Thursday, May 30, 2024

A STRANGER CALLS


บันทึกว่า วันนี้อยู่ดี ๆ ตอนราว ๆ 3 ทุ่ม มีโทรศัพท์สายในเข้ามาที่ห้องในอพาร์ทเมนท์เรา เราก็รับโทรศัพท์ไป นึกว่าเป็นร้านซักรีดในอพาร์ทเมนท์โทรมา ปรากฏว่าปลายสายเป็นเสียงซ่า ๆ เสียงกึงกังอะไรสักอย่าง เหมือนสัญญาณไม่ชัด เราก็ “ฮัลโหล ฮัลโหล” ไป แต่ก็ไม่มีเสียงคนตอบมา มีแต่เสียงที่คล้าย ๆ สัญญาณติดขัดอะไรสักอย่าง แล้วสักพักหนึ่งมันก็กลายเป็นเสียงดนตรี เหมือนเสียงดนตรีจาก music box อะไรอย่างนี้ เราเห็นว่ามันไม่มีเสียงมนุษย์พูดมาสักที เราก็เลยวางสายไป

 

ไม่รู้ใครโทรมา ไม่รู้ว่าเป็นคนในอพาร์ทเมนท์หรือนอกอพาร์ทเมนท์ แล้วโทรมาทำไม มีจุดประสงค์อะไร นึกว่าฉันเป็นตัวละครในหนังชุด SCREAM 55555 แต่เรากะว่าถ้าหากมันโทรมาอีก เราจะพูดไปในโทรศัพท์ว่า “ที่นั่นมีคนชื่อ ทามาร่า ไหมคะ” คือถ้าอีกฝั่งหนึ่งเป็น SCREAM กูก็จะเป็น THE STRANGERS กลับไปค่ะ 55555

LES AMIS DE NINON (1996, Rosette, France, 25min, A+30)

 

LES AMIS DE NINON (1996, Rosette, France, 25min, A+30)

 

หนังฉายออนไลน์จนถึงเที่ยงวันศุกร์ที่ 31 พ.ค.

https://www.lecinemaclub.com/now-showing/les-amis-de-ninon/

 

งดงามมาก ๆ ผู้กำกับหนังเรื่องนี้เป็นเพื่อนของ Eric Rohmer และหนังก็ทำออกมาได้ใกล้เคียงกับหนังของ Rohmer จริง ๆ

 

มี Isild Le Besco กับ Arielle Dombasle ร่วมแสดงด้วย

Sunday, May 26, 2024

A GOOD DECISION AND A BAD DECISION IN ONE DAY

 

รู้สึกว่าวันนี้ตัดสินใจทั้งถูกต้องและไม่ถูกต้องในวันเดียวกัน ก็เลยขอจดบันทึกความทรงจำไว้หน่อย

 

1.ตอนแรกเราต้องเลือกว่า จะไปดู “ฝนเลือด” BLOOD RAIN (2023, Achitaphon Piansukprasert, 73min, A+30) รอบสองที่ DOC CLUB ในรอบ 13.00 น.ดีหรือไม่ หรือว่าจะไปดู MERMAIDS DON’T CRY (2022, Franziska Pflaum, Austria) ในเทศกาลหนังอียูที่ HOUSE รอบ 12.00 น.ดี ซึ่งเราก็สองจิตสองใจ เพราะ MERMAIDS DON’T CRY น่าจะเป็นหนังที่เราอาจจะหาโอกาสดูอีกได้ยาก ส่วน BLOOD RAIN นั้นก็เป็นหนังที่เราเคยดูมาแล้วรอบนึง

 

แต่เราก็ตัดสินใจเลือกดู BLOOD RAIN ก็แล้วกัน เพราะรอบแรกที่เราดูนั้นเป็นการดูทางจอคอมพิวเตอร์ laptop แล้วเราก็ชอบหนังเรื่องนี้มาก ๆ และคิดว่าหนังมันน่าจะทรงพลังมากขึ้นเมื่อได้ดูในจอใหญ่

 

ซึ่งพอได้ดูในจอใหญ่ที่ DOC CLUB มันก็ทรงพลังมากขึ้นจริง ๆ นึกถึงประสบการณ์ตอนดู AGATHA AND THE LIMITLESS READINGS (1981, Marguerite Duras, France), WINDOWS (1999, Apichatpong Weerasethakul),  BIRTH OF THE SEANEMA (2004, Sasithorn Ariyavicha) และ RUHR (2009, James Benning) ในจอใหญ่ ซึ่งเป็นกลุ่มหนังที่มีความช้าเหมือนกัน และการได้ดูในจอใหญ่มันช่วยเสริมพลังด้าน “ภาพและเสียง” ของหนัง ให้มันช่วยสะกดจิตคนดูอย่างเราได้มากยิ่งขึ้น

 

และปรากฏว่า การเลือกของเราก็ได้รับการยืนยันว่าเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องที่สุดแล้ว เพราะ “มิตรสหายท่านหนึ่ง” ไปดู MERMAIDS DON’T CRY แล้วก็ส่งข้อความมาบอกว่า

 

“เสี่ยงเป็นตัวแทนหมู่บ้านไปดู Mermaid Don’t Cry ซะหน่อย กลายเป็นหนึ่งในประสบการณ์สุดแย่ไปเลย…  งงมากว่าอีพวกกเฬวรากพวกนี้มันโผล่มาจากหลุมไหนกัน”

 

ก็เลยคิดว่า เราตัดสินใจถูกต้องที่สุดแล้วล่ะที่เลือกมาดู BLOOD RAIN เพราะถ้าหากเราไปดู MERMAIDS DON’T CRY เราก็คงต้องตบตีกับคนดูในงานอย่างรุนแรง หรืออย่างน้อยเราก็ต้องอารมณ์เสียสุดขีดอย่างแน่นอน

 

2.แต่เราก็ตัดสินใจผิดพลาดในเวลาต่อมา เพราะเรากะว่าจะดูหนังที่ DOC CLUB ต่อรอบ 18.15 น. ซึ่งเป็นหนังไทยสองเรื่องที่เรายังไม่เคยดูมาก่อน เพราะฉะนั้นเราก็เลยต้องเลือกว่าเราจะทำอะไรดีระหว่างเวลา 14.30-18.15 น.

 

ซึ่งเราก็สามารถเลือกได้ว่า จะดูหนังที่ DOC CLUB ต่อไปดีหรือไม่ ซึ่งในช่วง 14.30-18.15 น.นั้น DOC CLUB + งาน WILDTYPE MIDDLECLASS จัดฉายหนังไทยที่เราชอบมาก ๆ 3 เรื่อง แต่เป็นหนังที่เราเคยดูมาแล้วทั้ง 3 เรื่อง

 

เราก็เลยตัดสินใจว่าจะไปตระเวนตาม gallery ต่าง ๆ เพื่อดูงาน video installation แทนแล้วกัน แล้วค่อยกลับมาดูหนังที่ DOC CLUB ตอน 18.15 น. เราก็เลยได้ไปดูงาน video installation ตาม gallery ต่าง ๆ ราว 8 ชิ้น ซึ่งมีบางชิ้นที่เราชอบสุดขีด ดีงามมาก ๆ ประทับจิตประทับใจ

 

แต่เราก็พบว่า การเดินทางไปตาม gallery ต่าง ๆ มันทำให้เราเหงื่อออกมากพอสมควรน่ะ เพราะเราเป็นคนที่เหงื่อออกง่ายมาก ๆ ถ้าหากเรากลับไปดูหนังที่ DOC CLUB เราก็กลัวว่าตัวเองจะตัวเหม็น เราก็เลยเข้าสามย่านมิตรทาวน์ ไปซื้อเสื้อยืดใหม่ที่ MUJI ในราคา 690 บาท กะว่าถ้าหากเปลี่ยนเสื้อยืดใหม่ มันน่าจะลดกลิ่นเหงื่อของเราลงได้

 

แต่พอเราเข้าห้องน้ำสามย่านมิตรทาวน์ เพื่อจะเปลี่ยนเสื้อยืด เราก็รู้สึกว่า ถึงเราจะใส่เสื้อยืดใหม่ มันก็มีเหงื่อเกาะตามแผ่นหลังของเราอยู่ดี ซึ่งเราก็ไม่รู้หรอกว่า ตัวเราเหม็นหรือไม่เหม็น คือเราไม่รู้สึกเหม็น แต่เรารู้ว่าเราเหงื่อออกเป็นระยะ ๆ ในช่วง 2-3 ชั่วโมงที่ผ่านมา และคนอื่น ๆ อาจจะรู้สึกเหม็นก็ได้ เราก็เลยนึกภาพออกเลยว่า ถ้าหากเรากลับไปดูหนังที่ DOC CLUB เราก็จะแอบกังวลใจอยู่ตลอดเวลาที่นั่งดูหนังว่า “ตัวกูเหม็นเหงื่อหรือเปล่านะ” ซึ่งมันจะทำให้เรา “ไม่มีสมาธิในการดูหนัง” เพราะเราจะมัวแต่กังวลใจกับเรื่องนี้ตลอดเวลา

 

เราก็เลยตัดสินใจกลับอพาร์ทเมนท์ดีกว่า เพราะคิดว่าการต้องนั่งดูหนังพร้อมกับกังวลใจกับเหงื่อของตัวเองตลอดเวลา มันไม่ทำให้เรามีความสุขอย่างแน่นอน 55555

 

สรุปได้ว่า ถ้าหากเราไม่ “โลภมาก” ถ้าหากเราตัดสินใจอยู่ DOC CLUB ไปเรื่อย ๆ ทั้งวัน เหตุการณ์แบบนี้ก็คงไม่เกิดขึ้น เราก็คงได้ดูหนังที่ DOC CLUB รอบ 18.15 น.ไปแล้ว 55555 สรุปว่าดิฉันได้รับบทเรียนแล้วค่ะ ดิฉันโลภมากเอง จบ

MOM, I WANT TO BE A CHAMELEON

 

MOM, I WANT TO BE A CHAMELEON

แม่ครับ ผมอยากเป็นกิ้งก่า (2023, Kulapat Aimmanoj, 112min, A+30)

 

1.ชอบมาก ๆ ที่ตัว setting ของมันจริง ๆ แล้วเอื้อให้เป็นหนัง action thriller X-MEN มาก ๆ เพราะโลกอนาคตที่มีเทคโนโลยีแบบนี้สามารถใช้เป็น setting ของเรื่องราวของโลกที่ตัวละครแต่ละตัวมีอิทธิฤทธิ์แตกต่างกันไป และต่อสู้ห้ำหั่นกันอย่างรุนแรงได้ 555 แต่หนังเรื่องนี้เลือกที่จะไม่ไปในทางนั้น

 

2.จุดนึงที่เราชอบในหนัง ก็คือว่า จริง ๆ แล้วในช่วงครึ่งแรกของเรื่อง เราก็ไม่แน่ใจว่าเราควรจะเข้าข้าง "ฝ่ายสนับสนุน CHIMERA" หรือไม่ 555 มันก็เลยสร้าง dilemma ในใจเราได้ดี ซึ่งมันจะแตกต่างจากหนังเรื่องอื่น ๆ ที่เรารู้ได้ง่าย ๆ ตั้งแต่แรกว่าเราจะเข้าข้างตัวละครฝ่ายไหน หรือเราลงความเห็นได้เลยว่าเราสนับสนุนแนวคิดของฝ่ายไหน โดยเฉพาะหนังย้อนยุค ที่พูดถึงการเรียกร้องสิทธิสตรี, สิทธิคนดำ และสิทธิเกย์

 

คือพอตัวละครในหนังเรื่องนี้มันเรียกร้องสิทธิที่ล้ำยุคล้ำสมัยมาก ๆ และเราไม่มีข้อมูลมากพอเกี่ยวกับข้อดีและข้อเสียต่าง ๆ ของ Chimera เราก็เลยลงความเห็นไม่ได้ว่า เราควรเข้าข้างฝ่ายนางเอกหรือไม่ในช่วงแรก ๆ ของเรื่อง

เราก็เลยชอบมากที่หนังเรื่องนี้ทำให้เรารู้สึก "ตัดสินใจไม่ได้" แบบนี้ เหมือนมันเลือกประเด็นที่ยากกว่าหนังทั่วไป และทำให้เรานึกถึงสิ่งที่พวก homophobia ชอบมาแสดงความเห็นว่า "ถ้าออกกฎหมายให้คนเพศเดียวกันแต่งงานกันได้ เดี๋ยวต่อไปก็จะมีการออกกฎหมายให้คนแต่งงานกับหมาได้, คนในครอบครัวเดียวกันแต่งงานกันได้, etc." คือเหมือนหนังเรื่องนี้หยิบสิ่งที่พวก homophobia พูด มาขยับขยายให้มันเข้าใกล้ความเป็นจริงขึ้นมา เราก็เลยรู้สึกตัดสินใจได้ยากว่าเราควรจะเข้าข้างตัวละครฝ่ายไหนในหนัง

 

3.เราค่อยมาแน่ใจว่าเราจะเข้าข้างฝ่ายนางเอก ก็ต่อเมื่อหนังเผยกลุ่มตัวร้ายออกมา แล้วกลุ่มตัวร้ายมันดูคล้ายกับพวกที่ต่อต้านสิทธิเสรีภาพในด้านอื่น ๆ มาก ๆ หรือมันดูเลวอย่างเห็นได้ชัด 555

 

4.ชอบมาก ๆ ด้วยที่หนังเลือกให้แม่ที่เลี้ยงพระเอกมาเป็นผู้หญิงข้ามเพศหรืออะไรทำนองนี้ แต่เธอต่อต้านสิทธิเสรีภาพของพระเอก เพราะจุดนี้ทำให้เรานึกถึง queer หลาย ๆ คนที่อาจจะสนับสนุนสิทธิเกย์ แต่ต่อต้านประชาธิปไตย 55555

 

5.ชอบที่หนังเล่นท่ายากด้วยการทำให้ตัวละครพระเอกเป็นคนที่ unlikeable มาก ๆ ด้วย มันก็เลยทำให้หนังเรื่องนี้เป็นหนังที่ไม่มีใครให้เราเอาใจช่วยเลย เพราะพระเอกก็นิสัยไม่ดี เทคโนโลยีล้ำยุคในหนังเราก็ยังไม่ไว้วางใจ และหนังเองก็ไม่ได้ทำให้เรารู้สึกใกล้ชิดกับตัวละครตัวไหนในแบบที่ทำให้เราเห็นใจและอยากเอาใจช่วย เราก็เลยรู้สึกว่าหนังเรื่องนี้จงใจเล่นท่ายากกว่าหนังทั่วไป แต่ทำออกมาได้สำเร็จ

 

และเรารู้สึกว่าการสร้างตัวละครพระเอกแบบนี้ทำให้หนังออกมาไม่แบนเกินไปด้วย คือเรารู้สึกว่าตัวละครพระเอกไม่ใช่ “คนทั่วไปในสังคม” หรือไม่ใช่มาตรวัดที่จะมาตัดสินได้ว่า chimera ดีหรือไม่ดีน่ะ คือมันเหมือนมีทางเลือกอีก 2 ทางในการสร้างหนังเรื่องนี้ ซึ่งก็คือการสร้างตัวละครพระเอกที่สามารถแก้ปัญหาชีวิตได้ด้วย chimera หรือไม่ก็สร้างตัวละครพระเอกและตัวละครอื่น ๆ ที่ชีวิตถูกทำลายด้วย chimera เพื่อที่หนังจะได้หา “ข้อสรุปง่าย ๆ” ให้กับเทคโนโลยีในหนังเรื่องนี้ว่ามันดีหรือไม่ดี แต่หนังเรื่องนี้ไม่เลือกที่จะหาข้อสรุปง่าย ๆ แบบนั้น และเลือกที่จะนำเสนอตัวละครพระเอกที่ไม่ว่าจะมีหรือไม่มีเทคโนโลยีล้ำยุคล้ำสมัยนี้ เขาก็น่าจะทุกข์ทรมานอยู่ดี เราก็เลยรู้สึกว่าตัวละครพระเอกในหนังเรื่องนี้ทำให้หนัง “ยาก” ดี เพราะเราก็ไม่ชอบเขา, ไม่อินกับเขา, ไม่เอาใจช่วยเขา และตัวละครตัวนี้ก็ทำให้หนังเรื่องนี้เป็นมากกว่าหนังที่ชูประเด็นเรื่อง “ชีวจริยธรรม” อะไรทำนองนี้ด้วย คือเหมือนเขาเป็นมนุษย์ที่มีความซับซ้อนมากเกินไปกว่าที่จะเป็นเพียงแค่เครื่องมือที่ใช้ในการตัดสินความถูกต้องชอบธรรมของประเด็นใด ๆ ได้โดยง่าย

 

6. รู้สึกว่าการแสดงในหนังเรื่องนี้มันมีความ over dramatic นึกว่าแผดอารมณ์ระดับเดียวกันกับหนัง Ingmar Bergman ซึ่งใช้การแสดงแบบ "กึ่ง ๆ ละครเวที" เหมือนกัน แต่พอนักแสดงทุกคนเล่นได้ดีมากและออกมาในแบบ over dramatic เหมือนกัน เราก็เลยรู้สึกว่ามันเป็นสไตล์เฉพาะของหนังเรื่องนี้

 

7.ตัวนักแสดงที่เล่นเป็นพระเอก เล่นดีมาก ๆ เพราะบทมันหนักมาก ๆ คนอื่น ๆ ก็เล่นดีมากเหมือนกัน ชอบที่หลาย ๆ ฉากเลือกถ่ายแบบ long take นักแสดงเลยปล่อยฝีมือกันแบบเต็มที่เหมือนละครเวที

 

8.ชอบฉากที่พระเอกเต้นในคลับในช่วงท้ายเรื่องด้วย รู้สึกว่าฉากนั้นมันทรงพลังในแง่ visual มาก ๆ ด้วย ในขณะที่ฉากอื่น ๆ ในหนังอาจจะทรงพลังในทาง "การแสดง" เป็นหลัก แต่ฉากนี้มันมีพลังทาง visual เสริมเข้ามาอย่างมาก ๆ

 

9.สรุปว่าชอบมาก ๆ ที่หนังเรื่องนี้เหมือนไม่ได้ให้คำตอบหรือทางเลือกง่าย ๆ ให้กับเรา คือดูแล้วเราก็รู้สึกว่า เทคโนโลยี chimera ในหนังมันก็มีข้อดีอย่างแน่นอน โดยเฉพาะในทางการแพทย์ และเราก็ไม่ควรด่วนต่อต้านอะไรเร็วเกินไป แต่เทคโนโลยีใด ๆ ก็ตาม ก็ดูเหมือนจะไม่สามารถขจัดความทุกข์บางอย่างในใจมนุษย์ได้อยู่ดี เราก็เลยชอบมากที่หนังเรื่องนี้มันดูเหมือนจะสอดคล้องกับความเชื่อของเราที่มีต่อเทคโนโลยี และความเชื่อของเราที่มีต่อมนุษย์

 

คือเราเชื่อว่า ในอนาคตก็คงจะมีเทคโนโลยีอะไรใหม่ๆ ออกมา ซึ่งอาจจะไม่ใช่ chimera แต่เป็นเทคโนโลยีอะไรก็ได้ อย่างเช่น AI, etc. และทุก ๆ เทคโนโลยีก็จะมีความเป็นดาบสองคม มีทั้งข้อดีและข้อเสีย มีทั้งฝ่ายสนับสนุนและต่อต้าน มีการถกเถียงปะทะกันถึงวิธีการใช้ที่เหมาะสม, ขอบเขตของมัน, ควรเปิดเสรีถึงระดับไหน ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีต่าง ๆ จะนำมาซึ่งการปะทะกันทางความคิดเพื่อหาขอบเขตและวิธีการใช้ที่เหมาะสมของมัน และเทคโนโลยีอันล้ำหน้านี้ก็จะทำให้มนุษย์หลาย ๆ คนมีความสุข แต่มันก็อาจจะสร้างปัญหาใหม่ๆ  ได้ด้วย และก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาบางอย่างให้กับมนุษย์บางคนได้อยู่ดี โดยเฉพาะ “ปัญหาทางจิต”

 

 

Saturday, May 25, 2024

MY VOCABULARY BOOKS

 

1.“อีจิตร อย่าให้หำดี ๆ ต้องมาเสียเพราะ HE ดำ ๆ ของแก”--หนี่งในประโยคประทับใจที่เพื่อนคนนึงเคยพูดไว้ในอดีต

 

เมื่อใดก็ตามที่เรารู้สึกเหนื่อยหน่ายกับชีวิต เราก็จะเติมกำลังใจให้กับชีวิตด้วยการฟังเพลงเก่า ๆ จากปี 1988-1995 เพื่อจะได้ย้อนนึกถึงช่วงเวลาที่เรามีความสุขที่สุดในชีวิต หรือไม่เราก็เปิดอ่าน “สมุดจดศัพท์” ซึ่งเป็นสมุดที่เราจดบันทึกสิ่งที่เพื่อน ๆ ของเราเคยพูดไว้เมื่อราว 30-35 ปีก่อน ช่วงเวลานั้นเป็นช่วงเวลาที่เราได้เจอกับเพื่อน ๆ บ่อยครั้ง และแต่ละครั้งเพื่อน ๆ ของเราก็มักจะพูดประโยคประทับใจออกมา ซึ่งเราก็ได้จดบันทึกประโยคที่เพื่อน ๆ พูดไว้ได้ราว ๆ 1% ของที่เพื่อน ๆ พูด คือเหมือนเพื่อน ๆ ของเราอาจจะพูดประโยคที่น่าประทับใจออกมาประมาณ 10,000 ประโยคในช่วงนั้น แต่เราจดบันทึกเอาไว้ได้แค่ 100 ประโยคเท่านั้น เสียดายมาก ๆ คือถ้าหากเราย้อนเวลากลับไปได้ เราจะพยายามจดประโยคที่เพื่อน ๆ เคยพูดไว้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

 

อย่างไรก็ดี ถึงแม้เราจะจดประโยคที่เพื่อน ๆ เคยพูดไว้ได้เพียงแค่ราว 1% เท่านั้น แต่ประโยคต่าง ๆ ที่เราจดไว้ได้เพียงน้อยนิดนี้ มันก็ชุบชูกำลังใจให้กับชีวิตเราได้ดีมาก ๆ ทุกครั้งที่เราเปิด “สมุดจดศัพท์” ออกมาอ่านมัน

 

ก็เลยคิดว่า เราอาจจะแปะประโยคบางประโยคที่เราเคยจดไว้ใน “สมุดจดศัพท์” มาเก็บไว้ใน facebook ด้วยแล้วกัน ถือเป็นการเก็บรักษา memory for the best time of my life ไว้ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ด้วย แทนที่จะเก็บไว้ในรูปแบบ physical book เพียงอย่างเดียว

 

2.”อย่าถามว่า ฉันมี HE หรือหำ บอกได้คำเดียวว่า ดำ”

Wednesday, May 22, 2024

A PROSTITUTE FARTED IN MABOONKRONG

 

พอเมื่อวานเขียนถึง DREAM PROJECT ไป แล้วหัวของเราก็จินตนาการถึงหนังต่อโดยอัตโนมัติ เราก็เลยขอจดบันทึกความทรงจำไว้ก่อนแล้วกัน

 

หนังแนว SLICE OF LIFE เรื่องนี้ มีชื่อเรื่องว่า “กะหรี่ตดกลางมาบุญครอง” โดยเริ่มจากเหตุการณ์แนว slice of life ของกะหรี่คนหนึ่งที่ตดออกมากลางมาบุญครอง แล้วก็มีนักท่องเที่ยวต่างชาติ 4 คนได้กลิ่นตดนี้ ซึ่งมันไปกระตุ้น negative energy, negative thoughts, negative feelings ในตัวพวกเขา แล้วหนังก็ค่อยไปเล่าถึง slice of life ของนักท่องเที่ยว 4 คนนี้

 

RED ROAD (2006, Andrea Arnold, UK/Denmark, 113min, A+30)

 

หนังเปิดฉายออนไลน์ให้ดูฟรีจนถึงราว ๆ เที่ยงวันศุกร์ที่ 24 พ.ค.นะ

https://www.lecinemaclub.com/now-showing/red-road/

Sunday, May 19, 2024

RIP ROGER CORMAN

 MILLENNIUM ACTRESS (2001, Satoshi Kon, Japan, animation, A+30)

+ HAIKARA SANGA TORU (1987, Masamichi Sato) ดัดแปลงจากการ์ตูนเรื่อง "รักระหว่างรบ" ของ Yamato Waki นำแสดงโดย Hiroshi Abe กับ Yoko Minamino

พอเห็นฉากนางเอกขี่จักรยานใน MILLENNIUM ACTRESS เราก็นึกถึง HAIKARA SANGA TORU ในทันที
---
อยากให้มีคนนำหนังเรื่อง GOTHIC (1986, Ken Russell, UK) มาฉายมาก ๆ เราเคยดูตอนเด็ก ๆ แล้วชอบมาก ๆ โดยในหนังเรื่องนั้น  Gabriel Byrne รับบทเป็น Lord Byron, Timothy Spall รับบทเป็น Dr. Polidori และ Natasha Richardson รับบทเป็น Mary Shelley  ผู้แต่ง FRANKENSTEIN
****
งดงามที่สุด "ประสาท" นี่ถือเป็น one of my most favorite films of all time  เลย เราชอบทัศน์วรรณใน "ป่ากามเทพ" (1976, Vichit Kounavudhi)  มาก ๆ ดัวย และในละครทีวีเรื่อง "มายาลวง" ทางช่อง 3 ที่ทัศน์วรรณ กับ รัชนู บุญชูดวงรับบทเป็น "แม่มด"
***
อะไรเอ่ย ไม่เข้าพวก

1. KUEI-MEI, A WOMAN

2.ผู้หญิงคนนั้นชื่อบุญรอด (1985, Vichit Kounavudhi)

3. LA FEMME NIKITA (1990, Luc Besson, France)
***
RIP ROGER CORMAN (1926-2024)

เราเคยดูหนังที่เขากำกับแค่ 5 เรื่อง แต่ก็ชอบทั้ง 5 เรื่องนี้มาก ๆ ซึ่งได้แก่

1.THE TOMB OF LIGEIA  (1964)

2. THE MASQUE OF THE RED DEATH (1964)

เราชอบเรื่องนี้มากที่สุด

3.THE RAVEN (1963)

4. PIT AND THE PENDULUM (1961)

5. THE FALL OF THE HOUSE OF USHER (1960)

***
หนึ่งในสิ่งที่ชอบมากในนิทรรศการ KOUNAVUDHI 101 AT THAI FILM ARCHIVE คือการได้เห็นภาพของ "แมน ธีระพล" ซึ่งเราขอยกให้เป็น ONE OF MY MOST DESIRABLE THAI ACTORS OF ALL TIME เหมือนชนะ ศรีอุบล
+++
จำได้ว่านักเขียนท่านนี้ Shoji Yoko วาดเรื่อง "ครอบครัวอลเวง" ที่มีฉากเซ็กส์ด้วย ซึ่งตอนเด็ก ๆ เราก็ตกตะลึงกับฉากพวกนี้ในการ์ตูนมาก ๆ
***
ในนิทรรศการ KOUNAVUDHI 101 AT THAI FILM ARCHIVE มีการแสดงให้เห็นผังรายการทีวีในปี 1978  ไว้ด้วย เห็นแล้ว nostalgia มาก ๆ  เราจำได้ว่า เราชอบ "ปะการังสีดำ"  version ปี 1977-1978 นี้มาก ๆ น่ากลัวสุดขีด

ส่วน "มนุษย์หิน" นี่เราเดาว่า น่าจะเป็นการ์ตูน FLINTSTONE ที่เราเคยดู
***
เลือกกินไอติมรสอัญชันมะพร้าว เพราะชอบสีฟ้าของมัน 555 ส่วนรสด้านซ้ายเป็น banoffee

***
ลูกหมีซื้อการ์ตูน "ยายนงนงกับผม: ที่มาของตำนานปีศาจญี่ปุ่น" ของ Shigeru Mizuki ( KITARO) มาอ่านก่อนนอน
***
HOLDING GLASSES by Natnapat Kullananat

NOISY BANGKOK: THE IGNORED POLLUTANT (2024, ESIC Lab)

CITY PLAYERS by Saratta Chuengsatiansup, Uninspired by Current Events

SCULPTURES by Wishulada Panthanuvong

THE SUITCASE IS A LITTLE BIT ROTTEN (2022, Sim Chi Yin)

TRANSOCEANIC PRACTICE (2021/2024, Lin Yi-Chi)

(RE) COLLECTION OF TOGETHERNESS --STAGE 13 (2007-2024, Tintin Wulia)
***
สัปดาห์ที่แล้วเวลาเรากลับเข้าห้อง จะพบว่าอุณหภูมิอยู่ที่  32.1 องศาเซลเซียส วันนี้พบว่าอุณหภูมิตอนกลับเข้าห้องอยู่ที่ 28.6 นี่สินะอิทธิฤทธิ์ของฝนโบกขรพรรษที่ตกลงมาในวันนี้ 55555
***
Favorite Actor: Burt Lancaster from THE LEOPARD (1963, Luchino Visconti, Italy)

พอดูหนังเรื่องนี้แล้วเราก็สงสัยว่า ทำไม Burt Lancaster ดูแก่จัง ช่วงทศวรรษ 1960 นี่เขาน่าจะยังหนุ่มอยู่ไม่ใช่เหรอ แล้วเราก็ตระหนักว่า ที่แท้เราจำชื่อของ Burt Lancaster (รูปซ้าย) สลับกับ Burt Reynolds (รูปขวา) 55555
***
อยากให้มีคนทำหนัง found footage ที่รวบรวมฉาก fan service หรืออะไรทำนองนี้ในหนังต่าง ๆ เข้าด้วยกัน อย่างเช่น ฉาก locker room ที่เห็นหนุ่ม ๆ หลายคนใน CHALLENGERS (2024, Luca Guadagnino) แล้วตัดต่อเข้ากับฉากกลุ่มหนุ่ม ๆ ที่น้ำตกใน  "หอแต๋วแตก แหกสัปะหยด" (2024, Poj Arnon)

MILLENNIUM ACTRESS

 

MILLENNIUM ACTRESS (2001, Satoshi Kon, Japan, animation, A+30)

+ NO REGRETS FOR OUR YOUTH (1946, Akira Kurosawa, Japan, A+20)

 

หนึ่งในสิ่งที่ชอบมากใน MILLENNIUM ACTRESS ก็คือการที่หนังเรื่องนี้ทำให้นึกถึงหนังหลาย ๆ เรื่องทั้งโดยตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจ ตามที่เราทยอยแปะไว้ในโพสท์ด้านล่าง ๆ โดยเฉพาะ HAIKARA SANGA TORU (1987, Masamichi Sato), THRONE OF BLOOD, etc.

https://www.imdb.com/title/tt0291350/movieconnections/?ref_=tt_ql_dts_6

 

และหนึ่งในหนังที่เรานึกถึงมาก ๆ ตอนดู MILLENNIUM ACTRESS ก็คือ NO REGRETS FOR OUR YOUTH ที่นำแสดงโดย Setsuko Hara เพราะถ้าหากเราจำไม่ผิด ในหนังเรื่องนี้ Setsuko รับบทเป็นหญิงสาวที่ตกหลุมรัก “ชายหนุ่มหัวขบถผู้ต่อต้านรัฐบาลฟาสซิสต์ของญี่ปุ่นในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง” และเขาก็ถูกทางการญี่ปุ่นจับตัวไป และนางเอกก็ถูกทางการญี่ปุ่นจับไปสอบสวนและทรมานด้วย

 

ซึ่งพล็อตตรงส่วนนี้ของ NO REGRETS FOR OUR YOUTH มันพ้องกับเนื้อหาบางส่วนของ MILLENNIUM ACTRESS มาก ๆ เราก็เลยเดาว่า MILLENNIUM ACTRESS มันจงใจพาดพิงถึง NO REGRETS FOR OUR YOUTH หรือเปล่า 55555

 

แต่แน่นอนว่า MILLENNIUM ACTRESS มันจงใจพาดพิงถึงหนังของ Akira Kurosawa เรื่องอื่น ๆ อยู่แล้ว ทั้ง THRONE OF BLOOD, YOJIMBO, RAN, etc. ตามที่คนอื่น ๆ เขียนไว้ :-)

***

พอได้ดู MILLENNIUM ACTRESS (2001, Satoshi Kon, Japan, animation, A+30) และหนังหลาย ๆ เรื่องของ Hayao Miyazaki ในโรงภาพยนตร์จอใหญ่ในช่วงระยะนี้ และได้คุยกับเพื่อนบางคน ก็เลยทำให้เรานึกถึงเหตุการณ์ในอดีต นั่นก็คือตอนที่ GHOST IN THE SHELL (1995, Mamoru Oshii, Japan, animation) มาฉายในโรงภาพยนตร์ในเอ็มโพเรียม ในเทศกาลอะไรสักอย่าง เมื่อราว 24-25 ปีก่อน ถ้าจำไม่ผิด

 

คือเราจำได้ว่า ตอนนั้น GHOST IN THE SHELL มันฉายเป็น “ฟิล์ม” แล้วมัน “ฉายกลับหัว” อยู่ม้วนนึง ประมาณ 15-20 นาที ซึ่งคนดูก็เหวอกันทั้งโรง แล้วก็แก้ไขอะไรไม่ได้ คนดูทั้งโรงก็เลยต้องดูภาพกลับหัวอยู่ประมาณ 15-20 นาทีช่วงกลางเรื่อง

 

ซึ่งพอเวลามันผ่านมานาน 24-25 ปีแล้ว เราก็เลยเริ่มไม่แน่ใจว่า เราจำเหตุการณ์นี้ถูกต้องหรือเปล่า มันเกิดอะไรขึ้นกันแน่ มันเกิดขึ้นได้ยังไง เราฝันไปเองหรือเปล่า มีใครจำเหตุการณ์นี้ได้บ้างคะ 555555

 

พอพูดถึง “การฉายหนังด้วยฟิล์มที่เอ็มโพเรียม” แล้วก็ขอเสริมถึงอีกเหตุการณ์นึงที่ลืมไม่ลง คือในยุคนั้นมันเกิดเหตุการณ์ “ฟิล์มไหม้” ระหว่างฉายหนังเป็นครั้งคราว ซึ่งถ้าหากมันเกิด “กลางเรื่อง” เราก็ไม่ติดใจอะไร ยังพอดูหนังรู้เรื่อง แต่มันมีครั้งนึงใน “เทศกาลหนังออสเตรเลีย” ที่เอ็มโพเรียม ที่เกิดเหตุการณ์ “ฟิล์มไหม้” ตอนหนังใกล้จะจบพอดี เพราะฉะนั้นคนดูทั้งโรงเลยไม่รู้ว่าหนังเรื่องนั้นมันจบยังไง 55555 ซึ่งก็คือหนังเรื่อง DIRTY DEEDS (2002, David Caesar) ถ้าหากเราจำไม่ผิด

 

ซึ่งเราก็อยู่ในเหตุการณ์นั้น คือเหวอมาก และฝังใจมาก ๆ แต่โชคดีที่มันเป็นหนังที่เราไม่ได้ชอบมากนัก และมันเป็นหนัง mainstream ที่ถึงเราไม่ได้ดู 1-5 นาทีก่อนหนังจบ เราก็พอจะเดาได้อยู่แล้วว่าทุกอย่างมันต้อง happy ending และคลี่คลาย เราก็เลยไม่ได้ trauma อะไรกับเหตุการณ์ฟิล์มไหม้ครั้งนั้น

 

แต่ถ้าหากเป็นหนังแบบ THE GREEN RAY (1986, Eric Rohmer) แล้วฟิล์มเกิดไหม้ 5 นาทีก่อนหนังจบนี่ ชิบหายหนักที่สุดในชีวิตอย่างแน่นอน 55555

 

ส่วนรูปประกอบนี้ป็นการบันทึกความทรงจำว่า เราดีใจที่ได้ดูหนังของ Mamoru Oshii, Hayao Miyazaki, Satoshi Kon และ Mamoru Hosoda ในโรงภาพยนตร์ในกรุงเทพในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ถึงแม้ว่าต้อง “ดูกลับหัว” อยู่ราว 15-20 นาทีในกรณีของ GHOST IN THE SHELL ก็ตาม 55555

 

Saturday, May 18, 2024

KARIN

 

วันนี้ได้ดู THE KING (2023, Karin af Klintberg, Sweden, documentary, A+30) แล้วรู้สึกว่าชื่อผู้กำกับมันคุ้น ๆ ก็เลยค้นดู แล้วก็พบว่า เราเคยดูหนังสารคดีเรื่อง NICE PEOPLE (2015, A+30) ของเธอมาแล้วในเทศกาลหนังสวีเดนในกรุงเทพ ซึ่งเป็นหนังที่ดูแล้วร้องห่มร้องไห้อย่างรุนแรง โดยเฉพาะในฉากที่ทีมนักกีฬาชาวโซมาเลีย ไปแข่งกับทีมรัสเซียในรัสเซีย แล้วปรากฏว่ามีชาวรัสเซียกลุ่มหนึ่งไปเชียร์ทีมโซมาเลีย แทนที่จะเชียร์ทีมรัสเซียของชาติตนเอง คือเราดูแล้วร้องห่มร้องไห้อย่างรุนแรงกับฉากนี้เลย เพราะเรามีจุดอ่อนชอบ “คนที่ก้าวข้ามความเป็นชาตินิยม” อะไรแบบนี้มากๆ

Wednesday, May 15, 2024

ENTRETANTO

 

ENTRETANTO (1999, Miguel Gomes, Portugal, 25min, A+30)

 

ดูหนังเรื่องนี้ได้ที่นี่จนถึงราว ๆ เที่ยงวันศุกร์ที่ 17 พ.ค.

https://www.lecinemaclub.com/now-showing/entretanto/

 

เหมือนจริง ๆ แล้วเหตุการณ์ในหนังมันไม่ได้พิสดาร แต่การเลือกว่าจะถ่ายอะไรในแต่ละฉากมันทำให้หนังพิสดารมาก ๆ สำหรับเรา

++++

เรายังไม่ได้ดูทั้ง 5 เรื่องเลย ทั้ง THE GREAT DICTATOR (1940, Charles Chaplin), CHINATOWN (1974, Roman Polanski), THE MANCHURIAN CANDIDATE (1962, John Frankenheimer), THE NIGHT OF THE HUNTER (1955, Charles Laughton) และ BROKEN BLOSSOMS (1919, D.W. Griffith)

+++

YUKI NO SHIMASU BY MIKI IMAI

Mado ni furu yuki o mite ita

natsukashī hito no soba de

inakamachi shūmatsu no heya wa honō ga yure teta

 wakare o kuyanda tsukihi o anata ga shizuka ni hanasu furue teru watashi no kokoro o sotto tsutsumu yō ni

subete o azukete sono mune ni dakaretai anata o wasureru koto nado dekinakatta itsumo ushinatte kigatsuku soshite nagasa rete yuku node mo kon'ya jibun ni uso wa tsukitakunakatta mōichido anata o aishitemoīdesuka itoshī toiki ni setsunaku taorete yuku mawarimichi o shita kioku kesu yō ni yuki ga furitsudzuku-sa - yōnara omoide kyōmade no watashitachi yorugaaketara ichimen masshirona asa ga kuru

 

Tuesday, May 14, 2024

HUNGER

 

Favorite Quote from HUNGER (2008, Steve McQueen, UK, Ireland, A+30)

 

เราชอบหนังเรื่อง HUNGER อย่างสุดขีด หนังเรื่องนี้สร้างจากเรื่องจริงของ Bobby Sands สมาชิกกลุ่ม IRA ผู้เสียชีวิตจากการอดอาหารประท้วงในปี 1981 โดยที่หลังจากนั้นก็มีคนเสียชีวิตจากการอดอาหารประท้วงตามเขาอีก 9 คน

 

ชอบบทสนทนาของ Bobby Sands ในหนังเรื่อง HUNGER มาก ๆ ที่บอกว่า “Out of the ashes guaranteed there’ll be a new generation of men and women, even more resilient, more determined” “จากเถ้าอัฐิจะเกิดชายหญิงรุ่นใหม่ที่ยิ่งมีความทรหดมากยิ่งขึ้น มีความมุ่งมั่นมากยิ่งขึ้น”

 

และชอบมากที่ Bobby Sands พูดกับบาทหลวงว่า บาทหลวงอาจจะเรียกสิ่งที่ Bobby ทำว่า “การฆ่าตัวตาย” แต่ Bobby เรียกมันว่า “การฆาตกรรม”

 

บทสนทนานี้มาจากฉากที่ บาทหลวง (P) คุยกับ Bobby Sands (B) ในคุก

 

P: You start a hunger strike to protest for something you believe in. You don’t start already determined to die, or am I missing something here?

B: It’s in their hands, our message is clear, the same as our determination.

P: So it will take a couple of deaths do you think, maybe five or six, but there are 75 of you.

B: It won’t come to that

P: Alright maybe the Brits will buckle after twenty or so, but why should you care cos you’re already dead, right? Have you thought about what you’re going to be putting these boys through? I mean putting aside what’s going to happen to these poor men’s families. You’re going head to head with a British government that clearly despises republicanism, who are unshakable, who can easily live with the deaths of what they call terrorists. And the stakes are much higher this time.

B: I know that.

P: And if you’re not even willing to negotiate, you’re looking for them to capitulate, is that it?

B: Right

P: So failure means many dead men, families torn apart, and the whole republican movement demoralised

B: Ay, worst case scenario might well mean all that. But short term. Out of the ashes..

P: come on

B: ..guaranteed there’ll be a new generation of men and women, even more resilient, more determined


P: Look who you’re talking to

B: There’s a war going on, I thought you might understand. You’re talking like a foreigner

P: You’re talking to me like I’m a foreigner. You think I don’t know Northern Ireland, I live here man.

B: Then support us.


P: I supported the first hunger strike on the basis that it was a protest, not some predesigned to die, balk at negotiation other than complete surrender from Thatcher. That’s ridiculous Bobby, it’s destructive.

B: What’s been happening here the past four years, the brutality, humiliation, all our basic human rights taken from us. All of this has to come to an end

P: Through talking

B: So what, we take their offer put their uniform on? Cos the last four years have been nothing. We could do that Don, or we could behave like the army that we proclaim to be and lay down our lives for our comrades.

P: Is there not even a small part of you that’s hoping for a breakthrough? That could find you negotiating again

B: That won’t happen.

P: Right, forget about that. I want to know if your intent is just to commit suicide here.

B: You want me to argue about the morality of what I’m about to do and whether it’s suicide or not? For one you’re calling it suicide, I’m calling it murder. That’s another wee difference between us two. We’re both catholic men, both republicans. But while you were poaching salmon in lovely Kilray we were being burnt out of our house in STH. Similar men in many ways, Don, but life and experience have focused our beliefs differently, you understand me?

P: I understand

B: I have my belief, and in all its simplicity that is the most powerful thing.

 

ตัวบทสนทนานี้คุณ May Adadol Ingawanij เป็นคน transcribe ออกมานะ ตัวบทสนทนาเต็ม ๆ ในฉากนี้ อ่านได้ที่

https://celinejulie.blogspot.com/2010/10/dialogue-in-hunger.html

+++

 

YASEI NO KAZE BY MIKI IMAI

Chōdo yaburi tora reta chiketto no moji no yō ni omoide wa mō nani mo yakusoku wa shinaikedo au tabi kawatteta kioku no suketchi kesanai saigomade soba ni ite mamorenai no meguri kuru kanashimi ga wakattete mo hohoende sayonara ga ienaikara itsunohika hitori kiri iku nonara yasei no kaze fuku hi ni ima no subete o sutete ima no subete o sutete

 

hōri nageta ringo o oikakeru shiroi kutsu kuse no nai hashiri kata sore sae mo wasurenai

`gomen...' To itta no ne senaka de furūto kiku yō ni sakamichi ni anata dake chīsaku naru nakanaide yūgure ni te o agete yasei no kaze mitai ni tsuyoi kokoro ga hoshī tsuyoi kokoro ga hoshī saigomade mitsumetai no meguri kuru kanashimi ga wakattete mo I stand in the u~indo The u~indo in your herutsu That blows forever moa nakanaide yūgure ni te o agete saigomade...

Sunday, May 12, 2024

KUEI-MEI, A WOMAN (1985, Chang Yi, Taiwan,121min, A+30)

 

KUEI-MEI, A WOMAN (1985, Chang Yi, Taiwan,121min, A+30)

 

หนังเปิดฉายให้ดูออนไลน์วันนี้เป็นวันสุดท้าย

https://www.youtube.com/watch?v=-DprT83beYQ

 

งดงามที่สุด ดูแล้วอยากให้มีคนนำนิยายเรื่อง “เพลงชีวิต” ของทมยันตีมาสร้างเป็นภาพยนตร์แบบนี้บ้าง

LEFT OVER (LATE GAME)

 

LEFT OVER (LATE GAME) (2020, Patrasai Kittisupakorn, Chidchanok Sittitaworn, 30min, A+30)

 

1.เราว่าเนื้อหาของหนังมันซับซ้อนเกินกว่าจะเป็นหนังสั้น 30 นาทีนะ นึกว่าขยายออกมาเป็น 90 นาทีได้สบายเลย 55555

 

2.พอมันเล่าอย่างรวบรัดภายใน 30 นาทีแบบนี้ เราเลยงงมาก ๆ ในช่วงแรก ไม่รู้ใครเป็นใคร มีความสัมพันธ์กันยังไง แล้วพอหนังมันไม่ได้ใช้ “ดาราดัง” มาแสดง แต่ใช้เด็ก ๆ มัธยมที่เราไม่คุ้นหน้ามาแสดง เราก็เลยยิ่งงงกับตัวละครหนักมากยิ่งขึ้นไปอีก แยกตัวละครไม่ออก 55555

 

3.แต่ก็ชอบ “ความทะเยอทะยาน” ของมันนะ คือพอเราคิดว่ามันเป็นหนังที่เด็กมัธยมทำ (ถ้าหากเราเข้าใจไม่ผิด) เราก็ไม่ได้ติดใจกับความบกพร่องของหนังมากนักน่ะ ชอบที่หนังมันพยายามเล่าเรื่องราวที่ซับซ้อนมาก ๆ แบบนี้ เพราะตัวละครในหนังเหมือนมีปัญหาขัดแย้งทรยศหักหลังกันตั้งแต่รุ่นพ่อ แล้วรุ่นลูกก็มาขัดแย้งกันอีก ทั้งเรื่องรัก ๆ ใคร่ ๆ และเรื่องไม่ไว้วางใจกันเอง

 

4.คือนอกจากเนื้อหาในหนังจะซับซ้อนสุดขีดแล้ว หนังยังเพิ่มความยากขึ้นไปอีกด้วยการเล่าเรื่องทั้งหมดใน setting เดียว

 

5.และก็เพิ่มความยากขึ้นไปอีกหนึ่งสเต็ปด้วยการถ่ายลองเทคในหลาย ๆ ฉาก โดยที่ในลองเทคแต่ละครั้งก็ไม่ได้เล่าเรื่องเป็นเส้นตรงด้วย คือในบางลองเทคจะมีฉากที่แสดงให้เห็นทั้ง “สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในโลกแห่งความเป็นจริงในขณะนั้น” และ “สิ่งที่เกิดขึ้นในหัวของตัวละคร” สลับกันไปมาด้วย โดยที่เป็นลองเทค ไม่มีการตัดภาพ แต่ใช้การตวัดกล้องไปให้เห็น “สิ่งที่เกิดขึ้นในหัวของตัวละคร” แล้วค่อยตวัดกล้องกลับมายังตัวละครในโลกแห่งความเป็นจริง

 

6. ก็เลยรู้สึกว่าจริง ๆ แล้วมันเป็นหนังที่พัฒนาให้ดีกว่านี้ได้อีกมาก ถ้าหากอยากทำให้มันสมบูรณ์ แต่ที่มันเป็นอยู่นี้ เราก็รู้สึกชอบมันมาก ๆ แล้ว เรารู้สึกเหมือนมันเป็น “แบบฝึกหัด” พัฒนาความสามารถของเด็ก ๆ ที่เริ่มต้นทำหนัง อะไรทำนองนี้ ที่ผลออกมาน่าสนใจมาก ๆ

 

Films seen in the 16th week of the year 2024

 

15-21 April 2024

 

In roughly preferential order

 

1.SHAIHU UMAR (1976, Adamu Halilu, Nigeria, A+30)

 

2.CAMILLA (1984, María Luisa Bemberg, Argentina, A+30)

 

3.YOLO (2024, Ling Jia, China, พากย์ไทย, A+30)

 

4.ON THE WANDERING PATHS (2023, Denis Imbert, France, A+30)

 

5.SOMETHING IN THE WATER (2024, Hayley Easton Street, queer film, lesbian, A+25)

 

6.ABIGAIL (2024, Matt Bettinelli-Olpin, Tyler Gillett, A+)

 

เป็นหนังที่ “ในทางทฤษฎี” แล้ว ควรจะเข้าทางเรามาก ๆ แต่ทำไมเราดูหนังเรื่องนี้แล้วเรารู้สึกเฉยมาก เราก็ไม่รู้เหมือนกัน งงตัวเอง ในขณะที่เรากลับชอบ RENFIELD (2023, Chris McKay) มาก ๆ (เอาสองเรื่องนี้มาเปรียบเทียบกันเพราะมันเป็นหนังผีดูดเลือดเหมือนกัน)

 

7.REVERSIBLE REALITY (2022, Dmitriy Konstantinov, Russia, A+)

 

สรุปว่าใน 16 สัปดาห์แรกของปี 2024 เราดูหนังไปแล้ว  278+7 = 285 เรื่อง

 

Films seen in the 17th week of the year 2024

 

22-28 April 2024

 

In roughly preferential order

 

1.THE BIRTH OF KITARO: MYSTERY OF GEGEGE (2023, Go Koga, Japan, animation, A+30)

 

2.MADE IN HOLLYWOOD (1990, Bruce Yonemoto + Norman Yonemoto, 56min, A+30)

 

ประทับใจกับตอนจบของหนังเรื่องนี้อย่างสุดขีดที่สุด

 

3.THE LEOPARD (1963, Luchino Visconti, Italy, 186min, A+30)

 

จริง ๆ แล้ว 3 อันดับแรกของสัปดาห์นี้นี่ตัดสินไม่ได้ว่าชอบเรื่องไหนมากกว่ากัน แต่ที่แน่ ๆ คือติดอันดับประจำปีทั้ง 3 เรื่องนี้แน่นอน คือกราบตีนหนังทั้งสามเรื่องนี้อย่างสุดขีดมาก ๆ คือถ้าหากพูดถึงในแง่คุณค่าเชิงภาพยนตร์แล้ว THE LEOPARD ก็ต้องชนะอีกสองเรื่องที่เหลืออย่างแน่นอน แต่ปรากฏว่า “หีบสมบัติลึกลับ” ที่ grandmother ของนางเอก ใน MADE IN HOLLYWOOD มอบให้กับนางเอกในหนังเรื่องนั้น กลับเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถลืมมันได้เลย เราก็เลยรู้สึกว่า MADE IN HOLLYWOOD มัน “สัมพันธ์กับชีวิตประจำวันของเรา” หรือมัน “โดนชีวิตเราเป็นการส่วนตัว” มากกว่าหนังอีกสองเรื่องที่เหลือ และเป็นหนังที่ “ส่งผลกระทบต่อชีวิตของเรามาก ๆ”

 

ส่วน THE BIRTH OF KITARO: MYSTERY OF GEGEGE นั้น เราคงไม่ต้องสาธยายอีกต่อไปแล้วว่า เราชอบมันอย่างสุดขีดแค่ไหน 55555

 

4.EL VERDUGO (THE EXECUTIONER) (1963, Luis García Berlanga, Spain, A+30)

 

5.CAPD (2023, Nordiana Beehing, video installation, 35min, A+30)

 

6.LOVE YOU TO DEBT เธอ ฟอร์ แคช สินเชื่อ...รักแลกเงิน (2024, Waasuthep Ketpetch, A+30)

 

7.GRAND EXPECTATIONS (2022, Sylvain Desclous, France, A+30)

 

8.LEFT OVER (LATE GAME) (2020, Patrasai Kittisupakorn, Chidchanok Sittitaworn, 30min, A+30)

 

9.THE FALL GUY (2024, David Leitch, A+30)

 

ปกติเราชอบหนังแนว extreme minimalist นะ แต่ปรากฏว่าเราจูนติดอย่างรุนแรงกับหนัง maximalist อย่าง THE FALL GUY และ BULLET TRAIN (2022, David Leitch) มากๆ 555 ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไม

 

10.PACHADA ปะฉะดะ (2024, Teeradech Sapanyoo ธีรเดช สพันอยู่, A-)

 

เราว่ามันผสม “ความโหด” กับ “ความตลก” เข้าด้วยกันแล้วมันไม่ลงตัวอย่างรุนแรงน่ะ ในขณะที่เราว่าหนังที่ผสมสองอย่างนี้เข้าด้วยกันแล้วออกมาดีงามที่สุดสำหรับเราในช่วงนี้ ก็คือหนังชุด BABY ASSASSINS (2021, Yugo Sakamoto, Japan)

 

สรุปว่าใน 17 สัปดาห์แรกของปี 2024 เราดูหนังไปแล้ว  285+10 = 295 เรื่อง

 

 

 

 

Thursday, May 09, 2024

ONCE UPON A TIME IN THAILAND

IT GOES EVERYWHERE I GO มันไปทุกที่ที่ฉันไป (2023, Jakkrapan Sriwichai, video installation, 94min, A+30)

 

เรายืนดูวิดีโอนี้แค่ 15-20 นาทีนะ

 

พิศวงกับกล้องมาก ๆ นึกว่าอยู่ใน Multiverse of Madness

 

CAN’T TAKE ME HOME พากลับบ้านไม่ได้ (2023, Jakkrapan Sriwichai, video installation, 41min, A+30)

 

รู้สึกพิศวงกับกล้องมาก ๆ ไม่รู้ใช้วิธีถ่ายอย่างไรภาพถึงออกมาเป็นแบบนี้

 

พอวิดีโอนี้บันทึกภาพการเดินเท้าในชนบทเป็นระยะทางราว 40 กิโลเมตร เราก็เลยนึกไปถึงข่าวหลายข่าวที่เคยได้ยินในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ที่เป็นเรื่องของคนจนเดินเท้าเป็นระยะทางยาว ๆ ในชนบท อย่างเช่นข่าวนี้

https://web.facebook.com/HKS2017/posts/pfbid02Zyd3GNjx6UfozfC7ja8RvVdDxgAm4PWEnHFxyEnAmke6ZHsfNKAtBWiyaZSYZKwGl

 

ROAD OF ROCKS IN RICE หินในข้าว (2023, Kanokwan Sutthang, video installation, A+30)

 

อันนี้ดูแล้ว nostalgia มาก ๆ เพราะมันทำให้นึกถึงบ้านของตากับยายเราที่อุบลที่เราเคยไปเยี่ยมในทศวรรษ 1980 ที่บ้านนั้นมี “การฝัดข้าว” และมีการใช้หวดนึ่งข้าวเหนียวบนเตาถ่าน ซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกพูดถึงในงานศิลปะชิ้นนี้

 

ONCE UPON A TIME IN THAILAND (2021, Premwong Rattanadilok Na Phuket, 8min, political film, A+30)

 

1.ถ้าดูหนังเรื่องนี้โดยไม่ได้อ่านเรื่องย่อ เราก็อาจจะไม่รู้ก็ได้ว่ามันเป็นหนังการเมือง 55555 เพราะหนังทั้งเรื่องแสดงให้เราเห็นภาพของ “สีฟ้า” หรือ “สีน้ำเงิน” ที่แต่ละส่วนของภาพเหมือนมีระดับความอ่อนเข้มของสีต่างกันไป และตัวภาพทั้งหมดเองก็มีการเปลี่ยนระดับความสว่าง-ความมืดไปเรื่อย ๆ  ในขณะที่เวลาในหนังดำเนินไป

 

2.เป็นหนังเรื่องที่ 4 ของคุณ Premwong ที่เราได้ดู ต่อจาก THAILAND’S NATIONAL IDENTITY (2020), ASLEEP (2023) และ L’ESSENTIEL ชอบความเป็นหนังทดลองแบบ extreme minimalist ของเขามาก ๆ นึกว่าเขามาท้าชิงตำแหน่งความ extreme minimalist จาก Chaloemkiat Saeyong และ Tanatchai Bandasak 555555

 

3.เหมือนหนังการเมืองไทยบางเรื่องในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาจะเน้นนำเสนอ “ความน่าเบื่อ”, “ความซ้ำซาก”, “ความไม่ก้าวไปข้างหน้า”, “ความไม่พัฒนา”, “ความจมปลัก” อะไรทำนองนี้นะ ซึ่งหนังเรื่องนี้ก็น่าจะเป็นหนึ่งในนั้น ส่วนหนังการเมืองไทยเรื่องอื่น ๆ ที่เราว่ามีความคล้ายคลึงกันในเชิงประเด็น ก็มีอย่างเช่น

 

3.1  3-0 (2006, Anocha Suwichakornpong)

 

3.2 REPEATING DRAMATIC (2008, Arpapun Plungsirisoontorn)

 

3.3 CEMETERY OF SPLENDOR (2015, Apichatpong Weerasethakul)

 

3.4 24 (2021,Weerapat Sakolvaree)

 

ซึ่งถึงแม้ว่าหนัง 5 เรื่องนี้อาจจะพูดถึง “ความหยุดอยู่กับที่” หรือ “ความจมปลัก” อะไรทำนองนี้คล้าย ๆ กัน แต่หนัง 5 เรื่องนี้ก็ออกมาแตกต่างจากกันมากนะ


Tuesday, May 07, 2024

WATER DELICACIES WITH “NAMSAI” RECIPES – THE CONVERSATION EXPERIENCE

 

MOST FAVORITE GHOST IN FILMS: หลิวชิงหวิน ใน "ตาซ้ายเห็นผี" MY LEFT EYE SEES GHOSTS (2002, Johnnie To + Wai Ka-Fai, Hong Kong) และขอยกให้หนังเรื่องนี้เป็นหนึ่งในหนังโรแมนติกที่เราชอบที่สุดในชีวิต ตอนจบนี่คือเราตายห่าไปเลย

 ******

Malachite art works by Donruedi Bunkaeo

 

จัดแสดงที่ชั้น 7 BACC

 

NATURE’S DIGITAL DIALOGUE by Nakarin Punyawong

 

 *************

WATER DELICACIES WITH “NAMSAI” RECIPES – THE CONVERSATION EXPERIENCE (2024, Benjarat Aiemrat, video documentation, 108min, A+30)

 

เป็นวิดีโอที่บันทึกการสนทนาของตัวศิลปิน คุณ Benjarat Aiemrat กับคุณ Kanharat Leamthong, Yodchat Bupasiri, Supawich Weesapen , Varissara Karavanich จัดแสดงที่ชั้น 7 BACC

 

1.ดูด้วยความเพลิดเพลินมาก อาจจะเป็นเพราะเราชอบดูคนคุยกันอยู่แล้ว 55555

 

2.ชอบเรื่องมะเขือเทศใน Tasmania มาก ๆ ที่คนนึงเล่าว่าได้กินมะเขือเทศที่ Tasmania แล้วมันอร่อยมาก แล้วพอกลับมากินมะเขือเทศที่เมืองไทยแล้วรู้สึกเหมือนกิน “กระดาษชุบน้ำ” เพราะมันไร้รสชาติมาก ๆ

 

3.ชอบเรื่องทฤษฎีที่ว่า อะไรต่าง ๆ เหล่านี้เป็นเพราะน้ำฝนที่ตกใน Tasmania มันพัดมาจากขั้วโลกใต้ มันบรรจุเอาอากาศบริสุทธิ์ก่อนยุคน้ำแข็งเอาไว้ เหมือนลมที่พัดมาจากขั้วโลกใต้มันบรรจุเอาอากาศบริสุทธิ์เมื่อหนึ่งหมื่นปีก่อนมาด้วย แล้วมันก็มากระทบกับป่าสนใน Tasmania มันเลยทำให้น้ำฝนหรือน้ำต่าง ๆ  ใน Tasmania มีความแตกต่างจากที่อื่น ๆ

 

4.ชอบที่วิดีโอนี้มันเน้นประเด็นที่ว่า “น้ำใส” หรือ “น้ำบริสุทธิ์” หรือ “น้ำเปล่า” ในแต่ละสถานที่บนโลกนี้มันไม่เหมือนกันเลย เพราะอากาศ, แร่ธาตุ, วิถีชีวิต, องค์ประกอบต่าง ๆ ของแต่ละสถานที่บนโลกนี้มันไม่เหมือนกัน มันเลยส่งผลให้ “น้ำตามธรรมชาติ” ของแต่ละสถานที่มันแตกต่างกันตามไปด้วย และเนื่องจาก “น้ำเปล่า” เป็นส่วนผสมของอาหารมากมาย เพราะฉะนั้นมันเลยทำให้อาหารของแต่ละสถานที่มันไม่เหมือนกันตามไปด้วย ซึ่งรวมถึงพวกเหล้า สาเก, etc. เหมือนถ้าเราจะทำ “ขนมห้วยเหี๊ยะ” อะไรสักอย่าง แล้วจานนึงใช้น้ำจากเมือง A แต่อีกจานนึงใช้น้ำจากเมือง B ตัวขนมห้วยเหี๊ยะสองจานนี้ก็จะให้รสชาติไม่เหมือนกัน (อันนี้เราสรุปจากความเข้าใจเราเองนะ ไม่รู้ว่าถูกหรือเปล่า 55555)

 

5.พอพูดถึงเรื่อง “การดื่มน้ำฝน” เราก็เลยนึกถึงอดีตของตัวเองเลย เพราะเราเหมือนไม่ได้ดื่มน้ำฝนมานาน 40 ปีแล้วมั้ง เพราะบ้านเราอยู่กรุงเทพ ตอนเด็ก ๆ บ้านเราก็รองน้ำฝนใส่โอ่งนะ แต่ไม่เคยเอามากิน เพราะเขาบอกว่ากรุงเทพมี pollution เยอะ แล้วฝนที่ตกลงมามันก็ชะเอา pollution ในอากาศลงมาด้วย เพราะฉะนั้นน้ำฝนในกรุงเทพเลยใช้ดื่มไม่ได้ แต่เอาไปใช้ล้างตีนอะไรแบบนี้ได้

 

แต่พอเราไปเยี่ยมคุณตาคุณยายที่อุบลในทศวรรษ 1980 เราได้ดื่มน้ำฝนที่รองใส่โอ่งนะ เพราะเหมือนในทศวรรษนั้น อากาศที่อุบลยังดูบริสุทธิ์สดใสอยู่ น้ำฝนก็เลยใช้ดื่มได้เลย แต่เราก็จำรสชาติอะไรไม่ได้แล้ว ไม่ได้รู้สึกว่ามันพิเศษอะไร แต่ก็รู้สึกดีที่วิดีโอนี้ทำให้นึกถึงสิ่งที่เราเคยทำเมื่อราว 40 ปีก่อน แต่เราได้ลืมมันไปแล้ว

 

6.จริง ๆ แล้วตัววิดีโอนี้เน้นไปที่การคุยกันเรื่อง “การทำอาหาร” ซึ่งเราก็ไม่ได้มีความรู้อะไรมากนัก และก็ไม่ได้สนใจเรื่องนี้อย่างจริงจัง แต่เราก็นั่งดูไปได้เรื่อย ๆ

 

7.แต่สิ่งที่อยากบันทึกความทรงจำเก็บไว้ ก็คือว่า พอตัววิดีโอนี้มันเน้นคุยกันเรื่อง “น้ำใส” ที่จริง ๆ แล้วมีความแตกต่างกันไปในสถานที่ต่าง ๆ มันก็เลยกระตุ้นให้เราคิดถึงประเด็นอื่น ๆ ที่ไม่ได้อยู่ในวิดีโอนี้ด้วย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นประเด็นด้าน supernatural เพราะเรามีความสนใจด้านนี้เป็นหลัก 5555 คือจริง ๆ แล้วตัววิดีโอนี้เน้นคุยกันไปทาง “วิทยาศาสตร์” หรืออะไรที่จับต้องพิสูจน์ทดลองเห็นผลได้นะ โดยเฉพาะการทดลองในการทำอาหาร แต่จิตใจเราเอนเอียงไปทางไสยาศาสตร์มากกว่าวิทยาศาสตร์อยู่แล้ว ตัววิดีโอนี้เลยกระตุ้นให้เราคิดถึงประเด็นไสยาศาสตร์โดยไม่ได้ตั้งใจ 55555

 

ประเด็นแรกที่เราคิดถึง ก็คือเรื่อง “แหล่งน้ำ” ใน EVIL DOES NOT EXIST (2023, Ryusuke Hamaguchi) ซึ่งถ้าหากเราจำไม่ผิด ชาวบ้านในหนังเรื่องนี้เชื่อว่าแหล่งน้ำในดินแดนของพวกเขามีความพิเศษ ซึ่งมันก็สอดคล้องกับตัววิดีโอนี้ ที่ย้ำว่า “น้ำเปล่า” ในแต่ละท้องที่นั้นมีความพิเศษแตกต่างกันไป โดยใน EVIL DOES NOT EXIST นั้น ความพิเศษของแหล่งน้ำถูกโยงกับสิ่งเหนือธรรมชาติด้วย

 

8.ประเด็นที่สอง คือหนังสารคดีเรื่อง ALEXEI AND THE SPRING (2002, Seiichi Motohashi) ที่พูดถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่งในเบลารุสที่ตั้งอยู่ใกล้กับเชอร์โนบิล ซึ่งพอตอนเกิดเหตุนิวเคลียร์เชอร์โนบิล คนในหมู่บ้านอื่น ๆ ก็ต้องอพยพย้ายหนีกันไปหมด เพราะแหล่งน้ำในหมู่บ้านอื่น ๆ มันปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสี แต่คนในหมู่บ้านนี้ไม่ต้องย้ายหนี เพราะหมู่บ้านนี้ใช้น้ำจาก “บ่อน้ำพุศักดิ์สิทธิ์ของพระแม่มารี” หรืออะไรทำนองนี้ แล้วปรากฏว่าน้ำจากบ่อน้ำพุศักดิ์สิทธิ์นี้ไม่ปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสี ทั้ง ๆ ที่ตั้งอยู่ใกล้เชอร์โนบิล คนในหมู่บ้านนี้ก็เลยใช้ชีวิตอย่างสงบสุขต่อไปได้เรื่อย ๆ โดยไม่เป็นอะไรเลย

 

9.เราคิดไปถึงเรื่อง “โมเลกุลของน้ำมนตร์” โดยที่ตัววิดีโอไม่ได้ตั้งใจด้วย 55555 คือพอวิดีโอนี้มันเน้นพูดถึง “ความแตกต่างกันของน้ำเปล่า” เราก็เลยนึกไปถึงข่าวหรือบทความที่บอกว่า “น้ำมนตร์” มันมีโมเลกุลที่ไม่เหมือนน้ำธรรมดา มันเหมือนกับว่า น้ำเปล่าที่ผ่านพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์อะไรมาแล้ว มันทำให้ตัวโมเลกุลของน้ำเปลี่ยนไปจากเดิม และมีการทำวิจัยแล้วพบว่า พอมีการใช้น้ำมนตร์มาแทนน้ำเปล่า สำหรับผู้ป่วยในโรงพยาบาล “ผลการวิจัยพบว่า จำนวนวันนอนโรงพยาบาลเฉลี่ยลดลงจาก 8.6 วัน เหลือ 4.8 วัน

https://mgronline.com/dhamma/detail/9550000031102

 

ก็เลยสรุปว่า ชอบตัววิดีโอนี้มาก ๆ ทั้งตัวเนื้อเรื่องที่มันพูดถึง และการที่ตัววิดีโอนี้กระตุ้นให้เราคิดถึงประเด็นอื่น ๆ เกี่ยวกับ “น้ำเปล่า” โดยที่ตัววิดีโอไม่ได้ตั้งใจด้วย 55555