Wednesday, May 31, 2017

SOAP (1977-1981)

TV SERIES WISH LIST: “กิเลสมนุษย์” SOAP (1977-1981)

ตอนที่เรายังเป็นเด็กชั้นประถม เราจำได้ว่า เราชอบอ่าน “เรื่องย่อ” ของละครทีวีเรื่อง “กิเลสมนุษย์” ที่มาฉายทางช่อง 3 มากๆ แต่เราไม่เคยดูละครเรื่องนี้นะ เพราะมันฉายดึกเกินไป ประมาณ 5 ทุ่มได้มั้ง แล้วตอนนั้นเรายังอยู่แค่ชั้นประถม ก็เลยดูละครที่ฉายดึกๆประมาณ 5 ทุ่มไม่ได้ แต่จำได้ว่าเรื่องย่อของละครทีวีเรื่องนี้เข้าทางเรามากๆ

พอเราโตขึ้นมา เราก็ไม่เคยรู้เลยว่า จริงๆแล้ว “กิเลสมนุษย์” มันมีชื่อเรื่องภาษาอังกฤษว่าอะไร จนกระทั่งวันนี้นี่แหละ ที่อ.ประวิทย์ แต่งอักษร ช่วยตอบคำถามเรา และทำให้เราได้รู้ว่า “กิเลสมนุษย์” ก็คือละครทีวีเรื่อง SOAP ที่มี Billy Crystal เล่นเป็นเกย์ชื่อโจดี้ที่รักกับนักกีฬาอเมริกันฟุตบอล และเขามีแผนจะผ่าตัดแปลงเพศ

เราก็เลยลองกลับไปอ่านเรื่องย่อของกิเลสมนุษย์ใน wikipedia แล้วก็พบว่าเรื่องย่อของมันเข้าทางเราจริงๆ หวังว่าในอนาคตเราจะมีเวลาดาวน์โหลดละครเรื่องนี้มาดู

ละครเรื่องนี้เล่าเรื่องของครอบครัวสองครอบครัว ครอบครัวนึงรวย ครอบครัวนึงจน โดย Billy Crystal รับบทเป็นลูกชายของแมรี่ที่เป็นชนชั้นแรงงาน

ตัวละครคนอื่นๆในเรื่องก็มีเช่น
1.แดนนี่ เขาเป็นพี่ชายของโจดี้ และเป็นลูกชายของแมรี่ เขามีพ่อที่แท้จริงชื่อจอห์นนี่ แต่จอห์นนี่ถูกเบิร์ทฆ่าตาย และเบิร์ทได้กลายมาเป็นพ่อเลี้ยงของเขา แดนนี่ถูกแก๊งมาเฟียพยายามชักจูงให้เขาฆ่าเบิร์ทเพื่อแก้แค้นให้พ่อที่แท้จริง แต่แดนนี่ปฏิเสธ และถูกแก๊งมาเฟียตามล่า อย่างไรก็ดี แดนนี่ได้ตกหลุมรักกับลูกสาวเจ้าของแก๊งมาเฟียที่มีนิสัยเอาแต่ใจตัวเองในเวลาต่อมา
2.เจสสิก้า เธอเป็นพี่สาวของแมรี่ และเธอได้แต่งงานกับคนรวยชื่อเชสเตอร์ เจสสิก้ามีลูกบุญธรรมชื่อคอรีนน์
3.คอรีนน์ไปยั่วยวนบาทหลวงคนนึง และทำให้เขาสึกจากการเป็นบาทหลวง ทั้งสองมีลูกด้วยกันคนนึง แต่ลูกของทั้งสองถูกปีศาจเข้าสิง!!!!!
4.เชสเตอร์ เขาเป็นคนรวยที่เป็นสามีของเจสสิก้า เขาถูกจับเข้าคุกในข้อหาฆ่าคนตาย แต่แหกคุกออกมา และกลายเป็นโรคความจำเสื่อม
5.ชัค เป็นลูกเขยของแมรี่ เขาเป็นนักเชิดหุ่น และใช้หุ่นเชิดของเขาในการแสดงบุคลิกภาพอีกอันนึงของเขา
6.เจสสิก้ามีชู้หลายคน คนนึงเป็นนักสืบเอกชน, อีกคนเป็นจิตแพทย์ และอีกคนเป็นนักปฏิวัติจากภูมิภาคลาตินอเมริกาที่มีสมญานามว่า “เอล”
7.เจสสิก้ากับเชสเตอร์มีลูกชายชื่อบิลลี่ แต่ต่อมาบิลลี่ถูกกลุ่มลัทธิอุบาทว์ชื่อ Sunnies นำตัวไปกักขังไว้
8.เบิร์ท เขาเป็นพ่อเลี้ยงของแดนนี่ เขาถูกมนุษย์ต่างดาวลักพาตัวไป และมนุษย์ต่างดาวได้ส่ง “เบิร์ทตัวปลอม” ที่เป็นมนุษย์ต่างดาวเซ็กส์จัดมาใช้ชีวิตแทนเขา

คืออ่านเรื่องย่อแล้วมันเข้าทางเรามากๆค่ะ มัน “กิเลสมนุษย์” จริงๆ และรู้สึกว่า Anything is possible จริงๆในละครทีวีเรื่องนี้ 555

ชอบการท้าวความเนื้อหาตอนที่แล้วในคลิปนี้มากๆ เขาบอกว่าในตอนที่แล้ว “เลสลี่ตัดสินใจไม่ได้ว่าจะฆ่าตัวตายดีหรือไม่ เธอก็เลยตัดสินใจฆ่าบิลลี่แทน”









Monday, May 29, 2017

FAVORITE FILMS ABOUT TEENAGERS

FAVORITE FILMS ABOUT TEENAGERS

1.BEAUTIFUL THING (1996, Hettie Macdonald, UK)
2.BU SU (1987, Jun Ichikawa, Japan)
3.THE CIRCLE (2015, Levan Akin, Sweden)
4.HI, TERESKA (2001, Robert Glinski, Poland)
5.MEETING DR. SUN (2014, Yee Chih-yen, Taiwan)
6.NIGHT TIME PICNIC (2006, Masahiko Nagasawa, Japan)
7.NOTHING CAN TOUCH ME (2011, Milad Alami, Denmark)
8.SCHOOL TRIP (2002, Henner Winckler, Germany)
9.SIGN OF SIN ห้องที่ 17 (2013, Pawinee Mingchue)

10.SOUND AND FURY (1988, Jean-Claude Brisseau, France)

Thursday, May 25, 2017

TWO FRIENDS (2015, Louis Garrel, France, A+30)

TWO FRIENDS (2015, Louis Garrel, France, A+30)

นึกว่า DUMB AND DUMBER


จริงๆแล้วนึกถึงหนังของ Kevin Smith ด้วย ชอบ form/style ของหนังมากๆ เพราะตัวละครมันโง่สุดๆเหมือนพวกหนังของพี่น้อง Farrelly แต่มันไม่ได้ทำออกมาแล้วต่ำแบบพจน์ อานนท์ หรือน่าเบื่อแบบหนังบางเรื่องของยอร์ช ฤกษ์ชัย มันเหมือนมีการพลิกแพลงอะไรบางอย่าง หรือมีการข้าม genres ไปมาได้อย่างมีเสน่ห์ ตัวละครที่โง่จนน่ารังเกียจในตอนแรก เลยดูเหมือนเป็นการ parody "ตัวละครในหนังรักแบบโง่ๆ" และเป็นตัวละครที่มีเลือดเนื้อชีวิตจิตใจในเวลาเดียวกัน บางทีอาจต้องยกความดีความชอบให้ Christophe Honore ที่ร่วมเขียนบท เพราะเหมือน Honore อาจจะถนัดเรื่องการเล่นตลกกับขนบของ genres ต่างๆ

DOUBLE BILL FILM WISH LIST: UNLOCKED (2017, Michael Apted, UK, A+15) + PK (2014, Rajkumar Hirani, India, A+30)

DOUBLE BILL FILM WISH LIST: UNLOCKED (2017, Michael Apted, UK, A+15) + PK (2014, Rajkumar Hirani, India, A+30)

ได้ดู UNLOCKED เมื่อสัปดาห์ก่อน แล้วก็รู้สึกว่าจริงๆแล้วหนังมันพูดประเด็นเดียวกับ PK เลย นั่นก็คือ “ปัญหาที่เกิดจากการ “บิดเบือน” คำสอนทางศาสนา” โดยผู้ไม่ประสงค์ดี หรือผู้ที่ต้องการอะไรบางอย่าง และเราชอบที่หนังที่พูดถึงประเด็นเดียวกันสามารถทำออกมาใน genre หรือรูปแบบ/สไตล์ที่ไม่ซ้ำกันเลย โดย PK นั้นออกมาในแบบ sci-fi ที่ซาบซึ้งกินใจ และสามารถสื่อประเด็นที่ต้องการได้อย่างชัดเจนและละเอียด ส่วน UNLOCKED นั้นทำออกมาในแบบ action-thriller และอาจจะสื่อประเด็นนี้ออกมาในแบบอ้อมๆเล็กน้อย


เราว่า UNLOCKED เป็นหนังที่มองได้ในแบบ half full-half empty นะ คือถ้าเอามันไปเทียบกับ PK ที่พูดถึงประเด็นใกล้เคียงกัน มันก็ดู half-empty น่ะ เพราะการที่ตัวหนัง UNLOCKED มันพยายามเอาใจผู้ชมวงกว้างในระดับนึง ด้วยการทำตัวตามสูตรสำเร็จของหนัง action thriller มันก็เลยทำให้หนังออกมาดูขาดๆเกินๆลักลั่นในบางจุด หรือมีอะไรขัดหูขัดตาหรือไม่น่าเชื่อถือในบางฉาก และความพยายามจะเป็นหนัง action thriller ของมันก็เลยทำให้มันไม่สามารถส่งสารแบบ PK ได้เต็มที่ แต่ถ้าหากเอา UNLOCKED ไปเทียบกับหนัง action thriller ทั่วๆไป มันก็อาจจะดู half full ขึ้นมาได้ เพราะมันก็เป็นหนัง action thriller ที่ไม่ได้ขายความสนุกตามสูตรสำเร็จเพียงอย่างเดียว แต่มีความจริงจังและมีแนวคิดอะไรบางอย่างที่น่าสนใจซ่อนอยู่

Tuesday, May 16, 2017

ALIEN: COVENANT (2017, Ridley Scott, A+30)

ALIEN: COVENANT (2017, Ridley Scott, A+30)

1.ช่วงนี้ก็ยังคงไม่มีเวลาเขียนถึงหนังอะไรทั้งสิ้นเหมือนเดิม 555 แต่ก็ขอบันทึกความรู้สึกที่มีต่อหนังเรื่องนี้หน่อย เพราะมันไม่ค่อยได้รับการระบายออกผ่านทางคนอื่นๆน่ะ 555 คือหนังอย่าง PERSONAL SHOPPER นั้น เราชอบสุดๆ แต่มันได้รับการระบายออกผ่านทางคนอื่นๆไปแล้ว เพราะคนอื่นๆก็ชอบ PERSONAL SHOPPER อย่างสุดๆ และเขียนถึง PERSONAL SHOPPER อย่างดีมากเช่นกัน เพราะฉะนั้นหนังที่เราคิดว่าเพื่อนๆหลายคนเขียนได้ตรงใจเรา เราก็จะไม่เขียนถึง เพราะเราไม่มีเวลาเขียน แต่หนังที่เราดูแล้วรู้สึกว่า “มันอาจจะมีกูคนเดียวหรือเปล่าที่รู้สึกแบบนี้” เราก็อาจจะเขียนถึงมันหน่อย เพราะเราคงหาความรู้สึกแบบเดียวกันจากสิ่งที่คนอื่นๆเขียนได้ยาก

2.สรุปว่าในบรรดาหนังชุด ALIEN นั้น เราชอบเรียงตามลำดับดังนี้

2.1 ALIENS (1986, James Cameron)
2.2 ALIEN (1979, Ridley Scott)
2.3 ALIEN: COVENANT
2.4 PROMETHEUS (2012, Ridley Scott)
2.5 ALIEN RESURRECTION (1997, Jean-Pierre Jeunet)
2.6 ALIEN VS. PREDATOR (2004, Paul W.S. Anderson)
2.7 ALIEN3 (1992, David Fincher)
2.8 ALIENS VS PREDATOR – REQUIEM (2007, Colin Strause, Greg Strause)

3.สาเหตุที่เราชอบ ALIEN: COVENANT อย่างสุดๆนั้น คือสาเหตุเดียวกับที่ทำให้เราชอบ THE COUNSELOR (2013) มากที่สุดในบรรดาหนังของ Ridley Scott ทั้งหมดที่เคยดูมาน่ะ นั่นก็คือเราชอบ “ตัวร้าย” ในหนังสองเรื่องนี้อย่างสุดๆน่ะ และเราชอบที่ Ridley Scott นำเสนอตัวร้ายและความดำมืดในความคิดของตัวร้ายเหล่านี้ได้อย่างทรงพลังมากๆสำหรับเรา และไม่ได้ให้ความสำคัญกับความเป็น thriller สักเท่าไหร่ คือในแง่นึงหนังแบบ THE COUNSELOR คือขั้วตรงข้ามกับหนังแบบ JOHN WICK น่ะ คือหนังแบบ JOHN WICK มันเป็นแอคชั่นเร้าอารมณ์ มีตัวละครที่ “ชั่วร้ายสารเลว” มากๆ แต่ตัวละครที่ชั่วร้ายสารเลวเหล่านี้มีบทบาทหลักคือกระตุ้นอารมณ์สนุกตื่นเต้นของคนดู หนังจะให้ความสำคัญกับ “การกระทำ” ของตัวละครคนเลวเหล่านี้ และตัวละครคนเลวเหล่านี้จะทำเลวเพื่อจุดประสงค์หลักคือการสร้างความสนุกให้คนดู

แต่หนังอย่าง THE COUNSELOR นั้นจะถูกโฉลกกับเรา หรือเข้ากับรสนิยมส่วนตัวของเรามากกว่า เพราะตัวละคร Malkina (Cameron Diaz) ในหนังเรื่องนี้ มันเลวมากๆ แต่มันเลวแบบมีเสน่ห์ดึงดูดสำหรับเราน่ะ และมันกลายเป็นหนึ่งในตัวละครที่เราชอบที่สุดตลอดกาลไปเลย และเรารู้สึกว่า Ridley Scott ไม่ได้ให้ความสำคัญแค่กับ “การกระทำ” ของตัวละครตัวนี้น่ะ แต่มันเหมือนให้ความสำคัญกับความคิดของตัวละครด้วย มันเหมือนกับว่า ตัวละคร Malkina มันสามารถแผ่พลังของความดำมืดจาก “ใจ” เธอมาถึงเราได้อย่างรุนแรงมากๆ เหมือนกับพวกตัวละครหญิงร้ายในหนังของ Claude Chabrol น่ะ ตัวละครสารเลวเหล่านี้ไม่ได้มีหน้าที่ “ทำเลว” เพื่อสร้างความสนุกตื่นเต้นให้คนดู แต่ตัวละครสารเลวแบบ Malkina และตัวละครหญิงบางตัวในหนังของ Claude Chabrol มันทำเลวเพราะมันเลวจริงๆ มันเลวในกมลสันดาน มันเลวชั่วชาติมากๆ มันทำเลวเพราะมันเลว มันไม่ได้ทำเลวเพราะจะสร้างความสนุกให้คนดู ไม่รู้เขียนแล้วเข้าใจหรือเปล่า 555 และเราถูกโฉลกกับหนังที่สร้างตัวละครคนเลวแบบนี้ การได้เดินทางเข้าสู่ความดำมืดในใจของตัวละครเหล่านี้ มันเหมือนกับการได้เดินทางเข้าไปใน heart of darkness ของโลกและหลุมดำของจักรวาลจริงๆ และมันสะเทือนเราอย่างรุนแรงมากกว่าตัวละครคนเลวในหนังแอคชั่นทริลเลอร์

ฉันใดก็ฉันนั้น ตัวร้ายใน ALIEN:COVENANT ก็มีเสน่ห์ดึงดูดเราอย่างรุนแรงมากๆ และสร้างความพึงพอใจให้แก่เรามากๆแบบตัวละคร Malkina ใน THE COUNSELOR เช่นกัน คือเราชอบที่ตัวร้ายใน ALIEN:COVENANT มันดู graceful มากๆในแง่นึงน่ะ และเราว่าอะไรแบบนี้นี่แหละ ที่ขาดไปจากหนังอย่าง LIFE (2017, Daniel Espinosa) คือ LIFE เราก็ชอบมากนะ มันดูสนุกดี แต่ “ความสุข” ในการดูหนังของเราในหลายๆครั้งมันไม่ได้มาจากความสนุกตื่นเต้นลุ้นระทึกน่ะ บางครั้งมันมาจาก “บรรยากาศขรึมขลัง” ที่ตรงกับใจเรา และบางครั้งมันจาก “ตัวร้ายที่มีพลังดึงดูดเรา” และเราว่าไอ้บรรยากาศขรึมขลังและตัวร้ายที่มีพลังดึงดูดเรานี่แหละ คือสิ่งที่ไม่มีใน LIFE แต่มีใน ALIEN:COVENANT

4.เราว่าตัวร้ายใน ALIEN:COVENANT ทำให้เรานึกถึง “ทหารนาซี” โดยที่หนังอาจจะไม่ได้ตั้งใจนะ สาเหตุที่มันทำให้เรานึกถึงทหารนาซีเป็นเพราะว่า

4.1 มันต้องการ “ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์”
4.2 มันต้องการสร้าง “เผ่าพันธุ์ที่สมบูรณ์แบบ”
4.3 มันคลั่งไคล้ Richard Wagner 555
4.4 สถานที่อยู่ของมัน ที่มีลานที่เต็มไปด้วยศพ แว่บแรกเราดูแล้วนึกถึงค่ายกักกัน Auschwitz และการรมแก๊ส


แต่ถ้าใครชอบหนังเรื่องนี้อย่างสุดๆเหมือนเรา ก็บอกเราได้นะ เราจะได้รู้ว่าเราไม่ได้ชอบอยู่คนเดียว เหมือนอย่างปีที่แล้ว ก็ดูเหมือนว่าจะมีเราคนเดียวที่ชอบ TERRA FORMARS (2016, Takashi Miike) 555

Monday, May 15, 2017

BAHUBALI 2 AND THE BIG BOSS

BAHUBALI 2: THE CONCLUSION (2017, S.S. Rajamouli, India, A+30) + THE BIG BOSS (1971, Lo Wei, Hong Kong, A+30)

พอดูหนังสองเรื่องนี้ในวันเดียวกัน ก็เลยทำให้สงสัยว่า ทำไมเราถึงชอบหนังสองเรื่องนี้มากๆ ทั้งๆที่มันมีความเป็น “สูตรสำเร็จ” อยู่ในตัว และมันเป็นหนังแอคชั่นผู้ชาย ซึ่งจริงๆแล้วมันไม่ใช่หนังในแนวทางที่เราโปรดปรานมากสักเท่าไหร่
                                                        
เราก็เลยต้องนำมันมาเปรียบเทียบกับ “หนังแอคชั่น สูตรสำเร็จ” ที่เราไม่ได้ชอบมากนัก ซึ่งก็คือเรื่อง PANIC IN BANGKOK (1964, Andre Hunebelle, France, A+) เราก็เลยพบว่า การที่ PANIC IN BANGKOK ไม่ค่อยประทับใจเราเท่าไหร่นั้น บางทีมันอาจจะเป็นเรื่องของ subplot ด้วย คือมันไม่มี subplot ที่น่าประทับใจเลย

คือเราว่า สาเหตุที่ทำให้เราชอบ THE BIG BOSS และ BAHUBALI มากนั้น นอกจากจะเป็นเรื่องของ “ความสนุกตื่นเต้น” และ “การคิดฉากแอคชั่นมันส์ๆ” แล้ว เราว่าหนังทั้งสองเรื่องนี้ยังมี subplots หรือมี “ประเด็นเสริม” อะไรบางอย่าง ที่มันทรงพลังหรือสร้างความประทับใจเราได้อย่างมากๆน่ะ เหมือนอย่าง JOHN WICK: CHAPTER 2 (2017, Chad Stahelski) ที่นอกจากตัวหนังจะมีฉากแอคชั่นมันส์ๆแล้ว มันยังมี “การสร้างโลกนักฆ่า” ที่น่าประทับใจด้วย คือหนังแอคชั่นเหล่านี้มันไม่ได้มีดีแค่ฉากแอคชั่นมันส์ๆอย่างเดียว มันยังมีอะไรอย่างอื่นมาเพิ่มคุณค่าให้ตัวหนังด้วย

ในส่วนของ BAHUBALI 2 นั้น เราว่าประเด็นที่ทรงพลังมากๆคือความขัดแย้งระหว่างกษัตริย์ Bhalladeva (Rana Daggubati) ที่ไม่ได้รับความนิยมจากประชาชน กับ Bahubali ซึ่งได้รับความนิยมจากประชาชนน่ะ ฉากที่ประชาชนโห่ร้องชื่นชม Bahubali จนบัลลังก์กษัตริย์สั่นสะเทือน และร่มหักลงมานั้น เป็นฉากที่ทำออกมาได้สุดตีนจริงๆ

ส่วนใน THE BIG BOSS หรือ ไอ้หนุ่มซินตึ๊งนั้น เราว่า subplot เกี่ยวกับ “การลุกฮือของกลุ่มคนงาน เพื่อต่อต้านนายจ้าง” ก็ทำออกมาได้ทรงพลังมากๆ และ “ความขัดแย้งในใจ foreman” ว่าจะเลือกเข้าข้างฝ่ายนายจ้าง หรือจะเลือกเข้าข้างฝ่ายกรรมกร ก็น่าสนใจมากๆด้วย คือ THE BIG BOSS มันไม่ได้เป็นหนังที่ทำเพียงแค่ “แต่งเรื่องอะไรก็ได้ เพื่อจะได้ใส่ฉากบู๊เข้าไปเยอะๆ” น่ะ พอมันมีเรื่องความขัดแย้งระหว่างกรรมกรกับนายจ้าง โดยที่มี foreman อยู่ตรงกลาง และนำเสนอประเด็นนี้ออกมาได้ทรงพลังพอสมควร มันก็เลยทำให้หนังมันไม่ดูแห้งเป็นบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบบหนังอย่าง PANIC IN BANGKOK ที่เกือบทุกอย่างดูเป็นสูตรสำเร็จไปหมด


รูปของ Bruce Lee กับ Rana Daggubati

Wednesday, May 10, 2017

MY CHEATING EXPERIENCE

เห็นหลายคนดูฉลาดเกมส์โกง แล้วออกมาแฉพฤติกรรมการโกงของตนเอง เราก็เลยทำบ้างดีกว่า ไหนๆก็เป็นวันวิสาขบูชา เราก็มาพูดความจริงกัน

แต่เราไม่เคยโกงข้อสอบและไม่เคยช่วยเพื่อนโกงข้อสอบเลยตอนเรียนมัธยมกับมหาลัย 555 อย่างไรก็ดี เราเคยโกงและเคยช่วยคนอื่นๆโกงตอนที่มีการแข่งขันตอบปัญหาความรู้ด้านภาพยนตร์ที่ GRAND EGV SIAM DISCOVERY ประมาณปี 2000 หรือ 2001 น่ะ เราก็จำรายละเอียดไม่ได้แล้ว จำไม่ได้ด้วยว่าเงินรางวัลมันเท่าไหร่ ประมาณแสนนึงหรือเปล่า จำได้แต่ว่าคุณ Punya Pappayon ได้รับรางวัลชนะเลิศ และคุณฮูกเข้ารอบสิบคนสุดท้ายในการแข่งขันนี้

เราจำรายละเอียดในการแข่งขันครั้งนั้นไม่ได้แล้ว จำได้แต่ว่า เราชอบบรรยากาศการแข่งขันมากๆ เพราะมันเต็มไปด้วยคนแปลกหน้าที่เป็นมิตรกับเรา และมาช่วยเราตอบคำถาม  ซึ่งอาจจะเรียกได้ว่าเป็นการโกง คือเราเองก็ไม่เคยเจออะไรแบบนี้มาก่อน แต่เราชอบบรรยากาศแบบนี้ 555

คือตอนที่การแข่งขันเริ่มต้น เราสังเกตดูแล้วก็พบว่า มันน่าจะมีผู้แข่งขันเพียงแค่ 10% เท่านั้นเองมั้ง ที่ “เอาจริง” กับการแข่งขัน ไม่คุยกับใคร ทำหน้าเคร่งเครียด ส่วนผู้แข่งขันอีก 90% นี่ เป็นมิตรกับคนแปลกหน้าหรือผู้แข่งขันคนอื่นๆเป็นอย่างมาก คือแต่ละคนจะมีกระดาษคำตอบของตนเองน่ะ แต่ผู้แข่งขันเหล่านี้ ต่างเต็มใจที่จะบอกคำตอบให้คนแปลกหน้าคนอื่นๆรู้แต่โดยดี คือเราชอบที่ผู้แข่งขันหรือคนแปลกหน้าเหล่านี้ ไม่ได้มองว่า “ผู้แข่งขันคนอื่นๆคือคนที่จะมาแย่งเงินแสนนึงไปจากกู” แต่กลับมองว่า “ผู้แข่งขันคนอื่นๆชอบดูหนังเหมือนเรา เพราะฉะนั้นเราจะช่วยเขา เพราะกูไม่สนเงินรางวัล กูมาแข่งเพื่อขำๆ” อะไรทำนองนี้

คือเราก็เลือกได้นะว่าจะทำตัวแบบไหนในการแข่งขัน แต่เราเองก็ไม่ได้สนเงินรางวัลอยู่แล้วน่ะ เรามาเพื่อขำๆ เพื่อความสนุกเหมือนกัน เพราะฉะนั้นเราก็เลยทำตัวกลมกลืนไปกับผู้แข่งขันคนอื่นๆที่ช่วยบอกคำตอบกันและกัน และทุกคนก็ตกรอบกันหมด 555

ในการแข่งขันครั้งนั้น มันมีอยู่หลายด่าน หรือหลายสถานี เราจำได้ว่า มันมีอยู่ด่านนึงที่เข้าไปในโรงหนัง แล้วเขาจะฉายฉากจากหนังเรื่องต่างๆขึ้นมา แล้วเราต้องตอบลงไปในกระดาษว่าฉากนั้นมาจากหนังเรื่องไหน

ปรากฏว่ามีเรื่องนึงที่มันเป็นฉากคุ้นๆ แต่เรานึกไม่ออกว่ามันมาจากเรื่องไหน ผู้หญิงแปลกหน้าคนนึงที่นั่งข้างๆเราก็เลยกระซิบบอกเราว่า “FORREST GUMP” เราก็เลยตอบไปตามที่เธอบอก นั่นแหละคือการโกงของเรา

ตอนหลังเราก็เลยถามเธอว่า ทำไมเธอจึงจำได้ว่ามันเป็นฉากจาก FORREST GUMP เธอก็ตอบว่า “เราดู FORREST GUMP ไป 7 รอบแล้วจ้ะ”

แล้วเราก็ได้มีโอกาสช่วยคนอื่นๆโกงด้วย เพราะมันมีอยู่ด่านนึง ที่เป็นโปสเตอร์หนัง โดยมีการพรางชื่อหนังกับเครดิตคนสร้างเอาไว้ ผู้แข่งขันต้องตอบให้ได้ว่าโปสเตอร์นั้นมาจากหนังเรื่องอะไร เราจำได้ว่าตอนนั้นเรายืนอยู่กับผู้แข่งขันที่เป็นคนแปลกหน้าประมาณ 10 คน ปรากฏว่าทุกคนตอบไม่ได้เลยว่ามันเป็นหนังเรื่องอะไร แต่เราตอบได้ว่ามันเป็นเรื่อง TOPSY-TURVY เราก็เลยบอกทั้ง 10 คนที่ยืนอยู่แถวนั้นว่า มันคือโปสเตอร์ TOPSY-TURVY จ้ะ และพวกเขาก็เลยจดคำตอบลงไปในกระดาษตามที่เราบอก

นี่แหละคือพฤติกรรมการโกงของเรา 555

พอนึกย้อนหลังกลับไปแล้ว เราก็รู้สึกว่าตัวเองตลกดีเหมือนกัน เพราะเราเป็นคนที่หนังอย่าง FORREST GUMP ไม่อยู่ในความทรงจำ แต่เป็นหนึ่งในผู้เข้าแข่งขันเพียงไม่กี่คนที่จดจำโปสเตอร์ TOPSY-TURVY ได้


อย่างไรก็ดี มีสิ่งหนึ่งที่เราแอบสงสัยมานานแล้ว นั่นก็คือว่า นอกจากคุณ Punya Pappayon และคุณฮูกแล้ว ในบรรดาเพื่อนๆ cinephiles ของเราใน Facebook นี้ มีใครอีกบ้างที่เคยเข้าร่วมในการแข่งขันครั้งนั้น คือการแข่งขันครั้งนั้นมันเป็นยุคก่อน Facebook น่ะ เพราะฉะนั้นหลายๆคนที่ช่วยเหลือเราในการแข่งขันครั้งนั้น เราก็ไม่มีโอกาสได้พบเจออีกเลยหลังการแข่งขัน เราก็เลยสงสัยว่า ตอนนี้เวลาผ่านมานาน 17 ปีแล้ว พวกเขายังคงเป็น cinephiles, ยังคงตามดูหนัง หรือเข้ามาอ่านบทบันทึกความรู้สึกของเราใน Facebook บ้างหรือเปล่า หรือว่าคนแปลกหน้าต่างๆที่เราเจอในการแข่งขันครั้งนั้น ได้แยกย้ายกันไปมีผัว นอนกกผัวกันอย่างอิ่มหนำสำราญกันหมดแล้ว ไม่ได้มาตามดูหนังอีก

BAD GENIUS (2017, Nattawut Poonpiriya, A+30)

BAD GENIUS (2017, Nattawut Poonpiriya, A+30)
ฉลาดเกมส์โกง

1.จริงๆแล้วช่วงนี้ไม่มีเวลาเขียนถึงหนังเรื่องไหนทั้งนั้น ตอนแรกอยากทำเพียงแค่จดบันทึกว่าให้เกรด A+30 แล้วบอกว่าชอบตอนจบของหนังเรื่องนี้มากๆ แต่กลัวว่าเขียนแค่นี้แล้วคนจะเข้าใจผิดอะไรบางอย่าง แล้วก็กลัวว่าในอนาคตตัวเองจะลืมไปด้วยว่า ทำไมถึงชอบตอนจบของหนังเรื่องนี้มากๆ ก็เลยคิดว่าจดบันทึกไว้ก่อนดีกว่า อนาคตตัวเองจะได้ไม่ลืมว่าทำไมถึงชอบตอนจบของหนัง

SPOILERS ALERT

--
--
--
--
--
--
--
--
--
--
คือตอนจบของหนังทำให้เราชอบหนังเรื่องนี้มากในระดับ A+30 แต่หนังเรื่องนี้คงไม่ถึงขั้นติดอันดับ top ten ประจำปีน่ะ เพราะในตอนจบ เราคงทำแบบนางเอก แต่ด้วยเหตุผลที่ไม่เหมือนกับนางเอก เพราะฉะนั้นเราจึงสะใจกับตอนจบ เพราะตัวละครทำในสิ่งที่เราเองก็คงเลือกที่จะทำ แต่เราก็ไม่ได้สะใจกับมันแบบสุดๆถึงขั้นที่จะติด top ten ประจำปี เพราะเหตุผลของนางเอกกับเหตุผลของเราคงไม่เหมือนกัน

แต่เราไม่ได้บอกว่าตอนจบของหนังเรื่องนี้ดีนะ คือถ้าคนบอกว่าตอนจบมันไม่ convincing เราก็ว่ามันฟังขึ้นในแง่นึงนะ คือจริงๆแล้วอีรินนี่ทำในสิ่งที่เราไม่เลือกที่จะทำตั้งแต่ต้นเรื่องอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าตอนจบมันเลือกทำแบบเดียวกับเราเท่านั้นเอง เพราะฉะนั้นในแง่ที่ว่าตอนจบมัน convincing หรือไม่ ก็เป็นประเด็นนึง เราเพียงแค่สะใจที่รินเลือกทำแบบเดียวกับเราในตอนจบเท่านั้น

แต่ถ้าเป็นเรา เราคงทำด้วยเหตุผลที่ต่างออกไปน่ะ คือเราคงทำแบบเดียวกับริน เพราะมันทั้งได้ “ทำลายตัวเอง” ด้วย และทำลาย “คนที่เราเกลียดชัง” ด้วย ซึ่งก็คือ พัฒน์, เกรซ และแบงค์ 555 คือถ้าเราเป็นริน เราคงเกลียดพัฒน์อย่างรุนแรงที่สุด เพราะเรารับไม่ได้กับการส่งคนไปทำร้ายแบงค์ แล้วเราก็เกลียดอีเกรซ คุณหนูอย่างมึงไม่มีวันเข้าใจความเจ็บปวดของกูหรอก เพราะฉะนั้นอีเกรซ มึงต้องเจอฤทธิ์ของกูบ้าง แล้วเราก็เกลียดแบงค์ในช่วงท้าย ที่พยายามข่มขู่เรา คือถ้ามึงคิดจะข่มขู่กู กูก็ยินดีฆ่าตัวตาย หรือทำในสิ่งที่คล้ายกับการฆ่าตัวตาย อย่างเช่นการสารภาพผิด แต่ก่อนที่กูจะฆ่าตัวตาย กูจะแผลงฤทธิ์ให้หนักที่สุดก่อน

เพราะฉะนั้นในตอนจบ เราก็คงทำแบบเดียวกับริน เพราะมันคล้ายๆกับการพลีชีพ หรือการฆ่าตัวตาย แต่เราจะไม่ทำเพื่อผดุงความยุติธรรม แต่เราจะทำเพื่อความสะใจที่ได้ทำลายตัวเองและทำลายคนที่เราเกลียดชังไปด้วยพร้อมๆกัน คือกูไม่สนเงินล้านสิบล้านอะไรอีกต่อไป กูไม่อยากมีอนาคตหรือมีชีวิตอยู่อีกต่อไป ความสะใจที่ได้ทำลายคนที่เราเกลียดชังนี่แหละ คือสิ่งที่กูขอทำก่อนตาย และมันก็ทำได้ง่ายๆเพียงแค่การพูดความจริงเท่านั้นเอง

เพราะฉะนั้นตอนจบของ BAD GENIUS ก็เลยสะใจเรามาก แต่ก็ไม่ถึงขั้นติด top ten ประจำปี เพราะ “การกระทำ” มันตรงใจเรา แต่ “เหตุผลในการกระทำ” มันไม่ตรงใจเรา

2.อันนี้ไม่เกี่ยวกับ BAD GENIUS โดยตรง คืออีกเหตุผลนึงที่ BAD GENIUS คงไม่ติด top ten ประจำปีเรา เพราะมันไม่มีตัวละคร “หญิงสาวที่หลงใหลในความตาย หรือมีแรงผลักดันในการทำลายตัวเอง” น่ะ แต่อันนี้ไม่ใช่ความผิดของ BAD GENIUS นะ หนังทุกเรื่องมันไม่ได้มีหน้าที่สร้างตัวละครให้เราอินอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าถ้าหากรินสารภาพผิดในตอนจบ เพราะ “อยากทำลายตัวเอง” ด้วย หนังเรื่องนี้ก็คงติด top ten ประจำปีของเราอย่างแน่นอน

ส่วนหนังที่จะติด top ten ประจำปีของเรา คือหนัง “สารคดี” เกี่ยวกับสงครามซีเรียเรื่อง THE WAR SHOW (2016, Obaidah Zytoon, Andreas Dalsgaard) และ A157 (2015, Behrouz Nouranipour) น่ะ และสาเหตุส่วนนึงเป็นเพราะว่า หนังสารคดีสองเรื่องนี้สัมภาษณ์เด็กสาวอายุ 11-13 ปี ที่พูดถึง “ความตาย” ได้อย่างหลอนมาก หรืออย่างฝังใจเราอย่างรุนแรงมากๆ คือในช่วงต้นของ THE WAR SHOW นั้น มีเด็กหญิงอายุ 11-12 ปี หน้าตาน่ารักสดใส ที่มาร่วมขบวนประท้วงประธานาธิบดี Bashar al-Assad อย่างกล้าหาญ แต่พอผู้สัมภาษณ์ไปสัมภาษณ์เด็กหญิงคนนี้ เด็กหญิงคนนี้ก็ดูเหมือนจะมีความหมกมุ่นอะไรบางอย่างกับความตาย และผู้สัมภาษณ์ก็เลย stunned ไปเลย ไม่รู้จะสัมภาษณ์เด็กหญิงคนนี้ต่อยังไงดี ส่วนในหนังสารคดีเรื่อง A157 นั้น subject คนนึงของหนังเป็นเด็กสาวอายุ 13 ปีที่พูดถึงเรื่องความตาย และต่อมาเธอก็ฆ่าตัวตายจริงๆ

3.สรุปว่าย่อหน้าเมื่อกี้ไม่เกี่ยวอะไรกับ BAD GENIUS เราแค่จะชี้ให้เห็นเท่านั้นแหละว่า หนังที่เข้าทางเราแบบสุดๆ มันต้องมีตัวละครแบบไหนเท่านั้นเอง ส่วน BAD GENIUS นั้น เราว่าก็บันเทิงดี เราชอบมันเหมือนหนังบอลลีวู้ดและหนังบางเรื่องของ Brian de Palma น่ะ คือเรารู้สึกว่ามัน “เร้าอารมณ์” เรามากเกินไปในบางจุดนะ แต่มันก็เป็นหนังที่จงใจสร้างมาเพื่อความบันเทิงและความเร้าอารมณ์น่ะ เราก็เลยไม่ได้เกลียดความเร้าอารมณ์ของมัน 555

4.อีกจุดนึงที่ทำให้ชอบ BAD GENIUS มากๆ นั่นก็คือเรารู้สึกมานานแล้วว่า ความสนุกในการดูหนัง thriller บางเรื่อง มันคล้ายๆกับความสนุกของเราตอนทำข้อสอบคณิตศาสตร์หรือข้อสอบวิชาบัญชีน่ะ 555 ซึ่งอันนี้อาจจะไม่ตรงกับความรู้สึกของหลายๆคน แต่สำหรับเรานั้น เรารู้สึกว่าตอนได้ทำข้อสอบคณิตศาสตร์ตอนมัธยมปลาย+ตอนเอ็นทรานซ์ นี่ มันเป็นอะไรที่สนุกตื่นเต้นเยี่ยวเหนียวลุ้นระทึกหีแตกมากๆ ซึ่งเป็นเพราะเราไม่เก่งเลขด้วย คือวิชาคณิตศาสตร์มันยากเกินไปสำหรับเรา แต่มันก็สนุกตื่นเต้นไปด้วยในเวลาเดียวกัน จำได้ว่าตอนเอ็นทรานซ์นี่ ข้อสอบเลขมี 100 ข้อ แต่กูทำไปได้แค่ 37 ข้อเท่านั้นเอง เวลาก็หมดแล้ว แต่มันเป็นหนึ่งในประสบการณ์ที่สนุกตื่นเต้นที่สุดในชีวิต การพยายามทำข้อสอบเลขให้ทันเวลานี่ เป็นประสบการณ์ที่มันส์จริงๆ

เราก็เลยชอบมากที่ BAD GENIUS เอา “ความลุ้นระทึก” ของหนังกับความลุ้นระทึกในการทำข้อสอบวิชาเลขมารวมกัน มันตรงกับใจเรามากๆ


ตอนปี 1990 เราสอบเลขเพื่อเอ็นทรานซ์เข้าคณะบัญชี แต่เรียนไปแล้วไม่ชอบ ก็เลยซิ่วมาเข้าคณะอักษรศาสตร์ในปีต่อมา ซึ่งตอนเรียนคณะอักษรศาสตร์นี่ เราไม่เคย “ลุ้นระทึก” ตอนสอบเหมือนตอนเอ็นทรานซ์เลยนะ เพราะเราได้เรียนในวิชาที่ “ชอบ” น่ะ มันก็เลยไม่รู้สึกหีแตกตอนสอบ ซึ่งต่างกับตอนเอ็นทรานซ์เข้าคณะบัญชี แล้วต้องสอบเลข ประสบการณ์ตอนนั้นนี่แหละ คือประสบการณ์ทำข้อสอบแล้วรู้สึกสนุกตื่นเต้นหีแตกที่สุดในชีวิตของเรา