Friday, October 31, 2014

TARO THE LITTLE POODLE (2014, Sangsan Santimaneerat, stage play, A+20)

TARO THE LITTLE POODLE (2014, Sangsan Santimaneerat, stage play, A+20)

SPOILERS ALERT
--
--
--
--
--

ความรู้สึกที่มีต่อละครเวทีเรื่องนี้

1.ชอบการแสดงมากๆเลยนะ ชอบในระดับ A+30 หรือชอบสุดๆเลย เราว่าการแสดงของคุณ Sangsan มีเสน่ห์มากๆ และตรึงความสนใจของผู้ชมไว้ได้โดยตลอด ทั้งๆที่โดยตัวเนื้อเรื่องแล้วมันไม่ได้มีอะไรที่รุนแรงหรือน่าสนใจแบบสุดๆ คือเราว่าเนื้อเรื่องของละครเรื่องนี้มันอาจจะน่าสนใจแค่ในระดับ 7-8/10 แต่การแสดงมันตรึงความสนใจไว้ได้ในระดับ 10/10

2.สาเหตุที่เราไม่ได้ชอบละครเวทีเรื่องนี้แบบสุดๆ เป็นเพราะว่าเรามีความเห็นก้ำกึ่งต่อเนื้อหาส่วนที่เป็นการมองโลกมองสังคมน่ะ คือเราอาจจะแบ่งเนื้อหาของละครเวทีเรื่องนี้ออกได้เป็นสองส่วนใหญ่ๆ คือส่วนที่เป็นชีวิตส่วนตัวของตัวละคร กับส่วนที่เป็นการวิพากษ์วิจารณ์โลกและสังคม โดยในส่วนที่เป็นชีวิตส่วนตัวของตัวละครนั้น เราค่อนข้างชอบ ถึงแม้จะไม่ได้ถึงขั้นชอบสุดๆ แต่ในส่วนที่เป็นการวิพากษ์วิจารณ์โลกและสังคมนั้น เราชอบแค่ในระดับประมาณ 60-70% เท่านั้น

เราก็บอกไม่ถูกเหมือนกันว่าเรามีปัญหาอะไรกับส่วนที่เป็นการวิพากษ์วิจารณ์โลกและสังคมในละครเวทีเรื่องนี้ คือเราเห็นด้วยประมาณครึ่งหนึ่งของสิ่งที่ตัวละครพูดนะ เพราะเราก็มีปัญหากับสถาบันศาสนาและสถาบันครอบครัวมากๆ และเราก็ชอบมากๆที่ละครเวทีเรื่องนี้กล้าพูดถึงสถาบันศาสนาและสถาบันครอบครัวในทางลบ

แต่ในอีกแง่หนึ่ง มันก็เหมือนมี “ท่าที” บางอย่างที่เรารู้สึกว่ามันยังไม่เข้าที่เข้าทาง หรือมันไม่ถูกใจเราซะทีเดียวน่ะ เราบอกไม่ถูกเหมือนกัน แต่ก่อนอื่นเราขอชี้แจงว่า เราไม่แน่ใจว่าสิ่งที่ตัวละครพูดเป็นทัศนคติจริงๆของผู้กำกับ/ผู้เขียนบท หรือเป็นทัศนคติที่ผู้กำกับเองก็ไม่เห็นด้วย แต่นำเสนอผ่านทางตัวละคร เพื่อให้ผู้ชม “ถกเถียงกับตัวละครในใจของผู้ชมเอง” นะ แต่เรารู้สึกว่าตัวละครตัวนี้มีทัศนคติที่น่ากังขาหลายอย่าง

สิ่งที่เรารู้สึกว่ามันลักลั่นอย่างเห็นได้ชัดก็คือว่า การโยงปัญหาในการไม่กล้าสารภาพรักของตัวละคร/ปัญหาชีวิตรักของตัวละคร เข้ากับปัญหาการเหยียดเพศที่สามในสังคม คือเรามองว่าการไม่กล้าสารภาพรักของตัวละคร มันต้องโทษตัวละครตัวนั้นเองน่ะ มันไปโทษสังคมมันไม่ถูกหรอก คือเรามองว่าสังคมมันมีปัญหาในการเหยียดเพศจริงๆ, สถาบันศาสนามีปัญหาจริงๆ, สถาบันครอบครัวมีปัญหาจริงๆ แต่มันไม่ใช่ว่าปัญหาทุกอย่างในชีวิตกะเทยคนนึงเกิดจากปัจจัยเหล่านี้ เพราะหลายๆปัญหามันก็เกิดจากตัวกะเทยคนนั้นเอง ไม่ได้เกิดจากสังคมซะทีเดียว คือเราก็เห็นเพื่อนตุ๊ดบางคนได้กินผู้ชายเป็นประจำ และเพื่อนตุ๊ดบางคนก็มีผัวที่อยู่ด้วยกันมาเกือบยี่สิบปี เพราะฉะนั้นการที่ตัวละครในเรื่องนี้ไม่โทษตัวเองในเรื่องชีวิตรัก แต่ดันไปโทษสังคม มันก็เลยทำให้เรารู้สึกประหลาดๆ

แต่เราก็ไม่ได้มองว่า “ละครเวที” เรื่องนี้มีทัศนคติผิดพลาดนะ เรามองแค่ว่า “ตัวละคร” ตัวนี้มีทัศนคติหลายอย่างที่เราเห็นด้วยและมีทัศนคติหลายอย่างที่เราไม่เห็นด้วย และบางทีละครเวทีเรื่องนี้อาจจะต้องการกระตุ้นให้ผู้ชมรู้สึกขัดแย้งกับตัวละครตัวนี้ก็ได้ แทนที่จะต้องการให้ผู้ชมคล้อยตามสิ่งที่ตัวละครตัวนี้พูดไปซะทุกอย่าง

เรามองว่าการวิจารณ์สถาบันศาสนาและสถาบันครอบครัวในละครเรื่องนี้ มีลักษณะของการ “เหมารวม” มากเกินไปด้วย คือตัวละครตัวนี้เหมือนกับจะมองว่า ความเชื่อเรื่องสถาบันศาสนาและสถาบันครอบครัว เป็นความเชื่อที่แย่ ซึ่งมันจะแตกต่างจากเรานิดนึง คือเรามองว่า เราเกลียดสถาบันศาสนาและสถาบันครอบครัว แต่สถาบันเหล่านี้มันอาจจะเป็นสิ่งที่ดีกับคนอื่นๆก็ได้ เพียงแต่มันไม่ดีกับเราเท่านั้นเอง

แต่การที่เรารู้สึกขัดแย้งกับหลายๆสิ่งที่ตัวละครพูด จริงๆแล้วมันอาจจะเป็นข้อดีของละครเวทีเรื่องนี้ก็ได้นะ เพราะมันกระตุ้นให้เราคิด  :-)

3.ในส่วนที่เป็นชีวิตส่วนตัวของตัวละครนั้น เราชอบมาก ถึงแม้อาจจะไม่ชอบมากสุดๆ เราว่าชีวิตของตัวละครตัวนี้ ค่อนข้างราบเรียบมากเมื่อเทียบกับชีวิตเพื่อนเกย์,ตุ๊ดหลายคนที่เรารู้จัก แต่ถึงแม้ชีวิตของตัวละครตัวนี้จะค่อนข้างราบเรียบ ไม่มีอะไรโลดโผนมากนัก ละครเวทีเรื่องนี้ก็ตรึงความสนใจของเราไว้ได้ตลอด เพราะบทพูดและการแสดงที่มีเสน่ห์

แต่ในอีกแง่นึง เราก็ไม่ได้ชอบเรื่องราวชีวิตส่วนตัวของตัวละครตัวนี้อย่างสุดๆนะ แต่ไม่ใช่เพราะมันราบเรียบ แต่เป็นเพราะว่ามันถูกตัดขาดจากแง่มุมอื่นๆของชีวิตน่ะ คือละครเวทีเรื่องนี้เน้นนำเสนอปัญหาการเหยียดเพศที่สามในครอบครัว, โรงเรียน, สังคม แต่ชีวิตมนุษย์เราไม่ได้มีแค่แง่มุมนั้นแง่มุมเดียว มันมีแง่มุมอื่นๆด้วย และพอแง่มุมอื่นๆของชีวิตถูกตัดขาดออกไป ละครเวทีเรื่องนี้ก็เลยดูเหมือนไม่เข้าทางเราซะทีเดียว แต่นั่นไม่ใช่ความผิดของละครเรื่องนี้นะ มันเป็นเรื่องของรสนิยมส่วนตัวของตัวเราเองน่ะ

ถ้าหากวัดจากรสนิยมส่วนตัวของเรา เราว่าละครเวทีเรื่องนี้จะเข้าทางเรามากๆ ถ้าหากมันนำเสนอชีวิตของคนธรรมดาคนนึงที่ความเป็นกะเทยเป็นแง่มุมสำคัญในชีวิตของเขา แต่ไม่ใช่ทั้งหมดของชีวิตของเขา คือละครเวทีเรื่องนี้เหมือนกับจะนำเสนอว่าชีวิตกะเทยไม่มีความสุขเพราะสังคมเป็นสาเหตุ ซึ่งมันก็จริง แต่ความสุขความทุกข์ต่างๆในชีวิตมันมีปัจจัยอื่นๆเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย การตัดแง่มุมอื่นๆของชีวิต และการตัดสาเหตุของความทุกข์อื่นๆในชีวิตออกไป มันเลยทำให้ละครเรื่องนี้ไม่ได้เข้าทางเราซะทีเดียว

4.ชอบช่วงที่เล่าเรื่องการแอบชอบนายแบบโฆษณามากๆ เราลุ้นมากๆในเนื้อหาส่วนนี้


5.ชอบการใช้เพลง “เพียงแค่ใจเรารักกัน” ของวิยะดา โกมารกุล ณ นครด้วย เพราะตอนเด็กๆ เพลงนี้ก็สร้าง “ideal life” ขึ้นมาในหัวของเราเหมือนกัน คือตอนเด็กๆ เวลาเราฟังเพลงนี้ เราก็จะจินตนาการว่า โตขึ้นเราอยากมีสามี และอยากมีชีวิตครอบครัวที่มีความสุข รอสามีกลับมาบ้าน ทำตัวเป็นแม่บ้านที่ดี อะไรทำนองนี้ 555

Wednesday, October 29, 2014

MONDAY 2 MONDAY (2011-2014, Varsha Nair + Lena Eriksson, video installation, 100mins, A+30)


MONDAY 2 MONDAY (2011-2014, Varsha Nair + Lena Eriksson, video installation, 100mins, A+30)

หนึ่งในสิ่งที่เราชอบมากในงานชิ้นนี้ก็คือการที่มันมีลักษณะของการเล่นเกมอยู่ด้วย ซึ่งมันเป็นปัจจัยเดียวกับที่ทำให้เราชอบ MYSTERIOUS OBJECT AT NOON (Apichatpong Weerasethakul, A+30) อย่างสุดๆ โดยใน MYSTERIOUS OBJECT AT NOON นั้น คนแต่ละคนจะช่วยกันแต่งนิทานต่อไปเรื่อยๆ ไม่มีใครคนใดคนหนึ่งที่สามารถควบคุมบังคับทิศทางของนิทานได้อย่างสมบูรณ์ว่ามันจะเป็นอย่างไรต่อไป เพราะทิศทางของนิทานจะถูกกำหนดด้วยคนอื่นๆต่อไปเรื่อยๆ

ส่วนใน MONDAY 2 MONDAY นั้น ศิลปินหญิงสองคนได้โต้ตอบกันผ่านทางงานศิลปะต่างๆแทน เมื่อ Varsha นำเสนอสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ Lena ดูในสัปดาห์แรก ในสัปดาห์ต่อมา Lena ก็จะนำเสนอสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแรกให้ Varsha ดู แล้วในสัปดาห์ที่สาม Varsha ก็จะนำเสนอวัตถุที่สามซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับวัตถุที่สองให้ Lena ดู โดยทำเช่นนี้ต่อไปเรื่อยๆทุกสัปดาห์เป็นเวลาราว 3 ปี มันเหมือนเป็นการเล่นเกมที่สนุกสุดๆในความเห็นของเรา

ตัวอย่างของเกมนี้ก็เช่นในสัปดาห์นึง Lena นำเสนอภาพวาดจอฉายหนัง แล้วในสัปดาห์ต่อมา Varsha ก็นำเสนอคลิปข้าวโพดคั่ว เพื่อเอาไว้ใช้กินขณะดูหนัง แล้ว Varsha ก็เล่าเรื่องมือปืนป็อปคอร์นให้ Lena ฟังด้วย แล้วในสัปดาห์ต่อมา Lena ก็นำเสนอคลิปเสียงของงานคาร์นิวาลที่อึกทึกครึกโครม (ซึ่งอาจจะเชื่อมโยงกับเสียงข้าวโพดคั่วหรือเสียงปืนกลที่กราดยิงที่หลักสี่)

วิดีโอชิ้นนี้มันทำให้เรานึกถึงเกมต่อเพลงที่เราชอบเล่นกับเพื่อนสมัยมัธยมด้วย โดยในการเล่นเกมนี้นั้น พอเพื่อนคนหนึ่งพูดชื่อเพลงอะไรออกมา เพื่อนคนที่สองก็ต้องพูดชื่อเพลงที่มีคำอย่างน้อยหนึ่งคำพ้องกับชื่อเพลงแรก แล้วคนที่สามก็ต้องพูดชื่อเพลงที่มีคำอย่างน้อยหนึ่งคำพ้องกับชื่อเพลงที่สอง แล้วก็เล่นต่อกันไปอย่างนี้เรื่อยๆ

ใน brochure ของงาน MONDAY 2 MONDAY มีงานเขียนของ Keiko Sei ด้วย ซึ่งเขียนได้ดีมากๆ 







Tuesday, October 28, 2014

Films I saw in the “12th World Film Festival of Bangkok”

Films I saw in the “12th World Film Festival of Bangkok”

(in preferential order)

ระดับความชอบที่มีต่อหนังบางเรื่องเพิ่มขึ้นเรื่อยๆเมื่อเวลาผ่านไป อย่างเช่น 3 INDIAN TALES และ SO MUCH WATER

1.GOODBYE TO LANGUAGE 3D (2014, Jean-Luc Godard, A+30)

2.MY SISTER’S QUINCEAÑERA (2013, Aaron Douglas Johnston, USA, A+30)

3.THE CONGRESS (2013, Ari Folman, Israel, A+30)

4.TAPROBANA (2014, Gabriel Abrantes, Portugal, 24min, A+30)

5.BIRDS (2014, Ulu Braun, Germany, 15min, A+30)

6.JOURNEY TO THE WEST (2014, Tsai Ming-liang, A+30)

7.TALES OF THE NIGHT (2011, Michel Ocelot, France, animation, A+30)

8.TIMBUKTU (2014, Abderrahmane Sissako, Mauritania, A+30)

9.MOMMY (2014, Xavier Dolan, Canada, A+30)

10.AVIYA’S SUMMER (1988, Eli Cohen, Israel, A+30)

11.SYMPHONY NO. 42 (2013, Reka Bucsi, Hungary, animation, 10min, A+30)

12.3 INDIAN TALES (2014, Robert Morin, Canada, A+30)

13.THE MUTE (EL MUDO) (2013, Daniel Vega + Diego Vega, Peru, A+30)

14.ATTILA MARCEL (2013, Sylvain Chomet, France, A+30)

15.HOME & KEY (2014, Shwan Attoof, Iraq, 14min, A+30)

16.THE BLUE ROOM (2014, Mathieu Amalric, France, A+25)

17.TYRES (2012, Kyaw Myo Lwin, Myanmar, documentary, 35min, A+25)

18.ICE POISON (2014, Midi Z, Myanmar/Taiwan, A+25)

19.THE LIFE AFTER (2013, David Pablos, Mexico, A+25)

20.BLACK & WHITE (2014, Jalal Saedpanah, Iraq, 18min, A+25)

21.SO MUCH WATER (2013, Ana Guevara + Leticia Jorge, Uruguay, A+20)

22.MARC JACOBS (2013, Sam de Jong, Netherlands, 17min, A+20)

23.A PARADISE (2013, Jayisha Patel, Cuba, documentary, A+20)

24.THE TALE OF PRINCESS KAGUYA (2013, Isao Takahata, Japan, animation, A+20)

25.28 (2014, Prasanna Jayakody, Sri Lanka, A+20)

26.LOOKING FOR A FRIEND (2013, Karma Gava + Alvise Morato, Italy/Japan, documentary, 19min, A+20)

27.VILLA TOUMA (2014, Suha Arraf, Israel/Palestine, A+20)

28.SPINNING PLATES (2012, Joseph Levy, USA, documentary, A+15)

29.BETWEEN YESTERDAY AND TOMORROW (2013, Nilendra Deshapriya, Sri Lanka, A+15)

30.ERNEST & CELESTINE (2012, Stéphane Aubier + Vincent Patar + Benjamin Renner, France, animation, A+10)

31.CHASING FIREFLIES (2013, Roberto Flores Prieto, Colombia, A+10)

32.SOFIA AND THE STUBBORN MAN (2012, Andrés Burgos, Colombia, A+5)

33.MINUSCULE: VALLEY OF THE LOST ANTS 3D (2013, Hélène Giraud + Thomas Szabo, France, animation, A+5)

34.CARMINA OR BLOW UP (2012, Paco Leon, Spain, A+)

35.A MATTER OF SIZE (2009, Sharon Maymon + Erez Tadmor, Israel, A+)

36.GOLDEN DEMONIC (2014, Full Marching Order, Thailand, documentary, A+)

37.END CREDITS (2013, Bak Chee Hong, Malaysia, documentary, A)

38.YOUR RIVER, MY RIVER, OUR SOUL น้ำ ฟ้า ป่า น่าน (2014, Sirapak Phowboonkerd, B )

Films seen outside the festival during the same period:

1.GONE GIRL (2014, David Fincher, A+30)

2.THE BEST OF ME (2014, Michael Hoffman, B+ )


3.DANGEROUS BOYS วัยเป้งง นักเลงขาสั้น (2014, Poj Arnon, B- )

Monday, October 27, 2014

Films seen on Sunday, October 26, 2014

Films seen on Sunday, October 26, 2014

1.JOURNEY TO THE WEST (2014, Tsai Ming-liang, A+30)

2.THE TALE OF PRINCESS KAGUYA (2013, Isao Takahata, Japan, animation, A+20)

3.SPINNING PLATES (2012, Joseph Levy, USA, documentary, A+15)


ส่วนอันดับหนังที่เราชอบในเทศกาลเวิลด์ฟิล์ม เราขอผลัดไปทำวันหลังนะ

Sunday, October 26, 2014

WHERE UNITY LIES


Favorite quote from Jean-Luc Godard about PIERROT LE FOU (1965):

ความจริงก็คือว่าคุณอ่านหนังสือพิมพ์ และการอ่านหนังสือพิมพ์เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต อย่างไรก็ดี ในภาพยนตร์นั้น มีความเชื่อกันว่า ถ้าหากคุณอยู่ในห้องห้องหนึ่ง คุณก็ไม่ควรที่จะทำเพียงแค่เปิดหน้าต่างออกไปและถ่ายสิ่งที่อยู่นอกหน้าต่าง ไอ้พวกขี้บ่นมองว่าการทำแบบนี้เป็นการทำลายความเป็นเอกภาพ แต่พวกมันนั่นแหละที่ประสบความล้มเหลวในการมองว่าเอกภาพอยู่ที่จุดใด บางคนอาจจะรู้สึกว่าใน PIERROT นั้น เอกภาพในหนังเรื่องนี้เป็นเพียงเอกภาพทางอารมณ์  และชี้ว่ามีบางสิ่งที่ไม่สอดคล้องกับเอกภาพทางอารมณ์ในหนังเรื่องนี้ แต่การจะบอกว่าการเมืองไม่มีสิทธิที่จะอยู่ในหนังเรื่องนี้ถือเป็นการพูดที่เปล่าประโยชน์ เพราะการเมืองเป็นส่วนหนึ่งของเอกภาพทางอารมณ์ และปัญหานี้มีสาเหตุมาจากการจัดประเภทภาพยนตร์เป็น genre ต่างๆตามแบบเก่า ภาพยนตร์เรื่องหนึ่งถูกจัดประเภทว่าเป็นภาพยนตร์แนวกวี, แนวจิตวิทยา, แนวโศกนาฏกรรม แต่ภาพยนตร์เรื่องหนึ่งไม่ได้รับอนุญาตให้เป็นเพียงแค่ภาพยนตร์เรื่องหนึ่ง  ทั้งนี้ ถ้าหากผมจะสร้างหนังเกี่ยวกับคดี Dreyfus คุณก็จะแทบไม่ได้เห็นเรื่องราวเกี่ยวกับคดีนี้ แต่สิ่งที่คุณจะได้เห็นเป็นอย่างมากก็คือประชาชนและความสัมพันธ์ส่วนตัวของพวกเขา อีกสิ่งหนึ่งที่น่าทำเป็นอย่างยิ่งในตอนนี้ก็คือเรื่องราวชีวิตของนักจดชวเลขในค่ายกักกันเอาช์วิตซ์  (Mikhail Romm ได้สร้างหนังสารคดีทำนองนี้แล้วโดยใช้ชื่อเรื่องว่า ORDINARY FASCISM) แต่ภาพยนตร์เกี่ยวกับนักจดชวเลขที่เอาช์วิตซ์จะเป็นภาพยนตร์ที่ทุกๆคนเกลียดชัง พวกที่เรียกตัวเองว่าฝ่ายซ้ายมักจะเป็นกลุ่มแรกที่ออกมาวิจารณ์ผู้กำกับภาพยนตร์ฝ่ายซ้ายตัวจริง  ซึ่งรวมถึง Pasolini และ Rossellini ในอิตาลี และ Dovzhenko กับ Eisenstein ในรัสเซีย”

“In cinema, however, one isn’t supposed, if one is in a room, simply to open the window and film what is going on outside. The grumblers see this as a rupture in unity, but for all that fail to see where the unity lies.”

“Here we come back to the old classification by genres: a film is poetic, psychological, tragic, but it is not allowed simply to be a film.”

PIERROT LE FOU ฉายวันนี้ที่เซ็นทรัลเวิลด์รอบ 15.20 น.นะ

อ่านเรื่องราวเกี่ยวกับคดี DREYFUS ได้ที่นี่

รูปมาจาก ORDINARY FASCISM (1965, Mikhail Romm)


Favorite quote from Jean-Luc Godard about PIERROT LE FOU (1965)

Favorite quote from Jean-Luc Godard about PIERROT LE FOU (1965):

The great traditional cinema means Visconti as opposed to Fellini or Rossellini. It is a way of selecting certain scenes rather than others. The Bible is also a traditional book since it effects a choice in what it describes. If I were ever to film the life of Christ, I would film the scenes which are left out of the Bible. In SENSO, which I quite like, it was the scenes which Visconti concealed that I wanted to see. Each time I wanted to know what Farley Granger said to Allida Valli, bang! – a fade out. PIERROT LE FOU, from this standpoint, is the antithesis of SENSO: the moments you do not see in SENSO are shown in PIERROT.”



Saturday, October 25, 2014

Films seen on Saturday, October 25, 2014

Films seen on Saturday, October 25, 2014

1.TALES OF THE NIGHT (2011, Michel Ocelot, France, animation, A+30)

2.28 (2014, Prasanna Jayakody, Sri Lanka, A+20)

3.END CREDITS (2013, Bak Chee Hong, Malaysia, documentary, A)


4.YOUR RIVER, MY RIVER, OUR SOUL น้ำ ฟ้า ป่า น่าน (2014, Sirapak Phowboonkerd, B )

Friday, October 24, 2014

Films seen on Friday, October 24, 2014

Films seen on Friday, October 24, 2014

1.AVIYA’S SUMMER (1988, Eli Cohen, Israel, A+30)

2.ATTILA MARCEL (2013, Sylvain Chomet, France, A+30)

3.HOME & KEY (2014, Shwan Attoof, Iraq, 14min, A+30)

4.TYRES (2012, Kyaw Myo Lwin, Myanmar, documentary, 35min, A+25)

5.BLACK & WHITE (2014, Jalal Saedpanah, Iraq, 18min, A+25)

6.LOOKING FOR A FRIEND (2013, Karma Gava + Alvise Morato, Italy/Japan, documentary, 19min, A+20)


7.BETWEEN YESTERDAY AND TOMORROW (2013, Nilendra Deshapriya, Sri Lanka, A+15)

Films seen on Thursday, October 23, 2014

Films seen on Thursday, October 23, 2014

1.TAPROBANA (2014, Gabriel Abrantes, Portugal, 24min, A+30)

2.BIRDS (2014, Ulu Braun, Germany, 15min, A+30)

3.SYMPHONY NO. 42 (2013, Reka Bucsi, Hungary, animation, 10min, A+30)

4.GONE GIRL (2014, David Fincher, A+30)

5.MARC JACOBS (2013, Sam de Jong, Netherlands, 17min, A+20)

6.A PARADISE (2013, Jayisha Patel, Cuba, documentary, A+20)

7.VILLA TOUMA (2014, Suha Arraf, Israel/Palestine, A+20)

8.GOLDEN DEMONIC (2014, Full Marching Order, Thailand, documentary, A+)

หนังยาวแค่ 40 นาทีเองนะ ไม่ได้ยาว 90 นาทีอย่างที่ลงประกาศไว้ หนังดูเหมือนยังทำไม่เสร็จด้วย เราว่าประเด็นของหนังเรื่องนี้ดีมาก เพราะเป็นการตีแผ่ปัญหาที่เกิดจากเหมืองทองที่จังหวัดพิจิตร แต่หนังพยายามบังคับให้คนดูสงสารเห็นใจชาวบ้านมากเกินไป เราคงจะชอบมากกว่านี้ถ้าหากหนังเน้นนำเสนอ fact หรือความคิดเห็นของชาวบ้านและบุคคลต่างๆโดยไม่ต้องเร้าอารมณ์อย่างรุนแรงขนาดนี้

Thursday, October 23, 2014

Films seen on Wednesday, October 22, 2014

Films seen on Wednesday, October 22, 2014

1.GOODBYE TO LANGUAGE 3D (2014, Jean-Luc Godard, A+30)
เตรียมชิงอันดับหนึ่งของเราประจำปีนี้ โดยต้องเผชิญกับคู่แข่งสำคัญ อย่างเช่นเรื่อง “ภาษาที่เธอไม่เข้าใจ” (2014, Wachara Kanha)

2.THE CONGRESS (2013, Ari Folman, Israel, A+30)

3.THE LIFE AFTER (2013, David Pablos, Mexico, A+25)


4.THE BEST OF ME (2014, Michael Hoffman, B+ )

Wednesday, October 22, 2014

Films seen on Tuesday, October 21, 2014

Films seen on Tuesday, October 21, 2014

1.TIMBUKTU (2014, Abderrahmane Sissako, Mauritania, A+30)

2.THE BLUE ROOM (2014, Mathieu Amalric, France, A+25)

3.ICE POISON (2014, Midi Z, Myanmar/Taiwan, A+25)


4.A MATTER OF SIZE (2009, Sharon Maymon + Erez Tadmor, Israel, A+)

Tuesday, October 21, 2014

NEWS FROM HUMAN RIGHTS WATCH

(New York) – The Thai government should immediately disclose the whereabouts of an opposition supporter arrested by soldiers in Bangkok on September 5, 2014, Human Rights Watch said today. Efforts by Thailand’s National Human Rights Commission to locate Kittisak Soomsri, 47, a supporter of the United Front for Democracy against Dictatorship (UDD), also known as the Red Shirts, have been unsuccessful.
Kittisak’s family said that soon after his arrest they received an anonymous telephone call telling them that the military had taken Kittisak into custody under martial law for questioning at an undisclosed location and that he would be safely released without charge after seven days if his family kept quiet. However, the military authorities have not admitted that Kittisak was arrested or is in their custody, raising grave concerns for his safety.
“Kittisak Soomsri’s enforced disappearance shows the Thai military’s wanton disregard for basic rights under martial law,” said Brad Adams, Asia director. “The Thai government and military should immediately disclose Kittisak’s location. Martial law should be revoked across the country to ensure that others are not held in similar circumstances.”
At about 7 p.m. on September 5, soldiers in civilian clothes arrested Kittisak at a teacher training center in Bangkok’s Ram Intra district. The next day Kittisak’s family filed a complaint with the police. When investigators went to the location where Kittisak was taken, they found that soldiers had removed video records of the incident from security cameras.
The Justice Ministry’s Department of Special Investigation had previously accused Kittisak of involvement in a bomb attack and other violent incidents related to political confrontations between the UDD and the government of then-Prime Minister Abhisit Vejjajiva in 2010. An arrest warrant was issued for Kittisak in August 2010, but he has never been arrested or prosecuted for these allegations.
Human Rights Watch has repeatedly raised serious concerns regarding the use of arbitrary arrest and secret military detention by the military-led junta, the National Council for Peace and Order (NCPO). Since the May 22, 2014 coup, the NCPO – headed by the recently appointed prime minister, Gen. Prayuth Chan-ocha – has detained more than 300 ruling party and opposition politicians, activists, journalists, and people accused of supporting the deposed government, disrespecting or offending the monarchy, or being involved in anti-coup protests and activities.
The NCPO has held many of those people incommunicado in unofficial detention sites, such as military camps. The NCPO has consistently failed to provide information about people in secret detention, claiming the right to withhold such information to ensure safety of the detainees and to allow them to undergo “attitude adjustment” without disruption from outsiders.
The risk of enforced disappearance, torture, and other ill-treatment significantly increases when detainees are held incommunicado in unofficial military detention. Enforced disappearances are defined under international law as the arrest or detention of a person by state officials or their agents followed by a refusal to acknowledge the deprivation of liberty, or to reveal the person’s fate or whereabouts. Enforced disappearances violate a range of fundamental human rights protected under the International Covenant on Civil and Political Rights, to which Thailand is a party, including prohibitions against arbitrary arrest and detention; torture and other cruel, inhuman, or degrading treatment; and extrajudicial execution.
Since the coup, people released from military detention have had to sign an agreement that infringes on their human rights, including agreeing not to make political comments, become involved in political activities, or travel overseas without the junta’s permission. Failure to comply could result in a new detention, a sentence of two years in prison, or a fine of 40,000 baht (US$1,250). Those who fail to report to an NCPO summons also face arrest and prosecution in military court, which gives them no right to appeal the verdict.
“As both junta leader and prime minister, General Prayuth has vowed to respect human rights, but hasn’t followed through his words with actions,” Adams said. “Prayuth could start by ordering an end to arbitrary arrests and secret detentions, releasing all those wrongfully held.”

Films seen on Monday, October 20, 2014

Films seen on Monday, October 20, 2014

1.CHASING FIREFLIES (2013, Roberto Flores Prieto, Colombia, A+10)

2.ERNEST & CELESTINE (2012, Stéphane Aubier + Vincent Patar + Benjamin Renner, France, animation, A+10)

3.SOFIA AND THE STUBBORN MAN (2012, Andrés Burgos, Colombia, A+5)

4.DANGEROUS BOYS วัยเป้งง นักเลงขาสั้น (2014, Poj Arnon, B- )



Monday, October 20, 2014

Films seen on Sunday, October 19, 2014

Films seen on Sunday, October 19, 2014

1.MOMMY (2014, Xavier Dolan, Canada, A+30)

2.SO MUCH WATER (2013, Ana Guevara + Leticia Jorge, Uruguay, A+15)

3.MINUSCULE: VALLEY OF THE LOST ANTS 3D (2013, Hélène Giraud + Thomas Szabo, France, animation, A+5)

4.CARMINA OR BLOW UP (2012, Paco Leon, Spain, A+)


หลังหนังเลิก เรานั่งฟังเพื่อนๆคุยกันเรื่องการเปรียบเทียบ MOMMY ของ Xavier Dolan กับ LATE SPRING (1949, Yasujiro Ozu) และ EARLY SUMMER (1951, Yasujiro Ozu) และฟังเพื่อนๆคุยกันเรื่องแนวคิดของ Emmanuel Levinas ในหนังของ The Dardennes Brothers (เรานั่งฟังเฉยๆค่ะ เพราะเราไม่เคยดูหนังสองเรื่องนี้ของโอสุ และไม่มีความรู้เรื่อง Levinas)

Sunday, October 19, 2014

INTERTEXUALITY IN "POETIC JUSTICE"

ในละครเวที POETIC JUSTICE (2014, Ninart Boonpothong, A+30) มีการพาดพิงถึงบทประพันธ์ของเชคสเปียร์เยอะมาก เท่าที่เราพอจับได้ก็มี

1.HAMLET ผ่านทางตัวละครที่แสดงโดยน้องฟลุค
2.RICHARD III ผ่านทางตัวละครที่แสดงโดยคุณพิศาล
3.CORIOLANUS ผ่านทางตัวละครที่แสดงโดยคุณวสุ
4.TWELFTH NIGHT ผ่านทางการเรียกตัวละครที่แสดงโดยคุณปพิชญา สว่างโลกว่า Viola
5.THE TEMPEST ผ่านทางบทพูดของตัวละครอัยการสูงสุด
6.OTHELLO ผ่านทางบทพูดของตัวละครอาจารย์
7. THE MERCHANT OF VENICE ผ่านทางการเรียกตัวละครคนหนึ่งว่า Portia


แต่เราไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านเชคสเปียร์ ก็เลยจับได้แค่นี้ ไม่รู้มีใครจับอะไรได้มากกว่านี้อีกหรือเปล่า

Films seen on Saturday, October 18, 2014

Films seen on Saturday, October 18, 2014

1.MY SISTER’S QUINCEAÑERA (2013, Aaron Douglas Johnston, USA, A+30)

2.THE MUTE (EL MUDO) (2013, Daniel Vega + Diego Vega, Peru, A+30)

3.3 INDIAN TALES (2014, Robert Morin, Canada, A+25)


แต่หลังหนังจบแล้ว พวกเราถกกันเกี่ยวกับการตีความฉากต่างๆใน AUTOMATA :-)

Saturday, October 18, 2014

RECOMMENDED FILMS FOR WORLD FILM FEST OF BANGKOK

มีเพื่อนขอให้แนะนำว่าควรดูหนังอะไรบ้างในเวิลด์ฟิล์ม เราก็เลยทำลิสท์นี้ขึ้นมาจ้ะ

IN ALPHABETICAL ORDER

1.AVIYA’S SUMMER (1988, Eli Cohen, Israel)
เพราะได้รางวัลหมีเงินจากเบอร์ลิน

2.THE BLUE ROOM (2014, Mathieu Amalric, France)
เพราะเราเคยดูเรื่อง L’ILLUSION COMIQUE (2010, Mathieu Amalric) แล้วชอบสุดๆ

3.THE CONGRESS (2013, Ari Folman, Israel)
เพราะเราชอบ WALTZ WITH BASHIR (2008, Ari Folman) มากๆ

4.GOODBYE TO LANGUAGE 3D (2014, Jean-Luc Godard)
เพราะเราเป็นสาวกของโกดาร์ด

5.ICE POISON (2014, Midi Z, Myanmar)
เพราะ Midi Z เป็นผู้กำกับที่น่าจับตามอง

6.JOURNEY TO THE WEST (2014, Tsai Ming-liang)
เพราะเราเป็นสาวกของไฉ่มิ่งเหลียง

7.MOMMY (2014, Xavier Dolan, Canada)
เพราะเราชอบ LAURENCE ANYWAYS กับ TOM AT THE FARM ของผู้กำกับคนนี้มากพอสมควร

8.EL MUDO (2013, Diego Vega + Daniel Vega, Peru)
เพราะเห็นเข้าชิงรางวัลที่โลคาร์โน

9.TALES OF THE NIGHT (2011, Michel Ocelot, France, animation)
เพราะเราเป็นสาวกของ Michel Ocelot

10.TIMBUKTU (2014, Abderrahmane Sissako, Mauritania)
เพราะเราชอบ BAMAKO (2006, Abderrahmane Sissako) มากๆ

11.A TIME IN QUICHI (2013, Chang Tso-Chi, Taiwan)
เพราะเราชอบหนังเรื่อง DARKNESS AND LIGHT (1999) กับ THE BEST OF TIMES (2001) ของ Chang Tso-Chi มากๆ

12.3 INDIAN TALES (2014, Robert Morin, Canada)
เพราะ Olaf Moller นักวิจารณ์คนโปรดของเรา ชอบหนังเรื่องนี้มากๆ

13.VILLA TOUMA (2014, Suha Arraf, Israel)
เพราะคุณเต้ Graiwoot Chulphongsathorn เคยเขียนถึงหนังเรื่องนี้เอาไว้ได้น่าสนใจมาก