THE OLD MAN AND THE TREE (2015, directed by Tup-anan Tanadulyawat,
written by Vich Sanardharn, stage play, A+20)
ทฤษฎีไม้ยมก
--ตอนดูช่วงแรกๆจะนึกถึงหนังเรื่อง TAKE SHELTER (2011, Jeff Nichols) ในแง่ที่ว่า ทั้ง TAKE SHELTER และ THE OLD
MAN AND THE TREE ช่วงแรกๆ มันเปิดให้คนดูตัดสินเองว่า พระเอกมันบ้าหรือดี
เราจะเชื่อพระเอกดีหรือไม่ เหมือนช่วงแรกๆของละครมันเปิดกว้างพอสมควร
มันไม่ได้ตัดสินให้เราว่าพระเอกบ้าหรือดี เราต้องตัดสินด้วยตัวเอง
--แต่พอดูละครไปเรื่อยๆ เราก็ตัดสินได้ว่า พระเอกบ้า
ความน่าสนใจก็เลยลดลงนิดนึงหลังจากเราตัดสินใจได้แล้ว
แต่ละครมันก็ยังน่าสนใจอยู่ในระดับนึงนะ
คือช่วงแรกๆเราจะไม่แน่ใจว่าเราควรจะ “เห็นใจ” หรือ “สมเพช”
พระเอกดีน่ะ แต่พอเหมือนผ่านไปครึ่งเรื่อง เราก็แน่ใจแล้วว่า เราควรจะ “สมเพช”
พระเอก
--ตอนช่วงแรกๆที่ดู เราจะพยายามตีความด้วยนะว่า
ละครเรื่องนี้ต้องการเสียดสีอะไรแบบเฉพาะเจาะจงหรือเปล่า
อย่างเช่นเสียดสีธรรมกายหรือเปล่า
หรือเสียดสีความเชื่อของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นการเฉพาะเจาะจงหรือเปล่า
แต่พอดูไปได้ระยะนึง เราก็เลิกสนใจประเด็นนี้ เพราะละครเรื่องนี้อาจจะไม่ได้ต้องการพาดพิงถึงความเชื่ออะไรเป็นการเฉพาะเจาะจงก็ได้
--พอดูจบแล้ว เราก็ไม่แน่ใจนะว่าจริงๆแล้วละครเรื่องนี้ต้องการสื่ออะไร
เพียงแต่ว่าละครเรื่องนี้ทำให้เราคิดถึงแง่มุมบางอย่างของตัวเองและความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวน่ะ
คือเราไม่รู้หรอกว่าจริงๆแล้ว
ทฤษฎีไม้ยมกของตัวละครในเรื่องหมายถึงอะไรกันแน่ แต่เราคิดถึงตัวเองในแง่ที่ว่า
จริงๆแล้วเราและคนอื่นๆหลายๆคนอาจจะมีอะไรบางอย่างคล้ายตัวละครในเรื่อง
ในแง่ที่ว่า แต่ละคนจะมีความภาคภูมิใจในความคิดความเชื่ออะไรบางอย่างของตนเอง
แต่มันต่างกันตรงที่ว่า
แต่ละคนพยายามจะเผยแพร่ความเชื่อของตัวเองออกไปด้วยวิธีการใด
และมั่นใจแค่ไหนว่าสิ่งที่ดีสำหรับตนเองเป็นสิ่งที่ดีสำหรับคนอื่นๆด้วย
คืออย่างเราก็อาจจะภูมิใจว่า เราดูหนังเยอะ
และเราก็จะเผยแพร่หนังที่ตัวเองชอบออกไปด้วยการเขียนถึงมันใน facebook แต่เราจะต่างจากพระเอกของ
“ทฤษฎีไม้ยมก” ในแง่ที่ว่า เรามั่นใจว่า “หนังที่ดีสำหรับเรา” มัน “ไม่ใช่หนังที่ดีสำหรับทุกๆคน
มันเป็นหนังที่ดีสำหรับบางคนเท่านั้น”
เพราะฉะนั้นเราจะไม่มีความกระเหี้ยนกระหือรือในการทำให้คนอื่นๆมาชอบหนังที่เราชอบ
หรือมาเชื่อเหมือนเรา คือถ้ามาเชื่อเรื่องหนังเหมือนเราก็ดี
แต่ถ้าไม่มาเชื่อเรื่องหนังเหมือนเรามันก็เป็นเรื่องปกติ
และเราว่าคนหลายๆคนก็จะมีอะไรแบบนี้แหละ ซึ่งถ้าเป็นคนธรรมดา
เขาก็จะเผยแพร่ความเชื่อของตัวเองออกไป โดยไม่บังคับคนอื่นๆ ให้มาเชื่อตาม
แต่สิ่งที่น่าสนใจในละครเรื่องนี้ก็คือว่า มันทำให้เราคิดว่า
มันก็อาจจะมีหลายๆคนเช่นกัน ที่พอบังคับให้คนอื่นๆเชื่อตามตัวเองไม่ได้
ก็จะมาบังคับให้ “สมาชิกในครอบครัว” เชื่อตามตนเองให้ได้ เพราะฉะนั้นลูกเมียของเขา
ก็จะตกเป็นเหยื่อรายแรก ที่ถูกพ่อยัดเยียดความเชื่อของตัวเองให้อย่างรุนแรง
และในที่สุดถ้าหากลูกเมียคนไหนทนไม่ได้ ก็จะต้องหนีไป
--องค์ประกอบอื่นๆของละครเรื่องนี้ เราว่าออกมาดีใช้ได้นะ
แต่มันเหมือนอยู่ในกรอบของ “ละครเล่าเรื่องที่ดี” น่ะ คือการแสดงดี
เส้นอารมณ์ของเรื่องขึ้นลง “ตามขนบ” ที่ควรจะเป็น อะไรทำนองนี้ คือมันดี
แต่เหมือนมันอยู่ในสูตรที่ลงตัวแล้วหรืออะไรทำนองนี้ มันก็เลยเหมือนขาดความฟรีสไตล์อะไรสักอย่าง
เราก็อธิบายไม่ถูกเหมือนกัน
No comments:
Post a Comment