Wednesday, September 30, 2015

WILLIAM RILEY GOES HOLLYWOOD (1930, Roscoe “Fatty” Arbuckle, 18min, A+)

WILLIAM RILEY GOES HOLLYWOOD (1930, Roscoe “Fatty” Arbuckle, 18min, A+)

หนังสั้นเกี่ยวกับผู้ชายบ๊องๆที่พยายามสร้างข่าวฉาวในฮอลลีวู้ดเพื่อช่วยเหลือดาราหญิงที่เขาชื่นชอบ (รับบทโดย Louise Brooks) ตัวหนังอาจจะไม่มีอะไรมาก แต่สิ่งที่น่าสนใจก็คือว่า หนังอาจจะได้รับแรงบันดาลใจอะไรบางอย่างมาจากชีวิตจริงของผู้กำกับ ซึ่งเคยตกเป็นผู้ต้องหาในคดีข่มขืนและฆ่าดาราหญิงคนหนึ่ง แต่ในเวลาต่อมาความจริงปรากฏว่าเขาอาจจะถูกใส่ร้าย และที่จริงแล้วเขาอาจจะเป็นผู้บริสุทธิ์

NAZI YOUTH'S FAVORITE FILMS

เกร็ดเกี่ยวกับหนังเยอรมันยุคเก่า: NAZI YOUTH’S FAVORITE FILMS

ในช่วงที่นาซีปกครองเยอรมนีนั้น เคยมีการสอบถามความเห็นคนรุ่นหนุ่มสาวว่าชอบหนังเรื่องไหนมากที่สุด และผลการสำรวจก็ออกมาเป็นดังนี้

1.THE GREAT KING (1942, Veit Harlan)
ได้คะแนนมากสุด โดยได้คะแนน 1115 คะแนน หนังมีเนื้อหาเกี่ยวกับกษัตริย์เฟรเดอริคมหาราชแห่งปรัสเซีย ซึ่งเป็นกษัตริย์ที่นาซีชื่นชมยกย่องเป็นอย่างมาก

2.BISMARCK (1940, Wolfgang Liebeneiner)

3.THE DISMISSAL (1942, Wolfgang Liebeneiner) หรือ BISMARCK ภาคสอง

4.FRIEDRICH SCHILLER (1940, Herbert Maisch)
หนังเรื่องนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับฟรีดริช ชิลเลอร์ กวีชื่อดังชาวเยอรมันในคริสต์ศตวรรษที่ 18 โดยหนังพยายามจะสร้างความคล้ายคลึงกันระหว่างชิลเลอร์กับฮิตเลอร์ และพยายามแสดงให้เห็นว่ามีคนบางคนที่เป็นเหมือนกับ superman หรือคนที่ดีเลิศประเสริฐศรีกว่าคนอื่นๆเป็นอย่างมาก และสมควรที่จะได้ปกครองคนอื่นๆ

5.HOMECOMING (1941, Gustav Ucicky)
หนังโฆษณาชวนเชื่อเรื่องนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่ออ้างความชอบธรรมให้แก่นาซีในการบุกยึดโปแลนด์ โดยหนังแสดงให้เห็นว่าชาวเยอรมันในโปแลนด์ถูกกดขี่ข่มเหงอย่างรุนแรง ดังนั้นกองทัพนาซีจึงมีความชอบธรรมในการรุกรานโปแลนด์

6.UNCLE KRÜGER (1941, Hans Steinhoff)
หนังเรื่องนี้เป็นชีวประวัติของพอล ครูเกอร์ ประธานาธิบดีของแอฟริกาใต้ หนังเรื่องนี้เป็นหนังสงครามที่ช่วยสร้างความฮึกเหิมให้แก่ทหารเยอรมันในยุคนั้น โดยตัวร้ายในหนังเรื่องนี้คือกองทัพอังกฤษ ซึ่งถูกนำเสนอในแบบที่น่าเกลียดเกินจริงเป็นอย่างมาก

7.RIDING FOR GERMANY (1941, Arthur Maria Rabenalt)

8.ANDREAS SCHLÜTER (1942, Herbert Maisch)

9.STUKAS (1941, Karl Ritter)
หนังโฆษณาชวนเชื่อเรื่องนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับทหารอากาศของเยอรมนีและการสู้รบในฝรั่งเศสในช่วงต้นสงครามโลกครั้งที่สอง

10.CADETS (1939, Karl Ritter)
หนังเรื่องนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับกลุ่มทหารหนุ่มชาวปรัสเซียที่ถูกทหารรัสเซียจับตัวไปทรมานอย่างโหดร้ายในช่วง “สงคราม 7 ปี” ในคริสต์ศตวรรษที่ 18

11.DIESEL (1942, Gerhard Lamprecht)

12.REQUEST CONCERT (1940, Eduard von Borsody)
เรื่องราวความรักระหว่างหญิงสาวคนหนึ่งกับทหารอากาศที่พบรักกันในช่วงกีฬาโอลิมปิกที่เบอร์ลินในปี 1936 แต่ทั้งสองต้องพลัดพรากจากกันเพราะสงคราม

13.BATTLE SQUADRON LÜTZOW (1941, Hans Bertram)
หนังโฆษณาชวนเชื่อเกี่ยวกับทหารอากาศของเยอรมนีที่ทิ้งระเบิดใส่โปแลนด์กับเรือของอังกฤษ

--ข้อมูลข้างต้นจากหนังสือ THE TRIUMPH OF PROPAGANDA: FILM AND NATIONAL SOCIALISM 1933-1945 ของ Hilmar Hoffmann

--เรายังไม่เคยดูหนังในกลุ่มนี้เลย เรามีดีวีดี REQUEST CONCERT แต่ก็ยังไม่มีเวลาหยิบมาดู


--ในโปรแกรม FILMVIRUS IN WEIMAR GERMANY ที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ไม่มีหนังในกลุ่มข้างต้นฉายนะ แต่มีหนังที่กำกับโดย Gerhard Lamprecht ฉาย 4 เรื่อง ซึ่งได้แก่เรื่อง SLUMS OF BERLIN (1925), FOLKS UPSTAIRS (1926), CHILDREN OF NO IMPORTANCE (1926) และ UNDER THE LANTERN (1928)

Tuesday, September 29, 2015

Film Wish List: THE GOLDEN SMILE (1935, Paul Fejos, Denmark)

Film Wish List: THE GOLDEN SMILE (1935, Paul Fejos, Denmark) Paul Fejos เป็นผู้กำกับชาวฮังการีที่เคยกำกับหนังเรื่อง “ข้าวกำมือเดียว” (1940) ที่ถ่ายทำในไทยและจะฉายที่ศาลายาวันอาทิตย์ที่ 4 ต.ค.นี้ เวลา 15.00 น. อย่างไรก็ดี Paul Fejos เคยกำกับหนังดีๆอีกมากมายหลายเรื่อง และหนึ่งในเรื่องที่เราอยากดูก็คือ THE GOLDEN SMILE ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับนักแสดงหญิงชื่อดังคนนึงที่เอา “การแสดง” เข้ามาใช้ในชีวิตประจำวันของตนเองมากเสียจนตัวเธอเองพบว่า ตัวเธอไม่สามารถแสดงออก “อย่างจริงใจ” ได้อีกต่อไป ตายแล้วววววววววววววววววววววววววววววววว ชอบพล็อตแบบนี้มากๆเลยค่ะ

SPIES (Fritz Lang) vs. James Bond

ถ้าใครชอบหนังแนวอินเดียน่า โจนส์ และหนังแนวเจมส์ บอนด์หรือ MISSION: IMPOSSIBLE เราก็ขอแนะนำให้มาชมหนังแนวนี้ที่สร้างขึ้นเมื่อราว 100 ปีก่อนได้ในงาน FILMVIRUS IN WEIMAR GERMANY ที่ห้องสมุดธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์นะจ๊ะ โดยในวันอาทิตย์ที่ 4 ต.ค.นี้ เวลา 12.30 น. จะมีฉายหนังเรื่อง THE SPIDERS (1919, Fritz Lang, 137min) ซึ่งเป็นหนังเกี่ยวกับการตบตีแย่งชิงขุมทรัพย์โบราณเหมือนกับหนังชุดอินเดียน่า โจนส์ และในเวลา 15.00 น.จะฉายหนังเรื่อง SPIES (1928, Fritz Lang, 145min) ซึ่งเป็นหนังเกี่ยวกับการหักเหลี่ยมเฉือนคมกันระหว่างสายลับ เหมือนกับหนังชุด JAMES BOND และ MISSION: IMPOSSIBLE นอกจากนี้ SPIES ยังมีบางส่วนที่ทำให้เรานึกถึงหนังทริลเลอร์ยุคเก่าอย่าง THE MAN WHO KNEW TOO MUCH (1934, Alfred Hitchcock) และ THE LADY VANISHES (1938, Alfred Hitchcock) ด้วย

อย่างไรก็ดี สิ่งสำคัญที่ทำให้หนังของ Fritz Lang ทั้ง THE SPIDERS, SPIES, M และหนังชุด DR. MABUSE แตกต่างจากหนังแอคชั่นทริลเลอร์ยุคปัจจุบันอย่างอินเดียน่า โจนส์และเจมส์ บอนด์ก็คือว่า หนังของ Lang ยุคนั้นเน้นไปที่ตัวละครผู้ร้ายมากกว่าพระเอกน่ะ โดยใน SPIES จะเห็นได้ชัดเลยว่า ถึงแม้เนื้อหาของหนังคล้ายกับเจมส์ บอนด์ แต่ตัวร้ายจะเด่นกว่าพระเอก โดยพระเอกของ SPIES เป็นเหมือนแค่ “สายลับที่เก่งมากๆ” คนนึง แต่ไม่มีบุคลิกโดดเด่นมี charisma มากเท่ากับตัวละครฝ่ายผู้ร้าย


อย่างไรก็ดี วันอาทิตย์ที่ 4 ต.ค.เราคงจะไปดู A HANDFUL OF RICE (1940, Paul Fejos + Gunnar Skoglund) ที่ศาลายาจ้ะ 555

SPLENDOR SOLIS (2015, Daniel Fawcett, A+30)


SPLENDOR SOLIS (2015, Daniel Fawcett, A+30)

SPLENDOR SOLIS is easily one of the most beautiful films I have seen this year. It is a film made by compiling various kinds of footage shot by the director over 17 years. It is an autobiographical film, and its poetic quality reminds me of such beautiful and powerful films as THE LONG DAY CLOSES (1992, Terence Davies), AS I WAS MOVING AHEAD OCCASIONALLY I SAW BRIEF GLIMPSES OF BEAUTY (2000, Jonas Mekas), KAMIAS: MEMORIES OF FORGETTING (2006, Khavn De La Cruz), FUENG (2010, Teeranit Siangsanoh + Wachara Kanha + Tani Thitiprawat), and GRINDHOUSE FOR UTOPIA (2013, Tani Thitiprawat).

Like AS I WAS MOVING AHEAD OCCASIONALLY I SAW BRIEF GLIMPSES OF BEAUTY, SPLENDOR SOLIS is one of the most difficult films to describe. Both films seem to have no “story” to tell. Each of them shows us the life of its director, but shows them without any voiceover and any specific information which we can hold on to. The viewers who don’t know its director personally are likely to get confused about what they see. We don’t know the relationship between the director and each person who appears in the film. Is this woman his mother, his sister, his friend, or his girlfriend? Who is this little baby? Who is this guy? Is this guy the director? Sometimes we don’t know what really happens before our eyes. Sometimes we see some kinds of strange performances, but we don’t know what the performances were all about, the context in which they happened, for which audience the performances were, what inspired each of the performances, etc. We don’t know any specific information about anything we see, but it is this quality which helps make this very personal” film “universal” at the same time. Because we don’t exactly know anyone or any specific stories behind any scenes in this film, we are “liberated” in a way. Compared to most narrative films, SPLENDOR SOLIS gives us more freedom to interpret anything we see, more freedom to feel anything from what we see, and also more freedom to connect the scenes we see in any way we like.

One of the most interesting things in SPLENDOR SOLIS is the use of twin screens for the most part of the film. The film starts with a single screen. It shows us a colorful garden, a young man and a room full of paintings. The man seems to be an artist. He plays with a glass ball. And after he has blown a candle, the film changes into twin screens. I’m not sure what this prologue means. But it seems like the first part of the film is the invitation to go inside a mind of an artist, or maybe the invitation to travel together with an artist in a mental journey.

The use of twin screens in this film is very interesting. What shows inside each screen at the same time seems not to correspond to what shows inside the other screen directly. It seems a little bit random sometimes, but somehow I feel they are connected indirectly or poetically, rather than logically. I’m not sure if the director uses any specific scheme to arrange the connection between the two screens or not, but I guess he might have chosen what to show in each screen by following his own instinct or feelings, rather than following any specific or fixed scheme. There are only a few moments in this film in which what shows inside both screens corresponds to each other directly, such as when both screens show someone playing piano, show a man holding a camera, or shows some persons dancing in a strange way. But most of the time what shows inside each screen does not correspond directly to each other, and the viewers are free to connect them any way they like.

I think the use of twin screens helps make this film much more captivating. If the film uses only one screen, the film would be twice as long, and might not be as captivating as this. When I see two screens at the same time in this film, I feel as if my brain or the part of my brain which deals with feelings is used at twice the rate of what is used when I see an ordinary film. Moreover, the use of twin screens also reminds me of what Harun Farocki once said about what is interesting in video installations in galleries. I don’t remember exactly what Farocki said. But he pointed out that for ordinary films shown in theatres, the filmmakers can play only with the editing between each shot—he can choose which shot comes first, which shot comes second, which shot comes after that---and can create some meanings between the editing of shots like this. But for some video installations in galleries which use more than one screen, the videomakers can play both with the editing of each shot and the arrangement of what to appear in each screen at the same time. So when we see an ordinary film which uses a single screen, we may have to deal with meanings and feelings created by the editing of shots. We may think about why this shot comes after that shot. What is the connection between the first shot and the second shot? What do we feel when we see this shot comes after that shot? But when we see films or videos with multiple screens at the same time, we might also have to deal with these questions: what is the connection between what is shown in each screen in each moment? Is the guy in the right screen the same one whom we saw in the left screen a few minutes ago? Is what is shown in the left screen happens in the same place as the right screen? etc.

So the brain is aroused twice much more than when we see an ordinary film. Moreover, there are many scenes in SPLENDOR SOLIS which use superimpositions, such as the scene when we see a guy in a black dress running in a field, and the scene of a beach is superimposed on it. So in many instances, we see three or four things happen at the same time. The left screen shows the scene of a field superimposed on a scene at the beach. The right screen shows the shot of a woman superimposed on a shot of a city. So our brain is aroused much more. It seems like we are encouraged to find the connection between these four images at the same time, and also the connection between these four images and other images which come after that, and also the connection between these four images and the music.

I also want to point out that the soundtrack of this film is great. I like it very much. It is very strange, very beautiful, and very powerful at the same time. Sometimes it is like “the third screen” of this film, because sometimes I’m not sure what the connection is between what we see in the twin screens and what we hear, so the music in this film does not only guide our emotions, but also arouses our brains. There are only several instances in this film in which the sound corresponds directly to what we see on the screen, such as when we see someone hitting a cymbal and we hear the cymbal, or when we see a dog and hear it barks, or when we see the sea and hear some seagulls.

The use of music in this film also reminds me of what my friend once said about how important music is to many experimental films. Because many experimental films don’t tell a coherent story, but show us fragments of many things, powerful music must be used to hold these various fragments together, or else the fragments might be too diverse, too different from one another, or cannot connect to one another satisfyingly. I think the music in SPLENDOR SOLIS functions in this way, too. It can hold the various fragments in this film together. It holds what happens in the left screen and the right screen together, and holds what happens in each minute and the next minute together, because what happens in each minute may not connect directly to what happens in the next minute in this film.

Though I said my brain is aroused very much by the use of twin screens and strange music in this film, I didn’t mean that the brain is used to solve a mystery or to understand any information in this film, because this film is neither a murder mystery nor a narrative film which tells us about something difficult to understand. I mean the part of the brain which deals with feelings. Because we see two, three or four images at the same time, and hear strange music at the same time, we are aroused to feel something stronger or more intensely than what we usually feel. And because our brains cannot understand many things which happen at the same time, this film might require a second viewing for some of us in order to notice something which we don’t notice in the first viewing.

The other thing I like in SPLENDOR SOLIS is its use of vibrant, strong colors, like in SAVAGE WITCHES (2012). I think the use of colors is one of the things which make this film stand apart from other experimental/poetic/autobiographical films. I think the use of home movies in this film reminds me of AS I WAS MOVING AHEAD OCCASIONALLY I SAW BRIEF GLIMPSES OF BEAUTY. The use of strange performances and the focus on friendship reminds me of FUENG. The use of twin screens reminds me of GRINDHOUSE FOR UTOPIA. And these films are experimental/poetic/autobiographical films, too. But none of them uses vibrant colors like SPLENDOR SOLIS. So this colorful quality is one of the things which make this film unique.

Though I said SPLENDOR SOLIS reminds me of some other experimental/poetic/autobiographical films, I didn’t mean to say they are very much alike. I think each of them is very different from one another, and I’m eager to see other films in this genre. I think what makes each of them very different from one another is because each of them is made from the personal life and the inner feelings of each director. And because each director’s life is very different—they grew up in different countries, in different times, in different societies, in different classes, have different families (some are very close to their families, others are not), have different groups of friends, have different activities—their autobiographical films come out very different automatically, especially if they made their films by listening to the inner rhythms inside themselves, and let the films become the free flow of their subconscious like in SPLENDOR SOLIS.



Sunday, September 27, 2015

FILMVIRUS IN WEIMAR GERMANY FIRST WEEK

--ขอบคุณทุกท่านที่มาชมงาน FILMVIRUS IN WEIMAR GERMANY ในวันนี้นะครับ

--กราบขออภัยทุกท่านเป็นอย่างยิ่งในการฉาย THE SUFFRAGETTE (1913, Urban Gad) ที่ฉายไปครึ่งเรื่อง แล้วอยู่ดีๆเสียงก็หายไปเลย ซึ่งผมก็ไม่รู้ว่าเกิดจากอะไรกันแน่ และผมก็นึกว่าทางเจ้าหน้าที่เขาคงแก้ไขได้เอง แต่พอเข้าเรื่องที่สอง เสียงก็ยังไม่มา ผมก็เลยขอให้เจ้าหน้าที่เขาลองแก้ไขด้วยวิธีการต่างๆดู แล้วพอเขาลองเปลี่ยนช่องสัญญาณเสียบสายอะไรสักอย่าง เสียงก็กลับมาเป็นปกติ ก็เลยเดาว่าปัญหาคงเกิดจากช่องสัญญาณที่เสียบไว้ตอนแรก ซึ่งตอนแรกเสียงจากช่องนั้นมันก็ใช้งานได้ดี แต่อยู่ดีๆมันก็เจ๊งไปเองกลางเรื่องเฉยเลย ซึ่งผมก็ไม่เคยเจอปัญหาแบบนี้มาก่อนเหมือนกันครับ และหวังว่าคงไม่เกิดปัญหาแบบนี้ขึ้นอีก ต้องขออภัยเป็นอย่างยิ่งครับ

--หนังเรื่อง THE SUFFRAGETTE (1913) เป็นหนังที่สร้างขึ้นก่อนที่ผู้หญิงจะได้รับสิทธิเลือกตั้งในหลายประเทศในยุโรป โดยประเทศอย่างเช่นเยอรมนีและอังกฤษนั้น ผู้หญิงส่วนใหญ่เพิ่งจะได้รับสิทธิเลือกตั้งช่วงปลายหรือหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 1918

หนังเรื่อง THE SUFFRAGETTE เป็นหนังที่เราไม่เห็นด้วยกับทัศนคติอย่างรุนแรง เพราะหนังเรื่องนี้เหมือนกับจะไม่เห็นด้วยกับการให้สิทธิเลือกตั้งแก่ผู้หญิง และนำเสนอภาพว่าผู้หญิงควรจะออกลูก, เลี้ยงลูก และทำตัวเป็นภรรยาที่ดีของผู้ชาย แต่เราว่าหนังเรื่องนี้ควรดูเป็นอย่างยิ่งในยุคปัจุบัน เพราะมันแสดงให้เห็นว่า คนเมื่อ 100 ปีก่อน “มองคนไม่เท่ากันอย่างไร” หรือมองว่า “ใครไม่ควรได้รับสิทธิเลือกตั้ง” อย่างไร และทัศนคติของคนเมื่อ 100 ปีก่อน มันดูเป็นอย่างไรบ้างในสายตาคนยุคปัจจุบัน และถ้าคนยุคปัจจุบันยังคงมองคนไม่เท่ากัน โดยเฉพาะในเรื่องสิทธิเลือกตั้ง คนยุคปัจจุบันนี้จะถูกมองอย่างไรในสายตาของคนอีก 100 ปีข้างหน้า

--ถ้าใครชอบตัวละครแนว “กลุ่มคุณป้า activists” ในหนังเรื่อง THE SUFFRAGETTE เราขอแนะนำให้ชมหนังเรื่อง DIARY OF A LOST GIRL (1929, G.W. Pabst, A+30) ที่จะฉายในวันอาทิตย์ที่ 27 ธ.ค.จ้ะ เพราะใน DIARY OF A LOST GIRL ก็มีตัวละครป้าๆแบบนี้เหมือนกัน แต่ตัวละครกลุ่มนี้ใน DIARY OF A LOST GIRL มาเพื่อให้โดนตบของจริง

--ถ้าใครชอบ Asta Nielsen นางเอกของหนัง 4 เรื่องในวันนี้ ก็ขอแนะนำให้ชม HAMLET (1921, Sven Gade + Heinz Schall) ที่จะฉายในวันอาทิตย์ที่ 18 ต.ค. กับ THE JOYLESS STREET (1925, G.W. Pabst) ที่จะฉายในวันอาทิตย์ที่ 15 พ.ย. เพราะ Asta Nielsen ก็นำแสดงในสองเรื่องนี้ด้วยเหมือนกัน (แต่วันอาทิตย์ที่ 15 พ.ย.มีเทศกาล World Film Festival of Bangkok ด้วยนะ เพราะฉะนั้นต้องจัดตารางชีวิตกันให้ดีๆ)

--นอกจากหนังในโปรแกรม FILMVIRUS IN WEIMAR GERMANY จะสะท้อนสภาพสังคมและความคิดฝันของคนเยอรมันในยุคไวมาร์แล้ว หนังกลุ่มนี้ยังสะท้อน “พัฒนาการด้านภาพยนตร์” ของยุค 1910-1930 ไว้ด้วยนะ

อย่างหนัง 4 เรื่องที่ฉายในวันนี้ เป็นหนังยุคสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ซึ่งจะเป็นหนังพวก theatrical costume drama เป็นหนังที่เหมือนละครเวทีที่ตัวละครแต่งตัวสวยๆงามๆ และยังไม่ใช่หนังกลุ่ม EXPRESSIONIST และกลุ่ม NEW REALISM ที่จะเบ่งบานในเยอรมนีในช่วงต่อมา นอกจากนี้ หนังเกือบทั้งหมดในโปรแกรมนี้ก็เป็นหนังเงียบด้วย ยกเว้นเพียง MELODY OF THE WORLD (1929, Walter Ruttmann) กับ THE THREEPENNY OPERA (1931, G.W. Pabst) ที่เป็นหนังเสียง


นอกจากนี้ หนัง 4 เรื่องในยุค 1910 ที่ฉายในวันนี้ ส่วนใหญ่แล้วยังมีลักษณะที่เขาเรียกกันว่า tableau ด้วย ถ้าเข้าใจไม่ผิด คือกล้องจะตั้งนิ่งๆเหมือนกับอยู่หน้าเวทีละคร แล้วปล่อยให้ตัวละครแสดงอะไรไปเรื่อยๆ เคลื่อนไหวย้ายตำแหน่งแห่งที่ของตัวเองไปเรื่อยๆ โดยที่กล้องจะยังไม่เคลื่อนไหวมากนักในยุคนี้ คือหนังในยุคนี้เราจะแทบไม่ค่อยเห็น “พลังของการ close up” และ “พลังของการตัดต่อ” เท่าไหร่นัก และยังไม่มี shot reverse shot อะไรพวกนี้ ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะข้อจำกัดของกล้องในยุคนั้น และช่วงนี้เป็นช่วงที่เยอรมนียังทำสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เพราะฉะนั้นช่วงนี้เยอรมนีอาจจะยังไม่ได้ดูหนังจากสหรัฐอเมริกากับฝรั่งเศสมากนัก แต่พอสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 1918 และเข้าสู่ยุคไวมาร์ เยอรมนีจะได้ดูหนังจากประเทศต่างๆมากขึ้น ได้เห็นเทคนิคการตัดต่อ เทคนิคการถ่ายทำจากหนังต่างชาติมากขึ้น และพัฒนาการด้านการสร้างภาพยนตร์ก็จะก้าวรุดหน้าไปอย่างรวดเร็วมากในเยอรมนี

Saturday, September 26, 2015

GERMAN CONCENTRATION CAMPS FACTUAL SURVEY (2014, Sidney Bernstein, documentary, A+30)

GERMAN CONCENTRATION CAMPS FACTUAL SURVEY (2014, Sidney Bernstein, documentary, A+30)

--ไม่มีคำบรรยายใดๆอีกต่อไป

--รุนแรงมากในทุกๆฉาก โดยเฉพาะฉากที่สำรวจ “แผ่นหนัง” ที่ลอกออกมาจากมนุษย์ เพราะพวกนาซีจะจับคนยิวและศัตรูนาซี (ยิปซี, เกย์, คอมมิวนิสต์,  ฯลฯ) ที่มีรอยสักสวยๆแปลกๆมาถลกหนังออก แล้วเอาแผ่นหนังมนุษย์ที่มีรอยสักสวยๆนั้นมาทำเป็นโคมไฟ

--น่าสนใจดีที่หนึ่งในเหตุผลที่หนังเรื่องนี้ไม่ได้ออกฉายในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นเพราะว่า “ไม่มีกลุ่มต่อต้านในเยอรมนี” เหมือนอย่างที่ฝ่ายสัมพันธมิตรคาดการณ์ไว้ในตอนแรก คือตอนแรกที่อังกฤษผลิตหนังเรื่องนี้ขึ้นมา เป็นเพราะอังกฤษคาดว่าในช่วงหลังสงคราม จะยังคงมีกองกำลังนาซีออกมาต่อต้านฝ่ายสัมพันธมิตรอยู่ อังกฤษก็เลยผลิตหนังเรื่องนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า นาซีทำเรื่องโหดร้ายอะไรไปบ้าง แต่ปรากฏว่าช่วงหลังสงคราม กลับแทบไม่มี resistance group โผล่ขึ้นมาในเยอรมนีเพื่อต่อต้านฝ่ายสัมพันธมิตรเลย อันนี้ก็เลยเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้หนังเรื่องนี้ไม่มีความจำเป็นต้องออกฉายในช่วงนั้น

--ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่โรงศาลายาฉาย DCP ภาพเลยออกมาคมชัดมากๆ


--การบรรยายของคุณตุลย์ อิศรางกูร ณ อยุธยา มีประโยชน์มากๆ ทั้งเรื่องของนาซี, การก้าวขึ้นสู่อำนาจของฮิตเลอร์, นีโอนาซี, กาฬโรค, Dreyfus Affair, Hanna Arendt, Primo Levi, Elie Wiesel, Immanuel Kant, ข้ออ้างว่าตัวเอง “ทำตามหน้าที่” เพื่อปฏิเสธความผิดในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์, รัฐธรรมนูญที่อนุญาตให้ทหารขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชา

Friday, September 25, 2015

PHANTOM (1922, F.W. Murnau, Germany, 120min, A+30)

PHANTOM (1922, F.W. Murnau, Germany, 120min, A+30)

ชอบความเปราะบางของมนุษย์ในหนังเรื่องนี้มากๆ คือพระเอกของเรื่องเป็นคนดีที่มีชื่อเสียงเรื่องความซื่อสัตย์ เขาเป็นคนที่เจ้าแม่เงินกู้ไว้วางใจที่สุดว่า “คนนี้ไม่โกงแน่นอน” แต่อยู่ดีๆวันนึงเขาก็ถูกรถชน แล้วเขาก็ตกหลุมรักสาวสวยผู้ร่ำรวยที่ขับรถชนเขา แล้วหลังจากนั้นก็เหมือนเขาเกิดอาการจิตแตก เขาเริ่มโกงเงิน เริ่มทำเลวหลายๆอย่าง โดยที่เขายังคงเหมือนไม่รู้ตัวว่าตัวเองทำเลวไปแล้ว

เราว่าตัวละครพระเอกมันน่าสนใจมากๆ และเราว่าคนอย่างนี้น่ากลัวกว่าคนที่เรารู้แน่ๆว่า “ไอ้นี่ไว้วางใจไม่ได้” หรือ “ไอ้นี่ดูเจ้าเล่ห์มาก” เพราะเวลาเราเจอคนที่เราไว้วางใจไม่ได้ เราก็จะระวังตัว และไม่ยอมตกเป็นเหยื่อของคนพวกนี้ แต่เรามักจะไว้วางใจคนอย่างพระเอก คนที่ใจซื่อ มือสะอาดมาโดยตลอด โดยเราลืมนึกถึงความจริงที่ว่า มนุษย์มันเปลี่ยนแปลงได้ทุกวินาที และมนุษย์แต่ละคนมันมีจุดอ่อนของตัวเอง และการที่เขาทำดีมาโดยตลอดเวลาที่ผ่านมา มันไม่ได้รับประกันว่า วันพรุ่งนี้เขาจะยังคงทำดีอยู่ เพราะวันใดวันหนึ่งอาจจะมีอะไรบางอย่างมากระทบจุดอ่อนทางจิตของเขา และทำให้เขาเปลี่ยนไปจากเดิมก็ได้

ความเปราะบางทางจิตของมนุษย์ในหนังเรื่องนี้ ทำให้เรานึกถึงหนังเรื่อง IMPERATIV (1982, Krzysztof Zanussi) ด้วย เพราะ IMPERATIV ก็มีเนื้อหาเกี่ยวกับชายหนุ่มที่เป็นคนปกติ แต่มีอยู่วันนึงเขาก็เห็นรอยร้าวของอะไรสักอย่าง (ถ้าจำไม่ผิด) แล้วเขาก็เริ่มค่อยๆกลายเป็นบ้า

เรายังได้ดูหนังของ Murnau กับ Fritz Lang ไม่เยอะเท่าไหร่นะ แต่เท่าที่ดูมา เรารู้สึกว่าหนังของ Murnau มันมีความอ่อนโยนหรือมีความละเอียดอ่อนกว่าหนังยุคแรกของ Lang น่ะ ในขณะที่หนังยุคแรกของ Lang จะเด่นด้านพล็อตเรื่อง คือหนังของ Lang เนื้อเรื่องจะสนุกมากๆ มีการชิงไหวชิงพริบ หักเหลี่ยมเฉือนคมกันทุกๆ 5 วินาที แต่อารมณ์ความรู้สึกของตัวละครมันจะหยาบกว่าหนังของ Murnau


ความแตกต่างกันระหว่าง Lang กับ Murnau ตรงจุดนี้ทำให้นึกถึงความแตกต่างกันระหว่างหนังของ Akira Kurosawa กับ Kenji Mizoguchi ด้วยเหมือนกัน เพราะเราจะรู้สึกว่าหนังของ Kurosawa มีพล็อตเรื่องที่ขึงขังเหมือนหนังของ Fritz Lang แต่หนังของ Mizoguchi จะมีอารมณ์ละเอียดอ่อนกว่าหนังของ Kurosawa 

TARTUFFE (1926, F.W. Murnau, Germany, 64min, A+30)

TARTUFFE (1926, F.W. Murnau, Germany, 64min, A+30)

Tartuffe เป็นชายเคร่งศาสนาเมื่อราว 300-400 ปีก่อน เขาสั่งสอนผู้คนให้เลิกทำตัวฟุ่มเฟือย สาวกของเขาพยายามประหยัดไฟด้วยการดับเทียนไขที่จุดไว้โดยไม่จำเป็นในยามค่ำคืน นอกจากนี้ สาวกของเขายังงดการใส่เครื่องประดับ, สิ่งของอะไรที่ดูหรูหราในบ้านก็ถูกเอาไปเก็บให้หมด นอกจากนี้ Tartuffe ยังต่อต้านการแสดงออกทางเพศ อย่างเช่นการจูบ และเขายังเคร่งครัดกับการสวดมนต์ก่อนกินอาหารด้วย

แต่แท้ที่จริงแล้ว Tartuffe เป็นสัตว์นรกที่ชาญฉลาดมากคนหนึ่ง เขารู้วิธีชักจูงมวลชน เขาเน้นการสั่งสอนประชาชนให้ประหยัดเงินมากๆ จนสาวกของเขาเลื่อมใสศรัทธาเขาอย่างหัวปักหัวปำ โดยหาไม่รู้ว่าตนเองถูกหลอกใช้อย่างรุนแรง

อีกสิ่งหนึ่งที่เราชอบสุดๆในหนังเรื่อง TARTUFFE ก็คือ บรรดาสาวกของ Tartuffe และตัวละครเจ้าเล่ห์ตัวอื่นในหนังเรื่องนี้ ต่างก็เป็นคนประเภทที่คลั่งไคล้ “การทำความดี” พวกเขาคิดว่าการเชื่อฟังและทำตาม Tartuffe คือการทำความดี ซึ่งมันจะแตกต่างจาก “สมุนตัวร้าย” ในหนังเยอรมันยุคเดียวกัน อย่างหนังเรื่อง SPIDERS (1919, Fritz Lang) และ SPIES (1928, Fritz Lang) ที่เขียนบทโดย Thea von Harbou ผู้เลื่อมใสศรัทธาในนาซี คือบรรดาสมุนตัวร้ายในหนังทั่วๆไป มันรู้ตัวดีว่า มันกำลัง “ทำเลว” อยู่น่ะ เวลามันออกไปทำสิ่งเลวร้าย มันก็ดูเหมือนรู้ดีว่ามันกำลัง “ทำเลว” อยู่ มันไม่ได้คิดว่ามันกำลังทำความดีงามให้แก่โลกนี้ แต่สาวกของ Tartuffe นั้น หลงคิดว่าตัวเองกำลัง “ทำความดีงามให้แก่โลกนี้” ซึ่งเราคิดว่าจุดนี้มันน่าสนใจมากๆ

Tartuffe สร้างจากบทละครเวทีของ Moliere (1622-1673) มันเป็นบทละครที่เขียนขึ้นเมื่อเกือบ 400 ปีมาแล้ว แต่เราว่าประเด็นของมันนั้นคลาสสิคและสามารถดัดแปลงให้เข้ากับยุคสมัยปัจจุบันได้ไม่แพ้บทประพันธ์ของ Shakespeare เลย


FROM THE REALM OF SIX DOTS (1927, Hugo Rütters, Germany, documentary, 95min, A+30)

FROM THE REALM OF SIX DOTS (1927, Hugo Rütters, Germany, documentary, 95min, A+30)


หนังกึ่งสารคดีเกี่ยวกับคนตาบอดในเยอรมนีในทศวรรษ 1920 ดูแล้วหัวใจสลาย โดยเฉพาะช่วงที่เกี่ยวกับกลุ่มคนที่พิการซ้ำซ้อนที่ทั้งตาบอดและหูหนวกในคนเดียวกันนี่ดูแล้วร้องไห้เลย แนะนำชมเป็นอย่างยิ่งสำหรับคนที่ชื่นชอบ LAND OF SILENCE AND DARKNESS (1971, Werner Herzog)

BLUE IS THE BEAT OF MY HEART (1989, Jutta Hercher & Maria Hemmleb, Germany, documentary, A+30)

BLUE IS THE BEAT OF MY HEART (1989, Jutta Hercher & Maria Hemmleb, Germany, documentary, A+30)

หนังสารคดีเรื่องนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับ Ella Bergmann-Michel ซึ่งเป็นผู้กำกับภาพยนตร์และศิลปินในเยอรมนีที่มีผลงานออกมาในทศวรรษ 1920-1930 แต่นับตั้งแต่ปี 1933 ที่เยอรมนีตกอยู่ภายใต้การปกครองของเผด็จการนาซี Ella กับสามีก็เลยต้องยุติการสร้างผลงานศิลปะ และหันไปประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์แทน โดยพวกเขาบอกว่าพวกเขาจำเป็นต้องใช้ชีวิตแบบ “underwater” ในยุคที่นาซีเรืองอำนาจ โดยในช่วงนี้เอลล่าได้เขียนบันทึกประจำวันชื่อ LETTERS TO THE NIGHT ด้วย


หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลงในปี 1945 เอลล่าก็ได้เป็นประธานของ Frankfurt film club และเป็นบุคคลสำคัญคนหนึ่งในการสนับสนุนและการจัดฉาย “หนังทดลอง”

Thursday, September 24, 2015

THE CASE OF HANA AND ALICE (2015, Shunji Iwai, Japan, animation, A+25)

THE CASE OF HANA AND ALICE (2015, Shunji Iwai, Japan, animation, A+25)

--จริงๆแล้วเราชอบหนังทำนองนี้มากๆ นั่นก็คือหนังกลุ่ม “สองสาวผจญภัย” โดยหนังในกลุ่มนี้จะมีตั้งแต่หนังที่ “เซอร์เรียลสุดๆ” อย่าง DAISIES (Vera Chytilova), MULHOLLAND DRIVE (David Lynch); หนังกึ่งเซอร์เรียล อย่าง CELINE AND JULIE GO BOATING (Jacques Rivette) และ LE PONT DU NORD (Jacques Rivette) และมาจนถึง THE CASE OF HANA AND ALICE ซึ่งจัดเป็นหนังที่ “realistic” ที่สุดเรื่องนึงในบรรดาหนังกลุ่มสองสาวผจญภัย

--สาเหตุที่เราชอบหนังทำนองนี้เป็นเพราะว่า ตั้งแต่เด็กๆแล้วที่เราอยากจะมีประสบการณ์แบบนี้เกิดขึ้นในชีวิตเราน่ะ คือตั้งแต่เด็กๆแล้วที่เราจะมี fantasy ในทำนองที่ว่า “เพื่อนสนิทโทรศัพท์มาหาเราตอนตี 3 บอกให้ไปเจอกันที่ตลาดโบ๊เบ๊ แล้วการผจญภัยก็เริ่มต้นขึ้น” อะไรทำนองนี้ เพราะฉะนั้นการได้ดูหนังกลุ่มนี้มันก็เลยเหมือนเป็นการตอบสนอง fantasy ที่เรามีตั้งแต่วัยเด็ก โดยเฉพาะ MULHOLLAND DRIVE กับ CELINE AND JULIE GO BOATING ที่ใกล้เคียงกับ fantasy ของเรามากๆ

--อีกสาเหตุนึงที่ชอบ THE CASE OF HANA AND ALICE มากๆ เป็นเพราะว่า เราชอบเรื่องราวของการสะกดรอยตามชายหนุ่ม หรือการตามหาชายหนุ่มจนนำไปสู่การผจญภัยด้วย 555 เรื่องนี้มันก็เป็น fantasy ของเราอีกเหมือนกัน

--อีกสิ่งที่เราชอบใน THE CASE OF HANA AND ALICE คือการที่มันทำให้ “ฉากต่างๆในชีวิตประจำวัน” กลายเป็นสถานที่แห่งการผจญภัยขึ้นมาได้น่ะ คือสองสาวนางเอกของเรื่องไม่ได้เจอกับอะไรที่อันตรายร้ายแรงหรือน่ากลัวมากมาย พวกเธอเจอแค่ “คนธรรมดาๆที่สามารถพบได้ในชีวิตประจำวัน” ไปเรื่อยๆ ทั้งชายชราที่ผิวเต่งตึง, คนขับรถบรรทุก, แก๊งหนุ่มขี่จักรยาน, แก๊งลูกค้าร้านราเม็ง, etc. คือจริงๆแล้วพวกเธอผจญภัยในสถานที่ธรรมดาๆ และเจอแต่คนธรรมดาๆ แต่มันก็กลายเป็นการผจญภัยที่น่าประทับใจได้ และเราว่ามันแตกต่างจากการผจญภัยในหนังเรื่องอื่นๆ เพราะมันไม่มีอะไรโลดโผนหรือพิสดารพันลึกนี่แหละ

 และอะไรแบบนี้นี่แหละ ที่มันคือความทรงจำที่ประทับใจที่เรามักจะนึกถึงเมื่อนึกถึงเพื่อนเก่า คือเวลาเรานึกถึงเพื่อนเก่า เราก็มักจะนึกถึงตอนที่พวกเราได้ผจญภัยเล็กๆน้อยๆมาด้วยกัน อย่างเช่น ตอนที่เคยนัดเจอกับเพื่อนๆเพื่อไปรุมตบอีเลวตัวนึงหน้าคณะสัตวแพทย์ศาสตร์ ม.เกษตรในปี 1994 อะไรทำนองนี้

เราว่าถ้าหาก Hana และ Alice มีตัวตนจริง และเวลาผ่านไปแล้ว 20-30 ปี เวลาพวกเธอในวัยกลางคนนึกถึงอดีต พวกเธอก็จะนึกถึงประสบการณ์ผจญภัยเล็กๆน้อยๆที่เคยผ่านมาด้วยกันแบบในหนังเรื่องนี้นี่แหละ


--ชอบประเด็นเรื่อง “การสร้างข่าวลือ” มากๆเลยด้วย ทั้งข่าวลือเรื่องคนถูกวางยาพิษและคนถูกรถบรรทุกทับ คือจริงๆแล้วหนังเรื่องนี้ “ใส” มากๆเลยนะ แต่จริงๆแล้วประเด็นนี้เป็นประเด็นที่ซีเรียส และสามารถนำไปสู่อะไรที่รุนแรงน่ากลัวกว่าในหนังเรื่องนี้ได้มากๆ

THE ASSASSIN (2015, Hou Hsiao-hsien, Taiwan, A+30)

THE ASSASSIN (2015, Hou Hsiao-hsien, Taiwan, A+30)

SPOILERS ALERT
--
--
--
--
--
1.ดูแล้วนึกถึงหนังหลายๆเรื่องที่เหมือนเอา genre ที่เราคาดหมายว่ามันจะมีแอคชั่นเยอะๆมาใช้ แต่ตัวหนังกลับไม่เดินตามขนบของหนัง genre นั้นๆ แต่กลับทำตัวเป็นตัวของตัวเองอย่างเต็มที่ อย่างเช่นเรื่อง

1.1 หนังหลายๆเรื่องของ Wong Kar-wai โดยเฉพาะ ASHES OF TIME (1994), FALLEN ANGELS (1995) และ THE GRANDMASTER (2013)

1.2 LANCELOT DU LAC (1974, Robert Bresson) ที่เป็นหนังเกี่ยวกับอัศวินโต๊ะกลมของกษัตริย์อาร์เธอร์

ตอนดู THE ASSASSIN จะนึกถึง LANCELOT DU LAC มากเป็นพิเศษ อาจจะเป็นเพราะว่าตอนดู THE ASSASSIN กับ LANCELOT DU LAC เราจะรู้สึกชอบมันมากๆ แต่ชี้ชัดลงไปได้ยากว่าเรา enjoy มันเพราะอะไร ในขณะที่หนังของ Wong Kar-wai มันจะมี “ก้อน” อารมณ์ความรู้สึกที่ชัดเจนกว่า คือเวลาดูหนังของหว่อง อารมณ์ความรู้สึกที่ได้จากหนังมันดูเป็น “ก้อน” หรือเป็นรูปธรรมชัดเจนกว่าเวลาดูหนังของโหวหรือหนังอย่าง LANCELOT DU LAC ของ Bresson

ที่นึกถึง LANCELOT DU LAC เป็นเพราะมันดู minimal เหมือน THE ASSASSIN ด้วย โดยคำว่า minimal ในที่นี้หมายถึงเมื่อเทียบกับหนังใน genre เดียวกันอย่างหนังอัศวินกับหนังจีนกำลังภายในนะ เพราะทั้ง LANCELOT DU LAC กับ THE ASSASSIN ไม่ได้เต็มไปด้วยฉากแอคชั่นและการเร้าอารมณ์แบบหนังใน genre เดียวกัน และฉากแอคชั่นที่มีอยู่เพียงน้อยนิดในหนังทั้งสองเรื่องนี้ ก็ออกมาในแบบสมจริงกว่าหนังใน genre เดียวกัน ซึ่งในแง่หนึ่ง มันดู “กระป๋องกระแป๋ง” หรือดู “อิทธิฤทธิ์ต่ำมาก” เมื่อเทียบกับฉากแอคชั่นในหนังทำนองเดียวกัน แต่ในอีกแง่หนึ่ง ความกระป๋องกระแป๋งของมันกลับเป็นสิ่งที่ unique มากๆ และตราตรึงใจมากๆ

คือใน LANCELOT DU LAC มันจะมีฉากอัศวินดวลกันบนหลังม้าน่ะ ซึ่งถ้าหากเทียบกับหนังอัศวินด้วยกันแล้ว ฉากดวลกันบนหลังม้าในหนังเรื่องนี้ดูไม่เร้าอารมณ์เลย นึกว่าดูเด็กมัธยมเล่นกันในงานโรงเรียน แต่ไปๆมาๆ มันกลับกลายเป็นสิ่งที่ฝังใจเรามากๆ

และฉากสู้กันใน THE ASSASIN ก็ส่งผลกระทบกับเราในทำนองคล้ายๆกันด้วย โดยเฉพาะฉากที่นางเอกสู้กับสาวใส่หน้ากาก กับฉากที่นางเอกสู้กับองค์หญิงแม่ชีผู้เป็นอาจารย์ คือฉากสู้กันสองฉากนี้เป็นฉากที่ดู “อิทธิฤทธิ์ต่ำมาก” แต่ในขณะเดียวกัน มันกลับเป็นฉากที่ติดตาตรึงใจมากๆ งดงามมากๆ และส่งผลกระทบทางอารมณ์ต่อเราอย่างรุนแรงมาก แต่ในแบบที่แตกต่างไปจากหนังจีนกำลังภายในเรื่องอื่นๆ

คือถ้าหากเทียบกับหนังจีนกำลังภายในเรื่องอื่นๆแล้ว เราจะรู้สึกเหมือนกับว่า เราอยู่ในเรือกลางมหาสมุทรที่เจอคลื่นยักษ์โถมเข้าใส่ทุกๆ 5-10 นาทีน่ะ และเจอกับพายุไต้ฝุ่นในช่วงท้ายๆเรื่องเมื่อฉากไคลแมกซ์มาถึง เพราะหนังจีนกำลังภายในโดยทั่วๆไปมันจะมีฉากต่อสู้กันใส่เข้ามาเป็นระยะๆ และเน้นเร้าอารมณ์เราอย่างเต็มที่

แต่เวลาดู THE ASSASSIN เราจะรู้สึกเหมือนกับว่าเราอยู่ในทะเลสาบหรือหนองน้ำที่คลื่นลมสงบน่ะ แต่พอเราอยู่ในความสงบไปได้ราว 30 นาที เราก็จะเจออุกกาบาตยักษ์ตกลงมาในหนองน้ำสักลูกนึง ซึ่งจะส่งผลให้เกิดระลอกคลื่นอย่างรุนแรง

คือความรู้สึกของเราที่มีต่อฉากต่อสู้ 2 ฉากนั้นใน THE ASSASSIN มันคล้ายๆกับการเจออุกกาบาตตกลงมาในหนองน้ำ 2 ลูกน่ะ คือเราอยู่ในอารมณ์สงบเป็นส่วนใหญ่ แล้วก็ตู้ม อุกกาบาตตกลงมา แล้วก็สั่นสะเทือน แล้วก็กลับสู่ความสงบอีกครั้ง ก่อนที่จะมีอีกลูกหนึ่งตกลงมาอีก ก่อนที่ทุกอย่างจะกลับสู่ความสงบอีก

แต่เราก็ชอบทั้งสองแบบนะ เราชอบทั้งหนังจีนกำลังภายในที่ทำให้เราเหมือนอยู่ท่ามกลาง “คลื่นบ้ากระแทกคลื่นบ้า” อย่างเช่น THE FATE OF LEE KHAN (1973, King Hu), SWORDSMAN II (1991, Ching Siu-tung) และ REIGN OF ASSASSINS (2010, Su Chao-bin) และหนังอย่าง THE ASSASSIN ที่ทำให้เราเหมือนอยู่ในหนองน้ำที่สงบ ที่มีอุกกาบาตตกลงมา 2-3 ครั้ง

2.อีกอย่างที่ทำให้นึกถึง LANCELOT DU LAC เป็นเพราะ “การเลือกโฟกัสในจุดที่แตกต่างจากหนังทั่วไป” ด้วย อย่างเช่นใน THE ASSASSIN นั้น ดูเหมือนหนังจะโฟกัสไปที่บรรยากาศ, ต้นไม้ และสายลมมากเป็นพิเศษ อย่างเช่นในฉากที่นางเอกฆ่าผู้ชายคนแรกด้วยการเชือดคอขณะที่เขาขี่ม้านั้น พอนางเอกฆ่าเสร็จ หนังก็ตัดไปเป็นฉากต้นไม้แกว่งไกวตามสายลมเลย ซึ่งถ้าหากเป็นหนังจีนกำลังภายในทั่วไป หนังคงทำให้เกิดการต่อสู้อย่างรุนแรงในฉากนั้น เพื่อให้นางเอกได้แสดงฝีมืออย่างน้อยสัก 3-5 นาที โดยไม่ต้องใส่ฉากต้นไม้แกว่งไกวตามสายลมอะไรเข้ามาทั้งสิ้น

ซึ่งใน LANCELOT DU LAC ก็จะมีอะไรที่ทำให้เรารู้สึกคล้ายๆกัน อย่างเช่นในฉากขี่ม้าดวลกันนั้น แทนที่หนังจะเน้นไปที่ฝีมือในการต่อสู้ของตัวละคร หนังกลับเน้นไปที่ใบหน้าและปฏิกิริยาของผู้ชมการแข่งขัน ซึ่งเป็นใบหน้าที่ “แข็งมากๆ” ถ้าหากเทียบกับหนังโดยทั่วๆไป แต่ไปๆมาๆ ไอ้ปฏิกิริยาของผู้ชมการดวลที่ดู minimal มากๆ หรือแข็งมากๆใน LANCELOT DU LAC กลับกลายเป็นสิ่งที่ติดใจเรามากๆ

3.อย่างไรก็ดี สิ่งที่ THE ASSASSIN แตกต่างจาก LANCELOT DU LAC อย่างมากๆก็คือว่า LANCELOT DU LAC มันสร้างมาจากตำนานเซอร์ลานสล็อต ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ชมส่วนใหญ่คุ้นเคยกันดีแล้ว และอาจจะเทียบได้กับตำนานพระอภัยมณี, รามเกียรติ์ หรือขุนช้างขุนแผนของไทย เพราะฉะนั้นมันก็เลยไม่มีปัญหาในการตามเนื้อเรื่องให้ทัน แต่ THE ASSASSIN มันสร้างมาจากเนื้อเรื่องที่เราไม่คุ้นเคยมาก่อน เพราะฉะนั้นเราก็เลยดูแล้วงงๆพอสมควรในการดูรอบแรก เพราะเราตามไม่ทันว่า “ใครเป็นใคร” ในเรื่อง

4.อีกสิ่งหนึ่งที่ชอบมากใน THE ASSASSIN ก็คือการทำให้เราตั้งคำถามกับ motivation ในการกระทำของตัวเอก ซึ่งเป็นสิ่งที่มักจะถูกละเลยในหนังจีนกำลังภายในโดยทั่วไป คือหนังจีนกำลังภายในโดยทั่วไป มันจะมีตัวละครที่ดำจัด มีผู้ร้ายที่ชั่วมากๆ เพราะฉะนั้นตัวเอกก็เลยมีความชอบธรรมในการต่อสู้ฝ่าฟันฝึกวิชา หรือกระทำการต่างๆเพื่อปราบมารร้ายแห่งยุทธภพให้ได้ คือตัวเอกในหนังทั่วไปมันจะมีแรงจูงใจที่ชัดเจนในการต่อสู้ อย่างเช่นเพื่อเป็นอันดับหนึ่งในยุทธภพ, เพื่อแก้แค้น, เพื่อเอาตัวรอด, เพื่อจัดการกับผู้ร้าย และคนดูจะไม่ต้องเสียเวลาในการตั้งคำถามกับแรงจูงใจของตัวเอกในการกระทำต่างๆ

แต่ใน THE ASSASSIN นั้น ถ้าหากเราเป็นนางเอก เราก็คงงงๆเหมือนกันว่า กูจะสู้ไปทำไม เพราะถ้าหากเราเป็นนางเอก เราก็คงตัดสินใจไม่ถูกว่า อะไรดีกว่ากัน ระหว่าง “ราชสำนัก” กับ “เว่ยป๋อ” เราไม่รู้ว่าราชสำนักเลวร้ายจริงไหม และการแข็งขืนของเว่ยป๋อเป็นสิ่งที่ดีจริงไหม เพราะเว่ยป๋อเองก็ส่งคนไปยุยงเมืองอีกสองเมืองให้แตกแยกกันเอง คือเว่ยป๋อเองก็ไม่ใช่อะไรที่ขาวสะอาด แต่ก็เล่นเกมการเมืองสกปรกกับเมืองข้างๆอีกสองเมือง อีอาจารย์แม่ชีก็โหดร้ายเกินไป ที่บอกให้ “ฆ่าลูกเล็กๆก่อนฆ่าพ่อ” แล้วการที่แม่ชีพยายามคุมเว่ยป๋อให้สวามิภักดิ์ต่อราชบัลลังก์มันเป็นสิ่งที่ดีจริงหรือ ส่วนท่านอ๋องแห่งเว่ยป๋อก็มีทั้งมเหสีและสนมที่เขารักมากอยู่แล้ว เขาก็คงไม่ต้องการเราอีก และท่านอ๋องเองก็ยังสั่งเนรเทศคนที่พูดจาขัดใจด้วย แล้วเราจะช่วยท่านอ๋องทำไม สรุปว่า ถ้าหากเราเป็นนางเอก เราก็ไม่อยากจะช่วยทั้งราชสำนักและเว่ยป๋อ ไม่อยากจะช่วยทั้งอาจารย์แม่ชีและท่านอ๋อง กูเอาคนขัดกระจกหนุ่มหล่อเป็นผัวนี่แหละ ดีที่สุด

ซึ่งสิ่งนี้นอกจากจะแตกต่างจากหนังจีนกำลังภายในโดยทั่วไปแล้ว เรายังรู้สึกว่ามันแตกต่างจาก “หนังสายลับ” อย่างหนังเจมส์ บอนด์ด้วย เพราะแม้แต่ในหนังสายลับอย่างหนังเจมส์ บอนด์ มันยังมีฝ่ายให้เราเลือกเข้าข้างได้ง่ายๆน่ะ อย่างเช่นในยุคสงครามเย็น เราก็จะเลือกเข้าข้างฝ่ายเสรีนิยม แทนที่จะเลือกฝ่ายคอมมิวนิสต์ แต่ในหนังสายลับบางเรื่อง มันก็จะมีตัวร้ายที่คิดยึดครองโลก ที่ทำให้ทั้งฝ่ายเสรีนิยมกับฝ่ายคอมมิวนิสต์ต้องร่วมมือกันในการกำจัดตัวร้ายตัวนั้น อะไรทำนองนี้ คือหนังประเภทนี้มันจะมี “ฝ่ายธรรมะ” กับ “ฝ่ายอธรรม” ที่ทำให้เราเลือกข้างได้อย่างง่ายๆและสบายใจ แต่ในหนังเรื่อง THE ASSASSIN นั้น ถ้าหากเราเป็นนางเอก เราก็ไม่รู้ว่าเราจะเลือกข้างไหน เราไม่รู้ว่าฝ่ายไหนกันแน่ที่เป็นฝ่ายธรรมะกับฝ่ายอธรรม มันดูเหมือนมีแต่ฝ่ายอธรรมทั้งคู่

5.แต่ถึงแม้ว่าเราจะเห็นด้วยกับการตัดสินใจของนางเอกในฉากจบ เพราะถ้าหากเป็นเรา เราก็กลับไปหาหนุ่มขัดกระจกอย่างแน่นอน แต่ในช่วงต้นเรื่องนั้น เราก็พบว่านางเอกเป็นตัวละครที่ดูขัดใจเรามากๆ แต่นั่นไม่ใช่ความผิดของหนังนะ เราว่ามันเป็นพัฒนาการที่ถูกต้องแล้วล่ะ ที่ทำให้นางเอกเปลี่ยนจากคนที่ “ตัดสินใจตรงข้ามกับเรา” ในช่วงต้นเรื่อง มาเป็นนางเอกที่ตัดสินใจเหมือนกับเราในช่วงท้ายเรื่อง

คือในช่วงต้นเรื่องนั้น เรารู้สึกว่าถ้าหากเป็นนิยายที่เราแต่ง นางเอกในนิยายของเราหรือนางเอกในอุดมคติของเราคงไม่ทำตัวแบบนี้น่ะ 555 อย่างเช่น

5.1 ฉากที่นางเอกฆ่าผู้ชายคนแรกนั้น มันทำให้เกิดคำถามขึ้นมาทันทีว่า มัน justified หรือเปล่า เพราะเธอฆ่าเขาตามที่แม่ชีสั่ง โดยแม่ชีให้เหตุผลอีกด้วยว่า ผู้ชายคนนั้นเคยทำเลวอะไรมาบ้าง ซึ่งปัญหามันอยู่ที่ว่า “เราจะรู้ได้อย่างไรว่าสิ่งที่อาจารย์บอกเป็นความจริง” อีแม่ชีอาจจะตอแหลเราก็ได้ว่าคนนู้นเลวอย่างนั้นเลวอย่างนี้ แล้วบอกให้เราไปฆ่ามัน

5.2 เพราะฉะนั้นการที่นางเอกเริ่มพัฒนามาเป็นคนที่ไม่ยอมทำตามคำสั่งของแม่ชีในภารกิจที่สอง ก็ดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว แต่มันก็มีสิ่งที่ขัดอกขัดใจเราเล็กน้อยในฉากนี้ คือถ้าหากเป็นนางเอกในนิยายที่เราแต่ง “เธอคงไม่ฆ่าคน เพราะเธอไม่รู้ว่าสิ่งที่อาจารย์บอกมาเป็นความจริงหรือเปล่า” แต่ไม่ใช่เป็นเพราะว่า “เธอไม่ฆ่าคน เพราะผู้ชายคนนั้นมีลูกเล็กๆ” 555 คือเราไม่แน่ใจว่าการที่นางเอกไม่ฆ่าเหยื่อในภารกิจที่สองเป็นเพราะอะไรกันแน่ แต่การที่เขามีลูกเล็กๆมันไม่ใช่อะไรที่ justified ได้ว่าคนนั้นควรถูกลงโทษหรือไม่ถูกลงโทษน่ะ เราก็เลยรู้สึกว่าการที่นางเอกไม่ยอมฆ่าคนตามคำสั่งอาจารย์นั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว แต่เหตุผลที่นางเอกไม่ยอมฆ่าคนนั้นเป็นเหตุผลที่ยังน่าสงสัยอยู่ว่าถูกต้องหรือเปล่า

ซึ่งการใช้ “เด็กเป็นอาวุธ” นั้น ก็ถูกนำมาใช้อีกครั้งในช่วงท้ายเรื่องนะ เมื่อตัวมเหสีใช้ “ลูกๆของตัวเองเป็นอาวุธ”

เราก็เลยรู้สึกว่าหนังเรื่องนี้มันน่าสนใจดีที่มีการใช้ “เด็กเป็นอาวุธ” อย่างทรงพลานุภาพมากๆในเรื่อง แต่ถ้าหากเป็นนางเอกในนิยายที่เราแต่งนะ ถ้าหากเธอมีความแค้นเคืองกับใครเป็นการส่วนตัวแล้วล่ะก็ (แบบใน “ล่า” ของทมยันตี) เธอก็คงจะฆ่าศัตรูคนนั้นอย่างแน่นอน และถึงแม้ว่าศัตรูคนนั้นจะมีลูกเล็กๆ มันก็ไม่สามารถทำให้ “นางเอกในนิยายของเรา” ใจอ่อนลงได้แม้แต่นิดเดียว

6.ประเด็นเรื่อง “ความไม่เด็ดเดี่ยวในการฆ่าคน” ของนางเอก เป็นประเด็นที่เราชอบมากๆเลยนะ เพราะมันทำให้เรานึกถึง dilemma ที่เราชอบในหนังเรื่องอื่นๆด้วย อย่างเช่นในเรื่อง

6.1 A RIDER NAMED DEATH (2004, Karen Shakhnazarov) ที่มีการตั้งคำถามว่า ถ้าหากคุณวางแผนจะฆ่าทรราชย์ที่ชั่วร้ายมากๆ แต่การฆ่านั้นหมายความว่าลูกๆของเขาที่เป็นคนบริสุทธิ์ต้องตายไปด้วย คุณจะยังทำมันอยู่หรือไม่ อย่างเช่นการโยนระเบิดใส่รถม้าที่ทรราชย์นั่งมากับครอบครัว

6.2 PARADISE NOW (2005, Hany Abu-Assad) การจะเป็นมือระเบิดพลีชีพ มันต้องอาศัยความเด็ดเดี่ยวเป็นอย่างมาก แล้วคุณจะเลือกทางไหน เราว่าสิ่งที่นางเอกใน THE ASSASSIN ต้องเผชิญ มันทำให้เรานึกถึง dilemma ในหนังเรื่องนี้ด้วยเหมือนกัน

6.3 LUST, CAUTION (2007, Ang Lee) ความไม่เด็ดเดี่ยวของนางเอกหนังเรื่องนี้ นำมาซึ่งความชิบหาย แต่ในกรณีนี้นั้น หนังมี “ฝ่ายอธรรม” ที่ชัดเจน ซึ่งได้แก่ฝ่ายญี่ปุ่น

6.4 HEAVEN (2002, Tom Tykwer) ส่วนในหนังเรื่องนี้นั้น ความเด็ดเดี่ยวของนางเอก นำมาซึ่งความชิบหาย เพราะการตัดสินใจฆ่าคนของเธอส่งผลให้ผู้บริสุทธิ์ต้องรับเคราะห์

นอกจากนี้ dilemma ของนางเอกใน THE ASSASSIN ยังทำให้เรานึกถึงเรื่องเล่าที่ว่า “ในการฝึกคนเป็นสายลับนั้น ผู้เข้ารับการฝึกจะถูกสั่งให้ฆ่าแมวหรือฆ่าหมาด้วย เพื่อดูว่าคนนั้นใจเด็ดพอหรือไม่” ซึ่งเราก็ไม่รู้ว่าเรื่องเล่านี้เป็นเรื่องจริงหรือเปล่า เรารู้แต่ว่า ถ้าหากเป็นเรา เราฆ่าตัวตายดีกว่าที่จะฆ่าแมวหรือฆ่าหมาที่ไม่รู้อีโหน่อีเหน่พวกนั้น เรารู้สึกว่าเราฆ่าตัวตายแล้วสบายใจกว่า

แต่เรื่องเล่าทำนองนี้ได้รับการสะท้อนออกมาในหนังบางเรื่องเหมือนกันนะ อย่างเช่นในหนังอย่าง SHIRI (1999, Kang Je-kyu),  AZUMI (2003, Ryuhei Kitamura) และ NAKED WEAPON (2002, Ching Siu-tung) ที่นางเอกของหนังทั้งสามเรื่องได้รับการฝึกฝนให้เป็นนักฆ่า และพอเรียนจบแล้ว ภารกิจแรกก็คือได้รับคำสั่งให้ฆ่าเพื่อนร่วมชั้นเรียน เพื่อทดสอบว่านางเอกมีจิตใจที่เหี้ยมโหดพอหรือไม่

7.แต่จริงๆแล้วสิ่งที่ชอบมากๆในหนังคือสิ่งที่เราบรรยายไม่ถูกนะ มันคืออารมณ์หรือบรรยากาศโดยรวมๆของหนังน่ะ เราชอบที่หนังเลือกที่จะโฟกัสไปที่อะไรหลายๆอย่างที่หนังจีนกำลังภายในมองข้ามไป คือถ้าเปรียบเทียบง่ายๆก็คือว่า หนังจีนกำลังภายในโดยทั่วไปเปรียบเหมือนพระเอกในหนังเรื่อง CLICK (2006, Frank Coraci) น่ะ เพราะพระเอกในหนังเรื่อง CLICK ไม่ต้องการเสียเวลาไปกับชีวิตประจำวัน ไม่ต้องการเสียเวลาไปกับการอาบน้ำ, แปรงฟัน, แต่งตัว, เดินทาง, etc. เขาต้องการ fast forward ข้ามช่วงเวลาที่ undramatic เหล่านี้ เพื่อจะได้สัมผัสเฉพาะเพียงแค่ช่วงเวลาที่ dramatic มากๆเท่านั้น และหนังจีนกำลังภายในและหนังสายลับโดยทั่วไป ก็จะทำตัวคล้ายๆอย่างนี้

แต่ THE ASSASSIN เลือกที่จะให้ความสำคัญกับอะไรหลายๆอย่างที่หนัง genre เดียวกันมองข้ามไป ทั้งสายลม, สายหมอก, ผ้าม่าน, ธรรมชาติ, เสียงแมลง, ดอกไม้, การแต่งผม, การใส่สมุนไพรลงไปในอ่างอาบน้ำ, etc. เราว่าอะไรพวกนี้มันออกมาดูน่าสนใจมากๆ และมันช่วยเปิดโลกของหนังจีนกำลังภายในให้กว้างขึ้นอีกมากด้วย มันทำให้เรารู้สึกว่า ถ้าหากจะสร้างหนังที่ใช้ฉากเป็นหนังจีนกำลังภายใน เราก็ไม่ต้องยึดติดกับกรอบเดิมๆหรือขนบเดิมๆเสมอไป มันมีวิธีการอีกมากมายในการดัดแปลงหนัง genre ต่างๆให้ออกมาเป็นสิ่งใหม่ๆได้

8.ชอบดนตรีประกอบในหนังด้วย ทั้งเสียงพิณที่องค์หญิง Jiacheng เล่น, เสียงพิณในฉากที่นางเอกสู้กับองค์หญิง Jiaxin หรือองค์หญิงแม่ชี, เสียงกลองในฉากต่อสู้ และเสียงกลองที่ท่านอ๋องตี เราไม่รู้ว่าหนังจงใจสร้างคู่ขัดแย้งระหว่างเสียงพิณกับเสียงกลองในหนังเรื่องนี้หรือเปล่า

9.สิ่งหนึ่งที่เราชอบมากๆใน CAFE LUMIERE (2003, Hou Hsiao-hsien) คือฉากที่พระเอกมองนางเอกนอนหลับในรถไฟ แต่เราจำไม่ได้แน่ชัดว่ามันเป็นฉากในตอนบ่ายหรือเปล่า และเราก็เจออะไรแบบนี้อีกใน THE ASSASSIN เพราะในภารกิจที่สองของนางเอกนั้น นางเอกโผล่มาฆ่าคนในขณะที่คนในวังผล็อยหลับในยามบ่าย และมีอีกฉากนึงที่นางเอกมองดูสาวรับใช้ผล็อยหลับด้วย ซึ่งน่าจะเป็นการผล็อยหลับในยามบ่ายในห้องนอนของนางเอกเอง ถ้าเราเข้าใจไม่ผิด

คือฉากตัวละครผล็อยหลับยามบ่ายใน CAFE LUMIERE และ THE ASSASSIN เป็นฉากที่เราไม่รู้ว่าสื่อถึงความหมายว่าอะไรนะ เรารู้แต่ว่ามันเป็นอะไรที่เราชอบมากๆ

10.นอกจาก THE ASSASSIN จะทำให้เรานึกถึงหนังพีเรียดฝรั่งเศสอย่าง LANCELOT DU LAC แล้ว มันยังทำให้เรานึกถึงหนังพีเรียดฝรั่งเศสเรื่อง PERCEVAL LE GALLOIS (1978, Eric Rohmer) ด้วย แต่ในแง่ที่เป็นคู่ตรงข้ามกัน คือ PERCEVAL LE GALLOIS ก็เป็นหนังเกี่ยวกับอัศวินโต๊ะกลมที่ minimal มากๆเหมือนกัน และเป็นหนังที่ตรงข้ามกับหนังอัศวินโต๊ะกลมทั่วไปที่เน้นฉากแอคชั่น แต่ PERCEVAL LE GALLOIS เน้นการถ่ายในสตูดิโอ และทำให้อาคารบ้านเรือนทุกอย่างในหนังดูเหมือนเป็นฉากในเวทีละครที่ minimal มากๆ และปฏิเสธความสมจริงโดยสิ้นเชิง ซึ่งเราว่าวิธีการนี้ตรงข้ามกับ THE ASSASSIN เพราะ THE ASSASSIN ทำให้ตัวเองแตกต่างจากหนังจีนกำลังภายในโดยทั่วไป ด้วยการที่ทำให้มันดู “สมจริง” ยิ่งขึ้น และเน้น ธรรมชาติป่าเขาลำเนาไพรอย่างรุนแรง แต่ PERCEVAL LE GALLOIS ทำให้ตัวเองแตกต่างจากหนังอัศวินโดยทั่วไป ด้วยการปฏิเสธความสมจริงอย่างสิ้นเชิง และทำให้ทุกอย่างดูเหมือนเกิดขึ้นบนเวทีละคร รวมทั้งต้นม้งต้นไม้และทุกองค์ประกอบของหนังที่ดูแข็งกระโด๊กไปหมด

แต่เราว่ามันน่าสนใจทั้งสองเรื่องแหละ เราว่ามันน่าสนใจทั้ง THE ASSASSIN, FALLEN ANGELS (หนังมือปืนที่ไม่เน้นฉากฆ่ากัน), ASHES OF TIME, LANCELOT DU LAC และ PERCEVAL LE GALLOIS เพราะเราชอบที่หนังกลุ่มนี้แสดงให้เห็นว่า เราไม่จำเป็นต้องทำตามขนบเดิมๆในหนัง genre ต่างๆ และเราสามารถสร้างหนังที่เป็นตัวของตัวเองได้อย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องยึดติดกับอะไรเดิมๆ

11.ถ้าหากเทียบกับ HERO (Zhang Yimou) และ CROUCHING TIGER, HIDDEN DRAGON (Ang Lee) แล้ว เราชอบ THE ASSASSIN มากกว่าหนังสองเรื่องนี้เยอะเลยนะ โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับ HERO ซึ่งเป็นหนังที่เราเกลียดมากๆ แต่ถ้าหากเทียบกับ ASHES OF TIME แล้ว เรายังไม่แน่ใจ เป็นไปได้ว่าเราอาจจะยังชอบ ASHES OF TIME มากกว่า THE ASSASSIN


แต่ยังไงเราก็ชอบหนังจีนกำลังภายในตามขนบดั้งเดิมมากๆอยู่นะ เราว่าเราชอบ REIGN OF ASSASSINS มากกว่า THE ASSASSIN 555