หนังสั้นเกี่ยวกับ
6 ต.ค. 2519 โดยตรง ก็มีหนังเรื่อง
--ความโปร่งใสยามวิกาล (2016, Supawit Buaket, 24min)
--CARS
(UNOFFICIAL MUSIC VIDEO) (2017, Thitsanu Mongkolsiri, 4min)
--V R
RIDER (2017, Thitsanu Mongkolsiri, 16min)
แล้วก็จะมีหนังเกี่ยวกับ
“สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ในไทย” แต่เราจำไม่ได้ว่าเกี่ยวข้องกับ 6 ต.ค. 2519
หรือเปล่า อย่างเช่นหนังเรื่อง
--THE
SPIRIT OF THE AGE (2015, Wichanon Somumjarn, documentary, 26min)
--เงาสูญสิ้นแสง
ANOTHER DIMENSION
(2018, Kritsada Nakagate, 24min)
--ห้วงยามแห่งความพ่ายแพ้
(2020, Pawat
Kantawirud, 19min) อันนี้พูดถึงคนไทยที่เข้าป่าไปร่วมกับคอมมิวนิสต์หลังปี 2516 มั้ง หนังก็เลยไม่เกี่ยวข้องกับ
6 ต.ค. 2519 โดยตรง (ถ้าจำไม่ผิด)
มีหนังเรื่อง “ลมตุลาคม”
(2013, พัฒนะ จิรวงศ์, documentary, 29min) ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับ 6 ต.ค. 2519 โดยตรง
แต่หนังเรื่องนี้เป็นการสัมภาษณ์ จักรา ยอดมณี หลานชายของถนอม กิตติขจร
เราก็เลยรู้สึกว่ามันเป็นหนังที่เกี่ยวข้องโดยอ้อม
---------------
ปีนี้ลูกหมีน้อยได้ดูหนังของ
Matthias Müller สองเรื่องที่ฉายออนไลน์ค่ะ ซึ่งก็คือเรื่อง MISTY PICTURE (2021) ที่ฉายในเทศกาล Oberhausen กับ SCREEN (2018) ที่ฉายทาง e-flux ลูกหมีน้อยบอกว่าชอบหนังของ
Matthias Müller อย่างสุด ๆ เลยค่ะ แล้วพอดีวันนี้แม่หมีไปเดิน Kinokinuya Paragon แล้วเจอหนังสือ A CRITICAL CINEMA 5: INTERVIEWS WITH
INDEPENDENT FILMMAKERS ของ Scott
MacDonald ที่มีบทสัมภาษณ์
Matthias Müller แม่หมีก็เลยรีบซื้อหนังสือเล่มนี้มาให้ลูกหมีน้อยอ่านค่ะ
นอกจากนี้ ในหนังสือเล่มนี้ยังมีบทสัมภาษณ์ผู้กำกับอีก 3 คนที่ลูกหมีน้อยชื่นชอบอย่างสุด
ๆ ด้วย ซึ่งก็คือ Kenneth
Anger, James Benning และ Sharon
Lockhart และก็มีบทสัมภาษณ์ผู้กำกับคนอื่น
ๆ ที่น่าสนใจ อย่างเช่น Tony Conrad, Nathaniel Dorsky, Peggy Ahwesh, Alain Berliner, Robb Moss,
Phil Solomon, J. Leighton Pierce, Jennifer Todd Reeves, Shino Kano และ Ernie Gehr ด้วย หวังว่าลูกหมีน้อยคงอ่านหนังสือเล่มนี้อย่างมีความสุข
มาเดิน KINOKUNIYA PARAGON ครั้งแรกในรอบ 5 เดือน เจอหนังสือที่อยากอ่านเยอะมาก
อย่างเช่น
1.GODARD
AND SOUND: ACOUSTIC INNOVATION IN THE LATE FILMS OF JEAN-LUC GODARD by Albertine
Fox
2.LOOKING
FOR THE OTHER: FEMINISM, FILM, AND THE IMPERIAL GAZE by E. Ann Kaplan เหมือนหนังสือเล่มนี้เป็นการสำรวจว่า
ผู้กำกับผิวขาวมี gaze
ต่อคนผิวสีอย่างไรในหนัง
อย่างเช่น Claire
Denis
What happens when
white people look at non-whites? What happens when the gaze is returned? Looking
for the Other responds to criticisms leveled at white
feminist film theory of the 1970s and 1980s for its neglect of issues to do
with race. It focuses attention on the male gaze across cultures, as
illustrated by women filmmakers of color whose films deal with travel.
Looking relations are determined by history,
tradition, myth; by national identity, power hierarchies, politics, economics,
geographical and other environment. Travel implicitly involves looking at, and
looking relations with, peoples different from oneself. Featured films include Birth of a Nation, The
Cat People, Home of the Brave,
Black Narcissus, Chocolat, and Warrior
Marks. Featured filmmakers include D.W.Griffith, Jacques Tourneur,
Michael Powell, Julie Dash, Pratibha Parmar, Trinh T. Min-ha, and Claire Denis.
3.ROOM TO
DREAM by David Lynch and Kristine McKenna
4.THE
WOMEN OF DAVID LYNCH: A COLLECTION OF ESSAYS
5.CARAVAGGIO
(BFI FILM CLASSICS)
--------------------
บันทึกไว้ว่า ในที่สุดวันนี้ก็ได้เข้าโรงหนังเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่วันที่
24 เม.ย.เป็นต้นมา ตอนแรกเรานึกว่าเราจะไม่ได้เข้าโรงหนังซะแล้ว เพราะช่วง 3
เดือนที่ผ่านมา เรามีอาการปวดเหมือนเป็นริดสีดวงทวาร เรากิน daflon มาโดยตลอด แต่มันก็ไม่ดีขึ้น วันนี้ก็เลยไปหาหมอ
เตรียมใจไว้แล้วว่าอาจจะต้องโดนฉีดยาที่ริดสีดวง
ซึ่งอาจจะส่งผลให้เราเข้าโรงหนังไม่ได้ไปอีกราว 2 สัปดาห์
เพราะเราเคยได้ยินมาว่าคนที่โดนฉีดยาที่ริดสีดวงจะมีอาการเมนส์หยดติ๋ง ๆ
ต้องใส่ผ้าอนามัยตลอดเวลาเป็นเวลา 2 สัปดาห์
แล้วเราก็คงไม่อยากออกมาโรงหนังแล้วมีเมนส์หยดติ๋ง ๆ ตลอดเวลาแบบนั้น (ล้อเล่นจ้า)
แต่พอไปหาหมอ
หมอตรวจดูแล้วเหมือนอาการปวดของเราไม่ได้เกิดจากริดสีดวงน่ะ เหมือนมันเป็นการปวดกล้ามเนื้อบริเวณนั้น
แต่ก็ไม่รู้ว่าเกิดจากอะไร เราเองก็งง ทำไมเราปวดกล้ามเนื้อบริเวณนั้นมาเป็นเวลา 3
เดือน เราไม่ได้โดนผู้ชายเยเลยนะในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา นี่คือปริศนาชีวิตที่เรายังหาคำตอบไม่ได้
แต่ช่างมันเถอะ
สรุปว่าตอนนี้เราก็ออกมาดูหนังในโรงภาพยนตร์ได้แล้ว ก็เลยดูหนังไปสองเรื่อง ซึ่งก็คือ
THE CONJURING:
THE DEVIL MADE ME DO IT (2021, Michael Chaves) และ MALIGNANT 2021, James Wan) ชอบสุด ๆ ทั้งสองเรื่อง
ทาง Major Cineplex เขาต่ออายุบัตร M PASSออกไปโดยอัตโนมัติอีกหลายเดือน เราก็เลยได้ใช้บัตร
M PASS ซื้อตั๋วสองใบในวันนี้ สรุปว่าตอนนี้เราใช้บัตร M PASS ซื้อตั๋วดูหนังไปแล้ว 57 เรื่อง เฉลี่ยราคาเรื่องละ
84 บาท
THE
CONJURING: THE DEVIL MADE ME DO IT (2021, Michael Chaves, A+30)
SPOILERS
ALERT
--
--
--
--
--
1.เสียดายช่วงท้ายของหนัง 555555 รู้สึกว่ามันคลี่คลายง่ายไปหน่อย
ไม่รู้ว่าเป็นเพราะมัน based on a true story หรือเปล่า มันเลยทำให้เว่อวังอลังการมากกว่านี้ไม่ได้
2.แต่ถ้าหากไม่นับช่วงท้ายของหนังที่เราว่ามันง่ายไป
หนังเรื่องนี้ก็เกือบจะเป็นหนังที่เราชอบมากที่สุดในทั้งสามภาคไปแล้วนะ
คือตอนนี้เราก็ตอบไม่ได้หรอกว่าเราชอบภาคไหนมากที่สุด น่าจะชอบพอ ๆ กันทั้งสามภาค
แต่ช่วง 75% แรกของภาคสามนี่เราอินมากที่สุดในบรรดาทั้งสามภาคเลยนะ
คงเป็นเพราะเราเติบโตมากับความหวาดกลัว “คุณไสย” มากกว่า “ปีศาจ” น่ะ แล้วเราว่าหนังสองภาคแรกมันเป็นเรื่องของ
“ปีศาจ” ซึ่งเราไม่ได้หวาดกลัวมันมากนัก
แต่เราว่าเนื้อหาของภาคสามนี่มันเป็นอะไรที่เข้าทางเราสุด
ๆ เลย เพราะปีศาจในภาคสามมันเกี่ยวข้องกับ “คำสาป”, “แม่มด”, “การสืบคดี”, “การแปลภาษาโบราณ”,
“ฆาตกรโรคจิต” และเราว่ามันให้อารมณ์คล้าย ๆ “คุณไสย” ด้วย
คือตอนเด็ก ๆ
กูเติบโตมากับนิตยสาร ต่วยตูนพิเศษ, โลกทิพย์ และนิยายของตรี อภิรุมน่ะค่ะ
แล้วกูก็จะกลัวอะไรแบบนี้มาก ๆ อย่างเช่น
2.1
ถ้าเจอลมพัดแรง ๆ ให้ระวังคุณไสยเข้าตัว
2.2
ถ้ามีเสียงเรียก อย่าขานตอบ เดี๋ยวคุณไสยจะเข้าตัว
2.3
คุณไสยคือสิ่งที่คนที่เล่นคาถาอาคม ปล่อยออกมา อาจจะเข้าตัวใครก็ได้
แต่ถ้าหากถอนคุณไสยได้แล้ว บางทีมันจะย้อนกลับไปเล่นงานตัวคนปล่อยคุณไสยนั้นเอง
แล้วเราว่าเนื้อหาของภาคสามนี่
มันให้อารมณ์คล้าย ๆ แบบนั้นเลยน่ะ 555555 เหมือนสิ่งที่แม่มดในภาคนี้ทำ มันคล้าย
ๆ กับความเชื่อเรื่องคุณไสยในไทย ปล่อยอำนาจชั่วร้ายออกมาใส่เหยื่อที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่
นึกว่าต้องส่งครูพนอปล่อยควายธนูหรือกระทิงแดงไปตบกับเธอ
3.สรุปว่า
ชอบสุด ๆ ที่ภาคนี้มันเกี่ยวกับแม่มดและเวทมนตร์
เพราะเราอินกับเรื่องพวกนี้อย่างสุด ๆ
4.ฉากที่ชอบสุด
ๆ และอินสุด ๆ คือฉากที่นางเอกจับมือศพ แล้วใช้พลังจิตย้อนหาต้นตอจนไปปะทะกับแม่มดได้
เราขอยกให้ฉากนี้เป็นฉากสุดโปรดพอ ๆ กับฉาก Rose the Hat ใน DOCTOR SLEEP (2019, Mike Flanagan) นั่งสมาธิ ถอดจิตลอยขึ้นเหนือสหรัฐอเมริกา
แล้วตามหาบ้านของ Abra
Stone จนเจอ
แล้วปะทะกับ Abra อย่างรุนแรงในฉากนั้น คือเหมือนทั้งสองฉากนี้เป็นฉากผู้หญิงที่มีอิทธิฤทธิ์สูงสุดสองคนปะทะกันอย่างรุนแรงโดยใช้
“จิต” เป็นหลักน่ะ เราก็เลยชอบทั้งสองฉากนี้อย่างสุดใจขาดดิ้นเหมือนๆ กัน
No comments:
Post a Comment