THE
EXQUISITE CORPUS (2015, Peter Tscherkassky, Austria, A+30)
1.เป็นหนังเรื่องแรกในชีวิต ที่เราดูแล้วรู้สึกว่า “ฟิล์มภาพยนตร์” มันกำลังมีเพศสัมพันธ์กัน
คือในขณะที่หนังทั่วไปนำเสนอ “ภาพตัวละครขณะกำลังมีเพศสัมพันธ์กัน”
แต่หนังเรื่องนี้ (และหนังทดลองบางเรื่อง) ไม่ได้ให้ความสำคัญกับ “ตัวละคร” หรือ “ภาพตัวละคร”
มากเท่ากับการให้ความสำคัญกับ “ฟิล์มภาพยนตร์”
และ “ความเป็นวัตถุของฟิล์มภาพยนตร์”
และหนังเรื่องนี้ก็เรียงร้อย found footage จากหนังอีโรติกหลายเรื่องเข้าด้วยกัน
โดยในหลายๆครั้งเราจะเห็นหน้าจอถูกแบ่งออกเป็นหลายกรอบ และในบางครั้ง
กรอบแต่ละกรอบอาจจะนำเสนอภาพจากหนังคนละเรื่อง, หรือในบางครั้งกรอบแต่ละกรอบอาจจะนำเสนอภาพจากหนังเรื่องเดียวกัน
แต่คนละซีน หรือซีนเดียวกัน แต่มีการเหลื่อมเวลาเล็กน้อย
เพื่อให้เกิดจังหวะประหลาดๆ และนอกจากการแบ่งภาพบนจอออกเป็นหลายกรอบแล้ว
หนังยังมีการซ้อนเหลื่อมภาพกันอีกด้วย
และในช่วงเวลาที่อาจจะเรียกได้ว่าเป็นจุด climax สำหรับเราในหนังเรื่องนี้
คือช่วงที่หนังนำเสนอภาพจากหลายๆกรอบหลายๆซีนพร้อมๆกันบนหน้าจอเดียวกัน
โดยมีการทำเทคนิคบางอย่างที่ทำให้เรารู้สึกเหมือนกับว่า ฟิล์มภาพยนตร์จากหนังราว 5-10
เรื่องกำลังร่วมรักกันอยู่บนจอ คือไม่ใช่ตัวละครจากหนังหลายๆเรื่องมาสังวาสกันนะ
แต่มันเหมือนกับว่า ฟิล์มภาพยนตร์ได้กลายเป็นสิ่งมีชีวิต และมันทำขยับเพยิบ
และเล็ม สัมผัสกัน และทำกิจกรรมหรรษากันบนจอด้วยจังหวะที่เร่งเร้าขึ้นเรื่อยๆ
แน่นอนว่าอะไรแบบนี้เป็นประสบการณ์ที่เราไม่เคยเจอมาก่อนในชีวิต
และก็ต้องกราบตีน Peter Tscherkassky จริงๆที่สามารถคิดทำอะไรแบบนี้ขึ้นมาได้
2.
อย่างไรก็ดี หลังจาก COMING ATTRACTIONS (2010, Peter
Tscherkassky) ติดอันดับหนึ่งประจำปี 2012 ของเราไปแล้ว
การได้ดู THE EXQUISITE CORPUS กลับไม่ทำให้เราตกตะลึงพรึงเพริดอย่างรุนแรงเหมือนกับตอนที่ได้ดู
COMING ATTRACTIONS ซึ่งสาเหตุสำคัญอาจจะเป็นเพราะว่า
เราคาดการณ์เอาไว้แล้วว่าหนังมันคงออกมาเป็นแบบนี้น่ะ
คือตอนที่เราดู COMING
ATTRACTIONS เราแทบไม่เคยเจออะไรแบบนี้มาก่อนมั้ง มันเป็นการเอาคลิป
found footage มาเรียงร้อยต่อกันในแบบที่ hyperbolic
paraboloid มากๆ หรือพิศวงงงงวยมากๆ
คือดูจบแล้วไม่สามารถตอบได้แต่อย่างใดว่า สิ่งที่เราดูไปแล้วมันเกี่ยวกับอะไร
ตอบได้แต่ว่าการได้ดูฉากอะไรต่างๆเหล่านี้มาเรียงร้อยต่อกันมันทำให้เรารู้สึกดีสุดๆ
แต่พอได้ดู THE
EXQUISITE CORPUS เราก็ชอบสุดๆเหมือนกันน่ะแหละ
เพราะหนังเรื่องนี้มันก็งดงามมากๆ rich มากๆ
ละเอียดประณีตมากๆ แต่เราไม่ได้ “ตกตะลึงพรึงเพริด” กับมันอีกต่อไปแล้วน่ะ เพราะมันเป็นวิธีการที่คล้ายกับที่เราเคยเห็นมาแล้ว
หรือไม่ได้เกินความคาดหมายของเราอีกต่อไป
คือถึงแม้การได้ดูฟิล์มภาพยนตร์มีอะไรกันบนจอ
จะเป็นสิ่งที่เราไม่เคยเห็นมาก่อนในชีวิตก็จริง แต่ตัวหนังโดยรวมๆแล้ว
มันไม่ใช่สิ่งที่เกินความคาดหมายของเรามากนักน่ะ
ไอ้ความรู้สึกแบบนี้ มันคล้ายๆกับความรู้สึกที่เราเคยมีต่อ Alain Robbe-Grillet และ Philippe Grandrieux
เหมือนกันนะ
คือถ้าหากพูดถึงประสบการณ์การดูหนังของเราแล้ว ประสบการณ์การดูหนังที่ทำให้เรารู้สึก
“รุนแรงที่สุดในชีวิต” ของเรา คือการได้ดูหนังเรื่อง EDEN AND AFTER (1970, Alain
Robbe-Grillet) ที่สมาคมฝรั่งเศสในปี 1997 และการได้ดูหนังเรื่อง
SOMBRE (1998, Philippe Grandrieux) ที่เซ็นทรัลพระรามสามในปี
2000 น่ะ คือตอนที่เราได้ดูหนังสองเรื่องนี้ เรารู้สึกเหมือน
“หัวหลุดออกจากตัว” หรือรู้สึกเหมือน “ร่างกายถูกฉีกออกเป็นเสี่ยงๆ” หรือรู้สึกอะไรที่รุนแรงสุดๆมากๆ
เพราะมันเป็นอะไรที่เราไม่เคยเจอมาก่อน แต่เป็นสิ่งที่โดนใจเรา
ถูกต้องตรงตามรสนิยมเราอย่างสุดๆจริงๆ
แต่หลังจากนั้นอีกหลายปีต่อมา พอเราได้ดู LA BELLE CAPTIVE (1983, Alain Robbe-Grillet) และ A
LAKE (2008, Philippe Grandrieux) เราก็พบว่า
หนังสองเรื่องนี้ไม่สามารถทำให้เราเกิดภาวะรุนแรงสุดๆได้เหมือน EDEN AND
AFTER กับ SOMBRE น่ะ คือเราชอบ LA
BELLE CAPTIVE กับ A LAKE อย่างสุดๆก็จริง
แต่มัน “ไม่เกินความคาดหมาย” ของเราอีกต่อไป
เพราะเราพอจับทางผู้กำกับได้แล้ว อะไรทำนองนี้
3.อีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เราไม่ได้ชอบ THE
EXQUISITE CORPUS มากที่สุดในเทศกาล Signes de Nuit อาจจะเป็นเพราะเรื่องของรสนิยมทางเพศด้วย 555
คือพอดูหนังเรื่องนี้เสร็จ แล้วได้คุยกับเพื่อนนักดูหนังที่เป็นผู้ชาย
เราก็พบว่า หลายๆอย่างในหนังเรื่องนี้เราคงไม่สามารถเข้าใจได้ด้วยตัวเองแน่ๆ
เพราะมันเป็นการสำรวจความสัมพันธ์ระหว่างภาพกับความปรารถนาทางเพศของผู้ชมที่เป็นผู้ชายน่ะ
อย่างเช่นประเด็นหนึ่งของหนังเรื่องนี้ก็คือว่า
ภาพร่างกายที่เราเห็นหมดทั้งตัว
อาจจะไม่ได้ส่งผลกระทบทางอารมณ์ต่อผู้ชมมากเท่ากับภาพวับๆแวมๆ
เปิดปิดบางส่วนของร่างกายน่ะ อย่างเช่นภาพหญิงสาวที่สะบัดกระโปรงชะเวิบชะวาบไปมา
สามารถส่งผลกระทบทางอารมณ์ได้มากกว่าภาพร่างกายหญิงสาวที่เห็นหมดทั้งตัวเสียอีก
ซึ่งตอนที่เราดูหนังเรื่องนี้ เราไม่ได้คิดถึงประเด็นนี้เลย
เพราะไม่ว่าจะเป็นภาพหญิงสาวที่เห็นหรือไม่เห็นร่างกายส่วนไหน
เราก็รู้สึกเฉยๆกับมัน 555
4.ชอบการเลือกซีนต่างๆจากหนังเก่าในหนังเรื่องนี้มากๆ
โดยเฉพาะซีนหญิงสาวยิ้มยั่วที่ประตู หรือหญิงสาวผวาลุกจากเตียงนอนกลางดึก
คือบางซีนนี่มันทรงพลังสุดๆ ตราตรึงสุดๆ
โดยที่เราไม่ต้องรู้เนื้อหาของหนังเก่าเรื่องนั้นเลย คือแค่ได้เห็น “อากัปกิริยาการยิ้ม” โดยไม่ต้องรู้เนื้อเรื่อง
มันก็เป็นภาพที่สุดแสนจะทรงพลังแล้ว
5.ตอนนี้ผู้กำกับหนังไทยที่สามารถต่อกรกับ Peter
Tscherkassky ได้ อาจจะมีแต่ Taiki Sakpisit เท่านั้น
No comments:
Post a Comment