Saturday, September 29, 2018

HUMAN IN VACUUM (2018, Wit Sudthinitaed, A+15)


HUMAN IN VACUUM (2018, Wit Sudthinitaed, A+15)

1.หนัง mockumentary เกี่ยวกับการสัมภาษณ์ผู้ป่วย HIV 4 คน ซึ่งประกอบด้วยแม่บ้าน, หนุ่มออฟฟิศ, หนุ่มฟรีแลนซ์ และนักกีฬาวัยมัธยม เนื้อหาที่ 4 คนนี้พูดจริงๆแล้วก็อาจจะไม่ได้มีอะไรใหม่หรือรุนแรงมากนัก คือเนื้อหาในส่วนนี้ฟังแล้วจะนึกถึงเรื่องราวประเภทที่เคยอ่านจากเพจ “มนุษย์กรุงเทพฯ” หรือที่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อนหน้านี้แล้ว จะมีที่รู้สึกว่ามัน controversial มากที่สุดก็ตรงที่แม่บ้านพูดในทำนองที่ว่า เธออาจจะแต่งงานใหม่และมีลูก และ interviewer ก็ถามว่า “ไม่สงสารลูกเหรอ” เพราะจุดนี้เป็นจุดที่เราสนใจเหมือนกัน เพราะเราไม่รู้ข้อมูลมาก่อนว่า แม่ที่ติดเชื้อ HIV จะส่งผลให้ลูกติดเชื้อไปด้วยหรือเปล่า แล้วลูกที่ติดเชื้อจะต้องใช้ชีวิตอย่างไรบ้าง แล้วหมอ/พยาบาลที่ทำคลอดให้แม่ที่ติดเชื้อ HIV ต้องมีการปฏิบัติอะไรที่แตกต่างจากการทำคลอดคนอื่นๆหรือเปล่า

2.แต่ประเด็นสำคัญของหนังเรื่องนี้ไม่ใช่สิ่งที่ 4 คนนี้พูด แต่เป็น การแสดงออกของ “ทีมงานที่ทำการสัมภาษณ์” ซึ่งหนัง treat ทีมงานกลุ่มนี้เหมือนเป็นผู้ร้ายอย่างเต็มที่ ซึ่งมันก็เลยอาจจะไม่ได้ทำให้เราชอบหนังเรื่องนี้อย่างสุดๆ เพราะมันดูมากเกินไปยังไงไม่รู้ ซึ่งอาจจะเป็นเพราะว่าเราไม่ได้ถูกแวดล้อมด้วยคนที่แสดงความรังเกียจผู้ติดเชื้ออย่างเปิดเผย แบบทีมงานในหนังเรื่องนี้มั้ง การแสดงออกของตัวละครทีมงานในหนังเรื่องนี้ ก็เลยดูเหมือนเป็นการแสดงออกของคนที่เราไม่ค่อยได้พบเจอในชีวิตประจำวัน มันดูเหมือนเป็นอะไรที่ทำให้เราถอยห่างจากหนังในระดับนึง

แต่ก็ชอบบางจุดนะ อย่างการแสดงอาการรังเกียจแบบเนียนๆของตัวละครทีมงานหญิงน่ะ ผ่านทางการให้ interviewees ถือทิชชู หรือการไม่เข้าไปติดไวร์เลสใกล้ๆ อันนี้เราว่ามันเป็นการจับสังเกตอากัปกิริยาของมนุษย์ที่ดี มันเป็นการรังเกียจแบบไม่ต้องออกนอกหน้ามากนัก แต่ผ่านทางการแสดงออกเพียงเล็กน้อย เราชอบหนังที่จับสังเกตอะไรเล็กๆน้อยๆของมนุษย์แบบนี้

แต่การให้ interviewers ถามคำถามแรงๆใส่ interviewees นี่ เป็นอะไรที่เราชอบแค่ปานกลาง ข้อดีของมันก็คือว่า มันช่วยให้คนดูตระหนักว่า คำถามอะไรบ้างที่ไม่โอเค หรืออาจจะสร้างความไม่พอใจให้ผู้ติดเชื้อได้ แต่ในบางครั้งมันก็ดูแรงเกินไปน่ะ

และช่วงท้ายของหนัง ที่เหมือน interviewers แสดงความเกลียดชังออกมาตรงๆ เราว่ามันดูมากเกินไปยังไงไม่รู้

3.สรุปว่า เราเหมือนมีปัญหานิดนึงกับการที่หนังเรื่องนี้นำเสนอตัวละคร interviewers ในฐานะ “ผู้ร้าย” ที่ชัดๆตรงๆแรงๆแบบนี้  แต่ในแง่นึง มันก็ทำให้หนังเรื่องนี้แตกต่างจากหนังเกี่ยวกับผู้ป่วย HIV เรื่องอื่นๆที่เราเคยดูมานะ เพราะหนังเกี่ยวกับผู้ป่วย HIV เรื่องอื่นๆ มักจะเป็นหนังที่เน้น “พลังงานทางบวก” น่ะ อย่างเช่น HEAVEN’S MEADOW (2005, Detlev F. Neufert) , ราตรีสวัสดิ์ (2012, Soraya Nakasuwan) , ช่องว่าง (2012, Misak Chinphong), คนที่เข้าใจ (2012, Misak Chinphong) , ONE NIGHT STANDING TILL IT OVER (2016, Pathompong Praesomboon) หนังกลุ่มนี้มักจะแสดงให้เห็นถึงชีวิตผู้ติดเชื้อ และนำเสนอชีวิตของพวกเขาด้วยความรัก ความเห็นอกเห็นใจ และมีลักษณะ humanist สูงมาก แต่เราว่า HUMAN IN VACUUM เป็นหนังที่มี “พลังงานทางลบ” สูงมาก ผ่านทางการนำเสนอตัวละคร interviewers ที่มีทัศนคติที่แย่มากต่อผู้ติดเชื้อ และผู้ติดเชื้อบางคนก็ตอบโต้กลับไปแรงๆเช่นกัน หนังเรื่องนี้ก็เลยดูเป็นหนังแนว “ตบตี” และไม่ได้ออกมาในเชิง “รักเพื่อนมนุษย์” แบบหนังเรื่องอื่นๆที่พูดถึงประเด็นเดียวกัน

Wednesday, September 26, 2018

CONNECTION BY FATE (1998, Wan Jen, Taiwan, A+30)


CONNECTION BY FATE (1998, Wan Jen, Taiwan, A+30)

กราบมากๆ ไม่นึกว่ามันจะงดงามขนาดนี้ ชอบการที่หนังถ่ายทอด “ความทรงจำ” ของตัวละครออกมาในแบบกระแสสำนึก สลับทับซ้อน ร้อยเรียงออกมาได้งดงามราวบทกวี ในแง่นึงเราว่ามันทำให้นึกถึงความงดงามของหนังที่กำกับโดย Alain Resnais, Atom Egoyan และ Terence Davies น่ะ เพราะผู้กำกับสามคนนี้สามารถร้อยเรียงความทรงจำของตัวละครได้ออกมาอย่างงดงามสุดๆเหมือนกัน

ช่วงแรกของหนังเรื่องนี้จะทำให้นึกถึงหนังไทยกลุ่มนึง ที่มักนำเสนอปัญหา “แรงงานต่างด้าว” โดยให้ตัวละครแรงงานต่างด้าวถูกกดขี่ข่มเหงโดยคนไทย ถูกฆ่าตาย แล้วก็กลายเป็นผีมาหลอกคนไทยน่ะ เพราะในช่วงแรกของหนังเรื่องนี้ หนุ่มชนพื้นเมืองไต้หวันก็ดูเหมือนจะมีสถานะคล้ายๆ “ผีแรงงานต่างด้าว” ในหนังไทยเหมือนกัน

แต่ดีที่หนังเรื่องนี้ไม่ได้ทำออกมา “ชั้นเดียว” แบบนั้น เพราะผีหนุ่มชนพื้นเมืองในหนังเรื่องนี้ไม่ได้มาหลอกหลอนคนไต้หวันเพื่อแก้แค้น แต่เขามาทำให้พระเอกที่เป็นคนไต้หวันระลึกถึงอดีตของตัวเองที่ผ่านอะไรต่างๆมาอย่างโชกโชนมากๆ ทั้งในแง่ชีวิตส่วนตัว และในแง่ประวัติศาสตร์การเมือง

ฉากที่ชอบที่สุดคือฉากแม่ของหนุ่มชนพื้นเมือง นั่งอยู่ในบาร์ แล้วร้องเพลงคิดถึงลูกคิดถึงผัว

ฉากที่ถ่ายแสงไฟนีออนตามท้องถนนก็งามมากๆ

มีบางจุดที่ทำให้นึกถึงหนังเรื่อง BANGKOK TAXI (2016, Pisuth Penkul)  ด้วย



Tuesday, September 25, 2018

WHEN YOU SEE ME ON THE WELL (2018, Satayu Deelertkulchai, A+10)


WHEN YOU SEE ME ON THE WELL (2018, Satayu Deelertkulchai, A+10)
แต้มบุญลุ้นรัก

1.สิ่งที่เราว่าตลกดีคือการที่สถานะของ “ผีสาว” ในหนัง มันเหมือนสถานะของ “เพื่อนกะเทย” เลยน่ะ คือถ้าหากกะเทยคนนึงมีเพื่อนสนิทเป็นหนุ่ม straight และแอบหลงรักหนุ่ม straight คนนั้น สถานะของเพื่อนกะเทยคนนั้น ก็จะเหมือนผีสาวในหนังเรื่องนี้เลย นั่นก็คืออยู่ใกล้ๆเพื่อนหนุ่มได้ คอยให้คำปรึกษาเขาได้ ใช้เวลาอยู่กับเขาได้ แอบหลงรักเพื่อนหนุ่มอยู่ในใจได้ แต่ “ไม่สามารถสัมผัสแตะต้องตัวเขาได้” เพราะไม่งั้นจะเสียมิตรภาพไป และสิ่งที่ดีที่สุดที่ เพื่อนกะเทย/ผีสาว ควรทำ ก็คือทำตัวเป็นแม่สื่อแม่ชัก ช่วยให้เพื่อนหนุ่มของตนเองได้ครองรักกับหญิงสาวที่คู่ควรกับเขา และเพื่อนกะเทยก็ทำได้แค่มีมุทิตาจิต เห็นเพื่อนมีความสุข เราก็มีความสุข อะไรทำนองนั้นไป

เราก็เลยรู้สึกว่ามันตลกหรือน่าสนใจดี ที่สถานะของ “ผีสาว” ในหนังเรื่องนี้ มันเหมือนสถานะของเพื่อนกะเทย ซึ่งจริงๆแล้วมันก็สอดคล้องกับหนังหลายๆเรื่อง ที่สถานะของตัวละครที่มีความเป็น “มนุษย์ผู้หญิงครึ่งหนึ่ง” อย่างเช่น ผีผู้หญิง, นางเงือก (กึ่งผู้หญิง กึ่งปลา), นางนาค (กึ่งผู้หญิง กึ่งงู) ฯลฯ อะไรทำนองนี้ มักจะเป็นตัวละครที่กะเทยดูแล้วอินได้ง่าย เพราะตัวละครประเภทนี้มักจะพบรักกับชายหนุ่ม แต่ก็จะต้องเผชิญกับอุปสรรคอันใหญ่โตมหาศาลมาขัดขวางความรัก อันเนื่องมาจากการที่ตัวละครนางเอกกลุ่มนี้มีความเป็นมนุษย์ผู้หญิงแค่ครึ่งเดียว

2.แต่ก็ชอบหนังเรื่องนี้น้อยกว่า “ล่าสุดจ่ะ นกอีกแล้ว” ของผู้กำกับคนเดียวกันนะ เพราะเราเดาเอาเองว่าผู้กำกับคนนี้น่าจะถนัดทำอะไรแร่ดๆ, ตอแหลๆ, ดอกๆ, ฮาๆ, คัลท์ๆน่ะ แต่ “แต้มบุญลุ้นรัก” มันเหมือนกับเป็นหนังที่พยายามจะถ่ายทอดอารมณ์โรแมนติกซาบซึ้งด้วย และการจะถ่ายทอดอะไรแบบนี้ได้นั้น มันต้องอาศัยความละเมียดละไม ละเอียดอ่อนทางอารมณ์มากๆน่ะ ซึ่งหนังเรื่องนี้เหมือนจะขาดตรงนี้ไป

3.ถ้าหากต้องฉายหนังเรื่องนี้ควบกับหนังเรื่องอื่นๆ เราก็คงฉายควบกับหนังสั้นสองเรื่อง ซึ่งได้แก่ STRANGER (2013, Nitaz Sinwattanakul) ที่เล่าเรื่องราวความรักของผีสาวกับชายหนุ่มได้อย่างซาบซึ้งตรึงใจมากๆ และเรื่อง “กลางวันแสกๆ” (2003, ทายาท เดชเสถียร, พิศาล แสงจันทร์) ที่เล่าเรื่องของผีกะเทยที่ชอบดูชายหนุ่มในห้องน้ำ และตบตีกับผีกะเทยตัวอื่นๆเพื่อแย่งชายหนุ่มหล่อในหอพัก

Tuesday, September 11, 2018

SOME FAVORITE FILMS SEEN IN MARATHON


ได้รับของสมนาคุณจากการไปดูหนังสั้นมาราธอนหลายรอบด้วย เป็นเสื้อยืด,  ถุงผ้า และสูจิบัตรเทศกาล ขอบคุณมูลนิธิหนังไทยมากๆ

แต่แน่นอนว่า สิ่งที่งดงามที่สุดที่ได้จากการไปดูเทศกาลหนังสั้นมาราธอน ก็คือการได้ดูหนังอย่าง

1.กาลเทศะ A PERSONAL ODYSSEY (Phasitpol Kerdpool)
2.ONE YEAR (Phattaraporn Ratchatakittisuntorn)
3.เงาสูญสิ้นแสง ANOTHER DIMENSION (Kritsada Nakagate)
4.WIND IN HOME (Suwaporn Worrasit)
5.LOOK AT ME!!! ไอ่ดีคิงผ่อนี่แล่!!! (Ratchapol Subboonmee)
6.LIFE IS NOT LINEAR (Wahthidah Shannon Duffy, documentary)
7.สูญ LOST (Rawis Larha, 66min)
8.เซือคำซา (Dechtana Arsatanakun, 45min)
9.ละเมอ (Rawee Piriyapongsak)
10.BLUE INFINITY (Pontakon Leepatthanakit, 54min)
11.โย...ปริศนาตามหาหัวใจ (Tayakee Promkomol)

รักเทศกาลหนังสั้นมาราธอนมากๆ

Monday, September 10, 2018

THE RIVER FLOWS (2016, Makoto Kumazawa, Laos/Japan, A+30)


THE RIVER FLOWS สายน้ำไหล (2016, Makoto Kumazawa, Laos/Japan, A+30)

1. ว้าย ทำไมฉันดูแล้วซึ้งมาก สงสัยฉันเป็นโรคบ้าผู้ชาย 555 ชอบมากๆที่ฉากที่ซึ้งที่สุดในหนังเรื่องนี้สำหรับเรา ไม่ใช่ฉากที่มีพระเอกนางเอกอยู่บนจอ แต่เป็นฉากที่ถ่ายภาพเขื่อนน้ำงึมไปเรื่อยๆ ถ่ายห้องควบคุมเขื่อน ถ่ายสันเขื่อน ถ่ายที่ตั้งเขื่อน ถ่ายป้ายจารึกเขื่อน รู้สึกว่าหนังประสบความสำเร็จในการหลอกคนดูบางคน อย่างเช่นเรา ให้รู้สึกซาบซึ้งตรึงใจไปกับความยากลำบากในการก่อสร้างเขื่อน และการดำรงอยู่ของเขื่อนได้เป็นอย่างดี

2.ถือเป็นหนัง propaganda ที่ประสบความสำเร็จสำหรับเรานะ คือดูแล้วก็เคลิ้มไปกับบทบาทของญี่ปุ่นในฐานะผู้วางรากฐานด้าน infrastructure ให้ลาว ซึ่งตรงนี้จะคล้ายหนังกัมพูชาเรื่อง BEYOND THE BRIDGE (2016, Kulikar Sotho) ที่นำเสนอบทบาทของญี่ปุ่นในฐานะผู้วางรากฐานด้าน infrastructure ให้กับกัมพูชาด้วยเหมือนกัน  และเราก็เคลิ้มไปกับ "ด้านบวก และด้านลบ" ของวิถึชาวบ้าน ตามที่ทางการลาวต้องการให้เรามองด้วย คือทางการลาว คงต้องการจะทำให้ผู้ชมรู้สึกว่า การเป็นเกษตรกรเป็นสิ่งที่ดี, ความเชื่อเรื่องบั้งไฟพญานาคเป็นสิ่งที่ดี แต่ความเชื่อเรื่องพญานาคในแบบที่เป็นอุปสรรคขัดขวางต่อการสร้างเขื่อนเป็นสิ่งที่ไม่ดี 555

3.แน่นอนว่าจุดพลิกผันของหนัง ดูฝืนมากๆ คือดูแล้วไม่เชื่อว่าชาวบ้านจะกลับใจหันมาช่วยพระเอกง่ายๆแบบนั้น แต่เรามองว่ามันตลก และไม่ได้รู้สึกแย่กับมันมากนัก อาจจะเป็นเพราะมันเป็นหนังลาว เราก็เลยไม่รู้ว่าทางการลาวเข้ามาควบคุมทิศทางหรือบทภาพยนตร์ของหนังเรื่องนี้มากน้อยแค่ไหน

4.ชอบที่หนังใส่ประเด็นเรื่องชาวบ้านอาจจะต้องอพยพย้ายถิ่นเพราะการสร้างเขื่อนเข้ามาด้วย

5.เราว่าหนังมีจุดยืนทางการเมืองที่ประหลาดดี อาจจะเป็นเพราะมันเป็นหนังที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทางการลาวก็ได้มั้ง หนังมันก็เลยต้องสนับสนุนการสร้างเขื่อน

คือเหมือนเราแทบไม่ได้ดูอะไรที่สนับสนุนการสร้างเขื่อนมานานมากแล้วน่ะ ที่นึกออกก็มีละครทีวีช่อง 7 เรื่อง “ชาวเขื่อน” (1981) ที่ไม่ได้พูดถึงการสร้างเขื่อนในทางลบ เพราะหนังหลายๆเรื่องที่เราดูในระยะหลัง ทั้ง BEFORE THE FLOOD (2005, LIi Yifan, Yan Yu, China, docunentary), BINGAI (2007, Feng Yan, China, documentary), MY GRANDPA’S ROUTE HAS BEEN FOREVER BLOCKED (2012, Sutthirat Supaparinya), แถวนี้แม่งเขื่อน ไม่แน่จริงอยู่ไม่ได้ (2012, Pairach Khumwan, Siriporn Kongma, Patchara Eaimtrakul, documentary), ARPOR (2017, Paisit Wangrungseesathit, documentary) ก็ดูเหมือนจะนำเสนอด้านลบจากการสร้างเขื่อนมากกว่าด้านบวก

6.สิ่งที่ขัดใจในหนัง ก็คือการถ่าย long shot ในหลายๆฉากค่ะ คือจริงๆแล้วการถ่าย long shot แบบนี้เป็นสิ่งปกติในหนัง “อาร์ตนิ่งช้า” ของเอเชียนะ เพราะช็อตแบบนี้มันจะเน้นบรรยากาศ และมันจะช่วยให้หนังไม่เร้าอารมณ์จนเกินไป อารมณ์ในแต่ละฉากจะเจือจางลงเพราะการถ่าย long shot

แต่แหม คุณขา พระเอกเขาหล่อน่ารักดีน่ะค่ะ คุณช่วยถ่าย close up หน้าเขาบ่อยๆหน่อยได้ไหมคะ มึงจะถ่าย long shot ทำไมคะ กูอยากดูหน้าพระเอกใกล้ๆค่ะ กูอยากรู้สึกว่า กูแลบลิ้นออกไป ก็ได้เลียใบหน้าเขาแล้ว มึงจะถ่าย long shot บ่อยๆทำไม กูอารมณ์เสีย มันเสียของมากนะคะ cast นักแสดงหนุ่มหล่อน่ารักมาเล่น แล้วมึงก็ถ่าย long shot ซะแบบนี้ 555

7.ในบรรดาหนัง “ญี่ปุ่น-เอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ที่ได้ดูในระยะนี้ เราเรียงตามลำดับความชอบได้ดังนี้

7.1 BANGKOK NITES (2016, Katsuya Tomita, Japan-Thailand)

7.2 PASSAGE OF LIFE (2017, Akio Fujimoto, Japan-Myanmar)

7.3 RAMEN TEH (2018, Eric Khoo, Japan-Singapore)

7.4 BEYOND THE BRIDGE (2016, Kulikar Sotho, Japan-Cambodia)

7.5 THE RIVER FLOWS (2016, Makoto Kumazawa, Japan-Laos)

7.6 PIGEON (2016, Isao Yukisada, Japan-Malaysia)

จริงๆแล้ว RAMEN TEH, BEYOND THE BRIDGE กับ THE RIVER FLOWS นี่ชอบพอๆกัน ตัดสินไม่ได้ว่าชอบเรื่องไหนมากกว่ากัน




Sunday, September 09, 2018

TIME SPLITS IN THE RIVER (2016, Huang I-chieh, Liao Xuan-zhen, Lee Chia-hung, Wang Yu-ping, Taiwan, documentary, A+30)


TIME SPLITS IN THE RIVER (2016, Huang I-chieh, Liao Xuan-zhen, Lee Chia-hung, Wang Yu-ping, Taiwan, documentary, A+30)

1.ชอบความประหลาดของหนังมากๆ รู้สึกว่าโครงสร้างของมันประหลาดดี เพราะครึ่งแรกเป็น fiction ที่เล่าเรื่องปัญหาการเมืองในไต้หวันในทศวรรษ 1980 โดยเป็น fiction แบบค่อนข้าง minimal เล่าเรื่องแบบไม่ต้องเน้นการแสดงที่สมจริงและฉากที่สมจริงมากนัก ส่วนครึ่งหลังก็เป็นสารคดีหนุ่มสาวคุยกับพ่อแม่ตัวเอง ซึ่งปรากฏว่าจริงๆแล้วพ่อแม่ของแต่ละคนก็ไม่ได้เป็นนักโทษการเมืองหรือ activists แต่อย่างใด แต่เป็นคนธรรมดาที่หลีกเลี่ยงจากปัญหาทางการเมืองซะล่ะมากกว่า

การตัดจาก part fiction เข้าสู่ documentary นี่สร้างความตกตะลึงให้เราได้ดีพอสมควร ดูแล้วนึกถึง THE MIRROR (1997, Jafar Panahi, Iran) ที่มีการเปลี่ยนจาก fiction เป็น documentary ได้อย่างน่าสนใจมากๆเหมือนกัน

2.ในช่วงครึ่งแรกของหนัง เราชอบทั้ง form และ content นะ โดยในส่วนของ form นั้น เราจะนึกถึงหนังอย่าง PARTAGE DE MIDI (Claude Mourieras), THE SCREEN ILLUSION (Mathieu Amalric) และ BREMEN FREEDOM (Rainer Werner Fassbinder) น่ะ เพราะหนังพวกนี้จะไม่แคร์ความสมจริงด้าน “สิ่งแวดล้อม” หรือ “การจัดฉาก” คือหนังพวกนี้มันเน้นฉากที่ไม่สมจริงไปเลย แต่มันก็ “เล่าเรื่อง” ได้ดีมากๆ

ในส่วนของ content นั้น เราดูแล้วนึกถึง NATIONAL SECURITY 1985 (2012, Ji-yeong Jeong, South Korea) นะ เพราะหนังทั้งสองเรื่องนี้ ทำให้เรารู้สึกขนพองสยองเกล้ากับการทำร้ายผู้เห็นต่างทางการเมืองเหมือนๆกัน แต่ก็ยังดีที่เกาหลีใต้และไต้หวัน มาถึงยุคที่สามารถเล่าเรื่อง “การที่รัฐบาลทำร้ายผู้เห็นต่างทางการเมือง” ได้แล้ว แต่ไทยอาจจจะยังไม่สามารถทำหนังที่พูดถึงเรื่องพวกนี้ได้อย่างเต็มที่ เพราะไทยยังคงอยู่ในยุคที่เกิดเหตุการณ์เหล่านี้ เหตุการณ์เหล่านี้ยังคงเป็น “ปัจจุบัน” ของไทย แต่เป็น “อดีต” ไปแล้วสำหรับเกาหลีใต้และไต้หวัน

3.ในส่วนครึ่งหลังของหนังนั้น ดูแล้วก็ประทับใจมาก คือปกติแล้วหนังที่พูดถึงพ่อแม่ของผู้กำกับ มักจะสะท้อนชีวิตของตัวพ่อแม่ผู้กำกับไปเลยโดยตรง แต่หนังเรื่องนี้กลับเอาประเด็นการเมืองมาเป็นสื่อกลางในการเชื่อมโยงผู้กำกับกับพ่อแม่เข้าด้วยกัน

ช่วงครึ่งหลังดูแล้วนึกถึงหนังเรื่อง A SUNNY DAY (2016, Ying Liang, Hong Kong/Netherlands) นะ เพราะ A SUNNY DAY ก็เล่าถึงความสัมพันธ์ระหว่างพ่อกับลูกสาว ผ่านทางแง่มุม “การเมือง” เป็นหลักเหมือนๆกัน

PRATTHANA: A PORTRAIT OF POSSESSION (2018, Toshiki Okada, stage play, A+30)


PRATTHANA: A PORTRAIT OF POSSESSION (2018, Toshiki Okada, stage play, A+30)
ปรารถนา ภาพเหมือนของการเข้าสิง

1.สุดฤทธิ์มากๆ ชอบ "ช่วงเวลา" ในเนื้อเรื่องของละครมากๆ เพราะมันตรงกับช่วงเวลาในวัยสาวของเราพอดี (1992-2016) และชอบที่มันครอบคลุมระยะเวลาที่นานราว 24 ปีแบบนี้ มันก็เลยทำให้ละครเวทีเรื่องนี้แตกต่างจากหนังไทยแนวการเมืองเรื่องอื่นๆที่เราเคยดูมา เพราะหนังไทยแนวการเมืองส่วนใหญ่ จะเจาะเหตุการณ์เดียว หรือถ้าเป็นหนังที่ครอบคลุมระยะเวลานาน ก็จะไม่ได้ครอบคลุมช่วงเวลา 24 ปีที่เฉพาะเจาะจงนี้ อย่างเช่น FORGET ME NOT (2018, Chulayarnnon Siriphol) ก็พูดถึงเหตุการณ์ตั้งแต่ 50 ปีก่อน ส่วน SILENCE WILL SPEAK (2006, Punlop Horharin) ก็พูดถึงประวัติศาสตร์การเมืองไทย และพฤษภาทมิฬ แต่จบลงที่รัฐประหารปี 2006

พอตัวละครในละครเรื่องนี้ ใช้ชีวิตในช่วงเวลาเดียวกับเรา และพานพบประสบกับความผันผวนทางการเมืองไทยหลายๆครั้งในช่วงเวลาเดียวกับเรา เราก็เลยรู้สึกกับละครเริ่องนี้ในแบบที่แตกต่างไปจากหนังไทยเรื่องอื่นๆ มันเหมือนกับว่า เราได้กลายเป็น "ตัวละครเอก" ในเรื่องราวแบบ "สี่แผ่นดิน" หรือ "ร่มฉัตร" น่ะ เพราะปกติแล้ว เรื่องราว fiction แบบไทยๆที่มีความ epic แบบนี้ และพูดถึงชีวิตตัวละครท่ามกลางความผันผวนทางการเมืองแบบนี้ มักจะมีตัวละครเอกที่เกิดตั้งแต่ยุค 50-100 ปีก่อนน่ะ แต่เรื่องราวใน "ปรารถนา" มันมีความ epic ในแบบของมัน แต่มันเป็นเรื่องร่วมสมัย ตัวละครเกิดในยุคสมัยเดียวกับเรา เราก็เลยรู้สึกดีกับมันมากๆ มันเหมือนกับว่าคนยุคเราซึ่งเคยมีสถานะเป็นลูกหรือหลานของพระเอกนางเอกในนิยายอีพิค ได้เลื่อนสถานะขึ้นมาเป็นพระเอกนางเอกเองแล้ว และความผันผวนในข่วง 24 ปีที่ผ่านมา ก็เหมือนกลายเป็นช่วงเวลาที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์อย่างมากช่วงนึง

2.ช่วงครึ่งแรกของละคร เราจะใจลอย คิดถึงชีวิตตัวเองในทศวรรษ 1990 บ่อยมากนะ เพราะว่า

2 1 เราไม่ค่อยเจอหนังไทยในยุคนี้ที่พูดถึงต้นทศวรรษ 1990 น่ะ เพราะผู้กำกับหนังสั้นไทยในยุคนี้ ต่างก็เล่าเรื่องในทศวรรษปัจจุบันเป็นหลัก ส่วนผู้กำกับหนังไทยที่มีอายุใกล้เคียงกับเรา อย่างเช่น ผู้กำกับกลุ่ม "แฟนฉัน" ก็ไม่ได้ทำหนังการเมือง โดยเฉพาะการเมืองในทศวรรษ 1990 จะมีก็แต่หนังที่พูดถึงวิกฤติต้มยำกุ้ง และ Hamer Salwala ที่ทำหนังที่พูดถึงพฤษภาทมิฬอย่างจริงจัง

ละครเวทีเรื่องนี้ ก็เลยเหมือนเป็นหนึ่งในละคร/หนังไม่กี่เรื่อง ที่กระตุ้นให้เราหวนรำลึกถึงช่วงเวลาในช่วงต้นทศวรรษ 1990 ตอนที่เราดูละครเรื่องนี้ เราก็เลยนึกถึงอดีตของตัวเองตลอดเวลา

2.2 เราว่า form หรือ style ของละครเรื่องนี้ ก็อาจจะ "จงใจ" กระตุ้นให้ผู้ชมคิดถึงเรื่องอื่นๆที่ไม่ได้อยู่ในละครตรงหน้าด้วยนะ เพราะละครเรื่องนี้ ใช้นักแสดงสลับสับเปลี่ยนกันไปมา ในการเล่นเป็นตัวละครคนเดียวกัน ฉากของละคร ก็ไม่ได้พยายามลวงให้เรารู้สึกว่า เรากำลังอยู่ในสถานที่ที่เกิดเหตุการณ์นั้นๆ เราว่าวิธีการเล่าเรื่องแบบนี้ ก็เลยไม่ได้ทำให้เรารู้สึกว่า เรากำลังดูเรื่องของใครคนใดคนหนึ่งอย่างเฉพาะเจาะจงเหมือนในละครทั่วๆไปน่ะ และพอเรารู้สึกว่า ตัวละคร A ในละครเรื่องนี้ มันไม่ได้มีรูปร่างหน้าตาที่เฉพาะเจาะจง หรือไม่ใช่ คนๆหนึ่งที่มีความ unique จนคนอื่นไม่สามารถแทนที่ได้ (แบบตัวละครในเรื่อง fiction ทั่วไป) แต่เป็นเหมือนภาพแทนของจิตสำนึกของคนหลายๆคน ละครเรื่องนี้ก็เลยเหมือนกระตุ้นให้เราคิดถึงเรื่องของตัวเองในยุคสมัยนั้นๆตามไปด้วย

3.แต่พอช่วงครึ่งหลัง เราก็มีสมาธิกับละครมากขึ้น เพราะ "น้องน้ำ" หล่อ sexy น่ารักมากๆ 555

4.หากให้เทียบว่าดูละครเวทีเรื่องนี้แล้วนึกถึงหนังเรื่องไหน เราก็จะนึกถึงหนังต่างประเทศที่เล่าเรื่องชีวิตคนธรรมดาที่ผ่านช่วงเวลาต่างๆอย่างยาวนานนะ โดยที่ตัวละครในหนังไม่ได้เป็น hero หรือบุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์ แต่เป็นคนธรรมดาที่ต้องเผชิญกับความผันผวนทางการเมืองในหลายๆช่วงเวลา

หนัง/ละครทีวีที่เรานึกถึงมากที่สุดก็คือ BERLIN ALEXANDERPLATZ (1980, Rainer Werner Fassbinder, West Germany, 15hours 31mins) เพราะว่า

4.1 protagonist ของทั้ง BERLIN ALEXANDERPLATZ และ “ปรารถนา” ไม่ใช่ “คนดี” ในสายตาของเรา 555 แต่เป็นตัวละครสีเทาแก่มากๆ

4.2 เรื่องราวทั้งสองเรื่องนี้ ไม่ได้พูดถึงการเมืองแบบเพียวๆ แต่พูดถึง “ชีวิตของพระเอกที่เป็นคนธรรมดา” และ “ความสัมพันธ์ทางเพศของพระเอก” เป็นหลัก โดยที่การเมืองเป็น background

4.3 เรื่องราวทั้งสองเรื่องนี้เกิดขึ้นในช่วง the rise of fascism เหมือนกัน โดยเนื้อหาของ BERLIN ALEXANDERPLATZ เกิดขึ้นในทศวรรษ 1920 จนกระทั่งฮิตเลอร์ขึ้นมาเรืองอำนาจ ส่วนเนื้อหาใน “ปรารถนา” ก็เกิดขึ้นในยุค the rise of fascism in Thailand ก็ว่าได้

นอกจาก BERLIN ALEXANDERPLATZ แล้ว ความ “ยิ่งใหญ่” ของปรารถนา ก็ทำให้เรานึกถึงหนังอย่าง A BRIGHTER SUMMER DAY (1991, Edward Yang, Taiwan, 3hours 57mins), EVOLUTION OF A FILIPINO FAMILY (2004, Lav Diaz, Philippines, 9hours), SUMMER PALACE (2006, Lou Ye, China, 2hours 38mins) , THE TIN DRUM (1979, Volker Schlöndorff, West Germany, 2 hours 22mins) และ UNDERGROUND (1995, Emir Kusturica, Yugoslavia, 2hours 50mins)  ด้วย เพราะหนังเหล่านี้ต่างก็สะท้อนชีวิตคนธรรมดาท่ามกลางความผันผวนของสังคมการเมืองเหมือนๆกัน และทั้งไต้หวัน, ฟิลิปปินส์, จีน, เยอรมนี และยูโกสลาเวีย ต่างก็เป็นประเทศที่เคยเผชิญกับความเลวร้ายของระบอบการปกครองของประเทศตนเองอย่างหนักหนาสาหัสเหมือนๆกันด้วย

เราก็เลยชอบ “ปรารถนา” ตรงจุดนี้มากๆด้วย เพราะมันทำให้เรานึกถึงหนังที่ยิ่งใหญ่กลุ่มนี้ ซึ่งดูเหมือนว่าอาจจะยังไม่มีหนังไทยที่สามารถทำได้ทัดเทียมถึงขั้นนั้น



Wednesday, September 05, 2018

THINGS EXPERIENCED IN LATE AUGUST, EARLY SEPTEMBER


สิ่งที่ได้ดูในช่วงที่ผ่านมา แต่ไม่มีเวลาเขียนถึงเลย

(เรียงตามลำดับการได้ดู)

1.PRATTHANA: A PORTRAIT OF POSSESSION (2018, Toshiki Okada, stage play, A+30)
ปรารถนา: ภาพเหมือนการเข้าสิง

2.TIME SPLITS IN THE RIVER (2016, Huang I-chieh, Liao Xuan-zhen Lee Chai-hung, Wang Yu-ping, Taiwan, documentary, A+30)

3.KÄTHE KOLLWITZ: IMAGES OF A LIFE (1986, Ralf Kirsten, East Germany, A+30)

4.PLÁCIDO (1961, Luis García Berlanga, Spain, A+30)

5.THE MOUNTAIN (2015, Su Hong-en, Taiwan, documentary, A+25)

6.DESTINATION WEDDING (2018, Victor Levin, A+10)

7.ERIKO, PRETENDED (2016, Akiyo Fujimura, Japan, A+30)

8.CUSTODY (2017, Xavier Legrand, France, A+30)

Monday, September 03, 2018

STRANGER IN THE MOUNTAINS (2018, Lee Li-shao, Taiwan, documentary, 140min, A+30)


STRANGER IN THE MOUNTAINS (2018, Lee Li-shao, Taiwan, documentary, 140min, A+30)

1.เหมือนเป็น doppelganger ของหนังเรื่อง VILLAGE PEOPLE RADIO SHOW (2007, Amir Muhammad, Malaysia, documentary) 555 เพราะ VILLAGE PEOPLE RADIO SHOW นำเสนอชีวิตของคอมมิวนิสต์มาเลเซียที่หนีภัยการเมืองในมาเลเซียมาใช้ชีวิตอยู่ในภาคใต้สุดของไทย เหมือนไทยยินดีต้อนรับ “คอมมิวนิสต์” หรืออดีตคอมมิวนิสต์ เหล่านี้ แต่ในภาคเหนือสุดของไทยนั้น ชาวจีนที่อยู่ฝ่ายตรงข้ามกับคอมมิวนิสต์ ก็ได้หนีร้อนมาพึ่งร้อนในไทยเหมือนกัน (ไม่อยากจะเรียกว่า “หนีร้อนมาพึ่งเย็น” เมื่อดูจากความยากลำบากของชีวิตพวกเขาในไทย 555)

เลยรู้สึกว่าสถานะของไทยในหนังสองเรื่องนี้น่าสนใจดี เพราะไทยเป็นทั้งที่ลี้ภัยของคอมมิวนิสต์และฝ่ายตรงข้ามกับคอมมิวนิสต์

2.หนังดีงามมากๆในการเล่าให้เราฟังถึงชีวิตของคนกลุ่มนี้ ซึ่งดูเหมือนจะมีชีวิตที่ยากลำบากมาก พวกเขาหนีการสังหารหมู่ในยูนนาน มาอยู่พม่า มาอยู่ไทย แล้วพอมาอยู่ไทย ก็ต้องยังชีพด้วยการเป็นทหารรับจ้าง สู้กับคอมมิวนิสต์ในไทยอยู่นานเป็นสิบปี ปรากฏว่าพอสงครามสงบ ชีวิตพวกเขาก็ดูเหมือนยังมีปัญหาอยู่ อย่างเช่นเรื่องบัตรประชาชนไทย

การได้รับรู้ชีวิตของคนกลุ่มนี้ มันเหมือนช่วยเติมเต็มสิ่งที่เราอาจจะยังไม่ได้รับรู้จากหนังเรื่องอื่นๆน่ะ ในแง่หนึ่งหนังเรื่องนี้ทำให้นึกถึงหนังชาวเขา/ชาติพันธุ์ของกลุ่มเกี่ยวก้อยของคุณ Supamok Silarak เพราะหนังกลุ่มนี้กับหนังกลุ่มเกี่ยวก้อยมันดีงามในทางเดียวกัน มันช่วยบอกเล่าเรื่องราวของ ethnic ต่างๆในไทย และหนังเรื่องนี้ก็พูดถึงกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มหนึ่งที่ไม่ค่อยถูกพูดถึงในหนังไทยเรื่องอื่นๆ

3.แต่สิ่งที่ชอบสุดๆก็คือการบอกเล่าถึงบทบาทของคนกลุ่มนี้ในช่วงสงครามเย็นในไทย มันเหมือนกับว่าคนกลุ่มนี้เป็นตัวละครสำคัญอีกกลุ่มหนึ่งในช่วงสงครามเย็นที่ไม่ค่อยถูกพูดถึงในหนังไทยมาก่อน

คือตอนที่เรายังเป็นเด็กในทศวรรษ 1980 นั้น เราเติบโตมากับการถูกปลูกฝังให้หวาดกลัวคอมมิวนิสต์อย่างรุนแรงน่ะ ซึ่งการถูกปลูกฝังนี้อาจจะเห็นตัวอย่างได้จากหนังอย่าง สิงห์สำออย (1977, Dogdin Gunyamal) และ หนุมานเผชิญภัย (1957, ปยุต เงากระจ่าง) ภาพคอมมิวนิสต์ในจินตนาการของเราในวัยเด็ก จะเป็นผู้ร้ายที่น่ากลัว จับทุกคนที่ใส่แว่นไปฆ่า จับเด็กไปไถนา (ซึ่งก็อาจจะตรงกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นใน กัมพูชา) เพราะหนังที่เผยแพร่ให้เราดูในวัยเด็ก เป็นหนังที่เล่าจากมุมมองของ “ทางการไทย” เป็นส่วนใหญ่

พอสหภาพโซเวียตล่มสลายในช่วงต้นทศวรรษ 1990 ภัยคอมมิวนิสต์ก็หมดสิ้นไป เราเริ่มมองภาพคอมมิวนิสต์ตามความเป็นจริงได้มากขึ้น หนังสือ ใบไม้ที่หายไป ของจิระนันท์ พิตรปรีชา ได้ซีไรท์ และก็มีหนังอย่าง THE MOONHUNTER (2001, Bhandit Rittakol) ออกมา เราได้ดูหนังอย่าง ไผ่แดง (1978, เพิ่มพล เชยอรุณ) เหมือนภาพคอมมิวนิสต์ที่เราได้รับรู้ในยุคนี้ จะเป็นคนธรรมดา เรามองคอมมิวนิสต์กับ “ทางการไทย” ในแบบที่เสมอๆกัน

แต่พอในยุค 10 ปีที่ผ่านมา ความเลวร้ายจากการปราบปรามคอมมิวนิสต์ในยุคสงครามเย็น ก็เริ่มได้รับการบอกเล่ากันมากขึ้น เราได้ดูหนังอย่าง UNCLE BOONMEE WHO CAN RECALL HIS PAST LIVES (2010, Apichatpong Weerasethakul), A COMRADE มิตรสหายท่านหนึ่ง (2013, Abhichon Rattanabhayon, Watcharee Rattanakree), PIGEON (2017, Pasit Promnumpol), THE TIGER CASTLE (2016, Patana Chirawong), เงาสูญสิ้นแสง (2018, Kritsada Nakagate ) SOUTHERN FOLKTALE (2018, Supawit Buaket) ภาพของยุคนั้น ก็เลยเริ่มกระจ่างมากขึ้นในสายตาเรา เหมือนเราได้รับการบอกเล่าเรื่องราวจากทางฝ่ายอดีตคอมมิวนิสต์มากยิ่งขึ้น หรือจากชาวบ้านที่ตกเป็นเหยื่อความโหดร้ายของทางการไทยมากยิ่งขึ้น

แต่ jigsaw หนึ่งที่หายไปในยุคนั้น ก็คงเป็นเรื่องของชาวจีนกลุ่มนี้ใน STRANGER IN THE MOUNTAINS ชาวจีนที่สู้รบกับคอมมิวนิสต์ไทยมานานเป็นสิบปี บางทีถ้าหากเราไม่ได้ดูหนังเรื่องนี้ เราอาจจะเกลียดชาวจีนกลุ่มนี้ไปโดยไม่รู้ตัวก็ได้นะ เราอาจจะเข้าใจผิดไปว่าพวกเขาเป็น “ทหารรับจ้าง” ที่ฆ่าคนเพื่อเงิน เป็นทหารโหดร้าย ที่ไม่ได้สู้เพื่อประเทศชาติ หรือหน้าที่ แต่ฆ่าคนเพื่อเงิน และคนกลุ่มที่พวกเขาฆ่า ก็เป็นคนกลุ่มที่เราเห็นใจ

พอได้ดูหนังเรื่องนี้ เราก็เลยได้เข้าใจอะไรหลายๆอย่างมากขึ้น หนังมันช่วยลบล้างความเข้าใจผิดที่มีต่อพวกเขา และทำให้เราเข้าใจความยุ่งยากซับซ้อนและความยากลำบากของคนหลายๆกลุ่มในยุคนั้น

4.ดูแล้วนึกถึงหนังสั้นไทยบางเรื่อง ที่ใช้ setting เป็นภาคเหนือ และมีอะไรจีนๆเหมือนกัน ดูแล้วก็สงสัยว่า หนังสั้นเหล่านี้ใช้ setting เดียวกันหรือเปล่า หรือเป็นคนจีนคนละกลุ่มกัน

หนังสั้นที่เรานึกถึง ก็ได้แก่เรื่อง

4.1 GROWTH หลังรอยต่อหน้ากำแพงผ้า (2013, Jiranan Chaloemsitthipong)

4.2 เหลียง (2017, กฤตภาส ธาราภันธ์)

และเหมือนมีหนังยาวของไทย/ไต้หวันเรื่องนึงด้วย ที่มาลงโรงฉายแบบปกติในไทย เป็นหนังโรแมนติก ที่ใช้ setting เป็นภาคเหนือสุดของไทย และตัวละครก็จีนมากๆ แต่เรานึกชื่อหนังไม่ออก มีใครนึกออกบ้าง