนที่แฟนสาวของพระเอกจะหึงหวงพระเอกกับนางเอก (Veronika) แฟนสาวของพระเอกกลับพยายามจะช่วยเหลือ Veronika ไปด้วย

คือเรารู้สึกว่าการเสียสละตนเองของเจิดในแสงกระสือ มันหนักหน่วงและรุนแรงมากๆน่ะ มันก็เลยทำให้เรานึกถึงการเสียสละตนเองของตัวละครนางรองใน VERONIKA VOSS ซึ่งเป็นหนังที่เราเคยดูรอบเดียวเมื่อราว 20 ปีก่อน แต่ก็ยังคงสะเทือนใจกับ “การเสียสละตนเองของตัวละครประกอบในหนัง” มาจนถึงทุกวันนี้

5.ชอบการ design กระสือในหนังเรื่องนี้ด้วย เพราะกระสือในหนังเรื่องนี้ไม่เหมือนกับที่เราเคยดูตอนเป็นละครโทรทัศน์ในวัยเด็กน่ะ เราชอบที่มัน design ให้กระสือดูมี “ความสามารถในการต่อสู้” ได้ ผ่านทางระยางค์มากมายของมัน

6.ไอเดียเรื่องการผสมวิทยาศาสตร์กับไสยาศาสตร์ในหนังเรื่องนี้ก็น่าสนใจดี

7.สรุปว่า admire “แสงกระสือ” มากๆ รู้สึกว่ามันกลายเป็น “หนังไทยที่เข้าขั้น classic” เรื่องนึงไปเลย ถึงแม้ว่าอาจจะไม่ได้อินอะไรกับมันเป็นการส่วนตัวก็ตาม

ส่วนหนังที่เราอินเป็นการส่วนตัว อาจจะเป็นหนังแบบ “สมิง” (2014, Pan Visitsak) น่ะ เพราะสมิงมันจะคล้ายกับ “โลกจินตนาการ” ของเราในแง่ที่ว่า ถ้าในโลกนั้นมันมีเสือสมิงแล้ว มันต้องมีตัวละครที่มีอิทธิฤทธิ์พิสดารพอๆกับเสือสมิงอีกราว 10 ตัวด้วย อะไรทำนองนี้ 555

Tuesday, March 19, 2019

19 MAR – 25 MAR 1989


อันดับเพลงเมื่อ 30 ปีก่อน
WEEK 12
19 MAR – 25 MAR 1989

1. LOST IN YOUR EYES – Debbie Gibson

2. LIKE A PRAYER – Madonna

3. NAMIDA TOMARE – Shinobu Nakayama

4. ANNIVERSARY – Shohjo-tai

5. KATARI TSUGU AI NI – Hiroko Yakushimaru https://www.youtube.com/watch?v=BAazkAioWGI

6. TRUE LOVE – Yui Asaka

7.YUYAKE NO UTA – Masahiko Kondo (New Entry)

8. NAMIDA WA DOKO E ITTA NO – Yoko Minamino      

9. CAN’T STAY AWAY FROM YOU – Gloria Estefan

10. I ONLY WANNA BE WITH YOU – Samantha Fox