Thursday, December 31, 2020

3RD WORLD HERO (2000, Mike De Leon, Philippines, A+30)

 

เพิ่งนึกออกว่ามีหนังอีก 2 เรื่องที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกันแล้วออกฉายในเวลาไล่เลี่ยกัน ซึ่งก็คือ RIZAL IN DAPITAN (1997, Tikoy Aguiluz, Philippines) กับ JOSE RIZAL (1998, Marilou Diaz-Abaya, Philippines, 178min) เราก็เลยเพิ่มเข้าไปในรายชื่อหนังกลุ่มนี้ แต่จริงๆแล้วเราก็ไม่รู้ว่า JOSE RIZAL ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก RIZAL IN DAPITAN หรือเปล่า หรือว่าจริงๆแล้วฟิลิปปินส์สร้างหนังเกี่ยวกับ Jose Rizal กันบ่อยๆอยู่แล้ว เพราะในปี 2000 ก็มีหนังเรื่อง THIRD WORLD HERO (2000, Mike De Leon, Philippines) ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ Jose Rizal ออกฉายด้วยเหมือนกัน

 

3RD WORLD HERO (2000, Mike De Leon, Philippines, A+30)

 

1.นึกว่าต้องฉายปะทะกับหนังเรื่อง “ทวิภพในเอกภพ” (2004, Prap Boonpan) และ เพราะ 3RD WORLD HERO เป็นหนังที่พูดถึง “ข้อถกเถียงทางประวัติศาสตร์” เหมือนๆกับ “ทวิภพในเอกภพ”

 

คือหนังพีเรียดโดยทั่วๆไป มักจะเป็นหนังที่เล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต โดยตัวเหตุการณ์อาจจะเป็น fiction แต่ตัว fiction นั้นดำเนินไปโดย “ตั้งอยู่บน/อ้างอิงกับ” ประวัติศาสตร์  โดยที่ตัวประวัติศาสตร์ที่เป็น background นั้น มักจะถูกละไว้ในฐานที่เข้าใจว่า “เป็นความจริง หรือมีแนวโน้มสูงที่จะเป็นความจริง” โดยหนังพีเรียดในกลุ่มนี้ก็รวมไปถึง ทวิภพ (2004, Surapong Pinijkhar) และ THE OVERTURE (2004, Ittisoonthorn Vichailak) และอาจจะรวมไปถึงหนังที่เหมือนกับจะ based on a true historical story อย่างเช่น RIZAL IN DAPITAN (1997, Tikoy Aguiluz, Philippines) กับ JOSE RIZAL (1998, Marilou Diaz-Abaya, Philippines, 178min) ด้วย

 

แต่มันก็มีหนังอีกกลุ่มนึงที่น่าสนใจมากๆ นั่นก็คือหนังที่ตั้งคำถามว่า ประวัติศาสตร์ที่ถูกใช้เป็น background ในหนังพีเรียดเรื่องต่างๆน่ะ จริงๆแล้วมันก็อาจจะเป็น fiction เหมือนกันนี่หว่า เพราะประวัติศาสตร์หลายๆอย่างมันก็อาจจะไม่ตรงกับความจริง มันขึ้นอยู่กับว่า ประวัติศาสตร์เวอร์ชั่นนั้น ใครเป็นคนเขียน แล้วคุณเลือกที่จะเชื่อใคร แล้วคนสร้างหนังพีเรียดเรื่องนั้นๆเชื่อประวัติศาสตร์เวอร์ชั่นไหน เขาจงใจที่จะตัดทิ้งข้อมูลอะไรไป โดยมีจุดประสงค์อะไร (หนังของ “หม่อมน้อย” ในยุคหลังหลายๆเรื่องอาจจะมีความน่าสนใจในแง่นี้ เช่นเดียวกับละครทีวีไทยหลายๆเรื่องที่มีความน่ากังขาในการนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับคณะราษฎร 2475)

 

และหนังอย่าง “ทวิภพในเอกภพ” และ 3RD WORLD HERO ก็เลยเหมือนถูกสร้างขึ้นด้วยจุดประสงค์นี้ โดยทวิภพในเอกภพเป็นการพูดถึง “ข้อถกเถียงทางประวัติศาสตร์” ที่ปรากฏอยู่ในทวิภพและโหมโรง ส่วน 3RD WORLD HERO ก็เป็นการพูดถึง “สิ่งที่น่ากังขา” มากมายในประวัติศาสตร์เกี่ยวกับ Jose Rizal ทั้งเรื่องที่ว่า Rizal แต่งงานจริงหรือไม่, เขากลับมานับถือ Catholic ก่อนถูกประหารชีวิตจริงหรือไม่, อะไรซ่อนอยู่ในรองเท้าของเขา, เขามีความเห็นอย่างไรกันแน่ต่อการปฏิวัติ, Josephine Bracken รักเขาจริงหรือไม่ ฯลฯ

 

เราก็เลยชอบ 3RD WORLD HERO มากๆ มันเป็นหนังที่ไม่เน้นเล่าว่า “เกิดอะไรขึ้นในอดีต” แต่เน้นเล่าว่า “อดีตเป็นสิ่งที่เราไม่รู้แน่ชัด เพราะมันมีความเป็นไปได้ 1, 2, 3, 4, 5 รูปแบบในเหตุการณ์นั้นๆ” ซึ่งการจะทำหนังแบบนี้ได้ คนสร้างหนังต้อง research ข้อมูลอย่างรุนแรงมากๆ เพื่อรวบรวม arguments ของฝ่ายต่างๆมานำเสนอในคราวเดียวกัน

 

รู้สึกว่าหนังอย่าง ทวิภพในเอกภพ และ 3RD WORLD HERO มันเป็นญาติห่างๆกับหนังอย่าง MADAME ANNA, NIPPLES, MACARON, PONYANGKAM, AND BASIC EDUCATION (2014, Ratchapoom Boonbunchachoke) กับ FORGET ME NOT (2018, Chulayarnnon Siriphol) ด้วย เพราะหนังทั้งสองเรื่องนี้ ก็ตั้งคำถามต่อประวัติศาสตร์ หรือนำเสนอมุมมองใหม่ๆต่อประวัติศาสตร์เช่นเดียวกัน

 

2.ชอบสุดๆที่คนฟิลิปปินส์สามารถทำหนังที่ตั้งข้อสงสัยต่างๆเกี่ยวกับวีรบุรุษคนสำคัญของชาติอย่าง Jose Rizal ได้

 

3.หนังเรื่องนี้น่าจะเป็นหนังเรื่องที่ 3 เกี่ยวกับ Rizal ที่เราได้ดู ต่อจาก RIZAL IN DAPITAN (1997, Tikoy Aguiluz, Philippines) ซึ่งเคยมาฉายที่เซ็นทรัลพระรามสาม กับ JOSE RIZAL (1998, Marilou Diaz-Abaya, Philippines, 178min) ที่เคยมาฉายที่ห้องสมุดมหาลัยธรรมศาสตร์ แน่นอนว่าเราชอบ 3RD WORLD HERO มากที่สุดในบรรดาหนัง 3 เรื่องนี้

 

PA-TI-KOON (2020, Puwadon Naosopa, short film, A+30)

ปฏิกุน

 

1.ชอบมากๆที่หนังนำเสนอระบบการทำงานของตัวละครก่อนที่จะเกิดความเปลี่ยนแปลง เพราะเหมือนเราไม่เคยรู้เรื่องพวกนี้มาก่อน เราไม่รู้ว่าในการขายเนื้อหมูนั้น มันมีใครอยู่ในห่วงโซ่อุปทานนี้บ้าง คิดว่าหนัง research ข้อมูลพวกนี้ออกมาได้ดีและน่าสนใจมาก

 

2.ประเด็นของหนังก็เศร้ามาก เรื่องความเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างธุรกิจ และการผูกขาดทางธุรกิจ มันเป็นปัญหาที่สำคัญจริงๆ

 

SEAR NELUMBO โชติช่วงร่วงโรยรา (2020, Possathorn Watcharapanit, 13min, A+30)

 

หนังนำเสนอชายถีบรถรับจ้าง (pedicab driver) ที่เราเดาว่าน่าจะเป็น “อาชีพที่ใกล้จะสาบสูญ” แล้วในไทย หรือในบางจังหวัดของไทย

 

คือเราก็ไม่แน่ใจในเรื่องนี้นะ เพราะเราแทบไม่เคยได้ออกจากกรุงเทพไปไหนเลย เราก็เลยไม่รู้ว่ายังมีคนประกอบอาชีพนี้อยู่เยอะหรือเปล่าในไทย แต่เราเคยนั่งรถแบบนี้ครั้งสุดท้ายน่าจะประมาณในช่วงทศวรรษ 1980 ที่เชียงใหม่น่ะ หรือเมื่อ 30 กว่าปีก่อน แล้วเราก็ไม่เคยได้นั่งรถแบบนี้อีกเลย

 

เราก็เลยชอบหนังเรื่องนี้แบบสุดๆ เพราะเราชอบหนังที่บันทึกอาชีพหรือสิ่งต่างๆที่กำลังจะหายสาบสูญไปตามกาลเวลาน่ะ นึกถึงหนังเรื่อง READY IN 5 MINUTES (2016, Swam Yaung Ni, Myanmar) ที่บันทึกการทำงานของคนที่ประกอบอาชีพรับถ่ายรูปตามวัดในเมียนมา ซึ่งเป็นอาชีพที่ใกล้จะสูญพันธุ์เต็มที เพราะพอทุกคนมีโทรศัพท์มือถือ ทุกคนก็ถ่ายรูปเองได้ ไม่ต้องพึ่งกล้องถ่ายรูปของตากล้องเหล่านี้แล้ว และนึกถึงหนังเรื่อง PHANTOM OF ILLUMINATION (2017, Wattanapum Laisuwanchai) ด้วย ที่บันทึกอาชีพคนฉายหนังด้วยฟิล์มตามโรงหนังยุคเก่า ซึ่งเป็นอาชีพที่ใกล้สาบสูญแล้วเช่นกัน

 

พอดูหนังเรื่อง SEAR NELUMBO นี้แล้วก็เลยเศร้ามากๆ เวลามันไม่เคยปรานีใครจริงๆ เราเองก็เป็นคนที่ปรับตัวให้เข้ากับโลกยุคใหม่และเทคโนโลยียุคใหม่ได้ยากด้วย เราก็เลยอินกับหนังที่พูดถึง “อาชีพที่กำลังจะสาบสูญ” พวกนี้มากเป็นพิเศษ

 

ดูหนังเรื่องนี้ได้ที่

https://www.youtube.com/watch?v=GF7qBonbRgw&fbclid=IwAR3XuQ8zPSUitt2FGo6RjPGy3YapQKMRaCEzTqcpa6dB8R_FbG2hfe6nAz0

 

FRANCE AGAINST ROBOTS (2020, Jean Marie-Straub, France, 10min, A+30)

 

ขอปิดปี 2020 ด้วยการดูหนังเรื่องนี้ ชอบบท monologue ในหนังมากๆ คิดว่าหลายๆส่วนใน monologue นี้ทำให้นึกถึงประเทศไทยด้วย

https://www.youtube.com/watch?fbclid=IwAR1ojD7FT9W69afc5qfw8_2_OUXIkamdQvpwdLq6-CZQbcLuV4acpjtJSX0&v=XZyzWDXs7hg&feature=youtu.be

 

Wednesday, December 30, 2020

24-30 DEC 1990

 

อันดับเพลงเมื่อ 30 ปีก่อน

WEEK 76

24-30 DEC 1990

 

1. ARRESTED BY YOU – Dusty Springfield

https://www.youtube.com/watch?v=-CvBqhcCP50

 

2. A MATTER OF FACT – Innocence (New Entry)

https://www.youtube.com/watch?v=pStojjMkJ8U

 

3. MARY AHD A LITTLE BOY – Snap!

https://www.youtube.com/watch?v=n9e43sm1xMA

 

4. LOVE SHINES – Dave Stewart and the Spiritual Cowboys

https://www.youtube.com/watch?v=noPJajDUZ9g

 

5.I’LL BE YOUR BABY TONIGHT – Robert Palmer & UB40

https://www.youtube.com/watch?v=HBcq5EzBcmQ

 

6. POWER OF LOVE – Deee-Lite

https://www.youtube.com/watch?v=YOdh430r9kE

 

7.JUST ANOTHER DREAM – Cathy Dennis

https://www.youtube.com/watch?v=ymOjaaxRDLU

 

8. ALL THE MAN THAT I NEED – Whitney Houston (New Entry)

https://www.youtube.com/watch?v=3WH1Ma50QUk

 

9. DOES SHE LOVE THAT MAN – Breathe

https://www.youtube.com/watch?v=si2wWkp9c8w

 

10.WHERE HAS LOVE GONE – Holly Johnson (New Entry)

https://www.youtube.com/watch?v=3zXnL-rOxxs

 

11.GET HERE – Oleta Adams

https://www.youtube.com/watch?v=K2-yUQS70Kc

 

12. WHEREVER WOULD I BE – Cheap Trick

https://www.youtube.com/watch?v=v8tHHC0kMJg

 

13.FROM A DISTANCE – Bette Midler

https://www.youtube.com/watch?v=lN4AcFzxtdE

 

14.A LITTLE TIME – The Beautiful South

https://www.youtube.com/watch?v=2lGzJwksSv4

 

15. BE TENDER WITH ME BABY – Tina Turner

https://www.youtube.com/watch?v=l__zi3OtrQ0

 

16. IT TAKES TWO – Rod Stewart and Tina Turner

https://www.youtube.com/watch?v=8HE1gmkPeZc

 

17.GENTLE – Dino

https://www.youtube.com/watch?v=_UaunJfictA

 

18.BEING BORING – Pet Shop Boys

https://www.youtube.com/watch?v=DnvFOaBoieE

 

19.I’M NOT IN LOVE – Will to Power

https://www.youtube.com/watch?v=p4uyql1zax0

 

20. JUSTIFY MY LOVE – Madonna

https://www.youtube.com/watch?v=Np_Y740aReI

 

21.MISSING YOU – Soul II Soul featuring Kym Mazelle

https://www.youtube.com/watch?v=Xtrf0K34v9k

 

22. STRANDED – Heart

https://www.youtube.com/watch?v=OeZmJOIzTUY

 

23. THE FIRST TIME – Surface

https://www.youtube.com/watch?v=_Sz2HOAb54w

 

24. IF I HAVE TO STAND ALONE – Lonnie Gordon (New Entry)

https://www.youtube.com/watch?v=fYk3xVA-5gY

 

25. 24 HOURS – Betty Boo

https://www.youtube.com/watch?v=PPcAeydoUT4

 

26. LOVE WILL NEVER DO (WITHOUT YOU) – Janet Jackson

https://www.youtube.com/watch?v=63zEDkg351c

 

27.LITTLE BROTHER – Blue Pearl

https://www.youtube.com/watch?v=07IV7VynI8E

 

28. SENSITIVITY – Ralph Tresvant (New Entry)

https://www.youtube.com/watch?v=xhfhVSUCLY4

 

29. TO LOVE SOMEBODY – Jimmy Somerville

https://www.youtube.com/watch?v=I6htux8dvW0

 

30. FANTASY – Black Box

https://www.youtube.com/watch?v=ahulIVjtekI

 

31. HOUSE FULL OF REASONS – Jude Cole

https://www.youtube.com/watch?v=6a-e8gfoE2c

 

32. DOWN TO EARTH – Monie Love (New Entry)

https://www.youtube.com/watch?v=RpcLHlL3Vec

 

33. PLAY THAT FUNKY MUSIC – Vanilla Ice (New Entry)

https://www.youtube.com/watch?v=zNJ8_Dh3Onk

 

34. GONNA MAKE YOU SWEAT – C+C Music Factory featuring Freedom Williams (New Entry)

https://www.youtube.com/watch?v=LaTGrV58wec

 

35. ON THE WAY UP – Elisa Fiorillo

https://www.youtube.com/watch?v=gfeSBJ11dAY

 

36. MORE THAN WORDS CAN SAY – Alias

https://www.youtube.com/watch?v=pjhrGPFaQoQ

 

37. BECAUSE I LOVE YOU (THE POSTMAN SONG) – Stevie B

https://www.youtube.com/watch?v=Xc1uQI2XmZs

 

38. ANYTHING IS POSSIBLE – Debbie Gibson

https://www.youtube.com/watch?v=jS0_RqBQc50

 

39.SHOW ME THE WAY – Styx

https://www.youtube.com/watch?v=LsYvuxmzxX4

 

 

40. IT’S ALRIGHT NOW – The Beloved

https://www.youtube.com/watch?v=EOV31c7LMv4

 

 

ESCAPECIALLY (2019, Wirunpat Chuenchom, 21min, A+30)

 

THE SHOES MY SISTER BOUGHT ME FIT ME TIGHT (2019, Witchumala Sakpisit, 23min, A+25)

 

ตัวละครพี่สาวดู “มีปัญหา” ที่ unique ดี 555 คือถ้าหากหนังเรื่องนี้เกี่ยวกับพ่อแม่ที่ไม่อยากให้ลูกไปเรียนต่อเมืองนอก หนังเรื่องนี้ก็จะดู “ธรรมดา” กว่านี้ แต่พอหนังเรื่องนี้เปลี่ยนจากตัวละครพ่อแม่ มาเป็นตัวละครพี่สาวที่ไม่ต้องการให้น้องสาวไปเรียนต่อเมืองนอก หนังเรื่องนี้ก็เลยดูมีอะไรบางอย่างที่แปลกขึ้นมาบ้าง

 

ฉากกระโดดตุ๋มลงสระ ก็เป็นอีกสิ่งที่ช่วยให้หนังเรื่องนี้ memorable มากยิ่งขึ้น

 

ESCAPECIALLY (2019, Wirunpat Chuenchom, 21min, A+30)

 

ชอบความเลวของตัวละครมิวมากๆ หนังสร้างตัวละครนางเอกที่ unlikeable มากๆ เป็นผู้หญิงที่โลเล ไม่กล้าพูดความจริง และสร้างความลำบากเดือดร้อนให้เพื่อนๆ ชอบตัวละครบุ้งในหนังอย่างสุดๆที่ด่ามิวแทนเราได้อย่างสะใจ

 

ชอบหนังที่นำเสนอมนุษย์ที่เต็มไปด้วยข้อบกพร่องแบบนี้น่ะ และที่สำคัญก็คือว่า หนังไม่ได้มองว่าข้อบกพร่องแบบนี้เป็น “สิ่งน่ารัก ขำๆ” แต่มองว่าการสร้างความเดือดร้อนให้เพื่อนๆแบบนี้มันเป็นสิ่งที่ควรต้องแก้ไข

Tuesday, December 29, 2020

PEACE NEW WAVE (2016, Thitsanu Mongkolsiri, 14min, A+30)

 

PEACE NEW WAVE (2016, Thitsanu Mongkolsiri, 14min, A+30)

ในนามของความสงบ

 

1.หนังเก่าเมื่อ 4 ปีที่แล้ว แต่เราเพิ่งมาดู ดูจบแล้วก็รู้สึกว่ามันคลาสสิคมากๆ เพราะหนังเรื่องนี้มันช่วยบันทึกช่วงเวลาที่ฝ่ายประชาธิปไตยในบางพื้นที่ ยังคงรู้สึกว่าตัวเองเป็นคนส่วนน้อยในบางสังคม ก่อนที่กระแสจะเปลี่ยนแปลงไปในปี 2020 เหมือนหนังเรื่องนี้ช่วยบันทึกช่วงเวลาที่น่าสนใจ และเป็นการทำนายล่วงหน้าถึงกลุ่มเยาวชนปลดแอกในอีก 4 ปีต่อมา

 

รู้สึกว่าหนังเรื่องนี้ทำหน้าที่คล้ายๆกับ MAY THE YEAR AHEAD BRING YOU GOOD LUCK (2014, Ornnalin Techapoowapat, documentary) และ HAPPINESS (2015, Wachara Kanha, 26min) ในการบันทึกสภาพสังคมไทยในช่วงนั้นเอาไว้ โดย MAY THE YEAR AHEAD BRING YOU GOOD LUCK บันทึก “การกดทับในโรงเรียน” คล้ายๆกับหนังเรื่องนี้ ส่วน HAPPINESS ช่วยบันทึก “การลุกขึ้นมาแสดงความเห็นของเยาวชน” คล้ายๆกับหนังเรื่องนี้

 

2.ชอบการสร้าง character ของตัวละครต่างๆมาก ทั้ง

 

2.1 พระเอกที่เลือดร้อนและกล้าหาญ

 

2.2 นางเอกที่มีความคิดอ่านเป็นของตัวเอง แต่เน้นการเอาตัวรอดเป็นหลัก ซึ่งถ้าเป็นเรา เราก็คงทำแบบนางเอกในสถานการณ์นั้น คือปล่อยให้อีกฝ่ายพล่ามไป เราก็คิดแค่ว่า “สิ่งที่ครูพูด มันก็เหมือนเสียงหมาเห่า เราไม่จำเป็นต้องเอาสิ่งที่ครูพูดมาปรุงแต่งเป็นอารมณ์อะไรในใจ เหมือนที่เราไม่ต้องเอาเสียงหมาเห่ามาปรุงแต่งเป็นอารมณ์อะไรในใจ” 55555

 

2.3 ครู เราชอบมากๆที่ตัวละครนี้มีทั้งช่วงที่ดุร้าย และนึกว่าต้องโดนตบด้วยตีน กับช่วงที่ทำเป็นอ่อนโยน ใจดีกับนางเอก เพราะมันทำให้เรานึกถึงครูที่เราเกลียดสุดๆบางคนที่เราเคยเจอ คือในสมัยประถม/มัธยม มันจะมีครูบางคนที่เราเกลียดมากๆ เพราะเราไม่ชอบนโยบาย/นิสัย/การกระทำของครูพวกนี้ แต่ครูพวกนี้ชอบทำดีกับเรา 55555 (สงสัยครูนึกว่าเราเป็นเด็กดี) มันก็เลยเกิดภาวะ dilemma ที่น่าสนใจ เพราะครูพวกนี้มันไม่ใช่คนที่เป็นสีดำ เลวไปซะทั้งหมด เลวไปในทุกๆด้าน แต่เป็นครูที่มีทั้งส่วนชั่วร้าย และมีส่วนที่ดีด้วย (แถมยังชอบหันด้านดีใส่เราซะอีก) และการต้องรับมือกับ “คนที่มีทั้งส่วนดีและส่วนไม่ดี” อะไรแบบนี้ บางทีมันยากกว่าการรับมือกับคนที่เรารู้ว่ากูต้องถอดรองเท้าออกมาตบหน้ามันในทันที

 

2.4 อีสี่สาวที่นั่งข้างหลังนางเอก เหมือนหนังใส่ “ความน่าตบ” ของตัวละครกลุ่มนี้ออกมาในระดับที่พอดีๆ คือ 4 สาวนี้ไม่ได้ออกมา bully หาเรื่องกลั่นแกล้งนางเอกโดยตรง แต่มีการสร้างบรรยากาศของความหีอะไรบางอย่าง คือถ้าหาก 4 สาวนี้แสดงพฤติกรรมที่รุนแรงกว่านี้ เหตุการณ์ในหนังมันจะดูเหมือนเป็น “เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพียงแค่กับคนบางคน” แต่พอ 4 สาวนี้ทำเพียงแค่สร้างบรรยากาศมาคุ เหตุการณ์ในหนังมันเลยดูเหมือนเป็น “เหตุการณ์ที่น่าจะเคยเกิดขึ้นกับคนหลายๆคนที่เคยรู้สึกว่าตัวเองมีความเห็นทางการเมืองตรงข้ามกับคนอื่นๆ”

 

3.อันนี้ไม่เกี่ยวกับหนัง แต่ดูหนังแล้วเราแอบรู้สึกดีที่ตัวเองเป็นเด็กมัธยมในยุคปลายทศวรรษ 1980 ซึ่งเป็นยุคที่มี “การสอบเทียบ” เพราะพอมันมีการสอบเทียบ เราก็รู้สึกว่าเราไม่ต้องหงอ ไม่ต้องกลัวครูอาจารย์ในโรงเรียนมัธยมของเรามากนัก เพราะยังไงเราก็จบวุฒิม.6 จากการสอบเทียบได้อยู่แล้ว เราไม่ต้องก้มหัวให้ครูเพียงเพื่อจะได้จบม.6 จากโรงเรียนของเรา เหมือนการสอบเทียบมันช่วยให้เราใช้ชีวิตด้วยความสบายใจมากๆตอนที่เราเรียนม.ปลายในปี 1988-1989 น่ะ เพราะเรารู้ดีว่า ถ้าหากเราทนความเลวทรามของครูบางคนไม่ได้ กูก็ไม่ต้องมาโรงเรียนก็ได้ เพราะยังไงกูก็จบม.6 จากการสอบเทียบและสามารถเข้าเรียนมหาลัยได้อยู่แล้ว กูเชิดใส่ครูเลวๆได้ตามสบายค่ะ

 

ดูหนังได้ที่

https://www.youtube.com/watch?v=25N6PPTGhy4

 

T-ARA: THE CROWN OF QUEEN’S (2019, Pornchanok Ruangrung, documentary, A+25)

 

รู้สึกว่าเทียบชั้นกับหนังสารคดีอย่าง WHITNEY (2018, Kevin Macdonald) ได้เลย ชอบความตั้งอกตั้งใจในการ research ข้อมูล, การเรียงร้อยข้อมูลด้วยการตัดต่อ, การสัมภาษณ์แฟนเพลงชาวไทย

 

เราเองก็ไม่มีความรู้เรื่อง K-POP ใดๆเลยด้วย หนังเรื่องนี้เลยเหมาะกับเราที่ไม่มีพื้นความรู้เรื่องนี้

 

ชอบสิ่งที่นักเต้น cover ให้สัมภาษณ์ว่า พวกเธอต้องเลือกเต้นแต่เพลงที่ “ดัง” เท่านั้น เพราะถ้าพวกเธอเลือกเต้นเพลงที่ “ไม่ดัง” คนดูก็จะไม่แสดงปฏิกิริยาตอบรับ และกรรมการก็จะหักคะแนนเพราะเห็นว่าพวกเธอไม่สามารถ entertain คนดูได้ พอเราได้ฟังอย่างนี้แล้วเราก็ยิ่งรู้สึกสงสารศิลปินที่ไม่ดังและเพลงที่ไม่ดัง เพราะถึงแม้พวกเขาจะทำเพลงที่ไพเราะเพราะพริ้งมากๆ แต่ “ระบบ” อะไรบางอย่างก็จะกีดกันไม่ให้ผลงานของพวกเขาได้รับการเผยแพร่ในวงกว้างอยู่ดี

 

แต่เราก็อาจจะไม่ได้ชอบหนังแบบสุดๆนะ ไม่ใช่ว่าหนังมีข้อบกพร่องอะไร แต่ประเด็นของหนังอาจจะไม่ใช่สิ่งที่เราสนใจอย่างรุนแรง

 

LIKE MOTHER, LIKE SON (2019, Nuttakit Taengthai, 24min, A+25)

 

1. ชอบที่หนังนำเสนอตัวละครแม่ที่เป็นเลสเบียน ซึ่งเป็นสิ่งที่ดูแปลกดี และหนังยังเพิ่มความยากขึ้นไปอีกด้วยการทำให้ตัวละครแม่ดูมี “รัศมีของความไม่เป็นมิตร” แผ่ออกมาจากตัว ตัวละครตัวนี้ก็เลยดูมีความ unlikeable อยู่บ้าง คือความเป็นเลสเบียนน่ะไม่เป็นปัญหาสำหรับเราอย่างแน่นอน แต่คนที่พูดจาแบบแม่ในหนังเรื่องนี้คงเป็นคนที่เราไม่ค่อยอยากคุยด้วยในชีวิตจริง

 

2.หนังมีส่วนที่สร้างความผิดคาดให้เราอยู่ 2 จุดใหญ่ๆ ซึ่งก็คือ

 

2.1 ตอนแรกเราลุ้นมากๆให้ตัวละครพระเอกเป็นเกย์ แต่ปรากฏว่าเขากับผู้ชายอีกคนกลับไม่ใช่คู่รักกัน (โธ่ อุตส่าห์ลุ้นให้ได้กัน)

 

2.2 ปัญหามันดูเหมือนคลี่คลายง่ายเกินไปยังไงไม่รู้ 555 คือตอนแรกเรานึกว่าหนังจะออกมาดราม่าหนักๆ แบบ SMALL TALK (2016, Huang Hui-chen, Taiwan, documentary) และตัวละครต้องมีการคุยกันแบบเปิดอก ตีอกชกหัว ร้องห่มร้องไห้กันอย่างรุนแรง ก่อนที่ปัญหาจะคลี่คลายกันได้ แต่ปรากฏว่าตัวละครในหนังเรื่องนี้เหมือนรักและหวังดีต่อกันอยู่แล้ว เพียงแต่ไม่ชอบแสดงออกแบบตรงๆ เท่านั้นเอง

 

คือตอนแรกเรานึกว่าหนังเรื่องนี้จะนำเสนอตัวละครที่มีปมความทุกข์ฝังใจอย่างรุนแรงน่ะ แต่ปรากฏว่าดูจนจบแล้วเหมือนความทุกข์ของตัวละครมันอยู่ในระดับแค่ราว 30% ของที่เราคาดไว้ในตอนแรก เราก็เลยรู้สึกผิดคาดอยู่บ้าง