Sunday, July 31, 2016

MEMORY OF LOVE (2016, Pratchaya Wongananta, A+30)

MEMORY OF LOVE (2016, Pratchaya Wongananta, A+30)

ดูหนังได้ที่นี่

SPOILERS ALERT
--
--
--
--
--
1.อันนี้เป็นภาคสองต่อจาก JOURNEY OF LOVE เพื่อนรัก รักเพื่อน (2015) และภาคสองนี้ก็ยังคงครองความเป็น guilty pleasure ของเราเหมือนภาคแรก คือมันไม่ใช่หนังที่เราคิดว่าเป็นหนังดีแบบหนังอาร์ทหรือหนังที่มีสุนทรียะทางศิลปะแบบเต็มที่ แต่มันเป็นหนังที่บันเทิงมากๆสำหรับเรา

2.ชอบคนที่เล่นเป็นซีเคมากๆ คือคนนี้เล่นหูเล่นตาได้ดีมาก แสดงอารมณ์ยั่วทางแววตาได้ดีแบบสุดๆ

ดูแล้วทำให้คิดได้ว่า ถ้าหาก “หนังเกย์” มีดาวยั่วหรือนางอิจฉา ก็คงต้องเป็นตัวละครหรือนักแสดงที่มีความสามารถประมาณนี้แหละ คือหนังเมนสตรีมของไทยยุคก่อนมันจะมีตัวละครประเภทดาวยั่วหรือนางอิจฉาที่มีเสน่ห์ดึงดูดทางเพศเพื่อมายั่วพระเอกให้ไขว้เขว ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นสาวนมโตที่เล่นหูเล่นตาแพรวพราว แต่ในหนังเกย์นั้น เราไม่ค่อยเจอตัวละครประเภทนี้มากนัก จนกระทั่งมาเจอตัวละครซีเคในหนังเรื่องนี้นี่แหละ ที่การเล่นหูเล่นตา แววตายั่วเย้ายั่วยวนของเขา ทำให้นึกถึงตัวละครดาวยั่วในหนังไทยยุคก่อนมากๆ

3.แต่ก็ดีนะที่ถึงแม้ตัวละครซีเคอาจจะมีภาพลักษณ์ภายนอกเป็น stereotype ของดาวยั่ว แต่หนังก็ไม่ได้ทำให้ตัวละครตัวนี้ลงเอยด้วยการเป็นเพียงแค่ดาวยั่วที่ไม่มีหัวใจ เพราะในท้ายที่สุดแล้ว ตัวละครตัวนี้ก็เป็นมนุษย์ที่แอบเจ็บปวดอยู่เหมือนกัน

4.เราชอบ intimate moments หลายๆอันในภาคสองด้วย คือในภาคแรกนั้น เราว่าหนังมันสนุกที่สถานการณ์ แต่ในภาคสองนั้น เราว่ามันมี moments หลายๆ moments ที่โรแมนติกดีระหว่างตัวละครพระเอกสองคน เหมือนกับว่าภาคแรกสิ่งที่สำคัญคือ “เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น” แต่ภาคสองมันเริ่มมีการลงลึกใน “อารมณ์ความรู้สึก” ในสถานการณ์ที่ตัวละครอยู่ใกล้ชิดกันด้วย

ซึ่งอันนี้เป็นจุดที่เราชอบใน เชน/ชาย หรือ BEST BROTHERS (A+20) ของผู้กำกับคนนี้ด้วยนะ คือใน BEST BROTHERS นั้น มันมีฉากที่ตัวละครลูกพี่ลูกน้องหนุ่มสองคนคุยกัน แล้วเราว่า moments นั้นมันดี

5.ส่วนจุดที่เราว่ามีปัญหาใน MEMORY OF LOVE ก็คือในนาทีที่ 22 ที่ฉากที่พระเอกสองคนกำลังจะจูบกัน แล้วเราเห็นคนนึงผลักอีกคนนึงออกไป แต่ปรากฏว่าทั้งสองคืนดีกันแล้ว คือในฉากนั้นคนดูทุกคนงงมากๆว่ามันคืนดีกันได้ยังไง เพราะเราเห็นคนนึงผลักอีกคนออกไป แทนที่จะจูบกันอย่างดูดดื่ม ก็เลยงงๆกันไปพักนึง


6.สรุปว่า MEMORY OF LOVE อาจจะไม่ใช่หนังดีที่ตัวละครเป็นมนุษย์อย่างเต็มที่แบบละครทีวีเกย์ QUEER AS FOLK หรือหนังดีหลายๆเรื่อง แต่มันเป็นหนังบันเทิงที่ตอบสนองความต้องการทางเพศของผู้ชมเฉพาะกลุ่มได้ดีมากๆ 555

Tuesday, July 26, 2016

THINGS TO COME (2016, Mia Hansen-Løve, France, A+30)

THINGS TO COME (2016, Mia Hansen-Løve, France, A+30)

1.ชอบมากที่หนังเรื่องนี้สามารถนำเสนอหลากหลายด้านในชีวิตมนุษย์คนหนึ่งได้ โดยไม่ได้โฟกัสไปที่ด้านใดด้านหนึ่งแบบหนังทั่วไป คือในหนังเรื่องนี้ เราเห็นหลากหลายด้านในชีวิตของนาตาลี (Isabelle Huppert) ทั้งการทำงานของเธอในฐานะครูสอนปรัชญา, ปฏิกิริยาที่เธอมีต่อกระแสสังคมในตอนนั้นที่เด็กๆนักเรียนลุกขึ้นมาต่อต้านการเปลี่ยนแปลงกฎหมายเพื่อให้เกษียณอายุตอน 67 ปี, ปัญหาของเธอกับสำนักพิมพ์ที่ตีพิมพ์ผลงานของเธอ, ความสัมพันธ์ของเธอกับลูกศิษย์หนุ่มหล่อ, ความสัมพันธ์ของเธอกับสามี, ความสัมพันธ์ของเธอกับคุณแม่เจ้าปัญหา และเหตุการณ์เล็กๆน้อยๆมากมายในชีวิต

2.ดูจบแล้วรู้สึกว่าการทำหนัง+เขียนบทอะไรแบบนี้มันยากมาก เพราะความดราม่าของมันถูกทำให้เจือจางกว่าหนังทั่วไปเป็นอย่างมาก เพราะผู้สร้างหนังเลือกที่จะนำเสนอชีวิตมนุษย์ธรรมดาคนหนึ่งที่มีปัญหาหลากหลายด้านในชีวิต แต่นางเอกเป็นมนุษย์ธรรมดา ไม่ได้เป็นมนุษย์ที่มี “ชีวิตบัดซบ” เป็นมนุษย์ชนชั้นกลางที่พูดจริงๆแล้วชีวิตมึงอาจจะสบายกว่ากูตอนนี้หลายเท่านัก หรือจริงๆแล้วชีวิตเขาอาจจะไม่ได้สบายนักก็ได้ แต่หนังเลือกที่จะไม่ไปโบยตี หรือขับเน้นความดราม่าในชีวิตเขาออกมามากเกินไป

3.จริงๆแล้วฝรั่งเศสชอบทำหนังเกี่ยวกับชีวิตหญิงวัยกลางคน แต่พอดูเทียบกันแล้ว สิ่งที่โดดเด่นมากใน THINGS TO COME ก็คือการที่หนังเลือกที่จะนำเสนอหลากหลายด้านในชีวิตนางเอกนั่นแหละ แทนที่จะเลือกนำเสนอแค่ 1-2 ด้านเหมือนหนังเรื่องอื่นๆ ซึ่งแน่นอนว่าการนำเสนอแค่ 1-2 ด้านแบบในหนังเรื่องอื่นๆมันเป็นอะไรที่ง่ายกว่ามาก มันง่ายต่อการเขียนเส้นเรื่อง, พัฒนา conflicts ตัวละครมีปัญหาใหญ่ที่ชัดเจน และหนังก็สามารถเล่าเรื่องเกี่ยวกับปัญหาใหญ่นั้น และนำไปสู่การคลี่คลายของปัญหาใหญ่ในตอนจบ โดยที่อาจจะมี subplot แทรกเข้ามาในเรื่องบ้างสัก 1-2 อัน

แต่พอเป็นหนังที่นำเสนอชีวิตนางเอกแบบหลากหลายด้านแบบ THINGS TO COME เราพบว่าเราเจอหนังแบบนี้น้อยมาก และมันยากมากๆที่จะเขียนบท/กำกับหนังที่ส่องสะท้อนชีวิตมนุษย์ได้หลากหลายด้านแบบนี้

4.คือลองเปรียบเทียบกับหนัง “ชีวิตหญิงวัยกลางคน” ของฝรั่งเศสเรื่องอื่นๆ ที่เราเองก็ชอบสุดๆเหมือนกัน เราจะเห็นได้ชัดเลยว่า หนังกลุ่มนี้มันจะไม่ “หลากหลายด้าน” แบบนี้ ยกตัวอย่างเช่น

4.1 AUTUMN TALE (1998, Eric Rohmer) นางเอกหนังเรื่องนี้มีลูกที่โตแล้วเหมือนนางเอก THINGS TO COME แต่หนังโฟกัสไปที่ปัญหา “ความรัก” ในชีวิตนางเอกเป็นหลัก

4.2 TO DIE OF LOVE (2009, Josée Dayan) นางเอกหนังเรื่องนี้ (Muriel Robin) เป็นครูโรงเรียนมัธยมที่เคยเป็น “นักประท้วง” ในปี 1968 ในฝรั่งเศสมาแล้ว (เหมือนนางเอก THINGS TO COME) และเธอก็พบรักกับนักเรียนมัธยมชายคนหนึ่ง แน่นอนว่าหนังเรื่องนี้ก็เน้นที่ประเด็นความรักเป็นหลักเช่นกัน

4.3 IN THE COURTYARD (2014, Pierre Salvadori) ในหนังเรื่องนี้ Catherine Deneuve รับบทเป็นผู้หญิงที่เหมือนจะเป็นบ้า ชอบคิดว่าตึกจะถล่มลงมา หนังเน้นไปที่ความสติไม่ดีของนางเอกเป็นหลัก

4.4 ONCE IN A LIFETIME (2014, Marie-Castille Mention-Schaar) ในหนังที่สร้างจากเรื่องจริงเรื่องนี้ Ariane Ascaride รับบทเป็นครูโรงเรียนมัธยมเหมือนนางเอก THINGS TO COME แต่หนังโฟกัสไปที่ความสัมพันธ์ของเธอกับลูกศิษย์เป็นหลัก เพราะหนังพูดถึงการที่เธอพยายามผลักดันกลุ่มลูกศิษย์ที่เป็นเด็กเหลือขอให้หันมาสนใจศึกษาเล่าเรียนให้ได้

4.5 BEWARE OF MY LOVE (1998, Jeanne Labrune) ในหนังเรื่องนี้ Nathalie Baye รับบทเป็นนักเขียนหญิงวัย 50 ปีที่พบรักใหม่กับหนุ่มอันตรายคนนึง หนังเน้นไปที่ความสัมพันธ์แบบโรคจิตอ่อนๆของนางเอกกับพระเอกเป็นหลัก

5.หรือถ้าหากเทียบกับหนังไทย หนังไทยส่วนใหญ่ที่พูดถึงชีวิตหญิงวัยกลางคน ก็อาจจะไม่หลากหลายด้านเท่า THINGS TO COME เช่นกัน ถึงแม้ว่ามันจะเป็นหนังไทยที่เราชอบสุดๆ อย่างเช่นเรื่อง

5.1 THIS IS MY MOTHER (2015, Aticha Kanjanawat) หนังเรื่องนี้มีนางเอกเป็นหญิงวัยกลางคนที่อยากมีผัวเป็นภารโรง แต่ถูกแม่ผู้ชราขัดขวาง

5.2 BE A PAST (2016, Weerasu Worrapot) ตัวละครหญิงวัยกลางคนในเรื่องนี้เผชิญปัญหาหลากหลายด้านมากพอสมควร ทั้งปัญหาการทำงาน, ปัญหากับลูกสาว  และเรื่องผู้ชายคนใหม่ในชีวิตของเธอ

6.สรุปที่ลิสท์รายชื่อหนังต่างๆมาข้างต้น ก็เพื่อแสดงให้เห็นว่า เราชอบ THINGS TO COME เพราะพอนำมันไปเปรียบเทียบกับหนังเรื่องอื่นๆแล้ว เราก็พบว่ามันนำเสนอชีวิตนางเอกได้หลากหลายด้านมากกว่าหนังที่กล่าวมาข้างต้นนี่แหละ ถึงแม้ว่าเราจะชอบหนังกลุ่มข้างต้นมากๆเช่นกัน

แต่ THINGS TO COME ก็ทำให้เรานึกถึงหนังเรื่องอื่นๆที่เราชอบสุดๆเพราะมันมีคุณสมบัติบางอย่างคล้ายๆ THINGS TO COME โดยคุณสมบัตินั้นก็คือ การนำเสนอ “ชีวิต” ในแบบหลากหลายด้าน โดยลดความดราม่าในชีวิตของตัวละครลง โดยในหนังกลุ่มนี้ตัวละครอาจจะมี “ปมปัญหาหลัก” ก็จริง แต่หนังกลุ่มนี้มันดูเหมือนมีหลายฉากในเรื่องที่นำเสนอสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับปมปัญหาหลักของตัวละครเอกแต่อย่างใด  โดยหนังกลุ่มนี้มักจะใส่ “ฉากที่ดูเหมือนไม่เกี่ยวกับประเด็นหลัก” ของหนังเข้ามา แต่ฉากเหล่านี้กลับทำให้เรารู้สึกดีงามมากๆ เพราะมันทำให้ตัวละครในหนังดูเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ แทนที่จะเป็นเพียงแค่ “ผู้หญิงวัยกลางคนที่มีปัญหา A และเราต้องมาดูว่าเธอจะแก้ปัญหา A ได้หรือไม่” ตัวละครในหนังกลุ่มนี้เป็นมนุษย์ที่เรายากจะสรุปเขาให้เป็นประโยคเพียงหนึ่งประโยคได้

ไม่รู้เหมือนกันว่าหนังกลุ่มที่เราชอบสุดๆนี้เรียกว่าอะไร เราขอเรียกมันในที่นี้ว่า หนังกลุ่ม diluted drama ก็แล้วกัน หรือหนังที่ทำให้อารมณ์ดราม่าในหนังเจือจางลงกว่าหนังทั่วไป

หนังในกลุ่มนี้ก็มีเช่น

6.1 LATE AUGUST, EARLY SEPTEMBER (1998, Olivier Assayas) นำแสดงโดย Mia Hansen-Løve

6.2 A WEEK’S VACATION (1980, Bertrand Tavernier)

6.3 MY SEXUAL LIFE (HOW I GOT INTO AN ARGUMENT) (1996, Arnaud Desplechin) ถึงแม้หนังจะเน้นความสัมพันธ์รักหนุ่มสาวเป็นหลัก แต่ฉากที่ดูแล้วลืมไม่ลงในหนังเรื่องนี้ แม้เวลาจะผ่านมา 20 ปีแล้ว ก็คือฉากตัวละครตัวนึงเจ็บคอ พูดไม่ได้ คือฉากนี้เหมือนไม่เกี่ยวอะไรกับประเด็นหลักของเรื่องเลย แต่ทำไมมันถึงฝังใจเรามากก็ไม่รู้

6.4 AFTERNOON (2007, Angela Schanelec)

6.5 DREILEBEN – DON’T FOLLOW ME AROUND (2011, Dominik Graf) หนังเรื่องนี้ดูเหมือนจะ “ดราม่า” กว่าหนังเรื่องอื่นๆ ในกลุ่มนี้ เพราะมันพูดถึงตำรวจสาวคนนึงที่ตามล่าจับฆาตกรโรคจิต แต่สิ่งที่ทำให้เราชอบหนังเรื่องนี้อย่างสุดๆคือสิ่งเดียวกับที่ทำให้เราชอบ THINGS TO COME เพราะแทนที่หนังเรื่องนี้จะเป็นหนังทริลเลอร์ตามล่าฆาตกรโรคจิต หนังเรื่องนี้กลับนำเสนอหลากหลายปัญหาในชีวิตของตำรวจหญิงคนนี้แทน

6.6 SEE YOU TOMORROW พบกันใหม่โอกาสหน้า (2015, Nattawoot Nimitchaikosol)

6.7 9/11 (2016, Pavinee Boonmee) หนังสั้นเรื่องนี้อาจจะมี “ประเด็นหลัก” แต่เราชอบมากที่หนังเรื่องนี้เหมือนให้เวลาราว 80% ของเรื่องไปกับการนำเสนอกิจวัตรประจำวันของเด็กชายคนนึง แทนที่จะพยายามขับเน้น “ประเด็นหลัก” ของเรื่องอย่างชัดเจน

6.8 CRACKS OF EMPTINESS (2016, Preechamon Sumalee) หนังสั้นเรื่องนี้ก็อาจจะมี “ประเด็นหลัก” เช่นกัน แต่เราชอบมากที่หนังเรื่องนี้เหมือนจะนำเสนอกิจวัตรประจำวันของนางเอกไปเรื่อยๆ

7.ส่วนฉากที่ชอบที่สุดใน THINGS TO COME คือฉากที่นางเอกเอาดอกไม้ในแจกันไปทิ้ง เราว่าฉากนี้หนังจับอารมณ์และความรู้สึกนึกคิดของตัวละครได้ละเอียดมาก แบบทุกเสี้ยววินาทีเลย ทั้งๆที่เหตุการณ์นี้ดูเหมือนไม่มีความสำคัญอะไรกับตัวเนื้อเรื่องเลย ตั้งแต่นางเอกเห็นดอกไม้แล้วไม่พอใจ เธอเลยจะเอาไปทิ้งถังขยะ แต่รูถังขยะมันเล็กเกินไป นางเอกพยายามยัดช่อดอกไม้เข้าไป แต่ทำไม่สำเร็จ และเธอก็เหมือนโดนหนามแทงจนเจ็บมือ เธอเอาดอกไม้ใส่ถุงไปทิ้งถังขยะข้างนอก แต่ก็เดินกลับมาเอาถุงพลาสติกกลับไป

คือเหตุการณ์ปัญหาเล็กๆน้อยๆแบบนี้นี่แหละคือสิ่งที่เราเจอในชีวิตประจำวัน แต่เราแทบไม่เคยเจอมันได้รับการนำเสนอใน “ภาพยนตร์” มาก่อน ยกเว้นในภาพยนตร์กลุ่ม diluted drama ข้างต้นที่มักจะมีฉากอะไรแบบนี้สอดแทรกเข้ามา

8.ชอบ “ความกลับไปกลับมา” ของอะไรหลายๆอย่าง ทั้งแมวที่หนีไปแล้วก็กลับมา แล้วแมวก็จากนางเอกไปอีกที, การที่นางเอกไปเที่ยว แต่ไปได้ไม่ตลอด เพราะต้องวิ่งกลับมาดูแลแม่ หรือการที่นางเอกไปเที่ยวได้ระยะนึง แล้วเธอก็รับโทรศัพท์ แล้วก็บอกว่าเกิดปัญหาอะไรสักอย่างที่บ้าน แล้วก็วิ่งกลับมาบ้าน

ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าทำไมเราถึงชอบอะไรแบบนี้ หรืออาจจะเป็นเพราะว่ามันเหมือนเป็นการนำเสนอ “ความไม่ราบเรียบ” เล็กๆน้อยๆของชีวิตน่ะ

9.การที่ชีวิตนางเอก THINGS TO COME เจอปัญหาที่ไม่คาดฝันเข้ามาเป็นระยะๆ อย่างเช่นแม่ตาย, ผัวทิ้ง, มีผู้ชายเดินตาม, สำนักพิมพ์ไม่พิมพ์หนังสือ มันทำให้นึกถึงฉากจบของ GOODBYE FIRST LOVE (2011, Mia Hansen-Løve, A+30) ด้วยนะ ซึ่งฉากจบของหนังเรื่องนี้เราว่ามันสะท้อน “สัจธรรม” มากๆสำหรับเรา และมันเข้ากับชีวิตเราในปีนี้มากๆด้วย

คือในฉากจบของ GOODBYE FIRST LOVE นั้น นางเอกไปเล่นน้ำที่ลำธาร เธอเอาผ้าผืนนึงวางไว้ที่โขดหิน เธอเอาก้อนหิน 4 ก้อนมาวางทับมุมของผ้าผืนนั้น เพื่อให้ผ้าผืนนั้นไม่ปลิว เหมือนเธอระมัดระวังเป็นอย่างดีที่สุดแล้ว เธอเอาก้อนหินวางทับผ้านั้นไว้อย่างดีแล้ว แต่อยู่ดีๆลมก็พัดมา และทำให้หมวกของเธอปลิวไป และเธอก็ต้องตามหมวกที่ปลิวนั้นไปเรื่อยๆ เรื่อยๆ สุดแต่ว่าลมนั้นจะพัดพาหมวกเธอปลิวไปขึ้นเขาลงห้วยลงเหวที่ไหน

เราว่าฉากจบของ GOODBYE FIRST LOVE มันก็คล้ายกับชีวิตนางเอกของ THINGS TO COME และนางเอกของ FATHER OF MY CHILDREN (2009, Mia Hansen-Løve) ที่อยู่ดีๆชีวิตก็สร้างปัญหามาให้อย่างไม่คาดฝัน และเราก็ทำอะไรไม่ได้ นอกจากต้องกัดฟันรับมือสู้ชีวิตต่อไป

ฉากจบของ GOODBYE FIRST LOVE มันทำให้เรานึกถึงชีวิตตัวเราเองในปีนี้อย่างมากๆด้วยแหละ เพราะช่วงต้นปีนี้ เรานึกว่าเราคุมชีวิตตัวเองได้ดีในระดับนึงแล้ว เราพยายามลดปัญหาต่างๆในชีวิตเราลงไปให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้แล้ว แต่อยู่ดีๆก็เกิดเหตุร้ายแรงบางอย่างขึ้นในชีวิตเราอย่างไม่คาดฝัน และทำให้ชีวิตเราพลิกผันไปอย่างรุนแรง แทบจะเอาชีวิตไม่รอด


ถ้าจะถามว่า GOODBYE FIRST LOVE กับ THINGS TO COME ต้องการบอกอะไรกับคนดู เราก็คงตอบคำถามนี้ไม่ได้ เพราะเราไม่รู้ว่าผู้สร้างหนังเรื่องนี้ต้องการบอกอะไรกับคนดู แต่เราชอบหนังสองเรื่องนี้มากๆ เพราะปัจจัยนึงก็คือว่า เรารู้สึกว่ามันนำเสนอสัจธรรมบางอย่างของชีวิตมนุษย์ได้อย่างตรงใจเรานี่แหละ โดยเฉพาะ “ความคาดเดาอะไรไม่ได้ของชีวิต” อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา QUE SERA SERA WHATEVER WILL BE WILL BE จริงๆจ้ะ

WE DREAM OF MOVIES (2015, Du Haibin, China, documentary, A+30)

WE DREAM OF MOVIES (2015, Du Haibin, China, documentary, A+30)

งดงามมากๆ หนังเป็นการสัมภาษณ์คนเล็กคนน้อยต่างๆที่เกี่ยวข้องกับภาพยนตร์ในจีน ทั้งตัวประกอบ, คนทำงานโรงหนัง, นักวิจารณ์, คนดูหนัง, แฟนคลับดารา โดยที่หนังนำเสนอภาพชีวิตเล็กๆน้อยๆของคนเหล่านี้ โดยไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับภาพยนตร์เอาไว้ด้วย

ฉากที่ติดตามากๆ คือฉากที่สองสาวกรี๊ดกร๊าด Jing Boran ตอนไปโปรโมทหนังเรื่อง MONSTER HUNT (2015, Raman Hui) และสองสาวก็เลยปลอมลายเซ็น Jing Boran ไปหลอกเพื่อนๆ แต่พอสองสาวบอกเพื่อนๆว่ามันเป็นลายเซ็นปลอม เพื่อนๆก็ยังคงต้องการลายเซ็นปลอมอันนั้นอยู่ดี

ฉากจบก็งดงามมากๆ ที่เป็นตัวประกอบคนหนึ่งเดินไปเจอต้นไม้ และเลยปีนป่ายต้นไม้ขึ้นไป มันดูเป็นฉากที่ไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นหลักของเรื่อง แต่มันให้อารมณ์ที่งดงามจริงๆ


มีการสัมภาษณ์ชายหนุ่มคนหนึ่งที่เพิ่งดูหนังเสร็จ และเขาเล่าเรื่องคนทะเลาะกันในโรงหนังด้วย โดยฉากนี้อยู่ในช่วง end credit

Thai Films I saw on Saturday, 16 July, 2016

Thai Films I saw on Saturday, 16 July, 2016

1.A Letter to Bubble Home, Written by a Man who Died from Cancer, Calling for Help (ศิศุ สาตราวาหะ/อุกฤษฎ์ มาลัย/Tsai Shang Chi/กานต์ชนิต โพธิ์สวัสดิ์/ณพล วรรณโชติ/วรินดา ณรงค์ฤทธิคุณ, 2016, A+30)

2.A Little Tiger (ณัฐพล รักขธรรม, 2016, A+30)

3.A Part Ment (วิทยา กัณทาพันธุ์, 2015, A+30)

4.9/11 (ภาวิณี บุญมี, 2016, A+30)

5.83 Soi Soonvijai 14 (ธีร์ธวัช ใต้ฟ้ายงวิจิตร, 2016, A+30)

6.68/77 (นิรุตติ ศรีบุญเรือง, 2015, A+30)

7.A Part of Park: The Series – เศษหนึ่งส่วนรัก (นรวิชญ์ สาคริกานนท์, 2015, A+30) 

8.A Conversation of Fat and Thin (จักรพันธ์ ศรีวิชัย, 2016, A+30)

9.10 Audiences (จักรพันธ์ ศรีวิชัย, 2016, A+25)

10.3rd Personal (ปฐมพงษ์ แพรสมบูรณ์, 2015, A+25)

11.After Effect ระหว่างความรู้สึก (เปมิกา แสนพวง, 2016, A+25) 

12.15:20 (สวรุส คูณประไพสิทธิ์, 2015, A+25)

13.#WTRAPSU: Will the Real Alien Please Stand Up? (กันตพล ดวงดี, 2016, A+25)

14.A Part of Park: The Series – โชคชะตา (ธีรภัทร สมบัติวงศ์, 2015, A+25)

15.@iamnicha (ศิรดา หฤทัยพันธน์, 2016, A+20)

16.-199- (สวิตา ศีลตระกูล, 2015, documentary, A+10)

17.1 2 3 จงมีความสุข (เจษฎา อันนันหนับ, 2016, A+10 )

18.Impersonal (รัก)ล่องหน (อธิยุต ปัญญาดิลกพงศ์, 2016, A+5 )

19.๔ สูญ (ปริชมน สุมาลี/พิมพกานต์ อินทะโส, 2015, A+)

20.1x1 (เปรมปพันธ ผลิตผลการพิมพ์, 2015, A+ )

21.7 เกม (รัตนาภา ภักดีป้อง, 2016, A)

22.A Lifetime (วัฒนธรรม ทรัพย์เกิด, 2016, A)

23.24 Ours (อภิสมา ถกลวิโรจน์, 2015, A)

24.A Very Fabulous Film (เปรมปพันธ ผลิตผลการพิมพ์, 2016, A-)

25.8.59 พลาด (นัฐชานันท์ น้อยพิทักษ์, 2016, A-)

26.202 (ณัฐวีณ์ เพลินธนกิจ, 2016, B+ )

KLOSE (2016, Asamaporn Samakphan, 40min, A+30)

KLOSE (2016, Asamaporn Samakphan, 40min, A+30)

1.ชอบมากที่หนังเฉลยตั้งแต่ช่วงต้นเรื่องว่า พระเอก... แทนที่จะนำเรื่องนี้มาใช้เป็นจุดหักมุมหรือ surprise ในช่วงหลังของหนัง

2.ชอบการเล่นกับความแตกต่างของ texture ของภาพ ระหว่างภาพในอดีตที่เหมือนถ่ายด้วยกล้องแบบ video diary กับภาพของเหตุการณ์ในยุคปัจจุบัน

ถ้าจำไม่ผิด KLOSE เป็นหนึ่งในหนังไทยไม่กี่เรื่องที่เอาจุดนี้มาใช้ในการพูดถึง เพื่อนนะ เพราะหนังไทยส่วนใหญ่ที่เล่นกับความแตกต่างด้านภาพวิดีโอยุคเก่ากับภาพยุคปัจจุบันแบบนี้ มักจะเป็นหนังที่พูดถึง ครอบครัวน่ะ อย่างเช่นหนังเรื่อง เจ้าแม่กวนอิม เราจะไม่ทานเนื้อ” HOME USER (2015, Wanruedee Pungkuamchob), MY GRANDFATHER’S PHOTOBOOK (2015, Nutthapon Rakkatham + Phatthana Paiboon) และ 83 SOI SOONVIJAI 14 (2016, ธีร์ธวัช ใต้ฟ้ายงวิจิตร)

3.จริงๆแล้วเราไม่ได้อินกับหนังเรื่องนี้เป็นการส่วนตัว เราก็เลยอาจจะไม่ได้รู้สึกอินกับฉากการสนทนายาวๆในช่วงท้ายของหนังมากนัก แต่ถึงแม้เราจะไม่ได้อินกับฉากการสนทนายาวๆนี้ เราก็ชอบที่หนังมันกล้าจะที่ถ่ายทอดฉากนี้ออกมายาวๆโดยไม่ได้เร้าอารมณ์คนดู มันเหมือนกับว่ามันมีความรู้สึกรุนแรงที่อยากถ่ายทอดออกมา มันก็ถ่ายทอดออกมาอย่างจริงใจ แทนที่จะถ่ายทอดออกมาโดยการตั้งเป้าว่า ฉันต้องทำให้คนดูร้องไห้ให้ได้เหมือนหนังทั่วไป 

เรารู้สึกว่าหนังถ่ายทอดความรู้สึกสูญเสีย, ความรู้สึกผูกพันระหว่างตัวละครออกมาได้สูงมาก ซึ่งจุดนี้ทำให้เรานึกถึงหนังอีกเรื่องนึงที่แตกต่างจากหนังเรื่องนี้มากๆ ซึ่งก็คือเรื่อง MR. MAGORIUM’S WONDER EMPORIUM (2007, Zach Helm) สาเหตุที่นึกถึงหนังเรื่องนี้ขึ้นมาเป็นเพราะว่า เราไม่อินกับ MR. MAGORIUM เหมือนกัน แต่เรารู้สึกว่าทั้ง MR. MAGORIUM และ KLOSE มันมีการถ่ายทอดความรู้สึกสูญเสียของตัวละครคนนึงที่ผูกพันกับตัวละครอีกคนนึงออกมาได้อย่างรุนแรงมากๆเหมือนกัน

4.ไปๆมาๆแล้ว ฉากที่เราชอบมากที่สุดในหนัง คือฉากที่นางเอกพยายามไปปีนรั้วโรงเรียนทั้งๆที่เจ็บแผล แล้วพระเอกต้องคอยเตือนสติว่าอย่าทำอย่างนั้น

คือความรู้สึกชอบของเราที่มีต่อฉากนี้ มันคล้ายๆกับความรู้สึกชอบของเราที่มีต่อฉากนางเอกใน “303 กลัว กล้า อาฆาต” (1998, Somjing Srisupap) ที่ปีนตึกขึ้นไปเรื่อยๆหลังจากเพื่อนตาย กับฉากนางเอกใน MADELEINE (2015, Lorenzo Ceva Valla + Mario Garofalo) ที่เดินเท้าเปล่าเป็นระยะทางยาวไกลเพื่อเข้าเมือง ทั้งๆที่จริงๆแล้วนางเอกไม่จำเป็นต้องเดินเท้าเปล่าแบบนั้นก็ได้ 

คือ 3 ฉากนี้มันเหมือนกับว่าตัวละครหญิงถูกขับด้วยแรงผลักดันบางอย่างในใจของตัวเองน่ะ และแรงผลักดันนั้นมันทำให้ตัวละครกระทำอะไรบางอย่างที่ขัดกับหลักเหตุผลโดยสิ้นเชิง คือตัวละครในทั้ง 3 ฉากนี้ทำในสิ่งที่ไม่มีเหตุผล หรือไม่สมควรทำ แต่เราดูแล้วรู้สึก เข้าใจเป็นอย่างดีว่าตัวละครรู้สึกอย่างไรถึงทำในสิ่งที่ขัดกับเหตุผลแบบนี้

Films seen in Kang Jor 2016

Films seen in Kang Jor 2016

1.VIOLET MOON (รินรดา พรสมบัติเสถีย1ร, A+30)

2.HELLO AGAIN (นูรฮายา แหละตี, A+30)

รู้สึกอินกับนางเอกหนังเรื่องนี้มากๆ สิ่งหนึ่งที่เราชอบในหนังเรื่องนี้คือการที่มันมีบางจุดที่ ตรงข้ามกับหนังที่เราชอบสุดๆเรื่องอื่นๆ คือในหนังที่เราชอบสุดๆอย่างเช่นเรื่อง ISOLATE (2016, ภาษิต พร้อมนำพล) และ SMALL WORLD (2008, วสุนันท์ หุตเวช) นั้น การเดินทางกลับบ้านของนางเอก เป็นเหมือนการกลับไปอัดฉีดกำลังใจในการสู้ชีวิตต่อไป แต่ใน HELLO AGAIN นั้น การกลับบ้านไม่ได้ช่วยให้กำลังใจนางเอกในการสู้ชีวิตต่อไป บ้านไม่ได้มีสถานะเป็นบ่อน้ำทิพย์ที่ช่วยชโลมหล่อเลี้ยงจิตใจของนางเอก แต่การได้เจอเพื่อนเก่าเพียงเวลาสั้นๆต่างหาก ที่เหมือนจะช่วยหล่อเลี้ยงจิตใจนางเอกให้มีความสุขได้แม้เพียงช่วงสั้นๆ

3.KLOSE (Asamaporn Samakphan, 40min, A+30)

4.GLITTER & SMOKE (วิโอเลต วอเทียร์, A+25)

5.A YEAR AGO (ชัญญา จิวโชติกำจร, A+25)

6.GOODBYE (ธรรมนูญ จีระโสตถิกุล, A+20)

7.SOMETHING NEVER RUN BACK น้ำตกไม่ไหลย้อนกลับ (พิศาลสินท์ กอสนาน, A+20) 

8.BITTER, BETTER? (บุญฑณิกา นิ้มสมบูรณ์, A+20)

9.DRINK DRANK DUNK (อาทิมา เอี่ยมอธิคม, A+15)

10.ALO(N)E (วรันธร อริยพลกนกสิน, animation, A+15)

11.AN ANALOG NIGHT (พลภัทร ปิยะมาพาณิช, A)

12.BEE ON FLOWERS (เมวิกา เลิศสุวิมลกุล, A)

13.CHICKEN RICE, TIME MACHINE (จตุพงศ์ รุ่งเรืองเดชาภัทร์, A-)

14.”DAD, I’M GRADUATED” (แพรวภากร ชุมสาย ณ อยุธยา, A-)

15.STOIC DREAM (รัชตะ ทองรวย, B+)

NEW MUSIC VIDEOS SEEN IN WILDTYPE 2016

NEW MUSIC VIDEOS SEEN IN WILDTYPE 2016

1. YOUNG MAN (2016, Tani Thitiprawat, A+30)
คนหนุ่ม (ธนิ ฐิติประวัติ, A+30)

เป็นหนัง found footage ที่รุนแรงมากๆ

2.SHE WHO SACRIFICES HERSELF (2016, Thanawat Numcharoen, A+30)
เธอผู้เสียสละ (ธนวัฒน์ นุ่มเจริญ, A+30)

3.BAD GUYS (2016, Korn Kanogkekarin, A+30)
คนเลว (กร กนกคีขรินทร์, A+30)

ประวัติศาสตร์ที่หนังเรื่องนี้เล่ามาเป็นประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจมากๆ คือควรจะมีใครหยิบเรื่องราวยุคนั้นมาทำเป็นหนังได้แล้ว แทนที่จะทำแต่เรื่องของพระนเรศวรกับพระศรีสุริโยทัย คือถ้ามีคนหยิบประวัติศาสตร์อยุธยายุคนั้นมาทำเป็นหนัง เราอาจจะได้หนังดีๆอย่าง QUEEN MARGOT (1994, Patrice Chéreau) หรือ EDWARD II (1991, Derek Jarman) ก็ได้

4.THE SOUND OF FREEDOM (2016, Phuriphat Pruekamnuay, A+30)
เสียงเพลงแห่งเสรีภาพ (ภูริพัฒน์ พฤกษ์อำนวย, A+30)

5.DEMOCRACY (2016, Viriyaporn Quanni (Boonprasert), A+30)
ประชาธิปไตย (วิริญาพร คูญาณนี (บุญประเสริฐ), A+30)

6.YOU ARE MY FRIEND (2016, Pongtawee Srilasuk, A+30)
แกเพื่อนฉัน (พงษ์ทวี ศรีลาศักดิ์, A+30)

7.SPUN (2016, Nok Paksnavin, A+30)
สปัน (นฆ ปักษนาวิน, A+30)

8.HUMANS AND BUFFALOES (2016, Chantana Tiprachart, A+30)
คนกับควาย (ฉันทนา ทิพย์ประชาติ, A+30)

9.THE LIGHT FROM THE STAR OF FAITH (2016, Chulayarnnon Siriphol, A+30)
แสงดาวแห่งศรัทธา (Chulayarnnon Siriphol, A+30)

10.ARE YOU THAI? (2016, Niwat Putprasart, A+25)
คนไทยหรือเปล่า (นิวัต พุทธประสาท, A+25)

11.FISH’S KIDNEY CURRY (2016, Wachara Kanha, A+25)
แกงไตปลา (วชร กัณหา, A+25)

12.THE SOBBING OF SANGDAO (2016, Supamok Silarak, A+25)
แสงดาวสะอื้น (ศุภโมกข์ ศิลารักษ์, A+25)

13.LITTLE GIRL PRANG (2016, Kittipat Knoknark, A+25)
ดญ.ปรางค์ (กิตติพัฒน์ กนกนาค, A+25)

14. THE SONG OF THE MASS (2016, Eakalak Anantasomboon, A+20)
เพลงแห่งมวลชน (เอกลักษณ์ อนันตสมบูรณ์, A+20)

15.THE MEN WHO SCRUB THEIR OWN SHADOWS (2016, Theeraphat Ngathong, A+20)
คนเช็ดเงา (ธีรพัฒน์ งาทอง, A+20)

16.SO WARM (2016, Somghad Meeyen, A+20)
อุ่นจัง (สมเจตน์ มีเย็น, A+20)

17.STARS EYES HEARTS (2016, Teeranit Siangsanoh, A+20)
ดวงดาว ดวงตา ดวงใจ (ธีรนิติ์ เสียงเสนาะ, A+20)

18.A RABBIT, A TURTLE AND THE SUNLIGHT BIRD (2016, Mahmoo Studio, A+20)
กระต่ายกับเต่าและเจ้านกแสงตะวัน (Mahmoo Studio, A+20)

19.NIGHTMARE (2016, Jirapat Thaweechuen, A+15)
ฝันร้าย (จิรภัทร์ ทวีชื่น, A+15)

20.THE SUN SHINES ON THE FACE, THE SKY SHINES ON THE BACK (2016, Wichanon Somumjarn, A+15)
แดดส่องหน้า ฟ้าส่องหลัง (วิชชานนท์ สมอุ่มจารย์, A+15)

21.E LIAM (2016, Skan Aryurapong, A+15)
อีเลียม (สกัณห์ อายุรพงศ์, A+15)

Tuesday, July 19, 2016

Films seen for the first time in Filmvirus Wildtype 2016

Films seen for the first time in Filmvirus Wildtype 2016

1.BLACKBIRD (2016, Nattawoot Nimitchaikosol, A+30)
BLACKBIRD (ณัฐวุฒิ นิมิตชัยโกศล, A+30)
รู้สึกว่าณัฐวุฒิมีความละเอียดอ่อนมากๆในการถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกของตัวละคร เราว่าเขาจับความรู้สึกของตัวละครได้ในทุกๆวินาทีและถ่ายทอดมันออกมาได้

ประเด็นของหนังก็ถูกใจเรามากๆด้วย ในแง่หนึ่งมันทำให้นึกถึงหนังเรื่อง THE REUNION (2013, Anna Odell, Sweden, A+30) เกี่ยวกับหญิงสาวที่ผูกใจเจ็บกับเพื่อนเก่าในโรงเรียนมัธยม เพียงแต่ว่านางเอกของ BLACKBIRD ไม่ได้ต้องการจะแก้แค้น เธอเพียงแค่ต้องการจะถอยห่างเมื่อเพื่อนโรงเรียนเก่าพยายามจะเข้าใกล้ และเราเข้าใจความรู้สึกนี้ดี บางทีมันคล้ายๆกับการ “forgive but not forget” น่ะ ซึ่งมันคือสิ่งที่เราต้องทำกับมนุษย์หลายๆคนบนโลกใบนี้ นั่นก็คือเราจะไม่ไปแก้แค้นเขา ถึงแม้เขาเคยทำเลวกับเราไว้ แต่เราจะไม่ลืมว่าใครนิสัยเป็นอะไรยังไง เพื่อที่เราจะได้รู้ว่า กับคนนิสัยแบบนี้ เราควรทำตัวยังไง ควรอยู่ใกล้ไกลจากเขามากน้อยแค่ไหน

หนังเรื่องนี้เป็นหนังเรื่องที่ 4 ของณัฐวุฒิที่จะติดอันดับประจำปีของเราอย่างแน่นอน หลังจาก “ประมวลภาพและเสียงแห่งความผิดหวัง” และ “เสี้ยวหนึ่งของความเป็นไปได้ทั้งหมดในการให้ แต่จะรับหรือไม่รับก็แล้วแต่พิจารณา” ติดอันดับประจำปี 2014 ของเรา และ “พบกันใหม่โอกาสหน้า” ติดอันดับประจำปี 2015 ของเราไปแล้ว

2.TO MAKE A SHORT FILM (2016, Akkaphol Satum, A+30)
สร้างหนังสั้น (อรรคพล สาตุ้ม, A+30)
อรรคพล สาตุ้มกลายเป็นผู้กำกับในดวงใจของเราไปแล้ว หลังจากภาพยนตร์เรื่อง “บ้านของผม” (2015) ของเขาทำให้เราช็อคหัวใจวายคาโรงฉายหนังไปในปีที่แล้ว

“สร้างหนังสั้นเป็นหนังน่ารักๆ เกี่ยวกับกลุ่มเด็กหญิงตัวน้อยๆที่พยายามสร้างหนังสั้นเพื่อช่วยเหลือคนไม่ให้ฆ่าตัวตาย หนังคล้ายกับเป็นสารคดีในบางช่วง แต่พอเนื้อเรื่องดำเนินไปได้ราวครึ่งเรื่อง เราถึงเพิ่งตระหนักว่า “การฆ่าตัวตาย” ที่กลุ่มเด็กหญิงตัวน้อยๆในหนังเรื่องนี้พูดถึง คือการฆ่าตัวตายของคุณนวมทอง ไพรวัลย์!!!!!!!!!

ในแง่หนึ่ง “สร้างหนังสั้น” มันทำให้เรานึกถึงหนังโป๊ที่แทรกอยู่ในหนังเรื่อง THE NICE GUYS (2016, Shane Black) น่ะ นั่นก็คือหนังที่มาใน form ของหนังชั้นต่ำ ดูโง่ๆ ไร้เดียงสา ห่างไกลจากความเป็นหนังอาร์ตหรือหนังเพื่อสังคม แต่ภายใน form ที่ดูโง่ๆนี้ จริงๆแล้วมันซ่อนอะไรที่รุนแรงสุดขีดเอาไว้อย่างคาดไม่ถึง

3.THE EXTREMITY OF LIFE (2016, Korn Kanogkekarin, A+30)
สุดชีวิต (กร กนกคีขรินทร์, A+30)

สุดชีวิตจริงๆ

4.MRS. SUAY (Akkaphol Satum, A+30)
นางส่วย (อรรคพล สาตุ้ม, A+30)

อันนี้เหมือนเป็นหนังแนว “ให้ข้อมูล” สำหรับเปิดฉายในหน่วยงานราชการ, โรงพยาบาล หรือศูนย์ช่วยเหลือแรงงาน แต่สิ่งที่ทำให้เราร้องกรี๊ดกับหนังเรื่องนี้ก็คือว่า เราพบว่า “การที่กล้องโฟกัสผิดจุด” ในทุกฉากทุกซีนของหนังเรื่องนี้, การแสดงที่ไม่สมจริง หรือความคลาดเคลื่อนขององค์ประกอบทางภาพยนตร์อะไรบางอย่างในแต่ละฉากของหนังเรื่องนี้ มันทำให้เรามีสมาธิจดจ่อกับหนังและข้อมูลที่หนังพยายามจะให้มากๆ

คือถ้าหากหนังเรื่องนี้เป็นหนังที่แสดงแบบสมจริง, ถ่ายทำมาอย่างดี, องค์ประกอบทุกอย่างลงตัว เราอาจจะเบื่อมันก็ได้ หรืออาจจะไม่ตั้งใจฟัง “สาร” หรือ “ข้อมูล” จากหนังก็ได้ เพราะเรารู้สึกว่าสารของหนังเรื่องนี้ไม่เกี่ยวข้องอะไรกับเรา เพราะเราไม่ได้เป็นแรงงานต่างด้าว และเราไม่ได้เป็นนายจ้างของแรงงานต่างด้าวด้วย แต่พอหนังเรื่องนี้มีองค์ประกอบทุกอย่างคลาดเคลื่อน วิปริตแปรปรวนไปหมด เรากลับพบว่า “สาร” จากหนังเรื่องนี้ มันกลับเข้าหัวของเรามากๆ ซึ่งก็ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไม แต่มันเป็นอะไรที่น่าสนใจมาก ที่หนังที่มีองค์ประกอบหลายอย่างแปรปรวน วิปริตผิดเพี้ยน กลับส่ง “สาร” เข้าไปฝังในหัวของเราได้มากกว่าหนังที่องค์ประกอบลงตัว

ในแง่หนึ่ง หนังหลายๆเรื่องของอรรคพล สาตุ้มทำให้เรานึกถึง Jean-Luc Godard ที่มีการเล่นกับองค์ประกอบของหนังในแบบที่มันไม่ควรจะเป็น อย่างเช่น “การใส่ดนตรีระทึกขวัญ” เข้ามาในฉากที่ไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลย และพอเราพบ “องค์ประกอบ” ที่มันผิดที่ผิดทางแบบนี้ มันกลับสร้างความประทับใจอย่างรุนแรงมากๆได้

5.JEENA (Thamsatid Charoenrittichai, A+30)
JEENA (ธรรมสถิตย์ เจริญฤทธิชัย, A+30)
ธรรมสถิตย์เคยกำกับ “อีเมลหรือโทรศัพท์, รหัสผ่าน, ให้ฉันอยู่ในระบบต่อไป” (2015) ซึ่งเป็นหนังที่เล่นกับ “ความเงียบ” เหมือนกัน

ชอบตอนจบของหนังเรื่องนี้มากๆ เพราะตอนแรกเราไม่คิดว่ามันจะจบแบบนี้

6.RIVER OF THE DEATH (Karan Wongprakarnsanti, A+30)
RIVER OF THE DEATH (การันตร์ วงศ์ปราการสันติ, A+30)

การันตร์ทำหนังที่เข้าใจ “คนที่คิดจะฆ่าตัวตาย” ได้ดีจริงๆ จริงๆแล้วถ้าหากเราดูหนังเรื่องนี้ในปีที่แล้ว เราอาจจะไม่ได้ชอบมันมากขนาดนี้ก็ได้นะ แต่พอเราได้ดูหนังเรื่องนี้ในปีนี้ หลังจากเกิดเหตุการณ์รุนแรงอะไรบางอย่างขึ้นในชีวิตเรา เราก็พบว่าหนังเรื่องนี้มันให้ข้อคิดที่มีประโยชน์กับชีวิตเรามากๆ

7.FROM WOODY ALLEN TO THE FATHER (Namfon Udomlertlak น้ำฝน อุดมเลิศลักษณ์, documentary,  A+30)

ชอบมากที่คุณพ่อในหนังเรื่องนี้พูดถึงเรื่องของ พระภัททากุณฑลเกสาเถรี ที่อยากได้โจรหนุ่มเป็นผัวอย่างรุนแรงมาก เพราะตัวเราเองก็ชอบเรื่องของพระภัททากุณฑลเกสาเถรีมากๆเหมือนกัน จริงๆแล้วอยากให้มีคนนำเรื่องของพระเถรีรูปนี้มาสร้างเป็นหนังด้วยซ้ำ แทนที่จะสร้างแต่เรื่องของ “องคุลีมาล” ที่ซ้ำๆซากๆ

8.FAT BOY NEVER SLIM (Sorayos Prapapan สรยศ ประภาพันธ์, A+30)

ประเด็นดีมากๆค่ะ

9.THE AMNESIAC WOLF (Phuriphat Pruekamnuay, A+30)
หมาป่าความจำเสื่อม (ภูริพัฒน์ พฤกษ์อำนวย, A+30)

ดูแล้วงง แต่ชอบมาก

10.CAR 35 (Natthapong Prasri, A+30)
รถเริ่มสามห้า (ณัฐพงศ์ ประศรี, A+30)

11.SILENCE OF SUICIDE (Watcharapol Paksri วัชรพล ปักษี, A+30)

12.THIS FILM IS NOT ABOUT TIME PARADOX (Jakkrapan Srivichai จักรพันธ์ ศรีวิชัย, A+25)

13.TODAY IS MONDAY, YESTERDAY IS SUNDAY (Natthapong Prasri, A+25)
วันนี้วันจันทร์ พรุ่งนี้วันอาทิตย์ (ณัฐพงศ์ ประศรี, A+25)

14.IN THE SILENCE (Aroonakorn Pick อรุณกร พิค, A+20)

15.CY (Mouse Trap, A+20)

16.IF THIS FILM IS SCREENED, I WILL GET OVER YOU (Watcharapol Saisongkroh, A+20)
ถ้าหนังเรื่องนี้ได้ฉาย เราจะตัดใจจากเธอ (วัชรพล สายสงเคราะห์, A+20)

17.WHITE PAPER (Panya Zhu ปัญญา ชู, A+15)

18.CENTER OF THE UNIVERSE (2016, Nuttorn Kungwanklai, A+15)
ศูนย์กลางของจักรวาล (ณัฏฐ์ธร กังวาลไกล)



A BIGGER SPLASH (2015, Luca Guadagnino, Italy, A+30)

A BIGGER SPLASH (2015, Luca Guadagnino, Italy, A+30)

ดูจบแล้วถึงเพิ่งเห็นจากเครดิตว่ามันมาจากหนังเรื่อง LA PISCINE (1969, Jacques Deray, A+30) เพราะตอนที่ดูนี่แทบไม่ได้นึกถึง LA PISCINE เลย เรียกได้ว่าเป็นหนังที่ดัดแปลงจากต้นฉบับได้ดีมากๆ อาจจะเป็นเพราะ A BIGGER SPLASH ให้ความสำคัญกับ Landscape ของเกาะอย่างรุนแรงมาก ซึ่งเป็นสิ่งที่ LA PISCINE ไม่มี


CAFE SOCIETY (2016, Woody Allen , A+10)


 จัดเป๋นหนังที่เราชอบน้อยกว่าหนังเรื่องอื่นๆของ woody allen เพราะเราเบื่อตัวละครนางเอกหนังเรื่องนี้อย่างรุนแรง แต่ชอบความไม่ลงตัวของชีวิตและความรัก และความหลากหลายของ subplot หรือเรื่องราวย่อยๆในหนัง ทั้งเบื้องหลังวงการฮอลลีวู้ดยุคเก่า, มาเฟีย, ความเป็นยิว และ dilemma ของครอบครัวนักปรัชญาคอมมิวนิสต์เกี่ยวกับการฆ่าคนเพื่อแก้ปัญหา ตัวละครที่ชอบที่สุดในเรื่องนี้คือ กะหรี่สาวชื่อ แคนดี้ ที่พยายามจะมี sex กับพระเอกให้ได้