Thursday, April 30, 2015

CHILD 44 (2015, Daniel Espinosa, A-)

CHILD 44 (2015, Daniel Espinosa, A-)

--ดูแล้วรู้สึกว่ามันเหมือนเป็นความพยายามผสม “หนังแนวชีวิตลำเค็ญยุคสตาลิน” กับละครทีวีแนวสืบสวนสอบสวนเข้าด้วยกัน ซึ่งไอ้ความพยายามจะผสมของสองอย่างเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างอะไรใหม่ๆขึ้นมา มันเป็นความพยายามที่ดี แต่โชคร้ายที่คราวนี้มันเหมือนผสมกันในสัดส่วนที่ไม่ลงตัว ผสมกันในจังหวะที่ไม่พอเหมาะ มันเลยออกมารสชาติฟั่นเฝือมากสำหรับเราในตอนจบ
(นึกถึงหนังเรื่อง DRAGON BLADE ที่เหมือนเป็นการผสม “หนังจีนกำลังภายใน” กับ “หนังลิเกฝรั่ง” เข้าด้วยกัน แต่ก็ออกมาไม่ลงตัวอย่างมากๆเหมือนกัน)

--จริงๆแล้วเราชอบช่วงแรกของหนังมาก เพราะดูแล้วนึกถึงพวกหนังชีวิตลำเค็ญยุคสตาลิน อย่าง EAST-WEST (1999, Régis Wargnier) หรือ AN ORDINARY EXECUTION (2009, Marc Dugain) และเราจะชอบหนังแนวนี้มากๆ หนังเกี่ยวกับยุคสมัยที่เราไว้วางใจใครไม่ได้ เราไม่รู้ว่าเพื่อนบ้านคนไหนหรือเพื่อนร่วมงานคนไหนจะเป็นสายของตำรวจลับบ้าง เราไม่รู้ว่าเราจะคุยกับใครได้อย่างสนิทใจบ้าง

--แต่ช่วงท้ายของหนังมันเหมือนไปหักล้างสิ่งที่เราชอบมากๆในข้างต้นไปน่ะ มันเหมือนกับว่าอยู่ดีๆความลำเค็ญในยุคสตาลินก็ได้รับการแก้ไขได้อย่างง่ายดาย และหนังเรื่องนี้ก็กลายเป็นเหมือนละครทีวีแนวสืบสวนสอบสวนตอนแรก ที่มีหน้าที่ในการแนะนำตัวละครและปูฉากหลังให้กับท้องเรื่อง

--ซึ่งในแง่ของการเป็น “ละครทีวีแนวสืบสวนสอบสวน” แล้ว เราว่าหนังเรื่องนี้ก็ไม่สามารถให้ความสนุกในแบบนั้นได้นะ เราว่าพวกหนังสืบสวนสอบสวนที่สร้างขึ้นเพื่อฉายทางทีวี อย่างหนังชุด Fred Vargas ที่นำแสดงโดย Charlotte Rampling สามารถทำหน้าที่สร้างความสนุกตื่นเต้นลุ้นระทึกได้ดีกว่าเยอะ


--การ cast Noomi Rapace มาเล่นในหนังเรื่องนี้ ราวกับว่าเป็นการ parody THE GIRL WITH THE DRAGON TATTOO (2009, Niels Arden Oplev) เพราะเราว่าคดีฆาตกรรมใน CHILD 44 มันทำให้นึกถึงคดีใน THE GIRL WITH THE DRAGON TATTOO 555

THE REUNION (2013, Anna Odell, Sweden, A+30)

THE REUNION (2013, Anna Odell, Sweden, A+30)

SPOILERS ALERT
--
--
--
--
--
1.ช่วงครึ่งแรกของหนังนี่ก็ได้ A+30 จากเราไปเลยนะ เพราะมันทำให้เรานึกถึง “ความลักลั่นในงานรื่นเริง” (2007, Prap Boonpan, A+30) เพียงแต่เปลี่ยนจากประเด็นสังคมการเมืองมาเป็นเรื่องในวงแคบลงมาหน่อย

ชอบสิ่งที่นางเอกพูดมากๆ ที่บอกว่า “ที่ฉันต้องมาพูดที่นี่ในตอนนี้ เพราะฉันต้องการจะพูดในสิ่งที่ไม่เคยพูดได้มาก่อน” เพราะเราจะอินกับส่วนนี้มากๆ มันมีคนหลายคนที่ต้องการจะพูดอะไรบางอย่าง แต่เขาไม่สามารถพูดได้ เพราะสังคมไม่เปิดโอกาสให้เขาได้พูด สังคมปิดกั้นเสียงของเขาออกไป และมันก็เกิดเป็นความทุกข์ทรมานใจ และในวันหนึ่งเมื่อเขามีโอกาสได้พูดออกมา พวกที่เคยกดขี่เขามาก่อนก็จะไม่สบอารมณ์ และต้องพยายามหาทางขจัดเสียงของเขาออกไป

2.หลายคนในงานเลี้ยงถามนางเอกว่า “ทำไมเธอถึงต้องมาพูดที่นี่ในตอนนี้ ทำไมเธอไม่นัดแต่ละคนไปคุยกันด้วยตัวเองนอกงาน” ซึ่งมันเป็นคำถามที่ได้รับคำตอบอย่างชัดเจนในส่วนที่สองของหนัง ว่าถ้าหากนางเอกเลือกใช้วิธีแบบนั้น ก็จะมีหลายคนที่ไม่รับโทรศัพท์หรือไม่ยอมมาเจอนางเอก

3.นอกจากช่วงครึ่งแรกของหนังจะทำให้เรานึกถึง  “ความลักลั่นในงานรื่นเริง” แล้ว มันยังทำให้เรานึกถึงอารมณ์เข้มข้นในหนัง DOGMA บางเรื่องอย่าง THE CELEBRATION (1998, Thomas Vinterberg, A+30) ด้วยนะ คือมันเป็นสถานการณ์ที่ดูสมจริงมากๆ และพอมันเกิดในสถานที่เดียว ช่วงเวลาเดียว มันก็เลยเข้มข้นตึงเครียดมากๆ เราดูแล้วอยากให้มีใครสักคนทำละครเวทีทำนองนี้ออกมาเลยน่ะ เป็นละครเวทีเกี่ยวกับงาน reunion ที่มีการลำเลิกความหลัง ด่าทอจิกหัวตบกันอย่างรุนแรงกลางงาน

4.แต่ช่วงครึ่งหลังของหนังนี่ไปไกลมาก มันทำให้เรานึกถึง THE LOOK OF SILENCE (2014, Joshua Oppenheimer, documentary, A+30) ที่ “ผู้กำกับภาพยนตร์” นำ “เหยื่อ” ไปเผชิญหน้ากับ “ผู้ที่เคยทำร้ายเหยื่อ” โดยมีการใช้ภาพยนตร์เป็น “อาวุธ” และ “เครื่องมือเยียวยาจิตใจ” เหมือนๆกัน แต่ต่างกันตรงที่ใน THE REUNION นั้น “ผู้กำกับภาพยนตร์” และ “เหยื่อ” คือคนเดียวกัน

5.ชอบการใช้ภาพยนตร์เป็น “อาวุธ” และ “เครื่องมือเยียวยาจิตใจ” มากๆ มันทำให้เรารู้สึกได้ถึงศักยภาพของภาพยนตร์ที่ไปไกลกว่าหนังทั่วๆไป

6.ชอบช็อตที่ใส่เข้ามาในหนังเป็นระยะๆ ที่เป็นฉากทางเดินในโรงเรียน กับช็อตจบที่กล้องลอยขึ้นไปบนฟ้า มันทำให้เรานึกถึงจิตวิญญาณของนางเอกน่ะ มันเหมือนกับว่าบาดแผลในอดีตมันทำให้จิตวิญญาณของเธอยังคงวนเวียนอยู่ในโรงเรียน ไม่ยอมไปไหนสักที แต่เมื่อเธอได้ “พูด” ออกมาแล้ว ได้ระบายออกมาแล้ว จิตวิญญาณเธอก็เป็นอิสระ และลอยออกจากโรงเรียนกลับขึ้นสู่ท้องฟ้าได้

7. ชอบการที่นางเอกพยายาม “เปิดโอกาสให้อีกฝ่ายได้พูด” มากๆ ถ้าหากเป็นเรา เราคงไม่ใจกว้างกับคนที่เคยทำร้ายเราขนาดนั้น

8.ดูแล้วทำให้คิดได้ว่า ศิลปินหลายๆคนสามารถดัดแปลงความเลวร้ายหรือด้านลบในชีวิตตัวเองออกมาเป็นพลังในทางบวก หรืองานศิลปะได้น่ะ ทำให้นึกถึงนักศึกษาไทยหลายๆคนที่มีปัญหาด่าทอตบตีกับอาจารย์ในมหาลัย และก็สามารถดัดแปลงความเจ็บช้ำใจที่มีต่ออาจารย์มหาลัยออกมาเป็นภาพยนตร์ที่ดีมากๆได้ อย่างเช่นเรื่อง EMPLOYEES LEAVING THE LUMIERE FACTORY (2010, Chaloemkiat Saeyong) และ DANGER (DIRECTOR’S CUT) (2008, Chulayarnnon Siriphol)

คือเรานับถือศิลปินเหล่านี้ที่สามารถดัดแปลงพลังแห่งความโกรธแค้นออกมาเป็นงานศิลปะที่งดงามได้น่ะ คือเราคิดเล่นๆว่า ถ้าหากนางเอกของ THE REUNION ไม่สามารถหาวิธีดัดแปลงพลังแบบนี้ มันก็อาจจะเกิดเหตุการณ์ “เอาคืน” แบบในหนังเรื่อง NOTHING CAN TOUCH ME (2011, Milad Alami) ขึ้นมาได้

9.นอกจาก THE REUNION จะทำให้นึกถึงชื่อหนังไทยเรื่อง “ความลักลั่นในงานรื่นเริง” แล้ว หนังเรื่องนี้ยังทำให้เรานึกถึงชื่อหนังไทยอีกเรื่องด้วย นั่นก็คือ “เสียงที่ออกไม่ได้ในจักรวรรดิทางภาษาของคุณ” (2008, Ratchapoom Boonbunchachoke) แต่ THE REUNION  ไม่ได้มีอะไรใกล้เคียงกับหนังเรื่องนี้นะ เพียงแต่ว่าสิ่งที่เราชอบที่สุดใน THE REUNION มันคล้ายๆกับชื่อหนังเรื่องนี้น่ะ มันคือเรื่องของการเปล่งเสียงของคนที่ไม่เคยได้รับอนุญาตให้เปล่งเสียงมาก่อน มันคือเรื่องของคนที่อยากจะพูด แต่ถูกกดขี่ไว้ไม่ให้ได้พูด พวกที่กดขี่เขาพยายามทุกทางไม่ให้เขาได้เปล่งเสียงออกมา และเมื่อคนที่ถูกกดขี่เปล่งเสียงออกมา พวกที่กดขี่เขาบางคนก็ทำเป็นไม่เข้าใจ ไม่รับรู้ ราวกับว่าพวกเขาฟังไม่ออก ราวกับว่าเสียงที่คนคนนั้นพูดออกมาเป็นภาษาอื่น เป็นคำที่ไม่เคยปรากฏอยู่ในจักรวรรดิทางภาษาของพวกมัน

10.การที่คนพวกนั้นพยายามปฏิเสธเสียงของนางเอกใน THE REUNION มันทำให้เรานึกถึง quote ที่เราชอบมากจากหนังเรื่อง EVERY MAN FOR HIMSELF AND GOD AGAINST ALL (1974, Werner Herzog) น่ะ มันคือ quote ที่ว่า “Do you not then hear this horrible scream all around you that people usually call silence.




Tuesday, April 28, 2015

A SEPARATION (2013, Karin Ekberg, Sweden, documentary, A+20)


A SEPARATION (2013, Karin Ekberg, Sweden, documentary, A+20)

หนังสารคดีที่ลูกสาวบันทึกช่วงชีวิตของพ่อแม่ตัวเองขณะหย่าร้างกัน

หนังเรื่องนี้ทำให้นึกถึงประเด็นต่อไปนี้

1.หนึ่งในสิ่งที่ชอบมากๆในหนังเรื่องนี้ก็คือว่า เราแทบไม่เคยเห็นสารคดีแบบนี้มาก่อนน่ะ คือมันมีหนังสารคดีหลายเรื่องมากที่ผู้กำกับบันทึกภาพครอบครัวตัวเอง แต่เราไม่เคยเห็นหนังสารคดีเรื่องไหนที่บันทึกภาพการหย่าร้างในครอบครัวตัวเองน่ะ เราก็เลยรู้สึกว่ามันโดดเด้งมากๆในด้านนี้

2.เราชอบมากๆที่การหย่าร้างในหนังเรื่องนี้ทำให้เรานึกถึงวลีที่ว่า “ภายใต้ผิวน้ำที่ดูเหมือนนิ่งสนิทนั้น อาจจะมีกระแสธารที่เชี่ยวกรากไหลอยู่ข้างใต้” เพราะในหนังเรื่องนี้เราจะไม่ได้เห็นการระเบิดอารมณ์ ด่าทอกันอย่างสาดเสียเทเสียแบบที่เราอาจจะเห็นได้ในหนัง fiction เกี่ยวกับการหย่าร้างเรื่องอื่นๆน่ะ ซึ่งสาเหตุนึงอาจจะเป็นเพราะว่า หนังเรื่องนี้เริ่มบันทึกภาพหลังจากสามีภรรยาคู่นี้ตัดสินใจกันแน่นอนแล้วว่าจะหย่ากัน และอาจจะเป็นเพราะว่าสามีภรรยาคู่นี้ไม่อยากแสดงอาการด่าทอกันอย่างรุนแรงต่อหน้ากล้องก็เป็นได้

เพราะฉะนั้นในหนังเรื่องนี้ เราก็เลยได้เห็นเพียงแค่การโต้เถียงกันและการเหน็บแนมกันเล็กๆน้อยๆระหว่างสามีภรรยาคู่นี้เท่านั้น โดยทั้งสองเถียงกันในประเด็นที่ดูเหมือนจะเล็กๆน้อยๆ อย่างเช่น “ก็เธอบอกไปแล้วไม่ใช่หรือว่าเธอจะไม่เอาภาพวาดนี้ ฉันก็เลยนึกว่าฉันจะเอาภาพวาดนี้ไปได้” หรือ “เราตกลงกันแล้วไม่ใช่หรือว่า แก้วกาแฟจะต้องเป็นของฉัน”

เราว่าไอ้การเถียงกันเล็กๆน้อยๆแบบนี้นี่แหละ มันเป็นสิ่งที่อาจจะขาดหายไปจากหนัง fiction ทั่วๆไปที่มักเน้นการระเบิดอารมณ์อย่างรุนแรง และไอ้การเถียงกันเล็กๆน้อยๆนี่แหละ มันสามารถสะท้อนถึงอดีตที่ทุกข์ตรมและปัจจุบันที่ขมขื่นได้ คือหนัง fiction ทั่วๆไปเกี่ยวกับการหย่าร้าง มันเหมือนกับเป็นการแสดงภาพของ “ภูเขาไฟระเบิด” น่ะ แต่หนังสารคดีเกี่ยวกับการหย่าร้างเรื่องนี้ มันเหมือนแสดงภาพของ “ภูเขาน้ำแข็ง” ที่เราจะเห็นเพียงแค่ 10% ของมันโผล่พ้นผืนน้ำขึ้นมาเท่านั้น แต่ถ้าหากเราใช้จินตนาการของเราเองด้วย เราจะรู้สึกได้ถึง 90% ของภูเขาน้ำแข็งที่อยู่ใต้ผิวน้ำ

3.เราชอบมากที่การหย่าร้างในหนังเรื่องนี้ ในที่สุดมันก็เป็นเหมือนเรื่องธรรมดาเรื่องนึง เป็นขั้นตอนธรรมดาๆของชีวิต และอาจจะนำไปสู่ความสุขและชีวิตที่ดีขึ้นได้น่ะ การหย่าร้างมันไม่ใช่เรื่องคอขาดบาดตายแต่อย่างใด ความเปลี่ยนแปลงมันเป็นเรื่องธรรมดา และความเปลี่ยนแปลงมันเป็นนิรันดร์

4.เราชอบดวงตาของพ่อผู้กำกับมากๆ เขาดูเศร้ามากๆตอนที่เขาหย่าร้างในตอนแรก แต่พอเขาได้เจอกับผู้หญิงคนใหม่ในชีวิต ดวงตาของเขาเปล่งประกายที่มีความสุขอย่างเห็นได้ชัดมากๆ

5.อย่างไรก็ดี สิ่งหนึ่งที่หนังเรื่องนี้ไม่ได้ตั้งใจ คือมันทำให้เรานึกถึงข้อจำกัดของหนังสารคดีน่ะ คือหนังเรื่องนี้เน้นการสัมภาษณ์ชีวิตอารมณ์ความรู้สึกและความคิดเห็นของคู่สามีภรรยาคู่นี้ก็จริง และสามีภรรยาคู่นี้ก็ดูเหมือนจะกล้าแสดงความเห็นมากพอสมควรต่อหน้ากล้องก็จริง แต่เรารู้สึกว่าหนังเรื่องนี้มันขาด poetic touch หรือความประทับใจในแบบที่ลึกไปถึงจิตวิญญาณน่ะ คือเราว่าหนังเรื่องนี้มันทำได้ดีสุดๆในแบบของตัวเองแล้วแหละ แต่เราว่ามันใช้กลวิธีแบบ “หนังสารคดีธรรมดา” มากเกินไปตั้งแต่ต้นจนจบเรื่อง แต่ถ้าหากมันนำเอากลวิธีแบบ “หนังเชิงกวี” มาใช้ด้วย มันอาจจะลงลึกไปถึงจิตวิญญาณได้มากกว่านี้

คือเราคิดว่าการที่หนังเรื่องนี้มัน deal กับ “การหย่าร้างของสามีภรรยาคู่นึง” มันก็เลยอาจจะน่าประทับใจกว่านี้ ถ้าหากมันลงลึกไปถึงจิตวิญญาณของสามีภรรยาคู่นี้ได้น่ะ ซึ่งมันต้องอาศัยมากกว่าคำให้สัมภาษณ์แบบตรงไปตรงมาของสามีภรรยาคู่นี้ มันอาจจะต้องอาศัยการเรียงร้อยฉากอะไรบางอย่างที่ดูเหมือนจะไม่เกี่ยวข้องกับหนังโดยตรง แต่สามารถสื่ออารมณ์ความรู้สึกตรงจุดนั้นออกมาได้

คือเรากำลังนึกถึงข้อจำกัดของหนังสารคดีน่ะ คือถ้าเปรียบเทียบง่ายๆ เราก็คิดว่า “หนังสารคดี” โดยทั่วๆไป อาจจะเปรียบเหมือน “ภาพถ่ายแบบตรงไปตรงมา” ไม่ต้องแต่งฟิล์ม, ใส่ effect อะไรเข้าไป แค่อาศัยจังหวะที่เหมาะสม, มุมกล้องที่เหมาะสม เราก็อาจจะได้ภาพถ่ายที่สามารถถ่ายทอดความจริงอย่างทรงพลังออกมาได้

ซึ่งเราว่าสิ่งนี้มันจะ work ถ้าหากหนังสารคดีเรื่องนั้นไม่ได้เน้น deal กับจิตวิญญาณส่วนลึกของมนุษย์ แต่เน้น deal กับสิ่งที่เป็นรูปธรรม อย่างเช่น อาชญากรสงคราม, ปัญหาความยากจนแร้นแค้น, ปัญหาความไม่เป็นธรรมต่างๆนานาในสังคม หรือระบบและโครงสร้างของสถาบันต่างๆ (อย่างเช่นหนังของ Frederick Wiseman และหนังบางเรื่องของ Raymond Depardon) เพราะ “ภาพถ่าย” ที่ทรงพลัง ก็สามารถนำเสนออะไรต่างๆนานาในแบบที่คล้ายๆกันนี้ได้

แต่พอมันเป็นเรื่องที่ deal กับอะไรที่เป็นนามธรรม, ความเป็นมนุษย์ และจิตวิญญาณของมนุษย์แล้ว เราว่าบางที “หนังสารคดีแบบตรงไปตรงมา” อาจจะถ่ายทอดตรงจุดนี้ได้ไม่ดีเท่ากับ “หนังสารคดีที่มีลักษณะแบบหนังเชิงกวี” น่ะ อาจจะเปรียบเทียบง่ายๆว่าเหมือนกับความแตกต่างระหว่าง “ภาพถ่ายวิวทิวทัศน์” กับ ภาพเขียนแบบ Impressionist คือภาพถ่ายวิวทิวทัศน์อาจจะสะท้อน “ความจริงทางกายภาพ” ของภูมิประเทศตรงนั้นได้ดีกว่าภาพเขียนแบบ Impressionist แต่ภาพเขียนแบบ Impressionist สะท้อน “ความรู้สึกของเราที่มีต่อทิวทัศน์ตรงนั้น” ได้ดีกว่าภาพถ่าย

ลองดูตัวอย่างภาพเขียนแบบ Impressionist อย่างเช่น ภาพนี้ของ Claude Monet

คือเรารู้สึกว่าหนังสารคดีหลายๆเรื่องที่มีลักษณะเชิงทดลองหรือลักษณะเชิงกวีเข้ามาผสมด้วย อาจจะเทียบได้กับภาพเขียนแบบ Impressionist หรือภาพเขียน portrait ของศิลปินชื่อดังน่ะ มันไม่ได้เน้นสะท้อนความจริงทางกายภาพหรือความจริงเชิงรูปธรรมเพียงอย่างเดียว แต่มันสามารถสะท้อนอะไรที่เป็นนามธรรม และความรู้สึกอะไรหลายๆอย่างที่ยากจะอธิบายออกมาเป็นคำพูดได้ด้วย

ตัวอย่างหนังสารคดีที่มีลักษณะเชิงกวีผสมอยู่ด้วย ก็เช่น WHAT NOW? REMIND ME (2013, Joaquim Pinto, Portugal), ELENA (2012, Petra Costa, Brazil), THE CAT THAT LIVED A MILLION TIMES (2012, Tadasuke Kotani), FOREVER (2006, Heddy Honigmann, Netherlands) และ A BRIEF HISTORY OF MEMORY (2010, Chulayarnnon Siriphol)

แต่ผู้กำกับหนังสารคดีที่เก่งมากๆบางคน ก็สามารถทำให้เราประทับใจอย่างสุดขีดกับการนำเสนอมนุษย์ในหนังของเขาได้นะ โดยที่เขาดูเหมือนจะไม่ได้ใช้วิธีการแบบหนังทดลองหรือหนังเชิงกวีอย่างเห็นได้ชัด คือเรานึกถึงผู้กำกับอย่าง Raymond Depardon และ Volker Koepp น่ะ มันเหมือนกับว่าผู้กำกับบางคนมี magic touch อะไรบางอย่าง เขาถึงสามารถนำเสนอมนุษย์ในหนังของเขาในแบบที่ทำให้เรารู้สึกว่ามันเต็มไปด้วยอะไรที่ถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดไม่ได้

สรุปว่าเราชอบ A SEPARATION มากๆแหละ แต่เรารู้สึกเหมือนกับว่า หนังเรื่องนี้มันไม่ได้สะเทือนเราแบบสุดๆ ซึ่งสาเหตุหนึ่งอาจจะเป็นเพราะว่าหนังเรื่องนี้ใช้วิธีการแบบหนังสารคดีธรรมดาๆมากเกินไป แต่ถ้าหากหนังเรื่องนี้ใช้วิธีการแบบหนังทดลอง/หนังเชิงกวีมาผสมด้วย หรือถ้าหากผู้กำกับหนังเรื่องนี้มี magic touch หนังเรื่องนี้อาจจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงกับเราได้มากกว่านี้




STOCKHOME STORIES (2013, Karin Fahlén, Sweden, A+15)

STOCKHOME STORIES (2013, Karin Fahlén, Sweden, A+15)

1.หนังเรื่องนี้เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับคนหลายคนในกรุงสต็อคโฮล์มที่เหมือนกับจะเป็นโรคประสาทอ่อนๆในแบบของตัวเอง ตัวละครนำของเรื่องมีหลายตัว ซึ่งรวมถึงโยฮัน (Martin Wallström) กวีหนุ่มที่ไม่ประสบความสำเร็จ เขาเป็นลูกชายของนักเขียนชื่อดัง แต่ดูเหมือนว่าทางสำนักพิมพ์จะสนใจใช้ประโยชน์จากเขาในฐานะลูกชายของนักเขียนชื่อดัง มากกว่าจะสนใจเขาในฐานะกวีที่มีความสามารถจริงๆ เขาเอาบทกวีของเขาไปแจกจ่ายให้บาร์เทนเดอร์และคนจรจัด และมีเรื่องตบตีกับทั้งเจ้าของสำนักพิมพ์, คนที่ต้องการเขียนหนังสือชีวประวัติพ่อของเขา และนักเขียนชื่อดังคนหนึ่ง นอกจากนี้ เพื่อนบ้านของเขายังระแวงว่าเขาอาจจะเป็นฆาตกรโรคจิตด้วย ทางด้านแอนนา  (Julia Ragnarsson) น้องสาวของเขา ก็กลายเป็นคนไร้บ้าน เธอถูกแฟนสาวเลสเบียนทิ้ง เธอก็เลยพยายามแบล็คเมล์แฟนสาวเลสเบียนคนนี้ซึ่งมีสามีอยู่แล้ว ในขณะเดียวกัน ดักลาส (Filip Berg) ซึ่งเป็นเพื่อนของแอนนา ก็ดูเหมือนจะตกหลุมรักแอนนา แต่เขาเป็นโรคติดอ่าง และพ่อของเขาก็ควบคุมชีวิตเขาในแบบที่เป็นเผด็จการอย่างมาก นอกจากนี้ หนังยังมีตัวละครนำอีกสองตัว ซึ่งได้แก่โธมัส (Jonas Karlsson) กับเจสสิกา (Cecilia Frode) ซึ่งเป็นคนที่บ้างานและเย็นชาเหมือนกัน แต่โชคชะตาก็พาให้คนทั้งสองได้มารู้จักกัน

2. โครงสร้างของมันอาจจะทำให้นึกถึงหนังหลายๆเรื่องที่เล่าผ่านตัวละครหลายๆตัว อย่างเช่น CRASH (2004, Paul Haggis), THE CRISIS (1992, Coline Serreau) และ MAGNOLIA (1999, Paul Thomas Anderson) หรือนึกถึงนิยายบางเรื่องของม.มธุการี แต่ STOCKHOLM STORIES ก็มีความแตกต่างจากหนังเหล่านี้และสร้างความเป็นตัวของตัวเองขึ้นมาได้ เราชอบ STOCKHOLM STORIES ในแง่ที่ว่า มันไม่ได้พยายามจะเน้นประเด็นสังคมการเมืองแบบ CRASH แต่เน้นไปที่ความเป็นมนุษย์ของตัวละครแต่ละตัวมากกว่า หนังมันก็เลยเข้าทางเรามากกว่า เพราะเราชอบหนังที่ตัวละครเป็นมนุษย์ที่เต็มไปด้วยปัญหาและข้อบกพร่องแบบนี้ และเราก็ชอบที่ตัวละครใน STOCKHOLM STORIES มันไม่ได้อยู่ในภาวะใกล้จุดเดือดแบบ THE CRISIS ด้วย คือตัวละครหลายตัวใน THE CRISIS มันเหมือนหม้อน้ำที่อุณหภูมิอยู่ที่ 80-95 องศาเซลเซียสแล้วน่ะ มันก็เลยอยู่ในภาวะใกล้ระเบิดกันเกือบหมด แต่ตัวละครใน STOCKHOLM STORIES มันเหมือนมีอุณหภูมิทางอารมณ์อยู่ที่ 50-75 องศาเซลเซียสน่ะ ตัวละครมันเต็มไปด้วยความกลัดกลุ้มหม่นหมองใจ แต่มันยังไม่ได้ไปถึงจุดระเบิด และเราว่าตัวละครแบบนี้มันใกล้เคียงกับ “ชีวิตประจำวัน”  ของเรามากกว่าน่ะ ชีวิตประจำวันที่เต็มไปด้วยความทุกข์เหี้ยห่าสารพัดสารเพ แต่ก็ยังไม่รุนแรงถึงขั้นจะระเบิดออกมา คือจริงๆแล้วเราก็ชอบ THE CRISIS มากนะ แต่เราว่าหนังสองเรื่องนี้มันดีกันไปคนละแบบน่ะ เราว่าอารมณ์แบบ THE CRISIS มันเป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นประมาณ 1 ชั่วโมงต่อวัน (อารมณ์แบบอยากลุกขึ้นมาตบอีเหี้ยอีห่าที่มาทำร้ายชีวิตกู) ส่วนอารมณ์แบบใน STOCKHOLM STORIES มันเป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นประมาณ 16 ชั่วโมงต่อวัน (อารมณ์หงุดหงิดงุ่นง่าน เคียดขึ้งหม่นหมองใจ)

แต่น่าเสียดายที่ตอนจบของ STOCKHOLM STORIES มันแย่สุดๆในความเห็นของเรา ไม่งั้นหนังเรื่องนี้คงได้เกรดสูงกว่านี้มาก เราว่าหนังเรื่องนี้มันสามารถกลายเป็นหนังที่เน้นนำเสนอ “ความบกพร่องและไม่สมบูรณ์แบบของมนุษย์และชีวิตมนุษย์” ได้ดีเรื่องนึงเลยนะ ถ้ามันไม่ตกม้าตายในตอนจบ

แต่ถ้าเทียบกับหนังหลากตัวละครอย่าง MAGNOLIA และ 71 FRAGMENTS OF A CHRONOLOGY OF CHANCE (1994, Michael Haneke) แล้ว STOCKHOLM STORIES ก็เทียบไม่ติดเลยนะ เพราะมันขาดความมหัศจรรย์แบบในหนังสองเรื่องนี้

3.ตัวละครที่เราชอบที่สุดในเรื่องนี้คือเจสสิกา เพราะเธอเหมือนนางอิจฉาหรือนางตัวร้ายมากๆ เธอเป็นผู้หญิงเย็นชา ไร้น้ำใจ และสามารถส่งเข้าไปตบกับตัวละครหญิงตัวอื่นๆในละครทีวีเรื่อง MELROSE PLACE (1992-1999) ได้สบายมากๆ นอกจากนี้ เธอยังเป็นคนที่มีความอาฆาตเคียดแค้นสูงมาก แต่เธอไม่ได้อาฆาตคนโดยไม่มีสาเหตุ เธออาฆาตคนที่มาโกงเธอจริงๆ เธอก็เลยตามไปรังควานคนที่มาโกงเธออย่างรุนแรงให้ถึงที่สุด

สิ่งที่ทำให้เราชอบ STOCKHOLM STORIES มากๆก็คือว่า ไปๆมาๆแล้ว หนังเรื่องนี้กลับ treat เจสสิกาในแบบนางเอกในช่วงท้ายของเรื่องน่ะ คือถ้าเป็นหนังทั่วๆไป เจสสิกามันต้องเป็นนางอิจฉาที่ได้รับบทลงโทษอย่างรุนแรงหรืออะไรทำนองนี้ แต่หนังเรื่องนี้กลับปฏิบัติต่อเจสสิกาในแบบนางเอกของเรื่องในช่วงท้าย เราก็เลยรู้สึกว่าหนังเรื่องนี้มันมนุษยนิยมมากๆ มันยอมรับความบกพร่องและความไม่สมบูรณ์แบบของมนุษย์ได้ดีมากๆ เราก็เลยประทับใจหนังตรงจุดนี้อย่างสุดๆ

ตัวละครตัวอื่นๆในเรื่องก็มีข้อบกพร่องมากมายเหมือนกันนะ ทั้งโยฮัน, โธมัส, แอนนา และดักลาส โดยเฉพาะโยฮันที่ดูเหมือนจะเป็นพระเอกของเรื่อง จริงๆแล้วก็เป็นตัวละครที่เต็มไปด้วยข้อบกพร่องมากมายเช่นกัน

spoilers alert
--
--
--
--
--

4.แต่เราให้ F กับตอนจบของหนังเรื่องนี้นะ เพราะในตอนจบของหนังเรื่องนี้ โยฮันได้บุกเข้าไปในโรงไฟฟ้า และปิดไฟฟ้าในกรุงสต็อคโฮล์มไปเป็นเวลาประมาณ 5-10 นาที เพราะเขาเชื่อว่า การกระทำของเขาจะส่งผลดีต่อมนุษยชาติ และจะทำให้เพื่อนมนุษย์หันมาสื่อสารกันเองมากขึ้น ใกล้ชิดกันมากขึ้นขณะไม่มีไฟฟ้าใช้ หรืออะไรทำนองนี้

ในฉากจบของหนังเรื่องนี้ โยฮันมอบตัวกับตำรวจ เราเห็นเขามองออกมาจากหน้าต่างรถตำรวจ เขาเห็นผู้คนมากมายในกรุงสต็อคโฮล์มมีความสุข เด็กๆเริงร่าเล่นด้วยกัน ชายหนุ่มหญิงสาวกอดจูบกัน, etc.

คือเรารับตอนจบของหนังเรื่องนี้ไม่ได้อย่างรุนแรงน่ะ เพราะเราว่าหนังมัน glorify หรือเห็นด้วยกับการกระทำของโยฮันในตอนจบ ซึ่งเราว่ามันเป็นแนวคิดที่ผิดพลาดมากๆ เพราะสิ่งที่โยฮันทำมันทำให้เรานึกถึงสิ่งที่หลายคนในเมืองไทยทำ นั่นก็คือ “ความกระสันต์อยากจะทำความดีเพื่อมนุษยชาติ และเพื่อความอิ่มเอมสุขใจของตัวเอง โดยที่มึงไม่เคยคิดจะถามคนอื่นๆเลยว่า การทำดีของมึงน่ะไปสร้างความเดือดร้อนชิบหายวายป่วงหรือทุกข์ทรมานให้คนอื่นๆมากน้อยแค่ไหน” ซึ่งเราว่าไอ้การทำความดีแบบคิดเองเออเองแล้วไปทำให้คนอื่นๆเดือดร้อนแบบนี้ มันไม่ต่างอะไรจากการกระทำของสัตว์นรกตัวนึงน่ะ คือคนที่ทำดีแบบนี้มันคงคิดว่าตัวเองเป็นเทวดา อู้ย กูได้ทำความดีเพื่อมนุษยชาติ อู้ย กูสุขใจ แต่ในความเห็นของเรา มึงเป็นสัตว์นรกตัวนึงค่ะ

คือเราจะไม่ว่าโยฮันเลยสักคำ ถ้าเขารณรงค์ให้คนดับไฟ, เลิกใช้มือถือหรืออะไรทำนองนี้ คือเรื่องแบบนี้มันต้องอาศัยความสมัครใจน่ะ ไม่ใช่ไปบังคับตัดไฟเขา แล้วบอกว่าตัวเองทำความดี

คือเราลองคิดเล่นๆว่า ถ้าหากเราเป็นนักศึกษาที่นั่งพิมพ์รายงานมา 5 ชั่วโมง เพื่อส่งรายงานให้ทันกำหนดเส้นตายวันพรุ่งนี้ แล้วอยู่ดีๆไฟดับ งานที่พิมพ์มาหายหมด พรุ่งนี้กูติด F แล้วไอ้โยฮันมันจะมารับผิดชอบชีวิตกูมั้ย หรือถ้ากูเป็นผู้หญิงที่กำลังจะคลอดลูก นั่งรถพยาบาลอยู่ แล้วไฟจราจร ไฟถนนดับวูบหมด รถพยาบาลกูชนกับรถคันอื่นๆ กูกับลูกตายทั้งกลมอยู่ในรถพยาบาล แล้วไอ้โยฮันมันจะคืนชีวิตให้กูได้มั้ย

ในช่วงต้นเรื่อง โยฮันก็ทำอะไรคล้ายๆกันนี้นะ คือเขาเห็นคนจรจัดคนนึงนอนหลับอยู่ข้างถนน เขาก็เลยเอามือไปถอดหลอดไฟตรงนั้นออก หนังไม่ได้บอกว่าเขาทำอย่างนั้นไปเพราะอะไร เขาอาจจะหวังดีอยากให้คนจรจัดคนนั้นนอนหลับสนิทท่ามกลางความมืดก็ได้ แต่เรากลับไม่ได้มองอย่างนั้น เพราะเรามองว่าคุณจะทำอย่างนั้นไม่ได้หรอก คุณต้องถามคนจรจัดคนนั้นก่อน ถ้าหากเขาต้องการความมืดจริงๆ ทำไมเขาไม่ถอดหลอดไฟออกเองล่ะ หรือทำไมเขาไม่ไปหาที่ตรงอื่นๆที่มันมืดกว่าเพื่อนอนล่ะ เขาอาจจะนอนตรงที่มีไฟสว่าง เพราะมันปลอดภัยกว่าก็ได้ หรือเพื่อคนอื่นๆจะได้ไม่มาเดินสะดุดเขา หรือเตะเขาโดยไม่ได้ตั้งใจขณะที่เขานอนหลับอยู่ก็ได้

เรามองว่าการกระทำของโยฮันมันเลวร้ายมากๆเลยน่ะ เขาเป็นคนที่เต็มไปด้วยความปรารถนาดีต่อเพื่อนมนุษย์ก็จริง แต่ถ้าหากเขาปรารถนาดีจริง เขาก็ต้องถามเพื่อนมนุษย์คนอื่นๆก่อนว่า “คุณต้องการอะไร” ไม่ใช่อยู่ดีๆก็ยัดเยียดความต้องการของเขาเองไปให้กับคนอื่นๆ หรือยัดเยียด “สิ่งที่เขาคิดว่าดี” ไปให้กับคนอื่นๆ โดยที่ไม่ยอมรับรู้ว่า “สิ่งที่เขาคิดว่าดี” นั้น มันอาจจะสร้างความลำบากเดือดร้อนให้คนอื่นๆก็ได้

สรุปว่า การที่หนัง glorify “การทำดี” ของโยฮันในตอนจบ ทำให้เราอยากให้เกรด F กับหนังเรื่องนี้ค่ะ เพราะ “การทำดีของมึงโดยที่ไม่ได้ถามความสมัครใจของคนอื่นๆที่จะได้รับผลกระทบจากการทำดีของมึงนั้น” มันทำให้มึงเป็นสัตว์นรกตัวนึงค่ะ จบ




Sunday, April 26, 2015

Films seen on Sunday, April 26, 2015


Films seen on Sunday, April 26, 2015

ตอนนี้แม่หมีกลับมาเป็นคออักเสบอีกแล้วค่ะ วันนี้ขอแค่แปะเกรดก่อนนะคะ เพราะต้องรีบเข้านอนพักผ่อน

1. THE REUNION (2013, Anna Odell, Sweden, A+30)

2.THE SPONGEBOB MOVIE: SPONGE OUT OF WATER (2015, Paul Tibbitt, USA, animation, A+25)

3.FLEET OF TIME (2014, Zhang Yibai, China, B+ )

รูปของ Eddie Peng จาก FLEET OF TIME


Films seen on Saturday, 25 April, 2015

Films seen on Saturday, 25 April, 2015

ยังไม่มีเวลาเขียน เลยมาแปะเกรดไว้ก่อน

1.A SEPARATION (2013, Karin Ekberg, Sweden, documentary, A+20)

2.STOCKHOLM STORIES (2013, Karin Fahlén, Sweden, A+15)
แต่ถ้าใครให้เกรด F กับหนังเรื่องนี้ เราก็เข้าใจนะ เพราะเราเกลียดตอนจบของหนังเรื่องนี้มากๆในระดับ F

3.LOVE IS สี่เส้า (2015, Karunyapas Kamsin, B- )

อันนี้เป็นรูปของ Filip Berg หนึ่งในดารานำของ STOCKHOLM STORIES



Saturday, April 25, 2015

THE 100-YEAR-OLD MAN WHO CLIMBED OUT THE WINDOW AND DISAPPEARED (2013, Felix Herngren, Sweden, A+/A)


THE 100-YEAR-OLD MAN WHO CLIMBED OUT THE WINDOW AND DISAPPEARED (2013, Felix Herngren, Sweden, A+/A)

ดูแล้วนึกถึง FORREST GUMP + หนังตลกร้าย + หนังที่มีกลิ่นไอจางๆของ magical realism

ปัญหาก็คือว่าเราไม่ได้เป็นแฟนหนัง FORREST GUMP และก็ไม่ได้เป็นแฟนหนังตลกร้าย ส่วนหนัง magical realism ส่วนใหญ่เราก็ชอบแค่ในระดับ “มากพอสมควร” แต่ไม่ใช่มากสุดๆ เพราะฉะนั้นนั่นก็เลยอาจจะเป็นสาเหตุนึงที่ทำให้หนังเรื่องนี้ไม่ได้เข้าทางเรามากนัก

แต่หนังก็ดูเพลิดเพลินดีนะ แต่เราไม่ได้มีความผูกพันอะไรกับตัวละครเลยน่ะ เราก็เลยไม่ได้รู้สึกอะไรไปกับหนังมากนัก

เราว่าสาเหตุนึงที่เราไม่ค่อยถูกโฉลกกับหนังตลกร้าย โดยเฉพาะหนังตลกร้ายของฝรั่งเศส เป็นเพราะว่าเรามักจะอินกับหนังที่ทำให้เรา sympathize กับ “ความเจ็บปวดของตัวละคร” น่ะ แต่ในหนังตลกร้ายโดยทั่วไป มันมักจะมีฉากโหดๆ ฉากเลือดสาด แต่ตัวละครจะไม่มีความเจ็บปวดกับความเลือดสาด ความโหดในฉากเหล่านั้น (ซึ่งตรงข้ามกับหนังสยองขวัญ) และตัวละครก็มักจะไม่เจ็บปวดทั้งทางร่างกายและจิตใจกับอะไรเหี้ยๆห่าๆหลายๆอย่างในหนังด้วย นั่นก็เลยอาจจะเป็นสาเหตุนึงที่ทำให้เราไม่อินกับหนังตลกร้ายโดยทั่วไป เพราะเรามักจะ approach หนังผ่านทางความเจ็บปวดทางจิตใจของตัวละคร

แต่มันก็มีข้อยกเว้นนะ เพราะหนังตลกร้ายของ Danny DeVito นี่เป็นอะไรที่เข้าทางเราสุดๆ เพราะเราว่าทัศนคติหลายๆของเขาเข้ากับเรา หรือหนังอย่าง EVERLY (2014, Joe Lynch, A+30) ก็เข้าทางเราสุดๆ เพราะถึงแม้มันจะมีความตลกร้ายอยู่ในหนัง แต่เราก็รู้สึกว่าตัวละครในหนังมัน “เจ็บจริง”

แต่เราว่ากลิ่นอายของ magical realism ในหนังสวีเดนเป็นอะไรที่น่าสนใจดีนะ จริงๆแล้วเราก็ไม่รู้ว่ามันเรียกว่า magical realism ได้หรือเปล่า 555 แต่มันเหมือนมีความเพี้ยนพิลึกบางอย่างในหนังที่ทำให้เรารู้สึกอย่างนั้น

คือปกติแล้วเราจะเจอหนัง magical realism ในอเมริกาใต้กับคาบสมุทรบอลข่านเป็นหลัก พอกลิ่นอายของหนังพวกนี้มันไปอยู่ในหนังชาติอื่นๆ มันก็เลยเหมือนกลายเป็นอะไรที่น่าสนใจ น่าศึกษาวิเคราะห์ดี

นอกจากหนังสวีเดนเรื่องนี้แล้ว หนังเรื่องอื่นๆที่เราว่ามันเหมือนมีกลิ่นอายของ magical realism ลอยอยู่จางๆก็เช่น CITIZEN DOG (2004, Wisit Sasanatieng), FINDING FANNY (2014, Homi Adajania, India) กับ MATRU KI BIJLEE KA MANDOLA (2013, Vishal Bhardwaj, India) เราว่า FINDING FANNY เหมาะนำมาฉายควบกับ THE 100-YEAR-OLD MAN มากๆ เพราะมันเป็นหนัง road movie ของชายชราเหมือนๆกัน แต่เราชอบ FINDING FANNY มากกว่า THE 100-YEAR-OLD MAN เพราะเราว่าตัวละครมันมีอารมณ์แบบมนุษย์มากกว่า, มีงาน visual ที่น่าจดจำกว่า และเราชอบบรรยากาศของ Goa ในหนังอินเดียเรื่องนี้ด้วย

อีกจุดนึงที่เราว่าน่าสนใจดีใน THE 100-YEAR-OLD MAN ก็คือการนำเสนอสตาลินในฐานะตัวละครตลก เราสนใจในแง่ที่ว่า มันมีหนังหลายเรื่องที่นำเสนอสตาลินในภาพลักษณ์แบบนี้ ในขณะที่ dictator คนอื่นๆอย่างเช่นฮิตเลอร์, นายพลฟรังโก้, ซาลาซาร์, อิดี้ อามิน, นโปเลียน, ปิโนเชต์, สฤษดิ์, ถนอม ไม่ได้ถูกนำเสนอในฐานะตัวตลกในสื่อภาพยนตร์มากเท่าสตาลิน เราก็เลยสนใจว่าทำไมสตาลินถึงถูก treat แบบนี้ 555

หนังเรื่องอื่นๆที่นำเสนอสตาลินในฐานะตัวตลกก็เช่น CHILDREN OF THE REVOLUTION (1996, Peter Duncan) และ HOTEL LUX (2011, Leander Haußmann)



EGO (2013, Lisa James-Larsson, Sweden, A-)


EGO (2013, Lisa James-Larsson, Sweden, A-)

เป็นหนังที่เหมาะสำหรับเด็กหญิงอายุ 10-12 ปี

เพลงบางเพลงที่พระเอกร้องในหนังเรื่องนี้ ทำให้นึกถึงวงดนตรีป็อปอังกฤษในทศวรรษ 1980 ประเภทวง HUE AND CRY ซึ่งเป็นแนวที่เราชอบมาก




Thursday, April 23, 2015

BELLEVILLE BABY (2013, Mia Engberg, Sweden, documentary, A+15)

BELLEVILLE BABY (2013, Mia Engberg, Sweden, documentary, A+15)

หนังเหมือนเป็นภาคต่อของหนังสองเรื่องที่เราชอบสุดๆ ซึ่งก็คือเรื่อง RIGHT NOW (2004, Benoît Jacquot) กับ FIRST LOVE (2006, Yukinari Hanawa) โดย RIGHT NOW กับ FIRST LOVE มีเนื้อหาเกี่ยวกับหญิงสาวในทศวรรษ 1960-1970 ที่หลงรักอาชญากรหนุ่มหล่ออย่างหัวปักหัวปำ และเธอก็เลยเข้าไปพัวพันกับอาชญากรรมในยุคนั้นด้วย ก่อนที่จะถอนตัวในเวลาต่อมา เพราะพวกเธอไม่ใช่อาชญากรโดยสันดาน พวกเธอทำไปก็เพียงเพราะความรักเท่านั้นเอง

RIGHT NOW สร้างจากเรื่องจริงด้วย และพอเราดูหนังอย่าง RIGHT NOW กับ FIRST LOVE แล้ว เราก็จะสงสัยว่า ชีวิตนางเอกของหนังสองเรื่องนี้จะเป็นอย่างไรกันนะหลังจากพวกเธอแยกทางจากคนรัก, กลับเข้ามาอยู่ในโลกของชนชั้นกลาง และใช้ชีวิตแบบคนธรรมดาๆต่อไปอีกสัก 10-20 ปี และก็ดูเหมือนว่า BELLEVILLE BABY จะตอบสนองความอยากรู้อยากเห็นของเราตรงจุดนี้ เพราะ BELLEVILLE BABY เป็นสารคดีเกี่ยวกับหญิงคนหนึ่งที่รำลึกถึงอดีตของตนเองในวัยสาว อดีตที่ได้เริงรักกับชายหนุ่มหัวขบถ/อาชญากรคนหนึ่ง ก่อนที่เขาจะหายไปจากชีวิตของเธอโดยไม่ทราบสาเหตุ และกลับเข้ามาในชีวิตของเธออีกครั้งหลังจากเวลาผ่านไป 10 ปี โดยเขาให้เหตุผลว่าเขาหายไปเพราะติดคุกในฝรั่งเศส การที่เขากลับเข้ามาในชีวิตของเธออีกครั้งทำให้ทั้งเธอและเขาได้ย้อนรำลึกความหลังกัน แต่เป็นความหลังที่ทั้งคู่จดจำได้ในแบบที่ไม่เหมือนกัน

จริงๆแล้วหนังเรื่องนี้เป็น “สไตล์” หนังแนวที่เราชอบสุดๆเลยนะ นั่นก็คือเป็นหนังกึ่งทดลอง/เชิงกวีน่ะ เพราะในหนังเรื่องนี้เราจะได้ฟังเสียงของคนทั้งคู่คุยกัน หรือเสียงของนางเอกรำลึกความหลังและเล่าเรื่องต่างๆ แต่เราจะได้เห็นภาพสิ่งละอันพันละน้อยที่อาจจะไม่ได้ช่วยเล่าเรื่องแบบ 100% เต็ม คือเราว่าหนังเรื่องนี้มีองค์ประกอบที่ทำให้นึกถึงหนังของ Marguerite Duras, Chantal Akerman, Alain Resnais และพวกหนังของแก๊ง Anna Sanders อะไรทำนองนี้

อย่างไรก็ดี เรารู้สึกว่าหนังเรื่องนี้ไม่ได้ส่งพลังเชิงกวีต่อเราอย่างสุดๆนะ ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าเป็นเพราะอะไร หรือบางทีอาจจะเป็นเพราะตัวผู้กำกับ/นางเอก ไม่ได้มี passion อะไรกับคนรักเก่ามากนักก็เป็นได้ คือเรารู้สึกว่าความรักที่นางเอกเคยมีกับคนรักเก่า มันเหมือนมอดดับไปแล้วน่ะ มันเหมือนๆว่าจะจุดติดขึ้นมาอีกครั้ง แต่มันก็จุดไม่ติด มันชืดชาไปแล้ว และพอตัวผู้หญิงมันไม่ได้ “คลั่งรัก” แบบในอดีตอีกแล้ว พลังของหนังก็เลยอาจจะลดลงตามไปด้วย

ในแง่หนึ่งหนังเรื่องนี้ทำให้เรานึกถึง PREDESTINATION (2014, The Spierig Brothers, A+30) ในแง่ที่ว่า นางเอกของหนังสองเรื่องนี้กลายเป็นคนที่ “เย็นชามากขึ้น” หลังจากโดนคนรักทิ้งไปเหมือนกัน คือเรารู้สึกว่านางเอกของ BELLEVILLE BABY คงจะเคยเป็นคนที่สดใสมาก่อนในวัยสาว เหมือนกับนางเอกของ PREDESTINATION ในวัยสาวน่ะ แต่พอคนรักหายสาบสูญไป นางเอกของ BELLEVILLE BABY ก็เลยค่อยๆกลายเป็นคนที่เย็นชามากขึ้น เหมือนกับนางเอกของ PREDESTINATION เช่นกัน

จุดที่ซึ้งที่สุดสำหรับเราใน BELLEVILLE BABY เลยกลายเป็นเรื่องของคุณย่าของผู้กำกับ เพราะคุณย่าคนนี้รักผู้ชายคนหนึ่งที่ตายไปแล้ว และเธอก็เก็บความรักนี้ไว้กับตัวเป็นเวลานานหลายสิบปี อาจจะถึง 50 ปี ถึงเธอจะแต่งงานกับชายอื่น และมีลูกกับชายอื่น เธอก็ยังคงรักผู้ชายที่ตายไปแล้วคนนี้อยู่เสมอ เพราะฉะนั้นเธอก็เลยรู้สึกว่า หนึ่งในสิ่งที่มีค่าที่สุดสำหรับเธอคือ “ความทรงจำ” เพราะผู้ชายที่ตายไปแล้วคนนี้อาศัยอยู่ในความทรงจำของเธอ เธอถึงกับพูดกับผู้กำกับหนังเรื่องนี้ว่า “ถ้าวันไหนฉันกลายเป็นโรคความจำเสื่อม ก็ช่วยฆ่าฉันให้ตายไปเลยจะดีกว่า”


สรุปว่า BELLEVILLE BABY เป็นหนังที่มี “สไตล์” เข้าทางเรามากๆ มันมีลักษณะของความเป็นหนังเชิงกวีอยู่ด้วย แต่มันไม่ได้สะเทือนเราแบบรุนแรงสุดๆจ้ะ

RECOLLECTIONS OF THE YELLOW HOUSE (1989, João César Monteiro, Portugal, A+30)

RECOLLECTIONS OF THE YELLOW HOUSE (1989, João César Monteiro, Portugal, A+30)

--ดูแล้วนึกว่าอยู่ในโลกที่ “พระเจ้ากลายเป็นโรคประสาทแดก”

--ดูแล้วกรี๊ดแตกมากๆ เพราะเราไม่เคยพบเคยเห็นอะไรแบบนี้มาก่อนน่ะ คือเราไม่เคยดูหนังของ Monteiro มาก่อน พอมาได้ดูเรื่องนี้เป็นเรื่องแรก เราก็รู้สึกว่ามันมี wavelength ที่ประหลาดมากๆ, มีสไตล์ที่เป็นตัวของตัวเองมากๆ ไม่ซ้ำแบบใครที่เราเคยดูมาก่อนเลย และเราก็รู้สึกเพลิดเพลินไปกับความประหลาดและความเป็นตัวของตัวเองของมันด้วย

--หนึ่งในจุดที่ชอบที่สุดคือความรู้สึกเป็นอิสระบางอย่างในขณะที่ได้ดูน่ะ เพราะมันมีหลายฉากหรือหลาย moment มากๆที่เราไม่รู้ว่า “มันต้องการให้ผู้ชมรู้สึกยังไง” หรือ “มันต้องการบอกอะไรกับผู้ชม” ซึ่งเราจะไม่รู้สึกแบบนี้กับหนังทั่วๆไปน่ะ คือเวลาเราดูหนังทั่วไป เราจะรู้ได้ในทันทีว่า “ฉากนี้ต้องการให้ผู้ชมรู้สึกยังไง ฉากนี้ต้องการให้ผู้ชมหัวเราะ ฉากนี้ต้องการให้ผู้ชมร้องไห้ ฉากนี้ต้องการให้ผู้ชมสะใจ, etc.” หรือถ้าเป็นหนังบางประเภท เราก็จะต้องพยายามตีความแต่ละฉาก และแต่ละสิ่งแต่ละอย่างที่ปรากฏบนจอ มันเหมือนกับว่าฉากต่างๆในหนังทั่วๆไป มันตกอยู่ภายใต้กรอบของ “ความต้องการชักนำอารมณ์ผู้ชม” และ “ความต้องการส่งสารบางอย่างต่อผู้ชม”

แต่หลายๆฉากในหนังเรื่องนี้ เราดูแล้วไม่รู้จริงๆว่ามันต้องการให้ผู้ชมรู้สึกยังไง และเราก็ไม่สามารถตีความอะไรในฉากเหล่านี้ได้เลยด้วย มันคงมีความหมายให้ตีความน่ะแหละ (นักวิจารณ์บางคนบอกว่าหนังเรื่องนี้เป็นการเสียดสีชนชั้นกลางโปรตุเกสในยุคนั้น) แต่การตีความหนังเรื่องนี้มันเกินสติปัญญาของเราจริงๆ และเราก็รู้สึกว่า เราได้รับความเพลิดเพลินจากมันโดยไม่ต้องเข้าใจมันไปซะทั้งหมดด้วย เราก็เลยดูหลายๆฉากในหนังเรื่องนี้ได้ด้วยความรู้สึกเป็นอิสระจาก “กรอบของการชี้นำทางอารมณ์” และ “กรอบของความหมาย” ซึ่งเป็นสิ่งที่มักกดทับหนังเรื่องอื่นๆ

ตัวอย่างฉากที่ทำให้เรารู้สึกแบบนี้ก็เช่น ฉากที่พระเอกกินยาอย่างยืดยาว หรือฉากการแสดงดนตรีของตำรวจน่ะ เราไม่รู้จริงๆว่าฉากเหล่านี้มันต้องการให้ผู้ชมรู้สึกยังไง และต้องการจะสื่อสารอะไรกับผู้ชม แต่เราชอบลักษณะของความผิดเพี้ยนไปจากหนังปกติแบบนี้มากๆ

--ถ้าให้เปรียบเทียบกับผู้กำกับคนอื่นๆ เราก็อาจจะเปรียบเทียบได้อย่างคร่าวๆว่าหนังมันเหมือนเป็นลูกผสมระหว่าง John Waters กับ Marguerite Duras น่ะ คือโดย “เนื้อหา” แล้วตัวละครมันอัปปรีย์จัญไรไร้สติหีแตกแบบในหนังของ John Waters แต่ “สไตล์” ในหลายๆฉากมันเหมือนกับหนังอาร์ตนิ่งช้าแบบ Marguerite Duras ซึ่งเราว่ามันเป็นส่วนผสมที่ประหลาดมากๆ ไม่เคยพบเคยเห็นมาก่อน คือปกติแล้วเวลาเราดูหนังที่ตัวละครหีแตกแบบนี้ หนังมันจะออกมาในสไตล์ฉูดฉาดสุดๆ เอะอะมะเทิ่งกันมากๆ แบบหนังของ John Waters, Alejandro Jodorowsky, Seijun Suzuki, Toshio Matsumoto อะไรทำนองนั้น คือสไตล์มันจะไม่ใช่แบบนี้

แต่สไตล์ของหนังเรื่องนี้กลับทำให้เรานึกถึงหนังอาร์ตนิ่งช้าประเภท Marguerite Duras, Jean-Marie Straub ในบางฉาก คือตั้งแต่ฉากเปิดเลย คือฉากเปิดเป็นฉากที่ตัวละครคุยเรื่อง “โลนขึ้นหมอย” ซึ่งหมายความว่าเนื้อหาของฉากนี้เป็นอะไรแบบ John Waters หรือหนังคัลท์ห่ามๆ แต่ภาพที่เราเห็นในฉากนี้ กลับเป็นทิวทัศน์ท่าเรือ นอกจากนี้ การใช้เสียง voiceover ในฉากนี้ ก็ทำให้เรานึกถึงหนังของ Duras ประเภท AGATHA AND THE UNLIMITED READINGS ด้วย คือตั้งแต่ฉากเปิด เราก็รู้แล้วว่า นี่เป็นอะไรที่เราไม่เคยเจอมาก่อน เพราะภาพและ voiceover ที่เราเห็นและได้ยิน เป็นสไตล์ดูราส์ แต่เนื้อหาของสิ่งที่ตัวละครพูด เป็นสไตล์ John Waters หรือหนังคัลท์

ฉากตัวละครกินยาอย่างยืดยาว ก็ทำให้นึกถึงหนังของดูราส์เช่นกัน ในขณะที่ฉากการแสดงดนตรี ทำให้นึกถึงหนังของ Straub


--สรุปว่าเราชอบ “ความประสาทแดก” และ “ความเป็นตัวของตัวเอง” ในหนังของ Monteiro มากๆ เราว่าผู้กำกับที่เหมาะจะต่อกรกับ Monteiro มากที่สุด คือ Herbert Achternbusch