PHOENIX
(2014, Christian Petzold, Germany, A+30)
1.หนังของ Christian Petzold หลายเรื่องที่เราได้ดูมา
ทั้ง PHOENIX, BEATS BEING DEAD (2011), JERICHOW (2008), GHOSTS (2005) และ THE STATE I AM IN (2000) ทำให้เรารู้สึกแบบเดียวกัน
นั่นก็คือรู้สึก “เจ็บปวดสุดๆ แต่ร้องไห้ไม่ออก” ซึ่งมันเป็นความรู้สึกที่ประหลาดดี และพบไม่ได้ในหนังทั่วๆไป
คือมีหนังหลายเรื่องที่เราดูแล้วร้องห่มร้องไห้อย่างรุนแรง อย่างเช่น DIVINE
INTERVENTION (2002, Elia Suleiman) แต่ความเจ็บปวดในหนังของ Petzold
มันส่งผลกระทบต่อเราในแบบที่ unique ดี
นั่นก็คือเราจะรู้สึกเจ็บปวดกับมันอย่างมากๆ แต่มันเหมือนกับร้องไห้ไม่ออก
แต่ก็มียกเว้นเรื่อง
YELLA (2007) นะ เราชอบ YELLA มากๆ แต่มันไม่ได้ทำให้เราเจ็บปวดแบบหนังเรื่องอื่นๆของ Petzold
ส่วน BARBARA (2012) นั้น เรายังไม่ได้ดูจ้ะ
SPOILERS
ALERT
--
--
--
--
--
2.รู้สึกว่าจริงๆแล้วหนังหลายเรื่องของ Petzold มันมีอะไรเปรียบเทียบกันได้เยอะมากๆ แต่คงต้องให้นักวิจารณ์คนอื่นๆเป็นคนเขียนวิเคราะห์อะไรพวกนี้อย่างละเอียด และบทวิเคราะห์อะไรแบบนี้มันจะเป็นการ spoil หนังทุกเรื่องของ Petzold 555
--
--
--
--
--
2.รู้สึกว่าจริงๆแล้วหนังหลายเรื่องของ Petzold มันมีอะไรเปรียบเทียบกันได้เยอะมากๆ แต่คงต้องให้นักวิจารณ์คนอื่นๆเป็นคนเขียนวิเคราะห์อะไรพวกนี้อย่างละเอียด และบทวิเคราะห์อะไรแบบนี้มันจะเป็นการ spoil หนังทุกเรื่องของ Petzold 555
สิ่งที่น่านำมาเปรียบเทียบกันก็มีเช่น
2.1
การไม่เห็น “ปาน” (ถ้าจำไม่ผิด)
ที่บ่งบอก identity ของนางเอกใน GHOSTS และการเห็นรอยสักของนางเอกใน PHOENIX ซึ่ง “สัญลักษณ์บนร่างกาย” ของนางเอกทั้งสองเรื่องนี้
มันคือเครื่องยืนยัน identity ของคนทั้งคู่ และมันสามารถพลิกชีวิตของคนทั้งคู่ได้อย่างรุนแรง
แต่เพราะเหตุใด Petzold ถึงซ่อนปานของนางเอกใน GHOSTS
แต่เปิดเผยรอยสักของนางเอกใน PHOENIX
2.2
การเปรียบเทียบตัวละครนางเอก PHOENIX กับ GHOSTS
ในแง่ “ผู้มีสิทธิได้รับมรดก”
2.3
การเปรียบเทียบตัวละคร Lene Winter ใน PHOENIX
กับตัวละครชายชาวตุรกีใน JERICHOW เพราะตัวละครทั้งสองตัวนี้เป็นเหมือนส่วนหนึ่งของรักสามเส้า
แต่ก็เป็นส่วนเกินในรักสามเส้าเหมือนๆกัน
2.4
การเปรียบเทียบตอนจบของ PHOENIX กับตอนจบของ THE
STATE I AM IN ในแง่ “การตั้งต้นชีวิตใหม่”
และ “การปลดแอกจากอดีต”
2.5
เปรียบเทียบพระเอกของ PHOENIX, JERICHOW, YELLA ในแง่ “ผู้ชายที่ใช้ผู้หญิงเป็นเครื่องมือทางการเงิน”
3.ชอบสภาวะ “ความจริงกระแทกหน้ามึงแล้ว
แต่มึงก็ยังไม่เห็นความจริง” ของทั้งพระเอกนางเอกใน PHOENIX
คือพระเอกเห็นเมียอยู่ต่อหน้าตลอดเวลา
แต่ก็เหมือนมีกลไกทางจิตวิทยาบางอย่างมาบังตาเขาไว้จากการตระหนักว่า
นั่นคือเมียตัวจริงของเขา ส่วนนางเอกก็เหมือนจะเห็นความจริงอยู่ต่อหน้าว่า
ผัวเธอเป็นคนอย่างไร แต่เธอก็ไม่ยอมรับความจริงนั้น
No comments:
Post a Comment