TWO IN THE WAVE (2010, Emmanuel Laurent, documentary, A+15)
1.สาเหตุสำคัญที่ทำให้เราไม่ได้รู้สึกชอบหนังเรื่องนี้อย่างสุดๆ
อาจจะเป็นเพราะว่าเนื้อหาหลายส่วนมันเป็นสิ่งที่เรารู้อยู่แล้วน่ะ
คือหนังเหมือนเป็นการ “ให้ข้อมูล” เล่าประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ฝรั่งเศส
และประวัติการทำงานของ Truffaut กับ Godard ในฐานะนักวิจารณ์และผู้กำกับในทศวรรษ 1950 และ 1960
ซึ่งหลายอย่างมันเป็นสิ่งที่เรารู้อยู่แล้ว หรือแม้แต่เรื่องของ Jean-Pierre
Léaud ที่ตกอยู่ในสถานะ “ลูกที่ถูกพ่อสองคนยื้อแย่งกัน”
มันก็เป็นสิ่งที่เราเคยอ่านมานานแล้วจากบทความใน Senses of Cinema เพราะฉะนั้นเราก็เลยรู้สึกเหมือนกับว่าการดูหนังเรื่องนี้เป็นแค่การ “ทบทวนความรู้”
น่ะ แต่ไม่ใช่การนำเสนออะไรใหม่ๆที่เราไม่เคยรู้มาก่อน
2. คือเราเฉยๆกับการ “ให้ข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์”
ในหนังเรื่องนี้น่ะ
เพราะว่าเราสิ่งนี้มันเป็นสิ่งที่สามารถทำได้ผ่านทางการอ่านหนังสือภาพยนตร์
หรือบทความในนิตยสารภาพยนตร์ มันไม่จำเป็นต้องทำออกมาในรูปแบบ “ภาพยนตร์สารคดี”
ก็ได้
แต่ก็มีบาง moment ที่เราชอบสุดๆในหนังเรื่องนี้ โดยเฉพาะ moment
ที่เป็นการเรียงร้อยฉากจากหนังเรื่องต่างๆเข้ามาต่อๆกัน
เพื่อแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลที่หนังเรื่องนึงเชื่อมโยงไปถึงหนังอีกเรื่องนึง
คือการเอาฉากจากหนังเรื่องต่างๆมาต่อๆกันเพื่อสื่อความสัมพันธ์ผลกระทบซึ่งกันและกันแบบนี้
มันเป็นสิ่งที่สื่อผ่านทาง “ตัวหนังสือ” ได้ยากน่ะ มันเป็นสิ่งที่ “หนังสือ”, “นิตยสาร”,
“บทความ” สื่อได้ยาก เพราะมันต้องเห็นเป็น moving image เท่านั้น
มันต้องเห็นว่าเขาถ่ายด้วยมุมกล้องแบบนี้ แช่กล้องนานแบบนี้ ตัดภาพแบบนี้
แล้วมันส่งผลกระทบต่อหนังอีกเรื่องของผู้กำกับอีกคนนึงยังไง
คืออะไรแบบนี้นี่แหละที่มันควรทำออกมาในรูปแบบ “ภาพยนตร์สารคดี” จริงๆ
ต้องเห็นเป็น moving image จริงๆ
ไม่ใช่สื่อผ่านทางการเขียนเป็นตัวหนังสือในบทความ
3.moments ที่เราชอบมากในหนังเรื่องนี้ก็มีเช่น
3.1 การเรียงร้อยซีนเพื่อแสดงให้เห็นว่า วิธีการตัดต่อใน MOI, UN NOIR (1958, Jean Rouch) ส่งอิทธิพลมาถึง BREATHLESS (1959, Jean-Luc Godard) ยังไง
3.2 การเรียงร้อยซีนเพื่อแสดงให้เห็นว่า SUMMER WITH MONIKA (1952, Ingmar
Bergman) ส่งอิทธิพลมาถึง BREATHLESS และ THE
400 BLOWS (1959, François Truffaut) ยังไง
3.3 อิทธิพลที่ Godard ได้รับจาก LOLA
(1960, Jacques Demy)
4.ชอบที่ Jean-Luc Godard ด่า THE
LONGEST DAY (1962, Ken Annakin, Andrew Marton, Bernhard Wicki) อย่างรุนแรง
และเชิดชูหนังเรื่อง THE HONORS OF WAR (1961, Jean Dewever) อย่างมากๆ
No comments:
Post a Comment