Films seen in the Signes de Nuit Film Festival in Bangkok 2016
หนังที่ได้ดูในเทศกาลนี้
(in roughly preferential order)
1.KINGS OF NOWHERE (2015, Betzabé Garcia, Mexico, documentary,
A+30)
2.A WOMAN AND HER CAR (2015, Loic Darses, Canada, documentary,
A+30)
3.SEA OF ASH (2015, Michael MacGarry, South Africa, A+30)
4.THE GOLDEN LEGEND (2015, Olivier Smolders, Belgium, A+30)
5.OUR TERRIBLE COUNTRY (2014, Mohammad Ali Atassi + Ziad Homsi,
Syria, documentary, A+30)
6.ELEPHANT (2014, Mona Kakanj, Germany, A+30)
7.THE EXQUISITE CORPUS (2015, Peter Tscherkassky, Austria, A+30)
8.ANAHI (2014, Camila Rodriguez Triana, Colombia, A+30)
9.SYMBOLIC THREATS (2015, Matthias Wermke + Lutz Henke + Mischa
Leinkauf, documentary, Germany, A+30)
10.AMONG US (2014, Guido Hendrikx, Netherlands, documentary, A+30)
11.THE REFLECTION OF POWER (2015, Mihai Grecu, France, A+30)
12.EXTRAORDINARY TALES FROM A YOUNG FEMALE TEAM CHAPTER 1: THE
ARACHNIDS (2015, Tom Espinoza, Argentina/Venezuela, A+30)
13.DREAM REEL (2015, Sam Barnes, Australia, A+30)
14.SOUL MATE (2014, Adnan Jetto, Syria, documentary, A+30)
15.THE DOLLHOUSE (2014, Chad Galloway + Heather Benning, Canada,
A+30)
16.BEHEMOTH – OR THE GAME OF GOD (2015, Lemohang Jeremiah Mosese,
Lesotho, A+25)
17.POLDING’S GUN WITH NO GUNPOWDER (2014, Albert Egot, Philippines,
documentary, A+25)
18.WAYWARD (2014, Kira Richards Hansen, Denmark, A+25)
19.MOST OF US DON’T LIVE THERE (2015, Laura Marie Wayne, Canada,
documentary, A+25)
20.NATURAL HISTORY (2014, Júlio Cavani, Brazil, A+25)
21.TIMES OF COMPETITION (2015, Toti Loureiro + Ruy Prado, Brazil,
A+25)
22.RESTART (2015, Olga Osorio, Spain, A+25)
23.SOMETHING ABOUT SILENCE (2015, Patrick Buhr, Germany, animation,
A+25)
24.A GIRL’S DAY (2014, Rosa Hannah Ziegler, Germany, A+25)
25.SIMPLE STORY, MINE, YOURS AND M’S (2015, Atefeh Yarmohammadi,
Iran, documentary, A+20)
26.FATHER (2015, Davit Pirtskhalava, Georgia, A+20)
27.WISHING WELL (2015, Julia Finkernagel, Germany, A+20)
28.THE SILENT (2015, Toni Tikkanen, Finland, A+15)
29.LETTERS OF WAR (2015, Bruna Carvalho Almeida, Brazil, A+15)
30.CONTINENTAL DRIFT (2015, Nayeem Mahbub, Bangladesh/Belgium,
A+10)
31.INVOCATION TO SLEEP (2015, Ewa Wikiel, Germany, A+10)
32.CIRCADIAN RHYTHMS (2015, Tom Bailey, UK, A+)
33.MARS CLOSER (2015, Annelie Boros + Vera Brueckner, Germany, A)
34.THE ATOM STATION (2015, Nick Jordan, Iceland, A)
35.SELF DISS PLAYED (2015, Isabella Gressner, Germany, A)
36.AOKIGAHARA (THE SUICIDE FOREST) (2015, Joaquin Manuel + Ramos
Carvallo, Spain/Japan, A)
37.MEMENTO MORI (2015, Nina
Schiena, Germany, A-)
จริงๆแล้วหนังในเทศกาลปีนี้หลายเรื่องมีปัญหาเรื่อง
“การถ่ายภาพบรรยากาศ” นะ เพราะมันมีหนังหลายเรื่องในเทศกาลนี้ที่เล่าเรื่องด้วย voiceover แล้วนำมาประกอบเข้ากับการถ่ายภาพบรรยากาศ
ท้องทุ่ง วิวทิวทัศน์อะไรทำนองนี้ ซึ่งมันจะทำให้คล้ายๆกับปัญหาที่เคยเจอกับหนังบางเรื่องของกลุ่มไทยอินดี้เมื่อราว
8-10 ปีก่อน ที่มันทำออกมาคล้ายๆกันไปหมดเลย จนเราจำ “ภาพ” ของหนังเรื่องไหนไม่ได้
เพราะทุกเรื่องถ่ายภาพต้นไม้ใบหญ้ามาประกอบเข้ากับเรื่องเล่าของตนเองเหมือนกันหมด
ซึ่งจริงๆแล้วโดยปกติวิธีการนี้เป็นวิธีการที่ดีกว่า การทำภาพให้ตรงกับเรื่องเล่าแบบตรงไปตรงมานะ
เพราะถ้าเสียงมันเล่าเรื่องไปแล้ว ภาพก็ไม่จำเป็นต้องตรงกับเสียงก็ได้
เพราะมันจะทำให้ตรงกันไปทำไมโดยไม่มีความจำเป็น
ซึ่งหนังที่ใช้วิธีการแบบนี้ได้ดีที่สุดก็คือ AGATHA AND THE UNLIMITED READINGS
(1981, Marguerite Duras, 90min) และ THE TRUCK (1977,
Marguerite Duras, 76min) ที่เล่าเรื่องผ่านทางเสียง voiceover
เท่านั้น
ส่วนคนดูจะได้เห็นแต่ภาพของท้องทะเลและชายหาดเกือบตลอดทั้งเรื่องใน AGATHA
AND THE UNLIMITED READINGS และได้เห็นแต่วิวทิวทัศน์สองข้างถนนเกือบตลอดทั้งเรื่องใน
THE TRUCK
แต่บางที การทำตามวิธีการที่โอเค ผลที่ได้ก็อาจออกมาไม่โอเคเสมอไป ซึ่งเราคิดว่า
อาจจะเป็นเพราะ
1.ผู้กำกับหนังบางคนอาจจะยังค้นไม่พบวิธีการที่เหมาะกับตนเองจริงๆ
โดยเฉพาะผู้กำกับหน้าใหม่ บางทีเขาอาจจะชอบหนังทดลองแนวนี้ เขาก็เลยลองทำตามวิธีการในหนังทดลองที่เขาชอบ
แต่บางทีนี่อาจจะไม่ใช่วิธีการที่เหมาะกับเขาจริงๆ เขาควรจะลองหันไปใช้วิธีการนำเสนอแบบอื่นๆ
เพื่อค้นหาแนวทางที่เหมาะกับตนเองจริงๆ
2.หรือบางทีนี่อาจจะเป็นวิธีการที่เหมาะกับเขาก็ได้
แต่เขายังไม่เชี่ยวพอเรื่องการถ่ายภาพบรรยากาศ ถ้าหากเขาพัฒนาต่อไปอีกหน่อย
เขาอาจจะถ่ายภาพบรรยากาศได้ทรงพลังมากขึ้น หรือรู้ว่าควรจะถ่ายภาพอะไรเพื่อนำมา match กับเสียงแล้วจะเกิดปฏิกิริยาที่รุนแรงขึ้นมา
หรือรู้ว่าควรจะตัดต่อร้อยเรียงยังไงเพื่อทำให้เกิด “จังหวะ” ที่ลงตัว
คือแค่ถ่ายภาพบรรยากาศสวยๆอย่างเดียวยังไม่พอ มันต้องรู้วิธีการตัดต่อให้เกิดจังหวะที่ทรงพลังด้วย
โดยเฉพาะถ้าหากรักจะทำหนังทดลองเชิงกวี
คือเราก็ตอบไม่ได้นะว่า ทำไม Marguerite Duras, Teeranit Siangsanoh, Chantal
Akerman (NEWS FROM HOME) ใช้ภาพบรรยากาศ + เสียงเล่าเรื่อง
แล้วมันถึงออกมาทรงพลังสุดๆ เหมือนกับว่าผู้กำกับสามคนนี้ผสมภาพกับเสียงเข้าด้วยกัน
แล้วมันเกิดระเบิดไฮโดรเจนขึ้นมา แต่ผู้กำกับบางคนทำคล้ายๆกัน
ผสมภาพกับเสียงในแบบที่คล้ายกับสามคนข้างต้น แต่มันไม่เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์
มันกลับได้ออกมาเป็น “น้ำเปล่า” หรือถ้าดีหน่อยก็ได้ออกมาเป็น “น้ำอัดลม”
อะไรทำนองนี้
หนังในเทศกาลนี้ที่เราว่าประสบปัญหา “ใช้ภาพได้ไม่ทรงพลังสุดๆ”
ตามที่เล่ามาข้างต้นก็มีอย่างเช่นเรื่อง THE SUICIDE FOREST, MEMENTO MORI, THE ATOM
STATION, CONTINENTAL DRIFT, LETTERS OF WAR, AMONG US, MARS CLOSER, MOST OF US
DON’T LIVE THERE โดยเฉพาะในกรณีของ THE SUICIDE FOREST, THE
ATOM STATION และ LETTERS
OF WAR นี้มันน่าสนใจดีในแง่ที่ว่า
มันมีหนังที่พูดถึงประเด็นคล้ายๆกับสามเรื่องนี้
และเน้นถ่ายภาพบรรยากาศตลอดทั้งเรื่องเหมือน 3 เรื่องนี้ด้วย แต่มันทำออกมาได้ทรงพลังกว่าหลายเท่า
1.ในกรณีของ THE SUICIDE FOREST นั้น ควรเปรียบเทียบกับหนังเรื่อง THE
SOUND OF INSECTS: RECORD OF A MUMMY (2009, Peter Liechti, Switzerland) ที่พูดถึงการฆ่าตัวตายในป่าเดียวกัน แต่เราว่า THE SOUND OF
INSECTS สร้าง visual มา match กับเสียงบรรยายได้ทรงพลังกว่ามากๆ
2.THE ATOM STATION ควรเปรียบเทียบกับหนังเรื่อง PSYCHOHYDROGRAPHY
(2010, Peter Bo Rappmund, 63min) ที่เน้นถ่ายภาพบรรยากาศธรรมชาติ+โรงไฟฟ้า
หรือสิ่งปลูกสร้างด้านสาธารณูปโภคเหมือนกัน แต่ PSYCHOHYDROGRAPHY ผสมภาพกับเสียงแล้วเกิดเป็น “ระเบิดนิวเคลียร์” แต่ THE ATOM
STATION ผสมภาพกับเสียงแล้วเกิดเป็น “ขนมน้ำแข็งไส”
3.LETTERS FROM WAR เราว่าถ่ายภาพได้โอเคนะ
แต่ทำไมมันไม่ตราตรึงในความทรงจำก็ไม่รู้
หรือจังหวะของภาพแต่ละภาพมันตัดเร็วเกินไปน่ะ พอดูจบแล้วเราเลยจำภาพในหนังแทบไม่ได้เลย
ส่วนหนังที่ควรนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับหนังเรื่องนี้คือ NEWS FROM HOME
(1977, Chantal Akerman)
No comments:
Post a Comment