Friday, October 22, 2021

LUCÍA EN EL LIMBO (2019, Valentina Maurel, Belgium/Costa Rica, 20min, A+30)

 

LUCÍA EN EL LIMBO (2019, Valentina Maurel, Belgium/Costa Rica, 20min, A+30)

 

คือพอเห็นเรื่องย่อ Sixteen-year-old Lucia wants to get rid of two things more than anything: her lice & her virginity.เราก็รู้ว่าต้องดูทันที 555555 แล้วก็ไม่ผิดหวังจริง ๆ นึกว่านำแสดงโดยจิตร โพธิ์แก้ว ทั้งความเงี่ยนความแรงของนางเอก แล้วรู้สึกว่าเธอไม่ได้แรงแค่การกระทำของเธอเท่านั้น แต่แค่ฉากเธอยืนเฉย ๆ บนถนนแล้วทำหน้าทำตาไปมา ก็รู้สึกว่าอารมณ์เธอมันหนักมาก ๆ แล้ว เพลิงพ่าย ร้อนแรงของแท้ one of my most favorite female characters of the year

 

หนังเปิดฉายออนไลน์จนถึงตี 5 วันศุกร์นะ

https://www.festivalscope.com/film/lucia-en-el-limbo/

 

Wednesday, October 20, 2021

SILENT VOICE (2020, Reka Valerik, Belgium, documentary, 51min, A+30)

 

RIFT FINFINNEE (2020, Daniel Kötter, Ethiopia, Germany, documentary, A+30)

 

1.VISUAL ของหนังมันทรงพลังสุด ๆ เหมือนแต่ละช็อตมันมีความ cinematic อย่างรุนแรง มีความทรงพลังด้านภาพมาก ๆ กราบมาก ๆ โดยเฉพาะฉากที่ subject คนนึงเดินไปในตึกที่อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง

 

2.เนื้อหาของหนังก็น่าสนใจสุด ๆ ด้วย เพราะหนังถ่ายทอดปัญหาสังคมในเอธิโอเปียในยุคปัจจุบัน ทั้งเรื่อง

 

2.1 การเวนคืนที่ดิน ชาวบ้านที่เราเข้าใจว่าเป็นเกษตรกรหลายรายถูกรัฐบาลเวนคืนที่ดินไปสร้างอาคารสงเคราะห์ หรืออะไรทำนองนี้ แล้วรัฐบาลไม่ได้ให้ค่าตอบแทนที่เหมาะสมแก่ชาวบ้านที่ถูกเวนคืนที่ดินไป

 

2.2 การปะทะกันระหว่างเขตเมืองกับเขตชนบท เพราะเหมือนรัฐบาลสร้างตึกสูง ๆ เอาไว้เป็นแฟลตให้คนมาอยู่กัน แต่แฟลตเหล่านี้เหมือนถูกคั่นด้วย “ท้องไร่” แทรกอยู่เป็นระยะ ๆ เพราะชาวบ้านบางคนไม่ยอมขายที่ดินให้รัฐบาล และยังคงทำไร่ต่อไปตามเดิม เราก็เลยได้เห็นภาพ landscape ที่แปลกประหลาด เหมือนเห็นแฟลตดินแดงกับท้องนาตั้งอยู่เคียงคู่สลับกันไปมา

 

2.3 ปัญหาเรื่องคนจนคนรวย

 

2.4 และที่เราสนใจมากที่สุด ก็คือปัญหาเรื่องความขัดแย้งระหว่างชนเผ่า เราเข้าใจว่าเป็นชนเผ่า Oromo กับ Amhara ซึ่งเราไม่เคยรู้เรื่องนี้มาก่อนเลย หนักมาก ๆ คือดูหนังเรื่องนี้แล้วเรากลัวมากว่าจะเกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์กันแบบใน Rwanda ขึ้นในเอธิโอเปีย

 

3.ดีใจที่เราได้ดูหนังเรื่องนี้ เพราะเราแทบไม่เคยมีความรู้เกี่ยวกับประเทศนี้มาก่อนเลย แต่เรารู้สึกว่ามันเหมือนประเทศต้องสาปจริง ๆ เพราะตอนเด็ก ๆ เราจะฝังใจว่าเอธิโอเปียเป็นหนึ่งในประเทศที่ผู้คนอดอยากยากแค้นมากที่สุดในโลก โดยความฝังใจนี้มันมาจากเพลง WE ARE THE WORLD นี่แหละ แล้วหลังจากนั้น เราก็ได้รู้ว่ามันมีสงครามกลางเมือง แล้วก็เกิดการแยกประเทศ Eritrea ออกไปจาก Ethiopia แล้วเราก็นึกว่ามันจะสงบแล้ว นึกว่าพอแยกประเทศกันไป Ethiopia ก็คงกลายเป็นประเทศสงบ ๆ แล้วมั้ง แล้วเราก็แทบไม่ได้ยินชื่อ Ethiopia ในข่าวใด ๆ อีก

 

แต่พอมาดูหนังเรื่องนี้ เราถึงเพิ่งรู้ว่ามันหนักมาก เพราะเราเพิ่งรู้ว่าชาว Oromo กับชาว Amhara ในเอธิโอเปียเกลียดกันอย่างรุนแรงมาก เราก็เลยรู้สึกว่าประเทศนี้มันต้องสาปจริง ๆ ก็ได้แต่หวังว่ามันจะไม่นองเลือดกัน

 

4.ตอนแรกจะงงกับ “ปี” ในหนังมาก ๆ เพราะพอ subject พูดถึงปีอะไรขึ้นมา อย่างเช่นพูดถึงปี 2000 ตัว subtitle ก็จะขึ้นว่า 2000 (2007) อะไรทำนองนี้ เราก็เลยงงมาก นึกว่า subject ในหนังจำปีผิด พูดปีคลาดเคลื่อนตลอดทั้งเรื่อง แต่ตอนหลังเราถึงเพิ่งรู้ว่า ชาวเอธิโอเปียนับปีของตัวเองต่างจากชาวโลกราว 7 ปี

 

#signesdenuit2021

 

SILENT VOICE (2020, Reka Valerik, Belgium, documentary, 51min, A+30)

 

1.สุดฤทธิ์ หนักมาก ๆ คือมันต้องเอามาสร้างเป็นหนัง fiction ในอนาคตได้แน่นอน หนังสารคดีเรื่องนี้ตามถ่ายเกย์หนุ่มหุ่นล่ำ เขาเป็น martial art fighter ที่เก่งมาก ๆ แต่เขาดันไปเกิดใน Chechnya เขารอดชีวิตจากสงครามกลางเมืองมาได้ แต่การที่เขาเป็นเกย์ทำให้เขาถูกทำร้ายอย่างรุนแรงจากสังคมเชชเนีย และพี่ชายของเขาก็ประกาศว่าจะฆ่าเขา เขาก็เลยลี้ภัยมาอยู่เบลเยียม แต่เราก็ไม่รู้ว่าเขาเผชิญอะไรมาบ้าง เพราะกว่าจะมาถึงเบลเยียม เขาก็เกิดอาการทางจิต ทำให้เขาพูดไม่ได้ แบบตัวละครใน PERSONA ของ Ingmar Bergman คือเส้นเสียงของเขาปกติดี แต่เขาพูดไม่ได้ไปแล้ว

 

2.ส่วนนึงของหนังเรื่องนี้นำเสนอ therapist สาวที่พยายามช่วยให้เขาพูดให้ได้ เราเองก็พยายามลุ้นเอาใจช่วยตลอดเวลาให้เขาพูดให้ได้ เพราะการที่เขาพูดไม่ได้มันอาจจะทำให้เขาขอสถานะผู้ลี้ภัยได้ลำบาก

 

3.สิ่งที่หนักมาก ๆ ในหนังเรื่องนี้ คือการที่แม่ของเขาในเชชเนียยังคงโทรหาเขาบ่อยครั้งมาก แล้วสิ่งที่แม่พูดแต่ละอย่างก็ทรมานใจ ร้าวรานมาก ๆ

 

จุดนึงที่หนักมาก ๆ คือแม่ของเขาเล่าว่า พอเขาไม่อยู่ ทางบ้านก็เลยขาดรายได้ พี่ชายของเขาเลยหางานให้แม่ โดยให้แม่ไปทำงานในสวนน้ำหรืออะไรทำนองนี้มั้ง แม่ของเขาเลยได้ดูปลาโลมาในสวนน้ำเป็นประจำ แล้วแม่ของเขาเล่าว่า เธอรู้สึกว่า ปลาโลมาในสวนน้ำแห่งนี้ “เสแสร้งทำเป็นว่าตัวเองมีความสุข”

 

4.เขาต้องอยู่แบบหลบ ๆ ซ่อน ๆ ในเบลเยียมด้วย เพราะในเบลเยียมมีชุมชนเชชเนียอยู่ แล้วคนพวกนี้ก็ต้องรู้จักเขาและพี่ชายของเขา โดยเฉพาะพวกที่อยู่ในวงการกีฬา และเขาอาจจะถูกฆ่าตายได้ ถ้าหากเขาเปิดเผยตัว หรือถ้าหากเขาเผลอบอกแม่ไปว่าเขาอยู่ที่ไหน

 

5.หนังสารคดีเรื่องนี้ไม่ให้เราได้เห็นหน้าของเขาเลย เราก็เลยรู้สึกว่า มันเหมาะจะนำมาดัดแปลงเป็นหนัง fiction ในอนาคตมาก ๆ เพราะความเป็นหนังสารคดี มันเลยทำให้หนังเรื่องนี้ไม่สามารถถ่ายทอดอะไรหลาย ๆ อย่าง แต่ถ้าหากมันเป็นหนัง fiction มันจะถ่ายทอดได้

 

แต่สิ่งที่หนังเรื่องนี้ทำได้อย่างถูกต้อง ก็คือว่า พอหนังเรื่องนี้ถ่ายใบหน้าของเขาไม่ได้ หนังเรื่องนี้ก็เลยไปเน้นถ่ายมัดกล้ามหรือเรือนร่างของเขาแทน แล้วการที่เขาเป็น martial art fighter มันก็เลยทำให้จุดนี้ออกมาดูงดงามมาก ๆ

 

6.หนุ่มเบลเยียมสองคนในหนังเรื่องนี้ก็น่ารักน่ากินน่าเสยหีใส่อย่างสุด ๆ คนนึงเหมือนเป็นแฟนของ subject ชอบพา subject ไปท้องฟ้าจำลองด้วยกัน ส่วนอีกคนเป็นเหมือนเจ้าหน้าที่ที่คอยช่วยเหลือผู้ลี้ภัยที่เป็นเกย์

 

7.ดูหนังเรื่องนี้แล้วนึกถึงนึกถึงหนังสารคดีเรื่อง EKLEIPSIS (1998, Tran T. Kim-Trang) ที่เราชอบสุดๆ ด้วย โดยหนังสารคดีเรื่องนี้สำรวจหญิงกัมพูชาจำนวนมากในสหรัฐที่ ตาบอดเพราะอาการทางจิตหรือ hysterical blindness เพราะหญิงกัมพูชาเหล่านี้มีดวงตาที่สมบูรณ์ดี แต่กลับมองไม่เห็นอะไร ซึ่งหมอก็หาคำอธิบายไม่ได้ เหมือนหญิงกลุ่มนี้ตาบอดเพราะอาการทางจิต


 

ซึ่งหญิงทุกคนในกลุ่มนี้คือผู้ที่รอดชีวิตมาได้จากเหตุการณ์เขมรแดง ก่อนที่พวกเธอจะอพยพมาอยู่สหรัฐ มันก็เลยเกิดทฤษฎีว่า หรือว่าผู้หญิงกลุ่มนี้เห็นเหตุการณ์เลวร้ายมามาก และอาจจะรู้สึกผิดที่ตัวเองรอดชีวิตมาได้หรืออะไรทำนองนี้หรือเปล่า ผู้หญิงกลุ่มนี้ก็เลย ตาบอดเพราะอาการทางจิตขึ้นมา

 

8.หนังเรื่องนี้เปิดฉายฟรีออนไลน์จนถึงเวลาตี 5 ของวันศุกร์ที่ 22 ต.ค.นะ

https://www.festivalscope.com/film/silent-voice/

 

Monday, October 18, 2021

MY FAVORITE GAME IN THE PAST

 

MY FAVORITE GAME IN THE PAST

 

พอดีวันนี้มีเพื่อน cinephiles คุยหลังไมค์เรื่องการที่พวกเราชอบเล่น role play เลียนแบบหนังต่าง ๆ เราก็เลยนึกขึ้นมาได้ว่า นี่คือกิจกรรมที่เราทำมาตั้งแต่สมัยมัธยมเลย ในช่วงทศวรรษ 1980 เพราะในตอนนั้นเรากับเพื่อน ๆ มัธยม ชอบสมมุติกันว่า แต่ละคนในกลุ่มเป็นตัวละครตัวไหนกันบ้างในหนังเรื่องต่าง ๆ หรือในละครเรื่องต่าง ๆ และมีการจองกันไปเลยว่า ใครจองเป็นดาราคนไหนบ้าง, ใครจองเป็นใครในวงการนางแบบ, ใครจองเป็นใครในวงการนักร้อง,etc. ถือเป็นกิจกรรมที่มีความสุขสุด ๆ อย่างเช่นในตอนนั้นเราจองเป็นหลินชิงเสีย เพราะฉะนั้นเราก็จะเป็นหลินชิงเสียในหนังทุกเรื่อง ทั้งใน “ผู้หญิงแย่งสับ” และ “เดชคัมภีร์เทวดา ภาคสอง”

 

เราก็เลยขอบันทึกความทรงจำอันแสนสุขนี้ไว้แล้วกัน ว่าเราเคยจองเป็นใครมาแล้วบ้าง หรือเราเคยได้รับการ assigned จากเพื่อน  ๆ ให้รับบทเป็นใครมาแล้วบ้างในช่วงราว ๆ ทศวรรษ 1980-ต้นทศวรรษ 1990

 

1.ในวงการนางแบบไทย เราจองเป็น สปัน เสลาคุณ

2.ในวงการนางแบบอินเตอร์ เราจองเป็น Kristen McMenamy

3.ในวงการนักร้องฝรั่ง เราจองเป็น Kate Bush

4.ในวงการนักร้องญี่ปุ่น เราจองเป็น โคหี้ Kahoru Kohiruimaki

5.ในวงการดาราฝรั่ง เราจองเป็น Holly Hunter, Debra Winger, Judy Davis, Jennifer Jason Leigh

6.ในวงการดาราฝรั่งเศส เราจองเป็น Isabelle Adjani

7.ในวงการดาราญี่ปุ่น เราจองเป็น Yoko Minamino

8.ในวงการดาราฮ่องกง เราจองเป็น หลินชิงเสีย

9.ในละครทีวีเรื่อง กฤตยา เราเป็นภิกษุณีเซม-รา (อัญชลี ชัยศิริ)

10.ในละครทีวี TWIN PEAKS เราเป็น Donna Hayward (Lara Flynn Boyle)

11.ในละครทีวี บัวแล้งน้ำ เราเป็น เครืออร (ทัศนีย์ ชลหวรรณ)

12. ใน FULL MOON IN NEW YORK (1989, Stanley Kwan) เราจองเป็นตัวละครที่แสดงโดยจางอ้ายเจีย

 13. ใน MELROSE PLACE เราเป็น Jo Reynolds (Daphne Zuniga)

และก็มีอีกเยอะมาก แต่ตอนนี้เรายังนึกไม่ออก คือถ้ายุคนั้นพวกเราดูหนัง/ละครเรื่องไหนที่มันมีตัวละครผู้หญิงเยอะ ๆ ก็จะมีการ assigned กันในทันทีว่าใครรับบทเป็นใคร เราจำได้ว่าเคยมีการ assign กันด้วยว่าแต่ละคนในกลุ่มรับบทเป็นใครกันบ้างใน HOUSE (1977, Nobuhiko Obayashi) กับใน WOMEN ON THE VERGE OF THE NERVOUS BREAKDOWN (1988, Pedro Almodovar) เพราะหนังสองเรื่องนี้มีตัวละครหญิงเยอะมาก แต่ตอนนี้เราลืมไปแล้วว่าเราเคยรับบทเป็นตัวละครตัวไหนในหนังสองเรื่องนี้

 

ล่าสุดเมื่อต้นปี เราเพิ่งดู BREAKING NEWS IN YUBA COUNTY (2021, Tate Taylor) ไป แล้วมันมีตัวละครหญิงแรง ๆ เยอะมาก เราก็เลยรีบบอกเพื่อน ๆ มัธยมในทันทีว่า เราจองเป็น Debbie (Ellen Barkin) ในหนังเรื่องนี้ 55555

 

ส่วนเพื่อนคนอื่น ๆ ในกลุ่ม ก็มีการจับจองเป็นใครต่อใครในวงการต่าง ๆ ด้วยเช่นกัน สมมุติเช่น

 

A เป็น จอย วราลักษณ์, Christy Turlington, Paris Hilton, Goldie Hawn, Sherilyn Fenn, จามจุรี เชิดโฉม

B จองเป็น คาร่า พลสิทธิ์, Naomi Campbell, Tracey Thorn

C จองเป็น ภารดา บุญมี, Gail Elliott, Cher, เพ็ญพักตร์ ศิริกุล

D จองเป็น Madonna, Shizuka Kudo, Meryl Streep, จางม่านอี้, ชไมพร จตุรภุช

E จองเป็น Sharon Stone, อังคณา ทิมดี

F จองเป็น ปทุมรัตน์ วรมาลี, ลลิตา ปัญโญภาส

 

ไม่รู้ว่าเพื่อนๆ ใน Facebook มีใครชอบทำแบบนี้บ้าง 55555 หรือใครอยากประกาศจับจองเป็นใครกันบ้าง

 

ถ้าหากให้เราเลือกในตอนนี้ เราก็ขอจองเป็น

 

1.นักแสดงญี่ปุ่นยุคเก่า – Hideko Takamine

2.นักแสดงเยอรมันยุคเก่า – Margit Carstensen

3.นักแสดงฝรั่งเศสยุคเก่า – Delphine Seyrig

4.นักแสดงฝรั่งเศสยุคปัจจุบัน – Sandrine Kiberlain

5.ดาราอินเดีย – Sonam Kapoor

6.ดาราฮอลลีวู้ด – Mia Wasikowska

 

ใครอยากจองเป็นใครก็ประกาศกันไว้ได้เลยนะคะ เสียดายที่เราไม่ได้ตามดูละครทีวียุคปัจจุบันแล้ว ทั้งละครไทย, ญี่ปุ่น, เกาหลี, ฝรั่ง ไม่งั้นคงได้มีการจับจองเป็นดาราคนไหนหรือเป็นตัวละครตัวไหนกันอย่างสนุกสนานไปแล้ว  

Sunday, October 17, 2021

A MINOR HISTORY (2021, Apichatpong Weerasethakul, video installation, A+30)

 

A MINOR HISTORY (2021, Apichatpong Weerasethakul, video installation, A+30)

 

1.เหมือนเนื้อหาหลัก ๆ ของวิดีโอนี้คงเป็นเรื่องการพบศพผู้ลี้ภัยทางการเมืองในแม่น้ำโขง แต่ในตัววิดีโอเราจะไม่ได้เห็นตัวศพหรือการจำลองฉากการฆาตกรรม, ประวัติผู้เสียชีวิตแต่อย่างใด (ซึ่งข้อมูลส่วนนี้น่าจะหาได้จาก internet) ภาพที่เราได้เห็นเป็นภาพของโรงภาพยนตร์เก่าร้าง, นกที่บินไปมา , ศพนก, แม่น้ำ, เงา silhouette ของคนคนนึง (น่าจะเป็นผู้หญิง) ในห้องที่น่าจะเป็นห้องนอน, ไมโครโฟน, ไฟสีสันที่หมุนวนไปมา

 

2.มี text ในงานวิดีโอนี้ด้วย เล่าเรื่องของชายที่ฝันว่าลูกชายของเขาชกมวยในการแข่งขันที่ไม่ยุติธรรม (ถ้าจำไม่ผิด) และ text ที่ขึ้นว่า อากาศร้อนจนเงี่ยน, อากาศร้อนจนตาสว่าง หรืออะไรทำนองนี้

 

3.มีเสียงคนในวิดีโอนี้ด้วย ซึ่งมีลักษณะคล้ายละครวิทยุ แต่เสียงของนางเอกละครวิทยุนี้เหมือนเป็นเสียงของกะเทย เสียงของคนในละครวิทยุพูดคุยกันถึงเรื่องแก่งหินประหลาดกลางแม่น้ำ ที่มีตำนานว่าการที่แก่งหินนี้มีรูปร่างประหลาดเกิดจากนาคไปกระแทกก้อนหินเหล่านั้น, นาคที่ใกล้ตายจะยิ่งแสดงอิทธิฤทธิ์สะบัดตัวไปมาอย่างรุนแรง, มีการคุยกันถึงเรื่องพญาแถนด้วย แต่ส่วนใหญ่แล้วตัวละครจะพูดซ้ำไปซ้ำมาว่าอากาศร้อน

 

ชอบความเป็นละครวิทยุมาก ๆ ถ้าเราจำไม่ผิด ใน LIKE THE RELENTLESS FURY OF THE POUNDING WAVES (1996, Apichatpong Weerasethakul, 25min) ก็มีการใช้ละครวิทยุเช่นกัน

 

4.นอกจากเสียงแบบละครวิทยุแล้ว ยังมีเสียงคล้าย ๆ เครื่องจักรหึ่ง ๆ ดังตลอดเวลาด้วย ไม่แน่ใจว่ามันคือเสียงอะไร ตอนแรกนึกว่ามันเป็นเสียงที่สัมพันธ์กับภาพหลอดไฟสีสันที่หมุนวนไปมา แต่ก็ไม่แน่ใจว่าใช่หรือเปล่า เพราะเสียงมันทำให้นึกถึงเครื่องจักรในโรงงานมากกว่า

 

5.แล้วก็มีเสียง “ตึ้ง” ดังเป็นระยะ ๆ ด้วย ไม่รู้ว่าคือเสียงปืน หรือเสียงที่เกิดจากวัตถุหนัก ๆ โดนกระแทกหรืออะไรสักอย่าง

 

6.แล้วก็มีฉากลิเกอยู่ในงานนี้ด้วย โดยจะมีไฟส่องสว่างขึ้นมาที่ฉากลิเกเป็นระยะ ๆ ไม่แน่ใจว่าจังหวะของแสงไฟนี้สัมพันธ์กับเสียงตึ้งหรือเปล่า

 

ชอบการใช้ฉากลิเกนี้มาก ทำให้นึกถึงงานวิดีโอ SOMETHING LIKE A THING, SOMETHING LIKE EVERYTIME (2018, Anupong Charoenmitr) ที่นำฉากลิเกมาใช้ในงาน video installation เหมือนกัน โดยในงานวิดีโอนั้นมีการนำเสนอตัวละครจำอวดที่แสดงความทุกข์ใจที่ท้องพระโรงขยายขนาดออกไปเรื่อย ๆ โดยไม่มีที่สิ้นสุด

https://www.facebook.com/jit.phokaew/posts/10216642950169539

 

7.ชอบการโยงเรื่องศพกลางแม่น้ำโขงเข้ากับพญานาคและพญาแถนมาก ๆ ซึ่งก็เป็นลักษณะเฉพาะตัวในภาพยนตร์หลาย ๆ เรื่องของ Apichatpong ที่มีทั้งความเป็น supernatural และการเมืองผสมผสานกัน

 

8.โดยรวมแล้ว วิดีโอนี้ทำให้นึกถึงหนังบางเรื่องที่พูดถึง “เหตุการณ์ร้ายแรง” ที่เป็นปัญหาสังคม/การเมือง โดยเน้นนำเสนอแต่ lanscape เหมือนกัน อย่างเช่น

 

8.1 EUROPA 2005 – 27 OCTOBRE (2006, Jean-Marie Straub, Danièle Huillet) ที่นำเสนอภาพท้องถนนจุดนึงซ้ำไปซ้ำมา 5 รอบ แต่จริง ๆ แล้วท้องถนนตรงจุดนั้นเป็นจุดที่ชายหนุ่มสองคนเคยวิ่งหนีตำรวจจนไปโดนไฟดูดตาย แล้วก็เลยเป็นชนวนให้เกิดเหตุการณ์จลาจลในกรุงปารีสในเวลาต่อมา

 

8.2 SOUTH (1999, Chantal Akerman, documentary) ที่เล่าเรื่องของชายผิวดำในรัฐเท็กซัสที่ถูกพวกคนขาวเหยียดผิวจับผูกกับรถแล้วลากไปตามพื้นถนนหลายกิโลเมตรจนถึงแก่ความตาย โดยฉากสำคัญในหนังเรื่องนี้คือการที่กล้องจับภาพ “พื้นถนน” ไปเรื่อย ๆ เป็นระยะหลายกิโลเมตร (ถ้าจำไม่ผิด)

 

8.3 A.K.A. SERIAL KILLER (1969, Masao Adachi, Japan, documentary, 86min) ที่เล่าเรื่องจริงของฆาตกรโรคจิตคนนึงในญี่ปุ่น แต่ภาพในหนังเรื่องนี้มีแต่ภาพ landscape ของบริเวณที่ฆาตกรโรคจิตคนนี้เคยใช้ชีวิตอยู่

 

สาเหตุที่นึกถึงหนังทั้ง 3 เรื่องนี้ เพราะเรารู้สึกว่ามันน่าสนใจดีที่หนังกลุ่มนี้พูดถึงอะไรที่รุนแรงสุด ๆ แต่ไม่ได้นำเสนอภาพเหตุการณ์นั้นตรง ๆ แต่กลับนำเสนอภาพ landscape ที่ดูสงบนิ่ง, ดูธรรมดา, ดูเหมือนไม่มีอะไรเลย แต่ landscape ที่ดูธรรมดาและดูเหมือนเป็น landscape ที่เราใช้ชีวิตประจำวันนี่แหละ ที่เป็นสถานที่ที่เคยเกิดเหตุการณ์รุนแรงร้ายกาจขึ้นมาแล้ว และเหตุการณ์รุนแรงร้ายกาจนี้ก็อาจจะเป็นผลพวงมาจากโครงสร้างทางสังคม/การเมือง และความเชื่อผิด ๆ ที่ถูกปลูกฝังมาเป็นเวลานานด้วย (อย่างเช่นการเหยียดผิวใน SOUTH)

 

อย่างไรก็ดี  A MINOR HISTORY ก็แตกต่างจากหนัง 3 เรื่องข้างต้นนี้นะ เพราะภาพหลักในวิดีโอนี้คือภาพโรงหนังเก่าร้างน่ะ ซึ่งดูเหมือนจะไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับสถานที่เกิดเหตุฆาตกรรมแต่อย่างใด ในขณะที่ text และเสียงละครวิทยุอาจจะดูเชื่อมโยงกับเหตุฆาตกรรมมากกว่า

 

9.ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไมภาพหลักของวิดีโอถึงเป็นภาพของโรงหนังเก่าร้าง แต่มันก็น่าสนใจดี เพราะปกติแล้วภาพโรงหนังเก่าร้างในหนังเรื่องอื่น ๆ มักจะทำให้เรานึกถวิลหาถึงอดีตที่งดงามรุ่งเรืองของยุคโรงหนัง stand alone ในทศวรษ 1970-1980 แต่เหมือนวิดีโอนี้คงไม่น่าจะต้องการให้เรานึกถวิลหาถึงอดีตที่งดงามรุ่งเรืองเหล่านั้นแต่อย่างใด 55555

 

10.สิ่งที่วิดีโอนี้ไม่ได้ตั้งใจ แต่ทำให้เรารู้สึกไปเอง ก็คือเรารู้สึกถึง “กาลเวลา” ที่ทำให้สิ่งต่าง ๆ เคยรุ่งเรืองเฟื่องฟูและเสื่อมสลายลงในเวลาต่อมาน่ะ เพราะแทนที่วิดีโอนี้จะเน้นพูดถึงแต่เหตุการณ์ศพกลางแม่น้ำแบบเน้นเวลาเฉพาะเจาะจงในยุค 2-3 ปีที่ผ่านมา เรากลับคิดไปถึงกาลเวลาแบบเนิ่นนานมาก ๆ เรากลับคิดไปถึงเรื่องที่ว่า ตำนานพญาแถนและตำนานเรื่องเหนือธรรมชาติบางเรื่องเนี่ย จริง ๆ แล้วตำนาน/เรื่องเล่าพวกนี้ มันมีต้นกำเนิดมาจากปัญหาทางการเมืองการปกครองในผืนแผ่นดินนั้นเมื่อหลายพันปีก่อนหรือเปล่า, ลิเกเรื่องต่าง ๆ ที่มักแสดงกันในอดีต มันสะท้อนความเชื่อทางการเมืองอะไรในยุคนั้นด้วยหรือเปล่า และเราก็รู้สึกว่าทั้งตำนานพญาแถน, ตำนานพญานาค, ลิเก, ละครวิทยุ, โรงหนัง stand alone ต่างก็ดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่ “พ้นยุคพ้นสมัย” ไปแล้วในยุคปัจจุบัน สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เหมือนจะเคยเป็นสิ่งที่รุ่งเรืองเฟื่องฟูในอดีตเหมือน ๆ กัน แต่ในที่สุด กาลเวลาก็ได้ทำให้สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ค่อย ๆ เสื่อมความนิยมไปเรื่อย ๆ เช่นเดียวกัน วิดีโอนี้ก็เลยทำให้เราเกิดความรู้สึกสะท้อนทอดถอนใจบางอย่างที่อธิบายไม่ถูก เหมือนเราเป็นจุดนึงเล็ก ๆ ในกาลเวลา และเราคงจะได้เห็นการเสื่อมสลายของสิ่งต่าง ๆ ไปเรื่อย ๆ อย่างไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้

Saturday, October 16, 2021

SOUNDS OF SAND (2006, Marion Hänsel, Belgium, 96min, A+30)

 

SOUNDS OF SAND (2006, Marion Hänsel, Belgium, 96min, A+30)

 

1.ไม่เคยดูหนังเรื่องไหนแล้วรู้สึกกระหายน้ำเท่าหนังเรื่องนี้มาก่อน ชอบสุด ๆ หนังเล่าเรื่องครอบครัวนึงในทวีปแอฟริกา ที่ไม่ได้เจาะจงว่าเหตุเกิดในประเทศอะไร หมู่บ้านที่พวกเขาอยู่ประสบภาวะภัยแล้งอย่างรุนแรง ก็เลยต้องอพยพกันทั้งหมู่บ้าน พระเอกพาเมียกับลูกชายสองคน, ลูกสาวหนึ่งคน และเพื่อนบ้านอีกครอบครัวนึง ระเหเร่ร่อนไปเรื่อย ๆ เพื่อหาแหล่งน้ำ และก็ต้องเผชิญกับทั้งทะเลทรายที่โหดร้าย, แมงป่อง, สงครามกลางเมือง, ทหารรัฐบาลที่ชั่วร้าย, กลุ่มกบฏที่โหดเหี้ยม และกับระเบิด

 

2.หนังทรงพลังมาก ๆ ฉากฝ่ากับระเบิดนี่หัวใจจะวายของจริง

 

3.ฉากที่ติดตาที่สุด คือฉากที่มีชายคนนึงเดินกะย่องกะแย่งตามครอบครัวนี้ไปเรื่อย ๆ โดยที่ครอบครัวนี้อยู่ foreground ของภาพ แล้วชายคนนี้อยู่ background เราจะเห็นเขาอยู่ไกล ๆ แล้วเขาก็ค่อย ๆ ล้มลงตายไป

 

หนังไม่ยอมตัดภาพไปโคลสอัพอะไรเขาเลย เราเห็นเขาอยู่ background ไกล ๆ ตลอด จนกระทั่งเขาล้มลงตาย เราว่าการออกแบบช็อตนี้มันสุดขีดมาก ๆ มันสะเทือนใจเราอย่างสุด ๆ ไม่รู้ทำไมเหมือนกัน เราเดาว่าถ้าหากหนังตัดภาพไปโคลสอัพคนที่กำลังจะตาย เราก็อาจจะรู้สึกเฉย ๆ แต่พอเราเห็นคนค่อย ๆ ล้มลงตาย โดยที่กล้องของหนังเหมือนเฉยชากับการตายนั้น มันทำให้เรารู้สึกถึง “ความโหดร้ายของโลกและจักรวาล” ได้มากยิ่งขึ้นมั้ง

 

4.อันนี้เป็นหนังเรื่องที่สองของ Marion Hänsel ที่เราได้ดู ต่อจาก THE CRUEL EMBRACE (1987) ที่เคยมาฉายที่ศาลาเฉลิมกรุง เราชอบ THE CRUEL EMBRACE อย่างรุนแรงสุด ๆ เหมือนกัน คิดว่า Marion Hänsel นี่น่าจะเป็นผู้กำกับที่ทำหนังเข้าทางเรามาก ๆ เสียดายเรายังไม่ได้ดูหนังอีกสิบกว่าเรื่องที่เธอกำกับ เหมือนเราจะมีแผ่น DVD หนังเรื่อง DUST (1985) ของเธอเก็บไว้ด้วย เดี๋ยวว่าง ๆ คงต้องคุ้ยออกมาดู

https://www.imdb.com/name/nm0405578/?ref_=nv_sr_srsg_0

 

SOUNDS OF SAND เปิดฉายฟรีออนไลน์จนถึงวันที่ 22 ต.ค.นะ

https://www.festivalscope.com/film/sounds-of-sand/

 

SOL DEL LLANO (2019, Manuela Irene Espitia, Mexico, 20min, A+30)

 

ชอบฉากคุณแม่จมน้ำมาก ๆ

 

#signesdenuit2021

 

IMPRISONED LIGHT (2019, Chi Him Yuen, China/Hong Kong, 11min, A+30)

 

#signesdenuit2021

 

THE FORBIDDEN STRINGS (2019, Hasan Noori, Iran, documentary, A+30)

 

1.ดีมากที่มีการบันทึกสิ่งนี้เอาไว้ ก่อนที่ตาลีบันจะกลับมายึดครองอัฟกานิสถานอีกครั้ง หนังสารคดีเรื่องนี้เล่าเรื่องของกลุ่มหนุ่มสาวชาวอัฟกานิสถานที่ลี้ภัยอยู่ในอิหร่าน พวกเขาตั้งวงดนตรีร็อคกันขึ้นมา และใฝ่ฝันที่จะได้กลับไปเปิดคอนเสิร์ตในอัฟกานิสถานกัน แต่มันเป็นเรื่องที่ยากลำบากอย่างสุดๆ มันเป็นเรื่องที่เสี่ยงตายถึงชีวิตกันเลยทีเดียวในการจะเปิดคอนเสิร์ตเพลงร็อคในอัฟกานิสถาน

 

2.ประโยคสนทนาอันนึงก็น่าสนใจดี เพราะมีตอนนึงที่ subjects คุยกันว่า ถ้าพวกตาลีบันมาเจอเราในระหว่างการเดินทาง ตาลีบันก็จะมองออกทันทีว่าเราเป็นพวกนิกายชีอะห์

 

แต่หนังไม่ได้อธิบายว่า ทำไมตาลีบันถึงจะมองออกทันทีว่านักดนตรีกลุ่มนี้เป็นชีอะห์ เป็นเพราะเครื่องแต่งกายหรือรูปร่างหน้าตาหรืออะไร เราก็เลยสงสัยตรงจุดนี้ว่าเขาแยกแยะระหว่างแต่ละนิกายกันอย่างไร

 

#signesdenuit2021

 

A QUIET PLACE PART II (2020, John Krasinski, A+30)

SERIOUS SPOILERS ALERT

--

--

--

--

--

1.ภาคแรกออกมาในปี 2018 ตอนที่โรงลิโดยังมี 3 โรงอยู่เลย (เราจำได้ว่าเราเจอผู้ชายที่เราแอบหลงรักเดินออกมาจากโรงลิโดหลังดูภาคแรกจบ 55555) แต่กว่าเราจะได้ดูภาคสองก็ต้องรอนานถึง 3 ปี แต่ปรากฏว่าเนื้อหาในภาคสองเหมือนจะเดินหน้าไปแค่ไม่ถึงหนึ่งสัปดาห์ต่อจากภาคแรก 55555 เราก็เลยกลัวว่า ถ้ามึงจะสร้างภาคสาม มึงก็ต้องรีบ ๆ สร้างนะคะ คือถ้าต้องรออีก 3 ปีกว่าจะมีภาคสามออกมา ตอนนั้นนักแสดงเด็ก ๆ ในเรื่องก็อาจจะโตเกินกว่าที่จะมารับบทเดิมได้แล้ว

 

2.รู้สึกว่าหนังสนุกตื่นเต้นดีมากสำหรับเรา

 

3.แต่สิ่งที่สะเทือนใจเรามากเป็นพิเศษก็คือการที่หนังสร้าง “สถานที่ปลอดภัย” ขึ้นมา แล้วก็ทำลายมันลงอย่างโหดร้าย ซึ่งก็คือตัวเกาะแห่งนั้น อย่างไรก็ดี หนังก็ไม่ได้ทำให้เราสะเทือนใจอย่างรุนแรงมากนัก เพราะหนังยังไม่ได้เปิดโอกาสให้เราทำความคุ้นเคยรู้จักผูกพันกับคนต่าง ๆ ในเกาะ ก่อนที่คนเหล่านั้นจะถูกฆ่าตาย

 

จริง ๆ แล้วพล็อตการสร้างสถานที่ปลอดภัยขึ้นมา แล้วก็ให้ตัวละครในนั้นถูกสังหารหมู่อย่างรุนแรงในภายหลัง ก็เป็นสิ่งที่เราพบได้ในหนังหลาย ๆ เรื่อง นะ โดยเฉพาะในหนังซอมบี้ แต่มันก็สะเทือนใจเรามาก ๆ ทุกที

 

ตัวอย่างของพล็อตแบบนี้ที่พบได้ในหนังเรื่องอื่น ๆ

 

3.1 BATTLE ROYALE (2000, Kinji Fukasaku)

ชอบตัวละครหญิงสาว 6 คนในประภาคารสีขาวมาก ๆ (ถ้าจำไม่ผิด) เหมือนเป็นกลุ่มเด็กเรียนนิสัยดี (ซึ่งมักจะพบได้ในชีวิตจริงสมัยเรียนมัธยม) คือตัวละครกลุ่มนี้ดู “สมควรรอดตาย” มาก ๆ เพราะความนิสัยดีเรียบร้อยสามัคคีกันของพวกเธอ แต่ในที่สุดความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจกันก็ทำให้ทุกคนต้องตาย

 

3.2 LAND OF THE DEAD (2005, George A. Romero)

สถานที่ปลอดภัยในหนังเรื่องนี้แตกต่างจากหนังเรื่องอื่น ๆ เพราะการถูกทำลายของมันดูเหมือนจะสร้างความ “สะใจ” ให้ผู้ชมมากกว่าความสะเทือนใจ คงเป็นเพราะสถานที่ปลอดภัยในหนังเรื่องนี้ดูเป็นเหมือนเมืองสำหรับคนรวย หรืออภิสิทธิ์ชน

 

3.3 WORLD WAR Z (2013, Marc Forster)

เมืองในอิสราเอลก็ดูเหมือนว่าจะ “รอด” ในช่วงแรก แต่ก็นั่นแหละ ตามสไตล์ของหนังซอมบี้

 

3.4 I AM A HERO (2015, Shinsuke Sato, Japan)

กลุ่มหนุ่มสาวบนดาดฟ้าก็ดูเหมือนว่าจะได้อยู่ในสถานที่ปลอดภัยเช่นกัน

 

3.5 SWORD MASTER (2016, Yee Tung-ching, China/Hong Kong)

ถ้าจำไม่ผิด พระเอกได้ใช้ชีวิตอยู่ในหมู่บ้านอะไรสักอย่างกับสาวคนรักในช่วงกลางเรื่อง ก่อนที่หมู่บ้านนั้นจะถูกบุกทำลาย

 

3.6 BLOOD QUANTUM (2019, Jeff Barnaby, Canada)

เขตสงวนสำหรับชาวอินเดียนแดงก็ดูเหมือนจะเป็นสถานที่ปลอดภัย

 

3.7 ZOMBIELAND: DOUBLE TAP (2019, Ruben Fleischer)

หนังเรื่องนี้แตกต่างจากเรื่องอื่นๆ  เพราะสถานที่ปลอดภัยในหนังเรื่องนี้ “รอด” อาจจะเป็นเพราะมันเป็นหนังตลกมากกว่าหนังสยองขวัญ

 

3.8 LIGHT OF MY LIFE (2019, Casey Affleck)

ชอบบ้านของชายชรา 3 คนมาก ๆ (ถ้าจำไม่ผิด)

 

3.9 แต่พล็อตแบบนี้ที่สะเทือนใจเราอย่างรุนแรงที่สุดในชีวิต คงต้องยกให้ DON’T CRY NANKING (1995, Wu Ziniu, Taiwan/Hong Kong) ที่สร้างจากเรื่องจริง เมื่อทหารญี่ปุ่นบุกเข้ากรุงนานกิงในเดือนธ.ค. 1937 และฆ่าข่มขืนประชาชนจำนวนมาก ซึ่งรวมถึงเด็ก, ผู้หญิง และคนชรา โดยตัวละครในหนังเรื่องนี้หนีเข้าไปอยู่ในเขตปลอดภัยของ “กาชาด” แต่ในที่สุดทหารญี่ปุ่นก็บุกเข้าเขตปลอดภัยของกาชาด และฆ่าข่มขืนชาวจีนจำนวนมากในเขตปลอดภัยนั้น

 

ASWANG (2019, Alyx Ayn G. Arumpac, Philippines, documentary, A+30)

 

สะเทือนใจกับเรื่องที่ตำรวจจับคนจำนวนมากไปเรียกค่าไถ่ด้วยการนำไปขังไว้ในซอกแคบ ๆ มากๆ นึกไม่ถึงว่าเหตุการณ์มันจะเลวร้ายได้ถึงขนาดนี้ แล้วปกติพอพูดถึงการจับคนไปเรียกค่าไถ่ เราก็มักจะนึกว่ามันจะเกิดขึ้นกับ “คนรวย” เท่านั้นนะ แต่นี่ดูสภาพแต่ละคนที่ถูกจับไป ก็ดูเหมือนไม่ใช่คนรวยเลยนี่นา เป็นเหมือนชาวบ้านธรรมดาเท่านั้น เพราะฉะนั้นเหตุการณ์นี้มันก็เลยเหมือนหนักกว่าปกติใน 4 ระดับด้วยกัน ซึ่งได้แก่

 

1.เหยื่อเป็นชาวบ้านธรรมดา ๆ คุณไม่รวย คุณก็ซวยได้

 

2.สถานที่กักขังก็เลวร้ายสุด ๆ คือหนักกว่าติดคุกน่ะ

 

3.คนที่ทำคือตำรวจ ไม่ใช่อาชญากรธรรมดา

 

4.ตำรวจถูกเปิดโปงแล้วก็ยังเอาตัวรอดไปได้อีก โดยอ้างว่าจับคนเหล่านี้มาสอบสวนคดียาเสพติด และการที่ตำรวจเอาตัวรอดแบบนี้ได้ เพราะโครงสร้างสังคม+กฎหมายภายใต้ปธน. Duterte มันเปิดโอกาสให้ทำแบบนั้น

-------------

Favorite quote from Gustav Deutsch’s website:

 

Found footage filmmaking has its roots in experimental and avant-garde traditions. Joseph Cornell is often considered an important early pioneer of the art, Bruce Conner the king during his lifetime, and now Deutsch is considered the living master of this genre.

 

https://www.gustavdeutsch.net/en/bibliography/47-bibliography/bibliografie-thematical/82-gustav-deutsch-and-the-art-of-found-footage

 

เราชอบหนังของ Bruce Conner กับ Gustav Deutsch อย่างสุด ๆ แต่เรายังไม่เคยดูหนังของ Joseph Cornell เลย สงสัยคงต้องหาทางดูหนังของเขาบ้างแล้ว

 

รูปจาก TAKE THE 5:10 TO DREAMLAND (1976, Bruce Conner) ซึ่งเป็นหนังที่สร้างจาก found footage ที่เราชอบที่สุดตลอดกาล

https://en.wikipedia.org/wiki/Take_the_5:10_to_Dreamland

 

NO TIME TO DIE (2021, Cary Joji Fukunaga, A+30)

 

1.ชอบฉากเปิดมาก ๆ นึกว่าเด็กหญิงในเรื่องต้องปะทะกับ HANNA (2011, Joe Wright) และ BLACK WIDOW ตอนเด็ก

 

2.เสียดายที่เรายังไม่ได้ดู SPECTRE เลย

 

3.ตัวละคร Nomi (Lashana Lynch) ก็พอใช้ได้ นึกว่าตัวละครตัวนี้ต้องปะทะกับ Jane Kano (Ella Balinska) ใน CHARLIE’S ANGELS (2019, Elizabeth Banks), นางเอก COLOMBIANA (2011, Olivier Megaton) และ May Day (Grace Jones) จาก A VIEW TO A KILL (1985, John Glen)

 

4.ก็โอเคกับหนังน่ะแหละ แต่ก็ต้องยอมรับว่าหนังเจมส์ บอนด์มันสร้างเพื่อผู้ชมกลุ่มอื่น ๆ ไม่ได้สร้างขึ้นมาเพื่อเราอย่างเฉพาะเจาะจง เพราะเราเกิดมาเพื่ออินกับ “สิงห์สาวนักสืบ” (SUKEBAN DEKA) ค่ะ 55555 ซึ่งเรื่องนี้ไม่เกี่ยวข้องกับคุณภาพหรือความดีงามของหนัง/ละครแต่อย่างใด เพราะสิงห์สาวนักสืบมัน “เว่อ”, “ไม่สมจริง” และ “ไร้สาระ” กว่า James Bond หลายเท่า 555555 มันคงขึ้นอยู่กับโลกจินตนาการของเราว่ามันสอดคล้องกับจักรวาลของหนังชุดไหนมากกว่า ไม่เกี่ยวข้องว่าหนังดีหรือไม่ดี

 

คือรู้สึกว่าหนังชุดเจมส์ บอนด์เป็นหนังที่สนุกและบันเทิงมากนะสำหรับเรา เพียงแต่เราไม่ได้อินกับหนังมากนักจ้ะ

 

5.ตอบไม่ได้ด้วยนะว่าชอบภาคไหนมากที่สุด เพราะก็ไม่ได้อินกับหนังชุดนี้อยู่แล้ว อาจจะชอบภาค ON HER MAJESTY’S SECRET SERVICE (1969, Peter R. Hunt) มากที่สุดมั้ง เราจำได้ว่าได้ดูทางช่อง 7 ตอนเด็ก ๆ แล้วรู้สึกว่ามันสนุกมาก ๆ แต่ตอนนี้เราก็ลืมเนื้อเรื่องไปหมดแล้ว ไม่รู้ว่าถ้าได้ดูอีกรอบจะยังชอบสุด ๆ เหมือนตอนเด็ก ๆ หรือเปล่า

 

6.แต่ชอบ Daniel Craig ในลุคเจมส์ บอนด์นะ เพราะเราไม่ค่อยชอบผู้ชายเจ้าชู้ 55555 และเราว่า Daniel Craig กับ Timothy Dalton ดูไม่ค่อยเจ้าชู้เท่าไหร่ตอนมารับบทเจมส์ บอนด์ ในขณะที่นักแสดงคนอื่น ๆ ดูเจ้าชู้กรุ้มกริ่มกว่าในบทนี้

 

7.ส่วนบทผู้ร้ายในดวงใจในหนังชุดนี้ เรายังคงยกให้ Necros (Andreas Wisniewski) จาก THE LIVING DAYLIGHTS (1987, John Glen) เพราะหล่อมาก 55555

 

8.ส่วนเพลงธีมของเจมส์ บอนด์ที่เราชอบมากที่สุด ก็ยังคงเป็น

 

8.1 LICENSE TO KILL (1989) – Gladys Knight รู้สึกว่านี่แหละคือเพลงประจำตัวของเหล่าตัวละครหญิงในโลกจินตนาการของเรา

8.2 FOR YOUR EYES ONLY (1981) – Sheena Easton

8.3 ALL TIME HIGH (1983) – Rita Coolidge จาก OCTOPUSSY

8.4 NOBODY DOES IT BETTER (1977) – Carly Simon จาก THE SPY WHO LOVED ME

8.5 GOLDFINGER (1964) – Shirley Bassey

 

THE NEW HOUSE CELEBRATION OF NIMIT POOMTHAVORN (1978, Thada Kerdmongkol, documentary)

งานขึ้นบ้านใหม่ของนิมิตร ภูมิถาวร (1978, ธาดา เกิดมงคล)

 

เราไม่เคยอ่านนิตยสารฟ้าเมืองไทยนะ แต่ดูหนังเรื่องนี้แล้วแอบใจหาย นึกถึงยุครุ่งเรืองของนิตยสารในไทย มันคืออดีตที่ไม่มีวันหวนคืนมาของจริง คือดูแล้วนึกถึงชีวิตตัวเองในทศวรรษ 1980 น่ะ ชีวิตที่ใช้เวลาไปกับการอ่านนิตยสารสกุลไทย, สตรีสาร, ตุ๊กตา, ลลนา, ขวัญเรือน, เปรียว, แพรว, สวิตา, ชัยพฤกษ์วิทยาศาสตร์, มิติที่ 4, ต่วยตูนพิเศษ (ซึ่งยังมีชีวิตอยู่) , etc. คือพอดูหนังเรื่องนี้แล้วเราก็จะจินตนาการไปถึงความสุขของนักเขียนในยุคนั้น, วงการนักเขียนยุคนั้น นักเขียนและคนทำนิตยสารในยุคนั้นเขาจะมีความสุขกันมากเพียงใดนะในทศวรรษ 1980 แล้วปัจจุบันนี้พวกเขาใช้ชีวิตอยู่กันอย่างไร

 

THE HOME MOVIES OF ADOLF KRAJC (1979, Adolf Krajc, documentary)

 

1.ดีมากที่มีการบันทึกภาพภูเก็ตกับหาดใหญ่ในปี 1979 เอาไว้ พอดูหนังเรื่องนี้แล้วเราก็เลยนึกขึ้นมาได้ว่า เหมือนเราแทบไม่ค่อยได้เห็นภูเก็ตในหนังไทยยุคก่อนทศวรรษ 1980 มั้ง เราก็ไม่แน่ใจเหมือนกัน คือเวลาดูหนังไทยยุคเก่า (ยุคก่อนทศวรรษ 1980) เราก็มักจะได้เห็นตัวละครไปเที่ยวทะเลกัน แต่เราก็ไม่แน่ใจว่าพวกเขาไปเที่ยวที่ไหน มันคือบางแสน, สัตหีบ, บางปู, หัวหินอะไรพวกนั้นหรือเปล่า อันนี้เราก็ไม่มีความรู้นะ คงต้องให้ผู้เชี่ยวชาญมาตอบว่า ชายหาดที่ตัวละครชอบไปเที่ยวในหนังไทยยุคเก่ามันคือชายหาดที่ไหน

 

2.ชอบเวลาเขาถ่ายพ่อค้าแม่ค้าหาบเร่ คือพอดูหนังเรื่องนี้แล้วเราถึงเพิ่งนึกขึ้นมาได้ว่า ตอนเด็ก ๆ เราเจอพ่อค้าแม่ค้าหาบเร่เยอะมาก (ในทศวรรษ 1980) แล้วเราก็แอบสงสารพวกเขา เพราะมันคงหนักและลำบาก แต่ปัจจุบันนี้เหมือนเราแทบไม่เคยเจอพ่อค้าแม่ค้าหาบเร่แล้ว เพราะปัจจุบันนี้เขาหันมาใช้รถเข็นกันเกือบหมด ซึ่งน่าจะสะดวกกว่าเดิมในระดับนึง

 

3.เหมือนสิ่งที่ต่างชาติมองไทย บางทีก็ตรงกับสิ่งที่เราสนใจ และบางทีก็ไม่ตรงกับสิ่งที่เราสนใจ อย่างเช่นเขาคงสนใจ “วัด” เพราะมันคงเป็นสิ่งประหลาดสำหรับต่างชาติ พบได้แค่ในไทยและไม่กี่ประเทศเท่านั้น แต่วัดมันเหมือนเป็นสิ่งคงทนถาวรในระดับนึงน่ะ เพราะฉะนั้นภาพวัดไทยในปี 1979 มันก็เลยเหมือนไม่ได้ตอบสนองความอยากรู้อยากเห็นของเราในปัจจุบัน

 

แต่พ่อค้าแม่ค้าหาบเร่นี่แหละที่ตรงกับสิ่งที่เราสนใจ ซึ่งต่างชาติก็อาจมองว่าพ่อค้าแม่ค้าหาบเร่นี่เป็นสิ่งประหลาดสำหรับเขาเหมือนกัน และถึงแม้ว่าอาชีพนี้ไม่ใช่สิ่งประหลาดสำหรับคนไทยในยุคนั้น แต่ในปัจจุบันนี้อาชีพนี้ก็ดูเหมือนเป็นสิ่งหายากไปแล้ว

 

รู้สึกว่าตัวเองชอบดู “มนุษย์” ในหนังพวกนี้น่ะ เพราะมนุษย์เป็นสิ่งไม่คงทนถาวร มนุษย์มันแก่ตัวลงในทุก ๆ วินาทีที่ดำเนินไป การที่หนัง home movies, หนังสารคดี หรือหนังอะไรก็ตามมันช่วยบันทึกมนุษย์ในห้วงขณะนึงเอาไว้ มันเลยเหมือนช่วยคว้าจับสิ่งที่ไม่มีวันหวนคืนมาได้เอาไว้ด้วย

 

ดูหนังเรื่องนี้ได้ที่

https://www.youtube.com/watch?v=UopLJIyiwEY

---------------

เพลงไตเติลละครทีวีเรื่อง “โรงแรมวิปริต” (1984) ที่นำแสดงโดยอัศวิน รัตนประชา จำได้ว่าฉากคลาสสิคฉากนึงในละครเรื่องนี้คือฉากที่นางตะเคียน, นางตานี กับผีบ้านผีเรือนรวมพลังกันช่วยเหลือพระเอก

https://www.youtube.com/watch?v=70GP-cFzv9s&t=14s

--------------

วันนี้กิน Dahi Puri กับกุหลาบจามุน ขอยกให้กุหลาบจามุนเป็นหนึ่งในขนมที่หวานที่สุดเท่าที่เคยกินมาในชีวิต หวานในระดับมากกว่าหรือเท่ากับทองหยิบหรือทองหยอดเลย รู้สึกว่ากุหลาบจามุนมันอร่อยสุด ๆ แต่อยากรู้ว่ากี่กิโลแคลอรี่ 55555

 

พอคุยกันเรื่องขนมหวานแล้ว เราเลยนึกขึ้นมาได้ว่า ตอนเด็กเราชอบกิน “น้ำตาลปึก” อย่างสุด ๆ เราชอบเอาก้อน “น้ำตาลปึก” มาแทะกินเล่นทั้งก้อนอย่างเอร็ดอร่อย แต่เหมือนเราไม่ได้เอาน้ำตาลปึกมาแทะกินเล่นราว ๆ 30 ปีได้แล้วมั้ง ไม่รู้ว่าเด็ก ๆ ยุคใหม่เขายังเอาน้ำตาลปึกมาแทะกินเล่นแบบเราอยู่หรือเปล่า 5555 แล้วถ้าเราเอาน้ำตาลปึกมาแทะกินเล่นอีก มันจะกี่กิโลแคลอรี่ 555555