พอดูหนัง THE MEMORY OF JUSTICE (1976, Marcel Ophuls, documentary, A+30) แล้วก็เลยยิ่งเห็นความสำคัญของเพจประเภท “วิวาทะ” อย่างมากๆ
เพราะในการตัดสินคดีนาซีที่นูเรมเบิร์กในปี 1945 นั้น นาซีหลายๆคนต่างก็ปฏิเสธความผิดของตนเอง
อ้างว่าตนเองไม่ได้เกลียดยิว, ไม่ได้รู้เรื่องค่ายกักกันชาวยิว บลา บลา บลา แต่ก็มีหลักฐานมาเอาผิดนาซีหลายๆคน
จาก “ถ้อยแถลง” ที่นาซีแต่ละคนเคยกล่าวในงานต่างๆ และนาซีหลายๆคนก็ถูกศาลตัดสินประหารชีวิตไปในที่สุด
พอดูหนังสารคดีเรื่องนี้เราก็เลยตระหนักถึงความจริงที่ว่า
การคอยจดบันทึกถ้อยแถลงของคนต่างๆเอาไว้ มันเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ
Monday, March 28, 2016
Film Wish List: ASH WEDNESDAY (1958, Roberto Gavaldón, Mexico)
Film Wish List: ASH WEDNESDAY (1958, Roberto Gavaldón, Mexico)
ไม่เคยได้ยินชื่อของ Roberto Gavaldón มาก่อนเลย
แต่เหมือนที่ออสเตรเลียจะมีการจัดงาน retrospective ผลงานของเขา
เราก็เลยลองค้นข้อมูลของเขาดู แล้วก็ตกใจมาก
เพราะเขาเคยเข้าชิงปาล์มทองที่คานส์ถึง 4 ครั้ง, เข้าชิงสิงโตทองคำที่เวนิซถึง 4
ครั้ง และเข้าชิงหมีทองคำที่เบอร์ลิน 2 ครั้ง
เรียกได้ว่าเขาเป็นผู้กำกับแถวหน้าของโลกคนนึงเลยทีเดียว
แต่ดูเหมือนเขากลับถูกหลงลืมไปเสียแล้ว
ส่วน ASH WEDNESDAY นี้เป็น
“หนังผู้หญิง” แบบที่เคยได้รับความนิยมกันมากในฮอลลีวู้ดในทศวรรษ 1940
และเป็นหนังแบบที่มักนำแสดงโดย Joan Crawford หรือ Lana
Turner แต่เนื่องจากหนังเรื่องนี้เป็นหนังเม็กซิโก
หนังก็เลยนำแสดงโดย Maria Félix แทน โดย Maria Félix คนนี้เป็นดาราที่เราชื่นชอบเป็นอย่างมากจากบทบาทการแสดงของเธอในหนังเรื่อง
FEVER MOUNTS AT EL PAO (1959, Luis Bunuel, A+30) เราว่าเธอมีส่วนคล้าย
Maria Casares (ORPHEUS)
Films seen in the Salaya Documentary Film Festival on Sunday, March 27, 2016
Films seen in the Salaya Documentary Film Festival on Sunday, March
27, 2016
1.TEA TIME (2014, Maite Alberdi, Chile, A+30)
2.DREAMCATCHER (2015, Kim Longinotto, USA, A+30)
3.GREEN, WHITE, RED (2015, Abolfazl Jalili, Iran, A+25)
4.PLEASE REMEMBER ME (2015, Qing Zhao, China, A+15)
5.MEMORY IN CINEMA (2015, Choi Yeong Song, South Korea, A+10)
ROCKY HANDSOME (2016, Nishikant Kamat, India, A+10)
PLEASE REMEMBER ME (2015, Qing Zhao,
China, documentary, A+15)
สารคดีเกี่ยวกับคู่รักวัยชราที่ฝ่ายหญิงป่วยเป็นอัลไซเมอร์
ชอบประวัติตอนช่วง cultural revolution มากๆ
ที่ฝ่ายหญิงเหมือนกับช่วยชุบชีวิตฝ่ายชายให้รอดพ้นจากความลำบากในช่วงนั้น
ฝ่ายชายก็เลยรู้สึกว่าเป็นหนี้ชีวิตฝ่ายหญิง
ROCKY HANDSOME (2016, Nishikant Kamat, India, A+10)
1.เรายังไม่ได้ดู THE MAN FROM NOWHERE (2010, Lee Jeong-beom,
South Korea) ที่เป็นเวอร์ชั่น original ของหนังเรื่องนี้นะ
เราก็เลยเปรียบเทียบหนังเรื่องนี้กับต้นฉบับไม่ได้
2.รู้สึกว่ามันเป็นหนังที่มีดีที่ “สไตล์” น่ะ ทั้งความเท่ของตัวละครพระเอก,
บุคลิกที่น่าจดจำของผู้ร้าย, การจัดแสงสีที่รุนแรงมากๆ ซึ่งจริงๆแล้วเราว่าหนังไทยหลายเรื่องก็มีอะไรใกล้เคียงกับหนังพวกนี้นะ
พวกหนังไทยที่ฉากไคลแมกซ์ต้องเป็นฉากพระเอกบุกไปในโกดังเก็บของเพื่อสู้กับผู้ร้ายน่ะ
แต่หนังไทยที่มีอะไรแบบนี้มันอาจจะไม่ได้เน้นที่ “สไตล์”
และไม่ได้เน้นที่องค์ประกอบศิลป์, การจัดฉาก, แสง, สี แต่ไปเน้นที่
2.1 คิวบู๊ ซึ่งถ้าหากหนังไทยเรื่องไหนมันจริงจังกับคิวบู๊พอสมควร
มันก็จะออกมาดี
2.2 ตัวตลก คือเราว่าถ้าหนังไทยหลายเรื่องมันต่างจากหนังแอคชั่นเท่ๆของฝรั่ง,
เกาหลี, อินเดีย ตรงที่ว่า มันมีพื้นที่ให้กับตัวตลกสูงมาก ทั้งฝ่ายพระเอกและฝ่ายผู้ร้าย
และเราว่าส่วนใหญ่มันทำให้หนังออกมาแย่น่ะ ยกเว้นหนังของยุทธเลิศ สิปปภาค
ที่เหมือนจะผสานความตลกกับความเป็นหนังแอคชั่นเข้าด้วยกันได้ดี
3.ถึงแม้เราจะชอบ “สไตล์” ของ ROCKY HANDSOME มากๆ แต่เราก็ชอบมันแค่ในระดับ A+10 นะ
เพราะขณะที่ดูหนังเรื่องนี้ เราจะนึกถึงหนัง “แอคชั่นขายสไตล์เท่ๆ” แบบหนังของ Luc
Besson กับ Jean-Pierre Melville น่ะ
(ซึ่งแตกต่างจากหนังแอคชั่นขายสไตล์ห่ามๆแบบหนังของ Robert Rodriguez) ซึ่งเราก็จะพบว่า พอเทียบกันแล้ว
3.1 หนังของ Luc Besson มีความเป็นมนุษย์มากกว่าเยอะ
และตัวละครหญิงมีอิทธิฤทธิ์สูงกว่าเยอะ โดยเฉพาะในหนังอย่าง LEON (1994) ที่พูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างนักฆ่ากับเด็กหญิงตัวน้อยๆเหมือนกัน
3.2 หนังของ Jean-Pierre Melville มีความ “สง่างาม” มากกว่าเยอะ
คือเราว่า ROCKY HANDSOME กับหนังของ Melville มันมีความเท่เหมือนกัน แต่หนังของ Melville มันมีความ
graceful มันมีความสง่างามอะไรบางอย่างที่มันเหนือชั้นกว่าหนังอย่าง
ROCKY HANDSOME
คือมันเหมือนกับว่า ตัวละครของ ROCKY HANDSOME มันกลวง
เพราะผู้สร้างหนังไม่ได้ใส่อะไรเข้าไป ปล่อยให้ตัวละครมันกลวงๆอยู่อย่างนั้น
แต่ตัวละครในหนังของ Melville มันกลวง
เพราะจิตวิญญาณของตัวละครมันกลวง มันสะท้อนถึงความกลวงในจิตวิญญาณของตัวละครไปด้วย
มันก็เลยเป็น “ความไม่มี” สองอย่างที่แตกต่างกัน คือตัวละครของ ROCKY
HANDSOME มัน “ไม่มีจิตวิญญาณ” แต่ตัวละครในหนังของ Melville
มัน “มีจิตวิญญาณที่ว่างเปล่า”
Sunday, March 27, 2016
Films seen on Saturday, March 26, 2016
Films seen on Saturday, March 26, 2016
1.TOUR OF DUTY (2013, Park Kyoung-tae + Kim Dong-ryung, South
Korea, A+30)
2.THE STORY OF KAZAKH CINEMA: UNDERGROUND OF KAZAKHFILM (2015,
Adilkhan Yerzhanov, Kazakhstan, documentary, A+30)
ในบรรดาผู้กำกับมากมายที่ถูกเอ่ยชื่อในหนังเรื่องนี้ เราเคยดูแต่หนังของ
2.1 Darezhan Omirbayev
2.2 Nariman Turebaev
แต่ยังไม่เคยดูหนังของผู้กำกับเหล่านี้ หรือหนังเหล่านี้
2.3 Serik Aprimov
2.4 Rachid Nugmanov
2.5 Satybaldy Narymbetov
2.6 Sultan Khodzhikov
2.7 AMANGELDY (1939, Moisei Levin)
2.8 THE COCKTAIL FOR A STAR (2010, Askar Uzabaev)
2.9 FARA (1999, Abai Karpykov)
2.10 THE FEROCIOUS ONE (1974, Tolomush Okeev)
2.11 LAND OF THE STEPPES (1966, Shaken Ajmanov)
2.12 LITTLE FISH IN LOVE (1989, Abai Karpykov)
2.13 SHAL (THE OLD MAN) (2012, Ermek Tursunov)
2.14 TALE OF A PINK HARE (2010, Farkhat Sharipov)
3.THE SCALA (2015, Aditya Assarat, documentary, A+20)
4.BEFORE THE LAST CURTAIN FALLS (2014, Thomas Wallner, Belgium,
documentary, A+15)
อันนี้เป็นรูปของกระเป๋ารถเมล์ชาวคาซัคในหนังเรื่อง KAIRAT (1992, Darezhan Omirbayev)
Saturday, March 26, 2016
SYMBOLIC THREATS (2015, Matthias Wermke + Lutz Henke + Mischa Leinkauf, Germany, documentary, A+30)
SYMBOLIC
THREATS (2015, Matthias Wermke + Lutz Henke + Mischa Leinkauf, Germany,
documentary, A+30)
1.SYMBOLIC THREATS เป็นหนังสารคดีที่รวบรวมคลิปข่าวเกี่ยวกับปฏิกิริยาของคนต่างๆ
หลังจากเกิดเหตุการณ์ที่มีคนปลดธงชาติสหรัฐอเมริกาออกจากสะพานบรูคลิน
และนำธงขาวไปติดไว้แทน
โดยปฏิกิริยาของคนต่างๆในที่นี้มีตั้งแต่นายกเทศมนตรีนครนิวยอร์ค, ตำรวจ, พิธีกรรายการทีวี, คนทั่วไปตามท้องถนน
และพวกหัวรุนแรงที่ทำคลิปออนไลน์
โดยบางคนมองว่าการที่มีบุคคลลึกลับสามารถนำธงขาวไปติดไว้ยังจุดสำคัญทางยุทธศาสตร์นี้
แสดงให้เห็นถึงความล่มสลายอย่างสิ้นเชิงของระบบการรักษาความปลอดภัยของสหรัฐท่ามกลางภัยคุกคามจากผู้ก่อการร้าย
แต่บางคนก็มองว่ามันเป็นแค่อะไรตลกๆขำๆ ไม่น่ากังวลแต่อย่างใด
ถ้าเข้าใจไม่ผิด คนสร้างหนังสารคดีเรื่องนี้
ก็คือคนที่แอบเอาธงขาวไปติดไว้เองนั่นแหละ
คิดว่าหนังเรื่องนี้เป็นหนึ่งในหนังที่เหมาะจะนำมาใช้ถกในประเด็นเรื่อง
“จริยธรรมในการทำหนังสารคดี” ได้ดี เพราะเราชอบหนังเรื่องนี้มากๆ แต่ในอีกแง่หนึ่ง
หนังเรื่องนี้ก็มีจุดร่วมเดียวกันกับหนังสารคดีที่เราเกลียดมากๆ อย่างเช่น “สาระแน โอเซกไก” (2012, เกียรติศักดิ์ อุดมนาค)
หรือรายการทีวีประเภท “ถึงคิวข้า ดาราจำเป็น” น่ะ โดยจุดร่วมเดียวกันนั่นก็คือ “การสร้างสถานการณ์บางอย่างขึ้นมา
เพื่อแอบถ่ายปฏิกิริยาของผู้คนต่างๆที่มีต่อสถานการณ์นั้น”
พอมันมีจุดร่วมเดียวกันแบบนี้ แต่เรากลับชอบ SYMBOLIC THREATS อย่างสุดๆ แต่เกลียด “สาระแน โอเซกไก” อย่างสุดๆ
มันก็เลยทำให้เราตั้งคำถามว่า อะไรคือเส้นแบ่งระหว่างพฤติกรรมที่ยอมรับได้
กับพฤติกรรมที่ยอมรับไม่ได้ในการสร้างหนังสารคดี
หรือในการทำรายการทีวีที่คล้ายๆกันนี้
อะไรคือความชอบธรรมในการสร้างสถานการณ์จำลองขึ้นมาเพื่อทดสอบปฏิกิริยาผู้คน
มันมีข้อห้ามที่ตายตัวหรือไม่ หรือมันขึ้นอยู่กับแต่ละสถานการณ์จำลอง, ขึ้นอยู่กับแต่ละกลุ่มคนที่ตกเป็นเป้าหมายในการทดสอบ และขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ในการทดสอบ
2.ถ้าหากจะมีการถกกันถึงประเด็นนี้ นอกจาก SYMBOLIC
THREATS กับ “สาระแน โอเซกไก” แล้ว
เราว่ามันก็มีหนังอีกหลายเรื่องที่ควรจะนำมาถกในประเด็นนี้ด้วยเช่นกัน อย่างเช่น
2.1 CZECH DREAM (2004, Vit Klusak + Filip Remunda, documentary)
เรายอมรับหนังเรื่องนี้ได้นะ แต่จำได้ว่าผู้ชมบางคนยอมรับหนังเรื่องนี้ไม่ได้ และมีปัญหากับจริยธรรมของผู้สร้างหนังสารคดีเรื่องนี้
เรายอมรับหนังเรื่องนี้ได้นะ แต่จำได้ว่าผู้ชมบางคนยอมรับหนังเรื่องนี้ไม่ได้ และมีปัญหากับจริยธรรมของผู้สร้างหนังสารคดีเรื่องนี้
หนังเรื่องนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการเปิดตัวซูเปอร์มาร์เก็ตใหม่ที่มีชื่อว่า
Czech Dream โดยมีการโหมประโคมการเปิดตัวซูเปอร์มาร์เก็ตนี้อย่างรุนแรง
มีการเผยแพร่โฆษณาทั้งทางโทรทัศน์, วิทยุ, โปสเตอร์, ใบปลิว, อินเทอร์เน็ต,
หนังสือพิมพ์, นิตยสาร
มีการแต่งเพลงโปรโมทอย่างไพเราะเพราะพริ้ง และพอถึงวันเปิดตัวซูเปอร์มาร์เก็ตนี้
ประชาชนจำนวนมากก็แห่ไปกัน มีคนพิการพยายามกระเสือกกระสนไปที่ซูเปอร์มาร์เก็ตนี้ด้วย
มีคนแก่เดินกระย่องกระแย่งไปที่ซูเปอร์มาร์เก็ต ก่อนที่ทุกคนจะพบว่า มันไม่มีจริง
และทั้งหมดที่ผู้สร้างหนังเรื่องนี้ทำไปก็เพื่อทดสอบความเป็นบริโภคนิยมของชาวเชคหรืออะไรทำนองนี้
และเพื่อทำหนังเรื่องนี้ด้วย
2.2 THE NINE-DAY PREGNANCY OF A SINGLE MIDDLE-AGED ASSOCIATE
PROFESSOR (2005-20006, Araya Rasdjarmrearnsook)
อันนี้เราไม่แน่ใจว่ามันเป็นสารคดีหรือมันเป็นการถ่ายทำใหม่โดยจำลองจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง
โดยอันนี้เป็นการบันทึกภาพปฏิกิริยาของผู้คนต่างๆโดยเฉพาะคนในมหาวิทยาลัยไทยที่มีต่อการที่ผู้ช่วยศาสตราจารย์หญิงวัยกลางคนคนหนึ่งเกิดตั้งครรภ์ขึ้นมาโดยไม่ได้แต่งงาน
ซึ่งแน่นอนว่ามันไม่ใช่สิ่งที่หนักหัวใครใดๆทั้งสิ้น กูจะท้องกับใคร
มันก็สิทธิของกู มันไม่ใช่เรื่องของมึง เพราะกูไม่ได้ขอตังค์มึงกิน
แต่ในสังคมเหี้ยๆแบบสังคมไทยนั้น เรื่องแบบนี้อาจจะสร้างความไม่พอใจให้อีเหี้ยตัวไหนขึ้นมาก็ได้
แน่นอนว่า หนังเรื่องนี้เป็นหนังที่เรายอมรับได้
และเราชอบหนังเรื่องนี้อย่างสุดๆ ถึงแม้ว่าในแง่หนึ่ง มันก็เป็นหนังที่ “สร้างสถานการณ์จำลองขึ้นมา
เพื่อบันทึกปฏิกิริยาของผู้คนที่มีต่อสถานการณ์จำลอง” นั้นเหมือนกับหนังกลุ่มที่เราเกลียดสุดๆเหมือนกัน
ส่วนในกรณีของ “สาระแน โอเซกไก” นั้น
เราไม่ได้ต่อต้านหนังเรื่องนี้ทั้งเรื่องนะ
จุดที่เราต่อต้านก็คือช่วงที่เป็นการสร้างสถานการณ์จำลองเรื่อง “การยิงคนบนโรงพัก” น่ะ (ถ้าจำไม่ผิด)
เราว่าสถานการณ์นั้นมันมากเกินไป มันล้ำเส้นจนเรายอมรับไม่ได้
Labels:
DOCUMENTARY,
FEELINGS AND OPINIONS,
GERMANY,
POLITICAL FILM
BEAT KIDS (2004, Toshi Shioya, Japan, A+25)
BEAT KIDS (2004, Toshi Shioya, Japan, A+25)
1.ชอบ “ความไม่แน่ไม่นอนของชีวิต” ที่ใส่เข้าไปในพล็อตเรื่องแบบสูตรสำเร็จในหนังเรื่องนี้มากๆ
คือถ้าหากว่ากันตามจริงแล้ว พล็อตของหนังเรื่องนี้มีความเป็นสูตรสำเร็จมากๆ
และหลายๆฉากในหนังเรื่องนี้ เรียกได้ว่าเป็นฉาก cliche แบบที่เราเคยเห็นมาแล้วในหนังไม่ต่ำกว่า
100 เรื่อง แต่หนังก็สามารถลดทอนความรู้สึกเบื่อหน่ายที่เรามักจะมีต่อฉาก cliche
และลดทอนความรู้สึกแข็งเกร็งของตัวละครที่ต้องใช้ชีวิตอยู่ในหนังแบบสูตรสำเร็จลงได้
ด้วยการใส่ “ความไม่แน่นอนของชีวิต” เข้าไปในเนื้อเรื่อง
ทั้งในส่วนที่มีผลอย่างรุนแรงต่อเส้นเรื่องหลัก
และในส่วนที่ไม่มีผลกระทบต่อเส้นเรื่องหลัก
SPOILERS ALERT
--
--
--
--
--
2.จุดสำคัญที่สุดที่ทำให้เราชอบหนังเรื่องนี้
ก็คือการพลิกผันช่วงกลางเรื่องนี่แหละ คือช่วงครึ่งแรกของหนังเรื่องนี้
เรารู้สึกเหมือนกำลังดูหนังแบบ THE SPECTRUM (2006, Yanin Pongsuwan) + THE
CHEER AMBASSADOR (2011, Luke Cassady-Dorion) + DEAD POETS SOCIETY (1989, Peter
Weir) อยู่ คือมันเป็นเรื่องการฝึกซ้อมของวงโยธวาทิตเพื่อเข้าแข่งขัน
โดยสมาชิกวงได้รับแรงบันดาลใจจากตัวละครสำคัญตัวหนึ่ง
ที่ทำหน้าที่คล้ายๆครูคีทติ้งใน DEAD POETS SOCIETY เพียงแต่ว่า
“ผู้สร้างแรงบันดาลใจ” ในเรื่องนี้ไม่ได้เป็นครู
แต่เป็นนักเรียนหญิงที่มีพรสวรรค์สูง และเป็นนางเอกของเรื่อง
แต่ช่วงกลางเรื่องนี่ทำให้เรานึกถึง PSYCHO (Alfred Hitchcock) เลยนะ
เพราะอยู่ดีๆตัวละครนางเอกก็ถูกทำให้หมดบทบาทลงอย่างกะทันหันช่วงกลางเรื่อง โดยเป็นผลจากคุณครูตัวร้าย
และคุณครูตัวร้ายก็ยังคงมีบทบาทต่อไปจนจบเรื่อง ในขณะที่นางเอกแทบไม่มีความสำคัญอะไรอีกต่อไปในช่วงครึ่งเรื่องหลัง
ไอ้การพลิกผันช่วงกลางเรื่องนี่แหละ ที่เราว่ามันทำให้หนังเรื่องนี้ดีขึ้นมามากๆ
มันเหมือนกับว่าหนังเป็น DEAD POETS SOCIETY ในช่วงครึ่งเรื่องแรก
แต่แทนที่หนังจะจบลงด้วยการจากไปของครูคีทติ้ง หนังกลับแสดงให้เห็นในช่วงครึ่งเรื่องหลังว่า
“ผู้ได้รับแรงบันดาลใจ” เขาดิ้นรนใช้ชีวิตอยู่กันต่อไปยังไง
3.อีกจุดที่ชอบมากคือ subplot เรื่องคุณแม่คลอดลูกแล้วลูกตายตอนเกิด
คือ subplot นี้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเส้นเรื่องหลักเลยนะ
แต่การใส่มันเข้ามา มันช่วยลดความแข็งเกร็งของ “การใช้ชีวิตในหนังแบบสูตรสำเร็จ” ลงได้มากๆเลยน่ะ
มันช่วยทำให้โลกในหนังเรื่องนี้ ใกล้เคียงโลกมนุษย์จริงๆมากยิ่งขึ้น
โลกที่เราคาดการณ์ชีวิตอะไรล่วงหน้าไม่ได้
และมักจะมีเรื่องเหี้ยๆห่าๆเกิดขึ้นมาในชีวิตโดยที่เราไม่คาดฝันอยู่เสมอ
4.รู้สึกว่าผู้กำกับหนังเมนสตรีมของไทยหลายๆคน ควรจะดูหนังเรื่องนี้เป็นเยี่ยงอย่างนะ
คือถ้าหากจะทำหนังเมนสตรีม, ใช้พล็อตสูตรสำเร็จ และมีแต่ฉาก cliche แล้ว
เราก็สามารถทำหนังให้มันออกมาดีได้เช่นกัน ถ้าหากเรารู้จักพลิกแพลง แต่งเติม
และดัดแปลงโลกในหนังให้มันใกล้เคียงกับชีวิตมนุษย์จริงๆได้อย่างนี้
Thursday, March 24, 2016
THEEB (2014, Naji Abu Nowar, Jordan, A+30)
THEEB
(2014, Naji Abu Nowar, Jordan, A+30)
1.เป็นหนังยาวของจอร์แดนเรื่องแรกที่เคยดูในชีวิตมั้ง
ถ้าจำไม่ผิด หลังจากที่เราเคยกรี๊ดแตกไปแล้วกับหนังสั้นจอร์แดนเรื่อง A FEW
CRUMBS FOR THE BIRDS (2005, Annemarie Jacir, A+30) แต่พอดู THEEB
แล้วก็รู้สึกว่ามันไม่ได้มีรสชาติพิเศษหรือลักษณะพิเศษที่แปลกแตกต่างไปจากหนังทั่วๆไป
คือมันเป็นหนังดีเหมือนหนังดีทั่วๆไปน่ะแหละ
และถ้าหากจะมีคนบอกว่ามันเป็นหนังอียิปต์, เลบานอน, อิสราเอล, ตุรกี หรือแอฟริกาเหนือ เราก็เชื่อ
เพราะเราว่าภาษาหนังของหนังเรื่องนี้มันดูเป็นสากลมากๆน่ะ
มันไม่ได้มีอะไรพิเศษ
2.ดูแล้วชอบในระดับ A+15 มาเกือบตลอดเรื่อง
คือหนังมันเล่าเรื่องดีในแบบสากล และเรื่องที่มันเล่าก็น่าสนใจในระดับหนึ่ง
แต่ไม่ได้น่าสนใจมากเป็นพิเศษ อย่างไรก็ดี ระดับความชอบได้พุ่งพรวดขึ้นถึง A+30
ในช่วงท้ายของเรื่อง เพราะตอนจบมันแผดเผาใจเราอย่างรุนแรงมาก
3.ถึงแม้หนังเรื่องนี้จะเล่าเหตุการณ์ในอดีต
เราก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าจริงๆแล้วมันเป็นการเปรียบเทียบกับปัญหาตะวันออกกลางในปัจจุบันหรือเปล่า
โดยเฉพาะเรื่องความขัดแย้งระหว่างชนชาติต่างๆในตะวันออกกลางด้วยกันเอง
ซึ่งยิ่งคนในตะวันออกกลางฆ่ากันเองมากเท่าไหร่ ภูมิภาคนี้ก็ยิ่งซวยมากเท่านั้น
ในขณะที่ชาติตะวันตกไม่ต้องทำอะไรนอกจากอยู่เฉยๆ
PARTY GIRL (2014, Marie Amachoukeli + Claire Burger + Samuel Theis, France, A+30)
PARTY
GIRL (2014, Marie Amachoukeli + Claire Burger + Samuel Theis, France, A+30)
1.มีสิทธิติดอันดับหนึ่งประจำปีนี้ของเราไปเลย 555
เพราะดูแล้วอินสุดๆ
และอาจจะส่งผลกระทบต่อชีวิตตัวเราเองอย่างรุนแรงมาก
เพราะหนังเรื่องนี้เหมือนกับส่องสะท้อนให้เราเห็นแง่มุมบางอย่างของตัวเราเองในแบบที่เราแทบไม่เคยเจอจากหนังเรื่องอื่นๆมาก่อน
และพอหนังเรื่องนี้มันทำให้เราเข้าใจตัวเองมากขึ้น
มันก็อาจจะส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจของตัวเราเองในการดำเนินชีวิตต่อไปในอนาคตด้วย
2.แต่การที่เราชอบหนังเรื่องนี้เป็นอันดับต้นๆของ Q1/2016
นั้น ไม่ได้หมายความว่าเราคิดว่าหนังเรื่องนี้ “ดีเยี่ยม” กว่าหนังเรื่องอื่นๆที่เราได้ดูมาในไตรมาสแรกนี้นะ
คือถ้าไม่ได้วัดจาก “ความรู้สึกอิน” และ
“การที่หนังเรื่องนี้ทำให้เราเข้าใจตัวเอง” แล้ว แต่วัดจากมุมมองแบบ objective หน่อย
เราว่าหนังหลายๆเรื่องของ Chantal Akerman ที่เราได้ดูมาในปีนี้
ถือเป็นหนังที่ดีกว่าและน่าสนใจกว่า PARTY GIRL ในแง่ aesthetics,
ความคิดสร้างสรรค์, ไอเดียทางศิลปะอะไรทำนองนี้น่ะ
คือถ้าหากไม่วัดจากมุมมองแบบส่วนตัว เราก็อาจจะต้องจัดให้หนังอย่าง HOTEL
MONTEREY (1972), TOUTE UNE NUIT (1982) และ DOWN THERE
(2006) ของ Chantal Akerman อยู่ในอันดับสูงกว่า
แต่ถ้าหากเอาปัจจัยเรื่องความรู้สึกส่วนตัวมาคำนวณด้วยแล้ว
เราก็อาจจัดให้ PARTY GIRL และ TANGERINE (2015,
Sean Baker) อยู่ในอันดับสูงกว่า 555
แต่จริงๆแล้วอันดับพวกนี้มันไม่สำคัญหรอก
เราเพียงแค่จะชี้ให้เห็นว่า ที่เราชอบ PARTY
GIRL ในลำดับต้นๆมันเป็นเพราะอะไร และมันแตกต่างจากเหตุผลที่ทำให้เราชอบหนังของ
Chantal Akerman ในลำดับต้นๆของปี
SPOILERS ALERT
--
--
--
--
--
3.จริงๆแล้วไม่อยากเขียนถึง PARTY GIRL มากนัก เพราะกลัวว่ายิ่งเขียนถึงหนังเรื่องนี้แล้วมันจะยิ่งเข้าตัวเรา 555 เพราะหนังเรื่องนี้มันทำให้เราสงสัยว่า บางทีการที่ใครบางคนหาผัวไม่ได้ ไม่ใช่มันเป็นเพราะว่าเขายังไม่เจอคนที่ใช่ บางทีเขาอาจจะเจอคนที่ใช่ ได้เจอผู้ชายที่คู่ควรกับเขา ได้เจอผู้ชายแสนดีมาหลงรักเขา หรือเปิดโอกาสให้เขามาแล้วหลายคนก็ได้ แต่เขากลับไม่สามารถรักผู้ชายคนนั้น หรือรู้สึกถูกดึงดูดโดยผู้ชายแสนดีเหล่านั้นได้ เพราะหัวใจของเขามันแข็งเป็นหินไปแล้ว และมันเป็นเช่นนั้นเอง มันเป็นหัวใจที่แข็งเป็นหินมาตั้งแต่กำเนิด มันเป็นลักษณะเฉพาะตัวของคนบางคน มันไม่ใช่ความผิดของเขา และมันไม่ใช่ความผิดของผู้ชายที่มาหลงรักเขา
--
--
--
--
--
3.จริงๆแล้วไม่อยากเขียนถึง PARTY GIRL มากนัก เพราะกลัวว่ายิ่งเขียนถึงหนังเรื่องนี้แล้วมันจะยิ่งเข้าตัวเรา 555 เพราะหนังเรื่องนี้มันทำให้เราสงสัยว่า บางทีการที่ใครบางคนหาผัวไม่ได้ ไม่ใช่มันเป็นเพราะว่าเขายังไม่เจอคนที่ใช่ บางทีเขาอาจจะเจอคนที่ใช่ ได้เจอผู้ชายที่คู่ควรกับเขา ได้เจอผู้ชายแสนดีมาหลงรักเขา หรือเปิดโอกาสให้เขามาแล้วหลายคนก็ได้ แต่เขากลับไม่สามารถรักผู้ชายคนนั้น หรือรู้สึกถูกดึงดูดโดยผู้ชายแสนดีเหล่านั้นได้ เพราะหัวใจของเขามันแข็งเป็นหินไปแล้ว และมันเป็นเช่นนั้นเอง มันเป็นหัวใจที่แข็งเป็นหินมาตั้งแต่กำเนิด มันเป็นลักษณะเฉพาะตัวของคนบางคน มันไม่ใช่ความผิดของเขา และมันไม่ใช่ความผิดของผู้ชายที่มาหลงรักเขา
แต่ความชิบหายมันจะเกิดขึ้นกับคนคนนั้นและผู้ชายที่หลงรักคนคนนั้น
ถ้าหากคนคนนั้นไม่ได้ตระหนักว่าตัวเองแตกต่างจากคนอื่นๆ
ถ้าหากคนคนนั้นคิดว่าตัวเองเหมือนคนทั่วๆไป
และพยายามจะใช้ชีวิตคู่กับผู้ชายที่เหมาะสมกับตัวเขาเอง
ก่อนที่จะเรียนรู้และค้นพบความจริงที่เจ็บปวดว่า เราไม่ใช่คนทั่วๆไป
เราเป็นคนที่ไม่สามารถรักใครได้จริง ไม่ว่าเขาจะเหมาะสมกับเรามากสักเพียงใดก็ตาม
ไม่ว่าเราจะปรารถนาดีต่อเขา และหวังดีต่อเขามากเพียงใดก็ตาม
เพียงเพราะหัวใจของเรามันเป็นเช่นนั้น หัวใจของเรามันไม่สามารถรักใครได้
การอยู่ตัวคนเดียวและมีความสุขตามประสาของตัวเองไปเรื่อยๆ
คือสิ่งที่ดีและเหมาะสมกับเรามากที่สุด เราไม่ควรจะถูกหลอกโดยสังคม, ธรรมเนียมประเพณี
และความเชื่อของคนอื่นๆที่รายล้อมตัวเราว่า “การมีชีวิตคู่เป็นสิ่งที่ดีกว่า”
เราว่าการที่หนังเรื่องนี้สร้างตัวละครนางเอกที่เป็นคนแบบนี้
มันทำให้หนังเรื่องนี้ไปไกลกว่าหนังส่วนใหญ่ที่เราเคยดูมาน่ะ และการที่มันไปไกลกว่าหนังส่วนใหญ่บนโลกนี้
มันกลับทำให้หนังเรื่องนี้เข้าใกล้ตัวเรามากกว่าหนังเรื่องอื่นๆ
4.คือมันเหมือนกับว่าหนังส่วนใหญ่ที่เราดูมาตั้งแต่เกิด
มันหลอกให้เราเชื่อว่า “คนเราควรมีความรัก ควรมีผัว มีเมีย
มีรักแท้ ได้ใช้ชีวิตอยู่กับรักแท้ของเรา แก่เฒ่าไปด้วยกัน กระหนุงกระหนิงกัน
ปรับตัวเข้าหากัน บลา บลา บลา” และถ้าหากคุณยังไม่เจอคนที่ใช่
คุณก็ควรแสวงหาคนคนนั้น หรือตั้งตารอคนคนนั้นไปเรื่อยๆ
สักวันคุณก็จะเจอคนที่ใช่ในที่สุด รักแท้รอคุณอยู่ที่ทางแยกชีวิตข้างหน้า
แต่หนังพวกนี้มันพูดถึง “คนส่วนใหญ่” บนโลกใบนี้น่ะ และแน่นอนว่า
ถ้าหากมันพูดถึง “คนส่วนใหญ่” บนโลกใบนี้
มันก็ย่อมต้องมี “คนส่วนน้อย” ด้วย
คนส่วนน้อยที่จริงๆแล้วอาจจะพบว่า “ตัวเองอยู่คนเดียวแล้วมีความสุขกว่าอยู่กับคนรัก”
ซึ่งเราว่าหนังที่พูดถึง “คนส่วนน้อย” นี่มีน้อยมากๆเลยนะ
หนังที่อาจจะเข้าข่ายนี้ก็มีเช่น
4.1 FOR SALE (1998, Laetitia Masson, A+30)
นางเอกของเรื่องนี้เคยจะแต่งงานกับผู้ชายมาแล้วหลายครั้ง แต่เธอก็ล้มเลิกงานแต่งงานอยู่เสมอ อย่างไรก็ดี เราไม่ได้ identify กับนางเอกของหนังเรื่องนี้มากเท่ากับ PARTY GIRL นะ เพราะเราว่านางเอกของ FOR SALE เย็นชาเกินไป และโดดเดี่ยวมากเกินไป
นางเอกของเรื่องนี้เคยจะแต่งงานกับผู้ชายมาแล้วหลายครั้ง แต่เธอก็ล้มเลิกงานแต่งงานอยู่เสมอ อย่างไรก็ดี เราไม่ได้ identify กับนางเอกของหนังเรื่องนี้มากเท่ากับ PARTY GIRL นะ เพราะเราว่านางเอกของ FOR SALE เย็นชาเกินไป และโดดเดี่ยวมากเกินไป
4.2
VALERIE FLAKE (1999, John Putch, A+30)
อันนี้คือหนึ่งในหนังที่ชอบมากที่สุดในชีวิต นางเอกของเรื่องนี้ก็เจอหนุ่มหล่อแสนดีมาหลงรักเช่นกัน และทั้งสองก็เกือบจะได้ใช้ชีวิตอย่าง happy ending กันแล้ว ก่อนที่นางเอกจะตัดสินใจทิ้งหนุ่มหล่อแสนดีฐานะมั่นคงคนนั้นไป เพราะเธออยากจะเดินทางระเหเร่ร่อนตกระกำลำบากไปเรื่อยๆตามลำพังมากกว่า
อันนี้คือหนึ่งในหนังที่ชอบมากที่สุดในชีวิต นางเอกของเรื่องนี้ก็เจอหนุ่มหล่อแสนดีมาหลงรักเช่นกัน และทั้งสองก็เกือบจะได้ใช้ชีวิตอย่าง happy ending กันแล้ว ก่อนที่นางเอกจะตัดสินใจทิ้งหนุ่มหล่อแสนดีฐานะมั่นคงคนนั้นไป เพราะเธออยากจะเดินทางระเหเร่ร่อนตกระกำลำบากไปเรื่อยๆตามลำพังมากกว่า
อย่างไรก็ดี นางเอกของ VALERIE
FLAKE ก็แตกต่างจากนางเอก PARTY GIRL นะ
เพราะนางเอก VALERIE FLAKE “มีความสามารถที่จะรักผู้ชาย”
น่ะ เพียงแต่ว่าบาดแผลในอดีตของเธอและความรู้สึกผิดของเธอ
เป็นปัจจัยส่วนหนึ่งที่ทำให้เธอไม่คิดที่จะลงหลักปักฐานกับผู้ชายแสนดีคนใหม่
มันเหมือนกับว่าเธอไม่ได้มีหัวใจที่แข็งเป็นหินมาตั้งแต่กำเนิด แต่หัวใจของ Valerie
Flake เพิ่งมาแข็งเป็นหินในภายหลัง ส่วนนางเอกของ PARTY GIRL
นั้น เหมือนกับว่าเธอมีหัวใจที่แข็งเป็นหินมาตั้งแต่กำเนิด
แต่เธอไม่รู้ตัว เธอคิดว่าตัวเองเหมือนผู้หญิงปกติทั่วๆไป
ที่สักวันจะเจอผู้ชายแสนดีคนหนึ่งก้าวเข้ามาในชีวิต และได้ครองรักด้วยกัน
แต่เมื่อโอกาสนั้นก้าวเข้ามาจริงๆ เธอถึงเพิ่งค้นพบความจริงเมื่ออายุ 60 ปีว่า จริงๆแล้วหัวใจของเธอมันแข็งเป็นหิน
และเธอไม่ได้เกิดมาเพื่อรักแท้แบบคนทั่วไป
5.จริงๆแล้วตัวละครใน PARTY GIRL กับ TANGERINE นี่มันใกล้เคียงกันในระดับนึงนะ
เพราะตัวละครในหนังทั้งสองเรื่องนี้ต่างก็ทำงาน “บริการทางเพศ”
เหมือนกัน แต่เราอินกับตัวละครใน PARTY GIRL มากกว่า
เพราะมันพูดถึง “หญิงผู้ให้บริการทางเพศวัย 60 ปี” ไม่ใช่วัย 20 กว่าปีแบบ TANGERINE
เพราะฉะนั้น PARTY GIRL มันก็เลยชนะ TANGERINE
ไปได้ด้วยประการฉะนี้
6.แต่ถ้าใครจะจีบเรา ก็จีบได้นะ
หัวใจเราไม่ได้แข็งเป็นหิน เราหวังไว้เช่นนั้น
ถึงแม้ว่าการดู PARTY
GIRL จะทำให้เราเกิดภาวะ “กลัวตัวเองอย่างรุนแรง”
มากๆก็ตาม
ALLEGIANT (2016, Robert Schwentke, A)
ALLEGIANT (2016, Robert Schwentke, A)
1.มีฉากนึงในเรื่องนี้ที่เราชอบในระดับ A+30 จะมีใครเดาถูกไหมว่ามันเป็นฉากอะไร 555
2.ปัญหาที่เรามีกับหนังเรื่องนี้ก็เหมือนปัญหาที่เรามีกับ INSURGENT คือเราว่ามัน
set up conflicts ได้เข้าทางเรามากๆในช่วงครึ่งแรกของเรื่องน่ะ
แต่พอบทมันจะคลี่คลาย มันก็คลี่คลายง่ายเกินไป
แต่เราก็ไม่ได้เกลียดชังอะไรแบบนี้อย่างรุนแรงนะ เราว่ามันเหมือนละครทีวีที่เราดูตอนเด็กๆน่ะ
พวก BUCK
ROGERS IN THE 25TH CENTURY (1979-1981) ที่มันจะ set up
conflicts ได้สนุกมากๆ ใน 45 นาทีแรกของแต่ละตอน และพอถึงช่วงนาทีที่
40-45 เราจะจินตนาการไม่ออกเลยว่า มันจะคลี่คลาย conflicts ได้ยังไงในอีก
15 นาทีที่เหลือของตอนนั้น แต่ก็ปรากฏว่า
มันก็คลี่คลายได้ทุกครั้งภายในเวลาอันรวดเร็ว
ซึ่งโครงสร้างแบบนี้อาจจะแตกต่างจาก “หนังโรง” ทั่วไปมั้ง เพราะหนังโรงทั่วไปการคลี่คลาย
conflicts มันต้องเป็นฉากไคลแมกซ์ที่รุนแรง
กระหึ่ม ตัวละครต้องเลือดตาแทบกระเด็น ลุ้นสุดฤทธิ์
เพราะฉะนั้นพอเทียบกับหนังโรงทั่วไปแล้ว เราจะรู้สึกว่าการคลี่คลาย conflicts
ใน INSURGENT กับ ALLEGIANT มันกิ๊กก๊อกมาก จนเหมือนกับดูละครทีวีอยู่
3.พอเทียบกับหนังชุด THE HUNGER GAMES แล้ว เรารู้สึกว่า DIVERGENT SERIES มันเป็นสองมิตินะ
ในขณะที่ THE HUNGER GAMES มันเป็นสามมิติในแง่ “อารมณ์ความรู้สึก”
ตัวละครน่ะ คือเรารู้สึกว่าตัวละครใน THE HUNGER GAMES มันแค้นจริง
เจ็บปวดจริง ทุกข์จริง แต่ตัวละครใน DIVERGENT มันดูแบนๆยังไงไม่รู้
4.จริงๆแล้วชอบ “ทัศนียภาพ” ใน ALLEGIANT มาก
พวกท้องฟ้าและซากต่างๆที่อยู่นอกชิคาโก เราว่ามันคล้ายๆภาพวาดแนวไซไฟในนิตยสาร “มิติที่สี่”
ที่เราเคยอ่านในทศวรรษ 1980 น่ะ
Wednesday, March 23, 2016
ANAHI (2014, Camilia Rodriguez Triana, Colombia, 12min, A+30)
ANAHI
(2014, Camilia Rodriguez Triana, Colombia, 12min, A+30)
1.ชอบวิธีการคิดภาพของหนังเรื่องนี้มาก
คือภาพที่ใช้ในหนังต่างๆอาจจะแบ่งออกได้ง่ายๆแบบนี้
1.1 ภาพที่เล่าเรื่องอย่างตรงไปตรงมา
ซึ่งเป็นสิ่งที่พบได้ในหนังโรงทั่วไป
1.2 ภาพที่ไม่ได้เล่าเรื่องอย่างตรงไปตรงมา ซึ่งเป็นสิ่งที่พบได้ในหนังหลายๆเรื่องในเทศกาล Signes de Nuit ปีนี้ ซึ่งภาพกลุ่มนี้ยังแยกย่อยออกไปอีกได้เป็น
1.2.1 ภาพที่มีความเข้มข้นสูง
หรือเต็มไปด้วยรายละเอียดยิบย่อยมากมาย
หรือมีการตัดสลับภาพที่แตกต่างกันหลายภาพในระหว่างการเล่าเรื่อง อย่างเช่นภาพใน THE
GOLDEN LEGEND (2015, Olivier Smolders), BLIGHT (1996, John Smith, UK),
DECODINGS (1988, Michael Wallin)
1.2.2 ภาพที่มีความเข้มข้นต่ำ
ซี่งส่วนใหญ่จะเป็นภาพบรรยากาศ ภาพที่เหมือนไม่ค่อยมีอะไรอยู่ในภาพมากนัก ภาพที่ดู
minimal ซึ่งในกลุ่มนี้เราอาจจะแบ่งออกไปอีกได้เป็น
1.2.2.1 หนังที่ใช้ภาพกลุ่มนี้ได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพมากนัก
อย่างเช่น THE SUICIDE FOREST, MEMENTO MORI, THE ATOM STATION,
CONTINENTAL DRIFT, LETTERS OF WAR, AMONG US, MARS CLOSER, MOST OF US DON’T LIVE
THERE ในเทศกาล Signes de Nuit ปีนี้
1.2.2.2
หนังที่ใช้ภาพกลุ่มนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากๆ อย่างเช่น หนังของ Marguerite
Duras, หนังของ Chantal Akerman, หนังเรื่อง A
WOMAN AND HER CAR (2015, Loic Darses) และ ANAHI
คือเรารู้สึกว่า ผู้กำกับ ANAHI
เขาคิดภาพมาดีมากๆน่ะ
เขาไม่ได้ใช้ภาพในการเล่าเรื่องอย่างตรงไปตรงมา
แต่เขาสร้างสรรค์ภาพที่ทรงพลังขึ้นมาใช้ประกอบหนังของเขา
ซึ่งเป็นภาพเด็กหญิงตัวเล็กๆคนหนึ่งยืนกระสับกระส่ายเป็นเวลา 12 นาทีอยู่ด้านหลังกระจกที่มีฝ้าน้ำเกาะอยู่
ในขณะที่ผู้ชมได้ยินเสียงโทรศัพท์จากแม่ของเด็กหญิงเป็นระยะๆ
คือถ้าหากเป็นหนังทั่วไป หนังก็อาจจะนำเสนอภาพคุณแม่โทรศัพท์มาหา
และภาพเด็กหญิงรับโทรศัพท์อย่างตรงไปตรงมาเลย ซึ่งมันจะส่งผลให้หนังไม่ทรงพลัง
หรือถ้าหากเป็นหนังทดลองที่ผู้กำกับไม่เก่งพอ
เขาก็อาจจะเลือกใช้ภาพบรรยากาศของสถานที่อยู่ของตัวละคร
หรือภาพกิจวัตรประจำวันของเด็กหญิงคนนี้
ซึ่งถ้าหากมันเป็นภาพที่ไปคล้ายกับหนังทดลองเรื่องอื่นๆ หรือเป็นภาพที่ไม่ตราตรึงใจมากพอ
หนังมันก็จะไม่ทรงพลังแบบนี้
แต่เราว่าภาพใน ANAHI
มันทรงพลังมากน่ะ มันไม่คล้ายคลึงภาพที่เราพบในหนังทดลองเรื่องอื่นๆ
มันเป็นภาพที่น่าสนใจ มันมีทั้ง “ความหยุดนิ่ง” และ “ความเป็นอิสระ หรือความเป็นธรรมชาติ” อยู่ในขณะเดียวกัน และมันเป็นภาพที่เชื่อมโยงกับเนื้อเรื่องในแบบไม่ตรงไปตรงมาเสียทีเดียว
เราก็เลยรู้สึกว่าผู้กำกับเขาออกแบบภาพมาได้ดีมากๆ
2.ปกติแล้วเราไม่ชอบเด็กเล็กนะ
แต่หนังเรื่องนี้ทำให้เราจ้องมองเด็กหญิงตัวเล็กๆเป็นเวลาติดต่อกัน 12 นาทีได้โดยไม่รู้สึกเบื่อหน่ายอย่างรุนแรง เพราะว่า
2.1 มันไม่ได้ขาย “ความน่ารัก”
ของเด็กน่ะ คือเราว่าสาเหตุที่เราไม่ชอบเด็กในหนังส่วนใหญ่
เป็นเพราะมันพยายามจะขายความน่ารักของเด็ก แต่หนังเรื่องนี้ไม่ได้เข้าข่ายนั้น
2.2 หนังเรื่องนี้ไม่ได้ขาย “ความสามารถทางการแสดง”
ของเด็กด้วย เพราะเด็กในหนังเรื่องนี้ไม่ได้แสดงเป็นตัวละครที่ต้องพูดหรือแสดงอารมณ์ตามบทบาทที่ได้รับมา
แต่เหมือนกับว่าเธอยืนกระสับกระส่ายไปเรื่อยๆ นานถึง 12 นาที
โดยเราไม่รู้ว่าเธอยืนไปเรื่อยๆโดยไม่มีบท
หรือว่าผู้กำกับสั่งให้เธอทำท่าทำทางตามที่บอกไปเรื่อยๆ
แต่เราว่าน่าจะเป็นประการแรกมากกว่า
การที่เด็กหญิงในหนังเรื่องนี้ ไม่ได้อยู่ใน “กรอบของความน่ารัก” และ “กรอบของการเล่นไปตามบทบาทตัวละคร” มันเลยทำให้เรารู้สึกว่ามันมีความเป็นธรรมชาติที่น่าสนใจบางอย่างในการแสดงของเธอน่ะ
เราก็เลยไม่ได้เบื่อการที่ต้องจ้องมองเด็กหญิงคนนี้
2.3 เราชอบพวกฝ้าน้ำ หยดน้ำอะไรพวกนี้เป็นทุนเดิมอยู่แล้วด้วย
เพราะฉะนั้นการที่ภาพของเด็กหญิงถูกบดบังด้วยฝ้าน้ำ หยดน้ำ
ที่มีการเคลื่อนไหวทีละเล็กทีละน้อย มันก็เลยช่วยเพิ่มความสวยงาม, ลดความน่าเบื่อ และอาจจะกระตุ้นความคิดไปด้วยในขณะเดียวกัน
3.การที่ผู้ชมถูกบังคับให้จ้องมองภาพที่แทบไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงเลยเป็นเวลานาน
12 นาที
ในแง่นึงมันอาจจะช่วยนำเสนอความทรมานหรือความเบื่อหน่ายของตัวละครได้ด้วย
4.อีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้ชอบ ANAHI ก็คือว่า จริงๆแล้วประเด็นเรื่อง “การต้องใช้ชีวิตอยู่ห่างจากแม่ผู้เป็นที่รักยิ่ง”
มันเคยถูกนำเสนอมาแล้วในหนังทดลองที่ดีมากๆสองเรื่อง แต่ ANAHI
ก็สามารถสร้างความแตกต่างจากหนังสองเรื่องนั้นได้
โดยหนังสองเรื่องนั้นก็คือ
4.1 0016643225059 (1994, Apichatpong Weerasethakul)
4.2 NEWS FROM HOME (1977, Chantal Akerman)
4.2 NEWS FROM HOME (1977, Chantal Akerman)
Labels:
COLOMBIA,
EXPERIMENTAL,
FEELINGS AND OPINIONS,
LATIN AMERICA,
SHORT FILM
Tuesday, March 22, 2016
HANA'S MISO SOUP (2015, Tomoaki Akune, Japan , A+5)
HANA'S
MISO SOUP (2015, Tomoaki Akune, Japan , A+5)
1.เราว่ามันเป็นหนังที่โอเค ใช้ได้ในแนวทางของมันนะ
แต่เราจูนกับหนังไม่ได้เลย เพราะมันไม่ใช่หนังในแนวทางของเราน่ะ
เรารู้สึกว่ามันเป็นหนังที่มีพลังในทางบวกสูงเกินไปสำหรับเรา
มันเป็นหนังที่ให้กำลังใจในการสู้ชีวิต
และให้กำลังใจในการมีชีวิตอยู่เพื่อคนอื่นซึ่งมันตรงข้ามกับหนังในแนวทางที่เราชอบ
ที่มักจะเป็นหนังเกี่ยวกับคนที่ไม่ต้องการจะมีชีวิตอยู่อีกต่อไป อย่างเช่น LE
FEU FOLLET (Louis Malle) หรือหนังเกี่ยวกับคนที่พยายามจะมีชีวิตอยู่เพื่อแก้แค้น อย่างเช่น THE REVENANT
2.
แต่ก็มี moment ที่เราชอบสุดๆในหนังเรื่องนี้นะ
นั่นก็คือ moment ที่นางเอกตื่นนอนขึ้นมาตอนบ่าย
แล้วเห็นสามีนอนอ่านหนังสือ
ส่วนลูกสาวก็ทำอาหารหรือง่วนอยู่กับการทำกิจกรรมอะไรบางอย่าง เราว่า moment
นี้มันงดงามสุดๆ
3.
เราว่าหนังเรื่องนี้มันจะเข้าทางเรา
ถ้าหากหนังทั้งเรื่องมันเลือกเล่าเหตุการณ์ชีวิตนางเอกเพียงแค่วันนั้นวันเดียว
แทนที่จะเล่าชีวิตยาวๆหลายปีแบบนี้น่ะ โดยอาจใช้โครงสร้างการเล่าเรื่องแบบ CLEO
FROM 5 TO 7 (1962, Agnes Varda) ผสมกับ THE FAREWELL --
BERTOLT BRECHT'S LAST SUMMER (2000, Jan Schutte) คือแค่แสดงให้เห็นกิจวัตรประจำวันในวันธรรมดาวันหนึ่งในชีวิตตอนนั้นของนางเอก
เห็นนางเอกเขียน blog , ไปหาหมอ, เจ็บปวดจากโรคมะเร็ง,
นอนหลับยามบ่าย, ตื่นขึ้นมามองดูสามีอ่านหนังสือ,
มองดูลูกทำการบ้าน, คุยโทรศัพท์กับเพื่อนที่ประสบความสำเร็จในชีวิต,
มองดูแสงแดดยามเย็น พร้อมกับระลึกรู้ตัวอยู่ตลอดเวลาว่า
อีกไม่กี่เดือนข้างหน้า เราก็จะไม่มีชีวิตอยู่เพื่อทำกิจวัตรประจำวันแบบนี้
ไม่มีโอกาสได้มองลูก มองสามี และมองแสงแดดยามบ่ายกับยามเย็นแบบนี้อีกตลอดไป
สรุปว่าหนังเรื่องนี้ใช้ได้ แต่ไม่ใช่สไตล์เรา
แต่ถ้าหากหนังเล่าเรื่องเพียงแค่วันเดียวในชีวิตนางเอกตามที่เราจินตนาการมาข้างต้น
มันจะเป็นหนังสไตล์เราในทันที
BANGKOK 13 (2016, Dulyasit Niyomgul
, A-)
ดูแล้วเฉยๆค่ะ
PHOENIX (2014, Christian Petzold, Germany, A+30)
PHOENIX
(2014, Christian Petzold, Germany, A+30)
1.หนังของ Christian Petzold หลายเรื่องที่เราได้ดูมา
ทั้ง PHOENIX, BEATS BEING DEAD (2011), JERICHOW (2008), GHOSTS (2005) และ THE STATE I AM IN (2000) ทำให้เรารู้สึกแบบเดียวกัน
นั่นก็คือรู้สึก “เจ็บปวดสุดๆ แต่ร้องไห้ไม่ออก” ซึ่งมันเป็นความรู้สึกที่ประหลาดดี และพบไม่ได้ในหนังทั่วๆไป
คือมีหนังหลายเรื่องที่เราดูแล้วร้องห่มร้องไห้อย่างรุนแรง อย่างเช่น DIVINE
INTERVENTION (2002, Elia Suleiman) แต่ความเจ็บปวดในหนังของ Petzold
มันส่งผลกระทบต่อเราในแบบที่ unique ดี
นั่นก็คือเราจะรู้สึกเจ็บปวดกับมันอย่างมากๆ แต่มันเหมือนกับร้องไห้ไม่ออก
แต่ก็มียกเว้นเรื่อง
YELLA (2007) นะ เราชอบ YELLA มากๆ แต่มันไม่ได้ทำให้เราเจ็บปวดแบบหนังเรื่องอื่นๆของ Petzold
ส่วน BARBARA (2012) นั้น เรายังไม่ได้ดูจ้ะ
SPOILERS
ALERT
--
--
--
--
--
2.รู้สึกว่าจริงๆแล้วหนังหลายเรื่องของ Petzold มันมีอะไรเปรียบเทียบกันได้เยอะมากๆ แต่คงต้องให้นักวิจารณ์คนอื่นๆเป็นคนเขียนวิเคราะห์อะไรพวกนี้อย่างละเอียด และบทวิเคราะห์อะไรแบบนี้มันจะเป็นการ spoil หนังทุกเรื่องของ Petzold 555
--
--
--
--
--
2.รู้สึกว่าจริงๆแล้วหนังหลายเรื่องของ Petzold มันมีอะไรเปรียบเทียบกันได้เยอะมากๆ แต่คงต้องให้นักวิจารณ์คนอื่นๆเป็นคนเขียนวิเคราะห์อะไรพวกนี้อย่างละเอียด และบทวิเคราะห์อะไรแบบนี้มันจะเป็นการ spoil หนังทุกเรื่องของ Petzold 555
สิ่งที่น่านำมาเปรียบเทียบกันก็มีเช่น
2.1
การไม่เห็น “ปาน” (ถ้าจำไม่ผิด)
ที่บ่งบอก identity ของนางเอกใน GHOSTS และการเห็นรอยสักของนางเอกใน PHOENIX ซึ่ง “สัญลักษณ์บนร่างกาย” ของนางเอกทั้งสองเรื่องนี้
มันคือเครื่องยืนยัน identity ของคนทั้งคู่ และมันสามารถพลิกชีวิตของคนทั้งคู่ได้อย่างรุนแรง
แต่เพราะเหตุใด Petzold ถึงซ่อนปานของนางเอกใน GHOSTS
แต่เปิดเผยรอยสักของนางเอกใน PHOENIX
2.2
การเปรียบเทียบตัวละครนางเอก PHOENIX กับ GHOSTS
ในแง่ “ผู้มีสิทธิได้รับมรดก”
2.3
การเปรียบเทียบตัวละคร Lene Winter ใน PHOENIX
กับตัวละครชายชาวตุรกีใน JERICHOW เพราะตัวละครทั้งสองตัวนี้เป็นเหมือนส่วนหนึ่งของรักสามเส้า
แต่ก็เป็นส่วนเกินในรักสามเส้าเหมือนๆกัน
2.4
การเปรียบเทียบตอนจบของ PHOENIX กับตอนจบของ THE
STATE I AM IN ในแง่ “การตั้งต้นชีวิตใหม่”
และ “การปลดแอกจากอดีต”
2.5
เปรียบเทียบพระเอกของ PHOENIX, JERICHOW, YELLA ในแง่ “ผู้ชายที่ใช้ผู้หญิงเป็นเครื่องมือทางการเงิน”
3.ชอบสภาวะ “ความจริงกระแทกหน้ามึงแล้ว
แต่มึงก็ยังไม่เห็นความจริง” ของทั้งพระเอกนางเอกใน PHOENIX
คือพระเอกเห็นเมียอยู่ต่อหน้าตลอดเวลา
แต่ก็เหมือนมีกลไกทางจิตวิทยาบางอย่างมาบังตาเขาไว้จากการตระหนักว่า
นั่นคือเมียตัวจริงของเขา ส่วนนางเอกก็เหมือนจะเห็นความจริงอยู่ต่อหน้าว่า
ผัวเธอเป็นคนอย่างไร แต่เธอก็ไม่ยอมรับความจริงนั้น
Subscribe to:
Posts (Atom)