Tuesday, January 29, 2019

29 JAN-4 FEB 1989


อันดับเพลงเมื่อ 30 ปีก่อน
WEEK 5
29 JAN-4 FEB 1989

1. I MISSED THE SHOCK – Akina Nakamori

2. TWO HEARTS – Phil Collins

3. WITCHES – Miho Nakayama

4. ESPECIALLY FOR YOU – Kylie Minogue & Jason Donovan

5. ETERNAL FLAME – Bangles

6. BE MY TWIN – Brother Beyond

7. MISSING YOU – Chris de Burgh

8. HOLD AN OLD FRIEND’S HAND – Tiffany

9. JIRETTAI NE – Shonentai

10. SNOW FLAKE NO MACHIKADO – Anri

--เพลงที่ชอบที่สุดของ Akina Nakamori น่าจะเป็น Yume o misasete

--Akina Nakamori นี่นอกจากจะเป็นหนึ่งในนักร้องที่เราชื่นชอบที่สุดแล้ว ยังนับได้ว่าเป็นคนนึงที่ “ช่วยชีวิต” เราไว้ด้วย เพราะตอนที่เราเจอมรสุมชีวิตในช่วงต้นปี 2016 ตอนนั้นจิตตกอย่างรุนแรงมากๆ แต่มีอยู่วันนึงเราหยิบเทปเพลงเก่าๆมาฟัง แล้วมันมีเพลง SLOW MOTION ของ Akina Nakamori แล้วก็ไม่รู้ว่าทำไม พอเราฟังเพลงนั้น แล้วเหมือนความทรงจำเก่าๆถึงชีวิตที่มีความสุขเมื่อ 30 ปีก่อน มันก็หลั่งไหลเข้ามาในใจเรา เพลงนี้มันช่วยปลุกความทรงจำถึงอดีตที่มีความสุขของเราได้ดีมากๆ การฟังเพลงนั้นในช่วงที่เรามาถึงจุดที่ตกต่ำที่สุดในชีวิต มันก็เลยเหมือนเป็นยาขนานดีที่ช่วยปลอบประโลมจิตใจเรา และทำให้เรายังมีกำลังใจมีชีวิตอยู่ต่อไปได้

--อยากเรียนภาษาญี่ปุ่นมากๆ แต่ไม่รู้ว่าจะเรียนที่โรงเรียนไหนดี หรือจะเริ่มต้นเรียนด้วยตัวเองจากเว็บไซต์อะไรดี

Sunday, January 27, 2019

THE SUPERHERO STORY WE WROTE 30 YEARS AGO


THE SUPERHERO STORY WE WROTE 30 YEARS AGO

อันนี้เป็นสิ่งที่ต่อเนื่องจากโพสท์ที่แล้ว ที่เราบอกว่าขี้เกียจทำลิสท์หนัง superhero ที่เราชื่นชอบ เพราะถ้าทำจริงๆ เรายอมรับเลยว่า มันจะมีหนังอย่าง AVENGERS: INFINITY WAR (2018, Anthony Russo, Joe Russo) ติดอยู่ในลิสท์หนังสุดโปรดของเรา เพราะเราว่ามันใกล้เคียงกับจินตนาการวัยเด็กของเรามากที่สุด

คือตอนเด็กๆเมื่อราว 30 ปีก่อนเรากับกลุ่มเพื่อนสนิทเคยจินตนาการกันว่า อยากแต่งนิยาย/สร้างหนัง/สร้างละครทีวีเรื่อง GODDESS น่ะ โดยในนิยายเรื่องนี้ แต่ละคนจะจินตนาการตัวเองเป็นหญิงสาวสวยที่มีอภินิหารอิทธิฤทธิ์พิสดารต่างๆกันไปในแบบของตัวเอง และพวกเราก็ช่วยกันคิดพล็อต GODDESS เกี่ยวกับตัวละครของตัวเองออกมา และก็เอาพวกดาราหนุ่มๆที่พวกเราชื่นชอบในยุคนั้น (อย่างเช่น เอก โอรี, อั๊ต อัษฎา พานิชกุล, อัษฎาวุธ เหลืองสุนทร) มาจินตนาการใส่เข้าไปในเนื้อเรื่องด้วย และพอพวกเราช่วยกันจินตนาการ เขียนพล็อตกันไปๆมาๆ ตัวละครมันก็เลยเยอะมากๆ และตบตีกันจนวุ่นวายไปหมด

เพราะฉะนั้นพอเราดู AVENGERS: INFINITY WAR เราก็เลยชอบหนังเรื่องนี้อย่างสุดๆ เพราะเราว่าในบรรดาหนัง superhero ที่เราดูมา หนังเรื่องนี้ใกล้เคียงกับ GODDESS ที่เราเคยจินตนาการไว้เมื่อ 30 ปีก่อนมากที่สุดในแง่จำนวนตัวละคร, ตัวละครแต่ละตัวมีอิทธิฤทธิ์ไม่เหมือนกัน และตบตีกันจนวุ่นวายไปหมด

แต่สิ่งที่แตกต่างกันก็คือว่า ใน GODDESS ที่พวกเราเคยจินตนาการนั้น มันไม่มีการแบ่งฝ่ายธรรมะกับอธรรม และไม่มีการต่อสู้เพื่อกอบกู้โลก เพราะตัวละครแต่ละตัวใน GODDESS เต็มไปด้วยความเงี่ยน และภารกิจของตัวละครนำแต่ละตัวก็คือ “การแย่งผัว”

เราเคยเขียนถึงพล็อตตัวละครสามสาว GORGONS ใน GODDESS ไปแล้วนะ อ่านได้ที่นี่

วันนี้พอเราโพสท์ลิสท์หนัง MOST FAVORITE SUPERHERO AND “NOT-EXACTLY-SUPERHERO” FILMS ไปแล้ว ก็เลยทำให้อยากกลับไปอ่านพล็อต GODDESS ที่เพื่อนบางคนเคยเขียนไว้เมื่อ 30 ปีก่อน พอกลับไปอ่านแล้วก็ฮามาก ชอบตัวละคร Flame ที่เพื่อนจินตนาการไว้มากๆ และมันมีบางจุดที่คล้ายกับหนังเรื่อง AQUAMAN อย่างน่าประหลาดใจด้วย เราจำได้ด้วยว่า เพื่อนจินตนาการว่า ตัวละคร Flame (ที่มีรูปร่างหน้าตาคล้าย Christy Turlington) นี้ จะเดินทางไปไหนมาไหนด้วยยานพาหนะที่ไม่เหมือนใคร เพราะเธอใช้ “เตียงเหาะได้” คือเธอจะนอนบนเตียง แล้วก็เอากับผู้ชายไปด้วย แล้วเวลาจะไปไหน มาไหน เตียงของเธอก็จะเหาะไปยังจุดหมาย เพื่อที่เธอจะได้เอากับผู้ชายไปด้วยในขณะเดินทางได้อย่างสะดวก

เนื่องจากตัวหนังสือที่เขียนไว้เมื่อ 30 ปีก่อนจางมากแล้ว เราก็เลยขอจดไว้ให้อ่านได้ง่ายๆก็แล้วกัน

บางตัวละครใน GODDESS
1.Flame (Sister Christine) – ธิดาวังบาดาล เธอผุดมากับฟองคลื่น มาเกยหาดสลบไสล แล้วบาทหลวงเก็บไปชุบเลี้ยง ตอนแรกเธอทำเคร่งครัดๆ ภายหลังก็เริงร่าอยู่ในโบสถ์คาทอลิกแห่งนั้นเอง หลังจากเธอเริงในโบสถ์ซักพัก เธอก็หันเหชีวิตเข้าสู่โลกียภพ และมีบทพิศวาทนานา ต่อมาชายกล้ามฝูงหนึ่ง (สมุนวังบาดาล) ติดตามเธอ + เปิดเผยความลับเกี่ยวกับวังบาดาลให้เธอรู้ เธอจึงกลับไปครองอำนาจวังบาดาล แล้วก็ตบตีแย่งชิงสิ่งต่างๆในวงการยุทธภพในฐานะเจ้าแม่วังบาดาล

2.Father Richard Gere – ผู้เก็บ Flame มาเลี้ยง และมีความต้องการในตัว Flame มาก แต่สำหรับนักบวช การมีเพศสัมพันธ์เป็นบาปหนักที่ไม่ควรให้อภัย แต่สำหรับ Flame Father Richard ยอมตกนรกหมกไหม้เพื่อให้ได้ Flame มาครอง

3.Father Mel Gibson – บาทหลวงในโบสถ์เดียวกัน ที่สนใจ Flame ตั้งแต่แรกพบ และบุกเข้าขืนใจ Flame ในยามวิกาล ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ไม่อาจเรียกว่า “ขืนใจ” ได้

4+5.Matt Goss & Luke Goss – อาหารระหว่างมื้อของ Flame ไม่มีความสำคัญอะไรมาก

6.ฝูงชายกล้าม – ลูกสมุนของ Flame ซึ่ง want Flame มากๆ แต่ไม่กล้าเพราะ Flame เป็นนาย แต่ภายหลังก็ไม่อาจเอาชนะแรงฤทธิพิศวาทของ Flame ไปได้

7.Matt Dillon – Playboy หนุ่มหน้าหยก อันธพาลแก๊งมอเตอร์ไซค์ที่ติดบ่วงเสน่ห์ของ Flame อย่างดิ้นไม่หลุด ห้าวหาญ แกร่งกร้าว บึกบึน อก 3 ศอก สมชายชาตรีไม่มีใครเกิน

8.Ethan Hawke – เด็กน้อย นักเต้นอะโกโก้ในบาร์ ลีลาเร่าร้อน Flame ปีนเวทีขึ้นไปเต้นด้วย แล้วเร่าร้อนไปเร่าร้อนมา ก็ Floor Show คนดูตบมือเกรียว เชียร์กันสนั่นบาร์

9.Jason Conery (คนนี้เราไม่รู้จัก) – เด็กหนุ่มอัจฉริยะ เรียนที่เคมบริดจ์ ฉลาดที่สุด ช่วย Flame วางแผนการในการทำอาชญากรรมต่างๆ โดยคิดค่าตอบแทนเป็นร่างกายของเธอ

10.Robert Downey Jr. – น้องชายสุดหล่อของ Tom (ตัวละครชายหนุ่มอีกคนในเรื่อง) เป็นตำรวจในหน่วยงานเดียวกับ Tom แต่ไม่เก่งเท่า ทำให้เกิดความรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจ แต่ถึงแม้จะไม่เด่นในด้านการงาน แต่เชิงรักเชิงสวาทสุดพรรณนา

พอย้อนกลับไปอ่านสิ่งที่พวกเราเขียนกันไว้เมื่อ 30 ปีก่อนแล้วก็ทำให้อยากย้อนเวลากลับไปยุคนั้นมากๆ รู้สึกว่าช่วงนั้น “จินตนาการ” ของเรากับเพื่อนๆมันช่างสุกสกาวเสียจริงๆ

Tuesday, January 22, 2019

22 JAN-28 JAN 1989


อันดับเพลงเมื่อ 30 ปีก่อน
WEEK 4
22 JAN-28 JAN 1989   

1. 1.ESPECIALLY FOR YOU – Kylie Minogue & Jason Donovan

2. IT’S THE LOVER (NOT THE LOVE) – Tiffany

3.RADIO ROMANCE – Tiffany

4.DROP THAT BOMB – Tiffany

5. THE ONLY WAY IS UP – Yazz & The Plastic Population

6. I MISSED THE SHOCK – Akina Nakamori

7. TWO HEARTS – Phil Collins

8. THE LOCOMOTION – Kylie Minogue

9. HEARTS NEVER LIE – Tiffany & Chris Farren

10. JIRETTAI NE – Shonentai

--เพลง I MISSED THE SHOCK ของ Akina Nakamori นี่ ถือเป็นหนึ่งในเพลงที่มีความสำคัญมากที่สุดในชีวิตของเราเลย เพราะมันกลายเป็นหนึ่งใน “ประโยคอุทาน” ที่ติดปากเรากับเพื่อนๆตอนช่วงเทอมปลายม.4-ม.5 คือในช่วงนั้น พอเจอเหตุการณ์อะไรก็ตามที่น่าประหลาดใจ, น่าตกใจ, แรงๆ, แร่ดๆ เรากับเพื่อนๆก็จะแสดงความรู้สึกต่อเหตุการณ์เหล่านั้นด้วยการอุทานออกมาว่า “I missed the shock!” 555

ถ้าจำไม่ผิด ครั้งแรกที่เราได้ยินเพื่อนอุทานประโยคนี้ออกมา น่าจะเป็นหลังจากที่ดูหนังเรื่อง “เราสอง” (1988, สรวงสุดา ชลลัมพี) ที่โรงหนังลิโดหรือสยามนี่แหละ หนังนำแสดงโดยพีท ทองเจือ กับบิณฑ์ บรรลือฤทธิ์ แล้วหนังมันก็ธรรมดา ไม่ค่อยน่าประทับใจเท่าไหร่ พอดูเสร็จ ตอนเดินออกจากโรง เพื่อนก็หันมาพูดกับเราว่า “I missed the shock!” แล้วหลังจากนั้น ประโยคนี้ก็กลายเป็นประโยคอุทานที่ติดปากเรากับเพื่อนๆไปอีกนานหลายเดือน

Tuesday, January 15, 2019

15 JAN-21 JAN 1989


อันดับเพลงเมื่อ 30 ปีก่อน
WEEK 3
15 JAN-21 JAN 1989

1.ESPECIALLY FOR YOU – Kylie Minogue & Jason Donovan

2. FOUR LETTER WORD – Kim Wilde

3. I DON’T BELIEVE IN MIRACLES – Sinitta

4. JIRETTAI NE – Shonentai

5. A GROOVY KIND OF LOVE – Phil Collins

6. SAIGO NO IIWAKE – Hideaki Tokunaga

7. SMOOTH CRIMINAL – Michael Jackson

8. WITCHES – Miho Nakayama

9. DAYBREAK – Otokogumi

10. TOIKI DE NET – Yoko Minamino

--พอกลับมาฟัง JIRETTAI NE อีกครั้ง ก็เลยเอาเพลงนี้ออกจากหัวแทบไม่ได้เลยในรอบหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมา จำได้ว่ายุคนั้นคลั่งไคล้ คัตจัง มากๆ จัดได้ว่าเป็นสามีเก่าของเราคนนึง

--ชอบเนื้อเพลง I DON’T BELIEVE IN MIRACLES อย่างสุดๆ เราว่ามันเศร้ามากๆ

“ไม่ ฉันไม่เชื่อในปาฏิหาริย์
จะมีสักกี่ครั้งกันที่ความฝันมันจะกลายเป็นจริงได้
ไม่ ฉันไม่เชื่อในปาฏิหาริย์
ถึงแม้ฉันแอบหวังและสวดภาวนา
ว่าคุณจะกลับมาหาฉันในสักวันนึง”

Saturday, January 12, 2019

A LETTER FROM BEIRUT (1979, Jocelyn Saab, France/Lebanon, documentary, A+30)


BEIRUT IS NO LONGER NEVER (1976, Jocelyn Saab, France/Lebanon, documentary, A+30)
A LETTER FROM BEIRUT (1979, Jocelyn Saab, France/Lebanon, documentary, A+30)

1.ถ้าหาก Chile มี Patricio Guzmán และ Cambodia มี Rithy Panh Lebanon ก็มี Jocelyn Saab นี่แหละ ที่เป็นผู้บันทึกความพังพินาศ ล่มสลายของประเทศตนเองออกมาได้อย่างทรงพลัง, เจ็บปวด แต่มีความงดงามในทางมุมมองด้วยในเวลาเดียวกัน

2.รู้สึกว่าเสียง voiceover ในหนังสองเรื่องนี้เป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ คือภาพที่ปรากฏในหนังสองเรื่องนี้มันก็ทรงพลังและมีคุณค่าสุดๆอยู่แล้ว แต่ถ้าหากขาดเสียง voiceover ที่เป็นบทรำพึงรำพันส่วนตัว หนังเรื่องนี้ก็อาจจะเป็นเพียง “หนังสารคดีเชิงข่าว/ข้อมูล” ที่มีคุณค่ามากๆในเชิงบันทึกประวัติศาสตร์/เหตุการณ์/ถ่ายทอดความเป็นจริงน่ะ เพราะภาพในหนังมันบันทึกสภาพบ้านเมืองในกรุงเบรุตในช่วงที่เกิดสงครามกลางเมือง เราได้เห็นชีวิตอันยากลำบากของผู้คนในช่วงนั้น และใน A LETTER FROM BEIRUT หนังก็ได้สัมภาษณ์คนหลายๆคนที่น่าสนใจด้วย คือแค่ลำพังภาพ+บทสัมภาษณ์เหล่านี้มันก็ดีสุดๆอยู่แล้ว

แต่หนังมันยังเพิ่มความเหนือชั้นมากยิ่งขึ้นไปอีก ด้วยเสียง voiceover ที่เป็นบทรำพึงรำพันส่วนตัวของตัวผู้กำกับ และเราว่าสิ่งนี้มันช่วยห่มคลุมเหตุการณ์เลวร้ายสุดๆในหนังด้วย “ความรู้สึกที่งดงาม” บางอย่าง และมันช่วยยกระดับหนังเรื่องนี้ขึ้นไปอีก คือนอกจากหนังเรื่องนี้จะมีคุณค่าในเชิงข่าว/สารคดี/บันทึกประวัติศาสตร์แล้ว มันยังมีความทรงพลังทางอารมณ์ความรู้สึกในแบบงานศิลปะชั้นดีด้วย

เราก็เลยนึกถึงพวกหนังของ Patricio Guzmán และ Rithy Panh เพราะเราว่าสองคนนี้ก็ถ่ายทอดเหตุการณ์สังหารหมู่หรือฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในประเทศตนเอง ออกมาด้วยพลังทางศิลปะเช่นกัน และไม่ได้เป็นเพียงแค่การร้อยเรียงข้อมูลแบบสารคดีเพียงอย่างเดียว

จริงๆแล้วนึกถึงพวกหนังของ Chris Marker และ Harun Farocki ด้วย คือเราว่าถ้าหาก Marker หรือ Farocki มาเกิดใน Lebanon ผู้กำกับสองคนนี้ก็อาจจะทำหนังแบบ Jocelyn Saab ออกมาก็ได้ แต่เนื่องจาก Marker อยู่ในฝรั่งเศส และ Farocki อยู่ในเยอรมนี ทั้งสองก็เลยถ่ายทอดความเลวร้ายของชาติตะวันตกหรืออะไรไปแทน

3.ในส่วนของเหตุการณ์ที่ถ่ายทอดออกมาในหนังสองเรื่องนี้นั้น มันทำให้นึกถึงสงครามกลางเมืองในบอสเนีย, อิรัก และซีเรียมากๆ และมันก็เป็นเรื่องที่น่าเศร้ามากๆที่เหตุการณ์แบบนี้มันไม่ได้จบลงแค่ที่เลบานอนในทศวรรษ 1970-1980 แต่มันยังคงเกิดขึ้นในประเทศอื่นๆต่อไปเรื่อยๆ โดยเฉพาะที่ซีเรียในปัจจุบัน

Tuesday, January 08, 2019

8 JAN-15 JAN 1989


อันดับเพลงเมื่อ 30 ปีก่อน
WEEK 2
8 JAN-15 JAN 1989

1.FOOLISH BEAT – Debbie Gibson

2.ONLY IN MY DREAMS – Debbie Gibson

3. FOUR LETTER WORD – Kim Wilde

4.ESPECIALLY FOR YOU – Kylie Minogue & Jason Donovan

5.SHAKE YOUR LOVE – Debbie Gibson

6. JIRETTAI NE – Shonentai

7. OUT OF THE BLUE – Debbie Gibson

8. PLAY THE FIELD – Debbie Gibson

9.RADIO ROMANCE – Tiffany

10. IT’S NO SECRET – Kylie Minogue



Sunday, January 06, 2019

GIRL (2018, Lukas Dhont, Belgium/Netherlands, A+30)


GIRL (2018, Lukas Dhont, Belgium/Netherlands, A+30)

1.งดงามน้ำตาไหล เหมือนเป็นภาคสองของหนังสารคดีเรื่อง VALENTIJN (2007, Hetty Nietsch, Netherlands, A+30) ที่ติดตามชีวิตของเด็กชายวัย 10-12 ขวบที่เริ่มใช้ puberty inhibitors เพื่อเตรียมตัวเข้าสู่ขั้นตอนการแปลงเพศเป็นสตรีในอนาคต

2.พอดู GIRL ไปได้ 15 นาที ใจเราก็ภาวนาให้หนังจบโดยเร็วที่สุด เพราะเรารักตัวละครนางเอกมากๆ ดูแล้วนึกถึงเพื่อนคณะอักษรคนนึง เพราะฉะนั้นเราก็เลยภาวนาให้หนังจบโดยเร็ว เพื่อที่นางเอก (ที่ดูมีความอ่อนหวาน เปราะบาง) จะได้ไม่เผชิญความยากลำบาก หรือความชิบหายใดๆในชีวิต 555

คือ "การมีชีวิตเป็นตัวละครในหนัง narrative" มันทำให้เราคาดเดาล่วงหน้าได้ว่า นางเอกที่มีชีวิตค่อนข้างลงตัว มีพ่อที่ใจกว้าง ดีเลิศประเสริฐศรี ในช่วงต้นเรื่อง มีโอกาสสูงมากๆที่เธอจะต้องเจออุปสรรคแรงๆในชีวิต เจอความทุกข์มากๆในเวลาต่อมา ตามขนบการเล่าเรื่องของหนัง ก่อนที่ทุกอย่างจะคลี่คลายในตอนจบ หรือไม่นางเอกก็ตายตอนจบ อะไรทำนองนั้นน่ะ แต่พอเรารักตัวละครนางเอกมากๆตั้งแต่ช่วงต้นเรื่อง เราก็เลยไม่อยากให้นางเอกเจออะไรเลวร้ายทั้งสิ้นในเวลาต่อมา เราอยากให้หนังรีบจบโดยเร็ว เธอจะได้ไม่ต้องเจออะไรซวยๆ แล้วยิ่งเธอมีชีวิตอยู่ในหนังยุโรปด้วยแล้ว โอกาสที่เธอจะเจออะไรโหดๆก็มีเยอะกว่าในหนังอเมริกันด้วย (ดูอย่าง IRREVERSIBLE ของ Gaspar Noe และ A WEDDING ของ Stephan Streker สิคะ)

3.พอดูหนังจบแล้ว ทำให้รู้สึกว่า แต่ละสังคมมันก็มีข้อดีข้อเสียของมันเอง 555 คือตอนแรกเราจะรู้สึกว่า สังคมในหนังเรื่องนี้มัน “อารยะ” มากๆ และมันมีวิธีการจัดการกับประเด็นยากๆในแบบที่น่าสนใจดี อย่างเช่น ตอนที่ครูให้โหวตเรื่องการใช้ห้องเปลี่ยนเสื้อผ้าของนางเอก

 แต่พอดูจบแล้ว เราจะสงสัยว่า ถ้าหากนางเอกเกิดในไทย เธอจะเจอปัญหาแบบเดียวกับในหนังเรื่องนี้หรือเปล่า คือเรารู้สึกว่า สังคมเบลเยียมในหนังมันดูดีกว่าสังคมไทยในแง่นึง แต่สิ่งหนึ่งที่สังคมเบลเยียมในหนังเรื่องนี้ไม่มี ก็คือ “แก๊งกะเทยในโรงเรียนมัธยม” 555 เพราะฉะนั้นเราก็เลยรู้สึกว่า ถ้าหากนางเอกเกิดในไทย เธอก็คงจะมีเพื่อนกะเทยมากมายในโรงเรียนมัธยมไปแล้ว เธอจะรู้สึกว่า เธอไม่โดดเดี่ยว มีเพื่อนๆมากมายที่เป็นแบบเดียวกับเธอ และรอการแปลงเพศแบบเดียวกับเธอ และเพื่อนๆในแก๊งของเธอก็มีสิทธิเชิดชูเธอให้เป็นราชินีประจำกลุ่มด้วย เพราะเธอสวยซะขนาดนั้น แล้วเธอจะรู้สึกกดดันแบบในหนังเรื่องนี้ไหม ถ้าหากเธอเกิดในไทย

ก็เลยรู้สึกว่า GIRL เป็นหนังที่งดงามมากๆ และมันก็อาจจะสะท้อนความแตกต่างทางสังคมด้วย เพราะเราว่ากะเทยวัยมัธยมในไทย มักจะมีปัญหาเรื่องพ่อแม่ญาติโกโหติกาไม่ยอมรับ แต่จะไม่ค่อยมีปัญหาเรื่อง “ขาดเพื่อน” เพราะฉะนั้นสถานการณ์แบบใน GIRL ก็เลยเหมือนเป็นอะไรที่น่าสนใจดีสำหรับเรา เพราะมันเป็นปัญหาที่เกิดในโลกที่ศิวิไลซ์มากๆแล้ว ซึ่งมันจะมีลักษณะแตกต่างจากปัญหาสำหรับกะเทยในสังคมอื่นๆ ทั้งสังคมไทย, สังคมฟิลิปปินส์ (ลองดูหนังอย่าง ASTRI & TAMBULAH), สังคมอิหร่าน (ลองดูหนังอย่าง BE LIKE OTHERS), ฯลฯ

Tuesday, January 01, 2019

CONCRETE ROOTS (2018, Achitaphon Piansukprasert, 90min, A+30)


CONCRETE ROOTS (2018, Achitaphon Piansukprasert, 90min, A+30)
รากพราย

1.หนังยาวเรื่องแรกที่เราได้ดูในปีนี้ ถือว่าหนักข้อมากทีเดียว เพราะมันเป็นหนังทดลองที่ไม่มีความประนีประนอมใดๆต่อผู้ชม เราคิดว่าองค์ประกอบของหนังเรื่องนี้อาจจะแบ่งออกได้เป็น 4 ส่วนใหญ่ๆ ซึ่งก็คือ

1.1 ส่วนที่เป็นการจับภาพคนงานก่อสร้างขณะทำงานสร้างบ้านหลังหนึ่ง โดย focus ไปที่การผสมปูน

1.2 ส่วนที่เป็นการจับภาพกิจกรรมในวัดแห่งหนึ่ง ที่มีการบูชาเจ้าแม่ตะเคียนทอง, เจ้าแม่สะไบทอง และเจ้าแม่สะไบเงิน โดยมีการ focus ไปที่เสาปูน 2-3 เสาที่วางนอนอยู่ และมีคนมาบูชาเสาปูนเหล่านี้ ซึ่งเราก็ไม่มีความรู้ว่ามันคืออะไร มีใครรู้บ้างว่าเสาปูนที่คนบูชาในวัดมันคืออะไรกัน

1.3 ส่วนที่เป็นการจับภาพพืชและสัตว์ต่างๆ โดยเฉพาะปลาและนก

1.4 ส่วนที่เป็นหนังทดลองหลอนๆ

2.ถ้าจะถามว่าหนังเรื่องนี้สื่อถึงอะไร เราก็ตอบไม่ได้ 555 แต่ตอนที่ดูหนังเราก็ตระหนักถึงความจริงที่ว่า ทั้งบ้าน,อาคารที่เราอยู่อาศัย หรือแม้แต่วัตถุบูชาบางอย่าง มันก็สร้างจากวัสดุพื้นฐานและแรงงานคนเหมือนๆกัน บ้านที่เราอยู่ก็มาจากปูนและแรงงานของคนงานก่อสร้าง หรือ “วัตถุศักดิ์สิทธิ์” ต่างๆ มันก็ทำจากอิฐ,หิน, ดิน, ทราย, ไม้, โลหะ อะไรพวกนี้ แต่เราว่าหนังอาจจะไม่ต้องการสื่อถึงอะไรพวกนี้หรอก หนังมันคงมีอะไรมากกว่านั้น ซึ่งเราไม่รู้ว่าคืออะไร 555

3.องค์ประกอบที่ชอบที่สุดในหนัง ก็คือความเป็นหนังทดลองหลอนๆนี่แหละ เพราะเรามีรสนิยมชอบอะไรแบบนี้ และจูนติดกับอะไรแบบนี้ได้ง่าย คือยอมรับเลยว่า ช่วง 20 นาทีแรกที่เป็นการจับภาพคนงานก่อสร้างทำงานไปเรื่อยๆเนี่ย เราปรับตัวให้เข้ากับหนังได้ยากมาก แต่พอหนังตัดไปเป็นการซูมเข้าไปหาอะไรสักอย่างในแมกไม้ (มันคืออะไร เราดูไม่ออก) พร้อมกับสร้างบรรยากาศหลอนๆขึ้นมา เราก็จูนติดกับฉากนั้นในทันที

ชอบฉากที่ถ่ายตุ๊กตาบูชาด้วยอารมณ์หลอนๆด้วย ฉากที่เป็น graphic หลอนๆอะไรต่างๆ เราก็ชอบมาก

รู้สึกด้วยว่า หนึ่งในลายเซ็นของ Achitaphon คือ “การสร้างความรู้สึกที่ว่า มีคลื่นพลังงานอะไรบางอย่างที่มองไม่เห็น ลอยอยู่ในบรรยากาศ” ซึ่งเป็นสิ่งที่พบได้ในหนังเรื่อง “หวีนางเงือก” และ “วิญญาณ” และก็พบได้ในหนังเรื่องนี้ด้วย

4.แต่ยอมรับเลยว่า เราจูนไม่ติดกับส่วน 1.1  และ 1.2 ที่เป็นการถ่ายคนงานก่อสร้างกับการถ่ายบรรยากาศในวัด เหมือนมันหนักข้อเกินไปสำหรับเรา แต่มันก็น่าสนใจดีที่มีคนเลือกใช้วิธีการแบบนี้ในการถ่ายทอดสิ่งเหล่านี้ออกมา คือตอนที่ดู เราจะนึกไปด้วยว่า มันมีวิธีการใดๆอีกบ้างในการถ่ายทอดสิ่งเหล่านี้ โดยวิธีการอื่นๆก็มีเช่น

4.1 การสัมภาษณ์คนงานก่อสร้างและคนขายวัตถุบูชาในวัดโดยตรง ซึ่งเป็นวิธีการที่เหมาะ ถ้าหากผู้กำกับต้องการทำหนังที่เน้นการให้ “ข้อมูล” แก่ผู้ชม

4.2 แต่ถ้าหากไม่ต้องการทำหนังที่เน้นการให้ข้อมูลโดยตรงแก่ผู้ชม เราก็ให้ข้อมูลแก่ผู้ชมในทางอ้อมได้ ด้วยการ frame ภาพที่ดี เพราะการเลือก frame ภาพที่ดีจะทำให้ซีนนั้นให้ได้ทั้งข้อมูล และความสวยงามเพลินตา ดูได้นานๆไม่เบื่อ ซึ่งวิธีการแบบนี้สามารถศึกษาได้จากหนังอย่าง OUR DAILY BREAD (2005, Nikolaus Geyrhalter) และ IN COMPARISON (2009, Harun Farocki) ที่ถ่ายทอดวิธีการทำงานของคนงานเหมือนๆกัน

5.จริงๆแล้วก็คือว่า เรารู้สึกว่าส่วนที่เป็นการถ่ายคนงานก่อสร้างกับถ่ายบรรยากาศในวัด มันเหมือนขาดมนต์เสน่ห์ทางภาพอยู่บ้างน่ะ แล้วพอเราดูหนังผ่านทางจอคอมพิวเตอร์ มันก็เลยยิ่งเหมือนต้องใช้ความอดทนในการดู แต่ถ้าดูทางจอใหญ่ๆ อาจจะจูนติดกับมันง่ายขึ้น

คือเราว่า  “มนต์เสน่ห์ทางภาพ” ถ้าหากทำได้ มันก็จะทำให้หนังย่อยง่ายขึ้นสำหรับผู้ชมในวงกว้างนะ 555 คือนอกจากหนังของ Nikolaus Geyrhalter และ Harun Farocki แล้ว เราก็นึกถึงหนังอีกหลายๆเรื่องที่มันถ่าย “สิ่งของ” หรือ “สถานที่” แบบจับจ้องไปที่สิ่งนั้นนานๆ โดยไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลยน่ะ แต่หนังเหล่านี้มันมี “มนต์เสน่ห์ทางภาพ” อย่างรุนแรง มันก็เลยสะกดเราได้อยู่หมัด หนังในกลุ่มนี้ก็มีเช่น HOTEL MONTEREY (1973, Chantal Akerman), AGATHA AND THE LIMITLESS READINGS (1981, Marguerite Duras), WINDOWS (1999, Apichatpong Weerasethakul), RUHR (2009, James Benning) คือจะให้เราจ้องประตูลิฟท์ 10 นาที, จ้องหน้าต่าง 20 นาทีอะไรแบบนี้ เป็นสิ่งที่เราทำได้สบายมาก ถ้าหากหนังมันถ่ายทอดอะไรแบบนี้ออกมาได้อย่างมีมนต์สะกดจริงๆ แต่พอให้เราต้องดูคนงานก่อสร้างทำงานแบบ “ดิบ” มากๆอย่างนี้ เราก็ยอมรับว่า เราจูนติดได้ยากเหมือนกัน 555

6.แต่ก็ชอบหนังมากๆอยู่ดีนะ ถือว่ามันเป็นการทดลองทำอะไรแปลกๆใหม่ๆที่น่าสนใจดี มีความเป็นตัวของตัวเอง และก็ไม่ประนีประนอมกับคนดูจริงๆ เป็นหนังที่เราต้องใช้ความอดทนในการดูมากพอๆกับหนังอย่าง YOU HAVE TO WAIT, ANYWAY (2007, Nawapol Thamrongrattanarit, 22min), THE RAPE OF BANGKOK ข่มขืนกรุงเทพ (2011, Wachara Kanha, Teeranit Siangsanoh, 90min) และ “นิราศเขาวงกต” (2014, Prap Boonpan, 268min) เพราะหนังเหล่านี้ก็ถ่ายทอดซีนต่างๆที่บางทีแทบไม่มีเรื่องราวอะไรเกิดขึ้นเป็นเวลานานเหมือนๆกัน และก็ไม่ได้เน้นความสวยงามด้านภาพมากนักด้วย แต่ก็ถือว่าชอบหนังกลุ่มนี้มากๆอยู่ดีน่ะแหละ และบางทีการที่ต้องใช้ความอดทนในการดู ก็เป็นหนึ่งในสิ่งที่ทำให้หนังมันน่าจดจำได้เหมือนกัน