SYMBOLIC
THREATS (2015, Matthias Wermke + Lutz Henke + Mischa Leinkauf, Germany,
documentary, A+30)
1.SYMBOLIC THREATS เป็นหนังสารคดีที่รวบรวมคลิปข่าวเกี่ยวกับปฏิกิริยาของคนต่างๆ
หลังจากเกิดเหตุการณ์ที่มีคนปลดธงชาติสหรัฐอเมริกาออกจากสะพานบรูคลิน
และนำธงขาวไปติดไว้แทน
โดยปฏิกิริยาของคนต่างๆในที่นี้มีตั้งแต่นายกเทศมนตรีนครนิวยอร์ค, ตำรวจ, พิธีกรรายการทีวี, คนทั่วไปตามท้องถนน
และพวกหัวรุนแรงที่ทำคลิปออนไลน์
โดยบางคนมองว่าการที่มีบุคคลลึกลับสามารถนำธงขาวไปติดไว้ยังจุดสำคัญทางยุทธศาสตร์นี้
แสดงให้เห็นถึงความล่มสลายอย่างสิ้นเชิงของระบบการรักษาความปลอดภัยของสหรัฐท่ามกลางภัยคุกคามจากผู้ก่อการร้าย
แต่บางคนก็มองว่ามันเป็นแค่อะไรตลกๆขำๆ ไม่น่ากังวลแต่อย่างใด
ถ้าเข้าใจไม่ผิด คนสร้างหนังสารคดีเรื่องนี้
ก็คือคนที่แอบเอาธงขาวไปติดไว้เองนั่นแหละ
คิดว่าหนังเรื่องนี้เป็นหนึ่งในหนังที่เหมาะจะนำมาใช้ถกในประเด็นเรื่อง
“จริยธรรมในการทำหนังสารคดี” ได้ดี เพราะเราชอบหนังเรื่องนี้มากๆ แต่ในอีกแง่หนึ่ง
หนังเรื่องนี้ก็มีจุดร่วมเดียวกันกับหนังสารคดีที่เราเกลียดมากๆ อย่างเช่น “สาระแน โอเซกไก” (2012, เกียรติศักดิ์ อุดมนาค)
หรือรายการทีวีประเภท “ถึงคิวข้า ดาราจำเป็น” น่ะ โดยจุดร่วมเดียวกันนั่นก็คือ “การสร้างสถานการณ์บางอย่างขึ้นมา
เพื่อแอบถ่ายปฏิกิริยาของผู้คนต่างๆที่มีต่อสถานการณ์นั้น”
พอมันมีจุดร่วมเดียวกันแบบนี้ แต่เรากลับชอบ SYMBOLIC THREATS อย่างสุดๆ แต่เกลียด “สาระแน โอเซกไก” อย่างสุดๆ
มันก็เลยทำให้เราตั้งคำถามว่า อะไรคือเส้นแบ่งระหว่างพฤติกรรมที่ยอมรับได้
กับพฤติกรรมที่ยอมรับไม่ได้ในการสร้างหนังสารคดี
หรือในการทำรายการทีวีที่คล้ายๆกันนี้
อะไรคือความชอบธรรมในการสร้างสถานการณ์จำลองขึ้นมาเพื่อทดสอบปฏิกิริยาผู้คน
มันมีข้อห้ามที่ตายตัวหรือไม่ หรือมันขึ้นอยู่กับแต่ละสถานการณ์จำลอง, ขึ้นอยู่กับแต่ละกลุ่มคนที่ตกเป็นเป้าหมายในการทดสอบ และขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ในการทดสอบ
2.ถ้าหากจะมีการถกกันถึงประเด็นนี้ นอกจาก SYMBOLIC
THREATS กับ “สาระแน โอเซกไก” แล้ว
เราว่ามันก็มีหนังอีกหลายเรื่องที่ควรจะนำมาถกในประเด็นนี้ด้วยเช่นกัน อย่างเช่น
2.1 CZECH DREAM (2004, Vit Klusak + Filip Remunda, documentary)
เรายอมรับหนังเรื่องนี้ได้นะ แต่จำได้ว่าผู้ชมบางคนยอมรับหนังเรื่องนี้ไม่ได้ และมีปัญหากับจริยธรรมของผู้สร้างหนังสารคดีเรื่องนี้
เรายอมรับหนังเรื่องนี้ได้นะ แต่จำได้ว่าผู้ชมบางคนยอมรับหนังเรื่องนี้ไม่ได้ และมีปัญหากับจริยธรรมของผู้สร้างหนังสารคดีเรื่องนี้
หนังเรื่องนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการเปิดตัวซูเปอร์มาร์เก็ตใหม่ที่มีชื่อว่า
Czech Dream โดยมีการโหมประโคมการเปิดตัวซูเปอร์มาร์เก็ตนี้อย่างรุนแรง
มีการเผยแพร่โฆษณาทั้งทางโทรทัศน์, วิทยุ, โปสเตอร์, ใบปลิว, อินเทอร์เน็ต,
หนังสือพิมพ์, นิตยสาร
มีการแต่งเพลงโปรโมทอย่างไพเราะเพราะพริ้ง และพอถึงวันเปิดตัวซูเปอร์มาร์เก็ตนี้
ประชาชนจำนวนมากก็แห่ไปกัน มีคนพิการพยายามกระเสือกกระสนไปที่ซูเปอร์มาร์เก็ตนี้ด้วย
มีคนแก่เดินกระย่องกระแย่งไปที่ซูเปอร์มาร์เก็ต ก่อนที่ทุกคนจะพบว่า มันไม่มีจริง
และทั้งหมดที่ผู้สร้างหนังเรื่องนี้ทำไปก็เพื่อทดสอบความเป็นบริโภคนิยมของชาวเชคหรืออะไรทำนองนี้
และเพื่อทำหนังเรื่องนี้ด้วย
2.2 THE NINE-DAY PREGNANCY OF A SINGLE MIDDLE-AGED ASSOCIATE
PROFESSOR (2005-20006, Araya Rasdjarmrearnsook)
อันนี้เราไม่แน่ใจว่ามันเป็นสารคดีหรือมันเป็นการถ่ายทำใหม่โดยจำลองจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง
โดยอันนี้เป็นการบันทึกภาพปฏิกิริยาของผู้คนต่างๆโดยเฉพาะคนในมหาวิทยาลัยไทยที่มีต่อการที่ผู้ช่วยศาสตราจารย์หญิงวัยกลางคนคนหนึ่งเกิดตั้งครรภ์ขึ้นมาโดยไม่ได้แต่งงาน
ซึ่งแน่นอนว่ามันไม่ใช่สิ่งที่หนักหัวใครใดๆทั้งสิ้น กูจะท้องกับใคร
มันก็สิทธิของกู มันไม่ใช่เรื่องของมึง เพราะกูไม่ได้ขอตังค์มึงกิน
แต่ในสังคมเหี้ยๆแบบสังคมไทยนั้น เรื่องแบบนี้อาจจะสร้างความไม่พอใจให้อีเหี้ยตัวไหนขึ้นมาก็ได้
แน่นอนว่า หนังเรื่องนี้เป็นหนังที่เรายอมรับได้
และเราชอบหนังเรื่องนี้อย่างสุดๆ ถึงแม้ว่าในแง่หนึ่ง มันก็เป็นหนังที่ “สร้างสถานการณ์จำลองขึ้นมา
เพื่อบันทึกปฏิกิริยาของผู้คนที่มีต่อสถานการณ์จำลอง” นั้นเหมือนกับหนังกลุ่มที่เราเกลียดสุดๆเหมือนกัน
ส่วนในกรณีของ “สาระแน โอเซกไก” นั้น
เราไม่ได้ต่อต้านหนังเรื่องนี้ทั้งเรื่องนะ
จุดที่เราต่อต้านก็คือช่วงที่เป็นการสร้างสถานการณ์จำลองเรื่อง “การยิงคนบนโรงพัก” น่ะ (ถ้าจำไม่ผิด)
เราว่าสถานการณ์นั้นมันมากเกินไป มันล้ำเส้นจนเรายอมรับไม่ได้
No comments:
Post a Comment