Sunday, March 30, 2014

ROUGH AUNTIES


Films seen in the Salaya International Documentary Film Festival 2014 on 29-30 March

 

1.ROUGH AUNTIES (2008, Kim Longinotto, UK/South Africa, A+30)

 

2.THE MISSING PICTURE (2013, Rithy Panh, Cambodia, A+30)

 

3.CAMPAIGN 2 (2013, Kazuhiro Soda, A+25)

 

4.RECEIVING TORPEDO BOATS (1935, Luang Konlakarnchenchit, A+25)

 

5.CAMPAIGN (2007, Kazuhiro Soda, A+20)

 

6.THE SONGS OF RICE (2014, Uruphong Raksasad, A+15)

 

7.SOUNDTRACK FOR A REVOLUTION (2019, Dan Sturman + Bill Guttentag, A+)

Thursday, March 27, 2014

CYCLE OF LIFE


หนึ่งในฉากที่ชอบสุดๆใน AT BERKELEY (2013, Frederick Wiseman, A+30) คือฉากที่มีคนอ่านกลอน ANYONE LIVED IN A PRETTY HOW TOWN ของ E. E. Cummings คือเราไม่รู้หรอกว่ากลอนนี้แปลว่าอะไร แต่คนที่อ่านกลอนนี้ในหนังเรื่องนี้ อ่านได้จังหวะจะโคนมากๆ และทำให้เรารู้สึกว่ากลอนนี้มันเพราะสุดๆ

 

“anyone lived in a pretty how town

(with up so floating many bells down)

spring summer autumn winter

he sang his didn't he danced his did

 

Women and men(both little and small)

cared for anyone not at all

they sowed their isn't they reaped their same

sun moon stars rain

 

children guessed(but only a few

and down they forgot as up they grew

autumn winter spring summer)

that noone loved him more by more

 

when by now and tree by leaf

she laughed his joy she cried his grief

bird by snow and stir by still

anyone's any was all to her

 

someones married their everyones

laughed their cryings and did their dance

(sleep wake hope and then)they

said their nevers they slept their dream

 

stars rain sun moon

(and only the snow can begin to explain

how children are apt to forget to remember

with up so floating many bells down)

 

one day anyone died i guess

(and noone stooped to kiss his face)

busy folk buried them side by side

little by little and was by was

 

all by all and deep by deep

and more by more they dream their sleep

noone and anyone earth by april

wish by spirit and if by yes.

 

Women and men(both dong and ding)

summer autumn winter spring

reaped their sowing and went their came

sun moon stars rain”

 

 

ถึงแม้เราจะไม่เข้าใจความหมายของกลอนนี้ แต่มันก็ทำให้เรานึกถึงวัฏจักรชีวิตที่น่าเศร้าน่ะ มันทำให้เรานึกถึงหนึ่งในฉากที่เราชอบที่สุดในชีวิตใน THE DEVIL, PROBABLY (1977, Robert Bresson, A+30) ด้วย เพราะฉากนั้นมันแสดงให้เห็นถึงความน่าเบื่อหน่ายของวัฏจักรชีวิตเหมือนกัน

 

 

ในฉากนั้นใน THE DEVIL, PROBABLY พระเอกคุยกับจิตแพทย์ว่า

 

In losing my life, here's what I'd lose! Family planning. Package holidays, cultural, sporting, linguistic. The cultivated man's library. All sports. How to adopt a child. Parent-Teachers Association. Education. Schooling: 0 to 7 years, 7 to 14 years, 14 to 17 years. Preparation for marriage. Military duties. Europe. Decorations (honorary insignia). The single woman. Sickness: paid. Sickness: unpaid. The successful man. Tax benefits for the elderly. Local rates. Rent-purchase. Radio and television rentals. Credit cards. Home repairs. Index-linking. VAT and the consumer...”




กลอนนี้ของ E.E. Cummings ทำให้เรานึกถึงการนำเสนอภาพวัฏจักรชีวิตในหนังเรื่อง DESTINATION (สุดปลายทางฉันและเธอ) (2008, Mokhaphon Sanghirun, A+30) ด้วย แต่ DESTINATION ลงเอยด้วยการมองภาพวัฏจักรชีวิตในทางบวกสำหรับคนที่หาผัวได้หรือคนที่หาคู่รักได้ 55555

 

สรุปว่าถ้าหากเปรียบเทียบ 3 สิ่งนี้ หนังเรื่อง “สุดปลายทางฉันและเธอ” นำเสนอภาพวัฏจักรชีวิตในทางบวกมากที่สุด ส่วนกลอน ANYONE LIVED IN A PRETTY HOW TOWN นำเสนออย่างเป็นกลางหน่อยๆ (แต่ก็ทำให้เรารู้สึกเศร้า) ส่วน THE DEVIL, PROBABLY แสดงความเห็นต่อวัฏจักรชีวิตในทางลบมากที่สุด

IN THER’S VIEW (2014, Wichaya Artamat, stage play, A+30)


 
 
IN THER’S VIEW (2014, Wichaya Artamat, stage play, A+30)
 
ศุกร์ 21 สุมณฑา / ปริยา / ดวงใจ / ดุจดาว / มินตา / ณัฐญา
 
“I am pleased to present the backs of some of my finished paintings. The back of a canvas that has never been looked at before reveals marks of actions without the painter’s intention and this is the abstract essence I want to capture.” Angkrit Ajchariyasophon wrote about his exhibition CONSTANT UNCERTAINTY
 
อเมริกาบูชาความชัดแจ้งโปร่งใส ตัวละครหลักในหนังส่วนใหญ่ต้องเป็นพวกที่มีมาดเท่ สุขุม รู้ตัวในลักษณะเย้ยหยัน เหมือนพิธีกรทอล์คโชว์ ความเข้ม ห้าว เท่ มีไหวพริบที่ตัวละครส่วนใหญ่เป็น แสดงถึงปัญหาฝังลึกที่ควรนำมาเป็นกรณีศึกษา มันไม่ใช่คุณสมบัติที่น่ายินดี ลองอนุญาตให้ตัวละครมีความสับสนในตัวเองและไม่แน่นอนใจบ้าง ความรู้จักละอายขวยเขินสะท้อนชีวิตได้ดีกว่า” Ray Carney กล่าวไว้ในหนังสือ “ฟิล์มไวรัส 2”
 
ดูละครเวทีเรื่อง IN เธอ’S VIEW แล้วนึกถึงประเด็นต่างๆดังต่อไปนี้
 
1.รู้สึกมีความสุขมากๆตั้งแต่ต้นจนจบเลย รู้สึกจูนติดกับมันมากๆ และอาจจะชอบมากกว่า “6 ตุลาปาร์ตี้” (2012, Wichaya Artamat, A+30) กับ “บ้าน cult เมือง cult” (2013, Wichaya Artamat, A+30) เสียอีก ในขณะที่ละครเวทีสองเรื่องนี้ก็ติดอันดับหนึ่งในละครเวทีที่เราชอบที่สุดเรื่องนึงในปี 2012 และ 2013 อยู่แล้ว
 
สาเหตุที่ทำให้เรารู้สึกมีความสุขมากๆ เป็นเพราะเรารู้สึกเหมือนมันมีความเป็นอิสระบางอย่างในละครเวทีเรื่องนี้น่ะ มันเป็นอิสระยิ่งกว่า 6 ตุลาปาร์ตี้ กับบ้าน cult เมือง cult เสียอีก มันเป็นความรู้สึกอิสระแบบที่เรารู้สึกกับหนังบางเรื่องของ Jacques Rivette มันเป็นความรู้สึกที่ว่าละครเวที/หนังเรื่องนี้ เปิดโอกาสให้สิ่งที่ไม่คาดฝันสามารถเกิดขึ้นได้ หรืออะไรทำนองนี้
 
เราเองก็ไม่แน่ใจว่าความรู้สึกอิสระแบบนี้มันเกิดจากอะไรกันแน่ และเราควรจะบรรยายความรู้สึกอิสระแบบนี้ให้ชัดเจนหรือละเอียดอย่างไรดี แต่ถ้าหากให้เราเปรียบเทียบคร่าวๆ เราก็อาจเปรียบเทียบได้ว่า
 
1.1 หนังหรือละครเวทีแบบ narrative ทั่วไป มันทำให้เรารู้สึกคล้ายๆกับว่าเราเดินเข้าบ้านผีสิงในสวนสนุก (ในกรณีที่เป็นละครเวทีแบบเน้นความบันเทิง) หรือเดินเข้าโรงพยาบาล (ในกรณีที่เป็นละครเวทีแบบเน้นสาระ) น่ะ คือมันมีเส้นทางที่เราต้องเดินไปตามที่เขาบอกไว้ และเขาก็จะมีตุ๊กตาหุ่นผีมาดักรอสร้างความตกใจ, ตื่นเต้น, สนุกสนานเป็นระยะๆ เราแค่เดินไปตามเส้นทางที่เขากำหนดไว้ไปเรื่อยๆ เราก็จะได้รับความสนุกตามที่เขาจัดวางไว้ให้เราเรียบร้อยแล้ว เราจะตื่นเต้นมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับความเก่งของคนทำบ้านผีสิง และขึ้นอยู่กับว่ารสนิยมของคนทำบ้านผีสิงกับรสนิยมเราสอดคล้องกันมากน้อยแค่ไหน หรือในกรณีที่เป็นละครเวทีเน้นสาระ เราก็จะรู้สึกคล้ายกับการเดินเข้าโรงพยาบาลที่มีสเต็ปต่างๆที่เราต้องทำตาม อย่างเช่นไปเคาน์เตอร์ติดต่อ ไปนั่งรอหมอ คุยกับหมอ ไปเอ็กซ์เรย์ รอผลเอ็กซ์เรย์ ได้ฉีดยา ไปจ่ายเงินที่เคาน์เตอร์ ได้ยากินจากเภสัชกรกลับบ้าน อะไรทำนองนี้ คือมันเป็นการเดินไปตามเส้นทางที่เขากำหนดไว้แล้วเรียบร้อยเหมือนกัน แล้วเราก็จะได้สาระ (หรือยา) ตามที่เขาจัดเตรียมไว้แล้วป้อนให้เรา (หรือในหลายๆครั้งละครเวที/หนังที่มีทั้งความบันเทิงและสาระก็เหมือนกับ โรงพยาบาล/บ้านผีสิงผสมกัน 55555)
 
1.2 แต่ละครเวทีอย่างแม่บ้านเมืองพุทธ (2013, Wichaya Artamat), 6 ตุลาปาร์ตี้ และบ้านคัลท์เมืองคัลท์ มันทำให้เรารู้สึกเป็นอิสระมากกว่านั้น ละครเวทีสามเรื่องนี้ลดระดับความเป็น narrative ลงมา เราไม่เห็น plot point ในละครสามเรื่องนี้อย่างชัดเจนเหมือนละครทั่วๆไป เรามีอิสระในการคิดมากขึ้นในขณะที่ดูละครสามเรื่องนี้ เราไม่ถูกเร้าอารมณ์เป็นระยะๆเหมือนการถูกตุ๊กตาหุ่นผีหลอกในบ้านผีสิง
 
ถ้าหากเปรียบเทียบความรู้สึกที่มีต่อละครเวที 3 เรื่องนี้ของวิชย เราก็รู้สึกคล้ายกับการเดินเข้าไปในบ้านร้างที่ศิลปินได้ซ่อน “เงื่อนงำ” บางอย่างเอาไว้ตามจุดต่างๆในบ้าน เรามีอิสระที่จะเดินไปไหนมาไหนในบ้านร้างแห่งนี้ได้ด้วยตัวเอง และเลือกได้เองว่าเราจะสังเกตสังกาหาเงื่อนงำตามจุดไหนในบ้านดี บางคนอาจจะมุ่งความสนใจไปที่เสา A ของบ้าน บางคนอาจจะมุ่งความสนใจไปที่ภาพถ่าย B บนโต๊ะเครื่องแป้ง C ของบ้าน บางคนอาจจะมุ่งความสนใจไปที่กองเส้นผมที่วางอยู่บนเข่งปลาทูในห้องครัว แล้วก็รู้สึกสะพรึงกลัวอย่างบอกไม่ถูก ฯลฯ แล้วแต่ละคนก็จะได้ข้อสรุปต่างๆกันไปว่าเกิดอะไรกันขึ้นกับคนที่เคยอยู่ในบ้านร้างหลังนี้
 
คือละครเวที 3 เรื่องนี้ของวิชยมันทำให้เรารู้สึกอิสระแบบนั้นน่ะ มันไม่บังคับ เราให้เดินไปตามเส้นทางที่กำหนดไว้แล้ว มันไม่พยายามเร้าอารมณ์เราเหมือนเราเป็นเครื่องจักรที่มีปุ่มอารมณ์แบบเดียวกันเหมือนกันทุกเครื่อง มันไม่ treat เราเหมือนกับว่าถ้าหากใส่เหตุการณ์ A เข้ามาในเรื่องปุ๊บ เราก็จะเกิดความรู้สึก B อย่างแน่นอน ละครเวที 3 เรื่องนี้ทำให้เรารู้สึกเหมือนกับว่า เรามีอิสระที่จะเดินไปจุดไหนก็ได้ในบ้านร้างได้ตามใจชอบ, มีอิสระที่จะเลือกเพ่งเล็งไปตามจุดต่างๆ และมีอิสระที่จะตีความยังไงก็ได้กับเงื่อนงำที่เราคิดว่าเราเจอในบ้านร้าง ละครเวที 3 เรื่องนี้ให้อิสระกับเรามากกว่าละครเวทีทั่วๆไป และทำให้เราคิดมากขึ้นและสังเกตสังกามากขึ้น
 
1.3 แต่ IN THER’S VIEW กลับยิ่งทำให้เรารู้สึกเป็นอิสระมากกว่าละครเวที 3 เรื่องในข้อ 1.2 เสียอีก คราวนี้เราไม่รู้สึกเหมือนกับว่าเราเข้าไปในบ้านร้างที่มีเงื่อนงำ แต่เรารู้สึกเหมือนกับว่าเรากำลังเข้าไปสำรวจดินแดนใหม่ที่เราไม่แน่ใจว่าเรารู้ข้อมูลเกี่ยวกับมันมากน้อยแค่ไหน และตัวผู้นำทาง (ผู้กำกับ) ก็ไม่รู้ข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับดินแดนใหม่แห่งนี้ด้วย เขารู้ข้อมูลเกี่ยวกับดินแดนนี้มากกว่าเรา แต่เขาก็ไม่รู้ข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับมัน ระหว่างที่เราเข้าไปสำรวจดินแดนแห่งนี้ เราก็เลยรู้สึกตื่นเต้นมาก เพราะเราไม่รู้ว่าเราจะเจออะไรบ้าง เราไม่รู้ด้วยซ้ำว่าดินแดนนี้มีขนาดใหญ่มากน้อยแค่ไหน แต่ที่แน่ๆก็คือมันใหญ่กว่าบ้านร้าง และเมื่อการสำรวจสิ้นสุดลงภายในเวลา 2-3 ชั่วโมง เราก็รู้สึกว่าเราเพิ่งเข้าไปสำรวจพื้นที่ได้เพียง 0.0000000000001 % ของดินแดนแห่งนี้เท่านั้น แต่มันก็ทำให้เรามีความสุขมากพอแล้ว
 
สาเหตุที่เราเปรียบเทียบละครเวทีเรื่องนี้กับการสำรวจดินแดนใหม่ เพราะเรารู้สึกว่าละครเวทีเรื่องนี้เปิดโอกาสในการเข้าถึงชีวิตจริง, ความคิดจริงๆ, ความรู้สึกจริงๆ, จิตวิญญาณจริงๆของนักแสดงแต่ละคนน่ะ และเรามองว่ามนุษย์แต่ละคนมันมีความ INFINITE อยู่ในตัวคนๆนั้น เพราะฉะนั้นเมื่อเราเปิดโอกาสในการเข้าถึงจิตวิญญาณจริงๆของเขา นั่นก็เหมือนกับว่าเรากำลังจะเข้าไปสำรวจดินแดนอะไรสักอย่างที่มัน infinite มันก็เลยทำให้เรารู้สึกตื่นเต้นมากๆและเป็นอิสระมากๆ และมันแตกต่างจากการเดินเข้าบ้านผีสิงที่ทุกอย่างถูกกำหนดไว้ตายตัวแล้ว หรือการเดินเข้าบ้านร้างที่ถึงแม้คนดูจะมีอิสระในการเดินและการคิด แต่พื้นที่ในการเดินก็ถูกจำกัดไว้เพียงแค่ในขอบเขตของบ้านร้างหลังนั้นเท่านั้น แต่ในกรณีของ IN THER’S VIEW  พื้นที่ทั้งหมดที่เราสามารถ explore ได้ คือชีวิตทั้งชีวิตและจิตวิญญาณทั้งหมดของนักแสดงแต่ละคน ซึ่งมันเป็นพื้นที่ที่ infinite
 
อย่างไรก็ดี ละครเวทีเรื่องนี้ก็ไม่ได้ทำให้เราได้เข้าถึงจิตวิญญาณของนักแสดงแต่ละคนมากเท่าไหร่ หรือได้รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับชีวิตนักแสดงแต่ละคนมากเท่าไหร่ เราก็เลยเปรียบเทียบว่ามันเหมือนกับการที่เราได้เข้าไปสำรวจดินแดนใหม่เพียงแค่ 0.0000000000001 % ของพื้นที่ทั้งหมดในดินแดนนั้นเท่านั้น แต่นั่นก็ทำให้เรามีความสุขมากพอแล้ว
 
เราชอบความเป็นอิสระแบบที่เรารู้สึกกับละครเวทีเรื่องนี้มากๆ และบางทีการที่เรารู้สึกกับมันคล้ายๆกับหนังของ Jacques Rivette อาจจะเป็นเพราะว่าในบางครั้งหนังของ Jacques Rivette (ซึ่งนักแสดงหญิงของเรื่องมักจะมีส่วนช่วยในการเขียนบท) มันดูเหมือนจะมีการเฉไฉไก่กา (ยืมศัพท์นี้มาจากคุณสนธยา ทรัพย์เย็น) ออกจากเส้นเรื่องหลักในบางจุดของหนังด้วย คือมันไม่ได้ตั้งหน้าตั้งตาจะส่งสาร, ย้ำธีมหลักของเรื่อง เหมือนละครเวที/หนังทั่วๆไป แต่มันเปิดโอกาสให้อะไรก็ตามที่ไม่เกี่ยวข้องกับสารหลักของหนัง หรือธีมหลักของหนัง เล็ดรอดเข้ามาในหนังได้
 
เราชอบวิธีการแบบนี้น่ะ เพราะเรามองว่าชีวิตมนุษย์เรา มันไม่สามารถ simplify ออกมาเป็น ประเด็น 1, 2, 3 ได้ มนุษย์เราแต่ละคนมัน infinite  เพราะฉะนั้นหนัง/ละครเวทีบางเรื่อง อาจจะนำเสนอธีมของตัวเองได้ดีก็จริง แต่ในขณะเดียวกัน นั่นก็เท่ากับว่ามันได้ตัดทอนแง่มุมอื่นๆในความเป็นมนุษย์ของตัวละครในเรื่องออกไปแล้ว เราก็เลยได้เห็นเพียงแค่แง่มุมเพียงแค่ไม่กี่แง่มุมของตัวละครในเรื่องเท่านั้น เพื่อจะได้รองรับธีมของเรื่องได้อย่างแม่นยำ
 
คือหนัง/ละครเวทีที่ทำแบบข้างต้น ก็ไม่ผิดอะไรนะ มันก็เป็นวิธีการที่ดีมาก แต่เราก็ชอบหนัง/ละครเวทีที่ไม่ทำแบบข้างต้นเช่นกัน นั่นก็คือหนังที่มองโลกและมองมนุษย์ว่าเป็นสิ่งที่ไม่ควรถูกลดรูป หรือถูก simplify ออกมาเป็นธีมหลัก 1, 2, 3 น่ะ หนังที่ยอมรับความ infinite ของโลกและชีวิตมนุษย์ และมองว่าสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับธีมหลักของเรื่อง ก็เป็นสิ่งที่สมควรใส่เข้ามาในหนังเช่นกัน เพื่อที่มันจะได้สะท้อนโลกและมนุษย์ได้ดีขึ้น (กรณีนี้เราอาจจะไม่ค่อยนึกถึงละครเวทีนะ แต่เราจะนึกไปถึงหนังทดลองหรือหนังหลายๆเรื่องของ Teeranit Siangsanoh ที่ดูแล้วไม่รู้ว่ามันต้องการส่งสารอะไร มันเป็นการถ่ายภาพสิ่งธรรมดาสามัญต่างๆมาเรียงร้อยเข้าด้วยกัน แล้วทำให้เรารู้สึกดีมากๆกับการได้ดูมัน มันเป็นการทอดสายตามองโลกโดยไม่ต้องแคร์เรื่ององค์รวม, unity, ธีมหลักอะไรอีกต่อไป)
 
เอ๊ะ เขียนไปเขียนมาเริ่มไม่เกี่ยวกับ IN THER’S VIEW 5555 คือเราชอบคำถามในละครเวทีเรื่องนี้ ประเภทที่ว่า “คุณชอบสัตว์อะไร” น่ะ เพราะคำถามประเภทนี้อาจจะไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับ “ความเป็นนักแสดง” ของนักแสดงแต่ละคนในเรื่องนี้ คำถามประเภทนี้อาจจะไม่เกี่ยวกับธีมหลักของเรื่อง (ถ้าหากเรามองว่าธีมหลักของเรื่องคือชีวิตการแสดงของนักแสดงแต่ละคน) แต่มันเป็นคำถามประเภทที่เราชอบ เพราะมันเปิดโอกาสให้เราได้ explore แง่มุมอื่นๆในชีวิตของนักแสดงเหล่านี้ด้วย ชีวิตของนักแสดงเหล่านี้ไม่ได้ถูกนำเสนอออกมาเพียงแค่แง่มุมเดียวเท่านั้น ละครเวทีเรื่องนี้ไม่ได้ปิดประตูอย่างสนิทเพื่อกีดกั้นทุกอย่างที่ไม่เกี่ยวข้องกับธีมหลักออกไป แต่เปิดแง้มประตูไว้เล็กน้อยเพื่อเปิดโอกาสให้ “บางแง่มุมของชีวิตจริง” ที่อาจจะไม่สอดรับกับธีมหลักของเรื่อง ได้มีโอกาสเล็ดรอดเข้ามา
 
2.ละครเวทีเรื่องนี้ทำให้เรานึกถึงงานศิลปะในแขนงอื่นๆด้วยโดยที่ตัวผู้สร้างไม่ได้ตั้งใจ มันทำให้เรานึกถึงนิทรรศการ 10 YEARS AFTER ของ Rirkrit Tiravanija ที่ 100 ต้นสน แกลเลอรี่, นิทรรศการ CONSTANT UNCERTAINTY ของอังกฤษ อัจฉริยโสภณที่ 338 OIDA Gallery ที่ตั้งอยู่ใกล้ๆกับ Democrazy Theatre นี่แหละ และก็ทำให้นึกถึงหนังทดลองอย่างเรื่อง WHAT THE WATER SAID, NOS.13 (1997-1998, David Gatten, A+30) ด้วย
 
TEN YEARS AFTER
 
CONSTANT UNCERTAINTY
 
2.1 สาเหตุที่ IN THER’S VIEW ทำให้เรานึกถึง TEN YEARS AFTER เป็นเพราะว่า ในนิทรรศการนี้ เราได้เห็นผลงานศิลปะอันทรงคุณค่ามากมาย มากองอีเหละเขละขละราวกับเป็นสมบัติบ้าที่ไม่มีราคาค่างวดมากนักอยู่ในห้องเดียวกัน มันเหมือนกับเราได้เข้าไปเห็นห้องเก็บของในพิพิธภัณฑ์ หลังจากที่เราเคยเห็นแต่ห้องจัดแสดงผลงานในพิพิธภัณฑ์มาเกือบตลอดชีวิต
 
ความรู้สึกหนึ่งที่เราได้จาก TEN YEARS AFTER คือการที่เราได้เห็นงานศิลปะหลายๆชิ้น โดยที่ไม่มี aura ตามปกติของมันน่ะ เราได้เห็นภาพเขียนหลายๆชิ้น โดยที่ไม่มี aura เปล่งประกายออกมาจากมันตามปกติ คือเราก็ยังเห็นความงามของงานศิลปะบางชิ้นอยู่นะ แต่พอมันถูกจัดวางแตกต่างไปจากเดิมเท่านั้นแหละ พอมันถูกเอามากองไว้กับพื้นเท่านั้นแหละ aura ของมันก็หายไปทันที ถึงแม้มันจะมีความงดงามในตัวมันเองอยู่ก็ตาม
 
สรุปว่า ความรู้สึกหนึ่งที่เราได้จาก TEN YEARS AFTER คือการที่เราได้เห็นงานศิลปะในแบบที่ไม่มี aura เปล่งประกายออกมา, เราได้เห็นมันในฐานะวัตถุอย่างนึง, แต่มันก็ทำให้เรานึกถึงช่วงเวลาที่มันถูกจัดแสดงและมี aura เปล่งประกายออกมา เราได้เห็นมันทั้งในแง่ที่มันเป็นงานศิลปะ และความเป็นวัตถุไม้, กระดาษ, ผ้าใบ หรือก้อนอิฐ,หิน,ดิน,ปูนในเวลาเดียวกัน
 
มันคล้ายกับความรู้สึกที่เราได้ขณะดู IN THER’S VIEW เพราะเราได้เห็นนักแสดงในฐานะ “มนุษย์ธรรมดา” เราได้เห็นนักแสดงที่มักจะถูกสปอตไลท์สาดส่องบนเวทีในฐานะตัวละคร กลายมาเป็นมนุษย์ธรรมดาที่ไม่ต่างอะไรจากเรา แต่เราก็ได้เห็นพวกเธอเปล่งประกายเฉิดฉันในฐานะนักแสดงด้วยขณะที่พวกเธอเล่น monologue ของตัวเอง การได้เห็นบุคคลเหล่านี้ทั้งในฐานะ “มนุษย์ธรรมดา” และ “นักแสดง” ในช่วงเวลาเดียวกัน มันก็เลยทำให้เรานึกถึงความรู้สึกที่ได้ขณะชมนิทรรศการ TEN YEARS AFTER ที่เราได้เห็นทั้งความเป็น “งานศิลปะ” และความเป็น “ก้อนวัตถุ” ซ้อนทับกันอยู่ในสิ่งๆเดียวกัน
 
2.2 เราไม่แน่ใจเรื่องงานศิลปะใน CONSTANT UNCERTAINTY มากนัก แต่ถ้าหากเราเข้าใจไม่ผิด ภาพวาดบางภาพที่เราได้เห็นในนิทรรศการนี้ เป็นด้านหลังของภาพวาดน่ะ เราไม่เห็นความงดงามของตัวภาพวาดนั้น เราได้เห็นแต่ร่องรอย abstract ที่เกิดขึ้นด้านหลังภาพวาดนั้น และเห็นร่องรอยที่เกิดจากกาลเวลาด้วย โดยสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่สิ่งที่เกิดจากการจงใจสรรค์สร้างของตัวศิลปิน สิ่งที่เราเห็นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยที่ศิลปินไม่ได้ตั้งใจ มันเกิดขึ้นเองตามกาลเวลา และมันเกิดขึ้นโดยเป็นผลพลอยได้จากการสรรค์สร้างงานศิลปะของตัวศิลปินรายนั้น
 
จุดนี้มันก็เลยทำให้เรานึกถึง IN THER’S VIEW นะ เพราะ IN THER’S VIEW ก็ทำให้เราได้เห็น “ด้านหลังของงานศิลปะ” เช่นกัน และเป็นด้านหลังที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจหรือกึ่งไม่ได้ตั้งใจ และเห็นร่องรอยของกาลเวลาด้วย (ซึ่งก็คือประสบการณ์ของนักแสดงแต่ละคน)
 
คือถ้าเปรียบเทียบนิทรรศการนี้กับ IN THER’S VIEW เราก็มองว่าละครเวทีเรื่องต่างๆที่นักแสดงเหล่านี้เคยเล่นมา มันเหมือนกับเป็น “ด้านหน้าของภาพวาดอันงดงามน่ะ” แต่เราจะไม่ได้เห็นด้านหน้าของภาพวาดอันงดงามในละครเวทีเรื่องนี้ เราได้เห็นแต่ด้านหลังของมันเท่านั้น เราได้เห็นว่าละครเวทีหลายๆเรื่องที่พวกเธอเคยแสดงมา ได้ส่งผลกระทบต่อตัวตน, ความคิดความอ่าน และความรู้สึกของนักแสดงแต่ละคนอย่างไรบ้าง และการที่วิชยไม่ได้กำหนดตายตัวว่าผู้สัมภาษณ์ต้องถามคำถามนี้เท่านั้น และนักแสดงแต่ละคนต้องตอบคำถามแบบนี้เท่านั้น แต่เปิดโอกาสให้นักแสดงแต่ละคนตอบคำถามตามความเป็นจริง (เราเข้าใจว่าอย่างนั้นนะ) มันก็เลยส่งผลให้สิ่งที่เราได้ชม ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นจากการกำหนดไว้อย่างตายตัวแล้วในทุกๆวินาที แต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างค่อนข้างเป็นอิสระ มันก็เลยทำให้เรานึกถึงการได้เห็นด้านหลังของภาพวาดใน CONSTANT UNCERTAINTY เราได้เห็นร่องรอยกระดำกระด่าง ขมุกขมัว เปรอะไปตามจุดต่างๆบนผืนผ้าใบ แต่มันมีความงามและความน่าสนใจในแบบของมันเอง มันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างไม่ได้ตั้งใจ แต่มันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในฐานะผลกระทบจากการสรรค์สร้างงานศิลปะ และในขณะนี้ตัวผลกระทบนั้นก็ได้กลายมาเป็นงานศิลปะเสียเอง เหมือนกับการที่ประสบการณ์การแสดงของนักแสดงเหล่านี้ได้กลายมาเป็นตัวละครเวทีเสียเอง
 
2.3 ถ้าหากเปรียบเทียบ IN THER’S VIEW กับหนังแล้ว หนังที่ดูคล้าย IN THER’S VIEW มากที่สุดอาจจะเป็น ALL ABOUT ACTRESSES (2009, Maïwenn) ที่เป็นการสะท้อนชีวิตของนักแสดงหญิงหลายๆคนเหมือนกัน แต่ ALL ABOUT ACTRESSES แตกต่างจาก IN THER’S VIEW ในแง่ที่ว่า มันไม่สดเหมือน IN THER’S VIEW น่ะ สิ่งที่เราได้เห็นใน ALL ABOUT ACTRESSES มันผ่านการกลั่นกรอง, คัดเลือก, ตัดต่อจากผู้กำกับมาเรียบร้อยแล้วในทุกๆวินาที เราได้เห็นชีวิตของนักแสดงหญิงเหมือน IN THER’S VIEW ก็จริง แต่มันไม่มีศักยภาพของการสร้างความประหลาดใจเหมือน IN THER’S VIEW
 
ในแง่นึง IN THER’S VIEW ก็เลยทำให้เรานึกถึงหนังทดลองอย่าง WHAT THE WATER SAID, NOS.13 ของ David Gatten ด้วย โดยหนังทดลองเรื่องนี้เกิดจากการที่ผู้กำกับนำฟิล์มหนังไปใส่ไว้ในกระชังปู แล้วเอาไปจุ่มในน้ำทะเลในเดือนม.ค. 1997, ต.ค. 1997 และส.ค. 1998 สิ่งที่เราได้เห็นในหนังเรื่องนี้เกิดจากปฏิกิริยาเคมีที่น้ำทะเล, ทราย, หิน, เปลือกหอย และด้านข้างของกระชังปู ทำกับตัวฟิล์ม สิ่งที่เราเห็นในหนังเรื่องนี้เป็นสิ่งที่เกิดจาก concept หรือไอเดียของผู้กำกับ แต่เป็นสิ่งที่ผู้กำกับไม่สามารถควบคุมได้ ผู้กำกับไม่สามารถควบคุมภาพและเสียงที่เกิดขึ้นในหนังเรื่องนี้ได้ เพราะภาพและเสียงในหนังเรื่องนี้เกิดจากปฏิกิริยาเคมีที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของผู้กำกับ และน้ำทะเลแต่ละเดือนก็ส่งผลกระทบที่แตกต่างกันไปต่อตัวฟิล์มภาพยนตร์ด้วย
 
IN THER’S VIEW ทำให้เรานึกถึงหนังทดลองกลุ่ม “กระทำชำเราฟิล์ม” แบบนี้ในแง่ที่ว่า สิ่งที่เราได้เห็นในละครเวทีเรื่องนี้เกิดจากไอเดียหรือคอนเซปท์ของวิชยก็จริง แต่ก็เกิดจากปฏิกิริยาเคมีที่ไม่อาจควบคุมได้เช่นกัน โดยปฏิกิริยาเคมีในที่นี้คือปฏิกิริยาที่นักแสดงหญิงแต่ละคนมีต่อคำถาม, การตีความของนักแสดงหญิงแต่ละคนต่อบทที่ตัวเองได้รับในวันนั้น และปฏิกิริยาเคมีที่นักแสดงหญิงแต่ละคนมีต่อนักแสดงหญิงคนอื่นๆในรอบเดียวกัน มันเป็นสิ่งที่วิชยไม่สามารถควบคุมได้แน่นอนในแต่ละรอบหรือในแต่ละโมเมนท์น่ะ มันเหมือนเป็นการเปิดเวทีละครออกรับปฏิกิริยาเคมีที่ไม่อาจควบคุมได้ภายใต้คอนเซปท์ที่วางไว้
 
การที่ละครเวทีเรื่องนี้ไม่มีบทตายตัว ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เรานึกถึงหนังอย่าง WHAT THE WATER SAID ที่ไม่มีเนื้อเรื่องด้วย หนัง/ละครเวทีประเภทนี้ตัดเนื้อเรื่องตายตัวทิ้งไป และทำให้เราได้เห็นองค์ประกอบอื่นๆของหนัง/ละครเวทีที่เราไม่ได้สังเกตมันอย่างจริงจังมาก่อน และทำให้เราตระหนักรู้ถึงความเป็นหนัง/ละครเวทีของตัวมันเองอย่างชัดเจนขณะที่เราได้ชมมันด้วย
 
3.ประเด็นนึงที่เราชอบมากๆในรอบที่เราได้ดูในวันศุกร์ที่ 21 มี.ค. คือประเด็นเรื่องการแสดงในชีวิตจริงน่ะ มีการตั้งคำถามว่า เราแสดงอะไรในชีวิตจริงบ้างหรือเปล่า นักแสดงบางคนก็ตอบว่าแสดงในชีวิตจริงบ้างเพื่อให้ได้ในสิ่งที่ตัวเองต้องการ, เพื่อหลอกคนอื่นๆว่าตัวเองกำลังตั้งใจฟังสิ่งที่พูดในการประชุม, หรือแสดงในชีวิตจริงบ้างเพื่อความปลอดภัยในชีวิต (อย่างเช่นการแกล้งทำตัวเป็นคนบ้า)
 
ประเด็นนี้มันทำให้เราเกิด awareness กับตัวเราเองเหมือนกัน เพราะมันทำให้เราเพิ่งสังเกตว่าหลายๆครั้งเราก็กำลังแสดงอยู่ โดยที่เราทำไปโดยอัตโนมัติหรือโดยไม่รู้ตัว อย่างเช่นในขณะที่เราดู IN THER’S VIEW อยู่นั้น เราชอบผู้ชายบางคนที่นั่งอยู่ใกล้ๆ เราก็เลยยืดหลังตรงโดยอัตโนมัติ เพื่อทำให้ตัวเองดูดี ไม่ดูหลังโกงแบบที่เรามักทำตามปกติ หรือในบางครั้งเวลาเราเดินห้างที่หรูๆหน่อย เราก็จะพยายามระมัดระวังบุคลิกตัวเองมากยิ่งขึ้น ไม่ทำตัวตามสบายเหมือนเวลาเดินในซอย อะไรทำนองนี้
 
ประเด็นนี้มันทำให้เรารู้ตัวต่อไปว่า การที่เรายังคงแสดงอะไรแบบนี้อยู่ ยังไม่เป็นตัวจริงของตัวเองตลอดเวลา ส่วนใหญ่มันเกิดจากความต้องการควบคุมความคิดของคนอื่นๆน่ะ เรายังคงต้องการควบคุมความคิดของคนต่างๆเวลามองมาที่เรา เราไม่อยากให้พวกเขารู้ความจริงว่าจริงๆแล้วเราเป็นกะหรี่ชั้นต่ำหรืออะไรทำนองนี้ เราก็เลยต้อง “แสดง” สิ่งที่ไม่ใช่ธาตุแท้ของเราออกมา แต่ถ้าหากเรา letting go of the need to control ได้ ถ้าหากเราไม่ต้องการควบคุมความคิดของพวกเขา เราก็ไม่ต้องแสดง เราก็ทำตัวตามสบายเป็นตัวของตัวเองได้มากขึ้น
 
4.เราว่าละครเวทีเรื่องนี้เป็นอีกเรื่องนึงที่ใช้ศักยภาพของความเป็นละครเวทีได้อย่างเต็มที่ เพราะมันมีสิ่งที่ “ภาพยนตร์” ไม่มี นั่นก็คือ improvisation สดๆในวินาทีนั้น, ความแตกต่างกันอย่างมากในการแสดงแต่ละรอบ และการเปิดโอกาสให้ผู้ชมตั้งคำถามกับนักแสดง หรือเลือกจุดที่จะนั่งมองนักแสดงในช่วงครึ่งหลังด้วย
 
5.สาเหตุที่เรา quote คำพูดของ Ray Carney มาไว้ข้างต้น เพราะเราชอบความอึกๆอักๆ และการไม่ตอบคำถามหลายๆคำถามของนักแสดงใน IN THER’S VIEW นะ
 
สิ่งที่ Ray Carney ต้องการจะเห็นในภาพยนตร์คือความไม่แน่ใจในตัวเอง, ความรู้สึกสับสนในตัวเอง และความรู้สึกขวยเขินของตัวละคร ไม่ใช่การที่ตัวละครพูดจาตอบคำถามได้อย่างมั่นใจ, ชัดถ้อยชัดคำ, เรียบเรียงคำตอบมาอย่างดีแล้ว เพราะไอ้ความสับสน, ไม่มั่นใจนี่แหละ มันคือความเป็นมนุษย์ที่อาจจะพบไม่บ่อยในหนังฮอลลีวู้ด
 
เราว่าลักษณะความเป็นมนุษย์แบบนี้มีให้เห็นชัดเลยใน IN THER’S VIEW นักแสดงหลายคนไม่ยอมตอบคำถาม หรือตอบอย่างไม่มั่นใจ และเราก็ชอบโมเมนท์แบบนี้มากๆ (แต่เราก็ชอบการตอบคำถามอย่างมีสาระของนักแสดงบางคนเหมือนกันนะ โดยเฉพาะของคุณสุมณฑา)
 
ขอจบงานเขียนชิ้นนี้ด้วยสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับ IN THER’S VIEW โดยตรง 55555 คือเราชอบนักแสดงหญิงใน IN THER’S VIEW มาก เราก็เลยมานั่งจินตนาการเล่นๆว่า ถ้าหากเราได้ผัวรวยเป็นมหาเศรษฐี เราอาจจะสร้างภาพยนตร์หรือละครเวทีที่ดัดแปลงมาจากหนังเก่าหลายๆเรื่อง โดยให้นักแสดงหญิงใน IN THER’S VIEW มารับบทบาทในหนัง/ละครเวทีรีเมคดังต่อไปนี้
 
1.ดวงใจ หิรัญศรี รับบทเดียวกับ Isabelle Huppert ใน LA CEREMONIE (1995, Claude Chabrol)
 
2.วิทุรา อัมระนันทน์ รับบทเดียวกับ Sandrine Bonnaire ใน LA CEREMONIE (1995, Claude Chabrol)
 
3.มินตา ภณปฤณ รับบทเดียวกับ Margit Carstensen ใน BREMEN FREEDOM (1972, Rainer Werner Fassbinder)
 
4.ดุจดาว วัฒนปกรณ์ บุญใหญ่ รับบทเดียวกับ Françoise Fabian ใน MY NIGHT WITH MAUD (1969, Eric Rohmer)
 
5.สุมณฑา สวนผลรัตน์ รับบทเดียวกับ Brenda Fricker ใน SWANN (1996, Anna Benson Gyles)
 
6.ปริยา วงศ์ระเบียบ รับบทเดียวกับ Stephane Audran ใน LE BOUCHER (1970, Claude Chabrol)
 
7.นีลชา เฟื่องฟูเกียรติ รับบทเดียวกับ Gena Rowlands ใน GLORIA (1980, John Cassavetes)
 
8.ภาวิณี สมรรคบุตร รับบทเดียวกับ Angela Winkler ใน THE LOST HONOUR OF KATHARINA BLUM (1975, Volker Schlöndorff)
 
9.ดลฤดี จำรัสฉาย รับบทเดียวกับ Marie Riviere ใน AN AUTUMN TALE (1998, Eric Rohmer)
 
10.ณัฐญา นาคะเวช รับบทเดียวกับ Beatrice Romand ใน AN AUTUMN TALE (1998, Eric Rohmer)
 
11. ปานรัตน กริชชาญชัย รับบทเดียวกับ หลินชิงเสีย ใน “ผู้หญิงแย่งสับ”  (1989, David Chung)
 
12.อรอนงค์ ไทยศรีวงศ์ รับบทเดียวกับ Holly Hunter ใน MISS FIRECRACKER (1989, Thomas Schlamme)
 
13.ฟารีดา จิราพันธุ์ รับบทเดียวกับ Isabelle Adjani ใน POSSESSION (1981, Andrzej Zulawski)
อยากเห็นคุณฟารีดาเล่นบทแบบนี้มากๆ
 
14.ศศพินทุ ศิริวาณิชย์ รับบทเดียวกับ Gwyneth Paltrow ใน SYLVIA (2003, Christine Jeffs)
 
15.จรรยา ธนาสว่างกุล รับบทเดียวกับ Pauline Collins ใน SHIRLEY VALENTINE (1989, Lewis Gilbert)